วิสุทธิมรรค_02_ธุตังคนิทเทส

ความแตกต่าง

นี่เป็นการแสดงความแตกต่างระหว่างเพจสองรุ่น

Link to this comparison view

วิสุทธิมรรค_02_ธุตังคนิทเทส [2020/06/27 16:27]
127.0.0.1 แก้ไขภายนอก
วิสุทธิมรรค_02_ธุตังคนิทเทส [2021/01/02 20:14]
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
-{{wst>​วสธมฉปส head|}} 
-{{wst>​วสธมฉปส sidebar}} 
-'''​ธุตังคนิทเทส ​ ปริจเฉทที่ 2'''​ 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 80)''</​fs></​sub>​ 
- 
-=อารัมภกถา= 
- 
-โดยที่โยคีบุคคลสมาทานเอาศีลแล้วจะต้องทำการสมาทานเอาธุดงค์ต่อไป ​ ทั้งนี้ ​ เพื่อที่จะทำคุณทั้งหลาย ​ มีความเป็นผู้มักน้อยและความสันโดษเป็นต้น ​ อันเป็นเครื่องผ่องแผ้วของศีล ​ ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วในสีลนิทเทสให้สมบูรณ์ ​ แหละเมื่อโยคีบุคคลทำการสมาทาน ​ เอาธุดงค์เช่นนี้แล้ว ​ ศีลของท่านซึ่งถูกชำระล้างมลทินแล้วด้วยน้ำคือคุณ ​ มีความเป็นผู้มักน้อย, ​ ความสันโดษ, ​ ความขัดเกลากิเลส, ​ ความสงัด, ​ ความไม่สั่งสมกิเลส, ​ การปรารภความเพียร ​ และความเป็นผู้เลี้ยงง่าย ​ เป็นต้น ​ ก็จักเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์ด้วยดี ​ กับทั้งพรตทั้งหลายของท่านก็จักสมบูรณ์ด้วย ​ อันโยคีบุคคลผู้มีมารยาททั้งปวงบริสุทธิ์แล้วด้วยคุณคือศีล ​ และพรตอันหาโทษมิได้เช่นนี้ ​ ดำรงตนอยู่ในอริยวงศ์อันเป็นของเก่าแก่ 3  ประการ ​ (คือความสันโดษในจีวร, ​ ความสันโดษในบิณฑบาต, ​ ความสันโดษในเสนาสนะตามมีตามได้) ​ แล้ว ​ จักเป็นบุคคลสมควร ​ เพื่อจะบรรลุอริยวงศ์ประการที่ 4  ซึ่งได้แก่ความเป็นผู้ยินดีในภาวนา ​ (สมถภาวนาและ ​ วิปัสสนาภาวนา) ​ เพราะฉะนั้น ​ ข้าพเจ้าจักเริ่มแสดงธุตังคกถา ​ ณ  บัดนี้ 
- 
-=ธุดงค์ ​ 13  ประการ= 
- 
-ก็แหละพระผู้มีพระภาคได้ทรงอนุญาตธุดงค์ไว้สำหรับ ​ กุลบุตรทั้งหลายผู้สละโลกามิสแล้ว ​ ผู้ไม่เสียดายอาลัยในร่างกายและชีวิต ​ ผู้ปรารถนาจะทำข้อปฏิบัติอันสมควรแก่ ​ นิพพานให้ถึงพร้อม ​ รวมเป็น ​ 13  ประการ ​ คือ 
- 
-1.    ปังสุกูลิกังคธุดงค์ 
- 
-2.      เตจีวริกังคธุดงค์ 
- 
-3.      ปิณฑปาติกังคธุดงค์ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 81)''</​fs></​sub>​ 
- 
-4.      สปทานจาริกังคธุดงค์ 
- 
-5.      เอกาสนิกังคธุดงค์ 
- 
-6.      ปัตตปิณฑิกังคธุดงค์ 
- 
-7.      ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ 
- 
-8.      อารัญญิกังคธุดงค์ 
- 
-9.      รุกขมูลิกังคธุดงค์ 
- 
-10.      อัพโภกาสิกังคธุดงค์ 
- 
-11.      โสสานิกังคธุดงค์ 
- 
-12.      ยถาสันถติกังคธุดงค์ 
- 
-13.      เนสัชชิกังคธุดงค์ 
- 
-=10 วิธีวินิจฉัยธุดงค์= 
- 
-นักศึกษาพึงศึกษาให้เข้าใจข้อวินิจฉัยในธุดงค์ 13  ประการนั้น ​ (โดยอาการ 10  อย่าง ​ เหล่านี้ ​ คือ) – 
- 
-1.      วินิจฉัยอรรถวิเคราะห์ 
- 
-2.      วินิจฉัยลักษณะเป็นต้น 
- 
-3.      วินิจฉัยสมาทาน 
- 
-4.      วินิจฉัยกรรมวินิจฉัย 
- 
-5.      วินิจฉัยประเภท 
- 
-6.      วินิจฉัยความแตก 
- 
-7.      วินิจฉัยอานิสงส์ 
- 
-8.      วินิจฉัยเป็นกุศลติกะ 
- 
-9.      วินิจฉัยแยกออกเป็นคำ ๆ  มีคำว่าธุตะเป็นต้น 
- 
-10.      วินิจฉัยย่อและวินิจฉัยพิสดาร 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 82)''</​fs></​sub>​ 
- 
-==วินิจฉัยอรรถวิเคราะห์== 
-===อรรถของแต่ละธุธุดงค์=== 
-ในอาการ 10  อย่างนั้น ​ จะวินิจฉัยโดยอรรถวิเคราะห์ ​ เป็นประการแรก ​ ดังนี้ – 
- 
-'''​1. ​ ปังสุกูลิกังคะ'''​ 
- 
-ผ้าใดเป็นเหมือนผ้าที่สะสมด้วยขี้ฝุ่น ​ ณ  ที่นั้น ๆ  โดยที่ฟุ้งตลบไป ​ เพราะเหตุวางทิ้งไว้บนขี้ฝุ่น ​ ณ  ที่ใดที่หนึ่ง ​ เช่น ​ ถนน, ​ ป่าช้าและกองขยะมูลฝอยเป็นต้น ​ ผ้านั้นชื่อว่า ​ ผ้าบังสุกูล 
- 
-อีกนัยหนึ่ง ​ ผ้าใดซึ่งภาวะที่น่าเกลียด ​ คือ ​ ถึงซึ่งภาวะที่น่าสยะแสยง ​ เหมือนขี้ฝุ่น ผ้านั้น ​ ชื่อว่า ​ ผ้าบังสุกูล 
- 
-การทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกูลอันได้อรรถวิเคราะห์อย่างนี้ ​ ชื่อว่า ​ ปังสุกูล ​ แปลว่า ​ การทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกูล, ​ การทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกูลนั้นเป็นปกติของภิกษุนี้ ​ เหตุนั้นภิกษุนี้ ​ ชื่อว่า ​ ปังสุกูลิโก ​ แปลว่า ​ ผู้มีอันทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลเป็นปกติ, ​ องค์แห่งภิกษุผู้มีอันทรงไว้ซึ่ง ​ ผ้าบังสุกุลเป็นปกติ ​ ชื่อว่า ​ ปังสุกูลิกังคะ 
- 
-เหตุ ​ เรียกว่า ​ องค์ ​ เพราะฉะนั้น ​ นักศึกษาพึงเข้าใจว่าภิกษุนั้นเป็นผู้มีอันทรงไว้ ​ ซึ่งผ้าบังสุกูลเป็นปกติ ​ ด้วยเจตนาเป็นเหตุสมาทานอันใด ​ คำว่า ​ องค์ ​ นี้เป็นชื่อของเจตนาเป็นเหตุสมาทานอันนั้น 
- 
-'''​2. ​ เตจีวริกังคะ'''​ 
- 
-โดยนัยอย่างเดียวกันนั้น ​ การทรงไว้ซึ่งผ้า 3 ผืน ​ คือ ​ ผ้าสังฆาฏิ 1  ผ้าอุตตราสงค์ 1  ผ้าอันตรวาสก 1  เป็นปกติของภิกษุนี้ ​ เหตุนั้นภิกษุนี้ชื่อว่า ​ เตจีวริโก ​ แปลว่า ​ ผู้มีอันทรงไว้ ​ ซึ่งผ้า 3  ผืนเป็นปกติ, ​ องค์แห่งภิกษุผู้มีอันทรงไว้ซึ่งผ้า 3  ผืนเป็นปกติ ​ ชื่อว่า ​ เตจีวริกังคะ 
- 
-'''​3. ​ ปิณฑปาติกังคะ'''​ 
- 
-การตกลงแห่งก้อนอามิสคือภิกษาหาร ​ ได้แก่การตกลงในบาตรแห่งก้อนข้าวที่ผู้อื่นเขาถวาย ​ ชื่อว่า ​ ปิณฑปาต ​ ภิกษุใดแสวงหาบิณฑบาตนั้น ​ คือเข้าไปสู่ตระกูลนั้น ๆ  แสวงหาอยู่ ​ ภิกษุนั้นชื่อว่า ​ ปิณฑปาติโก ​ แปลว่า ​ ผู้แสวงหาซึ่งบิณฑบาต 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 83)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อีกอย่างหนึ่ง ​ การเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตเป็นธรรมเนียมของภิกษุนี้ ​ เหตุนั้นภิกษุนี้ ​ ชื่อว่า ​ ปิณฑปาตี ​ แปลว่า ​ ผู้มีอันเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตเป็นธรรมเนียม 
- 
-บทว่า ​ ปติตุ ํ แปลว่า ​ การเที่ยวไป ​ บทว่า ​ ปิณฺฑปาตี ​ กับบทว่า ​ ปิณฺฑปาติโก ​ ความเหมือนกัน, ​ องค์แห่งภิกษุผู้แสวงหาซึ่งบิณฑบาต ​ หรือองค์แห่งภิกษุผู้มีอันเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตเป็นธรรมเนียม ​ ชื่อว่า ​ ปิณฑปาติกังคะ 
- 
-'''​4. ​ สปทานจาริกังคะ'''​ 
- 
-การขาดตอนเรียกว่า ​ ทานะ ​ กิจใดที่ปราศจากการขาดตอน ​ คือไม่ขาดตอน ​ กิจนั้นเรียกว่า ​ อปทานะ ​ กิจใดเป็นไปกับด้วยการไม่ขาดตอน ​ ได้แก่เว้นการขาดระยะ ​ คือ ​ ไปตามลำดับเรือน ​ กิจนั้นชื่อว่า ​ สปทานะ ​ การเที่ยวไป ​ (บิณฑบาต) ​ อย่างไม่ขาดตอน ​ (คือไปตามลำดับเรือน) ​ นี้ ​ เป็นปกติของภิกษุนี้ ​ เหตุนั้นภิกษุนี้ชื่อว่า ​ สปทานจารี ​ แปลว่า ​ ผู้มีอันเที่ยวไปอย่างไม่ขาดตอนเป็นปกติ  ​ 
- 
-บทว่า ​ สปทานจารี ​ กับบทว่า ​ สปทานจาริโก ​ ความเหมือนกัน, ​ องค์แห่งภิกษุผู้มีอันเที่ยวไปอย่างไม่ขาดตอนเป็นปกติ ​ ชื่อว่า ​ สปทานจาริกังคะ 
- 
-'''​5. ​ เอกาสนิกังคะ'''​ 
- 
-การฉันในที่นั่งอันเดียว ​ ชื่อว่า ​ เอกาสนะ ​ การฉันในที่นั่งอันเดียวนั้นเป็นปกติของภิกษุนี้ ​ เหตุนั้นภิกษุนี้ ​ ชื่อว่า ​ เอกาสนิโก ​ แปลว่า ​ ผู้มีอันฉันในที่นั่งอันเดียวเป็นปกติ, ​ องค์แห่งภิกษุผู้มีอันฉันในที่นั่งอันเดียวกันเป็นปกตินั้น ​ ชื่อว่า ​  ​เอกาสนิกังคะ 
- 
-'''​6. ​ ปัตตปิณฑิตังคะ'''​ 
- 
-บิณฑบาตเฉพาะแต่ในบาตรอย่างเดียวเท่านั้น ​ เพราะห้ามภาชนะอันที่สองเสีย ​ ชื่อว่า ​  ​ปัตตปิณโฑ ​  ​แปลว่า ​ บิณฑบาตในบาตร ​ บิณฑบาตในบาตรเป็นปกติของภิกษุนี้เพราะในขณะหยิบเอาบิณฑบาตในบาตรก็ทำความสำนึกว่าเป็นบิณฑบาตในบาตร ​  ​เหตุนั้นภิกษุนี้ชื่อว่า ​  ​ปัตตปิณฑิใก ​  ​แปลว่า ​ ผู้มีบิณฑบาตในบาตรเป็นปกติ, ​ องค์แห่งภิกษุผู้มีบิณฑบาตในบาตรเป็นปกตินั้น ​ ชื่อว่า ​  ​ปัตตปิณฑิกังคะ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 84)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​7. ​ ขลุปัจฉาภัตติกังคะ'''​ 
- 
-คำว่า ​ ขลุ ​ เป็นศัพท์นิบาตลงในความปฏิเสธ ​ ภัตตาหารที่ได้มาหลังจากที่ตนห้ามแล้ว ​ ชื่อว่า ​ ปัจฉาภัตตัง ​ การฉันปัจฉาภัตรนั้น ​ ชื่อว่า ​ ปัจฉาภัตตโภชนัง ​ การฉันปัจฉาภัตรเป็นปกติของภิกษุนี้ ​ เพราะรู้อยู่ว่า ​ เป็นปัจฉาภัตรในขณะฉันปัจฉาภัตร ​ เหตุนั้นภิกษุนี้ ​ ชื่อว่า ​ ปัจฉาภัตติโก ​ แปลว่า ​ ผู้มีอันฉันปัจฉาภัตรเป็นปกติ ​ ภิกษุผู้มิใช่ปัจฉาภัตติโก ​ ชื่อว่า ​ ขลุปัจฉาภัตติโก ​ แปลว่า ​ ผู้มิใช่ผู้มีอันฉันปัจฉาภัตรเป็นปกติ ​ คำนี้เป็นชื่อของโภชนะที่มากเกินไป ​ ซึ่งท่านห้ามไว้ด้วยอำนาจแห่งการสมาทาน 
- 
-ส่วนในคัมภีร์อรรถกถาพรรณนาไว้ว่า ​ คำว่า ​ ขลุ ​ ได้แก่นกประเภทหนึ่ง ​ นกขลุนั้นเอาปากคาบผลไม้แล้ว ​ ครั้นผลไม้นั้นล่วงไปจากปากแล้วก็ไม่ยอมกินผลไม้อื่นอีก ​ ภิกษุนี้มีปฏิปทาเหมือนนกขลุนั้น ​ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ​ ขลุปัจฉาภัตติโก ​ แปลว่า ​ มิใช่ผู้มีอันฉันปัจฉาภัตรเป็นปกติ, ​ องค์แห่งภิกษุมิใช่ผู้มีอันฉันปัจฉาภัตรเป็นปกตินั้น ​ ชื่อว่า ​ ขลุปัจฉาภัตติกังคะ 
- 
-'''​8. ​ อารัญญิกังคะ'''​ 
- 
-การอยู่ในป่าเป็นปกติของภิกษุนี้ ​ เหตุนั้นภิกษุนี้ ​ ชื่อว่า ​  ​อารัญญิโก ​  ​แปลว่า ​ ผู้มีอันอยู่ในป่าเป็นปกติ, ​ องค์แห่งภิกษุผู้มีอันอยู่ในป่าเป็นปกตินั้น ​ ชื่อว่า ​  ​อารัญญิกังคะ 
- 
-'''​9. ​ รุกขมูลิกังคะ'''​ 
- 
-การอยู่ ณ  ที่โคนไม้ ​ ชื่อว่า ​ รุกขมูล ​ การอยู่ ณ  ที่โคนไม้นั้นเป็นปกติของภิกษุนี้ ​ เหตุนั้นภิกษุนี้ ​ ชื่อว่า ​ รุกขมูลิโก ​ แปลว่า ​ ผู้มีอันอยู่ ณ ที่โคนไม้เป็นปกติ, ​ องค์แห่งภิกษุผู้มีอันอยู่ ณ ที่โคนไม้เป็นปกติชื่อว่า ​ รุกขมูลิกังคะ 
- 
-'''​10. ​ อัพโภกาสิกังคะ'''​ 
- 
-การอยู่ ณ  ที่กลางแจ้งเป็นปกติของภิกษุนี้ ​  ​เหตุนั้นภิกษุนี้ ​ ชื่อว่า ​ อัพโภกาสิโก ​ แปลว่า ​ ผู้มีอันอยู่ ​ ณ  ที่กลางแจ้งเป็นปกติ, ​ องค์แห่งภิกษุผู้มีอันอยู่ ​ ณ  ที่กลางแจ้งเป็นปกติ ​ ชื่อว่า ​ อัพโภกาสิกังคะ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 85)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​11. ​ โสสานิกังคะ'''​ 
- 
-การอยู่ในป่าช้าเป็นปกติของภิกษุนี้ ​ เหตุนั้นภิกษุนี้ชื่อว่า ​ โสสานิโก ​ แปลว่า ​ ผู้มีอันอยู่ในป่าช้าเป็นปกติ, ​ องค์แห่งภิกษุผู้มีอันอยู่ในป่าช้าเป็นปกติ ​ ชื่อว่า ​ โสสานิกังคะ 
- 
-'''​12. ​ ยถาสันถติกังคะ'''​ 
- 
-เสนาสนะที่จัดแจงไว้อย่างไรนั่นนั่นเทียว ​ ชื่อว่า ​ ยถาสันถตะ ​ คำนี้เป็นชื่อของเสนาสนะที่สงฆ์มอบให้แต่แรกด้วยคำว่า ​ เสนาสนะนี้ถึงแก่ท่าน ​ การอยู่ในเสนาสนะที่จัดแจงไว้อย่างนั้น ​ เป็นปกติของภิกษุนี้ ​ เหตุนั้นภิกษุนี้ ​ ชื่อว่า ​ ยถาสันถติโก ​ แปลว่า ​ ผู้มีอันอยู่ในเสนาสนะที่จัดแจงไว้แล้วอย่างไรเป็นปกติ, ​ องค์แห่งภิกษุผู้มีอันอยู่ในเสนาสนะที่จัดแจงไว้แล้วอย่างไรเป็นปกตินั้น ​ ชื่อว่า ​ ยถาสันถติกังคะ 
- 
-'''​13. ​ เนสัชชิกังคะ'''​ 
- 
-การห้ามอิริยาบถนอนเสียแล้วอยู่ด้วยอิริยาบถนั่งเป็นปกติของภิกษุนี้ ​ เหตุนั้นภิกษุนี้ ​ ชื่อว่า ​ เนสัชชิโก ​ แปลว่า ​ ผู้มีอันอยู่ด้วยอิริยาบถนั่งเป็นปกติ, ​ องค์แห่งภิกษุผู้มีอันอยู่ด้วยอิริยาบถนั่งเป็นปกตินั้น ​ ชื่อว่า ​ เนสัชชิกังคะ 
- 
-===อรรถทั่วไปของธุดงค์=== 
- 
-ก็แหละ ​ ธุดงค์ทั้งหมดนั้นนั่นเทียวเป็น ​ องค์ ​ แห่งภิกษุผู้ซึ่งได้ชื่อว่า ​ ธุตะ ​ เพราะเป็นผู้มีกิเลส ​ (คือตัณหาและอุปาทาน) ​ อันกำจัดแล้ว ​ ด้วยเจตนาเป็นเครื่องสมาทานนั้นๆ ​ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ​ ธุตังคะ 
- 
-อีกอย่างหนึ่ง ​ ญาณอันได้โวหารว่า ​ ธุตะ ​ เพราะเป็นเครื่องกำจัดกิเลส ​ เป็น ​ เหตุ ​ แห่งการสมาทานเหล่านั้น ​ ฉะนั้น ​ การสมาทานเหล่านั้น ​ จึงชื่อว่า ​ ธุตังคะ 
- 
-อีกอย่างหนึ่ง ​ การสมาทานเหล่านั้น ​ ชื่อว่า ​ ธุตะ ​ เพราะเป็นเครื่องกำจัดซึ่งธรรม ​ อันเป็นข้าศึกด้วย ​ เป็น ​ เหตุ ​ แห่งสัมมาปฏิบัติด้วย ​ เพราะฉะนั้น ​ การสมาทานเหล่านั้น ​ จึงชื่อว่า ​ ธุตังคะ 
- 
-นักศึกษาพึงทราบการวินิจฉัยในธุดงค์ ​ 13  ประการ ​ นั้น ​ โดยอรรถวิเคราะห์เป็นประการแรก ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 86)''</​fs></​sub>​ 
- 
-==วินิจฉัยลักษณะเป็นต้น== 
- 
