อยู่ในระหว่างปรับสำนวน
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ตำราพุทธมีลำดับการศึกษาให้เข้าใจทะลุทะลวงดังนี้: ขอเป็นศิษย์ผู้มีฌานวสีทรงจำพระไตรปิฎกบาลี > ท่องจำบาลีตามลำดับซ้ำๆ ไม่ลืมทบทวนแม้จำได้แล้ว > สอบถามบาลี > ฟังคำอธิบายบาลี > ทรงจำทั้งหมด > ในระหว่างท่องจำก็พยายามปฏิบัติตามไปด้วยจนแตกฉาน. ผู้ที่ข้ามขั้นตอนเหล่านี้ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นไปได้ยากที่จะบรรลุอัปปนาทั้งโลกิยะและโลกุตตระในศาสนาพุทธได้ พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า "โมฆบุรุษ" เพราะว่างเปล่าจากอัปปนา (เรียบเรียงจากกีฏาคิริสูตร; ธัมมัญญูสูตร; สัจจบรรพะ อรรถกถามัคคนิทเทส; วิสุทธิมรรค กัมมัฏฐานคหณนิทเทส)
ยุคนัทธกถา
ดูคำอธิบายใน 170
[534] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี ณ ที่นั้นแลท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลายภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค 4 ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค 4เป็นไฉน ฯ
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพเจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้อนุสัยย่อมสิ้นไป ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค 4 นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง ฯ
[535] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ มี 4 คือ ภาวนาด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน 1 ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน 1 ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมที่ไม่ล่วงเกินกัน 1 ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ 1 ฯ
คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคเกิดอย่างไร ฯ
สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน เป็นมรรคย่อมเกิดสัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าผ่องแผ้ว เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น เป็นมรรคย่อมเกิดสัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคย่อมเกิด มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯ
คำว่า ย่อมเสพ ในคำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ดังนี้ความว่า ย่อมเสพอย่างไร ฯ
ภิกษุนั้น นึกถึงอยู่ชื่อว่าเสพ รู้อยู่ชื่อว่าเสพ เห็นอยู่ชื่อว่าเสพ พิจารณาอยู่ชื่อว่าเสพอธิษฐานจิตอยู่ชื่อว่าเสพ น้อมจิตไปด้วยศรัทธาชื่อว่าเสพ ประคองความเพียรไว้ชื่อว่าเสพ ตั้งสติไว้มั่นชื่อว่าเสพ ตั้งจิตไว้อยู่ชื่อว่าเสพ ทราบชัดด้วยปัญญาชื่อว่าเสพ รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งอยู่ชื่อว่าเสพกำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ชื่อว่าเสพ ละธรรมที่ควรละชื่อว่าเสพ เจริญธรรมที่ควรเจริญชื่อว่าเสพ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเสพ ย่อมเสพอย่างนี้ ฯ
คำว่า เจริญ ความว่า เจริญอย่างไร ฯ
ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าเจริญ … ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเจริญ ย่อมเจริญอย่างนี้ ฯ
คำว่า ทำให้มาก ความว่า ทำให้มากอย่างไร ฯ
ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าทำให้มาก … ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าทำให้มาก ทำให้มากอย่างนี้ ฯ
คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างไร ฯ
ย่อมละสังโยชน์ 3 นี้ คือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อนุสัย 2 นี้คือ ทิฐิอนุสัย วิจิกิจฉาอนุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค ฯ
ย่อมละสังโยชน์ 2 นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบๆ อนุสัย 2นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ฯ
ย่อมละสังโยชน์ 2 นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียดๆ อนุสัย 2นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ฯ
ย่อมละสังโยชน์ 5 นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะอวิชชา อนุสัย 3นี้ คือ มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตมรรค ย่อมละสังโยชน์ได้อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ
[536] ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความไม่พยาบาท เป็นสมาธิความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งอาโลกสัญญา เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมาธิ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี 4 คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน … ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ฯ
คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯ
สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด … มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯ
คำว่า ย่อมเสพ ในคำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสพ ฯลฯ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นความว่า ย่อมเสพอย่างไร ฯ
ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าเสพ รู้อยู่ชื่อว่าเสพ ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเสพ ย่อมเสพอย่างนี้ ฯ
คำว่า ย่อมเจริญ ความว่า ย่อมเจริญอย่างไร ฯ
ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าเจริญ รู้อยู่ชื่อว่าเจริญ ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเจริญ ย่อมเจริญอย่างนี้ ฯ
คำว่า ทำให้มาก ความว่า ย่อมทำให้มากอย่างไร ฯ
ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าทำให้มาก รู้อยู่ชื่อว่าทำให้มาก ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าทำให้มาก ย่อมทำให้มากอย่างนี้ ฯ
คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างไร … ฯ
[537] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลังเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี 4 ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพฯลฯ คำว่ามรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์และความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนามีก่อนสมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี 4 ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ฯ
คำว่า มรรคย่อมเกิด ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นเวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรา และมรณะ โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์ และความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลังเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี 4 ฯลฯ คำว่า ย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างนี้ ฯ
[538] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ฯ
ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ 16 คือ ด้วยความเป็นอารมณ์ 1ด้วยความเป็นโคจร 1 ด้วยความละ 1 ด้วยความสละ 1ด้วยความออก 1 ด้วยความหลีกไป 1ด้วยความเป็นธรรมละเอียด 1 ด้วยความเป็นธรรมประณีต 1 ด้วยความหลุดพ้น 1 ด้วยความไม่มีอาสวะ 1 ด้วยความเป็นเครื่องข้าม 1 ด้วยความไม่มีนิมิต 1 ด้วยความไม่มีที่ตั้ง 1 ด้วยความว่างเปล่า 1 ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน 1 ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน 1ด้วยความเป็นคู่กัน 1 ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอารมณ์อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นอารมณ์เมื่อละอวิชชา วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกันเป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นอารมณ์เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี 4 ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพฯลฯ คำว่ามรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ย่อมละสังโยชน์ได้อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ อย่างนี้ ฯ
ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจรอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจรเมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นโคจรเพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจร ฯ
[539] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความละอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความละ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความละ ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และขันธ์วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความสละ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละ ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความออกอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุออกจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุออกจากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกันเป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความออก เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความออก ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลีกไปอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุหลีกไปจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุหลีกไปจากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชาและจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นมีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกันเป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความหลีกไป เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลีกไป ฯ
[540] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมละเอียดอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมละเอียดมีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นธรรมละเอียด เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีตอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลุดพ้นอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมหลุดพ้นมีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ ชื่อว่าเจโตวิมุติเพราะสำรอกราคะ ชื่อว่าปัญญาวิมุติเพราะสำรอกอวิชชา ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความหลุดพ้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กันด้วยความหลุดพ้น ฯ
[541] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชาวิปัสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นเป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยอวิชชาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีอาสวะ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะ ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้ามอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสนา ด้วยความไม่มีนิมิตร อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตรทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชาวิปัสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตรทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีนิมิตร เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีนิมิตร ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจรด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ฯ
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชาวิปัสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความว่างเปล่า เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี 4 คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน 1 ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน 1 ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมที่ไม่ล่วงเกินกันและอินทรีย์มีกิจเป็นอันเดียวกัน 1 ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ 1 ฯลฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่าอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยอาการ 16เหล่านี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กันอย่างนี้ ฯ
[542] ใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ย่อมมีอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงโอภาสว่าโอภาสเป็นธรรม เพราะนึกถึงโอภาสนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้นมรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ญาณปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์(ความน้อมใจเชื่อ) ปัคคาหะ (ความเพียร)อุปัฏฐานะ (ความตั้งมั่น) อุเบกขา นิกันติ (ความพอใจ) ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้นจึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ฯลฯเมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นอนัตตา โอภาส ญาณปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นอนัตตา โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ
[543] เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตาเมื่อภิกษุมนสิการเวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา โอภาสญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อม ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งชราและมรณะอันปรากฏโดยความเป็นอนัตตาโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่ามีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้อย่างนี้ ฯ
จิตย่อมกวัดแกว่งหวั่นไหวเพราะโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ
สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ ความวางเฉยจาก
ความนึกถึงอุเบกขา และนิกันติ ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ
10 ประการนี้ ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความ
นึกถึงโอภาสเป็นต้นอันเป็นธรรมฟุ้งซ่าน และย่อมไม่ถึง
ความหลงใหล จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง และเคลื่อนจาก
จิตภาวนา จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง ภาวนาย่อมเสื่อมไป
จิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง ภาวนาย่อมไม่เสื่อม จิตไม่
ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง และไม่เคลื่อนจากจิตภาวนาด้วย
ฐานะ 4 ประการนี้ ภิกษุย่อมทราบชัดซึ่งความที่จิตกวัด
แกว่งฟุ้งซ่าน ถูกโอภาสเป็นต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ 10 ประการ
ฉะนี้แล ฯ
จบยุคนัทธกถา
______
สัจจกถา
นิทานในกถาบริบูรณ์
[544] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัจจะ 4 ประการนี้ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น 4 ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัจจะว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธนี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นของแท้เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัจจะ4 ประการนี้แลเป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ฯ
[545] ทุกข์เป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างไร ฯ
สภาพแห่งทุกข์เป็นทุกข์ 4 ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิดไม่เป็นอย่างอื่น คือสภาพที่บีบคั้นแห่งทุกข์ 1 สภาพแห่งทุกข์ อันปัจจัยปรุงแต่ง 1 สภาพที่ให้เดือดร้อน 1 สภาพที่แปรไป 1 สภาพแห่งทุกข์เป็นทุกข์4 ประการนี้ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ทุกข์เป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างนี้ ฯ
สมุทัยเป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างไร ฯ
สภาพแห่งสมุทัยเป็นเหตุเกิด 4 ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิดไม่เป็นอย่างอื่น คือ สภาพที่ประมวลมาแห่งสมุทัย 1 สภาพที่เป็นเหตุ 1สภาพที่ประกอบไว้ 1 สภาพพัวพัน 1สภาพแห่งสมุทัยเป็นเหตุเกิด 4ประการนี้ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น สมุทัยเป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างนี้ ฯ
นิโรธเป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างไร ฯ
สภาพดับแห่งนิโรธ 4 ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น คือสภาพสลัดออกแห่งนิโรธ 1 สภาพสงัด 1 สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง 1 สภาพเป็นอมตะ 1สภาพดับแห่งนิโรธ 4 ประการนี้ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น นิโรธเป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างนี้ ฯ
มรรคเป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างไร ฯ
สภาพเป็นทางแห่งมรรค 4 ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิดไม่เป็นอย่างอื่นคือ สภาพนำออกแห่งมรรค 1 สภาพเป็นเหตุ 1 สภาพที่เห็น 1สภาพเป็นใหญ่ 1 สภาพเป็นทางแห่งมรรค 4 ประการนี้ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น มรรคเป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างนี้ ฯ
[546] สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการเท่าไร ฯ
สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการ 4 คือ ด้วยความเป็นของแท้ 1ด้วยความเป็นอนัตตา 1 ด้วยความเป็นของจริง 1 ด้วยความเป็นปฏิเวธ 1 สัจจะ 4 ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่งด้วยอาการ 4 นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่งสัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ 4 จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ
สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของแท้อย่างไร ฯ
สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการ 4 คือ สภาพที่ทนได้ยากแห่งทุกข์เป็นสภาพแท้ 1 สภาพเป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัยเป็นสภาพแท้ 1สภาพดับแห่งนิโรธเป็นสภาพแท้ 1 สภาพเป็นทางแห่งมรรคเป็นสภาพแท้ 1สัจจะ 4 ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง ด้วยความเป็นของแท้ด้วยอาการ 4 นี้สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ 4 จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ
สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นอนัตตาอย่างไร ฯ
สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นอนัตตา ด้วยอาการ 4 คือ สภาพที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ เป็นสภาพมิใช่ตัวตน 1 สภาพเป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย เป็นสภาพมิใช่ตัวตน 1 สภาพดับแห่งนิโรธ เป็นสภาพมิใช่ตัวตน 1 สภาพเป็นทางแห่งมรรค เป็นสภาพมิใช่ตัวตน 1 สัจจะ 4 ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง ด้วยความเป็นอนัตตา ด้วยอาการ 4 นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้นสัจจะ 4 จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ
สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของจริงอย่างไร ฯ
สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของจริง ด้วยอาการ 4 คือ สภาพที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ เป็นสภาพจริง 1 สภาพเป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย เป็นสภาพจริง 1 สภาพดับแห่งนิโรธ เป็นสภาพจริง 1สภาพเป็นทางแห่งมรรค เป็นสภาพจริง 1 สัจจะ 4 ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่งด้วยความเป็นของจริง ด้วยอาการ 4 นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่งสัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้นสัจจะ 4 จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ
สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นปฏิเวธอย่างไร ฯ
สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นปฏิเวธด้วยอาการ 4 คือ สภาพที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ เป็นสภาพแทงตลอด 1 สภาพเป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย เป็นสภาพแทงตลอด 1 สภาพดับแห่งนิโรธ เป็นสภาพแทงตลอด 1 สภาพเป็นทางแห่งมรรค เป็นสภาพแทงตลอด 1 สัจจะ 4ท่านสงเคราะห์ด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นปฏิเวธ ด้วยอาการ 4 นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียวเพราะเหตุนั้น สัจจะ 4 จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ
[547] สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการเท่าไร ฯ
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ 1 สิ่งใดไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา 1สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเป็นของแท้ 1สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาและเป็นของแท้ สิ่งนั้นเป็นของจริง 1สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นของแท้และเป็นของจริง สิ่งนั้นท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สิ่งใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สิ่งนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ 4 จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ
สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการเท่าไร ฯ
สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการ 9 คือ ด้วยความเป็นของแท้ 1ด้วยความเป็นอนัตตา 1 ด้วยความเป็นของจริง 1 ด้วยความเป็นปฏิเวธ 1 ด้วยความเป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง 1 ด้วยความเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ 1 ด้วยความเป็นธรรมที่ควรละ 1 ด้วยความเป็นธรรมที่ควรเจริญ 1 ด้วยความเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง 1 สัจจะ 4 ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่งด้วยอาการ 9 นี้สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ 4 จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ
[548] สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของแท้อย่างไร ฯ
สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของแท้ ด้วยอาการ 9 คือสภาพทนได้ยากแห่งทุกข์ เป็นสภาพแท้ 1 สภาพเป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย เป็นสภาพแท้ 1 สภาพดับแห่งนิโรธ เป็นสภาพแท้ 1 สภาพเป็นทางแห่งมรรค เป็นสภาพแท้ 1 สภาพแห่งอภิญญาเป็นสภาพที่ควรรู้ยิ่งเป็นสภาพแท้ 1 สภาพแห่งปริญญาเป็นสภาพที่ควรกำหนดรู้ เป็นสภาพแท้ 1สภาพแห่งปหานะเป็นสภาพที่ควรละ เป็นสภาพแท้ 1 สภาพแห่งภาวนาเป็นสภาพที่ควรเจริญเป็นสภาพแท้ 1 สภาพแห่งสัจฉิกิริยา เป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้ง เป็นสภาพแท้ 1 สัจจะ 4 ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง ด้วยความเป็นของแท้ ด้วยอาการ 9 นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่งสัจจะนั้นเป็นหนึ่งบุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ 4 จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ
สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นอนัตตาด้วยความเป็นของจริงด้วยความเป็นปฏิเวธ อย่างไร ฯ
สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นปฏิเวธด้วยอาการ 9 คือ สภาพแห่งทุกข์เป็นสภาพที่ทนได้ยาก เป็นสภาพควรแทงตลอด 1สภาพแห่งสมุทัยเป็นเหตุเกิด เป็นสภาพควรแทงตลอด 1 สภาพแห่งนิโรธเป็นที่ดับ เป็นสภาพควรแทงตลอด 1 สภาพแห่งมรรคเป็นทางดำเนิน เป็นสภาพควรแทงตลอด 1 สภาพแห่งอภิญญาเป็นสภาพที่ควรรู้ยิ่ง เป็นสภาพควรแทงตลอด 1 สภาพแห่งปริญญาเป็นสภาพที่ควรกำหนดรู้ เป็นสภาพควรแทงตลอด 1 สภาพแห่งปหานะเป็นสภาพที่ควรละ เป็นสภาพที่ควรแทงตลอด 1 สภาพแห่งภาวนาเป็นสภาพที่ควรเจริญ เป็นสภาพควรแทงตลอด 1 สภาพแห่งสัจฉิกิริยาเป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้ง เป็นสภาพควรแทงตลอด 1 สัจจะ 4ท่านสงเคราะห์ด้วยญาณเดียว ด้วยความเป็นปฏิเวธ ด้วยอาการ 9 นี้สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอด สัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ 4 จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ
[549] สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการเท่าไร ฯ
สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการ 12 คือ ด้วยความเป็นของแท้ 1ด้วยความเป็นอนัตตา 1 ด้วยความเป็นของจริง 1 ด้วยความเป็นปฏิเวธ 1 ด้วยความเป็นเครื่องรู้ยิ่ง 1 ด้วยความเป็นเครื่องกำหนดรู้ 1ด้วยความเป็นธรรม 1 ด้วยความเป็นเหมือนอย่างนั้น 1ด้วยความเป็นธรรมที่รู้แล้ว 1 ด้วยความเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง 1 ด้วยความเป็นเครื่องถูกต้อง 1ด้วยความเป็นเครื่องตรัสรู้ 1 สัจจะ 4 ท่านสงเคราะห์ด้วยญาณเดียวด้วยอาการ 12 อย่างนี้สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ 4 จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ
สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของแท้ อย่างไร ฯ
สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของแท้ ด้วยอาการ 16 คือสภาพแห่งทุกข์เป็นสภาพบีบคั้น 1 เป็นสภาพที่ปัจจัยปรุงแต่ง 1เป็นสภาพให้เดือดร้อน 1 เป็นสภาพแปรปรวน 1 เป็นสภาพแท้ สภาพแห่งสมุทัยเป็นสภาพประมวลมา 1 เป็นเหตุ 1 เป็นเครื่องประกอบไว้ 1 เป็นสภาพกังวล 1 เป็นสภาพแท้ สภาพแห่งนิโรธเป็นที่สลัดออก 1 เป็นสภาพสงัด1 เป็นสภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง 1 เป็นอมตะ 1 เป็นสภาพแท้ สภาพแห่งมรรคเป็นเครื่องนำออก 1 เป็นเหตุ 1 เป็นทัสนะ 1 เป็นใหญ่ 1 เป็นสภาพแท้ สัจจะ 4 ท่านสงเคราะห์ด้วยญาณเดียว ด้วยความเป็นของแท้ ด้วยอาการ 16 นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ 4 จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ
สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นอนัตตา ฯลฯ ด้วยความเป็นของจริง ด้วยความเป็นปฏิเวธ ด้วยความเป็นเครื่องรู้ยิ่ง ด้วยความเป็นเครื่องกำหนดรู้ ด้วยความเป็นธรรม ด้วยความเป็นเหมือนอย่างนั้น ด้วยความเป็นธรรมที่รู้แล้ว ด้วยความเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ด้วยความเป็นเครื่องถูกต้องด้วยความเป็นเครื่องตรัสรู้ อย่างไร ฯ
สัจจะ 4 มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นเครื่องตรัสรู้ด้วยอาการ 16 คือ สภาพแห่งทุกข์เป็นสภาพบีบคั้น … เป็นสภาพแปรปรวนเป็นสภาพเครื่องตรัสรู้ สภาพแห่งสมุทัยเป็นสภาพประมวลมา … เป็นสภาพกังวลเป็นสภาพเครื่องตรัสรู้ สภาพแห่งนิโรธเป็นที่สลัดออก …เป็นอมตะ เป็นสภาพเครื่องตรัสรู้ สภาพแห่งมรรคเป็นเครื่องนำออก … เป็นใหญ่ เป็นสภาพเครื่องตรัสรู้ สัจจะ 4 ท่านสงเคราะห์ด้วยญาณเดียว ด้วยความเป็นเครื่องตรัสรู้ด้วยอาการ 16 นี้สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ 4 จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ
[550] สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ 2 คือสังขตลักษณะ 1 อสังขตลักษณะ 1 สัจจะมีลักษณะ 2 นี้ ฯ
สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ 6 คือ สัจจะที่ปัจจัยปรุงแต่ง มีความเกิดปรากฏ 1 ความเสื่อมปรากฏ 1 เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรปรากฏ 1สัจจะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ความเกิดไม่ปรากฏ 1 ความเสื่อมไม่ปรากฏ 1 เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรไม่ปรากฏ 1 สัจจะมีลักษณะ 6 นี้ ฯ
สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ 12 คือ ทุกขสัจ มีความเกิดขึ้นปรากฏ 1ความเสื่อมปรากฏ 1 เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรปรากฏ 1สมุทัยสัจมีความเกิดขึ้นปรากฏ 1 ความเสื่อมปรากฏ 1 เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรปรากฏ 1 มรรคสัจมีความเกิดขึ้นปรากฏ 1 ความเสื่อมปรากฏ 1 เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรปรากฏ 1 นิโรธสัจ ความเกิดไม่ปรากฏ 1 ความเสื่อมไม่ปรากฏ 1เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรไม่ปรากฏ 1 สัจจะมีลักษณะ 12 นี้ ฯ
[551] สัจจะ 4 เป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร เป็นอัพยากฤตเท่าไร ฯ
สมุทัยสัจเป็นอกุศล มรรคสัจเป็นกุศล นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต ทุกขสัจ เป็นกุศลก็มีเป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี สัจจะ 3 นี้ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ 1 สัจจะ 1 ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ 3 ด้วยสามารถแห่งวัตถุโดยปริยาย ฯ
คำว่า พึงมี คือ ก็พึงมีอย่างไร ฯ
ทุกขสัจเป็นอกุศล สมุทัยสัจเป็นอกุศล สัจจะ 2 ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ 1 สัจจะ 1 ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ 2 ด้วยความเป็นอกุศลพึงมีอย่างนี้ ทุกขสัจเป็นกุศล มรรคสัจเป็นกุศล สัจจะ 2 ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ 1 สัจจะ 1 ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ 2 ด้วยความเป็นกุศล พึงมีอย่างนี้ ทุกขสัจเป็นอัพยากฤต นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต สัจจะ 2 ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ 1 สัจจะ 1 ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ 2 ด้วยความเป็นอัพยากฤต พึงมีอย่างนี้สัจจะ 3 ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ 1 สัจจะ 1 ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ 1 ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย ฯ
[552] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดว่า อะไรหนอแลเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นอุบายเครื่องสลัดออก แห่งรูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ ดูกรภิกษุทั้งหลายเรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า สุข โสมนัส อาศัยรูปเกิดขึ้นนี้เป็นคุณแห่งรูป ความกำจัดฉันทราคะ ความละฉันทราคะในรูป นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป … สุขโสมนัส อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณความกำจัดฉันทราคะ ความละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ ฯ
[553] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ทั่วถึงซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกโดยเป็นอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ 5 นี้ตามความเป็นจริง เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เพียงนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อใด เราได้รู้ทั่วถึงซึ่งคุณโดยความเป็นคุณซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกโดยเป็นอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ 5 นี้ตามความจริง เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แล ญาณทัสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า เจโตวิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ความเกิดอีกมิได้มี ฯ
[554] การแทงตลอดด้วยการละว่า สุข โสมนัส อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งรูป ดังนี้ เป็นสมุทัยสัจ การแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ว่ารูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป ดังนี้เป็นทุกขสัจ การแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งว่า การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในรูป นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ดังนี้ เป็นนิโรธสัจ การแทงตลอดด้วยภาวนา คือ ทิฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะ สติ สมาธิในฐานะทั้ง 3 นี้ เป็นมรรคสัจ การแทงตลอดด้วยการละว่า สุขโสมนัส อาศัยเวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ เกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ ดังนี้ เป็นสมุทัยสัจ การแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ว่า วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ ดังนี้เป็นทุกขสัจ การแทงตลอดด้วยทำให้แจ้งว่า การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ ดังนี้ เป็นนิโรธสัจการแทงตลอดด้วยภาวนา คือ ทิฐิสังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะสติ สมาธิ ในฐานะทั้ง 3 นี้ เป็นมรรคสัจ ฯ
[555] สัจจะด้วยอาการเท่าไร ฯ
สัจจะด้วยอาการ 3 คือ ด้วยความแสวงหา 1 ด้วยความกำหนด 1 ด้วยความแทงตลอด 1 ฯ
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างไร ฯ
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า ชราและมรณะมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร เป็นสมุทัยมีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ฯ
สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า ชราและมรณะมีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็นสมุทัย มีชาติเป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด ญาณย่อมรู้ชัดซึ่งชราและมรณะเหตุเกิดแห่งชราและมรณะความดับแห่งชราและมรณะ และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้ ฯ
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า ชาติมีอะไรเป็นเหตุ … มีอะไรเป็นแดนเกิด สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า ชาติมีภพเป็นเหตุ … มีภพเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับแห่งชาติ และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งชาติ สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้ ฯ
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า ภพมีอะไรเป็นเหตุ … มีอะไรเป็นแดนเกิด สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า ภพมีอุปาทานเป็นเหตุ …มีอุปาทานเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับแห่งภพและข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งภพ สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้ ฯ
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า อุปาทานมีอะไรเป็นเหตุ … มีอะไรเป็นแดนเกิด สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ …มีตัณหาเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งอุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับแห่งอุปาทาน และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้ ฯ
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า ตัณหามีอะไรเป็นเหตุ … มีอะไรเป็นแดนเกิด สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ …มีเวทนาเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหา และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งตัณหา สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้ ฯ
