วิสุทธิมรรค_20_มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส

ความแตกต่าง

นี่เป็นการแสดงความแตกต่างระหว่างเพจสองรุ่น

Link to this comparison view

วิสุทธิมรรค_20_มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส [2020/08/14 15:22]
dhamma
วิสุทธิมรรค_20_มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส [2021/01/02 20:14]
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
-{{wst>​วสธมฉปส head| }} 
-{{wst>​วสธมฉปส sidebar}} 
- 
-=ปริจเฉทที่ ​ 20 มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส= 
- 
-'''​แสดงบรรยายความบริสุทธิ์ของความรู้และความเห็นว่า เป็นทางปฏิบัติที่ถูกและไม่ถูก'''​ 
- 
-==สัมมสนญาณกถา== 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 268)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อนึ่ง ​ ญาณซึ่งรู้ทางถูกและทางไม่ถูกอย่างนี้ว่า ​ "​นี้เป็นทาง ​ นี้มิใช่ทาง" ​ ดังนี้ ​ ชื่อว่า ​ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ​ คือ ​ ความบริสุทธิ์ของความรู้และความเห็นว่า เป็นทางปฏิบัติที่ถูและไม่ถูก 
- 
-โยคีผู้ปรารถนาเพื่อบรรลุมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ์นั้น ​ เริ่มแรกควรทำโยคะ ​ (คือการบำเพ็ญความเพียร) ​ ในนยวิปัสสนา ​ ที่เรียกว่า กลาป[สัมมสนะ] ​ (คือ ​ การกำหนดพิจารณาธรรมเป็นหมวดเป็นกอง) ​ ก่อน ​ (ถามว่า) ​ เพราะเหตุไร ?  (ตอบว่า) ​ เพราะเมื่อพระธรรมมีโอภาส ​ (แสงสว่าง) ​ เป็นต้นเกิดขึ้นแก่โยคีผู้แรกเริ่มปฏิบัติวิปัสสนา ​ มัคคามัคคญาณทัสสนะ (ความรู้ความเห็นว่าเป็นทางปฏิบัติที่ถูกและไม่ถูก) ​ จึงเกิดขึ้น ​ ความจริง ​ เมื่อธรรมทั้งหลายมีโอภาสเป็นต้นเกิดขึ้น ​ ท่านโยคีผู้แรกเริ่มปฏิบัติวิปัสสนา ​ ก็มีมัคคามัคคญาณอยู่ด้วย ​ ด้วยว่า ​ กลาปสัมมสนะ ​ (ญาณ) ​ เป็นญาณเริ่มต้นของวิปัสสนา ​ เพราะฉะนั้น ​ ท่านจึงยกกลาปสัมมสน ​ (ญาณ) ​ นี้ขึ้นแสดงไว้ในลำดับของกังขาวิตรณ ​ (วิสุทธิ) 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ เพราะเมื่อ ​ ตีรณปริญญา ​  ​เป็นไปอยู่ ​ มัคคามัคคญาณจึงบังเกิดขึ้นและตีรณปริญญาก็บังเกิดขึ้นในลำดับของญาตปริญญา ​ เพราะฉะนั้น ​ โยคีผู้ปรารถนาบรรลุ ​ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ​ นั้น ​ จะต้องทำโยคะในกลาปสัมมสนญาณ ​ (การกำหนดรู้โดยความเป็นหมวดเป็นกอง) ​ ก่อน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 269)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ในการกำหนดรู้โดยความเป็นหมวดเป็นกอง ​ (กลาปสัมมสนะ) ​ นั้น ​ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ 
- 
-ความจริง ​ โลกียปริญญา ​ (คือ ​ การกำหนดรู้ขั้นโลกิยะ) ​ มีอยู่ 3  คือ 
- 
-1.    ญาตปริญญา ​   การกำหนดรู้ในสิ่งที่รู้กันอยู่แล้ว ​ (ปรากฏอยู่แล้ว) 
- 
-2.    ตีรณปริญญา ​   การกำหนดรู้ด้วยการไตร่ตรอง ​ (ใคร่ครวญ) 
- 
-3.    ปหานปริญญา ​   การกำหนดรู้ด้วยการละ 
- 
-ซึ่ง ​ (ปริญญาทั้ง 3  นี้) ​ ท่านกล่าวระบุถึงไว้แล้ว ​ (ในปฏิสัมภิทามัคค์) ​ ว่า ​ "​ปัญญาในการรู้ยิ่ง ​ ชื่อว่าญาณ ​ โดยความหมายว่ารู้กันอยู่แล้ว ​ ปัญญาในการกำหนดรู้ ​ ชื่อว่าญาณ ​ โดยความหมายว่าไตร่ตรอง ​ ปัญญาในการละ ​ ชื่อว่าญาณ ​ โดยความหมายว่าสละไป" ​ ดังนี้ 
- 
-ในปริญญา 3  อย่างนั้น ​ ปัญญาที่เป็นไปด้วยการกำหนดรู้ลักษณะเฉพาะของธรรมทั้งหลายเหล่านั้นๆ ​ เช่นอย่างนี้ว่า ​ รูปมีลักษณะเสื่อมสลายไป ​ เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ ​ ดังนี้ ​ ชื่อว่า ​ ญาตปริญญา ​ (กำหนดรู้สิ่งที่ปรากฏอยู่แล้ว) ​ ส่วนปัญญาคือวิปัสสนามี ​ (ไตร) ​ ลักษณ์เป็นอารมณ์ซึ่งยกธรรมทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแลขึ้นสู่สามัญญลักษณะแล้วเป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ​ "​รูปไม่เที่ยง ​ เวทนาไม่เที่ยง" ​ ดังนี้ ​ ชื่อว่า ​ ตีรณปริญญา ​ แต่วิปัสสนาปัญญาที่มี ​ (ไตร) ​ ลักษณ์เป็นอารมณ์นั่นแล ​ ซึ่งเป็นไปละความหมายรู้ ​ มีหมายรู้ว่าเที่ยงเป็นต้น ​ ในธรรมทั้งหลายเหล่านั้นนั่นเอง ​ ชื่อว่า ​ ปหานปริญญา 
- 
-ในปริญญา 3  นั้น ​ ตั้งแต่ ​ สังขารปริจเฉท ​ (การกำหนดรู้สังขาร ​ คือ ​ นามรูปปรอจเฉทญาณซึ่งเป็นญาณที่ 1)  มาถึง ​ ปัจจยปริคคหะ ​ (การกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป ​ คือปัจจยปริคคหญาณ ​ ซึ่งเป็นญาณที่ 2)  เป็นภูมิของ ​ ญาตปริญญา ​ เพราะในระหว่างนี้ ​ ความเป็นใหญ่ ​ มีอยู่แก่การแทงตลอดลักษณะเฉพาะตัวของธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ​ ส่วนตั้งแต่กลาปสัมมสนะ ​ (ญาณ – ซึ่งเป็นญาณที่ 3)  จนถึงอุทยพยญาณ ​ (ซึ่งเป็นญาณที่ 4)  เป็นภูมิของ ​ ตีรณปริญญา ​ เพราะในระหว่างนี้ความเป็นใหญ่มีอยู่แก่การแทงตลอดสามัญญลักขณะโดย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 270)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​เฉพาะตั้งแต่ภังคานุปัสสนา ​ (ญาณ ​ ซึ่งเป็นญาณที่ 5)  เป็นต้นไป ​ จนญาณในเบื้องสูง ​ เป็นภูมิของ ​ ปหานปริญญา ​ เพราะว่าตั้งแต่ภังคานุปัสสนาญาณนั้นไป ​ ความเป็นใหญ่มีอยู่แก่ อนุปัสสนา 7  ซึ่งทำให้สำเร็จการละความหมายรู้ ​ มีความหมายรู้ว่าเที่ยงเป็นต้น ​ (ตามที่ท่านกล่าวไว้) ​ อย่างนี้ว่า'''​ 
- 
-(1)    เมื่อเห็นเนือง ๆ  โดยความไม่เที่ยง ​ ก็ละความหมายรู้ว่าเที่ยง 
- 
-(2)    เมื่อเห็นเนือง ๆ  โดยความเป็นทุกข์ ​ ก็ละความหมายรู้ว่า ​ เป็นสุข 
- 
-(3)    เมื่อเห็นเนือง ๆ  โดยความไม่มีอัตตา ​ ก็ละความหมายรู้ว่า ​ มีอัตตา 
- 
-(4)    เมื่อเบื่อหน่าย ​ ก็ละความเพลิดเพลินยินดี 
- 
-(5)     ​เมื่อปราศจากความกำหนัด ​ ก็ละราคะ 
- 
-(6)    เมื่อดับ ​ ก็ละเหตุเป็นแดนเกิด ​ (สมุทัย) 
- 
-(7)    เมื่อสลัดทิ้งไป ​ ก็ละความยึดถือ ​ ดังนี้ 
- 
-'''​ในปริญญา 3  (ดังกล่าว) ​ นี้ ​ เป็นอันว่า ​ โยคีได้บรรลุ ​ ญาตปริญญา ​ โดยเฉพาะแล้ว ​ เพราะได้ทำทั้งสังขารปริจเฉท ​ (ญารที่ 1)  ด้วย ​ ทั้งปัจจยปริคคหะ ​ (ญาณที่ 2)  ด้วย ​ ให้สำเร็จแล้ว ​ และปริญญาอีก 2  อย่าง ​ ก็ควรบรรลุด้วย ​ เพราะฉะนั้น ​ ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า ​ (ข้างต้น) ​ ว่า ​ "​เพราะเมื่อ ​ ตีรณปริญญา เป็นไปอยู่ ​ มัคคามัคคญาณ ​ จึงบังเกิดขึ้น ​ และ ​ ตีรณปริญญา ​ ก็บังเกิดขึ้นในลำดับของ ​ ญาตปริญญา ​ เพราะฉะนั้น ​ โยคีผู้ปรารถนาบรรลุ ​ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ​ นั้น ​ จะต้องทำโยคะในการกำหนดรู้โดยความเป็นหมวดเป็นกองก่อน" ​ ดังนี้'''​ 
- 
-ในการกำหนดรู้โดยความเป็นหมวดเป็นกอง ​ (ที่เรียกว่า ​ กลาปสัมมสนะ) ​ นั้น ​ ในพระบาลี ​ (แปลความ) ​ ดังนี้ 
- 
-ถาม ​ "​ปัญญาในการย่นย่อกำหนดรู้ธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอดีต ​ อนาคตและปัจจุบัน ​ ชื่อว่า ​ สัมมสนญาณ ​ (คือ ​ ญาณมนการกำหนดรู้) ​ เป็นอย่างไร"  ​ 
- 
-ตอบ ​ "​รูปอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม ​ ทั้งที่เป็นอดีต ​ อนาคตและปัจจุบัน ​ ทั้งภายในหรือภายนอก ​ ทั้งหยาบหรือละเอียด ​ ทั้งเลวหรือประณีต ​ ทั้งอยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ ​ โยคีกำหนดรู้รูปทั้งหมดนั้นโดยความไม่เที่ยง ​ เป็นสัมมสนะ 1 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 271)''</​fs></​sub>​ 
- 
-"​กำหนดรู้…..โดยความเป็นทุกข์ ​ เป็นสัมมสนะ 1 
- 
-"​กำหนดรู้…..โดยความไม่มีอัตตา ​ เป็นสัมมสนะ 1 
- 
-"​เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม…..กำหนดรู้….. 
- 
-"​สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม…..กำหนดรู้….. 
- 
-"​สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม…..กำหนดรู้….. 
- 
-"​วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม…..กำหนดรู้…..โดยความไม่เที่ยง ​ เป็นสัมมสนะ 1 
- 
-"​กำหนดรู้…..โดยความเป็นทุกข์ ​ เป็นสัมมสนะ 1 
- 
-"​กำหนดรู้…..โดยความไม่มีอัตตา ​ เป็นสัมมสนะ 1 
- 
-"​กำหนดรู้จักขุ…..ฯลฯ…..ชราและมรณะ ​ ทั้งอดีต ​ อนาคตและปัจจุบัน ​ โดยความไม่เที่ยง ​ เป็นสัมมสนะ 1 
- 
-"​…..โดยความเป็นทุกข์ ​ เป็นสัมมสนะ 1 
- 
-"​…..โดยความไม่มีอัตตา ​ เป็นสัมมสนะ 1 
- 
-"​ปัญญาในการย่นย่อกำหนดรู้ว่า ​ "​รูปทั้งที่เป็นอดีต ​ อนาคตและปัจจุบัน ​ ชื่อว่าไม่เที่ยง ​ โดยความหมายว่าสิ้นไป ​ ชื่อว่าเป็นทุกข์ ​ โดยความหมายว่าน่ากลัว ​ ชื่อว่าอนัตตา ​ โดยความหมายว่าเป็นสิ่งไม่มีแก่นสาร" ​ ดังนี้ ​ เป็นสัมมสนญาณ ​ (คือ ​ ญาณในการกำหนดรู้)1 
- 
-"​ปัญญาในการย่นย่อกำหนดรู้ว่า ​ "​เวทนา….. ​   ​ 
- 
-"​ปัญญาในการย่นย่อกำหนดรู้ว่า ​ "​สัญญา….. 
- 
-"​ปัญญาในการย่นย่อกำหนดรู้ว่า ​ "​สังขาร….. 
- 
-"​ปัญญาในการย่นย่อกำหนดรู้ว่า ​ "​วิญญาณ….. 
- 
-"​ปัญญาในการย่นย่อกำหนดรู้ว่า ​ "​จักขุ ​ ฯลฯ ​ ชรามรณะทั้งที่เป็นอดีต ​ อนาคตและปัจจุบัน ​ ชื่อว่าไม่เที่ยง…..ดังนี้ ​ เป็นสัมมสนญาณ 1 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 272)''</​fs></​sub>​ 
- 
-"​ปัญญาในการย่นย่อกำหนดรู้ว่า ​ "​รูปทั้งอดีต ​ อนาคตและปัจจุบัน ​ เป็นของไม่เที่ยงปรุงแต่งขึ้น ​ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ​ มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ​ มีปราศจากราคะไปเป็นธรรมดา ​ มีความดับไปเป็นธรรมดา" ​ ดังนี้ ​ เป็นสัมมสนญาณ 1 
- 
-"​ปัญญาในการย่นย่อกำหนดรู้ว่า ​ "​เวทนา….. 
- 
-"​ปัญญาในการย่นย่อกำหนดรู้ว่า ​ "​สัญญา….. 
- 
-"​ปัญญาในการย่นย่อกำหนดรู้ว่า ​ "​สังขารทั้งหลาย….. 
- 
-"​ปัญญาในการย่นย่อกำหนดรู้ว่า ​ "​วิญญาณ….. 
- 
-ปัญญาในการย่นย่อกำหนดรู้ว่า ​ "​จักขุ ​ ฯลฯ ​ ชรามรณะทั้งที่เป็นอดีต ​ อนาคตและปัจจุบัน ​ เป็นของไม่เที่ยง…..มีความดับไปเป็นธรรมดา"​ดังนี้ ​ เป็นสัมมสนญาณ 1 
- 
-ปัญญาในการย่นย่อกำหนดรู้ว่า ​ "​เพราะชาติเป็นปัจจัย ​ จึงมีชราและมรณะ ​ เมื่อไม่กี่ชาติก็ไม่มีชราและมรณะ" ​ ดังนี้ ​ เป็นสัมมสนญาณ 1 
- 
-ปัญญาในการย่นย่อกำหนดรู้ว่า ​ "​ทั้งในอดีตกาลก็ดี ​ ทั้งในอนาคตกาลก็ดี ​ เพราะชาติเป็นปัจจัย ​ จึงมีชราและมรณะ ​ เมื่อไม่มีชาติ ​ ก็ไม่มีชราและมรณะ" ​ ดังนี้ ​ เป็นสัมมสนญาณ 1 
- 
-ปัญญาในการย่นย่อกำหนดรู้ว่า ​ "​เพราะภพเป็นปัจจัย ​ จึงมีชาติ…..ฯลฯ…..เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ​ จึงมีสังขารทั้งหลาย ​ เมื่อไม่มีอวิชชา ​ ก็ไม่มีสังขารทั้งหลาย" ​ ดังนี้ ​ เป็นสัมมสนญาณ 1 
- 
-"​ปัญญาในการย่นย่อกำหนดรู้ว่า ​ "​ทั้งในอดีตกาลก็ดี ​ ทั้งในอนาคตกาลก็ดี ​ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ​ จึงมีสังขารทั้งหลาย ​ เมื่อไม่มีอวิชชา ​ ก็ไม่มีสังขารทั้งหลาย" ​ ดังนี้ ​ เป็นสัมมสนญาณ 1 
- 
-"​สัมมสนญาณนั้นชื่อว่า ​ ญาณ ​ โดยความหมายว่า ​ รู้แล้ว ​ ชื่อว่า ​ ปัญญา ​ โดยความหมายว่า ​ รู้ทั่ว ​ เพราะฉะนั้น ​ ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ​ ปัญญาในการย่นย่อกำหนดรู้ธรรมทั้งหลายที่เป็นอดีต ​ อนาคตและปัจจุบัน ​ ชื่อว่า ​ สัมมสนญาณ" ​ ดังนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 273)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​[ฯลฯ ​ ข้อธรรมด้วยไปยาล]'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ (ด้วยการ ​ ฯลฯ ​ ไว้) ​ ด้วยไปยาล ​ (ฯเปฯ) ​ ว่า ​ "​จักขุฯลฯ ​ ชราและมรณะ" ​ ดังนี้ ​ ในพระบาลีนั้น ​ พึงทราบว่าท่านย่นย่อเอาหมวดธรรมเหล่านี้ไว้ ​ คือ  ​ 
- 
-1.    ธรรมทั้งหลายที่เป็นไปในทวาร ​ พร้อมด้วยทวารและอารมณ์ทั้งหลาย 
- 
-2.    ขันธ์ 5 
- 
-3.    ทวาร 6 
- 
-4.    อารมณ์ 6 
- 
-5.    วิญญาณ 6 
- 
-6.    ผัสสะ 6 
- 
-7.    เวทนา 6 
- 
-8.    สัญญา 6 
- 
-9.    เจตนา 6    ​ 
- 
-10.    ตัณหา 6 
- 
-11.    วิตก 6 
- 
-12.    วิจาร 6 
- 
-13.    ธาตุ 6 
- 
-14.    กสิณ 6 
- 
-15.    โกฏฐาส ​ (อาการ) 32 
- 
-16.    อายตนะ ​ 12 
- 
-17.    ธาตุ 18 
- 
-18.    อินทรีย์ ​ 22 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 274)''</​fs></​sub>​ 
- 
-19.    ธาตุ 3 
- 
-20.    ภพ 3 
- 
-21.    ภพ ​ อีก 3 
- 
-22.    ภพ ​ อีก 3 
- 
-23.    ญาณ 4 
- 
-24.    อัปปมัญญา 4 
- 
-25.    สมาบัติ 4 
- 
-26.    องค์ของปฏิจจสมุปบาท 12  ดังนี้ 
- 
-ความจริง ​ ข้อนี้ท่านสารีบุตรได้กล่าวไว้แล้วใน ​ อภิญญานิทเทส ​ (ในปฏิสัมภิทามรรค) ​ ว่า 
- 
-"​ภิกษุทั้งหลาย ​ สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งควรรู้ยิ่ง ​ ภิกษุทั้งหลาย ​ สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งควรรู้ยิ่ง ​ คืออะไร ? 
- 
-1.    ภิกษุทั้งหลาย ​ จักขุเป็นสิ่งควรรู้ยิ่ง ​ รูปทั้งหลายเป็นสิ่งควรรู้ยิ่ง ​ จักขุวิญญาณ ​ เป็นสิ่งควรรู้ยิ่ง ​ จักขุสัมผัสเป็นสิ่งควรรู้ยิ่ง ​ ถึงแม้การเสวยอารมณ์ ​ เป็นสุขก็ดี ​ เป็นทุกข์ก็ดี ​ ไม่เป็นทุกข์และไม่เป็นสุขก็ดี ​ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะมีจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ​ นี้นั้นก็เป็นสิ่งควรรู้ยิ่ง ​ โสตะ ​ (หู) ​ เป็นสิ่งควรรู้ยิ่ง ​ ฯลฯ ​ ถึงแม้การเสวยอารมณ์ ​ เป็นสุขก็ดี ​ เป็นทุกข์ก็ดี ​ ไม่เป็นทุกข์ ​ และไม่เป็นสุขก็ดี ​ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะมีมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ​ นี้นั่นก็เป็นสิ่งควรรู้ยิ่ง 
- 
-2.    รูป…..วิญญาณเป็นสิ่งควรรู้ยิ่ง….. 
- 
-3.    จักขุ…..มโน….. 
- 
-4.    รูป…..ธรรมทั้งหลาย….. 
- 
-5.    จักขุวิญญาณ…..มโนวิญญาณ….. 
- 
-6.    จักขุสัมผัส…..มโนสัมผัส….. 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 275)''</​fs></​sub>​ 
- 
-7.    เวทนาเกิดแต่จักขุสัมผัส…..เวทนาเกิดแต่มโนสัมผัส….. 
- 
-8.    สัญญาในรูป…..สัญญาในธรรม….. 
- 
-9.    สัญเจตนาในรูป…..สัญเจตนาในธรรม….. 
- 
-10.    ตัณหาในรูป…..ตัณหาในธรรม….. 
- 
-11.    วิตกในรูป…..วิตกในธรรม….. 
- 
-12.    วิจารในรูป….วิจารในธรรม….. 
- 
-13.    ปฐวีธาตุ…..วิญญาณธาตุ….. 
- 
-14.    ปฐวีกสิณ…..วิญญาณกสิณ….. 
- 
-15.    เส้นผม ​ (เกสา)…..ส่วนสมองในกระหม่อม….. 
- 
-16.    อายตนคือจักขุ…..อายตนะคือธรรมารมณ์….. 
- 
-17.    จักขุธาตุ ​ รูปธาตุ ​ จักขุวิญญาณธาตุ…..มโนธาตุ ​ ธัมมธาตุ ​ มโนวิญญาณธาตุ….. 
- 
-18.    จักขุนทรีย์…..อัญญาตาวินทรีย์….. 
- 
-19.    กามธาตุ…..รูปธาตุ…..อรูปธาตุ….. 
- 
-20.    กามภพ…..รูปภพ….อรูปภพ….. 
- 
-21.    สัญญาภพ…..อสัญญาภพ….เนวสัญญานาสัญญาภพ….. 
- 
-22.    เอกโวการภพ…..จตุโวการภพ…..ปัญจโวการภพ….. 
- 
-23.    ปฐมฌาน ​ ฯลฯ ​ จตุตถฌาน….. 
- 
-24.    เมตตาเจโตวิมุตติ ​ ฯลฯ ​ อุเปกขาเจโตวิมุตติ….. 
- 
-25.    อากาสานัญจายตนะสมาบัติ ​ ฯลฯ ​ เนวสัญญาสัญญายตนะสมาบัติ ​ เป็นสิ่งควรรู้ยิ่ง 
- 
-26.    อวิชชาเป็นสิ่งควรรู้ยิ่ง ​ ฯลฯ ​ ชราและมรณะ ​ เป็นสิ่งควรรู้ยิ่ง" ​ ดังนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 276)''</​fs></​sub>​ 
- 
-สิ่งทั้งปวงที่ควรรู้ยิ่ง ​ ท่านย่นย่อไว้ด้วยไปยาล ​ (คือ ​ ฯเปฯ) ​ ในที่ทุกแห่ง ​ ใน ​ วิสุทธิมรรค ​ นี้ ​ เพราะท่านกล่าวไว้พิสดารอย่างนั้น ​ ใน ​ อภิญญานิทเทส ​ นั้นแล้ว ​ แต่ทว่า ​ เมื่อได้ย่นย่อไว้อย่างนี้แล้ว ​ โลกุตตรธรรมทั้งหลายเหล่าใดมาในพระคัมภีร์วิสุทธิมรรคนี้ ​ ไม่ควรรับเอาธรรมทั้งหลายเข้าไว้ในอธิการนี้ ​ เพราะไม่เข้าถึงสัมมสน ​ (ญาณ) ​ อีกประการหนึ่ง ​ ถึงในบรรดาธรรมทั้งหลายที่เข้าถึงสัมมสนะ ​ (คือการกำหนดรู้) เฉพาะธรรมทั้งหลายที่ปรากฏชัด ​ (และ) ​ ถึงการกำหนดรู้ได้ง่าย ​ โยคีนั้นจึงควรเริ่มกำหนดในธรรมทั้งหลายเหล่านั้น 
- 
-ในสัมมสนะนั้น ​ มีการประกอบวิธีปรารภโดยทางขันธ์ ​ ดังนี้ ​ คือ ​ "​รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง….ฯลฯ ​ โยคีกำหนดรูปทั้งปวงโดยความไม่เที่ยง ​ เป็นสัมมสนะ ​ 1…..โดยความเป็นทุกข์ ​ เป็นสัมมสนะ 1….โดยความไม่มีอัตตา ​ เป็นสัมมสนะ 1" ​ พระภิกษุนี้ ​ ครั้นกำหนดรูปหมด ​ แม้ทุกชนิดซึ่งมิได้ชี้ตายตัวลงไปอย่างนี้ว่า ​ "​รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง" ​ โดยโอกาสทั้ง ​ 11  คือ ​ (จำแนก) ​ โดยหมวด 3  (แห่งกาลมี) ​ อดีต ​ (เป็นต้น) ​ และ ​ โดยหมวด 2  (แห่งรูปมี) ​ รูปภายในเป็นต้น ​ อีก 4  หมวดด้วย ​ โดยอาการเพียงนี้ ​ แล้วกำหนดรู้ทั้งปวงโดยความไม่เที่ยง ​ ชื่อว่า ​ กำหนดรู้ว่า ​ "​อนิจจะ"​ 
- 
-(ถาม) ​ กำหนดรู้ว่า ​ "​อนิจจะ" ​ อย่างไร ? 
