ปฏิสัมภิทามรรค_04_มหาวรรค

อยู่ในระหว่างปรับสำนวน

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

ตำราพุทธมีลำดับการศึกษาให้เข้าใจทะลุทะลวงดังนี้: ขอเป็นศิษย์ผู้มีฌานวสีทรงจำพระไตรปิฎกบาลี > ท่องจำบาลีตามลำดับซ้ำๆ ไม่ลืมทบทวนแม้จำได้แล้ว > สอบถามบาลี > ฟังคำอธิบายบาลี > ทรงจำทั้งหมด > ในระหว่างท่องจำก็พยายามปฏิบัติตามไปด้วยจนแตกฉาน. ผู้ที่ข้ามขั้นตอนเหล่านี้ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นไปได้ยากที่จะบรรลุอัปปนาทั้งโลกิยะและโลกุตตระในศาสนาพุทธได้ พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า "โมฆบุรุษ" เพราะว่างเปล่าจากอัปปนา (เรียบเรียงจากกีฏาคิริสูตร; ธัมมัญญูสูตร; สัจจบรรพะ อรรถกถามัคคนิทเทส; วิสุทธิมรรค กัมมัฏฐานคหณนิทเทส)

มหาวรรค อินทรียกถา

[423] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายอินทรีย์ 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ 1 วิริยินทรีย์ 1 สตินทรีย์ 1สมาธินทรีย์ 1ปัญญินทรีย์ 1 ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้แล ฯ

[424] อินทรีย์ 5 ประการนี้ย่อมหมดจดด้วยอาการเท่าไร ฯ

อินทรีย์ 5 ประการนี้ย่อมหมดจดด้วยอาการ 15 เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้ไม่มีศรัทธาสมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลผู้มีศรัทธา (และ)พิจารณาพระสูตรอันเป็นเหตุนำมาซึ่งความเลื่อมใส สัทธินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ 3 เหล่านี้ เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้เกียจคร้านสมาคม คบหานั่งใกล้พวกบุคคลผู้ปรารภความเพียร (และ) พิจารณาสัมมัปปธาน วิริยินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ 3 เหล่านี้ เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้มีสติหลงลืมสมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น (และ) พิจารณาสติปัฏฐานสตินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ 3 เหล่านี้ เมื่อบุคคลเว้นพวกบุคคลผู้มีใจไม่มั่นคงสมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลมีใจมั่นคง (และ) พิจารณาฌานและวิโมกข์สมาธินทรีย์ ย่อมหมดจดด้วยอาการ 3 เหล่านี้ เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลทรามปัญญา สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลผู้มีปัญญา (และ) พิจารณาญาณจริยาอันลึกซึ้ง ปัญญินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ 3 เหล่านี้ เมื่อบุคคลงดเว้น 5จำพวก สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคล 5 จำพวก (และ) พิจารณาจำนวนพระสูตร 5 ประการดังกล่าวมานี้ อินทรีย์ 5 เหล่านี้ย่อมหมดจดด้วยอาการ 15เหล่านี้ ฯ

[425] บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร การเจริญอินทรีย์ 5 ย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ฯ

บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 10 การเจริญอินทรีย์ 5 ย่อมมีด้วยอาการ 10บุคคลเมื่อละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าเจริญสัทธินทรีย์ เมื่อเจริญสัทธินทรีย์ ชื่อว่าละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อละความเป็นผู้เกียจคร้าน ชื่อว่าเจริญวิริยินทรีย์ เมื่อเจริญวิริยินทรีย์ชื่อว่าละความเป็นผู้เกียจคร้าน เมื่อละความประมาท ชื่อว่าเจริญสตินทรีย์ เมื่อเจริญสตินทรีย์ ชื่อว่าละความประมาท เมื่อละอุทธัจจะ ชื่อว่าเจริญสมาธินทรีย์ เมื่อเจริญสมาธินทรีย์ ชื่อว่าละอุทธัจจะ เมื่อละอวิชชา ชื่อว่าเจริญปัญญินทรีย์ เมื่อเจริญปัญญินทรีย์ ชื่อว่าละอวิชชา บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ 5ด้วยอาการ 10 เหล่านี้ การเจริญอินทรีย์ 5 ย่อมมีด้วยอาการ 10เหล่านี้ ฯ

[426] อินทรีย์ 5 เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้วด้วยอาการเท่าไร ฯ

อินทรีย์ 5 เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้วด้วยอาการ 10 คือ สัทธินทรีย์เป็นคุณชาติอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะเป็นผู้ละแล้วละดีแล้วซึ่งอสัทธินทรีย์ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นโทสชาติอักบุคคลละแล้วละดีแล้ว เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์เป็นคุณชาติอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะความเป็นผู้ละแล้วละดีแล้วซึ่งความประมาท ความประมาทเป็นโทสชาติอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งสตินทรีย์ สมาธินทรีย์เป็นคุณชาติอันบุคคลเจริญแล้วอบรมแล้ว เพราะความเป็นผู้ละแล้ว ละดีแล้วซึ่งอุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นโทสชาติอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งสมาธินทรีย์ปัญญินทรีย์เป็นคุณชาติอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะความเป็นผู้ละแล้วละดีแล้วซึ่งอวิชชา อวิชชาเป็นโทสชาติอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งปัญญินทรีย์ อินทรีย์ 5 เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้วด้วยอาการ 10 เหล่านี้ ฯ

[427] อินทรีย์ บุคคลย่อมเจริญด้วยอาการเท่าไร เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว ด้วยอาการเท่าไร ฯ

อินทรีย์ 5 บุคคลย่อมเจริญด้วยอาการ 4 เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้วระงับแล้ว และระงับดีแล้วด้วยอาการ 4 อินทรีย์ 5 บุคคลย่อมเจริญในขณะโสดาปัตติมรรคเป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้วระงับแล้ว และระงับดีแล้วในขณะโสดาปัตติผล อินทรีย์ 5บุคคลย่อมเจริญในขณะสกทาคามิมรรค เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้วและระงับดีแล้วในขณะสกทาคามิผล อินทรีย์ 5 บุคคลย่อมเจริญในขณะอนาคามิมรรค เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วในอนาคามิผล อินทรีย์ 5 บุคคลย่อมเจริญในขณะอรหัตมรรค เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วในขณะอรหัตผล ฯ

มรรควิสุทธิ 4 ผลวิสุทธิ 4 สมุจเฉทวิสุทธิ 4 ปฏิปัสสัทธิวิสุทธิ 4 ด้วยประการดังนี้อินทรีย์ 5 บุคคลย่อมเจริญด้วยอาการ 4 เหล่านี้ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วด้วยอาการ 4 เหล่านี้ ฯ

[428] บุคคลเท่าไรเจริญอินทรีย์ บุคคลเท่าไรเจริญอินทรีย์แล้วบุคคล 8 เจริญอินทรีย์ บุคคล 3 เจริญอินทรีย์แล้ว ฯ

บุคคล 8 เป็นไฉนเจริญอินทรีย์ พระเสขบุคคล 7 กัลยาณปุถุชน 1 บุคคล 8เหล่านี้เจริญอินทรีย์ ฯ

บุคคล 3 เป็นไฉนเจริญอินทรีย์แล้ว พระขีณาสพสาวกพระตถาคตชื่อว่าพุทโธ ด้วยสามารถความเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้วพระปัจเจกพุทธะ ชื่อว่าพุทโธ ด้วยอรรถว่าตรัสรู้เอง ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้วพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าพุทโธ ด้วยอรรถว่ามีพระคุณประมาณไม่ได้ ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว บุคคล 3 เหล่านี้เจริญอินทรีย์แล้ว บุคคล 8เหล่านี้เจริญอินทรีย์ บุคคล 3 เหล่านี้เจริญอินทรีย์แล้ว ด้วยประการดังนี้ ฯ