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า เวทนามีอะไรเป็นเหตุ … มีอะไรเป็นแดนเกิด สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ …มีผัสสะเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งเวทนาเหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนา สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้ ฯ
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า ผัสสะมีอะไรเป็นเหตุ … มีอะไรเป็นแดนเกิด สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ… มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งผัสสะ และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งผัสสะสัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้ ฯ
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า สฬายตนะมีอะไรเป็นเหตุ … มีอะไรเป็นแดนเกิดสัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ …มีนามรูปเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งสฬายตนะ เหตุเกิดสฬายตนะ ความดับสฬายตนะ และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสฬายตนะสัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้ ฯ
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า นามรูปมีอะไรเป็นเหตุ … มีอะไรเป็นแดนเกิด สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ …มีวิญญาณเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งนามรูปเหตุเกิดนามรูป ความดับนามรูปและข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับนามรูป สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้ ฯ
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า วิญญาณมีอะไรเป็นเหตุ … มีอะไรเป็นแดนเกิด สัจจะด้วยความกำหนัดอย่างนี้ว่า วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ …มีสังขารเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดวิญญาณ ความดับวิญญาณและข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับวิญญาณ สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้ ฯ
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า สังขารมีอะไรเป็นเหตุ … มีอะไรเป็นแดนเกิด สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ …มีอวิชชาเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งสังขารเหตุเกิดสังขาร ความดับสังขารและข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสังขาร สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้ ฯ
[556] ชราและมรณะเป็นทุกขสัจ ชาติเป็นสมุทัยสัจ ความสลัดชรามรณะและชาติแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจชาติเป็นทุกขสัจ ภพเป็นสมุทัยสัจ การสลัดชาติและภพแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจการรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ อุปาทานเป็นทุกขสัจ ตัณหาเป็นสมุทัยสัจการสลัดอุปาทานและตัณหาแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจตัณหาเป็นทุกขสัจ เวทนาเป็นสมุทัยสัจ การสลัดตัณหาและเวทนาแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ เวทนาเป็นทุกขสัจ ผัสสะเป็นสมุทัยสัจ การสลัดเวทนาและผัสสะแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ ผัสสะเป็นทุกขสัจ สฬายตนะเป็นสมุทัยสัจการสลัดผัสสะและสฬายตนะแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ สฬายตนะเป็นทุกขสัจ นามรูปเป็นสมุทัยสัจ การสลัดสฬายตนะและนามรูปแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ นามรูปเป็นทุกขสัจ วิญญาณเป็นสมุทัยสัจ การสลัดนามรูปและวิญญาณแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ วิญญาณเป็นทุกขสัจ สังขารเป็นสมุทัยสัจ การสลัดวิญญาณและสังขารแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ สังขารเป็นทุกขสัจ อวิชชาเป็นสมุทัยสัจ การสลัดสังขารและอวิชชาแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ ชรามรณะเป็นทุกขสัจ ชาติเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทัยสัจก็มี การสลัดชรามรณะและชาติแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ ชาติเป็นทุกขสัจ ภพเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทัยสัจก็มีการสลัดชาติและภพแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ ฯลฯสังขารเป็นทุกขสัจ อวิชชาเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทัยสัจก็มี การสลัดสังขารและอวิชชาแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ ฉะนี้แล ฯ
จบสัจจกถา
จบภาณวาร ฯ
______
โพชฌงคกถา
พระเจ้าทรงแสดงไว้ที่เมืองสาวัตถีว่า
[557] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการนี้ 7 ประการเป็นไฉน คือ สติสัมโพชฌงค์ 1 ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ 1 วิริยสัมโพชฌงค์ 1 ปีติสัมโพชงฌงค์ 1 ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ 1 สมาธิสัมโพชฌงค์ 1 อุเบกขาสัมโพชฌงค์ 1 ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7ประการนี้แล ฯ
คำว่า โพชฺฌงฺคา ความว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่ากระไร
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็นไปในความตรัสรู้ ว่าย่อมตรัสรู้ ว่าตรัสรู้ตาม ว่าตรัสรู้เฉพาะ ว่าตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ตามเพราะอรรถว่าตรัสรู้เฉพาะ เพราะอรรถว่าตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌฺงค์ เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้ ว่าให้ตรัสรู้ตาม ว่าให้ตรัสรู้เฉพาะ ว่าให้ตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็นไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้ เพราะอรรถว่าเป็นไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่าเป็นไปในฝ่ายธรรมเครื่องตรัสรู้เฉพาะ เพราะอรรถว่าเป็นไปในธรรมฝ่ายเครื่องตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้ได้ความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าปลูกความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าบำรุงความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าให้ถึงความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าให้ถึงพร้อมความตรัสรู้ ฯ
[558] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็นมูล เพราะอรรถว่าประพฤติตามอรรถที่เป็นมูล เพราะอรรถว่ากำหนดธรรมที่เป็นมูล เพราะอรรถว่ามีธรรมอันเป็นมูลเป็นบริวาร เพราะอรรถว่ามีธรรมอันเป็นมูลบริบูรณ์ เพราะอรรถว่ามีธรรมอันเป็นมูลแก่กล้า เพราะอรรถว่าแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล เพราะอรรถว่าให้ถึงความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ เพราะอรรถว่าประพฤติตามเหตุ … เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในเหตุชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในเหตุ เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัย เพราะอรรถว่าประพฤติตามปัจจัย … เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในปัจจัย เพราะอรรถว่าหมดจด เพราะอรรถว่าประพฤติหมดจด … เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความหมดจด เพราะอรรถว่าไม่มีโทษ เพราะอรรถว่าประพฤติไม่มีโทษ …เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีโทษ เพราะอรรถว่าเป็นเนกขัมมะเพราะอรรถว่าประพฤติเนกขัมมะ … เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในเนกขัมมะ เพราะอรรถว่าหลุดพ้น เพราะอรรถว่าประพฤติหลุดพ้น …เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความหลุดพ้น เพราะอรรถว่าไม่มีอาสวะ เพราะอรรถว่าประพฤติไม่มีอาสวะ … เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีอาสวะ เพราะอรรถว่าเป็นวิเวก เพราะอรรถว่าประพฤติวิเวก … เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในวิเวกชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในวิเวกเพราะอรรถว่าปล่อยวาง เพราะอรรถว่าประพฤติปล่อยวาง เพราะอรรถว่ากำหนดความปล่อยวางเพราะอรรถว่ามีความปล่อยวางเป็นบริวาร เพราะอรรถว่ามีความปล่อยวางบริบูรณ์ เพราะอรรถว่ามีความปล่อยวางแก่กล้า เพราะอรรถว่าแตกฉานในความปล่อยวาง เพราะอรรถว่าให้ถึงความแตกฉานในความปล่อยวาง เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความปล่อยวาง ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความปล่อยวาง ฯ
[559] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพอันเป็นมูล ว่าตรัสรู้สภาพอันเป็นเหตุ ว่าตรัสรู้สภาพอันเป็นปัจจัย ว่าตรัสรู้สภาพอันหมดจด ว่าตรัสรู้สภาพอันไม่มีโทษ ว่าตรัสรู้สภาพอันเป็นเนกขัมมะ ว่าตรัสรู้สภาพวิมุติว่าตรัสรู้สภาพไม่มีอาสวะ ว่าตรัสรู้สภาพวิเวก ว่าตรัสรู้สภาพปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติธรรมอันเป็นมูล ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติธรรมอันเป็นเหตุ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติธรรมอันเป็นปัจจัย ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติหมดจด ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติไม่มีโทษ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติเนกขัมมะ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติวิมุติ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติไม่มีอาสวะ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติวิเวก ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพความกำหนดธรรมอันเป็นมูล ฯลฯว่าตรัสรู้สภาพความกำหนดปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพธรรมอันเป็นมูลเป็นบริวาร ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพมีความปล่อยวางเป็นบริวาร ว่าตรัสรู้สภาพมีธรรมอันเป็นมูลบริบูรณ์ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพมีความปล่อยวางบริบูรณ์ ว่าตรัสรู้สภาพธรรมอันเป็นมูลแก่กล้า ฯลฯ ว่าตรัสรู้ธรรมอันมีความปล่อยวางแก่กล้า ว่าตรัสรู้สภาพความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพความแตกฉานในความปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพอันให้ถึงความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพอันให้ถึงความแตกฉานในความปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพความเจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพความเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความปล่อยวาง ฯลฯ ฯ
[560] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพความกำหนด ว่าตรัสรู้สภาพบริวารฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพบริบูรณ์ ว่าตรัสรู้สภาพแห่งจิตมีอารมณ์เดียว ว่าตรัสรู้สภาพความไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้สภาพประคองไว้ ว่าตรัสรู้สภาพความไม่แพร่ไป ว่าตรัสรู้สภาพความไม่ขุ่นมัว ว่าตรัสรู้สภาพไม่มีกิเลสเครื่องหวั่นไหว ว่าตรัสรู้สภาพตั้งอยู่แห่งจิต ด้วยสามารถความปรากฏโดยความมีอารมณ์เดียว ว่าตรัสรู้สภาพอารมณ์ ว่าตรัสรู้สภาพโคจร ว่าตรัสรู้สภาพละ ว่าตรัสรู้สภาพสละว่าตรัสรู้สภาพการออกไป ว่าตรัสรู้สภาพความหลีกไป ว่าตรัสรู้สภาพละเอียด ว่าตรัสรู้สภาพประณีต ว่าตรัสรู้สภาพหลุดพ้น ว่าตรัสรู้สภาพไม่มีอาสวะ ว่าตรัสรู้สภาพการข้ามไป ว่าตรัสรู้สภาพนิพพานอันไม่มีนิมิตร ว่าตรัสรู้สภาพนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ว่าตรัสรู้สภาพนิพพานอันว่างเปล่า ว่าตรัสรู้สภาพธรรมอันมีกิจเป็นอันเดียวกัน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมอันไม่ล่วงเกินกัน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นคู่กัน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมเครื่องนำออก ว่าตรัสรู้สภาพแห่งเหตุ ว่าตรัสรู้สภาพทัสนะ ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นใหญ่ ฯ
[561] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะ ว่าตรัสรู้ความพิจารณาเห็นแห่งวิปัสนา ว่าตรัสรู้ความมีกิจเป็นอันเดียวกันแห่งสมถะและวิปัสนา ว่าตรัสรู้ความไม่ล่วงเกินกันแห่งธรรมที่คู่กัน ว่าตรัสรู้ความสมาทานสิกขา ว่าตรัสรู้ความเป็นโคจรแห่งอารมณ์ ว่าตรัสรู้ความประคองจิตที่หดหู่ไว้ ว่าตรัสรู้ความข่มจิตที่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้ความวางเฉยแห่งจิตที่บริสุทธิ์ทั้งสองอย่าง ว่าตรัสรู้ความบรรลุธรรมพิเศษ ว่าตรัสรู้ความแทงตลอดธรรมที่ยิ่ง ว่าตรัสรู้ความตรัสรู้สัจจะ ว่าตรัสรู้ความยังจิตให้ตั้งอยู่ในนิโรธ ฯ
[562] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความน้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ ฯลฯว่าตรัสรู้ความเห็นแห่งปัญญินทรีย์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาแห่งสัทธาพละ ฯลฯ ว่าตรัสรู้ความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชาแห่งปัญญาพละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความตั้งมั่นแห่งสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ว่าตรัสรู้ความพิจารณาหาทางแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความเห็นชอบแห่งสัมมาทิฐิ ฯลฯว่าตรัสรู้ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความเป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ ว่าตรัสรู้ความไม่หวั่นไหวแห่งพละ ว่าตรัสรู้ความนำออกแห่งโพชฌงค์ ว่าตรัสรู้ความเป็นเหตุแห่งมรรค ว่าตรัสรู้ความตั้งมั่นแห่งสติปัฏฐาน ว่าตรัสรู้ความตั้งไว้แห่งสัมมัปปธาน ว่าตรัสรู้ความให้สำเร็จแห่งอิทธิบาท ว่าตรัสรู้ความเป็นธรรมแท้แห่งสัจจะ ว่าตรัสรู้ความระงับแห่งประโยค ว่าตรัสรู้ความทำให้แจ้งแห่งผล ว่าตรัสรู้ความตรึกแห่งวิตก ว่าตรัสรู้ความตรองแห่งวิจารว่าตรัสรู้ความแผ่ซ่านแห่งปีติ ว่าตรัสรู้ความไหลไปแห่งสุข ว่าตรัสรู้ความมีอารมณ์เดียวแห่งจิต ฯ
[563] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพความนึก ว่าตรัสรู้สภาพความรู้แจ้งว่าตรัสรู้สภาพความรู้ชัด ว่าตรัสรู้สภาพความหมายรู้ ว่าตรัสรู้สภาพสมาธิอันเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ว่าตรัสรู้สภาพที่ควรรู้ยิ่ง ว่าตรัสรู้สภาพที่ควรกำหนดพิจารณา ว่าตรัสรู้สภาพสละแห่งปหานะ ว่าตรัสรู้สภาพมีกิจเป็นอันเดียวกันแห่งภาวนา ว่าตรัสรู้สภาพควรถูกต้องแห่งสัจฉิกิริยา ว่าตรัสรู้สภาพเป็นกองแห่งขันธ์ ว่าตรัสรู้สภาพทรงไว้แห่งธาตุ ว่าตรัสรู้สภาพเป็นบ่อเกิดแห่งอายตนะว่าตรัสรู้สภาพที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรม ว่าตรัสรู้สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม ฯ
[564] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพที่มีอยู่ในระหว่างแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพความออกแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพความหลีกไปแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นเหตุแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นปัจจัยแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นที่ตั้งแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นภูมิแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นอารมณ์แห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นโคจรแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพที่ดำเนินไปแห่งจิต ฯ
[565] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพความนึกในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความรู้แจ้งในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความรู้ชัดในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความหมายรู้ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพเป็นสมาธิในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความแล่นไปในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความผ่องใสในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความเพิกเฉยในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความหลุดพ้นในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความเห็นว่า นี้ละเอียดในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ทำเป็นดุจยานในธรรมอย่างเดียวว่าตรัสรู้สภาพความตั้งขึ้นเนืองๆ ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ทำให้เป็นที่ตั้งในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความตั้งขึ้นเนืองๆในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพก่อในธรรมอย่างเดียวว่าตรัสรู้สภาพปรารภด้วยดีในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่กำหนดในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพเป็นบริวารในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพบริบูรณ์ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ประชุมลงในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพตั้งมั่นในธรรมอย่างเดียวว่าตรัสรู้สภาพเป็นที่เสพในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพเจริญในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ทำให้มากในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ขึ้นไปดีในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพหลุดพ้นด้วยดีในธรรมอย่างเดียวว่าตรัสรู้สภาพตรัสรู้ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพตรัสรู้ตามในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพตรัสรู้เฉพาะในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพตรัสรู้พร้อมในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้ตรัสรู้ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้ตรัสรู้ตามในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้ตรัสรู้เฉพาะในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้ตรัสรู้พร้อมในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายธรรมเครื่องให้ตรัสรู้ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายธรรมเครื่องให้ตรัสรู้ตามในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายธรรมเครื่องให้ตรัสรู้เฉพาะในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายธรรมเครื่องให้ตรัสรู้พร้อมในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความสว่างในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความสว่างขึ้นในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความสว่างตามในธรรมอย่างเดียวว่าตรัสรู้สภาพความสว่างเฉพาะในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความสว่างพร้อมในธรรมอย่างเดียว ฯ