- 
-(ตอบ) ​ กำหนดรู้ ​ "​อนิจจะ" ​ โดยนัยดังกล่าวไว้ข้างหน้านั่นแล ​ เพราะท่านกล่าวไว้แล้วว่า ​ "​รูปทั้งที่เป็นอดีต ​ อนาคตและปัจจุบัน ​ ชื่อว่าไม่เที่ยง ​ โดยความหมายว่าสิ้นไป" ​ ดังนี้ ​ เพราะฉะนั้น ​ พระภิกษุนี้จึงกำหนดรู้ว่า ​ "​รูปใดเป็นอดีต ​ รูปนั้นสิ้นไปแล้วในอดีตนั่นแลไม่มาถึงภพนี้ ​ เพราะเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยง ​ โดยความว่าสิ้นไป ​ รูปใดเป็นอนาคตจักเกิดขึ้นในภพเป็นลำดับไป ​ ถึงแม้ว่ารูปนั้นก็จักสิ้นไปในภพนั้นนั่นเอง ​ จักไม่จากภพนั้นไปสู่ภพอื่นเพราะเหตุนี้ ​ จึงเป็นของไม่เที่ยง ​ โดยความหมายว่าสิ้นไป ​ รูปใดเป็นปัจจุบัน ​ ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปในภพนี้นี่เอง ​ ไม่ไปจากภพนี้ ​ เพราะเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยง ​ โดยความหมายว่าสิ้นไป ​ รูปใดเป็นภายใน ​ ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไปภายในนั่นเอง ​ ไม่ไปถึงภายนอก ​ เพราะเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยงโดยความหมายว่าสิ้นไป ​ รูปใดเป็นภายนอก…..หยาบ…..ละเอียด…..เลว….. 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 277)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ประณีต…..อยู่ ​ ณ  ที่ใกล้ ​ ถึงแม้รูปนั้นก็สิ้นไป ​ ณ  ที่ใกล้นั่นเอง ​ ไม่ไปถึงความเป็นที่ไกล ​ เพราะเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยง ​ โดยความหมายว่าสิ้นไป" ​ ดังนี้ ​ การกำหนดรู้แม้ทั้งหมดนี้เป็นสัมมสนะ 1  ตามคำที่ว่า ​ "​เป็นของไม่เที่ยง ​ โดยความหมายว่าสิ้นไป" ​ ดังนี้ ​ แต่ทว่าโดยประเภท ​ เป็นสัมมสนะ 11  อย่าง ​ และรูปทั้งหมดนี้นั่นแล ​ ชื่อว่าเป็นทุกข์ ​ โดยความหมายว่าเป็นสิ่งที่พึงกลัว ​ ที่ว่า ​ "​โดยความหมายว่าเป็นสิ่งพึงกลัว" ​ หมายความว่า ​ เพราะมีภัยประจัญหน้าอยู่ ​ แน่ละ ​ สิ่งใดไม่เที่ยง ​ สิ่งนั้นก็เป็นของนำเอาความน่ากลัวมา ​ ดุจการนำเอาความน่ากลัวมาแก่เทวดาทั้งหลายในสีโหปมสูตร ​ ถึงแม้การกำหนดรู้ด้วยประการฉะนี้ ​ ก็เป็นสัมมสนะ 1  ตามคำที่ว่า ​ "​ชื่อว่าเป็นทุกข์ ​ โดยความหมายว่าเป็นสิ่งพึงกลัว" ​ ดังนี้ ​ แต่ทว่าโดยประเภทก็เป็นสัมมสนะ 11  อย่าง ​ อนึ่ง ​ รูปทั้งปวงชื่อว่าเป็นทุกข์ ​ ฉันใด ​ รูปแม้ทั้งหมดนั้นหามีอัตตาไม่ ​ โดยความหมายว่าเป็นสิ่งไม่มีแก่นสาร ​ ที่ว่า ​ "​โดยความหมายว่าเป็นสิ่งไม่มีแก่นสาร" ​ หมายความว่า ​ เพราะไม่มีแก่นสาร ​ คือ ​ อัตตาซึ่งเจ้าลัทธิทั้งหลายคิดเห็นกันอย่างนี้ว่า ​ "​(มี) ​ อัตตา ​ (มี) ​ ผู้อยู่เป็นนิตย์ ​ (มี) ​ ผู้สร้าง ​ (มี) ​ ผู้เสวย ​ (มี) ​ ผู้มีอำนาจในตัวเอง" ​ แน่ละ ​ รูปใดไม่เที่ยง ​ รูปนั้นก็เป็นทุกข์ ​ ไม่สามารถห้ามความไม่เที่ยงหรือความเบียดเบียนเฉพาะหน้าด้วยความเกิดขึ้นและความดับไป ​ แม้แต่ของอัตตาได้ ​ แล้วผู้นั้นจะเป็นผู้สร้างเป็นต้นแต่ที่ไหน ?  เพราะฉะนั้น ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า ​ "​ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เพราะว่า ​ ถ้ารูปนี้จักเป็นอัตตาไซร้ ​ รูปนี้ก็ไม่ควรเป็นไปด้วยอาพาธ" ​ ดังนี้ ​ เป็นต้น ​ เพราะเหตุนี้ ​ ถึงแม้การกำหนดรู้ ​ (ดังกล่าว) ​ นี้ก็เป็นสัมมสนะ 1  ตามคำที่ว่า ​ "​เป็นของหามีอัตตาไม่ ​ โดยความหมายว่าเป็นสิ่งไม่มีแก่นสาร" ​ ดังนี้ ​ แต่ทว่าโดยประเภทก็เป็นสัมมสนะ 11  อย่าง'''​ 
- 
-นัย ​ (ในการกำหนดรู้) ​ ในขันธ์ทั้งหลายอื่นมีเวทนาเป็นต้นก็เป็นอย่างนี้ 
- 
-อนึ่ง ​ เพราะรูปใดไม่เที่ยง ​ รูปนั้นก็แตกต่างกันออกไป ​ โดยเป็นรูปที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้นเป็นต้น ​ โดยนิยม ​ เพราะฉะนั้น ​ เพื่อแสดงปริยายของความไม่เที่ยงนั้น ​ หรือเพื่อแสดงถึงวิธีมนสิการซึ่งดำเนินไปโดยอาการต่าง ๆ  ท่านจึงกล่าวพระบาลีไว้อีก ​ (แปความ) ​ ว่า ​ "​(รูป) ​ ทั้งอดีต ​ อนาคตและปัจจุบัน ​ ไม่เที่ยง ​ อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ​ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ​ มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ​ มีปราศจากราคะไปเป็นธรรมดา ​ มีความดับไปเป็นธรรมดา" ​ ดังนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 278)''</​fs></​sub>​ 
- 
-นัยในขันธ์ทั้งหลายอื่นมีเวทนาเป็นต้น ​ ก็เช่นเดียวกันนี้ 
- 
-===อนุปัสสนาขันธ์ 5  โดยอาการ 40=== 
- 
-เพื่อมุ่งหมายให้การกำหนดรู้ ​ (คือสัมมสนญาณ) ​ โดยความไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ และไม่มีอัตตา ​ ในขันธ์ 5  (ตามที่กล่าวมา) ​ นั้นนั่นแล ​ มีความมั่นคง ​ โยคาวจรนั้นจึงกำหนดรู้ขันธ์ 5  ทั้งหลายเหล่านี้ด้วยการกำหนดรู้โดยความไม่เที่ยงเป็นต้นแม้นั้น ​ โดยประเภท ​ ซึ่งกล่าวไว้ในวิภังค์แห่งพระบาลีนี้ ​ (แปความ) ​ ว่า ​ "​พระภิกษุได้เฉพาะซึ่งขันติ ​ (ญาณ) ​ อันเป็นอนุโลม ​ โดยอาการ 40  อย่างไรบ้าง ?  (พระภิกษุ) ​ ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ​ โดยอาการ 40  อย่างไรบ้าง" ​ ดังนี้ 
- 
-พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงจำแนกอนุโลมญาณ ​ (นั้น) ​ ได้ตรัสไว้แล้วโดยนัยเป็นต้นว่า ​ "​พระภิกษุเมื่อเห็นขันธ์ 5  โดยอาการ 40  ดังนี้ ​ คือ 
- 
-1.    อนิจจโต ​   โดยความไม่เที่ยง 
- 
-2.    ทุกขโต ​   โดยความเป็นทุกข์ 
- 
-3.    โรคโต ​   โดยเป็นโรค 
- 
-4.    คัณฑโต ​   โดยเป็นฝี 
- 
-5.    สัลลโต ​   โดยเป็นลูกศรเสียบ 
- 
-6.    อฆโต ​       โดยความชั่วร้าย 
- 
-7.    อาพาธโต ​   โดยความป่วยไข้ 
- 
-8.    ปรโต ​       โดยเป็นปรปักษ์ 
- 
-9.    ปโลกโต ​   โดยแตกทำลาย 
- 
-10.    อีติโต ​       โดยความหายนะ 
- 
-11.    อุปัททวโต ​   โดยเป็นอุปัทวะ 
- 
-12.    ภยโต ​       โดยเป็นภัย 
- 
-13.    อุปสัคคโต ​   โดยเป็นอุปสรรค 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 279)''</​fs></​sub>​ 
- 
-14.    จลโต ​       โดยความหวั่นไหว 
- 
-15.    ปภังคุโต ​   โดยผุพัง 
- 
-16.    อัทธุวโต ​   โดยไม่ยั่งยืน 
- 
-17.    อตาณโต ​   โดยไม่เป็นที่ต้านทาน 
- 
-18.    อเลณโต ​   โดยไม่เป็นที่หลบลี้ 
- 
-19.    อสรณโต ​   โดยไม่เป็นที่พึ่ง 
- 
-20.    ริตตโต ​   โดยเป็นของเปล่า 
- 
-21.    ตุจฉโต ​   โดยเป็นของว่าง 
- 
-22.    สุญญโต ​   โดยเป็นของสูญ 
- 
-23.    อนัตตโต ​   โดยไม่มีอัตตา 
- 
-24.    อาทีนวโต ​   โดยเป็นโทษ 
- 
-25.    วิปริณามธัมมโต ​   โดยมีความแปรผันไปเป็นธรรมดา 
- 
-26.    อสารกโต ​   โดยไม่มีสาระ 
- 
-27.    อฆมูลโต ​   โดยเป็นต้นเหตุแห่งความชั่วร้าย 
- 
-28.    วธกโต ​   โดยเป็นผู้ฆ่า ​ (ฆาตกร) 
- 
-29.    วิภวโต ​   โดยปราศจากความเจริญ 
- 
-30.    สาสวโต ​   โดยมีอาสวะ 
- 
-31.    สังขตโต ​   โดยเป็นของถูกปรุงแต่งไว้ 
- 
-32.    มารามิสโต ​   โดยเป็นเหยื่อล่อของมาร 
- 
-33.    ชาติธัมมโต ​   โดยมีความเกิดเป็นธรรมดา 
- 
-34.    ชราธัมมโต ​   โดยมีความแก่เป็นธรรมดา 
- 
-35.    พยาธิธัมมโต ​   โดยมีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา 
- 
-36.    มรณธัมมโต ​   โดยมีความตายเป็นธรรมดา 
- 
-37.    โสกธัมมโต ​   โดยมีความโศกเป็นธรรมดา 
- 
-38.    ปริเทวธัมมโต ​   โดยมีความคร่ำครวญเป็นธรรมดา 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 280)''</​fs></​sub>​ 
- 
-39.    อุปายาสธัมมโต ​   โดยมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา 
- 
-40.    สังกิเลสิกธัมมโต ​   โดยมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา"​ 
- 
-เมื่อเห็นขันธ์ 5  โดยความไม่เที่ยง ​ ก็ได้เฉพาะซึ่งขันติ ​ (ญาณ) ​ อันเป็นอนุโลม ​ (แก่การบรรลุอริยมรรค) ​ เมื่อเห็นว่า ​ "​ความดับของขันธ์ 5  เป็นพระนิพานเที่ยงแท้ ​ ก็ก้าวลงสู่ ​ สัมมัตตนิยาม ​ (คือ ​ อริยมรรค)" ​ ดังนี้ 
- 
-'''​อธิบายความอาการ 40'''​ 
- 
-โยคีผู้นั้นกำหนดรู้ขันธ์ 5  เหล่านี้อย่างไร ? 
- 
-แน่ละ ​ โยคีผู้นั้นกำหนดรู้ขันธ์หนึ่ง ๆ  (แต่ละขันธ์ ​ ขยายความออกไป) ​ ด้วยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ​ (ความไม่เที่ยง) ​ เป็นต้น ​ ซึ่งท่านกล่าวไว้แล้วโดยประเภท ​ (ต่าง ๆ)  อย่างนี้คือ 
- 
-1.    โดยไม่เที่ยง ​   เพราะไม่เป็นไปเลยที่สุด ​ และเพราะมีต้นมีปลาย 
- 
-2.    โดยเป็นทุกข์ ​   เพราะบีบคั้นเฉพาะหน้าด้วยความเกิดและความดับ และเพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ 
- 
-3.    โดยเป็นโรค ​   เพราะต้องเยียวยาด้วยปัจจัยและเพราะเป็นที่เกิดของโรค 
- 
-4.    โดยเป็นฝี ​   เพราะประกอบด้วยสิ่งเสียบแทงคือความเป็นทุกข์ ​ เพราะเป็นที่ไหลออกของสิ่งไม่สะอาดคือกิเลส ​ และเพราะมีการกลัดหนองและสุกแก่แล้วแตกไป ​ ด้วยความเกิด ​ ความแก่ ​ และความแตกดับ 
- 
-5.    โดยเป็นลูกศรเสียบ ​   เพราะให้เกิดความบีบคั้น ​ เพราะเป็นสิ่งทิ่มแทงอยู่ภายในและเพราะเป็นสิ่งที่ถอนออกได้ยาก 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 281)''</​fs></​sub>​ 
- 
-6.    โดยความชั่วร้าย ​   เพราะเป็นสิ่งควรตำหนิติเตียน ​ เพราะนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย ​ และเพราะเป็นที่ตั้งของความชั่วร้าย 
- 
-7.    โดยความป่วยไข้ ​   เพราะไม่ทำให้เกิดเสรีภาพ ​ และเพราะเป็นปทัฏฐาน ​ ของความเจ็บป่วย 
- 
-8.    โดยเป็นปรปักษ์ ​   เพราะไม่มีอำนาจ ​ (บังคับบัญชา) ​ และเพราะบังคับบัญชาไม่ได้ 
- 
-9.    โดยแตกทำลาย ​   เพราะแตกทำลายไปด้วยพยาธิ ​ ชราและมรณะ 
- 
-10.    โดยความหายนะ ​   เพราะนำมาซึ่งความพินาศมากมาย 
- 
-11.    โดยเป็นอุปัทวะ ​   เพราะนำมาซึ่งสิ่งไม่เป็นประโยชน์ที่รู้ไม่ได้เลยอย่างมากมายและเพราะเป็นที่ตั้งของอุปัทวันตรายทั้งปวงด้วย 
- 
-12.    โดยเป็นภัย ​   เพราะเป็นที่เกิดของภัยทุกประการ ​ และเพราะเป็น ​ ปฏิปักษ์ต่อความอบอุ่นใจอย่างสูงสุด ​ กล่าวคือ ​ ความระงับทุกข์ 
- 
-13.    โดยเป็นอุปสรรค ​   เพราะติดตามมาด้วยสิ่งไม่เป็นประโยชน์หลายประการ ​ เพราะประกอบด้วยโทษและเพราะไม่นำมาซึ่งความอดกลั้น ​ คล้ายเป็นอุปสรรค 
- 
-14.    โดยความหวั่นไหว ​   เพราะหวั่นไหวด้วยพยาธิ ​ ชราและมรณะกับทั้งหวั่นไหวด้วยโลกธรรมทั้งหลาย ​ มีความมีลาภและ ​ ความเสื่อมลาภเป็นต้น 
- 
-15.    โดยผุพัง ​   เพราะมีปกติเข้าถึงความผุพังไป ด้วยความพยายามและโดยสภาพของมันเอง 
- 
-16.    โดยไม่ยั่งยืน ​    ​เพราะมีปกติร่วงหล่นไปในที่ตั้งทุกแห่ง ​  ​และเพราะไม่มีความมั่นคง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 282)''</​fs></​sub>​ 
- 
-17.    โดยไม่เป็นที่ต้านทาน ​   เพราะไม่เป็นที่ต่อต้านคุ้มครอง ​ และเพราะไม่ได้ความปลอดภัยที่ควรได้ 
- 
-18.    โดยไม่เป็นที่หลบลี้ ​   เพราะไม่เป็นที่สมควรที่หลบลี้ ​ กับทั้งเพราะผู้หลบลี้ทั้งหลายทำกิจในการหลบลี้ไม่ได้ 
- 
-19.    โดยไม่เป็นที่พึ่ง ​   เพราะไม่มีความจำกัดภัยแก่ผู้อยู่อาศัย 
- 
-20.    โดยเป็นของเปล่า ​   เพราะว่างเปล่าจากความยั่งยืน ​ ความงามความสุข ​ และความมีอัตตา ​ ตามกำหนดคาดคะเนไว้ 
- 
-21.    โดยเป็นของว่าง ​   เพราะโดยเป็นของเปล่านั่นเอง ​ หรือเพราะความเป็นของเล็กน้อย ​ เพราะว่า ​ แม้ของเล็กน้อยในโลก ​ เขาเรียกกันว่า ​ ของว่าง 
- 
-22.    โดยเป็นของสูญ ​   เพราะปราศจาก ​ (อัตตา) ​ ผู้เป็นเจ้าของ ​ ผู้อยู่ประจำ ​ ผู้สร้าง ​ ผู้เสวยและผู้บงการ 
- 
-23.    โดยไม่มีอัตตา ​   เพราะไม่มีผู้เป็นเจ้าของด้วยตนเองเป็นต้น 
- 
-24.    โดยเป็นโทษ ​   เพราะเป็นทุกข์ด้วยความเป็นไป ​ (ในภพคือสังสารวัฏ) ​ และเพราะความทุกข์ ​ (นั่นเอง) ​ เป็นโทษ ​ อีกประการหนึ่ง ​ ชื่อว่าอาทีนวะ เพราะอรรถว่าผู้ไป ​ ผู้ถึง ​ ผู้เป็นไป ​ สู่ความยากจน ​ คำว่า ​ "​อาทีนวะ" ​ นี้เป็นคำเรียกคนยากจน และแม้ว่าขันธ์ (5)  ก็เป็นสิ่งยากจนเหมือนกัน ​            ​เพราะเหตุนี้ ​ (โยคีจึงกำหนดรู้) ​ โดยความยากจน ​ เพราะเป็นเช่นกับคนยากจน 
- 
-25.    โดยมีความปรานแปรอยู่เป็นธรรมดา เพราะมีปกติแปรผันไป 2  ทาง ​ คือ ​ ด้วยชรา 1  และด้วยมรณะ 1 
- 
-26.    โดยไม่มีสาระ ​   เพราะมีความอ่อนแอ ​ และเพราะหักง่ายเหมือนไม้ผุ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 283)''</​fs></​sub>​ 
- 
-27.    โดยเป็นต้นเหตุแห่งความชั่วร้าย เพราะเป็นเหตุแห่งความชั่วร้าย 
- 
-28.    โดยเป็นผู้ฆ่า ​ (ฆาตกร) ​   เพราะเป็นผู้ฆ่าความไว้วางใจเหมือนศัตรู ผู้มีหน้าเป็นมิตร 
- 
-29.    โดยปราศจากความเจริญ ​   เพราะปราศจากความเจริญ ​ และเพราะให้เกิดความไม่เจริญ 
- 
-30.    โดยมีอาสวะ ​   เพราะเป็นฐานไปสู่อาสวะ 
- 
-31.    โดยเป็นของถูกปรุงแต่งไว้ ​   เพราะเป็นสิ่งที่เหตุและปัจจัยปรุงแต่งขึ้น 
- 
-32.    โดยเป็นเหยื่อล่อของมาร ​   เพราะเป็นเหยื่อล่อของมัจจุมารและกิเลสมาร 
- 
-33–36. ​   โดยมีความเกิด ​ ความแก่ ​ ความเจ็บป่วยและความตายเป็นธรรมดา เพราะมีความเกิด ​ แก่ ​ เจ็บป่วยและตายเป็นปกติ 
- 
-37–39. ​   โดยมีความโศก ​ ความคร่ำครวญ ​ และความคับแค้นใจเป็นธรรมดา เพราะเป็นเหตุแห่งความโศกเศร้า ​ ความคร่ำครวญและความคับแค้นใจ ​   ​ 
- 
-40.    โดยมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เพราะเป็นธรรมที่เป็นที่วิสัย ​ (หรืออารมณ์) ​  ​ของสังกิเลส ​ คือ ​ ตัณหา ​ ทิฏฐิและทุจริตทั้งหลาย 
- 
-'''​[สงเคราะห์สัมมสนะ 40  ลงในอนุปัสสนา 3]'''​ 
- 
-แท้จริง ​ ในการกำหนดรู้ ​ (คือสัมมสนะ) ​ โดยอาการ 40  (ที่กล่าวมา) ​ นี้ ​ การกำหนดรู้โดยอาการ ​ (10  ขยายต่อไปอีก) ​ คือ 
- 
-# โดยความไม่เที่ยง 
- 
-# โดยแตกทำลาย 
- 
-# โดยความหวั่นไหว 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 284)''</​fs></​sub>​ 
- 
-# โดยผุพัง 
- 
-# โดยไม่ยั่งยืน 
- 
-# โดยความแปรผันไปเป็นธรรมดา 
- 
-# โดยไม่มีสาระ 
- 
-# โดยปราศจากความเจริญ 
- 
-# โดยเป็นของถูกปรุงแต่งไว้ 
- 
-# โดยมีความตายเป็นธรรมดา 
- 
-ในขันธ์หนึ่ง ๆ  (แต่ละขันธ์) ​ ทำเป็นอาการละ 10  (รวมทั้ง 5  ขันธ์) ​ เป็นอนิจจานุปัสสนา 50  การกำหนดรู้โดยอาการ (5  ต่อไปอีก) ​ คือ 
- 
-# โดยเป็นปรปักษ์ 
- 
-# โดยเป็นของเปล่า 
- 
-# โดยเป็นของว่าง 
- 
-# โดยเป็นของสูญ 
- 
-# โดยไม่มีอัตตา 
- 
-ในขันธ์หนึ่ง ๆ  (แต่ละขันธ์) ​ ทำเป็นอาการละ 5  (รวม 5  ขันธ์) ​ เป็นอนัตตานุปัสสนา 25 
- 
-การกำหนดรู้ที่เหลือ ​ (อีก 25  อาการ) ​ กล่าวคือ ​ โดยเป็นทุกข์ ​ โดยเป็นโร5 ​ เป็นต้น ​ ในขันธ์หนึ่งๆ ​ (แต่ละขันธ์) ​ ทำเป็นอาการละ 25  (รวม 5  ขันธ์) ​ เป็นทุกขานุปัสสนา ย25  ด้วยประการฉะนี้ ​ (รวมทั้ง 3  อนุปัสสนา ​ เป็น ​ 200  อาการ) 
- 
-เมื่อโยคีนั้นกำหนดรู้ขันธ์ 5  ด้วยการกำหนดรู้โดยไตรลักษณ์มีความไม่เที่ยงเป็นต้น ​ โดยจำแนกเป็น 200  อาการดังกล่าวมานี้ ​ สัมมสนะ ​ (คือการกำหนดรู้) ​ โดยอนิจจัง ​ ทุกขัง ​ และอนัตตา ​ ที่เรียกว่า ​ นยวิปัสสนา ​ นั้น ​ ก็มั่นคงด้วยประการฉะนี้ 
- 
-นี้เป็นวิธีเริ่มต้นกำหนดรู้โดยดำเนินตามนัยพระบาลีในสัมมสนญาณนี้ก่อน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 285)''</​fs></​sub>​ 
- 
-===ทำอินทรีย์ให้แก่กล้าด้วยอาการ 9=== 
- 
-แต่ทว่า ​ โยคีผู้ใดเมื่อทำโยคะโดย ​ นยวิปัสสนา ​ ดังกล่าวมานั้น ​ นยวิปัสสนา ​ ไม่ถึงพร้อม ​ (คืออุทยพยญาณยังไม่เกิด) ​ โยคีผู้นั้นพึงทำอินทรีย์ (5  มีศรัทธาเป็นต้น) ​ ให้แกกล้าด้วยอาการ 9  อย่าง ​ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ​ "​อินทรีย์ทั้งหลาย ​ (มีศรัทธาเป็นต้น) ​ จะแก่กล้าด้วยอาการ 9  คือ 
- 
-1.    เห็นแต่ความดับอย่างเดียวของสังขารทั้งหลาย ​ ที่เกิดขึ้นแล้ว ​ เกิดขึ้นแล้ว 
- 
-2.    และในการเห็นความดับนั้น ​ โยคีจะทำวิปัสสนาญาณให้ถึงพร้อม ​ (ให้เกิด) ​ ด้วยอาการทำด้วยความมีสติ 
- 
-3.    ทำวิปัสสนาญาณให้ถึงพร้อมด้วยการทำให้ต่อเนื่องกันไว้ 
- 
-4.    ทำวิปัสสนาญาณให้ถึงพร้อมด้วยการทำ ​ (ในการเสพ) ​ สัปปายะ 
- 
-5.    ทำวิปัสสนาญาณให้ถึงพร้อมด้วยการกำหนดนิมิตของสมาธิ 
- 
-6.    ทำวิปัสสนาญาณให้ถึงพร้อมด้วยการดำเนินไปโดยความเหมาะสมของโพชฌงค์7 
- 
-7.    ทำความไม่อาลัยในร่างกายและชีวิตให้เกิดขึ้น 
- 
-8.    ในการไม่อาลัยในร่างกายและชีวิตนั้นโยคีจะทำให้เกิดวิปัสสนาภาวนาด้วยการข่มไว้ ​ (ซึ่งทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นๆ) ​ แล้วผ่านพ้น ​ (ทุกขเวทนานั้นๆ)ออกไป 
- 
-9.    และด้วยการไม่ละเลิก ​ (หรือหยุดพัก) ​ เสียในระหว่าง 
- 
-แล้ว ​ (โยคีนั้น) ​ พึงหลีกเลี่ยงอาสัปปายะ ​ (คือสิ่งไม่เป็นที่สบาย) 7  อย่าง ​ ตามนัยที่กล่าวไว้แล้วใน ​ ปฐวีกสิณนิทเทส ​ (ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค) ​ ทำสัมมสนะรูปในเวลาหนึ่ง ทำสัมมสนะอรูป ​ ในเวลาหนึ่ง ​ (คนละเวลา ​ ไม่ควรกำหนดรู้ด้วยกันในเวลาเดียวกัน) 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 286)''</​fs></​sub>​ 
- 
-====วิธีเห็นนิพพัตติของรูป==== 
-'''​การณะ 4'''​ 
- 
-โยคีย่อม[[สัมมสนะ]][[รูป]]ว่า:​ รูปย่อม[[นิพพัตติ]]ด้วยการณะ(เหตุ) 4 มีกรรมเป็นต้น. ในเหตุ 4 อย่างนั้น รูปของสัตว์ทั้งปวงย่อมนิพพัตติด้วย[[กรรม]]ตั้งแต่'''​จิตดวงที่ 1'''​ คือ: 
- 
-ในขณะเกิด[[ปฏิสนธิจิต]]นั่นเอง รูป 30  ที่เรียกว่า ​ [[กลาป#​วัตถุทสกะ|วัตถุทสกะ]] (10), [[กลาป#​กายทสกะ|กายทสกะ]] (10),  และ[[กลาป#​ภาวทสกะ|ภาวทสกะ]] (10) ของ[[คัพภเสยยกสัตว์]]ย่อมนิพพัตติพร้อมกันทั้ง 3 ทสกะ ​ และพวกมันย่อมนิพพัตติตั้งแต่อุปปาท[[ขณะ#​อนุขณะ|อนุขณะ]]ของปฏิสนธิจิต. ในฐิติขณะและภังคขณะก็เกิดจากกรรมเหมือนในอุปาทขณะนั้นเอง. ใน[[ขณะ#​อนุขณะ|อนุขณะ]]เป็นต้นนั้น ​ รูปดับช้าแปรเปลี่ยนยาก ​ จิตดับเร็วแปรเปลี่ยนง่าย. ​ เพราะฉะนั้น ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า ​ "​ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เราไม่เห็นสิ่งอื่นใดแม้แต่อย่างเดียวที่แปรเปลี่ยนง่ายเหมือนดังจิตนี้" ​ เพราะว่า (หลังปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว) ในขณะที่ปฏิสนธิรูปยังนิพพัตติต่อไป แต่ภวังคจิตกลับ[[อุปปันนะ]]แล้วดับไปถึง 16  ครั้ง ([[ปฏิสนธิจิต]] 1 [[ภวังคจิต]] 16 รวมอายุรูป 17 ขณะจิต). ​ อุปปาทขณะ,​ ฐิติขณะ,​ ภังคขณะของจิต ล้วนเท่ากัน. ​ แต่เฉพาะอุปปาทขณะและภังคขณะของรูปที่สั้นเท่ากับอุปปาทขณะและภังคขณะของจิต. ​ ส่วนฐิติขณะของรูปนั้นยาว ​ คือ ดำเนินไปตลอดเวลาเท่ากับจิตที่อุปปันนะแล้วดับไป 16  ดวง (แต่มาหยุดดำเนินไปพร้อมๆกับจิตดวงที่ 17).  ​ 
- 
-(หลังปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว) '''​จิตดวงที่ 2'''​ คือ ภวังคจิตย่อมอุปปันนะโดยอาศัย[[รูป 28#​วัตถุรูป|วัตถุรูป]]เป็น[[ปัจจัย 24#​ปุเรชาตปัจจัย|ปุเรชาตปัจจัย]] วัตถุรูปนี้ยังเป็นฐิติขณะอยู่แม้อุปปันนะมาตั้งแต่อุปปาทขณะของปฏิสนธิจิตแล้วก็ตาม. จิตดวงที่ 3 คือ ภวังคจิตย่อมอุปปันนะโดยอาศัยวัตถุรูปเป็นปุเรชาตปัจจัย วัตถุรูปนี้ยังเป็นฐิติขณะอยู่แม้อุปปันนะพร้อมจิตดวงที่ 2  นั้น. ​ โยคีต้องทำความเข้าใจการทำงานของจิตตลอดอายุขัยด้วยนัยข้างต้นดังกล่าวมานี้. แต่ทว่า ​ สำหรับมรณาสันนวาระ ​ จิต ​ 16  ดวงย่อมอุปปันนะโดยอาศัยวัตถุรูปเดียวกันนั้นแลที่ยังเป็นฐิติขณะอยู่เป็นปุเรชาตปัจจัย (วัตถุในที่นี้ไม่ใช่แค่หทยวัตถุ แต่หมายถึงวัตถุรูปทั้ง 6 ตามสมควร).  ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 287)''</​fs></​sub>​ 
- 
-รูปที่อุปปันนะตั้งแต่อุปปาทขณะของปฏิสนธิจิต ดับพร้อมกับจิตดวงที่ 16  เริ่มนับดวงถัดจากปฏิสนธิจิต. ​ รูปที่อุปปันนะตั้งแต่ฐิติขณะของปฏิสนธิจิต ​  ​ดับพร้อมกับอุปปาทขณะของจิตดวงที่ 17 เริ่มนับดวงถัดจากปฏิสนธิจิต. ​ รูปที่อุปปันนะตั้งแต่ภังคขณะของปฏิสนธิจิต เมื่อถึงฐิติขณะของจิตดวงที่ 17  ก็ดับไป. ​ ตราบเท่าที่ยังเป็นคัพภเสยยกสัตว์อยู่,​ มันก็ย่อมดำเนินไปอย่างนี้เท่านั้น. 