-ก็แหละ ธุดงค์หมดทั้ง 13 ประการนั่นแล มีเจตนาเครื่องสมาทานเป็น ลักษณะ ข้อนี้สมดังที่ท่านอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ว่า ผู้ที่สมาทานได้แก่บุคคล เครื่องสมาทานได้แก่ ธรรม คือจิตและเจตสิก เจตนาเป็นเครื่องสมาทานอันใด อันนั้นเป็น ตัวธุดงค์ สิ่งที่ถูกห้าม ได้แก่วัตถุ และธุดงค์ทั้งหมดนั่นแล มีการกำจัดความละโมบเป็น รส มีการปราศจากความละโมบเป็น อาการปรากฏ มีอริยธรรมเช่นความเป็นผู้มักน้อยเป็นต้น เป็น ปทัฏฐาน คือ เป็นเหตุใกล้ 
- 
-นักศึกษาพึงทราบการวินิจฉัยในธุดงค์ 13 ประการนี้ โดยลักษณะเป็นต้น เพียงเท่านี้ 
- 
-==วินิจฉัยการสมาทานเป็นต้น== 
- 
-ก็แหละ ในอาการ 5 อย่างมีโดยการสมาทานและกรรมวิธีเป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้- 
- 
-ธุดงค์ ​ 13  ประการนั่นแล ​ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์อยู่ ​ ก็พึงสมาทานเอาในสำนักของพระผู้มีพระภาคนั่นเทียว,​ เมื่อพระองค์เสด็จปรินิพานแล้ว ​ พึงสมาทานเอาในสำนักของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ,  เมื่อพระเถระชั้นผู้ใหญ่ไม่อยู่แล้ว ​ พึงสมาทานเอาในสำนักของพระอรหันตขีณาสพ, ​ เมื่อพระอรหันตขีณาสพไม่มีอยู่แล้ว ​ พึงสมาทานเอาในสำนักของพระอนาคามี, ​ เมื่อพระอนาคามีไม่อยู่แล้ว ​ พึงสมาทานเอาในสำนักของพระสกทาคามี,​ เมื่อพระสกทาคามีไม่อยู่แล้ว ​ พึงสมาทานเอาในสำนักของพระโสดาบัน, ​ เมื่อพระโสดาบันไม่อยู่แล้ว ​ พึงสมาทานในสำนักของท่านผู้ทรงจำปิฎก 3, เมื่อท่านผู้ทรงจำปิฎก 3 ไม่อยู่แล้ว ​ พึงสมาทานเอาในสำนักของท่านผู้ทรงจำปิฎก 2, เมื่อท่านผู้ทรงจำปิฎก 2 ไม่มีอยู่แล้ว ​ พึงสมาทานเอาในสำนักของท่านผู้ทรงจำปิฎก 1,  เมื่อท่านผู้ทรงจำปิฎก 1  ไม่มีอยู่แล้ว ​ พึงสมาทานเอาในสำนักของท่านผู้ทรงจำสังคีติอันหนึ่ง*, ​ เมื่อท่านผู้ทรงจำสังคีติอันหนึ่งไม่มีอยู่แล้ว ​ พึงสมาทานเอาในสำนักของท่านอรรถกถาจารย์, ​ เมื่อท่านอรรถกถจารย์ไม่มีอยู่แล้ว ​ พึงสมาทานเอาในสำนักของท่านของท่านผู้ทรงธุดงค์, ​ แม้เมื่อท่านผู้ทรง 
- 
-'''''​(* คำว่า ผู้ทรงจำสังคีติอันหนึ่ง หมายเอาผู้ทรงจำนิกายอันหนึ่ง ในนิกายทั้ง 5 มีทีฆนิกายเป็นต้น)'''''​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 87)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ธุดงค์ก็ไม่มีอยู่แล้ว ​ ก็จงปัดกวาดลานพระเจดีย์ให้สะอาดแล้วนั่งยอง ๆ  ทำเป็นเหมือนกล่าวสมาทานเอาอยู่ในสำนักของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเถิด 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ แม้จะสมาทานเอาด้วยตนเองก็ใช้ได้ในข้อนี้ ​ บรรดาพระเถระสองพี่น้องที่วัดเจติยบรรพต ​ พึงยกเอาเรื่องของพระเถระผู้พี่มาเป็นตัวอย่าง ​ เพราะท่านเป็นผู้มีความมักน้อยในธุดงค์ 
- 
-ที่วินิจฉัยมาแล้วนี้ ​  ​เป็นสาธารณกถาทั่วไปแก่ธุดงค์ทั้งปวง ​ ทีนี้จักพรรณนาถึงการสมาทาน ,  กรรมวิธี , ประเภท , ความแตก ​ และอานิสงส์แห่งธุดงค์แต่ละประการ ๆ ต่อไป 
- 
-==วินิจฉัย 5 ข้อของแต่ละธุดงค์== 
- 
-===1. ปังสุกูลิกังคกถา=== 
- 
-จะพรรณนาปังสุกูลิกังคธุดงค์ ​   เป็นประการแรก ​   ดังนี้ - 
- 
-'''​การสมาทาน'''​ 
- 
-ในคำสมาทาน ​ 2  คำนี้ ​ คือ ​ คหปติทานจีวรํ ​ ปฎิกฺขิปามิ ​ ข้าเจ้าขอปฎิเสธผ้าจีวรที่คหบดีถวาย ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง ​  ​ปํสุกูลิกงฺคํ ​ สมาทิยามิ ​  ​ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาองค์แห่งภิกษุผู้มีอันทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลเป็นปกติ ​  ​ดังนี้อย่างหนึ่ง ​  ​บังสุกูลิกังคธุดงค์ย่อมเป็นอันโยคีบุคคลสมาทานเอาแล้วด้วยคำใดคำหนึ่ง 
- 
-ว่าด้วยการสมาทานอันเป็นประการแรกในบังสุกูลิกังคธุดงค์ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​กรรมวิธี'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อันโยคีบุคคลนั้น ​ เมื่อได้สมาทานเอาธุดงค์อย่างนี้แล้ว ​ พึงเอาผ้าชนิดใดชนิดหนึ่งในบรรดาผ้า 23 ชนิด ​ เหล่านี้คือ ผ้าที่ตกอยู่ในป่าช้า,​ ผ้าที่ตกอยู่ในตลาด,​ ผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามถนน,​ ผ้าที่เขาทิ้งไว้กองขยะมูลฝอย, ​ ผ้าเช็ดครรภ์, ​ ผ้าที่เขาใช้อาบน้ำมนต์, ​ ผ้าที่เขาทิ้งไว้ที่ท่า, ​ ผ้าที่คนเขาไปป่าช้าแล้วกลับมาทิ้งไว้, ​ ผ้าที่ถูกไฟไหม้, ​ ผ้าที่โคขย้ำ, ​ ผ้าที่ปลวกกัด, ​ ผ้าที่หนูกัด, ​ ผ้าที่ขาดกลาง, ​ ผ้าที่ขาดชาย, ​ ผ้าที่เขาเอามาทำธง, ​ ผ้าที่เขาวงล้อมจอมปลวก, ​ ผ้าของสมณะ, ​ ผ้าที่เขาทิ้งไว้ ณ ที่อภิเษก, ​ ผ้าที่เกิดด้วยฤทธิ์, ​ ผ้าที่ตกอยู่ใน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 88)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ทาง, ​ ผ้าที่ลมพัดไป, ​ ผ้าที่เทวดาถวาย ​  ​และผ้าที่คลื่นซัดขึ้นบก ​  ​ครั้นแล้วพึงฉีกส่วนทุรพลใช้ไม่ได้ทิ้งเสีย ​   เอาส่วนที่แน่นหนาถาวรอยู่มาซักให้สะอาดแล้วทำเป็นจีวร ​  ​เปลื้องผ้าคหบดีจีวรชุดเก่าออกแล้ว ​  ​พึงใช้ผ้าชุดบังสุกุลจีวรแทนต่อไปเถิด 
- 
-'''​อรรถาธิบายชนิดของผ้า'''​ 
- 
-ในบรรดาผ้าทั้ง ​ 23  ชนิดนั้น ​ คำว่า ​ โสสานิกะ ​ ได้แก่ผ้าที่ตกอยู่ในป่าช้า ​ คำว่า ​ ปาปะณิกะ ​ ได้แก่ผ้าที่ตกอยู่ที่ประตู ​ คำว่า ​ รถิยโจฬะ ​ ได้แก่ผ้าที่ผู้ต้องการบุญทั้งหลายทิ้งไว้ที่ถนนรถ ​ โดยทางช่องหน้าต่าง ​ คำว่า ​ สังการโจฬะ ​ ได้แก่ผ้าที่คนเขาทิ้งไว้ ณ ที่เทขยะมูลฝอย ​ คำว่า ​ โสตถิยะ ​ ได้แก่ผ้าที่เขาใช้เช็ดมลทินแห่งครรภ์แล้วทิ้งไว้ ​ ได้ยินมาว่า ​ มารดาของท่านติสสะอำมาตย์ ​ ได้ให้คนเอาผ้ามีราคาเรือนร้อยมาเช็ดมลทินแห่งครรภ์ ​ แล้วไห้เอาไปทิ้งไว้ ณ ถนนชื่อตาลเวฬิมัคคา ​ ด้วยมีความประสงค์ว่า ​ ภิกษุผู้ทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลเป็นปกติทั้งหลายจักได้เอาไปทำจีวร ​ ภิกษุทั้หลายก็พากันเก็บเอาเพื่อปะผ้าตรงที่ชำรุดนั่นเทียว ​ คำว่า ​  ​นหานโจฬะ ​  ​ได้แก่ผ้าซึ่งคนทั้งหลายอันพวกหมอผีคลุมให้รดน้ำมนต์เปียกทั่วทั้งตัวทิ้งไว้แล้วหลีกหนีไป ​ ด้วยถือว่าเป็นผ้ากาฬกัณณี 
- 
-คำว่า ​ ติตถโจฬะ ​ ได้แก่ผ้าเก่า ๆ ที่เขาทิ้งไว้ที่ท่าอาบน้ำ ​ คำว่า ​ คตปัจจาคตะ ​ ได้แก่ผ้าที่พวกมนุษย์ใช้ไปป่าช้า ​ ครั้นกลับมาอาบน้ำแล้วทิ้งไว้ ​ คำว่า ​  ​อคคิฑัฑฒะ ​  ​ได้แก่ ผ้าที่ถูกไฟไหม้ไปแถบหนึ่ง ​ จริงอยู่ ​ ผ้าที่ถูกไฟไหม้แล้วเช่นนั้น ​ พวกมนุษย์ย่อมทิ้งเสีย ​ ตั้งแต่คำว่า ​  ​โคขายิตะ ​  ​เป็นต้นไป ​ ความปรากฎชัดอยู่แล้ว ​ จริงอยู่ ​ ผ้าที่โคขย้ำแล้วเป็นต้นนั้น มนุษย์ทั้งหลายย่อมทิ้งเสียเหมือนกัน ​ คำว่า ​ ธชาหฎะ ​  ​ได้แก่ผ้าที่คนเขาเมื่อจะขึ้นเรือนเอามาผูกทำเป็นธงขึ้นไว้ ​  ​ในเมื่อล่วงเลยทัศนวิสัยของคนเหล่านั้นไปแล้ว ​  ​จะเอาธงนั้นมาก็สมควรแม้ผ้าที่เขาเอามาผูกทำเป็นธงปักไว้ในยุทธภูมิ ​ ในเมื่อกองทัพทั้งสองฝ่ายผ่านพ้นไปแล้ว ​ จะเก็บเอามาก็สมควร 
- 
-คำว่า ​  ​ถูปจีวระ ​  ​ได้แก่ผ้าที่เขาใช้ทำพลีกรรมเอาไปวงล้อมจอมปลวกไว้ ​ คำว่า ​ สมณจีวระ ​ ได้แก่ผ้าอันเป็นสมบัติของภิกษุ ​ คำว่า ​ อาภิเสกิกะ ​ ได้แก่ผ้าที่เขาทิ้งไว้ ​ ณ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 89)''</​fs></​sub>​ 
- 
-สถานที่อภิเษกของพระราชา ​ คำว่า ​ อิทธิมยะ ​ ได้แก่ผ้าของเอหิภิกขุ ​ คำว่า ​ ปันถิกะ ​ ได้แก่ ​ ผ้าที่ตกอยู่ในระหว่างทาง ​ ก็แหละ ​ ผ้าใดที่พลัดตกไปด้วยความเผลอสติของพวกเจ้าของแล้ว ​ ผ้าเช่นนั้นต้องรอไปสักพักหนึ่งแล้วจึงค่อยเก็บ ​ คำว่า ​ วาตาหฏะ ​ ได้แก่ผ้าที่ลมพัดไปตกในไกลที่ ​ ก็แหละ ​ ผ้าเช่นนั้นเมื่อไม่เห็นเจ้าของจะเก็บเอาไปก็สมควร ​ คำว่า ​ เทวทัตติยะ ​ ได้แก่ผ้าที่เทวดาทั้งหลายถวาย ​ เหมือนอย่างถวายแก่พระอนุรุทธเถระ ​ คำว่า ​ สามุททิยะ ​ ได้แก่ผ้าที่คลื่นสมุทรทั้งหลายซัดขึ้นไว้บนบก 
- 
-ก็แหละ ​ ผ้าใดที่ทายกเขาถวายแก่สงฆ์ด้วยคำว่า ​  ​สํฆสฺส ​ เทม ​ ดังนี้ก็ดี ​ หรือผ้าที่ ​ ภิกษุทั้งหลายเที่ยวขอได้มาก็ดี ​ ผ้านั้นจัดเป็นผ้าบังสุกุลไม่ได้ ​ แม้ในประเภทผ้าที่ภิกษุด้วยกันถวาย ​ ผ้าใดที่ภิกษุถวายโดยให้รับเอาด้วยส่วนแห่งพรรษาก็ดี ​ หรือที่เป็นผ้าเกิดขึ้นประจำ ​ เสนาสนะก็ดี ​ ผ้านั้นก็จัดเป็นผ้าบังสุกุลไม่ได้เช่นกัน ​ เฉพาะผ้าที่ภิกษุถวาย ​ โดยไม่ให้รับเอาด้วยส่วนแห่งพรรษาเท่านั้น ​ จึงนับเป็นผ้าบังสุกุล ​ 
- 
-แม้ในบรรดาผ้าที่ภิกษุถวายนั้น ​ ผ้าใดที่ทายกทอดวางไว้ ​ ณ  ที่ใกล้เท้าของภิกษุ ​ แล้วภิกษุนั้นจึงเอามาถวายโดยวางลงในมือของภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุล ​ ผ้านั้นจัดเป็นผ้าบริสุทธิ์ฝ่ายเดียว ​ ผ้าใดที่พวกทายกถวายโดยวางไว้ในมือของภิกษุ ​ แล้วภิกษุนั้นจึงเอาไปทอดวางไว้ ​ ณ  ที่ใกล้เท้าของภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุล ​ แม้ผ้านั้นก็จัดเป็นผ้าบริสุทธิ์ฝ่ายเดียว ​ ผ้าใดที่พวกทายกทอดวางไว้ ​ ณ  ที่ใกล้เท้าของภิกษุด้วย แม้ภิกษุนั้นก็เอาไปถวายโดยทอดวางไว้ ​ ณ  ที่ใกล้เท้าของภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเหมือนอย่างนั้นด้วย ​ ผ้านั้นจัดเป็นผ้าบริสุทธิ์สองฝ่าย ​ ผ้าใดที่ภิกษุได้มาโดยทายกวางไว้ในมือ ​ แล้วภิกษุนั้นก็วางไว้ในมือของภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุล ​ อีกทอดหนึ่ง ​ ผ้านั้นไม่จัดเป็นผ้าอย่างอุกฤษฏ์ ​ 
- 
-อันภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลจีวร ​ ครั้นทราบความแตกต่างกันของผ้าบังสุกุลนี้ฉะนี้แล้วพึงใช้สอยจีวรตามควรนั่นเถิด 
- 
-ว่าด้วยกรรมวิธีในปังสุกูลิกังคธุดงค์ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 90)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ประเภท'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ประเภทแห่งปังสุกูลิกังคธุดงค์นี้ดังนี้ ​ ภิกษุผู้ทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลเป็นปกติ ​ มี 3 ประเภท ​ คือ ​ ชั้นอุกฤษฏ์ 1  ชั้นกลาง 1  ชั้นต่ำ 1  ในปังสุกูลิกภิกษุ 3  ประเภทนั้น ​ ปังสุกูลิกภิกษุผู้รับเอาเฉพาะผ้าที่ตกอยู่ในป่าช้าเท่านั้น ​ จัดเป็นชั้นอุกฤษฎ์ ​ ปังสุกูลิกภิกษุผู้รับเอาผ้าที่ทายกถวายทอดไว้ด้วยความประสงค์ว่าบรรพชิตทั้งหลายจักเก็บเอาไปดังนี้ ​ จัดเป็นชั้นกลาง ​ ปังสุกูลิกภิกษุผู้รับเอาผ้าที่ทายกถวายโดยวางทอดไว้ ณ ที่ใกล้เท้า ​  ​จัดเป็นชั้นต่ำฉะนี้ 
- 
-ว่าด้วยประเภทในปังสุกูลิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​ความแตก'''​ 
- 
-ในบรรดาปังสุกูลิกภิกษุ ​ 3  ประเภทนั้น ​  ​ในขณะที่ปังสุกูลิกภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยินดีต่อผ้าที่พวกคฤหัสถ์ถวายตามความพอใจตามความเห็นของเขานั่นเทียว ​  ​ธุดงค์ย่อมแตกคือ ​  ​หายจากสภาพธุดงค์ทันที 
- 
-ว่าด้วยความแตกในปังสุกูลิกังคธุดงค์ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​อานิสงส์'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อานิสงส์ในธุดงค์นี้มีดังต่อไปนี้ ​  ​คือ-โดยที่มีพระพุทธพจน์อยู่ว่า ​  ​การบวชอาศัยบังสุกุลจีวร ​  ​ดังนี้ ​ ภิกษุผู้ทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลนั้น ​  ​ชื่อว่า ​  ​เป็นผู้มีความประพฤติปฎิบัติสมควรแก่ปัจจัยอันเป็นเครื่องอาศัย, ​ เป็นการดำรงตนไว้ในอริยวงศ์ประการที่หนึ่ง ( คือความสันโดษในจีวร ),   ​ไม่เป็นทุกข์ในการรักษา ,  ไม่มีพฤติการณ์เป็นที่เกาะอาศัยของผู้อื่น, ​ ไม่หวาดกลัวด้วยโจรภัย, ​ ไม่เป็นการบริโภคด้วยตัณหา, ​  ​เป็นผู้มีปัจจัยเหมือนดั่งพระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญไว้ว่า ​  ​ปัจจัยเหล่านั้น ​  ​เป็นสิ่งเล็กน้อยด้วย ​  ​หาได้ง่ายด้วย ​  ​หาโทษมิได้ด้วย ​  ​ดังนี้, ​ เป็นผู้ที่น่าเลื่อมใส, ​ เป็นการสำเร็จผลแห่งคุณมีความเป็นผู้มักน้อยเป็นต้นให้เจริญ ​  ​เป็นการเพิ่มพูนสัมมาปฎิบัติยิ่งขึ้น, ​  ​เป็นการวางไว้ซึ่งทิฎฐานุคติแก่มวลชนในภายหลัง ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 91)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ภิกษุผู้สำรวม ​  ​ทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุล ​  ​เพื่อพิฆาตพญามารและเสนามาร ​ ย่อมสง่างาม ​ เหมือนดังกษัตริย์ผู้ทรงสวมสอดเกราะแล้ว ​  ​ย่อมทรงสง่างามในยุทธภูมิ ​  ​ฉะนั้น 
- 
-สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นครูแห่งโลก ​  ​ทรงเลิกใช้ผ้าอย่างดีมีผ้าที่ทำในแค้วนกาสีเป็นต้น ​  ​แล้วมาทรงใช้ผ้าบังสุกุลจีวรอันใดใครเล่าที่จะไม่ใช้ผ้าบังสุกุลจีวรอันนั้น 
- 
-เพราะเหตุฉะนี้แหละ ​  ​อันภิกษุผู้เห็นภัยในสังสารวัฎ ​  ​เมื่อระลึกถึงคำปฎิญญาณของตน ​ ( ที่ให้ไว้แก่อุปัชฌาย์ในเวลาอุปสมบท )   ​พึงเป็นผู้ยินดีในการใช้ผ้าบังสุกุลจีวร ​  ​อันเป็นเครื่องส่งเสริมการบำเพ็ญความเพียรนั่นเถิด 
