อยู่ในระหว่างปรับสำนวน
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ตำราพุทธมีลำดับการศึกษาให้เข้าใจทะลุทะลวงดังนี้: ขอเป็นศิษย์ผู้มีฌานวสีทรงจำพระไตรปิฎกบาลี > ท่องจำบาลีตามลำดับซ้ำๆ ไม่ลืมทบทวนแม้จำได้แล้ว > สอบถามบาลี > ฟังคำอธิบายบาลี > ทรงจำทั้งหมด > ในระหว่างท่องจำก็พยายามปฏิบัติตามไปด้วยจนแตกฉาน. ผู้ที่ข้ามขั้นตอนเหล่านี้ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นไปได้ยากที่จะบรรลุอัปปนาทั้งโลกิยะและโลกุตตระในศาสนาพุทธได้ พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า "โมฆบุรุษ" เพราะว่างเปล่าจากอัปปนา (เรียบเรียงจากกีฏาคิริสูตร; ธัมมัญญูสูตร; สัจจบรรพะ อรรถกถามัคคนิทเทส; วิสุทธิมรรค กัมมัฏฐานคหณนิทเทส)
มหาปัญญากถา
[659] อนิจจานุปัสสนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ทุกขานุปัสสนา … อนัตตานุปัสสนา … นิพพิทานุปัสสนา…วิราคานุปัสสนา … นิโรธานุปัสสนา … ปฏินิสสัคคานุปัสสนาที่บุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯ
อนิจจานุปัสสนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังชวนปัญญา(ปัญญาเร็ว) ให้บริบูรณ์ ทุกขานุปัสสนา … ย่อมยังนิพเพธิกปัญญา (ปัญญาทำลายกิเลส) ให้บริบูรณ์ อนัตตานุปัสสนา … ย่อมยังมหาปัญญา (ปัญญามาก) ให้บริบูรณ์ นิพพิทานุปัสสนา … ย่อมยังติกขปัญญา (ปัญญาคมกล้า) ให้บริบูรณ์วิราคานุปัสสนา … ย่อมยังวิบูลปัญญา (ปัญญากว้างขวาง) ให้บริบูรณ์นิโรธานุปัสสนา … ย่อมยังคัมภีรปัญญา (ปัญญาลึกซึ้ง) ให้บริบูรณ์ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังอัสสามันตปัญญา (ปัญญาไม่ใกล้)ให้บริบูรณ์ ปัญญา 7 ประการนี้ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังความเป็นบัณฑิตให้บริบูรณ์ ปัญญา 8 ประการนี้ … ย่อมยังปุถุปัญญา (ปัญญาแน่นหนา) ให้บริบูรณ์ ปัญญา 9 ประการนี้ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมยังหาสปัญญา (ปัญญาร่าเริง) ให้บริบูรณ์ หาสปัญญา เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาอรรถปฏิสัมภิทาเป็นคุณชาติ อันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดอรรถแห่งหาสปัญญานั้น ธรรมปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดธรรมแห่งหาสปัญญานั้น นิรุติปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดนิรุติแห่งหาสปัญญานั้นปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดปฏิภาณแห่งหาสปัญญานั้น ปฏิสัมภิทา 4 ประการนี้เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะหาสปัญญานั้น ฯ
[660] การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯ
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังอัสสามันตปัญญาให้บริบูรณ์ ปัญญา 7ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังความเป็นบัณฑิตให้บริบูรณ์ปัญญา 8 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปุถุปัญญาให้บริบูรณ์ ปัญญา 9 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังหาสปัญญาให้บริบูรณ์หาสปัญญาเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา … ปฏิสัมภิทา 4 ประการนี้เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะหาสปัญญานั้น ฯ
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯ
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมยังอัสสามันตปัญญาให้บริบูรณ์ ปัญญา 7 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังความเป็นบัณฑิตให้บริบูรณ์ ปัญญา 8 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปุถุปัญญาให้บริบูรณ์ ปัญญา 9 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังหาสปัญญาให้บริบูรณ์ หาสปัญญาเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา… ปฏิสัมภิทา 4 ประการนี้ เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้วถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะหาสปัญญานั้น ฯ
[661] การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นทุกข์ในรูป … การพิจารณาเห็นทุกข์ในรูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน … การพิจารณาเห็นอนัตตาในรูป … การพิจารณาเห็นอนัตตาในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน … การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่ายในรูป การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่ายในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน … การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดในรูป … การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน … การพิจารณาเห็นความดับในรูป … การพิจารณาเห็นความดับในรูปทั้งเป็นส่วนอดีตอนาคตและปัจจุบัน … การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูป … การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯ
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูปทั้งเป็นส่วนอดีตอนาคตและปัจจุบัน … ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นทุกข์ในรูป… ย่อมยังนิพเพธิกปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นทุกข์ในรูปทั้งเป็นส่วนอดีตอนาคตและปัจจุบัน … ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นอนัตตาในรูป … ย่อมยังมหาปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นอนัตตาในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน … ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่ายในรูป …ย่อมยังติกขปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่ายในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน … ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดในรูป … ย่อมยังวิบูลปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน … ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความดับในรูป … ย่อมยังคัมภีรปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความดับในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน… ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูป … ย่อมยังอัสสามันตปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูปทั้งเป็นส่วนอดีตอนาคตและปัจจุบัน … ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ ปัญญา 7ประการนี้ …ย่อมยังความเป็นบัณฑิตให้บริบูรณ์ ปัญญา 8 ประการนี้ … ย่อมยังปุถุปัญญาให้บริบูรณ์ปัญญา 9 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังหาสปัญญาให้บริบูรณ์ หาสปัญญา เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา … ปฏิสัมภิทา 4 ประการนี้ เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้วถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะหาสปัญญานั้น ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ฯ
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชราและมรณะ ทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯ
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชราและมรณะ … ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชราและมรณะทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน … ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา 4 ประการนี้ เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้วถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะหาสปัญญา ฯ
[662] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล 4 ประการเป็นไฉน คือสัปปุริสสังเสวะ คบสัตบุรุษ 1 สัทธรรมสวนะ ฟังสัทธรรมคำสั่งสอนของท่าน 1โยนิโสมนสิการะ ไตร่ตรองพิจารณาคำสั่งสอนของท่าน 1 ธรรมานุธรรมปฏิปัตติปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมที่ได้ตรองเห็นแล้ว 1 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล 4 ประการเป็นไฉนคือ สัปปุริสสังเสวะ 1 สัทธรรมสวนะ 1 โยนิโสมนสิการ 1 ธรรมานุธรรมปฏิปัตติ 1 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ฯ
[663] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา เพื่อความเจริญแห่งปัญญา เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาหนาเพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน เพื่อความเป็นผู้มีปัญญามากเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาพลัน เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคมกล้า เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาทำลายกิเลส 4 ประการเป็นไฉน คือ สัปปุริสสังเสวะ 1 สัทธรรมสวนะ 1 โยนิโสมนสิการ 1ธรรมานุธรรมปฏิปัตติ 1 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม4 ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา ฯลฯ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาทำลายกิเลส ฯ
[664] การได้เฉพาะซึ่งปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา เป็นไฉน ฯ
การได้ การได้เฉพาะ การถึง การถึงพร้อม การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การเข้าถึงพร้อม ซึ่งมรรคญาณ 4 ผลญาณ 4 ปฏิสัมภิทาญาณ 4 อภิญญา 6ญาณ 73 ญาณ 77 นี้เป็นการได้เฉพาะซึ่งปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา ฯ
ความเจริญแห่งปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญาเป็นไฉน ฯ
ปัญญาของพระเสขะ 7 จำพวก และของกัลยาณปุถุชนย่อมเจริญ ปัญญาของพระอรหันต์ย่อมเจริญ นี้เป็นความเจริญ นี้เป็นความเจริญแห่งปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ฯ
ความไพบูลย์แห่งปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญาเป็นไฉน ฯ
ปัญญาของพระเสขะ 7 จำพวกและของกัลยาณปุถุชน ย่อมถึงความไพบูลย์ ปัญญาของพระอรหันต์ เป็นปัญญาไพบูลย์ นี้เป็นความไพบูลย์แห่งปัญญาในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา ฯ
[665] มหาปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่เป็นไฉน ฯ
ชื่อว่าปัญญาใหญ่ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า กำหนดอรรถใหญ่ กำหนดธรรมใหญ่กำหนดนิรุติใหญ่ กำหนดปฏิภาณใหญ่ กำหนดศีลขันธ์ใหญ่ กำหนดสมาธิขันธ์ใหญ่ กำหนดปัญญาขันธ์ใหญ่ กำหนดวิมุติขันธ์ใหญ่ กำหนดวิมุติญาณทัสนขันธ์ใหญ่ กำหนดฐานะและอฐานะใหญ่ กำหนดวิหารสมาบัติใหญ่ กำหนดอริยสัจใหญ่ กำหนดสติปัฏฐานใหญ่ กำหนดสัมมัปปธานใหญ่ กำหนดอิทธิบาทใหญ่ กำหนดอินทรีย์ใหญ่ กำหนดพละใหญ่ กำหนดโพชฌงค์ใหญ่ กำหนดอริยมรรคใหญ่ กำหนดสามัญผลใหญ่ กำหนดอภิญญาใหญ่ กำหนดนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง นี้เป็นมหาปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ ฯ
[666] ปุถุปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแน่นหนาเป็นไฉน ฯ
ชื่อว่าปัญญาหนา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ญาณเป็นไปในขันธ์ต่างๆ มาก ในธาตุต่างๆ มาก ในอายตนะต่างๆ มาก ในปฏิจจสมุปบาทต่างๆมาก ในความได้เนืองๆ ซึ่งความสูญต่างๆ มาก ในอรรถต่างๆ มาก ในธรรมต่างๆ มาก ในนิรุติต่างๆ มาก ในปฏิภาณต่างๆ มาก ในศีลขันธ์ต่างๆ มาก ในสมาธิขันธ์ต่างๆ มาก ในปัญญาขันธ์ต่างๆ มาก ในวิมุติขันธ์ต่างๆ มากในวิมุติญาณทัสนขันธ์ต่างๆ มาก ในฐานะและอฐานะต่างๆ มาก ในวิหารสมาบัติต่างๆ มากในอริยสัจต่างๆ มาก ในสติปัฏฐานต่างๆ มาก ในสัมมัปปธานต่างๆ มาก ในอิทธิบาทต่างๆมาก ในอินทรีย์ต่างๆ มาก ในพละต่างๆ มาก ในโพชฌงค์ต่างๆ มาก ในอริยมรรคต่างๆ มากในสามัญผลต่างๆ มาก ในอภิญญาต่างๆ มาก ในนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ล่วงธรรมที่ทั่วไปแก่ปุถุชน นี้เป็นปุถุปัญญาในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาหนา ฯ
[667] วิบูลปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง เป็นไฉน ฯ
ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า กำหนดอรรถกว้างขวาง กำหนดธรรมกว้างขวาง … กำหนดอภิญญากว้างขวาง กำหนดนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกว้างขวาง นี้เป็นวิบูลปัญญา ในคำว่า เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง ฯ
[668] คัมภีรปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง เป็นไฉน ฯ
ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ญาณเป็นไปในขันธ์ลึกซึ้ง ในธาตุลึกซึ้ง …ในอภิญญาลึกซึ้ง ในนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างลึกซึ้ง นี้เป็นคัมภีรปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง ฯ
[669] อัสสามันตปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้ เป็นไฉน ฯ
อรรถปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลผู้ใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดอรรถ ธรรมปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลผู้ใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดธรรม นิรุติปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลใดบรรลุแล้วทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดนิรุติ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลผู้ใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องด้วยปัญญา โดยการกำหนดปฏิภาณใครอื่นย่อมไม่สามารถจะครอบงำอรรถ ธรรม นิรุติและปฏิภาณของบุคคลผู้นั้นได้และบุคคลผู้นั้นก็เป็นผู้หนึ่งที่ใครๆ ครอบงำไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงเป็นปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของกัลยาณปุถุชนห่างไกลแสนไกลไม่ใกล้ไม่ชิดกับปัญญาของบุคคลที่ 8 พระอรหันต์ เมื่อเทียบกับกัลยาณปุถุชน บุคคลที่ 8 มีปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของบุคคลที่ 8 ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระโสดาบัน เมื่อเทียบกับบุคคลที่ 8 พระโสดาบันมีปัญญาไม่ใกล้ปัญญาของพระโสดาบันห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ไม่ชิดกับปัญญาของพระสกทาคามี เมื่อเทียบกับพระโสดาบัน พระสกทาคามี มีปัญญาไม่ใกล้ปัญญาของพระสกทาคามีห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระอนาคามีเมื่อเทียบกับพระสกทาคามี พระอนาคามีมีปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของพระอนาคามีห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระอรหันต์ เมื่อเทียบกับพระอนาคามี พระอรหันต์มีปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของพระอรหันต์ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อเทียบกับพระอรหันต์พระปัจเจกพุทธเจ้ามีปัญญาไม่ใกล้ เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้าและโลกพร้อมทั้งเทวโลก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้เลิศ ทรงมีปัญญาไม่ใกล้ ทรงฉลาดในประเภทแห่งปัญญา ทรงมีญาณแตกฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงถึงเวสารัชชญาณ 4 ทรงพละ 10ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษสีหะทรงเป็นบุรุษนาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ทรงเป็นบุรุษนำธุระไป ทรงมีพระญาณหาที่สุดมิได้ ทรงมีพระเดชหาที่สุดมิได้ ทรงมีพระยศหาที่สุดมิได้ ทรงเป็นผู้มั่งคั่งทรงมีทรัพย์มาก ทรงมีอริยทรัพย์ ทรงเป็นผู้นำ ทรงเป็นผู้นำไปให้วิเศษ ทรงนำไปเนืองๆ ทรงบัญญัติทรงพินิจ ทรงเพ่ง ทรงให้หมู่สัตว์เลื่อมใส แท้จริงพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก ทรงรู้จักมรรค ทรงทราบมรรค ทรงฉลาดในมรรค ก็แหละพระสาวกทั้งหลายในบัดนี้ และที่จะมีมาในภายหลัง ย่อมเป็นผู้ดำเนินไปตามมรรค แท้จริงพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเมื่อทรงทราบก็ย่อมทรงทราบ เมื่อทรงเห็นก็ย่อมทรงเห็น ทรงมีจักษุ ทรงมีญาณทรงมีธรรม ทรงมีพรหม ตรัสบอก ตรัสบอกทั่วทรงนำอรรถออก ทรงประทานอมตธรรม ทรงเป็นธรรมสามี เสด็จไปอย่างนั้น บทธรรมที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงทราบ ไม่ทรงทำให้แจ้ง ไม่ทรงถูกต้องแล้วด้วยปัญญามิได้มี ธรรมทั้งปวงรวมทั้งที่เป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบันย่อมมาสู่คลองในมุข คือ พระญาณของพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้วโดยอาการทั้งปวง ชื่อว่าบทที่ควรแนะนำซึ่งเป็นอรรถเป็นธรรมที่ควรรู้ อย่างใดอย่างหนึ่งและประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ภพนี้ประโยชน์ภพหน้า ประโยชน์ตื้น ประโยชน์ลึก ประโยชน์ลับ ประโยชน์เปิดเผย ประโยชน์ที่ควรนำไป ประโยชน์ที่นำไปแล้ว ประโยชน์ไม่มีโทษ ประโยชน์ไม่มีกิเลส ประโยชน์ขาวผ่อง หรือทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปภายในพระพุทธญาณ พระญาณของพระพุทธเจ้า ย่อมเป็นไปตลอดกายกรรมปรมัตถประโยชน์ วจีกรรม มโนกรรมทั่วหมด พระญาณของพระพุทธเจ้ามิได้ขัดข้องในอดีต อนาคตปัจจุบัน เนยยบทมีเท่าใด พระญาณก็มีเท่านั้น พระญาณมีเท่าใดเนยยบทก็มีเท่านั้น พระญาณมีเนยยบทเป็นที่สุดรอบ เนยยบทมีพระญาณเป็นที่สุดรอบพระญาณไม่เป็นไปเกินเนยยบท เนยยบทก็ไม่เกินพระญาณ ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในที่สุดรอบของกันและกัน เปรียบเหมือนผะอบสองชั้นสนิทกันดีผะอบชั้นล่างไม่เกินผะอบชั้นบน ผะอบชั้นบนก็ไม่เกินผะอบชั้นล่าง ผะอบทั้งสองชั้นนั้นต่างก็ตั้งอยู่ในที่สุดของกันและกัน ฉะนั้น พระพุทธญาณย่อมเป็นไปในธรรมทั้งปวงธรรมทั้งปวงเนื่องด้วยความทรงคำนึง เนื่องด้วยทรงพระประสงค์ เนื่องด้วยทรงพระมนสิการ เนื่องด้วยพระจิตตุบาทของพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว พระพุทธญาณเป็นไปในสรรพสัตว์ พระพุทธเจ้าย่อมทรงทราบอัธยาศัย อนุสัย ความประพฤติ อธิมุติ ของสรรพสัตว์ ย่อมทรงทราบหมู่สัตว์มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ ผู้มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทรามพระองค์พึงทรงให้รู้ได้ง่าย พระองค์พึงให้รู้ได้ยาก เป็นภัพพสัตว์ เป็นอภัพพสัตว์ โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปภายในพระพุทธญาณเปรียบเหมือนปลาและเต่าทุกชนิด โดยที่สุดตลอดจนปลาติมิและปลาติมิงคละย่อมว่ายวนอยู่ภายในมหาสมุทร ฉะนั้น เปรียบเหมือนนกทุกชนิด โดยที่สุดตลอดจนนกครุฑตระกูลเวนเตยยะ ย่อมบินร่อนไปในประเทศอากาศ ฉันใดดูกรสารีบุตร แม้บรรดาสัตว์ผู้มีปัญญา ก็ย่อมเป็นไปในประเทศพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน พุทธญาณแผ่ไป แล่นไปสู่ปัญหาของเทวดาและมนุษย์แล้วตั้งอยู่บรรดากษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียดแต่งวาทะโต้ตอบ มีปัญญาเปรียบด้วยนายขมังธนูผู้สามารถยิงขนทราย เที่ยวทำลายปัญญาและทิฐิด้วยปัญญา บัณฑิตเหล่านั้นแต่งปัญหาแล้วพากันเข้ามาหาพระตถาคต ถามปัญหาทั้งลี้ลับและเปิดเผย ปัญหาเหล่านั้นพระผู้มีพระภาคตรัสบอกและทรงแก้แล้ว มีเหตุที่ทรงแสดงไขให้เห็นชัดปรากฏแก่พระผู้มีพระภาคความจริง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยปัญญา เพราะทรงแก้ปัญหาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงเป็นผู้เลิศ มีพระปัญญาไม่ใกล้ นี้เป็นอัสสามันตปัญญาในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้ ฯ
[670] ภูริปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน เป็นไฉน ฯ
ชื่อว่าภูริปัญญา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่าครอบงำอยู่ ครอบงำแล้วซึ่งราคะ ครอบงำอยู่ครอบงำแล้วซึ่งโทสะ ครอบงำอยู่ ครอบแล้วซึ่งโมหะ ครอบงำอยู่ครอบงำแล้วซึ่งโกธะ ฯลฯ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายาสาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ กิเลสทั้งปวงทุจริตทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ ครอบงำอยู่ ครอบงำแล้วซึ่งกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง ชื่อว่าภูริปัญญา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นปัญญาย่ำยีราคะอันเป็นข้าศึก เป็นปัญญาย่ำยีโทสะอันเป็นข้าศึก เป็นปัญญาย่ำยีโมหะอันเป็นข้าศึก เป็นปัญญาย่ำยีโกธะอันเป็นข้าศึก ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง อันเป็นข้าศึก แผ่นดินท่านกล่าวว่า ภูริ บุคคลประกอบด้วยปัญญาอันกว้างขวางไพบูลย์เสมอด้วยแผ่นดินนั้น เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงเป็นภูริปัญญา อีกประการหนึ่ง คำว่า ภูริ นี้เป็นชื่อของปัญญา ปัญญาเป็นปริณายก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าภูริปัญญา นี้เป็นภูริปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน ฯ
[671] ปัญญาพาหุลละ ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก เป็นไฉน ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้หนักด้วยปัญญา เป็นผู้ประพฤติด้วยปัญญา มีปัญญาเป็นที่อาศัย น้อมใจเชื่อด้วยปัญญา มีปัญญาเป็นธงไชย มีปัญญาเป็นยอดมีปัญญาเป็นใหญ่ มากด้วยการเลือกเฟ้น มากด้วยการค้นคว้า มากด้วยการพิจารณา มากด้วยการเพ่งพินิจ มีการเพ่งพิจารณาเป็นธรรมดา มีความประพฤติงดเว้นด้วยปัญญาที่แจ่มแจ้ง หนักในปัญญา มากด้วยปัญญา โน้มไปในปัญญาน้อมไปในปัญญา เงื้อมไปในปัญญา น้อมจิตไปในปัญญา มีปัญญาเป็นอธิบดีเปรียบเหมือนภิกษุผู้หนักไปในคณะ ท่านกล่าวว่า มีคณะมาก ผู้หนักในจีวรท่านกล่าวว่า มีจีวรมากผู้หนักในบาตร ท่านกล่าวว่า มีบาตรมาก ผู้หนักในเสนาสนะ ท่านกล่าวว่า มีเสสนานะมากฉะนั้น นี้เป็นปัญญาพาหุลละ ในคำว่าย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ฯ
[672] สีฆปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็วเป็นไฉน ฯ
ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ปัญญาเป็นเครื่องบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ได้เร็วๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญอินทรีย์สังวรให้บริบูรณ์ได้เร็วๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญโภชเน มัตตัญญุตาให้บริบูรณ์ได้เร็วๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญชาคริยานุโยคให้บริบูรณ์ได้เร็วๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญศีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้เร็วๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์ได้เร็วๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญปัญญาขันธ์ให้บริบูรณ์ได้เร็วๆเป็นเครื่องบำเพ็ญวิมุติขันธ์ให้บริบูรณ์ได้เร็วๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญวิมุติญาณทัสนขันธ์ให้บริบูรณ์ได้เร็วๆ เป็นเครื่องแทงตลอดฐานะและอฐานะได้เร็วๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญวิหารสมาบัติให้บริบูรณ์ได้เร็วๆ เป็นเครื่องแทงตลอดอริยสัจได้เร็วๆเป็นเครื่องเจริญสติปัฏฐานได้เร็วๆเป็นเครื่องเจริญสัมมัปปธานได้เร็วๆ เป็นเครื่องเจริญอิทธิบาทได้เร็วๆ เป็นเครื่องเจริญอินทรีย์ได้เร็วๆ เป็นเครื่องเจริญพละได้เร็วๆ เป็นเครื่องเจริญโพชฌงค์ได้เร็วๆ เป็นเครื่องเจริญอริยมรรคได้เร็วๆ เป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งสามัญผลได้เร็วๆ เป็นเครื่องแทงตลอดอภิญญาได้เร็วๆ เป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้เร็วๆ นี้เป็นสีฆปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็วๆ ฯ
[673] ลหุปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาพลันเป็นไฉน ฯ
ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ปัญญาเป็นเครื่องบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ได้พลันๆ … เป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้พลันๆ นี้เป็นลหุปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาพลัน ฯ
[674] หาสปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริงเป็นไฉน ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ บำเพ็ญอินทรียสังวรให้บริบูรณ์… ซึ่งทำให้แจ้งนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งให้บริบูรณ์ด้วยปัญญานั้นๆ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นๆ จึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง นี้เป็นหาสปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง ฯ
[675] ชวนปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป เป็นไฉน ฯ
ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ปัญญาแล่นไปสู่รูปทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียดเลวหรือประณีต มีอยู่ในที่ไกลหรือมีอยู่ในที่ใกล้ โดยความเป็นของไม่เที่ยงไวแล่นไปโดยความเป็นทุกข์ไว แล่นไปโดยความเป็นอนัตตาไว แล่นไปสู่เวทนาฯลฯ สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบันเป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต มีอยู่ในที่ไกลหรือมีอยู่ในที่ใกล้ โดยความเป็นของไม่เที่ยงไว แล่นไปโดยความเป็นทุกข์ไว แล่นไปโดยความเป็นอนัตตาไว แล่นไปสู่จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน โดยความเป็นของไม่เที่ยงไว แล่นไปโดยความเป็นทุกข์ไวแล่นไปโดยความเป็นอนัตตาไว ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะอรรถว่าปัญญาเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้ง รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะอรรถว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะอรรถว่าไม่มีแก่นสาร แล้วแล่นไปในนิพพานเป็นที่ดับรูปไว ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะอรรถว่า ปัญญาเทียบเคียงพินิจ พิจารณา ทำให้เห็นแจ่มแจ้งว่าเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะอรรถว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะอรรถว่าไม่มีแก่นสาร แล้วแล่นไปในนิพพานเป็นที่ดับชราและมรณะไว ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะอรรถว่า ปัญญาเทียบเคียง พินิจพิจารณา ทำให้แจ่มแจ้งว่า รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นของไม่เที่ยงอันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดาแล้วแล่นไปในนิพพานเป็นที่ดับรูปไว ชื่อว่าชวนปัญญาเพราะอรรถว่าปัญญาเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้งว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณจักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งอาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา แล้วแล่นไปในนิพพานอันเป็นที่ดับชราและมรณะไว นี้เป็นชวนปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป ฯ
[676] ติกขปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคมกล้า เป็นไฉน ฯ
ชื่อว่าติกขปัญญา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ทำลายกิเลสได้ไว ไม่รับรองไว้ ย่อมละบรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีต่อไป ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วไม่รับรองไว้ ฯลฯ ซึ่งพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่รับรองไว้ ฯลฯ ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่รับรองไว้ ฯลฯ ซึ่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่รับรองไว้ ฯลฯ ซึ่งราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่รับรองไว้ ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีต่อไป ซึ่งโทสะ ฯลฯ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง ที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าติกขปัญญาเพราะอรรถว่า ปัญญาเป็นเครื่องให้บุคคลได้บรรลุ ทำให้แจ้ง ถูกต้องอริยมรรค 4 สามัญผล 4ปฏิสัมภิทา 4 อภิญญา 6 ณ อาสนะเดียว นี้เป็นติกขปัญญา ในคำว่าย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคมกล้า ฯ
