วิสุทธิมรรค_07_ฉอนุสสตินิทเทส

ความแตกต่าง

นี่เป็นการแสดงความแตกต่างระหว่างเพจสองรุ่น

Link to this comparison view

วิสุทธิมรรค_07_ฉอนุสสตินิทเทส [2020/07/07 13:09]
dhamma [1. อธิบายบท สวากฺขาโต]
วิสุทธิมรรค_07_ฉอนุสสตินิทเทส [2021/01/02 20:14]
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
-{{wst>​วสธมฉปส head| }} 
-{{wst>​วสธมฉปส sidebar}} 
-=อนุสสติ ​ 10  ประการ= 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 329)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ฉอนุสสตินิทเทส ​ ปริจเฉทที่ 7'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ นักศึกษาพึงทราบอรรถาธิบายในอนุสสติ 10  ประการ ​ ที่ทรงแสดงไว้ในลำดับอสุภกัมมัฏฐาน ​ ดังต่อไปนี้ 
- 
-สตินั่นเอง ​ ชื่อว่า ​ อนุสสติ ​ เพราะเกิดขึ้นบ่อย ๆ  อีกอย่างหนึ่ง ​ สติอันสมควรแก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา ​ เพราะเป็นไปในฐานอันควรที่จะเป็นไป ​ แม้เพราะเหตุนั้น ​ จึงชื่อว่า ​ อนุสสติ 
- 
-1.  ความระลึกเนือง ๆ  เกิดขึ้นปรารภพระพุทธเจ้า ​ ชื่อว่า ​ พุทธานุสสติ ​   คำนี้เป็นชื่อของสติอันมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ 
- 
-2.  ความระลึกเนือง ๆ เกิดขึ้นปรารภพระธรรม ​ ชื่อว่า ​ ธัมมานุสสติ ​ คำนี้เป็นชื่อของสติอันมีพระธรรมคุณเป็นอารมณ์ ​ มีความเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้น 
- 
-3.  ความระลึกเนือง ๆ  เกิดขึ้นปรารภพระสงฆ์ ​ ชื่อว่า ​ สังฆานุสสติ ​ คำนี้เป็นชื่อของสติอันมีพระสังฆคุณเป็นอารมณ์ ​ มีความเป็นผู้ปฏิบัติดีเป็นต้น 
- 
-4.  ความระลึกเนือง ๆ  เกิดขึ้นปรารภศีล ​ ชื่อว่า ​ สีลานุสสติ ​ คำนี้เป็นชื่อของสติ ​ อันมีคุณแห่งศีลเป็นอารมณ์ ​ มีความเป็นของไม่ขาดเป็นต้น 
- 
-5     ​ความระลึกเนือง ๆ  เกิดขึ้นปรารภการบริจาค ​ ชื่อว่า ​ จาคานุสสติ ​ คำนี้เป็นชื่อของสติอันมีคุณแห่งการบริจาคเป็นอารมณ์ ​ มีความเป็นผู้เสียสละอย่างเด็ดขาดเป็นต้น 
- 
-6.   ​ความระลึกเนือง ๆ  เกิดขึ้นปรารภเทวดาทั้งหลาย ​ ชื่อว่า ​ เทวตานุสสติ ​  ​คำนี้เป็นชื่อของสติอันมีคุณคือศรัทธาเป็นต้นของตนโดยตั้งเทวดาทั้งหลายไว้ในฐานเป็นพยาน ​ เป็นอารมณ์ 
- 
-7.  ความระลึกเนือง ๆ  เกิดขึ้นปรารภมรณะ ​ ชื่อว่ามรณานุสสติ ​ คำนี้เป็นชื่อของสติอันมีความขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิตเป็นอารมณ์ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 330)''</​fs></​sub>​ 
- 
-8.  สติอันนึกถึงรูปกายอันต่างด้วยผมเป็นต้น ​ หรือสติอันนึกไปในกาย ​ ชื่อว่า ​ กายคตาสติ ​ นั้นด้วย ​ นึกถึงซึ่งรูปกายหรือนึกไปในกายด้วย ​ ชื่อว่า ​ กายคตาสติ ​ แทนที่จะกล่าวว่า ​ กายคตสติ ​ กล่าวเสียว่า ​ กายคตาสติ ​ เพราะไม่ทำรัสสะ ​ คำนี้เป็นชื่อของสติ ​ อันมีนิมิต ​ คือชิ้นส่วนของกายมีผมเป็นต้นเป็นอารมณ์ 
- 
-9.  ความระลึกเกิดขึ้นปรารภลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ​ ชื่อว่า ​ อานาปานสติ ​   คำนี้เป็นชื่อของสติอันมีนิมิตคือลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นอารมณ์ 
- 
-10.  ความระลึกเนือง ๆ  เกิดขึ้นปรารภความสงบ ​ ชื่อว่า ​ อุปสมานุสสติ ​ คำนี้เป็นชื่อของสติอันมีนิพพานอันเป็นที่สงบทุกข์ทั้งปวงเป็นอารมณ์ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 331)''</​fs></​sub>​ 
- 
-=พุทธานุสสติกถา= 
- 
-'''​วิธีเจริญพุทธานุสสติกัมมัฏฐาน'''​ 
- 
-ในอนุสสติ ​ 10  ประการนี้ ​ อันโยคีบุคคลผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหว ​ มีความประสงค์เพื่อที่จะเจริญพุทธานุสสติเป็นประการแรก ​ พึงไป ณ ที่อันสงัด หลีกเร้นอยู่ ณ เสนาสนะอันสมควร ​ แล้วพึงระลึกถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเนือง ๆ  โดยนัยที่มาในพระบาลีอย่างนี้ว่า 
- 
-พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น – 
- 
-1.  อิติปิ ​ อรหํ ​   เป็นพระอรหันต์ ​ แม้เพราะเหตุนี้ 
- 
-2.  อิติปิ ​ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ​   เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ​ แม้เพราะเหตุนี้ 
- 
-3.  อิติปิ ​ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ​   เป็นผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ​ แม้เพราะเหตุนี้ 
- 
-4.  อิติปิ ​ สุคโต ​   เป็นผู้เสด็จไปดี ​ แม้เพราะเหตุนี้ 
- 
-5.  อิติปิ ​ โลกวิทู ​   เป็นผู้ทรงรู้แจ้งโลก ​ แม้เพราะเหตุนี้ 
- 
-6.  อิติปิ ​ อนุตฺตโร ​ ปุริสทมฺมสารถิ ​   ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกชั้นยอดเยี่ยม ​ แม้เพราะเหตุนี้ 
- 
-7.  อิติปิ ​ สตฺถา ​ เทวมนุสฺสานํ ​   ทรงเป็นศาสดาของเทวดา ​ และมนุษย์ทั้งหลาย ​ แม้เพราะเหตุนี้ 
- 
-8.  อิติปิ ​ พุทฺโธ ​   ทรงเป็นพุทธ ​ แม้เพราะเหตุนี้ 
- 
-9.  อิติปิ ​ ภควา ​   ทรงเป็นภควา ​ แม้เพราะเหตุนี้  ​ 
- 
-'''​ด้วยประการฉะนี้'''​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 332)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อนุสสรณนัย'''​ 
- 
-นัยสำหรับระลึกเนือง ๆ  ในพระพุทธคุณเหล่านั้น ​ ดังนี้ ​ คือ ​ โยคีบุคคลย่อมระลึกเนือง ๆ ว่า ​ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ​ เป็นพระอรหันต์ ​ แม้เพราะเหตุนี้ ​ (อธิบายว่า ​ ให้ยกเอาคำว่า ​ อิติปิ ​ ที่แปลว่า ​ แม้เพราะเหตุนี้ ​ มาประกอบเข้ากับพุทธคุณทั้ง 9  บท)  ​ 
- 
-==1.   ​อธิบายบท ​ อรหํ == 
- 
-ในพุทธคุณ 9  นั้น ​ โยคีบุคคลย่อมระลึกเนือง ๆ ว่า ​ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงได้พระนามว่า ​ พระอรหํ ​ เป็นประการแรก ​ เพราะเหตุเหล่านี้ ​ คือ ​ เพราะเป็นผู้ไกล 1  เพราะเป็นผู้กำจัดอริทั้งหลาย 1  เพราะเป็นผู้หักซึ่งกำทั้งหลาย 1  เพราะเป็นผู้ควรแก่ไทยธรรมทั้งหลายมีปัจจัยเป็นต้น 1  เพราะเป็นผู้ไม่มีที่ลับในการกระทำบาป 1 
- 
-'''​1. ​ ข้อว่าเป็นผู้ไกล'''​ 
- 
-จริงอยู่ ​ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ​ ชื่อว่าเป็นผู้ไกล ​ คือทรงดำรงอยู่ในที่ไกลแสนไกลจากสรรพกิเลสทั้งหลาย ​ เพราะเป็นผู้ทรงกำจัดเสียแล้วซึ่งกิเลสทั้งหลายพร้อมทั้งวาสนาด้วยพระอริยมรรค ​ เพราะเหตุนั้นจึงทรงได้พระนามว่า ​ อรหํ ​ เพราะเหตุเป็นผู้ไกล 
- 
-พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ​ ไม่ทรงประกอบด้วยกิเลสอันใด ​ และไม่ทรงประกอบด้วยโทษสิ่งใด ​ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ​ ผู้เป็นพระนาถะของโลก ​ เป็นผู้ไกลจากกิเลสและโทษเหล่านั้น ​ เพราะเหตุนั้นจึงทรงปรากฏพระนามว่า ​ อรหํ 
- 
-'''​2. ​ ข้อว่าเป็นผู้กำจัดอริทั้งหลาย'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ อริ ​ คือกิเลสทั้งหลายเหล่านั้น ​ อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงกำจัดแล้วด้วยพระอริยมรรค ​ เพราะเหตุนั้น ​ พระองค์จึงทรงพระนามว่า ​ อรหํ ​ แม้เพราะเหตุเป็นผู้กำจัดซึ่งอริทั้งหลาย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 333)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แม้เหตุที่อริทั้งหลาย ​ อันได้แก่กิเลสมีราคะเป็นต้น ​ แม้ทุก ๆ  อย่างอันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระนาถะของโลก ​ ทรงกำจัดแล้วด้วยศาสตราคือพระปัญญา ​ ฉะนั้น ​ พระองค์จึงทรงปรากฏพระนามว่า ​ อรหํ ​ ฉะนี้ 
- 
-'''​3. ​ ข้อว่าเป็นผู้หักซึ่งกำทั้งหลาย'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ สังสารจักรนี้ใด ​ มี ​ ดุม ​ สำเร็จด้วยอวิชชาและภวตัณหา ​ มี ​ กำ ​ สำเร็จด้วยอภิสังขารมีปุญญาภิสังขารเป็นต้น ​ มี ​ กง ​ สำเร็จด้วยชราและมรณะ ​ เอา ​ เพลา ​ อันสำเร็จด้วยอาสวะและสมุทัยสอดเข้าแล้ว ​ ประกอบเข้าใน ​ ตัวรถ ​ คือภพทั้งสาม ​ แล่นไปตลอดกาลไม่มีเบื้องต้นและที่สุด 
- 
-กำทั้งหลายในสังสารจักรนั้นทุก ๆ ซี่ ​ อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงประทับยืนอยู่บนพื้นปฐพีคือศีล ​ ด้วยพระบาททั้ง 2  คือวิริยะ ​ ณ  ควงพระศรีมหาโพธิ์ ​ ทรงจับขวัญคือพระพุทธญาณอันทำกรรมให้สิ้นสูญ ​ ทรงหักแล้ว ​ เพราะเหตุนั้น ​ พระองค์จึงทรงพระนามว่า ​ อรหํ ​ แม้เพราะเหตุที่ทรงหักซึ่งกำทั้งหลาย 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ สังสารวัฏอันมีเบื้องต้นและที่สุดรู้ไม่ได้ ​ เรียกว่า ​ สังสารจักร ​ แหละสังสารจักรนั้น ​ มีอวิชชาเป็นดุม ​ เพราะเป็นมูลเหตุ ​ ชราและมรณะเป็นกง ​ เพราะเป็นปลายเหตุ ​ ปฏิจจสมุปบาทธรรมที่เหลือ ​ 10  ประการเป็นกำ ​ เพราะมีอวิชชาเป็นมูลเหตุ และเพราะมีชราและมรณะเป็นปลายเหตุ 
- 
-'''​ในบรรดาปฏิจจสมุปบาทธรรมเหล่านั้น ความไม่รู้ในทุกข์ '''​ 
-'''​(ทุกขอริยสัจจ์) เป็นต้น ชื่อว่า อวิชชา '''​ 
- 
-'''​อวิชชาในกามภพเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลายในกามภพ'''​ 
- 
-'''​อวิชชาในรูปภพเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลายในรูปภพ'''​ 
- 
-'''​อวิชชาในอรูปภพเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลายในอรูปภพ'''​ 
- 
-'''​สังขารทั้งหลาย ในกามภพเป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิวิญญานในกามภพ'''​ 
- 
-'''​ในภพ 2 นอกนี้ก็มีนัยเช่นนี้'''​ 
- 
-'''​ปฏิสนธิวิญญาณ ในกามภพ เป็นปัจจัยแก่นามรูปในกามภพ'''​ 
- 
-'''​ในรูปภพก็เหมือนกัน'''​ 
- 
-'''​ส่วนในอรูปภพ ปฏิสนธิวิญญาณ เป็นปัจจัยแก่นามอย่างเดียว'''​ 
- 
-'''​นามรูป ในกามภพ เป็นปัจจัยแก่อายตนะ 6ในกามภพ'''​ 
- 
-'''​นามรูป ในรูปภพ เป็นปัจจัยแก่อายตนะ 3 ในรูปภพ'''​ 
- 
-'''​นาม ในอรูปภพ เป็นปัจจัยแก่อายตนะ 1 ในอรูปภพ'''​ 
- 
-'''​อายตนะ 6 ในกามภพ เป็นปัจจัยแก่ผัสสะ 6 ในกามภพ'''​ 
- 
-'''​อายตนะ 3 ในรูปภพเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ 3 ในรูปภพ'''​ 
- 
-'''​อายตนะ 1 ในอรูปภพเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ 1 ในอรูปภพ'''​ 
- 
-'''​ผัสสะ 6 ในกามภพเป็นปัจจัยแก่เวทนา 6 ในกามภพ'''​ 
- 
-'''​ผัสสะ 3 ในรูปภพเป็นปัจจัยแก่เวทนา 3 ในรูปภพนั้นนั่นแหละ'''​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 334)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ผัสสะ 1 ในอรูปภพ เป็นปัจจัยแก่ผัสสะ 1 ในอรูปภพนั้นนั่นแหละ'''​ 
- 
-'''​เวทนา 6 ในกามภพเป็นปัจจัยแก่กองตัณหา 6 ในกามภพ'''​ 
- 
-'''​เวทนา 3 ในรูปภพ เป็นปัจจัยแก่กองตัณหา 3 ในรูปภพนั้นนั่นแหละ'''​ 
- 
-'''​เวทนา 1 ในอรูปภพ เป็นปัจจัยแก่กองตัณหา 1 ในอรูปภพนั่นแหละ'''​ 
- 
-'''​ตัณหานั้น ๆ ในภพนั้น ๆ เป็นปัจจัยแก่อุปาทานนั้น ๆ'''​ 
- 
-'''​ธรรมทั้งหลายมี อุปาทาน เป็นต้น เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายมี ภพ เป็นต้น'''​ 
- 
-ถาม -  ข้อนี้ ​ อย่างไร ? 
- 
-ตอบ -  บุคคลบางคนในโลกนี้คิดว่า ​ เราจักบริโภคซึ่งกามคุณทั้งหลาย ​ ดังนี้แล้ว ​ ก็ประพฤติทุจริตด้วยกาย ​ ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ​ ประพฤติทุจริตด้วยใจ ​ เพราะมีกามุปาทานเป็นปัจจัย ​ เขาย่อมบังเกิดในอบาย ​ เพราะความบริบูรณ์แห่งทุจริต ​ กรรมอันเป็นเหตุ ​ ให้บังเกิดในอบายนั้นของบุคคลนั้น ​ เป็น ​ กรรมภพ ​ ขันธ์ทั้งหลายที่บังเกิดเพราะกรรมเป็น ​ อุปปัตติภพ ​ ความบังเกิดแห่งขันธ์ทั้งหลายเป็น ​ ชาติ ​ ความแก่หง่อมแห่งขันธ์ทั้งหลายเป็น ​ ชรา ​ ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลายเป็น ​ มรณะ 
- 
-อีกบุคคลหนึ่ง ​ ปรารถนาว่า ​ เราจักเสวยสวรรค์สมบัติ ​ ดังนี้แล้วจึงประพฤติสุจริตเหมือนอย่างนั้นนั่นแล ​ เขาย่อมบังเกิดในสวรรค์เพราะความบริบูรณ์แห่งสุจริต ​ คำว่า ​ กรรมอันเป็นเหตุให้บังเกิดในสวรรค์นั้นแห่งบุคคลนั้น ​ กรรมภพ ​ เป็นต้น ​ ก็นัยเดียวกันนั้นนั่นเทียว 
- 
-อนึ่ง ​ อีกบุคคลหนึ่ง ​ ปรารถนาว่า ​ เราจักเสวยสมบัติในพรหมโลก ​ ดังนี้แล้วก็เจริญเมตตากัมมัฏฐาน ​ เจริญกรุณากัมมัฏฐาน ​ เจริญมุทิตากัมมัฏฐาน ​ เจริญอุเบกขากัมมัฏฐาน ​ เขาย่อมไปบังเกิดในพรหมโลก ​ เพราะความบริบูรณ์แห่งการเจริญกัมมัฏฐาน ​ คำว่า ​ กรรมอันเป็นเหตุให้บังเกิดในพรหมโลกนั้นของบุคคลนั้นเป็น ​ กรรมภพ ​ เป็นต้น ​ ก็นัยเดียวกันนั่นแล 
- 
-อีกบุคคลหนึ่ง ​ ปรารถนาว่า ​ เราจักเสวยสมบัติในอรูปภพ ​ ดังนี้แล้วก็เจริญสมาบัติทั้งหลาย ​ มีอากาสานัญจายตนสมาบัติเป็นต้น ​ เหมือนอย่างนั้นนั่นแล เขาย่อมไปบังเกิดในอรูปภพนั้น ๆ  เพราะความบริบูรณ์แห่งการเจริญสมาบัติ ​ กรรมอันเป็นเหตุให้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 335)''</​fs></​sub>​ 
- 
-บังเกิดในอรูปภพนั้นของบุคคลนั้นเป็น ​ กรรมภพ ​ ขันธ์ทั้งหลายที่บังเกิดเพราะกรรมเป็น ​ อุปปัตติภพ ​ ความบังเกิดแห่งขันธ์ทั้งหลายเป็น ​ ชาติ ​ ความแก่หง่อมแห่งขันธ์ทั้งหลายเป็น ​ ชรา ​ ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลายเป็น ​ มรณะ ​ ฉะนี้ ​ แม้ในการประกอบความทั้งหลายซึ่งมี ​ อุปาทานที่เหลือเป็นมูล ​ ก็นัยเดียวกันนี้  ​ 
- 
-ความรู้ในการกำหนดปัจจัยอย่างนี้ว่า ​ อวิชชาเป็นเหตุ ​ สังขารเป็นผลเกิดแต่เหตุ ​ แม้อวิชชาและสังขารทั้ง 2  นั้นก็เป็นผลเกิดแต่เหตุ ​ นี้เป็น ​ ธรรมฐิติญาณ ​ ความรู้ในการกำหนดปัจจัยว่า ​ อวิชชาเป็นเหตุ ​ สังขารเป็นผลเกิดแต่เหตุ ​ แม้อวิชชาและสังขารทั้ง 2 นั้นก็เป็นผลเกิดแต่เหตุ ​ ทั้งในกาลเป็นอดีต ​ ทั้งในกาลเป็นอนาคต ​ เป็น ​ ธรรมฐิติญาณ ​ นักศึกษาพึงทำทุก ๆ บทให้พิสดารโดยนัยนี้ ​ ด้วยประการฉะนี้นั่นเทียว 
- 
-ในบรรดาธรรมเหล่านั้น ​ อวิชชากับสังขารจัดเป็น ​ สังเขป ​ อัน 1  วิญญาณ ​ นามรูป ​ สฬายตนะ ​ ผัสสะ ​ และเวทนา ​ จัดเป็น ​ สังเขป ​ อัน 1  ตัณหา ​ อุปาทานและภพ ​ จัดเป็น ​ สังเขป ​ อัน 1  ชาติ ​ ชราและมรณะ ​ จัดเป็น ​ สังเขป ​ อัน 1  แหละในสังเขปเหล่านั้น ​ สังเขป ​ ต้นจัดเป็น ​ อดีตอัทธา ​ (อดีตกาล) ​ 2  สังเขปกลางจัดเป็น ​ ปัจจุบันอัทธา ​ (ปัจจุบันกาล) ​ ชาติ ​ ชราและมรณะ ​ จัดเป็น ​ อนาคตอัทธา ​ (อนาคตกาล) ​ อนึ่ง ​ ในบรรดาธรรมเหล่านั้น ​ โดยที่ถือเอาอวิชชาและสังขาร ​ ก็เป็นอันถือเอาตัณหา ​ อุปาทานและภพด้วย ​ ดังนี้ ​ ธรรม 5  อย่างนี้ ​ จัดเป็น ​ กรรมวัฏในอดีต ​ ธรรม 5 มีวิญญาณเป็นต้นจัดเป็น ​ วิปากวัฏในปัจจุบัน ​ โดยที่ถือเอาตัณหา ​ อุปาทานและภพ ​ ก็เป็นอันถือเอาอวิชชาและตัณหาด้วย ​ ดังนั้น ​ ธรรม 5  อย่างนี้ ​ จัดเป็น ​ กรรมวัฏในปัจจุบัน ​ เพราะเหตุที่ธรรม 5  มีวิญญาณเป็นต้น ​ ท่านแสดงไว้โดยอ้างเอาชาติ ​ ชราและมรณะ ​ ธรรม 5  เหล่านี้จัดเป็น ​ วิปากวัฏในอนาคต ​ ธรรมเหล่านั้นโดยอาการจึงเป็น 20  อนึ่งในบรรดาธรรมเหล่านั้นระหว่างสังขารกับวิญญาณจัดเป็น ​ สนธิ ​ อัน 1  ระหว่างเวทนากับตัณหาจัดเป็นสนธิอัน 1  ระหว่างภพกับชาติจัดเป็นสนธิอัน 1  พระผู้มีพระภาคทรงทราบ ​ ทรงเห็น ​ ทรงรู้ ทรงแทงตลอด ​ ซึ่งปฏิจจสมุปบาทธรรมอันมีสังเขป 4  อัทธา 3  อาการ 20  สนธิ 3  ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 336)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ความรู้นั้น ​ ชื่อว่า ​ ญาณ ​ เพราะอรรถว่ารู้ ​ ชื่อว่า ​ ปัญญา ​ เพราะอรรถว่ารู้โดยประการต่าง ๆ  ด้วยเหตุนั้น ​ ความรู้ในการกำหนดปัจจัย ​ ท่านจึงเรียกว่าธรรมฐิติญาณ ​ พระผู้มีพระภาคครั้นทรงรู้ธรรมเหล่านั้นด้วยธรรมฐิติญาณนี้ตามความเป็นจริง ​ แล้วทรงเบื่อหน่ายในธรรมเหล่านั้น ​ คือทรงสำรอก ​ ทรงหลุดพ้น ​ ชื่อว่า ​ ทรงหัก ​ คือทรงรื้อ ​ ทรงทำลาย ​ ซึ่งกรรมทั้งหลายแห่งสังสารจักร ​ อันมีประการดังกล่าวมาแล้วนี้ ​ พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า ​ พระอรหํ ​ เพราะทรงหักกำแห่งสังสารจักรทั้งหลาย ​ แม้ด้วยประการอย่างนี้ 