[566] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นบาทแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพดับ ว่าตรัสรู้สภาพเผาผลาญ ว่าตรัสรู้สภาพความรุ่งเรือง ว่าตรัสรู้สภาพเครื่องให้กิเลสเร่าร้อน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่ไม่มีมลทิน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่ปราศจากมลทิน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่หามลทินมิได้ ว่าตรัสรู้สภาพความสงบ ว่าตรัสรู้สภาพเครื่องให้สงบ ว่าตรัสรู้สภาพความสงัดว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติสงัด ว่าตรัสรู้สภาพความสำรอกกิเลส ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติสำรอกกิเลส ว่าตรัสรู้สภาพความดับ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติความดับ ว่าตรัสรู้สภาพความปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติความปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพหลุดพ้น ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติหลุดพ้น ว่าตรัสรู้สภาพฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นมูลแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพเป็นบาทแห่งฉันทะว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นประธานแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้สำเร็จแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพน้อมไปแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพประคองไว้แห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพตั้งมั่นแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพไม่ฟุ้งซ่านแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพวิริยะฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพจิต ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นมูลแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นบาทแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นประธานแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้สำเร็จแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพน้อมไปแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพประคองไว้แห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพตั้งมั่นแห่งวิมังสาว่าตรัสรู้สภาพไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิมังสา ฯ
[567] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความบีบคั้นแห่งทุกข์ ว่าตรัสรู้สภาพที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์ ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ว่าตรัสรู้สภาพความแปรปรวนแห่งทุกข์ ว่าตรัสรู้สภาพความประมวลมาแห่งสมุทัย ว่าตรัสรู้สภาพเป็นเหตุแห่งสมุทัย ว่าตรัสรู้สภาพที่ประกอบไว้แห่งสมุทัย ว่าตรัสรู้สภาพพัวพันแห่งสมุทัย ว่าตรัสรู้สภาพที่สลัดออกแห่งทุกขนิโรธ ว่าตรัสรู้สภาพสงัดแห่งทุกขนิโรธ ว่าตรัสรู้สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งทุกขนิโรธ ว่าตรัสรู้สภาพเป็นอมตะแห่งทุกขนิโรธ ว่าตรัสรู้สภาพที่นำออกแห่งมรรค ว่าตรัสรู้สภาพเป็นเหตุแห่งมรรค ว่าตรัสรู้สภาพที่เห็นแห่งมรรค ว่าตรัสรู้สภาพความเป็นใหญ่แห่งมรรค ว่าตรัสรู้สภาพที่ถ่องแท้ ว่าตรัสรู้สภาพเป็นอนัตตา ว่าตรัสรู้สภาพเป็นของจริง ว่าตรัสรู้สภาพแทงตลอด ว่าตรัสรู้สภาพที่ควรรู้ยิ่ง ว่าตรัสรู้สภาพที่ควรกำหนดรู้ ว่าตรัสรู้สภาพเป็นธรรม ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นธาตุ ว่าตรัสรู้สภาพที่ปรากฏ ว่าตรัสรู้สภาพที่ควรทำให้แจ้ง ว่าตรัสรู้สภาพถูกต้อง ว่าตรัสรู้สภาพตรัสรู้ ว่าตรัสรู้เนกขัมมะ ว่าตรัสรู้ความไม่พยาบาท ว่าตรัสรู้อาโลกสัญญาว่าตรัสรู้ความไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้กำหนดธรรม ว่าตรัสรู้ญาณ ว่าตรัสรู้ความปราโมทย์ ว่าตรัสรู้ปฐมญาณ ฯลฯว่าตรัสรู้อรหัตมรรค ฯ
[568] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สัทธินทรีย์ด้วยความว่าน้อมใจเชื่อ ฯลฯว่าตรัสรู้ปัญญินทรีย์ด้วยความว่าเห็นว่าตรัสรู้สัทธาพละด้วยความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธาฯลฯ ว่าตรัสรู้ปัญญาพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา ว่าตรัสรู้สติสัมโพชฌงค์ด้วยความว่าตั้งมั่น ฯลฯ ว่าตรัสรู้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ด้วยความว่าพิจารณาหาทาง ว่าตรัสรู้สัมมาทิฐิด้วยความว่าเห็น ฯลฯว่าตรัสรู้สัมมาสมาธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้อินทรีย์ด้วยความว่าเป็นใหญ่ว่าตรัสรู้พละด้วยความว่าไม่หวั่นไหว ว่าตรัสรู้สภาพนำออก ว่าตรัสรู้มรรคด้วยความว่าเป็นเหตุ ว่าตรัสรู้สติปัฏฐานด้วยความว่าตั้งมั่น ว่าตรัสรู้สัมมัปปธานด้วยความว่าตั้งไว้ ว่าตรัสรู้อิทธิบาทด้วยความว่าให้สำเร็จ ว่าตรัสรู้สัจจะด้วยความว่าเป็นของแท้ ว่าตรัสรู้สมถะด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้วิปัสนาด้วยความว่าพิจารณาเห็น ว่าตรัสรู้สมถะและวิปัสนาด้วยความว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ว่าตรัสรู้ธรรมที่เป็นคู่กันด้วยความว่าไม่ล่วงเกินกัน ว่าตรัสรู้สีลวิสุทธิด้วยความว่าสำรวมว่าตรัสรู้จิตวิสุทธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้ทิฐิวิสุทธิด้วยความว่าเห็น ว่าตรัสรู้วิโมกข์ด้วยความว่าหลุดพ้น ว่าตรัสรู้วิชชาด้วยความว่าแทงตลอด ว่าตรัสรู้วิมุตติด้วยความว่าสละ ว่าตรัสรู้ขยญาณด้วยความว่าตัดขาด ว่าตรัสรู้ญาณในความไม่เกิดขึ้นด้วยความว่าระงับ ว่าตรัสรู้ฉันทะด้วยความว่าเป็นมูล ว่าตรัสรู้มนสิการด้วยความว่าเป็นสมุฏฐาน ว่าตรัสรู้ผัสสะด้วยความว่าเป็นที่รวม ว่าตรัสรู้เวทนาด้วยความว่าเป็นที่ประชุม ว่าตรัสรู้สมาธิด้วยความว่าเป็นประธาน ว่าตรัสรู้สติด้วยความว่าเป็นใหญ่ ว่าตรัสรู้ปัญญาด้วยความว่าเป็นธรรมยิ่งกว่าธรรมนั้นๆ ว่าตรัสรู้วิมุติด้วยความว่าเป็นสาระ ว่าตรัสรู้นิพพานอันหยั่งลงในอมตะด้วยความว่าเป็นที่สุด ฯ
________
พระเจ้าทรงแสดงไว้ที่เมืองสาวัตถีว่า
______
[569] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลายภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลายโพชฌงค์ 7 ประการนี้ 7 ประการเป็นไฉนคือสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลายโพชฌงค์ 7 ประการนี้แล ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เรานั้นหวังจะอยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์ใดๆ ในโพชฌงค์ 7 ประการนี้ เราก็อยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์นั้นๆ หวังจะอยู่ในเวลาเที่ยง ฯลฯ เวลาเย็นด้วยโพชฌงค์ใดๆ เราก็อยู่ในเวลาเย็นด้วยโพชฌงค์นั้นๆ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้ สติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดี เมื่อเรากำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราย่อมรู้ว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ฯลฯ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดี เมื่อเรากำลังเที่ยวไปย่อมรู้ซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราย่อมรู้ว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนตู้เก็บผ้าของพระราชา หรือของราชมหาอำมาตย์ เต็มด้วยผ้าสีต่างๆ พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์นั้น ประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใดในเวลาเช้า ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแล ประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใดในเวลาเที่ยง ในเวลาเย็น ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแล ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้นเหมือนกันแล หวังจะอยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์ใดๆในโพชฌงค์ 7 ประการนี้ … ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราก็รู้ว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ ฯ
[570] โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้นั้นมีอยู่อย่างไร ฯ
นิโรธปรากฏอยู่เพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้นั้น ก็มีอยู่เพียงนั้น เปรียบเหมือนเมื่อดวงประทีปที่ตามด้วยน้ำมันกำลังสว่างอยู่ เปลวไฟมีเพียงใด แสงก็มีเพียงนั้น แสงมีเพียงใด เปลวไฟก็มีเพียงนั้น ฉันใด นิโรธปรากฏอยู่เพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้นั้น ก็มีอยู่เพียงนั้น ฉันนั้น ฯ
โพชฌงค์ในข้อว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้นั้น มีอยู่อย่างไร ฯ
กิเลสทั้งหลาย ปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวงเทียว สังขารอันให้เกิดในภพใหม่มีประมาณนิโรธหาประมาณมิได้ เพราะความเป็นอสังขตธรรม นิโรธย่อมปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่าสติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้นั้นก็มีอยู่เพียงนั้น ฯ
โพชฌงค์ในข้อว่า สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดีนั้นมีอยู่อย่างไร ฯ
กิเลสทั้งหลาย ปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวงเทียว สังขารอันให้เกิดในภพใหม่ไม่เสมอ นิโรธมีความเสมอเป็นธรรมดา เพราะความเป็นธรรมละเอียด เพราะความเป็นธรรมประณีต นิโรธย่อมปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดีนั้น ก็มีอยู่เพียงนั้น ฯ
[571] เมื่อเราเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่าดำรงอยู่ ถ้าแม้เคลื่อนไป เราก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างไร สติสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการเท่าไร ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการเท่าไร สติสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ 8ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ 8 ฯ
สติสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ 8 เป็นไฉน สติสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีความเกิด 1 ด้วยความไม่นึกถึงความเกิด 1 ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีความเป็นไป 1 ด้วยความไม่นึกถึงความเป็นไป 1 ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีนิมิตร 1 ด้วยความไม่นึกถึงนิมิตร 1ด้วยความนึกถึงนิโรธ 1 ด้วยความไม่นึกถึงสังขาร 1 สติสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ 8 นี้ ฯ
สติสัมโพชฌงค์ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ 8 เป็นไฉน สติสัมโพชฌงค์ย่อมเคลื่อนไปด้วยความนึกถึงความเกิด 1 ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีความเกิด 1 ด้วยความนึกถึงความเป็นไป 1 ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีความเป็นไป 1 ด้วยความนึกถึงนิมิตร 1 ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีนิมิตร 1 ด้วยความไม่นึกถึงนิโรธ 1 ด้วยความนึกถึงสังขาร 1 สติสัมโพชฌงค์ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ 8 นี้ เมื่อเรากำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้เคลื่อนไป เราก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างนี้ ฯลฯ ฯ
[572] โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้นั้นมีอยู่อย่างไร
นิโรธปรากฏอยู่เพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้นั้นก็มีเพียงนั้น เปรียบเหมือนดวงประทีปที่ตามด้วยน้ำมันกำลังสว่างอยู่ … ฯ
โพชฌงค์ในข้อว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้นั้น มีอยู่อย่างไร … ฯ
โพชฌงค์ในข้อว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดีนั้นมีอยู่อย่างไร … ฯ
เมื่อเราเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้เคลื่อนไปเราก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้อย่างไร อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการเท่าไร ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการเท่าไร อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ 8 ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ 8 ฯ
[573] อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ 8 เป็นไฉน
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมดำรงอยู่ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น 1 ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะความไม่นึกถึงความเกิด 1 เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความน้อมไปแห่งจิต ว่าตรัสรู้ความนำออกแห่งจิต อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงไว้ซึ่งความสลัดออกแห่งจิต ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีความเป็นไป 1ด้วยความไม่นึกถึงความเป็นไป 1 ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีนิมิตร 1ด้วยความไม่นึกถึงนิมิตร 1 ด้วยความนึกถึงนิโรธ 1 ด้วยความไม่นึกถึงสังขาร 1 อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ 8 นี้ ฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ 8 เป็นไฉน
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเคลื่อนไปด้วยความนึกถึงความเกิด 1 ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีความเกิด 1 ด้วยความนึกถึงความเป็นไป 1ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีความเป็นไป 1 ด้วยความนึกถึงนิมิตร 1 ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีนิมิตร 1 ด้วยความนึกถึงสังขาร 1 ด้วยความไม่นึกถึงนิโรธ 1 อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ 8 นี้ เมื่อเรากำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้เคลื่อนไปเราก็รู้ว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างนี้ ฯ
จบโพชฌงคกถา
______
เมตตากถา
พระเจ้าทรงแสดงไว้ที่เมืองสาวัตถีว่า
[574] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้วเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆอบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ 11 ประการเป็นอันหวังได้ อานิสงส์ 11ประการเป็นไฉน คือ ผู้เจริญเมตตาย่อมหลับเป็นสุข 1ตื่นเป็นสุข 1 ไม่ฝันลามก 1 ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ 1 ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ 1 เทวดาย่อมรักษา 1 ไฟ ยาพิษ หรือศาตราย่อมไม่กล้ำกลาย 1 จิตของผู้เจริญเมตตาเป็นสมาธิได้รวดเร็ว 1 สีหน้าของผู้เจริญเมตตาย่อมผ่องใส 1 ย่อมไม่หลงใหลกระทำกาละ 1 เมื่อยังไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก 1 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้วทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้วอานิสงส์ 11 ประการนี้เป็นอันหวังได้ ฯ
[575] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี แผ่ไปโดยเจาะจงก็มี แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการเท่าไรแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไรแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการเท่าไร เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ 5 แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ 7แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ 10 ฯ
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ 5 เป็นไฉน
เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ปาณะทั้งปวง ฯลฯ ภูตทั้งปวงบุคคลทั้งปวง ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกันไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิดเมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ 5 นี้ ฯ
เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ 7 เป็นไฉน
เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงว่า ขอหญิงทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวรไม่เบียดเบียนกันไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ชายทั้งปวง ฯลฯ อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ 7 นี้ ฯ
