อยู่ในระหว่างปรับสำนวน
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ตำราพุทธมีลำดับการศึกษาให้เข้าใจทะลุทะลวงดังนี้: ขอเป็นศิษย์ผู้มีฌานวสีทรงจำพระไตรปิฎกบาลี > ท่องจำบาลีตามลำดับซ้ำๆ ไม่ลืมทบทวนแม้จำได้แล้ว > สอบถามบาลี > ฟังคำอธิบายบาลี > ทรงจำทั้งหมด > ในระหว่างท่องจำก็พยายามปฏิบัติตามไปด้วยจนแตกฉาน. ผู้ที่ข้ามขั้นตอนเหล่านี้ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นไปได้ยากที่จะบรรลุอัปปนาทั้งโลกิยะและโลกุตตระในศาสนาพุทธได้ พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า "โมฆบุรุษ" เพราะว่างเปล่าจากอัปปนา (เรียบเรียงจากกีฏาคิริสูตร; ธัมมัญญูสูตร; สัจจบรรพะ อรรถกถามัคคนิทเทส; วิสุทธิมรรค กัมมัฏฐานคหณนิทเทส)
พระสุตตันตปิฎก
เล่ม 23
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มหาวรรค
ญาณกถา
มาติกา
- เมื่อฟังจำธรรมะ (16 ประการ) แล้วเข้าใจ(ลักษณะต่างๆของธรรมนั้น) เป็นสุตมยญาณ [ปัญญาที่ชำนาญจากการฟัง] 1
- เมื่อฟังธรรมะแล้ว สังวรอย่างเข้าใจ(วิธีสังวร) เป็นสีลมยญาณ [ปัญญาที่ชำนาญจากการสังวร] 1
- เมื่อสำรวมแล้ว ตั้งจิตมั่นอย่างเข้าใจ เป็นสมาธิภาวนามยญาณ [ปัญญาที่ชำนาญจากการทำสมาธิให้ต่อเนื่อง] 1
- เมื่อแยกปัจจัยอย่างเข้าใจ เป็นธรรมฐิติญาณ [ปัญญาที่ชำนาญ 3 อัทธาปฏิจจสมุปบาท] 1
- เมื่อย่อส่วน(สันตติ)อดีตอนาคตและปัจจุบันธรรม(ในปัจจุบันอัทธาธัมมฐิติ)ทั้งหลาย ปัญญาที่ตัดสิน(ปฏิจจสมุปบาททั้ง 3 สันตติปัจจุบันในอัทธาปัจจุบันนั้นว่าล้วนมีไตรลักษณ์) เป็นสัมมสนญาณ [ปัญญาที่ชำนาญทำสัมมาทัสสนะด้วยญาณที่แล้ว] 1
- เมื่อหมั่นตามเห็นความแปรเปลี่ยนไปของ(ปฏิจจสมุปบาท)ธรรมส่วน(ขณะ)ปัจจุบันอย่างเข้าใจ เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ [ปัญญาที่ชำนาญในการหมั่นตามเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม]1
- เมื่อวิปัสสนาจิต(ขณปัจจุบัน)พิจารณาอารมณ์แล้ว หมั่นตามเห็นความดับ(ของวิปัสสนาจิตนั้น)อย่างเข้าใจ เป็นวิปัสนาญาณ[ปัญญาที่ชำนาญในการหมั่นตามเห็นความดับของวิปัสสนาจิต] 1
- ปัญญาในการปรากฏโดยความเป็นภัยเป็นอาทีนวญาณ[ญาณในการเห็นโทษ] 1
- ปัญญาในความปรารถนาจะพ้นไปทั้งพิจารณาและวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเบกขาญาณ 1
- ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอก เป็นโคตรภูญาณ 1
- ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ 1
- ปัญญาในการระงับประโยคเป็นผลญาณ 1
- ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ 1
- ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ 1
[อรรถกถาบอกว่า ตัวที่เป็นเริ่มต้นกำหนดวิปัสสนา คือ 5 ญาณด้านล่างนี้ ซึ่งเป็นการขยายธัมมัฏฐิติญาณหรือปัจจยปริคคหญาณนั่นเอง:]
- ปัญญาที่ชำนาญในการกำหนดธรรมภายใน เป็นวัตถุนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งวัตถุ] 1
- ปัญญาที่ชำนาญในการกำหนดธรรมภายนอก เป็นโคจรนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งโคจร] 1
- ปัญญาที่ชำนาญในการกำหนดจริยา[แห่งวิญญาณ] เป็นจริยานานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งจริยา] 1
- ปัญญาที่ชำนาญในการกำหนดธรรม 4 เป็นภูมินานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งภูมิ] 1
- ปัญญาที่ชำนาญในการกำหนดธรรม 9 เป็นธรรมนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งธรรม]1
- ปัญญาที่รู้ยิ่ง เป็นญาตัฏฐญาณ [ญาณในความว่ารู้] 1
- ปัญญาเครื่องกำหนดรู้เป็นตีรณัฏฐญาณ [ญาณในความว่าพิจารณา] 1
- ปัญญาในการละ เป็นปริจจาคัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสละ] 1
- ปัญญาเครื่องเจริญเป็นเอกรสัฏฐญาณ[ญาณในความว่ามีกิจเป็นอันเดียว] 1
- ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง เป็นผัสสนัฏฐญาณ[ญาณในความว่าถูกต้อง] 1
- ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอัตถปฏิสัมภิทาญาณ 1
- ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ 1
- ปัญญาในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ 1
- ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ 1
- ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม เป็นวิหารัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องอยู่] 1
- ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติเป็นสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสมาบัติ] 1
- ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าวิหารสมาบัติ] 1
- ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ให้ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ [ญาณในสมาธิอันมีในลำดับ] 1
- ทัสนาธิปไตย ทัสนะมีความเป็นอธิบดี วิหาราธิคม คุณเครื่องบรรลุ คือวิหารธรรมอันสงบและปัญญาในความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีต เป็นอรณวิหารญาณ[ญาณในวิหารธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นข้าศึก] 1
- ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ 2 ด้วยความระงับสังขาร 3 ด้วยญาณจริยา 16 และด้วยสมาธิจริยา 9 เป็นนิโรธสมาปัตติญาณ [ญาณในนิโรธสมาบัติ] 1
- ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็นปรินิพพานญาณ 1
- ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการตัดขาดโดยชอบและในนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมอันสงบและธรรมอันเป็นประธาน] 1
- ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่างๆ และเดชเป็นสัลเลขัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องขัดเกลา] 1
- ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เป็นวิริยารัมภญาณ 1
- ปัญญาในการประกาศธรรมต่างๆ เป็นอรรถสันทัสนญาณ [ญาณในการเห็นชัดซึ่งอรรถธรรม] 1
- ปัญญาในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียวกันในการแทงตลอดธรรมต่างกันและธรรมเป็นอันเดียวกัน เป็นทัสนวิสุทธิญาณ 1
- ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น เป็นขันติญาณ 1
- ปัญญาในความถูกต้องธรรมเป็นปริโยคาหนญาณ [ญาณในความย่างเข้าไป] 1
- ปัญญาในการรวมธรรมเป็นปเทสวิหารญาณ [ญาณในวิหารธรรมส่วนหนึ่ง] 1
- ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดีเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยปัญญาที่รู้ดี] 1
- ปัญญาในธรรมเป็นเหตุละความเป็นต่างๆ เป็นเจโตวิวัฏฏญาณ [ญาณในการหลีกออกจากนิวรณ์ด้วยใจ]1
- ปัญญาในการอธิษฐาน เป็นจิตตวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปแห่งจิต] 1
- ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยญาณ] 1
- ปัญญาในความสลัดออกเป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ[ญาณในความหลีกไปแห่งจิตด้วยวิโมกข์] 1
- ปัญญาในความว่าธรรมจริงเป็นสัจจวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยสัจจะ] 1
- ปัญญาในความสำเร็จด้วยการกำหนดกาย [รูปกายของตน] และจิต [จิตมีญาณเป็นบาท]เข้าด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งความตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญา [สัญญาประกอบด้วยอุเบกขาในจตุตถฌานเป็นสุขละเอียด] และลหุสัญญา [สัญญาเบาเพราะพ้นจากนิวรณ์และปฏิปักขธรรม] เป็นอิทธิวิธญาณ [ญาณในการแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ]1
- ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียวด้วยสามารถการแผ่วิตกไป เป็นโสตธาตุวิสุทธิญาณ [ญาณอันหมดจดแห่งโสตธาตุ] 1
- ปัญญาในการกำหนดจริยาคือ วิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต3 ประเภท และด้วยสามารถแห่งความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นเจโตปริยญาณ [ญาณในความกำหนดรู้จิตผู้อื่นด้วยจิตของตน] 1
- ปัญญาในการกำหนดธรรมทั้งหลายอันเป็นไปตามปัจจัย ด้วยสามารถความแผ่ไปแห่งกรรมหลายอย่างหรืออย่างเดียว เป็นบุพเพนิวาสานุสสติญาณ [ญาณเป็นเครื่องระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้] 1
- ปัญญาในความเห็นรูปเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยสามารถแสงสว่าง เป็นทิพจักขุญาณ 1
- ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ 3 ประการ โดยอาการ 64 เป็นอาสวักขยญาณ[ญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย] 1
- ปัญญาในความกำหนดรู้ เป็นทุกขญาณ 1
- ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งควรละละ เป็นสมุทยญาณ 1
- ปัญญาในความทำให้แจ้ง เป็นนิโรธญาณ 1
- ปัญญาในความเจริญ เป็นมรรคญาณ 1
- ทุกขญาณ [ญาณในทุกข์] 1
- ทุกขสมุทยญาณ [ญาณในเหตุให้เกิดทุกข์] 1
- ทุกขนิโรธญาณ[ญาณในความดับทุกข์] 1
- ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ [ญาณในข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับทุกข์] 1
- อรรถปฏิสัมภิทาญาณ 1
- ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ1
- นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ 1
- ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ 1
- อินทริยปโรปริยัติญาณ[ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย] 1
- อาสยานุสยญาณ[ญาณในฉันทะเป็นที่มานอนและกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย] 1
- ยมกปาฏิหิรญาณ [ญาณในยมกปาฏิหาริย์] 1
- มหากรุณาสมาปัตติญาณ 1
- สัพพัญญุตญาณ 1
- อนาวรณญาณ 1
ญาณเหล่านี้รวมเป็น 73 ญาณ ในญาณทั้ง 73 นี้ ญาณ 67[ข้างต้น] ทั่วไปแก่พระสาวก ญาณ 6 [ในที่สุด] ไม่ทั่วไปด้วยพระสาวกเป็นญาณเฉพาะพระตถาคตเท่านั้น ฉะนี้แล ฯ
จบมาติกา
______
นิทเทส
สุตมยญาณนิทเทส
[1] การฟังจำธรรมะด้วยปัญญา เป็นสุตมยญาณอย่างไร
มาติกาของสุตมยญาณนิทเทส
- [เญยยธรรม 5]
- "พวกนี้ควรถูกทำญาตปริญญา (อภิญเญยยะ)" เมื่อฟังจำและเข้าใจแง่มุมต่างๆ อย่างนี้เป็นปัญญาที่ชำนาญจากการฟัง (สุตมยญาณ)ฯ
- "พวกนี้ควรถูกทำตีรณปริญญา (ปริญเญยยะ)" เมื่อฟังจำและเข้าใจแง่มุมต่างๆ อย่างนี้เป็นปัญญาที่ชำนาญจากการฟัง (สุตมยญาณ)ฯ
- "พวกนี้ควรถูกทำปหาน (ปหาตัพพะ)" เมื่อฟังจำและเข้าใจแง่มุมต่างๆ อย่างนี้เป็นปัญญาที่ชำนาญจากการฟัง (สุตมยญาณ)ฯ
- "พวกนี้ควรถูกทำภาวนา (ภาเวตัพพะ)" เมื่อฟังจำและเข้าใจแง่มุมต่างๆ อย่างนี้เป็นปัญญาที่ชำนาญจากการฟัง (สุตมยญาณ)ฯ
- "พวกนี้ควรถูกทำสัจฉิกตะ (สัจฉิกาตัพพะ)" เมื่อฟังจำและเข้าใจแง่มุมต่างๆ อย่างนี้เป็นปัญญาที่ชำนาญจากการฟัง (สุตมยญาณ)ฯ
- [ภาคิยธรรม 4]
- "พวกนี้มีแนวโน้มเสื่อมลง (หานภาคิยะ)" เมื่อฟังจำและเข้าใจแง่มุมต่างๆ อย่างนี้เป็นปัญญาที่ชำนาญจากการฟัง (สุตมยญาณ)ฯ
- "พวกนี้มีแนวโน้มไม่ขึ้นไม่ลง (ฐิติภาคิยะ)" เมื่อฟังจำและเข้าใจแง่มุมต่างๆ อย่างนี้เป็นปัญญาที่ชำนาญจากการฟัง (สุตมยญาณ)ฯ
- "พวกนี้มีแนวโน้มเจริญขึ้น (วิเสสภาคิยะ)" เมื่อฟังจำและเข้าใจแง่มุมต่างๆ อย่างนี้เป็นปัญญาที่ชำนาญจากการฟัง (สุตมยญาณ)ฯ
- "พวกนี้มีแนวโน้มนิพพาน (นิพเพธภาคิยะ)" เมื่อฟังจำและเข้าใจแง่มุมต่างๆ อย่างนี้เป็นปัญญาที่ชำนาญจากการฟัง (สุตมยญาณ)ฯ
- [ลักษณะ 3]
- "สังขตะล้วนไม่เที่ยง (สังขารล้วนทุกข์)" เมื่อฟังจำและเข้าใจแง่มุมต่างๆ อย่างนี้เป็นปัญญาที่ชำนาญจากการฟัง (สุตมยญาณ)ฯ
- "สังขตะล้วนทุกข์ (สังขารล้วนอนิจจัง)" เมื่อฟังจำและเข้าใจแง่มุมต่างๆ อย่างนี้เป็นปัญญาที่ชำนาญจากการฟัง (สุตมยญาณ)ฯ
- "ธรรมะล้วนอนัตตา (สังขตะและอสังขตะล้วนอนัตตา)" เมื่อฟังจำและเข้าใจแง่มุมต่างๆ อย่างนี้เป็นปัญญาที่ชำนาญจากการฟัง (สุตมยญาณ)ฯ
- [อริยสัจ 4]
- "สิ่งนี้เป็นทุกข์ที่ผู้พ้นทุกข์ยืนยันไว้ (ทุกขอริยสัจ)" เมื่อฟังจำและเข้าใจแง่มุมต่างๆ อย่างนี้เป็นปัญญาที่ชำนาญจากการฟัง (สุตมยญาณ)ฯ
- "สิ่งนี้เป็นเหตุเกิดทุกข์ที่ผู้พ้นทุกข์ยืนยันไว้ (สมุทัยอริยสัจ)" เมื่อฟังจำและเข้าใจแง่มุมต่างๆ อย่างนี้เป็นปัญญาที่ชำนาญจากการฟัง (สุตมยญาณ)ฯ
- "สิ่งนี้เป็นความดับทุกข์ที่ผู้พ้นทุกข์ยืนยันไว้ (นิโรธอริยสัจ)" เมื่อฟังจำและเข้าใจแง่มุมต่างๆ อย่างนี้เป็นปัญญาที่ชำนาญจากการฟัง (สุตมยญาณ)ฯ
- "สิ่งนี้เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ที่ผู้พ้นทุกข์ยืนยันไว้(ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ)" เมื่อฟังจำและเข้าใจแง่มุมต่างๆ อย่างนี้เป็นปัญญาที่ชำนาญจากการฟัง (สุตมยญาณ)ฯ