- 
-เพราะเหตุที่กำทั้งหลายแห่งสังสารจักร ​ อันพระผู้มีพระภาค ​ ผู้ทรงเป็นนาถะของโลก ​ ทรงทำลายแล้วด้วยดาบคือพระญาณ ​ ฉะนั้น ​ พระองค์จึงถูกเฉลิมพระนามว่า ​ พระอรหํ  ​ 
- 
-'''​4. ​ ข้อว่าเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ พระผู้มีพระภาคย่อมควรซึ่งปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น ​ และควรซึ่งการบูชาชั้นพิเศษ ​ เพราะพระองค์ทรงเป็นทักขิไณยบุคคลชั้นยอด ​ แหละเพราะเหตุนั้นนั่นแล ​ เมื่อพระตถาคตเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว ​ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายชั้นมเหศักดิ์เหล่าหนึ่งเหล่าใดนั้น ย่อมไม่ทำการบูชา ​ ณ  ที่อื่น ๆ  เป็นความจริง ​ ท้าวสหัมบดีพรหมได้บูชาพระตถาคตเจ้า ​ ด้วยพวงแก้วขนาดเท่าเขาสิเนรุ ​ แหละเทวดาทั้งหลายชั้นอื่น ๆ  และมนุษย์ทั้งหลายมีพระเจ้าพิมพิสารและพระเจ้าโกศลเป็นต้น ​ ก็ได้ทรงบูชาตามควรแก่กำลัง ​ อนึ่ง ​ แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว ​ พระเจ้าอโศกมหาราชก็ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์จำนวน 96  โกฏิ ​ สร้างพระอารามอุทิศไว้ในชมพูทวีปทั่วไปถึง ​ 84,​000 ​ แห่ง ​ ไม่ต้องพูดถึงการบูชาชั้นพิเศษอื่น ๆ  เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคจึงทรงได้พระนามว่า ​ อรหํ ​ แม้เพราะเหตุที่ทรงเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น 
- 
-เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคผู้เป็นนาถะของโลกพระองค์นี้ ​ ย่อมสมควรซึ่งการบูชาชั้นพิเศษพร้อมทั้งปัจจัยทั้งหลาย ​ ฉะนั้น ​ พระองค์ผู้เป็นพระชินเจ้า ​ จึงทรงสมควรต่อพระนามอันนี้ ​ คือ ​ พระอรหํ ​ ในโลก ​ ซึ่งเป็นพระนามที่สมควรแก่ความหมาย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 337)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​5. ​ ข้อว่าไม่มีที่ลับในการทำบาป'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ พวกคนพาลแต่สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิตจำพวกใดจำพวกหนึ่งในโลก ​ ย่อมทำบาปในที่ลับ ​ เพราะกลัวเสียชื่อเสียง ​ ฉันใด ​ พระผู้มีพระภาคนั้นย่อมไม่ทรงกระทำเหมือนอย่างนั้น ​ ในกาลไหน ๆ  ฉะนั้น ​ พระองค์จึงทรงได้พระนามว่า พระอรหํ ​ แม้เพราะเหตุไม่มีที่ลับในการทำบาป 
- 
-เพราะเหตุที่ขึ้นชื่อว่าที่ลับในการทำบาปทั้งหลาย ​ ย่อมไม่มีแก่พระผู้มีพระภาคผู้คงที่ ​ ฉะนั้น ​ พระองค์จึงทรงปรากฏพระนามว่า ​ พระอรหํ ​ เพราะไม่มีที่ลับนั้น  ​ 
- 
-พระผู้มีพระภาคผู้เป็นมุนีพระองค์นั้น ​ เพราะเหตุเป็นผู้ไกล 1  เพราะเหตุเป็นผู้กำจัดอริคือกิเลสทั้งหลาย 1  เป็นผู้หักกำแห่งสังสารจักร 1  เป็นผู้ควรแก่ไทยธรรมทั้งหลายมีปัจจัยเป็นต้น 1  ไม่ทรงกระทำบาปทั้งหลายในที่ลับ 1  บัณฑิตจึงถวายพระนามว่า ​ พระอรหํ ​ คือเป็นพระอรหันต์ ​ เพราะเหตุนั้น  ​ 
- 
-==2.  อธิบายบท ​ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ​ == 
- 
-ก็แหละ ​ พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า ​ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ​ เพราะเหตุที่เป็นผู้ตรัสรู้สรรพธรรมทั้งหลายโดยชอบด้วย ​ ด้วยพระองค์เองด้วย ​ เป็นความจริงอย่างนั้น ​ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ​ ตรัสรู้สรรพธรรมทั้งหลายโดยชอบด้วย ​ ด้วยพระองค์เองด้วย ​ คือตรัสรู้ธรรมทั้งหลายที่ควรรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ​ โดยความเป็นธรรมอันควรรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ​ ตรัสรู้ธรรมทั้งหลายที่ควรกำหนรรู้ ​ โดยความเป็นธรรมอันควรกำหนดรู้ ตรัสรู้ธรรมทั้งหลายอันควรละ โดยความเป็นธรรมอันควรละ ตรัสรู้ธรรมทั้งหลายอันควรทำให้แจ้ง ​ โดยความเป็นธรรมอันควรทำให้แจ้ง ​ ตรัสรู้ธรรมทั้งหลายอันควรเจริญ ​ โดยความเป็นธรรมอันควรเจริญ 
- 
-แหละด้วยเหตุนั้นนั่นแล ​ พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสไว้ว่า – 
- 
-สิ่งที่ควรรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ​ เราได้รู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ​ สิ่งที่ควรละเราได้ละแล้ว ​ สิ่งที่ควรทำให้แจ้งเราทำให้แจ้งแล้ว ​ และ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 338)''</​fs></​sub>​ 
- 
-สิ่งที่ควรเจริญเราได้เจริญแล้ว ​ ดูก่อนพราหมณ์ ​ เพราะเหตุนั้น ​ เราจึงเป็นผู้ตรัสรู้ 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ จักษุ ​ เป็นทุกขสัจ ​ ตัณหาเก่าอันเป็นสมุฏฐานโดยความเป็นมูลเหตุแห่งจักษุนั้น ​ เป็นสมุทยสัจ ​ ความไม่ดำเนินไปแห่งจักษุและตัณหาทั้งสอง ​ เป็นนิโรธสัจ ​ ปฏิปทาที่เป็นเหตุรู้นิโรธ ​ เป็นมัคคสัจ ​ พระผู้มีพระภาคตรัสรู้สรรพธรรมทั้งหลายโดยชอบด้วยพระองค์เองด้วย ​ แม้โดยการยกขึ้นทีละบท ๆ  อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ ​ แม้ในโสตะ, ​ ฆานะ,​ ชิวหา, ​ กายและมโนทั้งหลาย ​ ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้ 
- 
-อายตนะ 6  มีรูปเป็นต้น ​ กองแห่งวิญญาณ 6  มีจักษุวิญญาณเป็นต้น ​ ผัสสะ 6  มีจักษุสัมผัสเป็นต้น ​ เวทนา 6  มีจักษุสัมผัสสชาเวทนาเป็นต้น ​ สัญญา 6  มีจักษุสัญญาเป็นต้น ​ เจตนา 6  มีรูปสัญเจตนาเป็นต้น ​ กองแห่งตัณหา 6  มีรูปตัณหาเป็นต้น ​ วิตก 6 มีรูปวิตกเป็นต้น ​ วิจาร 6  มีรูปวิจารเป็นต้น ​ ขันธ์ 5  มีรูปขันธ์เป็นต้น ​ กสิณ 10  อนุสสติ 10  สัญญา 10  ด้วยอำนาจแห่งอุทธุมาตกสัญญาเป็นต้น ​ อาการ 32  มีผมเป็นต้น ​ อายตนะ 12  ธาตุ 18  ภพ 9  มีกามภพเป็นต้น ​ ฌาน 4  มีปฐมฌานเป็นต้น ​ อัปปมัญญา 4 มีเมตตาภาวนาเป็นต้น ​ อรูปสมาบัติ 4  และองค์แห่งปฏิจจสมุปบาทโดยปฏิโลมมีชาติและชราเป็นต้น ​ โดยอนุโลมมีอวิชชาเป็นต้น ​ นักศึกษาพึงประกอบเข้าโดนนัยนี้นั่นแล 
- 
-การประกอบความบทหนึ่งในธรรมเหล่านั้น ​ (มีตัวอย่าง) ​ ดังต่อไปนี้ ​ คือ ​ ชรา ​ และมรณะ ​ เป็นทุกขสัจ ​ ชาติ ​ เป็นสมุทยสัจ ​ ความสลัดออกซึ่งทุกขสัจและสมุทยสัจแมัทั้ง 2  เป็นนิโรธสัจ ​ ปฏิปทาเป็นเหตุรู้แจ้งซึ่งนิโรธสัจ ​ เป็นมัคคสัจ ​ พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ ​ คือทรงรู้โดยอนุโลม ​ ทรงรู้โดยปฏิโลม ​ ซึ่งสรรพธรรมทั้งหลายโดยการยกขึ้นทีละบท ๆ  อย่างนี้ ​ ด้วยประการฉะนี้ ​ ด้วยเหตุนั้น ​ ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า ​ ก็แหละ ​ พระผู้มีพระภาคทรงได้ ​ พระนามว่า ​ สัมมาสัมพุทโธ ​ เพราะเหตุที่เป็นผู้ตรัสรู้สรรพธรรมทั้งหลายโดยชอบด้วยพระองค์เองด้วย ​ ฉะนี้  ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 339)''</​fs></​sub>​ 
- 
-==3.  อธิบายบท ​ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน == 
- 
-ก็แหละ ​ พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า ​ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ​ เพราะเหตุ ​ ที่พระองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยวิชชาทั้งหลายด้วย ​ ด้วยจรณะด้วย ​ ใน 2  ประการนี้ ​ วิชชา 3  ก็ดี ​ วิชชา 8  ก็ดี ​ ชื่อว่า ​ วิชชา ​ วิชชา 3  นักศึกษาพึงทราบโดยนัยที่ตรัสไว้ในภยเภรวสูตร ​ วิชชา 8  พึงทราบโดยนัยที่ตรัสไว้ในอัมพัฏฐสูตร ​ นั่นเถิด ​ จริงอยู่ ​ ในอัมพัฏฐสูตรนั้น ​ พระผู้มีพระภาคตรัสวิชชา 8  โดยกำหนดเอาอภิญญา 6  บวกด้วยวิปัสสนาญาณและมโนมยิทธิธรรม ​ 15  ประการนี้คือ ​ สีลสังวร 1  ความรักษาทวารที่อินทรีย์หก 1  ความรู้จักประมาณในโภชนะ 1   ​การประกอบความเพียร 1  สัทธรรมเจ็ด 1  รูปาวจรฌานสี่ 1  พึงทราบว่า ​ จรณะ จริงอยู่ ​ ธรรม 15  ประการนี้เท่านั้น ​ ตรัสว่าเป็น ​ จรณะ ​ เพราะเหตุที่เป็นทางดำเนินไปสู่ทิศอมตะของพระอริยสาวก ​ สมดังที่ตรัสไว้ว่า ​  ​ดูก่อนมหานามะ ​ อริยสาวกในศาสนานี้ ​ ย่อมเป็นผู้มีศีล ​ ดังนี้ ​ เป็นอาทิ ​ คำทั้งหมดพึงทราบโดยนัยที่ตรัสไว้ในมัชฌิมปัณณาสกนั่นเถิด 
- 
-พระผู้มีพระภาค ​ ทรงประกอบแล้ว ​ ด้วยวิชชา 8  นี้ ​ และจรณะนี้ ​ ด้วยเหตุนั้นพระองค์จึงทรงได้พระนามว่า ​ วิชชาจรณสัมปันโน 
- 
-ในสมบัติ 2 ประการนั้น ​ วิชชาสมบัติ ​ ยังความเป็นพระสัพพัญญูของพระผู้มีพระภาคให้บริบูรณ์ ​ จรณสมบัติ ​ ยังความเป็นผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณาของพระผู้มีพระภาคให้บริบูรณ์ ​ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ​ ทรงทราบสิ่งที่เป็นประโยชน์ ​ และไม่เป็นประโยชน์ ​ ของสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วยพระสรรพพัญญุตญาณแล้ว ​ ทรงชักนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ​ ทรงเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ด้วยความเป็นผู้ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ​ เหมือนดังศาสดาอื่น ๆ  ที่สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะนั้น ​ ด้วยเหตุนั้น ​ พระสาวกทั้งหลายของพระองค์จึงเป็นผู้ปฏิบัติดี ​ ไม่เป็นผู้ปฏิบัติชั่ว ​ เหมือนอย่างพวกสาวกของศาสดาทั้งผู้มีวิชาและจรณะวิบัติ ​ ซึ่งมีแต่ทำตนให้เดือดร้อนเป็นต้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 340)''</​fs></​sub>​ 
- 
-==4.  อธิบายบท ​ สุคโต == 
- 
-พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า ​ สุคโต ​ เพราะมีการทรงดำเนินไปงามอย่างหนึ่ง เพราะเสด็จไปสู้ฐานะอันดีอย่างหนึ่ง ​ เพราะเสด็จไปโดยชอบอย่างหนึ่ง ​ เพราะตรัสโดยชอบอย่างหนึ่ง  ​ 
- 
-จริงอยู่ ​ แม้การดำเนินไป ​ ท่านเรียกว่า ​ คตะ ​ แหละการดำเนินไปนั้นของพระผู้มีพระภาค ​ เป็นการงาม ​ คือบริสุทธิ์ ​ หาโทษมิได้ 
- 
-ก็แหละ ​ การดำเนินไปงามนั้น ​ ได้แก่อะไร ? 
- 
-ได้แก่อริยมรรค ​ จริงอยู่ ​ พระผู้มีพระภาคนั้น ​ เสด็จไปไม่ละทิศอันเกษมด้วยการดำเนินไปนั้น ​ จึงทรงได้พระนามว่า ​ สุคโต ​ เพราะมีการดำเนินไปงาม ​ ด้วยประการฉะนี้  ​ 
- 
-อนึ่ง ​ พระผู้มีพระภาคนั้น ​ เสด็จไปสู่ฐานะอันดี ​ คือฐานะอันไม่ตายได้แก่พระนิพพาน ​ จึงทรงได้พระนามว่า ​ สุคโต ​ แม้เพราะเป็นผู้เสด็จไปสู่ฐานะอันดี ​ ด้วยประการฉะนี้  ​ 
- 
-อนึ่ง ​ พระผู้มีพระภาคนั้น ​ เสด็จไปโดยชอบ ​ คือไม่เสด็จกลับมาสู่กิเลสทั้งหลายที่ทรงละแล้วด้วยมรรคนั้น ๆ อีก ​ สมดังคำที่พระสาลีบุตรเถระกล่าวไว้ว่า ​ กิเลสเหล่าใด ​ ที่ทรงละแล้วด้วยโสดาปัตติมรรค ​ พระผู้มีพระภาคไม่มา ​ ไม่คืนมา ​ ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก ​ ดังนั้น ​ จึงทรงได้พระนามว่า ​ สุคโต ​ กิเลสเหล่าใดที่ทรงละแล้วด้วยอรหัตมรรค ​ พระผู้มีพระภาคไม่มา ​ ไม่คืนมา ​ ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก ​ ดังนั้น ​ จึงทรงได้พระนามว่า ​ สุคโต 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ พระผู้มีพระภาคเสด็จไปโดยชอบ ​ คือทรงทำแต่ประโยชน์ ​ เกื้อกูลและความสุขแก่โลกทั้งปวง ​ ด้วยพระสัมมาปฏิบัติ ​ โดยทรงบำเพ็ญพระบารมี ​ 30  ทัศ นับจำเดิมแต่บาทมูลแห่งพระทีปังกรพุทธเจ้า ​ ตราบเท่าถึงประเทศเป็นที่ผ่องใสแห่งพระโพธิญาณ ​ คือ ​ เสด็จไปอย่างไม่เข้าไปสู่ริมทางเหล่านี้ ​ คือ ​ สัสสตทิฏฐิ 1  อุจเฉททิฏฐิ 1  กามสุขัลลิกานุโยค 1  อัตตกิลมถานุโยค 1  จึงทรงได้พระนามว่า สุคโต ​ แม้เพราะเสด็จไปโดยชอบ ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 341)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อนึ่ง ​ พระผู้มีพระภาคนั้น ​ ย่อมตรัสโดยชอบ ​ คือตรัสแต่พระวาจาที่สมควร ในฐานะอันสมควร ​ จึงทรงได้พระนามว่า ​ สุคโต ​ แม้เพราะตรัสโดยชอบ ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-ในอธิการนี้มีสูตรสาธกดังต่อไปนี้ ​ คือ – 
- 
-ตถาคตรู้วาจาใด ​ อันไม่จริง ​ ไม่แท้ ​ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ​ ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่น ๆ  ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น 
- 
-ตถาคตรู้วาจาใด ​ เป็นของจริงของแท้ ​ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ​ ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่น ๆ  แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส 
- 
-อนึ่ง ​ ตถาคตรู้วาจาใด ​ เป็นของจริง ​ เป็นของแท้ ​ ประกอบด้วยประโยชน์ ​ แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่น ๆ  ในข้อนั้น ​ ตถาคตย่อมรู้จักกาลในอันที่จะใช้วาจานั้น 
- 
-ตถาคตรู้วาจาใด ​ อันไม่จริง ​ ไม่แท้ ​ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ​ แต่วาจานั้นเป็นที่รักเป็นที่เจริญใจ ​ ของคนอื่น ๆ  ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น  ​ 
- 
-ตถาคตรู้วาจาใด ​ แม้เป็นของจริงของแท้ ​ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ​ และวาจานั้นเป็นที่รักเป็นที่เจริญใจของคนอื่น ๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส 
- 
-อนึ่ง ​ ตถาคตรู้วาจาใด ​ เป็นของจริง ​ ของแท้ ​ ประกอบด้วยประโยชน์ ​ ทั้งวาจานั้นเป็นที่รักเป็นที่เจริญใจของคนอื่น ๆ ข้อนั้น ​ ตถาคตย่อมรู้กาลในอันที่จะใช้วาจานั้น 
- 
-นักศึกษาพึงทราบว่า ​ พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า ​ สุคโต ​ แม้เพราะตรัสโดยชอบ ​ ด้วยประการดังพรรณนามานี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 342)''</​fs></​sub>​ 
- 
-==5.  อธิบายบท ​ โลกวิทู == 
- 
-ก็แหละ ​ พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า ​ โลกวิทู ​ เพราะเป็นผู้รู้แจ้งโลกแม้โดยทุก ๆ ประการ ​ เป็นความจริง ​ พระผู้มีพระภาคนั้น ​ ทรงรู้แจ้ง ​ ทรงเข้าพระทัย ​ ทรงทะลุปรุโปร่ง ​ ซึ่งโลกโดยทุก ๆ ประการ ​ คือ ​ โดยสภาวะ ​ ได้แก่ความเป็นจริง ​ โดยสมุทัย ​ ได้แก่เหตุเป็นแดนเกิด ​ โดยนิโรธ ​ ได้แก่ความดับ ​ โดยนิโรธุบาย ​ ได้แก่อุบาย ​ บรรลุถึงซึ่งความดับ 
- 
-เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า -  ดูก่อนอาวุโส ​ ณ  ที่สุดของโลกใดแล ​ สัตว์ไม่เกิด ​ ไม่แก่ ไม่ตาย ​ ไม่จุติ ​ ไม่อุบัติ ​ ณ  ที่สุดของโลกนั้น ​ เราไม่กล่าวว่า ​ เป็นสิ่งที่จะพึงรู้พึงเห็น ​ บรรลุถึงด้วยการเดินไป ​ ดูก่อนอาวุโส ​ แหละครั้นยังไม่ได้บรรลุถึงซึ่งที่สุดของโลก ​ เราไม่กล่าวว่า ​ ได้ทำถึงซึ่งที่สุดของทุกข์ ​ ดูก่อนอาวุโส ​ ก็แต่ว่า ​ เราบัญญัติเอา ​ โลก ​ ความเกิดขึ้นแห่งโลก ​ ความดับแห่งโลก ​ และปฏิปทาอันส่งให้ถึงซึ่งความดับแห่งโลก ​ ตรงที่กเฬวรากอันยาวประมาณวา ​ ซึ่งมีสัญญามีใจครองนี้นั่นเทียว  ​ 
- 
-ในกาลไหน ๆ  บุคคลไม่พึงบรรลุถึงซึ่งที่สุดของโลกด้วยการเดินไป ​ อนึ่ง ​ ครั้นยังไม่บรรลุถึงซึ่งที่สุดของโลก ​ ที่จะพ้นจากทุกข์หามีไม่ 
- 
-เพราะเหตุฉะนั้นแหละ ​ ท่านผู้มีปัญญาหลักแหลม ​ รู้แจ้งโลก ​ ถึงซึ่งที่สุดของโลก ​ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ​ สงบแล้ว ​ รู้ที่สุดของโลกแล้ว ​ จึงไม่ปรารถนาซึ่งโลกนี้และโลกหน้า 
- 
-อีกนัยหนึ่ง ​ โลกมี 3  อย่างคือ ​ สังขารโลก 1  สัตว์โลก 1  โอกาสโลก 1  ในโลก 3  นั้น ​ สังขารโลก ​ นักศึกษาพึงทราบในอนาคตสถานว่า ​ โลกหนึ่ง ​ คือ ​ สัตว์ทุกจำพวกดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ​ สัตว์โลก ​ พึงทราบในอนาคตสถานว่า ​ ว่าโลกเที่ยงบ้าง ว่าโลกไม่เที่ยงบ้าง ​ โอกาสโลก ​ พึงเห็นในอนาคตสถานว่า 
- 
-พระจันทร์และพระอาทิตย์หมุนรอบตัว ​ ทำทิศทั้งหลายให้สว่างอยู่ ​ โดยที่มีประมาณเท่าใด ​ โดยที่มีประมาณเท่านั้น ​ โลกมีจำนวนตั้ง ​ 1,000  อำนาจของท่านย่อมปกแผ่ไปในโลกเหล่านั้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 343)''</​fs></​sub>​ 
- 
-พระผู้มีพระภาคทรงรู้แจ้งโลกทั้ง 3  นั้น ​ โดยทุก ๆ  ประการ ​ จริงอย่างนั้น ​ แม้สังขารโลก ​ พระผู้มีพระภาคนั้นทรงรู้แจ้ง ​ โดยทุก ๆ ประการอย่างนี้ว่า ​ โลกหนึ่ง ​ คือสัตว์ทุกจำพวกดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร, ​ โลก 2  คือ ​ นาม 1  รูป 1,  โลก 3  คือเวทนา 3  อย่าง, ​ โลก 4  คืออาหาร 4  อย่าง, ​ โลก 5  คืออุปาทานขันธ์ 5,  โลก 6  คืออายตนะใน 6,  โลก 7  คือวิญญาณฐิติ 7,  โลก 8  คือโลกธรรม 8,  โลก 9 คือสัตตาวาส 9,  โลก 10  คืออายตนะ 10,  โลก 12  คืออายตนะ 12,  โลก 18  คือธาตุ 18, 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ โดยเหตุที่พระผู้มีพระภาคนั้น ​ ทรงทราบอาสยะ ​ ทรงทราบอนุสัย ​ ทรงทราบจริต ​ ทรงทราบอธิมุติ ​ ของสัตว์แม้ทุกหมู่เหล่า ​ ทรงทราบสัตว์ทั้งหลาย ​ ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย ​ ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตามาก ​ ผู้มีอินทรีย์แก่ ​ ผู้มีอินทรีย์อ่อน ​ ผู้มีอาการดี ​ ผู้มีอาการเลว ​ ผู้ที่จะสอนให้รู้ได้ง่าย ​ ผู้ที่จะสอนให้รู้ได้ยาก ​ ผู้ควรรู้ ​ ผู้ไม่ควรรู้ ​ ดังนั้น ​ พระองค์จึงชื่อว่า ​ ผู้ทรงรู้แม้สัตว์โลกโดยประการทั้งปวง 
- 
-ก็แหละ ​ สัตว์โลกพระผู้มีพระภาคทรงรู้แจ้งด้วยประการใด ​ แม้โอกาสโลกพระองค์ก็ทรงรู้แจ้งด้วยประการนั้น ​ จริงอย่างนั้น ​ พระผู้มีพระภาคนั้นทรงทราบว่า ​ จักรวาลหนึ่งโดยส่วนยาวและส่วนกว้าง ​ ประมาณ ​ 1,​203,​450 ​ โยชน์ ​ โดยรอบปริมณฑลทั้งหมด ​ ประมาณ ​ 3,​610,​350 ​ โยชน์ ​ ในจักรวาลนั้นมีแผ่นดินอันนี้กล่าวโดยความหนาประมาณ 240,000 โยชน์ แผ่นดินนั้นมีน้ำตั้งอยู่บนลมรองรับไว้ โดยความหนาประมาณ ​ 480,​000 ​ โยชน์ ​ มีลมดันขึ้นสู่นภากาศรองไว้ ​ โดยความหนาประมาณ ​ 960,000 โยชน์ ​ นี้เป็นความดำรงอยู่ของโอกาสโลก 
- 
-แหละในจักรวาลอันดำรงอยู่อย่างนี้นั้น ​ มีภูเขาสิเนรุ ​ เป็นภูเขาที่สูงที่สุด หยั่งลงในมหาสมุทร 84,​000 ​ โยชน์ ​ สูงขึ้นไปก็เท่ากันนั้น 
- 
-มีภูเขาใหญ่ทั้งหลาย ​ คือ ​ 1.  ภูเขายุคันธระ ​ 2.  ภูเขาอิสินธระ ​ 3.  ภูเขากรวีกะ ​ 4.  ภูเขาสุทัสสนะ ​ 5.  ภูเขาเนมินธระ ​ 6.  ภูเขาวินตกะ ​ 7.  ภูเขาอัสสกัณณะ ​ อันวิจิตรไปด้วยรัตนะนานาชนิดราวกะว่าภูเขาทิพย์ ​ หยั่งลึกลงไปและสูงขึ้นไปโดยประมาณกึ่งหนึ่ง ๆ  แต่ภูเขาสินเนรุนั้นตามลำดับ ​ ภูเขาใหญ่ทั้ง 7  นั้นอยู่โดยรอบภูเขาสิเนรุ ​ เป็นที่อยู่ของท้าวมหาราชทั้ง 4  เทวดาและยักษ์อาศัยอยู่แล้ว 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 344)''</​fs></​sub>​ 
- 
-มี ​ ภูเขาหิมวา ​ สูง ​ 500  โยชน์ ​ ยาวและกว้าง ​ 3,000  โยชน์ ​ ประดับด้วยยอด ​ 84,​000 ​ ยอด 
- 
-มีต้นชมพูชื่อ ​ นคะ ​ วัดโดยรอบลำต้น ​ 15  โยชน์ ​ ลำต้นสูง 50  โยชน์ ​ กิ่งยาว 50  โยชน์ ​ แผ่กิ่งออกไปโดยรอบได้ ​ 100  โยชน์ ​ สูงขึ้นไปก็เท่านั้น ​ ด้วยอานุภาพแห่งต้นชมพูนั้น ​ โลกจึงประกาศว่า ​ ชมพูทวีป 
- 
-แหละประมาณแห่งต้นชมพูนั้นใด ​ ประมาณนั้นนั่นแล ​ เป็นประมาณของต้นจิตรปาฏลีของพวกอสูร ​ เป็นประมาณของต้นสิมพลีของครุฑ ​ เป็นประมาณของต้นกระทุ่มในอปรโคยานทวีป ​ เป็นประมาณของต้นกัปปพฤกษ์ในอุตตรกุรุทวีป ​ เป็นประมาณของต้นซึกในปุพพวิเทหทวีป ​ เป็นประมาณของต้นปาริจฉัตตกะบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ​ ด้วยเหตุนั้นแลท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า  ​ 
- 
-ต้นไม้เกิดประจำภพ ​ คือต้นปาฏลี 1  ต้นสิมพลี 1  ต้นชมพู 1  ต้นปาริจฉัตตกะของพวกเทวดา 1  ต้นกระทุ่ม 1  ต้นกัปปพฤกษ์ 1  เป็น 7  ทั้งต้นซึก 1 
- 
-ภูเขาจักรวาล ​ หยั่งลึกลงไปในมหาสมุทร 82,​000 ​ โยชน์ ​ สูงขึ้นไปก็เท่ากันนั้น ​ ภูเขาจักรวาลนี้ ​ ต้องล้อมโลกธาตุทั้งหมดนั้นไว้ 
- 
-ในโลกธาตุนั้น ​ วงกลมแห่งพระจันทร์ 49  โยชน์ ​ วงกลมแห่งพระอาทิตย์ 50  โยชน์ ​ ภพดาวดึงส์ ​ 10,000 โยชน์ ​ ภพอสูร ​ อเวจีมหานรก ​ และชมพูทวีปเหมือนกัน อปรโคยานทวีป 7,000  โยชน์ ​ ปุพพวิเทหทวีปเหมือนกัน ​ อุตตรกุรุทวีป 80,​000 ​ โยชน์  ​ 
- 
-แหละในโลกธาตุนั้น ​ ทวีปใหญ่ทวีปหนึ่ง ๆ  มีเกาะเล็กเกาะน้อยทวีปละ 500  เกาะ ​ สิ่งทั้งหมดแม้นั้น ​ นับเป็นจักรวาลอันหนึ่ง ​ นับเป็นโลกธาตุอันหนึ่ง ​ ในระหว่างแห่งจักรวาลเหล่านั้น ​ มีโลกันตริกนรกอันหนึ่ง ๆ 
- 
-พระผู้มีพระภาค ​ ทรงรู้แจ้ง ​ ทรงทราบ ​ ทรงทะลุปรุโปร่ง ​ ซึ่งจักรวาลอันไม่มีที่สุด ​ ซึ่งโลกธาตุอันไม่มีที่สุด ​ ดังพรรณนามานี้ ​ ด้วยพระพุทธญาณอันไม่มีที่สุด ​ แม้โอกาส- 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 345)''</​fs></​sub>​ 
- 
-โลก ​ พระผู้มีพระภาคก็ทรงรู้แจ้งโดยทุกประการเหมือนอย่างนั้น ​ แม้ด้วยประการฉะนี้ ​ พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า ​ โลกวิทู ​ เพราะเป็นผู้รู้แจ้งโลกโดยทุก ๆ  ประการ 
- 
-==6.  อธิบายบท ​ อนุตฺตโร ​ ปุริสทมมสารถิ== 
- 
-ก็แหละ ​ บุคคลผู้ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคนั้นย่อมไม่มี ​ เพราะไม่มีใคร ๆ  ที่ประเสริฐกว่าพระองค์โดยคุณทั้งหลาย ​ เป็นความจริงอย่างนั้น ​ พระผู้มีพระภาคนั้นทรงครอบงำเสียซึ่งชาวโลกทั้งสิ้น ​ แม้ด้วยพระคุณคือศีล ​ แม้ด้วยพระคุณคือสมาธิ ​ ปัญญา ​ วิมุติ ​ และวิมุตติญาณทัสสนะ ​ เป็นผู้ไม่มีผู้เสมอเป็นผู้ไม่มีผู้เหมือน ​ เป็นผู้ไม่มีผู้เปรียบ ​ เป็นผู้ไม่มีผู้ทัดเทียม ​ เป็นผู้ไม่มีบุคคลเทียบเคียง ​ แม้ด้วยพระคุณคือศีล ​ แม้ด้วยพระคุณคือสมาธิ ​ ปัญญาวิมุตติ ​ และวิมุตติญาณทัสสนะ ​ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ก็แต่ว่าเรามองไม่เห็นบุคคลอื่นที่สมบูรณ์ด้วยศีลยิ่งกว่าเราตถาคต ​ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกพร้อมทั้งมารโลก ฯลฯ ​ ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ​ ดังนี้เป็นต้น ​ นักศึกษาพึงกล่าวความพิสดาร ​ พระสูตรทั้งหลาย ​ เช่นอัคคัปปสาทสูตร ​ เป็นต้น ​ และพระคาถาทั้งหลายเช่นพระคาถาว่า ​ น  เม ​ อาจริโย ​ อตฺถิ ​ เป็นต้น ​ นักศึกษาพึงกล่าวให้พิสดารเถิด  ​ 
- 
-พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า ​ ปุริสทมฺมสารถิ ​ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ​ ทรงขับ ​ อธิบายว่า ​ ทรงฝึก ​ ทรงนำไป ​ ซึ่งบุรุษผู้ควรฝึกทั้งหลาย ​ บทว่า ​ ปุริสทมม ​ ในคำว่า ​ ปุริสทมฺมสารถิ ​ ได้แก่ดิรัจฉานบุรุษบ้าง ​ มนุษยบุรุษบ้าง อมนุษยบุรุษบ้าง ​ ที่ยังไม่ได้ฝึกแต่ควรเพื่อจะฝึก ​ เป็นความจริง ​ แม้ดิรัจฉานบุรุษทั้งหลาย ​ ที่พระผู้มีพระภาคทรงฝึกแล้ว ​ ทรงทำให้หมดพิษสงแล้ว ​ ทรงให้ดำรงอยู่ในสรณะศีลทั้งหลายแล้ว ​ เช่น ​ พญานาค ​ ชื่อ ​ อปลาละ ​ พญานาคชื่อ ​ จูโฬทระ ​ พญานาคชื่อ ​ มโหทระ ​ พญานาคชื่อ ​ อัคคสิขะ ​ พญานาคชื่อ ​ ธูมสิขะ ​ พญานาคชื่อ ​ อรวาฬะ ​ และช้างชื่อ ​ ธนปาลกะ ​ เป็นต้น ​ แม้มนุษยบุรุษทั้งหลาย ​ เช่น ​ สัจจกนิคัณฐบุตร ​ อัมพัฏฐมาณพ ​ โปกขรสาติพราหมณ์ ​ โสณทันตพราหมณ์ ​ และ ​ กูฏทันตพราหมณ์ ​ เป็นต้น ​ แม้อมนุษยบุรุษทั้งหลาย ​ เช่น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 346)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อฬวกยักษ์ ​ สูจิโลมยักษ์ ​ ขรโลมยักษ์ ​ และ ​ ท้าวสักกเทวราช ​ เป็นต้น ​ ซึ่งพระผู้มีพระภาค ​ ทรงฝึกแล้ว ​ ทรงแนะนำแล้ว ​ ด้วยวินโยบายทั้งหลายอันวิจิตร 
- 
-อนึ่ง ​ พระสูตรนี้ความว่า ​ ดูก่อนเกสี ​ เราย่อมแนะนำบุรุษที่ควรฝึกทั้งหลาย ​ ด้วยวิธีละเอียดบ้าง ​ ย่อมแนะนำด้วยวิธีหยาบบ้าง ​ ย่อมแนะนำทั้งด้วยวิธีละเอียดและวิธีหยาบบ้าง ​ ดังนี้เป็นต้น ​ นักศึกษาพึงยกมาบรรยายให้พิสดารในเรื่องฝึกบุรุษที่ควรฝึกนี้  ​ 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ พระผู้มีพระภาคเมื่อทรงสอนคุณอันอัศจรรย์ ​ มีปฐมฌานเป็นต้น ​ ให้แก่ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย ​ ซึ่งมีศีลบริสุทธิ์แล้วเป็นต้น ​ และทรงสอนมัคคปฏิปทาชั้นสูงขึ้นไป ​ ให้แก่พระอริยเจ้าทั้งหลายลำดับพระโสดาบันเป็นต้น ​ ชื่อว่า ​ ย่อมทรงฝึกแม้ซึ่งบุคคลทั้งหลาย ​ ผู้ที่ฝึกแล้วเหมือนกัน 
- 
-อีกนัยหนึ่ง ​ บทว่า ​ อนุตฺตโร ​ กับบทว่า ​ ปุริสทมฺมสารถิ ​ นี้ ​ เป็นบทที่มีความหมายอย่างเดียวกันนั่นเทียว ​ เป็นความจริง ​ พระผู้มีพระภาคย่อมทรงขับบุรุษที่ควรฝึกทั้งหลายได้โดยประการที่เขาทั้งหลายนั่งอยู่โดยบัลลังก์อันเดียว ​ ให้แล่นไปสู่ทิศทั้ง 8  ได้อย่างไม่ขัดข้อง ​ เพราะเหตุนั้น ​ จึงกล่าวได้ว่า ​ พระผู้มีพระภาคเป็นนายสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกชั้นยอดเยี่ยม ​ แหละพระสูตรนี้ความว่า ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ช้างที่ควรฝึกอันนายควาญช้างฝึกแล้วย่อมแล่นไปได้เพียงทิศเดียวเท่านั้น ​ ดังนี้เป็นต้น ​ อันนักศึกาพึงพรรณนาให้พิสดารในอธิการนี้  ​ 
- 
-==7.  อธิบายบท ​ สตฺถา ​ เทวมนุสฺสานํ== 
- 
-'''​พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า ​ สตฺถา ​ เพราะอรรถว่า ​ เป็นผู้ทรงสั่งสอน ​ ด้วยประโยชน์ชาตินี้ประโยชน์ชาติหน้า ​ และปรมัตถประโยชน์ทั้งหลายอย่างสมควรกัน ​ อีกประการหนึ่ง ​ พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า ​ สตฺถา ​ เพราะอรรถว่า ​ เป็นเหมือนนายกอง ​ พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้นำหมู่ ​ อรรถาธิบายในอธิการนี้ ​ นักศึกษาพึงทราบแม้ตามนัยแห่งนิทเทสบาลีมีอาทิดังนี้ว่า ​ นายกองเกวียน ​ ย่อมนำหมู่เกวียนให้ข้ามพ้นกันดารไปได้'''​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 347)''</​fs></​sub>​ 
- 
-คือพาข้ามพ้นโจรกันดาร ​ สัตว์ร้ายกันดาร ​ ทุพภิกขภัยกันดาร ​ และกันดารคืออดน้ำ ​ คือพาข้ามพ้นไปให้บรรลุถึงซึ่งภูมิประเทศอันมีความเกษม ​ ฉันใด ​ พระผู้มีพระภาคทรงเป็นนายกอง ​ ทรงเป็นผู้นำหมู่ทรงนำหมู่สัตว์ทั้งหลายให้ข้ามกันดารไปได้ ​ คือทรงให้ข้ามชาติกันดาร………ฉันนั้น 
- 
-บทว่า ​ เทวมนุสฺสานํ ​ แปลว่า ​ ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ​ คำนี้ตรัสไว้ด้วยกำหนดเอาเวไนยสัตว์ขั้นอุกฤษฏ์ ​ และด้วยกำหนดเอาขั้นภัพพบุคคลคือบุคคลผู้ควรตรัสรู้ ​ แต่แท้จริงพระผู้มีพระภาคทรงเป็นศาสดาแม้ของจำพวกสัตว์ดิรัจฉานด้วย ​ โดยทรงประทานพระอนุสาสนีให้ ​ ฝ่ายข้างสัตว์ดิรัจฉานเหล่านั้น ​ ครั้นได้สำเร็จอุปนิสัยสมบัติด้วยการฟังพระธรรมแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ​ เพราะเหตุอุปนิสัยสมบัตินั้นนั่นแหละ ​ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งมรรคและผลในอัตภาพที่ 2  บ้าง ​ ในอัตภาพที่ 3  บ้าง ​ เป็นความจริง ​ เรื่องนี้มีตัวอย่างเช่นมัณฑูกเทพบุตรเป็นต้น 
- 
-'''​เรื่องมัณฑูกเทพบุตร'''​ 
- 
-ได้ยินมาว่า ​ ครั้งเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระเทศนาโปรดชาวเมืองจำปานครอยู่ ​ ณ  ริมฝั่งสระโบกขรณีชื่อ ​ คัคครา ​ มีกบตัวหนึ่งได้ถือเอานิมิตในพระสุรเสียงของพระผู้มีพระภาค ​ บังเอิญคนเลี้ยงลูกโคคนหนึ่ง ​ เมื่อจรดไม้พลองลง ​ ได้จรดกดเอากบนั้นตรงที่ศรีษะ ​ กบนั้นได้ถึงแก่ความตายลงในขณะนั้นนั่นเทียว ​ แล้วได้ไปบังเกิดอยู่บนวิมานทองสูง ​ 12  โยชน์ในภพดาวดึงส์สวรรค์ ​ แหละมัณฑูกเทพบุตรนั้นซึ่งเป็นเสมือนหลับแล้วตื่นขึ้น ​ เห็นตนถูกห้อมล้อมด้วยหมู่นางเทพอัปษรในวิมานทองนั้น ​ จึงพิจารณาดูว่า ​ เอ !  แม้เราได้ก็ชื่อว่าได้มาบังเกิด ​ ณ  ที่นี้แล้ว ​ เราได้สร้างกรรมอะไรไว้หนอ ​ มองไม่เห็นกรรมชนิดไหนอย่างอื่น ​ นอกจากการถือเอานิมิตในพระสุรเสียงของพระผู้มีพระภาค ​ ทันใดนั้น ​ มัณฑูกเทพบุตรนั้น ​ จึงได้เหาะมาพร้อมทั้งวิมาน ​ กราบนมัสการพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคอยู่ ​ พระผู้มีพระภาคถึงจะทรงทราบอยู่ก็ตรัสถามว่า 
- 
-ใคร ?  รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ ​ ด้วยยศ ​ มีผิวพรรณอันงามยิ่ง ​ บันดาลทิศทั้งปวงให้สว่างไสว ​ นมัสการกราบเท้าเราอยู่  ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 348)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​มัณฑูกเทพบุตรกราบทูลว่า'''​ 
- 
-ในชาติก่อน ​ ข้าพระองค์ได้เป็นกบ ​ อยู่ในน้ำ ​ มีน้ำเป็นโคจร ​ ขณะข้าพระองค์ฟังธรรมของพระองค์อยู่ ​ คนเลี้ยงลูกโคได้ฆ่าแล้ว 
- 
-พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรมโปรดแก่มัณฑูกเทพบุตรนั้น ​ ธรรมาภิศมัยคือการตรัสรู้ธรรม ​ ได้มีแก่ปาณสัตว์ทั้งหลายถึง ​ 84,​000 ​ ฝ่ายเทพบุตรดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลยิ้มแย้มกลับไป ฉะนี้แล 
- 
-==8.  อธิบายบท พุทฺโธ== 
- 
-ก็แหละ ​ พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า ​ พุทฺโธ ​ เพราะทรงรู้อะไร ๆ  ที่ควรรู้ ​ ซึ่งมีอยู่อย่างทั่วถ้วนนั่นเทียว ​ ด้วยอำนาจแห่งวิโมกขันติกญาณ ​ (คือพุทธญาณทั้งปวง)  ​ 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า ​ พุทโธ ​ แม้เพราะเหตุทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้คือ คือ ​ เพราะเหตุตรัสรู้สัจจะ 4  ด้วยพระองค์เองบ้าง ​ เพราะเหตุยังหมู่สัตว์อื่น ๆ ให้ตรัสรู้สัจจะ 4  บ้าง 
- 
