อยู่ในระหว่างปรับสำนวน
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ตำราพุทธมีลำดับการศึกษาให้เข้าใจทะลุทะลวงดังนี้: ขอเป็นศิษย์ผู้มีฌานวสีทรงจำพระไตรปิฎกบาลี > ท่องจำบาลีตามลำดับซ้ำๆ ไม่ลืมทบทวนแม้จำได้แล้ว > สอบถามบาลี > ฟังคำอธิบายบาลี > ทรงจำทั้งหมด > ในระหว่างท่องจำก็พยายามปฏิบัติตามไปด้วยจนแตกฉาน. ผู้ที่ข้ามขั้นตอนเหล่านี้ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นไปได้ยากที่จะบรรลุอัปปนาทั้งโลกิยะและโลกุตตระในศาสนาพุทธได้ พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า "โมฆบุรุษ" เพราะว่างเปล่าจากอัปปนา (เรียบเรียงจากกีฏาคิริสูตร; ธัมมัญญูสูตร; สัจจบรรพะ อรรถกถามัคคนิทเทส; วิสุทธิมรรค กัมมัฏฐานคหณนิทเทส)
ควรท่องจำ ที.สี.สามัญญผลสูตรบาลี และ ที.สี.มหาสติปัฏฐานสูตรบาลี เพื่อป้องกันความลังเลสงสัยว่ามีเหตุแปลอย่างไร
มหาวรรค อานาปาณกถา
คณนวาโร
[362] เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปานสติมีวัตถุ 16 ญาณ 200 อันเนื่องมาแต่สมาธิย่อมเกิดขึ้น คือ
[363] ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย 8 และญาณในธรรมอันเป็นอุปการะ 8 เป็นไฉน ฯ
- กามฉันทะเป็นอันตรายแก่สมาธิ เนกขัมมะเป็นอุปการะแก่สมาธิ 1)
- พยาบาทเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความไม่พยาบาทเป็นอุปการะแก่สมาธิ
- ถีนมิทธะเป็นอันตรายแก่สมาธิ อาโลกสัญญาเป็นอุปการะแก่สมาธิ
- อุทธัจจะเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นอุปการะแก่สมาธิ
- วิจิกิจฉาเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความกำหนดธรรมเป็นอุปการะแก่สมาธิ
- อวิชชาเป็นอันตรายแก่สมาธิ ญาณเป็นอุปการะแก่สมาธิ
- อรติเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความปราโมทย์เป็นอุปการะแก่สมาธิ
- อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงเป็นอันตรายแก่สมาธิ กุศลธรรมทั้งปวงเป็นอุปการะแก่สมาธิ
ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย 8 และญาณในธรรมเป็นอุปการะ 8 เหล่านี้
โสฬสญาณนิทฺเทโส
จิตที่พัฒนาขึ้น จิตที่พัฒนาถูกตรงขึ้น ย่อมดำรงอยู่ในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (สำนวนไทยคือเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน) และย่อมหมดจดจากนิวรณ์ ด้วยอาการ 16 เหล่านี้ ฯ
[364] กุศลธรรมทั้งหลายที่ยังจิตให้พัฒนาถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันเหล่านั้นเป็นไฉน ฯ
- เนกขัมมะเป็นหนึ่งเดียวกัน(กับกุศลธรรมอื่นๆ ที่เกิดร่วม)
- ความไม่พยาบาทเป็นหนึ่งเดียวกัน(กับกุศลธรรมอื่นๆ ที่เกิดร่วม)
- อาโลกสัญญาเป็นหนึ่งเดียวกัน(กับกุศลธรรมอื่นๆ ที่เกิดร่วม)
- ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นหนึ่งเดียวกัน(กับกุศลธรรมอื่นๆ ที่เกิดร่วม)
- ความแยกกำหนดธรรมเป็นหนึ่งเดียวกัน(กับกุศลธรรมอื่นๆ ที่เกิดร่วม)
- ญาณเป็นหนึ่งเดียวกัน(กับกุศลธรรมอื่นๆ ที่เกิดร่วม)
- ความปราโมทย์เป็นหนึ่งเดียวกัน(กับกุศลธรรมอื่นๆ ที่เกิดร่วม)
- กุศลธรรมทั้งหลายเป็นหนึ่งเดียวกัน(กับกุศลธรรมอื่นๆ ที่เกิดร่วม) ฯ
นิวรณ์นั้นเป็นไฉน?
กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา อวิชชา อรติ อกุศลธรรมทั้งปวง เป็นนิวรณ์ (แต่ละอย่าง) ฯ
[365] คำว่า นีวรณา ความว่า ชื่อว่า นิวรณ์ เพราะอรรถว่ากระไร?
ชื่อว่า นิวรณ เพราะอรรถว่า นิยฺยานาวรณ (เป็นเครื่องขวางกั้นจิตจากนิยยานะ)ฯ
ชื่อว่า นิยฺยาน (กุศลธรรมเครื่องนำจิตออกจากอกุศลธรรม) เป็นไฉน?
- เนกขัมมะเป็นนิยฺยานของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย เพราะพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำจิตออกจากอกุศลธรรมด้วยเนกขัมมะนั้น
- กามฉันทะเป็นนิยฺยานาวรณ และเพราะจิตถูกกามฉันทะนั้นขวางกั้นไว้ จิตจึงไม่มีปัญญารู้เนกขัมมะว่าเป็นนิยฺยานาวรณของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ฉะนั้นกามฉันทะจึงชื่อว่า เป็นนิยฺยานาวรณ
- ความไม่พยาบาทเป็นนิยฺยานของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย เพราะพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำจิตออกจากอกุศลธรรมด้วยความไม่พยาบาทนั้น
- ความพยาบาทเป็นนิยฺยานาวรณ และเพราะจิตถูกความพยาบาทนั้นขวางกั้นไว้ จิตจึงไม่มีปัญญารู้ความไม่พยาบาทว่าเป็นนิยฺยานาวรณของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ฉะนั้นความพยาบาทจึงชื่อว่าเป็นนิยฺยานาวรณ
- อาโลกสัญญาเป็นนิยฺยานของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย เพราะพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำจิตออกจากอกุศลธรรมด้วยอาโลกสัญญานั้น
- ถีนมิทธะเป็นนิยฺยานาวรณ และเพราะจิตถูกถีนมิทธะนั้นขวางกั้นไว้ จิตจึงไม่มีปัญญารู้ถีนมิทธะว่าเป็นนิยฺยานาวรณของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ฉะนั้นถีนมิทธะจึงชื่อว่าเป็นนิยฺยานาวรณ
- ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นนิยฺยานของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย เพราะพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำจิตออกจากอกุศลธรรมด้วยไม่ฟุ้งซ่านนั้น
- อุทธัจจะเป็นนิยฺยานาวรณ และเพราะจิตถูกอุทธัจจะนั้นขวางกั้นไว้ จิตจึงไม่มีปัญญารู้อุทธัจจะว่าเป็นนิยฺยานาวรณของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ฉะนั้นอุทธัจจะจึงชื่อว่าเป็นนิยฺยานาวรณ
- การแยกกำหนดธรรมเป็นนิยฺยานของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย เพราะพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำจิตออกจากอกุศลธรรมด้วยการแยกกำหนดธรรมนั้น
- วิจิกิจฉาเป็นนิยฺยานาวรณ และเพราะจิตถูกวิจิกิจฉานั้นขวางกั้นไว้ จิตจึงไม่มีปัญญารู้วิจิกิจฉาว่าเป็นนิยฺยานาวรณของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ฉะนั้นวิจิกิจฉาจึงชื่อว่าเป็นนิยฺยานาวรณ
- ญาณเป็นนิยฺยานของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย เพราะพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำจิตออกจากอกุศลธรรมด้วยญาณนั้น
- อวิชชาเป็นนิยฺยานาวรณ และเพราะจิตถูกอวิชชานั้นขวางกั้นไว้ จิตจึงไม่มีปัญญารู้อวิชชาว่าเป็นนิยฺยานาวรณของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ฉะนั้นอวิชชาจึงชื่อว่าเป็นนิยฺยานาวรณ
- ความปราโมทย์เป็นนิยฺยานของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย เพราะพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำจิตออกจากอกุศลธรรมด้วยความปราโมทย์นั้น
- อรติเป็นนิยฺยานาวรณ และเพราะจิตถูกอรตินั้นขวางกั้นไว้ จิตจึงไม่มีปัญญารู้อรติว่าเป็นนิยฺยานาวรณของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ฉะนั้นอรติจึงชื่อว่าเป็นนิยฺยานาวรณ
- กุศลธรรมแม้ทั้งปวงก็เป็นนิยฺยานของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย เพราะพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำจิตออกจากอกุศลธรรมด้วยกุศลธรรมเหล่านั้น
- อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงก็เป็นนิยฺยานาวรณ และเพราะจิตถูกอกุศลธรรมนั้นขวางกั้นไว้ จิตจึงไม่มีปัญญารู้อกุศลธรรมว่าเป็นนิยฺยานาวรณของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ฉะนั้นอกุศลธรรมจึงชื่อว่าเป็นนิยฺยานาวรณ
และเมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปานัสสติมีวัตถุ 16 จนมีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านี้แล้ว แต่ว่าอุปกิเลสที่ละเอียดเป็นขณะเกิดสืบเนื่องก็ยังคงเกิดได้อยู่ ฯ
อุปกฺกิเลสญาณนิทฺเทโส
ปฐมจฺฉกฺกํ
[366] อุปกิเลส 18 เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้น ฯ
เมื่อบุคคลใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจออก จิตถึงความฟุ้งซ่านในภายใน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อบุคคลใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้า จิตถึงความฟุ้งซ่านในภายนอก ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความปรารถนา ความพอใจลมหายใจออก การเที่ยวไปด้วยตัณหา เป็นอันตรายแก่สมาธิ ความปรารถนา ความพอใจลมหายใจเข้า การเที่ยวไปด้วยตัณหา เป็นอันตรายแก่สมาธิ ความหลงในการได้ลมหายใจเข้าแห่งบุคคลผู้ถูกลมหายใจออกเข้าครอบงำ ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความหลงในการได้ลมหายใจออก แห่งบุคคลผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ
สติที่ไปตามลมหายใจออก ที่ไปตามลมหายใจเข้า ที่ฟุ้งซ่าน ในภายใน ที่ฟุ้งซ่านในภายนอก ความปรารถนาลมหายใจออก และความปรารถนาลมหายใจเข้า อุปกิเลส 6 ประการนี้ เป็น อันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติ อุปกิเลส เหล่านั้น ถ้าจิตของบุคคลผู้หวั่นไหว ย่อมเป็นเครื่องไม่ให้ หลุดพ้นไป และเป็นเหตุไม่ให้รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ ให้ถึงความ เชื่อต่อผู้อื่น ฉะนี้แล ฯ
ทุติยจฺฉกฺกํ
[367] เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิตฺ(th.r.104.418) [คือ กลุ่มกายปสาทะที่ลมกระทบอยู่] จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิเมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิตจิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออกนี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ
เมื่อคำนึงถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก เมื่อ คำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต เมื่อคำนึง ถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า เมื่อคำนึงถึงลม หายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต เมื่อคำนึงถึงลมหายใจ ออก ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า เมื่อคำนึงถึงลมหายใจ เข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก อุปกิเลส 6 ประการ นี้ เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติ อุปกิเลสเหล่านั้น ถ้าจิตของบุคคลผู้หวั่นไหว ย่อมเป็น เครื่องไม่ให้หลุดพ้นไป และเป็นเหตุไม่ให้รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ ให้ถึงความเชื่อต่อผู้อื่น ฉะนี้แล ฯ
ตติยจฺฉกฺกํ
จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ ถึงความฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่หดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่ถือจัด ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่รู้เกินไป ตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่ไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ
[368] จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ จิตที่ หดหู่ ที่ถือจัด ที่รู้เกินไป ที่ไม่รู้ ย่อมไม่ตั้งมั่น อุปกิเลส6 ประการนี้ เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานา ปาณสติ อุปกิเลสเหล่านั้นย่อมเป็นเหตุให้บุคคลผู้มีความ ดำริเศร้าหมอง ไม่รู้ชัดซึ่งอธิจิต ฉะนี้แล ฯ
[369] เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด แห่งลมหายใจออกกายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายใน เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายนอก กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความปรารถนา เพราะความพอใจลมหายใจออกเพราะความเที่ยวไปด้วยตัณหา กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรนเพราะความปรารถนา เพราะความพอใจลมหายใจเข้า เพราะความเที่ยวไปด้วยตัณหา กายและจิตย่อมมีความปรารถนา หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่พระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจออกครอบงำ เป็นผู้หลงใหลในการได้ลมหายใจเข้ากายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่พระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ เป็นผู้หลงใหลในการได้ลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงนิมิต กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจออกกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิตกายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงนิมิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า กวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจออก กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตแล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายความฟุ้งซ่าน กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตหวังถึงอนาคตารมณ์ ถึงความกวัดแกว่งกายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตหดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตถือตัว ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตรู้เกินไป ตกไปข้างฝ่ายกำหนัด กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท ฯ
ผู้ใดไม่บำเพ็ญ ไม่เจริญอานาปาณสติ กายและจิตของผู้นั้น ย่อมหวั่นไหว ดิ้นรน ผู้ใดบำเพ็ญ เจริญอานาปาณสติดี กายและจิตของผู้นั้น ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่ดิ้นรน ฉะนี้แล ฯ
ก็และเมื่อพระโยคาวจร ผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านั้น เจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติมีวัตถุ 16 ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะย่อมมีได้ อุปกิเลส 18 เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้น ฯ
โวทานญาณนิทฺเทโส
[370] ญาณในโวทาน 13 เป็นไฉน ฯ
จิตแล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่านพระโยคาวจรเว้นจิตนั้นเสีย ย่อมตั้งมั่นจิตนั้นไว้ในฐานหนึ่ง จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ จิตจำนงหวังอนาคตารมณ์ถึงความกวัดแกว่ง พระโยคาวจรเว้นจิตนั้นเสีย น้อมจิตนั้นไปในฐานะนั้นแล จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ จิตหดหู่ ตกไปข้างฝ่ายความเกียจคร้าน พระโยคาวจรประคองจิตนั้นไว้แล้ว ละความเกียจคร้าน จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ จิตถือจัด ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ พระโยคาวจรข่มจิตนั้นเสียแล้วละอุทธัจจะ จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ จิตรู้เกินไปตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด พระโยคาวจรผู้รู้ทันจิตนั้น ละความกำหนัดเสีย จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ จิตไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายความพยาบาท พระโยคาวจรเป็นผู้รู้ทันจิตนั้น ละความพยาบาทเสีย จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ จิตบริสุทธิ์ด้วยฐานะ 6 ประการนี้ ย่อมขาวผ่อง ถึงความเป็นธรรมอย่างเดียว ฯ
[371] ความเป็นธรรมอย่างเดียวเหล่านั้นเป็นไฉน ฯ
ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งการบริจาคทาน ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งสมถนิมิต ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งลักษณะความเสื่อมความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งนิโรธความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งการบริจาคทาน ของบุคคลผู้น้อมใจไปในจาคะทั้งหลาย ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งสมถนิมิตของบุคคลผู้หมั่นประกอบในอธิจิตทั้งหลาย ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งลักษณะความเสื่อม ของบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาทั้งหลาย และความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งนิโรธ ของพระอริยบุคคลทั้งหลาย จิตที่ถึงความเป็นธรรมอย่างเดียวในฐานะ 4 เหล่านี้ย่อมเป็นจิตที่มีปฏิปทาวิสุทธิผ่องใส เจริญงอกงามด้วยอุเบกขา และถึงความร่าเริงด้วยญาณ ฯ
[372] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ฯ
[373] ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งเบื้องต้นเท่าไร ฯ
ลักษณะแห่งเบื้องต้น 3 คือ จิตหมดจดจากอันตรายแห่งเบื้องต้นนั้น จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะเป็นจิตหมดจด จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย 1 จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตอันหมดจด 1 จิตแล่นไปในสมถนิมิตเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว 1 ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งเบื้องต้น 3 ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ
[374] ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งท่ามกลางเท่าไร ฯ
ลักษณะแห่งท่ามกลาง 3 คือ จิตหมดจดวางเฉยอยู่ จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ จิตหมดจดวางเฉยอยู่ 1 จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉย 1 จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ 1 ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งปฐมฌาน 3 ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ
[375] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งที่สุดเท่าไร ฯ
ลักษณะแห่งที่สุด 4 คือ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในปฐมฌานนั้นไม่ล่วงเกินกัน 1 ความร่าเริงด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน 1 ความร่าเริงด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกันและความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน 1 ความร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ 1 ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งที่สุด 4 ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานมีความงามในที่สุด และถึงพร้อมด้วยลักษณะ จิตอันถึง ความเป็นไป 3 ประการมีความงาม 3 อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ 10ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติสมาธิและถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
[376] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯ
ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป3 ประการ มีความงาม 3 อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ 10 ประการอย่างนี้ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิจาร ปีติ … และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
