อยู่ในระหว่างปรับสำนวน
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ตำราพุทธมีลำดับการศึกษาให้เข้าใจทะลุทะลวงดังนี้: ขอเป็นศิษย์ผู้มีฌานวสีทรงจำพระไตรปิฎกบาลี > ท่องจำบาลีตามลำดับซ้ำๆ ไม่ลืมทบทวนแม้จำได้แล้ว > สอบถามบาลี > ฟังคำอธิบายบาลี > ทรงจำทั้งหมด > ในระหว่างท่องจำก็พยายามปฏิบัติตามไปด้วยจนแตกฉาน. ผู้ที่ข้ามขั้นตอนเหล่านี้ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นไปได้ยากที่จะบรรลุอัปปนาทั้งโลกิยะและโลกุตตระในศาสนาพุทธได้ พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า "โมฆบุรุษ" เพราะว่างเปล่าจากอัปปนา (เรียบเรียงจากกีฏาคิริสูตร; ธัมมัญญูสูตร; สัจจบรรพะ อรรถกถามัคคนิทเทส; วิสุทธิมรรค กัมมัฏฐานคหณนิทเทส)
ญาณกถา (ต่อ)
ธรรมฐิติญาณนิทเทส
[94] ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณอย่างไร ปัญญาขณะปริคคหะปัจจัยว่า อวิชชาเป็นเหตุเกิด เป็นเหตุให้เป็นไป เป็นเหตุเครื่องหมาย เป็นเหตุประมวลมา เป็นเหตุประกอบไว้ เป็นเหตุพัวพัน เป็นเหตุให้เกิด เป็นเหตุเดิม และเป็นเหตุอาศัยไปแห่งสังขาร ด้วยอาการ 9 ประการ อวิชชาจึงเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นแต่ปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นแต่ปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาขณะปริคคหะปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี อวิชชาเป็นเหตุเกิด …และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งสังขารด้วยอาการ 9 ประการนี้ อวิชชาจึงเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นแต่ปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นแต่ปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาขณะปริคคหะปัจจัยว่า สังขารเป็นเหตุเกิด … และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งวิญญาณ ฯลฯ วิญญาณเป็นเหตุเกิด … และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งนามรูป … นามรูปเป็นเหตุเกิด …และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งสฬายตนะ… สฬายตนะเป็นเหตุเกิด … และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งผัสสะ … ผัสสะเป็นเหตุเกิด … และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งเวทนา … เวทนาเป็นเหตุเกิด… และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งตัณหา … ตัณหาเป็นเหตุเกิด … และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งอุปาทาน …อุปาทานเป็นเหตุเกิด … และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งภพ … ภพเป็นเหตุเกิด … และเหตุอาศัยเป็นไปแห่งชาติ … ชาติเป็นเหตุเกิด … และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งชราและมรณะ …ปัญญาขณะปริคคหะปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติเป็นเหตุเกิด เป็นเหตุให้เป็นไป เป็นเครื่องหมาย เป็นเหตุประมวลมา เป็นเหตุประกอบไว้ เป็นเหตุพัวพัน เป็นเหตุให้เกิด เป็นเหตุเดิม และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งชราและมรณะ ด้วยอาการ 9 ประการนี้ ชาติจึงเป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดแต่ปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นแต่ปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
[95] ปัญญาขณะปริคคหะปัจจัยว่า อวิชชาเป็นเหตุ สังขารอาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นได้เพราะเหตุ ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาขณะปริคคหะปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี อวิชชาเป็นเหตุ สังขารอาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นได้เพราะเหตุดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาขณะปริคคหะปัจจัยว่า สังขารเป็นเหตุ วิญญาณเกิดขึ้นได้เพราะเหตุ… วิญญาณเป็นเหตุ นามรูปเกิดขึ้นได้เพราะเหตุ … นามรูปเป็นเหตุ สฬายตนะเกิดขึ้นได้เพราะเหตุ … สฬายตนะเป็นเหตุผัสสะเกิดขึ้นได้เพราะเหตุ … ผัสสะเป็นเหตุ เวทนาเกิดขึ้นได้เพราะเหตุ … เวทนาเป็นเหตุ ตัณหาเกิดขึ้นได้เพราะเหตุ … ตัณหาเป็นเหตุ อุปาทานเกิดขึ้นได้เพราะเหตุ … อุปาทานเป็นเหตุ ภพเกิดขึ้นได้เพราะเหตุ …ภพเป็นเหตุ ชาติเกิดขึ้นได้เพราะเหตุ … ชาติเป็นเหตุ ชราและมรณะเกิดขึ้นได้เพราะเหตุ แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นได้เพราะเหตุ ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาขณะปริคคหะปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติเป็นเหตุ ชราและมรณะเกิดขึ้นได้เพราะเหตุ แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นได้เพราะเหตุ ดังนี้เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
[96] ปัญญาขณะปริคคหะปัจจัยว่า อวิชชาอาศัยปัจจัยเป็นไป สังขารอาศัยอวิชชาเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาขณะปริคคหะปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี อวิชชาอาศัยปัจจัยเป็นไป สังขารอาศัยอวิชชาเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาขณะปริคคหะปัจจัยว่า สังขารอาศัยปัจจัยเป็นไป วิญญาณอาศัยสังขารเกิดขึ้นวิญญาณอาศัยปัจจัยเป็นไป นามรูปอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นามรูปอาศัยปัจจัยเป็นไป สฬายตนะอาศัยนามรูปเกิดขึ้น สฬายตนะอาศัยปัจจัยเป็นไป ผัสสะอาศัยสฬายตนะเกิดขึ้น ผัสสะอาศัยปัจจัยเป็นไป เวทนาอาศัยผัสสะเกิดขึ้น เวทนาอาศัยปัจจัยเป็นไป ตัณหาอาศัยเวทนาเกิดขึ้นตัณหาอาศัยปัจจัยเป็นไปอุปทานอาศัยตัณหาเกิดขึ้น อุปทานอาศัยปัจจัยเป็นไป ภพอาศัยอุปทานเกิดขึ้นภพอาศัยปัจจัยเป็นไป ชาติอาศัยภพเกิดขึ้น ชาติอาศัยปัจจัยเป็นไป ชราและมรณะอาศัยชาติเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาขณะปริคคหะปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติอาศัยปัจจัยเป็นไปชราและมรณะอาศัยชาติเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
[97] ปัญญาขณะปริคคหะปัจจัยว่า อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นเพราะปัจจัยแม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาขณะปริคคหะปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี อวิชชาเป็นปัจจัยสังขารเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย … ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาขณะปริคคหะปัจจัยว่า สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดขึ้นเพราะปัจจัย … วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปเกิดขึ้นเพราะปัจจัย … นามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย … สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย … ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาเกิดขึ้นเพราะปัจจัย … เวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดขึ้นเพราะปัจจัย … ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดขึ้นเพราะปัจจัย … อุปาทานเป็นปัจจัย ภพเกิดขึ้นเพราะปัจจัย … ภพเป็นปัจจัย ชาติเกิดขึ้นเพราะปัจจัย … ชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย … แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัยดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาขณะปริคคหะปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย … ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
[98] ความหลงคืออวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร ความพอใจเป็นตัณหา ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ ธรรม 5 ประการในกรรมภพก่อนเหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอุปปัตติภพนี้. ปฏิสนธิเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ปสาทะ (รูปใสมี จักขุปสาทะ เป็นต้น) เป็นอายตนะ การกระทบเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนาในอุปปัตติภพนี้ธรรม 5 ประการในอุปปัตติภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในปุเรภพความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร ความพอใจเป็นตัณหา ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ (ย่อมมี) เพราะอายตนะทั้งหลายในภพนี้สุดรอบ ธรรม 5 ประการในกรรมภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอนาคต ปฏิสนธิในอนาคตเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาทเป็นอายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนาธรรม 5 ประการในอุปปัตติภพในอนาคตเหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพนี้ พระโยคาวจรย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมทราบชัด ย่อมแทงตลอด ซึ่งปฏิจจสมุปบาท มีสังเขป 4 กาล 3 ปฏิสนธิ 3 เหล่านี้ โดยอาการ 20 ด้วยประการดังนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาขณะปริคคหะปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
สัมมสนญาณนิทเทส
[99] ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลายทั้งอดีต อนาคตและปัจจุบันแล้วกำหนดไว้ เป็นสัมมสนญาณอย่างไร ฯ
พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม ในที่ใกล้ก็ตาม โดยความเป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่งกำหนดโดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตาการกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่งพระโยคาวจรย่อมกำหนดเวทนา… สัญญา… สังขาร… วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม เป็นภายนอกก็ตามหยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตามมีในที่ไกลก็ตาม ในที่ใกล้ก็ตาม โดยความเป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรย่อมกำหนดจักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบันโดยความเป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง ฯ
[100] ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะอรรถว่าน่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะอรรถว่าหาแก่นสารมิได้ เป็นสัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อมแล้วกำหนดว่าเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะอรรถว่าน่ากลัวเป็นอนัตตาเพราะอรรถว่าหาแก่นสารมิได้ เป็นสัมมสนญาณ ฯ
[101] ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ไม่เที่ยงอันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไปคลายไป ดับไปเป็นธรรม 3 เป็นสัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้นมีความสิ้นไปเสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา เป็นสัมมสนญาณ ฯ
[102] ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะก็ไม่มี เป็นสัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า ในอดีตกาลก็ดีในอนาคตกาลก็ดี เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะก็ไม่มีเป็นสัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เมื่อภพไม่มี ชาติก็ไม่มีฯลฯ เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เมื่ออุปาทานไม่มี ภพก็ไม่มี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานก็ไม่มี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาก็ไม่มี เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาก็ไม่มี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะก็ไม่มี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะเมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะก็ไม่มี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปก็ไม่มี เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณเมื่อสังขารไม่มี วิญญาณก็ไม่มี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี เป็นสัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่าในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี เป็นสัมมสนญาณ ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบันแล้วกำหนด เป็นสัมมสนญาณ ฯ
อุทยัพพยานุปัสสนาญาณนิทเทส
[103] ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจุบันเป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณอย่างไร ฯ
รูปที่เกิดแล้วเป็นปัจจุบัน ชาติแห่งรูปที่เกิดแล้วนั้นมีความเกิดเป็นลักษณะ ความเสื่อมมีความแปรปรวนเป็นลักษณะ ปัญญาที่พิจารณาเห็นดังนี้เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ เวทนาเกิดแล้ว สัญญาเกิดแล้ว สังขารเกิดแล้ววิญญาณเกิดแล้ว จักษุเกิดแล้ว ฯลฯ ภพเกิดแล้วเป็นปัจจุบันชาติแห่งภพที่เกิดแล้วนั้นมีความเกิดเป็นลักษณะ ความเสื่อมมีความแปรปรวนเป็นลักษณะปัญญาที่พิจารณาเห็นดังนี้ เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ ฯ
[104] พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร ฯ
พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 25ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 25 ประการเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 50 ประการ
[105] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ แห่งสัญญาขันธ์ แห่งสังขารขันธ์ แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 10 ประการเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ แห่งสัญญาขันธ์ แห่งสังขารขันธ์ แห่งวิญญาณขันธ์ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 10 ประการ ฯ
[106] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการ เป็นไฉน ฯ
พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ โดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่าเพราะอวิชชาเกิดรูปจึงเกิด เพราะตัณหาเกิดรูปจึงเกิด เพราะกรรมเกิดรูปจึงเกิด เพราะอาหารเกิดรูปจึงเกิด แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความเกิด ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการนี้ ฯ
[107] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการเป็นไฉน ฯ
พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์โดยความดับแห่งปัจจัยดับว่าเพราะอวิชชาดับรูปจึงดับ เพราะตัณหาดับรูปจึงดับ เพราะกรรมดับรูปจึงดับ เพราะอาหารดับรูปจึงดับแม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความแปรปรวน ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการนี้ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 10 ประการนี้ ฯ
[108] พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการเป็นไฉน ฯ
พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ โดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะตัณหาเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะกรรมเกิดเวทนาจึงเกิดเพราะผัสสะเกิดเวทนาจึงเกิด แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งการเกิด ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาพระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการนี้ ฯ
[109] พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเวทนาขันธ์ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการเป็นไฉน ฯ
พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเวทนาขันธ์ โดยความดับแห่งปัจจัยว่าเพราะอวิชชาดับเวทนาจึงดับ เพราะตัณหาดับเวทนาจึงดับเพราะกรรมดับเวทนาจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความแปรปรวน ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเวทนาขันธ์พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการนี้ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 10 ประการนี้ ฯ
[110] พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดแห่งสัญญาขันธ์ แห่งสังขารขันธ์ แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการเป็นไฉน ฯ
พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นความเกิดแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาเกิดวิญญาณจึงเกิด เพราะตัณหาเกิดวิญญาณจึงเกิด เพราะกรรมเกิดวิญญาณจึงเกิดเพราะนามรูปเกิดวิญญาณจึงเกิด แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความเกิด ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการนี้ ฯ
[111] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งสัญญาขันธ์ แห่งสังขารขันธ์แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการเป็นไฉน ฯ
พระโยคาวจร ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความดับแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาดับวิญญาณจึงดับ เพราะตัณหาดับวิญญาณจึงดับ เพราะกรรมดับวิญญาณจึงดับ เพราะนามรูปดับวิญญาณจึงดับ แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความแปรปรวน ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการนี้ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 10 ประการนี้ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 25 ประการนี้ เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ25 ประการนี้ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 50 ประการนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญาเพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ ฯ
ภังคานุปัสสนาญาณนิทเทส
[112] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็น วิปัสสนาญาณอย่างไร ฯ
จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์นั้นแล้วย่อมพิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลิน ย่อมคลายกำหนัดไม่กำหนัดย่อมให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความเพลิดเพลินได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้ดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ฯ
[113] จิตมีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีสังขารเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีวิญญาณเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีจักษุเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีชราและมรณะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์นั้นแล้ว พิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ฯ