-ก็แหละ ​ เพื่อที่จะให้เข้าใจอรรถาธิบายนี้อย่างแจ่มชัด ​ นักศึกษาพึงทำให้พิสดารซึ่งนัยที่มาในนิทเทส ​ หรือนัยที่มาในปฏิสัมภิทามรรค ​ แม้ทั้งหมด ​ ซึ่งเป็นไปอย่างนี้ว่า ​ พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า ​ พุทโธ ​ เพราะเป็นผู้ตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย ​ พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า ​ พุทโธ ​ เพราะทรงยังหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย 
- 
-==9.  อธิบายบท ​ ภควา== 
- 
-ก็แหละ ​ คำว่า ​ ภควา ​ นี้ ​ เป็นชื่อเรียกพระผู้มีพระภาคนั้น ​ ผู้เป็นครูชั้นประเสริฐโดยพระคุณ ​ เป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง ​ ด้วยความคาราวะ ​ ด้วยเหตุนั้น ​ พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า 
- 
-คำว่า ​ ภควา ​ เป็นคำประเสริฐ ​ คำว่า ​ ภควา ​ เป็นคำชั้นสูง ​ พระผู้มีพระภาคนั้นทรงเป็นครูและเป็นผู้ควรแก่คารวะด้วยเหตุนั้น ​ นักปราชญ์จึงเฉลิมพระนามว่า ​ ภควา 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 349)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ นามมี 4  ชนิดคือ ​ อาวัตถินาม 1  ลิงคิกนาม 1  เนมิตติกนาม 1  อธิจจสมุปปันนนาม 1  อธิบายว่า ​ ชื่อซึ่งตั้งตามต้องการโดยโวหารของชาวโลก ​ ชื่อว่า ​ อธิจจสมุปปันนนาม 
- 
-ในนาม 4  ชนิดนั้น ​ ชื่อมีอาทิอย่างนี้คือ ​ วจฺโฉ ​ โคเด็ก ​ ทมฺโม ​ โคหนุ่ม ​ พลิพทฺโท ​ โคเปลี่ยว ​ ชื่อว่า ​ อาวัตถิกนาม ​ ชื่อมีอาทิอย่างนี้ ​ คือ ​ ทณฺฑี ​ พญายม ​ ฉตฺตี ​ พระราชา ​ สิขี ​ นกยูง ​ กรี ​ ช้าง ​ ชื่อว่า ​ ลิงคิกนาม ​ ชื่อมีอาทิอย่างนี้คือ ​ เตวิชฺโช ​ พระอรหันต์ผู้สำเร็จวิชา 3  ฉฬภิณฺโณ ​ พระอรหันต์ผู้สำเร็จอภิญญา 6  ชื่อว่า ​ เนมิตติกนาม ​ ชื่อที่ตั้งขึ้นโดยมิได้มุ่งถึงความหมายแห่งคำ ​ มีอาทิอย่างนี้คือ ​ นายสิริวัทฒกะ ​ นายธนวัทฒกะ ​ ชื่อว่า ​ อธิจจสมุปปันนนาม 
- 
-แหละนามว่า ​ ภควา ​ เป็นเนมิตติกนาม ​ พระนางเจ้ามหามายามิได้ทรงขนานถวาย ​ พระเจ้าสุทโธทนมหาราชมิได้ทรงขนานถวาย ​ หมู่พระประยูรญาติ ​ 85,​000 ​ มิได้ทรงขนานถวาย ​ เทวดาผู้วิเศษทั้งหลายมีท้าวสักกะและท้าวสันดุสิตเป็นต้นก็มิได้ทรงขนานถวาย จริงอยู่ ​ แม้ท่านพระธรรมเสนาบดีก็ได้กล่าวไว้ดังนี้ ​ พระนามว่า ​ ภควา ​ นี้ ​ เป็นวิโมกขันติกนาม ​ (นามที่เกิดในที่สุดแห่งอรหัตมรรค) ​ เป็นบัญญัติที่สำเร็จประจักษ์แจ้งพร้อมกับการได้พระสัพพัญญุตญาณ ​ ณ  โคนโพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย 
- 
-แหละนามว่า ​ ภควา ​ นี้ ​ มีพระคุณเหล่าใดเป็นนิมิต ​ เพื่อจะประกาศพระคุณเหล่านั้น ​ พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงได้ประพันธ์คาถาไว้ ​ ดังนั้น – 
- 
-พระผู้มีพระภาคนั้น ​ นักปราชญ์ถวายพระนามว่า ​ ภควา ​ เพราะทรงเป็นผู้มีโชค ​ (ภคี) ​ เพราะทรงเป็นผู้สร้องเสพ (ภชี) ​ เพราะทรงเป็นผู้มีส่วน ​ (ภาคิ) ​ เพราพทรงเป็นผู้จำแนก ​ (วิภตฺตวา) ​ เพราะได้ทรงทำการหักกิเลสบาปธรรม ​ เพราะทรงเป็นครู ​ เพราะทรงเป็นผู้มีบุญบารมี ​ (ภาคยวา) ​ เพราะทรงเป็นผู้มีพระองค์อันอบรมดีแล้วด้วยญายธรรมทั้งหลายเป็นอันมาก ​ เพราะทรงเป็นผู้ถึงที่สุดแห่งภพ 
- 
-ส่วนอรรถาธิบายแห่งบทนั้น ๆในคาถานี้ ​ นักศึกษาพึงทราบตามนัยที่ตรัสไว้ในคัมภีร์นิทเทสนั่นเถิด 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 350)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แต่ยังมีนัยอื่นอีกดังต่อไปนี้ – 
- 
-พระผู้มีพระภาค ​ ทรงเป็นผู้มีบุญบารมี ​ ทรงเป็นผู้หักกิเลสบาปธรรม ​ ทรงเป็นผู้ประกอบด้วยโชคทั้งหลาย ​ ทรงเป็นผู้จำแนก ​ ทรงเป็นผู้ส้องเสพ ​ ทรงเป็นผู้คายความไปเกิดในภพทั้งหลาย ​ เพราะเหตุนั้น ​ จึงทรงได้พระนามว่า ​ ภควา 
- 
-'''​อธิบายบท ​   ภาคยวา'''​ 
- 
-ในบทเหล่านั้นมีอรรถาธิบายดังนี้ ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ แทนที่จะเฉลิมพระนามว่า ​ ภาคยวา ​ เพราะพระผู้มีพระภาคนั้นทรงมีพระบารมีเช่นทานศีลเป็นต้น ​ อันถึงความยอดยิ่งพร้อมที่จะบันดาลให้บังเกิดโลกิยสุขและโลกุตตรสุขได้ ​ ก็ไปเฉลิมพระนามเสียว่า ​ ภควา ​ ทั้งนี้ ​ เพราะถือเอาลักษณะแห่งภาษา ​ มีการเติมอักษรใหม่และยักย้ายอักษรเป็นต้น ​ หรือ ​ เพราะถือเอาลักษณะที่บวกเข้ากัน ​ เช่น ​ ปีโสทร ​ ศัพท์เป็นต้น ​ ตามนัยแห่งศัพทศาสตร์ 
- 
-'''​อธิบายบท ​ ภคฺควา'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคนั้น ​ ได้ทรงหักเสียแล้ว ​ ซึ่งกิเลสอันเป็นเหตุให้เกิดความกระวนกระวายและความเร่าร้อนจำนวนแสนอย่างสิ้นเชิง ​ อันต่างด้วยโลภะโทสะโมหะและมนสิการอันเคลื่อนคลาด ​ อันต่างด้วยอหิริกะและอโนตตัปปะ ​ โกธะและอุปนาหะ ​ มักขะและปลาสะ ​ อิสสาและมัจฉริยะ ​ มายาและสาเถยยะ ​ ถัมภะและสารัมภะ ​ มานะและอติมานะ ​ มทะและปมาทะ ​ ตัณหาและอวิชชา ​ อันต่างด้วยกุศลมูล 3  ทุจริต 3  สังกิเลส 3  มลทิน 3  วิสมะ 3  สัญญา 3  วิตก 3  ปปัญจธรรม 3  อันต่างด้วยวิปริเยสะ 4  อาสวะ 4  คันถะ 4  โอฆะ 4  โยคะ 4  อคติ 4  ตัณหุปปาทะ 4  อุปาทาน 4  อันต่างด้วยเจโตขีละ 4  วินิพันธะ 5  นิวรณ์ 5  อภินันทนะ 5  อันต่างด้วยวิวาทมูล ​  ​6 ​ ตัณหากายะ 6  อันต่างด้วยอนุสัย 7  มิจฉัตตะ 8  ตัณหามูลกะ 9  อกุศลกรรมบถ 10  ทิฏฐิ 62  และตัณหาวิจริต 108  หรือเมื่อว่าโดยสังเขป ​ พระผู้มีพระภาคได้ทรงหักเสียแล้วซึ่งมาร 5 จำพวก ​ คือ ​ กิเลสมาร 1  ขันธมาร 1  อภิสังขารมาร 1  เทวปุตตมาร 1  มัจจุมาร 1  ดังนั้น ​ แทนที่จะเฉลิมพระนามว่า ​ ภคฺควา ​ เพราะพระผู้มีพระภาคได้ทรงหักเสียซึ่งอันตรายเหล่านั้น ​ ก็ไปเฉลิมพระนามเสียว่า ​ ภควา  ​ 
- 
-จริงอย่างนั้น ​ ในความข้อนี้ ​ ท่านสังคีติกาจารย์ประพันธ์คาถาไว้ดังนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 351)''</​fs></​sub>​ 
- 
-พระผู้มีพระภาคนั้น ​ เป็นผู้ทรงหักราคะ ​ เป็นผู้ทรงหักโทสะ ​ เป็นผู้ทรงหักโมหะ ​ เป็นผู้ทรงหาอาสวะมิได้ ​ บาปธรรมทั้งหลาย พระองค์ทรงหักแล้ว ​ ด้วยเหตุนั้น ​ นักปราชญ์จึงเฉลิมพระนามว่า ​ ภควา ​ ฉะนี้ ​ 
- 
-ก็แหละ ​ สมบัติคือพระรูปกาย ​ ของพระผู้มีพระภาค ​ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระลักษณะอันเกิดแต่บุญตั้ง ​ 100  ชนิดนั้น ​ เป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยพระคุณคือความเป็นผู้ทรงมีบุญบารมี ​ สมบัติคือพระธรรมกาย ​ เป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยพระคุณคือความเป็นผู้มีโทสะอันหักแล้วภาวะที่พระพุทธองค์มีคนชั้นโลก ๆ และคนชั้นปัญญาชนทั้งหลายรู้จักมากก็ดี ​ ภาวะที่พระพุทธองค์อันเหล่าคฤหัสถ์และหมู่บรรพชิตทั้งหลายเข้าถึง ​ และเป็นผู้ทรงสามารถในอันช่วยบำบัดทุกข์กายทุกข์ใจแก่คฤหัสถ์และบรรพชิตเหล่านั้นผู้เข้าถึงแล้วก็ดี ​ ความเป็นผู้ทรงมีพระอุปการะแก่เขาเหล่านั้นด้วยอามิสทานและธรรมทานก็ดี ความเป็นผู้ทรงสามารถในอันประกอบเขาเหล่านั้นไว้ด้วยโลกิยสุขและโลกุตตรสุขก็ดี ​ ย่อมเป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยพระคุณทั้ง 2  เหมือนอย่างนั้น 
- 
-'''​อธิบายบท ​ ภเคหิ ​ ยุตฺโต'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ เพราะเหตุที่ในทางโลก ​ ศัพท์ว่า ​ ภค ​ ย่อมใช้ได้ในสภาวธรรม 6  อย่าง ​ คือ ​ อิสริยะ 1  ธัมมะ 1  ยสะ 1  สิริ 1  กามะ 1  ปยัตตะ 1  เป็นความจริง ​ อิสริยะ ​ คือ ​ ความเป็นใหญ่ในพระหฤทัยของพระองค์ชั้นเยี่ยม ​ หรือพระอิสริยะที่ชาวโลกรับรองกันอันบริบูรณ์ด้วยประการทั้งปวง ​ มีอันบันดาลร่างกายให้ละเอียดและบันดาลร่างกายให้เบาเป็นต้นของพระผู้มีพระภาคนั้น ​ มีอยู่ ​ ธัมมะ ​ คือพระธรรมชั้นโลกุตตระของพระผู้มีพระภาคนั้น ​ มีอยู่ ​ ยสะ ​   คือ ​ พระยศอันบริสุทธิ์อย่างยิ่งที่พระองค์ทรงได้มาด้วยพระคุณตามความเป็นจริง ​ อันแผ่คลุมไปทั่วโลกทั้ง 3  ของพระผู้มีพระภาคนั้น ​ มีอยู่ ​ สิริ ​ คือพระสิริโสภาแห่งพระอวัยวะทุกส่วนอันบริบูรณ์ด้วยประการทั้งปวง ​ ซึ่งสามารถให้เกิดความขวนขวายในอันอยากชมพระรูปพระโฉม ​ และให้เกิดความเลื่อมใส ​ ของพระผู้มีพระภาคนั้น ​ มีอยู่ ​ กามะ ​ คือพระประสงค์ ​ อันหมายถึงความบังเกิดแห่งประโยชน์ที่ทรงประสงค์ ​ เพราะประโยชน์ใด ๆ  จะเป็นประโยชน์ของพระองค์ก็ตาม ​ จะเป็นประโยชน์ของผู้อื่นก็ตาม ​ ที่พระองค์ทรงประสงค์แล้ว ​ ทรง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 352)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ปรารถนาแล้ว ​ ประโยชน์นั้น ๆ ก็เป็นอันสำเร็จพระประสงค์ทั้งนั้น ​ และ ​ ปยัตตะ ​ คือ ​ พระสัมมาวายามะอันเป็นต้นเหตุให้บรรลุถึงซึ่งความเป็นครูของโลกทั้งปวง ​ ของพระผู้มีพระภาคนั้น ​ มีอยู่ ​ ฉะนั้น ​ พระผู้มีพระภาคนั้น ​ แม้เพราะทรงประกอบด้วยภคธรรม 6  อย่างนี้ ​ ชาวโลกจึงขนานพระนามว่า ​ ภควา ​ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ​ ภควา ​ อสฺส ​ สนฺติ ​ แปลว่า ​ ผู้มีภคธรรม 6  อย่าง ​ ฉะนี้ 
- 
-'''​อธิบายบท ​ วิภตฺตวา'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้จำแนก ​ อธิบายว่า ​ ทรงเป็นผู้แจก ​ ทรงเป็นผู้เปิดเผย ​ ทรงเป็นผู้แสดง ​ ซึ่งสรรพธรรม ​ โดยประเภททั้งหลายมีกุศลประเภทเป็นต้นอย่างหนึ่ง ​ ซึ่งธรรมทั้งหลายมีกุศลธรรมเป็นต้น ​ โดยเป็นขันธ์ ​ อายตนะ ​ ธาตุ ​ สัจจะ ​ อินทรีย์ ​ และปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น ​ อย่างหนึ่ง ​ ซึ่งทุกขอริยสัจ ​ เพราะอรรถว่า ​ บีบคั้น ​ อันปัจจัยปรุงแต่ง ​ เร่าร้อนและแปรผัน ​ ซึ่งสมุทยอริยสัจ ​ เพราะอรรถว่า ​ ประมวลมา ​ เป็นเหตุประกอบไว้ ​ และกางกั้นซึ่งนิโรธอริยสัจ ​ เพราะอรรถว่า ​ เป็นที่สลัดออก ​ สงัด ​ อันปัจจัยมิได้ปรุงแต่งและเป็นอมตะ ​ ซึ่งมัคคอริยสัจ ​ เพราะอรรถว่า ​ นำออก ​ เป็นเหตุ ​ เห็นแจ้งและเป็นอธิบดีอย่างหนึ่ง ​ ฉะนั้น ​ แทนที่จะเฉลิมพระนามว่า ​ วิภตฺตวา ​ แต่ไปเฉลิมเสียว่า ​ ภควา ​ ดังนี้ 
- 
-'''​อธิบายบท ​ ภตฺตวา '''​ 
- 
-ก็แหละ ​ เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคนั้น ​ ทรงคบ ​ ทรงส้องเสพ ​ ทรงกระทำให้ ​ มากซึ่งทิพวิหารธรรม ​ และอริยวิหารธรรมทั้งหลาย ​ ซึ่งกายวิเวก ​ จิตตวิเวก ​ และอุปธิวิเวก ​ ซึ่งสุญญตวิโมกข์ ​ อัปปณิหิตวิโมกข์ ​ และอนิมิตตวิโมกข์ ​ และทรงคบ ​ ทรงส้องเสพ ​ ทรงกระทำให้มาก ​ ซึ่งอุตตริมนุษยธรรมอื่น ๆ  ทั้งที่เป็นโลกิยะทั้งที่เป็น ​ โลกุตตระ ​ ฉะนั้น ​ แทนที่จะเฉลิมพระนามพระองค์ว่า ภตฺตวา แต่ไปเฉลิมเสียว่า ​ ภควา ​ ดังนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 353)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อธิบายบท ​ ภเวสุ ​ วนฺตคมโน'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ เพราะเหตุที่การท่องเที่ยวไปในภพทั้ง 3  คือตัณหาในภพ 3  อันพระผู้มีพระภาคนั้นทรงคายออกแล้ว ​ ฉะนั้น ​ แทนที่จะเฉลิมพระนามพระองค์ว่า ​ ภเวสุ ​ วนฺตคมโน ​ แต่ไปเฉลิมเสียว่า ​ ภควา ​ ดังนี้ ​  ​โดยยกเอา ​ ภ  อักษรจากภวศัพท์ ​ เอา ​ ค  อักษรจากคมนศัพท์ ​ เอา ​ ว  อักษรจากวนฺตศัพท์ ​ แล้วทำเป็นทีฆสระ ​ เหมือนอย่างในทางโลก ​ แทนที่จะพูดว่า ​ เมหนสฺส ​ ขสฺส ​ มาลา ​ แต่ก็พูดเสียว่า ​ เมขลา ​ ฉะนี้ ​ (โดยเอา ​ เม ​ จาก ​ เมหนสส ​ เอา ​ ข  จาก ​ ขสส ​ เอา ​ ลา ​ จากมาลา ​ แล้วประสมกันเป็นเมขลา ​ แปลว่า ​ เครื่องประดับที่ลับ, ​ สายรัดเอว ) 
- 
-==องค์ฌาน 5  เกิด== 
- 
-เมื่อโยคีบุคคลนั้นระลึกถึงพุทธคุณทั้งหลายอยู่เนือง ๆว่า ​ พระผู้มีพระภาคนั้นเป็นพระอรหันต์ ​ เพราะเหตุนี้และเหตุนี้…….พระผู้มีพระภาคนั้นเป็นภควา ​ เพราะเหตุนี้และเหตุด้วยประการดังพรรณนามา ​ สมัยนั้น ​ จิตของเธอจะไม่ถูกราคะรบกวน ​ จะไม่ถูกโทสะรบกวน ​ จะไม่ถูกโมหะรบกวน ​ สมัยนั้น ​ จิตของเธอย่อมจะปรารถตรงดิ่งถึงพระตถาคตเจ้า 
- 
-เมื่อโยคีบุคคลนั้น ​ มีจิตตรงเพราะมุ่งหน้าสู่พระกัมมัฏฐาน ​ มีนิวรณ์อันข่มไว้แล้ว ​ เพราะไม่มีราคะเป็นต้นรบกวนอย่างนี้แล้ว ​ วิตก ​ และ ​ วิจาร ​ อันโน้มเอียงไปใน ​ พระคุณย่อมดำเนินไป ​ ด้วยประการฉะนี้ ​ เมื่อโยคีบุคคลตริตรึกและพิจารณาถึงพระพุทธคุณอยู่ ​ ปีติ ​ ย่อมเกิดขึ้น ​ เมื่อโยคีบุคคลมีใจประกอบด้วยปีติ ​ ความกระวนกระวายกายและใจ ​ ย่อมสงบลงด้วยความสงบอันมีปีติเป็นปทัฏฐาน ​ เมื่อโยคีบุคคลมีความกระวนกระวายสงบแล้ว ​ ความสุข ​ ทั้งทางกายและทางใจย่อมเกิดขึ้น ​ เมื่อโยคีบุคคลมีความสุข ​ จิตที่มีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ย่อมเป็น ​ สมาธิ ​ องค์ฌานทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นในขณะเดียวกันโดยลำดับ ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​กัมมัฏฐานนี้สำเร็จเพียงอุปจารฌาน'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ เพราะเหตุที่พระพุทธคุณทั้งหลายเป็นสภาวธรรมที่ล้ำลึกอย่างหนึ่ง ​ เพราะเหตุที่โยคีบุคคลน้อมจิตไปในอันระลึกถึงพระคุณอย่างนานาประการอย่างหนึ่ง ​ ฌานจึงไม่ขึ้นถึงขั้น ​ อัปปนา ​ ถึงเพียงขั้น ​ อุปจาระ ​ เท่านั้นเอง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 354)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ฌานนี้นั้นถึงซึ่งอันนับได้ว่า ​ พุทธานุสสติฌาน ​ เพราะเหตุที่บังเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งการระลึกถึงพระพุทธคุณนั่นแล 
- 
-'''​อานิสงส์การเจริญพุทธานุสสติกัมมัฏฐาน'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ  ซึ่งพุทธานุสสติกัมมัฏฐานนี้ ​ ย่อมเป็นผู้มีความเคารพ ​ มีความยำเกรงในพระศาสนา ​ ย่อมบรรลุถึงซึ่งความไพบูลย์ด้วยศรัทธา ​ ความไพบูลย์ด้วยสติ ​ ความไพบูลย์ด้วยปัญญา ​ และความไพบูลย์ด้วยบุญ ​ เป็นผู้มากไปด้วยปีติ ​ และปราโมทย์ ​ เป็นผู้กำจัดเสียได้ซึ่งโทษภัยอันน่ากลัว ​ เป็นผู้สามารถอดกลั้นได้ต่อทุกขเวทนา ​ ย่อมได้ความมั่นใจว่าอยู่ร่วมกับพระศาสดา ​ แม้สรีระร่างของพระภิกษุนั้นอันพุทธานุสสติครอบครองแล้ว ​ ย่อมกลายเป็นสิ่งที่ควรแก่การบูชา ​ เป็นเสมือนเรือนพระเจดียสถาน ​ ฉะนั้น ​ จิตของภิกษุนั้นย่อมน้อมไปในพุทธภูมิ ​ แหละถึงคราวที่ประจวบเข้ากับสิ่งที่จะพึงล่วงละเมิด ​ หิริและโอตตัปปะย่อมจะปรากฏแก่ภิกษุนั้น ​ เป็นเสมือนเห็นพระศาสดาอยู่ต่อหน้า ​ ฉะนั้น ​ อนึ่งภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ  ซึ่งพุทธานุสติกัมมัฏฐานนั้น ​ เมื่อยังไม่ได้แทงตลอดคุณวิเศษยิ่ง ๆ ขึ้นไป ​ (ในชาตินี้ )  ก็จะเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า 
- 
-เพราะเหตุฉะนั้นแล ​ โยคาวจรบุคลผู้มีปัญญาดี ​ พึงบำเพ็ญความไม่ประมาทในพุทธานุสสติภาวนา ​ ซึ่งมีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ​ อย่างพรรณนามานี้ ​ ในกาลทุกเมื่อเทอญ ​ 
- 
-'''​กถามุขพิสดารในพุทธานุสสติกัมมัฏฐานประการแรก ​ ยุติลงเพียงเท่านี้'''​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 355)''</​fs></​sub>​ 
- 
-=ธัมมานุสสติกถา= 
- 