[677] นิพเพธิกปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส เป็นไฉน ฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากไปด้วยความสะดุ้ง ความหวาดเสียวความเบื่อหน่ายความระอา ความไม่พอใจ เบือนหน้าออก ไม่ยินดีในสังขารทั้งปวง ย่อมเบื่อหน่าย ทำลายกองโลภะ กองโทสะ กองโมหะ ที่ไม่เคยทำลายย่อมเบื่อหน่าย ทำลายโกธะ ฯลฯ อุปนาหะ มักขะปฬาสะ อิสสามัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะกิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง ที่ไม่เคยเบื่อหน่าย ไม่เคยทำลายด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นๆ จึงชื่อว่านิพเพธิกปัญญา นี้เป็นนิพเพธิกปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญา 16 ประการนี้ ฯ
[678] บุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญา 16 ประการนี้ เป็นผู้บรรลุปฏิสัมภิทา บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี 2 คือ ผู้หนึ่งถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนผู้หนึ่งไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน และมีญาณแตกฉานบุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี 2 ดังนี้ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนก็มี 2คือ ผู้หนึ่งเป็นพหูสูต ผู้หนึ่งไม่เป็นพหูสูต ผู้เป็นพหูสูตเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่เป็นพหูสูต และมีญาณแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี 2 ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี 2 แม้ผู้เป็นพหูสูตก็มี 2 คือ ผู้หนึ่งมากด้วยเทศนา ผู้หนึ่งไม่มากด้วยเทศนา ผู้มากด้วยเทศนา เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มากด้วยเทศนา และมีญาณแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี 2 ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทาผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี 2 ผู้เป็นพหูสูตมี 2 และผู้มากด้วยเทศนาก็มี 2 คือ ผู้หนึ่งอาศัยครู ผู้หนึ่งไม่อาศัยครูผู้อาศัยครูเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่งวิเศษกว่าผู้ไม่อาศัยครู และมีญาณแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี 2 ดังนี้บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี 2 ผู้เป็นพหูสูตมี 2 ผู้มากด้วยเทศนามี 2 และผู้อาศัยครูก็มี 2 คือ ผู้หนึ่งมีวิหารธรรมมากผู้หนึ่งไม่มีวิหารธรรมมาก ผู้มีวิหารธรรมมากเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มีวิหารธรรมมาก และมีญาณแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี 2 ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี 2 ผู้เป็นพหูสูตมี 2 ผู้มากด้วยเทศนามี 2 ผู้อาศัยครูมี 2 และผู้มีวิหารธรรมมากก็มี 2 คือ ผู้หนึ่งมีความพิจารณามาก ผู้หนึ่งไม่มีความพิจารณามาก ผู้มีความพิจารณามากเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มีความพิจารณามาก และมีญาณแตกฉาน บุคคลบรรลุปฏิสัมภิทามี 2 ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี 2 ผู้เป็นพหูสูตมี 2 ผู้มากด้วยเทศนามี 2 ผู้อาศัยครูมี 2ผู้มีวิหารธรรมมากมี 2 และผู้มีความพิจารณามากก็มี 2 คือ ผู้หนึ่งเป็นพระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาผู้หนึ่งเป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้เป็นพระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา และมีญาณแตกฉานบุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี 2ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี 2ผู้เป็นพหูสูตมี 2 ผู้มากด้วยเทศนามี 2 ผู้อาศัยครูมี 2 ผู้มีวิหารธรรมมากมี 2 ผู้มีความพิจารณามากมี 2 และผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี 2 คือ ผู้หนึ่งบรรลุถึงสาวกบารมี ผู้หนึ่งไม่บรรลุถึงสาวกบารมี ผู้บรรลุถึงสาวกบารมีเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่บรรลุถึงสาวกบารมีและมีญาณแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี 2 ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี 2 ผู้เป็นพหูสูตมี 2 ผู้มากด้วยเทศนามี 2 ผู้อาศัยครูมี 2 ผู้มีวิหารธรรมมากมี 2 ผู้มีความพิจารณามากมี 2 และผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี 2 คือ ผู้หนึ่งบรรลุถึงสาวกบารมี ผู้หนึ่งเป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่งวิเศษกว่าผู้บรรลุถึงสาวกบารมีและมีญาณแตกฉาน เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้า และโลก พร้อมทั้งเทวโลก ดังนี้ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงเป็นผู้ฉลาดในประเภทแห่งปัญญา มีพระญาณแตกฉาน ทรงได้ปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุถึงเวสารัชชญาณ ทรงพละ 10 ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษสีหะ ฯลฯ บรรดากษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดีสมณะ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียด แต่งวาทะโต้ตอบ มีปัญญาเปรียบด้วยนายขมังธนูผู้สามารถยิงขนทราย เที่ยวทำลายปัญญาและทิฐิด้วยปัญญา บัณฑิตเหล่านั้นแต่งปัญหาแล้วพากันเข้ามาหาพระตถาคต ถามปัญหาทั้งลี้ลับและเปิดเผย ปัญหาเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคตรัสบอกและทรงแก้แล้ว มีเหตุที่ทรงแสดงไขให้เห็นชัด ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาค ความจริง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญา เพราะทรงแก้ปัญหาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ฉะนี้แล ฯ
จบมหาปัญญากถา
______
อิทธิกถา
[679] ฤทธิ์เป็นอย่างไร ฤทธิ์มีเท่าไร ภูมิ บาท บท มูล แห่งฤทธิ์ มีอย่างละเท่าไร ฯ
ฤทธิ์ในคำว่า ฤทธิ์เป็นอย่างไร ด้วยความว่าสำเร็จ ฤทธิ์ในคำว่า ฤทธิ์มีเท่าไร มี 10ภูมิแห่งฤทธิ์มี 4 บาทมี 4 บทมี 8 มูลมี 16 ฯ
[680] ฤทธิ์ 10 เป็นไฉน ฯ
ฤทธิ์ที่อธิษฐาน 1 ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ 1 ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ 1 ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ 1 ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ 1 ฤทธิ์ของพระอริยะ 1 ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม 1 ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ 1 ฤทธิ์ที่สำเร็จแต่วิชา 1 ชื่อว่าฤทธิ์ ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้น 1 ฯ
[681] ภูมิ 4 แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ฯ
ปฐมฌานเป็นภูมิเกิดวิเวก 1 ทุติยฌานเป็นภูมิแห่งปีติและสุข 1 ตติยฌานเป็นภูมิแห่งอุเบกขาและสุข 1 จตุตถฌานเป็นภูมิแห่งความไม่มีทุกข์ไม่มีสุข 1 ภูมิ 4 แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะฤทธิ์เพื่อแผลงฤทธิ์ได้ต่างๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความเป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์ ฯ
[682] บาท 4 แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ฯ
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขาร 1เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่ง ด้วยความเพียรและปธานสังขาร 1 เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขาร 1เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขาร 1 บาท 4แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ … เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์ ฯ
[683] บท 8 แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ฯ
ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต ฉันทะไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่ฉันทะฉันทะเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต วิริยะไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่วิริยะ วิริยะเป็นอย่างหนึ่งสมาธิเป็นอย่างหนึ่ง ถ้าภิกษุอาศัยจิตได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต จิตไม่ใช่สมาธิสมาธิไม่ใช่จิต จิตเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง ถ้าภิกษุอาศัยวิมังสาได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต วิมังสาไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่วิมังสา วิมังสาเป็นอย่างหนึ่งสมาธิเป็นอย่างหนึ่ง บท 8 แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ … เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์ ฯ
[684] มูล 16 แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ฯ
จิตไม่ฟุบลง ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอเนญชา(จิตไม่หวั่นไหว) จิตไม่ฟูขึ้น ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะเพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอเนญชา จิตไม่ยินดี ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะราคะ … จิตไม่มุ่งร้าย ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะพยาบาท … จิตอันทิฐิไม่อาศัย ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิ … จิตไม่พัวพัน ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะฉันทราคะ … จิตหลุดพ้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกามราคะ … จิตไม่เกาะเกี่ยว ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลส …จิตปราศจากเครื่องครอบงำ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความครอบงำแห่งกิเลส …เอกัคคตาจิตย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลสต่างๆ … จิตที่กำหนดด้วยศรัทธา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา …จิตที่กำหนดด้วยวิริยะ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน … จิตที่กำหนดด้วยสติ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท … จิตที่กำหนดด้วยสมาธิ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ … จิตที่กำหนดด้วยปัญญา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอเนญชาจิตที่ถึงความสว่างไสวย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความมืดคืออวิชชา เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอเนญชา มูล 16 แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะฤทธิ์ เพื่อแผลงฤทธิ์ได้ต่างๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความเป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์ ฯ
[685] ฤทธิ์ที่อธิษฐานเป็นไฉน ฯ
ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินไปบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนั้นด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ฯ
คำว่า ในศาสนานี้ คือ ในทิฐินี้ ในความควรนี้ ในความชอบใจนี้ในเขตนี้ ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในปาพจน์นี้ ในพรหมจรรย์นี้ ในสัตถุศาสน์นี้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าในศาสนานี้ ฯ
คำว่า ภิกษุ คือ ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน เป็นพระเสขะหรือเป็นพระอรหันต์ผู้มีธรรมไม่กำเริบ ฯ
คำว่า แสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก คือ แสดงฤทธิ์ได้มีประการต่างๆอย่าง ฯ
คำว่า คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์โดยปรกติเป็นคนเดียว ย่อมนึกให้เป็นหลายคน คือ นึกให้เป็นร้อยคน พันคนหรือแสนคน แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นหลายคน ก็เป็นหลายคน ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต แม้คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้เปรียบเหมือนท่านพระจุลปันถกรูปเดียวเป็นหลายรูปก็ได้ ฉะนั้น ฯ
คำว่า หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์โดยปรกติหลายคน ย่อมนึกให้เป็นคนเดียว แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นคนเดียว ก็เป็นคนเดียว ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ เปรียบเหมือนท่านพระจุลปันถก หลายรูปเป็นรูปเดียวก็ได้ฉะนั้น ฯ
คำว่า ทำให้ปรากฏก็ได้ คือ ที่อันอะไรๆ ปิดบังไว้ ทำให้ไม่มีอะไรปิดบังให้เปิดเผยก็ได้ ฯ
คำว่า ทำให้หายไปก็ได้ คือ ที่อันอะไรๆ เปิดไว้ ทำให้เป็นที่ปิดบังมิดชิดก็ได้ ฯ
คำว่า ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์ เป็นผู้ได้อากาศกสิณสมาบัติโดยปกติ ย่อมนึกถึงฝา กำแพง ภูเขาแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นที่ว่างก็ย่อมเป็นที่ว่าง ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น ย่อมทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัด ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต ย่อมทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่แจ้ง เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปรกติ ย่อมไปในที่ที่ไม่มีอะไรๆ ปิดบังกั้นไว้ไม่ติดขัด ฉะนั้น ฯ
คำว่า ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้อาโปกสิณสมาบัติโดยปรกติ ย่อมนึกถึงแผ่นดินแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นน้ำ ก็เป็นน้ำ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิตผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปรกติ ผุดขึ้นดำลงในน้ำได้ ฉะนั้น ฯ
คำว่า เดินไปบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้ปฐวีกสิณสมาบัติโดยปรกติ ย่อมนึกถึงน้ำ แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่าจงเป็นแผ่นดิน ก็เป็นแผ่นดิน ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น เดินไปบนน้ำไม่แตกได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต เดินไปบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปรกติ เดินไปบนแผ่นดินไม่แตกได้ฉะนั้น ฯ