สาวัตถีนิทาน

[429] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 เหล่านี้ อินทรีย์ 5 เป็นไฉนคือสัทธินทรีย์ …ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ 5 เหล่านี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นหาได้รับยกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือได้รับยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ไม่ และท่านเหล่านั้นหาได้ทำให้แจ้งซึ่งสามัญผล หรือพรหมัญผลด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ไม่ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณโทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ 5 เหล่านี้ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้นั้นแล เป็นผู้ได้รับยกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ได้รับยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้น ย่อมทำให้แจ้งซึ่งสามัญผลและพรหมัญผล ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ฯ

[430] อินทรีย์ 5 มีเหตุเกิดด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมรู้เหตุเกิดแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร อินทรีย์ 5 ย่อมดับไปด้วยอาการเท่าไรบุคคลย่อมรู้ความดับแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร อินทรีย์ 5 มีคุณด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมรู้คุณแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร อินทรีย์ 5มีโทษด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมรู้โทษแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร อินทรีย์ 5 มีอุบายเป็นเครื่องสลัดออกด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร ฯ

อินทรีย์ 5 มีเหตุเกิดด้วยอาการ 40 บุคคลย่อมรู้เหตุเกิดแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 40อินทรีย์ 5 ย่อมดับไปด้วยอาการ 40 บุคคลย่อมรู้ความดับแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 40อินทรีย์ 5 มีคุณด้วยอาการ 25 บุคคลย่อมรู้คุณแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 25 อินทรีย์ 5 มีโทษด้วยอาการ 25 บุคคลย่อมรู้โทษแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 25 อินทรีย์ 5 มีอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปด้วยอาการ 180 บุคคลย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 180

[431] อินทรีย์ 5 มีเหตุเกิดด้วยอาการ 40 เป็นไฉน บุคคลย่อมรู้เหตุเกิดแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 40 เป็นไฉน ฯ

เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถสัทธินทรีย์เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความประคองไว้ เหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์ เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์ เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์ เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถสมาธินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็น เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความเห็น เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์ เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความเห็น เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์ เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั้งมั่นเป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์ เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็นเป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์ เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์ เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่านเป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความเห็น เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์ เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความเห็นเป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถสัทธินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถวิริยินทรีย์เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถสตินทรีย์เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถสมาธินทรีย์เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถปัญญินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์ อินทรีย์ 5 มีเหตุเกิดด้วยอาการ 40เหล่านี้ บุคคลย่อมรู้เหตุเกิดแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 40เหล่านี้ ฯ

[432] อินทรีย์ 5 ย่อมดับไปด้วยอาการ 40 เป็นไฉน บุคคลย่อมรู้ ความดับแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 40 เป็นไฉน ฯ

ความดับแห่งความคำนึงถึง เพื่อประโยชน์แก่การน้อมใจเชื่อเป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อ เป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อ เป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์เป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความประคองไว้ เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถความประคองไว้ เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถความประคองไว้ เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นความดับแห่งสตินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความตั้งมั่น เป็นความดับแห่งสตินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความตั้งมั่น เป็นความดับแห่งสตินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถสตินทรีย์ เป็นความดับแห่งสตินทรีย์ ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถสมาธินทรีย์ เป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็น เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความเห็น เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความเห็น เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อเป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความประคองไว้ เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นความดับแห่งสตินทรีย์ ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็น เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความน้อมใจเชื่อ เป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความประคองไว้ เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความตั้งมั่น เป็นความดับแห่งสตินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความไม่ฟุ้งซ่านเป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความเห็น เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการ ด้วยสามารถแห่งความน้อมใจเชื่อ เป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความประคองไว้ เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความตั้งมั่น เป็นความดับแห่งสตินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความเห็น เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์เป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ เป็นความดับแห่งสตินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์ อินทรีย์ 5 ย่อมดับไปด้วยอาการ 40 เหล่านี้ บุคคลย่อมรู้ความดับแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 40 เหล่านี้ ฯ

[433] อินทรีย์ 5 มีคุณด้วยอาการ 25 เป็นไฉน บุคคลย่อมรู้คุณแห่งอินทรีย์ 5ด้วยอาการ 25 เป็นไฉน ฯ

ความไม่ปรากฏแห่งความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์ ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อน เพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์ ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความน้อมใจเชื่อ เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์ ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์ความสุขความโสมนัสอันอาศัยสัทธินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์ความไม่ปรากฏแห่งความเป็นผู้เกียจคร้าน เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์ ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อน เพราะความเป็นผู้เกียจคร้าน เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์ ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความประคองไว้ เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์ ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความประคองไว้ เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์ ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์ ความสุขความโสมนัสอันอาศัยวิริยินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์ ความไม่ปรากฏแห่งความประมาท เป็นคุณแห่งสตินทรีย์ ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะความประมาท เป็นคุณแห่งสตินทรีย์ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยการตั้งมั่น เป็นคุณแห่งสตินทรีย์ ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรมเป็นคุณแห่งสตินทรีย์ ความสุขความโสมนัสอันอาศัยสตินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งสตินทรีย์ ความไม่ปรากฏแห่งอุทธัจจะ เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์ ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์ ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์ ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์ ความสุขความโสมนัสอันอาศัยสมาธินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์ ความไม่ปรากฏแห่งอวิชชาเป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์ ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอวิชชา เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์ ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความเห็น เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์ ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์ความสุขความโสมนัสอันอาศัยปัญญินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์อินทรีย์ 5 มีคุณด้วยอาการ 25 เหล่านี้ บุคคลย่อมรู้คุณแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 25 เหล่านี้ ฯ

[434] อินทรีย์ 5 มีโทษด้วยอาการ 25 เป็นไฉน บุคคลย่อมรู้โทษแห่งอินทรีย์ 5ด้วยอาการ 25 เป็นไฉน ฯ

ความปรากฏแห่งอสัทธินทรีย์ เป็นโทษแห่งสัทธินทรีย์ ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอสัทธินทรีย์ เป็นโทษแห่งสัทธินทรีย์ สัทธินทรีย์มีโทษเพราะความไม่เที่ยง … เป็นทุกข์ … เป็นอนัตตา ความปรากฏแห่งความเป็นผู้เกียจคร้าน เป็นโทษแห่งวิริยินทรีย์ ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะความเป็นผู้เกียจคร้าน เป็นโทษแห่งวิริยินทรีย์ วิริยินทรีย์มีโทษเพราะความไม่เที่ยง… เป็นทุกข์ … เป็นอนัตตา ความปรากฏแห่งความประมาท เป็นโทษแห่งสตินทรีย์ ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะความประมาท เป็นโทษแห่งสตินทรีย์ สตินทรีย์มีโทษเพราะความไม่เที่ยง … เป็นทุกข์ … เป็นอนัตตาความปรากฏแห่งอุทธัจจะ เป็นโทษแห่งสมาธินทรีย์ ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ เป็นโทษแห่งสมาธินทรีย์ สมาธินทรีย์มีโทษเพราะความไม่เที่ยง …เป็นทุกข์ … เป็นอนัตตา ความปรากฏแห่งอวิชชา เป็นโทษแห่งปัญญินทรีย์ ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอวิชชา เป็นโทษแห่งปัญญินทรีย์ปัญญินทรีย์มีโทษเพราะความไม่เที่ยง … เป็นทุกข์ …เป็นอนัตตา อินทรีย์ 5มีโทษด้วยอาการ 25 เหล่านี้ บุคคลย่อมรู้โทษแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ25เหล่านี้ ฯ