[114] การก้าวไปสู่อัญญวัตถุแต่ปุริมวัตถุ การหลีกไปด้วยปัญญาอัน รู้ชอบ การคำนึงถึงอันเป็นกำลัง ธรรม 2 ประการ คือ การพิจารณาหาทางและความเห็นแจ้ง บัณฑิตกำหนดเอาด้วย สภาพเดียวกัน โดยความเป็นไปตามอารมณ์ ความน้อมจิต ไปในความดับ ชื่อว่าวิปัสสนาอันมีความเสื่อมไปเป็นลักษณะ การที่พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์แล้ว พิจารณาเห็นความ แตกไปแห่งจิตและความปรากฏโดยความเป็นของสูญ ชื่อว่า อธิปัญญาวิปัสสนา (ความเห็นแจ้งด้วยอธิปัญญา) พระ โยคาวจรผู้ฉลาดในอนุปัสนา 3 ในวิปัสสนา 4 ย่อมไม่ หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดความ ปรากฏ 3 ประการ ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์ แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ ฯ
อาทีนวญาณนิทเทส
[115] ปัญญาในความปรากฏเป็นของน่ากลัว เป็นอาทีนวญาณอย่างไร ฯ
ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นภัยว่า ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความเป็นไปเป็นภัยสังขารนิมิตเป็นภัย ฯลฯ กรรมประมวลมาเป็นภัย ปฏิสนธิเป็นภัย คติเป็นภัย ความบังเกิดเป็นภัย ความอุบัติเป็นภัย ชาติเป็นภัย ชราเป็นภัย พยาธิเป็นภัย มรณะเป็นภัย ความโศกเป็นภัย ความรำพันเป็นภัยความคับแค้นใจเป็นภัย เป็นอาทีนวญาณแต่ละอย่าง ฯ
ญาณในสันติบทว่า ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย ความไม่เป็นไปปลอดภัยฯลฯ ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย ญาณในสันติบทว่า ความเกิดขึ้นเป็นภัยความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย ความเป็นไปเป็นภัย ความไม่เป็นไปปลอดภัย ฯลฯความคับแค้นใจเป็นภัย ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นภัยว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ฯลฯ ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ เป็นอาทีนวญาณแต่ละอย่างๆ ญาณในสันติบทว่า ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข ความไม่เป็นไปเป็นสุข ฯลฯความไม่คับแค้นใจเป็นสุข ฯ
[116] ญาณในสันติบทว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข ความเป็นไปเป็นทุกข์ ความไม่เป็นไปเป็นสุข ฯลฯ ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข ฯ
[117] ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นภัยว่า ความเกิดขึ้นมีอามิส ความเป็นไปมีอามิส ฯลฯ ความคับแค้นใจมีอามิส เป็นอาทีนวญาณแต่ละอย่างๆญาณในสันติบทว่าความไม่เกิดขึ้นไม่มีอามิส ความไม่เป็นไปไม่มีอามิส ฯลฯความไม่คับแค้นใจไม่มีอามิส ความเกิดขึ้นมีอามิส ความไม่เกิดขึ้นไม่มีอามิสความเป็นไปมีอามิส ความไม่เป็นไปไม่มีอามิส ฯลฯ ความคับแค้นใจมีอามิสความไม่คับแค้นใจไม่มีอามิส ฯ
[118] ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นภัยว่า ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ฯลฯ ความคับแค้นใจเป็นสังขาร เป็นอาทีนวญาณแต่ละอย่างๆ ญาณในสันติบทว่า ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน ฯลฯความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน ญาณในสันติบทว่าความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน ความเป็นไปเป็นสังขาร ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน ฯลฯความคับแค้นใจเป็นสังขาร ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน ฯ
[119] ข้อที่พระโยคาวจรพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น ความเป็นไป สังขารนิมิต กรรมเครื่องประมวลมาและปฏิสนธิว่า เป็นทุกข์ นี้เป็นอาทีนวญาณ ข้อที่พระโยคาวจรพิจารณาเห็นความไม่ เกิดขึ้น ความไม่เป็นไป ความไม่มีนิมิต ความไม่มี กรรมเครื่องประมวลมาและความไม่ปฏิสนธิว่า เป็นสุขนี้เป็น ญาณในสันติบท อาทีนวญาณนี้ย่อมเกิดในฐานะ 5 ญาณ ในสันติบทย่อมเกิดในฐานะ 5 พระโยคาวจรย่อมรู้ชัดญาณ10 ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะเป็นผู้ฉลาดใน ญาณทั้ง 2 ฉะนี้แล ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นภัย เป็นอาทีนวญาณ ฯ
สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
[120] ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่เป็นสังขารุเปกขาญาณอย่างไร ฯ
ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความเกิดขึ้น ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความเป็นไปทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากสังขารนิมิต ฯลฯ จากกรรมเครื่องประมวลมา จากปฏิสนธิ จากคติ จากความบังเกิด จากความอุบัติ จากชาติ จากชรา จากพยาธิ จากมรณะ จากความโศกจากความรำพัน ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความคับแค้นใจทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่างๆ ฯ
[121] ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทางแลวางเฉยอยู่ว่าความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความเป็นไปทุกข์ สังขารนิมิตเป็นทุกข์ฯลฯ ความคับแค้นใจเป็นทุกข์เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่างๆ ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ว่า ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความเป็นไปเป็นภัย ฯลฯ ความคับแค้นใจเป็นภัย เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่างๆ ฯ
[122] ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ว่าความเกิดขึ้นมีอามิส ความเป็นไปมีอามิส ฯลฯ ความคับแค้นใจมีอามิส ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความเป็นไปเป็นสังขาร ฯลฯ ความคับแค้นใจเป็นสังขาร เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่างๆ ฯ
[123] ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ แม้ธรรม 2 ประการนี้ คือ สังขารและอุเบกขาก็เป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณความเป็นไปเป็นสังขาร ฯลฯ นิมิตเป็นสังขาร กรรมเครื่องประมวลมาเป็นสังขาร ปฏิสนธิเป็นสังขาร คติเป็นสังขาร ความบังเกิดเป็นสังขารความอุบัติเป็นสังขาร ชาติเป็นสังขาร ชราเป็นสังขาร พยาธิเป็นสังขาร มรณะเป็นสังขาร ความโศกเป็นสังขาร ความรำพันเป็นสังขาร ความคับแค้นใจเป็นสังขารญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ แม้ธรรม 2 ประการ คือ สังขารและอุเบกขา ก็เป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้นเพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ฯ
[124] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร ฯ
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ย่อมมีได้ด้วยอาการ 8 ฯ
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร ฯ
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการ 2 การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ 3 การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ 3 ฯ
[125] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการ 2 เป็นไฉน ฯ
ปุถุชนย่อมยินดีสังขารุเปกขา 1 ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา 1 การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการ 2 นี้ ฯ
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ 3เป็นไฉน ฯ
พระเสขะย่อมยินดีสังขารุเปกขา 1 ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา 1 พิจารณาแล้วเข้าผลสมาบัติ 1 การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ 3 นี้ ฯ
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ 3 เป็นไฉน ฯ
ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา 1 พิจารณาแล้วเข้าผลสมาบัติ 1 วางเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้ว ย่อมอยู่ด้วยสุญญตวิหารสมาบัติอนิมิตตวิหารสมาบัติ หรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ 1 การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะย่อมมีได้ด้วยอาการ 3 นี้ ฯ
[126] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนและของพระเสขะ เป็นอย่างเดียวกันอย่างไร ฯ
ปุถุชนยินดีสังขารุเปกขา มีจิตเศร้าหมอง มีอันตรายแห่งภาวนา มีอันตรายแห่งปฏิเวธ มีปัจจัยแห่งปฏิสนธิต่อไป แม้พระเสขะยินดีสังขารุเปกขาก็มีจิตเศร้าหมอง มีอันตรายแห่งภาวนามีอันตรายแห่งปฏิเวธในมรรคชั้นสูง มีปัจจัยแห่งปฏิสนธิต่อไป การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนและของพระเสขะ เป็นอย่างเดียวกันโดยสภาพแห่งความยินดีอย่างนี้ ฯ
[127] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ เป็นอย่างเดียวกันอย่างไร ฯ
ปุถุชนย่อมพิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา แม้พระเสขะก็พิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา แม้ท่านผู้ปราศจากราคะ ก็พิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ เป็นอย่างเดียวกันโดยสภาพแห่งการพิจารณาอย่างนี้ ฯ
[128] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ
สังขารุเปกขาของปุถุชนเป็นกุศล แม้ของพระเสขะก็เป็นกุศล แต่ของท่านผู้ปราศจากราคะเป็นอัพยากฤต การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพเป็นกุศลและอัพยากฤตอย่างนี้ ฯ
[129] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ
สังขารุเปกขาของปุถุชน ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย (ในเวลาเจริญวิปัสสนา) ไม่ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย แม้สังขารุเปกขาของพระเสขะ ก็ปรากฏดีในการนิดหน่อย สังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ปรากฏดีโดยส่วนเดียวการน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่ปรากฏและโดยภาพที่ไม่ปรากฏอย่างนี้ ฯ
[130] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ
ปุถุชนย่อมพิจารณา เพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา แม้พระเสขะก็พิจารณาเพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา ส่วนท่านผู้ปราศจากราคะย่อมพิจารณาเพราะเป็นผู้เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่ยังไม่เสร็จกิจและโดยสภาพที่เสร็จกิจแล้วอย่างนี้ ฯ
[131] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ฯ
ปุถุชนย่อมพิจารณาสังขารุเปกขาเพื่อจะละสังโยชน์ 3 เพื่อต้องการได้โสดาปัตติมรรคพระเสขะย่อมพิจารณาสังขารุเปกขาเพื่อต้องการได้มรรคชั้นสูงขึ้นไป เพราะเป็นผู้ละสังโยชน์ 3 ได้แล้ว ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมพิจารณาสังขารุเปกขา เพื่อต้องการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นผู้ละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่ละกิเลสได้แล้วและโดยสภาพที่ยังละกิเลสไม่ได้อย่างนี้ ฯ
[132] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะมีความต่างกันอย่างไร ฯ
พระเสขะยังยินดีสังขารุเปกขาบ้าง ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้างพิจารณาแล้วเข้าผลสมาบัติบ้าง ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้างพิจารณาแล้วเข้าผลสมาบัติบ้าง วางเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้ว ย่อมอยู่ด้วยสุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตตวิหารสมาบัติ หรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพแห่งวิหารสมาบัติอย่างนี้ ฯ
[133] สังขารุเปกขาเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขาเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ฯ
สังขารุเปกขา 8 ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขา 10 ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ฯ
สังขารุเปกขา 8 เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยนิวรณ์ เพื่อต้องการได้ปฐมฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิตกวิจาร เพื่อต้องการได้ทุติยฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยปีติ เพื่อต้องการได้ตติยฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยสุขและทุกข์เพื่อต้องการได้จตุตถฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา (และ) นานัตตสัญญา เพื่อต้องการได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยอากาสานัญจายตนสัญญา เพื่อต้องการได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิญญาณัญจายตนสัญญาเพื่อต้องการได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยอากิญจัญญายตนสัญญา เพื่อต้องการได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 สังขารุเปกขา 8 เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ ฯ
[134] สังขารุเปกขา 10 เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ฯ
ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิมรณะ ความโศก ความรำพันความคับแค้นใจ เพื่อต้องการได้โสดาปัตติมรรคเป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 … เพื่อต้องการได้โสดาปัตติผลสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 … เพื่อต้องการได้สกทาคามิมรรค เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1… เพื่อต้องการได้สกทาคามิผลสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 … เพื่อต้องการได้อนาคามิมรรคเป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 … เพื่อต้องการได้อนาคามิผลสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 … เพื่อต้องการได้อรหัตมัค เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 … เพื่อต้องการได้อรหัตผลสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1… เพื่อต้องการสุญญตวิหารสมาบัติ สังขารุเปกขาญาณ 1 ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมาปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ความโศกความรำพัน ความคับแค้นใจ เพื่อต้องการได้อนิมิตตวิหารสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 สังขารุเปกขาญาณ 10 เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ฯ
[135] สังขารุเปกขาเป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร เป็นอัพยากฤตเท่าไร
สังขารุเปกขาเป็นกุศล 15 เป็นอัพยากฤต 3 เป็นอกุศลไม่มี ฯ
ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉย เป็นโคจรภูมิของสมาธิ จิต 8 เป็นโคจรภูมิของปุถุชน 2 เป็นโคจรภูมิของพระ เสขะ 3 เป็นเครื่องให้จิตของท่านผู้ปราศจากราคะหลีกไป 3 เป็นปัจจัยแห่งสมาธิ 8 เป็นโคจรแห่งภูมิแห่งญาณ 10 สังขารุเปกขา 8 เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ 3 อาการ 18 นี้ พระโยคาวจรอบรมแล้วด้วยปัญญา พระโยคาวจรผู้ฉลาดใน สังขารุเปกขา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ ฉะนี้แล ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉย เป็นสังขารุเปกขาญาณ ฯ
โคตรภูญาณนิทเทส
[136] ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอกเป็นโคตรภูญาณอย่างไรชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่าครอบงำความเกิดขึ้น ครอบงำความเป็นไป ครอบงำนิมิต ครอบงำกรรมเครื่องประมวลมา ครอบงำปฏิสนธิครอบงำคติ ครอบงำความบังเกิด ครอบงำอุบัติ ครอบงำชาติ ครอบงำชราครอบงำพยาธิ ครอบงำมรณะ ครอบงำความเศร้าโศก ครอบงำความรำพันครอบงำความคับแค้นใจ ครอบงำสังขารนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น ฯลฯ แล่นไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่าครอบงำความเกิดขึ้นแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น ครอบงำความเป็นไปแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเป็นไป ฯลฯ ครอบงำสังขารนิมิตภายนอกแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ฯ
[137] ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า ออกจากความเกิดขึ้นออกจากความเป็นไป …ออกจากสังขารนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่าแล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเป็นไป ฯลฯแล่นไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า ออกจากความเกิดขึ้นแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น ออกจากความเป็นไปแล้วแล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเป็นไป ออกจากสังขารนิมิตภายนอกแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า หลีกออกจากความเกิดขึ้นหลีกออกจากความเป็นไป ฯลฯหลีกออกจากสังขารนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภูเพราะอรรถว่า แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเป็นไป ฯลฯ แล่นไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ชื่อว่าโคตรภูเพราะอรรถว่าหลีกออกจากความเกิดขึ้นแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น ออกจากความเป็นไปแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเป็นไป ฯลฯ หลีกออกจากสังขารนิมิตภายนอกแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ฯ
[138] โคตรภูธรรมเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมถะ โคตรภูธรรมเท่าไรย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา โคตรภูธรรม 8 ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมถะ โคตรภูธรรม 10 ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา ฯ
[139] โคตรภูธรรม 8 เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมถะ ฯ
ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า ครอบงำนิวรณ์เพื่อได้ปฐมฌาน 1 ครอบงำวิตกและวิจารเพื่อได้ทุติยฌาน 1 ครอบงำปีติเพื่อได้ตติยฌาน 1 ครอบงำสุขและทุกข์เพื่อได้จตุตถฌาน 1 ครอบงำรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญาเพื่อได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ 1 ครอบงำอากาสานัญจายตนสัญญาเพื่อได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ 1 ครอบงำวิญญาณัญจายตนสัญญาเพื่อได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ 1 ครอบงำอากิญจัญญายตนสัญญาเพื่อได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ 1 โคตรภูธรรม 8 นี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมถะ ฯ