- 
-ว่าด้วยอานิสงส์ในปังสุกูลิกังคธุดงค์นี้ ​  ​เพียงเท่านี้ 
- 
-พรรณนาการสมาทาน, ​  ​กรรมวิธี, ​  ​ประเภท, ​  ​ความแตก ​  ​และอานิสงส์ 
- 
-ในปังสุกูลิกังคธุดงค์ ​  ​ประการแรกนี้ ​  ​ยุติลงเพียงเท่านี้ 
- 
-===2.  เตจีวริกังคกถา=== 
- 
-ลำดับนี้จักพรรณนาเตจีวริกังคะ ​ คือ ​ องค์แห่งภิกษุผู้ทรงไว้ซึ่งผ้า 3  ผืนเป็นปกติ ​ ซึ่งเป็นอันดับรองต่อมาจากปังสุกูลิกังคกถานั้นต่อไป 
- 
-'''​การสมาทาน'''​ 
- 
-จากคำสมาทาน ​ 2 คำนี้ ​ คือ ​ จตุตฺถกจีวรํ ​ ปฏิกฺขิปามิ ​ ข้าพเจ้าขอปฏิเสธผ้า ​ ผืนที่ 4  ดังนี้อย่างหนึ่ง ​ เตจีวริกงฺคํ ​ สมาทิยามิ ​ ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาองค์แห่งภิกษุผู้ทรงไว้ซึ่งผ้า 3  ผืนเป็นปกติ ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง ​ ด้วยคำใดคำหนึ่ง ​ ย่อมเป็นอันโยคีบุคคลสมาทานเอาแล้วซึ่งเตจีวริกังคธุดงค์ 
- 
-ว่าด้วยการสมาทานในเตจีวริกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 92)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​กรรมวิธี'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อันภิกษุผู้มีอันทรงไว้ซึ่งผ้า 3  ผืนเป็นปกตินั้น ​ ครั้นได้ผ้าสำหรับทำจีวรมาแล้ว ​ เมื่อยังไม่สามารถที่จะทำจีวรเพราะไม่สบายอยู่เพียงใด ​ หรือยังไม่ได้ผู้จัดการเพียงใด ​ หรือบรรเทาเครื่องมือทั้งหลายเช่นเข็มเป็นต้น ​ อะไร ๆ  ยังไม่สมบูรณ์เพียงใด ​ ก็พึงเก็บผ้าไว้ได้ชั่วระยะกาลเพียงนั้น ​ ย่อมไม่เป็นโทษเพราะการสะสมเป็นเหตุ ​ แต่นับแต่เวลาที่ได้ย้อมผ้าเสร็จแล้วจะเก็บไว้ต่อไปไม่สมควร ​   (ถ้าขืนเก็บไว้) ​ ก็จะกลายเป็นโจรธุดงค์ไปเท่านั้น 
- 
-ว่าด้วยกรรมวิธีในเตจีวริกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​ประเภท'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ โดยประเภท ​ แม้ภิกษุผู้ทรงไว้ซึ่งผ้า ​ 3  ผืน ​ เป็นปกตินี้ก็มี 3  ประเภทเหมือนกัน ​ ใน 3  ประเภทนั้น ​ ภิกษุผู้เตจีวริกชั้นอุกฤษฏ์ ​  ​ต้องย้อมผ้าอันตรวาสกหรือผ้าอุตตราสงค์ก่อน ​ ครั้นแล้วจึงนุ่งผ้าผืนที่ย้อมแล้วนั้น ​ แล้วย้อมผืนอีกนอกนี้ต่อไป ​ พึงห่มผ้าที่ย้อมแล้วนั้นจึงย้อมผ้าสังฆาฏิต่อไป ​ แต่ที่จะใช้ผ้าสังฆาฏินุ่งนั้นย่อมไม่สมควร ​ ที่กล่าวมานี้เป็นธรรมเนียมของภิกษุนั้น ​ ในเสนาสนะภายในบ้าน ​ ส่วนในเสนาสนะป่า ​ จะซักย้อมพร้อมกัน 2 ผืนก็สมควร ​ แต่จะต้องนั่งอยู่ ​ ณ  ที่ใกล้ ๆ กับผ้า ​ เพื่อว่าพอเห็นใคร ๆ  เข้าก็จะสามารถที่จะดึงมาปกปิดทันท่วงที 
- 
-ส่วนสำหรับภิกษุผู้เตจีวริกชั้นกลาง ​ จะนุ่งหรือจะห่มผ้าที่ใช้นุ่งห่ม ​ ซึ่งมีอยู่ประจำในโรงย้อมผ้า ​ แล้วทำการย้อมผ้า ​ ก็สมควร 
- 
-สำหรับภิกษุผู้เตจีวริกชั้นต่ำ ​ จะขอยืมผ้าของภิกษุที่เข้ากันได้มานุ่งหรือห่มแล้ว ​ ทำการย้อมผ้าก็สมควร ​ แต่ที่จะรักษาไว้เป็นนิจนั้นไม่สมควร ​ แม้ผ้าของภิกษุผู้เข้ากันได้ ​ ที่จะขอยืมมาใช้ ​ ก็เป็นบางครั้งบางคราว 
- 
-ส่วนผ้าที่เพิ่มขึ้นเป็นผืนที่ 4  สำหรับภิกษุผู้เตจีวริกเฉพาะผ้าอังสะเท่านั้น ​ จึงจะสมควร ​ ถึงกระนั้นผ้านั้นก็กว้างเพียง 1  คืบ ​ ยาวเพียง 3  ศอกเท่านั้น ​ จึงจะใช้ได้ 
- 
-ว่าด้วยประเภทในเตจีวริกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 93)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ความแตก'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ในที่ภิกษุผู้เตจีวริกทั้ง 3  จำพวกนั้น ​ ยินดีต่อผ้าผืนที่ 4  นั่นเทียว ​ ธุดงค์ย่อมแตก ​ คือหายจากสภาพธุดงค์ 
- 
-ว่าด้วยความแตกในเตจีวริกังคธุดงค์ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​อานิสงส์'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อานิสงส์ในธุดงค์นี้มีดังต่อไปนี้ ​ คือ -  ภิกษุผู้ทรงไว้ซึ่งผ้า 3  ผืน ​ ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าสันโดษยินดีด้วยผ้าเครื่องรักษาร่างกาย ​ เพราะเหตุนั้น ​ การถือเอาผ้าไปของท่านมีอาการบินไปเหมือนการบินของนก, ​ ความเป็นผู้มีการงานน้อย, ​ งดเว้นจากการสะสมผ้า, ​ ความเป็นผู้มีพฤติการณ์เบา ​ (ไม่หนักด้วยภาระ), ​ เป็นอันละเสียได้ซึ่งความละโมบในอติเรกจีวร ​ (ผ้าที่เหลือเฟือ), ​ ความเป็นผู้มีความประพฤติขัดเกลากิเลส ​ เพราะเป็นผู้กระทำพอดีในไตรจีวรอันสมควร, ​ เป็นอันสำเร็จผลแห่งคุณมีความเป็นผู้มักน้อยเป็นต้น, ​ คุณทั้งหลายมี ​ อาทิดังพรรณนามานี้ ​ ย่อมสำเร็จบริบุรณ์ ​ ฉะนี้แล 
- 
-โยคีบุคคลผู้เป็นบัณฑิต ​ ละความโลภในผ้าอันเหลือเฟือ ​ งดเว้นการสะสม ​ ทรงไว้เพียงไตรจีวร ​ ย่อมรู้รสแห่งความสุข ​ อันเกิดแต่ความสันโดษ 
- 
-โยคีบุคคลผู้ประเสริฐ ​ มีไว้เฉพาะไตรจีวรประสงค์ที่จะจาริกไปอย่างสะดวกสบาย ​ เหมือนอย่างนกมีแต่ปีกบินไป ​ ก็พึงทำความยินดีพอใจในการกำจัดจีวรเถิด 
- 
-ว่าด้วยอานิสงส์ในเตจีวริกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-พรรณนาการสมาทาน, ​ กรรมวิธี, ​ ประเภท, ​ ความแตก, ​ และอานิสงส์ 
- 
-ในจีวริกังคธุดงค์นี้ ​ ยุติลงเพียงเท่านี้ 
- 
-===3.ปิณฑปาติกังคกถา=== 
- 
-'''​การสมาทาน'''​ 
- 
-ปิณฑปาติกังคธุดงค์ก็เช่นเดียวกัน ​ จากคำสมาทาน ​ 2  คำนี้ ​ คือ ​ อติเรกลาภํ ​ ปฏิกฺขิปามิ ​ ข้าพเจ้าขอปฏิเสธลาภอันฟุ่มเฟือย ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง ​ ปิณฺฑปาติกงฺคํ ​ สมาทิยามิ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 94)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาซึ่งองค์แห่งภิกษุผู้มีอันเที่ยวบิณฑบาตเป็นธรรมเนียม ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง ​ ย่อมเป็นอันโยคีบุคคลสมาทานเอาแล้วด้วยคำสมาทานอันใดอันหนึ่ง 
- 
-ว่าด้วยการสมาทานในปิณฑปาติกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​กรรมวิธี'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อันภิกษุผู้มีอันเที่ยวบิณฑบาตเป็นธรรมเนียมนั้น ​ จะยินกีภัตร ​ 14  อย่างเหล่านี้ไม่ได้ ​ คือ ​ สังฆภัตร ​ ภัตรที่เขาใช้ถวายสงฆ์ 1  อุทเทสภัตร ​ ภัตรที่เขาถวายเจาะตัว 1  นิมันตนภัตร ​ ภัตรที่เขาถวายด้วยการนิมนต์ ​ 1  สลากภัตร ​ ภัตรที่เขาถวายด้วยสลาก 1 ปักขิกภัตร ​ ภัตรที่เขาถวายประจำปักษ์ ​ 1  อุโปสถิกภัตร ​ ภัตรที่เขาถวายประจำวันอุโบสถ 1  ปาฏิกทิกภัตร ​ ภัตรที่เขาถวายในวันขึ้นค่ำหนึ่งหรือแรมค่ำหนึ่ง ​ 1  อาคันตุกภัตร ​ ภัตรที่เขาถวายอาค้นตุกะ 1  คมิกภัตร ​ ภัตรที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้เตรียมจะเดินทาง 1  คิลานภัตร ​ ภัตรที่เขาถวายแก่ภิกษุอาพาธ 1  คิลานุปัฏฐากภัตร ​ ภัตรที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้อุปัฏฐากภิกษุอาพาธ 1  วิหารภัตร ​ ภัตรที่เขาหุงต้มขึ้นในวัด 1  ธุรภัตร ​ ภัตรที่เขาถวาย ​ ณ  ที่บ้านใกล้เรือนเคียง 1  วารกภัตร ​ ภัตรที่เขาผลัดกันถวายโดยวาระ 1 
- 
-แต่ถ้าภัตรเหล่านี้เขาถวายโดยมิได้ระบุชื่อโดยมีนัยอาทิว่า ​ "​ขอนิมนต์ท่านทั้งหลายรับสังฆภัตร" ​ แต่ระบุเพียงว่า ​ "​ขอสงฆ์จงรับภิกษา ​ ณ  ที่บ้านของพวกข้าพเจ้า ​ แม้ท่านทั้งหลายก็ขอนิมนต์ไปรับภิกษาด้วย" ​ ดังนี้ ​ จะยินดีภัตรเหล่านั้นก็สมควรอยู่ ​ สลากภัตรที่ไม่มีอามิสจากสงฆ์ก็ดี ​ ภัตรที่อุบาสกอุบาสิกาหุงต้มจัดทำขึ้นในวัดก็ดี ​ สมควรแก่ภิกษุผู้มีอันเที่ยวบิณฑบาตเป็นธรรมเนียม 
- 
-ว่าด้วยกรรมวิธีในปิณฑปาติกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​ประเภท'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ โดยประเภท ​ แม้ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นธรรมเนียมนี้ ​ ก็มี 3  ประเภทเหมือนกัน ​ ใน 3  ประเภทนั้น ​ บิณฑปาติกภิกษุชั้นอุกฤษฏ์จะรับภิกษาที่เขานำมาถวายข้างหน้าบ้างข้างหลังบ้างก็ได้ ​ แม้เมื่อพวกทายกซึ่งอยู่ประตูบ้านที่ตนไปถึงขอรับบาตรจะให้บาตรก็ได้แม้จะรับภิกษาที่พวกทายกกลับไปนำมาถวายก็ได้ ​ แต่ในวันนี้ ​ ครั้นนั่งเสียแล้ว ​ ย่อมไม่รับภิกษา ​ (อื่น) 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 95)''</​fs></​sub>​ 
- 
-บิณฑปาติกภิกษุชั้นกลาง ​ ในวันนั้น ​ แม้ถึงจะนั่งเสียแล้วก็รับภิกษาอื่นอีกได้ ​ แต่จะรับนิมนต์รับภิกษาวันพรุ่งนี้ไม่ได้ 
- 
-บิณฑปาติกภิกษุชั้นต่ำ ​ จะรับนิมนต์รับภิกษาแม้เพื่อวันพรุ่งนี้ก็ได้ ​ แม้เพื่อวันต่อไปอีกก็ได้ 
- 
-แต่อย่างไรก็ดี ​ บิณฑปาติกภิกษุ 2 จำพวกหลังนั้น ​ ย่อมไม่ได้รับความสะดวกสบายในอันอยู่อย่างเสรี ​ คงได้แต่เฉพาะบิณฑปาติกภิกษุชั้นอุกฤษฏ์เท่านั้น 
- 
-มีเรื่องสาทกอยู่ว่า ​ ได้มีธรรมเทศนาเรื่องอริยวังสสูตรขึ้นในบ้าน ๆ หนึ่ง ​ ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นธรรมเนียมชั้นกลางและชั้นต่ำนอกนี้ว่า ​ "​อาวุโสทั้งหลาย ​ เรามาไปฟังธรรมกันเถิด" ​ ในภิกษุ 2  รูปนั้น รูปหนึ่งพูดขอตัวว่า ​ "​ท่านครับ ​ กระผมถูกโยมคนหนึ่งนิมนต์ให้ไปรับบิณฑบาต" ​ อีกรูปหนึ่งก็พูดขอตัวว่า ​ "​ท่านครับ ​ กระผมรับนิมนต์เพื่อภิกษาไว้กับโยมคนหนึ่งในวันพรุ่งนี้" ​ ด้วยประการดังนี้ ​ จึงเป็นอันว่า ​ ภิกษุ 2  รูปผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นธรรมเนียมชั้นกลางและชั้นต่ำนั้นเป็นผู้พลาดจากธรรม ​ ส่วนภิกษุชั้นอุกฤษฏ์นอกนี้บิณฑบาตแต่เช้ามืดแล้วก็ไป ​ จึงได้เสวยรสพระธรรมสมประสงค์ 
- 
-ว่าด้วยประเภทในปิณฑปาติกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​ความแตก'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ในขณะที่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นธรรมเนียมทั้ง 3  ประเภทนี้ ​ ยินดีต่อลาภอันเหลือเฟือมีสังฆภัตรเป็นต้นนั่นแล ​ ธุดงค์ย่อมแตก ​ คือหายจากสภาพธุดงค์ 
- 
-ว่าด้วยความแตกในปิณฑปาติกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​อานิสงส์'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อานิสงส์ในธุดงค์นี้มีดังนี้ ​ คือ -  โดยที่มีพระพุทธพจน์อยู่ว่า ​ การบวชอาศัยโภชนะคือคำข้าวอันจะพึงได้ด้วยกำลังปลีแข้ง ​ ดังนี้ ​ ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นธรรมเนียมนั้น ​ เป็นผู้มีข้อปฏิบัติสมควรกับปัจจัยอันเป็นเครื่องอาศัย, ​ เป็นการดำรงตนไว้ในอริยวงศ์ข้อที่ 2  (ความสันโดษในบิณฑบาต), ​ เป็นผู้ไม่มีพฤติการณ์เป็นที่เกาะอาศัยของคนอื่น, ​ เป็นผู้มีปัจจัยเครื่องอาศัยตรงตามที่พระผู้มีพระภาคทรงสรรญเสริญไว้ว่า ​  ​ปัจจัยเหล่านั้นเป็นสิ่งเล็กน้อยด้วย ​  ​เป็นสิ่งที่หาได้ง่ายด้วย,​ เป็นสิ่งที่หาโทษมิได้ด้วย,​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 96)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เป็นผู้ย่ำยีเสียได้ซึ่งความเกียจคร้าน, ​  ​เป็นผู้มีอาชีพอันบริสุทธิ์, ​  ​เป็นการทำข้อปฎิบัติคือเสขิยวัตรให้บริบูรณ์, ​  ​ไม่ใช่ผู้ที่ผู้อื่นเลี้ยงดู, ​  ​เป็นการกระทำการอนุคราะห์แก่คนอื่น ​ ( ทั่วถึงกัน ),  เป็นการปิดกั้นความติดในรส, ​  ​ไม่ต้องอาบัติโดยคณโภชนสิกขาบท ​  ​ปรัมปรโภชนสิกขาบท ​  ​และจาริตตสิกขาบท, ​  ​มีความประพฤติอันสมควรแก่คุณมีความมักน้อยเป็นต้น, ​  ​เป็นการเพิ่มพูนสัมมาปฎิบัติให้เจริญยิ่งขึ้น, ​  ​เป็นการสงเคราะห์มวลชนในภายหลัง  ​ 
- 
-ภิกษุผู้สำรวม ​ ยินดีแต่ในคำข้าวที่หาได้ด้วยกำลังปลีแข้ง ​ ไม่มีชีวิตเกาะอาศัยคนอื่น ​ ละความละโมบในอาหารแล้ว ​ ย่อมเป็นผู้ไปได้ในทิศทั้ง 4  ​ 
- 
-ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นธรรมเนียมนั้น ​ ย่อมกำจัดปัดเป่าความเกียจคร้านเสียได้ ​ ชีวิตของท่านก็บริสุทธิ์ ​ เพราะเหตุฉะนั้นแล ​ ผู้มีปัญญาอันหลักแหลมจึงไม่ควรดูหมิ่นในการภิกษาจาร 
- 
-เป็นความจริง ​ แม้ทวยเทพทั้งหลาย ​ มีท้าวสักกะเป็นต้น ​ ย่อมกระหยิ่มอิ่มใจต่อภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นธรรมเนียม ​ เลี้ยงตนเองได้ ​ อันผู้อื่นไม่ต้องเลี้ยงดู ​ ผู้มีความมั่นคงเห็นปานดังนั้น ​ ถ้าหากว่าภิกษุนั้นไม่เป็นผู้มุ่งหวังลาภสักการะและความสรรเสริญ 
- 
-ว่าด้วยอานิสงส์ในปิณฑปาติกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-พรรณนาการสมาทาน, ​ กรรมวิธี, ​ ประเภท, ​ ความแตก ​ และอานิสงส์ 
- 
-ในปิณฑปาติกังคธุดงค์ ​ ยุติลงเพียงเท่านี้ 
- 
-===4. สปทานจาริกังคกถา=== 
- 
-'''​การสมาทาน'''​ 
- 
