ฟุตโน้ต:17:9

คำว่า จิตปภัสสร มีใช้ในหลายที่หลายความหมาย

  1. ที่ๆ ตัวสูตรกำลังแสดงเกี่ยวกับฌานและพรหม จะใช้(จิตฺต)ปภสฺสร ในความหมาย การเข้าฌานที่เป็นเหตุ (ชวนะ) ที่นั้นหมายถึงฌานจิตที่เป็นปริโยทาตะทั้งโดย 1. อาโลกสัญญาที่กำจัดถีนมิทธะ [ก็ปริโยทาตะ คือ ขาวรอบสว่างเจิดจ้า(มีอยู่ เป็นอารมณ์ได้ แค่บางกรรมฐานไม่ได้เอามาเป็นนิมิต)] 2. น้ำในหทยวัตถุ [ก็ปริโยทาตะ คือ ขาวรอบสว่างเจิดจ้า] 3. จิตที่มีกำลังจนกิเลสห่างไกลจากถีนมิทธะได้ [ก็ปริโยทาตะ คือ ขาวรอบสว่างเจิดจ้า] (ดูองค์ของอุปจารฌาน ในวิสุทธิมรรค ปถวีกสิณนิทเทส) 1)
  2. ที่ๆ ตัวสูตรแสดงถึงกิเลสที่มาที่หลัง (เอกกนิบาต) จะใช้(จิตฺต)ปภสฺสร ในความหมาย การไม่มีกิเลสเพราะเกิดไม่ได้ (ภวังค์) ซึ่งอรรถกถาขยายแค่นี้ ซึ่งตีความได้ 2 นัย 1. ภวังค์ทั้งปวงเพราะไม่มีกิเลส เนื่องจากฌานไม่สามารถเสื่อมทันทีเพราะอกุศลเกิดแทรกแบบฉับพลันได้ ต้องมีกามมาวจรกุศลเกิดแทรกก่อน (ยังไม่มีหลักฐาน) จึงเป็นฌานจิตไม่ได้ 2. ภวังคจิตของพรหมซึ่งถึงพร้อมด้วงองค์ของฌาน ทั้งโดยอารมณ์ วัตถุ และจิต แต่พอขึ้นวิถีแล้วเกิดอโยนิโสมนสิการในชวนะไม่เป็นฌาน. 2)