[140] โคตรภูธรรม 10 เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา ฯ
ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิตกรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิมรณะ ความเศร้าโศก ความร่ำไร ความคับแค้นใจ สังขารนิมิตภายนอกเพื่อได้โสดาปัตติมรรค 1 ครอบงำความเกิดขึ้นความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ เพื่อโสดาปัตติผลสมาบัติ 1 ฯลฯ เพื่อได้สกทาคามิมรรค 1 เพื่อสกทาคามิผลสมาบัติ 1 เพื่อได้อนาคามิมรรค 1 เพื่ออนาคามิผลสมาบัติ 1ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมาปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ความเศร้าโศกความร่ำไร ความคับแค้นใจ สังขารนิมิตภายนอกเพื่อได้อรหัตมรรค 1 ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ เพื่ออรหัตผลสมาบัติ 1 เพื่อสุญญตวิหารสมาบัติ 1 และเพื่อสมาบัติ 1 โคตรภูธรรม 10 นี้ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา ฯ
[141] โคตรภูธรรมเป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร เป็นอัพยากฤตเท่าไร
โคตรภูธรรมเป็นกุศล 15 เป็นอัพยากฤต 3 เป็นอกุศลไม่มี ฯ
[142] โคตรภูญาณ 8 คือ โคตรภูญาณที่มีอามิส 1 ไม่มี อามิส 1 มีที่ตั้ง 1 ไม่มีที่ตั้ง 1 เป็นสุญญตะ 1 เป็น วุฏฐิตะ 1 เป็นอวุฏฐิตะ 1 เป็นปัจจัยแห่งสมาธิ โคตรภู ญาณ 10 เป็นโคจรแห่งวิปัสสนาญาณ โคตรภูธรรม 18 เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ 3 โคตรภูธรรมมีอาการ 18 นี้ พระโยคาวจรอบรมแล้วด้วยปัญญา พระโยคาวจรเป็นผู้ฉลาด ในโคตรภูญาณ อันเป็นเครื่องหลีกไปและในโคตรภูญาณ อันเป็นเครื่องออกไป ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ ฉะนี้แล ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไป และหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอก เป็นโคตรภูญาณ ฯ
มรรคญาณนิทเทส
[143] ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณอย่างไร ฯ
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิเพราะอรรถว่าเห็นย่อมออกจากมิจฉาทิฐิ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย(คืออรูปขันธ์ 4 อันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น เบญจขันธ์พร้อมด้วยรูปอันมีทิฐินั้นเป็นสมุฏฐานและวิบากขันธ์อันจะพึงเกิดขึ้นในอนาคต) และจากสรรพนิมิตภายนอกเพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาสังกัปปะเพราะอรรถว่าดำริออก ย่อมออกจากมิจฉาสังกัปปะ … เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะอรรถว่ากำหนดเอา ย่อมออกจากมิจฉาวาจา … เป็นมรรคญาณญาณชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ย่อมออกจากมิจฉากัมมันตะ … เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะอรรถว่าขาวผ่องย่อมออกจากมิจฉาอาชีวะ … เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ย่อมออกจากมิจฉาวายามะ … เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาสติเพราะอรรถว่าตั้งมั่นย่อมออกจากมิจฉาสติ … เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากมิจฉาสมาธิ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ฯ
[144] ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ฯ
[145] ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์ ปฎิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ ย่อมออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ฯ
[146] ในขณะแห่งอรหัตมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากรูปราคะ อรูปราคะมานะ อุทธัจจะ อวิชชามานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย ย่อมออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ฯ
[147] อริยมรรคสมังคีบุคคล ย่อมเผาสังกิเลสที่ยังไม่เกิด ด้วย โลกุตตรฌานที่เกิดแล้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว โลกุตตรฌานว่าเป็นฌาน บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิ ต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์ ถ้าพระ โยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้วย่อมเห็นแจ้งฉันใด ถ้าเมื่อเห็นแจ้งก็ พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดีฉันนั้น สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วใน ขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่ ความเห็นว่า สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข ชื่อว่าปัญญาที่ออก จากธรรมทั้งสอง ย่อมถูกต้องอมตบท พระโยคาวจรผู้ฉลาด ในความเป็นต่างกัน และความเป็นอันเดียวกันแห่งวิโมกข์ เหล่านั้น ย่อมรู้วิโมกขจริยา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้งสอง ฉะนี้แล ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสองเป็นมรรคญาณ ฯ
ผลญาณนิทเทส
[148] ปัญญาในการระงับประโยค เป็นผลญาณอย่างไร ฯ
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณชื่อสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ย่อมออกจากมิจฉาทิฐิ ย่อมออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาทิฐิย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติระงับประโยคที่ออกนั้น การระงับประโยคนั้นเป็นผลของมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาสังกัปปะเพราะอรรถว่าดำริออก ย่อมออกจากมิจฉาสังกัปปะ …ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะอรรถว่ากำหนดเอา ย่อมออกจากมิจฉาวาจา … ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ย่อมออกจากมิจฉากัมมันตะ … ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะอรรถว่าขาวผ่อง ย่อมออกจากมิจฉาอาชีวะ … ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ย่อมออกจากมิจฉาวายามะ …ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมออกจากมิจฉาสติ … ชื่อว่าสัมมาสมาธิเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากมิจฉาสมาธิ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติระงับประโยคที่ออกนั้นการระงับประโยคนั้นเป็นผลของมรรค ฯ
[149] ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัยปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ ย่อมออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติระงับประโยคที่ออกนั้นการระงับประโยคนั้นเป็นผลของมรรค ฯ
[150] ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ ย่อมออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติระงับประโยคที่ออกนั้นการระงับประโยคที่ออกนั้นเป็นผลของมรรค ฯ
[151] ในขณะแห่งอรหัตมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิเพราะอรรถว่าเห็นฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากรูปราคะ อรูปราคะมานะ อุทธัจจะ ถีนมิทธะอวิชชา ภวราคานุสัย มานานุสัย อวิชชานุสัยย่อมออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้นจากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติระงับประโยคที่ออกไปนั้น การระงับประโยคที่ออกนั้นเป็นผลของมรรค ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถรู้ว่าชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการระงับประโยคที่ออกนั้น เป็นผลญาณ ฯ
วิมุติญาณนิทเทส
[152] ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณอย่างไร ฯ
อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฐานุสัยวิจิกิจฉานุสัย เป็นกิเลสอันโสดาปัตติมรรคตัดขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส 5 ประการนี้พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วยดีชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆอันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ ฯ
[153] อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัยปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ เป็นกิเลสอันสกทาคามิมรรคตัดขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส 4 ประการนี้ พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วยดี ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้วิมุตตินั้นชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆอันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ ฯ
[154] อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัยปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ เป็นกิเลสอันอนาคามิมรรคตัดขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส4 ประการนี้ พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลสเป็นอันพ้นแล้วด้วยดี ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ ฯ
[155] อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชามานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัยเป็นกิเลสอันอรหัตมรรคตัดขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส 8 ประการนี้ พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลสเป็นอันพ้นแล้วด้วยดี ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่าผู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆอันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ ฯ
ปัจจเวกขณญาณนิทเทส
[156] ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้นเป็นปัจจเวกขณญาณอย่างไร ฯ
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถว่าดำริออก ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะอรรถว่ากำหนดเอา ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่าสัมมาอาชีวะเพราะอรรถว่าขาวผ่อง ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่านชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเลือกเฟ้น ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าแผ่ซ่านไป ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าสงบระงับ ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าพิจารณาหาทาง ชื่อว่าสัทธาพละเพราะอรรถว่าไม่หวั่นเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าวิริยพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าสติพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่าน ชื่อว่าปัญญาพละเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะอรรถว่าน้อมใจเชื่อชื่อว่าวิริยินทรีย์ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ชื่อว่าสตินทรีย์ เพราะอรรถว่าตั้งมั่นชื่อว่าสมาธินทรีย์ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าปัญญินทรีย์เพราะอรรถว่าเห็นชื่อว่าอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ชื่อว่าพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวชื่อว่าสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่านำออก ชื่อว่ามรรค เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ ชื่อว่าสติปัฏฐานเพราะอรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะอรรถว่าตั้งไว้ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะอรรถว่าสำเร็จ ชื่อว่าสัจจะ เพราะอรรถว่าจริงแท้ ชื่อว่าสมถะ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะอรรถว่าพิจารณาเห็นชื่อว่าสมถวิปัสสนา เพราะอรรถว่ามีกิจอย่างเดียวกัน ชื่อว่าเป็นคู่ เพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าสำรวม ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่านชื่อว่าทิฐิวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเห็น ชื่อว่าวิโมกข์เพราะอรรถว่าหลุดพ้น ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่าแทงตลอด ชื่อว่าวิมุติ เพราะอรรถว่าปล่อยชื่อว่าขยญาณ เพราะอรรถว่าตัดขาด ชื่อว่าฉันทะเพราะอรรถว่าเป็นมูล ชื่อว่ามนสิการ เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่าผัสสะ เพราะอรรถว่าเป็นที่รวมชื่อว่าเวทนา เพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม ชื่อว่าสมาธิ เพราะอรรถว่าเป็นประธานชื่อว่าสติ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ายิ่งกว่าธรรมนั้นๆ ชื่อว่าวิมุติ เพราะอรรถว่าเป็นแก่นสาร ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด (ธรรมเหล่านี้)เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่าธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น ฯ
[157] ในขณะแห่งโสดาปัตติผล ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถว่าดำริออก ฯลฯ ชื่อว่าอนุปปาทญาณ(ญาณในความไม่เกิดขึ้น) เพราะอรรถว่าระงับ ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็นมูลชื่อว่ามนสิการ เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน …ชื่อว่าวิมุติ เพราะอรรถว่าเป็นแก่นสาร ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด (ธรรมเหล่านี้)เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่า ธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น ฯ
[158] ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งสกทาคามิผล ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิผล ฯลฯ ในขณะ แห่งอรหัตมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าขยญาณเพราะอรรถว่าตัดขาด ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด (ธรรมเหล่านี้) เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่า ธรรมเหล่านี้ เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น ฯ
[159] ในขณะแห่งอรหัตผล ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะอรรถว่าระงับ ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด (ธรรมเหล่านี้) เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่า ธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่มาประชุมกันในขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ ฯ
วัตถุนานัตตนิทเทส
[160] ปัญญาในการกำหนดธรรมเป็นภายใน เป็นวัตถุนานัตตญาณอย่างไร ฯ
พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมทั้งหลายเป็นภายในอย่างไร ย่อมกำหนด ตา หู จมูกลิ้น กาย ใจ เป็นภายใน ฯ
[161] พระโยคาวจรย่อมกำหนดจักษุเป็นภายในอย่างไร ฯ
ย่อมกำหนดว่า จักษุเกิดเพราะอวิชชา เกิดเพราะตัณหา เกิดเพราะกรรม เกิดเพราะอาหาร อาศัยมหาภูตรูป 4 เกิดแล้วเข้ามาประชุมแล้ว ว่าจักษุไม่มี(จักษุเดี๋ยวนี้ไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อน) มีแล้วจักไม่มี (บัดนี้เป็นอย่างนี้ ต่อไปจักไม่เป็นเหมือนบัดนี้) ย่อมกำหนดจักษุโดยความเป็นของมีที่สุด กำหนดว่าจักษุไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักษุไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา กำหนดจักษุโดยความเป็นของไม่เที่ยงไม่กำหนดโดยความเป็นของเที่ยง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมให้ราคะดับไป ไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อกำหนดโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละความสำคัญว่าเป็นของเที่ยงได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละความสำคัญว่าเป็นสุขได้เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละความสำคัญว่าเป็นตัวตนได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้ราคะดับ ย่อมละเหตุให้เกิดได้ เมื่อสละคืนย่อมละความยึดถือได้พระโยคาวจรย่อมกำหนดจักษุเป็นภายในอย่างนี้ ฯ
[162] พระโยคาวจรย่อมกำหนดหูเป็นภายในอย่างไร ย่อมกำหนดว่า หูเกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดหูเป็นภายในอย่างนี้ ฯ
พระโยคาวจรย่อมกำหนดจมูกเป็นภายในอย่างไร ย่อมกำหนดว่า จมูกเกิดเพราะอวิชชาฯลฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดจมูกเป็นภายในอย่างนี้ ฯ
พระโยคาวจรย่อมกำหนดลิ้นเป็นภายในอย่างไร ย่อมกำหนดว่า ลิ้นเกิดเพราะอวิชชาฯลฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดลิ้นเป็นภายในอย่างนี้ ฯ
พระโยคาวจรย่อมกำหนดกายเป็นภายในอย่างไร ย่อมกำหนดว่า กายเกิดเพราะอวิชชาฯลฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดกายเป็นภายในอย่างนี้ ฯ
พระโยคาวจรย่อมกำหนดใจเป็นภายในอย่างไร ย่อมกำหนดว่า ใจเกิดเพราะอวิชชาเกิดเพราะตัณหา เกิดเพราะกรรม เกิดเพราะอาหาร เกิดแล้ว เข้ามาประชุมกันแล้ว ใจไม่มี (ใจเดี๋ยวนี้ไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อน) มีแล้วจักไม่มี (บัดนี้เป็นอย่างนี้ ต่อไปจักไม่เป็นเหมือนบัดนี้) ย่อมกำหนดใจโดยความเป็นของมีที่สุด กำหนดว่า ใจไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ใจไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดาคลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา กำหนดใจโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเป็นของเที่ยงกำหนดโดยความเป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดีย่อมคลายกำหนัดไม่กำหนัด ย่อมยังราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อกำหนดโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละความสำคัญว่าเป็นของเที่ยงได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นทุกข์ย่อมละความสำคัญว่าเป็นสุขได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละความสำคัญว่าเป็นตัวตนได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อยังราคะให้ดับย่อมละเหตุให้เกิดได้เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ พระโยคาวจรย่อมกำหนดใจเป็นภายในอย่างนี้ ย่อมกำหนดธรรมเป็นภายในอย่างนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรมเป็นภายใน เป็นวัตถุนานัตตญาณ ฯ
คำอธิบายผู้ปรับสำนวน
สยา. แปลเกินข้อสุดท้าย (ใจ) ว่า "อาศัยมหาภูตรูป 4 เกิดแล้ว" ซึ่งไม่ตรงกับอุทยัพพยานุปัสสนาญาณนิทเทสข้อวิญญาณ และบาลีทุกฉบับไม่มี.