- 
-อนึ่ง รูป 70  ที่เกิดพร้อมกันทั้ง ​ 7  ทสกะของโอปปาติกะสัตว์ก็ดำเนินไปอย่างนั้นเช่นกัน. (ดู: [[วิสุทธิมรรค_ฉบับปรับสำนวน_ปริจเฉท_17_ปัญญาภูมินิทเทส#​สังขารเป็นปัจจัยแห่งวิญญาณ|สังขารเป็นปัจจัยแห่งวิญญาณ]]) 
- 
-'''​[การจำแนกเกิดจากกรรม]'''​ 
- 
-ในเรื่องรูปที่เป็นไปอาศัยกรรมนั้น โยคีต้องทำความเข้าใจการจำแนก คือ 
- 
-1.    กรรม 
- 
-2.    กัมมสมุฏฐาน ​   (ธรรมมีกรรมเป็นปัจจัยแบบชนกสัตติ) 
- 
-3.    กัมมปัจจัย ​     (ธรรมมีกรรมเป็นปัจจัยแบบอุปัตถัมภกสัตติ) 
- 
-4.    กัมมปัจจยจิตตสมุฏฐาน ​   (ธรรมมีจิตเป็นปัจจัยแบบชนกสัตติแต่มี) 
- 
-5.    กัมมปัจจยอาหารสมุฏฐาน ​   คือ ​ ธรรมที่มีกัมมชโอชารูปเป็นสมุฏฐาน 
- 
-6.    กัมมปัจจยอุตุสมฏฐาน ​   คือ ​ รูปที่มีกัมมชเตโชรูปเป็นสมุฏฐาน 
- 
-ในวิภาคนั้น 
- 
-1.    กุศลและอกุศลเจตนา ​ ชื่อว่า ​ กรรม 
- 
-2.    วิปากนามขันธ์ทั้งหลายและรูปขันธ์ 70  ถ้วนมีจักขุทสกะเป็นต้น ​ ชื่อว่า ​ ธรรมที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน. 
- 
-3.    วิปากขันธ์และรูป 70  นั้นนั่นแหละ ​ ชื่อว่า ​ ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย ​ เพราะว่า ​ 
- 
-กรรมเป็นอุปัตถัมภกปัจจัยของธรรมที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานด้วย 
- 
-4.    รูปมีนามวิปากจิตเป็นสมุฏฐาน ​ ชื่อว่ารูปเป็น ​ กัมมปัจจยจิตตสมุฏฐาน 
- 
-5.    โอชา ​ ที่ถึงความตั้งอยู่ในรูปที่เป็นกัมมสมุฏฐาน ​ ทำโอชัฏฐมก 
- 
-รูปอื่นให้ตั้งขึ้นอีก ​ อีกทั้งโอชาในโอชัฏฐมกรูป (ซึ่งเป็นกัมมสมุฏฐานและเป็น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 288)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อาหารสมุฏฐาน) นั้น ​ ที่ถึงความตั้งอยู่แล้ว ​ ก็ทำให้โอชัฏฐมกรูปอื่นตั้ง 
- 
-ขึ้นสืบต่อความเป็นไป 4  หรือ 5  วาระอย่างนี้ ​ ด้วยประการฉะนี้ ​ ชื่อว่า  ​ 
- 
-กัมมปัจจยอาหารสมุฏฐาน 
- 
-6.    เตโชธาตุเกิดจากกรรมที่ถึงความตั้งอยู่แล้ว ​ ทำให้โอชัฏฐมกรูปซึ่งมีฤดู 
- 
-เป็นสมุฏฐานให้ตั้งขึ้น ​ อีกทั้งฤดูในโอชัฏฐมกรูปนั้น ​ ก็ทำให้โอชัฏฐมกรูป 
- 
-อื่นให้ตั้งขึ้น ​ สืบต่อความเป็นไป 4  หรือ 5  วาระอย่างนี้ ​ ด้วยประการ 
- 
-นี้ ​ ชื่อว่า กัมมปัจจยอุตุสมุฏฐาน 
- 
-พึงเห็นความเกิดขึ้นของรูปที่เกิดจากกรรมด้วยประการดังกล่าวนี้ก่อน 
- 
-'''​[การจำแนกรูปเกิดจากจิต]'''​ 
- 
-แม้ในรูปเกิดจากจิตทั้งหลาย ​ ก็พึงทราบวิภาคดังนี้ ​ คือ 
- 
-1.    จิต 
- 
-2.    จิตตสมุฏฐาน ​   คือ ​ ธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน 
- 
-3.    จิตตปัจจัย ​   คือ ​   ธรรมที่มีจิตเป็นปัจจัย 
- 
-4.    จิตตปัจจยอาหารสมุฏฐาน ​   คือ ​ ธรรมที่มีจิตตปัจจยอาหารรูปเป็นสมุฏฐาน 
- 
-5.    จิตตปัจจยอุตุสมุฏฐาน ​    ​คือ ​ ธรรมที่มีจิตตปัจจยเตชรูปเป็นสมุฏฐาน 
- 
-ในวิภาคนั้น 
- 
-1.    จิต 89  ดวง ​ ชื่อว่า ​ จิต ​ (และ) ​ ในจิตทั้งหลาย 89  ดวงนั้น ​ (จำแนกไว้ดังนี้) 
- 
-<​blockquote>​ทวตตึส ​ จิตตานิ ​ ฉพพีเส –กูนวีสติ ​ โสฬส 
- 
-รูปิริยาปถวิญญตติ -    ชนกาชนกา ​ มตา. 
- 
-'''​แปลความว่า'''​ 
- 
-จิต 32  ดวง ​ (พวกหนึ่ง) ​ จิต 26  ดวง ​ (พวกหนึ่ง) ​ จิต 19  ดวง ​ (พวกหนึ่ง) จิต 16  ดวง ​ (พวกหนึ่ง) ​ ปรากฏว่า ​ เป็นจิตที่ทำรูป ​ ทำอิริยาบถและทำวิญญัตติให้เกิดก็มีและ ​ ไม่ทำให้เกิดก็มี</​blockquote>​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 289)''</​fs></​sub>​ 
- 
-จริงอยู่ ​ จากกามาวจรจิต ​ มีจิต 32  ดวง ​ คือ ​ กุศลจิต 8  อกุศลจิต 12  กิริยาจิต 10  เว้นมโนธาตุ ​ อภิญญาจิต 2  โดยกุศล 1  กิริยา 1  (เหล่านี้) ​ ทำรูป ​ อิริยาบถและวิญญัตติให้เกิด ​ (พวกหนึ่ง) ​ จิต 26  ดวง ​ คือ ​ รูปาวจรจิต 10  ที่เหลือ ​ เว้นวิบาก ​ อรูปาวจรจิต 8  อีกทั้งโลกุตตรจิต 8  ทำรูปและอริยาบถให้เกิด ​ (พวกหนึ่ง) ​ จิต 19  ดวง ​ คือภวังคจิต 10  ในกามาวจร ​ ภวังคจิต 5  ในรูปาวจร ​ มโนธาตุ 3  วิปากอเหตุกมโนวิญญาณธาตุเป็นไปกับโสมนัส 1  ทำรูปให้เกิดได้อย่างเดียว ​ ไม่ทำอิริยาบถ ​ ไม่ทำวิญญัตติให้เกิด ​ (พวกหนึ่ง) ​ จิต 16  ดวง ​ คือ ​ ปัญจวิญญาณ 2(5 + 2=10)  ปฏิสนธิจิตของสัตว์ทั้งปวง 1  จุติจิตของพระขีณาสพทั้งหลาย 1  อรูปาวจรวิปากจิต 4  ไม่ทำรูปให้เกิดขึ้นโดยแท้ ​ (และ) ​ ไม่ทำอิริยาบถ ​ ไม่ทำวิญญัตติให้เกิด ​ (พวกหนึ่ง) ​ อนึ่ง ​ ในจิตเหล่านี้ ​ จิตทั้งหลายใดทำให้รูปเกิด ​ จิตทั้งหลายนั้นไม่ทำรูปให้เกิดในฐิติขณะหรือในภวังคขณะ ​ เพราะว่า ​ จิตในขณะ ​ (ทั้ง 2)  นั้น ​ มีกำลังอ่อน ​ แต่ว่าในอุปปาทขณะ ​ จิตมีกำลังแข็งแรง ​ เพราะฉะนั้น ​ จิตนั้นอาศัยวัตถุรูปที่เกิดก่อนในขณะนั้น ​ แล้วทำรูปให้เกิด 
- 
-2.    อรูปขันธ์ 3  และรูป 17  อย่าง ​ คือ ​ สัททนวกะ (9)  กายวิญญัตติ 1  วจีวิญญัตติ 1  อากาสธาตุ 1  ลหุตา 1  มุทุตา 1  กัมมัญญตา 1 อุปจยะ 1  สันตติ 1  ชื่อว่า ​ ธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน 
- 
-3.    รูปทั้ง 4 สมุฏฐาน ​ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ​ "​ธรรมทั้งหลาย ​ คือ ​ จิตและเจตสิกที่เกิดแล้วภายหลัง ​ เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ​ ของกายนี้ที่เกิดก่อน" ​ ดังนี้ ​ ชื่อว่า ​ ธรรมมีจิตเป็นปัจจัย 
- 
-4.    โอชา ​ ที่ถึงตั้งอยู่ในรูปมีจิตเป็นสมุฏฐานทั้งหลาย ​ ทำโอชัฏฐมกรูปอื่นให้ตั้งขึ้น ​ สืบต่อความเป็นไป 2  (หรือ) ​ 3  วาระ ​ โดยอาการอย่างนี้ ​ ชื่อว่า ​ รูปเป็นจิตตปัจจยอาหารสมุฏฐาน 
- 
-5.    ฤดู ​ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ​ ถึงความตั้งอยู่แล้ว ​ ทำโอชัฏฐมกรูปอื่นให้ตั้งขึ้น ​ สืบต่อความเป็นไป 2  (หรือ) ​ 3  วาระ ​ โดยอาการอย่างนี้ ​ ชื่อว่า ​ รูปเป็นจิตตปัจจยอุตุสมุฏฐาน 
- 
-พึงเห็นความเกิดขึ้นของรูปที่เกิดจากจิตด้วยประการดังกล่าวนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 290)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​[การจำแนกรูปเกิดจากอาหาร]'''​ 
- 
-แม้ในรูปเกิดจากอาหารทั้งหลาย ​ ก็พึงทราบวิภาคดังนี้ ​ คือ 
- 
- 
- 
-1.    อาหาร 
- 
-2.    อาหารสมุฏฐาน ​   คือ ​ รูปมีอาหารเป็นสมุฏฐาน 
- 
-3.    อาหารปัจจัย ​   คือ ​ รูปมีอาหารเป็นปัจจัย 
- 
-4.    อาหารปัจจยอาหารสมุฏฐาน ​   คือ ​ รูปมีอาหารซึ่งมีอาหารเป็นปัจจัยเป็น 
- 
-สมุฏฐาน 
- 
-5.    อาหารปัจจยอุตุสมุฏฐาน ​   คือ ​ รูปมีฤดูซึ่งมีอาหารเป็นปัจจัยเป็นสมุฏฐาน 
- 
-ในวิภาคนั้น 
- 
-1.    อาหารที่ทำเป็นคำ(ๆ) ​ ชื่อว่า ​ อาหาร 
- 
-2.    รูป 14  อย่าง ​ คือ ​ โอชัฏฐมกรูปที่โอชาซึ่งได้รูปเกิดจากกรรมมีใจครองเป็นปัจจัยแล้วตั้งอยู่ในรูปเกิดจากกรรมนั้น ​ ถึงความตั้งอยู่แล้ว ​ ทำให้ตั้งขึ้น 8  อากาสธาตุ 1  ลหุตา 1  มุทุตา 1  กัมมัญญตา 1  อุปจยะ 1  สันตติ 1  ชื่อว่ารูปเป็น ​ อาหารสมุฏฐาน 
- 
-3.    รูปมีสมุฏฐาน 4  ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างนี้ว่า ​ "​อาหารที่ทำเป็นคำ ​ เป็นปัจจัย ​ โดยอาหารปัจจัย ​ ของกายนี้" ​ ดังนี้ ​ ชื่อว่ารูปเป็น ​ อาหารปัจจัย 
- 
-4.    โอชา ​ ที่ถึงความตั้งอยู่แล้ว ​ ในรูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานทั้งหลาย ​ ทำโอชัฏฐมกรูปอื่นให้ตั้งขึ้นอีก ​ ทั้งโอชาในโอชัฏฐมกรูปนั้นก็ทำโอชัฏฐมกรูปอื่นให้ตั้งขึ้นอีก ​ สืบต่อความเป็นไป 10  (หรือ) ​ 12  วาระอย่างนี้ ​ ด้วยประการฉะนี้ ​ ชื่อว่ารูปเป็น ​ อาหารปัจจยอาหารสมุฏฐาน ​ (เช่นตัวอย่างต่อไปนี้) 
- 
-อาหารที่บริโภคแล้วในวันหนึ่ง ​ อุปถัมภ์รูปอยู่ได้ทั้ง 7  วัน ​ ส่วนโอชาที่เป็นของทิพย์ ​ อุปถัมภ์รูปอยู่ได้ตลอด 1  เดือน ​ หรือตลอด 2  เดือนบ้าง ​ อีกทั้งอาหารที่มารดาบริโภคก้แผ่ไปสู่ร่างกายทารก ​ (ในครรภ์) ​ แล้วทำรูปให้ตั้งขึ้น ​ ถึงแม้อาหารที่ฉาบทาไว้ที่ร่างกายก็ทำรูปให้ตั้งขึ้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 291)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อาหารเกิดแต่กรรม ​ ชื่อว่าอุปาทินนกาหาร ​ (อาหารของสัตว์ผู้มีใจครอง) ​ แม้อุปาทินนกาหารนั้นที่ถึงมีความตั้งอยู่แล้ว ​ ก็ทำรูปให้ตั้งขึ้น ​ อีกทั้งโอชาในรูปนั้นก็ทำรูปอื่นให้ตั้งขึ้นด้วย ​ สืบต่อความเป็นไป 4  หรือ 5  วาระอย่างนี้ ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-5.    เตโชธาตุ ​ มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ​ ถึงความตั้งอยู่แล้ว ​ ทำโอชัฏฐมกรูปซึ่งมีฤดูเป็นสมุฏฐานให้ตั้งขึ้น ​ ชื่อว่ารูปเป็น ​ อาหารปัจจยอุตุสมุฏฐาน ​ 
- 
-ในสมุฏฐานทั้งหลายนั้น ​ อาหารนี้เป็นปัจจัยเพราะเป็นผู้ทำให้รูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานทั้งหลายเกิดขึ้น ​ เป็นปัจจัยของรูปที่เหลือ ​ (คือรูปมีกรรม ​ มีจิตและมีฤดูเป็นสมุฏฐาน) ​ ทั้งหลาย ​ โดยเป็นนิสสยปัจจัย ​ อาหารปัจจัย ​ อัตถิปัจจัย ​ และอวิคคตปัจจัยด้วยประการฉะนี้ 
- 
-พึงเห็นความเกิดขึ้นของรูปเกิดจากอาหารด้วยประการดังกล่าวนี้ 
- 
-'''​[การจำแนกรูปเกิดจากฤดู]'''​ 
- 
-แม้ในรูปเกิดจากฤดูทั้งหลาย ​ ก็พึงทราบวิภาคดังนี้ ​ คือ 
- 
-1.    อุตุ ​   คือ ​ ฤดู 
- 
-2.    อุตุสมุฏฐาน ​   คือ ​ รูปที่มีฤดูเป็นสมุฏฐาน 
- 
-3.    อุตุปัจจัย ​   คือ ​ รูปมีฤดูเป็นปัจจัย 
- 
-4.    อุตุปัจจยอุตุสมุฏฐาน ​   คือ ​ รูปมีฤดูซึ่งมีฤดูเป็นปัจจัยเป็นสมุฏฐาน 
- 
-5.    อุตุปัจจยอาหารสมุฏฐาน ​   คือ ​ รูปมีอาหารซึ่งมีฤดูเป็นปัจจัยเป็นสมุฏฐานในวิภาคนั้น 
- 
-1.    เตโชธาตุมีสมุฏฐาน 4  ชื่อว่า ​ อุตุ – ฤดู ​ แต่ฤดูนี้มีอยู่ 2  อย่าง ​ ดังนี้ ​ คือ ​ ฤดูร้อน 1  ฤดูหนาว 1 
- 
-2.    ฤดูมีสมุฏฐาน 4  ได้รูปอุปาทินนกะเป็นปัจจัยบแล้ว ​ ถึงความตั้งอยู่ ​ ทำรูปให้ตั้งขึ้นในร่างกาย ​ ชื่อว่ารูปเป็นอุตุสมุฏฐาน ​ รูปมีฤดูเป็นสมุฏฐานนั้นมีอยู่ 15  อย่าง ​ คือ ​ สัททนวกะ 9  อากาสธาตุ 1  ลหุตา 1  มุทุตา 1  กัมมัญญตา 1  อุปจยะ 1  สันตติ 1 
- 
-3.    ฤดูเป็นปัจจัยแห่งความเป็นอยู่และแห่งความฉิบหายของรูปทั้งหลายที่เกิดขึ้นด้วย ​ สมุฏฐาน 4  ชื่อว่ารูปเป็น ​ อุตุปัจจัย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 292)''</​fs></​sub>​ 
- 
-4.    เตโชธาตุ ​ มีฤดูเป็นสมุฏฐาน ​ ถึงความตั้งอยู่แล้ว ​ ทำโอชัฏฐมกรูปอื่นให้ตั้งขึ้น ​ อีกทั้งฤดูโอชัฏฐมกรูปนั้นก็ทำโอชัฏฐมกรูปอื่นให้ตั้งขึ้นด้วย ​ รูปมีฤดูเป็นสมุฏฐาน ​ แม้ตั้งอยู่ในฝ่ายเป็นอนุปาทินนกรูป ​ ก็ยังเป็นไปอยู่ได้ตลอดกาลนานเท่านามอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ ​ ชื่อว่ารูปเป็น ​ อุตุปัจจยอุตุสมุฏฐาน ​ 
- 
-5.    โอชา ​ มีฤดูเป็นสมุฏฐาน ​ ถึงความตั้งอยู่แล้ว ​ ทำโอชัฏฐมกรูปอื่นให้ตั้งขึ้น ​ อีกทั้งโอชาในโอชัฏฐมรูปนั้น ​ ก็ทำโอชัฏฐมรูปอื่นให้ตั้งขึ้น ​ อีกทั้งโอชาในโอชัฏฐมรูปนั้น ​ ก็ทำโอชัฏฐมรูปอื่นให้ตั้งขึ้นด้วย ​ สืบต่อความเป็นไป 10  หรือ12 ​ วาระอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ ​ ชื่อว่ารูปเป็น ​ อุตุปัจจยอาหารสมุฏฐาน 
- 
-ในสมุฏฐานทั้งหลายนั้น ​ ฤดูนี้เป็นปัจจัยเพราะเป็นผู้ทำให้เกิดรูปที่มีฤดูเป็นสมุฏฐานทั้งหลาย ​ เป็นปัจจัยของรูปที่เหลือ ​ (คือรูปมีกรรม ​ จิตและอาหารเป็นสมฏฐาน) ​ ทั้งหลายโดยเป็นนิสสยปัจจัย ​ อัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัยด้วยประการฉะนี้ 
- 
-พึงเห็นความเกิดขึ้นของรูปเกิดจากฤดูด้วยประการดังกล่าวนี้ 
- 
-ความจริง ​ โยคาวจรเมื่อเห็นซึ่งความเกิดของรูปด้วยอาการดังกล่าวมานี้ ​ ก็ชื่อว่ากำหนดรู้รูปตามกาล ​ (คือ ​ ในเวลาหนึ่ง) 
- 
-====วิธีเห็นนิพพัตติของอรูป==== 
- 
-อนึ่ง ​ เมื่อโยคาวจรกำหนดรู้รูปอยู่ ​ ก็พึงเห็นความเกิดของรูปด้วย ​ ฉันใด ​ แม้เมื่อโยคาวจรกำหนดรู้อรูปอยู่ ​ ก็พึงเห็นความเกิดของอรูปไปด้วย ​ ฉันนั้น ​ และความเกิดของอรูปนั้น ​ พึงเห็นโดยทางจิตตุปบาทฝ่ายโลกิยะ 81  ดวงนั่นเอง ​ เช่นตัวอย่างดังต่อไปนี้ ​ ความจริงที่เรียกว่า ​ อรูปนี้ ​ ก็คือ ​ จิตตุปบาท 19  ประเภท ​ เกิดขึ้นก่อนในปฏิสนธิด้วยกรรมที่ประมวลไว้ในภพก่อน ​ แต่อาการเกิดของอรูปนั้น ​ พึงทราบตามนัยดังกล่าวไว้แล้วในนิทเทสแห่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง 
- 
-อรูป ​ (คือจิตตุปบาท 19  ประเภท) ​ นั้นนั่นแล ​ เกิดขึ้นโดยภวังคจิต ​ เริ่มมาแต่จิตอันเป็นลำดับของปฏิสนธิจิต ​ ครั้นในที่สุดของอายุก็เกิดขึ้นโดยเป็นจุติจิต ​ ในจิตตุปบาท 19  ดวงนั้น ​ จิตดวงใดเป็นกามาวจร จิตดวงนั้นเป็นโดยตทาลัมพนะอารมณ์ที่มีกำลังในทวาร 6  แต่ในปวัตติกาล ​ เพราะความที่รูปทั้งหลายมาสู่คลองจักษุ ​ เพราะดวงจักษุมิได้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 293)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​แตกทำลายไป ​ จักขุวิญญาณอาศัยแสงสว่างมีมนสิการเป็นเหตุ ​ จึงเกิดขึ้นพร้อมกับสัมปยุตตธรรมทั้งหลาย ​ เพราะว่า ​ ในฐิติขณะแห่งจักษุประสาท ​ รูปที่ถึงความตั้งอยู่นั่นเองก็กระทบจักษุ ​ ครั้นจักษุนั้นถูกรูปกระทบ ​ ภวังค์ก็เกิดขึ้นดับไป 2  ครั้ง ​ จากนั้น ​ กิริยามโนธาตุก็เกิดขึ้นทำอาวัชชนกิจ ​ (การรำพึงนึก) ​ ให้สำเร็จในอารมณ์นั้นนั่นเอง ​ ในลำดับนั้น ​ จักขุวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก ​ หรือเป็นอกุศลวิบาก ​ ก็เกิดขึ้นเห็นรูปอันเดียวกันนั้น ​ จากนั้น ​ วิปากมโนธาตุก็เกิดขึ้นรับรูปเดียวกันนั้น ​ (สัมปฏิจฉนะ) ​ ครั้นแล้ววิปากอเหตุกมโนวิญญาณธาตุก็เกิดขึ้นพิจารณา ​ (สันตีรณะ) ​ รูเดียวกันนั้นนั่นเอง ​ จากนั้น ​ กิริยาเหตุมโนวิญญาณธาตุประกอบด้วยอุเบกขาก็เกิดขึ้นกำหนด ​ (โวฏฐัพพนะ) ​ รูปอันเดียวกันนั้น ​ ต่อจากนั้น ​ บรรดากุศลจิต ​ อกุศลจิตและกิริยาจิต ​ ที่เป็นกามาวจรทั้งหลาย ​ อเหตุกจิตประกอบด้วยอุเบกขา 1  ดวง ​ หรือชวนะ 5  หรือ 7  ก็เกิดขึ้น ​ จากนั้นในบรรดาตทาลัมพนจิต 11  ดวงของกามาวจรจิตทั้งหลาย ​ ตทาลัมพนจิตดวงใดดวงหนึ่งซึ่งสมควรแก่ชวนะก็เกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้'''​ 
- 
-แม้ในทวารนอกนี้ ​ (มีโสตทวารเป็นต้น) ​ ก็มีนัยดังกล่าวมานี้ ​ แต่ในมโนทวาร ​ แม้ในมหัคคตจิตทั้งหลายก็เกิดขึ้นฉะนี้แล 
- 
-พึงเห็นความเกิดขึ้นของอรูปในทวารทั้งหลาย 6  ด้วยประการดังกล่าวนี้ 
- 
-ความจริง ​ เมื่อโยคาวจรเห็นอยู่ซึ่งความเกิดของอรูป ​ ด้วยอาการดังกล่าวนี้ ​ ชื่อว่า ​ กำหนดรู้อรูปตามกาล ​ (คือในเวลาหนึ่ง)  ​ 
- 
-โยคาวจรท่านหนึ่ง ​ แม้กำหนดรู้รูปตามกาล ​ (ในเวลาหนึ่ง) ​ (ด้วยสัมมสนญาณ) ​ โดยอาการดังกล่าวนี้แล้ว ​ ยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ปฏิบัติอยู่โดยลำดับ ​ (จนบรรลุอุทยพญสณขึ้นไป) ​ ก็ทำปัญญาภาวนาให้ถึงพร้อมได้ 
- 
-====สัมมสนะรูป 7 วิธี==== 
- 
-โยคาวจรอีกท่านหนึ่งยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์แล้วกำหนดรู้สังขารทั้งหลาย ​ (ด้วยสัมมสนญาณ) ​ โดยทาง ​ รูปสัตตกะ ​ (คือ ​ มนสิการโดยอาการ 7  ในรูป) ​ และทาง ​ อรูปสัตตกะ ​ (คือ ​ มนสิการโดยอาการ 7 ในอรูป) 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 294)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ในรูปสัตตกะและอรูปสัตตกะนั้น ​ เมื่อโยคาวจรยกขึ้น ​ (สู่พระไตรลักษณ์) ​ แล้วกำหนดรู้โดยอาการเหล่านี้ ​ คือ 
- 
-1.    โดยความยึดถือไว้ในการปล่อยวาง 
- 
-2.    โดยถึงความแตกดับของรูปที่เติบโตขึ้นตามวัย 
- 
-3.    โดยความเป็นรูปเกิดขึ้นจากอาหาร 
- 
-4.    โดยความเป็นรูปเกิดขึ้นจากฤดู 
- 
-5.    โดยความเป็นรูปเกิดจากกรรม 
- 
-6.    โดยความเป็นรูปมีจิตเป็นสมุฏฐาน 
- 
-7.    โดยความเป็นรูปธรรมดา 
- 
-ดังนี้ชื่อว่ายกขึ้นกำหนดรู้โดยทาง ​ รูปสัตตกะ 
- 
-เพราะฉะนั้น ​ ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า 
- 
-<​blockquote>​อาทานนิกเขปโต ​   วยวุฑฒตถคามิโต 
- 
-อาหารโต ​ จ  อุตุโต ​   กมมโต ​ จาปิ ​ จิตตโต 
- 
-ธมมตารูปโต ​ สตต ​    ​วิตถาเรน ​ วิปสสติ. 