[576] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ 10 เป็นไฉน
เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพาจงเป็นผู้ไม่มีเวรไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจจิม ฯลฯ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิดขอปาณะทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ ภูต บุคคล ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพหญิงทั้งปวง ชายทั้งปวงอารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวงมนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจจิม ฯลฯ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสานวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ 10 นี้เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ 8 นี้ คือ ด้วยการเว้นความบีบคั้นไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง 1 ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง 1 ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน 1 ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ทั้งปวง 1 ด้วยการเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง 1 ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวร 1 จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ 1 จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ 1 จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติเพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ ฯ
[577] บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธา ว่าขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร … ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยินทรีย์ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้เป็นมั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร …ดังนี้เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร … ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาทราบชัดด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร …ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ 5 ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ 5ประการนี้ อินทรีย์ 5 ประการนี้ เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเจริญเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ 5 ประการนี้ อินทรีย์ 5 ประการนี้ เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ 5ประการนี้ อินทรีย์ 5 ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมประดับเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ 5 ประการนี้อินทรีย์ 5 ประการนี้ เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ 5 ประการนี้อินทรีย์ 5 ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติดีแล้วด้วยอินทรีย์ 5 ประการนี้ อินทรีย์ 5 ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติเป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุติ เมตตาเจโตวิมุติอันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้วอธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด(ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ
[578] ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิดดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน ด้วยมนสิการ ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร … ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวไปในความประมาท ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร … ดังนี้เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร …ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิพละ ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร …ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญาพละ พละ 5 ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยพละ 5ประการนี้ … เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้งตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้วอธิษฐานดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้โชติช่วงให้สว่างไสว ฯ
[579] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความคิดชั่วหยาบไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวรฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาย่อมวางเฉยกิเลสทั้งหลายด้วยญาณว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวรจงมีความปลอดโปร่งจงมีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ 7 ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติบุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยโพชฌงค์ 7 ประการนี้ … เมตตาเจโตวิมุติอันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้วปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ
[580] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาทิฐิ ผู้เจริญเมตตาย่อมดำริโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร … ดังนี้เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ผู้เจริญเมตตาย่อมกำหนดโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร … ดังนี้เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งการงานไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร … ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมากัมมันตะ ผู้เจริญเมตตาย่อมชำระอาชีพให้ขาวผ่องโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร … ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะผู้เจริญเมตตาย่อมประคองความเพียรไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร … ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งสติไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร … ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค 8 ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค 8 ประการนี้องค์มรรค 8 ประการนี้ เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเจริญเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค 8 ประการนี้ องค์มรรค 8 ประการนี้ เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติด้วย องค์มรรค 8ประการนี้ องค์มรรค 8 ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมประดับเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค 8 ประการนี้องค์มรรค 8 ประการนี้ เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค 8ประการนี้ องค์มรรค 8 ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติด้วยดีด้วยองค์มรรค 8 ประการนี้ องค์มรรค 8 ประการนี้ เป็นอาเสวนะเป็นภาวนา เป็นพลีหุกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคตเป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ด้วยดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่านี้ละเอียดของเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้วอธิษฐานดีแล้วดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด(ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ
[581] เมตตาเจโตวิมุติ แผ่ไปด้วยอาการ 8 นี้ คือ ด้วยการเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้น 1 ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า 1 ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อนไม่ทำให้เดือดร้อน 1 ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี 1 ด้วยเว้นการเบียดเบียนไม่เบียดเบียน 1 ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวงบุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวงเทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด 1 จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด 1 จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด 1 จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติ เพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ
[582] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปด้วยอาการ 8 นี้ คือ ด้วยการเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้น 1 ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า 1 ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อนไม่ทำให้เดือดร้อน 1 ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี 1 ด้วยเว้นการเบียดเบียนไม่เบียดเบียน 1 ซึ่งสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศหรดี ในทิศเบื้องต่ำในทิศเบื้องบน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด 1จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด 1 จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด 1จิตชื่อว่าเมตตาเพราะรักสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติ เพราะหลุดพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวงจิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติบุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วงให้สว่างไสว ฯ
[583] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปด้วยอาการ 8 นี้ คือ ด้วยการเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้น 1 ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า 1 ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อนไม่ทำให้เดือดร้อน 1 ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี 1 ด้วยเว้นการเบียดเบียนไม่เบียดเบียน 1 ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวงบุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวงเทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา ในทิศปัจจิมในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศหรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา จงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด 1 จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด 1 จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด 1 จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติเพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ ฯ
[584] บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่าขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิดดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตมั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ 5 ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ 5ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ
[585] ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ด้วยมนสิการว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความประมาท เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิพละฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญาพละ พละ 5 ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยพละ 5 ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง)ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ
[586] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญา เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความชั่วหยาบไว้เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่น เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาวางเฉยกิเลสทั้งปวงด้วยญาณ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ 7 ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติบุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยโพชฌงค์ 7 ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด(ให้รุ่งเรือง)ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ
[587] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นโดยชอบว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาทิฐิ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาดำริโดยชอบเมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะฯลฯ ผู้เจริญเมตตากำหนดโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งการงานไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมากัมมันตะ ฯลฯผู้เจริญเมตตาชำระอาชีพให้ผ่องแผ้วโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสติฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งมั่นโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค 8ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค 8ประการนี้ ฯลฯ องค์มรรค 8 ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค 8 ประการนี้องค์มรรค 8 ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการเป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความดำรงมั่น เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุติอันบุคคลทำให้เป็นดังยานทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้วเจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ
จบเมตตากถา ฯ
______
วิราคกถา
[588] วิราคะเป็นมรรค วิมุติเป็นผล วิราคะเป็นมรรคอย่างไร ฯ
ในขณะโสดาปัตติมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมคลายจากมิจฉาทิฐิ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอกวิราคะ (มรรค) มีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่าวิราโค นี้มี 2 คือ นิพพานเป็นวิราคะ 1 ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ 1 เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์ 7 ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรคพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคอันมีองค์ 8 นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศเป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ
สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ ย่อมคลายจากมิจฉาสังกัปปะ สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด ย่อมคลายจากมิจฉาวาจา สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้งขึ้นด้วยดี ย่อมคลายจากมิจฉากัมมันตะ สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้ว ย่อมคลายจากมิจฉาอาชีวะ สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ ย่อมคลายจากมิจฉาวายามะ สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมคลายจากมิจฉาสติสัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากมิจฉาสมาธิ จากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นนั้น จากขันธ์และสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่าวิราโค นี้มี 2 คือ นิพพาน เป็นวิราคะ 1ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาสังกัปปะเป็นต้นนั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ 1 เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค องค์ 7 ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกย่อมไปถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้นอริยมรรคมีองค์ 8 นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุดและประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก ผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ
[589] ในขณะสกทาคามิมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯสัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยส่วนหยาบๆคลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้นจากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯเพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ
[590] ในขณะอนาคามิมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆคลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ฯลฯ เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ
[591] ในขณะอรหัตมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะอวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี 2 คือ นิพพานเป็นวิราคะ 1 ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาสมาธิมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นวิราคะ 1 เพราะฉะนั้นมรรคจึงเป็นวิราคะ องค์ 7 ที่เป็นสหชาติย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้นวิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ
[592] สัมมาทิฐิเป็นวิราคะเพราะความเห็น สัมมาสังกัปปะเป็นวิราคะเพราะความดำริ สัมมาวาจาเป็นวิราคะเพราะความกำหนด สัมมากัมมันตะเป็นวิราคะเพราะความตั้งขึ้นไว้ชอบสัมมาอาชีวะเป็นวิราคะเพราะชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้ว สัมมาวายามะเป็นวิราคะเพราะประคองไว้สัมมาสติเป็นวิราคะเพราะตั้งมั่น สัมมาสมาธิเป็นวิราคะเพราะไม่ฟุ้งซ่าน สติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะตั้งมั่น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะเลือกเฟ้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะประคองไว้ ปีติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะแผ่ซ่านไป ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความสงบ สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความพิจารณาหาทาง สัทธาพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา วิริยพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน สติพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความประมาท สมาธิพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ปัญญาพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา สัทธินทรีย์เป็นวิราคะ เพราะความน้อมใจเชื่อ วิริยินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความประคองไว้ สตินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความตั้งมั่น สมาธินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความไม่ ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความเห็น อินทรีย์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่พละเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่านำออกไป มรรคเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าตั้งมั่น สัมมัปปธานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเริ่มตั้งไว้ อิทธิบาทเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ สัจจะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นของถ่องแท้สมถะเป็นวิราคะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็นสมถวิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมที่คู่กันเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน สีลวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสำรวมจิตตวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่านทิฐิวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพ้นวิเศษ วิชชาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าแทงตลอด วิมุติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสละ ขยญาณเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าตัดขาด ฉันทะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นมูล มนสิการเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม เวทนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุมลง สมาธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นประธาน สติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้นๆวิมุติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นสารธรรม สัมมาทิฐิเป็นมรรคเพราะความเห็น สัมมาสังกัปปะเป็นมรรคเพราะความดำริ ฯลฯ นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด วิราคะเป็นมรรคอย่างนี้ ฯ
[593] วิมุติเป็นผลอย่างไร ในขณะโสดาปัตติผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น พ้นจากมิจฉาทิฐิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ วิมุติในคำว่า วิมุตฺตินี้มี 2 คือ นิพพาน เป็นวิมุติ 1 ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นวิมุติ 1 เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ พ้นจากมิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนดพ้นจากมิจฉาวาจา ฯลฯสัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้งไว้ด้วยดี พ้นจากมิจฉากัมมันตะฯลฯ สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีพให้ผ่องแผ้ว พ้นจากมิจฉาอาชีวะ ฯลฯสัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ พ้นจากมิจฉาวายามะฯลฯ สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พ้นจากมิจฉาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พ้นจากมิจฉาสมาธิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นนั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตรภายนอก วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจร ประชุมเข้าในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ วิมุติในคำว่า วิมุตฺติ นี้มี 2คือ นิพพานเป็นวิมุติ 1 ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุติ1 เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ
[594] ในขณะสกทาคามิผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์ กามราคานุสัยปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆพ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐิเป็นต้นนั้นจากขันธ์และจากสรรพนิมิตรภายนอก … เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ
[595] ในขณะอนาคามิผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆพ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐิเป็นต้นนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตรภายนอก … เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ
[596] ในขณะอรหัตผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชามานานุสัย ภวราคานุสัยอวิชชานุสัยพ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐิเป็นต้นนั้นจากขันธ์และจากสรรพนิมิตรภายนอกวิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจรประชุมเข้าในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ วิมุติในคำว่า วิมุตฺตินี้มี 2 คือ นิพพานเป็นวิมุติ 1 ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุติ 1 เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ
[597] สัมมาทิฐิเป็นวิมุติเพราะความเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นวิมุติเพราะความไม่ฟุ้งซ่าน สติสัมโพชฌงค์เป็นวิมุติ เพราะความตั้งไว้มั่น ฯลฯอุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นวิมุติเพราะความพิจารณาหาทาง สัทธาพละเป็นวิมุติเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา ฯลฯ ปัญญาพละเป็นวิมุติเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา สัทธินทรีย์เป็นวิมุติเพราะความน้อมใจเชื่อฯลฯ ปัญญินทรีย์เป็นวิมุติเพราะความเห็น อินทรีย์เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่พละเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นเครื่องนำออก มรรคเป็นวิมุติ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าตั้งมั่น สัมมัปปธานเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเริ่งตั้งไว้ อิทธิบาทเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ สัจจะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นของถ่องแท้ สมถะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น สมถวิปัสสนาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมที่เป็นคู่กันเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน สีลวิสุทธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าสำรวม จิตตวิสุทธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าพ้น วิชชาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าแทงตลอด วิมุติเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าสละ ญาณในความไม่เกิดขึ้นเป็นวิมุติ เพราะอรรถว่าระงับ ฉันทะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นมูล มนสิการ เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม เวทนาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม สมาธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นประธาน สติเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นธรรมยิ่งกว่าธรรมนั้นๆ วิมุติเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นสารธรรมนิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด วิมุติเป็นผลอย่างนี้ วิราคะ เป็นมรรค วิมุติเป็นผล ด้วยประการฉะนี้ ฯ
จบวิราคกถา ฯ
______
ปฏิสัมภิทากถา
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
[598] ข้าพเจ้าฟังจำมาว่า:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย" แล้วเทสนาว่า:
สัจจะสุดโต่ง 2 อย่างนี้ที่ภิกษุอย่างเธอบวชมาแล้วไม่ควรประพฤติ. สัจจะสุดโต่ง 2 อย่างที่ว่า คืออะไร? คือ กามสุขัลลิกะ-อนุโยค-สัจในกามคุณ(ทั้ง 5) เป็นของชั้นต่ำ เป็นของฆราวาส ไม่ใช่ของชาวอริยะ ไม่เป็นอนุโยคะที่ 1 การประกอบการทำตนให้ลำบาก เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ 1 ดูกรภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาอันไม่เกี่ยวข้องส่วนสุดทั้ง 2 ประการนี้นั้น ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำจักษุทำญาณ (เห็นประจักษ์รู้ชัด) ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำจักษุ ทำญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แล คือ สัมมาทิฐิ … สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลายมัชฌิมาปฏิปทานี้นั้นแล ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำจักษุ ทำญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ
[599] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความป่วยไข้ก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์ความประจวบกับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รักเป็นทุกข์ แม้ความไม่ได้สมปรารถนาก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยสัจนี้แล คือ ตัณหาอันให้เกิดในภพต่อไป อันสหรคตด้วยความกำหนัดด้วยสามารถความเพลิดเพลิน เป็นเหตุให้เพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้แล คือ ความดับตัณหานั้นแลโดยความสำรอกไม่เหลือความสละ ความสละคืน ความปล่อย ความไม่พัวพัน ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้แล คือ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สัมมาทิฐิฯลฯ สัมมาสมาธิ ฯ
[600] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้ ฯลฯ เรากำหนดรู้แล้ว ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชาแสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละ ฯลฯเราละได้แล้ว ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชาแสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง ฯลฯเราทำให้แจ้งแล้ว ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญาวิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรเจริญฯลฯ เราได้เจริญแล้ว ฯ
[601] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ยถาภูตญาณทัสนะมีวนรอบ 3 มีอาการ12 ด้วยประการฉะนี้ ในอริยสัจ 4 ของเรา ยังไม่หมดจดดี เพียงใดเราก็ยังไม่ปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อใดแล ยถาภูตญาณทัสนะมีวนรอบ3 มีอาการ12 ด้วยประการฉะนี้ ในอริยสัจ 4 ของเรา หมดจดดีแล้ว เราจึงปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แลญาณทัสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า เจโตวิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุดบัดนี้ ไม่มีการเกิดในภพต่อไป พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ชื่นชมยินดีพระพุทธภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ธรรมจักษุอันปราศจากธุลีปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า ธรรมเหล่าใดมีสมุทัยเป็นเหตุเกิด ธรรมทั้งหมดนั้นมีนิโรธเป็นเหตุดับ ฯ
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรแล้ว ภุมมเทวดา ก็ประกาศก้องว่า พระผู้มีพระภาคทรงยังธรรมจักรอันประเสริฐนี้ ที่สมณพราหมณ์เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เทวดาชั้นจาตุมมหาราชได้ฟังเสียงของภุมมเทวดาแล้ว ฯลฯ เทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดาชั้นดุสิต เทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหมก็ประกาศก้องว่า พระผู้มีพระภาคทรงยังธรรมจักรอันประเสริฐนี้ ที่สมณพราหมณ์ เทวดามาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ฯ
เพราะเหตุดังนี้แล โดยขณะระยะครู่เดียวนั้น เสียงก็บันลือลั่นไปจนตลอดพรหมโลกและหมื่นโลกธาตุนี้ ก็สะเทือนสะท้านหวั่นไหว อนึ่งแสงสว่างอย่างยิ่ง หาประมาณมิได้ ก็ปรากฏขึ้นในโลก ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ฯ
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานว่า ท่านผู้เจริญ ภิกษุโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ท่านผู้เจริญ ภิกษุโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะอุทานดังนี้แล ท่านโกณฑัญญะจึงมีนามว่า อัญญาโกณฑัญญะ ดังนี้ ฯ
[602] จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ คำว่า จักษุเกิดขึ้น … แสงสว่างเกิดขึ้น นี้ เพราะอรรถว่ากระไร
คำว่า จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น คำว่า ญาณเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ารู้ คำว่าปัญญาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าทราบชัด คำว่า วิชชาเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าแทงตลอด คำว่า แสงสว่าง เกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ
จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่างเป็นธรรมธรรม 5 ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่า ธรรมปฏิสัมภิทา ฯ
ความเห็นเป็นอรรถ ความรู้เป็นอรรถ ความทราบชัดเป็นอรรถ ความแทงตลอดเป็นอรรถ ความสว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ 5 ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทาอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทาอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้นท่านจึงเรียกญาณในอรรถทั้งหลายว่า อรรถปฏิสัมภิทา ฯ
การกล่าวพยัญชนะนิรุติเพื่อแสดงธรรม 5 ประการ การกล่าวพยัญชนะนิรุติเพื่อแสดงอรรถ 5 ประการ นิรุติ 10 ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใด เป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทาธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทาธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทาเพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุติทั้งหลายว่า นิรุติปฏิสัมภิทา ฯ
ญาณ 20 ประการนี้ คือ ญาณในธรรม 5 ประการ ญาณในอรรถ 5 ประการ ญาณในนิรุติ 10 ประการ เป็นอารมณ์และ เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใด เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทาเพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ฯ
[603] จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแลควรกำหนดรู้ ฯลฯเรากำหนดรู้แล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้นญาณ เกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น วิชชาเกิดขึ้นแสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
คำว่า จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น … คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ
จักษุเป็นธรรม … แสงสว่างเป็นธรรม ธรรม 5 ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา … เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทาในทุกขอริยสัจมีธรรม 15 มีอรรถ 15 มีนิรุติ30 มีญาณ 60 ฯ
[604] จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่านี้ทุกขสมุทัยสัจ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละ ฯลฯเราละได้แล้ว ฯลฯ ในทุกขสมุทัยอริยสัจ มีธรรม 15มีอรรถ 15 มีนิรุติ30 มีญาณ 60 ฯ
จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง ฯลฯเราทำให้แจ้งแล้ว ฯลฯ ในทุกขนิโรธอริยสัจ มีธรรม 15มีอรรถ 15 มีนิรุติ30 มีญาณ 60 ฯ
จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯลฯ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจมีธรรม 15 มีอรรถ 15มีนิรุติ 30 มีญาณ 60 ในอริยสัจ 4 มีธรรม 60 มีอรรถ 60 มีนิรุติ160มีญาณ 240 ฯ
[605] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นกาย ในกายนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกาย ในกายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้วการพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้ ฯลฯ การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลายนี้นั้นแลควรเจริญ ฯลฯเราเจริญแล้ว ฯ
จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่าก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นแลควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้น ญาณเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้นวิชชาเกิดขึ้น แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ากระไร
จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น คำว่า ญาณเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ารู้ คำว่า ปัญญาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าทราบชัด คำว่า วิชชาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าแทงตลอด คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ
จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่างเป็นธรรม ธรรม 5 ประการนี้ เป็นอารมณ์และโคจรแห่งธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทาธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่า ธรรมปฏิสัมภิทา ฯ
ความเห็นเป็นอรรถ ความรู้เป็นอรรถ ความทราบชัดเป็นอรรถ ความแทงตลอดเป็นอรรถ ความสว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ 5 ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทาอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทาอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้นท่านจึงเรียกญาณในอรรถทั้งหลายว่าอรรถปฏิสัมภิทา ฯ