คำอธิบายบาลีจากผู้แปล
- แปลแบบเต็มในสถานการณ์มุขปาฐะจริง: การฟังว่า "สิ่งนี้ๆ ที่ควรถูกทำญาตปริญญา (สิ่งนั้นๆ ไม่ควร)" แล้วจำว่า "สิ่งนี้ๆ ควรถูกทำญาตปริญญา" แล้วเข้าใจแง่มุมต่างๆ ว่า "สิ่งนี้ๆ นะครับ ควรถูกทำญาตปริญญา" ครบขั้นตอนอย่างนี้เป็นปัญญาคือสุตมยญาณฯ; แยกตามกีฏาคิริสูตร ข้อ การดำรงอยู่ในอรหัตตผล
- แปลอภิญญาตเป็นญาต ปริญญาเป็นตีรณะ จากปัญจกญาณนิทเทสเล่มเดียวกันนี้, เติมปริญญาเป็นญาตปริญญา ตีรณปริญญา จากปริญญา 3 ในมหานิทเทสของผู้แต่งเดียวกัน คือ พระสารีบุตร. อรรถกถาก็ให้แปลอย่างนี้เช่นกัน.
- คำว่า อริยสัจ ในที่นี้จำเป็นต้องแปลให้ครบ พร้อมทั้งวงเล็บ เพราะปฏิสัมภิทามรรคเป็นตำราอ้างอิง ถ้าไม่แปลให้ครบ ก็หาที่อธิบายที่อื่นไม่ได้แล้ว. ส่วนการแปล "สัจจะ" และ "อริยะ" เป็นต้น เพราะพระอนาคามิพรหมบอกสัจจะ คือ พระเวทไว้กะฤๅษีชาวอริยะ แต่ไม่มีใครทำความเข้าใจจนบรรลุได้ จนกระทั่งพระพุทธเจ้าผู้มีอาการ 32 ตรงกับพระเวทมาตรัสบอกอริยสัจที่แท้จริงนี้. ผมแสดงกรรมวิธีไว้ในปฏิสัมภิทกถาแล้ว ขอให้ตามดูเพื่อความเข้าใจอย่างละเอียด.
นิทเทสสำหรับมาติกาของสุตมยญาณนิทเทส
อภิญเญยยกิจจนิทเทส
[2] ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือ เป็นเครื่องรู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง เป็นสุตมยญาณอย่างไรธรรมอย่างหนึ่งควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ธรรม 2 ควรรู้ยิ่งคือ ธาตุ 2 ธรรม 3 ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ 3 ธรรม 4 ควรรู้ยิ่ง คือ อริยสัจ 4ธรรม 5 ควรรู้ยิ่ง คือ วิมุตตายตนะ 5 ธรรม 6 ควรรู้ยิ่งคืออนุตตริยะ 6ธรรม 7 ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ [เหตุที่พระขีณาสพนิพพานแล้วไม่ปฏิสนธิอีกต่อไป] 7 ธรรม 8 ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ [อารมณ์แห่งญาณอันฌายีบุคคลครอบงำไว้] 8ธรรม 9 ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร 9 ธรรม 10ควรรู้ยิ่ง คือนิชชรวัตถุ [เหตุกำจัดมิจฉาทิฐิเป็นต้น] 10 ฯ
[3] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติทั้งปวงควรรู้ยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ธรรมชาติทั้งปวงควรรู้ยิ่ง คืออะไร คือ ตา รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัสสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย [แต่ละอย่างๆ] ควรรู้ยิ่ง หู เสียง ฯลฯจมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้นรส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัสสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[4] รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ จักขุวิญญาณโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณจักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัสจักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา การสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา รูปสัญญาสัททสัญญา คันธสัญญารสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนาธรรมสัญเจตนา รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหาโผฏฐัพพตัณหาธรรมตัณหา รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตกรูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจาร ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[5] ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณโอทาตกสิณ อากาสกสิณวิญญาณกสิณ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[6] ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่าดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูกไขข้อ มูตร สมองศีรษะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[7] จักขวายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะธรรมายตนะ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ชีวิตินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์อุเบกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ [อินทรีย์ของผู้ปฏิบัติด้วยมนสิการว่า เราจักรู้ธรรมที่ยังไม่รู้ อินทรีย์นี้เป็นชื่อของโสดาปัตติมรรคญาณ]อัญญินทรีย์ [อินทรีย์ของผู้รู้จตุสัจจธรรมด้วยมรรคนั้น อินทรีย์นี้เป็นชื่อของญาณในฐานะ 6 มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น] อัญญาตาวินทรีย์ [อินทรีย์ของพระขีณาสพผู้รู้จบแล้วอินทรีย์นี้เป็นชื่อของอรหัตผลญาณ] ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[8] กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุกามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพเนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุดวการภพ ปัญจโวการภพปฐมฌาน ทุติยฌานตติยฌาน จตุตถฌาน ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[9] เมตตาเจโตวิมุติ กรุณาเจโตวิมุติ มุทิตาเจโตวิมุติ อุเบกขาเจโตวิมุติ อากาสนัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพชาติ ชรา มรณะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[10] ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ ฯลฯ ชรามรณะ ชรามรณสมุทัย ชรามรณนิโรธชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[11] สภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งทุกข์ สภาพที่ควรละแห่งทุกขสมุทัย สภาพที่ควรทำให้แจ้งแห่งทุกขนิโรธ สภาพที่ควรเจริญแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาสภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งรูปสภาพที่ควรละแห่งรูปสมุทัย สภาพที่ควรทำให้แจ้งแห่งรูปนิโรธ สภาพที่ควรเจริญแห่งรูปนิโรธคามินีปฏิปทา สภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ แห่งจักษุฯลฯ สภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งชรามรณะ สภาพที่ควรละแห่งชรามรณสมุทัยสภาพที่ควรทำให้แจ้งแห่งชรามรณนิโรธ สภาพที่ควรเจริญแห่งชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[12] สภาพที่แทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ทุกข์ สภาพที่แทงตลอดด้วยการละทุกขสมุทัย สภาพที่แทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งทุกขนิโรธ สภาพที่แทงตลอดด้วยการเจริญทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาพที่แทงตลอดด้วยการกำหนดรู้รูป สภาพที่แทงตลอดด้วยการละรูปสมุทัย สภาพที่แทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งรูปนิโรธ สภาพที่แทงตลอดด้วยการเจริญรูปนิโรธคามินีปฏิปทา สภาพที่แทงตลอดด้วยการเจริญเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณฯลฯ จักขุ ฯลฯ สภาพที่แทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ชรามรณะ สภาพที่แทงตลอดด้วยการละชรามรณสมุทัย สภาพที่แทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งชรามรณนิโรธ สภาพที่แทงตลอดด้วยการเจริญชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[13] ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ความดับเหตุให้เกิดทุกข์ ความดับฉันทราคะในทุกข์ ความยินดีในทุกข์ โทษแห่งทุกข์ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งทุกข์ รูป เหตุให้เกิดรูป ความดับเหตุให้เกิดรูป ความยินดีในรูปโทษแห่งรูป อุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯแห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณ ฯลฯ แห่งจักขุ ฯลฯ ชราและมรณะเหตุให้เกิดชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ ความดับเหตุให้เกิดชราและมรณะความดับฉันทราคะในชราและมรณะ คุณแห่งชราและมรณะโทษแห่งชราและมรณะ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งชราและมรณะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[14] ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความยินดีในทุกข์ โทษแห่งทุกข์ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งทุกข์ รูป เหตุให้เกิดรูปความดับรูป ปฏิปทาอันให้ถึงความดับรูป ความยินดีในรูป โทษแห่งรูป อุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป เวทนา ฯลฯ สัญญาฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯจักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ เหตุให้เกิดชราและมรณะ ความดับชราและมรณะปฏิปทาอันให้ถึงความดับชราและมรณะ ความยินดีในชราและมรณะ โทษแห่งชราและมรณะ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งชราและมรณะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[15] การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง การพิจารณาเห็นทุกข์ การพิจารณาเห็นอนัตตา การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่าย การพิจารณาเห็นด้วยความคลายกำหนัด การพิจารณาเห็นด้วยความดับ การพิจารณาเห็นด้วยความสละคืน การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป การพิจารณาเห็นความทุกข์ในรูป การพิจารณาเห็นอนัตตาในรูป การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่ายในรูป การพิจารณาเห็นด้วยความคลายกำหนัดในรูป การพิจารณาเห็นด้วยความดับในรูป การพิจารณาเห็นด้วยความสละคืนในรูป การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักษุ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชราและมรณะ การพิจารณาเห็นทุกข์ในชราและมรณะการพิจารณาเห็นอนัตตาในชราและมรณะ การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่ายในชราและมรณะ การพิจารณาเห็นด้วยความคลายกำหนัดในชราและมรณะ การพิจารณาเห็นความดับในชราและมรณะ การพิจารณาเห็นด้วยความสละคืนในชราและมรณะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[16] ความเกิดขึ้น ความเป็นไป เครื่องหมาย ความประมวลมา [กรรมอันปรุงแต่งปฏิสนธิ] ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิมรณะ โสกะ ปริเทวะ อุปายาส ความไม่เกิดขึ้น ความไม่เป็นไป ความไม่มีเครื่องหมาย ความไม่มีประมวล ความไม่สืบต่อ ความไม่ไปความไม่บังเกิดความไม่อุบัติ ความไม่เกิด ความไม่แก่ ความไม่ป่วยไข้ ความไม่ตาย ความไม่เศร้าโศก ความไม่รำพัน ความไม่คับแค้นใจ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[17] ความเกิดขึ้น ความไม่เกิดขึ้น ความเป็นไป ความไม่เป็นไป เครื่องหมายความไม่มีเครื่องหมาย ความประมวลมา ความไม่ประมวลมาความสืบต่อ ความไม่สืบต่อ ความไป ความไม่ไป ความบังเกิด ความไม่บังเกิดความอุบัติ ความไม่อุบัติ ความเกิด ความไม่เกิดความแก่ ความไม่แก่ ความป่วยไข้ ความไม่ป่วยไข้ ความตาย ความไม่ตาย ความเศร้าโศกความไม่เศร้าโศก ความรำพัน ความไม่รำพัน ความคับแค้นใจ ความไม่คับแค้นใจควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[18] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความเป็นไปเป็นทุกข์เครื่องหมายเป็นทุกข์ความประมวลมาเป็นทุกข์ ปฏิสนธิเป็นทุกข์ คติเป็นทุกข์ความบังเกิดเป็นทุกข์ อุบัติเป็นทุกข์ชาติเป็นทุกข์ พยาธิเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะเป็นทุกข์ ปริเทวะเป็นทุกข์ อุปายาสเป็นทุกข์ ฯ
[19] ควรรู้ยิ่งว่า ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข ความไม่เป็นไปเป็นสุขความไม่มีเครื่องหมายเป็นสุข ความไม่ประมวลมาเป็นสุข ความไม่สืบต่อเป็นสุขความไม่ไปเป็นสุข ความไม่บังเกิดเป็นสุข ความไม่อุบัติเป็นสุข ความไม่เกิดเป็นสุข ความไม่แก่เป็นสุข ความไม่ป่วยไข้เป็นสุขความไม่ตายเป็นสุขความไม่เศร้าโศกเป็นสุข ความไม่รำพันเป็นสุข ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข ฯ
[20] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข ความเป็นไปเป็นทุกข์ ความไม่เป็นไปเป็นสุข เครื่องหมายเป็นทุกข์ ความไม่มีเครื่องหมายเป็นสุข ความประมวลมาเป็นทุกข์ ความไม่ประมวลมาเป็นสุข ความสืบต่อเป็นทุกข์ ความไม่สืบต่อเป็นสุข ความไปเป็นทุกข์ ความไม่ไปเป็นสุข ความบังเกิดเป็นทุกข์ ความไม่บังเกิดเป็นสุข ความอุบัติเป็นทุกข์ ความไม่อุบัติเป็นสุข ความเกิดเป็นทุกข์ ความไม่เกิดเป็นสุข ความแก่เป็นทุกข์ ความไม่แก่เป็นสุข ความป่วยไข้เป็นทุกข์ ความไม่ป่วยไข้เป็นสุข ความตายเป็นทุกข์ความไม่ตายเป็นสุข ความเศร้าโศกเป็นทุกข์ ความไม่เศร้าโศกเป็นสุข ความรำพันเป็นทุกข์ ความไม่รำพันเป็นสุข ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข ฯ