- 
-'''​แปลความว่า'''​ 
- 
-โยคาวจรรู้เห็นโดยพิสดาร ​ โดยอาการ 7  คือ ​ โดยการ 
- 
-ยึดถือไว้และการปล่อยวาง 1  โดยถึงความแตกดับของรูปที่ 
- 
-เติบโตขึ้นตามวัย 1  โดยอาหาร 1  โดยฤดู 1  โดยกรรม 1 
- 
-โดยจิต 1  โดยรูปธรรมดา 1</​blockquote>​ 
- 
-'''​[1. ​ โดยความยึดถือไว้และปล่อยวาง]'''​ 
- 
-ในอาการ 7  นั้น ​ คำว่า ​ "​การยึดถือไว้" ​ หมายถึง ​ ปฏิสนธิ ​ คำว่า ​ "​ปล่อยวาง" ​ หมายถึง ​ จุติ ​ โยคาวจรกำหนดแบ่ง 100  ปี ​ (ออกเป็น 2  ตอน) ​ โดยการยึดถือไว้ ​ (ปฏิสนธิ) ​ และการปล่อยวาง ​ (จุติ) ​ เหล่านี้ ​ แล้วยกพระไตรลักษณ์เข้าในสังขารทั้งหลาย ​ (ถามว่า) ​ ยกพระ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 295)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ไตรลักษณ์อย่างไร ​ (ตอบ) ​ ในระหว่าง ​ (การยึดถือไว้และการปล่อยวาง) ​ นี้ ​ สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ​ (ถาม) ​ เพราะเหตุไร ?  (ตอบ) ​ เพราะเป็นไปโดยความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป 1  เพราะความแปรผัน 1  เพราะเป็นไปชั่วกาล 1  และเพราะขัดแย้งต่อความเที่ยง 1  อนึ่ง ​ เพราะเหตุที่สังขารทั้งหลายที่เกิดขึ้นมาแล้ว ​ ก็ถึงความตั้งอยู่ ​ ในขณะตั้งอยู่ก็สะบักสะบอมด้วยชรา ​ ถึงชราแล้วก็จะแตกดับเป็นแน่แท้ ​ เพราะฉะนั้นจึงเป็นทุกข์ ​ เพราะมีการเบียดเบียนเฉพาะหน้าเนือง ๆ 1  เพราะเป็นทุกข์ 1  เพราะทนยาก 1  เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ 1  และเพราะขัดขวางความสุข 1  และเพราะเหตุที่ใคร ๆ  ก็ไม่มีอำนาจเป็นไปได้ใน 3  สถานเหล่านี้ ​ คือ'''​ 
- 
-1.    สังขารทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ​ จงอย่างถึงความตั้งอยู่ ​ (สถานที่ 1) 
- 
-2.    ที่ถึงความตั้งอยู่แล้ว ​ จงอย่าแก่ชรา ​ (สถาน 1) 
- 
-3.    ที่ถึงความแก่ชราแล้ว ​ จงอย่าแตกดับ ​ (สถาน 1)  ดังนี้ 
- 
-'''​สังขารทั้งหลายว่างเปล่าจากอาการเป็นไปในอำนาจนั้นนั่นแล ​ เพราะฉะนั้นจึงเป็นอนัตตา ​ เพราะเป็นของว่างเปล่า 1  เพราะไม่มีเจ้าของ 1  เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ 1  และเพราะปฏิเสธอัตตา 1  ฉะนี้แล'''​ 
- 
-'''​[2. ​ โดยถึงความแตกดับของรูปที่เติบโตขึ้นตามวัย]'''​ 
- 
-ครั้นยกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปที่กำหนด 100 ปี ​ โดยการยึดถือไว้และปล่อยวางด้วยประการดังนั้นแล้ว ​ ถัดจากนั้น ​ โยคาวจรก็ยกขึ้นโดยถึงความแตกดับของรูปที่เติบโตขึ้นตามวัย 
- 
- 
- 
-ในอาการ ​ (ดังกล่าว) ​ นั้น ​ การถึงความแตกดับของรูปที่เติบโตขึ้น ​ คือเจริญขึ้นแล้วตามวัย ​ ชื่อว่าถึงความแตกดับของรูปที่เติบโตขึ้นตามวัย ​ อธิบายว่า ​ ยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ ​ โดยถึงความแตกดับของรูปที่เติบโตขึ้นตามวัยนั้น 
- 
-(ถามว่า) ​ ยกขึ้นอย่างไร ? 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 296)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​[จำแนก ​ 100  ปี ​ โดย 3  วัย]'''​ 
- 
-(ตอบว่า) ​ โยคาวจรนั้นกำหนดจำแนก 100  ปีนั้นนั่นแล ​ โดย 3  วัย ​ คือ ​ โดยปฐมวัย - วัยต้น 1  มัชฌิมวัย – วัยกลาง 1  ปัจฉิมวัย – วัยสุดท้าย 1  ใน 3  วัยนั้น ​ 33  ปีข้างต้น ​ ชื่อว่าปฐมวัย 34  ปีจากนั้นไป ​ ชื่อว่ามัชฌิมวัย 33  ปีจากมัชฌิมวัยนั้นไป ​ ชื่อว่าปัจฉิมวัยฉะนี้แล ​ ครั้นกำหนดจำแนกโดย 3  วัยเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้แล้วจึงยกขึ้นสู่พระไตรลักษณืว่า ​ "​รูปที่เป็นไปในปฐมวัย ​ ไม่ทันถึงมัชฌิมวัย ​ ก็ดับไปเสียในปฐมวัยนั่นเอง ​ เพราะฉะนั้นรูปนั้นเป็นสิ่งไม่เที่ยง ​ สิ่งใดไมเที่ยง ​ สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ​ สิ่งใดเป็นทุกข์ ​ สิ่งนั้ไม่มีอัตตา แม้รุปที่เป็นไปในมัชฌิมวัย ​ ไม่ทันถึงปัจฉิมวัยนั้นนั่นเอง ​ เพราะฉะนั้น ​ แม้รูป ​ นั้นก็เป็นสิ่งไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอนัตตา ​ ถึงแม้รูปที่เป็นไปตลอด 33  ปีในปัจฉิมวัย ​ ชื่อว่าสามารถดำเนินไปได้ภายหลัง ​ แต่ตายแล้วหามีไม่ ​ เพราะฉะนั้น ​ แม้รูปนั้นก็ไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอนัตตา" ​ ดังนี้ 
- 
-'''​[จำแนก 100  ปี ​ โดยกำหนดช่วงละ 10ปี]'''​ 
- 
-ครั้นยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์โดยถึงความแตกดับของรูปที่เติบโตขึ้นตามวัย ​ โดยทางวัยมีปฐมวัยเป็นต้น ​ อย่างนั้นแล้ว ​ โยคาวจรยกขึ้นสุ่พระไตรลักษณ์โดยถึงความแตกดับของรูปที่เติบโตขึ้นตามวัย ​ โดยช่วงละ 10  ปี ​ 10  ช่วง ​ เหล่านี้ ​ ต่อไปอีกดังนี้ ​ คือ 
- 
-1.    มันททสกะ ​   ช่วง 10  ปีของเด็กอ่อน 
- 
-2.    ขิฑฑาทสกะ ​   ช่วง 10  ปีของการเล่น 
- 
-3.    วัณณทสกะ ​   ช่วง 10  ปีของผิวพรรณ 
- 
-4.    พลทสกะ ​   ช่วง 10 ปีของกำลัง 
- 
-5.    ปัญญาทสกะ ​   ช่วง 10  ปีของปัญญา 
- 
-6.    หานิทสกะ ​   ช่วง 10  ปีของความเสื่อม 
- 
-7.    ปัพภารทสกะ ​   ช่วง 10  ปีของความโค้ง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 297)''</​fs></​sub>​ 
- 
-8.    วังกทสกะ ​   ช่วง 10  ปีของความงอ 
- 
-9.    โมมูหทสกะ ​   ช่วง 10  ปีของความหลงลืม 
- 
-10.    สยนทสกะ ​   ช่วง 10  ปีของการนอน 
- 
-ในช่วง 10  ปีเหล่านั้น ​ ช่วง 10  ปีแรกของบุคคลผู้มีอายุ 100  ปี ​ ชื่อว่าช่วง 10  ปี ​ ของเด็กอ่อนก่อน ​ เพราะว่าในช่วง (10)  นั้น ​ บุคคลผู้นั้นยังเป็นเด็กอ่อน ​ เด็กเล็กไม่อยู่นิ่ง ​ อีก 10  ปีต่อจากนั้น ​ ชื่อว่าช่วง 10  ปีของการเล่น ​ เพราะในช่วง ​ (20)  นั้น ​ บุคคลผู้นั้นเพลิดเพลินในการเล่นเสียเป็นส่วนมาก ​ อีก 10  ปีต่อจากนั้น ​ ชื่อว่าช่วง ​ 10  ปีของผิวพรรณ ​ เพราะช่วง (30)  นั้น ​ อวัยวะผิวพรรณของผู้นั้นถึงความงามไพบูลย์ ​ อีก 10  ปีต่อจากนั้น ​ ชื่อว่าช่วง 10ปีของกำลัง ​ เพราะว่าในช่วง ​ (40)  นั้น ​ กำลังและเรี่ยวแรงของผู้นั้นถึงความไพบูลย์ ​ อีก 10  ปีต่อจากนั้น ชื่อว่าช่วง 10  ปีของปัญญา ​ เพราะในช่วง ​ (50)  นั้น ​ ปัญญาของผู้นั้นเป็นหลักฐานมั่นคงดี ​ เขาว่าแม้คนที่ปัญญาทึบโดยปกติ ​ ครั้นในช่วงนั้น ​ ปัญญาก็เกิดขึ้นได้แม้นิดหน่อยเหมือนกัน ​ อีก 10  ปีต่อจากนั้น ​ ชื่อว่าช่วง ​ 10  ปีของความเสื่อม ​ เพราะว่าในช่วง (60)  นั้น ​ ความยินดีในการเล่นก็ดี ​ ผิวพรรณก็ดี ​ กำลังก็ดี ​ ปัญญาก็ดี ​ ของผู้นั้นเสื่อมถอยไป อีก 10  ปีต่อจากนั้น ​ ชื่อว่าช่วง 10  ปีของความโค้ง ​ เพราะว่าในช่วง ​ (70)  นั้น ​ อัตภาพร่างกายของผู้นั้นโค้งไปข้างหน้า ​ อีก 10  ปีต่อจากนั้น ​ ชื่อว่าช่วง 10  ปีของความงอ ​ เพราะว่าในช่วง (80)  นั้น ​ อัตภาพร่างกายของผู้นั้นงอเหมือนหางไถ ​ อีก 10  ปีต่อจากนั้น ​ ชื่อว่าช่วง 10  ปีของความหลงลืม ​ เพราะว่าในช่วง ​ (90)  นั้น ​ บุคคลผู้นั้นเป็นคนหลง ๆ  ลืมๆ ลืมสิ่งที่ทำแล้ว ​ (และ) ​ ทำไปแล้ว ​ อีก 10  ปีต่อจากนั้น ​ ชื่อว่าช่วง 10  ปีของการนอน ​ เพราะว่าผู้มีอายุ ​ 100  ปี ​ ก็มีแต่การนอนเป็นส่วนมากเป็นธรรมดา 
- 
-เพื่อยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ ​ โดยถึงความแตกดับของรูปที่เติบโตขึ้นตามวัย ​ โดยทางช่วงละ 10  ปีเหล่านั้นในรูปนั้น ​ โยคีท่านนี้จึงใคร่ครวญอยู่ดังนี้ว่า ​ "​รูปที่เป็นไปใน 10  ปีช่วงแรก ​ ยังไม่ถึง 10  ปีช่วงที่ 2  ก็ดับเสีย ​ ใน 10  ปีช่วงแรกนั้นนั่นเอง ​ เพราะฉะนั้น ​ รูปนั้นเป็นอนิจจัง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอนัตตา ​ รูปที่เป็นไปใน 10  ปีช่วงที่ 2…..ฯลฯ…..ใน 10  ปีช่วงที่ 9  ยังไม่ถึง 10  ปีช่วงที่ 10  ก็ดับเสียใน 10  ปีช่วงที่ ​ 9  นั้นนั่นเอง ​ รูปที่เป็นไปใน 10ปีช่วงที่ 10  ยังไม่ถึงภพหน้า ​ ก็ดับไปเสียใน 10  ปีช่วงที่ 10  นี้นี่เอง ​ เพราะฉะนั้น ​ ถึงแม้รูปนั้นก็เป็นอนิจจัง ​ เป็นทุกขัง ​ เป็นอนัตตา" ​ ชื่อว่ายกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 298)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​[จำแนก 100  ปีเป็น 20  ส่วน]'''​ 
- 
-ครั้นยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ ​ โดยถึงความแตกดับของรูปที่เติบโตขึ้นตามวัย ​ โดยกำหนดช่วงละ 10  ปี ​ 10  ช่วงอย่างนั้นแล้ว ​ โยคีนั้นจึงทำ 100  ปีนั้นนั่นแหละให้เป็น ​ 20  ส่วน ​ โดย ​ (แบ่งเป็นส่วนละ) ​ 5  ปี – 5 ปี ​ แล้วยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ ​ โดยถึงความแตกดับของรูปที่เติบโตขึ้นตามวัยต่อไปอีก ​ ยกขึ้นอย่างไร ?  แท้จริง ​ โยคีท่านนั้นใคร่ครวญอยู่ดังนี้ว่า ​ "​รูปที่เป็นไปในช่วง 5  ปีแรก ​ ยังไม่ทันถึงช่วง 5  ปีที่ 2  ก็ดับไปเสียในช่วง 5  ปีแรกนั้นนั่นเอง ​ เพราะฉะนั้น ​ รูปนั้นจึงเป็นอนิจจัง ​ เป็นทุกขัง ​ เป็นอนัตตา ​ รูปที่เป็นไปในช่วง 5  ปีที่ 2  ยังไม่ทันถึงช่วง 5  ปีที่ 3…..ฯลฯ…..รูปที่เป็นไปในช่วง 5  ปีที่ 19  ยังไม่ทันถึงช่วง 5  ปีที่ 20  ก็ดับไปเสียในช่วงที่ 5  ปีที่ ย9  นั้นนั่นเอง ​ รูปที่เป็นไปในช่วง 5  ปีที่ 20  ชื่อว่าสามารถเลยไปเกินความตายหามีไม่ ​ เพราะฉะนั้น ​ แม้รูปนั้นก็เป็นอนิจจัง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอนัตตา" ​ ดังนี้ 
- 
-'''​[จำแนก 100  ปีออกเป็น 25, 33,  50  และ ​ 100  ส่วน]'''​ 
- 
-ครั้นยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์โดยถึงความแตกดับของรูปที่เติบโตขึ้นตามวัย ​ โดยทาง ​ (จำแนก) ​ 20  ส่วนอย่างนั้นแล้ว ​ โยคีนั้นจึงทำ 100  ปี ​ นั้นให้เป็น 25  ส่วน ​ แล้วยกขึ้นโดย ​ (แบ่งส่วนละ) ​ 4  ปี -4 ปี ​ ต่อไปอีก ​ อนึ่ง ​ แล้วทำให้เป็น 33  ส่วน…..โดย ​ (แบ่งส่วนละ) ​ 3 ปี – 3 ปี…..ทำให้เป็น 50  ส่วน…..โดย ​ (แบ่งส่วนละ) ​ 2 ปี ​ - 2 ปี…..ทำให้เป็น 100  ส่วน…..โดย ​ (แบ่งส่วนละ) ​ 1  ปี ​ - 1 ปี….. 
- 
-'''​[จำแนก 1  ปี ​ ตาม 3 ฤดู]'''​ 
- 
-จากนั้น ​ ทำปีหนึ่งๆ ​ ให้เป็น 3  ส่วน ​ แล้วยกขึ้นพระไตรลักษณ์เข้าในรูปที่ถึงความแตกดับของรูปที่เติบโตขึ้นตามวัยนั้น ​ โดยฤดู 3 ฤดู ​ คือ ​ ฤดูวัสสานะ 1  ฤดูเหมันต์ 1  ฤดูคิมหะ 1  ตามแต่ละฤดู ๆ  ยกเข้าอย่างไร ?  โยคีท่านนั้นใคร่ครวญอยู่อย่างนี้ว่า ​ "​รูปที่เป็นไปตลอด 4  เดือนในฤดูวัสสานะ ​ (ฤดูฝน) ​ ยังไม่ทันถึงฤดูเหมันต์ ​ (ฤดูหนาว) ​ ก็ดับเสียแล้วในฤดูวัสสานะนั้นนั่นเอง ​ รูปที่เป็นไปในฤดูเหมันต์ ​ ยังไม่ทันถึงฤดูคิมหะ ​ (ฤดูร้อน) ​ ก็ดับเสียแล้วในฤดุเหมันต์นั้นนั่นเอง ​ รูปที่เป็นไปในฤดูคิมหะ ​ ยังไม่ทันถึงฤดูวัสสานะใหม่ ​ ก็ดับเสียแล้วในฤดูคิมหะนั้นนั่นเอง ​ เพราะฉะนั้น ​ รูปนั้นเป็นอนิจจัง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอนัตตา" ​ ดังนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 299)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​[จำแนก 1  ปี ​ ตามฤดู 6]'''​ 
- 
-ครั้นยกขึ้น ​ (โดน 3 ฤดู) ​ อย่างนั้นแล้วจึงทำ 1  ปี ​ เป็น 6  ส่วนต่อไปอีก ​ แล้วยกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปที่ถึงความแตกดับด้วยความเติบโตตามวัยนั้นอย่างนี้ว่า ​ "​รูปที่เป็นไปตลอด 2  เดือน ​ ในฤดูวัสสานะ ​ (ฤดูฝน) ​ ยังไม่ทันถึงฤดูสารท ​ (ฤดูใบไม้ร่วง) ​ ก็ดับเสียแล้วในฤดูวัสสานะนั้นนั่นเอง ​ รูปที่เป็นไปในฤดูเหมันต์ ​ (ฤดูหนาว)…..รูปที่เป็นไปในฤดูเหมันต์ ​ ยังไม่ทันถึงฤดูสิสิระ ​ (ฤดูเย็น)…..รูปที่เป็นไปในฤดูสิสิระ ​ ยังไม่ทันถึงฤดูวัสสันต์ ​ ยังไม่ทันถึงฤดูคิมหะ ​ (ฤดูร้อน)…..รูปที่เป็นฤดูคิมหะยังไม่ถึงฤดูวัสสานะ ​ ถัดไป ​ ก็ดับเสียแล้วในฤดูคิมหะนั้นนั่นเอง ​ เพราะฉะนั้น ​ รูปนั้นจึงเป็น ​ อนิจจัง ​ ทุกขัง ​ อนัตตา" ​ ดังนี้ 
- 
-'''​[จำแนก 1  เดือน ​ เป็น 2  ปักษ์]] ​ '''​ 
- 
-ครั้นยกขึ้น ​ (โดย 6 ฤดู) ​ อย่างนั้นถูกแล้ว ​ แต่นั้นโยคีก็ยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ ​ โดย ​ (จำแนก 1  เดือนเป็น) ​ ข้างแรมและข้างขึ้นว่า ​ "​รูปที่เป็นไปในข้างแรม ​ ยังไม่ทันถึงข้างขึ้น…..รูปที่เป็นไปในข้างขึ้น ​ ยังไม่ทันถึงข้างแรม ​ ก็ดับเสียแล้วในข้างขึ้นนั้นนั่นเอง ​ เพราะฉะนั้น ​ รูปนั้นจึงเป็นอนิจจัง ​ ทุกขัง ​ อนัตตา" ​ ดังนี้  ​ 
- 
-'''​[จำแนก 1  วันเป็นกลางคืนและกลางวัน]'''​ 
- 
-แต่นั้น ​ โยคีก็ยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์โดย ​ (กำหนด) ​ วันและคืนว่า ​ "​รูปที่เป็นไปในกลางคืน ​ ยังไม่ทันถึงกลางวัน ​ ก็ดับเสียแล้วในกลางคืนนั้นนั่นเอง ​ แม้รูปที่เป็นไปในกลางวัน ​ ยังไม่ทันถึงกลางคืน ​ ก็ดับเสียแล้วในกลางวันนั้นนั่นเอง ​ เพราะฉะนั้น ​ รูปนั้นจึงเป็นอนิจจัง ​ ทุกขัง ​ อนัตตา" ​ ดังนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 300)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​[จำแนก 1  วันเป็น 6  ส่วน]'''​ 
- 
-แต่นั้น ​ โยคีก็ทำ ​ (จำแนก) ​ คืนและวันนั้นนั่นแลออกเป็น 6  โดยเวลามีตอนเช้าเป็นต้น ​ แล้วยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ว่า ​ "​รูปที่เป็นไปในตอนเช้า ​ ยังไม่ทันถึงตอนกลางวัน…..รูปที่เป็นไปในตอนกลางวัน ​ ยังไม่ทันถึงตอนเย็น…..รูปที่เป็นไปในตอนเย็น ​ ยังไม่ทันถึงปฐมยาม….. ​ รูปที่เป็นไปในปฐมยาม ​ ยังไม่ทันถึงมัชฌิมยาม…..รูปที่เป็นไปในมัชฌิมยาม ​ ยังไม่ทันถึงปัจฉิมยาม ​ ยังไม่ทันถึงตอนเช้าวันรุ่งขึ้น ​ ก็ดับเสียแล้วในปัจฉิมยมนั้นนั่นเอง ​ เพราะฉะนั้น ​ รูปนั้นจึงเป็นอนิจจัง ​ ทุกขัง ​ อนัตตา" ​ ดังนี้  ​ 
- 
-'''​[จำแนกโดยอาการ 6]] '''​ 
- 
-ครั้นโยคีนั้นยกขึ้น ​ (สู่พระไตรลักษณ์) ​ อย่างนั้นแล้ว ​ ก็ยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์โดยการเดินไปข้างหน้า ​ ถอยกลับ ​ แลดู ​ เหลียวดู ​ การคู้ ​ และเหยียดออก ​ (ซึ่งมือและเท้า) ​ ในรูปนั้นนั่นแหละ ​ ต่อไปอีกว่า ​ "​รูปที่เป็นไปในการเดินไปข้างหน้า ​ ยังไม่ทันถอยกลับ ​ ก็ดับไปในการเดินไปข้างหน้านั้นนั่นเอง ​ รูปที่เป็นไปในการถอยกลับ ​ ยังไม่ทันถึงการดูแล…..รูปที่เป็นไปในการดูแล ​ ยังไม่ทันถึงการเหลียวดู ​ ยังไม่ทันถึงการคู้…..รูปที่เป็นไปในการคู้ ​ ยังไม่ทันถึงการเหยียดออกก็ดับไปในการคู้นั้นนั่นเอง ​ เพราะฉะนั้นรูปนั้นจึงเป็นอนิจจัง ​ ทุกขัง ​ อนัตตา" ​ ดังนี้ 
- 
-'''​[จำแนกก้าวเท้า 6  ระยะ]'''​ 
- 
-ครั้นแล้ว ​ โยคีก็ทำระยะของก้าวเท้าก้าวหนึ่งออกเป็น 6  ส่วน ​ โดย ​ (แบ่งเป็น) 
- 
-1.    อุทธรณะ ​   -  ยก 
- 
-2.    อติหรณะ ​   -  ย่าง 
- 
-3.    วีติหรณะ ​   -  ย้าย 
- 
-4.    โวสสัชชนะ ​   -  ลง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 301)''</​fs></​sub>​ 
- 
-5.    สันนิกเขปนะ ​   -  เหยียบ 
- 
-6.    สันนิรุมภนะ ​   -  กด 
- 
-'''​ใน 6  ส่วนนั้น'''​ 
- 
-1.    การยกขึ้นจากพื้น ​ เรียกว่า ​ อุทธรณะ -  ยก 
- 
-2.    การยื่นเท้าไปข้างหน้า ​ เรียกว่า ​ อติหรณะ -  ย่าง 
- 
-3.    ครั้นเห็นตอ ​ เห็นหนาม ​ (หรือ) ​ เห็นทีฆชาติ ​ (งู) ​ เป็นต้น ​ อย่างใดอย่าง 
- 
-หนึ่งแล้วก้าวเท้า ​ (เลี่ยง) ​ ไปข้างโน้นและข้างนี้ ​ เรียกว่า ​ วีติหรณะ -  ย้าย 
- 
-4.    การหย่อนเท้าต่ำลง ​ เรียกว่า ​ โวสสัชชนะ –ลง 
- 
-5.    การวางเท้าลงบนพื้นดิน ​ เรียกว่า ​ สันนิกเขปนะ -  เหยียบ 
- 
-'''​6. ​       การกดเท้าลงกับพื้นในเวลาจะยกเท้าอีกข้างหนึ่งขึ้น ​ เรียกว่า ​ สันนิรุมภนะ ​ -  กด'''​ 
- 
-ใน 6  ส่วนนั้น ​ ในการยก ​ (เท้าขึ้น) ​ ธาตุทั้ง 2  คือ ​ ปฐวีธาตุ ​ อาโปธาตุ ​ มีประมาณต่ำอ่อน ​ ส่วนอีก 2  ธาตุ ​ (คือ ​ เตโชธาตุ ​ วาโยธาตุ) ​ มีประมาณมาก ​ มีกำลัง ​ ในการย่างเท้าและในการย้ายเท้าเหมือนกัน ​ ในการหย่อนเท้าลง ​ ธาตุ 2  คือ ​ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ​ มีประมาณต่ำ ​ อ่อน ​ ส่วนอีก 2  ธาตุ ​ (คือ ​ ปฐวีธาตุ ​ อาโปธาตุ) ​ มีประมาณมาก ​ มีกำลัง ​ ในการเหยียบและกดก็เหมือนกัน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 302)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ครั้นโยคีทำ ​ (ระยะของก้าวเท้าก้าวหนึ่ง) ​ ให้เป็น 6  ส่วนอย่างนี้แล้ว ​ จึงยกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปที่ถึงความแตกดับด้วยความเติบโตขึ้นตามวัยนั้น ​ โดยส่วนทั้งหลาย 6  (ของก้าวเท้าก้าวหนึ่ง) ​ เหล่านั้น ​ ยกขึ้นอย่างไร ?  โยคีท่านนั้นพิจารณาเห็นอยู่ดังนี้ว่า ​ "​ธาตุทั้งหลายในที่เป็นไป ​ ในการยกเท้าขึ้นก็ดี ​ รูปทั้งหลายใดอาศัยธาตุนั้นก็ดี ​ สิ่งเหล่านั้นทั้งหมดยังไม่ทันถึงการย่างเท้า ​ ก็ดับไปในการยกเท้าขึ้นนี้นี่เอง ​ เพราะฉะนั้น ​ สิ่งเหล่านั้นทั้งหมดจึงเป็นอนิจจัง ​ ทุกขัง ​ อนัตตา ​ อนึ่ง ​ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นไปในการย่างเท้า ​ ยังไม่ทันถึงการย้ายเท้า….ที่เป็นไปในการย้ายเท้า ​ ยังไม่ทันถึงการหย่อนเท้าลง…..ที่เป็นไปในการหย่อนเท้าลง ​ ยังไม่ทันถึงการเหยียบ…..ที่เป็นไปในการเหยียบ….ที่เป็นไปในการเหยียบ ​ ยังไม่ทันถึงการกด ​ ก็ดับไปในการเหยียบนี้นั่นเอง ​ สังขารทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วในนั้นๆ ​ (มีการยกเท้าขึ้นเป็นต้น) ​ ยังไม่ทันถึงส่วนนอกนี้ ​ (และ) ​ นอกนี้ ​ ก็ทำเสียงตฏะตฏะแตกไปเป็นปล้องๆ ​ เป็นข้อๆ ​ เป็นท่อนๆ ​ ณ  ที่นั้นๆนั่นเอง ​ เหมือนเมล็ดงาที่เขาวางลงบนแผ่นกระเบื้องอันร้อน ​ ทำเสียงตฏะตฏะ ​ (เปรียะ ๆ)  แตกไปฉะนั้น ​ เพราะฉะนั้น ​ สังขารทั้งหลายจึงเป็นอนิจจัง ​ ทุกขัง ​ อนัตตา" ​ ฉะนี้แล 