[377] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุด แห่งตติยฌาน ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป 3 ประการ มีความงาม อย่าง 3 ถึงพร้อมด้วยลักษณะ10 ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยปีติ สุข … และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
[378] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งจตุตถฌาน ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป 3 ประการ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ 10 ประการอย่างนี้ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยอุเบกขาการอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิและถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
[379] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติวิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป 3 ประการ มีความงาม 3 อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ 10 ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต ฯลฯ และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
[380] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอนิจจานุปัสนา ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป 3 ประการ มีความงาม 3 อย่าง อย่างนี้ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยลักษณะ 10ประการ ถึงพร้อมด้วยวิจาร … และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งทุกขานุปัสนา อนัตตานุปัสนานิพพิทานุปัสนา วิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนา ปฏินิสสัคคานุปัสนา ขยานุปัสนาวยานุปัสนา วิปริณามานุปัสนา อนิมิตตานุปัสนา อัปปณิหิตานุปัสนา สุญญตานุปัสนาอธิปัญญา ธรรมวิปัสนา ยถาภูตญาณทัสสนะอาทีนวานุปัสนา ปฏิสังขานุปัสนา วิวัฏฏนานุปัสนา โสดาปัตติมรรคสกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค ฯลฯ
[381] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ฯ
ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุด แห่งอรหัตมรรค ฯ
ความหมดจดแห่งปฏิปทา เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งเบื้องต้นเท่าไร ฯ
ลักษณะแห่งเบื้องต้น 3 ประการ คือ จิตหมดจดจากอันตรายแห่งเบื้องต้นนั้น จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจดจิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้นเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย 1จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด 1 จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว 1 ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งเบื้องต้น 3 ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรมมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ
[382] ความพอกพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งท่ามกลางเท่าไร ฯ
ลักษณะแห่งท่ามกลาง 4 คือ จิตหมดจดวางเฉยอยู่ 1 จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่ 1จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ 1 จิตหมดจดวางเฉยอยู่ 1 จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่ จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่นั้น ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรมมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ
[383] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งที่สุดเท่าไร ฯ
ลักษณะแห่งที่สุด 4 คือ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในอรหัตมรรคนั้นไม่ล่วงเกินกัน 1 ความร่าเริงด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน 1 ความร่าเริงด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน 1 ความร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ 1 ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรคลักษณะแห่งที่สุด 4 ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรมมีความงามในที่สุดและถึงพร้อมด้วยลักษณะ จิตอันถึงความเป็นไป 3 ประการมีความงาม 3 อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ 10 ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิและพร้อมด้วยปัญญา ฯ
นิมิต ลมอัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะไม่รู้ธรรม 3 ประการ จึงไม่ได้ภาวนา นิมิตลม อัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะ รู้ธรรม 3 ประการ จึงจะได้ภาวนา ฉะนี้แล ฯ
[384] ธรรม 3 ประการนี้ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เป็นธรรมไม่ปรากฏ จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษอย่างไร ฯ
เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้ ณ ภาคพื้นที่เรียบ บุรุษเอาเลื่อยเลื่อยต้นไม้นั้น สติของบุรุษย่อมเข้าไปตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งฟันเลื่อยซึ่งถูกที่ต้นไม้บุรุษนั้นไม่ได้ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป ฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไปไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษความเนื่องกันเป็นนิมิต เหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้ ณ ภาคพื้นที่เรียบ ลมอัสสาสปัสสาสะ เหมือนฟันเลื่อย ภิกษุนั่งตั้งสติไว้มั่นที่ปลายจมูกหรือที่ริมฝีปากไม่ได้ใส่ใจถึงลมอัสสาสปัสสาสะออกหรือเข้าลมอัสสาสปัสสาสะออกหรือเข้าจะไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จ และบรรลุถึงผลวิเศษ เหมือนบุรุษตั้งสติไว้ด้วยสามารถฟันเลื่อยอันถูกที่ต้นไม้เขาไม่ได้ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป ฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไปจะไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จ และบรรลุถึงผลวิเศษ ฉะนั้น ฯ
[385] ประธานเป็นไฉน แม้กาย แม้จิตของภิกษุผู้ปรารภความเพียร ย่อมควรแก่การงาน นี้เป็นประธาน ประโยคเป็นไฉน ภิกษุผู้ปรารภความเพียรย่อมละอุปกิเลสได้ วิตกย่อมสงบไป นี้เป็นประโยค ผลวิเศษเป็นไฉน ภิกษุผู้ปรารภความเพียรย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมถึงความพินาศไป นี้เป็นผลวิเศษก็ธรรม 3 ประการนี้ ย่อมไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียวอย่างนี้ และธรรม3 ประการนี้ไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ปรากฏเป็นประธานยังประโยคให้สำเร็จ และบรรลุถึงผลวิเศษ ฯ
[386] ภิกษุใด เจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ดีแล้ว อบรมแล้ว ตามลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ภิกษุนั้นย่อม ทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น ฯ
ลมอัสสาสะชื่อว่าอานะ ไม่ใช่ลมปัสสาสะ ลมปัสสาสะชื่ออปานะไม่ใช่ลมอัสสาสะ สติเข้าไปตั้งอยู่ด้วยสามารถลมอัสสาสปัสสาสะ ย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้หายใจออกและผู้หายใจเข้า ฯ
คำว่า ปริปุณฺณา ความว่า บริบูรณ์ ด้วยอรรถว่า ถือเอารอบ ด้วยอรรถว่ารวมไว้ด้วยอรรถว่าเต็มรอบ ฯ
ภาวนา ในคำว่า สุภาวิตา มี 4 คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสตินั้นไม่ล่วงเกินกัน 1 ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน 1 ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน 1 ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ 1 อรรถแห่งภาวนา 4 ประการนี้ เป็นอรรถอันภิกษุนั้นทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง น้อมไป อบรมแล้วปรารภเสมอดีแล้ว ฯ
คำว่า ยานีกตา ความว่า ภิกษุนั้นจำนงหวังในธรรมใดๆ ย่อมเป็นผู้ถึงความชำนาญถึงกำลัง ถึงความแกล้วกล้า ในธรรมนั้นๆ ธรรมเหล่านั้นของภิกษุนั้น เป็นธรรมเนื่องด้วยความคำนึง เนื่องด้วยความหวัง เนื่องด้วยมนสิการเนื่องด้วยจิตตุปบาท เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าทำให้เป็นดังยาน ฯ
คำว่า วตฺถุกตา ความว่า จิตย่อมมั่นคงดีในวัตถุใดๆ สติย่อมปรากฏดีในวัตถุนั้นๆก็หรือว่าสติย่อมปรากฏดีในวัตถุใดๆ จิตย่อมมั่นคงดีในวัตถุนั้นๆเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าทำให้เป็นที่ตั้ง ฯ
คำว่า อนุฏฺฐิตา ความว่า จิตน้อมไปด้วยอาการใดๆ สติก็หมุนไปตาม(คุมอยู่) ด้วยอาการนั้นๆ ก็หรือว่าสติหมุนไปด้วยอาการใดๆ จิตก็น้อมไปด้วยอาการนั้นๆ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า น้อมไป ฯ
คำว่า ปริจิตา ความว่า อบรม ด้วยอรรถว่าถือเอารอบ ด้วยอรรถว่ารวมไว้ ด้วยอรรถว่าเต็มรอบ ภิกษุกำหนดถือเอาด้วยสติ ย่อมชำนะอกุศลธรรมอันลามกได้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อบรม ฯ
คำว่า สุสมารทฺธา ความว่า ธรรม 4 อย่างภิกษุปรารภดีแล้ว คือปรารภดีด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสตินั้นไม่ล่วงเกินกัน 1 ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน 1 ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน 1 เพราะเพิกถอนกิเลสทั้งหลายซึ่งเป็นข้าศึกแก่ธรรมนั้น 1 ฯ
คำว่า สุสม ความว่า ความเสมอก็มี ความเสมอดีก็มี ความเสมอเป็นไฉน กุศลทั้งหลายอันไม่มีโทษ เกิดในธรรมนั้นเป็นฝักใฝ่แห่งความตรัสรู้นี้เป็นความเสมอ ความเสมอดีเป็นไฉน ความดับอารมณ์แห่งธรรมเหล่านั้นเป็นนิพพาน นี้เป็นความเสมอดี ก็ความเสมอและความเสมอดีนี้ดังนี้ ภิกษุนั้นรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ความเพียรภิกษุนั้นปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน สติตั้งมั่น ไม่หลงลืม กายสงบปรารภแล้วจิตเป็นสมาธิมีอารมณ์เดียว เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปรารภแล้วเสมอดี ฯ