[21] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความเป็นไปเป็นภัย เครื่องหมายเป็นภัยความประมวลมาเป็นภัย ความสืบต่อเป็นภัย ความไปเป็นภัยความบังเกิดเป็นภัย ความอุบัติเป็นภัย ความเกิดเป็นภัย ความแก่เป็นภัยความป่วยไข้เป็นภัย ความตายเป็นภัย ความเศร้าโศกเป็นภัย ความรำพันเป็นภัยความคับแค้นใจเป็นภัย ฯ
[22] ควรรู้ยิ่งว่า ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย ความไม่เป็นไปปลอดภัย ความไม่มีเครื่องหมายปลอดภัย ความไม่ประมวลมาปลอดภัย ความไม่สืบต่อปลอดภัย ความไม่ไปปลอดภัยความไม่บังเกิดปลอดภัย ความไม่อุบัติปลอดภัยความไม่เกิดปลอดภัย ความไม่แก่ปลอดภัยความไม่ป่วยไข้ปลอดภัย ความไม่ตายปลอดภัย ความไม่เศร้าโศกปลอดภัย ความไม่รำพันปลอดภัยความไม่คับแค้นใจปลอดภัย ฯ
[23] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย ความเป็นไปเป็นภัย ความไม่เป็นไปปลอดภัย เครื่องหมายเป็นภัย ความไม่มีเครื่องหมายปลอดภัย ความประมวลมาเป็นภัย ความไม่ประมวลมาปลอดภัยความสืบต่อเป็นภัย ความไม่สืบต่อปลอดภัย ความไปเป็นภัยความไม่ไปปลอดภัย ความบังเกิดเป็นภัย ความไม่บังเกิดปลอดภัย ความอุบัติเป็นภัย ความไม่อุบัติปลอดภัย ความเกิดเป็นภัย ความไม่เกิดปลอดภัย ความป่วยไข้เป็นภัยความไม่ป่วยไข้ปลอดภัย ความตายเป็นภัย ความไม่ตายปลอดภัย ความเศร้าโศกเป็นภัย ความไม่เศร้าโศกปลอดภัยความรำพันเป็นภัย ความไม่รำพันปลอดภัย ความคับแค้นใจเป็นภัย ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย ฯ
[24] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นมีอามิส (เครื่องล่อ) ความเป็นไปมีอามิส ความมีเครื่องหมายมีอามิส ความประมวลมามีอามิส ความสืบต่อมีอามิส ความไปมีอามิส ความบังเกิดมีอามิส ความอุบัติมีอามิส ความเกิดมีอามิส ความป่วยไข้มีอามิส ความตายมีอามิส ความเศร้าโศกมีอามิส ความรำพันมีอามิส ความคับแค้นใจมีอามิส ฯ
[25] ควรรู้ยิ่งว่า ความไม่เกิดขึ้นไม่มีอามิส (หมดเครื่องล่อ) ความไม่เป็นไปไม่มีอามิส ความไม่มีเครื่องหมายไม่มีอามิส ความไม่ประมวลมาไม่มีอามิสความไม่สืบต่อไม่มีอามิสความไม่ไปไม่มีอามิส ความไม่บังเกิดไม่มีอามิสความไม่อุบัติไม่มีอามิส ความไม่เกิดไม่มีอามิส ความไม่แก่ไม่มีอามิส ความไม่ป่วยไข้ไม่มีอามิส ความไม่ตายไม่มีอามิส ความไม่เศร้าโศกไม่มีอามิส ความไม่รำพันไม่มีอามิส ความไม่คับแค้นใจไม่มีอามิส ฯ
[26] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นมีอามิส ความไม่เกิดขึ้นไม่มีอามิส ความเป็นไปมีอามิสความไม่เป็นไปไม่มีอามิส เครื่องหมายมีอามิส ความไม่มีเครื่องหมายไม่มีอามิส ความประมวลมามีอามิส ความไม่ประมวลมาไม่มีอามิสความสืบต่อมีอามิส ความไม่สืบต่อไม่มีอามิส ความไปมีอามิส ความไม่ไปไม่มีอามิส ความบังเกิดมีอามิส ความไม่บังเกิดไม่มีอามิส ความอุบัติมีอามิสความไม่อุบัติไม่มีอามิส ความเกิดมีอามิส ความไม่เกิดไม่มีอามิส ความแก่มีอามิส ความไม่แก่ไม่มีอามิส ความป่วยไข้มีอามิส ความไม่ป่วยไข้ไม่มีอามิส ความตายมีอามิส ความไม่ตายไม่มีอามิส ความเศร้าโศกมีอามิส ความไม่เศร้าโศกไม่มีอามิส ความรำพันมีอามิส ความไม่รำพันไม่มีอามิส ความคับแค้นใจมีอามิสความไม่คับแค้นใจไม่มีอามิส ฯ
[27] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความเป็นไปเป็นสังขาร เครื่องหมายเป็นสังขาร ความประมวลมาเป็นสังขาร ความสืบต่อเป็นสังขาร ความไปเป็นสังขาร ความบังเกิดเป็นสังขาร ความอุบัติเป็นสังขาร ความเกิดเป็นสังขาร ความแก่เป็นสังขาร ความป่วยไข้เป็นสังขาร ความตายเป็นสังขารความเศร้าโศกเป็นสังขาร ความรำพันเป็นสังขาร ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ฯ
[28] ควรรู้ยิ่งว่า ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน ความไม่มีเครื่องหมายเป็นนิพพาน ความไม่ประมวลมาเป็นนิพพานความไม่สืบต่อเป็นนิพพาน ความไม่ไปเป็นนิพพาน ความไม่บังเกิดเป็นนิพพานความไม่อุบัติเป็นนิพพาน ความไม่เกิดเป็นนิพพานความไม่แก่เป็นนิพพานความไม่ป่วยไข้เป็นนิพพาน ความไม่ตายเป็นนิพพาน ความไม่เศร้าโศกเป็นนิพพาน ความไม่รำพันเป็นนิพพาน ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน ฯ
[29] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน ความเป็นไปเป็นสังขาร ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน เครื่องหมายเป็นสังขารความไม่มีเครื่องหมายเป็นนิพพาน ความประมวลมาเป็นสังขาร ความไม่ประมวลมาเป็นนิพพาน ความสืบต่อเป็นสังขาร ความไม่สืบต่อเป็นนิพพาน ความไปเป็นสังขาร ความไม่ไปเป็นนิพพาน ความบังเกิดเป็นสังขารความไม่บังเกิดเป็นนิพพาน ความอุบัติเป็นสังขาร ความไม่อุบัติเป็นนิพพาน ความเกิดเป็นสังขารความไม่เกิดเป็นนิพพาน ความแก่เป็นสังขาร ความไม่แก่เป็นนิพพาน ความป่วยไข้เป็นสังขารความไม่ป่วยไข้เป็นนิพพาน ความตายเป็นสังขาร ความไม่ตายเป็นนิพพาน ความเศร้าโศกเป็นสังขาร ความไม่เศร้าโศกเป็นนิพพานความรำพันเป็นสังขาร ความไม่รำพันเป็นนิพพาน ความคับแค้นใจเป็นสังขารความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน ฯ
จบปฐมภาณวาร ฯ
[30] สภาพแห่งธรรมที่ควรกำหนดถือเอา สภาพแห่งธรรมที่เป็นบริวาร สภาพแห่งธรรมที่เต็มรอบ สภาพแห่งสมาธิที่มีอารมณ์อย่างเดียว สภาพแห่งสมาธิไม่มีความฟุ้งซ่าน สภาพแห่งธรรมที่ประคองไว้ สภาพแห่งธรรมที่ไม่กระจายไปสภาพแห่งจิตไม่ขุ่นมัว สภาพแห่งจิตไม่หวั่นไหว สภาพแห่งจิตตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งความปรากฏแห่งจิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพแห่งธรรมเป็นอารมณ์ สภาพแห่งธรรมเป็นโคจร สภาพแห่งธรรมที่ละ สภาพแห่งธรรมที่สละ สภาพแห่งธรรมที่ออก สภาพแห่งธรรมที่หลีกไป สภาพแห่งธรรมที่ละเอียด สภาพแห่งธรรมที่ประณีต สภาพแห่งธรรมที่หลุดพ้น สภาพแห่งธรรมที่ไม่มีอาสวะ สภาพแห่งธรรมเครื่องข้าม สภาพแห่งธรรมที่ไม่มีเครื่องหมาย สภาพแห่งธรรมที่ไม่มีที่ตั้ง สภาพแห่งธรรมที่ว่างเปล่า สภาพแห่งธรรมที่มีกิจเสมอกัน สภาพแห่งธรรมที่ไม่ล่วงเลยกัน สภาพแห่งธรรมที่เป็นคู่ สภาพแห่งธรรมที่นำออกสภาพแห่งธรรมที่เป็นเหตุ สภาพแห่งธรรมที่เห็น สภาพแห่งธรรมที่เป็นอธิบดี ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[31] สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะ สภาพที่พิจารณาเห็นแห่งวิปัสนา สภาพที่มีกิจเสมอกันแห่งสมถะและวิปัสนา สภาพมิได้ล่วงกันแห่งธรรมที่เป็นคู่สภาพที่สมาทานแห่งสิกขาบทสภาพที่โคจรแห่งอารมณ์ สภาพที่ประคองจิตที่ย่อท้อ สภาพที่ปราบจิตที่ฟุ้งซ่าน สภาพที่คุมจิตอันบริสุทธิ์จากความย่อท้อและฟุ้งซ่านทั้ง 2 ประการ สภาพที่จิตบรรลุคุณวิเศษ สภาพที่แทงตลอดอริยมรรคอันประเสริฐ สภาพที่ตรัสรู้สัจจะ สภาพที่ให้จิตตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[32] สภาพที่น้อมไปแห่งสัทธินทรีย์ สภาพที่ประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์ สภาพที่ตั้งมั่นแห่งสตินทรีย์ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธินทรีย์ สภาพที่เห็นแห่งปัญญินทรีย์ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[33] สภาพที่ศรัทธาพละมิได้หวั่นไหวเพราะจิตตุปบาทอันเป็นข้าศึกแก่ศรัทธา สภาพที่วิริยพละมิได้หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน สภาพที่สติพละมิได้หวั่นไหวเพราะความประมาทสภาพที่สมาธิพละมิได้หวั่นไหวเพราะอุธัจจะ สภาพที่ปัญญาพละมิได้หวั่นไหวเพราะอวิชชา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[34] สภาพที่ตั้งมั่นแห่งสติสัมโพชฌงค์ สภาพที่เลือกเฟ้นแห่งธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์สภาพที่ประคองไว้แห่งวิริยสัมโพชฌงค์ สภาพที่แผ่ไปแห่งปีติสัมโพชฌงค์ สภาพที่สงบแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ สภาพที่พิจารณาหาทางแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[35] สภาพที่เห็นแห่งสัมมาทิฐิ สภาพที่ตรึกแห่งสัมมาสังกัปปะ สภาพที่กำหนดแห่งสัมมาวาจา สภาพที่ประชุมแห่งสัมมากัมมันตะ สภาพที่ผ่องแผ้วแห่งสัมมาอาชีวะ สภาพที่ประคองไว้แห่งสัมมาวายามะ สภาพที่ตั้งมั่นแห่งสัมมาสติ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[36] สภาพที่เป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ สภาพที่ไม่หวั่นไหวแห่งพละ สภาพที่นำออกแห่งโพชฌงค์ สภาพที่เป็นเหตุแห่งมรรค สภาพที่ตั้งมั่นแห่งสติปัฏฐาน สภาพที่เริ่มตั้งแห่งสัมมัปปธาน สภาพที่สำเร็จแห่งอิทธิบาท สภาพที่เที่ยงแท้แห่งสัจจะ สภาพที่ระงับแห่งประโยชน์สภาพที่ทำให้แจ้งแห่งผลสภาพที่ตรึกแห่งวิตก สภาพที่ตรวจตราแห่งวิจาร สภาพที่แผ่ไปแห่งปีติสภาพที่ไหลมาแห่งสุข สภาพที่มีอารมณ์เดียวแห่งจิต สภาพที่คำนึง สภาพที่รู้แจ้ง สภาพที่รู้ชัดสภาพที่จำได้ สภาพที่สมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[37] สภาพที่รู้แห่งปัญญาที่รู้ยิ่ง สภาพที่กำหนดรู้แห่งปริญญา สภาพแห่งปฏิปักขธรรมที่สละแห่งปหานะ สภาพแห่งภาวนามีกิจเป็นอย่างเดียว สภาพที่ถูกต้องแห่งสัจฉิกิริยา สภาพที่เป็นกองแห่งทุกข์ สภาพที่ทรงไว้แห่งธาตุ สภาพที่ต่อแห่งอายตนะ สภาพที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรม สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[38] สภาพที่คิด สภาพแห่งจิตไม่มีระหว่าง สภาพที่ออกแห่งจิต สภาพที่หลีกไปแห่งจิต สภาพแห่งจิตเป็นเหตุ สภาพแห่งจิตเป็นปัจจัย สภาพที่เป็นที่ตั้งแห่งจิต สภาพที่เป็นภูมิแห่งจิต สภาพที่เป็นอารมณ์แห่งจิต สภาพที่เป็นโคจรแห่งจิต สภาพที่เที่ยวไปแห่งจิต สภาพที่ไปแห่งจิต สภาพที่นำไปยิ่งแห่งจิต สภาพที่นำออกแห่งจิต สภาพที่สลัดออกแห่งจิต ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[39] สภาพที่นึกในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่รู้แจ้ง …สภาพที่รู้ชัด …สภาพที่จำได้ … สภาพที่จิตมั่นคง … สภาพที่เนื่อง … สภาพที่แล่นไป … สภาพที่ผ่องใส … สภาพที่ตั้งมั่น … สภาพที่หลุดพ้น … สภาพที่เห็นว่านี่ละเอียด … สภาพที่ทำให้เป็นเช่นดังยาน … สภาพที่ทำให้เป็นที่ตั้ง … สภาพที่ตั้งขึ้นเนืองๆ … สภาพที่อบรม … สภาพที่ปรารภชอบด้วยดี … สภาพที่กำหนดถือไว้ … สภาพที่เป็นบริวาร … สภาพที่เต็มรอบ … สภาพที่ประชุม … สภาพที่อธิษฐาน … สภาพที่เสพ…สภาพที่เจริญ … สภาพที่ทำให้มาก … สภาพที่รวมดี … สภาพที่หลุดพ้นด้วยดี … สภาพที่ตรัสรู้ …สภาพที่ตรัสรู้ตาม … สภาพที่ตรัสรู้เฉพาะ … สภาพที่ตรัสรู้พร้อม สภาพที่ตื่น … สภาพที่ตื่นตาม …สภาพที่ตื่นเฉพาะ … สภาพที่ตื่นพร้อม … สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้ … สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้ตาม … สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้เฉพาะ… สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้พร้อม … สภาพที่สว่าง … สภาพที่สว่างขึ้น … สภาพที่สว่างเนืองๆ … สภาพที่สว่างเฉพาะ …สภาพที่สว่างพร้อมในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[40] สภาพที่อริยมรรคให้สว่าง สภาพที่อริยมรรคให้รุ่งเรือง สภาพที่อริยมรรคให้กิเลสทั้งหลายเร่าร้อน สภาพที่อริยมรรคไม่มีมลทิน สภาพที่อริยมรรคปราศจากมลทิน สภาพที่อริยมรรคหมดมลทิน สภาพที่อริยมรรคสงบ สภาพที่อริยมรรคให้กิเลสระงับ สภาพแห่งวิเวกสภาพแห่งความประพฤติในวิเวกสภาพที่คลายกำหนัด สภาพแห่งความประพฤติในความคลายกำหนัด สภาพที่ดับสภาพแห่งความประพฤติความดับ สภาพที่ปล่อย สภาพแห่งความประพฤติในความปล่อย สภาพที่พ้น สภาพแห่งความประพฤติในความพ้น ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[41] สภาพแห่งฉันทะ สภาพที่เป็นมูลแห่งฉันทะ สภาพที่เป็นบาท แห่งฉันทะสภาพที่เป็นประธานแห่งฉันทะ สภาพที่สำเร็จแห่งฉันทะ สภาพที่น้อมไปแห่งฉันทะ สภาพที่ประคองไว้แห่งฉันทะ สภาพที่ตั้งมั่นแห่งฉันทะสภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งฉันทะ สภาพที่เห็นแห่งฉันทะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[42] สภาพแห่งวิริยะ สภาพที่เป็นมูลแห่งวิริยะ สภาพที่เป็นบาทแห่งวิริยะ สภาพที่เป็นประธานแห่งวิริยะ สภาพที่สำเร็จแห่งวิริยะ สภาพที่น้อมไปแห่งวิริยะ สภาพที่ประคองไว้แห่งวิริยะ สภาพที่ตั้งมั่นแห่งวิริยะ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิริยะ สภาพที่เห็นแห่งวิริยะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[43] สภาพแห่งจิต สภาพที่เป็นมูลแห่งจิต สภาพที่เป็นบาทแห่งจิต สภาพที่เป็นประธานแห่งจิต สภาพที่สำเร็จแห่งจิต สภาพที่น้อมไปแห่งจิตสภาพที่ประคองไว้แห่งจิต สภาพที่ตั้งมั่นแห่งจิต สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิตสภาพที่เห็นแห่งจิต ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[44] สภาพแห่งวิมังสา สภาพที่เป็นมูลแห่งวิมังสา สภาพที่เป็นบาทแห่งวิมังสาสภาพที่เป็นประธานแห่งวิมังสา สภาพที่สำเร็จแห่งวิมังสา สภาพที่น้อมไปแห่งวิมังสา สภาพที่ประคองไว้แห่งวิมังสา สภาพที่ตั้งมั่นแห่งวิมังสา สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิมังสา สภาพที่เห็นแห่งวิมังสา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[45] สภาพแห่งทุกข์ สภาพที่ทุกข์บีบคั้น สภาพที่ทุกข์อันปัจจัยปรุงแต่ง สภาพที่ทุกข์ให้เดือดร้อน สภาพที่ทุกข์แปรปรวน สภาพแห่งสมุทัย สภาพที่สมุทัยประมวลมา สภาพที่สมุทัยเป็นเหตุ สภาพที่สมุทัยเกี่ยวข้อง สภาพที่สมุทัยพัวพัน สภาพแห่งนิโรธ สภาพที่นิโรธสลัดออกสภาพที่นิโรธเป็นวิเวก สภาพที่นิโรธเป็นอสังขตะ สภาพที่นิโรธเป็นอมตะ สภาพแห่งมรรค สภาพที่มรรคนำออก สภาพที่มรรคเป็นเหตุ สภาพที่มรรคเห็น สภาพที่มรรคเป็นอธิบดีควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[46] สภาพที่ถ่องแท้ สภาพที่เป็นอนัตตา สภาพที่เป็นสัจจะสภาพที่ควรแทงตลอดสภาพที่ควรรู้ยิ่ง สภาพที่ควรกำหนดรู้ สภาพที่ทรงรู้ สภาพที่เป็นธาตุ สภาพที่อาจได้ สภาพที่รู้ควรทำให้แจ้ง สภาพที่ควรถูกต้อง สภาพที่ควรตรัสรู้ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[47] เนกขัมมะ อัพยาบาท อาโลกสัญญา ความไม่ฟุ้งซ่าน ความกำหนดธรรมญาณ ความปราโมทย์ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานอากาสานัญจายตนสมาบัติวิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[48] การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง การพิจารณาเห็นความทุกข์ การพิจารณาเห็นอนัตตา การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่าย การพิจารณาเห็นด้วยความคลายกำหนัด การพิจารณาเห็นด้วยความดับ การพิจารณาเห็นด้วยความสละคืน การพิจารณาเห็นความสิ้นไป การพิจารณาเห็นความเสื่อมไป การพิจารณาเห็นความแปรปรวน การพิจารณาเห็นความไม่มีเครื่องหมาย การพิจารณาเห็นธรรมไม่มีที่ตั้ง การพิจารณาเห็นความว่างเปล่า การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง การพิจารณาเห็นโทษ การพิจารณาหาทาง การพิจารณาเห็นอุบายที่จะหลีกไป ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[49] โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลสมาบัติ สกทาคามิมรรค สกทาคามิผลสมาบัติอนาคามิมรรค อนาคามิผลสมาบัติ อรหัตมรรค อรหัตผลสมาบัติ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[50] สัทธินทรีย์ด้วยความว่าน้อมไป วิริยินทรีย์ด้วยความว่าประคองไว้ สตินทรีย์ด้วยความว่าตั้งมั่น สมาธินทรีย์ด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์ด้วยความว่าเห็น ศรัทธาพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา วิริยพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน สติพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท สมาธิพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่าน ปัญญาพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[51] สติสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถเลือกเฟ้นวิริยสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ปีติสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าแผ่ไป ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าสงบ สมาธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าพิจารณาหาทาง ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[52] สัมมาทิฐิด้วยความว่าเห็น สัมมาสังกัปปะด้วยความว่าตรึก สัมมาวาจาด้วยความว่ากำหนดเอา สัมมากัมมันตะด้วยความว่าให้กุศลธรรมเกิดสัมมาอาชีวะด้วยความว่าขาวผ่องสัมมาวายามะด้วยความว่าประคองไว้ สัมมาสติด้วยความว่าตั้งมั่น สัมมาสมาธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[53] อินทรีย์ด้วยความว่าเป็นใหญ่ พละด้วยความว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์ด้วยความว่านำออก มรรคด้วยความว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานด้วยความว่าตั้งมั่นสัมมัปปธานด้วยความว่าตั้งไว้อิทธิบาทด้วยความว่าสำเร็จ สัจจะด้วยความว่าเที่ยงแท้ สมถะด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสนาด้วยความว่าพิจารณา สมถะและวิปัสนาด้วยความว่ามีกิจเสมอกัน ธรรมชาติที่เป็นคู่ด้วยความว่าไม่ล่วงเกินกันควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
[54] สีลวิสุทธิด้วยความว่าสำรวม จิตตวิสุทธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิด้วยความว่าเห็น วิโมกข์ด้วยความว่าหลุดพ้น วิชชาด้วยความว่าแทงตลอด วิมุติด้วยความว่าสละ ญาณในความสิ้นไปด้วยความว่าตัดขาด ญาณในความไม่เกิดขึ้นด้วยความว่าระงับ ฉันทะด้วยความว่าเป็นมูลฐาน มนสิการด้วยความว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะด้วยความว่าประมวลมา เวทนาด้วยความว่าประชุมสมาธิด้วยความว่าเป็นประธาน สติด้วยความว่าเป็นใหญ่ ปัญญาด้วยความว่าประเสริฐกว่ากุศลธรรมนั้นๆ วิมุติด้วยความว่าเป็นแก่นสาร นิพพานอันหยั่งลงในอมตะด้วยความว่าเป็นที่สุด ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง
[55] ธรรมใดๆ ที่รู้ยิ่งแล้ว ธรรมนั้นๆ เป็นคุณที่รู้แล้ว ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ทั่ว เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมา คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง เป็นสุตมยญาณ ฯ
จบทุติยภาณวาร ฯ
ปริญเญยยกิจจนิทเทส
[56] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมา คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่าธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ เป็นสุตมยญาณอย่างไร ฯ
ธรรมอย่างหนึ่งควรกำหนดรู้ คือ ผัสสะอันมีอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ธรรม 2ควรกำหนดรู้ คือ นาม 1 รูป 1 ธรรม 3 ควรกำหนดรู้คือ เวทนา 3 ธรรม 4 ควรกำหนดรู้ คืออาหาร 4 ธรรม 5 ควรกำหนดรู้ คืออุปาทานขันธ์ 5 ธรรม 6 ควรกำหนดรู้ คือ อายตนะภายใน 6ธรรม 7 ควรกำหนดรู้ คือ วิญญาณฐิติ 7 ธรรม 8 ควรกำหนดรู้ คือ โลกธรรม 8 ธรรม 9 ควรกำหนดรู้ คือ สัตตาวาส 9 ธรรม 10 ควรกำหนดรู้ คือ อายตนะ 10 ฯ
[57] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่ควรกำหนดรู้คืออะไร คือ ตา รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส สุขเวทนาทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยควรกำหนดรู้ทุกอย่าง ฯ
หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง ฯ
[58] รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ ฯลฯ ชราและมรณะ ฯลฯ นิพพานที่หยั่งลงในอมตะด้วยความว่าเป็นที่สุด ควรกำหนดรู้ทุกอย่างบุคคลผู้พยายามเพื่อจะได้ธรรมใดๆเป็นอันได้ธรรมนั้นๆ แล้ว ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
[59] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้เนกขัมมะ เป็นอันได้เนกขัมมะแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความไม่พยาบาท เป็นอันได้ความไม่พยาบาทแล้ว …บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อาโลกสัญญา เป็นอันได้อาโลกสัญญาแล้ว … บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอันได้ความไม่ฟุ้งซ่านแล้ว … บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้การกำหนดธรรม เป็นอันได้การกำหนดธรรมแล้ว … บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ญาณ เป็นอันได้ญาณแล้ว … บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความปราโมทย์ เป็นอันได้ความปราโมทย์แล้วธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
[60] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ปฐมฌาน เป็นอันได้ปฐมฌานแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว และพิจารณาแล้วอย่างนี้บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌานเป็นอันได้จตุตถฌานแล้ว … บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ … วิญญาณัญจายตนสมาบัติ … อากิญจัญญายตนสมาบัติ … เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นอันได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว และพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
[61] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อนิจจานุปัสนา เป็นอันได้อนิจจานุปัสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ทุกขานุปัสนา … อนัตตานุปัสนา… นิพพิทานุปัสนา … วิราคานุปัสนา … นิโรธานุปัสนา … ปฏินิสสัคคานุปัสนา… ขยานุปัสนา … วยานุปัสนา … วิปริณามานุปัสนา … อนิมิตตานุปัสนา …อัปปณิหิตานุปัสนา … สุญญตานุปัสนา … เป็นอันได้สุญญตานุปัสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
[62] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อธิปัญญาธรรมวิปัสนา การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอันได้อธิปัญญาธรรมวิปัสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ยถาภูตญาณทัสนะ … อาทีนวานุปัสนา … ปฏิสังขานุปัสนา …วิวัฏฏนานุปัสนา … เป็นอันได้วิวัฏฎนานุปัสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
[63] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้โสดาปัตติมรรค เป็นอันได้โสดาปัตติมรรคแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้สกทาคามิมรรค … อนาคามิมรรค… อรหัตมรรค เป็นอันได้อรหัตมรรคแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ธรรมใดๆเป็นอันได้ธรรมนั้นๆ แล้ว ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญาเพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่าธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ
ปหาตัพพกิจจนิทเทส
[64] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรละ ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างไร ฯ
ธรรมอย่างหนึ่งควรละ คือ อัสมิมานะ ธรรม 2 ควรละ คือ อวิชชา 1 ตัณหา 1ธรรม 3 ควรละ คือ ตัณหา 3 ธรรม 4 ควรละ คือ โอฆะ 4 ธรรม 5ควรละ คือ นิวรณ์ 5ธรรม 6 ควรละ คือ หมวดตัณหา 6 ธรรม 7 ควรละคือ อนุสัย 7 ธรรม 8 ควรละ คือมิจฉัตตะ ความเป็นผิด 8 ธรรม 9 ควรละคือ ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ 9 ธรรม 10 ควรละ คือมิจฉัตตะ 10 ฯ
[65] ปหานะ 2 คือ สมุจเฉทปหานะ 1 ปฏิปัสสัทธิปหานะ 1 สมุจเฉทปหานะ อันเป็นโลกุตรมรรค และปฏิปัสสัทธิปหานะอันเป็นโลกุตรผลในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญมรรค เครื่องให้ถึงความสิ้นไป ฯ
ปหานะ 3 คือ เนกขัมมะ เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกาม 1 อรูปญาณ เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป 1 นิโรธ เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งสังขตธรรมที่เกิดขึ้นแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้น 1 บุคคลผู้ได้เนกขัมมะเป็นอันละและสละกามได้แล้ว บุคคลผู้ได้อรูปญาณเป็นอันละและสละรูปได้แล้ว บุคคลผู้ได้นิโรธเป็นอันละและสละสังขารได้แล้ว ฯ
ปหานะ 4 คือ บุคคลผู้แทงตลอดทุกขสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ 1 บุคคลผู้แทงตลอดสมุทัยสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยการละ ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ 1 บุคคลผู้แทงตลอดนิโรธสัจอันเป็นการแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้ง ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ 1 บุคคลผู้แทงตลอดมรรคสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยการเจริญ ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ 1 ฯ