การกล่าวพยัญชนะนิรุติเพื่อแสดงธรรม 5 ประการ การกล่าวพยัญชนะนิรุติเพื่อแสดงอรรถ 5 ประการ นิรุติ 10 ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทาธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทาธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทาเพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุติทั้งหลายว่านิรุติปฏิสัมภิทา ฯ
ญาณ 20 ประการนี้ คือ ญาณในธรรม 5 ประการ ญาณในอรรถ 5 ประการ ญาณในนิรุติ 10 ประการ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภานปฏิสัมภิทาญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภานปฏิสัมภิทาญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้นท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทาในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นกายในกาย มีธรรม 15 มีอรรถ 15 มีนิรุติ 30 มีญาณ 60 การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้ ฯลฯ การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้ฯลฯ ฯ
จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้นั้น ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯลฯ ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีธรรม 15 มีอรรถ 15 มีนิรุติ 30 มีญาณ 60 ในสติปัฏฐาน 4 มีธรรม 60 มีอรรถ 60 มีนิรุติ 120มีญาณ 240 ฯ
[606] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขารนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้นั้นแลควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯ
[607] จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้น … แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว … ฯ
จักษุเป็นธรรม … เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา ในอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขาร มีธรรม 15 มีอรรถ 15 มีนิรุติ 30 มีญาณ 60 ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้ ฯลฯอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขารนี้ ฯ
จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้ ฯลฯจักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯลฯ ในอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขาร มีธรรม 15 มีอรรถ 15 มีนิรุติ 30 มีญาณ 60 ในอิทธิบาท4 มีธรรม 60 มีอรรถ 60 มีนิรุติ 120 มีญาณ 240 ฯ
[608] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า สมุทัย สมุทัย ดูกรภิกษุทั้งหลายจักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นิโรธ นิโรธ ในไวยากรณภาษิตของพระวิปัสสีโพธิสัตว์ มีธรรม10 มีอรรถ 10 มีนิรุติ 20 มีญาณ 40 ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระสิขีโพธิสัตว์ฯลฯ พระเวสสภูโพธิสัตว์ ฯลฯ พระกกุสันธโพธิสัตว์ ฯลฯพระโกนาคมน์โพธิสัตว์ ฯลฯ พระกัสสปโพธิสัตว์ ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่าสมุทัย สมุทัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระกัสสปโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นิโรธ นิโรธ ในไวยกรณภาษิตของพระกัสสปโพธิสัตว์ มีธรรม 10 มีอรรถ 10 มีนิรุติ 20มีญาณ 40 ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระโคดมโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า สมุทัย สมุทัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯแสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระโคดมโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่านิโรธ นิโรธ ในไวยากรณภาษิตของพระโคดมโพธิสัตว์ มีธรรม 10 มีอรรถ10 มีนิรุติ 20 มีญาณ 40 ฯ
ในไวยากรณภาษิต 7 ของพระโพธิสัตว์ 7 องค์ มีธรรม 70 มีอรรถ70 มีนิรุติ 140มีญาณ 280 ฯ
[609] จักษุ … แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่ารู้ยิ่งแห่งอภิญญา เรารู้แล้ว เห็นแล้วทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว ตลอดหมดด้วยปัญญา อรรถว่ารู้ยิ่ง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่ารู้ยิ่งแห่งอภิญญา มีธรรม 25 มีอรรถ 25 มีนิรุติ 50 มีญาณ 100 ฯลฯ อรรถว่ากำหนดรู้แห่งปริญญา ฯลฯ อรรถว่าละแห่งปหานะ ฯลฯ อรรถว่าเจริญแห่งภาวนา ฯลฯ ฯ
จักษุ … แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญาอรรถว่าทำให้แจ้ง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม 25 มีอรรถ 25 มีนิรุติ 50 มีญาณ 100 ในอรรถว่ารู้ยิ่งแห่งอภิญญา ในอรรถว่ากำหนดรู้แห่งปริญญา ในอรรถว่าละแห่งปหานะในอรรถว่าเจริญแห่งภาวนา ในอรรถว่าทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม 125 มีอรรถ 125 มีนิรุติ 250 มีญาณ 500 ฯ
[610] จักษุ … แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่ากองแห่งขันธ์ทั้งหลายเรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อรรถว่ากอง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่ากองแห่งขันธ์ทั้งหลาย มีธรรม 25 มีอรรถ 25 มีนิรุติ 50 ญาณ100จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นว่า อรรถว่าทรงไว้แห่งธาตุทั้งหลาย ฯลฯอรรถว่าบ่อเกิดแห่งอายตนะทั้งหลาย อรรถว่าปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรมทั้งหลาย อรรถว่าปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม เรารู้แล้ว เห็นแล้วทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอด หมดด้วยปัญญา อรรถว่าปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม มีธรรม 25 มีอรรถ 25 มีนิรุติ 50 มีญาณ 100 ในอรรถว่ากองแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในอรรถว่าทรงไว้แห่งธาตุทั้งหลาย ในอรรถว่าบ่อเกิดแห่งอายตนะทั้งหลาย ในอรรถว่าปัจจัยปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรมทั้งหลายในอรรถว่าปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม มีธรรม 125 มีอรรถ125 มีนิรุติ 250 มีญาณ 500 ฯ
[611] จักษุ … แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าทนได้ยากแห่งทุกข์เรารู้แล้ว เห็นแล้วทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญาอรรถว่าทนได้ยาก ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าทนได้ยากแห่งทุกข์ มีธรรม 25 มีอรรถ 25 มีนิรุติ 50 มีญาณ 100 จักษุ ฯลฯแสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าเหตุให้เกิดแห่งสมุทัย ฯลฯ อรรถว่าดับแห่งนิโรธอรรถว่าเป็นทางแห่งมรรค เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อรรถว่าเป็นทางที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี ในอรรถว่าเป็นทางแห่งมรรค มีธรรม 25 มีอรรถ 25 มีนิรุติ 50มีญาณ 100 ในอริยสัจ 4 มีธรรม 100 มีอรรถ 100 มีนิรุติ 200 มีญาณ 400 ฯ
[612] จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าความแตกฉานในอรรถแห่งอรรถปฏิสัมภิทา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญาอรรถว่าความแตกฉานในอรรถ เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าความแตกฉานในอรรถแห่งอรรถปฏิสัมภิทา มีธรรม 25 มีอรรถ 25 มีนิรุติ 50 มีญาณ 100 จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าความแตกฉานในธรรมแห่งธรรมปฏิสัมภิทา อรรถว่าความแตกฉานในนิรุติแห่งนิรุติปฏิสัมภิทา อรรถว่าความแตกฉานในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อรรถว่าความแตกฉานในปฏิภาณ ที่เราไม่ถูกต้องแล้วไม่มี ในอรรถว่าความแตกฉานในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีธรรม 25มีอรรถ 25 มีนิรุติ 50 มีญาณ 100 ในปฏิสัมภิทา 4 มีธรรม 100มีอรรถ 100 มีนิรุติ 200 มีญาณ 400 ฯ
[613] จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อินทรียปโรปริยัติญาณ เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อินทรียปโรปริยัติญาณ เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอินทรียปโรปริยัติญาณ มีธรรม 25 มีอรรถ 25 มีนิรุติ 50 มีญาณ 100จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า ญาณในฉันทะอันมานอนและกิเลสอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯยมกปาฏิหาริยญาณ มหากรุณาสมาปัตติญาณ อนาวรณญาณ เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อนาวรณญาณ เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มีในอนาวรณญาณ มีธรรม 25 มีอรรถ 25 มีนิรุติ 50 มีญาณ 100 ในพุทธธรรม 6 มีธรรม150 มีอรรถ 150 มีนิรุติ 300 มีญาณ600 ในปกรณ์ปฏิสัมภิทา มีธรรม 850 มีอรรถ 850มีนิรุติ 1700มีญาณ 3400 ฉะนี้แล ฯ
จบปฏิสัมภิทากถา ______
คำอธิบายบาลีจากผู้แปล
คำว่า "อนริโย" และ "อริโย" ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรข้างต้นนี้ พระพุทธเจ้ายืมคำจากชาวอริยะ (อารยัน;พราหมณ์) ซึ่งนับถือกันว่าเป็นชนชั้นพราหมณ์ที่เป็นชนที่เจริญด้วยความรู้ คือ พระเวทย์ ซึ่งเป็นความรู้ชั้นสูงสุดของอินเดียในสมัยนั้น. ในอรรถกถากล่าวว่า ตอนแรกพระอนาคามีพรหมในสุทธาวาสที่มีชีวิตเหลือมาจากพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน เป็นผู้มาสอนพระเวทย์ คือ สัจจะกะฤๅษีไว้ ซึ่งพระเวทเรื่องมหาปุริสลักษณะอยู่ด้วย เพื่อที่เวลาพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นจะได้สังเกตมหาปุริสลักษณะถูก แต่ว่า พวกชาวอริยะก็จำต่อๆ แล้วเรียกตัวเองว่าพราหมณ์ (เชื้อสายพระอนาคามีพรหม). อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครทำความเข้าใจจนบรรลุได้ จนกระทั่งพระพุทธเจ้าผู้มีอาการ 32 ตรงกับพระเวทมาตรัสบอกอริยสัจที่แท้จริงนี้. ข้อนี้ตรงกับมูลเหตุของ วิ.ม. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งในที่นั้นมีคำว่า "พฺรหฺมจริยํ" เมื่อในขณะนั้นพระพุทธเจ้ายังไม่ได้แสดงธรรมจนมีพระอริยสาวก ก็เท่ากับว่า พระพุทธเจ้ายังไม่เคยอธิบายคำนี้มาก่อน, ดังนั้น คำว่า พฺรหฺมจริยํ จึงเท่ากับเป็นคำที่ยืมอีกชื่อของชาวอารยันที่กล่าวไว้ข้างต้นมานั่นเองว่า "ข้อปฏิบัติ(จริย)ที่ประเสริฐที่พระอนาคามิสุทธาวาสพรหมมาบอกกับชาวอารยัน(พราหมณ์-เชื่อสายพรหมณ์)ไว้ เราบรรลุแล้ว และเราจะมาบอกเธอ". (เพิ่มเติม)
ในบรรดามรรคมีองค์ 8 ที่ปรากฎในสูตรนี้ พระพุทธเจ้าและพระปัญจวัคคีย์ ปฏิบัติมรรคทั้ง 6 ข้ออยู่ก่อนแล้ว เว้นอริยมรรคสัมมาทิฏฐิ อริยมรรคสัมมาสังกัปปะ (มีปัญญาสิกขา แต่ไม่มีอธิปัญญาสิกขา;ดู ม.ม. มหาสัจจกสูตร) เพราะพระพุทธเจ้าเรียนฌาน 8 มาจากอาราฬดาบสกับอุทกดาบสมาก่อนแล้ว ก่อนจะมาทำทุกกรกิริยา, และปัญจวัคคีย์ก็ติดตามพระโพธิสัตว์มาตั้งแต่เกิด เพราะเป็นผู้ทำนายมหาปุริสลักษณะเองและออกบวชรอตั้งแต่ตอนนั้น (อ.ปาสราสิสูตร), ฉะนั้น ไม่ว่าพระโพธิสัตว์เมื่อออกบวชแล้วจะทำอะไร ปัญจวัคคีย์ก็ต้องติดตามและทำตามอยู่แล้ว ซึ่งรวมถึงฌาน 8 ด้วย. เพียงแต่ขณะที่สอนนั้นก็ใช้ศัพท์แบบเก่า ไม่ได้เรียกว่า อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค เพราะตอนนั้นยังไม่ตรัสรู้ สัมมาทิฏฐิ คือ อริยสัจ 4 แต่กามทิฏฐิตัณหา ภวปริยุฏฐานทิฏฐิตัณหา วิภวปริยุฏฐานทิฏฐิตัณหา ในขันธ์ 5 เกือบทั้งหมด ข่มได้แล้วด้วยฌาน 8. นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมในสูตรนี้พระพุทธเจ้าแสดงมรรค 8 แล้วจึงขยายแค่สัมมาทิฏฐิ, ต่างจากในมหาสติปัฏฐานสูตรที่แสดงอริยสัจทั้ง 4 อย่างละเอียด. ฉะนั้น สิ่งที่พระปัญจวัคคีย์ยังไม่ได้ทำ คือ ข่มปริยุฏฐานทิฏฐิตัณหาในอัตตกิลมถานุโยค (แม้แต่ภวทิฏฺฐิ วิภวทิฏฺฐิในฌาน ก็ข่มไว้ด้วยภวทิฏฺฐิ วิภวทิฏฺฐิในอัตตกิลมถานุโยค) แล้วเจริญอริยมรรคที่มีสัมมาทิฏฐินำด้วยการแทงตลอดทิฏฐิ (สจฺจํ) คือ ปฏิจจสมุปบาทในอริยสจฺจเทสนา คือ ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ชาติปิ… ชราปิ … มรณมฺปิ… อุปาทาน ใน ปัญจักขันธา ทุกฺขา… ตัณหา ในปญฺจุปาทานกฺขนธ์ บ่อยๆ นั่นแหละสาเหตุ ที่ต้องใช้นิโรธเข้าไปดับทั้งหมดอย่าให้มีเสสะ คือ นิพพานแบบอเสสวิราคนิโรโธ ปฏินิสฺสคฺคจาโค มุตฺติ อนาลโย ในปญฺจุปาทานกฺขนฺธา และ ตนฺหา 3 ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ กามตณฺหา ภวทิฏฺฐิ วิภวทิฏฐิ อุปาทาน 1 อุปาทาน 3 ม.ม. จูฬสีหนาทสูตร กามตณฺหา อุจฺเฉททิฏฺฐิ สสฺสตทิฏฺฐิ (อ. สมฺมาทิฏฺฐิสูตร) เหล่านั้น, ซึ่งทำได้ด้วยการเจริญมชฺฌิมา ปฏิปทา คือ ทุกฺขนิโรธคามินิยา ปฏิปทา อริยสจฺจํ นั่นเอง.
ก่อนการทำฌาน 8 นั้น ศีลต้องวิสุทธิก่อน เพราะสมถวิปัสสนาเป็นยุคนัทธธรรมและเป็นภาวนา ใน อ.ปฏิสัมภิทามรรค จึงแสดงว่า "สีลมยญาณมาติกา แสดง สํวริตฺวา แต่สมาธิภาวนามยญาณ ไม่ต้อง สมาทหิตฺวา เพราะสมถวิปัสสนาเป็นยุคนัทธธรรม", ฉะนั้น เมื่อมรรค 3 เป็นศีล มรรค 3 เป็นสมาธิ พระปัญจวัคคีย์ผู้ติดตามพระโพธิสัตว์จึงต้องทำฌาน 8 มาก่อน และมีสีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิมาก่อนแล้ว.
แต่เพราะพระโพธิสัตว์ทำทุกกรกิริยา พระปัญจวัคคีย์จึงทำตามและยังติดใจเรื่องทุกกรกิริยาแม้พระโพธิสัตว์จะเลิกทำไปแล้ว เพราะพระโพธิสัตว์เป็นคนสอนไว้เองเหมือนกับที่สอนมหาสัจจกนิครนถ์ไว้ในมหาสัจจกสูตร. เมื่อบรรลุและกลับมาเพื่อจะสอนปัญจวัคคีย์ในมหาขันธกะ ท่านจึงแสดงท่าทีของพระปัญจวัคคีย์ไว้เป็นมูลเหตุของ วิ.ม. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งในที่นั้นมีคำว่า "พฺรหฺมจริยํ" และ "ญาณทสฺสนํ" อยู่, คำว่าพฺรหฺมจริยํ อธิบายไปแล้ว, คำว่า ญาณทสฺสนํ ตรงกับในตัวสูตรว่า จกฺขุํ (ทสฺสน) อุทปาทิ, สมฺมาทิฏฺฐิ (ทสฺสน), ญาณํ อุทปาทิ.
เมื่อพระปัญจวัคคีย์ โดยเฉพาะพระอัญญาโกณฑัญญะที่เคยถวายทานในกาล 9 ไว้ มีพื้นฐานดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็เป็นอันว่า พร้อมบรรลุธรรม เหลือแค่จะเทสนาสิ่งที่พระปัญจวัคคีย์รู้อยู่แล้ว กับ สิ่งใหม่ที่พระพุทธเจ้ารู้ ให้เข้ากันและคล้อยตามจนปฏิบัติบรรลุได้อย่างไรเท่านั้น.
ตาม วิ.มหาขันธกะและอรรถกถา พระสูตรนี้กำลังกล่าวถึงวิธีปฏิบัติ "ทุกกรกิริยา" ที่พระพุทธเจ้าสมัยเป็นพระโพธิสัตว์และพระปัญจวัคคีย์เคยปฏิบัติร่วมกันตามอธิบายไปแล้ว. ดังนั้นจึงมีคำว่า "ปพฺพชิเตน", "เสวิตพฺพา", "โยโค", "ปฏิปทา", "มคฺโค" ในสูตรนี้.
มิจฉาทิฏฐิทุกประเภท ใช้ศัพท์ว่า "อนฺต" (วิธีปฏิบัติสุดโต่ง) กามสุขัลลิกานุโยคที่พระปัญจวัคคีย์กล่าวหาพระพุทธเจ้าอยู่และอัตตกิลมถานุโยค ล้วนไม่ใช่ทางที่พระอนาคามิสุทธาวาสพรหมบอกกับชาวอารยันไว้ (อนริโย;อพฺรหฺมจริยํ) แต่มรรคมีองค์ 8 ที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา (วิธีปฏิบัติที่เป็นกลาง) ต่างหากที่เป็นพฺรหฺมจริยํ.
อธิบายว่า พระปัญจวัคคีย์ไม่เห็นด้วยที่พระพุทธเจ้าเลิกทำทุกกรกิริยา. พระพุทธเจ้าจึงต้องแสดงความแตกต่างระหว่างวิธีปฏิบัติจนบรรลุอภิสัมโพธิของตน กับวิธีปฏิบัติของของพระปัญจวัคคีย์ โดยบอกให้พระปัญจวัคคีย์รู้ว่า "ที่เธอบอกว่า กามสุขไม่ดีนั้นก็ถูก" โดยการปฏิเสธกามสุขัลลิกานุโยโคก่อน เพื่อให้พระปัญจวัคคีย์ทราบว่า ท่านไม่ได้ปฏิบัติกามสุขัลลิกานุโยโยโคอยู่ และเพื่อที่จะเอามาบอกว่า ทุกกรกิริยาที่พระปัญจวัคคีย์ทำอยู่ก็ไม่ดีเหมือนกัน ด้วยการแสดงอัตตกิลมถานุโยโคตามมาทีหลัง. จากนั้นจึงแสดงข้อปฏิบัติที่ทรงตรัสรู้ด้วยคำว่า "มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา" และ "อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค".
พระปัญจวัคคีย์ปฏิบัติมรรค 6 ตามพระพุทธเจ้ามาก่อนแล้ว (อธิบายข้างบน) ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงอธิบายแค่สัมมาทิฏฐิอย่างเดียวด้วยคำว่า "อิทํ โข ปน ภิกฺขเว ทุกฺขํ อริยสจฺจํ". การสอนทิฏฐิ ทรงใช้ศัพท์ว่า "วาท" เช่น ที.สี. พรหมชาสูตร.
ทุกคนที่สอนทิฏฐิ ล้วนยืนยันคำของตนว่า "อิทํ สจฺจํ (จริง;ถูกต้อง)" เช่น ลักขณาทิจจตุกะของมิจฉาทิฏฐิในฏีกาก็ใช้คำว่า "อิทํ สจฺจํ, อญฺญํ นตฺถิ" มาเป็นตัวอย่าง, และอัมพปาลีเถรีกถา ก็ล้วนประกาศทิฏฐิของพระพุทธเจ้าด้วยคำว่า สจฺจํ. เมื่อทสฺสน คือ ทิฏฐิ สจฺจํ ใน อริยสจฺจํ นี้ จึงเป็นทิฏฐิดังอธิบายมานี้ จะแปลว่า "อริยสัจ" ว่า ทิฏฐิของสุทธาวาสพรหมที่มาบอกพระเวทย์แก่ชาวอารยันก็ได้ (เฉพาะในสูตรนี้;แล้วแต่บริบทของสูตร).
พระพุทธเจ้าก็เช่นกันทรงสอนสัมมาทิฏฐิในสูตรนี้ด้วยปทพยัญชนบทว่า สจฺจํ ในพยัญชนะพยัญชนะบทว่า "อิทํ ทุกฺขํ อริยสจฺจํ (สิ่งนี้เป็นทุกข์ที่ผู้พ้นทุกข์ยืนยันไว้)".
คำว่า ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา มาจากการทำฌาน เป็นคำสอนที่รู้กันในหมู่นักบวชสายฤๅษีและดาบสสมัยนั้น เพราะฌาน 8 ที่พระโพธิสัตว์ได้มานั้น ใช้ 5 หมวดนี้ในการสอน คือ รูปขันธ์ ในการทำรูปฌานและการสละรูปฌาน "รูปสญฺญานํ สมติกฺกม" เพราะต้องละรูปปรมัตถ์เพื่อถือเอาปฏิภาคนิมิตบัญญัติ (ดูวิสุทฺธิ. กสิณนิทฺเทส ปฏิภาคนิมิตฺตํ), เวทนาขันธ์ในการทำตติยฌานว่า "อุเปกฺขโก จ สุขวิหารีติ", สัญญาขันธ์ในการทำอรูปฌานว่า "รูปสญฺญานํ สมติกฺกม", "สงฺขาร" ในคำว่า กายสงฺขาโร, วจีสงฺขาโร, จิตฺตสงฺขาโร เพราะพระโพธิสัตว์ได้อานาปานัสสติฌานตั้งแต่ยังเด็ก ดู ม.ม.อ. มหาสัจจกสูตร และต้องเคยสอนกะปัญจวัคคีย์ด้วย กายสงฺขาโร คือ อานาปานะ (ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ), วจีสังขาร คือ วิตักกวิจารฌานังคะ ก็ต้องเคยสอน, จิตตสังขาร คือ เวทนาสัญญาก็ต้องเคยสอน. ยังมีอาเนญฺชาภิสงฺขาโร ที่ใช้สอนใน อาเนญฺชสมาปตฺติ อีกด้วย. และวิญญาณขันธ์ก็เคยสอนมาในการทำวิญฺญานญฺจายตนฌานว่า "อนนฺตํ วิญฺญาณนฺติ". ฉะนั้น ขันธ์ 5 นี้พระอัญญาโกณฑัญญะเรียนมาก่อนแล้วตั้งแต่ตอนทำฌานกับพระโพธิสัตว์ (หรืออาจเรียนฌานมาจากดาบสท่านอื่นก่อนแล้ว และมาเรียนอานาปานัสสติกับพระโพธิสัตว์ทีหลัง).