คำว่า เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้ปฐวีกสิณสมาบัติโดยปรกติ ย่อมนึกถึงอากาศ แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นแผ่นดิน ก็เป็นแผ่นดิน ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นเดินบ้าง ยืนบ้าง นอนบ้าง ในอากาศกลางหาวเหมือนนกก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปรกติ เดินบ้างยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง บนแผ่นดิน ฉะนั้น ฯ
คำว่า ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนั้นด้วยฝ่ามือก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์ในศาสนานี้ ถึงความชำนาญแห่งจิต นั่งหรือนอนก็ตาม นึกถึงพระจันทร์และพระอาทิตย์แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า พระจันทร์พระอาทิตย์ จงมีที่ใกล้มือ ก็ย่อมมีที่ใกล้มือ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น นั่งหรือนอนอยู่ก็ตาม ย่อมลูบคลำสัมผัสพระจันทร์พระอาทิตย์ด้วยฝ่ามือได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปรกติ ย่อมลูบคลำสัมผัสรูปอะไรๆ ที่ใกล้มือได้ ฉะนั้น ฯ
คำว่า ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์ผู้ถึง ความชำนาญแห่งจิตนั้น ถ้าประสงค์จะไปยังพรหมโลก ก็อธิษฐานที่ไกลให้เป็นที่ใกล้ว่า จงเป็นที่ใกล้ ก็เป็นที่ใกล้อธิษฐานที่ใกล้ให้เป็นที่ไกลว่า จงเป็นที่ไกลก็เป็นที่ไกล อธิษฐานที่ใกล้ให้เป็นที่ไกลว่า จงเป็นที่ไกล ก็เป็นที่ไกล อธิษฐานของมากให้เป็นของน้อยว่า จงเป็นของน้อย ก็เป็นของน้อย อธิษฐานของน้อยให้เป็นของมากว่า จงเป็นของมาก ก็เป็นของมาก ย่อมเห็นรูปพรหมนั้นได้ด้วยทิพจักษุย่อมฟังเสียงพรหมนั้นได้ด้วยทิพโสตธาตุ ย่อมรู้จิตของพรหมนั้นได้ด้วยเจโตปริยญาณ ท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้น ประสงค์จะไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ปรากฏ ก็น้อมจิตอธิษฐานจิตด้วยสามารถแห่งกาย ครั้นแล้วหยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา แล้วก็ไปยังพรหมโลกได้ด้วยกายที่ปรากฏอยู่ ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้น ประสงค์จะไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ไม่ปรากฏ ก็น้อมกายอธิษฐานกายด้วยสามารถแห่งจิต ครั้นแล้วหยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา แล้วก็ไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ไม่ปรากฏ ท่านผู้มีฤทธิ์นิรมิตรูปอันสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ไว้ข้างหน้าของพรหมนั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์เดินอยู่ รูปกายนิรมิตก็เดินอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ยืนอยู่ รูปกายนิรมิตก็ยืนอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์นั่งอยู่ รูปกายนิรมิตก็นั่งอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์นอนอยู่รูปกายนิรมิตก็นอนอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์บังหวนควันอยู่รูปกายนิรมิตก็บังหวนควันอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ให้ไฟลุกโพลงอยู่ รูปกายนิรมิตก็ให้ไฟลุกโพลง ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์กล่าวธรรมอยู่ รูปกายนิรมิตก็กล่าวธรรมอยู่ ณ ที่นั้นถ้าท่านผู้มีฤทธิ์กล่าวธรรมถามปัญหาอยู่ รูปกายนิรมิตก็ถามปัญหาอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์อันรูปกายนิรมิตถามปัญหาแล้วก็แก้ รูปกายนิรมิตอันท่านผู้มีฤทธิ์ถามปัญหาแล้วก็แก้อยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ยืนสนทนาปราศรัยอยู่กับพรหมนั้น รูปกายนิรมิตรก็ยืน สนทนาปราศรัยกับพรหมนั้นอยู่ ณ ที่นั้น ท่านผู้มีฤทธิ์ทำกิจใด รูปกายนิรมิตก็ทำกิจนั้นๆ นั่นแล นี้ฤทธิ์ที่อธิษฐานเป็นดังนี้ ฯ
[686] ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ เป็นไฉน ฯ
พระเถระนามว่าอภิภู เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี สถิตอยู่ในพรหมโลก เปล่งเสียงให้พันโลกธาตุทราบชัด ท่านแสดงธรรมด้วยกายที่ปรากฏก็มี ด้วยกายที่ไม่ปรากฏก็มิ ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนล่างไม่ปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนบนไม่ปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนบนปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนล่วงไม่ปรากฏก็มี ท่านละเพศปรกติแล้วแสดงเพศกุมารบ้าง แสดงเพศนาคบ้าง แสดงเพศครุฑบ้างแสดงเพศยักษ์บ้าง แสดงเพศอสูรบ้าง แสดงเพศพระอินทร์บ้าง แสดงเพศเทวดาบ้าง แสดงเพศพรหมบ้าง แสดงเพศสมุทรบ้าง แสดงเพศภูเขาบ้างแสดงเพศป่าบ้าง แสดงเพศราชสีห์บ้าง แสดงเพศเสือโคร่งบ้าง แสดงเพศเสือเหลืองบ้าง แสดงพลช้างบ้าง แสดงพลม้าบ้าง แสดงพลรถบ้าง แสดงพลราบบ้างแสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่างๆ บ้าง นี้เป็นฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ ฯ
[687] ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจเป็นไฉน ฯ
ภิกษุในศาสนานี้ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เปรียบเหมือนบุรุษชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาพึงมีความสำคัญอย่างนี้ว่านี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องเป็นอย่างหนึ่ง ไส้เป็นอย่างหนึ่ง แต่ไส้ก็ออกจากหญ้าปล้องนั่นเองอีกประการหนึ่งเปรียบเหมือนบุรุษชักดาบอกออกจากฝัก เขาพึงมีความสำคัญอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝักดาบเป็นอย่างหนึ่ง ฝักเป็นอย่างหนึ่ง แต่ดาบก็ออกจากฝักนั่นเอง อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษเอางูออกจากกระทอเขาพึงมีความสำคัญอย่างนี้ว่า นี้งู นี้กระทองูเป็นอย่างหนึ่ง กระทอเป็นอย่างหนึ่ง แต่งูก็ออกจากกระทอนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ มีรูปสำเร็จด้วยใจมีอวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง นี้ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ฯ
[688] ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณเป็นไฉน ฯ
ความละนิจจสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอนิจจานุปัสนา เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ความละสุขสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยทุกขานุปัสนาความละอัตตสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอนัตตานุปัสนา ความละความเพลิดเพลินย่อมสำเร็จได้ด้วยนิพพิทานุปัสนา ความละราคะ ย่อมสำเร็จได้ด้วยวิราคานุปัสนาความละสมุทัย ย่อมสำเร็จได้ด้วยนิโรธานุปัสนา ความละความยึดถือ ย่อมสำเร็จได้ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสนา เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณท่านพระพักกุละ ท่านพระสังกิจจะ ท่านพระภูตปาละ มีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณนี้ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ฯ
[689] ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิเป็นไฉน
ความละนิวรณ์ ย่อมสำเร็จได้ด้วยปฐมฌาน เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิความละวิตกวิจาร ย่อมสำเร็จได้ด้วยทุติยฌาน เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ความละปีติ ย่อมสำเร็จได้ด้วยตติยฌาน ฯลฯความละสุขและทุกข์ ย่อมสำเร็จได้ด้วยจตุตถฌาน ฯลฯความละรูปสัญญาปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯความละอากาสานัญจายตนสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯความละวิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯความละอากิญจัญญายตนสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิท่านพระสารีบุตร ท่านพระสัญชีวะท่านพระขาณุโกณฑัญญะ อุตตราอุบาสิกา สามาวดีอุบาสิกา มีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ นี้ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ
[690] ฤทธิ์ของพระอริยะเป็นไฉน ฯ
ภิกษุในศาสนานี้ ถ้าหวังว่า เราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่าเราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า เราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่าเราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า เราพึงเว้นสิ่งทั้งสองนั้นมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ก็เป็นผู้มีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ฯ
ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างไร
ภิกษุแผ่ไปโดยเมตตา หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ ในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่อย่างไร
ภิกษุแผ่ไปโดยความไม่งาม หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นของไม่เที่ยงในสิ่งที่น่าปรารถนาภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่อย่างนี้
ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างไร
ภิกษุแผ่ไปโดยเมตตาหรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ ในสิ่งทั้งไม่น่าปรารถนาและน่าปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่อย่างไร
ภิกษุแผ่ไปโดยความไม่งาม หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นของไม่เที่ยงในสิ่งทั้งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่อย่างนี้
ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้นมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูล และในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้นมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้ นี้ฤทธิ์ของพระอริยะ ฯ
[691] ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรมเป็นไฉน ฯ
นกทุกชนิด เทวดาทั้งปวง มนุษย์บางพวก วินิปาติกเปรตบางพวกมีฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม นี้ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม ฯ
[692] ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญเป็นไฉน ฯ
พระเจ้าจักรพรรดิ เสด็จเหาะไปในอากาศพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ตลอดจนพวกปกครองม้าเป็นที่สุด นี้เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ฤทธิ์ของโชติยคฤหบดีฤทธิ์ของชฏิลคฤหบดี ฤทธิ์ของเมณฑกคฤหบดี ฤทธิ์ของโฆสิตคฤหบดีฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญมาก 5 คน เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญนี้ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ฯ
[693] ฤทธิ์สำเร็จด้วยวิชชาเป็นไฉน ฯ
พวกวิชชาธรร่ายวิชชาแล้วย่อมเหาะไปได้ แสดงพลช้างบ้าง พลม้าบ้าง พลรถบ้าง พลราบบ้าง แสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่างๆ บ้าง ในอากาศกลางหาวนี้ฤทธิ์สำเร็จด้วยวิชชา ฯ
[694] ชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้นๆอย่างไร ฯ
ความละกามฉันทะ ย่อมสำเร็จได้ด้วยเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้นๆความละพยาบาท ย่อมสำเร็จได้ด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ ความละถีนมิทธะย่อมสำเร็จได้ด้วยอาโลกสัญญา ฯลฯ ความละกิเลสทั้งปวง ย่อมสำเร็จได้ด้วยอรหัตมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้นๆ ชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้นๆอย่างนี้ฤทธิ์ 10 ประการเหล่านี้
จบอิทธิกถา ฯ
______
อภิสมยกถา
[695] คำว่า ความตรัสรู้ ความว่า ย่อมตรัสรู้ด้วยอะไร ย่อมตรัสรู้ด้วยจิต ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไม่มีญาณก็ตรัสรู้ได้ซิ บุคคลผู้ไม่มีญาณตรัสรู้ไม่ได้ ย่อมตรัสรู้ได้ด้วยญาณ ย่อมตรัสรู้ด้วยญาณหรือถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไม่มีจิตก็ตรัสรู้ได้ซิ บุคคลผู้ไม่มีจิตก็ตรัสรู้ไม่ได้ ย่อมตรัสรู้ได้ด้วยจิตและญาณ ย่อมตรัสรู้ได้ด้วยจิตและญาณหรือ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยกามาวจรจิตและญาณซิ ย่อมตรัสรู้ด้วยกามาวจรจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้นก็ตรัสรู้ได้ด้วยรูปาวจรจิตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยรูปาวจรจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยอรูปาวจรจิตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยอรูปาวจรจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยกัมมัสสกตาจิตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยกัมมัสสกตาจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยสัจจานุโลมิกจิตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยสัจจานุโลมิกจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นอดีตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นอดีตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้นก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นอนาคตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นอนาคตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณไม่ได้ (แต่) ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะโลกุตรมรรค ฯ
[696] ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะแห่งโลกุตรมรรคอย่างไร ฯ
ในขณะโลกุตรมรรค จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น และเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งญาณ จิตอันสัมปยุตด้วยญาณนั้น มีนิโรธเป็นโคจร ญาณเป็นใหญ่ในการเห็น และเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต ญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น มีนิโรธเป็นโคจร ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและด้วยญาณ ในขณะแห่งโลกุตรมรรคอย่างนี้ ฯ