[435] อินทรีย์ 5 มีอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปด้วยอาการ 108เป็นไฉน บุคคลย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกไป แห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ108 เป็นไฉน ฯ

สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าความน้อมใจเชื่อ สลัดออกไปจากความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา 1 จากความเร่าร้อนเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา 1 จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา 1 จากขันธ์ 1 จากสรรพนิมิตภายนอก 1จากสัทธินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้สัทธินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น 1 วิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ สลัดออกไปจากความเป็นผู้เกียจคร้าน 1 จากความเร่าร้อนเพราะความเป็นผู้เกียจคร้าน 1 จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามความเป็นผู้เกียจคร้าน 1 จากขันธ์ 1จากสรรพนิมิตภายนอก 1 จากวิริยินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้วิริยินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น 1สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่นสลัดออกไปจากความประมาท 1 จากความเร่าร้อนเพราะความประมาท 1 จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามความประมาท 1 จากขันธ์ 1 จากสรรพนิมิตภายนอก 1จากสตินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้สตินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น 1 สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่านสลัดออกไปจากอุทธัจจะ 1 จากความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ 1 จากขันธ์ 1 จากสรรพนิมิตภายนอก 1 จากสมาธินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้สมาธินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น 1 ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็นสลัดออกไปจากอวิชชา 1 จากความเร่าร้อนเพราะอวิชชา 1 จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามอวิชชา 1จากขันธ์ 1 จากสรรพนิมิตภายนอก 1 จากปัญญินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้ปัญญินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น 1 อินทรีย์ 5 ด้วยสามารถปฐมฌานสลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในส่วนเบื้องต้นอินทรีย์ 5 ด้วยสามารถทุติยฌานสลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในปฐมฌาน อินทรีย์ 5 ด้วยสามารถตติยฌานสลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในทุติยฌาน อินทรีย์ 5 ด้วยสามารถจตุตถฌานสลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในตติยฌาน อินทรีย์ 5 ด้วยสามารถแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในจตุตถฌาน อินทรีย์ 5 ด้วยสามารถแห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในอากาสานัญจายตนสมาบัติ อินทรีย์ 5 ด้วยสามารถแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในวิญญาณัญจายตนสมาบัติ อินทรีย์ 5 ด้วยสามารถแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ อินทรีย์ 5ด้วยสามารถแห่งอนิจจานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติอินทรีย์ 5 ด้วยสามารถแห่งทุกขานุปัสสนาสลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในอนิจจานุปัสสนา อินทรีย์ 5ด้วยสามารถแห่งอนัตตานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในทุกขานุปัสสนา อินทรีย์ 5ด้วยสามารถแห่งนิพพิทานุปัสสนา สลัดออกไปจาก อินทรีย์ 5 ในอนัตตานุปัสสนาอินทรีย์ 5ด้วยสามารถแห่งวิราคานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในนิพพิทานุปัสสนา อินทรีย์ 5ด้วยสามารถแห่งนิโรธานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในวิราคานุปัสสนา อินทรีย์ 5 ด้วยสามารถแห่งปฏินิสสัคคานุปัสสนาสลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในนิโรธานุปัสสนา อินทรีย์ 5 ด้วยสามารถแห่งขยานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในปฏินิสสัคคานุปัสสนา อินทรีย์5ด้วยสามารถแห่งวยานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในขยานุปัสสนาอินทรีย์ 5 ด้วยสามารถแห่งวิปริณามานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5ในวยานุปัสสนา อินทรีย์ 5 ด้วยสามารถแห่งอนิมิตตานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในวิปริณามานุปัสสนา อินทรีย์ 5 ด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตานุปัสสนาสลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในอนิมิตตานุปัสสนา อินทรีย์ 5 ด้วยสามารถแห่งสุญญตานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในอัปปณิหิตานุปัสสนาอินทรีย์ 5 ด้วยสามารถแห่งอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5ในสุญญตานุปัสสนา อินทรีย์ 5 ด้วยสามารถแห่งยถาภูตญาณทัสนะ สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา อินทรีย์ 5ด้วยสามารถแห่งอาทีนวานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในยถาภูตญาณทัสนะ อินทรีย์ 5ด้วยสามารถแห่งปฏิสังขานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในอาทีนวานุปัสสนาอินทรีย์ 5ด้วยสามารถแห่งวิวัฏฏนานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในปฏิสังขานุปัสสนา อินทรีย์ 5ด้วยสามารถแห่งโสดาปัตติมรรค สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในวิวัฏฏนานุปัสสนา อินทรีย์ 5ด้วยสามารถแห่งโสดาปัตติผลสมาบัติสลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในโสดาปัตติมรรค อินทรีย์ 5 ด้วยสามารถแห่งสกทาคามิมรรค สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในโสดาปัตติผลสมาบัติ อินทรีย์ 5ด้วยสามารถแห่งสกทาคามิผลสมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในสกทาคามิมรรค อินทรีย์ 5ด้วยสามารถแห่งอนาคามิมรรค สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในสกทาคามิผลสมาบัติ อินทรีย์ 5ด้วยสามารถแห่งอนาคามิผลสมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในอนาคามิมรรค อินทรีย์ 5ด้วยสามารถแห่งอรหัตมรรค สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในอนาคามิผลสมาบัติ อินทรีย์ 5ด้วยสามารถแห่งอรหัตผลสมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ 5 ในอรหัตมรรคอินทรีย์ 5 ในเนกขัมมะ สลัดออกไปจากกามฉันทะ อินทรีย์ 5 ในอัพยาบาทสลัดออกไปจากพยาบาท อินทรีย์ 5 ในอาโลกสัญญา สลัดออกไปจากถีนมิทธะอินทรีย์ 5 ในความไม่ฟุ้งซ่าน สลัดออกไปจากอุทธัจจะ อินทรีย์ 5 ในธรรมววัตถาน สลัดออกไปจากวิจิกิจฉา อินทรีย์ 5 ในญาณ สลัดออกไปจากอวิชชาอินทรีย์ 5 ในความปราโมทย์ สลัดออกไปจากอรติ อินทรีย์ 5ในปฐมฌาน สลัดออกไปจากนิวรณ์ อินทรีย์ 5 ในทุติยฌาน สลัดออกไปจากวิตกวิจาร อินทรีย์ 5 ในตติยฌาน สลัดออกไปจากปีติ อินทรีย์ 5 ในจตุตถฌาน สลัดออกไปจากสุขและทุกข์ อินทรีย์ 5 ในอากาสานัญจายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญาอินทรีย์ 5 ในวิญญาณัญจายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากอากาสานัญจายตนสัญญาอินทรีย์ 5 ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากวิญญาณัญจายตนสัญญาอินทรีย์ 5 ในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากอากิญจัญญายตนสัญญา อินทรีย์ 5 ในอนิจจานุปัสสนา สลัดออกไปจากนิจจสัญญาอินทรีย์ 5ในทุกขานุปัสสนา สลัดออกไปจากสุขสัญญา อินทรีย์ 5 ในอนัตตานุปัสสนา สลัดออกไปจากอัตตสัญญา อินทรีย์ 5 ในนิพพิทานุปัสสนาสลัดออกไปจากความเพลิดเพลิน อินทรีย์ 5 ในวิราคานุปัสสนา สลัดออกไปจากราคะ อินทรีย์ 5 ในนิโรธานุปัสสนา สลัดออกไปจากสมุทัย อินทรีย์ 5ในปฏินิสสัคคานุปัสสนา สลัดออกไปจากความยึดมั่น อินทรีย์ 5 ในขยานุปัสสนาสลัดออกไปจากฆนสัญญา อินทรีย์ 5 ในวยานุปัสสนา สลัดออกไปจากการประมวลอายุ อินทรีย์ 5ในวิปริณามานุปัสสนา สลัดออกไปจากธุวสัญญาอินทรีย์ 5 ในอนิมิตตานุปัสสนา สลัดออกไปจากนิมิต อินทรีย์ 5 ในอัปปณิหิตานุปัสนา สลัดออกไปจากปณิธิ อินทรีย์ 5 ในสุญญตานุปัสสนาสลัดออกไปจากความถือมั่น อินทรีย์ 5 ในอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา สลัดออกไปจากความยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นแก่นสาร อินทรีย์ 5 ในยถาภูตญาณทัสนะสลัดออกไปจากความถือมั่นเพราะความหลง อินทรีย์ 5 ในอาทีนวานุปัสสนาสลัดออกไปจากความถือมั่นด้วยความอาลัย อินทรีย์ 5 ในปฏิสังขานุปัสสนาสลัดออกไปจากการไม่พิจารณาหาทาง อินทรีย์ 5 ในวิวัฏฏนานุปัสสนาสลัดออกไปจากความถือมั่นเพราะกิเลสเครื่องประกอบ อินทรีย์ 5 ในโสดาปัตติมรรคสลัดออกไปจากกิเลสซึ่งอยู่ในที่เดียวกันกับทิฐิ อินทรีย์ 5 ในสกทาคามิมรรค สลัดออกไปจากกิเลสส่วนหยาบ ๆ อินทรีย์ 5 ในอนาคามิมรรค สลัดออกไปจากกิเลสส่วนละเอียด อินทรีย์ 5ในอรหัตมรรคสลัดออกไปจากกิเลสทั้งปวง อินทรีย์ 5 ในธรรมนั้น ๆ เป็นคุณชาติอันพระขีณาสพทั้งปวงเทียวสลัดออกแล้ว สลัดออกดีแล้ว ระงับแล้วและระงับดีแล้ว อินทรีย์ 5 มีอุบายเป็นเครื่องสลัดออกด้วยอาการ 108 เหล่านี้บุคคลย่อมรู้อุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 108เหล่านี้ ฯ