- 
-การกำหนดรู้รูปของโยคีท่านนั้นผู้เห็นแจ้งสังขารทั้งหลายเป็นปล้อง ๆ  อย่างนี้ ​ เป็นการกำหนดรู้ที่ละเอียดอ่อน ​ ก็แล ​ ในความละเอียดอ่อน ​ ก็แล ​ ในความละเอียดอ่อนของการกำหนดรู้รูปนั้นมีอุปมาดังนี้ 
- 
-'''​[อุปมาในความละเอียดอ่อนของการกำหนดรู้รูป]'''​ 
- 
-สมมติว่า ​ ชายผู้อยู่ปลายแดนคนหนึ่ง ​ มีความเคยชินที่ทำมาแต่ใน ​ (เรื่อง) ​ ใช้ไต้ทำด้วยไม้และหญ้าเป็นต้น ​ ไม่เคยเห็นดวงประทีป ​ (ตะเกียง) ​ ครั้นมาถึงนครหลวงได้เห็นดวงประทีปที่เขาจุดไว้ในย่านการค้า ​ จึงถามบุรุษท่านหนึ่ง ​ (คนที่ 1)  ว่า ​ "​ท่านผู้เจริญ ​ นี่เขาเรียกว่าอะไร ?  น่าชอบใจจริง" ​ บุรุษผู้นั้นจึงบอกกะชายชาวปลายแดนผู้นั้นว่า ​ "​ชอบใจในสิ่งนี้หรือ ?  นี่เขาเรียกว่าดวงประทีป ​ ครั้นหมดน้ำมันและสิ้นไส้ ​ แม้แต่ทางไปของมันก็จักไม่ปรากฏ ​ (ให้เห็น)"​ บุรุษอีกผู้หนึ่ง ​ (คนที่ 2)  บอกกะชายชาวปลายแดนคนนั้นว่า ​ "​การที่ดวงประทีปไม่ปรากฏเพราะหมดน้ำมันและสิ้นไส้นี้ ​ เป็นเรื่องหยาบ ​ ความจริง ​ เมื่อไส้ ​ (ตะเกียง) ​ นี้ถูกเผาไป ๆโดยลำดับ ​ เปลวไฟจักดับไปในส่วนที่ 3  (และ) ​ ส่วนที่ 3  ยังไม่ทันถึงส่วนนอกนี้ ​ (และ) ​ นอกนี้แน่แท้" ​ บุรุษอีกผู้หนึ่ง ​ (ที่ 3)  บอกกะเขาอย่างนี้ว่า ​ "​ถึงแม้เรื่องนี้ก็ยังหยาบเหมือนกัน ​ เพราะว่าเปลวไฟจักดับไปในระหว่างองคุลีองคุลี…..ในระหว่างครึ่งองคุลีทุกครึ่งองคุลี…..ในเส้นด้าย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 303)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ทุกเส้นด้าย…..ในใยด้ายทุกใยด้ายของไส้ ​ (ตะเกียง) ​ นี้ ​ ไม่ทันถึงใยด้ายนอกนี้ ​ (และ) ​ นอกนี้แน่แท้ ​ แต่พ้น ​ (ปราศจาก) ​ ใยด้ายแล้ว ​ ไม่สามารถทำเปลวไฟให้ปรากฏได้" ​ ฉะนั้นแล'''​ 
- 
-'''​[อุปมาอุปไมย]'''​ 
- 
-ในอุปมานั้น ​ การที่โยคียกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปซึ่งจำแนกโดย 100  ปี ​ ตั้งแต่การยึดถือไว้ ​ (ปฏิสนธิ) ​ จนถึงการปล่อยวาง ​ (จุติ) ​ เปรียบเหมือนความรู้ของบุรุษ ​ (คนที่1) ​ รู้ว่า ​ "​ครั้นหมดน้ำมันและสิ้นไส้ ​ แม้แต่ทางไปของดวงประทีปก็จักไม่ปรากฏ" ​ การที่โยคียกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปที่ถึงความแตกดับด้วยการเติบโตขึ้นตามวัย ​ ซึ่งจำแนก 100  ปีออกเป็นส่วนที่ 3  และที่ 3  (3  ส่วนๆ) ​ เปรียบเหมือนความรู้ของบุรุษ ​ (คนที่ 2)รู้ว่า ​ "​เปลวไฟจักดับไปในส่วนที่ 3  (และ) ​ ส่วนที่ 3  ของไส้ ​ ยังไม่ทันถึงส่วนนอกนี้(และ) ​ นอกนี้" ​ การที่โยคียกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปซึ่งจำแนกโดยช่วงละ 10 ปี ​ 5 ปี ​ 3 ปี ​ 2 ปี ​ และ 1 ปี ​ เปรียบเหมือนความรู้ของบุรุษ ​ (คนที่ 3)  รู้ว่า ​ "​เปลวไฟจักดับไปในระหว่างองคุลีองคุลียังไม่ทันถึงระหว่างนอกนี้ ​ (และ) ​ นอกนี้" ​ การที่โยคียกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปซึ่งแบ่ง 1 ปี ​ ออกเป็น 3 ส่วนและ 6 ส่วน ​ ตามฤดูหนึ่งๆ ​ แล้วจำแนกเป็น 4 เดือน ​ และ 2 เดือน ​ เปรียบเหมือนความรู้ของบุรุษที่ว่า ​ "​เปลวไฟจักดับไปในระหว่างครึ่งองคุลีทุกครึ่งองคุลีๆ ​ ไม่ทันถึงครึ่งองคุลีนอกนี้ ​ (และ) ​ นอกนี้เป็นแน่" ​ การที่โยคียกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปซึ่งจำแนกโดยข้างแรมและข้างขึ้น ​ และโดยกลางคืนและกลางวัน ​ และทำคืนและวันหนึ่งเป็น 6  ส่วนแล้วกำหนดจำแนกโดยเวลามีตอนเช้าเป็นต้น ​ เปรียบเหมือนความรู้ของบุรุษ ​ (ที่รู้) ​ ว่า ​ "​เปลวไฟจักดับไปในเส้นด้ายทุกเส้นด้าย ​ ไม่ทันถึงเส้นด้ายนอกนี้ ​ (และ) ​ นอกนี้เป็นแน่" ​ การที่โยคียกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปซึ่งจำแนกโดยอาการมีการเดินไปข้างหน้าเป็นต้น ​ และโดยส่วนหนึ่งๆ ​ ในระยะของก้าวเท้าก้าวหนึ่งมีการยกเท้าขึ้นเป็นต้น ​ เปรียบเหมือนความรู้ของบุรุษ ​ (ที่รู้) ​ ว่า ​ "​เปลวไฟจักดับไปในไยด้ายทุกไยด้าย ​ ไม่ทันถึงไยด้ายนอกนี้ ​ (และ) ​ นอกนี้แน่แท้" ​ ฉะนี้แล 
- 
-'''​[จำแนกรูปเป็น 4  ส่วน]] ​ '''​ 
- 
-ครั้นโยคียกเอาพระไตรลักษณ์เข้าในรูปที่ถึงความแตกดับด้วยการเติบโตขึ้นตามวัยโดยอาการต่างๆอย่างนี้แล้ว ​ จึงจำแนกรูปนั้นนั่นแหละ ​ ทำให้เป็น 4  ส่วนโดยรูปมีรูปเกิดด้วยอาหารเป็นต้น ​ แล้วยกพระไตรลักษณ์เข้าในแต่ละส่วนเข้าไปอีก 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้า ​ 304)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​(ยกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปเกิดด้วยอาหาร)'''​ 
- 
-ใน 4  ส่วนนั้น ​ รูปที่เกิดด้วยอาหารเป็นรูปปรากฏชัดแก่โยคีนั้น ​ ด้วยความหิวโหยแลความอิ่มเอิบ ​ ความจริง ​ รูปที่ตั้งขึ้นในเวลาหิวโหยเป็นรูปซูบซีด ​ อิดโรย ​ ผิวพรรณเศร้าหมอง ​ ทรวดทรงเสียส่วน ​ เหมือนตอไม้ที่ถูกไฟไหม้ ​ และเหมือนนกกาที่ซุกซ่อนในตะกร้าถ่าน ​ รูปที่ตั้งขึ้นในเวลาอิ่มเอิบ ​ ก็เป็นรูปสดชื่น ​ เปล่งปลั่ง ​ นิ่มนวล ​ ละเอียดอ่อน ​ น่าแตะต้อง 
- 
-โยคีนั้น ​ ครั้นกำหนดรู้รูปเกิดด้วยอาหารนั้นแล้ว ​ จึงยกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปนั้นอย่างนี้ว่า ​ "​รูปที่เป็นไปในเวลาหิวโหย ​ ยังไม่ทันถึงเวลาอิ่มเอิบก็ดับเสียในเวลาหิวโหยนี้นั่นเอง ​ ถึงแม้รูปที่ตั้งขึ้นในเวลาอิ่มเอิบ ​ ยังไม่ทันถึงเวลาหิวโหย ​ ก็ดับเสียในเวลาอิ่มเอิบนี้นั่นเอง ​ เพราะฉะนั้น ​ แม้รูปที่เกิดในอาหารนั้น ​ ก็เป็นอนิจจัง ​ ทุกขัง ​ อนัตตา" ​ ดังนี้ 
- 
-'''​(ยกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปเกิดด้วยฤดู)'''​ 
- 
-รูปที่เกิดด้วยฤดู ​ เป็นรูปปรากฏชัดด้วยความเย็นและความร้อน ​ เพราะว่า ​ รูปที่ตั้งขึ้นใน ​ ฤดูกาลร้อน ​ เป็นรูปซีดเซียว ​ อิดโรย ​ ผิวพรรณเศร้าหมอง ​ รูปที่ตั้งขึ้นด้วยฤดูหนาว ​ เป็นรูปสดชื่น ​ เปล่งปลั่ง ​ ละเอียดอ่อน ​ โยคีนั้นกำหนดรูปรูปที่เกิดด้วยดูนั้น ​ แล้วยกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปอย่างนี้ว่า ​ "​รูปที่เป็นไปในเวลาร้อน ​ ยังไม่ทันถึงเวลาเย็น ​ ก็ดับเสียในเวลาร้อนนี้นั่นเอง ​ รูปที่เป็นไปในเวลาเย็น ​ ยังไม่ทันถึงเวลาร้อน ​ ก็ดับเสียในเวลาเย็นนี้นั่นเอง ​ เพราะฉะนั้น ​ รูปที่เกิดด้วยฤดูนั้นจึงเป็นอนิจจัง ​ ทุกขัง ​ อนัตตา" ​ ดังนี้ 
- 
-'''​(ยกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปเกิดจากกรรม)'''​ 
- 
-รูปที่เกิดจากกรรม ​ เป็นรูปปรากกฏชัดโดยทางทวารคืออาตนะ ​ เพราะว่าในจักขุทวารมีรูปอยู่ 54  คือ ​ รูปเกิดจากกรรม 30  ได้แก่ ​ จักขุทสกะ (10)  กายทสกะ (10)  ภาวทสกะ (10)  และอุปัตถัมภกรูปของรูปที่เกิดจากรูปเหล่านั้น ​ ซึ่งมีฤดูเป็นสมุฏฐาน ​ มีจิตเป็นสมุฏฐาน ​ และมีอาหารเป็นสมุฏฐาน ​ อีก 24  ในโสตทวาร ​ ฆานทวารและชิวหาทวาร ​ ก็ ​ (กำหนดจำนวน) ​ อย่างนั้น ​ ในกายทวารมี 44  ได้แก่ ​ กายทสกะ (10)  และภาวทสกะ (10)  และได้แก่รูปซึ่งมีฤดูเป็นสมุฏฐานเป็นต้น ​ (อีก 24)  ในมโนทวารก็มี ​ 54  เช่นกัน ​ ได้แก่ ​ หทยวัตถุทสกะ (10)  กายทสกะ (10)  และภาวทสกะ (10)  และรูปมีรูปซึ่งมีฤดูเป็นสมุฏฐานเป็นต้น (อีก 24) 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 305)''</​fs></​sub>​ 
- 
-โยคีนั้น ​ ครั้นกำหนดรู้รูปแม้ทั้งหมดนั้นแล้ว ​ จึงยกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปทั้งหลายนั้นอย่างนี้ว่า ​ "​รูปที่เป็นไปในจักขุทวาร ​ ยังไม่ทันถึงโสตทวาร ​ ก็ดับเสียในจักขุทวารนี้นั่นแล ​ รูปที่เป็นไปในโสตทวารยังไม่ทันถึงฆานทวาร…..รูปที่เป็นไปในฆานทวารยังไม่ทันถึงชิวหาทวาร……รูปที่เป็นไปในชิวหาทวารยังไม่ทันถึงมโนทวาร ​ ก็ดับเสียในกายทวารนี้นั่นแล ​ เพราะฉะนั้น ​ รูปนั้นจึงเป็นอนิจจัง ​ ทุกขัง ​ อนัตตา" ​ ดังนี้ 
- 
-'''​(ยกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปมีจิตเป็นสมุฏฐาน)'''​ 
- 
-รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ​ เป็นรูปปรากฏชัดด้วยความมีโสมนัสและโทมนัส ​ เป็นความจริง ​ รูปที่บังเกิดขึ้นในเวลามีโสมนัสเป็นรูปละเอียดอ่อน ​ นุ่มนวล ​ เปล่งปลั่ง ​ น่าแตะต้อง ​ รูปที่บังเกิดขึ้นในเวลาโทมนัสเป็นรูปซีดเซียว ​ อิดโรย ​ ผิวพรรณหม่นหมอง ​ ครั้นโยคีนั้นกำหนดรู้ ​ รูปมีจิตเป็นสมุฏฐานนั้นแล้ว ​ จึงยกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปนั้นอย่างนี้ว่า ​ "​รูปที่เป็นไปในเวลามีโสมนัส ​ ยังไม่ทันถึงเวลามีโทมนัส ​ ก็ดับเสียในเวลามีโสมนัสนี้นั่นแล ​ รูปที่เป็นไปในเวลามีโทมนัส ​ ยังไม่ทันถึงเวลามีโสมนัสก็ดับเสียในเวลามีโทมนัสนี้นั่นแล ​ เพราะฉะนั้น ​ แม้รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานนั้นก็เป็นอนิจจัง ​ ทุกขัง ​ อนัตตา" ​ ดังนี้ 
- 
-เมื่อโยคีนั้นกำหนดรู้รูปมีจิตเป็นสมุฏฐานแล้วยกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปนั้นอยู่อย่างนี้ ​ ความก็ปรากฏชัด ​ ดังต่อไปนี้ 
- 
-ชีวิตํ ​ อตตภาโว ​     สุขทุกขา ​ จ  เกวลา 
- 
-เอกจิตตสมายุตตา ​   ลหุโส ​ วตตเต ​ ขโณ. 
- 
-'''​แปลความว่า'''​ 
- 
-ชีวิต ​ อัตภาพ ​ สุข ​ และทุกข์ ​ แต่ละอย่าง ​ ประกอบ 
- 
-ร่วมอยู่กับจิตดวงหนึ่ง ๆ  ขณะ ​ (ของจิตดวงหนึ่ง ๆ)  ผ่าน 
- 
-ไปรวดเร็ว 
- 
-จุลลาสีติสหสสานิ ​   กปปํ ​ ติฏฐนติ ​ เย ​ มรู 
- 
-น  เตวว ​ เตปิ ​ ติฏฐนติ ​   ทวีหิ ​ จิตเตหิ ​ สโมหิตา. 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 306)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​แปลความว่า'''​ 
- 
-เทวดาทั้งหลายเหล่าใดตั้งอยู่ตลอด 84,000 กัป 
- 
-แม้เทวดาทั้งหลายเหล่านั้นก็หาตั้งอยู่ด้วยจิต 2  ดวง ​ ซึ่งตั้ง 
- 
-อยู่พร้อมกันไม่ 
- 
-เย ​ นิรุทธา ​ มรนตสส ​   ติฏฐมานสส ​ วา ​ อิธ 
- 
-สพเพว ​ สทิสา ​ ขนธา ​   คตา ​ อปปฏิสนธิกา. 
- 
-'''​แปลความว่า'''​ 
- 
-ขันธ์ทั้งหลายเหล่าใดที่ดับไปแล้วของสัตว์ที่ตายก็ดี 
- 
-หรือว่าของสัตว์ที่ยังตั้งอยู่ในปวัตติกาลนี้ก็ดี ​ ขันธ์ทั้งหลาย 
- 
-เหล่านั้น ​ ก็เป็นเช่นเดียวกันทั้งหมดนั่นแล ​ คือ ​ ดับไป ​ ไม่มี 
- 
-การติดต่อกัน ​ (เป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่งๆ) 
- 
-อนนตรา ​ จ  เย ​ ภคคา ​   เย ​ จ  ภคคา ​ อนาคเต 
- 
-ตทนตรา ​ นิรุทธานํ ​    ​เวามํ ​ ตตถิ ​ ลกขเณ. 
- 
-'''​แปลความว่า'''​ 
- 
-สังขารทั้งหลายเหล่าใดที่แตกดับแล้วเป็นลำดับๆ ​ (ใน 
- 
-อดีต) ​ ก็ดี ​ แลสังขารทั้งหลายเหล่าใดที่จักแตกดับใน 
- 
-อนาคตก็ดี ​ สังขารทั้งหลายที่แตกดับอยู่ ​ ในระหว่างอดีต 
- 
-และอนาคตนั้นก็ดี ​ หามีความแตกต่างกันในลักษณะไม่ 
- 
-อนิพพตเตน ​ น  ชาโต ​   ปจจุปปนเนน ​ ชีวติ 
- 
-จิตตภงคา ​ มโต ​ โลโก ​   ปญญตติ ​ ปรมตถิยา. 
- 
-'''​แปลความว่า'''​ 
- 
-เพราะจิตไม่เกิด ​ สัตว์โลกชื่อว่ายังไม่เกิด ​ เพราะจิต 
- 
-ยังเกิดอยู่เป็นปัจจุบัน ​ สัตว์โลกชื่อว่ามีชีวิตอยู่ ​ เพราะจิต 
- 
-แตกดับ ​ สัตว์โลกชื่อว่าตาย ​ (นี้) ​ เป็นบัญญัติทางปรมัตถ์ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 307)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อนิธานคตา ​ ภคคา ​   ปุญโช ​ นตถิ ​ อนาคเต 
- 
-นิพพตตา ​ เยปิ ​ ติฏฐนติ ​   อารคเค ​ สาสปูปมา. 
- 
-'''​แปลความว่า'''​ 
- 
-สังขารทั้งหลายที่แตกดับแล้ว ​ มิได้ไปสู่ที่เก็บไว้ ​ (ณ  ที่ 
- 
-ไหนๆ) ​ ในอนาคตก็ไม่มีกอง ​ (สังขารเก็บไว้) ​ อีกทั้งสังขาร 
- 
-ทั้งหลายใดที่เก็บมาแล้วก็ตั้งอยู่ ​ (ชั่วเวลา) ​ เหมือนเมล็ด 
- 
-พรรณผักกาด ​ บนปลายเข็ม 
- 
-นิพพตตานญจ ​ ธมมานํ ​     ภงโค ​ เนสํ ​ ปุรกขโต 
- 
-ปโลกธมมา ​ ติฏฐนติ ​   โปราเณหิ ​ อมิสสิตา. 
- 
-'''​แปลความว่า'''​ 
- 
-และพอสังขารธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นมา ​ ความแตกดับ 
- 
-ของสังขารธรรมทั้งหลายเหล่านั้นก็ห้อมล้อมอยู่แล้ว ​ สังขาร 
- 
-ธรรมทั้งหลายมีความแตกสลายไปเป็นธรรมดา ​ ตั้งอยู่เป็น 
- 
-ปัจจุบัน ​ หาสัมพันธ์ปะปนกับสังขารธรรมโบราณ ​ (คืออดีต) 
- 
-ทั้งหลายไม่ 
- 
-อทสสนโต ​ อายนติ ​   ภคคา ​ คจฉนตยทสสนํ 
- 
-วิชชุปปาโทว ​ อากาเส ​   อุปปชชนติ ​ วยนติ ​ จ. 
- 
-'''​แปลความว่า ​ '''​ 
- 
-สังขารธรรมเหล่านั้นมาจากที่ซึ่งใครไม่เห็นแตกดับแล้ว 
- 
-ก็ไปสู่ความไม่เห็น ​ เกิดขึ้นและดับไป ​ เหมือนสายฟ้าแลบ 
- 
-เกิดขึ้น ​ (และดับไป) ​ ในอากาศ 
- 
-ครั้นโยคีนั้นยกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปทั้งหลายมีรูปที่เกิดด้วยอาหารเป็นต้นอย่างนี้แล้ว ​ จึงยกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปธรรมดา ​ ต่อไปอีก 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 308)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​(รูปธรรมดาโดยธรรมชาติ)'''​ 
- 
-รูปที่เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งวิวัฏฏกัปป์ ​ เป็นรูปภายนอก ​ ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ ​ มีประเภทต่างๆ ​ เช่น ​ เหล็ก ​ โลหะ ​ ดีบุก ​ ตะกั่ว ​ ทอง ​ เงิน ​ มุกดา ​ มณี ​ ไพทูรย์ ​ สังข์ ​ หิน ​ (มีค่า) ​ ประพาฬ ​ ทับทิม ​ แก้วลาย ​ แผ่นดิน ​ แผ่นหิน ​ ภูเขา ​ ต้นหญ้า ​ ต้นไม้ ​ และ ​ เถาวัลย์ ​ เป็นต้น ​ ชื่อว่ารูปธรรมดา 
- 
-'''​(ยกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปธรรมดา)'''​ 
- 
-รูปธรรมดานั้นเป็นรูปปรากฏชัดแก่โยคีนั้น ​ โดยทางกล้าไม้มีกล้าไม้อโศกเป็นต้น ​ เพราะว่า ​ กล้าไม้อโศกนั้นเริ่มต้นทีเดียวก็มีสีแดงอ่อนล่วงไป 2  วัน 3 วันจากนั้น ​ ก็แดงเข้มขึ้น ​ ล่วงไป 2 วัน 3  วันต่อมาอีกก็แดงนวลลง ​ จากนั้น ​ (แตกเป็นใบอ่อน) ​ มีสีเหมือนใบไม้อ่อน ​ ต่อจากนั้น ​ มีสีเป็นใบไม่แก่ขึ้น ​ จากนั้นมีสีเป็นใบไม้เขียว ​ จากนั้นมีใบสีเขียวแก่ ​ ตั้งแต่เวลาที่ใบเป็นสีสีเขียวแก่นั้นไป ​ ก็ทำความสืบต่อของรูปใบที่ยังเหมือนกันให้ติดต่อสืบเนื่องกันอยู่ ​ โดย ​ (เวลาผ่านไป) ​ ประมาณ 1 ปี ​ ก็ ​ (เปลี่ยนสี) ​ เป็นใบไม้เหลือง ​ แล้วหลุดจากขั้วหล่นไป 
- 
-โยคีนั้นครั้นกำหนดรู้ใบอโศกนั้นแล้ว ​ จึงยกพระไตรลักษณ์เข้าในใบอโศกนั้นอย่างนี้ว่า ​ "​รูปที่เป็นไปในกาลมีสีแดงอ่อน ​ ยังไม่ทันถึงกาลมีสีแดงเข้มเลย ​ ก็ดับเสีย ​ รูปที่เป็นไปในกาลมีสีแดงเข้ม ​ ยังไม่ทันถึงกาลมีสีแดงนวล…..รูปที่เป็นไปในกาลมีสีแดงนวล ​ ยังไม่ทันถึงกาลมีสีเป็นใบไม้อ่อน…..รูปที่เป็นไปในกาลมีสีเป็นใบไม้อ่อนยังไม่ทันถึงกาลมีสีเป็นใบไม้แก่…..รูปที่เป็นไปในกาลมีสีเป็นใบไม้แก่ ​ ยังไม่ทันถึงกาลมีสีเป็นใบไม้เขียว…..รูปที่เป็นไปในกาลมีสีเป็นใบไม้เขียว ​ ยังไม่ทันถึงกาลมีสีเป็นใบไม้เขียวแก่…..รูปที่เป็นไปในกาลมีสีเป็นใบไม้เขียวแก่ ​ ยังไม่ทันถึงกาลเป็นใบไม้เหลือง…..รูปที่เป็นไปในกาลเป็นใบไม้เหลือง ​ ยังไม่ทันถึงกาลหลุดจากขั้วหล่นไปก่อนก็ดับเสีย ​ เพราะฉะนั้น ​ ใบอโศกนั้นจึงเป็นอนิจจัง ​ ทุกขัง ​ อนัตตา" ​ ดังนี้ ​ แล้วกำหนดรู้รูปธรรมดาแม้ทุกชนิดโดยนัยนี้ 
- 
-โยคียกพระไตรลักษณ์ขึ้นแล้วกำหนดรู้สังขารทั้งหลาย ​ โดยทาง ​ รูปสัตตกะ ​ ด้วยอาการดังกล่าวนี้ก่อน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 309)''</​fs></​sub>​ 
- 
-====สัมมสนะอรูป 7 วิธี==== 
- 
-อนึ่ง ​ คำใดที่ข้าพเจ้ากล่าวมาแล้ว ​ (ข้างต้น) ​ ว่า ​ "​ยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์แล้ว ​ กำหนดรู้สังขารทั้งหลาย) ​ โดยทาง ​ อรูปสัตตกะ" ​ ในคำนั้นมีมาติกาดังนี้ คือ 
- 
-1.    กลาปโต ​   โดยความเป็นกลุ่ม 
- 
-2.    ยมกโต ​   โดยความเป็นคู่ 
- 
-3.    ขณิกโต ​   โดยความเป็นไปโดยขณะ ​ (จิต) 
- 
-4.    ปฏิปาฏิโต ​   โดยลำดับ 
- 
-5.    ทิฏฐิอุคฆาฏนโต ​   โดยเพิกถอนความเห็นผิด 
- 
-6.    มานสมุคฆฏนโต ​   โดยเพิกถอนมานะ 
- 
-7.    นิกันติปริยาทานโต ​   โดยความสิ้นไปแห่งความใคร่ 
- 
-ในอาการ 7  อย่างนั้น ​ คำว่า ​ "​โดยความเป็นกลุ่ม" ​ หมายถึง (กลุ่ม) ​ ธรรมมีผัสสะเป็น ​ (อันดับ) ​ ที่ 5 
- 
-(ถาม) ​ กำหนดรู้โดยความเป็นกลุ่มอย่างไร ? 