-แม้สปทานจาริกังคธุดงค์ก็เหมือนกัน ​ จากคำสมาทาน ​ 2  อย่างนี้คือ ​ โลลุปฺปจารํปฏิกฺขิปามิ ​ ข้าพเจ้าปฏิเสธการเที่ยวไปด้วยความละโมบ ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง ​ สปทานจาริกงฺคํ ​ สมาทิยามิ ​ ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาองค์แห่งภิกษุผู้มีอันเที่ยวไปไม่ขาดตอนเป็นปกติ ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง ​ ย่อมเป็นอันโยคีบุคคลสมาทานเอาแล้วด้วยความสมาทานอย่างใดอย่างหนึ่ง 
- 
-ว่าด้วยการสมาทานในสปทานจาริกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 97)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​กรรมวิธี'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อันภิกษุผู้เที่ยวไปไม่ขาดตอนเป็นปกตินั้น ​ ครั้นไปยืนอยู่ที่ประตูบ้าน ​ แล้วต้องกำหนดดูให้รู้ถึงความไม่มีอันตรายก่อน ​ ถนนหรือบ้านใดมีอันตราย ​ จะเที่ยวไปในถนนหรือบ้านอื่น ​  ​โดยข้ามถนนหรือบ้านที่มีอันตรายนั้นไปก็ได้ ​ เมื่อไม่ได้ภิกษาอะไร ๆ  ณ  ที่ประตูเรือนหรือถนนหรือบ้านใด ​ พึงทำความสำคัญว่าไม่ใช่บ้านแล้วผ่านเลยไป ​ เมื่อได้ภิกษาอะไร ๆ  ณ  ที่ใด ​ จะผ่านเลยที่นั่นไป ​ ย่อมไม่สมควร 
- 
-แหละอันภิกษุผู้สปาทานจาริกนี้ต้องเข้าไปบิณฑบาตแต่เช้า ๆ หน่อย ​ เพราะเมื่อเข้าไปแต่เช้า ๆ อย่างนี้ ​ จึงจักสามารถที่จะผ่านสถานที่อันไม่สะดวกแล้วเที่ยวไป ​ ณ  ที่อื่นได้ทันกาล 
- 
-ก็แหละ ​ ถ้าคนทั้งหลายให้ทานอยู่ในวัดของภิกษุผู้สปทานจาริกนั้น ​ หรือเขาเดินมาพบในระหว่างทาง ​ เขาจะรับเอาบาตรแล้วถวายบิณฑบาตก็สมควร ​ และแม้เมื่อภิกษุผู้สปทานจาริกนี้เดินทาง ​ จะพึงเดินเลยบ้านที่ตนไปถึงในเวลาแห่งภิกษาจารหาได้ไม่ ​ เมื่อไม่ได้ภิกษาในบ้านนั้น ​ หรือได้เพียงนิดหน่อย ​ ก็พึงเดินเที่ยวไปตามลำดับบ้านนั่นเถิด 
- 
-ว่าด้วยกรรมวิธีในสปทานจาริกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​ประเภท'''​ 
- 
-ว่าโดยประเภท ​ แม้ภิกษุผู้เที่ยวไปไม่ขาดตอนเป็นปกตินี้ ​ ก็มี 3  ประเภท ​ ใน ​ 3  ประเภทนั้น ​ สปทานจารกภิกษุชั้นอุกฤษฏ์ย่อมไม่รับภิกษาที่เขานำมาข้างหน้า ​ ย่อมไม่รับภิกษาที่เขาตามมาข้างหลัง ​ ย่อมไม่รับภิกษาแม้ที่เขากลับไปเอามาถวาย ​ แต่ยอมสละบาตรให้ที่ประตูบ้านซึ่งไปถึงแล้ว ​ ก็แหละ ​ ในธุดงค์นี้ใคร ๆ  ที่จะปฏิบัติเสมอเหมือนกับพระมหากัสสปเถระเป็นอันไม่มี ​ แม้สถานที่สละให้บาตรของท่านยังปรากฏอยู่นั่นเทียว 
- 
-สปทานจาริกภิกษุชั้นกลาง ​ ย่อมรับภิกษาที่เขานำมาข้างหน้าหรือข้างหลัง ​ แม้ภิกษาที่เขากลับไปเอามาก็รับ ​ ย่อมสละบาตรให้แม้ที่ประตูบ้านซึ่งตนเดินไปถึงแล้ว ​ ก็แต่ว่าไม่นั่งรอรับภิกษา ​ โดยนัยนี้ ​ เป็นอันว่าสปทานจาริกภิกษุชั้นกลางนั้น ​ ย่อมอนุโลมแก่ ​ บิณฑปาติกภิกษุชั้นอุกฤษฏ์ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 98)''</​fs></​sub>​ 
- 
-สปทานจาริกภิกษุชั้นต่ำ ​ ย่อมนั่งคอยรับภิกษาในวันนั้น 
- 
-ว่าด้วยประเภทในสปทานจาริกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​ความแตก'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ขณะเมื่อมีการเที่ยวไปด้วยความละโมบเกิดขึ้นแก่สปทานจาริกภิกษุทั้ง ​ 3  ประเภทนี้ ​ ธุดงค์ย่อมแตก ​ คือ ​ หายจากสภาพธุดงค์ 
- 
-ว่าด้วยความแตกในสปทานจาริกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​อานิสงส์'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อานิสงส์ในธุดงค์นี้มีดังนี้ ​ คือ -  ความเป็นผู้ใหม่อยู่เป็นนิจในทุก ๆ ตระกูล, ​ เป็นผู้มีอาการเหมือนพระจันทร์, ​ เป็นการเสียได้ซึ่งความตระหนี่ตระกูล, ​ เป็นผู้มีการอนุเคราะห์อย่างเสมอหน้ากัน, ​ ไม่มีโทษในเพราะการเข้าไปสู่ตระกูล, ​ ไม่ใยดีต่อคำนิมนต์, ​ เป็นผู้ไม่มีความต้องการด้วยการยื่นให้ซึ่งภิกษา, ​ เป็นผู้มีความประพฤติสมควรแก่คุณมีความมักน้อยเป็นต้น 
- 
-ภิกษุผู้มีอันเที่ยวไปอย่างไม่ขาดตอนเป็นปกติในศาสนานี้ ​  ​ย่อมเป็นผู้มีอาการปานดังพระจันทร์ ​  ​เป็นผู้ใหม่อยู่เป็นนิจในตระกูลทั้งหลายไม่ตระหนี่ตระกูล ​  ​มีความอนุเคราะห์เสมอทั่วหน้ากัน ​  ​เป็นผู้พ้นแล้วจากโทษในเพราะการเข้าไปสู่ตระกูล 
- 
-เพราะเหตุฉะนั้น ​  ​อันภิกษุสปทานจาริกผู้เป็นบัณฑิต ​  ​พึงละเสียซึ่งการเที่ยวไปด้วยความละโมบ ​  ​มีตาทอดลงมองดูประมาณชั่วแอก ​  ​และเมื่อยังหวังอยู่ซึ่งการเที่ยวไปอย่างเสรีในโลกปฐพีก็พึงเที่ยวไป ​  ( เพื่อบิณฑบาต )   ​อย่างไม่ขาดตอน ​  ​คือเที่ยวไปตามลำดับเรือนนั่นเถิด 
- 
-ว่าด้วยอานิสงส์ในสปทานจาริกังคธุดงค์นี้ ​  ​เพียงเท่านี้ 
- 
-พรรณนาการสมาทาน, ​  ​กรรมวิธี, ​  ​ประเภท, ​  ​ความแตก ​  ​และอานิสงส์ 
- 
-ในสปทานจาริกังคธุดงค์ ​  ​ยุติลงเพียงเท่านี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 99)''</​fs></​sub>​ 
- 
-===5. เอกาสนิกังคกถา=== 
- 
-'''​การสมาทาน'''​ 
- 
-แม้เอกาสนิกังคธุดงค์ก็เป็นอันโยคีบุคคลสมาทานเอาแล้ว ​ ด้วยคำสมาทานอย่างใดอย่างหนึ่ง ​ จากคำสมาทาน ​ 2  อย่างคือ ​ นานาสนโภชนํ ​ ปฏิกฺขิปามิ ​ ข้าพเจ้าขอปฏิเสธการฉันในที่นั่งมากแห่ง ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง ​ เอกาสนิกงฺคํ ​ สมาทิยามิ ​ ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาซึ่งองค์แห่งภิกษุผู้มีอันฉันในที่นั่งอันเดียวเป็นปกติ ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง 
- 
-ว่าด้วยการสมาทานในเอกาสนิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​กรรมวิธี'''​ 
- 
-ก็แหละ ​   อันภิกษุผู้ฉันในที่นั่งอันเดียวเป็นปกตินั้น ​  ​เมื่อจะนั่งในหอฉัน ​ อย่านั่งบนที่นั่งของพระเถระ ​ พึงกำหนดเอาที่นั่งอันสมควรแก่ตนว่า ​ ที่นั่งนี้จักได้แก่อาตมา ​ ฉะนี้ ​ แล้วจึงนั่งที่นั่งนั้น ​  ​ถ้าเมื่อภิกษุผู้เอกาสนิกนั้นกำลังฉันค้างอยู่ ​  ​มีอาจารย์หรืออุปัชฌาย์มาถึงเข้า สมควรที่จะลุกขึ้นทำอาจริยวัตรหรืออุปัชฌายวัตร ​ 
- 
-แหละพระจูฬอภยเถระผู้ทรงพระไตรปิฏกได้แสดงมติไว้ว่า ​ จะพึงรักษาซึ่งที่นั่งหรือโภชนะไว้ ​ ด้วยว่าเอกาสนิกภิกษุนี้มีการฉันยังค้างอยู่ ​ เพราะฉะนั้น ​ พึงทำอาจริยวัตร ​ หรืออุปัชฌายวัตรเถิด ​  ​แต่จงอย่าฉันโภชนะเลย 
- 
-ว่าด้วยกรรมวิธีในเอกาสนิกังคธุดงค์นี้ ​   เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​ประเภท'''​ 
- 
-ก็แหละ ​  ​เมื่อว่าด้วยประเภท ​  ​แม้ภิกษุผู้ฉันในที่นั่งอันเดียวเป็นปกตินี้ก็มี 3 ประเภทเช่นกัน ​ ใน 3 ประเภทนั้น ​  ​เอกาสนิกภิกษุชั้นอุกฤษฎ์ ​  ​โภชนะจะน้อยหรือมากก็ตามเมื่อหย่อนมือลงไปในโภชนะอันใดแล้ว ​  ​ย่อมไม่ยอมรับเอาซึ่งโภชนะอื่นจากโภชนะนั้น ​  ​แม้คนทั้งหลายเขาเห็นว่า ​  ​พระเถระไม่ได้ฉันอะไร ๆ แล้วพากันเอาเภสัชเช่นเนยใสเป็นต้นมาถวาย ​  ​ควรจะรับไว้ได้ก็แต่เพียงเพื่อเป็นเภสัช ​  ​จะรับไว้เพื่อเป็นอาหารหาได้ไม่ 
- 
-เอกาสนิกภิกษุชั้นกลาง ​  ​เมื่อภัตตาหารในบาตรยังไม่หมดเพียงใด ​  ​ก็ยังรับภัตตาหารอื่นได้อยู่เพียงนั้น ​  ​ด้วยว่าเอกาสนิกภิกษุชั้นกลางนี้ ​   ย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีโภชนะเป็นที่สุด 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 100)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เอกาสนิกภิกษุชั้นต่ำ ​ เมื่อยังไม่ลุกขึ้นจากที่นั่งเพียงใด ​ ก็ยังฉันภัตตาหารได้อยู่เพียงนั้น ​ ด้วยว่าเอกาสนิกภิกษุชั้นต่ำนี้ ​ ย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีน้ำเป็นที่สุด ​ เพราะฉันได้ตลอดเวลาที่ยังไม่รับน้ำล้างบาตร ​ หรือชื่อว่าเป็นผู้มีการนั่งเป็นที่สุด ​ เพราะฉันได้ตลอดเวลาที่ยังไม่ลุกขึ้นจากที่นั่ง 
- 
-ว่าด้วยประเภทในเอกาสนิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​ความแตก'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ธุดงค์นี้ย่อมแตก ​ คือหายจากสภาพธุดงค์ ​ ในขณะที่เอกาสนิกภิกษุทั้ง 3  ประเภทนี้ฉันโภชนะในที่นั่งหลายแห่ง 
- 
-ว่าด้วยความแตกในเอกาสนิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​อานิสงส์'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อานิสงส์ของธุดงค์นี้มีดังนี้ ​ คือ -  ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย, ​ ความเป็นผู้มีความลำบากกายน้อย, ​ ฐานเบา ​ คือกลับเนื้อกลับตัวคล่องแคล่ว, ​ กำลังแข็งแรง, ​ มีการอยู่อย่างผาสุกสบาย, ​ ไม่ต้องอาบัติในโภชนะอันไม่เป็นเดนเป็นเหตุ, ​ บรรเทาความติดในรสอาหารเสียได้, ​ เป็นผู้มีความประพฤติสมควรแก่คุณมีความมักน้อยเป็นต้น 
- 
-โรคทั้งหลายซึ่งมีการฉันเป็นเหตุ ​ ย่อมไม่เบียดเบียนภิกษุผู้สำรวม ​ ผู้ยินดีในการฉันในที่นั่งอันเดียว ​ ภิกษุไม่ละโมบในรสอาหาร ​ ย่อมอดทนได้ ​ ไม่ทำให้งานคือการบำเพ็ญเพียรของตนเสื่อมเสียไป 
- 
-ด้วยประการฉะนี้ ​ ภิกษุผู้สำรวม ​ มีใจสะอาด ​ พึงสร้างความพอใจให้บังเกิดในการฉันที่นั่งอันเดียว ​ อันเป็นเหตุแห่งความผาสุก ​ ที่ผู้ยินดีในการขัดเกลากิเลสให้สะอาดเข้าไปส้องเสพแล้วนั่นเถิด 
- 
-ว่าด้วยอานิสงส์เอกาสนิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-พรรณนาการสมาทาน, ​ กรรมวิธี, ​ ประเภท, ​ ความแตก ​ และอานิสงส์ 
- 
-ในเอกาสนิกังคธุดงค์ ​ ยุติลงเพียงเท่านี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 101)''</​fs></​sub>​ 
- 
-===6. ปัตตปิณฑิกังคกถา=== 
- 
-'''​การสมาทาน'''​ 
- 
-แม้ปัตตปิณฑิกังคธุดงค์ ​ ก็ย่อมเป็นอันโยคีบุคคลสมาทานเอาด้วยคำสมาทาน ​ อย่างใดอย่างหนึ่ง ​ จากคำสมาทาน 2  อย่างนี้คือ ​ ทุติยกภาชนํ ​ ปฏิกฺขิปามิ ​ ข้าพเจ้าขอปฏิเสธภาชนะอันที่ 2  ดังนี้อย่างหนึ่ง ​ ปตฺตปิณฺฑิกงฺคํ ​ สมาทิยามิ ​ ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาซึ่งองค์ของภิกษุผู้มีบิณฑบาตในบาตรเป็นปกติ ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง 
- 
-ว่าด้วยการสมาทานในปัตตปิณฑิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​กรรมวิธี'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อันภิกษุผู้มีบิณฑบาตในบาตรเป็นปกตินั้น ​ ถึงเวลาจะดื่มข้าวยาคู ​ เมื่อได้อาหารมาไว้ในภาชนะแล้ว ​ พึงฉันอาหารก่อนหรือจะดื่มข้าวยาคูก่อนก็ได้ ​ ก็ถ้าใส่อาหารลงในข้าวยาคู ​ เมื่ออาหารที่ใส่ลงไปนั้นเป็นปลาเน่าเป็นต้น ​ ข้าวยาคูก็เป็นสิ่งที่น่าเกลียด ​ และควรทำข้าวยาคูให้หายน่าเกลียดเสียจึงค่อยฉัน ​ เพราะฉะนั้น ​ คำว่า ​ พึงฉันอาหารก่อนก็ได้นี้ ​ ท่านกล่าวหมายเอาอาหารเช่นนั้น ​ 
- 
-ส่วนอาหารใดย่อมไม่เป็นสิ่งที่น่าเกลียด ​ เช่น ​ น้ำผึ้ง ​ และ ​ น้ำตาลกรวด ​ เป็นต้น ​ อาหารนั้นพึงใส่ลงในข้าวยาคูได้ ​ แต่เมื่อจะหยิบเอาอาหารเช่นนั้น ​ ก็พึงหยิบเอาแต่พอสมควร ​ แก่ประมาณเท่านั้น ​ ผักสดจะใช้มือจับกัดกินก็ได้ ​ แต่เมื่อไม่ทำดังนั้นพึงใส่ลงในบาตรนั่นเทียว ​ ส่วนภาชนะอย่างอื่นแม้จะเป็นใบตองก็ตามก็ไม่ควรใช้ ​ เพราะได้ปฏิเสธภาชนะอันที่ 2  ไว้แล้ว 
- 
-ว่าด้วยกรรมวิธีโดยปัตตปิณฑิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​ประเภท'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ เมื่อว่าโดยประเภท ​ แม้ภิกษุผู้มีบิณฑบาตในบาตรเป็นปกตินี้ก็มี 3  ประเภท ​ ใน ​ 3  ประเภทนั้น ​ ปัตตปิณฑิกภิกษุชั้นอุกฤษฏ์ ​ แม้จะคายกากอาหารทิ้งก็ไม่ควร ​ ยกเว้นแต่เวลาฉันอ้อยขวั้น ​ (อ้อยลำ) ​ แม้ก้อนข้าวสุก, ​ ปลา, ​ เนื้อและขนมจะใช้มือบิฉันก็ไม่ควร 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 102)''</​fs></​sub>​ 
- 
-สำหรับปัตติปิณฑิกภิกษุชั้นกลางนั้น ​ จะใช้มือข้างหนึ่งบิแล้วฉันก็ควร ​ ปัตติปิณฑิกภิกษุนี้ ​ ชื่อว่า ​ หัตถโยคี ​ (โยคีผู้ใช้มือ) 
- 
-ส่วนปัตติปิณฑิกภิกษุชั้นต่ำเป็นผู้ชื่อว่า ​ ปัตตโยคี ​ (โยคีผู้ใช้บาตร) ​ คือ ​ ของเคี้ยว ​ ของฉันสิ่งใดสามารถที่จะบรรจุเข้าไปในบาตรของท่านได้ ​ จะบิของเคี้ยวของฉันนั้นด้วยมือหรือจะขบด้วยฟันแล้วฉันก็ควร 
- 
-'''​ว่าด้วยประเภทในปัตตปิณฑิกกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้'''​ 
- 
-'''​ความแตก'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ธุดงค์ของภิกษุผู้ปัตตปิณฑิกทั้ง 3  ประเภทนี้ ​ ย่อมแตก ​ คือหายจากสภาพธุดงค์ ​ ในขณะที่ท่านเหล่านั้นยินดีต่อภาชนะอันที่ 2  นั่นเทียว 
- 
-'''​ว่าด้วยความแตกในปัตตปิณฑิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้'''​ 
- 
-'''​อานิสงส์'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อานิสงส์ในธุดงค์นี้มีดังนี้ ​ คือ – เป็นการบรรเทาเสียซึ่งตัณหาในรส ​ ต่าง ๆ  เป็นการเสียสละได้ซึ่งภาวะที่มีความอยากในรสในภาชนะนั้น ๆ  ความเป็นผู้เห็นประโยชน์ ​ และประมาณในอาหาร, ​ ไม่มีความลำบากเพราะการรักษาเครื่องใช้เช่นถาดเป็นต้น, ​ ไม่มีความเป็นผู้ฉันล่อกแล่ก, ​ เป็นผู้มีความประพฤติสมควรแก่คุณมีความเป็นคนมักน้อยเป็นต้น 
- 
-ภิกษุผู้มีวัตรปฏิบัติอันงดงาม ​ เลิกละความล่อกแล่กในภาชนะนานาชนิดเสีย ​ มีตาทอดลงแต่ในบาตร ​ ย่อมเป็นเสมือนขุดอยู่ซึ่งรากเหง้าแห่งตัณหาในรส 
- 
-ภิกษุผู้มีใจงดงาม ​ รักษาไว้ซึ่งความสันโดษเสมือนดังรูปร่างของตน ​ พึงสามารถที่จะฉันอาหารเช่นนี้ได้ ​ ภิกษุอื่นใครเล่าที่จะพึงผู้มีบิณฑบาตในบาตรเป็นปกติ 
- 
-ว่าด้วยอานิสงส์ในปัตตปิณฑิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-พรรณนาการสมาทาน, ​ กรรมวิธี, ​ ประเภท, ​ ความแตก ​ และอานิสงส์ 
- 
-ในปัตตปิณฑิกังคธุดงค์ ​ ยุติลงเพียงเท่านี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 103)''</​fs></​sub>​ 
- 
-===7. ขลุปัจฉาภัตติกังคกถา=== 
- 
-'''​การสมาทาน'''​ 
- 
-แม้ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ ​ ก็ย่อมเป็นอันโยคีบุคคลสมาทานเอาแล้วด้วยคำสมาทานอย่างใดอย่างหนึ่ง ​ จากคำสมาทาน ​ 2 อย่างนี้ ​ คือ ​ อติริตฺตโภชนํ ​ ปฏิกฺขิปามิ ​ ข้าพเจ้าขอปฏิเสธโภชนะอันล้นเหลือ ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง ​ ขลุปจฺฉาภตฺติกงฺคํ ​ สมาทิยามิ ​ ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาซึ่งองค์แห่งภิกษุผู้มิใช่ผู้มีอันฉันปัจฉาภัตรเป็นปกติ ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง 
- 
-ว่าด้วยการสมาทานในขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​กรรมวิธี'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อันภิกษุมิใช่ผู้เป็นอันฉันปัจฉาภัตรเป็นปกตินั้น ​ ครั้นห้ามโภชนะเสียแล้วไม่พึงให้ทำโภชนะให้เป็นกัปปิยะ (ให้เป็นของควรฉัน) ​ แล้วฉันอีก 
- 
-ว่าด้วยกรรมวิธีในขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​ประเภท'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ เมื่อว่าโดยประเภทแล้ว ​ ภิกษุมิใช่ผู้ฉันปัจฉาภัตรเป็นปกตินี้มี ​ 3  ประเภทดังนี้คือ- 
- 
-โดยเหตุที่การห้ามโภชนะย่อมมีไม่ได้ในบิณฑบาตรครั้งแรก ​ แต่เมื่อบิณฑบาตรครั้งแรกนั้น ​ อันภิกษุผู้ขลุปัจฉาภัตติกะกำลังฉันอยู่ ​ ย่อมเป็นอันปฏิเสธซึ่งบิณฑบาตอื่น ​ ฉะนั้น ​ ในขลุปัจฉาภัตติกภิกษุ 3  ประเภทนั้น ​ ขลุปัจฉาภัตติกภิกษุชั้นอุกฤษฏ์ห้ามโภชนะแล้วด้วยอาการอย่างนี้คือ ​ ฉันบิณฑบาตครั้งแรกแล้ว ​ ย่อมไม่ฉันบิณฑบาตครั้งที่สอง 
- 
-ขลุปัจฉาภัตติภิกษุชั้นกลาง ​ ตนห้ามแล้วในเพราะโภชนะใด ​ ยังฉันโภชนะนั้นได้อยู่นั่นเทียว 
- 
-ส่วนขลุปัจฉาภัตติกภิกษุชั้นต่ำ ​ ย่อมฉันบิณฑบาตได้ตลอดเวลาที่ตนยังไม่ลุกจากที่นั่ง 
- 
-ว่าด้วยประเภทในขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 104)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ความแตก'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ธุดงค์นี้ย่อมแตก ​ คือหายจากสภาพธุดงค์ ​ ในขณะที่ขลุปัจฉาภัตติกภิกษุทั้ง 3  ประเภทนี้ซึ่งห้ามโภชนะแล้ว ​ ให้ทำโภชนะให้เป็นกัปปิยะแล้วฉันอีกนั่นเทียว 
- 
-ว่าด้วยความแตกในขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​อานิสงส์'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อานิสงส์ในธุดงค์นี้มีดังนี้ ​ คือ -  เป็นการห่างไกลจากอาบัติเพราะฉันโภชนะอันไม่เป็นเดน, ​ ไม่มีการแน่นท้อง, ​ เป็นการไม่สะสมอามิส, ​ ไม่มีการแสวงหาอีก, ​ เป็นผู้มีความประพฤติสมควรแก่คุณมีความมักน้อยเป็นต้น 
- 
-โยคีบุคคลผู้ขลุปัจฉาภัตติกซึ่งเป็นบัณฑิต ​ ย่อมไม่เผชิญกับความลำบาก ​ เพราะการแสวงหาอาหาร ​ ย่อมไม่ทำการสะสมอามิส ​ ย่อมหายจากความแน่นท้อง 
- 
-เพราะฉะนั้น ​ อันโยคีบุคคลผู้ใคร่ที่จะกำจัดเสียซึ่งโทษทั้งหลาย ​ พึงบำเพ็ญขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์นี้ ​ ซึ่งเป็นสิ่งที่พระบรมศาสดาทรงสรรเสริญพระปฏิบัติศาสนาว่า ​ เป็นที่เกิดแห่งความเจริญขึ้นแห่งคุณมีคุณคือ ​ ความสันโดษเป็นต้นนั่นเทียว 
- 
-ว่าด้วยอานิสงส์ในขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-พรรณนาการสมาทาน, ​ กรรมวิธี, ​ ประเภท, ​ ความแตก ​ และอานิสงส์ 
- 
-ในขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ ​ ยุติลงเพียงเท่านี้ 
- 
-===8. อารัญญิกังคกถา=== 
- 
-'''​การสมาทาน'''​ 
- 
-แม้อารัญญิกังคธุดงค์ ​ ก็ย่อมเป็นอันโยคีบุคคลสมาทานเอาแล้ว ​ ด้วยคำสมาทานอย่างใดอย่างหนึ่ง ​ จากคำสมาทาน 2  อย่างนี้คือ ​ คามนฺตเสนาสนํ ​ ปฏิกฺขิปามิ ​ ข้าพเจ้าขอ ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 105)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ปฏิเสธเสนาสนะภายในบ้าน ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง ​ อารญฺญิกงฺคํ ​ สมาทิยามิ ​ ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาซึ่งองค์แห่งภิกษุผู้มีอันอยู่ในป่าเป็นปกติ ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง 
- 
-ว่าด้วยการสมาทานในอารัญญิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​กรรมวิธี'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อันภิกษุผู้อยู่ในป่าเป็นปกตินั้น ​ ต้องออกจากเสนาสนะภายในบ้านไปทำให้อรุณตั้งขึ้นในป่า, ​ ในเสนาสนะ 2  อย่างนั้น ​ บ้านพร้อมอุปจารแห่งบ้านนั่นเทียว ​ ชื่อว่า ​ เสนาสนะภายในบ้าน 
- 
-'''​อธิบายคำว่าบ้าน'''​ 
- 
-ที่อยู่อาศัยอย่างใดอย่างหนึ่ง ​ จะมีกระท่อมหลังเดียวหรือหลายหลังก็ตาม ​ จะมีเครื่องล้อมหรือไม่มีเครื่องล้อมก็ตาม ​ จะมีคนหรือไม่มีคนก็ตาม ​ แม้ชั้นที่สุดหมู่เกวียนเหล่าใดเหล่าหนึ่งซึ่งจอดพักอยู่เกิน ​ 4  เดือน ​ ชื่อว่า ​ บ้าน 
- 
-'''​อธิบายคำว่าอุปจารบ้าน'''​ 
- 
-สำหรับบ้านที่มีเครื่องล้อมเหมือนดังเมืองอนุราธบุรี ​ ย่อมมีเขื่อนอยู่ 2  ชั้น ​ ชั่วเลฑฑุบาตหนึ่ง ​ (ชั่วขว้างก้อนดินตก) ​ ของบุรุษผู้มีกำลังปานกลาง ​ ซึ่งยืนอยู่ที่เขื่อนด้านใน ​ ชื่อว่า ​ อุปจารบ้าน ​ (บริเวณรอบ ๆบ้าน) 
- 
-ท่านที่ชำนาญพระวินัยอธิบายลักษณะของเลฑฑุบาตนั้นไว้ดังนี้ ​ ที่ภายในแห่งก้อนดินตก ​ ซึ่งบุรุษผู้มีกำลังปานกลางขว้างไปนั้น ​ เหมือนอย่างพวกเด็กวัยหนุ่ม ​ เมื่อจะออกกำลังของตน ​ จึงเหยียดแขนออกแล้วขว้างก้อนดินไป ​ ฉะนั้น 
- 
-ส่วนท่านผู้ชำนาญพระสูตรอธิบายไว้ว่า ​  ​ที่ภายในแห่งก้อนดินตก ​  ​ซึ่งบุรุษขว้างไปด้วยหมายที่จะห้ามกา ​ ชื่อว่า ​   อุปจารบ้าน 
- 
-ในบ้านที่ไม่มีเครื่องล้อม ​ มาตุคาม ​ ( สตรี )    ยืนอยู่ที่ประตูเรือนห้องสุดเขาทั้งหมดแล้วสาดน้ำไปด้วยภาชนะ ​  ​ภายในที่ตกแห่งน้ำนั้น ​ ชื่อว่า ​  ​อุปจารเรือน ​  ​นับแต่อุปจารเรือนนั้นออกไปชั่วเลฑฑุบาตหนึ่งโดยนัยกล่าวมาแล้ว ​  ​ยังนับเป็นบ้าน ​  ​ชั่วเลฑฑุบาตที่สองจึงนับเป็น ​  ​อุปจารบ้าน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 106)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อธิบายคำว่าป่า'''​ 
- 
-ส่วนป่านั้น ​ ประการแรก ​  ​โดยปริยายแห่งพระวินัยท่านอธิบายไว้ว่า ​  ​ยกเว้นบ้านและอุปจารบ้านเสีย ​  ​ที่ทั้งหมดนั้นเรียกว่า ​  ​ป่า ​  ​โดยปริยายแห่งพระอภิธรรมท่านอธิบายไว้ว่า ​ ที่ภายนอกจากเขื่อนออกไปทั้งหมดนั้น ​ เรียกว่า ​ ป่า ​ ส่วน ​ ณ ที่นี้โดยปริยายแห่งพระสูตรท่านอธิบายลักษณะไว้ดังนี้ ​  ​เสนาสนะหลังสุดท้ายที่ตั้งอยู่ชั่วระยะ ​ 500  ชั่วธนู ​  ​เรียกว่า ​  ​เสนาสนะป่า ​  ​ลักษณะที่กล่าวมานี้ ​  ​พึงกำหนดวัดด้วยคันธนูแบบที่ขึ้นแล้ว ​  ​สำหรับบ้านที่มีเครื่องล้อมวัดตั้งแต่เสาเขื่อนจนจรดรั้ววัด ​  ​สำหรับบ้านที่ไม่มีเครื่องล้อม ​  ​วัดตั้งแต่ชั่วเลฑฑุบาตแรกไปจนจรดรั้ววัด 
- 
-พระอรรถกถาจารย์ ​   อธิบายไว้ในอรรถกถาวินัยทั้งหลายว่า ​  ​แหละถ้าเป็นวัดที่ไม่มีรั้วล้อม ​  ​พึงวัดเอาเสนาสนะหลังต้นเขาทั้งหมดให้เป็นเครื่องกำหนด ​  ​หรือพึงวัดเอาโรงครัว ​  ​หรือที่ประชุมประจำ ​  ​หรือต้นโพธิ์ ​  ​หรือพระเจดีย์ ​  ​แม้มีอยู่ในที่ห่างไกลไปจากเสนาสนะให้เป็นเครื่องกำหนดก็ได้ 
- 
-ส่วนในอรรถกถามัชฌิมนิกายท่านอธิบายไว้ว่า ​  ​แม้อุปจารวัดก็เหมือนอุปจารบ้าน พึงออกมาวัดเอาตรงระหว่างเลฑฑุบาตทั้งสองนั่นเถิด ​ ข้อนี้นับเอาเป็นประมาณในการคำนวณนี้ได้ 
- 
-แม้หากว่ามีหมู่บ้านอยู่ในที่ใกล้กับวัด ​  ​ภิกษุสามเณรซึ่งอยู่ในวัดก็ได้ยินเสียงของชาวบ้านอยู่ ​  ​แต่ก็ไม่อาจจะเดินทางตรง ๆ ถึงกันได้ ​  ​เพราะมีภูเขาและแม่น้ำเป็นต้นขั้นอยู่ในระหว่าง ​  ​ทางใดอันเป็นทางเดินโดยปกติของวัดนั้น ​  ​แม้หากพึงจะสัญจรไปมาด้วยเรือก็ตามพึงถือเอาเป็น ​ 500  ชั่วคันธนูด้วยทางนั้น ​  ​แต่อารัญญิกภิกษุใดปิดกั้นทางเล็ก ๆ ในที่นั้น ๆ เสีย เพื่อประสงค์ที่จะให้สำเร็จเป็นองค์ของบ้านใกล้วัด ​ อารัญญิกภิกษุนี้ ​ ย่อมชื่อว่า ​ โจรธุดงค์ 
- 
-ก็แหละ ​ ถ้าอุปัชฌาย์หรืออาจารย์ของอารัญญิกภิกษุเกิดต้องอาพาธขึ้นมา ​ เมื่อท่านไม่ได้ความสัปปายะในป่า ​ จะพึงนำพาอุปัชฌาย์หรืออาจารย์ไปอุปัฎฐากที่เสนาสนะภายในบ้านก็ได้ ​  ​แต่ต้องรีบกลับออกไปให้ทันกาล ​   ทำให้อรุณขึ้นในที่อันประกอบด้วยองค์แห่งป่าถ้าโรคของอุปัชฌาย์หรืออาจารย์กำเริบขึ้นในเวลาอรุณขึ้นพอดี ​   ก็พึงอยู่ทำกิจวัตรถวายแด่อุปัชฌาย์หรืออาจารย์นั่นเถิด ​ ไม่ต้องห่วงทำธุดงค์ให้บริสุทธิ์ดอก 
- 
-ว่าด้วยกรรมาวิธีในอารัญญิกังคธุดงค์นี้ เพียงเท่านี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 107)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ประเภท'''​ 
- 
-ก็แหละ ​  ​เมื่อว่าโดยประเภท ​  ​แม้ภิกษุผู้อยู่ในป่าเป็นปกตินี้ ​  ​ก็มี 3 ประเภท ​ ใน 3 ประเภทนั้น ​   อารัญญิกภิกษุชั้นอุกฤษฎ์ ​  ​ย่อมทำให้อรุณขึ้นในป่าตลอดกาล ​  ​(คืออยู่ในป่าเป็นนิจ) ​  ​อารัญญิกภิกษุชั้นกลาง ​ ย่อมอยู่ในเสนาสนะภายในบ้านตลอดกาล 4 เดือนในฤดูฝน อารัญญิกภิกษุชั้นต่ำ ​ ย่อมอยู่ในเสนาสนะภายในบ้านได้ตลอดกาล 4  เดือนในฤดูหนาวด้วย ​ (รวมเป็นเวลา 8  เดือน) 
- 
-ว่าด้วยประเภทอารัญญิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​ความแตก'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ เมื่ออารัญญิกภิกษุทั้ง 3  ประเภทนั้น ​ มาจากป่าแล้วฟังธรรมเทศนาอยู่ ​ ในเสนาสนะภายในบ้าน ​ แม้ถึงอรุณจะขึ้นในกาลตามที่กำหนดไว้นั้น ​ ธุดงค์ก็ไม่แตก ​ ครั้นฟังธรรมแล้วกำลังเดินทางกลับไปอยู่ ​ ถึงแม้อรุณจะตั้งขึ้นระหว่างทาง ​ ธุดงค์ก็ไม่แตก 
- 
-แต่เมื่อพระธรรมกถึกลุกไปแล้ว ​ อารัญญิกภิกษุทั้ง ​ 3  ประเภทนั้น ​ คิดว่าจักพักนอนสักครู่หนึ่งแล้วจึงจักไป ​ ดังนี้แล้วเลยหลับไปทำให้อรุณขึ้นในเสนาสนะภายในบ้าน ​ หรือทำให้อรุณขึ้นในเสนาสนะภายในบ้านตามความชอบใจของตน ​ ธุดงค์ย่อมแตก 
- 
-ว่าด้วยความแตกในอารัญญิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​อานิสงส์'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อานิสงส์ในธุดงค์นี้มีดังนี้ ​ คือ – อารัญญิกภิกษุผู้สนใจถึงซึ่งความสำคัญแห่งป่า ​ เป็นผู้ควรที่จะได้บรรลุซึ่งสมาธิที่ยังมิได้บรรลุ ​ หรือเป็นผู้ควรที่จะรักษาไว้ได้ซึ่งสมาธิที่ได้บรรลุแล้ว, ​ แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็ทรงพอพระหฤทัยต่อท่าน ​ เหมือนดังที่ตรัสไว้ว่า ​ นาคิตภิกขุ ​ ด้วยเหตุนั้น ​ เราย่อมพอใจต่อภิกษุนั้นด้วยการอยู่ในป่า ​ ดังนี้, ​ อนึ่ง ​ สิ่งต่าง ๆ มีรูปอันไม่เป็นที่สัปปายะเป็นต้น ​ ย่อมไม่รบกวนจิตของอารัญญิกภิกษุนั้น ​ ผู้อยู่ในเสนาสนะอันสงัด, ​ ภิกษุผู้อยู่ในป่าเป็นปกติเป็นผู้สิ้นความสะดุ้งหวาดเสียวแล้ว ​ ละความพอใจอาลัยในชีวิตได้แล้ว ​ ท่านย่อมได้เสวยรสแห่งความสุขอันเกิดแต่วิเวก, ​ อนึ่ง ​ ภาวะที่เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลเป็นปกติ ​ เป็นต้น ​ ย่อมเป็นภาวะที่เหมาะสมแก่ท่านอารัญญิกภิกษุนั้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 108)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อารัญญิกภิกษุผู้ชอบความสงบ ​ ไม่คลุกคลี ​ ยินดีในเสนาสนะอันสงัด ​ เป็นผู้ยังพระมานัสของสมเด็จพระโลกนาถให้ทรงโปรดปรานได้ 
- 
-อารัญญิกภิกษุผู้สำรวม ​ อยู่ในป่าแต่เดียวดาย ​ ย่อมได้ประสบความสุขอันใด ​ รสแห่งความสุขอันนั้น ​ แม้แต่ทวยเทพกับพระอินทร์ก็ไม่ได้ประสบ 
- 
-แหละอารัญญิกภิกษุนี้ ​ เที่ยวสวมสอดผ้าบังสุกุลจีวร ​ เป็นเสมือนกษัตริย์ทรงสวมสอดเกราะ ​ เข้าสู่สงครามคือป่า ​ มีธูตธรรมที่เหลือเป็นอาวุธ ​ เป็นผู้สามารถที่จะได้ชัยชนะซึ่งพญามารพร้อมทั้งราชพาหนะ ​ โดยไม่นานเท่าไรนักเลย 