จบภาณวาร

______

สาวัตถีนิทาน

[436] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 เหล่านี้ อินทรีย์ 5 เป็นไฉนคือ สัทธินทรีย์ 1วิริยินทรีย์ 1 สตินทรีย์ 1 สมาธินทรีย์ 1 ปัญญินทรีย์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในโสดาปัตติยังคะ (ธรรมอันเป็นองค์แห่งการบรรลุกระแสนิพพาน) 4 ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในสัมมัปปธาน 4 ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสตินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในสติปัฏฐาน 4 ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในฌาน 4 ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นปัญญินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นในอริยสัจ 4 ฯ

[437] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ 4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ ในสัมมัปปธาน 4จะพึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน 4จะพึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน 4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ 4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร ฯ

ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ 4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน 4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5ด้วยอาการ 20 ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน 4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5ด้วยอาการ 20 ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน 4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5ด้วยอาการ 20 ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ 4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5ด้วยอาการ 20 ฯ

[438] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ 4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เป็นไฉน ฯ

พึงเห็นสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการน้อมใจเชื่อในโสดาปัตติยังคะ คือ การคบสัตบุรุษ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในการน้อมใจเชื่อ ในโสดาปัตติยังคะ คือ การฟังธรรมของท่าน การทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมพึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่นพึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็นด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ 4จะพึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เหล่านี้ ฯ

[439] ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน 4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เป็นไฉน ฯ

พึงเห็นวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการประคองไว้ ในสัมมัปปธาน 4 คือ การไม่ยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน คือ การละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ในสัมมัปปธาน คือ ความตั้งมั่น ความไม่ฟั่นเฟือน ความเจริญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่านพึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน 4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เหล่านี้ ฯ

[440] ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน 4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20เป็นไฉน ฯ

พึงเห็นสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย พึงเห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่านพึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็นพึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อพึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน 4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เหล่านี้ ฯ

[441] ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน 4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20เป็นไฉน ฯ

พึงเห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในปฐมฌาน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อพึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในทุติยฌาน ฯลฯ ในตติยฌาน ฯลฯ ในจตุตถฌานพึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน 4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เหล่านี้ ฯ

[442] ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ 4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เป็นไฉน ฯ

พึงเห็นปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจ คือ ทุกข์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่นพึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความเห็นในอริยสัจ คือ ทุกขสมุทัย ฯลฯ ในอริยสัจ คือทุกขนิโรธ ฯลฯ ในอริยสัจ คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ 4 จะพึงเห็นอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เหล่านี้ ฯ

[443] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ 4 จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร ฯลฯ ในสัมมัปปธาน 4 ฯลฯในสติปัฏฐาน 4 ฯลฯ ในฌาน 4ในอริยสัจ 4 จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการเท่าไร ฯ

ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ 4 จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 ฯลฯ ในสัมมัปปธาน 4 ฯลฯ ในสติปัฏฐาน 4 ฯลฯ ในฌาน 4 ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ 4จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 ฯ

[444] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ 4 จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เป็นไฉน ฯ

พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อ ในโสดาปัตติยังคะ คือ การคบหาสัปบุรุษ พึงเห็ฯความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อในโสดาปัตติยังคะ คือ การฟังธรรมของท่าน ฯลฯ ในโสดาปัตติยังคะ คือการทำไว้ในใจ โดยอุบายอันแยบคาย ฯลฯ ในโสดาปัตติยังคะ คือ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ 4 จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เหล่านี้ ฯ

[445] ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน 4 จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เป็นไฉน ฯ

จะพึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความประคองไว้ ในสัมมัปปธาน คือ การไม่ยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความประคองไว้ในสัมมัปปธาน คือ การละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ในสัมมัปปธานคือ การบำเพ็ญกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ ในสัมมัปปธาน คือความตั้งมั่น ความไม่ฟั่นเฟือน ความเจริญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน 4 จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เหล่านี้ ฯ

[446] ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน 4 จะพึงเห็นความ ประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เป็นไฉน ฯ

พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความตั้งมั่นในสติปัฏฐานคือ การพิจารณาเห็นกายในกาย พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน 4จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เหล่านี้ ฯ

[447] ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน 4 จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5ด้วยอาการ 20 เป็นไฉน ฯ

พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในปฐมฌาน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็นพึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในทุติยฌาน ฯลฯ ในตติยฌาน ฯลฯในจตุตถฌาน ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน 4 จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เหล่านี้ ฯ

[448] ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ 4 จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เป็นไฉน ฯ

พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจ คือทุกข์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความเห็น ในอริยสัจ คือ ทุกขสมุทัยฯลฯ ในอริยสัจ คือ ทุกขนิโรธ ฯลฯ ในอริยสัจ คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ 4จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 20 เหล่านี้ ฯ

[449] ความประพฤติและวิหารธรรม เป็นอันตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว เหมือนอย่างสพรหมจารีผู้รู้แจ้ง กำหนดบุคคลไว้ในฐานที่ลึก ตามที่ประพฤติตามที่อยู่ว่า ท่านผู้นี้บรรลุแล้ว หรือว่าจักบรรลุเป็นแน่ ฯ

จริยา ในคำว่า ความประพฤติ มี 8 คือ อิริยาปถจริยา 1 อายตนจริยา 1 สติจริยา 1สมาธิจริยา 1 ญาณจริยา 1 มรรคจริยา 1ปัตติจริยา 1 โลกัตถจริยา 1 ฯ