- 
-(ตอบ) ​ พระภิกษุในพระศาสนานี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ​ "​ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นที่ 5  เหล่านี้ใด ​ เกิดขึ้นแล้วในการกำหนดรู้ว่า ​ "​ผมทั้งหลายไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอนัตตา" ​ และธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นที่ 5  เหล่านี้ใด ​ เกิดขึ้นแล้ว ​ ในการกำหนดรู้ว่า ​ "​ขนทั้งหลาย….ฯลฯ…..มันสมอง ​ ไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอนัตตา" ​ ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นยังไม่ทันถึงธรรมนอกนี้และนอกนี้ ​ ก็ทำเสียงตฏะตฏะพินาศไปเป็นปล้อง ๆ  เป็นท่อน ๆ  เหมือนงาที่เขาวางลงบนแผ่นกระเบื้องอันร้อน ​ (แตกอยู่เปรี๊ยะๆ) ​ ฉะนั้น ​ เพราะฉะนั้น ​ ธรรมทั้งหลาย ​ (มีผัสสะเป็นที่ 5)  เหล่านั้นจึงไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอนัตตา" ​ ดังนี้ 
- 
-'''​นี้เป็นนัยในวิสุทธิกถาก่อน'''​ 
- 
-ส่วนใน ​ อริยวังสกถา ​ ท่านกล่าวไว้ว่า ​ "​เมื่อโยคีกำหนดรู้อยู่ซึ่งจิตที่เป็นไปอยู่ว่า ​ "​รูปใน 7  ฐานะใน ​ รูปสัตตกะ ​ (ที่กล่าวมาแล้ว) ​ ข้างต้นเป็นของไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอนัตตา ​ ด้วย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 310)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​จิตอีกดวงหนึ่งว่า ​ "​จิตดวง ​ (ที่เป็นไปอยู่) ​ นั้น ​  ​ก็ไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอนัตตา" ​ ดังนี้ ​ ชื่อว่า ​ "​กำหนดรู้โดยความเป็นกลุ่ม" ​ คำที่กล่าวไว้ในอริยวังสกถานั้นถูกต้องกว่า ​ เพราะฉะนั้นเราจักจำแนกการกำหนดรู้ ​ (โดยความเป็นคู่เป็นต้น) ​ แม้ที่ยังเหลือ ​ โดยนัย ​ (อริยวังสกถา) ​ นั้นทางเดียว'''​ 
- 
-คำว่า ​ "​โดยความเป็นคู่" ​ ความว่า ​ พระภิกษุในพระศาสนานี้กำหนดรู้รูประหว่างความยึดถือไว้ ​ (ปฏิสนธิ) ​ และความปล่อยวาง ​ (จุติ) ​ ว่า ​ "​ไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอนัตตา" ​ แล้วกำหนดรู้ ​ จิตแม้ดวงนั้น ​ เองด้วย ​ จิตอีกดวงหนึ่งว่า ​ "​(แม้จิตดวงนั้น) ​ ก็ไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอนัตตา" ​ ดังนี้ ​ พระภิกษุกำหนดรู้รูปที่ถึงความแตกดับด้วยการเติบโตขึ้นตามวัย 1  รูปเกิดขึ้นด้วยอาหาร 1  รูปเกิดขึ้นด้วยฤดู 1  รูปเกิดจากกรรม 1  รูปมีจิตเป็นสมุฏฐาน 1  รูปธรรมดา 1  ว่า ​ "​ไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอนัตตา" ​ แล้วกำหนดรู้จิตแม้ดวงนั้นเองด้วยจิตอีกดวงหนึ่งว่า ​ "​(แม้จิตดวงนั้น) ​ ก็ไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอนัตตา"​ 
- 
-พระภิกษุนั้นชื่อว่า ​ กำหนดรู้ ​ (นามธรรมและรูปธรรม) ​ โดยความเป็นคู่กัน ​ ด้วยอาการดังกล่าวนี้ ​ 
- 
-คำว่า ​ "​โดยความเป็นไปโดยขณะ(จิต)" ​ ความว่า ​ พระภิกษุในพระศาสนานี้กำหนดรู้รูประหว่างความยึดถือไว้และความปล่อยวางว่า ​ "​เป็นอนิจจัง ​ ทุกขัง ​ อนัตตา" ​ แล้วกำหนดรู้จิตดวงที่ 1 นั้น ​ ด้วยจิตดวงที่ 2  ว่า ​ "​เป็นอนิจจัง ทุกขัง ​ อนัตตา" ​ กำหนดรู้จิตดวงที่ 2  ด้วยจิตดวงที่ 3…..กำหนดรู้จิตดวงที่ 3  ด้วยจิตดวงที่ 4…..กำหนดรู้จิตดวงที่ 4  ด้วยจิตดวงที่ 5  ว่า ​ "​แม้จิตดวงที่ 4  นี้ ​ ก็เป็นอนิจจัง ​ ทุกขัง ​ อนัตตา" ​ ดังนี้ 
- 
-พระภิกษุกำหนดรู้รูปที่ถึงความแตกดับด้วยความเติบโตขึ้นตามวัย 1   ​รูปเกิดด้วยอาหาร 1  รูปเกิดด้วยฤดู 1  รูปเกิดจากกรรม 1  รูปมีจิตเป็นสมุฏฐาน 1  รูปธรรมดา 1  ว่า"​ไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอนัตตา" ​ ดังนี้แล้ว ​ ควรกำหนดรู้จิตดวงที่ 1  นั้นด้วยจิตดวงที่ 2  กำหนดรู้จิตดวงที่ 2  ด้วยจิตดวงที่ 3  กำหนดรู้จิตดวงที่ 3  ด้วยจิตดวงที่ 4  กำหนดรู้จิตดวงที่ 4  ด้วยจิตดวงที่ 5  ว่า ​ "​แม้จิตดวงนี้แต่ละดวงก็ไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอนัตตา" ​ ดังนี้ 
- 
-พระภิกษุเมื่อกำหนดรู้จิตทีละ 4  ดวง ​ เริ่มต้นตั้งแต่กำหนดรูป ​ (ก่อน) ​ อย่างนี้ชื่อว่า ​ กำหนดรู้โดยความเป็นไปโดยขณะ(จิต) 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 311)''</​fs></​sub>​ 
- 
-คำว่า ​ "​โดยลำดับ" ​ ความว่า ​ พระภิกษุกำหนดรู้รูประหว่างความยึดถือไว้และความปล่อยวางว่า ​ "​ไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอนัตตา" ​ ดังนี้ ​ แล้วกำหนดรู้จิตดวงที่ 1  ด้วยจิตดวงที่ 2…..กำหนดรู้จิตดวงที่ 2  ด้วยจิตดวงที่ 3…..กำหนดรู้จิตดวงที่ 3  ด้วยจิตดวงที่ 4…..ฯลฯ ​ กำหนดรู้จิตดวงที่ 10  ด้วยจิตดวงที่ 11  ด้วยจิตดวงที่ 11ว่า ​ "​แม้จิตดวงนี้ก็ไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอนัตตา" ​ ดังนี้ 
- 
-พระภิกษุกำหนดรู้รูปที่ถึงความดับด้วยความเติบโตขึ้นตามวัย 1  รูปเกิดด้วยอาหาร 1  รูปเกิดด้วย ฤดู 1  รูปเกิดจากกรรม 1  รูปมีจิตเป็นสมุฏฐาน 1  รูปธรรมดา 1  ว่า ​ "​ไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอนัตตา" ​ ดังนี้แล้วควรกำหนดรู้จิตดวงที่ 1  นั้นด้วยจิตดวงที่ 2…..กำหนดรู้จิตดวงที่ 2  ด้วยจิตดวงที่ 3…..ฯลฯ ​ กำหนดรู้จิตดวงที่ 10  ด้วยจิตดวงที่ 11  ว่า ​ "​แม้จิตดวงนี้ก็ไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอนัตตา" ​ ดังนี้ ​ ตลอดเวลากลางวันสิ้นทั้งวันโดยลำดับวิปัสสนาอย่างนี้ 
- 
-แต่ว่า ​ ทั้งรูปกัมมัฏฐาน ​ ทั้งอรูปกัมมัฏฐาน ​ เพียงกำหนดรู้ถึงจิตดวงที่ 10  ก็เป็นการเพียงพอ ​ เพราะฉะนั้น ​ ท่านจึงกล่าวไว้ ​ (ในอริยวังสกถา) ​ ว่า ​ ควรพักไว้แค่ในจิตดวงที่ 10  เท่านั้น 
- 
-พระภิกษุผู้กำหนดรู้ด้วยอาการดังกล่าวนี้ ​ ชื่อว่ากำหนดรู้ ​ โดยลำดับ (จิต) 
- 
-'''​(กำหนดรู้โดยเพิกถอนทิฏฐิ ​ มานะและสิ้นความใคร่)'''​ 
- 
-ในอาการ 3  อย่าง ​ คือ ​ โดยเพิกถอนความเห็นผิด 1  โดยเพิกถอนมานะ 1  โดยความสิ้นไปแห่งความใคร่ 1  เหล่านี้ชื่อว่านัยแห่งการกำหนดรู้แยกกัน ​ หามีไม่ ​ (ต้องกำหนดรู้ร่วมกัน) 
- 
-อนึ่ง ​ พระภิกษุผู้เห็นอยู่ซึ่งรูป ​ (ทีกำหนดรู้แล้ว) ​ ข้างต้นนั้นก็ดี ​ และอรูปที่กำหนดรู้ในที่นี้ก็ดี ​ นี้นั้น ​ จะไม่เห็นสิ่งอื่นที่เรียกว่า ​ สัตว์ ​ นอกไปจากรูปและอรูป ​ จำเดิมแต่ไม่เห็นสัตว์ ​ ก็เป็นอันเพิกถอน ​ สัตตสัญญา ​ (ความสำคัญว่ามีสัตว์) ​ ได้แล้ว ​ เมื่อพระภิกษุกำหนดรู้สังขาร 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 312)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ทั้งหลายด้วยจิตที่ถอนสัตตสัญญาได้แล้ว ​ ทิฏฐิก็ไม่เกิดขึ้น ​ เมื่อทิฏฐิไม่เกิดขึ้น ​ ก็ชื่อว่าเป็นอันเพิกถอนทิฏฐิได้แล้ว ​ เมื่อภิกษุกำหนดรู้สังขารทั้งหลายด้วยจิตที่เพิกถอนทิฏฐิได้แล้วมานะก็ไม่เกิดขึ้น ​ เมื่อมานะไม่เกิดขึ้น ​ ก็ชื่อว่าเป็นอันถอนมานะได้แล้ว ​ เมื่อพระภิกษุกำหนดรู้สังขารทั้งหลายด้วยจิตที่เพิกถอนมานะได้แล้ว ​ ตัณหาก็ไม่เกิดขึ้น ​ เมื่อตัณหาไม่เกิดขึ้น ​ นิกันติ ​ (ความใคร่) ​ ก็ชื่อว่าเป็นอันสิ้นไปฉะนี้แล ​ คำนี้ท่านกล่าวไว้ใน ​ วิสุทธิกถา ​ ก่อน'''​ 
- 
-แต่ใน ​ อริยวังสกถา ​ ท่านตั้งมาติกาไว้ว่า ​ "​โดยเพิกถอนทิฏฐิ 1  โดยเพิกถอนมานะ1 ​ โดยความสิ้นไปแห่งนิกันติ ​ (ความใคร่)1" ​ แล้วแสดงนัย ​ (คือวิธีกำหนดรู้) ​ ไว้ดังนี้ว่า ​ "​ความจริง ​ เมื่อโยคีถือว่า ​ "​ข้าพเจ้าเห็นแจ้งอยู่ ​ วิปัสสนา ​ (เป็น) ​ ของข้าพเจ้า" ​ ดังนี้ ​ ยังหาชื่อว่ามีการเพิกถอนทิฏฐิได้ไม่ ​ แต่เมื่อโยคีถือว่า ​ "​สังขารทั้งหลายนั่นแล ​ เห็นแจ้งพิจารณา ​ กำหนด ​ กำหนดรู้ ​ จำแนกอยู่ ​ ซึ่งสังขารทั้งหลาย" ​ ดังนี้ ​ จึงชื่อว่ามีการเพิกถอนทิฏฐิ ​ เมื่อโยคีถือว่า ​ "​ข้าพเจ้าเห็นแจ้งด้วยดี ​ ข้าพเจ้าเห็นแจ้งด้วยความพึงพอใจ" ​ ดังนี้ ​ ยังหาชื่อว่ามีการเพิกถอนมานะไม่แต่เมื่อโยคีถือว่า ​ "​สังขารทั้งหลายนั่นเอง ​ เห็นแจ้ง ​ พิจารณา ​ กำหนด ​ กำหนดรู้ ​ จำแนกอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลาย" ​ ดังนี้ ​ จึงชื่อว่ามีการถอนมานะ ​ เมื่อโยคีพอใจวิปัสสนาอยู่ว่า ​ "​ข้าพเจ้าสามารถเห็นแจ้ง" ​ ดังนี้ ​ หาชื่อว่ามีการสิ้นไปแห่งความใคร่ไม่ ​ แต่เมื่อโยคีถืออยู่ว่า ​ "​สังขารทั้งหลายนั่นเอง ​ เห็นแจ้ง ​ พิจารณา ​ กำหนด ​ กำหนดรู้ ​ จำแนกอยู่ ​ ซึ่งสังขารทั้งหลาย" ​ ดังนี้ ​ จึงชื่อว่ามีการสิ้นไปแห่งความใคร่ ​ เมื่อโยคีเห็นอยู่ว่า ​ "​ถ้าสังขารทั้งหลายพึงเป็นอัตตาไซร้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 313)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​การถือ ​ (สังขารทั้งหลายนั้น) ​ ว่า ​ "​อัตตา" ​ ก็ควร ​ แต่ว่า ​ (สังขารทั้งหลาย) ​ ไม่มีอัตตาเลย ​ ถือว่าเป็นอัตตา ​ เพราะฉะนั้นสังขารทั้งหลายเหล่านั้นจึงเป็นอนัตตา ​ โดยความหมายว่าไม่เป็นไปในอำนาจ ​ เป็นของไม่เที่ยง ​ โดยความหมายว่ามีแล้วหามีไม่ ​ (คือเกิดแล้วดับไป) ​ เป็นทุกข์โดยความหมายว่าเบียดเบียนเฉพาะหน้าด้วยความเกิดและความดับ" ​ ดังนี้ ​ ชื่อว่ามีการเพิกถอนทิฏฐิ ​ เมื่อโยคีเห็นอยู่ว่า ​ "​ถ้าสังขารทั้งหลายพึงเป็นของเที่ยงไซร้ ​ การถือ ​ (สังขารทั้งหลายนั้น) ​ ว่า ​ "​เป็นของเที่ยง" ​ ก็ควร ​ แต่ว่า ​ (สังขารทั้งหลาย) ​ ไม่เที่ยงเลย ​ ถือว่าเป็นของเที่ยง ​ เพราะฉะนั้น ​ สังขารทั้งหลายเหล่านั้นจึงเป็นของไม่เที่ยงโดยความหมายว่ามีแล้วหามีไม่ ​ เป็นทุกข์โดยความหมายว่าเบียดเบียนเฉพาะหน้าด้วยความเกิดและความดับ ​ เป็นอนัตตาโดยความหมายว่าไม่เป็นไปในอำนาจ" ​ ดังนี้ ​ ชื่อว่ามีการเพิกถอนมานะ ​ เมื่อโยคีเห็นอยู่ว่า ​ "​ถ้าสังขารทั้งหลายพึงเป็นสุขไซร้ ​ การถือ ​ (สังขารทั้งหลายนั้น) ​ ว่า ​ "​เป็นสุข" ​ ก็ควรแต่ว่า ​ (สังขารทั้งหลาย) ​ เป็นทุกข์โดยแท้ ​ ถือว่าเป็นทุกข์ ​ เราะฉะนั้น ​ สังขารทั้งหลายเหล่านั้นจึงเป็นทุกข์ ​ โดยความหมายว่าเบียดเบียนเฉพาะหน้าด้วยความเกิดและความดับ ​ เป็นของไม่เที่ยงโดยความหมายว่ามีแล้วหามีไม่ ​ เป็นอนัตตาโดยความหมายว่าไม่เป็นไปในอำนาจ" ​ ดังนี้ ​ ชื่อว่ามีการสิ้นไปแห่งความใคร่'''​ 
- 
-"​เมื่อโยคีเห็นอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลายโดยความเป็นอนัตตา ​ ชื่อว่ามีการเพิกถอนทิฏฐิเมื่อโยคีเห็นอยู่โดยความไม่เที่ยง ​ ชื่อว่ามีการเพิกถอนมานะ ​ เมื่อโยคีเห็นอยู่โดยความเป็นทุกข์ ​ ชื่อว่ามีการสิ้นไปแห่งความใคร่ ​ ด้วยอาการดังกล่าวนั้น ​ เพราะเหตุนี้ ​ วิปัสสนานี้ชื่อว่าตั้งอยู่ในฐานะโดยเฉพาะของตนๆ" ​ ดังนี้ 
- 
-โยคียกพระไตรลักษณ์ขึ้นกำหนดสังขาร ​ (ด้วยสัมมสนญาณ) ​ โดยทางอรูปสัตตกะ ​ ด้วยอาการดังกล่าวนี้ 
- 
-อนึ่ง ​ ทั้งรูปกัมมัฏฐานทั้งอรูปกัมมัฏฐานของโยคีนั้น ​ เป็นกัมมัฏฐานที่คล่องแคล่ว ​ เพียงพอด้วยอาการเพียงนี้ 
- 
-'''​(มหาวิปัสสนา 18)'''​ 
- 
-โยคีท่านนั้นเป็นผู้มีทั้งรูปกัมมัฏฐานและอรูปกัมมัโฐานคล่องแคล่วเพียงพออย่างนี้ ​ เมื่อแทงตลอด ​ (รู้แจ้ง) ​ เฉพาะ ณ  ที่นี้ก่อน ​ แต่เพียงเอกเทศของ ​ มหาวิปัสสนา 18  ที่ตนพึงบรรลุ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 314)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​โดยอาการทั้งปวง ​ ด้วยสามารถ ​ ปหานปริญญา ​ เริ่มต้นแต่ภังคานุปัสสนาญาณ ​ (โดยลำดับ) ​ ขึ้นไป ​ ก็ละธรรม ​ (มีนิจจสัญญาเป็นต้น) ​ ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ของมหาวิปัสสนา 18  นั้นได้'''​ 
- 
-ที่เรียกว่า ​ มหาวิปัสสนา 18  ได้แก่ ​ ปัญญา ​ มีอนิจจานุปัสสนา ​ เป็นต้น ​ ซึ่งโยคีเมื่อ 
- 
-1.    ทำ ​   อนิจจานุปัสสนา ​   ให้เกิดขึ้น ​   ก็ละ ​   นิจจสัญญา ​   ได้ 
- 
-(ปัญญาเห็นเนืองๆว่าไม่เที่ยง) ​       (ความสำคัญว่าเที่ยง) 
- 
-2.    ทำ ​   ทุกขานุปัสสนา ​   ให้เกิดขึ้น ​   ก็ละ ​   สุขสัญญา ​   ได้ 
- 
-(ปัญญาเห็นเนืองๆว่าเป็นทุกข์) ​       (ความสำคัญว่าเป็นสุข) 
- 
- 
- 
-3.    ทำ ​   อนัตตานุปัสสนา ​   ให้เกิดขึ้น ​   ก็ละ ​   อัตตสัญญา ​   ได้ 
- 
-(ปัญญาเห็นเนืองๆว่าไม่มีอัตตา) ​       (ความสำคัญว่ามีอัตตา) 
- 
-4.    ทำ ​   นิพพิทานุปัสสนา ​   ให้เกิดขึ้น ​   ก็ละ ​   นันทิ ​   ได้ 
- 
-(ปัญญาเห็นเนืองๆด้วยความเบื่อหน่าย) ​       (ความเพลิดเพลิน) 
- 
-5.    ทำ ​   วิราคานุปัสสนา ​   ให้เกิดขึ้น ​   ก็ละ ​   ราคะ ​   ได้ 
- 
-(ปัญญาเห็นเนืองๆด้วยปราศจากความกำหนัด) ​   (ความกำหนัด 
- 
-6.    ทำ ​   นิโรธานุปัสสนา ​   ให้เกิดขึ้น ​   ก็ละ ​   สมุทัย ​   ได้ 
- 
-(ปัญญาเห็นเนืองๆซึ่งความดับ) ​       (สิ่งที่เป็นแดนเกิด) 
- 
-7.    ทำ ​   ปฏนิสสัคคานุปัสสนา ​   ให้เกิดขึ้น ​   ก็ละ ​   อาทานะ ​   ได้ 
- 
-(ปัญญาเห็นเนืองๆด้วยการสละทิ้งไป) ​       (ความยึดถือไว้) 
- 
-8.    ทำ ​   ขยานุปัสสนา ​   ให้เกิดขึ้น ​   ก็ละ ​   ฆนสัญญา ​   ได้ 
- 
-(ปัญญาเห็นเนืองๆซึ่งความสิ้นไป) ​       (ความสำคัญว่าเป็นก้อน 
- 
-9.    ทำ ​   วยานุปัสสนา ​   ให้เกิดขึ้น ​   ก็ละ ​   อายูหนะ ​   ได้ 
- 
-(ปัญญาเห็นเนืองๆซึ่งความเสื่อมไป) ​       (ความขวนขวาย) 
- 
-10.    ทำ ​   วิปริณามานุปัสสนา ​   ให้เกิดขึ้น ​   ก็ละ ​   ธุวสัญญา ​   ได้ 
- 
-(ปัญญาเห็นเนืองซึ่งความแปรผัน) ​       (ความสำคัญว่ายั่งยืน) 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 315)''</​fs></​sub>​ 
- 
-11.    ทำ ​   อนิมิตตานุปัสสนา ​   ให้เกิดขึ้น ​   ก็ละ ​   นิมิตตะ ​   ได้ 
- 
-(ปัญญาเห็นเนืองว่าไม่มีนิมิต) ​       (ความมีนิมิต) ​   ได้ 
- 
- 
- 
-12.    ทำ ​   อัปปณิหิตานุปัสสนา ​   ให้เกิดขึ้น ​   ก็ละ ​   ปณิธิ ​   ได้ 
- 
-(ปัญญาเห็นเนืองๆว่าไม่มีที่ตั้ง) ​       (ตัณหาเป็นที่ตั้ง) 
- 
-13.    ทำ ​   สุญญตานุปัสสนา ​   ให้เกิดขึ้น ​   ก็ละ ​   อภินิเวสะ ​   ได้ 
- 
-(ปัญญาเห็นเนืองๆโดยความว่างเปล่า) ​       (ความยึดมั่น) 
- 
-14.    ทำ ​   อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ​   ให้เกิดขึ้น ​   ก็ละ ​   สารทานาภินิเวสะ ​   ได้ 
- 
-(วิปัสสนาในธรรมคือปัญญาอันยิ่ง) ​   (ความยึดมั่นด้วยการยึดถือว่ามี 
- 
-สาระ) 
- 
-15.    ทำ ​   ยถาภูตญาณทัสสนะ ​   ให้เกิดขึ้น ​   ก็ละ ​   สัมโมหาภินิเวสะ ​   ได้ 
- 
-(ความรู้ความเห็นตามเป็นจริง) ​   (ความยึดถือด้วยความลุ่มหลง) 
- 
-16.    ทำ ​   อาทีนวานุปัสสนา ​   ให้เกิดขึ้น ​   ก็ละ ​   อาลยาภินิเวสะ ​   ได้ 
- 
-(ปัญญาเห็นเนืองๆโดยความเป็นโทษ) ​   (ความยึดถือด้วยความอาลัย) 
- 
-17.    ทำ ​   ปฏิสังขานุปัสสนา ​   ให้เกิดขึ้น ​   ก็ละ ​   อัปปฏิสังขา ​   ได้ 
- 
-(ปัญญาเห็นเนืองๆด้วยพิจารณาทบทวน) ​   (ความไม่พิจารณาทบทวน) 
- 
-18    ทำ ​   วิวัฏฏานุปัสสนา ​   ให้เกิดขึ้น ​   ก็ละ ​   สังโยคาภินิเวส ​   ได้ 
- 
-(ปัญญาเห็นเนืองๆด้วยจิตถอยกลับ) ​   (ความยึดมั่นด้วยสังโยค) 
- 
-ใน ​ มหาวิปัสสนา 18  นั้น ​ เพราะเหตุที่โยคีท่านนี้ได้เห็นสังขารทั้งหลายโดยทางพระไตรลักษณ์มีอนิจจะเป็นต้นแล้ว ​ เพราะฉะนั้นจึงเป็นว่า ​ โยคีท่านนี้ได้แทงตลอดอนิจจานุปัสสนา ​ ทุกขานุปัสสนาและอนัตตานุปัสสนา ​ (ได้ 3  มหาวิปัสสนา) ​ แล้ว 
- 
-อนึ่ง ​ เพราะเหตุที่กล่าวไว้แล้วว่า ​ "​อนิจจานุปัสสนาใด ​ ก็ดี ​ และ ​ อนิมิตตานุปัสสนาใดก็ดี ​ ธรรม ​ (2)  นี้มีความหมายเดียวกัน ​ พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ​ อนึ่ง ​ ทุกขานุปัสสนาใด ​ ก็ดีและอัปปณิหิตานุปัสสนาใด ​ ก็ดี ​ ธรรม ​ (2)  นี้มีความหมายเดียวกัน ​ พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ​ อนัตตานุปัสสนาใด ​ ก็ดี ​ และสุญญตานุปัสสนาใด ​ ก็ดี ​ ธรรม (2)  นี้มีความหมายเดียวกันพยัญชนะเท่านั้นต่างกัน" ​ ดังนี้ ​ เพราะฉะนั้น ​ แม้อนิมิตตานุปัสสนา ​ อัปปณิหิตานุปัสสนา ​ และ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 316)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​สุญญตานุปัสสนาเหล่านั้นก็เป็นอันโยคีท่านนี้แทงทะลุด้วย ​ ส่วนอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ​ ก็คือ ​ วิปัสสนาแม้ทั้งปวง ​ ยถาภูตญาณทัสสนะก็สงเคราะห์เข้ากับกังขาวิตรณวิสุทธินั่นเอง ​ เพราะเหตุนี้ ​ แม้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนาและยถาภูตญาณทัสสนะทั้ง 2  นี้ ​ ก็เป็นอันโยคีท่านนี้แทงทะลุแล้วเหมือนกัน'''​ 
- 
-ในวิปัสสนาญาณทั้งหลายที่เหลือ ​ (จากที่กล่าวถึงนี้ ​ อีก 10  มีนิพพิทานุปัสสนาเป็นต้น) ​ บางญาณก็แทงทะลุ ​ (โดยเอกเทศ) ​ แล้ว ​ บางญาณก็มิได้แทงทะลุ ​ เราจักทำการจำแนกวิปัสสนาญาณทั้งหลายเหล่านั้นให้แจ่มแจ้งข้างหน้า ​ เพราะคำว่าที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วว่า ​ "​โยคีท่านนั้นเป็นผู้มีทั้งรูปกัมมัฏฐานและอรูปกัมมัฏฐานคล่องแคล่วอย่างนี้ ​ เมื่อแทงตลอด ​ (รู้แจ้ง) ​ เฉพาะ ณ  ที่นี้ก่อน ​ แต่เพียงเอกเทศของ ​ มหาวิปัสสนา 18  ที่ตนพึงบรรลุโดยอาการทั้งปวงด้วยสามารถ ​ ปหานปริญญา ​ เริ่มต้นแต่ภังคานุปัสสนาญาณ ​ (โดยลำดับ) ​ ขึ้นไป ​ ก็ละธรรมซึ่งเป็นปฏิปักษ์ของ ​ มหาวิปัสสนา 18  นั้นได้" ​ นี้ข้าพเจ้าหมายถึงวิปัสสนาญาณ ​ ซึ่งโยคีท่านนี้แทงตลอดแล้วนั่นเอง 
- 
-==อุทยพยญาณ== 
- 
-===ตรุณอุทยพญาณ=== 
- 
-'''​[อุทยพยญาณอย่างอ่อน]'''​ 
- 
-เพราะละนิจจสัญญาเป็นต้น ​ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อวิปัสสนามีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น ​ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ​ โยคีท่านนั้นเป็นผู้มีญาณหมดจดวิเศษ ​ ถึงฝั่งฟากแห่ง ​ สัมมสนญาณ ​ แล้ว ​ จึงเริ่มทำโยคะเพื่อบรรลุ อุทยพยานุปัสสนาญาณ ​ ซึ่งท่านกล่าวไว้ในลำดับแห่งสัมสนญาณว่า ​ "​ปัญญาในการเห็นเนืองๆ ​ ซึ่งความแปรผันของปัจจุบันธรรมทั้งหลาย ​ ชื่อว่า ​ อุทยพยานุปัสสนาญา" ​ ดังนี้ ​ และเมื่อเริ่มทำ ​ ก็เริ่มต้นโดยสังเขปก่อน ​ ในการเริ่มต้นโดยสังเขปนั้น ​ มีพระบาลี ​ (แปลความ) ​ ดังต่อไปนี้ 
- 
-"​(ถามว่า) ​ ปัญญาในการเห็นเนืองๆ ​ ซึ่งความแปรผันของปัจจุบันธรรมทั้งหลาย ​ ชื่อว่า ​ อุทยพยานุปัสสนาญาณ ​ เป็นอย่างไร ? 