ปหานะ 5 คือ วิกขัมภนปหานะ 1 ตทังคปหานะ 1 สมุจเฉทปหานะ 1 ปฏิปัสสัทธิปหานะ 1 นิสสรณปหานะ 1 การละนิวรณ์ด้วยการข่มไว้ ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญปฐมฌาน การละทิฐิด้วยองค์นั้นๆ ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญสมาธิอันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทปหานะ อันเป็นโลกุตรมรรค และปฏิปัสสัทธิปหานะอันเป็นโลกุตรผล ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญมรรคเครื่องให้ถึงความสิ้นไป และนิสสรณปหานะเป็นนิโรธ คือ นิพพาน ฯ
[66] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงควรละคืออะไร คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนาทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยควรละทุกอย่าง
หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะฯลฯ ใจธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ สุขเวทนาทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัยควรละทุกอย่าง ฯ
เมื่อพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ เมื่อพิจารณาเห็นเวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณ … จักษุ …ชราและมรณะ โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ เมื่อพิจารณาเห็นนิพพานอันหยั่งลงสู่อมตะ [ด้วยความเป็นอนัตตา] ด้วยความว่าเป็นที่สุด ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ธรรมใดๆ เป็นธรรมที่ละได้แล้วธรรมนั้นๆ เป็นอันสละได้แล้ว ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือเครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรละ ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ
จบตติยภาณวาร ฯ
ภาเวตัพพกิจจนิทเทส
[67] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างไร
ธรรมอย่างหนึ่งควรเจริญ คือ กายคตาสติอันสหรคตด้วยความสำราญ ธรรม 2 ควรเจริญ คือ สมถะ 1 วิปัสนา 1 ธรรม 3 ควรเจริญ คือ สมาธิ 3ธรรม 4 ควรเจริญ คือสติปัฏฐาน 4 ธรรม 5 ควรเจริญ คือ สัมมาสมาธิมีองค์ 5 ธรรม 6 ควรเจริญ คือ อนุสสติ 6ธรรม 7 ควรเจริญ คือ โพชฌงค์ 7ธรรม 8 ควรเจริญ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ธรรม 9 ควรเจริญ คือ องค์อันเป็นประธานแห่งความบริสุทธิ์ [ปาริสุทธิ] 9 ธรรม 10 ควรเจริญ คือ กสิณ 10 ฯ
[68] ภาวนา 2 คือโลกิยภาวนา 1 โลกุตรภาวนา 1 ภาวนา 3 คือ การเจริญธรรมอันเป็นรูปาวจรกุศล 1 การเจริญธรรมอันเป็นอรูปาวจรกุศล 1 การเจริญกุศลธรรมอันไม่นับเนื่องในโลก [โลกุตรกุศล] 1 การเจริญธรรมอันเป็นรูปาวจรกุศล เป็นส่วนเลวก็มี เป็นส่วนปานกลางก็มี เป็นส่วนประณีตก็มี การเจริญธรรมอันเป็นอรูปาวจรกุศล เป็นส่วนเลวก็มี เป็นส่วนปานกลางก็มี เป็นส่วนประณีตก็มี การเจริญกุศลธรรมอันไม่นับเนื่องในโลก เป็นส่วนประณีตอย่างเดียว ภาวนา 4 คือ เมื่อแทงตลอดทุกขสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยปริญญา ชื่อว่าเจริญอยู่ 1 เมื่อแทงตลอดสมุทัยสัจอันเป็นการแทงตลอดด้วยปหานะ ชื่อว่าเจริญอยู่ 1 เมื่อแทงตลอดนิโรธสัจอันเป็นการแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา ชื่อว่าเจริญอยู่ 1 เมื่อแทงตลอดมรรคสัจอันเป็นการแทงตลอดด้วยภาวนา ชื่อว่าเจริญอยู่ 1 ภาวนา 4 นี้ ฯ
[69] ภาวนา 4 อีกประการหนึ่ง คือ เอสนาภาวนา 1 ปฏิลาภภาวนา 1 เอกรสาภาวนา 1 อาเสวนาภาวนา 1 ฯ
เอสนาภาวนาเป็นไฉน เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิอยู่ ธรรมทั้งหลายที่เกิดในธรรมอันเป็นส่วนเบื้องต้นนั้น มีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้น ภาวนานี้ จึงชื่อว่าเอสนาภาวนา ฯ
ปฏิลาภภาวนาเป็นไฉน เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิแล้ว ธรรม ทั้งหลายที่เกิดในสมาธินั้น ไม่เป็นไปล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ภาวนานี้จึงชื่อว่าปฏิลาภภาวนา ฯ
[70] เอกรสาภาวนาเป็นไฉน เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ อินทรีย์อีก 4 อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ … เมื่อเจริญสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น … เมื่อเจริญสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน… เมื่อเจริญปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น อินทรีย์อีก 4 อย่าง มีกิจอย่างเดียวกันด้วยสามารถปัญญินทรีย์ เพราะฉะนั้นชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ฯ
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธาพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหว เพราะอสัทธิยะ พละอีก4 อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัทธาพละเพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่าพละทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกันเมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะโกสัชชะ … เมื่อพระโยคาวจรเจริญสติพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะปมาทะ … เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ … เมื่อพระโยคาวจรเจริญปัญญาพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา พละอีก 4 อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถปัญญาพละ เพราะฉะนั้นชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าพละทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ฯ
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสติสัมโพชฌงค์ ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น โพชฌงค์อีก 6 อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสติสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้นชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อพระโยคาวจรเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าเลือกเฟ้น …เมื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ … เมื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่า ซาบซ่านไป …เมื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าสงบ … เมื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน … เมื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าพิจารณาหาทางโพชฌงค์อีก 6 อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถอุเบกขาสัมโพชฌงค์เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ฯ
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็นชอบ องค์มรรคอีก 7 อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาทิฐิ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าองค์มรรคทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าตรึก … เมื่อเจริญสัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนดเอา … เมื่อเจริญสัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน … เมื่อเจริญสัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าผ่องแผ้ว …เมื่อเจริญสัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ … เมื่อเจริญสัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น … เมื่อเจริญสัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน องค์มรรคอีก 7 อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาสมาธิ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนาด้วยอรรถว่าองค์มรรถทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ภาวนานี้ ชื่อว่าเอกรสาภาวนา ฯ
[71] อาเสวนาภาวนาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งสมาธิที่ถึงความสำราญ ตลอดเวลาเช้าก็ดี ตลอดเวลาเที่ยงก็ดีตลอดเวลาเย็นก็ดี ตลอดเวลาก่อนภัตก็ดี ตลอดเวลาหลังภัตก็ดี ตลอดยามต้นก็ดีตลอดยามหลังก็ดี ตลอดคืนก็ดี ตลอดวันก็ดี ตลอดคืนและวันก็ดี ตลอดกาฬปักษ์ก็ดี ตลอดชุณหปักษ์ก็ดี ตลอดฤดูฝนก็ดี ตลอดฤดูหนาวก็ดี ตลอดฤดูร้อนก็ดีตลอดส่วนวัยต้นก็ดี ตลอดส่วนวัยกลางก็ดี ตลอดส่วนวัยหลังก็ดี ภาวนานี้ชื่อว่าอาเสวนาภาวนา ภาวนา 4 ประการนี้ ฯ
[72] ภาวนา 4 อีกประการหนึ่ง คือ ภาวนา ด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกันแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น 1 ภาวนาด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน 1 ภาวนาด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้นๆ 1 ภาวนาด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก 1 ฯ
[73] ภาวนา ด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกันแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นอย่างไร ฯ
เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถเนกขัมมะ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกันแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น เมื่อพระโยคาวจรละพยาบาท ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถความไม่พยาบาท ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละถีนมิทธะธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอาโลกสัญญา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละอุทธัจจะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละวิจิกิจฉา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถการกำหนดธรรมย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละอวิชชาธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถแห่งญาณย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละอรติ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถ ความปราโมทย์ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละนิวรณ์ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถปฐมฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละวิตกและวิจาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถทุติยฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละปีติ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถตติยฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละสุขและทุกข์ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถจตุตถฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละอากาสานัญจายตนสัญญาธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวิญญาณัญจายตนสมาบัติย่อมไม่ล่วงกันและกัน …เมื่อละวิญญาณัญจายตนสัญญาธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละอากิญจัญญายตนสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน …เมื่อละนิจจสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอนิจจานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละสุขสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถทุกขานุปัสนาย่อมไม่ล่วงกันและกัน …เมื่อละอัตตสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอนัตตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน …เมื่อละความเพลิดเพลิน ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถนิพพิทานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละราคะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวิราคานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละฆนสัญญา ธรรมทั้งหลายเกิดด้วยสามารถขยานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน …เมื่อละสมุทัยธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถนิโรธานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละความถือมั่น ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถปฏินิสสัคคานุปัสนาย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละอายูหนะ (การทำความเพียรเพื่อประโยชน์แก่สังขาร) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวยานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน …เมื่อละธุวสัญญา (ความสำคัญว่ายั่งยืน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวิปริณามานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละนิมิตร ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอนิมิตตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละปณิธิ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอัปปณิหิตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละอภินิเวส(ความยึดมั่นว่ามีตัวตน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถสุญญตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละสาราทานาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยการถือว่าเป็นแก่นสาร) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอธิปัญญาธรรมวิปัสนา (ความเห็นแจ้งซึ่งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง) ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละสัมโมหาภินิเวส(ความยึดมั่นด้วยความหลงใหล) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถยถาภูตญาณทัสนะ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละอาลยาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยความอาลัย) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอาทีนวานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละอัปปฏิสังขา (ความไม่พิจารณา) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถปฏิสังขานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละสัญโญคาภินิเวส(ความยึดมั่นด้วยกิเลสเครื่องประกอบสัตว์) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถด้วยวิวัฏฏานุปัสนา (ความตามเห็นกามเป็นเครื่องควรหลีกไป) ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับทิฐิ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถโสดาปัตติมรรคย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละกิเลสอย่างหยาบ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถสกทาคามิมรรค ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละกิเลสอย่างละเอียด ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยความสามารอนาคามิมรรค ย่อมไม่ล่วงกันและกัน … เมื่อละกิเลสทั้งปวง ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยความสามารถอรหัตมรรคย่อมไม่ล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงกันและกัน ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงกันและกัน อย่างนี้ ฯ
[74] ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกันอย่างไร
เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ อินทรีย์ 5 มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อละพยาบาท อินทรีย์ 5 มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งหมด อินทรีย์ 5 มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน อย่างนี้ ฯ
[75] ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้นๆ อย่างไร ฯ
พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมนำไปซึ่งความเพียรด้วยสามารถเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้นๆ เมื่อละพยาบาท ย่อมนำไปซึ่งความเพียรด้วยสามารถความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมนำไปซึ่งความเพียรด้วยสามารถอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้นๆ อย่างนี้ ฯ
[76] ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก อย่างไร ฯ
เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งเนกขัมมะเพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก เมื่อละพยาบาทย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมากชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมากอย่างนี้ ภาวนา 4 ประการนี้ ฯ
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูป ชื่อว่าเจริญภาวนา พิจารณาเห็นเวทนา …พิจารณาเห็นสัญญา … พิจารณาเห็นสังขาร … พิจารณาเห็นวิญญาณ … พิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ พิจารณาเห็นชราและมรณะ … พิจารณาเห็นนิพพานอันหยั่งลงในอมตะด้วยอรรถว่าเป็นที่สุด ชื่อว่าเจริญภาวนา ธรรมใดๆ เป็นธรรมอันเจริญแล้วธรรมนั้นๆ ย่อมมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆชื่อว่าปัญญา ด้วยอรรถว่ารู้ชัด เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้วว่า ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ
จบจตุตถภาณวาร
สัจฉิกาตัพพนิทเทส
[77] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างไร ฯ
ธรรมอย่างหนึ่งควรทำให้แจ้ง คือ เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ธรรม 2 ควรทำให้แจ้งคือ วิชชา 1 วิมุตติ 1 ธรรม 3 ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา 3ธรรม 4 ควรทำให้แจ้ง คือสามัญญผล 4 ธรรม 5 ควรทำให้แจ้ง คือธรรมขันธ์ 5 ธรรม 6 ควรทำให้แจ้ง คือ อภิญญา 6ธรรม 7 ควรทำให้แจ้งคือ กำลังของพระขีณาสพ 7 ธรรม 8 ควรทำให้แจ้ง คือ วิโมกข์ 8ธรรม9 ควรทำให้แจ้ง คือ อนุปุพพนิโรธ 9 ธรรม 10 ควรทำให้แจ้ง คืออเสกขธรรม 10 ฯ
[78] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง คือ อะไร คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัสสุขเวทนา ทุกขเวทนาหรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ควรทำให้แจ้งทุกอย่าง หู เสียง ฯลฯจมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯกาย โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณมโนสัมผัส สุขเวทนาทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยควรทำให้แจ้งทุกอย่าง ฯ
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นรูป ย่อมทำให้แจ้งโดยทำให้เป็นอารมณ์ เมื่อพิจารณาเห็นเวทนา … เมื่อพิจารณาเห็นสัญญา … เมื่อพิจารณาเห็นสังขาร …เมื่อพิจารณาเห็นวิญญาณ … เมื่อพิจารณาเห็นจักษุ … เมื่อพิจารณาเห็นชราและมรณะ … เมื่อพิจารณาเห็นนิพพานอันหยั่งลงในอมตะด้วยอรรถว่าเป็นที่สุด ย่อมทำให้แจ้งโดยทำให้เป็นอารมณ์ ธรรมใดๆ เป็นธรรมอันทำให้แจ้งแล้ว ธรรมนั้นๆย่อมเป็นธรรมอันถูกต้องแล้ว ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถรู้ว่าชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือเครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ
หานภาคิยจตุกกนิทเทส
ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่าธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนชำแรกกิเลส ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ
สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยกาม ของพระโยคาวจร ผู้ได้ปฐมฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่ปฐมฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการอันไม่ประกอบด้วยวิตกเป็นไปอยู่นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยวิตก ของพระโยคาวจร ผู้ได้ทุติยฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่ทุติยฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยอุเบกขาและสุข เป็นไปอยู่นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยปีติและสุขของพระโยคาวจร ผู้ได้ตติยฌาน เป็นไปอยู่นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่ตติยฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะ เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยอุเบกขาและสุข ของพระโยคาวจรผู้ได้จตุตถฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่จตุตถฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่ายประกอบด้วยวิราคะ เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลสสัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยรูป ของพระโยคาวจรผู้ได้อากาสานัญจายตนฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่อากาสานัญจายตนฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌาน ของพระโยคาวจรผู้ได้วิญญาณัญจายตนฌาน เป็นไปอยู่นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่วิญญาณัญจายตนฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่ายประกอบด้วยวิราคะ เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลสสัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน ของพระโยคาวจรผู้ได้อากิญจัญญายตนฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อมความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่อากิญจัญญายตนฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะ เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส ชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้นชื่อว่าปัญญา ด้วยอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ
ลักขณัตติกนิทเทส
[79] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างไร ฯ
ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า รูปไม่เที่ยงเพราะความว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะความว่าน่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะความว่าหาแก่นสารมิได้ ชื่อว่าสุตมยญาณ ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่าเวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ไม่เที่ยง เพราะความว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะความว่าน่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะความว่าหาแก่นสารมิได้ ชื่อว่าสุตมยญาณ ชื่อว่าญาณด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญาด้วยอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ
จตุราริยสัจจนิทเทส
[80] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วว่า นี้ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างไร ฯ
ในอริยสัจ 4 ประการนั้น ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ชาติเป็นทุกข์ ชรา เป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทสนัส และอุปายาสเป็นทุกข์ ความประจวบกับสังขารหรือสัตว์อันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสังขารหรือสัตว์อันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความไม่ได้สมปรารถนาก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ฯ
ชาติในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความเกิด ความเกิดพร้อม ความก้าวลง ความบังเกิดความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย ความกลับได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ นี้ท่านกล่าวว่า ชาติ ฯ
ชราในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความแก่ ความชำรุด ความเป็นผู้มีฟันหัก ความเป็นผู้มีผมหงอก ความเป็นผู้มีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความแก่แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งสัตว์นั้นๆ นี้ท่านกล่าวว่า ชรา ฯ
มรณะในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความจุติ ความเคลื่อน ความแตก ความหายไปความถึงตาย ความตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งสัตว์นั้นๆนี้ท่านกล่าวว่า มรณะ ฯ
[81] โสกะในทุกขอริสัจนั้นเป็นไฉน ความโศก กิริยาที่โศก ความเป็นผู้โศก ความโศก ณ ภายใน ความตรมตรอม ณ ภายใน ความตรอมจิตความเสียใจ ลูกศร คือ ความโศกแห่งบุคคลผู้ถูกความฉิบหายแห่งญาติกระทบเข้าก็ดี ผู้ถูกความฉิบหายแห่งสมบัติกระทบเข้าก็ดีผู้ถูกความฉิบหาย คือ โรคกระทบเข้าก็ดี ผู้ถูกความฉิบหายแห่งศีลกระทบเข้าก็ดี ผู้ถูกความฉิบหายแห่งทิฐิกระทบเข้าก็ดี ผู้ประจวบกับความฉิบหายอื่นๆ ก็ดี ผู้ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นๆ กระทบเข้าก็ดี นี้ท่านกล่าวว่า โสกะ ฯ
ปริเทวะในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความครวญ ความคร่ำครวญ ความร่ำไร ความเป็นผู้ร่ำไร ความเป็นผู้รำพัน ความบ่นด้วยวาจา ความเพ้อด้วยวาจาความพูดพร่ำเพรื่อ กิริยาที่พูดพร่ำ ความเป็นผู้พูดพร่ำเพรื่อ แห่งบุคคลผู้ถูกความฉิบหายแห่งญาติกระทบเข้าก็ดี … ผู้ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นๆ กระทบเข้าก็ดี นี้ท่านกล่าวว่า ปริเทวะ ฯ