ความประพฤติในอิริยาบถ 4 ชื่อว่าอิริยาปถจริยา ความประพฤติในอายตนภายในภายนอก 6 ชื่อว่าอายตนจริยา ความประพฤติในสติปัฏฐาน 4ชื่อว่าสติจริยา ความประพฤติในฌาน 4 ชื่อว่าสมาธิจริยา ความประพฤติในอริยสัจ 4 ชื่อว่าญาณจริยา ความประพฤติในอริยมรรค 4 ชื่อว่ามรรคจริยาความประพฤติในสามัญผล 4 ชื่อว่าปัตติจริยา ความประพฤติกิจซึ่งเป็นประโยชน์แก่โลก ในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วนในพระสาวกบางส่วน ชื่อว่าโลกัตถจริยา อิริยาปถจริยา เป็นของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยการตั้งใจไว้อายตนจริยา เป็นของท่านผู้คุ้มครองอินทรีย์ สติจริยา เป็นของท่านผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาทสมาธิจริยา เป็นของท่านผู้ขวนขวายในอธิจิต ญาณจริยา เป็นของท่านผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา มรรคจริยา เป็นของท่านผู้ปฏิบัติชอบ ปัตติจริยา เป็นของท่านผู้บรรลุผลแล้ว และโลกัตถจริยาเป็นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ของพระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วนของพระสาวกบางส่วนจริยา 8 เหล่านี้ ฯ

จริยา 8 อีกประการหนึ่ง คือ บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ ย่อมประพฤติด้วยศรัทธา ผู้ประคองไว้ย่อมประพฤติด้วยความเพียร ผู้เข้าไปตั้งไว้มั่น ย่อมประพฤติด้วยสติ ผู้ทำจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ย่อมประพฤติด้วยสมาธิ ผู้รู้ชัด ย่อมประพฤติด้วยปัญญา ผู้รู้แจ้ง ย่อมประพฤติด้วยวิญญาณ ผู้ทราบว่า ท่านปฏิบัติอย่างนี้จึงบรรลุคุณวิเศษ ดังนี้ ย่อมประพฤติด้วยวิเสสจริยา ผู้ที่ทราบว่า กุศลธรรมของท่านผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมยังอิฐผลให้ยืดยาวไป ดังนี้ ย่อมประพฤติด้วยอายตนจริยา จริยา 8เหล่านี้ ฯ

จริยา 8 อีกประการหนึ่ง คือ ทัสสนจริยาแห่งสัมมาทิฐิ 1 อภิโรปนจริยาแห่งสัมมาสังกัปปะ 1 ปริคคหจริยาแห่งสัมมาวาจา 1 สมุฏฐานจริยาแห่งสัมมากัมมันตะ 1 โวทานจริยาแห่งสัมมาอาชีวะ 1 ปัคคหจริยาแห่งสัมมาวายามะ 1 อุปัฏฐานจริยาแห่งสัมมาสติ 1 อวิกเขปจริยาแห่งสัมมาสมาธิ 1จริยา 8 เหล่านี้ ฯ

[450] คำว่า วิหาโร ความว่า บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ ย่อมอยู่ด้วยศรัทธา ผู้ประคองไว้ย่อมอยู่ด้วยความเพียร ผู้ตั้งสติมั่น ย่อมอยู่ด้วยสติ ผู้ทำจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ด้วยสมาธิผู้รู้ชัด ย่อมอยู่ด้วยปัญญา ฯ

คำว่า รู้ตาม ความว่า ความน้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ ความประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์ความตั้งมั่นแห่งสตินทรีย์ ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธินทรีย์ความเห็นแห่งปัญญินทรีย์ เป็นอันรู้ตามแล้ว ฯ

คำว่า แทงตลอดแล้ว ความว่า ความน้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ …ความเห็นแห่งปัญญินทรีย์ เป็นอันแทงตลอดแล้ว ฯ

คำว่า ตามที่ประพฤติ ความว่า ประพฤติด้วยศรัทธาอย่างนี้ ด้วยความเพียรอย่างนี้ด้วยสติอย่างนี้ ด้วยสมาธิอย่างนี้ ด้วยปัญญาอย่างนี้ ฯ

คำว่า ตามที่อยู่ ความว่า อยู่ด้วยศรัทธาอย่างนี้ … ด้วยปัญญาอย่างนี้ ฯ

คำว่า วิญญู คือ ผู้รู้แจ้ง ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง ผู้มีปัญญาทำลายกิเลสผู้เป็นบัณฑิตผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาเครื่องตรัสรู้ ฯ

คำว่า สพฺรหฺมจารี คือ บุคคลผู้มีการงานอย่างเดียวกัน มีอุเทศอย่างเดียวกัน มีการศึกษาเสมอกัน ฯ

ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค ผล อภิญญา และปฏิสัมภิทา ท่านกล่าวว่าเป็นฐานะอันลึก ในคำว่า คมฺภีเรสุ ฐาเนสุ ฯ

คำว่า โอกปฺเปยยุํ ความว่า พึงเชื่อ คือ พึงน้อมใจเชื่อ ฯ

คำว่า อทฺธา นี้ เป็นเครื่องกล่าวส่วนเดียว เป็นเครื่องกล่าวโดยไม่สงสัย เป็นเครื่องกล่าวโดยสิ้นความเคลือบแคลง เป็นเครื่องกล่าวไม่เป็นสองเป็นเครื่องกล่าวโดยธรรมเครื่องนำออก เป็นเครื่องกล่าวไม่ผิด เป็นเครื่องกล่าวโดยหลักฐาน ฯ

คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพเป็นเครื่องกล่าวมีความเคารพยำเกรง ฯ

คำว่า บรรลุแล้ว ความว่า ถึงทับแล้ว คำว่า หรือว่าจักบรรลุ ความว่าจักถึงทับ ฯ

จบนิทานบริบูรณ์

[451] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 เหล่านี้ 5 เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ … ปัญญินทรีย์ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 เหล่านี้แล ฯ

อินทรีย์ 5 เหล่านี้พึงเห็นด้วยอาการเท่าไร พึงเห็นด้วยอาการ 6 พึงเห็นด้วยอรรถว่ากระไร ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องชำระในเบื้องต้น ด้วยอรรถว่ามีประมาณยิ่งด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยอรรถว่าครอบงำด้วยอรรถว่าให้ตั้งอยู่ ฯ

[452] พึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่อย่างไร ฯ

พึงเห็นสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อแห่งบุคคลผู้ละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการประคองไว้ แห่งบุคคลผู้ละความเกียจคร้าน พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความตั้งมั่น แห่งบุคคลผู้ละความประมาทพึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็นพึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน แห่งบุคคลผู้ละอุทธัจจะ พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการเห็นแห่งบุคคลผู้ละอวิชชา พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ แห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็นด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ แห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ แห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ แห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความเห็น ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ แห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อพึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งความไม่พยาบาท แห่งบุคคลผู้ละพยาบาท ฯลฯ ด้วยสามารถแห่งอาโลกสัญญา แห่งบุคคลผู้ละถีนมิทธะ ฯลฯ พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งอรหัตมรรค แห่งบุคคลผู้ละกิเลสทั้งปวง พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ฯลฯ พึงเห็นปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในการเห็น ด้วยสามารถแห่งอรหัตมรรค แห่งบุคคลผู้ละกิเลสทั้งปวง พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่อย่างนี้ ฯ

[453] พึงเห็นอินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นอย่างไร ฯ

สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าระวังความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นแห่งสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าระวังความเกียจคร้าน เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นแห่งวิริยินทรีย์ สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าระวังความประมาท เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นแห่งสตินทรีย์ สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าระวังอุทธัจจะ เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นแห่งสมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าระวังอวิชชา เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นแห่งปัญญินทรีย์อินทรีย์ 5 ในเนกขัมมะ เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าระวังกามฉันทะ เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ 5 อินทรีย์ 5 ในความไม่พยาบาท เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าระวังพยาบาท เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ 5 ฯลฯอินทรีย์ 5 ในอรหัตมรรค เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าระวังกิเลสทั้งปวง เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ 5 พึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นอย่างนี้ ฯ