- 
-เพราะเหตุฉะนั้น ​ อันภิกษุผู้เป็นบัณฑิต ​ พึงกระทำความยินดีในการอยู่ป่า ​ นั่นเทอญ 
- 
-ว่าด้วยอานิสงส์ในอรัญญิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-พรรณนาการสมาทาน,​ กรรมวิธี,​ ประเภท,​ ความแตก ​ และอานิสงส์ 
- 
-ในอารัญญิกังคธุดงค์ ​ ยุติลงเพียงเท่านี้ 
- 
-===9. รุกขมูลิกังคกถา=== 
- 
-'''​การสมาทาน'''​ 
- 
-แม้รุกขมูลิกังคธุดงค์ ​ ก็ย่อมเป็นอันโยคีบุคคลสมาทานเอาแล้วด้วยคำสมาทานอย่างใดอย่างหนึ่ง ​ จากคำสมาทาน 2 อย่างคือ ​ ฉนฺนํ ​ ปฏิกฺขิปามิ ​ ข้าพเจ้าขอปฏิเสธที่อยู่ที่มีหลังคา ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง ​ รุกฺขมูลิกงฺคํ ​ สมาทิยามิ ​ ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาองค์แห่งภิกษุผู้อยู่ที่โคนไม้เป็นปกติ ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง 
- 
-ว่าด้วยการสมาทานในรุกขมูลิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 109)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​กรรมวิธี'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อันภิกษุผู้อยู่โคนไม้เป็นปกตินั้น ​ พึงยึดเอาต้นไม้ที่อยู่สุดเขตวัด ​ โดยละเว้นต้นไม้เหล่านี้เสียคือ ​ ต้นไม้อยู่ในระหว่างเขตรัฐสีมา ​ ต้นไม้เป็นที่นับถือบูชา ​ ต้นไม้มียาง ​ ต้นไม้ผล ​ ต้นไม้มีค้างคาว ​ ต้นไม้มีโพรง ​ และต้นไม้อยู่กลางวัด 
- 
-ว่าด้วยกรรมวิธีในรุกขมูลิกังคธุดงค์นี้ ​   เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​ประเภท'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ เมื่อว่าโดยประเภท ​ แม้รุกขมูลิกภิกษุนี้ ​ ก็มี 3  ประเภท ​ ใน ​ 3  ประเภทนั้น ​ รุกขมูลิกภิกษุชั้นอุกฤษฏ์ ​ จะยืดถือต้นไม้ตามใจชอบแล้วใช้คนอื่นให้ปัดกวาดไม่ได้ ​ พึงใช้เท้าเขี่ยใบไม้ที่ร่วงหล่นด้วยตนเองแล้วอยู่เถิด 
- 
-รุกขมูลิกภิกษุชั้นกลาง ​ จะใช้บรรดาผู้ที่บังเอิญมาถึง ​ ณ  ที่ตรงนั้นให้ช่วยปัดกวาดก็ได้ 
- 
-อันรุกขมูลิกภิกษุชั้นต่ำ ​ พึงเรียกคนรักษาวัดหรือสามเณรมาแล้วใช้ให้ช่วยชำระปัดกวาดให้สะอาด ​ ให้ช่วยปราบพื้นให้สม่ำเสมอ ​ ให้ช่วยเกลี่ยทราย ​ ให้ช่วยล้อมรั้ว ​ ให้ช่วยประกอบประตูแล้วอยู่เถิด ​ แต่ในวันงานมหกรรมฉลอง ​ อันรุกขมูลิกภิกษุอย่านั่งอยู่ ​ ณ  ที่นั่น ​ พึงหลบไปนั่ง ​ ณ  ที่กำบังแห่งอื่นเสีย 
- 
-ว่าด้วยประเภทในรุกขมูลิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​ความแตก'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ธุดงค์นี้ย่อมแตก ​ คือหายจากสภาพธุดงค์ ​ ในขณะที่รุกขมูลิกภิกษุทั้ง 3  ประเภทนี้ ​ สำเร็จการอยู่ในที่อันมีหลังคานั่นเทียว 
- 
-ท่านผู้ชำนาญคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ​ อธิบายไว้ว่า ​ ธุดงค์นี้ ​ ย่อมแตกในขณะที่รุกขมูลิกภิกษุเหล่านั้นรู้แล้วทำอรุณให้ขึ้นในที่อยู่อันมีหลังคา 
- 
-ว่าด้วยความแตกในรุกขมูลิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 110)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อานิสงส์'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อานิสงส์ในธุดงค์นี้มีดังนี้ ​ คือ – เป็นผู้มีข้อปฏิบัติสมควรแก่ปัจจัยเครื่องอาศัย ​ ตามพระพุทธวจนะข้อว่า ​ การบวช ​ อาศัยเสนาสนะคือโคนไม้, ​ เป็นผู้มีปัจจัยอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญไว้มีอาทิเช่นว่า ​ ปัจจัยเหล่านั้นเป็นสิ่งเล็กน้อยด้วย ​ หาได้ง่ายด้วย, ​ เป็นการยังอนิจจสัญญาให้ปรากฏด้วยได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของใบไม้, ​ ไม่มีความตระหนี่เสนาสนะและความหลงยินดีการงาน, ​ เป็นผู้มีการอยู่ร่วมกับรุกขเทวดาทั้งหลาย ​ เป็นผู้มีความประพฤติสมควรแก่คุณมีความสันโดษเป็นต้น  ​ 
- 
-ที่อยู่อาศัยของภิกษุผู้ชอบความสงัด ​ อันพระพุทธเจ้า ​ ผู้ประเสริฐทรงสรรเสริญและเชยชมแล้วว่า ​ เป็นปัจจัยเครื่องอาศัยที่จะเปรียบเสมอด้วยโคนไม้ ​ จะมีแต่ที่ไหน 
- 
-จริงอยู่ ​ ภิกษุผู้อาศัยอยู่ที่โคนไม้สงัด ​ เป็นที่นำออกซึ่งความตระหนี่อาวาส ​ อันเทวดาอภิบาลรักษา ​ ย่อมเป็นผู้มีวัตรปฏิบัติอันดีงาม 
- 
-เมื่อรุกขมูลิกภิกษุได้เห็นใบไม้หลายชนิด ​ คือชนิดที่แดงเข้มบ้าง ​ ชนิดที่เขียวสดบ้าง ​ ชนิดที่เหลืองซึ่งร่วงหล่นแล้วบ้าง ​ ย่อมจะบรรเทา ​ นิจจสัญญาคือความหมายว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของเที่ยงเสียได้ 
- 
-เพราะฉะนั้นแหละ ​ ภิกษุผู้เห็นแจ้ง ​ อย่าได้พึงดูหมิ่นโคนไม้อันสงัด ​ อันเป็นมรดกที่พระพุทธเจ้าทรงประทานให้ ​ และเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ยินดีแล้วในการภาวนา 
- 
-ว่าด้วยอานิสงส์ในรุกขมูลิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-พรรณนาการสมาทาน, ​ กรรมวิธี, ​ ประเภท, ​ ความแตก ​ และอานิสงส์ 
- 
-ในรุกขมูลิกังคธุดงค์ ​ ยุติลงเพียงเท่านี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 111)''</​fs></​sub>​ 
- 
-===10. อัพโภกาสิกังคกถา=== 
- 
-'''​การสมาทาน'''​ 
- 
-แม้อัพโภกาสิกังคธุดงค์ ​ ก็เป็นอันโยคีบุคคลสมาทานเอาแล้วด้วยคำสมาทานอย่างใดอย่างหนึ่ง ​ จากคำสมาทาน 2  อย่างนี้คือ ​ ฉนฺนญฺจ ​ รุกฺขมูลญฺจ ​ ปฏิกฺขิปามิ ​ ข้าพเจ้าขอปฏิเสธที่อยู่อันมีหลังคาและโคนไม้ ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง ​ อพฺโภกาสิกงฺคํ ​ สมาทิยามิ ​ ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาซึ่งองค์แห่งภิกษุผู้อยู่ ​ ณ  ที่กลางแจ้งเป็นปกติ ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง 
- 
-ว่าด้วยการสมาทานในอัพโภกาสิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​กรรมวิธี'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อันอัพโภกาสิกภิกษุนั้นจะเข้าไปยังโรงอุโบสถ ​ เพื่อจะฟังธรรมเทศนา ​ หรือเพื่อจะทำอุโบสถกรรมก็ได้ ​ เมื่อเข้าไปแล้วฝนเกิดตกขึ้นมา ​ ครั้นฝนกำลังตกอยู่ก็ไม่ต้องออก ​ เมื่อฝนหายแล้วจึงค่อยออก ​ จะเข้าไปโรงฉันหรือโรงไฟเพื่อทำกิจวัตรก็ได้ ​ จะไปบอกอำลาภัตติกภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระในโรงฉันก็ได้ ​ เมื่อจะแสดงบาลีเอง ​ หรือให้ผู้อื่นแสดงให้ฟัง ​ จะเข้าไปยังที่อยู่อันมีหลังคาก็ได้ ​ และจะเอาเตียงและตั่งเป็นต้นซึ่งทิ้งเกะกะอยู่ข้างนอกเข้าไปเก็บไว้ข้างในก็ได้ ​ ถ้าเมื่อกำลังเดินทางถือเครื่องบริขารของพระเถระผู้ใหญ่ไปเมื่อฝนตกจะเข้าไปยังศาลาที่อยู่กลางทางก็ได้ ​ ถ้าไม่ได้ถืออะไร ๆ จะรีบเดินไปด้วยหมายใจว่าจะพักอยู่ในศาลาว่าไม่สมควร ​ แต่เมื่อเดินไปอย่างปกติ เข้าไปในศาลาแล้วก็พึงอยู่จนกว่าฝนจะหายจึงค่อยไป 
- 
-ว่าด้วยกรรมวิธีโดยอัพโภกาสิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​ประเภท'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ เมื่อว่าโดยประเภท ​ แม้อัพโภกาสิกภิกษุนี้ก็มี 3  ประเภท ​ ใน 3  ประเภทนั้น ​ สำหรับอัพโภกาสิกภิกษุชั้นอุกฤษฏ์ ​ จะเข้าไปพะพิงอิงต้นไม้หรือภูเขาหรือเรือนอยู่ไม่ได้ ​ ต้องทำกระท่อมผ้า ​ (กางกลด) ​ อยู่ ​ ณ  ที่กลางแจ้งเท่านั้น 
- 
-สำหรับอัพโภกาสิกภิกษุชั้นกลาง ​ จะเข้าไปพะพิงอิงต้นไม้ภูเขาและบ้าน ​ แต่ไม่เข้าไปอยู่ข้างในได้อยู่ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 112)''</​fs></​sub>​ 
- 
-สำหรับอัพโภกาสิกภิกษุชั้นต่ำ ​ เงื้อมเขาซึ่งมีขอบเขตมิได้มุงบังก็ดี ​ ปะรำที่มุงบังด้วยกิ่งไม้ก็ดี ​ ผ้ากลดหยาบ ๆ ก็ดี ​ (ผ้าเต็นท์กระมัง) ​ กระต๊อบซึ่งอยู่ตามที่นั้น ๆ  ที่พวกคนเฝ้านาเป็นต้นทอดทิ้งแล้วก็ดี ​ ใช้ได้ทั้งนั้น 
- 
-ว่าด้วยประเภทในอัพโภกาสิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​ความแตก'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ธุดงค์นี้ย่อมแตก ​ คือหายจากสภาพธุดงค์ ​ ในขณะที่อัพโภกาสิกภิกษุทั้ง 3  ประเภทนี้ ​ เข้าไปสู่ที่อยู่อันมีหลังคาหรือเข้าไปสู่โคนไม้ 
- 
-ท่านผู้ชำนาญคัมภีร์อังคุตตรนิกายอธิบายไว้ว่า ​ ธุดงค์นี้ย่อมแตกในขณะที่อัพโภกาสิกภิกษุรู้แล้วทำอรุณให้ขึ้นในที่อยู่ซึ่งมีหลังคาหรือที่โคนไม้นั้น 
- 
-ว่าด้วยความแตกในอัพโภกาสิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​อานิสงส์'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อานิสงส์ในธุดงค์นี้มีดังนี้ -  เป็นการตัดความกังวลในที่อยู่เสียได้, ​ เป็นอุบายบรรเทาถีนะมิทธะคือความง่วงเหงาหาวนอน, ​ เป็นผู้สมควรแก่การที่จะสรรเสริญว่า ​ ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ไม่มีบ้าน ​ ไม่ติดข้องเที่ยวไป ​ มีอาการปานดังฝูงเนื้อฉะนั้น, ​ เป้นผู้สิ้นความเกี่ยวเกาะ, ​ เป็นผู้จาริกไปได้ในทิศทั้ง 4,  เป็นผู้มีความประพฤติสมควรแก่คุณมีความมักน้อยเป็นต้น 
- 
-ภิกษุมีจิตใจเป็นดังจิตใจของเนื้อทราย ​ อาศัยอยู่ ​ ณ  ที่กลางแจ้ง ​ อันมีเพดานประดับแก้วด้วยมณีคือดวงดาว ​ อันสว่างไสวด้วยดวงประทีปคือพระจันทร์ ​ อันสมควรแก่ภาวะของท่านผู้ไม่มีเรือนทั้งหาได้ไม่ยาก ​ กำจัดความง่วงเหงาหาวนอนให้ส่างซาแล้ว ​ อาศัยแล้วซึ่งความเป็นผู้ยินดีในภาวนา ​ ไม่นานสักเท่าไร ​ ย่อมจะได้ประสบซึ่งความยินดีในรสอันเกิดแต่ความสงัดเป็นแน่แท้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 113)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เพราะเหตุนั้นแหละ ​ อันภิกษุผู้มีปัญญา ​ พึงเป็นผู้ยินดีในที่กลางแจ้งนั่นเทอญ 
- 
-ว่าด้วยอานิสงส์ในอัพโภกาสิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-พรรณนาการสมาทาน, ​ กรรมวิธี, ​ ประเภท, ​ ความแตก ​ และอานิสงส์ 
- 
-ในอัพโภกาสิกังคธุดงค์ ​ ยุติลงเพียงเท่านี้ 
- 
-===11. โสสานิกังคกถา=== 
- 
-'''​การสมาทาน'''​ 
- 
-แม้โสสานิกังคธุดงค์ ​ ก็ย่อมเป็นอันโยคีบุคคลสมาทานเอาแล้วด้วยคำสมาทานอย่างใดอย่างหนึ่ง ​ จากคำสมาทาน ​ 2  อย่างนี้คือ ​ น  สุสานํ ​ ปฏิกฺขิปามิ ​ ข้าพเจ้าขอปฏิเสธที่อันมิใช่สุสาน ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง ​ โสสานิกงฺคํ ​ สมาทิยามิ ​ ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาซึ่งองค์แห่งภิกษุผู้อยู่ในป่าช้าเป็นปกติ ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง 
- 
-ว่าด้วยการสมาทานในโสสานิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​กรรมวิธี'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อันภิกษุผู้อยู่ในสุสานเป็นปกตินั้น ​ ไม่พึงอยู่ในสถานที่ที่พวกมนุษย์อาศัยบ้านอยู่แล้วกำหนดหมายเอาไว้ว่า ​ ที่ตรงนี้ทำเป็นสุสาน ​ เพราะเมื่อยังมิได้เผาศพสถานที่นั้นจะได้ชื่อว่าสุสานหาได้ไม่ ​ แต่นับแต่เวลาที่เผาศพแล้วไป ​ แม้เขาจะทอดทิ้งไปแล้วถึง 12  ปี ​ สถานที่นั้นก็ยังคงสภาพเป็นสุสานอยู่นั่นเอง 
- 
-แหละเมื่อโสสานิกภิกษุอยู่ในสุสานนั้น ​ จะให้ปลูกสร้างสถานที่ ​ เช่นปะรำสำหรับจงกรม ​ จะให้จัดแจงเตียงและตั่ง ​ จะให้ตั้งน้ำฉันและน้ำใช้ ​ จะสอนธรรม ​ หาเป็นการสมควรไม่ ​ ก็ธุดงค์นี้เป็นภาระหนัก ​ (บริหารได้ยาก) ​ เพราะฉะนั้น ​ เพื่อป้องกันอันตรายซึ่งอาจจะเกิดขึ้น ​ อันโสสานิกภิกษุพึงกราบเรียนพระสังฆเถระ ​ หรือบอกเจ้าหน้าที่ให้ทราบไว้ ​ จึงอยู่อย่างไม่ประมาทนั่นเถิด ​ เมื่อเดินจงกรม ​ ก็พึงเดินชำเลืองตาดูสุสานไปพลาง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 114)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ท่านผู้ชำนาญในคัมภีร์อังคุตตรนิกายพรรณนาไว้ว่า ​ แม้เมื่อโสสานิกภิกษุจะไปสู่สุสานนั้น ​ พึงหลบจากทางสายใหญ่ ๆ เสีย ​ ลัดเลาะไปตามนอกเส้นทาง ​ พึงกำหนดหมายอารมณ์ไว้เสียแต่ในกลางวันทีเดียว ​ (เช่นหมายไว้ว่า ​ ตรงนี้เป็นจอมปลวก ​ ตรงนี้เป็นต้นไม้ ​ ตรงนี้เป็นตอ) ​ เพาะเมื่อกำหนดหมายไว้อย่างนี้ ​ อารมณ์นั้นจักไม่ทำให้เกิดความหวาดกลัวแก่เธอในเวลากลางคืน ​ แม้ถึงจะมีพวกอมนุษย์เที่ยวร่ำร้องอยู่ไปมาในเวลากลางคืน ​ ก็อย่าขว้างปาด้วยวัตถุอะไร ​ (เช่น ​ ก้อนดินและก้อนหินเป็นต้น) ​ อันโสสานิกภิกษุนั้นที่จะไม่ไปยังสุสานแม้เพียงวันเดียวหาได้ไม่ ​ ต้องทำให้มัชฌิมยาม ​ (4 ทุ่ม ​ ถึง 8 ทุ่ม) ​ หมดสิ้นไปอยู่ในสุสาน ​ แล้วจึงกลับออกมาในเวลาปัจฉิมยาม ​ (9 ทุ่ม ​ ถึง 12  ทุ่ม) 
- 
-ของเคี้ยวของฉันอันไม่เป็นที่ชอบใจของพวกอมนุษย์ ​ เช่น ​ แป้งผสมงา, ​ ข้าวผสมถั่ว, ​ ปลา, ​ เนื้อ, ​ น้ำ, ​ น้ำมันและน้ำอ้อยเป็นต้น ​ ไม่ควรจะเสพ ​ ไม่ควรเข้าไปสู่เรือนแห่งตระกูล 