คำว่า อนปุพฺพํ ปริจิตา ความว่า ภิกษุนั้นอบรมอานาปานสติข้างต้นๆด้วยสามารถลมหายใจออกยาว อบรมอานาปานสติข้างหลังๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้างต้นๆ ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว ก็อบรมอานาปานสติข้างหลังๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้างต้นๆด้วยสามารถลมหายใจออกสั้นก็อบรมอานาปานสติข้างหลังๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้างต้นๆ ด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้น ก็อบรมอานาปานสติข้างหลังๆ ตามลำดับ ฯลฯ อบรมอานาปานสติข้างต้นๆ ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออกก็อบรมอานาปานสติข้างหลังๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้างต้นๆ ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ก็อบรมอานาปานสติข้างหลังๆตามลำดับ อานาปานสติมีวัตถุ 16 แม้ทั้งปวงอาศัยกันภิกษุนั้นอบรมแล้ว และอบรมตามลำดับแล้ว เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวอบรมแล้วตามลำดับ ฯ
คำว่า ยถา ความว่า อรรถแห่งยถาศัพท์มี 10 คือ ความฝึกตน 1 ความสงบตน 1 ความยังตนให้ปรินิพพาน 1 ความรู้ยิ่ง 1 ความกำหนดรู้ 1 ความละ 1 ความเจริญ 1 ความทำให้แจ้ง 1 ความตรัสรู้สัจจะ 1 ความยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธ 1 ฯ
คำว่า พุทฺโธ ความว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดเป็นสยัมภูไม่มีอาจารย์ ตรัสรู้สัจจะทั้งหลายเองในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้สดับมาแต่กาลก่อน ทรงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมนั้นและทรงถึงความเป็นผู้มีความเป็นผู้มีความชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย ฯ
คำว่า พุทฺโธ ความว่า พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าพุทธะเพราะอรรถว่ากระไร ฯ
พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าพุทธะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้สัจจะทั้งหลายเพราะอรรถว่าทรงสอนให้หมู่สัตว์ตรัสรู้ เพราะความเป็นพระสัพพัญญู เพราะความที่พระองค์ทรงเห็นธรรมทั้งปวงเพราะความที่พระองค์มีเนยยบทไม่เป็นอย่างอื่น เพราะความเป็นผู้มีพระสติไพบูลย์ เพราะนับว่าพระองค์สิ้นอาสวะ เพราะนับว่าพระองค์ไม่มีอุปกิเลส เพราะอรรถว่า ทรงปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า ทรงปราศจากโทสะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า ทรงปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า พระองค์ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่าพระองค์เสด็จไปแล้วสู่หนทางที่ไปแห่งบุคคลผู้เดียว เพราะอรรถว่า ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณพระองค์เดียว เพราะทรงกำจัดเสียซึ่งความไม่มีปัญญาเพราะทรงได้ซึ่งพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ ฯ
พระนามว่า พุทฺโธ นี้ พระมารดา พระบิดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณะ พราหมณ์ เทวดา มิได้แต่งตั้งให้เลย พระนามว่า พุทฺโธ นี้เป็นวิโมกขันติกนาม พระนามที่เกิดในที่สุดแห่งอรหัตผล แห่งพระผู้มีพระภาคตรัสรู้แล้ว พระนามว่า พุทฺโธ นี้เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เกิดขึ้นพร้อมกับการทรงได้สัพพัญญุตญาณ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ ฯ
คำว่า ทรงแสดงแล้ว ความว่า ความฝึกตน มียถาศัพท์เป็นอรรถ เหมือนบุคคลเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ฝึกตนแล้ว พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ฉะนั้น ความสงบตน …ความยังตนให้ปรินิพพาน ฯลฯความยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธ มียถาศัพท์เป็นอรรถ เหมือนบุคคลเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธแล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงแล้ว ฉะนั้น ฯ
คำว่า โลโก ได้แก่ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วปัตติภวโลก วิปัตติสัมภวโลกสัมปัตติภวโลก สัมปัตติสัมภวโลก โลก 1 คือ สัตว์ทั้งปวงตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร ฯลฯ โลก 18คือ ธาตุ 18 ฯ
คำว่า ย่อมให้สว่างไสว ความว่า ภิกษุนั้น ย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสวแจ่มใส เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งความฝึกตน ความสงบตน ความยังตนให้ปรินิพพาน ฯลฯ ความยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธ ซึ่งมียถาศัพท์เป็นอรรถทุกประการ ฯ
คำว่า เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ความว่า กิเลสเหมือนหมอก อริยญาณเหมือนดวงจันทร์ ภิกษุเหมือนจันทเทพบุตร ภิกษุพ้นจากกิเลสทั้งปวงแล้วย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสวเปล่งปลั่ง และไพโรจน์ เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอกพ้นจากควันและธุลีในแผ่นดิน พ้นจากฝ่ามือราหู ยังโอกาสโลกให้สว่างไสวเปล่งปลั่ง และไพโรจน์ ฉะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ญาณในโวทาน 13 ประการนี้ ฯ
จบภาณวาร
สโตการิญาณนิทฺเทโส
อุทฺเทโส
[387] ญาณในความทำสติ 32 เป็นไฉน ฯ
อานาปานัสสติ อย่างไร คือ ภิกษุตามเห็นกายในกายอยู่? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนปลอดคนก็ดี นั่งแล้ว คู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ตั้งสติไว้แค่ลมหายใจ ภิกษุนั้นมีมีสติหายใจออก เป็นผู้มีสติหายใจเข้าอยู่
- เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ลมชัดเจนว่า เราหายใจออกยาว (ที่ปลายจมูก)
- เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ลมชัดเจนว่า เราหายใจเข้ายาว (ที่ปลายจมูก)
- เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ลมชัดเจนว่า เราหายใจออกสั้น (ที่ปลายจมูก)
- เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ลมชัดเจนว่า เราหายใจเข้าสั้น (ที่ปลายจมูก)
- ฝึกอยู่ว่า เราจักรู้สึกลมหายใจทั้งสาย ขณะหายใจออก (ที่ปลายจมูก)
- ฝึกอยู่ว่า เราจักรู้สึกลมหายใจทั้งสาย ขณะหายใจเข้า (ที่ปลายจมูก)
- ฝึกอยู่ว่า เราจักหายใจออก ด้วยลมหายใจที่เบาลงๆ (แต่ยังหายใจอยู่)
- ฝึกอยู่ว่า เราจักหายใจเข้า ด้วยลมหายใจที่เบาลงๆ (แต่ยังหายใจอยู่)
- ฝึกอยู่ว่า เราจักรู้สึกปีติ ขณะหายใจออก
- ฝึกอยู่ว่า เราจักรู้สึกปีติ ขณะหายใจเข้า
- ฝึกอยู่ว่า เราจักรู้สึกสุข ขณะหายใจออก
- ฝึกอยู่ว่า เราจักรู้สึกสุข ขณะหายใจเข้า
- ฝึกอยู่ว่า เราจักรู้สึกจิตสังขาร ขณะหายใจออก
- ฝึกอยู่ว่า เราจักรู้สึกจิตสังขาร ขณะหายใจเข้า
- ฝึกอยู่ว่า เราจักหายใจออก ด้วยจิตตสังขารที่เบาลงๆ
- ฝึกอยู่ว่า เราจักหายใจเข้า ด้วยจิตตสังขารที่เบาลงๆ
- ฝึกอยู่ว่า เราจักรู้แจ้งจิตหายใจออก
- ฝึกอยู่ว่า เราจักรู้แจ้งจิตหายใจเข้า
- ฝึกอยู่ว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก
- ฝึกอยู่ว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า
- ฝึกอยู่ว่า เราจักตั้งจิตไว้หายใจออก
- ฝึกอยู่ว่า เราจักตั้งจิตไว้หายใจเข้า
- ฝึกอยู่ว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจออก
- ฝึกอยู่ว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า
- ฝึกอยู่ว่า เราจักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจออก
- ฝึกอยู่ว่า เราจักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า
- ฝึกอยู่ว่า เราจักพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจออก
- ฝึกอยู่ว่า เราจักพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจเข้า
- ฝึกอยู่ว่า เราจักพิจารณาเห็นความดับหายใจออก
- ฝึกอยู่ว่า เราจักพิจารณาเห็นความดับหายใจเข้า
- ฝึกอยู่ว่า เราจักพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก
- ฝึกอยู่ว่า เราจักพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ฯ
(อธิบายคำแปล:
- เรือนว่าง > เรือนปลอดคน เพราะข้อต่อไปแสดงว่า สุญฺญนฺติ เกนจิ อนากิณฺณํ โหติ คหฏฺเฐหิ วา ปพฺพชิเตหิ วาฯ
- ปลฺลงฺกํ > อูรุพทฺธาสนนฺติ อูรูนมโธพนฺธนวเสน นิสชฺชาฯ เหฏฺฐิมกายสฺส อนุชุกํ ฐปนํ นิสชฺชาวจเนเนว โพธิตนฺติฯ
- ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า > ดำรงสติไว้ที่การกำหนดแยก เพราะข้อต่อไปแสดงว่า ปรีติ ปริคฺคหฏฺโฐฯ มุขนฺติ นิยฺยานฏฺโฐฯ
- ที่ปลายจมูก > นาสิกคฺเค
- รู้ลมชัดเจน > เข้าใจแง่มุมต่างๆ คือ รู้ลมเข้า/ออก/ยาว/สั้น รู้ลมไม่ขาดช่วง รู้ลมเบาลงๆ > ปชานาติ > ปชญฺญ เข้าใจแง่มุมต่างๆ คือ ลมหายใจเข้า+ลมหายใจออก+ลมหายใจสั้น+ลมหายใจยาว ตอนท้ายแสดงว่า ปชานนฏฺเฐน ปญฺญา, อ. ปการโต ชานนํ ปญฺญา.
- ทำกายสังขารให้เบาลงๆ (ยังหายใจอยู่) > เพราะผู้ที่ลมหายแล้วสติไม่อยู่กับนิมิตลม แสดงว่าไม่ใช่ลมหายในจตุตถฌาน เพราะลมหายในจตุตถฌาน ไม่มีลมหายใจเข้าออกก็จริง แต่จิตรู้นิมิตบัญญัติลมหายใจอยู่. ผู้ปฏิบัติใหม่ๆ ลมจึงควรต้องเบาลงแต่ไม่หายไป.)