-แม้อันโยคีบุคคลผู้ปรารถนาเพื่อที่จะเจริญธัมมานุสสติกัมมัฏฐาน ​ ไปอยู่ในมี่ลับหลีกเร้นอยู่ ​ ณ  เสนาสนะอันสมควร ​ พึงระลึกถึงเนือง ๆ  ซึ่งคุณทั้งหลายของปริยัติธรรมและโลกุตตรธรรม 9  อย่างนี้ว่า 
- 
-1.  สวากฺขาโต ​ ภควตา ​ ธมฺโม ​   พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว 
- 
-2.  สนฺทิฏฐิโก ​   พระธรรมอันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง 
- 
-3.  อกาลิโก ​   พระธรรมให้ผลไม่ประกอบด้วยกาล 
- 
-4.  เอหิปสสิโก ​   พระธรรมเป็นสิ่งที่ควรเชิญให้มาดู 
- 
-5.  โอปนยิโก ​   พระธรรมเป็นสิ่งที่น้อมเข้ามาในใจได้ 
- 
-6.  ปจฺจตฺตํเวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ ​   พระธรรมอันวิญญูชนทั้งหลายจะพึงรู้เฉพาะตน 
- 
-==1.  อธิบายบท ​ สวากฺขาโต== 
- 
-ก็แหละในบท ​ สวากฺขาโต ​ นี้ ​ แม้ปริยัติธรรมก็ถึงอันสงเคราะห์เอาด้วยในบทอื่น ๆ  นอกนี้สงเคราะห์เอาเฉพาะโลกุตตรธรรม 
- 
-'''​ปริยัติธรรมเป็นสวากขาตธรรม'''​ 
- 
-#​ในธรรม 2  ประเภทนั้น ​ ปริยัติธรรมประการแรก ​ ชื่อว่า ​ อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ​ เพราะมีความงามในเบื้องต้น ​ ท่ามกลางและที่สุด ​ และเพราะประกาศพรหมจรรย์ ​ พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง 
-##​จริงอยู่ ​ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระพุทธพจน์อันใดแม้เพียงพระคาถาอันเดียว ​ พระพุทธพจน์นั้น ​ ชื่อว่ามีความงามในเบื้องต้นด้วยบาทต้น ​ ชื่อว่ามีความงามในท่ามกลางด้วยบาทที่ 2  และที่ 3  ชื่อว่ามีความงามในที่สุดด้วยบาทหลัง ​ เพราะธรรมมีความงามรอบตัว <​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 356)''</​fs></​sub>​ 
-##​พระสูตรมีอนุสนธิอันเดียว ​ มีความงามในเบื้องต้นด้วยคำนิทาน ​ มีความงามในที่สุดด้วยคำนิคมน์ ​ มีความงามในท่ามกลางด้วยคำที่เหลือ 
-##​พระสูตรทีมีอนุสนธิมากหลาย ​ มีความงามในเบื้องต้นด้วยอนุสนธิแรก ​  ​มีความงามในที่สุดด้วยอนุสนธิหลัง ​ มีความงามในท่ามกลางด้วยอนุสนธิที่เหลือ 
-###​อีกประการหนึ่ง ​ พระสูตรที่มีอนุสนธิมากหลายนั้น ​ ชื่อว่ามีความงามในเบื้องต้น ​ เพราะมีทั้งคำนิทาน ​ มีทั้งคำอุบัติเหตุ ​ ชื่อว่ามีความงามในท่ามกลาง ​ เพราะมีเนื้อความไม่วิปริตผิดเพี้ยนไป ​ และเพราะประกอบด้วยเหตุและอุทาหรณ์โดยสมควรแก่เวไนยนิกรทั้งหลาย ​ และชื่อว่ามีความงามในที่สุด ​ เพราะคำนิคมน์อันให้เกิดความได้ศรัทธาแก่ผู้ฟังทั้งหลาย 
-##​ศาสนธรรมแม้ทั้งสิ้น ​ มีความงามในเบื้องต้นด้วยศีลอันเป็นเหตุของตน ​ มีความงามในท่ามกลางด้วยสมถะ ​ วิปัสสนา ​ มรรค ​ และผลทั้งหลาย ​ มีความงามในที่สุดด้วยนิพพาน 
-###​อีกประการหนึ่ง ​ ศาสนธรรมทั้งสิ้น ​ มีความงามในเบื้องต้นด้วยศีลและสมาธิ ​ มีความงามในท่ามกลางด้วยวิปัสสนาและมรรค 4  มีความงามในที่สุดด้วยผล 4  และนิพพาน 
-###​อีกประการหนึ่ง ​ ศาสนธรรมทั้งสิ้น ​ ชื่อว่ามีความงามในเบื้องต้นเพราะพระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ดี ​ ชื่อว่ามีความงามในท่ามกลางเพราะพระธรรมเป็นธรรมดี ​ ชื่อว่ามีความงามในที่สุดเพราะพระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดี 
-###​อีกประการหนึ่ง ​ ศาสนธรรมทั้งสิ้น ​ ชื่อว่ามีความงามในเบื้องต้น ​ ด้วยอภิสัมโพธิที่สาธุชนฟังศาสนธรรมนั้นแล้วปฏิบัติเพื่อประโยชน์ด้วยประการนั้นจะพึงบรรลุได้ ชื่อว่ามีความงามในท่ามกลางด้วยปัจเจกโพธิ ชื่อว่ามีความงามในที่สุดด้วยสาวกโพธิ 
-##​ก็แหละ ​ ศาสนธรรมนั้น ​ ขณะฟังย่อมนำความงามมาแม้ด้วยการฟังนั่นเทียว ​ โดยการข่มเสียซึ่งนิวรณ์ ​ เพราะฉะนั้น ​ จึงชื่อว่ามีความงามในเบื้องต้น ​ ขณะปฏิบัติก็นำความงามมาแม้ด้วยข้อปฏิบัติ ​ โดยนำมาซึ่งความสุขอันเกิดแต่สมถะและวิปัสสนา ​ เพราะฉะนั้น ​ จึงชื่อว่ามีความงามในท่ามกลางและขณะปฏิบัติแล้ว ​ ด้วยประการนั้น ​ เมื่อผลแห่งปฏิบัติสำเร็จแล้ว ​ ย่อมนำความงามมาแม้ด้วยผลแห่งการปฏิบัติ ​ โดยนำมาซึ่งความเป็นผู้คงเส้นคงวา ​ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่ามีความงามในที่สุด 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 357)''</​fs></​sub>​ 
- 
-พระธรรม ​ ชื่อว่าอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ​ เพราะมีความงามในเบื้องต้น ​ ท่ามกลางและที่สุด ​ ดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้  ​ 
- 
-'''​อธิบาย ​ พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะ'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ พระผู้มีพระภาคนั้น ​ เมื่อทรงแสดงธรรม ​ ย่อมทรงประกาศคือทรงแสดงซึ่งศาสนพรหมจรรย์และมรรคพรหมจรรย์อันใด ​ โดยนัยต่าง ๆ  พรหมจรรย์อันนั้น ​ ชื่อว่าพร้อมทั้งอรรถะด้วยอรรถสมบัติตามสมควร ​ ชื่อว่าพร้อมทั้งพยัญชนะด้วยพยัญชนสมบัติตามสมควร 
- 
-ชื่อว่าพร้อมทั้งอรรถะเพราะประกอบด้วยอรรถบท ​ คือ ​ สงฺกาสน ​ แสดงความโดยย่อ 1  ปกาสน ​ แสดงความเบื้องต้น 1  วิวรณ ​ การไขความ 1  วิภชน ​ การจำแนกความ 1  อุตฺตานีกรณ ​ การทำความให้ตื้น 1  ปญฺญตฺติ ​ การแต่งความ 1  ชื่อว่าพร้อมทั้งพยัญชนะ ​ เพราะถึงพร้อมด้วย ​ อักขระ ​ ตัวหนังสือ 1  บท ​ คำประกอบวิภัติ 1  พยัญชนะ ​ คำที่เป็นพากย์ 1  อาการ ​ คำแบ่งพากย์ออกไป 1  นิรุตติ ​ วิเคราะห์ศัพท์ 1  นิทเทส อธิบายให้พิศดาร 1 
- 
-ชื่อว่าพร้อมทั้งอรรถะ ​ ด้วยความเป็นธรรมลึกซึ้งแห่งเนื้อความและความเป็นธรรมลึกซึ้งแห่งการแทงตลอด ​ ชื่อว่าพร้อมทั้งพยัญชนะ ​ ด้วยความเป็นธรรมลึกซึ้งโดยธรรม ​ และความเป็นธรรมลึกซึ้งโดยเทศนา 
- 
-ชื่อว่าพร้อมทั้งอรรถะ ​ โดยเป็นวิสัยแห่งอัตถปฏิสัมภิทาและปฏิภาณปฏิสัมภิทา ​ ชื่อว่าพร้อมทั้งพยัญชนะ ​ โดยเป็นวิสัยแห่งธัมมปฏิสัมภิทาและนิรุตติปฏิสัมภิทา 
- 
-ชื่อว่าพร้อมทั้งอรรถะ เพราะว่าทำให้คนชั้นปัญญาชนเลื่อมใส ​ โดยเป็นสิ่งอันบัณฑิตพึงรู้แจ้งได้ ​ ชื่อว่าพร้อมทั้งพยัญชนะ ​ เพราะว่าทำให้ชั้นโลก ๆ เลื่อมใส ​ โดยเป็นสิ่งที่น่าเชื่อ 
- 
-ชื่อว่าพร้อมทั้งอรรถะ ​ โดยมีอธิบายอันลึกซึ้ง ​ ชื่อว่าพร้อมทั้งพยัญชนะ โดยมีบทตื้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 358)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อธิบาย ​ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง'''​ 
- 
-ชื่อว่า ​ บริบูรณ์สิ้นเชิง ​ โดยเป็นธรรมมีความบริบูรณ์อย่างสิ้นเชิง ​ เพราะไม่มีสิ่งที่จะพึงนำเข้าไปเพิ่มเติม ​ ชื่อว่า ​ บริสุทธิ์ ​ โดยเป็นธรรมที่ปราศจากโทษ ​ เพราะไม่มีสิ่งที่จะพึงนำออก 
- 
-'''​อรรถาธิบายอีกนัยหนึ่ง'''​ 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ พรหมจรรย์ ​ ชื่อว่าพร้อมทั้งอรรถะ ​ เพราะให้คนฉลาดในอธิคม ​ คือ ​ นิพพาน ​ ด้วยการปฏิบัติ ​ ชื่อว่าพร้อมทั้งพยัญชนะ ​ เพราะให้ฉลาดในอาคมปริยัติด้วยการเล่าเรียน ​ ชื่อว่าบริบูรณ์สิ้นเชิง ​ เพราะประกอบด้วยธรรมขันธ์ 5  กองมีศีลขันธ์เป็นต้น ​ ชื่อว่าบริสุทธิ์ ​ เพราะไม่มีอุปกิเลส ​ เพราะเป็นไปเพื่อสลัดออก ​ และเพราะไม่มุ่งโลกามิส 
- 
-ปริยัติธรรมชื่อว่าเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ​ เพราะประกาศพรหมจรรย์ ​ พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ​ ดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​ปริยัติธรรมเป็นสวากขาตธรรมอีกนัยหนึ่ง'''​ 
- 
-อีกนัยหนึ่ง ​ ปริยัติธรรม ​ ชื่อว่าอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ด้วยดีแล้ว ​ เพราะไม่มีข้อความอันวิปลาสคลาดเคลื่อน ​ เพราะฉะนั้น ​ ปริยัติธรรมนั้น ​ จึงชื่อว่าอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว  ​ 
- 
-เป็นความจริงเช่นนั้น ​ ข้อความของธรรมของอัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย ​ ยังถึงความวิปลาสคลาดเคลื่อนอยู่ ​ เพราะว่าธรรมทั้งหลายที่เขากล่าวว่าเป็นอันตรายก็ไม่เป็นอันตรายจริง ​ ธรรมทั้งหลายที่เขากล่าวว่าเป็นเครื่องนำออก ​ ก็ไม่เป็นเครื่องนำออกจริง ​ ด้วยเหตุนั้นอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ​ จึงชื่อว่า ​ เป็นผู้มีธรรมอันกล่าวไว้ไม่ดีโดยแท้ 
- 
-ข้อความของธรรมของพระผู้มีพระภาค ​ มิได้ถึงความวิปลาสคลาดเคลื่อนเหมือนอย่างนั้น ​ เพราะว่าธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ​ ธรรมเหล่านี้เป็นอันตรายิกธรรม ​ ธรรมเหล่านี้เป็นเครื่องนำออก ​ เช่นนี้แล้ว ​ ก็มิได้เกินเลยจากความเป็นอย่างนั้นไปได้ 
- 
-ปริยัติธรรม ​ ประการแรก ​ เป็นสวากขาตธรรม ​ ดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 359)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​โลกุตตรธรรมเป็นสวากขาตธรรม'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ โลกุตตรธรรม ​ ชื่อว่าเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ​ เพราะพระองค์ตรัสข้อปฏิบัติอันสมควรแก่นิพพาน ​ และตรัสนิพพานอันสมควรแก่ข้อปฏิบัติ ​ สมดังที่ท้าวสักกเทวราชตรัสไว้ว่า ​ ก็แหละ ​ ข้อปฏิบัติอันส่งให้ถึงนิพพานอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นได้ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วแก่หมู่พระสาวกทั้งหลาย ​ นิพพานกับข้อปฏิบัติย่อมเข้ากันได้ ​ น้ำในแม่น้ำคงคาย่อมเข้ากันได้ ​ ย่อมเสมอเหมือนกับน้ำในแม่น้ำยมุนา ​ แม้ฉันใด ​ ข้อปฏิบัติอันส่งให้ถึงนิพพาน ​ อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงบัญญัติไว้ดีแล้วแก่หมู่พระสาวกทั้งหลาย ​ นิพพานกับปฏิบัติย่อมเข้ากันได้ ​ เหมือนอย่างนั้นนั่นเทียว 
- 
-อนึ่ง ​ อริยมรรค ​ อันเป็นข้อปฏิบัติสายกลาง ​ ไม่ไปใกล้ขอบทางทั้ง 2  นั่นแล ​ ชื่อว่าเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ​ เพราะพระองค์ตรัสว่า ​ เป็นข้อปฏิบัติสายกลาง ​ สามัญผลทั้งหลาย ​ ซึ่งมีกิเลสสงบแล้วนั่นแล ​ ชื่อว่าเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ​ เพราะพระองค์ตรัสว่า ​ เป็นธรรมมีกิเลสสงบแล้ว ​ นิพพาน ​ อันมีภาวะเที่ยงไม่ตายเป็นที่ต้าน ​ และเป็นที่หลบลี้หนีทุกข์เป็นต้นนั่นแล ​ ชื่อว่าเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ​ เพราะพระองค์ได้ตรัสไว้โดยความมีสภาวะอันเที่ยงแท้เป็นต้น 
- 
-แม้โลกุตตรธรรม ​ ก็ชื่อว่าเป็นสวากขาตธรรม ​ ดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้ 
- 
-==2.  อธิบายบท ​ สนฺทิฏฺฐิโก== 
- 
-ก็แหละ ​ ในบทว่า ​ สนฺทิฏฺฐิโก ​ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้  ​ 
- 
-ประการแรก ​ อริยมรรค ​ อันพระอริยบุคคลผู้กำลังกระทำกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ​ ไม่ให้มีในสันดานของตน ​ พึงเห็นเอง ​ เพราะฉะนั้น ​ อริยมรรคนั้น ​ จึงชื่อว่าเป็นธรรมอัน ​ พระอริยบุคคลพึงเห็นเอง ​ สมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ​ ดูก่อนพราหมณ์ ​ บุคคลผู้กำหนัดแล้ว ​ ถูกราคะครอบงำ ​ มีจิตอันราคะครอบครองแล้ว ​ ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ​ ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ​ ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนและเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นทั้ง 2  ฝ่าย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 360)''</​fs></​sub>​ 
- 
-บ้าง ​ เขาย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ ​ แต่เมื่อราคะอันเขาละได้แล้ว ​ เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเลย ​ ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นเลย ​ ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้ง 2  ฝ่าย ​ เขาย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ ​ ดูก่อนพรหมณ์ ​ พระธรรมย่อมเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นเอง ​ แม้ด้วยประการฉะนี้แล 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ โลกุตตรธรรมทั้ง 9  ประการ ​ อันพระอริยบุคคลใด ๆ  ได้บรรลุแล้ว ​ พระอริยบุคคลนั้น ๆ  จะพึงเห็นด้วยปัจจเวกขณญาน ​ โดยยกเลิกซึ่งภาวะที่จะพึงถึงด้วยการเชื่อผู้อื่นเสียได้ ​ เพราะฉะนั้น ​ โลกุตตรธรรมทั้ง 9  นั้นจึงชื่อว่า ​ เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง 
- 
-อีกนัยหนึ่ง ​ ทฤษฏีอันพระอริยเจ้าสรรเสริญ ​ ชื่อว่า ​ สนฺทิฏฺฐิ ​ โลกุตตรธรรม ​ ย่อมชนะกิเลสด้วยทฤษฏีอันพระอริยเจ้าสรรเสริญ ​ เพราะเหตุนั้น ​ จึงชื่อว่า ​ สนฺทิฏฺฐิโก ​ ชนะกิเลสด้วยทฤษฏีอันพระอริยเจ้าสรรเสริญ ​ เป็นความจริงอย่างนั้น ​ ในบรรดาโลกุตตรธรรมนั้น ​ อริยมรรค ​ ย่อมชนะกิเลสทั้งหลาย ​ ด้วยทฤษฏีอันพระอริยเจ้าสรรเสริญ ​ ซึ่งประกอบกับตน ​ อริยผล ​ ย่อมชนะกิเลสทั้งหลาย ​ ด้วยทฤษฏีอันพระอริยเจ้าสรรเสริญซึ่งเป็นเหตุของตน ​ นิพพาน ​ ย่อมชนะกิเลสทั้งหลาย ​ ด้วยทฤษฏีอันพระอริยเจ้าสรรเสริญ ​ ซึ่งเป็นวิสัยของตน ​ เพราะเหตุนั้น ​ โลกุตตรธรรมทั้ง 9  ประการ ​ ย่อมชนะด้วยทฤษฏีอันพระอริยเจ้าสรรเสริญ ​ ดังนั้น ​ จึงเรียกว่า ​ สนฺทิฏฺฐิโก ​ ผู้ชนะด้วยทฤษฏีอันพระอริยเจ้าสรรเสริญ ​ เหมือนอย่างบุคคลชนะด้วยรถ ​ เขาเรียกว่า ​ รถิโก ​ ผู้ชนะด้วยรถ ฉะนั้น 
- 
-อีกนัยหนึ่ง ​ ความเห็นเรียกว่า ทิฏฺฐ ​ ทิฏฺฐศัพท์นั่นแหละได้รูปเป็น ​ สนฺทิฏฺฐ ​ แปลว่าความเห็น ​ ธรรมใดย่อมควรซึ่งการเห็น ​ ธรรมนั้นชื่อว่า ​ สนฺทิฏฺฐิโก ​ ควรซึ่งการเห็น ​ จริงอยู่ ​ โลกุตตรธรรมที่โยคีบุคคลเห็นด้วยสามารถการรู้โดยภาวนา ​ และด้วยสามารถ ​ การรู้โดยการกระทำให้แจ้งเท่านั้น ​ จึงจะห้ามวัฏภัยได้ ​ เพราะเหตุนั้น ​ โลกุตตรธรรมย่อมควรซึ่งการเห็น ​ ดังนั้น ​ จึงชื่อว่า ​ สนฺทิฏฺฐิโก ​ ควรซึ่งการเห็น ​ เหมือนบุคคลควรซึ่งผ้าเขาเรียกว่า ​ วตฺถิโก ​ ผู้ควรซึ่งผ้า ​ ฉะนั้น  ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 361)''</​fs></​sub>​ 
- 
-==3.  อธิบายบท ​ อกาลิโก ​ == 
- 
-พระธรรมนั้นไม่มีกาล ​ หมายถึงให้ผลของตน ​ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ​ อกาโล ​ อกาโลนั่นแหละได้รูปเป็น ​ อกาลิโก ​ อธิบายว่า ​ พระธรรมนั้นรอกาลอันต่างออกไปเป็น 5  วัน ​ และ 7  วัน ​ เป็นต้นให้สิ้นสุดไปแล้วจึงให้ผล ​ ก็หามิได้ ​ แต่ให้ผลต่อลำดับต่อจากที่ตนเกิดเลยทีเดียว  ​ 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ ธรรมนั้นมีกาลไกลที่จะมาถึงในอันให้ผลของตน ​ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ​ กาลิโก ​ มีกาลไกล ​ ธรรมนั้นได้แก่ธรรมประเภทไหน ?  ได้แก่กุศลธรรมชั้นโลกิยะ ​ ส่วนธรรมชั้นโลกุตตระนี้ ​ ไม่เป็นกาลิโก ​ เพราะมีผลติดต่อกัน ​ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ​ อกาลิโก ​ ไม่มีกาลไกลในอันให้ผล ​ บทว่า ​ อกาลิโก ​ นี้ท่านจำกัดเอาเฉพาะ ​ อริยมรรค ​ เท่านั้น 
- 
-==4.  อธิบายบท ​ เอหิปสฺสิโก== 
- 
-พรนะธรรมย่อมควรแก่วิธีที่เชิญให้มาดู ​ อันเป็นไปทำนองนี้ว่า ​ เชิญท่านมาดูพระธรรมนี้  ​ 
- 
-ถาม -  ก็เพราะเหตุไรหรือ ​ พระธรรมนั้นจึงควรด้วยวิธีนั้น ? 