- 
-ว่าด้วยกรรมวิธีในโสสานิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​ประเภท'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ เมื่อว่าโดยประเภท ​ แม้โสสานิกภิกษุนี้ก็มี 3  ประเภท ​ ใน 3  ประเภทนั้น ​ โสสานิกภิกษุชั้นอุกฤษฏ์ ​ ต้องอยู่ ​ ณ  สุสานซึ่งมีการเผาศพประจำ, ​ มีศพประจำและมีการร้องไห้เป็นเนืองนิจเท่านั้น 
- 
-สำหรับโสสานิกภิกษุชั้นกลาง ​ ในองค์คุณแห่งสุสาน 3  ชนิดนั้น ​ แม้จะมีเพียงชนิดเดียว ​ ก็สมควร 
- 
-สำหรับโสสานิกภิกษุชั้นต่ำ ​ อยู่ในสุสานที่พอเข้าลักษณะแห่งสุสานตามนัยที่กล่าวแล้ว ​ ก็เป็นการสมควร 
- 
-ว่าด้วยประเภทในโสสานิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​ความแตก'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ธุดงค์นี้ย่อมแตก ​ คือหายจากสภาพธุดงค์ ​ โดยที่โสสานิกภิกษุทั้ง 3  ประเภทนี้ ​ สำเร็จการอยู่ในสถานที่ซึ่งมิใช่สุสานนั่นเทียว 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 115)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ท่านผู้ชำนาญในคัมภีร์อังคุตตรนิกายอรรถาธิบายไว้ว่า ​ ธุดงค์นี้ย่อมแตกในวันที่ไม่ไปสู่สุสาน 
- 
-ว่าด้วยความแตกในโสสานิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​อานิสงส์'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อานิสงส์ในธุดงค์นี้มีดังนี้ ​ คือ – ได้มรณสติ, ​ มีการอยู่อย่างไม่ประมาท, ​ ได้ประสบอสุภนิมิต, ​ บรรเทาเสียได้ซึ่งความกำหนัดในกาม, ​ ได้เห็นสภาวะแห่งกายเนือง ๆ,  ความเป็นผู้มากด้วยความสังเวชสลดใจ, ​ ละเสียได้ซึ่งความเมาในความไม่มีโรคเป็นต้น, ​ ครอบงำเสียได้ซึ่งภัยอันน่ากลัว, ​ มีภาวะเป็นที่เคารพและเป็นที่น่าสรรเสริญของอมนุษย์ทั้งหลาย, ​ เป็นผู้มีความประพฤติสมควรแก่คุณมีความมักน้อยเป็นต้น 
- 
-ก็แหละ ​ โทษเพราะประมาททั้งหลายย่อมไม่ถูกต้องพ้องพาน ​ ซึ่งภิกษุผู้อยู่ในสุสานเป็นปกติ ​ แม้จะหลับอยู่ก็ตาม ทั้งนี้เพราะอำนาจแห่งมรณานุสสติภาวนา 
- 
-แหละ ​ เมื่อโสสานิกภิกษุนั้นเห็นศพอยู่อย่างมากมาย ​ จิตของท่านไม่ตกไปสู่อานุภาพและอำนาจของกามเลย ​ 
- 
-โสสานิกภิกษุ ​ ย่อมประสบความสังเวชสลดใจอย่างไพศาล ​ ย่อมไม่เข้าถึงซึ่งความมัวเมา ​ อนึ่ง ​ ชื่อว่าพยายามแสวงหาอยู่ ​ ซึ่งพระนิพพานโดยชอบ 
- 
-ด้วยประการฉะนี้ ​ อันภิกษุผู้เป็นบัณฑิต ​ ผู้มีจิตน้อมเอียงไปหาพระนิพพาน ​ พึงส้องเสพซึ่งโสสานิกังคธุดงค์เถิด ​ เพราะเป็นสิ่งที่นำมาซึ่งคุณเป็นอเนกประการ 
- 
-ว่าด้วยอานิสงส์ในโสสานิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-พรรณนาการสมาทาน, ​ กรรมวิธี, ​ ประเภท, ​ ความแตก ​ และอานิสงส์ 
- 
-ในโสสานิกังคธุดงค์ ​ ยุติลงเพียงเท่านี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 116)''</​fs></​sub>​ 
- 
-===12. ยถาสันถติกังคกถา=== 
- 
-'''​การสมาทาน'''​ 
- 
-แม้ยถาสันถติกังคธุดงค์ ​  ​ก็ย่อมเป็นอันโยคีบุคคลสมาทานเอาแล้ว ​ ด้วยคำสมาทานอย่างใดอย่างหนึ่ง ​ จากคำสมาทาน 2  อย่างนี้คือ ​ เสนาสนโลลุปฺปํ ​ ปฏิกฺขิปามิ ​ ข้าพเจ้าขอปฏิเสธความละโมบในเสนาสนะ ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง ​ ยถาสนฺถติกงฺคํ ​ สมาทิยามิ ​ ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาซึ่งองค์แห่งภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะตามที่จัดแจงไว้แล้วอย่างไรเป็นปกติ ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง ​ 
- 
-ว่าด้วยการสมาทานในยถาสันถติกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​กรรมวิธี'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ เสนาสนะใดที่สงฆ์ให้เธอรับเอาแล้วด้วยคำว่า ​ เสนาสนะนี้ถึงแก่ท่าน ​ ฉะนี้ ​ อันยถาสันถติกภิกษุนั้น ​ พึงยินดีด้วยเสนาสนะนั้นเท่านั้น ​ ไม่พึงขับไล่ภิกษุอื่นให้ลุกหนีไป 
- 
-ว่าด้วยกรรมวิธีในยถาสันถติกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​ประเภท'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ เมื่อว่าโดยประเภท ​ แม้ยถาสันถติกภิกษุนี้ ​ ก็มี ​ 3  ประเภท ​ ใน 3  ประเภทนั้น ​ ยถาสันถติกภิกษุชั้นอุกฤษฏ์ ​ จะสอบถามถึงเสนาสนะที่ถึงแก่ตนว่า ​ ไกลไหม ?  ใกล้ไหม ?  อันอมนุษย์และจำพวกสัตว์ทีฆชาติเป็นต้นรบกวนไหม ?  ร้อนไหม ?  หรือเย็นไหม ?  ดังนี้หาได้ไม่ 
- 
-ยถาสันถติกภิกษุชั้นกลาง ​ จะสอบถามดังนั้นได้อยู่ ​ แต่จะไปตรวจดูหาได้ไม่ 
- 
-ยถาสันถติกภิกษุชั้นต่ำ ​ ครั้นไปตรวจดูเสนาสนะแล้ว ​ ถ้าไม่ชอบใจเสนาสนะหลังนั้น ​ จะถือเอาเสนาสนะหลังอื่นก็ได้ 
- 
-ว่าด้วยประเภทในยถาสันถติกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 117)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ความแตก'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ธุดงค์นี้ย่อมแตก ​ คือหายจากสภาพไป ​ ในขณะพอเมื่อยถาสันถติกภิกษุทั้ง ​ 3  ประเภท ​ เกิดความไม่ละโมบขึ้นในเสนาสนะนั่นเทียว 
- 
-ว่าด้วยความแตกในยถาสันถติกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​อานิสงส์'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อานิสงส์ในธุดงค์นี้มีดังนี้ ​ คือ – เป็นการกระทำตามพระพุทธโอวาทข้อว่า ​ ได้สิ่งใดก็พึงยินดีด้วยสิ่งนั้น, ​ เป็นผู้มุ่งประโยชน์ให้แก่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย, ​ เป็นการสละความเลือกในของเลวและของประณีต, ​ เป็นการสละเสียได้ซึ่งความดีใจและความเสียใจ, ​ เป็นความปิดประตูแห่งความมักมาก, ​ เป็นผู้มีความประพฤติสมควรแก่คุณมีความมักน้อยเป็นต้น ​ 
- 
-ภิกษุผู้สำรวม ​ มีอันอยู่ในเสนาสนะ ​ ตามที่จัดแจงไว้แล้วเป็นปกติ ​ ได้สิ่งใดก็ยินดีด้วยสิ่งนั้นไม่เลือก ​ ย่อมนอนเป็นสุขในเสนาสนะที่ปูลาดด้วยหญ้าก็ตาม 
- 
-ยถาสันถติภิกษุนั้น ​ ย่อมไม่ดีใจในเสนาสนะที่ดี ๆ  ได้ของเลวมาแล้วก็ไม่เสียใจ ​ ย่อมสงเคราะห์บรรดาเพื่อนพรหมจรรย์รุ่นใหม่ ๆ  ด้วยประโยชน์เกื้อกูล 
- 
-เพราะฉะนั้นภิกษุผู้มีปัญญา ​ จงประกอบเนือง ๆ  ซึ่งความเป็นผู้ยินดีในเสนาสนะตามที่จัดแจงไว้แล้ว ​ อันเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าจำนวนร้อย ๆ สั่งสมแล้ว ​ อันพระมหามุณีผู้ยอดเยี่ยมทรงสรรเสริญแล้ว 
- 
-ว่าด้วยอานิสงส์ในยถาสันถติกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-พรรณนาการสมาทาน, ​ กรรมวิธี, ​ ประเภท, ​ ความแตก ​ และอานิสงส์ 
- 
-ในยถาสันถติกังคธุดงค์ ​ ยุติลงเพียงเท่านี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 118)''</​fs></​sub>​ 
- 
-===13. เนสัชชิกังคกถา=== 
- 
-'''​การสมาทาน'''​ 
- 
-แม้เนสัชชิกังคธุดงค์ ​ ก็ย่อมเป็นอันโยคีบุคคลสมาทานเอาแล้ว ด้วยคำสมาทานอย่างใดอย่างหนึ่ง ​ จากคำสมาทาน 2  อย่างนี้คือ ​ เสยฺยํ ​ ปฏิกฺขิปามิ ​ ข้าพเจ้าขอปฏิเสธอิริยาบถนอน ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง ​ เนสชฺชิกงฺคํ ​ สมาทิยามิ ​ ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาซึ่งองค์แห่งภิกษุผู้มีอันอยู่ด้วยอิริยาบถนั่งเป็นปกติ ​ ดังนี้อย่างหนึ่ง 
- 
-ว่าด้วยการสมาทานในเนสัชชิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​กรรมวิธี'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อันเนสัชชิกภิกษุนั้น ​ ต้องลุกขึ้นเดินจงกรมให้ได้ยามหนึ่ง ​ ในบรรดายามสามแห่งราตรี ​ เพราะในอิริยาบถ 4 นั้น ​ อริยาบถนอนเท่านั้น ​ ย่อมไม่สมควรแก่ผู้บำเพ็ญเนสัชชิกังคธุดงค์  ​ 
- 
-ว่าด้วยกรรมวิธีในเนสัชชิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​ประเภท'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ เมื่อว่าโดยประเภท ​ แม้เนสัชชิกภิกษุนี้ก็มี 3 ประเภท ​ ใน 3  ประเภทนั้น ​ สำหรับเนสัชชิกภิกษุชั้นอุกฤษฏ์ ​ หมอนอิงข้าง ​ แคร่นั่งทำด้วยผ้า ​ และผ้าสายโยค ​ ใช้ไม่ได้ทั้งนั้น 
- 
-สำหรับเนสัชชิกภิกษุชั้นกลาง ​ ในของ 3 อย่างนี้ ​ เพียงแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ​ ใช้ได้ 
- 
-สำหรับเนสัชชิกภิกษุชั้นต่ำ ​ พนักอิงข้างก็ดี ​ แคร่นั่งทำด้วยผ้าก็ดี ​ ผ้าสายโยคก็ดี ​ หมอนพิงก็ดี ​ เก้าอี้มีองค์ 5 ก็ดี ​ เก้าอี้มีองค์ 7 ก็ดี ​ ใช้ได้ทั้งนั้น 
- 
-ก็แหละ ​ เก้าอี้ที่ทำมีพนักข้างหลัง ​ ชื่อว่าเก้าอี้มีองค์ 5  (คือ เท้า 4  พนักหลัง 1)  เก้าอี้ที่ทำมีพนักข้างหลังด้วย ​ มีพนักในข้างทั้ง 2  ด้วย ​ ชื่อว่าเก้าอี้มีองค์ 7 
- 
-ได้ยินว่า ​ เก้าอี้มีองค์ ​ 7  นั้น ​ พวกทายกได้ทำถวายแก่ท่านพระจูฬอภยเถระ ​ พระเถระสำเร็จพระอนาคามีปรินิพพานแล้ว 
- 
-ว่าด้วยประเภทในเนสัชชิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 119)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ความแตก'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ธุดงค์นี้ย่อมแตก ​ คือหายจากสภาพธุดงค์ ​ ในขณะพอเมื่อเนสัชชิกภิกษุทั้ง 3  ประเภทนี้ ​ สำเร็จซึ่งอิริยาบถนอนนั่นเทียว 
- 
-ว่าด้วยความแตกในเนสัชชิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-'''​อานิสงส์'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อานิสงส์ของธุดงค์นี้มีดังนี้คือ – เป็นการตัดเสียซึ่งความผูกพันแห่งจิตที่ตรัสไว้ว่า ​ เป็นผู้ขวนขวายหาความสุขในการนอน ​ ความสุขในการเอนหลัง ​ ความสุขในการหลับฉะนี้, ​ ความเป็นที่สัปปายะแก่การบำเพ็ญกัมมัฏฐานทั้งปวง, ​ ความเป็นผู้มีอิริยาบถเป็นที่น่าเลื่อมใส, ​ เป็นการเกื้อหนุนแก่การเริ่มทำความเพียร, ​ เป็นการเพิ่มพูนการปฏิบัติชอบให้เจริญยิ่งขึ้น 
- 
-เนสัชชิกภิกษุผู้สำรวม ​ นั่งคู้บัลลังก์ ​ ตั้งกายให้ตรง ​ ย่อมยังดวงหฤทัยของพญามารให้หวาดหวั่น 
- 
-ภิกษุผู้ยินดีในการนั่ง ​ มีความเพียรปรารภแล้ว ​ ละความสุขในการนอน ​ ความสุขในการหลับแล้ว ​ ย่อมทำป่าอันเป็นที่บำเพ็ญตบะให้งดงาม 
- 
-เพราะเหตุที่ตนจะได้ประสบซึ่งปีติและสุข ​ อันปราศจากอามิสฉะนั้น ​ อันภิกษุผู้บัณฑิตพึงหมั่นบำเพ็ญเนสัชชิกังคธุดงค์อยู่เนือง ๆ  นั่นเถิด 
- 
-ว่าด้วยอานิสงส์ในเนสัชชิกังคธุดงค์นี้ ​ เพียงเท่านี้ 
- 
-พรรณนาการสมาทาน, ​ กรรมวิธี, ​ ประเภท, ​ ความแตก ​ และอานิสงส์ 
- 
-ในเนสัชชิกังคธุดงค์ ​ ยุติลงเพียงเท่านี้ 
- 
-==วินิจฉัยความเป็นกุศลติกะ== 
- 
-'''​บัดนี้ ​ ถึงวาระที่จะพรรณนาความแห่งคาถานี้ ​ คือ –'''​ 
- 
-กุสลตฺติกโต ​ เจว ​    ​ธุตาทีนํ ​ วิภาวโต 
- 
-สมาสพยาสโตจาปิ ​    ​วิญฺญาตพฺโพ ​ วินิจฺฉโย 
- 
-แปลความว่า – 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 120)''</​fs></​sub>​ 
- 
-นักศึกษาพึงศึกษาให้เข้าใจข้อวินิจฉัยธุดงค์ ​ โดยความเป็นกุศลติกะ 1  โดยแยกออกเป็นคำ ๆ  มีคำว่าธุตะเป็นต้น ​ 1  โดยย่อและโดยพิสดาร 1 
- 
-ในอาการเหล่านั้น ​ คำว่า ​ โดยความเป็นกุศลติกะ ​ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ – 
- 
-ก็แหละ ​ ธุดงค์หมดทั้ง 13  ประการนั้นแล ​ จัดเป็นกุศลด้วยอำนาจแห่งเสกขบุคคลและปุถุชนก็มี ​ จัดเป็นอัพยากฤตด้วยอำนาจแห่งพระอรหันตขีณาสพก็มี ​ แต่ธุดงค์ที่จัดเป็นอกุศลหามีไม่ 
- 
-อาจจะมีผู้ใดท้วงติงว่า ​ แม้ธุดงค์ที่จัดเป็นอกุศลก็มีเหมือนกัน ​ โดยมีพระพุทธวจนะเป็นอาทิว่า ​ ภิกษุผู้มีความปรารถนาลามก ​ อันความปรารถนาครอบงำแล้วเป็นผู้อยู่ในป่า ​ ฉะนี้ 
- 
-นักศึกษาพึงแถลงแก้เขาดังนี้ – เรามิได้กล่าวปฏิเสธว่า ​ ภิกษุไม่อยู่ในป่าด้วยอกุศลจิต ​ ความจริง ​ ภิกษุใดมีอาการอยู่ในป่า ​ ภิกษุนั้นชื่อว่าผู้อยู่ในป่า ​ อันภิกษุผู้อยู่ในป่านั้น ​ จะพึงเป็นผู้มีความมักน้อยก็มี ​ เป็นธรรมดา 
- 
-ข้าพเจ้าได้อรรถาธิบายมาแล้วว่า ​ ก็แหละ ​ ธุดงค์เหล่านี้เป็นองค์ของภิกษุผู้ได้นามว่า ​ ธุตะ ​ เพราะเป็นผู้มีกิเลสอันกำจัดแล้วด้วยเจตนาเป็นเครื่องสมาทานนั้น ๆ  ฉะนั้น ​ จึงชื่อว่า ​ ธุตังคะ ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ ญาณอันได้โวหารว่า ​ ธุตะ เพราะเป็นการกำจัดซึ่งกิเลส ​ เป็นเหตุแห่งการสมาทานเหล่านั้น ​ ฉะนั้น ​ การสมาทานเหล่านั้นจึงชื่อว่า ​ ธุตังคะ อีกนัยหนึ่ง ​ การสมาทานเหล่านั้นได้ชื่อว่า ​ ธุตะ ​ เพราะเป็นเครื่องกำจัดซึ่งธรรมอันเป็นข้าศึก ​ และเป็นเหตุแห่งสัมมาปฏิบัติด้วย ​ ฉะนั้น ​ การสมาทานเหล่านั้น ​ จึงชื่อว่า ​ ธุตังคะ 
- 