[454] พึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่ามีประมาณยิ่งอย่างไร ฯ

ฉันทะเกิดขึ้นเพื่อความเจริญสัทธินทรีย์ เพื่อละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เพื่อละความเร่าร้อนเพราะความไม่มีศรัทธา เพื่อละกิเลสอันตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฐิเพื่อละกิเลสส่วนหยาบๆ เพื่อละกิเลสส่วนละเอียดๆ เพื่อละกิเลสทั้งปวง ฯ

สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจฉันทะ ความปราโมทย์เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งฉันทะ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความปราโมทย์ ปีติเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งความปราโมทย์ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจแห่งปีติปัสสัทธิเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งปีติ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจปัสสัทธิ ความสุขเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งปัสสัทธิ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจแห่งความสุข โอภาสเกิดขึ้นด้วยสามารถความสุข สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจโอภาส สังเวชเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งโอภาสสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจสังเวช จิตสังเวชแล้วย่อมตั้งมั่นสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจสมาธิ จิตมั่นคงอย่างนั้นแล้วย่อมประคองไว้ดี สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจการประคองไว้ จิตประคองแล้วอย่างนั้นย่อมวางเฉยดี สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจอุเบกขา จิตย่อมหลุดพ้นจากกิเลสต่าง ๆ ด้วยสามารถแห่งอุเบกขา สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความหลุดพ้น ธรรมเหล่านั้นมีกิจเสมอกัน เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติหลุดพ้นแล้ว สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจภาวนา เพราะอรรถว่าเป็นธรรมมีกิจเสมอกัน ธรรมเหล่านั้นย่อมหลีกจากธรรมนั้นสู่ธรรมที่ประณีตกว่า เพราะเป็นธรรมที่เจริญแล้ว สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความหลีกไป จิตย่อมปล่อยจากธรรมนั้น เพราะเป็นธรรมที่หลีกไปแล้ว สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความปล่อย ธรรมทั้งหลายย่อมดับไปจากนั้น เพราะจิตเป็นธรรมชาติปล่อยไปแล้วสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความดับ ความปล่อยด้วยสามารถแห่งความดับมี 2ประการ คือ ความปล่อยด้วยความสละ 1 ความปล่อยด้วยความแล่นไป 1 ชื่อว่าความปล่อยด้วยความสละ เพราะอรรถว่า สละกิเลสและขันธ์ ชื่อว่าความปล่อยด้วยความแล่นไป เพราะอรรถว่า จิตแล่นไปในนิพพานธาตุเป็นที่ดับ ความปล่อยด้วยอำนาจความดับมี 2 ประการนี้ ฯ

[455] ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญวิริยินทรีย์ เพื่อละความเกียจคร้านเพื่อละความเร่าร้อนเพราะความเกียจคร้าน เพื่อละกิเลสอันตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฐิฯลฯ เพื่อละกิเลสทั้งปวง ฯลฯ ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญสตินทรีย์ เพื่อละความประมาท เพื่อละความเร่าร้อนเพราะความประมาท ฯลฯ เพื่อละกิเลสทั้งปวง ฯลฯ ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญสมาธินทรีย์ เพื่อละอุทธัจจะเพื่อละความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ ฯลฯ เพื่อละกิเลสทั้งปวง ฯลฯ ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญปัญญินทรีย์ เพื่อละอวิชชา เพื่อละความเร่าร้อนเพราะอวิชชาเพื่อละกิเลสอันตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฐิ เพื่อละกิเลสส่วนหยาบๆ เพื่อละกิเลสส่วนละเอียด ๆ เพื่อละกิเลสทั้งปวง ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญาด้วยอำนาจฉันทะ ความปราโมทย์ย่อมเกิดด้วยสามารถฉันทะ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความปราโมทย์ ปีติย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งความปราโมทย์ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจปีติ ปัสสัทธิย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งปีติ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจปัสสัทธิความสุขย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งปัสสัทธิปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความสุข โอภาสย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งความสุข ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญาด้วยอำนาจโอภาส ความสังเวชย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งโอภาส ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความสังเวช จิตสังเวชแล้วย่อมตั้งมั่น ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจสมาธิ จิตตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น ย่อมประคองไว้ดี ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความประคองไว้ จิตประคองไว้แล้วอย่างนั้น ย่อมวางเฉยด้วยดี ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจอุเบกขาจิตย่อมหลุดพ้นจากกิเลสต่างๆ ด้วยสามารถแห่งอุเบกขา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความหลุดพ้น ธรรมเหล่านั้นย่อมมีกิจเป็นอันเดียวกัน เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติหลุดพ้นแล้ว ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจภาวนา เพราะอรรถว่าเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมเหล่านั้นย่อมหลีกจากธรรมนั้นไปสู่ธรรมที่ประณีตกว่า เพราะเป็นธรรมที่เจริญแล้ว ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความหลีกไป จิตย่อมปล่อยจากธรรมนั้น เพราะเป็นจิตหลีกไปแล้ว ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญาด้วยอำนาจความปล่อย ธรรมทั้งหลายย่อมดับไปจากนั้น เพราะจิตเป็นธรรมชาติปล่อยแล้ว ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความดับ ความปล่อยด้วยอำนาจแห่งความดับมี2 ประการ คือ ความปล่อยด้วยความสละ 1 ความปล่อยด้วยความแล่นไป 1 ชื่อว่าความปล่อยด้วยความสละ เพราะอรรถว่า สละกิเลสและขันธ์ ชื่อว่าความปล่อยด้วยความแล่นไปเพราะอรรถว่า จิตแล่นไปในนิพพานธาตุอันเป็นที่ดับความปล่อยด้วยสามารถแห่งความดับมี 2ประการนี้ พึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่ามีประมาณยิ่งอย่างนี้ ฯ

จบภาณวาร

[456] จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่นอย่างไร ฯ

ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญสัทธินทรีย์ สัทธินทรีย์ย่อมตั้งมั่นด้วยสามารถแห่งศรัทธาด้วยอำนาจฉันทะ ความปราโมทย์ย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งฉันทะ สัทธินทรีย์ย่อมตั้งมั่นด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความปราโมทย์ฯลฯ จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่นอย่างนี้ ฯ

[457] จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าครอบงำอย่างไร ฯ

สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ย่อมครอบงำความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมครอบงำความเร่าร้อนเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา วิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ย่อมครอบงำความเป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมครอบงำความเร่าร้อนเพราะความเกียจคร้าน สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมครอบงำความประมาท ย่อมครอบงำความเร่าร้อนเพราะความประมาท สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่านย่อมครอบงำอุทธัจจะ ย่อมครอบงำความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็นย่อมครอบงำอวิชชา ย่อมครอบงำความเร่าร้อนเพราะอวิชชาอินทรีย์ 5 ในเนกขัมมะ ย่อมครอบงำกามฉันทะ อินทรีย์ 5 ในความไม่พยาบาทย่อมครอบงำพยาบาท อินทรีย์ 5 ในอาโลกสัญญาย่อมครอบงำถีนมิทธะอินทรีย์ 5 ในความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมครอบงำอุทธัจจะ ฯลฯ อินทรีย์ 5 ในอรหัตมรรค ย่อมครอบงำกิเลสทั้งปวง จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าครอบงำอย่างนี้ ฯ

[458] จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าให้ตั้งอยู่อย่างไร ฯ