โคจรนานัตตญาณนิทเทส
[163] ปัญญาในการกำหนดธรรมเป็นภายนอก เป็นโคจรนานัตตญาณอย่างไร พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมทั้งหลายเป็นภายนอกอย่างไร ฯ
พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะธรรมารมณ์เป็นภายนอก ฯ
พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปเป็นภายนอกอย่างไร ย่อมกำหนดว่า รูปเกิดเพราะอวิชชาเกิดเพราะตัณหา เกิดเพราะกรรม เกิดเพราะอาหาร อาศัยมหาภูตรูป 4 เกิดแล้ว เข้ามาประชุมแล้วรูปไม่มี (รูปเดี๋ยวนี้ไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อน)มีแล้วจักไม่มี (บัดนี้เป็นอย่างนี้ ต่อไปจักไม่เป็นเหมือนบัดนี้) ย่อมกำหนดรูปโดยความเป็นของมีที่สุด กำหนดว่า รูปไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา รูปไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดาเสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา ย่อมกำหนดรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเป็นของเที่ยง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุขกำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมยังราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อกำหนดโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละความสำคัญว่าเป็นของเที่ยงได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละความสำคัญว่าเป็นตัวตนได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้เมื่อยังราคะให้ดับ ย่อมละเหตุให้เกิดได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปเป็นภายนอกอย่างนี้ ฯ
[164] พระโยคาวจรย่อมกำหนดเสียงเป็นภายนอกอย่างไร ย่อมกำหนดว่า เสียงเกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดเสียงเป็นภายนอกอย่างนี้ ฯ
พระโยคาวจรย่อมกำหนดรสเป็นภายนอกอย่างไร ย่อมกำหนดว่า รสเกิดเพราะอวิชชาฯลฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดรสเป็นภายนอกอย่างนี้ ฯ
พระโยคาวจรย่อมกำหนดโผฏฐัพพะเป็นภายนอกอย่างไร ย่อมกำหนดว่าโผฏฐัพพะเกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดโผฏฐัพพะเป็นภายนอกอย่างนี้ ฯ
พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมารมณ์เป็นภายนอกอย่างไร ย่อมกำหนดว่า ธรรมารมณ์เกิดเพราะอวิชชา เกิดเพราะตัณหา เกิดเพราะกรรม เกิดเพราะอาหารเกิดแล้ว เข้าประชุมพร้อมแล้วธรรมารมณ์ไม่มี (ธรรมารมณ์เดี๋ยวนี้ไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อน) มีแล้วจักไม่มี (บัดนี้เป็นอย่างนี้ต่อไปจักไม่เป็นเหมือนบัดนี้) ย่อมกำหนดธรรมารมณ์โดยความเป็นของมีที่สุด กำหนดว่า ธรรมารมณ์ไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา ย่อมกำหนดธรรมารมณ์โดยความเป็นของไม่เที่ยงไม่กำหนดโดยความเป็นของเที่ยงกำหนดโดยความเป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดยความเป็นอัตตาย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมยังราคะให้ดับไม่ให้เกิด ย่อมสละคืนไม่ยึดถือ เมื่อกำหนดโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละความสำคัญว่าเป็นของเที่ยงได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละความสำคัญว่าเป็นสุขได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละความสำคัญว่าเป็นตัวตนได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้เมื่อยังราคะให้ดับ ย่อมละเหตุให้เกิดได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมารมณ์เป็นภายนอกอย่างนี้ ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรมเป็นภายนอก เป็นโคจรนานัตตญาณ ฯ
จริยานานัตตญาณนิทเทส
[165] ปัญญาในการกำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณอย่างไร จริยาในบทว่าจริยา มี 3 คือ วิญญาณจริยา อัญญาณจริยา ญาณจริยา ฯ
วิญญาณจริยาเป็นไฉน กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการดูรูปทั้งหลายเป็นอพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา จักขุวิญญาณอันเป็นแต่เพียงเห็นรูป เป็นวิญญาณจริยา เพราะได้เห็นรูปแล้ว มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยาเพราะขึ้นสู่รูปแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบากเป็นวิญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการฟังเสียงเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา โสตวิญญาณอันเป็นแต่เพียงฟังเสียง เป็นวิญญาณจริยา เพราะได้ฟังเสียงแล้ว มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่เสียงแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการดมกลิ่นเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ฆานวิญญาณอันเป็นแต่เพียงดมกลิ่น เป็นวิญญาณจริยา เพราะได้ดมกลิ่นแล้ว มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่กลิ่นแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการลิ้มรสเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยาชิวหาวิญญาณอันเป็นแต่เพียงลิ้มรส เป็นวิญญาณจริยา เพราะได้ลิ้มรสแล้วมโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่รสแล้วมโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการถูกต้อง โผฏฐัพพะเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา กายวิญญาณอันเป็นแต่เพียงถูกต้องโผฏฐัพพะ เป็นวิญญาณจริยา เพราะได้ถูกต้องโผฏฐัพพะแล้วมโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่โผฏฐัพพะแล้วมโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการรู้แจ้งธรรมารมณ์เป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา มโนวิญญาณอันเป็นแต่เพียงรู้แจ้งธรรมารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์แล้ว มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่ธรรมารมณ์แล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบากเป็นวิญญาณจริยา ฯ
[166] คำว่า วิญญาณจริยา ความว่า ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะอรรถว่า ประพฤติไม่มีราคะประพฤติไม่มีโทสะ ประพฤติไม่มีโมหะ ประพฤติไม่มีมานะ ประพฤติไม่มีทิฐิ ประพฤติไม่มีอุทธัจจะ ประพฤติไม่มีวิจิกิจฉาประพฤติไม่มีอนุสัย ประพฤติไม่ประกอบด้วยราคะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยโทสะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยโมหะประพฤติไม่ประกอบด้วยมานะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยทิฐิ ประพฤติไม่ประกอบด้วยอุทธัจจะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยวิจิกิจฉา ประพฤติไม่ประกอบด้วยอนุสัยประพฤติไม่ประกอบด้วยกุศลกรรม ประพฤติไม่ประกอบด้วยอกุศลกรรม ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมมีโทษ ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมไม่มีโทษ ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมดำ ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมขาว ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นกำไร ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นวิบาก ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก ประพฤติในอารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว วิญญาณมีความประพฤติเห็นปานนี้ เหตุนั้นจึงชื่อว่า วิญญาณจริยา จิตนี้บริสุทธิ์โดยปกติ เพราะอรรถว่าไม่มีกิเลส เหตุนั้นจึงชื่อว่าวิญญาณจริยานี้ชื่อว่าวิญญาณจริยา ฯ
[167] อัญญาณจริยาเป็นไฉน กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งราคะในรูปอันเป็นที่รัก อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งราคะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งโทสะ ในรูปอันไม่เป็นที่รัก อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโทสะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งโมหะในวัตถุที่มิได้เพ่งเล็งด้วยราคะและโทสะทั้งสองนั้น อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโมหะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งมานะที่ผูกพันธ์ อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งมานะเป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งทิฐิที่ยึดถือ อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งทิฐิเป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งอุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่าน อันเป็นอัพยากฤตเป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอุทธัจจะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉาที่ไม่ถึงความตกลงอันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉา เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งอนุสัยที่ถึงความเป็นธรรมมีเรี่ยวแรงอันเป็นอัพยากฤตเป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอนุสัย เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งราคะในเสียง ฯลฯ ในกลิ่นในรสในโผฏฐัพพะในธรรมารมณ์เป็นที่รัก อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งราคะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งโทสะในธรรมารมณ์ไม่เป็นที่รัก อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโทสะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งโมหะ ในวัตถุที่มิได้เพ่งเล็งด้วยราคะและโทสะทั้งสองนั้น อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโมหะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งทิฐิที่ยึดถือ อันเป็นอัพยากฤตเป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งทิฐิ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งอุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่านอันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอุทธัจจะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉาที่ไม่ถึงความตกลงอันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉา เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งอนุสัยที่ถึงความเป็นธรรมมีเรี่ยวแรง อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอนุสัย เป็นอัญญาณจริยา ฯ
[168] คำว่า อัญญาณจริยา ความว่า ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะอรรถว่า ประพฤติมีราคะ ประพฤติมีโทสะ ประพฤติมีโมหะประพฤติมีมานะ ประพฤติมีทิฐิ ประพฤติมีอุทธัจจะ ประพฤติมีวิจิกิจฉา ประพฤติมีอนุสัยประพฤติประกอบด้วยราคะ ประพฤติประกอบด้วยโทสะ ประพฤติประกอบด้วยโมหะ ประพฤติประกอบด้วยมานะ ประพฤติประกอบด้วยทิฐิ ประพฤติประกอบด้วยอุทธัจจะ ประพฤติประกอบด้วยวิจิกิจฉาประพฤติประกอบด้วยอนุสัย ประพฤติไม่ประกอบด้วยกุศลกรรม ประพฤติประกอบด้วยอกุศลธรรม ประพฤติประกอบด้วยกรรมมีโทษ ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมไม่มีโทษ ประพฤติประกอบด้วยกรรมดำ ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมขาว ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นกำไร ประพฤติประกอบด้วยกรรมมีทุกข์เป็นกำไร ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นวิบากประพฤติประกอบด้วยกรรมมีทุกข์เป็นวิบาก ประพฤติในอารมณ์ที่ไม่รู้ ความไม่รู้มีจริยาเห็นปานนี้เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อัญญาณจริยา นี้ชื่อว่าอัญญาณจริยา ฯ
[169] ญาณจริยาเป็นไฉน กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงอันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงเป็นญาณจริยา กิริยาคือความนึก เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความทุกข์ อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา การพิจารณาเห็นทุกข์ เป็นญาณจริยา กิริยาคือความนึก เพื่อต้องการพิจารณาเห็นอนัตตา อันเป็นอัพยากฤตเป็นวิญญาณจริยาการพิจารณาเห็นอนัตตา เป็นญาณจริยา กิริยาคือความนึก เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย ฯลฯ เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความดับ เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความสละคืน เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความสิ้นไป ฯลฯเพื่อต้องการพิจารณาเห็นความเสื่อมไป ฯลฯ เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความแปรปรวนฯลฯเพื่อต้องการพิจารณาเห็นความไม่มีนิมิต เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้ง เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความสูญ เพื่อต้องการพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เพื่อต้องการพิจารณารู้เห็นตามความเป็นจริงเพื่อต้องการพิจารณาเห็นโทษ เพื่อต้องการพิจารณาหาทาง อันเป็นอัพยากฤตเป็นวิญญาณจริยา การพิจารณาหาทาง เป็นญาณจริยา การพิจารณาเห็นความคลายออก(นิพพาน) เป็นญาณจริยา โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลสมาบัติสกทาคามิมรรค สกทาคามิผลสมาบัติ อนาคามิมรรค อนาคามิผลสมาบัติอรหัตมรรค อรหัตผลสมาบัติ เป็นญาณจริยา ฯ
[170] คำว่า ญาณจริยา ความว่า ชื่อว่าญาณจริยา เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
ชื่อว่าญาณจริยา เพราะอรรถว่าประพฤติไม่มีราคะ ประพฤติไม่โทสะฯลฯ ประพฤติไม่มีอนุสัย ประพฤติไม่ประกอบด้วยราคะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยโทสะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยโมหะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยมานะ ฯลฯไม่ประกอบด้วยทิฐิ ไม่ประกอบด้วยอุทธัจจะไม่ประกอบด้วยวิจิกิจฉา ไม่ประกอบด้วยอนุสัย ประกอบด้วยกุศลธรรม ไม่ประกอบด้วยอกุศลกรรมไม่ประกอบด้วยกรรมมีโทษ ประกอบด้วยกรรมไม่มีโทษ ไม่ประกอบด้วยกรรมดำ ประกอบด้วยกรรมขาว ประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นกำไร ไม่ประกอบด้วยกรรมมีทุกข์เป็นกำไร ประพฤติประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นวิบาก ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมมีทุกข์เป็นวิบาก ประพฤติในญาณญาณมีจริยาเห็นปานนี้
เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ญาณจริยา นี้ชื่อว่าญาณจริยา วิญญาณจริยา อัญญาณจริยา ญาณจริยา ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัดเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณ ฯ
ภูมินานัตตญาณนิทเทส
[171] ปัญญาในการจัดหมู่ธรรมเป็น 4 เป็นภูมินานัตตญาณอย่างไร
ภูมิ 4 คือกามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ โลกุตรภูมิ ฯ