- 
-ตอบ -  เพราะพระธรรมนั้นเป็นสภาพที่มีอยู่จริงอย่างหนึ่ง ​ เพราะพระธรรมนั้น ​ เป็นสภาพที่บริสุทธิ์อย่างหนึ่ง  ​ 
- 
-อธิบายว่า ​ เมื่อมีกำมือเปล่า ​ ถึงแม้ว่าใคร ๆ กล้าพูดได้ว่า ​ เงินหรือทองคำมีอยู่ แต่ไม่กล้าที่จะเชิญให้มาดูว่า ​ ท่านจงมาดูเงินหรือทองคำนี้ ​ เพราะเหตุไร ?  เพราะเงินหรือทองคำนั้นไม่มีอยู่จริง ​ อนึ่ง ​ คูถหรือมูตรแม้เป็นของมีอยู่จริง ​ ใคร ๆ ก็ไม่กล้าที่จะเชิญผู้อื่นให้มาดูว่า ​ ท่านจงมาดูคูถหรือมูตรนี้เพื่อความร่าเริงใจ ​ โดยประกาศถึงสภาพอันเป็นที่น่าฟูใจ ​ แต่ย่อมเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องปกปิดเสียด้วยหญ้าหรือใบไม้ทั้งหลายโดยแท้แล ​ เพราะเหตุไรเล่า ?  เพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่สะอาด 
- 
-ส่วนว่าโลกุตตรธรรมทั้ง 9  ประการนี้ ​ ชื่อว่าเป็นของมีอยู่โดยสภาวะจริง ๆ  ชื่อว่าเป็นสภาพบริสุทธิ์ ​ เหมือนดวงจันทร์วันเพ็ญบนอากาศที่ปราศจากเมฆ ​ และเหมือนชาติแก้วมณีที่วางไว้บนผ้ากัมพลเหลือง ​ ด้วยเหตุนั้น ​ โลกุตตรธรรมย่อมควรแก่วิธีที่จะเชิญให้มาดูเพราะเป็นสภาพที่มีอยู่จริงอย่างหนึ่ง ​ เพราะเป็นสภาพที่บริสุทธิ์อย่างหนึ่ง ​ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ​ เอหิปสฺสิโก ​ ควรแก่วิธีที่จะเชิญให้มาดู 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 362)''</​fs></​sub>​ 
- 
-==5.  อธิบายบท ​ โอปนยิโก== 
- 
-พระธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงน้อมเข้ามาได้ ​ ดังนั้นจึงชื่อว่า ​ โอปนยิโก ​ ก็แหละ ​ ในบทนี้ ​ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้  ​ 
- 
-การน้อมเข้ามา ​ ชื่อว่า ​ อุปนยะ ​ พระธรรมย่อมควรแก่อุปนยะคือการน้อมเข้ามา ​ ในจิตของตนด้วยอำนาจภาวนา ​ เพราะแม้ถึงผืนผ้าหรือศรีษะถูกไฟไหม้ก็เพ่งดูได้เฉย ​ ฉะนั้น ​ จึงชื่อว่า ​ อุปนยิโก ​ บทว่า ​ อุปนยิโก ​ นั่นเองได้รูปเป็น ​ โอปนยิโก ​ คำอธิบายนี้ย่อมสมควรในโลกุตตรธรรมที่เป็นสังขตะ ​ (คือมรรคผล) ​ ส่วนโลกุตตรธรรมที่เป็นอสังขตะ ​ (คือนิพพาน) ​ พระธรรมย่อมควรซึ่งอันน้อมเข้ามาด้วยจิตของตน ​ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ​ โอปนยิโก ​ ควรน้อมเข้ามาด้วยจิต ​ อธิบายว่า ​ สมควรถูกต้องด้วยการทำให้แจ้ง 
- 
-อีกนัยหนึ่ง ​ พระธรรมคือ ​ อริยมรรค ​ ชื่อว่า ​ อุปเนยฺโย ​ เพราะอรรถว่า ​ เป็นสภาวะนำไปสู่นิพพาน ​ พระธรรมคือ ​ ผล ​ และ ​ นิพพาน ​ ชื่อว่า ​ อุปเนยฺโย ​ เพราะอรรถว่า ​ อันผู้ปฏิบัติจะพึงนำเข้าไปสู่ภาวะที่จะพึงทำให้แจ้ง ​ บทว่า ​ อุปเนยฺโย ​ นั่นเองได้รูปเป็น ​ โอปนยิโก ​ หมายความว่า ​ นำเข้าไปสู่นิพพาน ​ หรือ ​ อันผู้ปฏิบัติจะพึงนำไปสู่ภาวะที่จะพึงทำให้แจ้ง 
- 
-==6.  อธิบายบท ​ ปจฺจตฺตํ ​ เวทิตพฺโพ ​ วิญฺญูหิ== 
- 
-คำว่า ​ พระธรรมอันวิญญูชนทั้งหลายจะพึงรู้เฉพาะตน ​ ความว่า ​ โลกุตตรธรรมนั้น ​ อันวิญญูชนทั้งหลายแม้ทุก ๆ  อันดับมีชนชั้นอุคฆฏิตัญญูบุคคลเป็นต้น ​ จะพึงรู้ได้ที่ตนเองว่า ​ มรรคเราได้เจริญแล้ว ​ ผลเราได้บรรลุแล้ว ​ นิโรธเราได้ทำให้แจ้งแล้ว ​ ฉะนี้จริงอยู่ ​ กิเลสทั้งหลายของสัทธิวิหาริก ​ จะละได้ด้วยมรรคที่พระอุปัชฌายะเจริญแล้ว ​ หาได้ไม่ ​ สัทธิวิหาริกนั้นอยู่เป็นผาสุกด้วยผลสมาบัติของพระอุปัชฌายะนั้น ​ ก็หาไม่ ​ สัทธิวิหาริกจะกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานที่พระอุปัชฌายะนั้นทำให้แจ้งแล้ว ​ ก็หาไม่ ​ เพราะเหตุฉะนั้น ​ โลกุตตรธรรมนี้ ​ อันวิญญูชนทั้งหลายจะพึงเห็นได้เหมือนเห็นอาภรณ์บนศรีษะของคนอื่น ​ หาได้ไม่ ​ แต่อันวิญญูชนทั้งหลายจะพึงเห็นได้ที่จิตของตนเท่านั้น ​ อธิบายว่า ​ อันวิญญูชนทั้งหลาย ​ จะพึงเสวย ​ แต่อย่างไรก็ตาม ​ โลกุตตรธรรมนี้เป็นสิ่งที่มิใช่วิสัยของพวกพาลชนเลยอย่างแน่แท้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 363)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ พระธรรมนี้เป็น ​ สวากฺขาตธรรม ​ คือธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ​ เพราะเหตุไร ?  เพราะเป็นธรรม ​  ​อันผู้บรรลุถึงจะพึงเห็นเอง ​ พระธรรมเป็น ​ สนฺทิฏฺฐิโก ​ คืออันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นเอง ​ เพราะเหตุไร ?  เพราะเป็นธรรมไม่มีกาลในอันให้ผล ​ พระธรรมเป็น ​ อกาลิโก ​ คือไม่มีกาลคืออันให้ผล ​ เพราะเหตุไร ?  เพราะเป็นธรรมที่ควรเชิญมาดู, ​ และพระธรรมใดเป็น ​ เอหิปสฺสิโก ​ ควรเชิญให้มาดู ​ พระธรรมนั้นย่อมเป็น ​ โอปนยิโก ​ ควรน้อมเข้ามาในใจ ​ ฉะนี้ 
- 
-==องค์ฌาน 5  เกิด== 
- 
-เมื่อโยคีบุคคลระลึกถึงพระธรรมคุณทั้งหลาย ​ อันต่างด้วยบท ​ มีบทว่า ​ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้น ​ อย่างนี้บ่อย ๆ  ในสมัยนั้น ​ จิตของเธอก็จะไม่ถูกราคะรบกวน ​ จะไม่ถูกโทสะรบกวน ​ จะไม่ถูกโมหะรบกวน ​ สมัยนั้น ​ จิตของเธอย่อมจะปรารภตรงดิ่งถึงพระธรรม ​ ด้วยประการฉะนี้ ​ องค์ฌานทั้งหลายย่อมบังเกิดขึ้นแก่เธอผู้ข่มนิวรณ์ได้แล้วในขณะเดียวกัน ​ โดยนัยก่อนนั่นเทียว  ​ 
- 
-ก็แหละ ​ เพราะพระธรรมคุณทั้งหลายเป็นสภาพที่ลึกซึ้งอย่างหนึ่ง ​ เพราะโยคีบุคคลน้อมจิตไปในอันระลึกถึงซึ่งพระคุณมีประการต่าง ๆ อย่างหนึ่ง ฌานจึงไม่ขึ้นถึงขั้นอัปปนา ขึ้นถึงเพียงขั้นอุปจาระเท่านั้น ​ ฌานนี้นั้นถึงซึ่งอันนับว่า ​ ธัมมานุสสติฌาน ​ เพราะเหตุที่บังเกิดขึ้นด้วยอำนาจการระลึกถึงคุณของพระธรรมนั่นแล 
- 
-'''​อานิสงส์การเจริญธัมมานุสสติกัมมัฏฐาน'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ภิกษุผู้ประกอบอยู่เนือง ๆ  ซึ่งธัมมานุสสติกัมมัฏฐานนี้ ​ ย่อมเป็นผู้มีความเคารพ ​ มีความยำเกรงในพระบรมศาสดา ​ โดยที่ได้มองเห็นคุณของพระธรรมอย่างนี้ ​ คือในการเป็นส่วนอดีต ​ เรามิได้เห็นพระบรมศาสดาผู้ทรงแสดงธรรมอันควรน้อมเข้ามาในใจได้อย่างนี้ ​  ​ผู้ทรงประกอบแม้ด้วยองค์คุณเช่นนี้มาเลย ​ ถึงในปัจุบันนี้เราก็มิได้เห็นเหมือนกัน ​ เว้นเสียจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ​ ฉะนี้ ​ เป็นผู้เคารพและยำเกรงในพระธรรม ​ ย่อมบรรลุถึงซึ่งความไพบูลย์ด้วยศรัทธาเป็นต้น ​ เป็นผู้มากล้นไปด้วยปีติและปราโมทย์ ​ หักห้ามเสียได้ซึ่งโทษภัยอันน่ากลัว ​ เป็นผู้สามารถอดกลั้นได้ต่อทุกขเวทนา ​ ย่อมได้ความมั่นใจว่าได้อยู่ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 364)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ร่วมกับพระธรรม ​ แหละแม้สรีระร่างของเธออันธัมมคุณานุสสติครอบครองแล้ว ​ ย่อมกลายเป็นสิ่งควรแก่การบูชา ​ เป็นเสมือนเรือนพระเจดียสถาน ​ ฉะนั้น ​ จิตย่อมน้อมไปเพื่ออันบรรลุธรรมชั้นยอดเยี่ยม ​ แหละเมื่อเธอระลึกอยู่เนือง ๆ  ถึงความที่พระธรรมเป็นธรรมดี ​ ในคราวประจวบเข้ากับวัตถุที่จะพึงล่วงละเมิด ​ หิริและโอตัปปะย่อมจะปรากฏเฉพาะหน้า ​ ก็แหละเมื่อเธอยังจะไม่ได้แทงตลอดธรรมเบื้องสูงขึ้นไป ​ (ในชาตินี้ )  ย่อมจะเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า 
- 
-เพราะเหตุฉะนั้นแล ​ โยคาวจรบุคคลผู้มีปัญญาดี ​ พึงบำเพ็ญความไม่ประมาทในธัมมานุสสติภาวนา ​ ซึ่งมีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ​ ดังพรรณนามานี้ ​ ในกาลทุกเมื่อเทอญ 
- 
-'''​กถามุขพิสดารในธัมมานุสติกัมมัฏฐาน ​ ยุติลงเพียงเท่านี้'''​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 365)''</​fs></​sub>​ 
- 
-=สังฆานุสสติกถา= 
- 
-'''​วิธีเจริญสังฆานุสสติกัมมัฏฐาน'''​ 
- 
-เมื่อโยคีบุคคลผู้ประสงค์ที่จะเจริญสังฆานุสสติกัมมัฏฐาน ​ ไปในที่ลับหลีกเร้นอยู่ ​ ณ  เสนาสนะอันสมควร ​ พึงระลึกเนือง ๆ  ถึงคุณทั้งหลายของพระอริยสงฆ์ ​ อย่างนี้ว่า 
- 
-คู่แห่งบุรุษ 4  บุรุษบุคคล 8  นี้คือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค – 
- 
-1.  สุปฏิปนฺโน ​       เป็นผู้ปฏิบัติดี 
- 
-2  อุชุปฏิปนฺโน ​       เป็นผู้ปฏิบัติตรง 
- 
-3.  ญายปฏิปนฺโน ​       เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อนิพพาน 
- 
-4.  สามีจิปฏิปนฺโน ​   เป็นผู้ปฏิบัติสมควร 
- 
-5.  อาหุเนยฺโย ​       เป็นผู้ควรแก่ของบูชา 
- 
-6.  ปาหุเนยฺโย ​       เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ 
- 
-7.  ทกฺขิเณยฺโย ​       เป็นผู้ควรแก่ของทำบุญ 
- 
-8.  อญฺชลิกรณีโย ​       เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้ 
- 
-9.  อนุตฺตรํ ​ ปุญฺญกฺเขตฺตํ ​ โลกสฺส ​       เป็นนาบุญชั้นยอดเยี่ยมของชาวโลก 
- 
-==อธิบายบท สุปฏิปนฺโน== 
- 
-ในบรรดาพระสังฆคุณเหล่านั้น ​ บทว่า ​ สุปฏิปนฺโน ​ แปลว่า ​ เป็นผู้ปฏิบัติด้วยดี ​ อธิบายว่า ​ เป็นผู้ปฏิบัติซึ่งปฏิปทาอันถูกต้อง ​ ปฏิปทาอันไม่ถอยหลัง ​ ปฏิปทาอันสมควร ​ ปฏิปทาอันไม่เป็นข้าศึก ​ ปฏิปทาอันเป็นธรรมสมควรแก่สมควร 
- 
-พระสงฆ์เหล่าใด ​ ย่อมรับฟังพระโอวาทและพระอนุสาสนีของพระผู้มีพระภาคด้วยความเคารพ ​ ฉะนั้น ​ พระสงฆ์เหล่านั้นชื่อว่า ​ สาวก ​ หมู่แห่งพระสาวกทั้งหลายชื่อว่า ​ สาวกสํโฆ ​ อธิบายว่า ​ หมู่แห่งพระสาวกผู้ถึงซึ่งความเป็นหมู่กัน ​ ด้วยความเป็นผู้เสมอกัน ​ โดยศีลและทิฏฐิ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 366)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ก็โดยที่ปฏิปทาอันถูกต้องนั้น ​ เป็นข้อปฏิบัติตรง ​ คือไม่คด ​ ไม่โกง ​ ไม่โค้ง ​ และอันบัณฑิตเรียกว่า ​ ไกลจากกิเลส ​ เป็นเหตุรู้แจ้ง ​ ดังนี้บ้าง ​ และถึงซึ่งอันนับว่าสามีจิ ​ เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันสมควร ​ ดังนี้บ้าง ​ ฉะนั้น ​ พระอริยสงฆ์ผู้ปฏิบัติซึ่งปฏิปทานั้น ​ จึงกล่าวได้ว่า อุชุปฏิปนฺโน ​ ผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันตรงบ้าง ​ ญายปฏิปนฺโน ​ ผู้ปฏิบัติปฏิปทาเป็นเหตุให้รู้แจ้งบ้าง ​ สามีจิปฏิปนฺโน ​ ผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันสมควรบ้าง 
- 
-แหละในอธิการนี้ ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ พระอริยเจ้าจำพวกใดขณะดำรงอยู่ในมรรค ​ พระอริยเจ้าจำพวกนั้นชื่อว่า ​ เป็นผู้ปฏิบัติดี ​ เพราะเป็นผู้กำลังพรั่งพร้อมด้วยข้อปฏิบัติอันถูกต้อง ​ พระอริยเจ้าจำพวกใดขณะดำรงอยู่ในผล ​ พระอริยเจ้าจำพวกนั้นชื่อว่า ​ เป็นผู้ปฏิบัติดีโดยมุ่งเอาข้อปฏิบัติอันเป็นอดีต ​ เพราะมรรคผลที่จะพึงบรรลุด้วยข้อปฏิบัติอันถูกต้อง ​ เป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าจำพวกนั้นบรรลุมาแล้ว  ​ 
- 
-อีกนัยหนึ่ง ​ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนั้น ​ ชื่อว่า ​ สุปฏิปนฺโน ​ เพราะเป็นผู้ปฏิบัติตามที่ทรงสั่งสอนในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วบ้าง ​ เพราะเป็นผู้ปฏิบัติตามซึ่งข้อปฏิบัติอันไม่ผิดบ้าง 
- 
-==อธิบายบท  ​ 
- 
-ชื่อว่า ​ อุชุปฏิปนฺโน ​ เพราะเป็นผู้ปฏิบัติตามปฏิปทาอันเป็นสายกลาง ​ โดยหลีกเลี่ยงปฏิปทาอันเป็นสายริมทั้ง 2 เสีย ​ และเพราะเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประหานเสียซึ่งโทษคือความคด ​ ความโกง ​ ความโค้ง ​ ของกาย ​ วาจา ​ ใจ 
- 
-==อธิบายบท ​ อุชุปฏิปนฺโน== 
- 
-ชื่อว่า ​ ญายปฏิปนฺโน ​ เพราะเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประสงค์ญายะที่ท่านเรียกว่านิพพาน 
- 
-==อธิบายบท ​ สามีจิปฏิปนฺโน== 
- 
-ชื่อว่า ​ สามีจิปฏิปนฺโน ​ เพราะเป็นผู้ปฏิบัติโดยประการที่ปฏิบัติแล้วเป็นผู้สมควรแก่สามีจิกรรม 
- 
-==อธิบายบท ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ เป็นต้น== 
- 
-บทว่า ​ ยทิทํ ​ แยกเป็น ​ ยานิ ​ อิมานิ ​ แปลว่า ​ เหล่านี้ใด ​ บทว่า ​ จตฺตาริ ​ ปุริสยุคานิ ​ ความว่า ​ โดยจัดเป็นคู่ ​ คือพระอริยบุคคลผู้ดำรงอยู่ในปฐมมรรค ​ พระอริยบุคคลผู้ดำรงอยู่ใน ​ ปฐมผล ​ เป็นต้น ​ นี้จัดเป็นคู่แห่งบุรุษ ​ 4  ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-บทว่า ​ อฏฺฐ ​ ปุริสปุคฺคลา ​ ความว่า ​ โดยจัดเป็นบุรุษบุคคล ​ คือพระอริยบุคคล ​ ผู้ดำรงอยู่ในปฐมมรรค ​ จัดเป็นบุคคล 1  พระอริยบุคคลผู้ดำรงอยู่ในปฐมผล ​ จัดเป็นบุคคล 1 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 367)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​โดยนัยนี้ ​ จึงเป็นบุรุษบุคคล 8  พอดี ​ แหละในอธิการนี้ ​ บทว่า ​ ปุริโส ​ ก็ดี บทว่า ปุคฺคโล ก็ดี นี้มีความหมายอย่างเดียวกัน ​ แต่บทว่า ​ ปุริสปุคฺคลา ​ นี้ ​ ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์'''​ 
- 
-บทว่า ​ เอส ​ ภควโต ​ สาวกสํโฆ ​ ความว่า ​ โดยเป็นคู่ ​ คือ ​ คู่แห่งบุรุษ 4  โดยแยกกัน ​ คือ ​ บุรุษบุคคล 8  เหล่านี้ใด ​ นี้คือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค 
- 
-==อธิบายบท ​ อาหุเนยฺโย== 
- 
-ในบทว่า ​ อาหุเนยฺโย ​ เป็นต้น ​ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ ​ วัตถุใดอันบุคคลพึงนำมาบูชา ​ วัตถุนั้นชื่อว่า ​ อาหุน ​ อธิบายว่า ​ ได้แก่วัตถุอันบุคคลพึงนำมาแม้แต่ไกลแล้วถวาย ​ ไว้ในท่านผู้มีศีลทั้งหลาย ​ คำว่าอาหุนะนี้เป็นชื่อของปัจจัย 4  พระสงฆ์สาวกเป็นผู้ควรเพื่อจะรับซึ่งของอันบุคคลนำมาบูชานั้น ​ เพราะทำของนั้นให้มีผลมาก ​ ด้วยเหตุนั้นจึงชื่อว่า ​ อาหุเนยฺโย ​ ผู้ควรรับของที่บุคคลนำมาบูชา 
- 
-อีกนัยหนึ่ง ​ แม้สมบัติทุกอย่าง ​ ที่บุคคลนำมาแม้แต่ที่ไกลแล้วบูชาไว้ในพระสงฆ์สาวกนั้น ​ เหตุนั้น ​ พระสงฆ์สาวกนั้น ​ จึงชื่อว่า ​ อาหวนิโย ​ เป็นผู้ที่อันบุคคลนำมาบูชา ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ พระสงฆ์สาวกย่อมควรซึ่งวัตถุอันเทวดาทั้งหลายมีท้าวสักกะเป็นต้นบูชา ​ เหตุนั้น ​ จึงชื่อว่า ​ อาหวนิโย ​ ผู้ควรซึ่งวัตถุอันเทวดาบูชา ​ อนึ่ง ​ ไฟนี้ใดชื่อว่า ​ เป็นสิ่งอันควรบูชาของพราหมณ์ทั้งหลาย ​ พราหมณ์หล่านั้นมีลัทธิว่า ​ สิ่งของที่บูชาแล้วในไฟใดเป็นของมีผลมาก ​ ถ้าว่าไฟนั้นเป็นสิ่งที่ควรซึ่งอันบูชา ​ เพราะของที่เขาบูชาแล้วมีผลมากไซร้ ​ พระสงฆ์เท่านั้นเป็นผู้ควรซึ่งอันบูชา ​ เพราะว่าสิ่งของที่บุคคลบูชาแล้วในพระสงฆ์เป็นสิ่งที่มีผลมาก ​ สมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า – 
- 
-บุคคลใดพึงบำเรอไฟอยู่ในป่าตั้งร้อยปีอย่างหนึ่ง ​ บุคคลใดพึงบูชาผู้ที่อบรมตนแล้วคนเดียวแม้เพียงชั่วครู่อย่างหนึ่ง ​ การบูชานั้นนั่นแลประเสริฐ ​ การบำเรอไฟตั้งร้อยปีจะประเสริฐที่ไหน  ​ 
- 
-บทว่า ​ อาหวนิโย ​ นั้น ​ มีในลัทธินิกายอื่น ​ โดยความหมายเป็นอย่างเดียวกันกับบทว่า ​ อาหุเนยฺโย ​ นี้ ​ ณ  ที่นี้ ​ แต่อย่างไรก็ดี ​ ใน 2  บทนี้ ​ โดยพยัญชนะก็ต่างกันเพียงนิดหน่อยเท่านั้น 
- 
-ด้วยประการฉะนี้ ​ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ​ จึงชื่อว่า ​ อาหุไนยบุคคล 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 368)''</​fs></​sub>​ 
- 
-==อธิบายบท ​ ปาหุเนยฺโย== 
- 
-ก็แหละ ​ ในบทว่า ​ ปาหุเนยฺโย ​ นี้มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ 
- 