ผู้มีศรัทธา ย่อมให้สัทธินทรีย์ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์ของผู้มีศรัทธาย่อมให้ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ ผู้มีความเพียรย่อมให้วิริยินทรีย์ตั้งอยู่ในความประคองไว้ วิริยินทรีย์ของผู้มีความเพียร ย่อมให้ตั้งอยู่ในความประคองไว้ ผู้มีสติย่อมให้สตินทรีย์ตั้งอยู่ในความตั้งมั่น สตินทรีย์ของผู้มีสติ ย่อมให้ตั้งอยู่ในความตั้งมั่น ผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมให้สมาธินทรีย์ตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้งซ่านสมาธินทรีย์ของผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมให้ตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ผู้มีปัญญาย่อมให้ปัญญินทรีย์ตั้งอยู่ในความเห็น ปัญญินทรีย์ของผู้มีปัญญา ย่อมให้ตั้งอยู่ในความเห็น พระโยคาวจรย่อมให้อินทรีย์ 5 ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ อินทรีย์ 5 ของพระโยคาวจร ย่อมให้ตั้งอยู่ในเนกขัมมะพระโยคาวจรย่อมให้อินทรีย์ 5 ตั้งอยู่ในความไม่พยาบาท อินทรีย์ 5 ของพระโยคาวจร ย่อมให้ตั้งอยู่ในความไม่พยาบาท พระโยคาวจรย่อมให้อินทรีย์ 5 ตั้งอยู่ในอาโลกสัญญา อินทรีย์ 5ของพระโยคาวจร ย่อมให้ตั้งอยู่ในอาโลกสัญญา พระโยคาวจรย่อมให้อินทรีย์5 ตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้งซ่านอินทรีย์ 5 ของพระโยคาวจร ย่อมให้ตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ พระโยคาวจรย่อมให้อินทรีย์ 5ตั้งอยู่ในอรหัตมรรคอินทรีย์ 5 ของพระโยคาวจร ย่อมให้ตั้งอยู่ในอรหัตมรรค จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าให้ตั้งอยู่อย่างนี้ ฯ

[459] ปุถุชนเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร พระเสขะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไรท่านผู้ปราศจากราคะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร ฯ

ปุถุชนเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 7 พระเสขะเจริญสมาธิย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 8 ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 10 ฯ

[460] ปุถุชนเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ7 เป็นไฉน ฯ

ปุถุชนผู้มีตนอันเว้นแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ 1 เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต 1 เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต1 เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความไม่ฟุ้งซ่าน 1 เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งโอภาส 1 เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความร่าเริง 1เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา 1 ปุถุชนเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ7เหล่านี้ ฯ

พระเสขะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 8เป็นไฉน ฯ

พระเสขะมีตนอันเว้นแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ …เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความเป็นธรรมอย่างเดียว พระเสขะผู้เจริญสมาธิย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 8เหล่านี้ ฯ

ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 10 เป็นไฉน ฯ

ท่านผู้ปราศจากราคะมีตนอันเว้นแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ ฯลฯเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความเป็นธรรมอย่างเดียว เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งจิต ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 10 เหล่านี้ ฯ

[461] ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร ฯ

ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 9 เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ 9 พระเสขะเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 10 เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ 10 ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 12 เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ 12 ฯ

[462] ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 9 เป็นไฉนเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ 9 เป็นไฉน ฯ

ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของไม่เที่ยง 1 เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง 1 เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นทุกข์ 1เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นสุข 1 เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา 1เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นอัตตา 1 เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป 1เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน 1 เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเสื่อมไป 1 เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความประมวลมา 1 เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความแปรปรวน 1 เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยั่งยืน 1 เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพหานิมิตมิได้ 1 เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีนิมิต 1 เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพไม่มีที่ตั้ง 1เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีที่ตั้ง 1 เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพสูญ 1เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึดมั่น 1ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 9 เหล่านี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ 9 เหล่านี้ ฯ

พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 10 เป็นไฉน ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ 10 เป็นไฉน ฯ

พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นสภาพสูญ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึดมั่น เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งมิใช่ญาณ พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 10เหล่านี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ 10 เหล่านี้ ฯ

ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 12 เป็นไฉน เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ 12 เป็นไฉน ฯ

ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งมิใช่ญาณเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเกี่ยวข้อง เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความดับ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสังขาร ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ 12 เหล่านี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ 12 เหล่านี้บุคคลผู้มีตนอันเว้นแล้วย่อมให้อินทรีย์ประชุม ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ รู้จักโคจร และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯลฯ ย่อมให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง รู้จักโคจร และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ

[463] คำว่า ย่อมให้อินทรีย์ประชุมลง ความว่า ย่อมให้อินทรีย์ประชุมลงอย่างไรย่อมให้สัทธินทรีย์ประชุมลงด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ฯลฯย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความร่าเริง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นธรรมอย่างเดียว ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งจิต ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นทุกข์ ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นสุข ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นอนัตตา ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นอัตตา ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อนด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเสื่อมไป ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ โดยความประมวลมา ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความแปรปรวน ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ โดยความยั่งยืน ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ โดยความเป็นสภาพที่หานิมิตมิได้ ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีนิมิต ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพไม่มีที่ตั้ง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยสภาพมีที่ตั้ง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นสภาพสูญ ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึดมั่น ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งมิใช่ญาณด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความไม่เกี่ยวข้อง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งความเกี่ยวข้อง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความดับ ย่อมรู้จักโคจร และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ

[464] ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ 3 ด้วยอาการ 64 เป็นอาสวักขยญาณ อินทรีย์ 3 เป็นไฉน คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์1 อัญญินทรีย์ 1 อัญญาตาวินทรีย์ 1 ฯ

อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไรอัญญาตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร ฯ

อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะ 1 คือ โสดาปัตติมรรค อัญญินทรีย์ย่อมถึงฐานะ 6 คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผลอนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตมรรคอัญญตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะ 1 คืออรหัตผล ฯ

[465] ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร วิริยินทรีย์มีความประคองไว้เป็นบริวารสตินทรีย์มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร สมาธินทรีย์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวารปัญญินทรีย์มีความเห็นเป็นบริวาร มนินทรีย์มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร โสมนัสสินทรีย์มีความยินดียิ่งเป็นบริวาร ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในการสืบต่อแห่งความไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะโสดาปัตติมรรค เว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ล้วนเป็นกุศลทั้งนั้น ล้วนไม่มีอาสวะ ล้วนเป็นธรรมที่นำออก ล้วนเป็นเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ล้วนเป็นโลกุตระ ล้วนเป็นธรรมมีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มีอินทรีย์ทั้ง 8 นี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่นเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยเป็นบริวาร มีสัมปยุตธรรมเป็นบริวาร เป็นสหคตธรรม เป็นสหชาตธรรมเป็นธรรมเกี่ยวข้องกัน เป็นธรรมประกอบกัน ธรรมเหล่านั้นแลเป็นอาการและเป็นบริวารแห่งอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ในขณะโสดาปัตติผล ฯลฯ ฯ

ในขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์ มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร ฯลฯชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในความสืบแห่งความเป็นไปเป็นบริวาร ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะอรหัตผล เว้นรูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐาน ล้วนเป็นอัพยากฤตทั้งนั้น ล้วนไม่มีอาสวะ ล้วนเป็นโลกุตระล้วนมีนิพพานเป็นอารมณ์ ฯลฯ ในขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์มีอินทรีย์ 8 นี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นแลเป็นอาการและเป็นบริวารแห่งอัญญาตาวินทรีย์นั้น อินทรีย์ 8หมวดนี้รวมเป็นอินทรีย์ 64 ด้วยประการฉะนี้ ฯ

[466] คำว่า อาสวา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่านั้น คือกามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ฯ