คำในระหว่าง ทุกฺขํ อริยสจฺจํ…จนถึง…ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา เข้ากับคำว่า อตฺตกิลมถานุโยโค ทุกฺโข อนริโย อนตฺถสญฺหิโต กล่าวคือ ในเมื่อขันธ์ 5 ที่มีอยู่ในมือ (อุปาทาน)ก็ล้วน ชาติปิ ทุกฺขา ชราปิ ทุกฺขา พฺยาธิปิ ทุกฺโข มรณมฺปิ ทุกฺขํ, อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค, ปิเยหิ วิปฺปโยโค ทุกฺโข, ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปิ ทุกฺขํ, สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา เป็นทุกข์ อยู่แล้ว ก็เป็นอริยสจฺจํ อยู่แล้ว การอตฺตกิลมถานุโยโคให้มัน ทุกขทุกข์เข้าไปอีก จึงไม่ใช่อริยสจฺจํ (อนริโย)เลย. นอกจากคำว่า ทุกข์, อริย ยังจงใจใช้คำว่า สมฺโยโค วิปฺปโยโค เพื่อตอกย้ำ อตฺตกิลมถานุโยโค กับ กามสุขลฺลิกานุโยค ที่ ปพฺพชิเตน น เสวิตพฺพา ด้วย. ปิย, อิจฺฉํ, ลภติ, อุปาทาน ล้วนเป็นคำที่ย้ำถึงการติดใจบ่อยๆ ทั้งสิ้น. เพื่อที่จะบอกว่า การตาม ปิย, อิจฺฉํ, ลภติ, อุปาทาน เหล่านั้น เรียกว่า ตัณหา ที่ โปโนพฺภวิกา นนฺทิราคสหคตา ตตฺรตตฺราภินนฺทินี เป็นความติดใจ ติดหนึบ เพลิดเพลิน เกิดแล้วๆเล่าๆ เกิดตรงนั้นตรงนี้ ซึ่งก็รวมถึงความติดใจในอัตตกิลมถานุโยคของพวกปัญจวัคคีย์ (ภวตัณหา;วิภวตัณหา) กามสุขัลลิกานุโยค (กามตัณหา;ภวตณฺหา;วิภวตณฺหา) และการทำฌาน 8 (ภวตณฺหา;วิภวตณฺหา) ด้วย จึงบอกว่าตัณหา 3. ดู ม.มู. จูฬสีหนาทสูตร ภวทิฏฺฐิ วิภวทิฏฺฐิ อุปาทาน. ถ้านำสัมมาทิฏฐิในอริยสัจ 4 นี้มานำหน้ามรรค 7 ก็จะอภิสัมพุทธา อุปสมา อภิญฺญา สมฺโพธา นิพฺพาน จกฺขุํ ญาณํ ปญฺญา วิชฺชา อาโลโก ก็จะอุทปาทิ.
พึงประกอบคำเหล่านั้นกับที่อธิบายมาก่อนหน้านี้ด้วย (เข้าใจตรงนี้ แล้วต้องเชื่อมกับก่อนหน้านี้ให้ได้ด้วย).
เพื่อจะขยายต่อไปว่า มรรคที่บอกนี้ พระองค์ได้เสวิตพฺพา โยโค ปฏิปทาแล้วด้วยสัมมาทิฏฐิ คือ จกฺขุํ ญาณํ ปญฺญา วิชฺชา อาโลโก ทั้งการรู้ด้วยสัมมาทิฏฺฐิ(สจฺจญาณํ) ทั้งการปฏิบัติด้วยทิฏฺฐิ(กิจฺจญาณํ) และทั้งการบรรลุผลของการปฏิบัติ (กตญาณํ) จึงทรงแสดงรอบ 3 อาการ 12 เป็นลำดับต่อมา. และอริยสัจที่ครบถ้วนทั้ง 4 อย่าง มีข้อปฏิบัติครบทั้ง 8 มีกิจครบทั้ง 3 มีอาการครบทั้ง 12 เหล่านี้ก็ไม่เหมือน คือ ไม่มีในอตฺตกิลมถานุโยโคที่พระโพธิสัตว์เคยปฏิบัติกับปัญจวัคคีย์ด้วย ไม่เคยมีใครในโลกสอนด้วย จึงชื่อว่า เป็น ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ.
ถ้าไม่ได้ทำกิจในอริยสัจที่ไม่มีใครเคยรู้มาก่อนครบอย่างนี้ พระโพธิสัตว์ก็คงไม่มากล่าวกับพระปัญจวัคคีย์ว่าตนเองบรรลุญาณทัสสนะแล้ว ขอให้ฟังเถิดถึง 3 ครั้ง ก่อนเริ่มแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เพราะไม่สามารถจะไปฟังจากเทวดา มาร พรหมณ์ สมณ พราหมณ์ ที่ไหนได้ มีแต่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้เท่านั้น. ทรงยืนยันด้วยการยกคำในนิโรธอริยสัจมาแสดงขยายว่า (ตณฺหา) อกุปฺปา เม วิมุตฺติ อยมนฺติมา ชาติ นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว.
พระอัญญาโกณฑัญญะ บรรลุปฐมมรรค ธัมมจักขุ ด้วยความเข้าใจว่า ทุกข์ทั้งหมดอาศัยสมุทัยเกิด ทุกข์ทั้งหมดอาศัยนิโรธดับ. สมาสบทพยัญชนะว่า สมุทยธมฺมา นิโรธธมฺมา เป็นวิเสสโนภยกัมมธารยสมาส ลงในอรรถการณะทั้งสองบท จึงแปลว่า ยํ กิญฺจิ ทุกฺขํ อริยสจฺจํ สงฺขตํ โหติ สมุทยํ ธมฺมํ การณํ, สพฺพํ ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ตํ อสงฺขตํ โหติ นิโรธํ ธมฺมํ การณํ.
คำว่า สมุทยธมฺมา และวยธมฺมา หรือ นิโรธธมฺมา นี้เป็นอารมณ์ของตรุณอุทยัพพยญาณ สำหรับตัณหาจริตที่อุปกิเลสกำเริบ เป็นอารมณ์ของพลวอุทยัพพยญาณขึ้นไปสำหรับทิฏฐิจริต. คำเหล่านี้เมื่อพบในที่ใด ให้ประกอบกับปฏิสัมภิทามรรค ญาณกถา อุทยัพพยญาณนิทเทสเสมอ เช่น ท.ม. มหาสติปัฏฐานสูตรอรรถกถา, อภิ.ก. วจีเภทกถาวณฺณนา [326 เว้นแต่ว่า แสดงไว้ในสมถกมฺมฏฺฐาน เช่น อานาปานปพฺพ ของมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น. ถ้าอ่านไม่เข้าใจ แสดงว่า ยังไม่เข้าใจปฏิสัมภิทามรรคดีพอ ให้ย้อนกลับมาท่องจำและทำความเข้าใจพระสูตรในนิทเทสของอุทยัพพยญาณนิทเทส และนิทเทสในลำดับก่อนๆ ในปฏิสัมภิทามรรคใหม่ซ้ำๆ อรรถะทั้งหลายที่ซ่อนเร้นก็จะปรากฎชัดขึ้นมาได้ในไม่ช้า.
คำว่า สมุทยธมฺม และวยธมฺม หรือ นิโรธธมฺม นี้ ไม่ได้แปลว่าชาติปิ ทุกฺขา มรณมฺปิ ทุกฺขํ (อุปาทานขันธ์) แต่แปลว่า ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ (อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นการณะดับทุกฺขสมุทโยของทุกฺขํ). เทียบ ขุ.วิ.อ. สิริมาวิมานวณฺณนา และคาถาของพระอัสสชิ ใน วิ.ม. สารีปุตฺตโมคฺคลฺลานปพฺพชฺชา.
สูตรนี้เป็นสูตรแรกที่พระพุทธเจ้าแสดงอริยสัจ ปฏิจจสมุปบาทด้วยพระองค์เอง, อย่างไรก็ตาม เมื่อแปลในที่อื่นต้องปรับตามบริบทด้วย เช่น ในมหาสติปัฏฐานสูตรเปลี่ยนอัตตกิลมถานุโยโคทิฏฺฐิ เป็นสกฺกายทิฏฺฐิสำหรับอายตนปพฺพํ, หรือใน ที.สี. สามัญญผลสูตร แสดงอริยสัจกับพระเจ้าอชาตศัตรู ที่ไม่เคยทำฌาน ไม่เคยบรรลุ ก็ไม่ทรงขยายอริยสัจด้วยขันธ์ 5 เช่นกัน.
ลำดับอริยสัจ
พระพุทธเจ้าตรัสเป็นเหตุผลตามลำดับเพื่อให้เข้าใจง่าย ฟังง่าย จำง่าย บรรลุง่ายที่สุด
เพราะปฏิจจสมุปบาท และสัจจะนั้นยาก จึงต้องทรงเรียบเรียงพระธรรมออกมาอย่างระมัดระวังที่สุด
ปัญจวัคคีย์นั้นหาทางพ้นวัฏฏะ คือ อุปาทานขันธ์ในปฏิจจสมุปบาท แต่กลับยังมีภวตัณหา วิภวตัณหา ในอัตตกิลมถานุโยค กามสุขัลลิกานุโยคซึ่งตัณหาทั้งสองนี้เจือด้วยสัสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ
พระพุทธเจ้าเมื่อจะทำให้พระอัญญาโกณฑัญญะละทิฏฐิเหล่านั้นเป็นพระโสดาบันเสียก่อน จึงทรงตรัสทุกขสัจจ์ คือ อุปาทานขันธ์
ให้พระปัญจวัคคีย์ (ซึ่งเคยทำฌานมาก่อน) รู้ว่า ขันธ์ทั้งหลายในฌานก็ดี ในอัตตกิลมถานุโยคก็ดี ที่ยึดถือยินดี ด้วยอุปาทานอยู่นั้น ก็ล้วนเป็นทุกข์ ถึงปฏิบัติไปก็ไม่บรรลุ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นศัพท์ที่ใช้ในเรื่องขางฌานมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล)
ฉะนั้นพระปัญจวัคคีย์โดยเฉพาะพระอัญญาโกณฑัญญะ จะต้องละอุปาทานที่ยึดขันธ์ ปุนัพภ
ฉะนั้นพระปัญจวัคคีย์โดยเฉพาะพระอัญญาโกณฑัญญะ จะต้องละอุปาทานที่ยึดขันธ์ ให้โปโนพภวิกะอยู่บ่อยๆ เสียให้ได้
อุปาทานที่โปโนพภวิกา ก็คือ ตัณหานั่นเอง จึงตรัสตัณหาไว้ในลำดับถัดไป
ทีนี้สิ่งที่ละขาด กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา และขันธ์ทั้งปวงที่ถูกตัณหาเหล่านั้นยึดถือ ก็ต้องเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามโดยประการทั้งปวง (ไม่ใช่เอาภวตัณหา หรือ วิภวตัณหาในอัตตกิลมถานุโยคไปละแบบที่พระปัญจวัคคีย์จะให้พุทธเจ้าย้อนไปทำ เพราะมันละไม่ขาดก็แค่ไม่ชอบอันนึง แล้วก็หนีไปชอบอีกอันนึงแค่นั้น ไร้ประโยชน์)
สิ่งที่ตรงกันข้ามกับตัณหาและขันธ์นี้ก็คือ นิโรธนี่เอง นิโรธนี้ สละละทิ้งได้หมด หลุดพ้นหมด ไม่เหลือเยื่อใยเลย ไม่ใช่ละกามตัณหา แล้วไปมีวิภวตัณหา ภวตัณหา ในอัตตกิลมถานุโยคอีก แบบที่พระปัญจวัคคีย์เป็น
ทีนี้ข้อปฏิบัติ คืออะไร? ข้อปฏิบัติ ก็คือ มรรคมีองค์ 8 อันนำด้วยสัมมทิฏฐิ อันเป็นทางสายกลางนี้แหละ ทางสายกลางที่ไม่มีภวตัณหา วิภวตัณหา ในกามสุขัลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค
มรรค มีองค์ 8 นั้นนำด้วยสัมมาทิฏฐิในอริยสัจจ์ คือ ความรู้ชำนาญในทุข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชำนาญทั้งโดยอรรถะ ธัมมะ นิรุตติ ปฏิภาน ชำนาญพอจะละตัณหาโดยไม่มีส่วนเหลือ
ส่วนมรรคข้อที่เหลือไม่แสดง เพราะพระปัญจวัคคีย์ปฏิบัติกับพระโพธิสัตว์มาหลายปีแล้ว ได้สอนมรรคมีองค์ 7 ไปหมดแล้ว เหลือแต่มรรคข้อที่ 1 คือ สัมมาทิฏฐิ ที่แต่ก่อนไม่เคยสอน
ก็คือ ความเข้าใจเหตุผลได้ครบถ้วนสมบูรณ์ไม่ผิดพลาด ทั้งเหตุของทุกข์ และเหตุดับทุกข์ คือ มรรค เข้าใจพอจะละทุกข์ละตัณหา ได้โดยสิ้นเชิง
เพิ่มเติม
- ปฏิสัมภิทามรรค ฉบับปรับสำนวน กลับหน้าสารบัญ