ทุกข์ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความไม่สำราญ ความลำบากอันมีทางกาย ความไม่สำราญ ความลำบากที่สัตว์เสวยแล้วซึ่งเกิดแต่กายสัมผัสกิริยาอันไม่สำราญ ทุกขเวทนาซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส นี้ท่านกล่าวว่า ทุกข์ ฯ
โทมนัสในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความไม่สำราญ ความลำบากอันมีทางใจ ความไม่สำราญ ความลำบากที่สัตว์เสวยแล้วเกิดแต่สัมผัสทางใจ กิริยาอันไม่สำราญ ทุกขเวทนาซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางใจ นี้ท่านกล่าวว่า โทมนัส ฯ
อุปายาสในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความแค้น ความเคือง ความเป็นผู้แค้น ความเป็นผู้เคือง แห่งบุคคลผู้ถูกความฉิบหายแห่งญาติกระทบเข้าก็ดี … ผู้ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นๆ กระทบเข้าก็ดี นี้ท่านกล่าวว่า อุปายาส ฯ
[82] ความประจวบกับสังขารหรือสัตว์อันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน สังขารเหล่าใด คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ไม่น่าพอใจในโลกนี้ ย่อมมีแก่บุคคลนั้น หรือสัตว์เหล่าใดเป็นผู้ไม่หวังประโยชน์ ไม่หวังความเกื้อกูล ไม่หวังความสบายไม่หวังความปลอดโปร่งจากโยคกิเลสแก่บุคคลนั้น การไปร่วมกัน การมาร่วมกันการอยู่ร่วมกัน การทำกิจร่วมกัน กับสังขารหรือสัตว์เหล่านั้น นี้ท่านกล่าวว่าความประจวบกับสังขารหรือสัตว์อันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ ฯ
ความพลัดพรากจากสังขารหรือสัตว์อันเป็นที่รัก เป็นทุกข์ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉนสังขารเหล่าใด คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ในโลกนี้ ย่อมมีแก่บุคคลนั้น หรือสัตว์เหล่าใดคือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิงมิตร พวกพ้อง ญาติหรือสาโลหิตเป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความสบายหวังความปลอดโปร่งจากโยคกิเลสแก่บุคคลนั้น การไม่ได้ไปร่วมกัน การไม่ได้มาร่วมกัน การไม่ได้อยู่ร่วมกัน การไม่ได้ทำกิจร่วมกัน กับสังขารหรือสัตว์เหล่านั้น นี้ท่านกล่าวว่า ความพลัดพรากจากสังขารหรือสัตว์อันเป็นที่รัก เป็นทุกข์ ฯ
ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์ในทุกขอริยสัจเป็นไฉน สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา มีความปรารถนาเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ขอเราทั้งหลายอย่ามีชาติเป็นธรรมดา และชาติอย่ามาถึงแก่เราทั้งหลายเลย ข้อนี้อันสัตว์ทั้งหลายไม่พึงได้ตามความปรารถนา แม้ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นี้ก็เป็นทุกข์สัตว์ทั้งหลายมีชราเป็นธรรมดา ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายมีพยาธิเป็นธรรมดา ฯลฯสัตว์ทั้งหลายมีมรณะเป็นธรรมดา ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายมีโสกะปริเทวะ ทุกข์โทสนัสและอุปายาสเป็นธรรมดา มีความปรารถนาเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ขอเราทั้งหลายอย่าพึงมีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจเป็นธรรมดาเลยและขอความโศก ความร่ำไร ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจ ไม่พึงมาถึงแก่เราทั้งหลายเลย ข้อนี้อันสัตว์ทั้งหลายไม่พึงได้ตามความปรารถนา ความไม่ได้สมปรารถนาแม้นี้ก็เป็นทุกข์ ฯ
โดยย่ออุปาทาขันท์ 5 เป็นทุกข์ ในทุกขอริยสัจนั้น เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ คือ รูปอุปาทานขันธ์ คือ เวทนา อุปาทานขันธ์ คือ สัญญาอุปาทานขันธ์ คือ สังขาร อุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ อุปาทานขันธ์เหล่านี้ท่านกล่าวว่า โดยย่ออุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขอริยสัจ
[83] ในจตุราริยสัจนั้น ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน ตัณหานี้ใดอันให้เกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยนันทิราคะ อันเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อเกิดย่อมเกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน สิ่งใดเป็นที่รักที่ยินดีในโลกตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดในสิ่งนั้น เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ในสิ่งนั้น ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นที่รักที่ยินดีในโลกจักษุเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดที่จักษุนั้นเมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักษุนั้น หู …จมูก … ลิ้น … กาย … ใจ เป็นที่รักที่ยินดีในโลกตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดที่ใจนั้น เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่ใจนั้น รูปทั้งหลายเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดที่รูปนั้น เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปนั้น เสียง ฯลฯ ธรรมารมณ์ … จักษุวิญญาณ ฯลฯ จักษุสัมผัส ฯลฯมโนสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่จักษุสัมผัส ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสรูปสัญญา ฯลฯ ธรรมสัญญา รูปสัญเจตนา ฯลฯธรรมสัญเจตนา รูปตัณหา ฯลฯธรรมตัณหา รูปวิตก ฯลฯ ธรรมวิตก รูปวิจาร ฯลฯ ธรรมวิจารเป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดที่ธรรมวิจารนั้น เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธรรมวิจารนั้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ
[84] ในจตุราริยสัจนั้น ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ความที่ตัณหานั้นนั่นแลดับด้วยความสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้นความไม่อาลัย ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อละย่อมละได้ที่ไหน เมื่อดับย่อมดับได้ที่ไหนสิ่งใดเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อละก็ละได้ในสิ่งนั้น เมื่อดับก็ดับได้ในสิ่งนั้น จักษุเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อละย่อมละได้ที่จักษุนั้นเมื่อดับย่อมดับได้ที่จักษุนั้น หู ฯลฯ ธรรมวิจารเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อละย่อมละได้ที่ธรรมวิจารนั้น เมื่อดับก็ดับได้ที่ธรรมวิจารนั้น นี้ท่านกล่าวว่าทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ
[85] ในจตุราริยสัจนั้น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉนอริยมรรคมีองค์ 8นี้แล คือ สัมมาทิฐิ … สัมมาสมาธิ ฯ
ในอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาทิฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัยความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาทิฐิ ฯ
ในอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ความดำริในความออกจากกามความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในความไม่เบียดเบียนนี้ท่านกล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ
ในอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาวาจาเป็นไฉน เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อนี้ท่านกล่าวว่า สัมมาวาจา ฯ
ในอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมากัมมันตะเป็นไฉน เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้ท่านกล่าวว่า สัมมากัมมันตะ ฯ
ในอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาอาชีวะเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมละอาชีพที่ผิด สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยอาชีพที่ชอบ นี้ท่านกล่าวว่าสัมมาอาชีวะ ฯ
ในอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาวายามะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งจิตไว้เพื่อยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ย่อมยังฉันทะให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่นเพื่อความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญเพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาวายามะ ฯ
ในอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาสติเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ … พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ … พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย นี้ท่านกล่าวว่าสัมมาสติ ฯ
ในอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาสมาธิเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌานอันเป็นความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแก่สมาธิอยู่ ภิกษุเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาสมาธิ นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา ด้วยอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชื่อว่าสุตมยญาณ ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างนี้ ฯ
สีลมยญาณนิทเทส
[86] ปัญญาในการฟังธรรมแล้วสำรวมไว้ ชื่อว่าสีลมยญาณอย่างไร ฯ
ศีล 5 ประเภท คือ ปริยันตปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์มีส่วนสุด 1 อปริยันตปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์ไม่มีส่วนสุด 1 ปริปุณณปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์เต็มรอบ 1อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์อันทิฐิไม่จับต้อง 1 ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์โดยระงับ 1
ในศีล 5 ประเภทนี้ ปริยันตปาริสุทธิศีลเป็นไฉน ปริยันตปาริสุทธินี้ ของอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทมีที่สุด ฯ
อปริยันตปาริสุทธิศีลเป็นไฉน อปริยันตปาริสุทธิศีลนี้ ของอุปสัมบัน ผู้มีสิกขาบทไม่มีที่สุด ฯ
ปริปุณณปาริสุทธิศีลเป็นไฉน ปริปุณณปาริสุทธิศีลนี้ ของกัลยาณปุถุชนผู้ประกอบในกุศลธรรม ผู้กระทำให้บริบูรณ์ในธรรมอันเป็นที่สุดของพระอเสขะ ผู้ไม่อาลัยในร่างกายและชีวิตผู้สละชีวิตแล้ว ฯ
อปรามัฏฐปาริสุทธิศีลเป็นไฉน อปรามัฏฐปาริสุทธิศีลนี้ ของพระเสขะ7 จำพวก ฯ
ปฏิปัสสัทธิปริสุทธิศีลเป็นไฉน ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีลนี้ของพระขีณาสพสาวกพระตถาคตเจ้า ของพระปัจเจกพุทธเจ้า และของพระตถาคตอหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯ
[87] ศีลมีที่สุดก็มี ศีลไม่มีที่สุดก็มี ในศีล 2 อย่างนั้นศีลมีที่สุดนั้นเป็นไฉน ศีลมีที่สุดเพราะลาภก็ดี ศีลมีที่สุดเพราะยศก็มี ศีลมีที่สุดเพราะญาติก็มี ศีลมีที่สุดเพราะอวัยวะก็มีศีลมีที่สุดเพราะชีวิตก็มี ฯ
ศีลมีที่สุดเพราะลาภนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมล่วงสิกขาบท ตามที่ตนสมาทานไว้เพราะเหตุแห่งลาภ เพราะปัจจัยแห่งลาภ เพราะการณ์แห่งลาภ ศีลนี้เป็นลาภปริยันตศีล ฯ
ศีลมีที่สุดเพราะยศนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ … เพราะเหตุแห่งยศ … ศีลนี้เป็นยสปริยันตศีล ฯ
ศีลมีที่สุดเพราะญาตินั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ … เพราะเหตุแห่งญาติ … ศีลนี้เป็นญาติปริยันตศีล ฯ
ศีลมีที่สุดเพราะอวัยวะนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ … เพราะเหตุแห่งอวัยวะ …ศีลนี้เป็นอังคปริยันตศีล ฯ
ศีลมีที่สุดเพราะชีวิตนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมล่วงสิกขาบทตามที่ตนสมาทานไว้เพราะเหตุแห่งชีวิต เพราะปัจจัยแห่งชีวิต เพราะการณ์แห่งชีวิต ศีลนี้เป็นชีวิตปริยันตศีลศีลเห็นปานนี้เป็นศีลขาด เป็นศีลทะลุ ด่าง พร้อย ไม่เป็นไทย วิญญูชนไม่สรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิจับต้องแล้ว ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปีติ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความระงับ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสุข ไม่เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสนะ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว ศีลนี้เป็นปริยันตศีล ฯ
[88] ศีลไม่มีที่สุดนั้นเป็นไฉน ศีลไม่มีที่สุดเพราะลาภก็มี ศีลไม่มีที่สุดเพราะยศก็มีศีลไม่มีที่สุดเพราะญาติก็มี ศีลไม่มีที่สุดเพราะอวัยวะก็มีศีลไม่มีที่สุดเพราะชีวิตก็มี ฯ