-สิ่งของสำหรับให้แก่อาคันตุกะ ​ ที่เขาตระเตรียมไว้โดยเป็นเครื่องสักการะ ​ เพื่อประโยชน์แก่ญาติมิตรผู้เป็นที่รักใคร่เป็นที่เจริญใจ ​ ซึ่งมาแต่ทิศใหญ่และทิศน้อยทั้งหลาย ​ เรียกว่า ​ ปาหุน ​ (ของต้อนรับแขก) ​ สิ่งของแม้นั้น ​ เว้นญาติและมิตรผู้เป็นแขกเหล่านั้นเสีย ​ ควรเพื่อจะถวายเฉพาะแก่พระสงฆ์ ​ พระสงฆ์เท่านั้นควรเพื่อจะรับซึ่งสิ่งของนั้น ​ เพราะว่า ​ ขึ้นชื่อว่า ​ แขกที่จะเหมือนพระสงฆ์หามีไม่ ​ เป็นความจริงอย่างนั้น ​ พระสงฆ์นี้จักปรากฏขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพุทธันดร 1  ล่วงไปแล้ว ​ และเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมทั้งหลายอันสร้างความเป็นที่รักเป็นที่เจริญใจให้ชนิดที่ไม่เจือปนอีกด้วย ​ ของต้อนรับแขกควรเพื่อจะถวายแก่พระสงฆ์นั้น ​ และพระสงฆ์เป็นผู้ควรเพื่อรับของต้อนรับแขก ​ เหตุนั้น ​ พระสงฆ์จึงชื่อว่า ​ ปาหุเนยฺโย ​ ผู้ควรรับของต้อนรับแขก 
- 
-อนึ่ง ​ โดยเหตุที่พระสงฆ์ของบุคคลจำพวกที่ถือบาลีว่า ​ ปาหวนิโย ​ ย่อมควรซึ่งการกระทำก่อน ​ ฉะนั้น ​ ทานวัตถุอันบุคคลพึงนำมาบูชาในพระสงฆ์นี้ก่อนกว่าเขาทั้งหมด เพราะฉะนั้น ​ พระสงฆ์นี้จึงชื่อว่า ​ ปาหวนิโย ​ ผู้เป็นที่อันบุคคลควรนำบูชาก่อน 
- 
-อีกอย่างหนึ่ง ​ พระสงฆ์ย่อมควรซึ่งการบูชาโดยประการทั้งปวง ​ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ​ ปาหวนิโย ​ แปลว่า ​ ผู้ควรซึ่งการบูชาโดยประการทั้งปวง 
- 
-ศัพท์ว่า ​ ปาหวนิย ​ นี้นั้น ​ ณ  ที่นี้ท่านกล่าว ​ ปาหุเนยฺย ​ โดยอรรถาธิบายก็เหมือนกันนั้น 
- 
-==อธิบายบท ​ ทกฺขิเณยฺโย== 
- 
-ก็แหละ ​ ทานที่บุคคลให้เพราะเชื่อปรโลก ​ เรียกว่า ​ ทกฺขิณา ​ พระสงฆ์ย่อมควรซึ่งทักขิณานั้น ​ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ​ ทกฺขิเณยฺโย ​ ผู้ควรซึ่งทักขิณา ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ พระสงฆ์เป็นผู้เกื้อกูลแก่ทักขิณา ​ โดยที่ทำทักขิณาให้บริสุทธิ์ด้วยการกระทำให้มีผลมาก ​ ฉะนั้น ​ จึงชื่อว่า ​ ทกฺขิเณยฺโย ​ ผู้เกื้อกูลแก่ทักขิณา 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 369)''</​fs></​sub>​ 
- 
-==อธิบายบท ​ อญฺชลิกรณีโย== 
- 
-พระสงฆ์ย่อมควรซึ่งอัญชลีกรรม ​ ที่ชาวโลกทั้งมวลพากันยกหัตถ์ทั้ง 2  ตั้งไว้เหนือเศียรกระทำอยู่ ​ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ​ อญฺชลิกรณีโย ​ ผู้ควรซึ่งกระทำอัญชลีกรรม 
- 
-==อธิบายบท ​ อนุตฺตรํ ​ ปุญฺญกฺเขตฺตํ ​ โลกสฺส== 
- 
-คำว่า ​ พระสงฆ์เป็นนาบุญชั้นยอดเยี่ยมของชาวโลก ​ ความว่า ​ พระสงฆ์เป็นสถานที่ปลูกบุญของชาวโลกทั้งมวล ​ อย่างไม่มีอะไรเหมือน ​ เหมือนอย่างว่า ​ สถานที่เพราะปลูกข้าวสาลี ​ สถานที่เพราะปลูกข้าวเหนียวของพระราชาหรือของอำมาตย์ ​ ชาวโลกเรียกว่านาข้าวสาลีของพระราชา ​ นาข้าวเหนียวของพระราชา ​ ฉันใด ​ พระสงฆ์ก็เป็นสถานที่ปลูกบุญ ​ ทั้งหลายของชาวโลกทั้งมวล ​ ฉันนั้น ​ เพราะว่า ​ ได้อาศัยพระสงฆ์แล้วบุญทั้งหลายอันเป็นไป ​ เพื่อประโยชน์สุขอย่างนานาประการของชาวโลก ​ ย่อมเจริญงอกงาม ​ เพราะเหตุฉะนั้น ​ พระสงฆ์จึงเป็นนาบุญชั้นยอดเยี่ยมของชาวโลก ​ ฉะนั้นแล 
- 
-==องค์ฌาน 5  เกิด== 
- 
-เมื่อภิกษุโยคีบุคคลระลึกอยู่เนือง ๆ ถึงคุณของพระสงฆ์ทั้งหลาย ​ อันต่างด้วยความเป็นผู้ปฏิบัติดีเป็นต้นอย่างนี้ ​ สมัยนั้น ​ จิตของเธอก็จะไม่ถูกราคะรบกวน ​ จะไม่ถูกโทสะรบกวน ​ จะไม่ถูกโมหะรบกวน ​ สมัยนั้น ​ จิตของเธอจะปรารภตรงดิ่งถึงพระสงฆ์ ​ ด้วยประการฉะนี้ ​ องค์ฌานทั้งหลายย่อมบังเกิดขึ้นแก่เธอผู้ข่มนิวรณ์ได้แล้วในขณะเดียวกัน ​ โดยนัยก่อนนั่นแล 
- 
-แต่ด้วยเหตุที่คุณของพระสงฆ์ทั้งหลายเป็นสภาพที่ล้ำลึกประการหนึ่ง ​ เพราะเหตุทีโยคีบุคคลน้อมจิตไปในอันระลึกถึงคุณอย่างนานาประการอย่างหนึ่ง ​ ฌานจึงไม่ขึ้นถึงขั้นอัปปนา ​ คงถึงเพียงขั้นอุปจาระเท่านั้น ​ ฌานนี้นั้นถึงซึ่งอันนับว่า ​ สังฆานุสสติฌาน เพราะเหตุที่บังเกิดขึ้นด้วยอำนาจการระลึกถึงคุณของพระสงฆ์นั่นเทียว 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 370)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อานิสงส์การเจริญสังฆานุสสติกัมมัฏฐาน'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ  ซึ่งสังฆานุสสติกัมมัฏฐานนี้ ​ ย่อมจะสำเร็จเป็นผู้มีความเคารพ ​ มีความยำเกรงในสงฆ์ ​ ย่อมจะบรรลุถึงซึ่งความไพบูลย์ด้วยคุณธรรมมีศรัทธาเป็นต้น ​ ย่อมจะเป็นผู้มากล้นไปด้วยปีติและปราโมทย์ ​ ย่อมเป็นผู้กำจัดเสียได้ซึ่งโทษภัยอันน่ากลัว ​ ย่อมเป็นผู้สามารถอดกลั้นได้ซึ่งทุกขเวทนา ​ ย่อมได้ความมั่นใจว่าอยู่ร่วมกับพระสงฆ์ ​ อนึ่ง ​ สรีระร่างของภิกษุนั้น ​ อันสังฆานุสสติครอบครองแล้ว ​ ย่อมกลายเป็นสิ่งที่ควรแก่การบูชา ​ เป็นเหมือนว่าโรงอุโบสถที่มีพระสงฆ์ประชุมอยู่พร้อมแล้ว ​ จิตย่อมน้อมไปเพื่อถึงพระสังฆคุณ ​ แหละในเมื่อประจวบเข้ากับวัตถุที่จะพึงล่วงละเมิด ​ หิริและโอตตัปปะย่อมจะปรากฏขึ้นมาแก่เธอทันที ​ เป็นเสมือนเห็นพระสงฆ์อยู่โดยพร้อมหน้า ​ ฉะนั้น ​ ก็แหละ ​ ภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ  ซึ่งสังฆานุสสติกัมมัฏฐาน ​ เมื่อจะไม่ได้แทงตลอดซึ่งคุณพิเศษยิ่ง ๆ ขึ้นไป (ในชาตินี้ )  ก็ย่อมจะเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า  ​ 
- 
-เพราะเหตุฉะนั้นแล ​ โยคาวจรบุคคลผู้มีปัญญาดี ​ บำเพ็ญความไม่ประมาทในสังฆานุสสติภาวนา ​ ซึ่งมีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ​ ดังพรรณนามานี้ ​ ในกาลทุกเมื่อ เทอญ 
- 
-กถามุขพิศดารในสังฆานุสสติกัมมัฏฐาน ​ ยุติลงเพียงเท่านี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 371)''</​fs></​sub>​ 
- 
-=สีลานุสสติกถา= 
- 
-'''​วิธีเจริญสีลานุสสติกัมมัฏฐาน'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อันโยคีบุคคลผู้มีความประสงค์เพื่อจะเจริญสีลานุสสติกัมมัฏฐาน ​ ไปในที่ลับหลีกเร้นอยู่ ​ ณ  เสนาสนะอันสมควร ​ พึงระลึกเนือง ๆ  ถึงศีลทั้งหลายของตน ​ ด้วยสามารถแห่งคุณมีความเป็นศีลไม่ขาดเป็นต้น ​ อย่างนี้ 
- 
-โอหนอ ! ศีลทั้งหลายของเรา – 
- 
-1.  อขณฺฑานิ ​       เป็นศีลไม่ขาด 
- 
-2.  อจฺฉิทฺทานิ ​       เป็นศีลไม่ทะลุ 
- 
-3.  อสพลานิ ​       เป็นศีลไม่ด่าง 
- 
-4.  อกมฺมาสานิ ​       เป็นศีลไม่พร้อย 
- 
-5.  ภุชิสฺสานิ ​       เป็นศีลที่เป็นไทย 
- 
-6.  วิญฺญุปฺปสตฺถานิ ​   เป็นศีลอันผู้รู้สรรเสริญ 
- 
-7.  อปรามฏฺฐานิ ​       เป็นศีลอันตัณหาและทิฏฐิไม่แตะต้อง 
- 
-8.  สมาธิสํวตฺตนิกานิ ​   เป็นศีลที่ยังสมาธิให้บังเกิดได้ 
- 
- 
- 
-แหละศีลเหล่านั้น ​ คฤหัสถ์พึงระลึกถึงศีลทั้งหลายของคฤหัสถ์ ​ บรรพชิตพึงระลึกถึงศีลทั้งหลายของบรรพชิต 
- 
-'''​อธิบายคุณลักษณะของศีล 8  อย่าง'''​ 
- 
-ศีลทั้งหลายจะเป็นศีลของคฤหัสถ์หรือศีลของบรรพชิตก็ตาม ​ ศีลเหล่าใดในเบื้องต้นหรือเบื้องปลาย ​ แม้สิกขาบทเดียวก็ไม่ขาด ​ ศีลเหล่านั้นเป็นศีลไม่ขาดเหมือนผ้าที่ขาดตรงชาย ​ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ​ อขณฺทานิ ​ เป็นศีลไม่ขาด 
- 
-ศีลเหล่าใดตอนกลางแม้สิกขาบทเดียวก็ไม่มีขาด ​ ศีลเหล่านั้นเป็นศีลไม่ทะลุ ​ เหมือนผ้าที่ทะลุตรงกลางผืน ​ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ​ อจฺฉิทฺทานิ ​ เป็นศีลไม่ทะลุ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 372)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ศีลเหล่าใดไม่มีขาด ​ ไม่มีขาดไปตามลำดับ 2  สิกขาบทบ้าง 3  สิกขาบทบ้าง ​ ศีลเหล่านั้นเป็นศีลไม่ด่าง ​ เหมือนแม่โคมีสีตัวด่างดำหรือด่างแดงอย่างใดอย่างหนึ่ง ​ ด้วยสีที่ตัดกัน ​ มีสัณฐานยาวและกลมเป็นต้น ​ ซึ่งผุดขึ้นตรงหลังหรือตรงท้อง ​ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ​ อสพลานิ ​ เป็นศีลไม่ด่าง 
- 
-ศีลเหล่าใด ​ ไม่มีขาดเป็นระหว่าง ๆ  ศีลเหล่านั้นเป็นศีลไม่พร้อย ​ เหมือนแม่โคมีลายเป็นจุด ๆ ตัดสีกัน ​ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ​ อกมฺมาสานิ ​ เป็นศีลไม่พร้อย 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ ว่ากันที่ไม่แปลกกัน ​ ศีลทั้งหลายแม้ทุก ๆ ประเภท ​ ชื่อว่าเป็นศีลไม่ขาด ​ ไม่ทะลุ ​ ไม่ด่าง ​ ไม่พร้อย ​ เป็นศีลไม่ถูกทำลาย ​ ด้วยเมถุนสังโยค 7  อย่าง ​ และบาปธรรมทั้งหลายมีความโกรธและผูกโกรธเป็นต้น  ​ 
- 
-ศีลทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแล ​ ชื่อว่า ​ ภุชิสฺสานิ ​ เพราะทำความเป็นไทย ​ โดยปลดเปลื้องออกจากความเป็นทาสแห่งตัณหา ​ ชื่อว่า ​ วิญฺญุปฺปสตฺถานิ ​ เพราะเป็นศีลอันวิญญูชนทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว ​ ชื่อว่า ​ อปรามฏฺฐานิ ​ เพราะเป็นศีลอัน ​ ตัณหาและทิฏฐิทั้งหลายมิได้แตะต้อง ​ หรือเพราะเป็นศีลอันใคร ๆ  ไม่พึงกล้าที่จะปรามาสว่านี้โทษในศีลทั้งหลายของท่าน ​ ชื่อว่า สมาธิสํวตฺตนิกานิ ​ เพราะเหตุที่เป็นศีลยังอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิให้บังเกิดได้ ​ แหละหรือ ​ แม้ยังมรรคสมาธิและผลสมาธิให้บังเกิดก็ได้ด้วย 
- 
-==องค์ฌาน 5  เกิด== 
- 
-เมื่อโยคีบุคคลระลึกอยู่เนือง ๆ  ถึงศีลทั้งหลายของตน ​ ด้วยอำนาจแห่งคุณมีความเป็นศีลไม่ขาดเป็นต้นอย่างนี้ ​ สมัยนั้น ​ จิตของเธอก็จะไม่ถูกราคะรบกวน ​ จะไม่ถูกโทสะรบกวน ​ จะไม่ถูกโมหะรบกวน ​ สมัยนั้น ​ จิตของเธอก็จะปรารภตรงดิ่งถึงศีลโดยเฉพาะด้วยประการฉะนี้ ​ องค์ฌานทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นแก่เธอผู้ข่มนิวรณ์ได้ในขณะเดียวกันโดยนัยก่อนนั่นแล 
- 
-แต่ด้วยเหตุที่คุณของศีลทั้งหลายเป็นสภาพที่ล้ำลึกอย่างหนึ่ง ​ เพราะเหตุที่โยคีบุคคลน้อมจิตไปในอันระลึกถึงคุณอย่างนานาประการอย่างหนึ่ง ​ ฌานจึงไม่ขึ้นถึงขั้นอัปปนา ​ ถึงเพียงขั้นอุปจาระเท่านั้น ​ ฌานนี้นั้นถึงซึ่งอันนับว่า ​ สีลานุสสติฌาน ​ เพราะเหตุที่เกิดขึ้น ​ ด้วยอำนาจการระลึกถึงคุณของศีลนั่นแล 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 373)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อานิสงส์การเจริญสีลานุสสติกัมมัฏฐาน'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ  ซึ่งสีลานุสสติกัมมัฏฐานนี้ ​  ​ย่อมเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ​ เป็นผู้มีความประพฤติเข้ากันได้กับสิกขา ​ เป็นผู้ไม่ประมาทในการปฏิสัณถาร ​ เป็นผู้หลีกเว้นจากภัยมีการตำหนิตนเองเป็นต้น ​ เป็นผู้มองเห็นภัยในโทษอันเล็กน้อย ​ ย่อมได้บรรลุถึงซึ่งความไพบูลย์ ​ ด้วยคุณธรรมมีศรัทธาเป็นต้น ​ เป็นผู้มากล้นด้วยปีติและปราโมทย์ ​ ก็แหละเมื่อไม่ได้แทงตลอดคุณวิเศษยิ่ง ๆ  ขึ้นไป ​ (ในชาตินี้ )  ก็ย่อมจะเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า 
- 
-เพราะเหตุฉะนั้นแล ​ โยคาวจรบุคคลผู้มีปัญญาดี ​ พึงบำเพ็ญความไม่ประมาทในสีลานุสสติภาวนา ​ ซึ่งมีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ​ ดังพรรณนามานี้ ​ ในกาลทุกเมื่อ ​ เทอญ 
- 
-'''​กถามุขพิสดารในสีลานุสสติกัมมัฏฐาน ​ ยุติลงเพียงเท่านี้'''​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 374)''</​fs></​sub>​ 
- 
-=จาคานุสสติกถา= 
- 
-'''​วิธีเจริญจาคานุสสติกัมมัฏฐาน'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อันโยคีบุคคลผู้มีความประสงค์เพื่อจะเจริญจาคานุสสติกัมมัฏฐาน ​ พึงเป็นผู้น้อมใจไปในการบริจาคเป็นปกติ ​ มีทานและการแบ่งปันดำเนินไปอยู่เป็นประจำ ​ แหละเมื่อจะเริ่มภาวนาพึงทำการสมาทานไว้ว่า ​ บัดนี้ ​ นับจำเดิมแต่นี้ ​ ครั้นปฏิคาหกมีอยู่ยังมิได้ให้ทานแม้อย่างน้อยเพียงคำข้าวคำหนึ่งแล้ว ​ เราจักไม่ยอมบริโภค ​ ครั้นแล้วพึงให้ทานตามสัตติตามกำลังในปฏิคาหกผู้ประเสริฐโดยคุณทั้งหลายในวันนั้น ​ ถือเอานิมิตในทานนั้นแล้ว ​ ไปในที่ลับหลีกเร้นอยู่ ​ ณ  เสนาสนะอันควร ​ พึงระลึกเนือง ๆ ถึงการบริจาคของตน ​ ด้วยสามารถแห่งคุณมีความเป็นผู้ปราศจากมลทินและความตระหนี่เป็นต้นอย่างนี้ว่า – 
-==คำบริกรรมกรรมฐาน== 
-"​ในเมื่อเหล่าประชาถูกความตระหนี่และมลทินครอบงำอยู่ ​ การที่เราเป็นผู้มีใจปราศจากมลทินและความตระหนี่อยู่ ​ เป็นผู้มีการเสียสละอย่างเด็ดขาด ​ เป็นผู้มีมืออันสะอาด ​ เป็นผู้ยินดีในการเสียสละ ​ เป็นผู้ควรในการขอ ​ เป็นผู้ยินดีในทานและการแบ่งปัน ​ นั่นนับว่าเป็นลาภของเราหนอ ​ เราได้ดีแล้วหนอ" ​ ฉะนี้ 
- 
-==อธิบายคำบริกรรมกรรมฐาน== 
- 
-ในบรรดาคำเหล่านั้น ​ คำว่า ​ ลาภา ​ วต ​ เม ​ แปลว่า ​ เป็นลาภของเราหนอ ​ อธิบายว่า ​ ลาภทั้งหลายของทายกเหล่านี้ใด ​ ที่พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญไว้โดยนัยทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ ​ คือ ​ ก็แหละ ​ ทายกครั้นให้อายุเป็นทานแล้ว ​ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งอายุอันเป็นทิพย์ ​ หรือเป็นของมนุษย์ ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง ​ คือ ​ ทายกให้ทานย่อมเป็นที่รัก ​ คนทั้งหลายเป็นอันมาก ​ ชอบคบเขา ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง ​ คือ ​ เมื่อทายกดำเนินตามธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายให้ทานอยู่ ย่อมเป็นที่รักดังนี้อย่างหนึ่ง ​ ลาภเหล่านั้นเป็นส่วนของเราโดยแน่แท้  ​ 
- 
-คำว่า ​ สุลทฺธํ ​ วต ​ เม ​ แปลว่า ​ เราได้ดีแล้วหนอ ​ อธิบายว่า ​ คำสั่งสอนหรือความเป็นมนุษย์ที่เราได้แล้วนี้อันใด ​ สิ่งนั้นเป็นอันเราได้ดีแล้วหนอ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 375)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เพราะเหตุไร ?  เพราะเหตุที่ในเมื่อประชาชนถูกความตระหนี่และมลทินครอบงำอยู่ ​ เรานั้นเป็นผู้มีใจปราศจากมลทินและความตระหนี่อยู่ ​ เป็นผู้มีการสละอย่างเด็ดขาด ​ เป็นผู้มีมืออันสะอาด ​ เป็นผู้ยินดีในการเสียสละ ​ เป็นผู้ยินดีในการขอ ​ เป็นผู้ยินดีในการทานและการแบ่งปัน 
- 
-ในคำเหล่านั้น ​ คำว่า ​ ถูกความตระหนี่และมลทินครอบงำ ​ คือถูกความตระหนี่ ​ และมลทินครอบครอง ​ สัตว์ทั้งหลายเรียกว่า ​ ปชา ​ ด้วยอำนาจที่บังเกิดมาด้วยกรรม ​ เพราะเหตุนั้น ​ ความหมายในบทว่า ​ ปชาย ​ ดังนี้ ​ คือ ​ ในสัตว์ทั้งผู้อันความตระหนี่และมลทิน ​ อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาธรรมดำทั้งหลายอันประทุษร้ายความผุดผ่องของจิต ​ ซึ่งมีลักษณะกีดกันความเป็นสาธารณะแก่ผู้อื่นแห่งสมบัติของตนครอบงำแล้ว 
- 
-คำว่า ​ ปราศจากมลทินและความตระหนี่ ​ ความว่า ​ ชื่อว่า ​ ปราศจากมลทินและความตระหนี่ ​ เพราะเหตุที่มลทินทั้งหลายมีราคะและโทสะเป็นต้นและอื่น ๆ  และความตระหนี่ปราศไปแล้ว ​ คำว่า ​ เป็นผู้มีจิต ….อยู่ ​ ความว่า ​ เป็นผู้มีจิตอันมีประการตามที่กล่าวแล้วอยู่ ​ ส่วนในพระสูตรทั้งหลายตรัสว่า ​ เราอยู่ครองเรือน ​ ฉะนี้ ​ ก็เพราะทรงแสดงโดยทำนองแห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อาศัย ​ ในเมื่อเจ้ามหานามศากยะผู้โสดาบันกราบทูลถามถึงธรรมเป็นเครื่องอยู่อาศัย ​ ในคำนั้น ​ มีอรรถาธิบายว่า ​ เราอยู่ครอบงำอุปกิเลส 
- 