อาสวะเหล่านั้นย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ ภวาสวะอวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปเพราะโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะโสดาปัตติมรรคนี้ กามาสวะส่วนหยาบภวาสวะ อวิชชาสวะ ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปเพราะสกทาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะสกทาคามิมรรคนี้ กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปเพราะอนาคามิมรรคอาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะอนาคามิมรรคนี้ ภวาสวะและอวิชชาทั้งสิ้น ย่อมสิ้นไปเพราะอรหัตมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะอรหัตมรรคนี้ ฯ

บทธรรมที่พระตถาคตนั้นไม่ทรงเห็น ไม่มีในโลกนี้ อนึ่ง บทธรรมอะไร ๆ ที่พระตถาคตนั้นไม่ทรงทราบแล้ว ไม่พึงทรงทราบมิได้มี พระตถาคตทรงทราบธรรมที่ควรนำไปทั้งปวง เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่าเป็นพระสมันตจักษุ ฯ

คำว่า สมนฺตจกฺขุ ความว่า ชื่อว่าสมันตจักษุ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ

พระพุทธญาณ 14 คือ ญาณในทุกข์ ญาณในทุกขสมุทัย ฯลฯ สัพพัญญุตญาณอนาวรณญาณ เป็นพระพุทธญาณ พระพุทธญาณ 14 นี้ในพระพุทธญาณ 14 นี้ ญาณ 8 ข้างต้นทั่วไปกับพระสาวก ญาณ 6 ข้างหลังไม่ทั่วไปกับพระสาวก ฯ

[467] พระตถาคต ทรงทราบ สภาพแห่งทุกข์เป็นสิ่งที่ทนได้ยากตลอดหมด ที่ไม่ทรงทราบมิได้มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงทรงพระนามว่า สมันตจักษุ สมันตจักษุเป็นปัญญินทรีย์ สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ วิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ สภาพแห่งทุกข์เป็นสิ่งที่ทนได้ยากพระตถาคตทรงเห็นแล้ว ทรงทราบแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยพระปัญญา ที่ไม่ทรงถูกต้องแล้วมิได้มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงทรงพระนามว่าสมันตจักษุ สมันตจักษุเป็นปัญญินทรีย์ สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ … สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ฯลฯ สภาพแห่งสมุทัยเป็นเหตุให้เกิด ฯลฯ สภาพแห่งนิโรธเป็นเหตุดับโดยไม่เหลือ ฯลฯ สภาพแห่งมรรคเป็นทางให้ถึง ฯลฯ สภาพแห่งอรรปฏิสัมภิทาเป็นปัญญาเครื่องแตกฉานดีโดยอรรถ ฯลฯ สภาพแห่งธรรมปฏิสัมภิทา เป็นปัญญาแตกฉานดีโดยธรรม ฯลฯ สภาพแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทา เป็นปัญญาแตกฉานดีโดยภาษา สภาพแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นปัญญาแตกฉานดีโดยปฏิภาณญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ทั้งหลายญาณในฉันทะอันมานอนและกิเลสอันนอนตามของสัตว์ทั้งหลาย ญาณในยมกปฏิหาริย์ ญาณในมหากรุณาสมาบัติฯลฯ อารมณ์ที่ได้เห็น ที่ได้สดับ ที่ได้ทราบ ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหาที่เที่ยวตามหาด้วยใจ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแจ้งแล้ว ทรงรู้แล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาที่ไม่ทรงถูกต้องด้วยปัญญาไม่มีเพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงทรงพระนามว่า สมันตจักษุ สมันตจักษุเป็นปัญญินทรีย์สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ … สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ บุคคลเมื่อเชื่อย่อมประคองไว้เมื่อประคองไว้ย่อมเชื่อเมื่อเชื่อ ย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมตั้งใจมั่นเมื่อตั้งใจมั่นย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมเชื่อ เมื่อประคองไว้ย่อมตั้งสติมั่นเมื่อตั้งสติมั่นย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้ย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้ย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้ย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมประคองไว้ เมื่อตั้งสติมั่นย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้ย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้ย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมตั้งใจมั่น เมื่อรู้ชัดย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้ย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมรู้ชัดเพราะความเป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงประคองไว้เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงประคองไว้เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงรู้ชัดเพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงเชื่อเพราะความเป็นผู้เชื่อจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงรู้ชัดเพราะความรู้ชัดจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงรู้ชัดพระพุทธจักษุเป็นพระพุทธญาณพระพุทธญาณเป็นพุทธจักษุ อันเป็นเครื่องให้พระตถาคตทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุก็มี มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มีมีอาการชั่วก็มี ที่จะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่ายก็มี ที่จะพึงฝึกให้รู้ได้โดยยากก็มี บางพวกเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ฯ

[468] คำว่า มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ ความว่าบุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ ผู้ปรารภความเพียร … ผู้มีสติตั้งมั่น …ผู้มีจิตมั่น … ผู้มีปัญญา ชื่อว่าผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้เกียจคร้าน … ผู้มีสติหลงลืม … ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น … ผู้มีปัญญาทราม ชื่อว่าผู้มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ ฯ

คำว่า ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่าผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าผู้มีอินทรีย์อ่อน ฯลฯ ผู้มีปัญญาชื่อว่ามีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีปัญญาทราม ชื่อว่าผู้มีอินทรีย์อ่อน ฯ

คำว่า ผู้มีอาการดี ผู้มีอาการชั่ว ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่าผู้มีอาการดี ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าผู้มีอาการชั่ว ฯลฯ ผู้มีปัญญา ชื่อว่าผู้มีอาการดีผู้ไม่มีปัญญา ชื่อว่าผู้มีอาการชั่ว ฯ

คำว่า จะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่าย จะพึงฝึกให้รู้ได้โดยยาก ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่าจะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่าย ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าจะพึงฝึกให้รู้ได้โดยยาก ฯลฯ ผู้มีปัญญา ชื่อว่าจะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่าย ผู้ไม่มีปัญญาชื่อว่าจะพึงฝึกให้รู้ได้โดยยาก ฯ

คำว่า บางพวกเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่าเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ฯลฯ ผู้มีปัญญา ชื่อว่าเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ผู้ไม่มีปัญญา ชื่อว่าไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ฯ

คำว่า โลก คือ ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลก วิปัตติสัมภวโลกสัมปัตติภวโลก สัมปัตติสัมภวโลก โลก 1 คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร โลก 2 คือ นามและรูป โลก 3 คือ เวทนา 3 โลก 4คือ อาการ 4 โลก 5 คือ อุปาทานขันธ์ 5 โลก 6คือ อายตนะภายใน 6 โลก7 คือ วิญญาณฐิติ 7 โลก 8 คือ โลกธรรม 8 โลก 9 คือสัตตาวาส 9โลก 10 คือ อายตนะ 10 โลก 12 คือ อายตนะ 12 โลก 18 คือธาตุ 18 ฯ

คำว่า โทษ ความว่า กิเลสทั้งปวงเป็นโทษ ทุจริตทั้งปวงเป็นโทษ อภิสังขารทั้งปวงเป็นโทษ กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวงเป็นโทษ ความสำคัญในโลกนี้และในโทษนี้ด้วยประการดังนี้ โดยความเป็นภัยอย่างแรงกล้าปรากฏเฉพาะหน้า เปรียบเหมือนความสำคัญในเพชฌฆาตซึ่งกำลังแกว่งดาบเข้ามาโดยความเป็นภัย ฉะนั้น พระตถาคตย่อมทรงทราบ ทรงเห็น ทรงรู้ชด ทรงแทงตลอด ซึ่งอินทรีย์ 5 ประการนี้ ด้วยอาการ 50 เหล่านี้ ฯ

จบตติยภาณวาร

จบอินทรียกถา

______

เพิ่มเติม