- 
-"​ตอบว่า) ​ ปัญญาในการเห็นเนืองๆ ​ ซึ่งความแปรผันของธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน ​ ชื่อว่าอุทยพยานุปัสสนาญาณ ​ คือ ​ รูปที่เกิดแล้วเป็นปัจจุบัน ​ ลักษณะแห่งความเกิด 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 317)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ของรูปนั้น ​ เป็น ​ อุทยะ ​ (ความเกิดขึ้น) ​ ลักษณะแห่งความแปรผัน ​ (ของรูปนั้น) ​ เป็น ​ วยะ ​ (ความดับไป) ​ ปัญญาเห็นเนืองๆเป็น ​ ญาณ ​ เวทนาที่เกิดแล้ว…..สัญญาที่เกิดแล้ว…..สังขารที่เกิดแล้ว…..วิญญาณที่เกิดแล้ว….จักษุที่เกิดแล้ว ​ ฯลฯ ​ ภพที่เกิดแล้ว ​ เป็นปัจจุบันลักษณะแห่งความเกิดของภพนั้น ​ เป็น ​ อุทยะ ​ (ความเกิดขึ้น) ​ ลักษณะแห่งความแปรผันเป็น ​ วยะ ​ (ความดับไป) ​ ปัญญาเห็นเนืองๆเป็น ​ ญาณ" ​ ดังนี้ 
- 
-โยคีท่านนั้นเห็นอยู่เสมอเนืองๆ ​ ซึ่งมีลักษณะแห่งความเกิด ​ ซึ่งความเกิด ​ ซึ่งความเกิดขึ้น ​ ซึ่งอาการใหม่เอี่ยมของนามและรูปที่เกิดแล้ว ​ ว่า ​ อุทยะ ​ (ความเกิดขึ้น) ​ เห็นอยู่เสมอเนืองๆ ​ ซึ่งลักษณะแห่งความแปรผัน ​ ซึ่งความสิ้นหวัง ​ ซึ่งความแตกดับไปว่า ​ วยะ ​ (ความดับไป) ​ ตามนัยแห่งพระบาลี ​ (ดังกล่าว) ​ นี้ 
- 
-โยคีนั้นกำหนดรู้อย่างนี้ว่า ​ "​ในกาลก่อนแต่กาลเกิดขึ้นของนามและรูปนี้ ​ กองหรือที่เก็บไว้ของนามและรูป ​ ที่ยังไม่เกิดขึ้น ​ หามีไม่ ​ แม้เมื่อนามและรูปเกิดขึ้นอยู่ ​ ก็หามีที่เรียกว่า ​ การมาจากกองหรือที่เก็บไว้ไม่ ​ แม้เมื่อนามและรูปกำลังดับอยู่ ​ ก็หามีที่เรียกว่าไปสู่ทิศใหญ่และทิศน้อยไม่ ​ แม้นามและรูปที่ดับไปแล้ว ​ ก็หามีสถานที่ตั้งเป็นกอง ​ โดยเป็นที่เก็บไว้ ​ โดยเป็นที่ฝังไว้ ​ ในสถานที่แห่งหนึ่ง ​ มิได้ ​ เปรียบเหมือนพิณเมื่อบรรเลงอยู่ ​ ก่อนแต่การ ​ บังเกิดขึ้นของเสียงที่บังเกิดขึ้นแล้ว ​ หามีที่เก็บ ​ (เสียง) ไว้ ​ (ก่อน)ไม่ ​ เสียงที่กำลังบังเกิดขึ้นก็มิได้มาจากที่เก็บ(เสียง) ​ ไว้ ​ เมื่อเสียงดับไป ​ ก็มิได้มีการไปสู่ทิศใหญ่และทิศน้อย ​ เสียงที่ดับไปแล้วก็มิได้เก็บไปตั้งอยู่ ​ ณ ที่ไหนๆ ​ เสียง ​ (พิณ) ​ นั้นไม่มี ​ (อยู่ก่อน) ​ เกิดมีขึ้นเพราะอาศัยพิณ ​ และการบรรเลงพิณ ​ และความพยายามอันควรแก่การบรรเลงนั้นของบุรุษโดยแท้แล ​ ครั้น ​ (เสียงของพิณนั้น) ​ มีแล้วก็กลับหายไปฉันใด ​ ธรรมทั้งหลายทั้งที่มีรูปและที่ไม่มีรูปแม้ทั้งปวง ​ ไม่มี ​ ก็มีขึ้น ​ มีแล้ว ​ ก็กลับดับไปฉันนั้น " ​ ดังนี้ 
- 
-'''​(50 ​ ลักษณะของการเกิดและดับของขันธ์ 5)'''​ 
- 
-โยคีนั้นครั้นทำมนสิการความเกิดและความดับโดยสังเขปอย่างนี้แล้ว ​ จึงทำมนสิการโดยพิสดารทางปัจจัยและทางขณะต่อไปอีก ​ "​ความเกิดขึ้นของรูปแม้ด้วยอาการอย่างนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 318)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ความดับไปของรูปแม้ด้วยอาการอย่างนี้ ​ รูปเกิดขึ้นแม้ด้วยอาการอย่างนี้ ​ รูปดับไปแม้ด้วยอาการอย่างนี้ ​ (เป็นต้น) ​ ด้วยสามารถแห่งลักษณะ 50 ซึ่งท่านกล่าวไว้ในวิภังค์แห่งอุทยพยญาณนี้นั่นเอง ​ เพราะทำ ​ (จำแนก) ​ ให้เป็นขันธ์ละ 10  โดยการเห็นความเกิดขึ้น ​ และความดับไปของขันธ์หนึ่งๆ ​ (แต่ละขันธ์) ​ อย่างนี้'''​ 
- 
-'''​(5 ​ ลักษณะแห่งความเกิดขึ้นของรูปขันธ์)'''​ 
- 
-"​พระภิกษุเห็นความเกิดขึ้นของรูปขันธ์ ​ โดยความหมายว่าเกิดขึ้น ​ เพราะปัจจัย ​ คือ ​ อวิชชาสมทยา ​ รูปสมุทโย -  เพราะอวิชชาเกิดขึ้น รูปจึงเกิดขึ้น 1 
- 
-"​เห็นความเกิดขึ้นของรูปขันธ์ ​ โดยความหมายว่าเกิดขึ้น ​ เพราะปัจจัยคือ ​ ตณหาสมุทยา……กมมสมุทยา…..อาหารสมุทยา ​ รูปสมุทยา – เพราะตัณหาเกิดขึ้น ​ รูปจึงเกิดขึ้น 1  เพราะกรรมเกิดขึ้น ​ รูปจึงเกิดขึ้น 1  ทั้งเมื่อเห็นลักษณะแห่งความเกิด ​ ก็เห็นความเกิดขึ้นของรูปขันธ์ด้วย 1  เมื่อเห็นความเกิดขึ้นของรูปขันธ์ ​ ก็เห็นอยู่ ​ ลักษณะเหล่านี้"  ​ 
- 
-'''​(5 ลักษณะแห่งความดับของรูปขันธ์)'''​ 
- 
-"​พระภิกษุเห็นความดับของรูปขันธ์โดยความหมายว่าดับไป ​ เพราะปัจจัย ​ คือ ​ อวิชชานิโรธา ​ รูปนิโรโธ -  เพราะอวิชชาดับไป ​ เพราะอวิชชาดับไป ​ รูปจึงดับไป 1 
- 
-"​เห็นความดับของรูปขันธ์โดยความหมายว่าดับไป ​ เพราะปัจจัยคือ ​ ตณหานิโรธา…..กมมนิโรธา…..อาหารนิโรธา ​ รูปนิโรโธ -  เพราะตัณหาดับไป ​ รูปจึ้งดับไป 1  เพราะกรรมดับไป ​ รูปจึงดับไป 1  เพราะอาหารดับไป ​ รูปจึงดับไป 1  ทั้งเมื่อเห็นลักษณะของความแปรผันก็เห็นความดับของรูปขันธ์ด้วย 1  เมื่อเห็นความดับของรูปขันธ์ ​ ก็เห็นอยู่ 5  ลักษณะเหล่านี้"​ 
- 
-'''​(5 ลักษณะแห่งความเกิดของเวทนาขันธ์ ฯลฯ)'''​ 
- 
-"​อนึ่ง ​ พระภิกษุเห็นความเกิดขึ้นของเวทนาขันธ์ ​ โดยความหมายว่าเกิดขึ้นเพราะปัจจัยคือ ​ อวิชชาสมุทยา ​ เวทนาสมุทโย -  เพราะอวิชชาเกิดขึ้น ​ เวทนาจึงเกิดขึ้น 1 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 319)''</​fs></​sub>​ 
- 
-"​เห็นความเกิดขึ้นของเวทนาขันธ์ ​ โดยความหมายว่า ​ เกิดขึ้นเพราะปัจจัย ​ คือ ตณหาสมทยา….กมมสมุทยา….ผสสสมุทยา ​ เวทนาสมุทโย -  เพราะตัณหาเกิดขึ้น ​ เวทนาจึงเกิดขึ้น 1  เพราะกรรมเกิดขึ้น ​ เวทนาเกิดขึ้น 1  เพราะผัสสะเกิดขึ้น ​ เวทนาจึงเกิดขึ้น 1  ทั้งเมื่อเห็นลักษณะแห่งความเกิดขึ้น ​ ก็เห็นความเกิดขึ้นของเวทนาขันธ์ด้วย 1  เมื่อเห็นความเกิดขึ้นของเวทนาขันธ์ ​ ก็เห็นอยู่ 5  ลักษณะเหล่านี้"​ 
- 
-'''​(5 ลักษณะแห่งความดับของเวทนาขันธ์ ฯลฯ)'''​ 
- 
-"​พระภิกษุเห็นความดับของเวทนาขันธ์โดยความหมายว่าดับไปเพราะปัจจัย ​ คือ ​ อวิชชานิโรธา…..ตณหานิโรธา…..กมมนิโรธา…..ผสสนิโรธา ​ เวทนานิโรโธ -  เพราะอวิชชาดับไป ​ เวทนาจึงดับไป 1  เพราะตัณหาดับไป ​ เวทนาจึงดับไป 1  เพราะกรรมดับไป ​ เวทนาจึงดับไป 1  เพราะผัสสะดับไป ​ เวทนาจึงดับไป 1  ทั้งเมื่อเห็นลักษณะของความแปรผันก็เห็นความดับของเวทนาขันธ์ด้วย 1  เมื่อเห็นความดับของเวทนาขันธ์ ​ ก็เห็นอยู่ 5  ลักษณะเหล่านี้"​ 
- 
-"​และของสัญญาขันธ์ ​ ของสังขารขันธ์ ​ และวิญญาณขันธ์ ​ ก็เหมือนของเวทนาขันธ์ ​ ส่วนของวิญญาณขันธ์มีความแตกต่างกันดังนี้ ​ คือ ​ ในที่ ​ "​ผสส….."​(เปลี่ยนเป็น) ​ ว่า ​ "​นามรูปสมุทยา…..นามรูปนิโรธา…..เพราะนามและรูปเกิดขึ้น…..เพราะนามและรูปดับไป….."​ดังนี้ 
- 
-เมื่อโยคีนั้นมาสิการอยู่อย่างนี้ ​ ญาณ ​ (คือความรู้)ว่า ​ "​ทราบว่า ​ ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ไม่มี ​ แล้วมีขึ้น ​ มีแล้ว ​ กลับดับไป ​ ด้วยประการฉะนี้ ​ ก็ปรากฏแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น 
- 
-'''​(เห็นโดยปัจจัยและโดยขณะ)'''​ 
- 
-เมื่อโยคีนั้นเห็นความเกิดและดับโดย 2  ทาง คือ ​ โดยปัจจัย 1  และโดยขณะ 1  อยู่อย่างนี้ ​ ความแตกต่างกันของสัจจะ ​ ของปฏิจจสมุปบาท ​ ของนัย ​ และของลักษณะ ​ ก็ปรากฏชัดเพราะว่าการที่โยคีนั้นเห็นความเกิดขึ้นของขันธ์ทั้งหลายเพราะมีปัจจัย ​ คืออวิชชาเป็นต้นเกิดขึ้น ​ และเห็นความดับของขันธ์ทั้งหลายเพราะมีปัจจัยคืออวิชชาเป็นต้นดับไป ​ นี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 320)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​เป็นการเห็นความเกิดและความดับโดยปัจจัยของโยคีนั้น ​ แต่ว่าการที่โยคีเห็นอยู่ซึ่งลักษณะแห่งความเกิดและลักษณะแห่งความแปรผัน ​ ก็เห็นความเกิดและความดับของขันธ์ทั้งหลายนี้เป็นการเห็นความเกิดและความดับโดยขณะของโยคีนั้น ​ เพราะว่าลักษณะแห่งความเกิด ​ (นิพพัตติลักขณะ) ​ ก็มีเฉพาะในขณะเกิดขึ้นเท่านั้น ​ และลักษณะแห่งความแปรผันก็มีเฉพาะในขณะแตกดับ ​ (ภังคขณะ) ​ เท่านั้น ​ เพราะเหตุนี้ ​ เมื่อโยคีนั้นเห็นความเกิดขึ้นและความดับไปโดย ​ 2  ทาง ​ คือ ​ โดยปัจจัย ​ 1  และโดยขณะ ​ 1  อยู่อย่างนี้ ​ สมุทยสัจจ์ก็ปรากฏชัดด้วยการเห็นความเกิดขึ้นโดยปัจจัยเพราะรู้ลงไปถึงปัจจัยผู้ให้เกิด ​ ทุกขสัจจ์ก็ปรากฏชัดด้วยการเห็นความเกิดขึ้นโดยขณะเพราะรู้ลงไปถึงว่าความเกิดเป็นทุกข์ ​ นิโรธสัจจ์ก็ปรากฏชัดด้วยการเห็นความดับโดยปัจจัยเพราะรู้ลงไปถึงความไม่เกิดขึ้นของธรรมทั้งหลายที่มีปัจจัย ​ เพราะความไม่เกิดขึ้นของปัจจัย ​ ทุกขสัจจ์อีกนั่นแหละปรากฏชัดด้วยการเห็นความดับไปโดยขณะเพราะรู้ลงไปถึงว่าความตายเป็นทุกข์ ​ และการเห็นความเกิดขึ้นและความดับไป ​ (โดยปัจจัยและโดยขณะ) ​ ใดของโยคีนั้น ​ นี้เป็นมรรคฝ่ายโลกิยะ ​ เพราะเหตุนี้ ​ มัคคสัจจ์จึงปรากฏชัดเพราะกำจัดเสียได้ซึ่งความฟั่นเฝือในความเกิดขึ้นและความดับไปนั้น'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายอนุโลมก็ปรากฏชัดแก่โยคีนั้นด้วยการเห็นความเกิดขึ้นโดยปัจจัยเพราะรู้ลงไปถึงว่า ​ "​อิมสุมึ ​ สติ ​ อิทํ ​ โหติ -  เมื่อสิ่งนี้มีอยู่ ​ สิ่งนี้จึงมี" ​ ดังนี้ ​ ปฏิจจสมุปบาท ​ ฝ่ายปฏิโลมก็ปรากฏชัด ​ ด้วยการเห็นความดับไปโดยปัจจัยเพราะรู้ลงไปถึงว่า ​ อิมสฺสนิโรธา ​ อิทํ ​ นิรุชฺฌติ -  เพราะสิ่งนี้ดับไป ​ สิ่งนี้จึงดับ" ​ ดังนี้ ​ แต่ว่าธรรมทั้งหลายที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ​ (ปฏิจจสมุปปันนธรรม) ​ เป็นธรรมปรากฏชัดด้วยการเห็นความเกิดขึ้นและความดับไป ​ โดยขณะเพราะรู้ลงไปถึงสังขตลักษณะว่า ​ "​เพราะธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งทั้งหลายมีความเกิดและความดับ ​ และธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งทั้งหลายเหล่านั้น ​ เป็นธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น" ​ ดังนี้ 
- 
-อนึ่ง ​ เอกัตตนัย ​ (นัยแห่งความเป็นธรรมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน) ​ ก็ปรากฏชัดแก่โยคีนั้น ​ ด้วยการเห็นความเกิดขึ้นโดยปัจจัยเพราะรู้ลงไปถึงความไม่ขาดสายของความสืบต่อ ​ ด้วยความสัมพันธ์ของเหตุและผลในขณะนั้น ​ โยคีก็ละอุจเฉททิฏฐิได้ดียิ่งขึ้น ​ นานัตตนัย ​ (นัยแห่งความเป็นธรรมต่าง ​ ๆ  กัน) ​ ก็ปรากฏชัดด้วยการเห็นความเกิดขึ้นโดยขณะเพราะรู้ลง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 321)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ไปถึงความเกิดขึ้นของสังขารใหม่ ​ ๆ  ในขณะนั้น ​ โยคีก็ละสัสสตทิฏฐิได้ดียิ่งขึ้น ​ และ ​ อัพยปารนัย ​ (นัยแห่งความไม่ขวนขวาย) ​ ก็ปรากฏชัดแก่โยคีนั้นด้วย ​ ด้วยการเห็นความเกิดขึ้นและความดับไปโดยปัจจัย ​ เพราะรู้ลงไปถึงความที่ธรรมทั้งหลายไม่เป็นไปในอำนาจ ​ ในขณะนั้น ​ โยคีก็ละอัตตทิฏฐิ ​ (ความเห็นว่ามีอัตตา) ​ ได้ดียิ่งขึ้น ​ แต่ ​ เอวังธัมมตานัย ​ (นัยแห่งความเป็นธรรมดาของธรรมทั้งหลายอย่างนั้นเอง) ​ ก็ปรากฏชัด ​ ด้วยการเห็นความเกิดขึ้นโดยปัจจัย ​ เพราะรู้ลงไปถึงความเกิดขึ้นผลโดยสมควรแก่ปัจจัย ​ ในขณะนั้น ​ โยคีก็ละอกิริยทิฏฐิ ​ (ความเห็นว่ากรรมที่กระทำไปไม่เป็นกรรม) ​ ได้ดียิ่งขึ้น'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ อนัตตลักษณะก็ปรากฏชัดแก่โยคีนั้น ​ ด้วยการเห็นความเกิดขึ้นโดยปัจจัย ​ เพราะรู้ลงไปถึงความที่ธรรมทั้งหลายเป็นไปต่อเนื่อง ​ ด้วยปัจจัยโดยปราศจากการจะกระทำอนิจจลักษณะก็ปรากฏชัด ​ ด้วยการเห็นความเกิดขึ้นและความดับไปโดยขณะ ​ เพราะรู้ลงไปถึงความมีและความไม่มี ​ (เกิดแล้วดับ) ​ และเพราะรู้ลงไปถึงความว่างเปล่าของปัจจัย....สุดเบื้องปลายด้วย ​ แม้ทุกขลักษณะก็ปรากฏชัดเหมือนอนัตตลักษณะ....ถึงความเบียดเบียนเฉพาะหน้าด้วยความเกิดขึ้นและความ.... ​ ลักษณะก็ปรากฏชัดด้วย ​ เพราะรู้ลงไปถึงธรรมที่กำหนด.....และความดับไป ​ แม้ความที่สังขตลักษณะเป็นไปเพียง.....ปรากฏชัดในสภาวลักษณะ ​ (ลักษณะโดยสภาพตามเป็นจริง....เช่น ​ ไฟ ​ -  ร้อน ​  ​น้ำ ​ -  เหลว) ​ เพราะรู้ลงไปถึงความ......ลักษณะแห่งความเกิดขึ้นและเพราะไม่มีความเกิดขึ้นใน ​ 3  ลักษณะแห่งความดับไป ​ ฉะนี้แล 
- 
-เมื่อโยคีนั้นเป็นผู้เห็นความแตกต่างกันของสัจจะ ​ ของปฏิจจสมุปบาท ​ ของนัย ​ และของลักษณะ ​ ปรากฏชัดอย่างนี้ ​ สังขารทั้งหลายก็ปรากฏเป็นของใหม่อยู่เป็นนิตย์ทีเดียวว่า ​ "​ทราบว่า ​ ธรรมทั้งหลายเหล่านี้มีชื่ออย่างนี้ ​ ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นแต่ก่อน ​ ก็เกิดขึ้น ​ ที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป" ​ และมิใช่แต่ปรากฏเป็นของใหม่อยู่เป็นนิตย์เท่านั้น ​ สังขารทั้งหลายยังปรากฏว่ามีปกติตั้งอยู่ชั่วเวลาเล็กน้อย ​ ประดุจหยาดน้ำค้างในเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น ​ ประดุจต่อมน้ำ ​ ประดุจรอยขีดด้วยไม้บนผิวน้ำ ​ ประดุจเมล็ดพรรณผักกาดบนปลายเข็ม ​ และประดุจสาย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 322)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ฟ้าแลบ ​ อีกทั้งปรากฏว่าไม่มีแก่นสารและไร้สาระ ​ ประดุจมายากล ​ พยับแดด ​ ความฝัน ​ ดวงดุ้นฟืน ​ (ที่ติดไฟ) ​ คนธรรพนคร ​ (วิมานในอากาศ) ​ ฟองน้ำ ​ และต้นกล้วย ​ เป็นต้น'''​ 
- 
-ด้วยภาวนาวิธีเท่าที่กล่าวมานี้ ​ เป็นอันว่าโยคีท่านนี้ได้บรรลุแล้ว ​ ซึ่ง ​ ตรุณวิปัสสนาญาณ ​ (วิปัสสนาญาณอย่างอ่อน) ​ อันดับแรก ​ มีชื่อว่า ​ อุทยพยานุปัสสนาญาณ ​ (อย่างอ่อน) ​ ซึ่งแทงตลอดลักษณะครบถ้วน ​ 50  โดอาการนี้ว่า ​ "​สิ่งที่มีความดับไปเป็นธรรมดานั่นเองเกิดขึ้น ​ และที่เกิดขึ้นแล้ว ​ ก็ถึงความดับไป" ​ ดังนี้ ​ ซึ่งโดยเหตุที่ได้บรรลุ ​ (ตรุณวิปัสสนาญาณนี้) ​ โยคีท่านนั้นก็ถึงการนับว่า ​ "​อารทฺธวิปสฺสโก ​ -  ผู้เริ่มต้นบำเพ็ญวิปัสสนา"​ 
- 
-====วิปัสสนูปกิเลส ​ 10==== 
- 
-'''​ในระยะนั้น ​ ด้วยตรุณวิปัสสนานี้ ​ วิปัสสนูปกิเลส ​ สิ่งที่ทำให้วิปัสสนาหม่นหมอง) ​ ก็เกิดขึ้นแก่โยคีนั้น ​ ผู้เริ่มต้นบำเพ็ญวิปัสสนา ​ ความจริง ​ วิปัสสนูปกิเลสจะไม่เกิดขึ้นแก่'''​ 
- 
-1.    พระอริยสาวกผู้บรรลุปฏิเวธแล้ว 
- 
-2.    ผู้ปฏิบัติผิด ​ (เมต้นมาแต่ศีลวิบัติ) 
- 
-3.    ผู้ละทิ้งกัมมัฏฐาน ​ และ 
- 
-4.    บุคคลเกียจคร้าน ​ (แม้ปฏิบัติถูกต้องมาแต่เริ่มต้น) 
- 
-'''​แต่จะเกิดขึ้นแก่กุลบุตรผู้ปฏิบัติโดยชอบ ​ ประกอบความเพียรแล้วประกอบเล่า ​ ผู้เริ่มต้นบำเพ็ญวิปัสสนาแล้วเท่านั้น'''​ 
- 
-แต่ว่า ​ อุปกิเลส ​ 10  เหล่านั้น ​ คืออะไรบ้าง ​ ?  คือ 
- 
-1.    โอภาส ​       แสงสว่าง 
- 
-2.    ญาณ ​       ความรู้ 
- 
-3.    ปีติ ​       ความเอิบอิ่ม 
- 
-4.    ปัสสัทธิ ​   ความสงบ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 323)''</​fs></​sub>​ 
- 
-5.    สุข ​       ความสุข 
- 
-6.    อธิโมกข์ ​   ความเชื่อ ​ -  ศรัทธา 
- 
-7.    ปัคคาหะ ​   ความเพียร ​ -  วีริยะ 
- 
-8.    อุปัฏฐาน ​   ความเข้าไปตั้งอยู่ ​ -  สติ 
- 
-9.    อุเบกขา ​   ความวางเฉย 
- 
-10.    นิกันติ ​       ความใคร่ 
- 
-ความจริง ​ ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระก็ได้กล่าวคำนี้ ​ ไว้แล้วว่า ​ "​ใจที่ถูกความฟุ้งซ่านในธรรม ​ (คืออุปกิเลส) ​ ครอบงำ ​ เป็นอย่างไร ​ ?  พระภิกษุเมื่อกระทำในใจอยู่โดยความไม่เที่ยง ​ โอภาสก็เกิดขึ้น ​ พระภิกษุนั้นรำพึงถึงโอภาสอยู่ว่า ​ "​โอภาสเป็นธรรม" ​ ความฟุ้งซ่านเพราะโอภาสเป็นเหตุนั้น ​ เป็นอุทธัจจะ ​ พระภิกษุผู้มีใจอันอุทธัจจะนั้นครอบงำแล้ว ​ ไม่กำหนดรู้ความโดยไม่เที่ยงตามเป็นจริง ​ ไม่กำหนดรู้ความปรากฏโดยความเป็นทุกข์..... ​ โดยความเป็นอนัตตาตามเป็นจริง..... ​ อนึ่ง ​ เมื่อภิกษุนั้นกระทำในใจอยู่โดยความไม่เที่ยง ​ ญาณก็เกิดขึ้น..... ​ ปีติ..... ​ ปัสสัทธิ..... ​ สุข..... ​ อธิโมกข์..... ​ ปัคคาหะ...... ​ อุปัฏฐานะ.... ​ อุเบกขา..... ​ นิกันติ ​ ก็เกิดขึ้น ​ พระภิกษุนั้นรำพึงถึงนิกันติอยู่ว่า ​ "​นิกันติเป็นธรรม" ​ ความฟุ้งซ่านเพราะนิกันติเป็นเหตุนั้นเป็นอุทธัจจะ ​ พระภิกษุผู้มีใจอันอุทธัจจะนั้นครอบงำแล้ว ​ ไม่กำหนดรู้ความปรากฏโดยความไม่เที่ยงตามเป็นจริง ​ ไม่กำหนดรู้ความปรากฏโดยความเป็นทุกข์....โดยความเป็นอนัตตาตามเป็นจริง" ​ ดังนี้ 
- 
-'''​[1. ​ โอภาส]'''​ 
- 
-ในอุปกิเลส ​ 10  นั้น ​ คำว่า ​ "​โอภาส ​ -  แสงสว่าง" ​ ได้แก่ ​ วิปัสสโนภาส ​ (คือแสงสว่างในวิปัสสนา) ​ เมื่อวิปัสสโนภาสนั้นเกิดขึ้น ​ โยคาวจรก็คิดว่า ​ "​แสงสว่างเห็นปานนี้ไม่เคยเกิดขึ้นแก่ฉันในกาลก่อนแต่นี้เลยหนอ ​ ฉันเป็นผู้บรรลุมรรคแล้ว ​ ฉันเป็นผู้บรรลุแล้วเป็นแน่" ​ ดังนี้แล้วถือเอาสิ่งมิใช่มรรคนั่นแหละว่า ​ "​มรรค" ​ และถือเอาสิ่งมิใช่ผลนั่นแลว่า ​ "​ผล" ​ เมื่อ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 324)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​โยคาวจรนั้นถือเอาสิ่งที่มิใช่มรรคว่า ​ "​มรรค" ​ สิ่งที่มิใช่ผลว่า ​ "​ผล" ​ วิถีของวิปัสสนาก็ชื่อว่า ​ ก้าวออกไปนอกทาง ​ โยคาวจรนั้นก็ละทิ้งมูลกัมมัฏฐาน ​ คือ ​ กัมมัฏฐานเดิม ​ ของตน ​ แล้วนั่งชื่นชมโอภาสอยู่นั่นแล'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ สำหรับพระภิกษุบางท่าน ​ โอภาสนี้นั้นเกิดขึ้นส่องสว่างเพียงฐานบัลลังก์เท่านั้น ​ สำหรับบางท่าน ​ ส่องสว่างตลอดภายในห้อง ​ สำหรับบางท่าน ​ ส่องสว่างภายนอกห้องด้วย ​ สำหรับบางท่าน ​ ส่องสว่างไปทั่ววิหารทั้งสิ้น ​ สำหรับบางท่าน ​ ส่องสว่างไปตลอดคาวุต....ตลอดครึ่งโยชน์...ตลอด ​ 1  โยชน์....ตลอด ​ 2  โยชน์....ตลอด ​ 3  โยชน์....ฯลฯ.....สำหรับบางท่าน ​ โอภาสนั้นทำให้สว่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ​ ตั้งแต่พื้นปฐพีขึ้นไปถึงพรหมโลกชั้นอกนิฏฐ์ ​ แต่ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเกิดขึ้นส่องสว่างไปตลอด ​ 10.000 ​ โลกธาตุ ​ ในการประมาณแตกต่างกันของโอภาสนั้น ​ โดยประการดังกล่าวนี้ ​ มีเรื่อง ​ (เป็นอุทาหรณ์) ​ ดังนี้ 