[172] ปัญญาจัดหมู่ว่า "กามาวจรภูมิเป็นไฉน? ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันท่องเที่ยว คือ นับเนื่องในโอกาสนี้ ข้างล่างตลอดไปจนถึงอเวจีนรกเป็นที่สุด ข้างบนขึ้นไปจนถึงเทวดาชาวปรนิมมิตวสวดีเป็นที่สุด นี้ชื่อว่ากามาวจรภูมิฯ"
[173] ปัญญาจัดหมู่ว่า "รูปาวจรภูมิเป็นไฉน? ธรรม คือ จิตและเจตสิก ของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลก หรือของท่านผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันท่องเที่ยวคือ นับเนื่องโอกาสนี้ ข้างล่างตั้งแต่พรหมโลกขึ้นไปจนถึงเทวดาชั้นอกนิฏฐ์ข้างบนเป็นที่สุด นี้ชื่อว่ารูปาวจรภูมิฯ"
[174] ปัญญาจัดหมู่ว่า "อรูปาวจรภูมิเป็นไฉน? ธรรม คือ จิตและเจตสิกของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลก หรือของท่านผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันนับเนื่องในโอกาสนี้ ข้างล่างตั้งแต่เทวดาผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพ ตลอดขึ้นไปจนถึงเทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพข้างบนเป็นที่สุด นี้ชื่อว่าอรูปาวจรภูมิฯ"
[175] ปัญญาจัดหมู่ว่า "โลกุตรภูมิเป็นไฉน? มรรค ผล และนิพพานธาตุอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง อันเป็นโลกุตระ นี้ชื่อว่าโลกุตรภูมิฯ"
ปัญญาจัดหมู่ว่า "ธรรมเหล่านี้ คือ ภูมิ 4ฯ"
[176] อีกประการหนึ่ง ปัญญาจัดหมู่ภูมิ 4 ว่า "สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 ฌาน 4 อัปปมัญญา 4 อรูปาวจรสมาบัติ 4 ปฏิสัมภิทา 4ปฏิปทา 4 อารมณ์ 4 อริยวงศ์ 4สังคหวัตถุ 4 จักร 4 ธรรมบท 4 ภูมิ 4 เหล่านี้แลชื่อว่าภูมิ 4ฯ"
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่าเชี่ยวชาญธรรมดังกล่าว ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้แง่มุมต่างๆ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม 4 เป็นภูมินานัตตญาณ ฯ
ธรรมนานัตตญาณนิทเทส
[177] ปัญญาในการกำหนดธรรม 9 เป็นธรรมนานัตตญาณอย่างไร พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมทั้งหลายอย่างไร ย่อมกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต ย่อมกำหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่าย กุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต ย่อมกำหนดอรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต ย่อมกำหนดโลกุตรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต ฯ
[178] พระโยคาวจรย่อมกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร ย่อมกำหนดกุศลกรรมบถ 10 เป็นฝ่ายกุศลย่อมกำหนดอกุศลธรรมบถ 10เป็นฝ่ายอกุศล ย่อมกำหนดรูป วิบากและกิริยาเป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจรย่อมกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างนี้ ฯ
[179] พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร ย่อมกำหนดฌาน 4 ของบุคคลผู้ยังอยู่ในโลกนี้ เป็นฝ่ายกุศล ย่อมกำหนดฌาน 4 ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลก เป็นฝ่ายอัพยากฤตพระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างนี้ ฯ
[180] พระโยคาวจรย่อมกำหนดอรูปาวจรธรรม เป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร ย่อมกำหนดอรูปาวจรสมาบัติ 4 ของบุคคลผู้ยังอยู่ในโลกนี้ เป็นฝ่ายกุศล ย่อมกำหนดอรูปาวจรสมาบัติ 4 ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลก เป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจรย่อมกำหนดอรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างนี้ ฯ
[181] พระโยคาวจรย่อมกำหนดโลกุตรธรรม เป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร ย่อมกำหนดอริยมรรค 5 เป็นฝ่ายกุศล ย่อมกำหนดสามัญญผล 4 และนิพพาน เป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจรย่อมกำหนดโลกุตรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างนี้ ฯ
[182] ธรรมมีความปราโมทย์เป็นเบื้องต้น 9 ประการ
- เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์
- เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
- เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ
- ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข
- ผู้มีความสุขจิตย่อมตั้งมั่น
- เมื่อจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ย่อมเห็นตามความเป็นจริง
- เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย
- เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายความกำหนัด
- เพราะคลายความกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ เมื่อมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่นเมื่อจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายเมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายความกำหนัด เพราะคลายความกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้นธรรมมีความปราโมทย์เป็นเบื้องต้น 9 ประการนี้ ฯ
[183] ธรรมมีโยนิโสมนนิการเป็นเบื้องต้น 9 ประการ เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปิติ เมื่อใจมีปิติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยความสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์ …เมื่อมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยงย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นทุกข์ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นอนัตตาย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยงย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติเมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มีความสุขจิตย่อมตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมอันมีโยนิโสมนสิการเป็นเบื้องต้น 9 ประการนี้ ฯ
[184] ความต่าง 9 ประการ ความต่างแห่งผัสสะอาศัยความต่างแห่งธาตุเกิดขึ้น ความต่างแห่งเวทนาอาศัยความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้น ความต่างแห่งสัญญาอาศัยความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้น ความต่างแห่งความดำริอาศัยความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้น ความต่างแห่งฉันทะอาศัยความต่างแห่งความดำริเกิดขึ้น ความต่างแห่งความเร่าร้อน อาศัยความต่างแห่งฉันทะเกิดขึ้น ความต่างแห่งการแสวงหาอาศัยความต่างแห่งความเร่าร้อนเกิดขึ้น ความต่างแห่งการได้ (รูปเป็นต้น) อาศัยความต่างแห่งการแสวงหาเกิดขึ้น ความต่าง 9 ประการนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในการกำหนดธรรม 9 ประการเป็นธรรมนานัตตญาณ ฯ
ญาณปัญจกนิทเทส
[185] ปัญญาอันรู้ยิ่งเป็นญาตัฏฐญาณอย่างไร ปัญญาเครื่องกำหนดรู้เป็นติรณัฏฐญาณปัญญาเครื่องละเป็นปริจจาคัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องเจริญเป็นเอกรสัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องกระทำให้แจ้ง เป็นผัสสนัฏฐญาณ ฯ
พระโยคาวจรรู้ยิ่งธรรมใดๆ แล้ว เป็นอันรู้ธรรมนั้นๆ แล้ว กำหนดรู้ธรรมใดๆ แล้วเป็นอันพิจารณาธรรมนั้นๆ แล้ว ละธรรมใดๆ ได้แล้วเป็นอันสละธรรมนั้นๆ แล้ว เจริญธรรมใดๆ แล้ว ธรรมนั้นๆ ย่อมมีกิจเป็นอันเดียวกัน กระทำให้แจ้งธรรมใดแล้ว เป็นอันถูกต้องธรรมนั้นๆ แล้ว ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัดเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาอันรู้ยิ่งเป็นญาตัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องกำหนดรู้เป็นติรณัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องละเป็นปริจจาคัฏฐญาณ ปัญญเครื่องเจริญเป็นเอกรสัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องกระทำให้แจ้งเป็นผัสสนัฏฐญาณ ฯ
ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
[186] ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งนิรุติเป็นนิรุติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณอย่างไร ฯ
สัทธินทรีย์เป็นธรรม วิริยินทรีย์เป็นธรรม สตินทรีย์เป็นธรรม สมาธินทรีย์เป็นธรรม ปัญญินทรีย์เป็นธรรม สัทธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่งสมาธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สตินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สมาธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ปัญญาญินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่างๆเหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ฯ
[187] สภาพว่าน้อมใจเชื่อเป็นอรรถ สภาพว่าประคองไว้เป็นอรรถ สภาพว่าเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถ สภาพว่าไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถ สภาพว่าเห็นเป็นอรรถสภาพว่าน้อมใจเชื่อเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพว่าประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่งสภาพว่าเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพว่าฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่งสภาพว่าเห็นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้อรรถต่างๆเหล่านี้ด้วยญาณใดเป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถเป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ฯ
[188] การระบุพยัญชนะและนิรุติ เพื่อแสดงธรรม 5 ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุติเพื่อแสดงอรรถ 5 ประการ ธรรมนิรุติเป็นอย่างหนึ่งอรรถนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณ เป็นอันรู้เฉพาะนิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุติปฏิสัมภิทาญาณ ฯ
[189] ญาณในธรรม 5 ในอรรถ 5 ญาณในนิรุติ 10 ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่งญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุติเป็นอย่างหนึ่งพระโยคาวจรรู้ญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใดเป็นอันรู้เฉพาะญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ฯ
[190] สัทธาพละเป็นธรรม วิริยพละเป็นธรรม สติพละเป็นธรรม สมาธิพละเป็นธรรม ปัญญาพละเป็นธรรม สัทธาพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง วิริยพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สติพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สมาธิพละเป็นธรรมอย่างหนึ่งปัญญาพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใดเป็นอันรู้ธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ฯ
[191] สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นอรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านเป็นอรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความประมาทเป็นอรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่านเป็นอรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาเป็นอรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความประมาทเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใดเป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ฯ
[192] การระบุพยัญชนะและนิรุติ เพื่อแสดงธรรม 5 ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุติเพื่อแสดงอรรถ 5 ประการ ธรรมนิรุติเป็นอย่างหนึ่งอรรถนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุติปฏิสัมภิทาญาณ ฯ
[193] ญาณในธรรม 5 ประการ ญาณในอรรถ 5 ประการ ญาณในนิรุติ 10 ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่างๆเหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ฯ
[194] สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นธรรมแต่ละอย่างๆ สติสัมโพชฌงค์ … อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นธรรมอย่างหนึ่งๆ พระโยคาวจรรู้ธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมทาญาณ ฯ
[195] สภาพที่ตั้งมั่น สภาพที่เลือกเฟ้น สภาพที่ประคองไว้ สภาพที่แผ่ซ่านไปสภาพที่สงบ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่าน สภาพที่พิจารณาหาทาง สภาพที่เข้าไปตั้งอยู่ เป็นอรรถ [แต่ละอย่าง] สภาพที่ตั้งมั่น … สภาพที่พิจารณาหาทางเป็นอรรถอย่างหนึ่งๆ พระโยคาวจรรู้อรรถต่างๆเหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ฯ
[196] การระบุพยัญชนะและนิรุติเพื่อแสดงธรรม 7 ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุติเพื่อแสดงอรรถ 7 ประการ ธรรมนิรุติเป็นอย่างหนึ่งอรรถนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุติปฏิสัมภิทาญาณ ฯ
[197] ญาณในธรรม 7 ประการ ญาณในอรรถ 7 ประการ ญาณในนิรุติ 14 ประการญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่งญาณในนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ฯ
[198] สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นธรรมแต่ละอย่างๆสัมมาทิฐิ … สัมมาสมาธิ เป็นธรรมอย่างหนึ่งๆ พระโยคาวจรรู้ธรรมต่างๆเหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่างๆเหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแลเพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ฯ
[199] สภาพที่เห็น สภาพที่ดำริ สภาพที่กำหนดเอา สภาพที่เป็นสมุฏฐาน สภาพที่ขาวผ่อง สภาพที่ประคองไว้ สภาพที่ตั้งมั่น สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถแต่ละอย่างๆ สภาพที่เห็น … สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอรรถอย่างหนึ่งๆพระโยคาวจรรู้อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใดเป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถเป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ฯ
[200] การระบุพยัญชนะและนิรุติเพื่อแสดงธรรม 8 ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุติเพื่อแสดงอรรถ 8 ประการ ธรรมนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุติปฏิสัมภิทาญาณ ฯ
[201] ญาณในธรรม 8 ประการ ญาณในอรรถ 8 ประการ ญาณในนิรุติ 16 ประการญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่งญาณในนิรุติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัดเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างปฏิญาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ฯ
วิหารสมาปัตตัฏฐญาณนิทเทส
[202] ปัญญาในความต่างวิหารธรรม เป็นวิหารัฏฐญาณ ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติ เป็นสมาปัตตัฏฐญาณ ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณอย่างไร ฯ