[697] ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ ฯ
ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะโลกุตรมรรค ความตรัสรู้ด้วยความเห็นเป็นสัมมาทิฐิความตรัสรู้ด้วยความดำริ เป็นสัมมาสังกัปปะ ความตรัสรู้ด้วยความกำหนด เป็นสัมมาวาจา ความตรัสรู้ด้วยความเป็นสมุฏฐาน เป็นสัมมากัมมันตะความตรัสรู้ด้วยความขาวผ่อง เป็นสัมมาอาชีวะ ความตรัสรู้ด้วยความตั้งสติมั่นเป็นสัมมาสติ ความตรัสรู้ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสัมมาสมาธิความตรัสรู้ด้วยความตั้งสติมั่น เป็นสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ความตรัสรู้ด้วยการพิจารณาหาทาง เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นสัทธาพละความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้านเป็นวิริยะพละ ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวไปในความประมาท เป็นสติพละความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ เป็นสมาธิพละ ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา เป็นปัญญาพละ ความตรัสรู้ด้วยความน้อมใจเชื่อเป็นสัทธินทรีย์ ความตรัสรู้ด้วยความประคองไว้ เป็นวิริยินทรีย์ ความตรัสรู้ด้วยความตั้งสติมั่นเป็นสตินทรีย์ ความตรัสรู้ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธินทรีย์ความตรัสรู้ด้วยความเห็นเป็นปัญญินทรีย์ ความตรัสรู้ด้วยอินทรีย์ด้วยความว่าเป็นใหญ่ความตรัสรู้ด้วยพละ ด้วยความว่าไม่หวั่นไหว ความตรัสรู้ด้วยโพชฌงค์ด้วยความว่านำออก ความตรัสรู้ด้วยมรรคด้วยความว่าเป็นเหตุ ความตรัสรู้ด้วยสติปัฏฐานด้วยความว่าตั้งสติมั่นความตรัสรู้ ด้วยสัมมัปปธานด้วยความว่าตั้งไว้ ความตรัสรู้ด้วยอิทธิบาทด้วยความว่าให้สำเร็จ ความตรัสรู้สัจจะด้วยความว่าเป็นของแท้ความตรัสรู้ด้วยสมถะด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ความตรัสรู้ด้วยวิปัสนาด้วยความว่าพิจารณาเห็นความตรัสรู้ด้วยสมถะและวิปัสนาด้วยความว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ความตรัสรู้ด้วยธรรมคู่กันด้วยความว่าไม่ล่วงเกินกัน ศีลวิสุทธิด้วยความว่าสำรวม เป็นความตรัสรู้จิตตวิสุทธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความตรัสรู้ ทิฐิวิสุทธิด้วยความว่าเห็นเป็นความตรัสรู้ ความตรัสรู้ด้วยอธิโมกข์ด้วยความว่าหลุดพ้น ความตรัสรู้ด้วยวิชชาด้วยความว่าแทงตลอด วิมุติด้วยความว่าบริจาค เป็นความตรัสรู้ ญาณในความสิ้นไปด้วยความว่าตัดขาด เป็นความตรัสรู้ ฉันทะเป็นความตรัสรู้ด้วยความเป็นมูลเหตุ มนสิการเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่รวม เวทนาเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่ประชุม สมาธิเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นประธาน สติเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นธรรมยิ่งกว่าธรรมนั้นๆ วิมุติเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นสารธรรม นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่สุด ฯ
[698] ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ ฯ
ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะโสดาปัตติมรรค ความตรัสรู้ด้วยความเห็นเป็นสัมมาทิฐิ ฯลฯ นิพพานอันหยั่งลง ในอมตะ เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่สุด ฯ
ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ
ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะโสดาปัตติผล ความตรัสรู้ด้วยความเห็นเป็นสัมมาทิฐิ ฯลฯญาณในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าระงับ ฉันทะเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นมูลเหตุ ฯลฯ นิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่สุด ฯ
ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ ฯ
ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะสกทาคามิผล ในขณะอนาคามิมรรค ในขณะอานาคามิผล ในขณะอรหัตมรรคในขณะอรหัตผล ความตรัสรู้ด้วยความเห็น เป็นสัมมาทิฐิ ความตรัสรู้ด้วยความดำริ เป็นสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ญาณในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้นเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าระงับ ฉันทะเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นมูลเหตุฯลฯ นิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่สุด บุคคลนี้นั้นย่อมละได้ซึ่งกิเลสทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน
[699] คำว่า ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอดีต ความว่าบุคคลย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอดีตหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ทำกิเลสที่สิ้นไปแล้วให้สิ้นไปทำกิเลสที่ดับไปแล้วให้ดับไปทำกิเลสที่ปราศไปแล้วให้ปราศไป ทำกิเลสที่หมดแล้วให้หมดไป ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอดีตอันไม่มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นละกิเลสที่เป็นอดีตหาได้ไม่
คำว่า ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอนาคต ความว่า บุคคลย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอนาคตหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ละกิเลสที่ยังไม่เกิด ละกิเลสที่ยังไม่บังเกิด ละกิเลสที่ไม่เกิดขึ้นแล้ว ละกิเลสที่ยังไม่ปรากฏ ละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอนาคตอันไม่มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นละกิเลสที่เป็นอนาคตหาได้ไม่
คำว่า ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นปัจจุบัน ความว่า บุคคลย่อมละได้ ซึ่งกิเลสที่เป็นปัจจุบันหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้กำหนัดก็ละราคะได้ ผู้ขัดเคืองก็ละโทสะได้ ผู้หลงก็ละโมหะได้ ผู้มีมานะผูกพันก็ละมานะได้ ผู้ถือผิดก็ละทิฐิได้ผู้ถึงความฟุ้งซ่านก็ละอุทธัจจะได้ ผู้ลังเลไม่แน่ใจก็ละวิจิกิจฉาได้ ผู้มีกิเลสเรี่ยวแรงก็ละอนุสัยได้ ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาวซึ่งเป็นคู่กันกำลังเป็นไปมรรคภาวนาอันมีความหม่นหมองด้วยกิเลสนั้น ก็มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีต กิเลสที่เป็นอนาคต กิเลสที่เป็นปัจจุบัน หาได้ไม่ ฯ
[700] บุคคลย่อมละกิเลสที่เป็นอดีตหาได้ไม่ ละกิเลสที่เป็นอนาคตหาได้ไม่ ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันหาได้ไม่ หรือ ถ้าอย่างนั้น มรรคภาวนาก็ไม่มีการทำให้แจ้งซึ่งผลก็ไม่มี การละกิเลสก็ไม่มี ธรรมาภิสมัยก็ไม่มี ฯ
หามิได้ มรรคภาวนามีอยู่ การทำให้แจ้งซึ่งผลมีอยู่ การละกิเลสมีอยู่ธรรมาภิสมัยมีอยู่เหมือนอะไร เหมือนต้นไม้กำลังรุ่น ยังไม่เกิดผล บุรุษพึงตัดต้นไม้นั้นที่ราก ผลที่ยังไม่เกิดแห่งต้นไม้นั้นก็ไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิดเลย ที่ไม่เกิดขึ้น แล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏเลยฉันใด ความเกิดขึ้น เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งความบังเกิดแห่งกิเลสทั้งหลายจิตเห็นโทษในความเกิดขึ้นแล้ว จึงแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น กิเลสเหล่าใดพึงบังเกิด เพราะความเกิดขึ้นเป็นปัจจัย กิเลสเหล่านั้นที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดเลยที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิดเลย ที่ไม่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏเลย ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดับ ทุกข์ก็ดับ ด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุแห่งความเป็นไป เพราะเหตุแห่งสังขารเป็นนิมิต เพราะเหตุแห่งกรรมเป็นกรรมเปัจจัยแห่งความบังเกิดแห่งกิเลสทั้งหลาย จิตเห็นโทษในกรรมแล้วจึงแล่นไปในนิพพานอันไม่มีกรรม เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติแล่นไปในนิพพานอันไม่มีกรรม กิเลสเหล่าใดพึงบังเกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย กิเลสเหล่านั้นที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิดเลย ที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏเลย เพราะเหตุดับ ทุกข์ก็ดับด้วยประการฉะนี้มรรคภาวนามีอยู่ การทำให้แจ้งซึ่งผลมีอยู่ การละกิเลสมีอยู่ธรรมาภิสมัยมีอยู่ ด้วยประการฉะนี้แล ฯ
จบอภิสมยกถา ฯ
______
วิเวกกถา
สาวัตถีนิทาน
[701] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่งการงานทั้งหมดนั้น บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงทำกันได้การงานที่ต้องทำด้วยกำลังนี้ บุคคลย่อมทำได้ด้วยประการอย่างนี้ แม้ฉันใดดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ 8 ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
[702] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ 8 ได้อย่างไร ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัมมาทิฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ …ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคมีองค์ 8 อย่างนี้แล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พืชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พืชคามและภูตคามทั้งหมดนั้นอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ พืชคามและภูตคามเหล่านี้ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ด้วยประการฉะนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อาศัยศีลตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ 8 ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯ
[703] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ 8 ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลายอย่างไร ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัมมาทิฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ … เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในความสละ สัมมาทิฐิมีวิเวก 5มีวิราคะ มีนิโรธ 5 มีความสละ 5 มีนิสัย 12สัมมาสังกัปปะฯลฯ สัมมาสมาธิ มีวิเวก 5 มีวิราคะ 5 มีนิโรธ 5 มีความสละ 5 มีนิสัย 12 ฯ
[704] สัมมาทิฐิมีวิเวก 5 เป็นไฉน ฯ
วิเวก 5 คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน 1 วิเวกในการละทิฐิด้วยองค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิมีส่วนในการทำลายกิเลส 1สมุจเฉทวิเวก ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป 1 ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะผล 1 นิสสรณวิเวกเป็นที่ดับ คือ นิพพาน 1 สัมมาทิฐิมีวิเวก 5เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก 5 นี้ ฯ
[705] สัมมาทิฐิมีวิราคะ 5 เป็นไฉน ฯ
วิราคะ 5 คือ วิกขัมภนวิราคะ ตทังควิราคะ สมุจเฉทวิราคะ ปฏิปัสสัทธิวิราคะนิสสรณวิราคะ วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน 1 … นิสสรณวิราคะเป็นที่ดับ คือนิพพาน 1 สัมมาทิฐิมีวิราคะ 5เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิราคะ 5 นี้ ฯ
[706] สัมมาทิฐิมีนิโรธ 5 เป็นไฉน ฯ
นิโรธ 5 คือ วิกขัมภนนิโรธ ตทังคนิโรธ สมุจเฉทนิโรธ ปฏิปัสสัทธินิโรธ นิสสรณนิโรธ นิโรธในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน 1 … นิสสรณนิโรธเป็นที่ดับ คือ นิพพาน 1สัมมาทิฐิมีนิโรธ 5เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในนิโรธ 5 นี้ ฯ
[707] สัมมาทิฐิมีความสละ 5 เป็นไฉน ฯ
ความสละ 5 คือ วิกขัมภนโวสัคคะ ตทังคโวสัคคะ สมุจเฉทโวสัคคะ ปฏิปัสสัทธิโวสัคคะ นิสสรณโวสัคคะ ความสละในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน 1 … นิสสรณโวสัคคะ เป็นนิโรธ คือ นิพพาน 1สัมมาทิฐิมีความสละ 5 เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะน้อมใจไปด้วยศรัทธาและมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในความสละ 5 นี้ ฯ
สัมมาทิฐิมีวิเวก 5 มีวิราคะ 5 มีนิโรธ 5 มีความสละ 5มีนิสัย 12 เหล่านี้ ฯ
[708] สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ ฯลฯสัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ
สัมมาสมาธิมีวิเวก 5 เป็นไฉน ฯ
วิเวก 5 คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน 1 วิเวกในการละทิฐิด้วยองค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนทำลายกิเลส 1สมุจเฉทวิเวก ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป 1 ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะผล 1 นิสสรณวิเวกเป็นนิโรธ คือ นิพพาน 1 สัมมาสมาธิมีวิเวก5 เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก 5 นี้ ฯ
[709] สัมมาสมาธิมีวิราคะ 5 เป็นไฉน ฯ
วิราคะ 5 คือ วิกขัมภนวิราคะ ตทังควิราคะ สมุจเฉทวิราคะ ปฏิปัสสัทธิวิราคะ นิสสรณวิราคะ วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน 1 …นิสสรณวิราคะเป็นนิโรธ คือนิพพาน 1 สัมมาสมาธิมีวิราคะ 5 เหล่านี้ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิราคะ 5 นี้ ฯ
[710] สัมมาสมาธิมีนิโรธ 5 เป็นไฉน ฯ
นิโรธ 5 คือ วิกขัมภนนิโรธ ตทังคนิโรธ สมุจเฉทนิโรธ ปฏิปัสสัทธินิโรธนิสสรณนิโรธ นิโรธในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน 1… ปฏิปัสสัทธินิโรธในขณะผล 1นิสสรณนิโรธเป็นอมตธาตุ 1 สัมมาสมาธิมีนิโรธ 5 เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะน้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในนิโรธ 5 นี้ ฯ
[711] สัมมาสมาธิมีความสละ 5 เป็นไฉน ฯ