นิทฺเทโส
ปริกมฺมนิทฺเทโส
[388] คำว่า อิธ ความว่า ในทิฐินี้ ในความควรนี้ ในความชอบใจนี้ ในเขตนี้ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในธรรมวินัยนี้ ในปาพจน์นี้ ในพรหมจรรย์นี้ ในสัตถุศาสน์นี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ในธรรมวินัยนี้ ฯ
คำว่า ภิกฺขุ ความว่า ภิกษุเป็นกัลยาณปุถุชนก็ตาม เป็นพระเสขะก็ตาม เป็นพระอรหันต์ผู้มีธรรมไม่กำเริบก็ตาม ฯ
คำว่า อรญฺญํ ความว่า สถานที่ทุกแห่งนอกเสาเขื่อนไป สถานที่นั้นเป็นป่า ฯ
คำว่า รุกฺขมูลํ ความว่า อาสนะของภิกษุซึ่งจัดไว้ที่โคนไม้นั้น คือเตียง ตั่ง ฟูกเสื่อ ท่อนหนัง เครื่องลาดทำด้วยหญ้า เครื่องลาดทำด้วยใบไม้หรือเครื่องลาดทำด้วยฟางภิกษุ เดิน ยืน นั่ง หรือนอนที่อาสนะนั้น ฯ
คำว่า สุญฺญํ ความว่า เป็นสถานที่ไม่เกลื่อนกล่นด้วยใครๆเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ฯ
คำว่า อาคารํ คือ วิหาร โรงมีหลังคาครึ่งหนึ่ง ปราสาทเรือนโล้น ถ้ำ ฯ
คำว่า นิสีทติ ปลฺลงฺกํ อาภุชิตฺวา ความว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงคือ กายเป็นกายอันภิกษุนั้นตั้งวางไว้ตรง ฯ
ศัพท์ว่า ปริ ในคำว่า ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา มีความกำหนดถือ เอาเป็นอรรถศัพท์ว่า มุขํ มีความนำออกเป็นอรรถ ศัพท์ว่า สติ มีความเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ตั้งสติไว้เฉพาะหน้า ฯ
[389] คำว่า เป็นผู้มีสติหายใจออก ความว่า ภิกษุอบรมสติโดยอาการ 32 คือภิกษุเป็นผู้ตั้งสติมั่นเพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถลมหายใจออกยาว ชื่อว่าเป็นผู้อบรมสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้นเป็นผู้ตั้งสติไว้มั่น เพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว … เป็นผู้ตั้งสติไว้มั่นเพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถลมหายใจออกสั้น … เป็นผู้ตั้งสติไว้มั่น เพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้น ชื่อว่าเป็นผู้อบรมสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เป็นผู้ตั้งสติไว้มั่นเพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก … เป็นผู้ตั้งสติไว้มั่นเพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก … เป็นผู้ตั้งสติไว้มั่นเพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออกชื่อว่าเป็นผู้อบรมสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯ
ปฐมจตุกฺกนิทฺเทโส
[390] ภิกษุเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ว่า หายใจเข้ายาว อย่างไร ฯ
ภิกษุเมื่อหายใจออกยาว ย่อมหายใจออกในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจออก หายใจเข้ายาว ย่อมหายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว ฉันทะย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาว หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับยาวเมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว ความปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุเมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถ ความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกบ้างหายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาวจิตของภิกษุผู้เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว ย่อมหลีกออกจากการหายใจออกหายใจเข้ายาว อุเบกขาย่อมตั้งอยู่ กายคือ ลมหายใจออกลมหายใจเข้ายาวด้วยอาการ 9 อย่างนี้ ย่อมปรากฏ สติเป็นอนุปัสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่าสติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ
[391] คำว่า อนุปสฺสติ ความว่า ภิกษุพิจารณากายนั้นอย่างไร ฯ
พิจารณาโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาโดยความเที่ยง พิจารณาโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาโดยความเป็นสุข พิจารณาโดยความเป็นอนัตตาไม่พิจารณาโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัดไม่กำหนัด ย่อมให้ราคะดับไป ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้ราคะดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณากายนั้นอย่างนี้ ฯ
[392] ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 คือ ภาวนาด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน 1 ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน 1 ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกันและความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน 1 ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ 1 เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกลมหายใจเข้ายาว เวทนาจึงปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปสัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปวิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป ฯ
[393] เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับ อย่างไร ฯ
ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างไร ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยเกิดว่า เพราะอวิชชาเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะตัณหาเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะกรรมเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะเกิดเวทนาจึงเกิด แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความเกิด ความเกิดแห่งเวทนาก็ย่อมปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้ ฯ
ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความว่างเปล่าย่อมปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้ ฯ
ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างไร ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยดับว่า เพราะอวิชชาดับเวทนาจึงดับ เพราะตัณหาดับเวทนาจึงดับ เพราะกรรมดับเวทนาจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะความแปรปรวน ความดับไปแห่งเวทนาก็ย่อมปรากฏความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้นปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป อย่างนี้ ฯ
[394] สัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับ อย่างไร ฯ
ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างไร ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยเกิดว่า เพราะอวิชชาเกิดสัญญาจึงเกิด … ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้ ฯ
ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อมปรากฏ … ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้ ฯ
ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างไร ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยดับว่า เพราะอวิชชาดับสัญญาจึงดับ … ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้สัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป อย่างนี้ ฯ
[395] วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป อย่างไร ฯ
ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างไร ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยเกิดว่า เพราะอวิชชาเกิดวิตกจึงเกิด เพราะตัณหาเกิดวิตกจึงเกิด เพราะกรรมเกิดวิตกจึงเกิด แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะความเกิด ความเกิดขึ้นแห่งวิตกก็ย่อมปรากฏ อย่างนี้ ฯ
ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความว่างเปล่าย่อมปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างนี้ ฯ
ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างไร ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยดับว่า เพราะอวิชชาดับวิตกจึงดับ เพราะตัณหาดับวิตกจึงดับ เพราะกรรมดับวิตกจึงดับ เพราะสัญญาดับวิตกจึงดับ แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะความแปรปรวน ความดับไปแห่งวิตกก็ย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างนี้ วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป อย่างนี้ ฯ
[396] บุคคลรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกลมหายใจเข้ายาว ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง รู้จักโคจรและแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ฯลฯ ย่อมให้ธรรมทั้งหลายประชุมกันรู้จักโคจรและแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
คำว่า ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ความว่า บุคคลย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลงอย่างไร ฯ
บุคคลย่อมยังสัทธินทรีย์ ให้ประชุม ลงด้วย ความน้อมใจเชื่อ ยังวิริยินทรีย์ให้ประชุมลงด้วยความประคองไว้ ยังสตินทรีย์ให้ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้ยังสมาธินทรีย์ให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ยังปัญญินทรีย์ให้ประชุมลงด้วยความเห็น บุคคลนี้ยังอินทรีย์เหล่านี้ให้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ฯ
คำว่า รู้จักโคจร ความว่า รู้จักอารมณ์แห่งธรรมนั้นว่าเป็นโคจรแห่งธรรมนั้น รู้จักโคจรแห่งธรรมนั้นว่าเป็นอารมณ์แห่งธรรมนั้น บุคคล ความรู้ปัญญา ฯ
คำว่า สงบ ความว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นความสงบ จิตตั้งมั่นเป็นความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ ฯ
คำว่า ประโยชน์ ความว่า ธรรมอันไม่มีโทษเป็นประโยชน์ ธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นประโยชน์ ธรรมอันมีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ ธรรมอันประเสริฐเป็นประโยชน์ ฯ
คำว่า แทงตลอด ความว่า แทงตลอดความที่อารมณ์ปรากฏ แทงตลอดความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน แทงตลอดความที่จิตตั้งมั่น แทงตลอดความที่จิตผ่องแผ้วเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าและแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
[397] คำว่า ย่อมให้พละทั้งหลายประชุมลง ความว่า ย่อมให้พละทั้งหลายประชุมลงอย่างไร ฯ
บุคคลย่อม ยังสัทธาพละให้ประชุมลง ด้วยความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา ยังวิริยพละให้ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหวไปในความประมาท ยังสมาธิพละให้ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ยังปัญญาพละให้ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา บุคคลนี้ย่อมยังพละเหล่านี้ให้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังพละทั้งหลายให้ประชุมลง ฯ
คำว่า รู้จักโคจร ฯลฯ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
[398] คำว่า ย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุม ความว่า บุคคลย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลงได้อย่างไร ฯ
บุคคลย่อมยังสติสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้ ยังธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความเลือกเฟ้น ยังวิริยสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความประคองไว้ ยังปีติสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความแผ่ซ่านไป ยังปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความสงบยังสมาธิสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ยังอุเบกขาสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความวางเฉยบุคคลนี้ย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลงในอารมณ์ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลง ฯ