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิต ถูกต้องแล้วซึ่งสังขารนิมิตด้วยญาณ ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนั้นชื่อว่า อนิมิตตวิหาร พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้งถูกต้องแล้วซึ่งตัณหาด้วยญาณ ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรม นั้นชื่อว่า อัปปณิหิตวิหาร พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตนโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างจากตน ถูกต้องแล้วซึ่งความถือมั่นว่าตนด้วยญาณย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนั้นชื่อว่า สุญญตวิหาร ฯ
[203] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิต เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีสังขารนิมิตแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตสมาบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตนโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างจากตนเพิกเฉยความเป็นไปแล้วคำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างจากตน แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตสมาบัติ ฯ
[204] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิต โดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีสังขารนิมิตแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหารสมาบัติพิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตนโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างจากตน ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไปเพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างจากตน แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ ฯ
[205] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีรูปนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไปวิหารธรรมนี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหาร พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรม นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหาร พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้วๆย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า สุญญตวิหาร ฯ
[206] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัตินี้ชื่อว่า อนิมิตตสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีที่ตั้ง แล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตสมาบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างเปล่าแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าสุญญตสมาบัติ ฯ
[207] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้วคำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับว่างเปล่าแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ ฯ
[208] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นเวทนานิมิต ฯลฯ สัญญานิมิตสังขารนิมิต วิญญาณนิมิต จักษุ ฯลฯ
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณะนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหาร พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหาร พิจารณาเห็นความถือมั่นชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า สุญญตวิหาร ฯ
[209] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตสมาบัติพิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตสมาบัติ พิจารณาความถือมั่นและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่าเพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างเปล่า แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตสมาบัติ ฯ
[210] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไปเพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหารสมบัติ พิจารณาเห็นความยึดมั่นชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างเปล่า แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าสุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง สุญญตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง อนิมิตตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง สุญญตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่งอนิมิตตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง สุญญตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม เป็นวิหารรัฏฐญาณ ปัญญาในความแตกต่างแห่งสมาบัติเป็นสมาปัตตัฏฐญาณ ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ ฯ
อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
[211] ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่านเป็นอานันตริกสมาธิญาณอย่างไร ฯ
เอกัคคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เป็นสมาธิ ญาณเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธินั้น อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลังด้วยประการดังนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาดเพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ ฯ
[212] คำว่า อาสวา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่านั้น คือ กามาสวะภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ฯ
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ (แต่ละอย่าง) อันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ย่อมสิ้น ไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งโสดาปัตติมรรคนี้กามาสวะส่วนหยาบ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้นย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้ กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้ ภวาสวะ อวิชชาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตตมรรคอาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคนี้ ฯ
[213] เอกัคคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งความไม่พยาบาทฯลฯ ด้วยสามารถแห่งอาโลกสัญญา ด้วยสามารถแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งการกำหนดธรรม ด้วยสามารถแห่งญาณ ด้วยสามารถแห่งความปราโมทย์ ด้วยสามารถแห่งปฐมฌาน ด้วยสามารถแห่งทุติยฌาน ด้วยสามารถแห่งตติยฌาน ด้วยสามารถแห่งจตุตถฌาน ด้วยสามารถแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ ด้วยสามารถแห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ด้วยสามารถแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ ด้วยสามารถแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติด้วยสามารถแห่งปฐวีกสิณ ด้วยสามารถแห่งอาโปกสิณ ด้วยสามารถแห่งเตโชกสิณ ด้วยสามารถแห่งวาโยกสิณ ด้วยสามารถแห่งนีลกสิณด้วยสามารถแห่งปีตกสิณ ด้วยสามารถแห่งโลหิตกสิณ ด้วยสามารถแห่งโอทาตกสิณ ด้วยสามารถแห่งอากาสกสิณ ด้วยสามารถแห่งวิญญาณกสิณ ด้วยสามารถแห่งพุทธานุสสติด้วยสามารถแห่งธรรมานุสสติ ด้วยสามารถแห่งสังฆานุสสติ ด้วยสามารถแห่งสีลานุสสติ ด้วยสามารถแห่งจาคานุสสติ ด้วยสามารถแห่งเทวตานุสสติด้วยสามารถแห่งอานาปานสติ ด้วยสามารถแห่งมรณสติด้วยสามารถแห่งกายคตาสติ ด้วยสามารถแห่งอุปสมานุสสติ ด้วยสามารถแห่งอุทธุมาตกสัญญาด้วยสามารถแห่งวินีลกสัญญา ด้วยสามารถแห่งวิปุพพกสัญญา ด้วยสามารถแห่งวิฉิททกสัญญาด้วยสามารถแห่งวิกขายิตกสัญญา ด้วยสามารถแห่งวิกขิตตกสัญญา ด้วยสามารถแห่งหตวิกขิตตกสัญญา ด้วยสามารถแห่งโลหิตกสัญญา ด้วยสามารถแห่งปุฬุวกสัญญา ด้วยสามารถแห่งอัฏฐิกสัญญาด้วยสามารถแห่งการหายใจออกยาว ด้วยสามารถแห่งการหายใจเข้ายาว ด้วยสามารถแห่งการหายใจออกสั้น ด้วยสามารถแห่งการหายใจเข้าสั้น ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ด้วยสามารถแห่งความระงับกายสังขารหายใจออก ด้วยสามารถแห่งความระงับกายสังขารหายใจเข้า ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งปีติหายใจออก ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งปีติหายใจเข้า ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งสุขหายใจออก ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งสุขหายใจเข้า ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจออก ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจเข้า ด้วยสามารถแห่งความระงับจิตตสังขารหายใจออก ด้วยสามารถแห่งความระงับจิตตสังขารหายใจเข้า ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตหายใจออก ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตหายใจเข้า ด้วยสามารถแห่งความทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ด้วยสามารถแห่งความทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ด้วยสามารถแห่งความตั้งจิตไว้หายใจออก ด้วยสามารถแห่งความตั้งจิตไว้หายใจเข้า ด้วยสามารถแห่งความเปลื้องจิตหายใจออก ด้วยสามารถแห่งความเปลื้องจิตหายใจเข้า ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจออก ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจออก ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจเข้าด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความดับหายใจออก ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความดับหายใจเข้า ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมาธิแต่ละอย่างๆ ญาณย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธินั้นอาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้นเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาดเพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ ฯ
[214] คำว่า อาสวา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน อาสวะ เหล่านั้น คือกามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ฯ
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะภวาสวะ อวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งโสดาปัตติมรรคนี้ ฯ
กามาสวะส่วนหยาบ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้ ฯ
กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้ ฯ
ภวาสวะ อวิชชาสวะ ย่อมสิ้นไปไม่มีส่วนเหลือด้วยอรหัตมรรค อาสวะเหล่านี้ ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตมรรคนี้ ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่านเป็นอานันตริกสมาธิญาณ ฯ
อรณวิหารญาณนิทเทส
[215] ทัสนาธิปไตย วิหาราธิคมอันสงบ และปัญญาในความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีต เป็นอรณวิหารญาณอย่างไร ฯ
คำว่า ทสสนาธิปเตยฺยํ ความว่า อนิจจานุปัสนา ทุกขานุปัสนา อนัตตานุปัสนา การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง การพิจารณาเห็นความทุกข์ การพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา ในรูปในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ เป็นทัสนาธิปไตยแต่ละอย่างๆ ฯ
[216] คำว่า สนฺโต จ วิหาราธิคโม ความว่า สุญญตวิหาร อนิมิตตวิหาร อัปปณิหิตวิหาร เป็นวิหาราธิคมอันสงบแต่ละอย่างๆ ฯ
คำว่า ปณีตาธิมุตฺตตา ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในธรรมอันว่างเปล่า ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในธรรมอันไม่มีนิมิตร ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในธรรมอันไม่มีที่ตั้งเป็นความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีตแต่ละอย่างๆ ฯ
คำว่า อรณวิหาโร ความว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นอรณวิหารแต่ละอย่างๆ ฯ
คำว่า อรณวิหาโร ความว่า ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะอรรถว่ากระไร ชื่อว่าอรณวิหารเพราะอรรถว่า นำเสียซึ่งนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน นำเสียซึ่งวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน นำเสียซึ่งปีติด้วยตติยฌาน นำเสียซึ่งสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน นำเสียซึ่งรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญาด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ นำเสียซึ่งอากาสานัญจายตนสัญญา ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัตินำเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนสัญญา ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ นำเสียซึ่งอากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าอรณวิหาร ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ทัสนาธิปไตย วิหาราธิคมอันสงบ และปัญญาในความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีต เป็นอรณวิหารญาณ ฯ
นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
[217] ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ ด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ 2 ด้วยความระงับสังขาร 3 ด้วยญาณจริยา 16 และด้วยสมาธิจริยา9 เป็นนิโรธสมาปัตติญาณอย่างไร ฯ
คำว่า ด้วยพละ 2 ความว่า พละ 2 คือสมถพละ 1 วิปัสนาพละ 1 ฯ
[218] สมถพละเป็นไฉน ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ ด้วยสามารถแห่งความไม่พยาบาท ด้วยสามารถแห่งอาโลกสัญญา ด้วยสามารถแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมถพละแต่ละอย่างๆ ฯ
[219] คำว่า สมถพลํ ความว่า ชื่อว่าสมถพละ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
ชื่อว่าสมถพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวเพราะนิวรณ์ ด้วยปฐมฌานไม่หวั่นไหวเพราะวิตกวิจาร ด้วยทุติยฌาน ไม่หวั่นไหวเพราะปีติ ด้วยตติยฌานไม่หวั่นไหวเพราะสุขและทุกข์ ด้วยจตุตถฌาน ไม่หวั่นไหว เพราะรูปสัญญาปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ไม่หวั่นไหวเพราะอากาสานัญจายตนสัญญา ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ไม่หวั่นไหวเพราะอากิญจัญญายตนสัญญา ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ไม่หวั่นไหวไม่กวัดแกว่งไม่คลอนแคลน เพราะอุทธัจจะ เพราะกิเลสอันสหรคตด้วยอุทธัจจะและเพราะขันธ์ นี้ชื่อว่าสมถพละ ฯ
[220] วิปัสนาพละเป็นไฉน อนิจจานุปัสนา ทุกขานุปัสนา อนัตตานุปัสนานิพพิทานุปัสนา วิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนา ปฏินิสสัคคานุปัสนา การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูป ฯลฯ ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารในวิญญาณ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะ เป็นวิปัสนาพละแต่ละอย่างๆ ฯ