ศีลไม่มีที่สุดเพราะลาภเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดก็ไม่ให้เกิดขึ้นเพื่อจะล่วงสิกขาบทตามที่ตนสมาทานไว้ เพราะเหตุแห่งลาภเพราะปัจจัยแห่งลาภ เพราะการณ์แห่งลาภ อย่างไรเขาจักล่วงสิกขาบทเล่าศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะลาภ ฯ
ศีลไม่มีที่สุดเพราะยศนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ … เพราะเหตุแห่งยศ … ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะยศ ฯ
ศีลไม่มีที่สุดเพราะญาตินั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ … เพราะเหตุแห่งญาติ … ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะญาติ ฯ
ศีลไม่มีที่สุดเพราะอวัยวะนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ …เพราะเหตุแห่งอวัยวะ …ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะอวัยวะ ฯ
ศีลไม่มีที่สุดเพราะชีวิตนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดก็ไม่ให้เกิดขึ้นเพื่อล่วงสิกขาบท ตามที่ตนสมาทานไว้ เพราะเหตุแห่งชีวิต เพราะปัจจัยแห่งชีวิต เพราะการณ์แห่งชีวิต อย่างไรเขาจักล่วงสิกขาบทเล่าศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะชีวิต ศีลเห็นปานนี้เป็นศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่างไม่พร้อย เป็นไทย วิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่จับต้องเป็นไปเพื่อสมาธิ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์ เป็นที่ตั้งแห่งปีติเป็นที่ตั้งแห่งความระงับ เป็นที่ตั้งแห่งความสุข เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสนะย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว ศีลนี้เป็นอปริยันตศีล ฯ
[89] อะไรเป็นศีล ศีลมีเท่าไร ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน ศีลเป็นที่ประชุมแห่งธรรมอะไร ฯ
อะไรเป็นศีล คือ เจตนาเป็นศีล เจตสิกเป็นศีล ความสำรวมเป็นศีล ความไม่ล่วงเป็นศีล ฯ
ศีลมีเท่าไร คือ ศีล 3 คือ กุศลศีล อกุศลศีล อัพยากตศีล ฯ
ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน คือ กุศลศีลมีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน อกุศลศีล มีอกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน อัพยากตศีลมีอัพยากตจิตเป็นสมุฏฐาน ฯ
ศีลเป็นที่ประชุมแห่งธรรมอะไร คือ ศีลเป็นที่ประชุมแห่งสังวร เป็นที่ประชุมแห่งการไม่ก้าวล่วง เป็นที่ประชุมแห่งเจตนา อันเกิดในความเป็นอย่างนั้น ชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงปาณาติบาต อทินนาทานกาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌาพยาบาท มิจฉาทิฐิ ชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ … ความพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท … ถีนมิทธิด้วยอาโลกสัญญา … อุทธัจจะด้วย.ความไม่ฟุ้งซ่าน … วิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรม …อวิชชาด้วยญาณ … อรติด้วยความปราโมทย์ …นิวรณ์ด้วยปฐมฌาน … วิตกวิจารด้วยทุติยฌาน … ปีติด้วยตติยฌาน … สุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน … รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ …อากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ … วิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ … อากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ … นิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสนา … สุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสนา … อัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสนา … นันทิด้วยนิพพิทานุปัสนา …ราคะด้วยวิราคานุปัสนา … สมุทัยด้วยนิโรธานุปัสนา … อาทานะด้วยปฏินิสสัคคานุปัสนา … ฆนสัญญาด้วยขยานุปัสสนา อายุหนะด้วยวยานุปัสนา … ธุวสัญญาด้วย วิปริณามานุปัสนา นิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสนา … ปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสนา … อภินิเวสด้วยสุญญตานุปัสนา … สาราทานาภินิเวสด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสนา … สัมโมหาภินิเวสด้วยยถาภูตญาณทัสนะ … อาลยาภินิเวสด้วยอาทีนวานุปัสนา … อัปปฏิสังขาด้วยปฏิสังขานุปัสนา … สังโยคาภินิเวสด้วยวิวัฏฏนานุปัสนา …กิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฐิด้วยโสดาปัตติมรรค … กิเลสหยาบๆ ด้วยสกทาคามิมรรค กิเลสละเอียดด้วยอนาคามิมรรค ชื่อว่าศีลเพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค ฯ
[90] ศีล 5 คือ การละปาณาติบาตเป็นศีล เวรมณี การงดเว้นเป็นศีล เจตนาเป็นศีล สังวรเป็นศีล การไม่ล่วงเป็นศีล ศีลเห็นปานนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เดือดร้อนแห่งจิตเพื่อความปราโมทย์ เพื่อปีติ เพื่อปัสสัทธิ เพื่อโสมนัส เพื่อการเสพโดยเอื้อเฟื้อ เพื่อความเจริญเพื่อทำให้มาก เพื่อเป็นเครื่องประดับ เพื่อเป็นบริขาร เพื่อเป็นบริวาร เพื่อความบริบูรณ์ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว ฯ
บรรดาศีลเห็นปานนี้ สังวรปาริสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวมเป็นอธิศีล จิตตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวม ย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่าน อวิกเขปปาริสุทธิ ความบริสุทธิ์คือความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอธิจิต พระโยคาวจรย่อมเห็นสังวรปาริสุทธิโดยชอบ ย่อมเห็นอวิกเขปปาริสุทธิโดยชอบ ทัสนปาริสุทธิความบริสุทธิ์แห่งทัสนะ เป็นอธิปัญญา
ในความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและทัสนะนั้น ความสำรวม เป็นอธิศีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอธิจิตสิกขา ความเห็นแจ้ง เป็นอธิปัญญาสิกขา พระโยคาวจรเมื่อนึกถึงสิกขา 3นี้ ชื่อว่าย่อมศึกษา เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธาเมื่อประคองความเพียรไว้ เมื่อตั้งสติมั่น เมื่อตั้งจิตไว้ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งเมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อมศึกษาทุกอย่าง ฯ
[91] ศีล 5 คือ การละปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฐิ การละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะการละความพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท การละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา การละอุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน การละวิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรม การละอวิชชาด้วยญาณ การละอรติด้วยความปราโมทย์ การละนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน การละวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน การละปีติด้วยตติยฌาน การละสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน การละรูปสัญญาปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ การละอากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ การละวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ การละอากิญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติการละนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสนา การละสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสนา การละอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสนา การละนันทิด้วยนิพพิทานุปัสนา การละราคะด้วยวิราคานุปัสนา การละสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสนา การละอาทานะด้วยปฏินิสสัคคานุปัสนา การละฆนสัญญาด้วยขยานุปัสนา การละอายุหนะด้วยวยานุปัสนา การละธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสนาการละนิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสนา การละปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสนา การละอภินิเวสด้วยสุญญตานุปัสนา การละสาราทานาภินิเวสด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสนาการละสัมโมหาภินิเวสด้วยยถาภูตญาณทัสนะ การละอาลยาภินิเวสด้วยอาทีนวานุปัสนา การละอัปปฏิสังขาด้วยปฏิสังขานุปัสนา การละสังโยคาภินิเวสด้วยวิวัฏฏนานุปัสนา การละกิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฐิด้วยโสดาปัตติมรรค การละกิเลสที่หยาบๆ ด้วยสกทาคามิมรรค การละกิเลสที่ละเอียดด้วยอนาคามิมรรคการละกิเลสทั้งปวงด้วยอหัตมรรค การละนั้นๆ เป็นศีล เวรมณีเป็นศีล …เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อมศึกษา ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการฟังธรรมแล้วสำรวมไว้เป็นสีลมยญาณ ฯ
สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
[92] ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ด้วยดี เป็นสมาธิภาวนามยญาณอย่างไร?
สมาธิอย่างหนึ่ง คือ เอกัคคตาจิต สมาธิ 2 คือ โลกิยสมาธิ 1โลกุตรสมาธิ 1 สมาธิ 3 คือสมาธิมีวิตกและวิจาร 1 สมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจาร 1 สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจาร 1 สมาธิ 4 คือสมาธิมีส่วนเสื่อม 1สมาธิเป็นส่วนตั้งอยู่ 1 สมาธิเป็นส่วนวิเศษ 1 สมาธิเป็นส่วนชำแรกกิเลส 1สมาธิ 5 คือ สมาธิมีปีติแผ่ไป 1 สมาธิมีสุขแผ่ไป 1 สมาธิมีจิตแผ่ไป 1 สมาธิมีแสงสว่างแผ่ไป 1สมาธิมีการพิจารณาเป็นนิมิต 1 สมาธิ 6 คือสมาธิคือเอกัคคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถพุทธานุสสติ 1 ธรรมานุสสติ 1สังฆานุสสติ 1 สีลานุสสติ 1 จาคานุสสติ 1 เทวตานุสสติ 1สมาธิ 7 คือความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ 1 ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ 1 ความเป็นผู้ฉลาดในการตั้งสมาธิ 1 ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ 1 ความเป็นผู้ฉลาดในความงามแห่งสมาธิ 1 ความเป็นผู้ฉลาดในโคจรแห่งสมาธิ 1 ความเป็นผู้ฉลาดในการน้อมไปแห่งสมาธิ 1สมาธิ 8 คือ สมาธิ คือเอกัคคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถปฐวีกสิณ 1 อาโปกสิณ 1เตโชกสิณ 1 วาโยกสิณ 1นีลกสิณ 1 ปีตกสิณ 1 โลหิตกสิณ 1 โอทาตกสิณ 1 สมาธิ 9คือรูปาวจรสมาธิส่วนเลว 1 ส่วนปานกลาง 1 ส่วนประณีต 1 อรูปาวจรส่วนเลว 1 ส่วนปานกลาง 1 ส่วนประณีต 1 สุญญตสมาธิ 1 อนิมิตตสมาธิ 1อัปปณิหิตสมาธิ 1 สมาธิ 10 คือสมาธิคือเอกัคคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถอัทธุมาตกสัญญา 1 วินีลกสัญญา 1 วิปุพพกสัญญา 1วิฉิททกสัญญา 1 วิกขายิตกสัญญา 1 วิกขิตตกสัญญา 1 หตวิกขายิตกสัญญา 1 โลหิตกสัญญา 1 ปุฬุวกสัญญา 1 อัฏฐิกสัญญา 1 สมาธิเหล่านี้รวมเป็น50 ฯ
[93] อีกอย่างหนึ่ง สภาพในความเป็นสมาธิแห่งสมาธิ 25 ประการ คือ สมาธิเพราะอรรถว่าอันสัทธินทรีย์เป็นต้นกำหนดถือเอา 1 เพราะอรรถว่าอินทรีย์เป็นบริวารแห่งกันและกัน 1เพราะอรรถว่าสัทธินทรีย์เป็นต้นบริบูรณ์ 1 เพราะอรรถว่ามีอารมณ์เป็นอันเดียว 1 เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน 1 เพราะอรรถว่าไม่แส่ไป 1 เพราะอรรถว่าไม่ขุ่นมัว 1 เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว 1เพราะอรรถว่าหลุดพ้นจากกิเลส 1 เพราะความที่จิตตั้งอยู่ด้วยสามารถความตั้งมั่นในความเป็นจิตมีอารมณ์เดียว 1 เพราะอรรถว่าแสวงหาความสงบ 1 เพราะอรรถว่าไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ 1 เพราะแสวงหาความสงบแล้ว 1 เพราะไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว 1 เพราะอรรถว่ายึดมั่นความสงบ 1 เพราะอรรถว่าไม่ยึดมั่นธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ 1เพราะยึดมั่นความสงบแล้ว 1 เพราะไม่ยึดมั่นธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว 1 เพราะอรรถว่าปฏิบัติสงบ 1 เพราะอรรถว่าไม่ปฏิบัติไม่สงบ 1 เพราะปฏิบัติสงบแล้ว 1 เพราะไม่ปฏิบัติไม่สงบแล้ว 1 เพราะอรรถว่าเพ่งความสงบ 1 เพราะอรรถว่าเผาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ 1เพราะเพ่งความสงบแล้ว 1 เพราะเผาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว 1 เพราะอรรถว่าเป็นธรรมสงบ เป็นสภาพเกื้อกูลและนำสุขมาให้ 1 สภาพในความเป็นสมาธิแห่งสมาธิเหล่านี้รวมเป็น 25 ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี เป็นสมาธิภาวนามยญาณ ฯ
เพิ่มเติม
- ปฏิสัมภิทามรรค ฉบับปรับสำนวน กลับหน้าสารบัญ