ความสละ 5 คือ วิกขัมภนโวสัคคะ ตทังคโวสัคคะ สมุจเฉทโวสัคคะ ปฏิปัสสัทธิโวสัคคะ นิสสรณโวสัคคะ ความสละในการข่มนิวรณ์ ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน 1 ความสละในการละทิฐิด้วยองค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนทำลายกิเลส 1 สมุจเฉทโวสัคคะ ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป 1 ปฏิปัสสัทธิโวสัคคะในขณะผล 1 นิสสรณโวสัคคะเป็นนิโรธคือ นิพพาน 1 สัมมาสมาธิมีความสละ 5 เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะน้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในความสละ 5 นี้ ฯ
สัมมาสมาธิมีวิเวก 5 มีวิราคะ 5 มีนิโรธ 5 มีความสละ 5 มีนิสัย12 เหล่านี้ ฯ
[712] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลัง อย่างใดอย่างหนึ่ง การงานทั้งหมดนั้น บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงทำกันได้การงานที่ต้องทำด้วยกำลังนี้บุคคลย่อมทำได้ด้วยประการฉะนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้วย่อมเจริญ ทำให้มากซึ่งโพชฌงค์7 ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ภิกษุเจริญ ทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7อยู่ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ภิกษุเจริญทำให้มากซึ่งพละ 5 ฯลฯภิกษุเจริญทำให้มากซึ่งพละ 5 อยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ภิกษุเจริญทำให้มากซึ่งอินทรีย์ 5 ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พืชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พืชคามและภูตคามทั้งหมดนั้นอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ พืชคามและภูตคามเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ด้วยประการฉะนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากอยู่ซึ่งอินทรีย์ 5 ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯ
[713] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอินทรีย์ 5 ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลายอย่างไร ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัทธินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ เจริญสตินทรีย์ เจริญสมาธินทรีย์เจริญปัญญินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในความสละ สัทธินทรีย์มีวิเวก 5มีวิราคะ 5 มีนิโรธ 5 มีความสละ 5 มีนิสัย 12 วิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯปัญญินทรีย์มีวิเวก 5 มีวิราคะ 5 มีนิโรธ 5 มีความสละ 5 มีนิสัย 12 ฯ
[714] สัทธินทรีย์มีวิเวก 5 เป็นไฉน ฯ
วิเวก 5 คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน 1วิเวกในการละทิฐิด้วยองค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส 1 สมุจเฉทวิเวก ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป 1ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะผล 1 นิสสรณวิเวกเป็นนิโรธ คือ นิพพาน 1 สัทธินทรีย์มีวิเวก 5 เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธาและมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก 5 นี้ฯลฯ สัทธินทรีย์มีวิเวก 5 มีวิราคะ 5มีนิโรธ 5 มีความสละ 5 มีนิสัย 12 เหล่านี้ วิริยินทรีย์ฯลฯ สตินทรีย์ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์มีวิเวก 5 เป็นไฉน ฯ
วิเวก 5 คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก นิสสรณวิเวกฯลฯ ปัญญินทรีย์มีวิเวก 5 มีวิราคะ 5 มีนิโรธ 5มีความสละ 5 มีนิสัย 12 เหล่านี้ ฉะนี้แล ฯ
จบวิเวกกถา ฯ
______
จริยากถา
[715] จริยา ในคำว่า จริยา นี้ มี 8 คือ อิริยาปถจริยา 1 อายตนจริยา 1 สติจริยา 1สมาธิจริยา 1 ญาณจริยา 1 มรรคจริยา 1ปัตติจริยา 1 โลกัตถจริยา 1 ฯ
ความประพฤติในอิริยาบถ 4 ชื่อว่าอิริยาปถจริยา ความประพฤติในอายตนะภายในและภายนอก 6 ชื่อว่าอายตนจริยา ความประพฤติในสติปัฏฐาน 4ชื่อว่าสติจริยา ความประพฤติในฌาน 4 ชื่อว่าสมาธิจริยา ความประพฤติในอริยสัจ 4 ชื่อว่าญาณจริยา ความประพฤติในอริยมรรค 4 ชื่อว่ามรรคจริยาความประพฤติในสามัญผล 4 ชื่อว่าปัตติจริยา ความประพฤติอันเป็นส่วนเฉพาะในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความประพฤติอันเป็นส่วนเฉพาะในพระปัจเจกพุทธเจ้า ความประพฤติอันเป็นส่วนเฉพาะในพระสาวก ชื่อว่าโลกัตถจริยา อิริยาปถจริยาของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยความปรารถนา อายตนจริยาของท่านผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย สติจริยาของท่านผู้มีปรกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท สมาธิจริยาของท่านผู้ขวนขวายในอธิจิตญาณจริยาของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา มรรคจริยาของท่านผู้ปฏิบัติชอบปัตติจริยา ของท่านผู้บรรลุผลแล้วและโลกัตถจริยา เป็นส่วนเฉพาะของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นส่วนเฉพาะของพระปัจเจกพุทธเจ้า และเป็นส่วนเฉพาะของพระสาวก จริยา 8เหล่านี้ ฯ
[716] จริยา 8 อีกประการหนึ่ง คือ บุคคลผู้น้อมใจเชื่อย่อมประพฤติด้วยศรัทธา ผู้ประคองไว้ ย่อมประพฤติด้วยความเพียร ผู้ตั้งสติมั่น ย่อมประพฤติด้วยสติ ผู้ทำความไม่ฟุ้งซ่านย่อมประพฤติด้วยสมาธิ ผู้รู้ชัด ย่อมประพฤติด้วยปัญญา ผู้รู้แจ้ง ย่อมประพฤติด้วยวิญญาณ ผู้มนสิการว่า ท่านผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมบรรลุคุณพิเศษได้ ก็ประพฤติด้วยวิเศษจริยา ผู้มนสิการว่ากุศลธรรมของท่านผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมให้ต่อเนื่องกันไป ก็ประพฤติด้วยอายตนจริยาจริยา 8 เหล่านี้ ฯ
[717] จริยา 8 อีกประการหนึ่ง คือ การประพฤติด้วยทัสนะแห่งสัมมาทิฐิ 1 การประพฤติด้วยความดำริแห่งสัมมาสังกัปปะ 1 การประพฤติด้วยความกำหนดแห่งสัมมาวาจา 1 การประพฤติด้วยสมุฏฐานแห่งสัมมากัมมันตะ 1การประพฤติด้วยความขาวผ่องแห่งสัมมาอาชีวะ 1 การประพฤติด้วยความประคองไว้แห่งสัมมาวายามะ 1 การประพฤติด้วยความตั้งสติมั่นแห่งสัมมาสติ 1การประพฤติด้วยความไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ 1 จริยา 8 เหล่านี้ ฉะนี้แล ฯ
จบจริยากถา
______
ปาฏิหาริยกถา
[718] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาฏิหาริย์ 3 ประการนี้ 3 ประการเป็นไฉน คืออิทธิปาฏิหาริย์ 1 อาเทศนาปฏิหาริย์ 1 อนุศาสนีปาฏิหาริย์ 1 ฯ
[719] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อิทธิปาฏิหาริย์เป็นไฉน ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนคนเดียวก็ได้ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ ฯ
[720] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาเทศนาปาฏิหาริย์เป็นไฉน ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมทายใจได้ตามเหตุที่กำหนดว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นประการนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจเป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย แต่เมื่อได้ฟังเสียงของมนุษย์ก็ดี ของอมนุษย์ก็ดี หรือของเทวดาก็ดี ก็ทายใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นประการนี้จิตของท่านเป็นดังนี้ ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจเป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย และหาได้ฟังเสียงของมนุษย์ของอมนุษย์ หรือของเทวดาแล้วทายใจไม่ แต่เมื่อได้ฟังเสียงตรึกตรองของผู้กำลังตรึกตรองอยู่ ก็ทายใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นประการนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจเป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่นดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลยหาได้ฟังเสียงของมนุษย์ ของอมนุษย์ หรือของเทวดาแล้วทายใจไม่ และหาได้ฟังเสียงตรึกตรองของผู้กำลังตรึกตรองแล้วทายใจไม่ แต่เมื่อกำหนดใจของผู้เข้าสมาธิอันไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ด้วยใจของตนแล้วก็รู้ได้ว่า ท่านผู้นี้ตั้งมโนสังขารไว้อย่างใด ก็จักตรึกถึงวิตกชื่อโน้นในระหว่างจิตนี้อย่างนั้น ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจเป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอาเทศนาปาฏิหาริย์ ฯ
[721] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุศาสนีปาฏิหาริย์เป็นไฉน ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพร่ำสอนอย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้อย่าตรึกอย่างนั้น จงมนสิการอย่างนี้ อย่ามนสิการอย่างนั้น จงละธรรมนี้ จงเข้าถึงธรรมนี้อยู่เถิดดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอนุศาสนีปาฏิหาริย์ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาฏิหาริย์ 3 ประการนี้แล ฯ
[722] เนกขัมมะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ เนกขัมมะย่อมกำจัดกามฉันทะได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยเนกขัมมะนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น เนกขัมมะจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และเนกขัมมะนั้น ท่านทั้งหลายพึงเสพอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติอันเป็นธรรมสมควรแก่เนกขัมมะนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เนกขัมมะจึงเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์ ฯ
ความไม่พยาบาทย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ความไม่พยาบาทย่อมกำจัดพยาบาทได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยความไม่พยาบาทนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัวเพราะฉะนั้น ความไม่พยาบาทจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และความไม่พยาบาทนั้นท่านทั้งหลายพึงเสพอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติอันเป็นธรรมสมควรแก่ความไม่พยาบาทนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ความไม่พยาบาทจึงเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์ ฯ
อาโลกสัญญาย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ อาโลกสัญญาย่อมกำจัดถีนมิทธะได้เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยอาโลกสัญญานั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น อาโลกสัญญาจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และอาโลกสัญญานั้น ท่านทั้งหลายพึงเสพอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติอันเป็นธรรมสมควรแก่อาโลกสัญญานั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อาโลกสัญญาจึงเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์ ฯ
ความไม่ฟุ้งซ่านย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ความไม่ฟุ้งซ่านย่อมกำจัดอุทธัจจะได้เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยความไม่ฟุ้งซ่านนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น ความไม่ฟุ้งซ่าน จึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์และความไม่ฟุ้งซ่านนั้นท่านทั้งหลาย พึงเสพอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติอันเป็นธรรมสมควรแก่ความไม่ฟุ้งซ่านนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ความไม่ฟุ้งซ่านจึงเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์ ฯลฯ ฯ
อรหัตมรรคย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ อรหัตมรรคย่อมกำจัดกิเลสได้หมดเพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยอรหัตมรรคนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้นอรหัตมรรคจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และอรหัตมรรคนั้น ท่านทั้งหลายพึงเสพอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติอันเป็นธรรมสมควรแก่อรหัตมรรคนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อรหัตมรรคจึงเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์ ฯ
เนกขัมมะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ย่อมกำจัดกามฉันทะได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์นี้ ท่านเรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ความไม่พยาบาทย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ย่อมกำจัดพยาบาทได้เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์นี้ ท่านเรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์อาโลกสัญญาย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ย่อมกำจัดถีนมิทธะได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ อรหัตมรรคย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิย่อมกำจัดกิเลสได้หมด เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์นี้ท่านเรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ ฉะนี้แล ฯ
จบปาฏิหาริยกถา ฯ
______
สมสีสกถา
[723] ปัญญา ในความไม่ปรากฏแห่งธรรม ทั้งปวงในสัมมา สมุจเฉทและในนิโรธ เป็นญาณในความว่าสมธรรมและสีสธรรม ฯ
คำว่า ธรรมทั้งปวง คือ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 กุศลธรรม อกุศลธรรมอัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรมโลกุตรธรรม ฯ
คำว่า สัมมาสมุจเฉท ความว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องตัดกามฉันทะได้ขาดดี อัพยาบาทเป็นเครื่องตัดพยาบาทได้ขาดดี อาโลกสัญญาเป็นเครื่องตัดถีนมิทธะได้ขาดดี อวิกเขปะเป็นเครื่องตัดอุทธัจจะได้ขาดดี ธรรมววัตถานเป็นเครื่องตัดวิจิกิจฉาได้ขาดดี ญาณเป็นเครื่องตัดอวิชชาได้ขาดดีความปราโมทย์เป็นเครื่องตัดอรติได้ขาดดี ปฐมฌานเป็นเครื่องตัดนิวรณ์ได้ขาดดี ฯลฯ อรหัตมรรคเป็นเครื่องตัดกิเลสทั้งปวงได้ขาดดี ฯ