[221] คำว่า วิปสฺสนาพลํ ความว่า ชื่อว่าวิปัสนาพละ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
ชื่อว่าวิปัสนาพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวเพราะนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสนาไม่หวั่นไหวเพราะสุขสัญญา ด้วยทุกขานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะอัตตสัญญา ด้วยอนัตตานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะความเพลิดเพลิน ด้วยนิพพิทานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะความกำหนัดด้วยวิราคานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะสมุทัย ด้วยนิโรธานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะความถือมั่น ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสนา ไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่ง ไม่คลอนแคลน เพราะอวิชชา เพราะกิเลสอันสหรคตด้วยอวิชชา และเพราะขันธ์ นี้ชื่อว่าวิปัสนาพละ ฯ
[222] คำว่า ด้วยการระงับสังขาร 3 ความว่า ด้วยการระงับสังขาร3 เป็นไฉน วิตกวิจารเป็นวจีสังขารของท่านผู้เข้าทุติยฌานระงับไป ลมอัสสาสปัสสาสะเป็นกายสังขารของท่านผู้เข้าจตุตถฌาน ระงับไป สัญญาและเวทนาเป็นจิตตสังขารของท่านผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ระงับไปด้วยการระงับสังขาร3 เหล่านี้ ฯ
[223] คำว่า ด้วยญาณจริยา 16 ความว่า ด้วยญาณจริยา 16เป็นไฉน อนิจจานุปัสนา ทุกขานุปัสนา อนัตตานุปัสนา นิพพิทานุปัสนาวิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนาปฏินิสสัคคานุปัสนา วิวัฏฏนานุปัสนา โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลสมาบัติ สกทาคามิมรรคสกทาคามิผลสมาบัติอนาคามิมรรค อนาคามิผลสมาบัติ อรหัตมรรค อรหัตผลสมาบัติ เป็นญาณจริยาแต่ละอย่าง ๆ ด้วยญาณจริยา 16 นี้ ฯ
[224] คำว่า ด้วยสมาธิจริยา 9 ความว่า ด้วยสมาธิจริยา 9 เป็นไฉน ปฐมฌานทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนสมาบัติวิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็นสมาธิจริยาแต่ละอย่างๆ วิตกวิจาร ปีติสุข และเอกัคคตาจิต เพื่อประโยชน์แก่การได้ปฐมฌาน ฯลฯ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อประโยชน์แก่การได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ด้วยสมาธิจริยา 9 นี้ ฯ
[225] คำว่า วสี ความว่า วสี 5 ประการ คือ อาวัชชนาวสี 1 สมาปัชชนาวสี 1อธิษฐานวสี 1 วุฏฐานวสี 1 ปัจจเวกขณวสี 1 ฯ
สมาปัตติลาภีบุคคลคำนึงถึงปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการคำนึงถึง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอาวัชชนาวสีสมาปัตติลาภีบุคคลเข้าปฐมฌานได้ ณ สถานที่ และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการเข้า เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสมาปัชชนาวสี สมาปัตติลาภีบุคคลอธิษฐานปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการอธิษฐาน เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอธิษฐานวสี สมาปัตติลาภีบุคคลออกปฐมฌาณได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการออก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวุฏฐานวสี สมาปัตติลาภีบุคคลพิจารณาปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าปัจจเวกขณวสี สมาปัตติลาภีบุคคลคำนึงถึงทุติยฌาน ฯลฯเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการคำนึงถึงเพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอาวัชชนาวสี สมาปัตติลาภีบุคคลเข้า ฯลฯ อธิษฐาน ออกพิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนาไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าปัจจเวกขณวสี วสี 5ประการนี้ ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ ด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ 2 ด้วยความระงับสังขาร 3 ด้วยญานจริยา 16 และด้วยสมาธิจริยา 9 เป็นนิโรธสมาปัตติญาณ ฯ
ปรินิพพานญาณนิทเทส
[226] ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลส และขันธ์ ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็นปรินิพพานญาณอย่างไร ฯ
สัมปชานบุคคลในศาสนานี้ ย่อมยังความเป็นไปแห่งกามฉันทะให้สิ้นไป ด้วยเนกขัมมะแห่งพยาบาทให้สิ้นไปด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ แห่งถีนมิทธะให้สิ้นไป ด้วยอาโลกสัญญา ฯลฯแห่งอุทธัจจะให้สิ้นไป ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ แห่งวิจิกิจฉาให้สิ้นไป ด้วยการกำหนดธรรม ฯลฯแห่งอวิชชาให้สิ้นไป ด้วยญาณ แห่งความไม่ยินดี ด้วยความปราโมทย์ ยังความเป็นไปแห่งนิวรณ์ให้สิ้นไป ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ยังความเป็นไปแห่งกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไป ด้วยอรหัตมรรค ฯ
อีกประการหนึ่ง ความเป็นไปแห่งจักษุนี้แล ของสัมปชานบุคคลผู้นิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งจักษุอื่นย่อมไม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งหู ฯลฯ ความเป็นไปแห่งจมูก ความเป็นไปแห่งลิ้นความเป็นไปแห่งกาย ความเป็นไปแห่งใจนี้แล ของสัมปชานบุคคลผู้นิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งใจอื่นย่อมไม่เกิดขึ้นปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ ของสัมปชานบุคคลนี้เป็นปรินิพพานญาณ ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็นปรินิพพานญาณ ฯ
สมสีสัฏฐญาณนิทเทส
[227] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการตัดขาดโดยชอบและในนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐญาณอย่างไร ฯ
คำว่า ธรรมทั้งปวง คือ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 กุศลธรรม อกุศลธรรมอัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรมโลกุตตรธรรม ฯ
[228] คำว่า ในการตัดขาดโดยชอบ ความว่า พระโยคาวจรย่อม ตัดกามฉันทะขาดโดยชอบ ด้วยเนกขัมมะ ย่อมตัดพยาบาทขาดโดยชอบ ด้วยความไม่พยาบาท ย่อมตัดถีนมิทธะขาดโดยชอบ ด้วยอาโลกสัญญา ย่อมตัดอุทธัจจะขาดโดยชอบ ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมตัดวิจิกิจฉาขาดโดยชอบ ด้วยการกำหนดธรรมย่อมตัดอวิชชาขาดโดยชอบ ด้วยญาณ ย่อมตัดอรติขาดโดยชอบ ด้วยความปราโมทย์ย่อมตัดนิวรณ์ขาดโดยชอบ ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ย่อมตัดกิเลสทั้งปวงขาดโดยชอบด้วยอรหัตมรรค ฯ
[229] คำว่า ในนิโรธ ความว่า พระโยคาวจรย่อมทำกามฉันทะให้ดับ ด้วยเนกขัมมะ ย่อมทำพยาบาทให้ดับ ด้วยความไม่พยาบาท ย่อมทำถีนมิทธะให้ดับ ด้วยอาโลกสัญญา ย่อมทำอุทธัจจะให้ดับ ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมทำวิจิกิจฉาให้ดับ ด้วยการกำหนดธรรม ย่อมทำอวิชชาให้ดับด้วยญาณ ย่อมทำอรติให้ดับ ด้วยความปราโมทย์ ย่อมทำนิวรณ์ให้ดับ ด้วยปฐมฌาน ฯลฯย่อมทำกิเลสทั้งปวงให้ดับ ด้วยอรหัตมรรค ฯ
[230] คำว่า ความไม่ปรากฏ ความว่า บุคคลผู้ได้เนกขัมมะ กามฉันทะย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้ความไม่พยาบาท ความพยาบาทย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้อาโลกสัญญา ถีนมิทธะย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้ความไม่ฟุ้งซ่าน อุทธัจจะย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้การกำหนดธรรม วิจิกิจฉาย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้ญาณ อวิชชาย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้ความปราโมทย์ อรติย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้ปฐมฌาน นิวรณ์ย่อมไม่ปรากฏ ฯลฯ ผู้ได้อรหัตมรรค กิเลสทั้งปวงย่อมไม่ปรากฏ ฯ
[231] คำว่า สงบ ความว่า เนกขัมมะเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละกามฉันทะเสียแล้ว ความไม่พยาบาทเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละความพยาบาทเสียแล้ว อาโลกสัญญาเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละถีนมิทธะเสียแล้ว ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละอุทธัจจะเสียแล้ว การกำหนดธรรมเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละวิจิกิจฉาเสียแล้ว ญาณเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละอวิชชาเสียแล้ว ความปราโมทย์เป็นธรรมสงบ เพราะท่านละอรติเสียแล้ว ปฐมฌานเป็นธรรมสงบเพราะท่านละนิวรณ์เสียแล้ว ฯลฯ อรหัตมรรคเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละกิเลสทั้งปวงเสียแล้ว ฯ
[232] คำว่า เป็นประธาน ความว่า ธรรมเป็นประธาน 13 ประการ คือ ตัณหามีความกังวลเป็นประธาน 1 มานะมีความผูกพันเป็นประธาน 1 ทิฐิมีความยึดมั่นเป็นประธาน 1อุทธัจจะมีความฟุ้งซ่านเป็นประธาน 1 อวิชชามีกิเลสเป็นประธาน 1 ศรัทธามีความน้อมใจเชื่อเป็นประธาน 1 วิริยะมีความประคองไว้เป็นประธาน 1 สติมีการเข้าไปตั้งไว้เป็นประธาน 1 สมาธิมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นประธาน 1 ปัญญามีความเห็นเป็นประธาน 1 ชีวิตินทรีย์มีความเป็นไปเป็นประธาน 1 วิโมกข์มีอารมณ์เป็นประธาน 1 นิโรธมีสังขารเป็นประธาน 1 ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการตัดขาดโดยชอบและในนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐญาณ ฯ
สัลเลขัฏฐญาณนิทเทส
[233] ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่าง ๆ และเดชเป็นสัลเลขัฏฐญาณอย่างไร ฯ
คำว่า หนา คือ ราคะหนา โทสะหนา โมหะหนา ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความเจ้าเล่ห์ ความโอ้อวด หัวดื้อ ความแข่งดีความถือตัว ความดูหมิ่นท่านความมัวเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวงกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง เป็นกิเลสหนา ฯ
[234] คำว่า สภาพต่าง ๆ และสภาพเดียว ความว่า กามฉันทะเป็นสภาพต่างเนกขัมมะเป็นสภาพเดียว พยาบาทเป็นสภาพต่าง ความไม่พยาบาทเป็นสภาพเดียว ถีนมิทธะเป็นสภาพต่าง อาโลกสัญญาเป็นสภาพเดียวอุทธัจจะเป็นสภาพต่าง ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นสภาพเดียววิจิกิจฉาเป็นสภาพต่างการกำหนดธรรมเป็นสภาพเดียว อวิชชาเป็นสภาพต่าง ญาณเป็นสภาพเดียวอรติเป็นสภาพต่าง ความปราโมทย์เป็นสภาพเดียว นิวรณ์เป็นสภาพต่างปฐมฌานเป็นสภาพเดียว ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นสภาพต่าง อรหัตมรรคเป็นสภาพเดียว ฯ
[235] คำว่า เดช ความว่า เดชมี 5 คือ จรณเดช คุณเดช ปัญญาเดช บุญญเดช ธรรมเดช บุคคลผู้มีจิตอันกล้าแข็ง ย่อมยังเดชคือความเป็นผู้ทุศีลให้สิ้นไปด้วยเดชคือศีลเครื่องดำเนินไป ย่อมยังเดชมิใช่คุณให้สิ้นไปด้วยเดชคือคุณ ย่อมยังเดชคือความเป็นผู้มีปัญญาทรามให้สิ้นไปด้วยเดชคือปัญญาย่อมยังเดชมิใช่บุญให้สิ้นไปด้วยเดชคือบุญ ย่อมยังเดชมิใช่ธรรมให้สิ้นไปด้วยเดชอันเป็นธรรม ฯ
[236] คำว่า ธรรมเครื่องขัดเกลา ความว่า กามฉันทะมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลาเนกขัมมะเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา พยาบาทมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลาความไม่พยาบาทเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ถีนมิทธะมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลาอาโลกสัญญาเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา อุทธัจจะมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา วิจิกิจฉามิใช่เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา การกำหนดธรรมเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา อวิชชามิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ญาณเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา อรติมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ความปราโมทย์เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา นิวรณ์มิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ปฐมฌานเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ฯลฯกิเลสทั้งปวงมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลาอรหัตมรรคเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรม ซึ่งว่าปัญญาเพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่าง ๆและเดช เป็นสัลเลขัฏฐญาณ ฯ
วิริยารัมภญาณนิทเทส
[237] ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เป็นวิริยารัมภญาณอย่างไร ฯ
ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไปเพื่อจะยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลอะเลือน เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นวิริยารัมภญาณแต่ละอย่าง ๆ ฯ
[238] ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อยังกามฉันทะที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เพื่อละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อยังเนกขัมมะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลอะเลือน ฯลฯเพื่อความบริบูรณ์ แห่งเนกขัมมะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯเพื่อยังกิเลสทั้งปวงที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เพื่อละกิเลสทั้งปวงที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อยังอรหัตมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลอะเลือน เพื่อความเจริญยิ่งเพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งอรหัตมรรคที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นวิริยารัมภญาณแต่ละอย่าง ๆ ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตส่งไป เป็นวิริยารัมภญาณ ฯ
อรรถสันทัสสนญาณนิทเทส
[239] ปัญญาในการประกาศธรรมต่าง ๆ เป็นอรรถสันทัสสนญาณอย่างไร ฯ
ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรมรูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม โลกุตตรธรรม ชื่อว่าธรรมต่าง ๆ ฯ
[240] คำว่า การประกาศ ความว่า ปัญญาย่อมประกาศรูป โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ประกาศเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา ฯ