-คำว่า ​ เป็นผู้มีการสละอย่างเด็ดขาด ​ ความว่า ​ เป็นผู้มีการสละอย่างปล่อยเลย ​ คำว่า ​ เป็นผู้มีมืออันสะอาด ​  ​ความว่าเป็นผู้มีมืออันบริสุทธิ์ ​ อธิบายว่า ​ เป็นผู้มีมืออันล้างแล้วอยู่ตลอดกาล ​ เพื่อให้เครื่องไทยธรรมเป็นทานด้วยมือของตนโดยความเคารพ ​ คำว่า ​ เป็นผู้ยินดีในการเสียสละ ​ ความว่า ​ การสละให้ ​ เรียกว่าการเสียสละ ​ ได้แก่บริจาค ​ ชื่อว่า ​ เป็นผู้ยินดีในการเสียสละ ​ เพราะอรรถว่า ​ เป็นผู้ยินดีในการเสียสละนั้น ​ ด้วยสามารถที่ประกอบ ​ อย่างติดต่อกันไป ​ คำว่า ​ เป็นผู้ควรในการขอ ​ ความว่า ​ ชื่อว่าเป็นผู้ควรในการขอ ​ เพราะคนอื่นขอสิ่งใด ๆ  ก็ให้สิ่งนั้น ๆ  ปาฐะว่า ​ ยาชโยโค ​ ก็มี ​ หมายความว่า ​ เป็นผู้ประกอบด้วยยาชะ ​ กล่าวคือการบูชา ​ คำว่า ​ เป็นผู้ยินดีในทานและการแบ่งปัน ​ ความว่า ​ เป็นผู้ยินดีในทานด้วย ​ เป็นผู้ยินดีในการแบ่งปันด้วย ​ อธิบายว่า โยคีบุคคลย่อมระลึกเนือง ๆ  อย่างนี้ว่า 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 376)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​เราแหละย่อมให้ทานด้วย ​ ย่อมทำการแบ่งปันแม้จากสิ่งที่ตนจะพึงบริโภคด้วย ​ เป็นผู้ยินดีในทานและการแบ่งปันทั้ง 2  นี้ด้วยนั่นเทียว'''​ 
- 
-==องค์ฌาน 5  เกิด== 
- 
-เมื่อโยคีบุคคลนั้นระลึกอยู่เนือง ๆ ถึงการบริจาคของตน ​ ด้วยอำนาจแห่งคุณมีความเป็นผู้มีใจปราศจากมลทินและความตระหนี่เป็นต้นอย่างนี้ ​ สมัยนั้น ​ จิตของเธอก็จะไม่ถูกราคะรบกวน ​ จะไม่ถูกโทสะรบกวน ​ จะไม่ถูกโมหะรบกวน ​ สมัยนั้น ​ จิตของเธอก็จะปรารภตรงดิ่งถึงการบริจาค ​ ด้วยประการฉะนี้ ​ องค์ฌานทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นแก่เธอผู้ข่มนิวรณ์ได้แล้วในขณะเดียวกัน ​ โดยนัยก่อนนั่นแล 
- 
-แต่โดยเหตุที่คุณแห่งการบริจาคทั้งหลายเป็นสภาพล้ำลึกอย่างหนึ่ง ​ โดยเหตุที่โยคีบุคคลน้อมจิตไปในอันระลึกถึงคุณแห่งการบริจาคอย่างนานาประการอย่างหนึ่ง ​ ฌานจึงขึ้นไม่ถึงขั้นอัปปนา ​ ขึ้นถึงเพียงขั้นอุปจาระเท่านั้น ​ ฌานนี้นั้น ​ ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า จาคานุสสติฌาน ​ เพราะเหตุที่บังเกิดขึ้นด้วยอำนาจการระลึกถึงคุณแห่งการบริจาคนั่นแล 
- 
-'''​อานิสงส์การเจริญจาคานุสสติกัมมัฏฐาน'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ภิกษุโยคีบุคคลผู้ประกอบเนือง ๆ  อยู่ซึ่งจาคานุสสติกัมมัฏฐาน ​ ย่อมเป็นผู้น้อมจิตไปในการบริจาคโดยประมาณยิ่ง ​ เป็นผู้มีอัชฌาสัยไม่โลภ ​ เป็นผู้มีปกติกระทำอันสมควรแก่เมตตาภาวนา ​ เป็นผู้องอาจแกล้วกล้า ​ เป็นผู้มากล้นไปด้วยปีติและปราโมทย์ ​ ก็แหละ ​ เมื่อไม่อาจแทงตลอดซึ่งคุณวิเศษยิ่ง ๆ  ขึ้นไป ​ (ในชาตินี้ )  ก็จะเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า 
- 
-เพราะเหตุฉะนั้นแล ​ โยคาวจรบุคคลผู้มีปัญญาดี ​ พึงบำเพ็ญความไม่ประมาทในจาคานุสสติภาวนา ​ ซึ่งมีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ​ ดังพรรณนามานี้ ​ ในการทุกเมื่อ ​ เทอญ 
- 
-'''​กถามุขพิสดารในจาคานุสสติกัมมัฏฐาน ​ ยุติลงเพียงเท่านี้'''​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 377)''</​fs></​sub>​ 
- 
-=เทวตานุสสติกถา= 
- 
-'''​วิธีเจริญเทวตานุสสติกัมมัฏฐาน'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ โยคีบุคคลผู้มีความประสงค์เพื่อจะเจริญเทวตานุสสติกัมมัฏฐาน ​ พึงเป็นผู้ประกอบด้วยคุณทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น ​ อันสำเร็จมาด้วยอำนาจอริยมรรค ​ แต่นั้นพึงไปในที่ลับ ​ หลีกเร้นอยู่ ​ ณ  เสนาสนะอันสมควร ​ พึงระลึกอยู่เนือง ๆ  ถึงคุณทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นของตน ​ โดยตั้งเทวดาทั้งหลาย ​ ไว้ในฐานะเป็นพยานอย่างนี้ว่า – 
- 
-เทวดาชาวจาตุมหาราชิกา ​ มีอยู่จริง ​ เทวดาชาวดาวดึงส์ ​ มีอยู่จริง ​ เทวดาชาวยามา ​ มีอยู่จริง ​ เทวดาชาวดุสิต ​ มีอยู่จริง ​ เทวดาชาวนิมมานรดี ​ มีอยู่จริง ​ เทวดาชาวปรนิมมิตวสวัตดี ​ มีอยู่จริง ​ เทวดาชั้นพรหมกายิกา ​ มีอยู่จริง ​ เทวดาชั้นสูงขึ้นไปกว่านั้น ​ ก็มีอยู่จริง 
- 
-เทวดาเหล่านั้น ​ ประกอบด้วยศรัทธาชนิดใด ​ ครั้นจุติจากโลกนี้แล้วจึงไปบังเกิดในภพนั้น ๆ  ศรัทธาชนิดนั้นแม้ในเราก็มี 
- 
-เทวดาเหล่านั้น ​ ประกอบด้วยศีลชนิดใด ​ ประกอบด้วยสุตะชนิดใด ​ ประกอบด้วยจาคะชนิดใด ​ ประกอบด้วยปัญญาชนิดใด ​ ครั้นจุติจากโลกนี้ไปแล้วจึงไปบังเกิดในภพนั้น ๆ  ศีล, ​ สุตะ, ​ จาคะ ​ และปัญญาชนิดนั้น ๆ  แม้ในเราก็มีอยู่ ​ ฉะนี้ 
- 
-แต่ว่าในพระสูตร ​ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ​ ดูก่อนมหานามะ ​ ในสมัยใด ​ อริยสาวกย่อมระลึกเนือง ๆ  ถึงศรัทธา, ​ ศีล, ​ จาคะ ​ และปัญญาของตนและของเทวดาเหล่านั้น ​ ในสมัยนั้น ​ จิตของเธอก็จะไม่ถูกราคะรบกวน ​ ดังนี้ ​ ถึงจะตรัสไว้ดังนั้นก็ตาม ​ แต่นักศึกษา 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 378)''</​fs></​sub>​ 
- 
-พึงทราบว่า ​ พระพุทธพจน์นั้นตรัสไว้เพื่อประสงค์จะทรงแสดงถึงคุณอันเสมอกัน ​ ทั้งของเทวดาที่ตั้งไว้ในฐานะเป็นพยาน ​ ทั้งของตน ​ โดยคุณทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น ​ จริงอยู่ ​ ในอรรถกถาท่านก็กล่าวไว้อย่างมั่นเหมาะว่า ​ ย่อมระลึกเนือง ๆ ถึงคุณทั้งหลายของตน ​ โดยตั้งเทวดาทั้งหลายในฐานะเป็นพยาน 
- 
-==องค์ฌาน 5  เกิด== 
- 
-เพราะเหตุนั้น ​ เมื่อโยคีบุคคลระลึกอยู่เนือง ๆ ถึงคุณทั้งหลายของเหล่าเทวดา ​ ในภาคต้นแล้ว ​ จึงระลึกเนือง ๆ ถึงคุณทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นอันมีอยู่ของตนในภายหลังในสมัยนั้น ​ จิตของเธอก็จะไม่ถูกราคะรบกวน ​ จะไม่ถูกโทสะรบกวน ​ จะไม่ถูกโมหะรบกวน ​ ในสมัยนั้น ​ จิตของเธอก็จะปรารภตรงดิ่งถึงเทวดาทั้งหลาย ​ ด้วยประการฉะนี้ ​ องค์ฌานทั้งหลายย่อมบังเกิดขึ้นแก่เธอผู้ข่มนิวรณ์ได้แล้วในขณะเดียวกัน ​ โดยนัยก่อนนั่นแล 
- 
-ก็แหละ ​ เพราะเหตุที่คุณทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นเป็นสภาพที่ล้ำลึกอย่างหนึ่ง ​  ​เพราะเหตุที่โยคีบุคคลน้อมจิตไปในอันระลึกถึงคุณอย่างนานาประการอย่างหนึ่ง ​ ฌานจึงขึ้นไม่ถึงขั้นอัปปนา ​ ขึ้นถึงเพียงขั้นอุปจาระเท่านั้น ​ ฌานนี้นั้นย่อมถึงซึ่งอันนับว่า ​ เทวานุสสติฌาน ​ ก็โดยที่ระลึกถึงคุณมีศรัทธาเป็นต้นเช่นเดียวกับคุณของเทวดาทั้งหลายนั่นเอง 
- 
-'''​อานิสงส์การเจริญเทวตานุสสติกัมมัฏฐาน'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ภิกษุผู้ประกอบเทวตานุสสติกัมมัฏฐานนี้อยู่เนือง ๆ  ย่อมเป็นที่รักใคร่เป็นที่ชอบใจของเทวดาทั้งหลาย ​ ย่อมจะประสบความไพบูลย์ด้วยคุณมีศรัทธาเป็นต้น ​ โดยประมาณยิ่ง ​ เป็นผู้มากล้นด้วยปีติและปราโมทย์ ​ ก็แหละ ​ เมื่อยังไม่ได้แทงตลอดคุณวิเศษชั้นสูงขึ้นไป ​ (ในชาตินี้ )  ก็จะเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า 
- 
-เพราะเหตุฉะนั้นแล ​ โยคาวจรบุคคลผู้มีปัญญาดี ​ พึงบำเพ็ญความไม่ประมาทในเทวตานุสสติภาวนา ​ ซึ่งมีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ​ ดังพรรณนามานี้ ​ ในกาลทุกเมื่อ ​ เทอญ 
- 
-'''​กถามุขพิศดารในเทวตานุสสติกัมมัฏฐาน ​ ยุติลงเพียงเท่านี้'''​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 379)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ข้อความเบ็ดเตล็ด'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ในวิตถารเทศนาแห่งอนุสสติ 6  ประการเหล่านี้ ​ พระผู้มีพระภาค ​ ตรัสพระพุทธพจน์ทั้งหลายมีอาทิว่า ​ ในสมัยนั้น ​ จิตของอริยสาวกนั้น ​ ย่อมปรารภตรงดิ่งถึงตถาคต ​ ดังนี้แล้ว ​ ตรัสพระพุทธพจน์ใดไว้ว่า ​ ดูก่อนมหานามะ ​ ก็แหละ ​ อริยสาวกผู้มีจิตตรง ​ ย่อมได้ความยินดีในอรรถ ​ ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ​ ปีติย่อมเกิดแก่ผู้มีความปราโมทย์ ​ ฉะนี้ ​ อรรถาธิบายในพระพุทธพจน์นั้น ​ นักศึกษาพึงทราบดังนี้ ​ ที่ตรัสว่า ​ ย่อมได้ความยินดีในอรรถ ​ นั้น ​ หมายเอาความยินดีที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจความของพระพุทธคุณมีคำว่า ​ อิติปิ ​ โส ​ ภควา ​ เป็นต้น ​ ที่ตรัสว่า ​ ย่อมได้ความยินดีในธรรมนั้น หมายเอาความยินดีที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยบาลี ที่ตรัสว่า ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรมนั้น ​ ด้วยอำนาจความยินดีทั้ง 2  ประการ 
- 
-แหละในเทวตานุสสติกถา ​ พระพุทธพจน์ใดที่ตรัสไว้ว่า ​ ปรารภซึ่งเทวดาทั้งหลาย ​ ดังนี้ ​ พระพุทธพจน์นั้น ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยอำนาจแห่งจิตที่เกิดปรารภเทวดาทั้งหลายในสว่นเบื้องต้นอย่างหนึ่ง ​ ตรัสด้วยอำนาจจิตที่เกิดปรารภคุณทั้งหลาย ​ อันให้สำเร็จเป็นเทวดาเช่นเดียวกับคุณของเทวดาอย่างหนึ่ง 
- 
-'''​อนุสสติ 6  สำเร็จเฉพาะอริยสาวก'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อนุสสติ 6  ประการเหล่านี้ ​ ย่อมสำเร็จเฉพาะอริยสาวกจำพวกเดียวเท่านั้น ​ เพราะว่า ​ พุทธคุณ, ​ ธรรมคุณ, ​ สังฆคุณย่อมปรากฏแก่อริยสาวกเหล่านั้น ​ และอริยสาวกเหล่านั้นก็เป็นผู้ประกอบด้วยศีลอันทรงคุณมีความไม่ขาดเป็นต้น ​ ประกอบด้วยจาคะ ​ ชนิดที่ปราศจากมลทินและความตระหนี่ ​ ประกอบด้วยคุณทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นเช่นเดียวกับคุณของเหล่าเทวดาผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ 
- 
-แหละใน ​ มหานามสูตร ​ อนุสสติ 6  ประการเหล่านี้ ​ พระผู้มีพระภาค ​ อันเจ้ามหานามะกราบทูลถามถึงธรรมเป็นเครื่องอยู่อาศัยของพระโสดาบัน ​ ได้ทรงแสดงไว้โดยพิสดาร ​ เพื่อทรงแสดงถึงธรรมเป็นเครื่องอยู่อาศัยของพระโสดาบันโดยเฉพาะ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 380)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แม้ใน ​ เคธสูตร ​ พระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงแสดงอนุสสติ 6  ประการ ​ เพื่อประสงค์ ​ ชำระจิตแล้วบรรลุถึงซึ่งความบริสุทธิ์ขั้นปรมัตถ์ ​ ยิ่ง ๆขึ้นไป ​ ด้วยอำนาจแห่งอนุสสติเฉพาะแก่อริยสาวกไว้อย่างนี้คือ ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ อริยสาวกในศาสนานี้ ​ ย่อมระลึกเนือง ๆ  ถึงตถาคตว่า ​ อิติปิ ​ โส ​ ภควา……ในสมัยนั้น ​ จิตของเธอย่อมตรงดิ่ง ​ ออกไป ​ พ้นไปปราศจากเคธะ ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ คำว่า ​ เคธะนี้แลเป็นชื่อของกามคุณ 5  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ สัตว์ทั้งหลายบางจำพวกในศาสนานี้ ​ ทำพุทธานุสสติฌานแม้นี้แลให้เป็นอารมณ์ ​ แล้วย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-แม้ใน ​ สัมพาโธกาสสูตร ​ ที่ท่านพระมหากัจจายนะแสดง ​ ท่านก็แสดงอนุสสติฐาน ​ 6  ประการ ​ ด้วยสามารถแห่งอันได้ซึ่งโอกาสเฉพาะแก่อริยสาวก ​ เพราะเป็นผู้มีธรรมอันบริสุทธิ์ขั้นปรมัตถ์อย่างนี้คือ ​ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ​ น่าอัศจรรย์ ​ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลายสิ่งไม่เคยมีได้มีแล้ว ​ คือข้อที่พระผู้มีพระภาคผู้รู้เห็นเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสรู้ ​ โอกาสอันจะพึงบรรลุในฆราวาสอันคับแคบ ​ เพื่อควมบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย… ​ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ​ โอกาสอันจะพึงบรรลุนั้น ​ ได้แก่อนุสสติฐาน 6 
- 
-อนุสสติฐาน 6 คืออะไรบ้าง ? 
- 
-ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ​ อริยสาวกในพระศาสนานี้ ​ ย่อมระลึกเนือง ๆ  ถึงพระตถาคตเจ้า……ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ​ สัตว์ทั้งหลายบางจำพวกในพระศาสนานี้ ​ ทำพุทธานุสสติฌานแม้นี้แลให้เป็นอารมณ์ ​ ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ได้เป็นธรรมดา ​ ด้วยประการฉะนี้  ​ 
- 
-แม้ใน ​ อุโปสถสูตร ​ ก็ทรงแสดงอนุสสติ ​ 6  ประการ ​ เฉพาะแก่อริยสาวกผู้เข้าจำอุโบสถ ​ เพื่อทรงแสดงถึงภาวะที่อุโบสถมีผลมากด้วยอำนาจกัมมัฏฐาน ​ อันเป็นเครื่องชำระอย่างนี้คือ ​ ดูก่อนวิสาขา ​ ก็อริยอุโบสถเป็นไฉน ?  ดูก่อนวิสาขา ​ ได้แก่การชำระจิตที่เศร้าหมองให้ผุดผ่องด้วยความพยายาม ​ ดูก่อนวิสาขา ​ อริยสาวกในศาสนานี้ ​  ​ย่อมระลึกเนือง ๆถึงตถาคตว่า…… 
- 
-แม้ใน ​ เอกาทสกนิบาต ​ เมื่อเจ้ามหานามะกราบทูลถามว่า ​ ข้าแต่สมเด็จพุทธองค์ ​ เมื่อพวกข้าพระองค์เหล่านั้น ​ อยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ต่าง ๆกัน ​ ข้าพระองค์จะพึงอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร ?  เพื่อทรงแสดงธรรมเป็นเครื่องอยู่ถวาย ​ พระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงแสดงอนุสสติ 6  ประการ ​ เฉพาะแก่อริยสาวกเท่านั้น ​ อย่างนี้ ​ คือ ​ ดูก่อน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 381)''</​fs></​sub>​ 
- 
-มหานามะ ​ บุคคลผู้มีศรัทธาแลจึงจะเป็นผู้บันดาลให้สำเร็จได้ บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาบันดาลให้สำเร็จหาได้ไม่ ​ ดูก่อนมหานามะ ​ บุคคลผู้ปรารภความเพียร ​ มีสติมั่นคง ​ มีสมาธิ ​ มีปัญญา ​ จึงจะเป็นผู้บันดาลให้สำเร็จได้ ​ บุคคลผู้เกียจคร้านมีสติหลงลืมไม่มีสมาธิไม่มีปัญญาหาบันดาลให้สำเร็จได้ไม่ ​ ดูก่อนมหานามะ ​ ท่านจงดำรงอยู่ในธรรม 5  ประการเหล่านี้แล ​ แล้วพึงเจริญธรรม 6  ประการ ​ ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ​ ดูก่อนมหานามะ ​ ท่านพึงระลึกเนือง ๆ  ถึงตถาคตว่า ​ อิติปิ ​ โส ​ ภควา……. 
- 
-'''​กัลยาณปุถุชนก็บำเพ็ญอนุสสติ 6  ได้'''​ 
- 
-แม้ถึงจะเป็นอย่างนั้นก็ตามที ​ อันปุถุชนผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลอันบริสุทธิ์เป็นต้น ​ ก็ควรสนใจเหมือนกัน ​ เพราะเมื่อกัลยาณปุถุชนระลึกเนือง ๆ  อยู่ถึงพระคุณทั้งหลาย ​ ของพระพุทธเจ้าเป็นต้น ​ จิตย่อมผ่องใสแม้ด้วยอำนาจแห่งการระลึกเนือง ๆ นั่นเทียว ​ กัลยาณปุถุชนข่มนิวรณ์ทั้งหลายเสียด้วยอานุภาพแห่งจิตอันผ่องใส ​ มีความปราโมทย์อย่างยิ่ง ​ เริ่มเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ​ ก็จะพึงทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตได้เหมือนกัน ​ เหมือนอย่างพระปุสสเทวเถระ ​ ผู้อยู่ที่กัฏฐอันธการวิหาร 
- 
-'''​เรื่องพระปุสสเทวเถระ'''​ 
- 
-ได้ยินว่า ​ ท่านผู้มีอายุนั้นได้เห็นพระรูปพระพุทธเจ้าอันมารนฤมิตขึ้น ​ ได้ปีติอันมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ว่า ​ พระพุทธเจ้านฤมิตนี้ ​ ยังมีราคะโทสะโมหะอยู่ก่อน ​ ก็ยังสวยงามถึงอย่างนี้ ​ องค์พระผู้มีพระภาคแท้จะไม่สวยงามอย่างไรเล่า ​ เพราะพระองค์ทรงปราศจากราคะโทสะโมหะโดยประการทั้งปวง ​ ครั้นแล้วก็ยังวิปัสสนาปัญญาให้เจริญ ​ ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ​ ฉะนี้แล 
- 
-'''​ฉอนุสสตินิทเทส ​ ปริเฉทที่ 7'''​ 
- 
-'''​ในอธิการแห่งสมาธิภาวนา ​ ในปกรณวิเสสชื่อวิสุทธิมรรค'''​ 
- 
-'''​อันข้าพเจ้ารจนาขึ้นไว้'''​ 
- 
-'''​เพื่อให้เกิดความปราโมทย์แก่สาธุชนทั้งหลาย'''​ 
- 
-'''​ยุติลงด้วยประการฉะนี้'''​ 
- 
-'''​………………………………..'''​ 
- 
- 
-==ดูเพิ่ม== 
-*'''​[http://​www.84000.org/​tipitaka/​pitaka2/​sutta23.php ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค]'''​ 
-*'''​[[วิสุทธิมรรค ฉบับปรับสำนวน]] (สารบัญ)'''​