[724] คำว่า นิโรธ ความว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องดับกามฉันทะ อัพยาบาทเป็นเครื่องดับพยาบาท … ความปราโมทย์เป็นเครื่องดับอรติ ปฐมฌานเป็นเครื่องดับนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตมรรคเป็นเครื่องดับกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า ความไม่ปรากฏ ความว่า เมื่อพระโยคาวจรได้เนกขัมมะ กามฉันทะย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อัพยาบาท พยาบาทย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อาโลกสัญญา ถีนมิทธะย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อวิกเขปะ อุทธัจจะย่อมไม่ปรากฏเมื่อได้ธรรมววัตถาน วิจิกิจฉาย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ฌานอวิชชาย่อมไม่ปรากฏเมื่อได้ความปราโมทย์ อรติย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ปฐมฌาน นิวรณ์ย่อมไม่ปรากฏฯลฯ เมื่อได้อรหัตมรรค กิเลสทั้งปวงย่อมไม่ปรากฏ ฯ
[725] คำว่า สมธรรม (ธรรมสงบ) ความว่า เพราะท่านละกามฉันทะได้แล้ว เนกขัมมะจึงเป็นสมธรรม เพราะท่านละพยาบาทได้แล้ว อัพยาบาทจึงเป็นสมธรรม เพราะท่านละถีนมิทธะได้แล้ว อาโลกสัญญาจึงเป็นสมธรรมเพราะท่านละอุทธัจจะได้แล้ว อวิกเขปะจึงเป็นสมธรรม เพราะท่านละวิจิกิจฉาได้แล้ว ธรรมววัตถานจึงเป็นสมธรรม เพราะท่านละอวิชชาได้แล้วฌานจึงเป็นสมธรรม เพราะท่านละอรติได้แล้ว ความปราโมทย์จึงเป็นสมธรรม เพราะท่านละนิวรณ์ได้แล้ว ปฐมฌานจึงเป็นสมธรรม ฯลฯ เพราะท่านละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว อรหัตมรรคจึงเป็นสมธรรม ฯ
สีสธรรม ในคำว่า สีสํ มี 13 คือ ตัณหามีความกังวลเป็นประธาน 1 มานะมีความพัวพันเป็นประธาน 1 ทิฐิมีความถือผิดเป็นประธาน 1 อุทธัจจะมีความฟุ้งซ่านเป็นประธาน 1 อวิชชามีกิเลสเป็นประธาน 1 ศรัทธามีความน้อมใจเชื่อเป็นประธาน 1 วิริยะมีความประคองไว้เป็นประธาน 1 สติมีความตั้งมั่นเป็นประธาน 1 สมาธิมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นประธาน 1 ปัญญามีความเห็นเป็นประธาน 1 ชีวิตินทรีย์มีความเป็นไปเป็นประธาน 1 วิโมกข์มีโคจรเป็นประธาน 1นิโรธมีสังขารเป็นประธาน 1 ฯ
จบสมสีสกถา ฯ
______
สติปัฏฐานกถา
สาวัตถีนิทานบริบูรณ์
[726] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 ประการนี้ 4 ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโสมนัสในโลกอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 ประการนี้แล ฯ
[727] ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไร ฯ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกองธาตุดิน โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัดไม่กำจัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้ เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืนย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายโดยอาการ 7 นี้ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วยภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 คือ ภาวนา ด้วยความว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน 1 ด้วยความว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน 1 ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไปซึ่งความเพียร อันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์มีกิจเป็นอันเดียวกันนั้น 1 ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ 1 ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกองอาโปธาตุกองเตโชธาตุ กองวาโยธาตุ กองผม กองขน กองผิว กองหนัง กองเนื้อ กองเอ็น กองกระดูก กองเยื่อในกระดูก โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตาย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมดับไม่ให้เกิดย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้ เมื่อดับย่อมละสมุทัยได้เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายด้วยอาการ7 นี้กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็นธรรมที่เสพ ฯลฯภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างนี้ ฯ
[728] ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างไร ฯ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่นเมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ 7 นี้เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็นธรรมที่เสพ ฯลฯ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนา จักขุสัมผัสสชาเวทนาโสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เมื่อสละคืนย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ 7 นี้ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็นธรรมที่เสพ ฯลฯ ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างนี้ ฯ
[729] ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไร ฯ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตมีราคะ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯเมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ 7 นี้จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นจิตในจิตว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 ฯลฯ ภาวนาด้วยความเป็นธรรมที่เสพฯลฯ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตอันปราศจากราคะ จิตมีโทสะจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต จิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่นจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ 7 นี้ จิตปรากฏ ไม่ใช่สติสติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสติและญาณนั้นเพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นจิตในจิตว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ ฯลฯ ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างนี้ ฯ
[730] ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่อย่างไร ฯ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เว้นกาย เวทนา จิตเสียแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลายที่เหลือจากนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตาไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตาย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิดย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้ เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลายด้วยอาการ 7 นี้ ธรรมทั้งหลายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วยเป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 คือ ภาวนา ด้วยความว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน 1 ด้วยความว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน 1 ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไป ซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกันนั้น 1ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ 1 ฯลฯ ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่อย่างนี้ ฉะนี้แล ฯ
จบสติปัฏฐานกถา ฯ
________
วิปัสสนากถา
สาวัตถีนิทานบริบูรณ์
[731] ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยงอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยามข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตติยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยงอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผลอนาคามิผลหรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ฯ
[732] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารไรๆโดยความเป็นสุขจักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผลอนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นทุกข์อยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ฯ
[733] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นธรรมไรๆโดยความเป็นอัตตาอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติจักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลสกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นธรรมไรๆ โดยความเป็นอนัตตาอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติจักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ฯ
[734] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นทุกข์อยู่จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผลอนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุขอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยามข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลสกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ฯ
[735] ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร ย่างลงสู่สัมมัตต นิยามด้วยอาการเท่าไร ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ 40 ย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการ 40 ฯ
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ 40 เป็นไฉน ย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการ 40 เป็นไฉน ฯ
ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของไม่เที่ยง 1 เป็นทุกข์ 1 เป็นโรค 1เป็นดังหัวฝี 1 เป็นดังลูกศร 1 เป็นความลำบาก 1 เป็นอาพาธ 1เป็นอย่างอื่น 1 เป็นของชำรุด 1 เป็นเสนียด 1 เป็นอุบาทว์ 1 เป็นภัย 1เป็นอุปสรรค 1 เป็นความหวั่นไหว 1 เป็นของผุพัง 1 เป็นของไม่ยั่งยืน 1เป็นของไม่มีอะไรต้านทาน 1 เป็นของไม่มีอะไรป้องกัน 1 เป็นของไม่เป็นที่พึ่ง 1 เป็นของว่าง 1 เป็นของเปล่า 1 เป็นของสูญ 1 เป็นอนัตตา 1 เป็นโทษ 1 เป็นของมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา 1 เป็นของหาสาระมิได้ 1 เป็นมูลแห่งความลำบาก 1 เป็นดังเพชฌฆาต 1 เป็นความเสื่อมไป 1 เป็นของมีอาสวะ 1 เป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง 1 เป็นเหยื่อแห่งมาร 1 เป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา 1 เป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา 1 เป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา 1 เป็นของมีความตายเป็นธรรมดา 1 เป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา 1 เป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา 1 เป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา 1 เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา 1 เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเที่ยง ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นทุกข์ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นสุข ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นโรค … เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีฝี … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังลูกศร … เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีลูกศร … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความลำบาก … เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความลำบาก … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอาพาธ …เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์ เป็นนิพพานไม่มีอาพาธ … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอื่น …เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีสิ่งอื่นเป็นปัจจัย … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของชำรุด … เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความชำรุดเป็นธรรมดา … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นเสนียด …เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีเสนียด … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอุบาทว์ … เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอุบาทว์ … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นภัย … เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานอันไม่มีภัย …เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอุปสรรค … เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอุปสรรค … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของหวั่นไหว … เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความหวั่นไหว … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของผุพัง … เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความผุพัง … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่ยั่งยืน … เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีความยั่งยืน … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน … เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นที่ต้านทาน … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน … เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นที่ป้องกัน … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่มีที่พึ่ง … เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นที่พึ่ง …เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของว่าง … เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ว่าง … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของว่างเปล่า … เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เปล่า … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของสูญ … เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานสูญอย่างยิ่ง … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอนัตตา … เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นโทษ … เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีโทษ …เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของแปรปรวนเป็นธรรมดา … เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของหาสาระมิได้ … เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีสาระ … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นมูลแห่งความลำบาก … เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีมูลแห่งความลำบาก … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังเพชฌฆาต … เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นดังเพชฌฆาต … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของเสื่อมไป … เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเสื่อมไป … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีอาสวะ … เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอาสวะ … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง … เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นเหยื่อแห่งมาร … เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นเหยื่อแห่งมาร … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา … เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเกิด … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา …เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความแก่ … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา …เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความป่วยไข้ …เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา …เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความตาย … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา … เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเศร้าโศก … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา …เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความร่ำไร … เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความคับแค้นเป็นธรรมดา ย่อมได้อนุโลมขันติเมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความคับแค้น ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเศร้าหมอง ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ฯ
[736] การพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นอนิจจานุปัสนาโดยความเป็นทุกข์ เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นโรค เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นดังหัวฝี เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นดังลูกศรเป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นความลำบาก เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นอาพาธ เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นอย่างอื่นเป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของชำรุด เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นเสนียด เป็นทุกขานุปัสนาโดยความเป็นอุบาทว์ เป็นทุกขาปัสนา โดยความเป็นภัย เป็นทุกขานุปัสนาโดยความเป็นอุปสรรค เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของหวั่นไหว เป็นอนิจจานุปัสนาโดยความเป็นของผุพัง เป็นอนิจจานุปัสนา โดยความเป็นของไม่ยั่งยืน เป็นอนิจจานุปัสนาโดยความเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของว่าง เป็นทุกขานุปัสนาโดยความเป็นของเปล่า เป็นอนัตตานุปัสนา โดยความเป็นของสูญ เป็นอนัตตานุปัสนา โดยความเป็นอนัตตา เป็นอนัตตานุปัสนา โดยความเป็นโทษ เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เป็นอนิจจานุปัสนาโดยความเป็นของหาสาระมิได้ เป็นอนัตตานุปัสนา โดยความเป็นมูลแห่งความทุกข์ เป็นทุกขานุปัสนาโดยความเป็นดังเพชฌฆาต เป็นทุกขานุปัสนา โดยเป็นความเสื่อมไป เป็นอนิจจานุปัสนาโดยความเป็นของมีอาสวะ เป็นทุกขานุปัสนา โดยเป็นของมีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นอนิจจานุปัสนา โดยความเป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนาโดยความเป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา เป็นอนิจจานุปัสนา โดยความเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดาเป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความคับแค้นเป็นธรรมดาเป็นทุกขานุปัสนาโดยความเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา ฯ
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ 40 นี้ ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการ 40 นี้ ฯ
ภิกษุผู้ได้อนุโลมขันติด้วยอาการ 40 นี้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการ 40 นี้ มีอนิจจานุปัสนาเท่าไร มีทุกขานุปัสนาเท่าไร มีอนัตตานุปัสนาเท่าไร ฯ
ท่านกล่าวว่า มีอนิจจานุปัสนา 50 มีทุกขานุปัสนา 125
มีอนัตตานุปัสนา 25 ฉะนี้แล ฯ
จบวิปัสสนากถา ฯ
________
มาติกากถา
[737] บุคคลผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น ความหลุดพ้น เป็นวิโมกข์ วิชชาวิมุติ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ปัสสัทธิ ญาณทัสนะ สุทธิ เนกขัมมะนิสสรณะ ปวิเวก โวสัคคะ จริยา ฌานวิโมกข์ภาวนาธิษฐานชีวิต ฯ
คำว่า นิจฺฉาโต ความว่า บุคคลผู้มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากกามฉันทะ ด้วยเนกขัมมะผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากพยาบาทด้วยความไม่พยาบาทฯลฯ ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ผู้ไม่มีความหิวย่อมหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค ฯ
คำว่า วิโมกฺโข ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องพ้นจากกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องพ้นจากพยาบาท ฯลฯ ปฐมฌานชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องพ้นจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องพ้นจากกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า วิชฺชาวิมุตฺติ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่า วิชชา เพราะอรรถว่า มีอยู่ ชื่อว่าวิมุตติเพราะอรรถว่า หลุดพ้นจากกามฉันทะ ชื่อว่าวิชชาวิมุติ เพราะอรรถว่า มีอยู่หลุดพ้น หลุดพ้นมีอยู่ความไม่พยาบาทชื่อว่าวิชชาเพราะอรรถว่า มีอยู่ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่า หลุดพ้นจากพยาบาท ชื่อว่าวิชชาวิมุติ เพราะอรรถว่า มีอยู่หลุดพ้น หลุดพ้นมีอยู่ ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่า มีอยู่ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่า หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ชื่อว่าวิชชาวิมุติ เพราะอรรถว่า มีอยู่หลุดพ้น หลุดพ้นมีอยู่ ฯ
[738] ข้อว่า อธิสีลํ อธิจิตฺตํ อธิปญฺญา ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่า เป็นเครื่องกั้นกามฉันทะ ชื่อว่าจิตตวิสุทธิเพราะอรรถว่าเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฐิวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องเห็นความกั้นในสีลวิสุทธิ เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตตวิสุทธิ เป็นอธิจิตตสิกขา ความเห็นในทิฏฐิวิสุทธิ เป็นอธิปัญญาสิกขา ความไม่พยาบาทชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องกั้นความพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องกั้นกิเลสทั้งปวง ชื่อว่าจิตตวิสุทธิเพราะอรรถว่าเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องเห็นความกั้นในสีลวิสุทธิ เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตตวิสุทธิเป็นอธิจิตตสิกขา ความเห็นในทิฏฐิวิสุทธิ เป็นอธิปัญญาสิกขา ฯ
[739] คำว่า ปสฺสทฺธิ ความว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องระงับกามฉันทะ ความไม่พยาบาทเป็นเครื่องระงับพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคเป็นเครื่องระงับกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า ญาณํ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะเป็นเหตุให้ละกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะเป็นเหตุให้ละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะเป็นเหตุให้ละกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า ทสฺสนํ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าทัสนะ เพราะความว่าเห็น เพราะเป็นเหตุให้ละกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าทัสนะ เพราะความว่าเห็นเพราะเป็นเหตุให้ละพยาบาท ฯลฯอรหัตมรรคชื่อว่าทัสนะ เพราะความว่าเห็นเพราะเป็นเหตุให้ละกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า วิสุทฺธิ ความว่า บุคคลละกามฉันทะ ย่อมหมดจดด้วยเนกขัมมะ ละพยาบาทย่อมหมดจดด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวง ย่อมหมดจดด้วยอรหัตมรรค ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวง ย่อมหมดจดด้วยอรหัตมรรค ฯ
[740] คำว่า เนกฺขมฺมํ ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกาม อรูปฌาน เป็นเครื่องสลัดรูป นิโรธ เป็นเนกขัมมะ แห่งสิ่งที่มีที่เป็น อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ความไม่พยาบาท เป็นเนกขัมมะแห่งพยาบาทอาโลกสัญญา เป็นเนกขัมมะแห่งถีนมิทธะ ฯลฯ
คำว่า นิสฺสรณํ ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกาม อรูปฌานเป็นเครื่องสลัดรูป นิโรธ เป็นเครื่องสลัดสิ่งที่มีที่เป็น อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกามฉันทะ ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องสลัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่องสลัดกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า ปวิเวโก ความว่า เนกขัมมะ เป็นที่สงัดกามฉันทะ ความไม่พยาบาท เป็นที่สงัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นที่สงัดกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า โวสฺสคฺโค ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องปล่อยวางกามฉันทะความไม่พยาบาท เป็นเครื่องปล่อยวางพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่องปล่อยวางกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า จริยา ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องประพฤติละกามฉันทะความไม่พยาบาทเป็นเครื่องประพฤติละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่องประพฤติละกิเลสทั้งปวง ฯ
คำว่า ฌานวิโมกฺโข ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่าเกิด เพราะอรรถว่าเผากามฉันทะ ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เกิดหลุดพ้นเพราะอรรถว่า เผาหลุดพ้น เนกขัมมธรรม เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่าเผา ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า รู้กิเลสที่เกิดและที่ถูกเผา ความไม่พยาบาทชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผาพยาบาทฯลฯ อาโลกสัญญาชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เผาถีนมิทธะ ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผากิเลสทั้งปวง ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เกิดหลุดพ้น เพราะอรรถว่า เผาหลุดพ้น อรหัตมรรคธรรมชื่อว่าฌานเพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผา ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่ารู้กิเลสที่เกิดและที่ถูกเผา ฯ
[741] คำว่า ภาวนาธิฏฺฐานชีวิตํ ความว่า บุคคลผู้ละกามฉันทะ เจริญเนกขัมมะเพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อมเป็นอยู่สงบ ไม่เป็นอยู่ไม่สงบเป็นอยู่ชอบ ไม่เป็นอยู่ผิด เป็นอยู่หมดจด ไม่เป็นอยู่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนาถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น เข้าไปสู่ที่ประชุมใด คือ ที่ประชุมกษัตริย์ก็ดี ที่ประชุมพราหมณ์ก็ดี ที่ประชุมคฤหบดีก็ดี ที่ประชุมสมณะก็ดี ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไปข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้น เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น บุคคลละพยาบาทเจริญความไม่พยาบาทละถีนมิทธะเจริญอาโลกสัญญา ละอุทธัจจะเจริญความไม่ฟุ้งซ่าน ละวิจิกิจฉาเจริญธรรมววัตถาน ละอวิชชาเจริญฌาน ละอรติเจริญความปราโมทย์ ละนิวรณ์เจริญปฐมฌาน ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวงเจริญอรหัตมรรค เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา บุคคลย่อมตั้งมั่นจิตด้วยสามารถอรหัตมรรค เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อมเป็นอยู่สงบ ไม่เป็นอยู่ไม่สงบ ไม่เป็นอยู่ชอบ เป็นอยู่ไม่ผิดเป็นอยู่หมดจด ไม่เป็นอยู่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้นเข้าไปสู่ที่ประชุมใด คือ ที่ประชุมกษัตริย์ก็ดี ที่ประชุมพราหมณ์ก็ดี ที่ประชุมคฤหบดีก็ดี ที่ประชุมสมณะก็ดี ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น ฉะนี้แล ฯ
จบมาติกากถา
ปกรณ์ปฏิสัมภิทาจบบริบูรณ์
______
รวมกถาที่มีในปกรณ์ปฏิสัมภิทานั้น คือ
1. ญาณกถา 2. ทิฏฐิกถา 3. อานาปานกถา 4. อินทรียกถา 5. วิโมกขกถา 6. คติกถา 7. กรรมกถา 8. วิปัลลาสกถา 9. มรรคกถา 10. มัณฑเปยยกถา ฯ 1. ยุคนัทธกถา 2. สัจจกถา 3. โพชฌงคกถา 4. เมตตากถา 5. วิราคกถา 6. ปฏิสัมภิทากถา 7. ธรรมจักรกถา 8. โลกุตรกถา 9. พลกถา 10. สุญญกถา ฯ 1. มหาปัญญากถา 2. อิทธิกถา 3. อภิสมยกถา 4. วิเวกกถา 5. จริยากถา 6. ปาฏิหาริยกถา 7. สมสีสกถา 8. สติปัฏฐานกถา 9. วิปัสสนากถา 10. มาติกากถา ฯ
วรรค 3 วรรคในปกรณ์ปฏิสัมภิทา มีอรรถกว้างขวางลึกซึ้งในมรรคเป็นอนันตนัย เปรียบด้วยสาคร เหมือนนภากาศเกลื่อนกลาดด้วยดวงดาว และเช่นสระใหญ่ ความสว่างจ้าแห่งญาณของพระโยคีทั้งหลาย ย่อมมีได้โดยพิลาสแห่งคณะพระธรรมกถิกาจารย์ ฉะนี้แล ฯ
ปฏิสัมภิทาจบด้วยประการฉะนี้
______
เพิ่มเติม
- ปฏิสัมภิทามรรค ฉบับปรับสำนวน กลับหน้าสารบัญ