[241] คำว่า ในการเห็นชัดซึ่งอรรถธรรม ความว่า พระโยคาวจร เมื่อละกามฉันทะ ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อมเห็นชัด ซึ่งอรรถแห่งความไม่พยาบาท เมื่อละถีนมิทธะ ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งอาโลกสัญญา เมื่อละอุทธัจจะ ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน เมื่อละวิจิกิจฉาย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งการกำหนดธรรม เมื่อละอวิชชา ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งญาณ เมื่อละอรติ ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งความปราโมทย์ เมื่อละนิวรณ์ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งปฐมฌาน ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งอรหัตมรรค ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการประกาศธรรมต่าง ๆ เป็นอรรถสันทัสสนญาณ ฯ
ทัสสนวิสุทธิญาณนิทเทส
[242] ปัญญาในความสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียวกัน และการแทงตลอดธรรมต่างกันและธรรมหมวดเดียวกันเป็นทัสสนวิสุทธิญาณอย่างไร ฯ
คำว่า ธรรมทั้งปวง ได้แก่ขันธ์ 5 ฯลฯ โลกุตตรธรรม ฯ
คำว่า ความสงเคราะห์เป็นหมวดเดียวกัน ความว่า ธรรมทั้งปวงท่านสงเคราะห์เป็นหมวดเดียวกันโดยอาการ 12 คือ โดยสภาพถ่องแท้ 1 โดยสภาพมิใช่ตัวตน 1 โดยสภาพจริง 1 โดยสภาพควรแทงตลอด 1 โดยสภาพที่ควรรู้ยิ่ง 1โดยสภาพที่ควรกำหนดรู้ 1 โดยสภาพที่เป็นธรรม 1 โดยสภาพที่เป็นธาตุ 1 โดยสภาพที่อาจรู้ 1 โดยสภาพควรทำให้แจ้ง 1 โดยสภาพที่ควรถูกต้อง 1 โดยสภาพที่ควรตรัสรู้ 1 ธรรมทั้งปวงท่านสงเคราะห์เป็นหมวดเดียวกัน โดยอาการ 12 นี้ ฯ
คำว่า ความต่างและความเป็นอันเดียวกัน ความว่า กามฉันทะเป็นความต่าง เนกขัมมะเป็นอันเดียวกัน ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นความต่าง อรหัตมรรคเป็นอันเดียวกัน ฯ
คำว่า ในการแทงตลอด ความว่า พระโยคาวจรย่อมแทงตลอดทุกขสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ แทงตลอดสมุทัยสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยการละ แทงตลอดนิโรธสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้ง แทงตลอดมรรคสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยการเจริญ ฯ
คำว่า ทสฺสนวิสุทธิ ความว่า ในขณะโสดาปัตติมรรค ทัสนะย่อม หมดจด ในขณะโสดาปัตติผล หมดจดแล้ว ในขณะสกทาคามิมรรค ย่อมหมดจด ในขณะสกทาคามิผล หมดจดแล้ว ในขณะอนาคามิมรรค ย่อมหมดจดในขณะอนาคามิผล หมดจดแล้ว ในขณะอรหัตมรรค ย่อมหมดจด ในขณะอรหัตตผล หมดจดแล้ว ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าว ปัญญาในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวง เป็นหมวดเดียวกัน และการแทงตลอดธรรมต่างกันและธรรมหมวดเดียวกัน เป็นทัสสนวิสุทธิญาณ ฯ
ขันติญาณนิทเทส
[243] ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏ เป็นขันติญาณอย่างไร ฯ
รูปปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา รูปใด ๆปรากฏ รูปนั้น ๆ ย่อมคงที่ ฉะนั้น ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏจึงเป็นขันติญาณเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณจักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ชราและมรณะใด ๆ ปรากฏชรามรณะนั้น ๆ ย่อมคงที่ ฉะนั้น ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏจึงเป็นขันติญาณ ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏ เป็นขันติญาณ ฯ
ปริโยคาหนญาณนิทเทส
[244] ปัญญาในความถูกต้องธรรม เป็นปริโยคาหนญาณอย่างไร ฯ
ปัญญาย่อมถูกต้องรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมถูกต้องรูปใด ๆ ก็เข้าไปสู่รูปนั้น ๆ ฉะนั้น ปัญญาในความถูกต้องธรรม จึงเป็นปริโยคาหนญาณ ปัญญาย่อมถูกต้องเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณจักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาย่อมถูกต้องชราและมรณะใด ๆ ก็เข้าสู่ชราและมรณะนั้น ๆ ฉะนั้น ปัญญาในความถูกต้องธรรมจึงเป็นปริโยคาหนญาณ ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความถูกต้องธรรม เป็นปริโยคาหนญาณ ฯ
ปทสวิหารญาณนิทเทส
[245] ปัญญาในการรวมธรรม เป็นปเทสวิหารญาณอย่างไร
เพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะสัมมาทิฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งสัมมาทิฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนาเพราะความสงบแห่งมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา ฯลฯ เพราะมิจฉาวิมุติเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งมิจฉาวิมุติเป็นปัจจัยก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะสัมมาวิมุติเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งสัมมาวิมุติเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะฉันทะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งฉันทะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนาเพราะวิตกเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งวิตกเป็นปัจจัยก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะสัญญาเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งสัญญาเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมไม่สงบเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะฉันทะเป็นธรรมสงบ แต่เพราะวิตกและสัญญาเป็นธรรมไม่สงบเป็นปัจจัยก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะฉันทะและวิตกเป็นธรรมสงบ แต่เพราะสัญญาเป็นธรรมไม่สงบเป็นปัจจัยก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะฉันทะ วิตก และสัญญา เป็นธรรมสงบเป็นปัจจัยก็ย่อมมีกุศลเวทนาความเพียรเพื่อจะบรรลุอรหัตผลที่ยังไม่บรรลุมีอยู่ แม้เพราะเมื่อยังไม่ได้บรรลุอริยมรรคอันเป็นเหตุแห่งอรหัตผลนั้นเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการรวมธรรม เป็นปเทสวิหารญาณ ฯ
สัญญาวิวัฏฏญาณนิทเทส
[246] ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี เป็นสัญญาวิวัฏฏญาณอย่างไร ฯ
ปัญญาในความมีเนกขัมมะเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากกามฉันทะด้วย ปัญญาเครื่องรู้ดีเพราะฉะนั้น ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี จึงเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาในความมีความไม่พยาบาทเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากพยาบาทด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี เพราะฉะนั้น ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี จึงเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาในความมีอาโลกสัญญาเป็นอธิบดีย่อมหลีกออกจากถีนมิทธะด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี … ปัญญาในความมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นอธิบดีย่อมหลีกออกจากอุทธัจจะด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี … ปัญญาในความมีการกำหนดธรรมเป็นอธิบดีย่อมหลีกออกจากวิจิกิจฉาด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี … ปัญญาในความมีญาณเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากอวิชชาด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี … ปัญญาในความมีปราโมทย์เป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากอรติด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี … ปัญญาในความมีปฐมฌานเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากนิวรณ์ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี ฯลฯ ปัญญาในความมีอรหัตมรรคเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากกิเลสทั้งปวงด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี เพราะฉะนั้นปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี จึงเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี เป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ ฯ
เจโตวิวัฏฏญาณนิทเทส
[247] ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความต่าง เป็นเจโตวิวัฏฏญาณอย่างไร ฯ
กามฉันทะเป็นความต่าง เนกขัมมะเป็นอย่างเดียว เมื่อพระโยคาวจรคิดถึงความที่เนกขัมมะเป็นธรรมอย่างเดียว จิตย่อมหลีกออกจากกามฉันทะ เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความต่าง จึงเป็นเจโตวิวัฏฏญาณพยาบาทเป็นความต่าง ความไม่พยาบาทเป็นอย่างเดียว เมื่อพระโยคาวจรคิดถึงความที่ความไม่พยาบาทเป็นธรรมอย่างเดียว จิตย่อมหลีกออกจากพยาบาท เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความต่าง จึงเป็นเจโตวิวัฏฏญาณถีนมิทธะเป็นความต่าง อาโลกสัญญาเป็นอย่างเดียว เมื่อพระโยคาวจรคิดถึงความที่อาโลกสัญญาเป็นธรรมอย่างเดียว จิตย่อมหลีกออกจากถีนมิทธะ เพราะฉะนั้นปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความต่าง จึงเป็นเจโตวิวัฏฏญาณ ฯลฯกิเลสทั้งปวงเป็นความต่าง อรหัตมรรคเป็นอย่างเดียวเมื่อพระโยคาวจรคิดถึงความที่อรหัตมรรคเป็นธรรมอย่างเดียว จิตย่อมหลีกออกจากกิเลสทั้งปวงเพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความต่าง จึงเป็นเจโตวิวัฏฏญาณ ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความต่าง เป็นเจโตวิวัฏฏญาณ ฯ
จิตตวิวัฏฏญาณนิทเทส
[248] ปัญญาในการอธิษฐาน เป็นจิตตวิวัฏฏญาณอย่างไร ฯ
เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาทย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถแห่งความไม่พยาบาทเมื่อละถีนมิทธะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถแห่งอาโลกสัญญา ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถแห่งอรหัตมรรค เพราะฉะนั้นปัญญาในการอธิษฐาน (แต่ละอย่าง) จึงเป็นจิตตวิวัฏฏญาณ (แต่ละอย่าง) ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการอธิษฐานเป็นจิตตวิวัฏฏญาณ ฯ
ญาณวิวัฏฏญาณนิทเทส
[249] ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณวิวัฏฏญาณอย่างไร ฯ
เมื่อพระโยคาวจรรู้ชัดและเห็นแจ้งตามความเป็นจริงว่า จักษุว่างเปล่าจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความคงที่หรือจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา ญาณย่อมหลีกออกจากความยึดถือในกาม เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า จึงเป็นญาณวิวัฏฏญาณ เมื่อพระโยคาวจรรู้ชัดและเห็นแจ้งตามความเป็นจริงว่า หูว่างเปล่า ฯลฯ จมูกว่างเปล่า ลิ้นว่างเปล่า กายว่างเปล่า ใจว่างเปล่า จากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตนจากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความคงที่ หรือจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา ญาณย่อมหลีกออกจากความยึดถือในกาม เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า จึงเป็นญาณวิวัฏฏญาณ ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณวิวัฏฏญาณ ฯ
วิโมกขวิวัฏฏญาณนิทเทส
[250] ปัญญาในความสลัดออก เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณอย่างไร ฯ
พระโยคาวจรย่อมสลัดกามฉันทะออกด้วยเนกขัมมะ สลัดพยาบาทออกด้วยความไม่พยาบาท สลัดถีนมิทธะออกด้วยอาโลกสัญญา สลัดอุทธัจจะออกด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน สลัดวิจิกิจฉาออกด้วยการกำหนดธรรม ฯลฯ สลัดกิเลสทั้งปวงออกด้วยอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ปัญญาในความสลัดออก (แต่ละอย่าง)จึงเป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ (แต่ละอย่าง) ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความสลัดออก เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ ฯ
สัจจวิวัฏฏญาณนิทเทส
[251] ปัญญาในความว่าธรรมจริง เป็นสัจจวิวัฏฏญาณอย่างไร ฯ
เมื่อพระโยคาวจรกำหนดรู้ความบีบคั้น ความปรุงแต่ง ความให้เดือดร้อน ความแปรปรวน แห่งทุกข์ ย่อมหลีกไป เมื่อละความประมวลมา ความเป็นเหตุ ความเกี่ยวข้องความกังวล แห่งสมุทัย ย่อมหลีกไป เมื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความสลัดออก ความสงัด ความไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ความไม่ตาย แห่งนิโรธย่อมหลีกไป เมื่อเจริญความนำออก ความเป็นเหตุ ความเห็น ความเป็นอธิบดีแห่งมรรค ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น ปัญญาในความว่าธรรมจริง (แต่ละอย่าง)จึงเป็นสัจจวิวัฏฏญาณ (แต่ละอย่าง) ญาณเป็นสัญญาวิวัฏฏ์ เจโตวิวัฏฏ์ จิตตวิวัฏฏ์ญาณวิวัฏฏ์ วิโมกขวิวัฏฏ์ สัจจวิวัฏฏ์ พระโยคาวจรเมื่อรู้พร้อมย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้นจึงเป็นสัญญาวิวัฏฏ์ เมื่อคิดถึงย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้นจึงเป็นเจโตวิวัฏฏ์ เมื่อรู้แจ้ง ย่อมหลีกไปเพราะฉะนั้นจึงเป็นจิตตวิวัฏฏ์เมื่อกระทำญาณย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้นจึงเป็นญาณวิวัฏฏ์ เมื่อสลัดออกย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้นจึงเป็นวิโมกขวิวัฏฏ์ ย่อมหลีกไปในความว่าธรรมจริง เพราะฉะนั้นจึงเป็นสัจจวิวัฏฏ์ ฯ
[252] ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคนั้น ย่อมมีเจโตวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคใดมีเจโตวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏ์ เจโตวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีจิตตวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคใดมีจิตตวิวัฏฏ์ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏฏ์ เจโตวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏ์ เจโตวิวัฏฏ์จิตตวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีญาณวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคใดมีญาณวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏฏ์ เจโตวิวัฏฏ์ จิตตวิวัฏฏ์ในขณะแห่งมรรคใดมี สัญญาวิวัฏฏ์ เจโตวิวัฏฏ์ จิตตวิวัฏฏ์ ญาณวิวัฏฏ์ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีวิโมกขวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคใดมีวิโมกขวิวัฏฏ์ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏฏ์ เจโตวิวัฏฏ์ จิตตวิวัฏฏ์ ญาณวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏ์ เจโตวิวัฏฏ์ จิตตวิวัฏฏ์ ญาณวิวัฏฏ์ วิโมกขวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัจจวิวัฏฏ์ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัจจวิวัฏฏ์ในขณะแห่งมรรคนั้น ย่อมมีสัญญาวิวัฏฏ์ เจโตวิวัฏฏ์ จิตตวิวัฏฏ์ ญาณวิวัฏฏ์วิโมกขวิวัฏฏ์ ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความว่าธรรมจริง เป็นสัจจวิวัฏฏญาณ ฯ
เพิ่มเติม
- ปฏิสัมภิทามรรค ฉบับปรับสำนวน กลับหน้าสารบัญ