-ก็เมื่อการสมาทานเหล่านี้จะพึงเป็นองค์ของภิกษุใด ​ ภิกษุนั้นเป็นผู้ชื่อว่า ​ กำจัดอะไร ๆ  ด้วยอกุศลก็หามิได้ ​ ด้วยว่าอกุศลย่อมกำจัดบาปอะไร ๆ  ไม่ได้ ​ เพราะทำอธิบายว่า ​ อกุศลนั้นเป็นองค์แห่งการสมาทานเหล่าใด ​ ก็จะพึงเรียกการสมาทานเหล่านั้นว่าธุตังคะไปเสีย ​ ที่แท้อกุศลย่อมกำจัดกิเลสมีความละโมบในจีวรเป็นต้นไม่ได้ ​ เป็นองค์แห่งสัมมาปฏิบัติก็ไม่ได้เพราะเหตุฉะนั้น ​ คำว่า ​ ธุดงค์ที่จัดเป็นอกุศลหามีไม่ ​ นี้เป็นอันกล่าวชอบแล้ว 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 121)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อนึ่ง ​ แม้ความพิรุธจากพระบาลีก็จะถึงแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า ​ ธุดงค์แม้ของภิกษุเหล่าใด ​ ซึ่งพ้นไปจากกุศลติกะ ​ ธุดงค์ของภิกษุเหล่านั้นนั่นแหละ ​ ย่อมไม่มีโดยความหมาย ​ สิ่งที่ไม่มีความหมายจักชื่อว่า ​ ธุตังคะ ​ เพราะกำจัดสิ่งอะไรเล่า ​ ผู้บำเพ็ญธุดงค์ย่อมจะสมาทาน ​ เอาธุตคุณไปประพฤติปฏิบัติอยู่ ​ เพราะฉะนั้น คำของภิกษุเหล่านั้น ​ (หมายเอาทรรศนะของพวกภิกษุชาววัดอภัยคีรี) ​ ไม่ควรถือเอาเป็นประมาณ'''​ 
- 
-พรรณนาโดยความเป็นกุศลติกะ ​ อันเป็นประการแรกในคาถานี้ ​ ยุติเพียงเท่านี้ 
- 
-==วินิจฉัยแยกเป็นคำ ๆ มีคำว่าธุตะเป็นต้น== 
- 
-ในข้อว่า ​ โดยแยกออกเป็นคำ ๆ มีคำว่า ​ ธุตะ เป็นต้น ​ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ –  
- 
-นักศึกษาพึงเข้าใจคำเหล่านี้คือ ​ ธุตะ 1  ธุตวาทะ 1  ธุตธรรมะ 1  ธุตังคะ 1  การเสพธุดงค์เป็นที่สบายแก่บุคคลชนิดไร 1 
- 
-'''​ธุตะ'''​ 
- 
-ในคำเหล่านั้น ​ คำว่า ​ ธุตะ ​ หมายเอาบุคคลผู้มีกิเลสอันกำจัดแล้ว ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ หมายเอาธรรมอันเป็นเครื่องกำจัดซึ่งกิเลส 
- 
-'''​ธุตวาทะ'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ ในคำว่า ​ ธุตวาทะ ​ นี้ ​ มีอรรถาธิบายดังนี้ ​ คือ – 
- 
-บุคคลมีธุตะแต่ไม่มีธุตวาทะ 1  บุคคลไม่มีธุตะแต่มีธุตวาทะ 1  บุคคลไม่มีทั้งธุตะทั้งธุตวาทะ 1  บุคคลมีทั้งธุตะทั้งธุตวาทะ 1 
- 
-ในบุคคล 4  จำพวกนั้น ​ บุคคลใดกำจัดกิเลสของตนได้ด้วยธุดงค์ ​ แต่ไม่โอวาท ​ ไม่อนุสาสน์บุคคลอื่นด้วยธุดงค์ ​ เหมือนอย่างพระพากุลเถระ ​ บุคคลนี้ชื่อว่า ​ ผู้มีธุตะแต่ไม่มีธุตวาทะ ​ สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ​ ท่านพากุละนี้นั้น ​ เป็นผู้มีธุตะแต่ไม่มีธุตวาทะ 
- 
-แหละบุคคลใดมิได้กำจัดกิเลสของตนด้วยธุดงค์ ​ ย่อมโอวาทย่อมอนุสาสน์บุคคลอื่น ​ ด้วยธุดงค์แต่อย่างเดียว ​ เหมือนอย่างพระอุปนันทเถระ ​ บุคคลนี้ชื่อว่า ​ ไม่มีธุตะแต่มีธุตวาทะ ​ สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ​ ท่านอุปนันทะผู้สักยบุตรนี้นั้น ​ เป็นผู้ไม่มีธุตะแต่มีธุตวาทะ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 122)''</​fs></​sub>​ 
- 
-บุคคลใดวิบัติจากธุตะและธุตวาทะทั้งสองอย่าง ​ เหมือนอย่างพระโลฬุทายี ​ บุคคลนี้ชื่อว่าผู้ไม่มีทั้งธุตะทั้งธุตวาทะ ​ สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ​ พระโลฬุทายีนั้น ​ เป็นผู้ไม่มี ​ ทั้งธุตะทั้งธุตวาทะนั่นเทียว 
- 
-แหละบุคคลใดสมบุรณ์ด้วยธุตะและธุตวาทะทั้งสอง ​ เหมือนอย่างพระธรรม ​ เสนาบดีเสรีปุตตะ ​ บุคคลนี้ชื่อว่ามีทั้งธุตะมีทั้งธุตวาทะนั่นเทียว ​ สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ​ ท่านสารีปุตตะนี้นั้น ​ เป็นผู้มีทั้งธุตะมีทั้งธุตวาทะ 
- 
-'''​ธุตธรรมะ'''​ 
- 
-คำว่า ​ พึงเข้าใจ ​ ธุตธรรมะ ​ นั้น ​ มีอรรถาธิบายว่า ​ ธรรม 5  ประการ ​ อันเป็นบริวารแห่งธุตังคเจตนาเหล่านี้ ​ คือ ​ ความมักน้อย 1  ความสันโดษ 1  ความขัดเกลา 1  ความสงัด 1  ความต้องการด้วยกุศลนี้ ​ (อิทมตฺถิตา) 1  ชื่อว่าธุตธรรมะ ​ ทั้งนี้ ​ เพราะมีพระบาลีรับรองว่า….เพราะอาศัยความเป็นผู้มีความมักน้อยนั่นเทียว 
- 
-ในธุตธรรมะ 5  ประการนั้น ​ ความมักน้อยกับความสันโดษ ​ สงเคราะห์เป็นอโลภะ ​ ความขัดเกลากับความสงัดคล้อยไปในธรรมะ 2  อย่าง ​ อโลภะและอโมหะ ​ ความต้องการด้วยกุศลนี้ ​ จัดเป็นตัวญาณโดยตรง 
- 
-แหละในอโลภะและอโมหะนั้น ​ โยคีบุคคลย่อมกำจัดความโลภในวัตถุที่ต้องห้ามนั้นแลได้ด้วยอโมหะ 
- 
-อนึ่ง ​ โยคีบุคคลย่อมกำจัดกามสุขัลลิกานุโยค ​ คือการประกอบตนในกามสุขอันเป็นไปโดยมุขคือการเสพวัตถุที่ทรงอนุญาตแล้ว ​ ด้วยอโลภะ ​ ย่อมกำจัดอัตตกิลมถานุโยคคือการประกอบตนให้ลำบาก ​ อันเป็นไปโดยมุข ​ คือความขัดเกลาอย่างเคร่งเครียดในธุดงค์ทั้งหลายด้วยอโมหะ 
- 
-'''​เพราะเหตุดังนั้น ​ ธรรมเหล่านี้นักศึกษาพึงทราบว่า ​ ธุตธรรมะ'''​ 
- 
-'''​ธุตังคะ'''​ 
- 
-คำว่าพึงเข้าใจ ​ ธุตังคะ ​ นั้น ​ มีอรรถาธิบายว่า ​ นักศึกษาพึงทราบว่าธุตังคะคือ ​ ธุดงค์ ​ มี 13  ประการ ​ คือ ​ ปังสุกูลิกังคะ 1  เตจีวริกังคะ 1  ปิณฑปาติกังคะ ​ 1  สปทาน- 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 123)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​จาริกังคะ 1 เอกาสนิกังคะ 1  ปัตตปิณฑิกังคะ 1  ขลุปัจฉาภัตติกังคะ 1  อารัญญิกังคะ 1  รุกขมูลิกังคะ 1  อัพโภกาสิกังคะ 1  โสสานิกังคะ 1  ยถาสันถติกังคะ 1  และเนสัชชิกังคะ 1'''​ 
- 
-ธุตังคะทั้ง 13  ประการนี้ ​ ได้อรรถาธิบายโดยอรรถวิเคราะห์และโดยลักษณะ ​ เป็นต้นมาแล้วในตอนต้น ​ ในที่นี้จึงไม่อธิบายซ้ำอีก 
- 
-'''​การเสพธุดงค์เป็นที่สบายแก่บุคคลชนิดไร'''​ 
- 
-คำว่า ​ การเสพธุดงค์เป็นที่สบายแก่บุคคลชนิดไร ​ นั้น ​ มีอรรถาธิบายว่า ​ การเสพธุดงค์เป็นที่สบายแก่บุคคลที่เป็นราคจริตกับโมหจริต 
- 
-เพราะเหตุไร ?  เพราะการเสพธุดงค์เป็นข้อปฏิบัติที่ลำบากและเป็นการอยู่อย่าง ​ ขัดเกลากิเลส ​ จริงอยู่ ​ ราคะย่อมสงบลงเพราะอาศัยการปฏิบัติลำบาก ​ ผู้ไม่ประมาทย่อมละโมหะได้เพราะอาศัยความขัดเกลากิเลส 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ ในบรรดาธุดงค์เหล่านี้ ​ การเสพอารัญญิกังคธุดงค์กับรุกขมูลิกังคธุดงค์ ​ ย่อมเป็นที่สบายแม้สำหรับบุคคลที่เป็นโทสจริตด้วย ​ เพราะว่าเมื่อโยคีบุคคลอยู่อย่าง ​ ที่ไม่ถูกกระทบกระทั่งในป่าหรือที่โคนไม้นั้น ​ แม้โทสะก็ย่อมสงบลงเป็นธรรมดา 
- 
-'''​พรรณนาโดยแยกออกเป็นคำ ๆ  มีคำว่าธุตะเป็นต้น ​ ยุติลงเพียงเท่านี้'''​ 
- 
-==วินิจฉัยโดยย่อและโดยขยาย== 
- 
-ข้อว่า ​ โดยย่อและโดยพิสดารนั้น ​ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ – 
- 
-'''​โดยย่อ'''​ 
- 
-ก็แหละ ธุดงค์ 13  ประการนี้ ​ เมื่อจัดโดยย่อมีเพียง 8  ประการเท่านั้น ​ คือองค์ที่เป็นหัวใจ ​ 3 องค์ที่ไม่เจือปน 5 
- 
-ใน 2  ลักษณะนั้น ​ องค์ที่เป็นหัวใจ 3  นั้นคือ ​ สปทานจาริกังคะ 1  เอกาสนิกังคะ 1  อัพโภกาสิกังคะ 1  อธิบายว่า ​ เมื่อโยคีบุคคลรักษาสปทานจาริกังคธุดงค์ ​ จักได้ชื่อว่ารักษาปิณฑปาติกังคธุดงค์ไปด้วย ​ และเมื่อโยคีบุคคลรักษาเอกาสนิกังคธุดงค์ ​ จำเป็นอันต้องรักษาด้วยดี ​ แม้ซึ่งปัตตปิณฑิกังคธุดงค์และขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ไปด้วย ​ เมื่อโยคีบุคคลรักษา ​ อัพโภกาสิกังคธุดงค์ ​ ก็เป็นอันต้องรักษาในรุกขมูลิกังคธุดงค์และยถาสันถติกังคธุดงค์อยู่ในตัวมิใช่หรือ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 124)''</​fs></​sub>​ 
- 
-องค์ที่เป็นหัวใจ 3  ดังอธิบายมานี้ ​ กับองค์ที่ไม่เจือปนอีก 5  คือ ​ อารัญญิกังคะ 1  ปังสุกูลิกังคะ 1  เตจีวริกังคะ 1  เนสัชชิกังคะ 1  โสสานิกังคะ 1  จึงรวมเป็นธุดงค์โดยย่อ 8  ประการพอดี 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ ธุดงค์ 13  ประการนี้ ​ สงเคราะห์ลงมีเพียง 4  ประการเท่านั้น ​ คือธุดงค์ที่ประกอบด้วยจีวร 2  ที่ประกอบด้วยบิณฑบาต 5  ที่ประกอบเสนาสนะ 5  ที่ประกอบด้วยความเพียร 1 
- 
-ในบรรดาธุดงค์เหล่านี้ ​ เนสัชชิกังคธุดงค์ ​ จัดเป็นธุดงค์ที่ประกอบด้วยความเพียร ​ ธุดงค์นอกนี้ความปรากฏชัดอยู่แล้ว 
- 
-อีกประการหนึ่ง ​ เมื่อว่าด้วยอำนาจความอาศัยแล้ว ​ ธุดงค์ทั้งหมดนั้นมีเพียง 2  ประการ ​ คือ ​ ธุดงค์ที่อาศัยปัจจัย 12  ที่อาศัยความเพียร 1 
- 
-แม้เมื่อว่าด้วยอำนาจ ​ เป็นสิ่งที่ควรเสพและสิ่งที่ไม่ควรเสพ ​ ธุดงค์ทั้งหมดนั้นก็ย่นลงเพียง 2  ประการเหมือนกัน ​ อธิบายว่า ​ เมื่อโยคีบุคคลใดเสพธุดงค์กัมมัฏฐานย่อมเจริญ ​ อันโยคีบุคคลนั้นพึงเสพธุดงค์เถิด ​ เมื่อโยคีบุคคลใดเสพธุดงค์กัมมัฏฐานย่อมเสื่อม ​ อันโยคีบุคคลนั้นไม่พึงเสพธุดงค์ ​ ก็แต่ว่าเมื่อโยคีบุคคลใดจะเสพธุดงค์ก็ตามไม่เสพก็ตาม ​ กัมมัฏฐานย่อมเจริญอย่างเดียวไม่เสื่อมเลย ​ แม้อันโยคีบุคคลนั้นหวังที่จะอนุเคราะห์ชุมนุมชนภายหลัง ​ พึงเสพธุดงค์เถิด ​ แม้เมื่อโยคีบุคคลใดเสพธุดงค์ก็เท่านั้นไม่เสพก็เท่านั้น ​ กัมมัฏฐานไม่เจริญขึ้น ​ แม้อันโยคีบุคคลนั้นก็พึงเสพธุดงค์เถิด ​ ทั้งนี้ ​ เพื่อให้สำเร็จเป็นวาสนาต่อไป 
- 
-ธุดงค์ทั้งหมดนั้นซึ่งย่อลงเป็น 2  ด้วยอำนาจเป็นสิ่งที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ​ ดังอธิบายมาแล้วนี้ ​ ก็สรุปลงเป็นอย่างเดียวด้วยอำนาจแห่งเจตนา ​ เป็นความจริง ​ ธุดงค์มีอย่างเดียวเท่านั้น ​ คือ ​ เจตนาเป็นเครื่องสมาทาน  ​ 
- 
-แม้ในคัมภีร์อรรถกถาท่านก็พรรณนาไว้ว่า ​ นักปราชญ์ทั้งหลายรับรองว่า ​ เจตนาอันใด ​ ธุดงค์ก็อันนั้น ​ ฉะนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 125)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​โดยขยาย'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ เมื่อว่าโดยพิสดาร ​ ธุดงค์มีถึง ​ 42  ประการคือ ​ ธุดงค์สำหรับภิกษุ 13  สำหรับภิกษุณี 8  สำหรับสามเณร 12  สำหรับนางสิกขมานาและสามเณรี 7  สำหรับอุบาสกและอุบาสิกกา 2 
- 
-แหละถ้าสุสานอันถึงพร้อมด้วยองค์แห่งภิกษุผู้อยู่ในป่าเป็นปกติ ​ มีอยู่ ณ  ที่กลางแจ้ง ​ ภิกษุแม้เพียงรูปเดียวก็สามารถเพื่อที่จะเสพธุดงค์ทั้งหมดได้โดยวาระเดียวกัน 
- 
-แต่สำหรับภิกษุณีนั้น ​ ธุดงค์ 2  ประการคือ ​ อารัญญิกังคธุดงค์ 1  ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ 1  ทรงห้ามไว้ด้วยสิกขาบทแล้วนั่นเทียว ​ ธุดงค์ 3  ประการนี้คือ ​ อัพโภกาสิกังคธุดงค์ 1  รุกขมูลิกังคธุดงค์ 1  โสสานิกังคธุดงค์ 1  เป็นสิ่งที่รักษาได้โดยยาก ​ เพราะว่าอันภิกษุณีนั้นที่จะอยู่โดยปราศจากเพื่อนสองย่อมไม่สมควร ​ และเพื่อนสองซึ่งจะมีฉันทะเสมอกันในสถานที่เห็นปานดังนั้นก็หาได้ยาก ​ แม้ถ้าจะพึงหาได้ก็ไม่พ้นไปจากการอยู่คลุกคลี ​ เมื่อเป็นดังนี้ ​ ภิกษุณีพึงเสพธุดงค์เพื่อประโยชน์อันใด ​ ประโยชน์นั้นนั่นแล ​ ก็จะไม่พึงสำเร็จแก่ตน ​ นักศึกษาพึงทราบว่า ​ เพราะเหตุที่เป็นสิ่งไม่อาจจะเสพได้ดังบรรยายมานี้ ​ ธุดงค์สำหรับภิกษุณีจึงมีเพียง 8  ประการเท่านั้น ​ โดยลดเสีย 5  ประการ 
- 
-ก็แหละ ​ ในบรรดาธุดงค์ตามที่กล่าวแล้ว ​ ยกเว้นเตจีวริกังคธุดงค์เสีย 1  ธุดงค์ที่เหลือ 12  ประการเป็นธุดงค์สำหรับสามเณร ​ (ในธุดงค์ 8  ประการสำหรับภิกษุณี ​ นี้นลดเสีย 1  คือ ​ เตจีวริกังคธุดงค์) ​ ที่เหลือ 7  ประการ ​ พึงทราบว่าเป็นธุดงค์สำหรับนางสิกขมานาและสามเณรี 
- 
-ก็แหละ ​ ธุดงค์ 2  ประการนี้คือ ​ เอกาสนิกังคธุดงค์ 1  ปัตตปิณฑิกังคธุดงค์ 1  เป็นสิ่งที่คู่ควรแก่อุบาสกและอุบาสิกาด้วย ​ สามารถที่จะเสพได้ด้วย ​ ฉะนั้น ​ ธุดงค์สำหรับอุบาสกอุบาสิกาจึงมีเพียง 2  ประการ ​ ว่าโดยพิสดารธุดงค์ทั้งหมด 42  ประการ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​พรรณนาความโดยย่อและโดยพิสดาร ​ ยุติลงเพียงเท่านี้'''​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 126)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ก็แหละ ​ ด้วยอรรถาธิบายเพียงเท่านี้ ​ ย่อมเป็นว่าข้าพเจ้าได้แสดงแล้วซึ่งธุตังคกถาอันสาธุชนควรสมาทานเอา ​ เพื่อความบริบูรณ์แห่งคุณทั้งหลายมีความเป็นผู้มักน้อย ​ และความเป็นผู้สันโดษเป็นต้น ​ อันเป็นเครื่องผ่องแผ้วแห่งศีล ​ ซึงมีประการที่ได้กล่าวไว้แล้วใน ​ วิสุทธิมัคคที่ทรงแสดงด้วยมุขคือศีล, ​ สมาธิ และปัญญา ​ ด้วยพระพุทธนิพนธคาถานี้ว่า – 
- 
-นรชน ​ ผู้มีปัญญา ​ เป็นภิกษุ ​ มีความเพียร ​ มีปัญญา ​ เครื่องบริหาร ​ ตั้งตนไว้ในศีลแล้วทำสมาธิจิตและปัญญาให้เจริญอยู่ ​ เธอจะพึงถางรกชัฏอันนี้เสียได้ 
- 
-'''​ธุตังคนิทเทส ​ ปริจเฉทที่ 2'''​ 
- 
-'''​ในปกรณ์วิเสส ​ ชื่อ ​ วิสุทธิมัคค'''​ 
- 
-'''​อันข้าพเจ้ารจนาขึ้นเพื่อความปราโมชแห่งสาธุชน'''​ 
- 
-'''​ยุติลงด้วยประการฉะนี้'''​ 
- 
-'''​-----------------------'''​ 
- 
-==ดูเพิ่ม== 
-*'''​[http://​www.84000.org/​tipitaka/​pitaka2/​sutta23.php ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค]'''​ 
-*'''​[[วิสุทธิมรรค ฉบับปรับสำนวน]] (สารบัญ)'''​