- 
-เล่ากันว่า ​ พระเถระ ​ 2  ท่านนั่งอยู่ภายในเรือนมีฝา ​ 2  ด้าน ​ ณ  จิตตลบรรพต ​ และวันนั้นเป็นวันอุโบสถข้างแรม ​ ทั่วทิศปกคลุมไปด้วยแผ่นเมฆ ​ ความมืดประกอบด้วยองค์ ​ 4  เป็นไปอยู่ในภาคราตรีกาล ​ ในคืนนั้น ​ พระเถระท่านหนึ่งกล่าวว่า ​ "​ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ​ ดอกไม้ ​ 5  สี ​ ปรากฏแก่กระผมอยู่บนสีหาสนะในลานพระเจดีย์ ​ ณ  บัดนี้" ​ อีกท่านกล่าวกะพระเถระนั้นว่า ​ "​อาวุโส ​ ท่านพูดถึงสิ่งไม่น่าอัศจรรย์ ​ ก็บัดนี้ ​ เต่าและปลาทั้งหลายในสถานที่ ​ 1  โยชน์ ​ ในมหาสมุทร ​ ปรากฏอยู่แก่ผม"​ 
- 
-แต่วิปัสสนูปกิเลสนี้เกิดขึ้นแก่ท่านผู้ได้สมถวิปัสสนาโดยมาก ​ เพราะกิเลสทั้งหลายที่ข่มไว้ด้วยสมาบัติไม่กำเริบ ​ ท่านผู้ได้สมถวิปัสสนานั้นจึงเกิดความคิดว่า ​ "​ฉันเป็นพระอรหันต์" ​ เหมือนท่านมหานาคเถระผู้อยู่ในอุจจังกวาลิก ​ เหมือนท่านมหาทัตตเถระผู้อยู่ในหังกนกะ ​ และเหมือนท่านจูฬสุมนเถระผู้อยู่ในนิงกเปณณกปธานฆระ ​ บนภูเขาจิตตละบรรดาพระเถระ ​ 3  ท่านนั้น ​ มีการแสดงด้วยเรื่องของพระเถระท่านหนึ่งดังต่อไปนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 325)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​[เรื่องท่านมหานาคเถระผู้อยู่ในอุจจังกวาลิก]'''​ 
- 
-เล่ากันว่า ​ พระเถระท่านหนึ่งมีนามว่า ​ ท่านธัมมทินนเถระ ​ ผู้อยู่ในตลังคระ ​ เป็นพระมหาขีณาสพ ​ ผู้มีปฏิสัมภิทาแตกฉาน ​ เป็นผู้ให้โอวาทแก่พระภิกษุหมู่ใหญ่ ​ วันหนึ่ง ​ ท่านนั่งอยู่บนอาสนะสำหรับพักกลางวันของตนแล้วรำพึงอยู่ว่า ​ "​พระอาจารย์ของเราคือท่านมหานาคเถระ ​ ผู้อยู่ในอุจจังกวาลิก ​ ถึงที่สุดกิจของความเป็นสมณะแล้ว ​ หรือไม่หนอ" ​ ก็เห็นว่า ​ ท่านยังเป็นปุถุชนอยู่นั่นเอง ​ และรู้ว่า ​ "​เมื่อเราไม่ไป ​ ท่านก็จักทำกาลกิริยาของปุถุชนเป็นแท้" ​ จึงเหาะขึ้นสู่เวหาสด้วยฤทธิ์ ​ ไปลง ​ ณ  ที่ใกล้พระเถระซึ่งนั่งอยู่บนอาสนะสำหรับพักกลางวัน ​ ไหว้แสดงวัตรแล้ว ​ นั่งอยู่ ​ ณ  ด้านหนึ่ง ​ เมื่อพระเถระ ​ (ผู้เป็นพระอาจารย์) ​ พูดขึ้นว่า ​ "​อาวุโส ​ ธัมมทินนะ ​ เหตุไรจึงมาผิดเวลา ​ ?" ​ ท่านจึงกราบเรียนว่า ​ "​กระผมมาเพื่อถามปัญหาขอรับ" ​ ครั้นแล้ว ​ เมื่อพระเถระกล่าวอนุญาตว่า ​ "​ถามเถิด ​ อาวุโส ​ เมื่อรู้ก็จักบอก" ​ ท่านธัมมทินนเถระจึงเรียกถามปัญหา ​ 1.000  ปัญหา ​ พระเถระก็กล่าวแก้ปัญหาที่ถามมา ​ ๆ  ได้ไม่ติดขัดเลย ​ จากนั้น ​ เมื่อท่านธัมมทินนเถระเรียนถามว่า ​ "​ความรู้ของท่านอาจารย์แก่กล้ามาก ​ ท่านอาจารย์ได้บรรลุธรรมนี้แต่เมื่อไร" ​ พระเถระก็กล่าวว่า ​ "​ในกาลแต่บัดนี้ไป ​ 60  ปี ​ อาวุโส" ​ จึงกล่าวเรียนว่า ​ "​โปรดใช้สมาธิเถอะ ​ ขอรับ" ​ พระเถระบอกว่า ​ "​เรื่องนี้ไม่หนักหนาอะไร ​ อาวุโส" ​ ท่านธัมมทินนเถระกราบเรียนว่า ​ "​ถ้ากระนั้น ​ นิมนต์นิรมิตช้างขึ้นสักเชือกเถิด ​ ขอรับ" ​ พระเถระก็นิรมิตช้างเผือกตลอกตลอดทั้งตัวขึ้น ​ ท่านธัมมทินนเถระจึงกราบเรียนว่า ​ "​ท่านขอรับ ​ คราวนี้ ​ โปรดทำให้ช้างตัวนี้นั้นกางหูเหยียดหาง ​ เอาวงใสไว้ในปาก ​ ทำเสียงโกญจนาทอย่างน่ากลัว ​ หันหน้าเดินตรงมาหาท่านอาจารย์" ​ พระเถระก็ทำอย่างนั้น ​ ครั้นเห็นอาการอันน่ากลัวของช้างเดินมาโดยเร็ว ​ ก็ลุกขึ้นเริ่มจะหนีไป ​ พระเถระผู้ขีณาสพจึงยื่นมือไปเหนี่ยวชายจีวรไว้ ​ แล้วกราบเรียนท่านอาจารย์นั้นว่า ​ "​ท่านขอรับ ​ ชื่อว่าความหวาดกลัวยังมีอยู่แก่พระขีณาสพหรือ" ​ พระเถระนั้นจึงรู้ในเวลานั้นว่าตนยังเป็นปุถุชน ​ แล้วพูดว่า ​ "​อาวุโสธัมมทินนะ ​ โปรดเป็นที่พึงของฉันด้วย" ​ นั่งกระหย่ง ​ ณ  ใกล้เท้าท่านธัมมทินนเถระจึงกราบเรียนว่า ​ "​ข้าแต่ท่านอาจารย์ ​ กระผมก็มาด้วยตั้งใจจักเป็นที่พึ่งของท่านอาจารย์อยู่แล้ว ​ โปรดอย่าคิดไปเลย" ​ แล้วก็บอกกัมมัฏฐาน ​ (แก่พระเถระผู้เป็นอาจารย์) ​ พระเถระรับกัมมัฏฐานแล้ว ​ ก็ขึ้นสู่ที่จงกรม ​ ในวาระย่างเท้าก้าวที่ ​ 3  (ท่าน) ​ ก็บรรลุพระอรหัตตผลซึ่งเป็นผลชั้นยอด ​ เขาว่า ​ พระเถระเป็นคนโทสจริต ​ พระภิกษุทั้งหลายเห็นปาน ​ (ดังพระเถระ) ​ นี้มัวเคลิบเคลิ้มอยู่ในโอภาสไปเสีย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 326)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​[2. ​ ญาณ]'''​ 
- 
-คำว่า ​ "​ญาณ" ​ หมายถึง ​ วิปัสสนาญาณ ​ ทราบว่า ​ เมื่อโยคีนั้นกำลังเทียบเคียงไตร่ตรองรูปธรรมและอรูปธรรม ​ (รูปและนาม) ​ ทั้งหลายอยู่ ​ ญาณซึ่งมีกระแสปราดเปรียวแหลมคม ​ แก่กล้า ​ ชัดแจ้ง ​ ก็เกิดขึ้น ​ ประดุจดังวชิระของพระอินทร์ที่ทรงซัดออกไป 
- 
-'''​[3. ​ ปีติ]'''​ 
- 
-คำว่า ​ "​ปีติ" ​ หมายถึง ​ ปีติประกอบด้วยวิปัสสนา ​ ทราบว่าในระยะนั้น ​ ปีติ ​ 5  อย่างนี้ ​ คือ 
- 
-1.    ขุททกาปีติ ​       ความเอิบอิ่มเล็กน้อย 
- 
-2.    ขณิกาปีติ ​       ความเอิบอิ่มเพิ่มพูนทุกขณะ 
- 
-3.    โอกกันติกาปีติ ​       ความเอิบอิ่มซ่าเซ็น 
- 
-4.    อุพเพงคาปีติ ​       ความเอิบอิ่มโลดแล่น 
- 
-5.    ผรณาปีติ ​       ความเอิบอิ่มซาบซ่าน 
- 
-'''​เกิดขึ้นเต็มสรีรกายทั้งสิ้น'''​ 
- 
-'''​[4. ​ ปัสสัทธิ]'''​ 
- 
-คำว่า ​ "​ปัสสัทธิ" ​ หมายถึง ​ ปัสสัทธิในวิปัสสนา ​ ทราบว่า ​ เมื่อโยคีนั่งอยู่ในที่พักกลางคืนก็ดี ​ ในที่พักกลางวันก็ดี ​ ในสมัยนั้น ​ ทั้งกายและจิตไม่มีความกระวนกระวาย ​ 1  ไม่มีความหนัก ​ 1  ไม่มีความกระด้าง ​ 1  ไม่มีความไม่ควรแก่งาน ​ (ในการปฏิบัติ) ​ 1  ไม่มีความเจ็บไข้ ​ 1  ไม่มีความคดโกง ​ 1  แต่ทว่าในสมัยนั้นแล ​ กายและจิตของโยคีนั้น ​ สงบ ​ 1  เบา ​ 1  อ่อน ​ 1  ควรแก่งาน ​ 1  ผ่องใส ​ 1  เที่ยงตรง ​ 1  เป็นแท้เลย ​ โยคีนั่นเป็นผู้มีกายและใจอันธรรมทั้งหลายมีปัสสัทธิเป็นต้นเหล่านี้อนุเคราะห์แล้ว ​ ในสมัยนั้นก็เสวยความยินดีที่เรียกว่า ​ มิใช่ของมีอยู่ในมนุษย์ ​ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสระบุถึงไว้ว่า 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 327)''</​fs></​sub>​ 
- 
-สุญฺญาคารํ ​ ปวิฏฐสฺส ​           สนฺตจิตฺตสฺส ​ ภิกฺขุโน 
- 
-อมานุสี ​ รตี ​ โหติ ​               สมฺมา ​ ธมฺมํ ​ วิปสฺสโต. 
- 
-ยโต ​ ยโต ​ สมฺมสติ ​               ขนฺธานํ ​ อุทยพฺพยํ 
- 
-ลภตี ​ ปีติปาโมชฺชํ ​               อมตํ ​ ตํ ​ วิชานตํ. 
- 
-'''​แปลความว่า'''​ 
- 
-ความยินดีมิใช่ของมีอยู่ในมนุษย์ ​ ก็มีแก่พระภิกษุผู้ 
- 
-เข้าสู่อาคารเงียบสงัด ​ ผู้มีจิตสงบ ​ เห็นแจ้งธรรมอยู่โดยชอบ 
- 
-พระภิกษุกำหนดรู้ความเกิดและความดับของขันธ์ทั้งหลาย 
- 
-(ด้วยอุทยพยญาณ) ​ โดยรูปธรรม ​ หรือโดยอรูปธรรมใด ​ ๆ 
- 
-ได้ปีติและปราโมทย์ ​ ปีติและปราโมทย์ของพระภิกษุผู้รู้แจ้ง 
- 
-(ความเกิดและความดับ) ​ นั้น ​ เป็นอมตะ 
- 
-'''​ปัสสัทธิอันประกอบด้วยธรรมมีลหุตา ​ (ความเบา) ​ เป็นต้น ​ ซึ่งทำให้สำเร็จความยินดีที่มิใช่ของมนุษย์นี้เกิดขึ้นอยู่แก่โยคีนั้น ​ ด้วยประการดังกล่าวนี้'''​ 
- 
-'''​[5. ​ สุข]'''​ 
- 
-คำว่า ​ "​สุข" ​ หมายถึง ​ ความสุขประกอบด้วยวิปัสสนา ​ ทราบว่า ​ ในสมัยนั้น ​ ความสุขอันประณีตยิ่งเกิดขึ้นท่วมท้นไปในสรีรกายทั้งสิ้น 
- 
-'''​[6. ​ อธิโมกข์]'''​ 
- 
-คำว่า ​ "​อธิโมกข์" ​ หมายถึง ​ ศรัทธา ​ เพราะว่า ​ ศรัทธาที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนานั่นแลเป็นความผ่องใสอย่างยิ่งของจิตและเจตสิก ​ เป็นศรัทธามีกำลัง ​ ก็เกิดขึ้นแก่โยคีนั้น 
- 
-'''​[7. ​ ปัคคาหะ]'''​ 
- 
-คำว่า ​ "​ปัคคาหะ" ​ หมายถึง ​ วิริยะ ​ (คือความเพียร) ​ เพราะว่า ​ ความเพียรที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนานั่นแล ​ เป็นความเพียรที่ไม่หย่อนเกินไป ​ ไม่ตึงเกินไป ​ ประคับประคองไว้เป็นอย่างดี ​ ก็เกิดขึ้นแก่โยคีนั้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 328)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​[8. ​ อุปัฏฐานะ]'''​ 
- 
-คำว่า ​ "​อุปัฏฐานะ" ​ หมายถึง ​ สติ ​ เพราะว่า ​ สติที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนานั่นแล ​ เข้าไปตั้งอยู่อย่างดี ​ มั่นคง ​ ฝังลึก ​ ไม่หวั่นไหว ​ ประหนึ่งภูเขาหลวง ​ เกิดขึ้นแก่โยคีนั้น ​ โยคีท่านนั้นรำพึงถึง ​ รำลึกถึง ​ ทำในใจถึง ​ เจาะจงนึกเห็น ​ ซึ่งฐานะใด ​ ๆ  ฐานะนั้น ​ ๆ  ก็ลิ่วแล่นเข้าไปตั้งอยู่ด้วยสติแก่โยคีนั้น ​ ประหนึ่งปรโลกปรากฏแก่ท่านผู้มีทิพยจักษุ 
- 
-'''​[9. ​ อุเบกขา]'''​ 
- 
-คำว่า ​ "​อุเบกขา" ​ หมายถึง ​ ทั้งวิปัสสนูเปกขาและทั้งอาวัชชนุเปกขา ​ เพราะว่า ​ ในสมัยนั้น ​ ทั้งวิปัสสนูเปกขา ​ ซึ่งมีความเป็นกลางในสังขารทั้งปวง ​ ทั้งอาวัชชนูเปกขาในมโนทวารก็มีกำลัง ​ เกิดขึ้นแก่โยคีนั้น ​ ความจริง ​ เมื่อโยคีนั้นรำพึงถึงฐานะนั้น ​ ๆ  อยู่ ​ อุเบกขานั้นก็ดำเนินอย่างแก่กล้าแหลมคม ​ ประดุจดังวชิระของพระอินทร์ที่ทรงซัดออกไป ​ และประดุจดังลูกศรที่เผาร้อนแล้วยิงไปในกองใบไม้ 
- 
-'''​[10. ​ นิกันติ]'''​ 
- 
-คำว่า ​ "​นิกันติ" ​ หมายถึง ​ วิปัสสนานิกันติ ​ (ความใคร่ในวิปัสสนา) ​ เพราะว่า ​ นิกันติ ​ มีอาการสงบ ​ สุขุม ​ ก็เกิดขึ้นแก่โยคีนั้น ​ ทำความอาลัยอยู่ในวิปัสสนาอันประดับด้วยอุปกิเลสมีโอภาสเป็นต้น ​ ด้วยประการดังกล่าวนั้น ​ ซึ่งเป็นความใคร่ที่ใคร ​ ๆ  ไม่สามารถแม้แต่กำหนดรู้ได้ว่าเป็นกิเลส 
- 
-อนึ่ง ​ เมื่อโอภาสเกิดขึ้น ​ โยคาวจรยึดถืออยู่ ​ ฉันใด ​ เมื่ออุปกิเลสทั้งหลายแม้เหล่านี้ ​ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ​ ก็ฉันนั้น ​ โยคาวจรคิดว่า ​ "​ในกาลก่อนแต่นี้ ​ ญาณเห็นปานนี้ไม่เคยเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามาก่อนเลย ​ ปีติ..... ​ ปัสสัทธิ..... ​ สุข...... ​ อธิโมกข์...... ​ ปัคคาหะ....... ​ อุปัฏฐานะ...... ​ อุเบกขา...... ​ นิกันติ ​ เห็นปานนี้ ​ ไม่เคยเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้ามาก่อนเลย ​ ข้าพเจ้าเป็นผู้บรรลุมรรคแล้ว ​ ข้าพเจ้าเป็นผู้บรรลุผลแล้ว" ​ แล้วยึดถือสิ่งที่มิใช่มรรคนั่นแหละว่าเป็นมรรค ​ ยึดถือสิ่งที่มิใช่ผลนั่นแหละว่าเป็นผล ​ เมื่อโยคาวจรนั้นยึดถือสิ่งมิใช่มรรค ​ ว่าเป็นมรรค ​ สิ่งมิใช่ผล ​ ว่าเป็นผล ​ วิปัสสนาวิถีก็ชื่อว่าก้าวออกนอกทางไปแล้ว ​ โยคาวจรนั้นก็ละทิ้งกัมมัฏฐานเดิมเสีย ​ แล้วนั่งชื่นชมพอใจนิกันอยู่อย่างเดียว ​ ฉะนี้แล 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 329)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​[จำแนกอุปกิเลส ​ 10  โดยคาหะ ​ 3  เป็น ​ 30]'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ ในอุปกิเลส ​ 10  นี้ ​ ธรรมทั้งหลายมีโอภาสเป็นต้น ​ ท่านเรียกว่า ​ "​อุปกิเลส" ​ เพราะเป็น ​ สัตถุ ​ (ที่ตั้ง) ​ ของอุปกิเลส ​ มิใช่เพราะเป็นอกุศล ​ ส่วนนิกันติเป็นทั้งอุปกิเลส ​ เป็นทั้งวัตถุของอุปกิเลสด้วย ​ และอุปกิเลสเหล่านี้ ​ มี ​ 10  โดยทาง ​ วัตถุ ​ (ดังกล่าวแล้ว) ​ แต่โดยทาง ​ คาหะ ​ (ความยึดถือ) ​ มี ​ 30  ถ้วน ​ มี ​ 30  ถ้วนโดยทางคาหะเป็นอย่างไร ​ ?  เพราะว่า ​ เมื่อโยคีคาวจรยึดถืออยู่ว่า ​ "​โอภาสเกิดขึ้นแก่เราแล้ว" ​ ดังนี้ ​ เป็น ​ ทิฏฐิคาหะ ​ (ยึดถือด้วยทิฏฐิ) ​ 1  เมื่อยึดถืออยู่ว่า ​ "​โอภาสน่าพึงพอใจจริงหนอเกิดขึ้นแล้ว" ​ ดังนี้ ​ เป็น ​ มานคาหะ ​ (ยึดถือด้วยมานะ) ​ 1  เมื่อโยคาวจรชื่นชมโอภาสอยู่ ​ เป็น ​ ตัณหาคาหะ ​ (ยึดถือด้วยตัณหา) ​ 1  ในโอภาสมีคาหะ ​ 3  โดยทางทิฏฐิ ​ 1  มานะ ​ 1  และตัณหา ​ 1  ด้วยประการฉะนี้ ​ แม้ในอุปกิเลสทั้งหลายที่เหลือก็มี ​ (อย่างละ ​ 3)  เหมือนกัน ​ เพราะเหตุนี้ ​ จึงมีอุปกิเลสรวม ​ 30  ถ้วน ​ โดยทางคาหะ ​ ด้วยอาการดังกล่าวนี้ 
- 
-โยคาวจรผู้ไม่ฉลาด ​ ไม่เฉียบแหลม ​ ก็หวั่นไหว ​ ฟุ้งซ่านอยู่ในอุปกเลสทั้งหลายมีโอภาสเป็นต้น ​ ด้วยอำนาจของคาหะเหล่านั้น ​ เห็นอยู่เสมอเนือง ​ ๆ  ซึ่งอุปกิเลสทั้งหลายมีโอภาสเป็นต้น ​ แต่ละอย่าง ​ ๆ  ว่า ​ "​นี้เป็นของฉัน ​ ฉันเป็นนี้ ​ นี้เป็นอัตตาของฉัน" ​ ดังนี้ ​ เพราะฉะนั้น ​ ท่านพระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า 
- 
-โอภาเส ​ เจว ​ ญาเณ ​ จ  ปีติยา ​ จ  วิกมฺปติ 
- 
-ปสฺสทฺธิยา ​ สุเข ​ เจว ​           เยหิ ​ จิตฺตํ ​ ปเวธติ. 
- 
-อธิโมกฺเข ​ จ  ปคฺคาเห ​       อุปฏฐาเน ​ จ  กมฺปติ 
- 
-อุเปกฺขาวชฺชนายญฺจ ​           อุเปกฺขาย ​ นิกนฺติยา. 
- 
-'''​แปลความว่า'''​ 
- 
-โยคาวจรหวั่นไหวอยู่ในเพราะโอภาส ​ ในเพราะญาณ 
- 
-และในเพราะปีติด้วย ​ ในเพราะปัสสัทธิและในเพราะสุข 
- 
-ด้วยเหมือนกัน ​ ซึ่งเป็นเหตุหวั่นไหวของจิตและหวั่นไหวอยู่ 
- 
-ในเพราะอธิโมกข์ ​ ในเพราะปัคคาหะและในเพราะอุปัฏฐานะ 
- 
-ด้วย ​ ทั้งในเพราะอาวัชชนูเปกขาและในเพราะนิกันติด้วย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 330)''</​fs></​sub>​ 
- 
-===พลววิปัสสนา=== 
- 
-แต่โยคาวจรผู้ฉลาด ​ ผู้เป็นบัณฑิต ​ เฉียบแหลม ​ ถึงพร้อมด้วยความรู้ ​ เมื่ออุปกิเลสทั้งหลายมีโอภาสเป็นต้นเกิดขึ้น ​ ก็กำหนดรู้ ​ ใคร่ครวญเห็นมัน ​ ด้วยปัญญาดังนี้ว่า ​ "​โอภาสนี้แลเกิดขึ้นแก่เราแล้ว ​ แต่โอภาสนี้นั้นแล ​ ไม่เที่ยง ​ ปัจจัยปรุงแต่งไว้ ​ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ​ มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ​ มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ​ มีความคลายราคะไปเป็นธรรมดา ​ มีความดับไปเป็นธรรมดา" ​ ด้วยประการฉะนี้บ้าง ​ ก็หรือว่าโยคาวจรนั้นมีความคิดในขณะนั้นอย่างนี้ว่า ​ "​ถ้าโอภาสนี้พึงเป็นอัตตาไซร้ ​ การถือ ​ (โอภาสนั้น) ​ ว่า ​ "​อัตตา" ​ ก็ควร ​ แต่โอภาสนี้ ​ มิใช่อัตตาเลย ​ ถือว่า ​ "​เป็นอัตตา" ​ เพราะฉะนั้น ​ โอภาสนั้นเป็นอนัตตา ​ โดยความหมายว่าไม่เป็นไปในอำนาจ ​ เป็นอนิจจัง ​ โดยความหมายว่ามีแล้วหามีไม่ ​ เป็นทุกขัง ​ โดยความหมายว่าเบียดเบียนเฉพาะหน้าด้วยความเกิดและความดับ" ​ ดังนี้ 
- 
-พึงขยายคำทั้งปวงให้พิสดาร ​ โดยนัยดังกล่าวไว้แล้วในอรูปสัตตกกัมมัฏฐานเถิด ​ อนึ่ง ​ ในโอภาสฉันใด ​ แม้ในอุปกิเลสทั้งหลายที่เหลือก็ฉันนั้น 
- 
-โยคาวจรท่านนั้นครั้นใคร่ครวญเห็นอย่างนี้แล้ว ​ ก็เห็นอยู่เสมอเนือง ​ ๆ  ซึ่งโอภาสว่า ​ "​นี้มิใช่ของฉัน ​ ฉันมิใช่สิ่งนี้ ​ นี้มิใช่อัตตาของฉัน" ​ ดังนี้ ​ เห็นอยู่เสมอเนือง ​ ๆ  ซึ่งญาณ.... ฯลฯ.....ซึ่งนิกันติว่า ​ "​นี้มิใช่ของฉัน ​ ฉันมิใช่สิ่งนี้ ​ นี้มิใช่อัตตาของฉัน" ​ ดังนี้ ​ เมื่อโยคาวจรนั้นเห็นอยู่เสมอเนือง ​ ๆ  อย่างนี้ ​ (ท่าน) ​ ก็หวั่นไหว ​ ไม่สั่นคลอนในเพราะอุปกิเลสทั้งหลายมีโอภาสเป็นต้น ​ เพราะฉะนั้น ​ ท่านพระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า 
- 
-อิมานิ ​ ทส ​ ฐานานิ ​       ปญฺญา ​ ยสฺส ​ ปรีจิตา 
- 
-ธมฺมุทฺจฺจกุสโล ​ โหติ ​           น  จ  วิกฺเขปํ ​ คจฺฉติ. 
- 
-'''​แปลความว่า'''​ 
- 
-โยคีใดมีฐานะ ​ 10  (มีโอภาสเป็นต้น) ​ เหล่านี้อบรม 
- 
-ด้วยปัญญาแล้ว ​ โยคีนั้น ​ เป็นผู้ฉลาดในธัมมุทธัจจะและไม่ 
- 
-ถึงความฟุ้งซ่าน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 331)''</​fs></​sub>​ 
- 
-โยคาวจรท่านนั้นเมื่อไม่ถึงความฟุ้งซ่านดังกล่าวนี้ ​ ก็ถากถางรกชัฏคืออุปกิเลสครบ ​ 30  อย่างนั้นได้แล้ว ​ กำหนดรู้มรรคและมิใช่มรรคได้เองว่า ​ "​ธรรมทั้งหลายมีโอภาสเป็นต้นมิใช่มรรค ​ แต่วิปัสสนาญาณที่พ้นแล้วจากอุปกิเลส ​ ดำเนินไปตามวิถี ​ (ของวิปัสสนา) ​ เป็นมรรค" ​ ดังนี้ ​ ญาณที่รู้มรรคและมิใช่มรรคว่า ​ "​นี้คือมรรค ​ นี้มิใช่มรรคของโยคีนั้น ​ พึงทราบว่าเป็น ​ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ" ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-ก็แล ​ ด้วยประการดังกล่าวมาเพียงนี้ ​ เป็นอัน ​ ท่านโยคีนั้นได้กระทำการกำหนดรู้สัจจะ ​ 3  แล้ว ​ ทำการกำหนดรู้แล้วอย่างไร ​ ?  คือว่า ​ การกำหนดรู้สัจจะ ​ 3  เป็นอันโยคีนั้นทำก่อนแล้วด้วยญาณชั้นโลกิยะเท่านั้น ​ อย่างนี้คือ ​ การกำหนดรู้ทุกขสัจจ์ด้วยการกำหนดรู้นามและรูป ​ เป็นอันโยคีนั้นกระทำมาก่อนแล้วใน ​ ทิฏฐิวิสุทธิ ​ การกำหนดรู้สมุทยสัจจ์ด้วยการกำหนดรู้ปัจจัย ​ เป็นอันโยคีนั้นกระทำมาแล้วใน ​ กังขาวิตรณวิสุทธิ ​ การกำหนดรู้มัคคสัจจ์ด้วยการจำกัดแต่เพียงมรรคโดยชอบ ​ เป็นอันโยคีนั้นกระทำแล้วใน ​ มัคคมัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ​ นี้ 
- 
-ปริจเฉทที่ ​ 20  ชื่อว่ามัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส 
- 
-ในอธิการแห่งปัญญาภาวนา ​ ในปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรค 
- 
-'''​อันข้าพเจ้าทำเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมทย์แห่งสาธุชน ​ ดังนี้'''​ 
- 
-==ดูเพิ่ม== 
-*'''​[http://​www.84000.org/​tipitaka/​pitaka2/​sutta23.php ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค]'''​ 
-*'''​[วิสุทธิมรรค ฉบับปรับสำนวน]] (สารบัญ)'''​