คำว่า รู้โคจร ฯลฯ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
[399] คำว่า ย่อมยังมรรคให้ประชุมลง ความว่า บุคคลย่อมยังมรรคให้ประชุมลงอย่างไร ฯ
บุคคลย่อมยังสัมมาทิฐิให้ประชุมลงด้วยความเห็น ยังสัมมาสังกัปปะให้ประชุมลงด้วยความดำริ ยังสัมมาวาจาให้ประชุมลงด้วยความแน่นอน ยังสัมมากัมมันตะให้ประชุมลงด้วยความที่เกิดขึ้นดี ยังสัมมาอาชีวะให้ประชุมลงด้วยความผ่องแผ้ว ยังสัมมาวายามะให้ประชุมลงด้วยความประคองไว้ ยังสัมมาสติให้ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้ ยังสัมมาสมาธิให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่านบุคคลนี้ย่อมยังมรรคนี้ให้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่าย่อมยังมรรคให้ประชุมลง ฯ
คำว่า รู้จักโคจร ฯลฯ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
[400] คำว่า ย่อมยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลง ความว่า บุคคลย่อมยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลง อย่างไร ฯ
บุคคลย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลงด้วยความเป็นใหญ่ ยังพละทั้งหลายให้ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหว ยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลงด้วยความเป็นธรรมเครื่องนำออก ยังมรรคให้ประชุมลงด้วยความเป็นเหตุ ยังสติปัฏฐานให้ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้ ยังสัมมัปปธานให้ประชุมลงด้วยความเริ่มตั้ง ยังอิทธิบาทให้ประชุมลงด้วยความให้สำเร็จ ยังสัจจะให้ประชุมลงด้วยความถ่องแท้ ยังสมถะให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ยังวิปัสสนาให้ประชุมลงด้วยความพิจารณาเห็น ยังสมถะและวิปัสสนาให้ประชุมลงด้วยความมีกิจเป็นอันเดียวกัน ยังธรรมเป็นคู่กันให้ประชุมลงด้วยความไม่ล่วงเกินกัน ยังสีลวิสุทธิให้ประชุมลงด้วยความสำรวม ยังจิตวิสุทธิให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ยังทิฐิวิสุทธิให้ประชุมลงด้วยความเห็น ยังวิโมกข์ให้ประชุมลงด้วยความหลุดพ้น ยังวิชชาให้ประชุมลงด้วยความแทงตลอด ยังวิมุตติให้ประชุมลงด้วยความสละรอบ ยังญาณในความสิ้นไปให้ประชุมลงด้วยความตัดขาด ยังญาณในความไม่เกิดขึ้นให้ประชุมลงด้วยความเห็นเฉพาะ ยังฉันทะให้ประชุมลงด้วยความเป็นมูลเหตุยังมนสิการให้ประชุมลงด้วยความเป็นสมุฏฐาน ยังผัสสะให้ประชุมลงด้วยความประสบ ยังเวทนาให้ประชุมลงด้วยความรู้สึก ยังสมาธิให้ประชุมลงด้วยความเป็นประธาน ยังสติให้ประชุมลงด้วยความเป็นใหญ่ ยังสติสัมปชัญญะให้ประชุมลงด้วยความเป็นธรรมที่ยิ่งกว่านั้น ยังวิมุตติให้ประชุมลงด้วยความเป็นสาระยังนิพพานอันหยั่งลงในอมตะให้ประชุมลงด้วยความเป็นที่สุด บุคคลนี้ย่อมยังธรรมเหล่านี้ให้ประชุมลงในอารมณ์นี้เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลง ฯ
คำว่า รู้จักโคจร ความว่า รู้จักอารมณ์แห่งธรรมนั้นว่าเป็นโคจรแห่งธรรมนั้น รู้จักโคจรแห่งธรรมนั้นว่าเป็นอารมณ์แห่งธรรมนั้น บุคคล ความรู้ปัญญา ฯ
คำว่า สงบ ความว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นความสงบ จิตตั้งมั่นเป็นความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ ฯ
คำว่า ประโยชน์ ความว่า ธรรมอันไม่มีโทษเป็นประโยชน์ ธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นประโยชน์ ธรรมอันมีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ ธรรมอันประเสริฐเป็นประโยชน์ ฯ
คำว่า แทงตลอด ความว่า แทงตลอดความที่อารมณ์ปรากฏ แทงตลอดความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน แทงตลอดความที่จิตตั้งมั่น แทงตลอดความที่จิตผ่องแผ้ว เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าและแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
[401] บุคคลเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ว่า หายใจเข้าสั้น อย่างไร ฯ
บุคคลเมื่อหายใจออกสั้น ย่อมหายใจออกในขณะที่นับได้นิดหน่อยเมื่อหายใจเข้าสั้นย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจออกหายใจเข้าสั้น ย่อมหายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย ฉันทะย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้เมื่อหายใจออกหายใจเข้าสั้น หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจออกหายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะย่อมหายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะนับได้นิดหน่อย ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้หายใจออกหายใจเข้าละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจออกหายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกบ้างหายใจเข้าบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย จิตของภิกษุผู้เมื่อหายใจออกหายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อยย่อมหลีกไปจากลมอัสสาสะปัสสาสะสั้น อุเบกขาย่อมตั้งอยู่ กาย คือ ลมหายใจออกหายใจเข้าสั้นด้วยอาการ 9 เหล่านี้ปรากฏ สติเป็นอนุปัสนาญาณ กายปรากฏ มิใช่สติ สติปรากฏด้วยเป็นตัวสติด้วย บุคคลพิจารณากายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่าสติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณากายในกาย ฯ
[402] คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า บุคคลย่อมพิจารณากายนั้นอย่างไร ฯลฯพิจารณากายนั้นอย่างนี้ ฯ
ภาวนาในคำว่า ภาวนา มี 4 ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้น เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ บุคคลรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกลมหายใจเข้าสั้น ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ฯลฯเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และย่อมแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
[403] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้าอย่างไร ฯ
กาย ในคำว่า กาโย มี 2 คือ นามกาย 1 รูปกาย 1 นามกายเป็นไฉน เวทนาสัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นนามด้วย เป็นนามกายด้วย และท่านกล่าวจิตสังขารว่านี้เป็นนามกาย รูปกายเป็นไฉน มหาภูตรูป 4 รูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 ลมอัสสาสะปัสสาสะนิมิตร และท่านกล่าวว่ากายสังขารที่เนื่องกัน นี้เป็นรูปกาย ฯ
[404] กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ อย่างไร ฯ
เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้นเมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกสั้น … เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้น … เมื่อคำนึงถึงกายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ … เมื่อเห็น …เมื่อพิจารณา … เมื่ออธิษฐานจิต …เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา … เมื่อประคองความเพียร … เมื่อตั้งสติไว้มั่น …เมื่อตั้งจิตมั่น … เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง … เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ …เมื่อละธรรมที่ควรละ … เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ … เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ กายคือ ความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออกหายใจเข้าปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วยเป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณากายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่าสติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ
[405] คำว่า ย่อมพิจารณา ฯลฯ สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงระวังลมหายใจออกลมหายใจเข้า จิตวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าเห็นความระวังในสีลวิสุทธินั้นเป็นอธิสีลสิกขาความไม่ฟุ้งซ่านในจิตวิสุทธินั้นเป็นอธิจิตตสิกขา ความเห็นในทิฐิวิสุทธินั้นเป็นอธิปัญญาสิกขา บุคคลคำนึงถึงสิกขา 3 ประการนี้ศึกษาอยู่รู้ศึกษา เห็นศึกษาพิจารณาศึกษา อธิษฐานศึกษา น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาศึกษา ประคองความเพียรศึกษา ดำรงสติไว้มั่นศึกษา ตั้งจิตมั่นศึกษา รู้ชัดด้วยปัญญาศึกษา รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งศึกษา กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ศึกษา ละธรรมที่ควรละศึกษา เจริญธรรมที่ควรเจริญศึกษา ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งศึกษาเมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออกหายใจเข้า เวทนาย่อมเกิดปรากฏ ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออกหายใจเข้า ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
[406] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า อย่างไร ฯ
กายสังขารเป็นไฉน ลมหายใจออกยาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกายเป็นกายสังขาร ลมหายใจเข้ายาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขารบุคคลระงับ คือ ดับ สงบกายสังขารเหล่านั้นศึกษาอยู่ ลมหายใจออกสั้น ลมหายใจเข้าสั้น ลมที่บุคคลรู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกายเป็นกายสังขาร บุคคลระงับ คือ ดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น ศึกษาอยู่ ความอ่อนไปความน้อมไปความเอนไป ความโอนไป ความหวั่นไหว ความดิ้นรน ความโยก ความโคลงแห่งกาย มีอยู่ เพราะกายสังขารเห็นปานใด บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ความไม่อ่อนไปความไม่น้อมไป ความไม่เอนไป ความไม่โอนไป ความไม่หวั่นไหว ความไม่ดิ้นรน ความไม่โยก ความไม่โคลง แห่งกาย มีอยู่เพราะกายสังขารเห็นปานใด บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุขุมหายใจออก ศึกษาอยู่ว่าจักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุขุมหายใจเข้า ได้ทราบมาดังนี้ว่า บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ไม่ปรากฏ ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ไม่ปรากฏ อานาปาณสติก็ไม่ปรากฏ อานาปาณสติสมาธิก็ไม่ปรากฏและบัณฑิตทั้งหลายแม้จะเข้าแม้จะออกสมาบัตินั้นก็หามิได้ ได้ทราบมาดังนี้ว่า บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้าเมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ปรากฏ อานาปาณสติก็ปรากฏ อานาปาณสติสมาธิก็ปรากฏและบัณฑิตทั้งหลายย่อมเข้าและย่อมออกสมาบัตินั้น ข้อนั้นเหมือนอะไร เหมือนเมื่อบุคคลตีกังสดาลเสียงดังย่อมเป็นไปก่อนตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งเสียงดัง เมื่อเสียงดังค่อยลง ต่อมาเสียงค่อยก็เป็นไปภายหลังตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งเสียงค่อย และเมื่อเสียงค่อยดับลง ต่อมาจิตย่อมเป็นไปในภายหลัง แม้เพราะนิมิตแห่งเสียงค่อยเป็นอารมณ์ ข้อนี้ก็เหมือนกันฉะนั้น ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่หยาบ ย่อมเป็นไปก่อนตามที่หมาย นึกทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่หยาบ เมื่อลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่หยาบเบาลง ต่อมาลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่ละเอียด ย่อมเป็นไปในภายหลังตามที่หมายนึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่ละเอียด และเมื่อลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่ละเอียดเบาลงอีก ต่อมาจิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านในภายหลัง แม้เพราะความที่นิมิตแห่งลมหายใจออกลมหายใจเข้าที่ละเอียดเป็นอารมณ์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ปรากฏ อานาปานสติก็ปรากฏ อานาปานสติสมาธิก็ปรากฏ และบัณฑิตทั้งหลายย่อมเข้าและออกสมาบัตินั้นๆ กายคือความที่บุคคลระงับกายสังขารหายใจออกหายใจเข้าปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติสติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณากายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ
[407] คำว่า พิจารณา ความว่า บุคคลย่อมพิจารณากายนั้นอย่างไร ฯลฯย่อมพิจารณากายนั้นอย่างนี้ ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพสีลวิสุทธิด้วยอรรถว่าความเป็นผู้ระงับ กายสังขารระวังลมหายใจออก ลมหายใจเข้าจิตตวิสุทธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่านทิฐิวิสุทธิด้วยอรรถว่าเห็น ความระวังในศีลวิสุทธินั้น เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตตวิสุทธินั้น เป็นอธิจิตตสิกขาความเห็นในทิฐิวิสุทธินั้น เป็นอธิปัญญาสิกขา บุคคลเมื่อคำนึงถึงสิกขา3 ประการนี้ศึกษาอยู่ ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งศึกษาอยู่ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออกหายใจเข้า เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออกหายใจเข้าย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าและแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์อนุปัสสนาญาน [ญาณในการพิจารณา] 8อุปัฏฐานานุสสติ [อนุสสติที่ปรากฏ] 8 และสัตตันติกวัตถุ[เรื่องอันมีมาในพระสูตร] ในการพิจารณากายในกาย 4 ฯ
จบภาณวาร
ทุติยจตุกฺกนิทฺเทโส
[408] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งปีติหายใจออก ย่อมศึกษาว่าจักรู้แจ้งปีติหายใจเข้าอย่างไร ฯ
ปีติเป็นไฉน เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกสั้นด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้น ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออกด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ปีติและปราโมทย์ คือ ความเบิกบาน ความบันเทิงความหรรษา ความรื่นเริงแห่งจิต ความปลื้มจิต ความดีใจ ปีตินี้ย่อมปรากฏเมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาวสติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่นปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกสั้นด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้นด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า สติย่อมตั้งมั่น ปีติย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อคำนึงถึง ปีตินั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ … เมื่อเห็นเมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียรเมื่อเข้าไปตั้งสติไว้ เมื่อจิตตั้งมั่น เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ปีตินั้นย่อมปรากฏ เวทนาด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งปีติหายใจออกหายใจเข้าอย่างนี้นั้นปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วยบุคคลย่อมพิจารณาเวทนานั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯ
คำว่า พิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างไร ฯลฯ ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างนี้ ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความรู้แจ้งปีติระวังลมหายใจออกลมหายใจเข้า ฯลฯเมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งปีติหายใจออกหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
[409] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งสุขหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า อย่างไร ฯ
สุข ในคำว่า สุขํ มี 2 คือ กายิกสุข 1 เจตสิกสุข 1 ฯ
กายิกสุขเป็นไฉน ความสำราญทางกาย ความสุขที่ได้เสวยทางกาย สุขเวทนาซึ่งเป็นความสำราญเกิดแก่กายสัมผัสนี้เป็นกายิกสุข ฯ
เจตสิกสุขเป็นไฉน ความสุขทางจิต ความสุขที่ได้เสวยเป็นความสำราญเกิดแต่เจโตสัมผัส สุขเวทนาซึ่งเป็นความสำราญเกิดแต่เจโตสัมผัสนี้เป็นเจตสิกสุข ฯ
สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างไร เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯเมื่อทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏ สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างนี้ ฯ
เวทนา ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจออกหายใจเข้า ปรากฏสติเป็นอนุปัสสนาญาณ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาเวทนานั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯ
คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาเวทนาอย่างไร ย่อมพิจารณาโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างนี้ ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่ารู้แจ้งสุขระงับลมหายใจออกลมหายใจเข้า ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจออกหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นอรรถ ฯ
[410] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจเข้า อย่างไร ฯ
จิตตสังขารเป็นไฉน สัญญาและเวทนาด้วยสามารถลมหายใจออกยาว เป็นเจตสิกธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร สัญญาและเวทนาด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขารฯลฯ สัญญาและเวทนาด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจออก ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจเข้า เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร นี้เป็นจิตตสังขาร ฯ
จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างไร ฯ
เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏ จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างนี้ ฯ
เวทนา ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตตสังขารหายใจออกหายใจเข้า ปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วยเป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาเวทนานั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ พิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯ
คำว่า พิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างไร ย่อมพิจารณาโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างนี้ ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพสีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่ารู้แจ้งจิตตสังขารระวังลมหายใจออกลมหายใจเข้า ฯลฯเมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตตสังขารหายใจออกหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลงเพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
[411] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขารหายใจเข้า อย่างไร ฯ
จิตตสังขารเป็นไฉน สัญญาและเวทนา ด้วยสามารถลมหายใจออกยาวเป็นเจตสิกธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิตเป็นจิตตสังขาร บุคคลระงับ คือ ดับสงบจิตตสังขารเหล่านั้นศึกษาอยู่สัญญาและเวทนา ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร บุคคลระงับ คือดับ สงบจิตตสังขารเหล่านั้นศึกษาอยู่ สัญญาและเวทนาด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตตสังขารหายใจเข้า ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตตสังขารหายใจออก เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร บุคคลระงับ คือ ดับสงบจิตตสังขารเหล่านั้นศึกษาอยู่ เวทนา ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจออกหายใจเข้า ปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลพิจารณาเวทนานั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯ
คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างไร ฯลฯย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างนี้ ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ สีลวิสุทธิด้วยอรรถว่าความเป็นผู้ระงับจิตตสังขาร ระวังลมหายใจออกลมหายใจเข้า ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจออกหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลรู้อยู่ ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ อนุปัสสนาญาณ (ญาณในการพิจารณา) 8 อุปัฏฐานานุสสติ(อนุสสติที่ปรากฏ) 8 สุตตันติกวัตถุ (เรื่องอันมีมาในพระสูตร) ในการพิจารณาเวทนาในเวทนา 4 ฯ
ตติยจตุกฺกนิทฺเทโส
[412] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตหายใจเข้าอย่างไร ฯ
จิตนั้นเป็นไฉน วิญญาณจิต ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว จิต คือ มนะ มานัสหทัย ปัณฑระ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่จิตนั้น วิญญาณจิต ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาวฯลฯ ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจออก จิต คือ มนะมโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่จิตนั้น นี้เป็นจิต ฯ
จิตปรากฏอย่างไร เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น จิตนั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น จิตนั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้นฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง จิตนั้นย่อมปรากฏ จิตนั้นย่อมปรากฏอย่างนี้ วิญญาณจิตด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้ง จิตหายใจออกหายใจเข้า ปรากฏสติเป็นอนุปัสสนาญาณ จิตปรากฏไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วยบุคคลย่อมพิจารณาจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้นเพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาจิตในจิต ฯ
คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ ย่อมพิจารณาจิตอย่างนี้ ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความรู้แจ้งจิตระวังลมหายใจออกลมหายใจเข้า ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออกหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
[413] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักให้จิตเบิกบานหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักให้จิตเบิกบานหายใจเข้า อย่างไร ฯ
ก็ความเบิกบานแห่งจิตเป็นไฉน เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว ความเบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความเบิกบาน ความบันเทิง ความหรรษา ความร่าเริงแห่งจิต ความปลื้มจิต ความดีใจ ฯลฯเมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว ความเบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความเบิกบาน ความบันเทิงความหรรษา ความร่าเริงแห่งจิต ความปลื้มจิต ความดีใจ ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออก ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจเข้าความเบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความเบิกบาน ความบันเทิง ความหรรษา ความร่าเริงแห่งจิตความปลื้มจิต ความดีใจ นี้เป็นความเบิกบานแห่งจิตวิญญาณจิต ด้วยสามารถความเป็นผู้ยังจิตให้เบิกบานหายใจออกหายใจเข้าปรากฏสติเป็นอนุปัสนาญาณ จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วยเป็นตัวสติด้วยบุคคลย่อมพิจารณาจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาจิตในจิต ฯ
คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างนี้ ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ สีลวิสุทธิ ด้วยสามารถความเป็นผู้ยังจิตให้เบิกบานระวังลมหายใจออกลมหายใจเข้า ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้ยังจิตให้เบิกบานหายใจออกหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
[414] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตมั่นหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า อย่างไร ฯ
ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว เป็นสมาธิ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว เป็นสมาธิ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้ตั้งจิตมั่นหายใจออก เป็นสมาธิ ความตั้งอยู่ ความตั้งอยู่ดี ความตั้งมั่น ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ความมีใจไม่กวัดแกว่งความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ วิญญาณจิตด้วยสามารถความเป็นผู้ตั้งจิตมั่นหายใจออกหายใจเข้านี้ ปรากฏ สติเป็นอนุปัสนาญาณ จิตปรากฏไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาจิตนั้นด้วยสตินั้นด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาจิตในจิต ฯ
คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างนี้ ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้ตั้งจิตมั่นระวังลมหายใจออกลมหายใจเข้า ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้ตั้งจิตมั่นหายใจเข้าฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
[415] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า อย่างไร ฯ
บุคคลย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตจากราคะหายใจออก จักเปลื้องจิตจากราคะหายใจเข้า จักเปลื้องจิตจากโทสะหายใจออก จักเปลื้องจิตจากโทสะหายใจเข้า จักเปลื้องจิตจากโมหะหายใจออก จักเปลื้องจิตจากโมหะหายใจเข้า ฯลฯจักเปลื้องจิตจากมานะ จักเปลื้องจิตจากทิฐิ จักเปลื้องจิตจากวิจิกิจฉา จักเปลื้องจิตจากถีนมิทธะ จักเปลื้องจิตจากอุทธัจจะ จักเปลื้องจิตจากความไม่ละอายบาปจักเปลื้องจิตจากความไม่สะดุ้งกลัวบาปหายใจออก จักเปลื้องจิตจากความไม่สะดุ้งกลัวบาปหายใจเข้า วิญญาณจิต ด้วยสามารถความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจออกหายใจเข้า ปรากฏ ฯลฯ
คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างนี้ ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 2 ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้เปลื้องจิตระวังลมหายใจออกลมหายใจเข้า ฯลฯเมื่อรู้ความที่มีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นอรรถ
อนุปัสนาญาณ 8 อุปัฏฐานานุสสติ 8 สุตตันติกวัตถุในการพิจารณาจิตในจิต 4 ฯ
จตุตฺถจตุกฺกนิทฺเทโส
[416] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงหายใจเข้า อย่างไร ฯ
คำว่า อนิจฺจํ ความว่า อะไรไม่เที่ยง เบญจขันธ์ไม่เที่ยง ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่ากระไรไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าเกิดขึ้นและเสื่อมไป ฯ
บุคคลเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร ฯ
บุคคลเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ 25 ฯลฯ เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ 50 นี้ ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในรูปหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในรูปหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในชราและมรณะหายใจเข้า ธรรมทั้งหลายด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความไม่เที่ยงหายใจออกหายใจเข้า ปรากฏสติเป็นอนุปัสนาญาณ ธรรมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลพิจารณาธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย ฯ
คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างไร ฯลฯ ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ สีลวิสุทธิด้วยอรรถว่าความเป็นผู้พิจารณาความไม่เที่ยง ระวังลมหายใจออกหายใจเข้า ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความไม่เที่ยงหายใจออกหายใจเข้า ฯลฯบุคคลเมื่อรู้ ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
[417] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมศึกษาว่าจักพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจเข้า อย่างไร ฯ
บุคคลเห็นโทษในรูปแล้ว เป็นผู้เกิดฉันทะในความคลายกำหนัดในรูปน้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นดี ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความคลายกำหนัดในรูปหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความคลายกำหนัดในรูปหายใจเข้า บุคคลเห็นโทษในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ เป็นผู้เกิดฉันทะในความคลายกำหนัดในชราและมรณะ และมีจิตตั้งมั่นดี ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความคลายกำหนัดในชราและมรณะหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความคลายกำหนัดในชราและมรณะหายใจเข้า ธรรมทั้งหลายด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความคลายกำหนัดหายใจออกหายใจเข้า ปรากฏ สติเป็นอนุปัสนาญาณธรรมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานา คือ การพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย ฯ
คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างไร ฯลฯ ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ สีลวิสุทธิด้วยอรรถว่าความเป็นผู้พิจารณาความคลายกำหนัดระวังลมหายใจออกลมหายใจเข้า ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความคลายกำหนัดหายใจออกหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
[418] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับหายใจเข้า อย่างไร ฯ
บุคคลเห็นโทษในรูปแล้ว เป็นผู้เกิดฉันทะในความดับในรูป น้อมใจไปด้วยศรัทธาและมีจิตตั้งมั่นดี ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับในรูปหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับในรูปหายใจเข้า เห็นโทษในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯในชราและมรณะแล้ว เป็นผู้เกิดฉันทะในความดับในชราและมรณะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นดีย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับในชราและมรณะหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับในชราและมรณะหายใจเข้า ฯ
[419] โทษในอวิชชาย่อมมีด้วยอาการเท่าไร อวิชชาย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในอวิชชาย่อมมีด้วยอาการ 5 อวิชชาย่อมดับด้วยอาการ 8 ฯ
โทษในอวิชชาย่อมมีด้วยอาการ 5 เป็นไฉน โทษในอวิชชาย่อมมีด้วยอรรถว่าไม่เที่ยง 1 ด้วยอรรถว่าเป็นทุกข์ 1 ด้วยอรรถว่าเป็นอนัตตา 1 ด้วยอรรถว่าเป็นเหตุให้เดือดร้อน 1 ด้วยอรรถว่าแปรปรวน 1 โทษในอวิชชาย่อมมีด้วยอาการ 5 เหล่านี้ ฯ
อวิชชาย่อมดับไปด้วยอาการ 8 เป็นไฉน อวิชชาย่อมดับด้วยนิทานดับ 1 ด้วยสมุทัยดับ 1 ด้วยชาติดับ 1 ด้วยอาหารดับ 1 ด้วยเหตุดับ 1ด้วยปัจจัยดับ 1 ด้วยญาณเกิดขึ้น 1ด้วยนิโรธปรากฏ 1 อวิชชาย่อมดับด้วยอาการ 8 เหล่านี้ ฯ
บุคคลเห็นโทษในอวิชชาด้วยอาการ 5 เหล่านี้แล้ว เป็นผู้เกิดฉันทะในความดับแห่งอวิชชาด้วยอาการ 8 เหล่านี้ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นดี ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับแห่งอวิชชาหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับแห่งอวิชชาหายใจเข้า ฯ
[420] โทษในสังขารย่อมมีด้วยอาการเท่าไร สังขารย่อมดับด้วยอาการเท่าไร ฯลฯ โทษในวิญญาณย่อมมีด้วยอาการเท่าไร วิญญาณย่อมดับด้วยอาการเท่าไรโทษในนามรูปย่อมมีด้วยอาการเท่าไร นามรูปย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในสฬายตนะย่อมมีด้วยอาการเท่าไร สฬายตนะย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในผัสสะย่อมมีด้วยอาการเท่าไรผัสสะย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในเวทนาย่อมมีด้วยอาการเท่าไรเวทนาย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในตัณหาย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ตัณหาย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในอุปาทานย่อมมีด้วยอาการเท่าไร อุปาทานย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในภพย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ภพย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในชาติย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ชาติย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในชราและมรณะย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ชราและมรณะย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในชราและมรณะย่อมมีด้วยอาการ 5 ชราและมรณะย่อมดับด้วยอาการ 8 ฯ
โทษในชราและมรณะย่อมมีด้วยอาการ 5 เป็นไฉน โทษในชราและมรณะย่อมมีด้วยอรรถว่าไม่เที่ยง 1 ด้วยอรรถว่าเป็นทุกข์ 1 ด้วยอรรถว่าเป็นอนัตตา 1 ด้วยอรรถว่าเป็นเหตุให้เดือดร้อน 1 ด้วยอรรถว่าแปรปรวน 1 โทษในชราและมรณะย่อมมีด้วยอาการ 5 เหล่านี้ ฯ
ชราและมรณะย่อมดับด้วยอาการ 8 เป็นไฉน ชราและมรณะย่อมดับด้วยนิทานดับ 1ด้วยสมุทัยดับ 1 ด้วยชาติดับ 1 ด้วยภพดับ 1 ด้วยเหตุดับ 1ด้วยปัจจัยดับ 1 ด้วยญาณเกิดขึ้น 1 ด้วยนิโรธปรากฏ 1 ชรามรณะย่อมดับด้วยอาการ 8 เหล่านี้ ฯ
บุคคลเห็นโทษด้วยชราและมรณะในอาการ 5 เหล่านี้แล้ว เป็นผู้เกิดฉันทะในความดับแห่งชราและมรณะด้วยอาการ 8 เหล่านี้ น้อมใจไปด้วยศรัทธาและมีจิตตั้งมั่นดี ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับในชราและมรณะหายใจออกย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับในชราและมรณะหายใจเข้า ธรรมทั้งหลายด้วยสามารถ ความเป็นผู้พิจารณาความดับหายใจออกหายใจเข้า ปรากฏ สติเป็นอนุปัสนาญาน ธรรมทั้งหลายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย ฯ
คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างไร ฯลฯ ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ ฯ
ภาวนา ในคำว่า มี 4 ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่า เป็นที่เสพ สีลวิสุทธิ ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความดับ ระวังลมหายใจออกลมหายใจเข้า ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความดับหายใจออกหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
[421] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืนหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืนหายใจเข้า อย่างไร ฯ
ความสละคืนมี 2 อย่าง คือ ความสละคืนด้วยการบริจาค 1 ความสละคืนด้วยความแล่นไป 1 จิต (คิด) สละรูป เพราะฉะนั้นจึงเป็นความสละคืนด้วยการบริจาค จิตแล่นไปในนิพพานอันเป็นที่ดับรูป เพราะฉะนั้นจึงเป็นความสละคืนด้วยการแล่นไป บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืนในรูปหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืนในรูปหายใจเข้า จิต(คิด) สละเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ เพราะฉะนั้นจึงเป็นความสละคืนด้วยการบริจาค จิตแล่นไปในนิพพานอันเป็นที่ดับชราและมรณะ เพราะฉะนั้น จึงเป็นความสละคืนด้วยการแล่นไป บุคคลย่อมศึกษาว่าจักพิจารณาความสละคืนในชราและมรณะ หายใจออกย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืนในชราและมรณะ หายใจเข้า ธรรมทั้งหลาย ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความสละคืนหายใจออกหายใจเข้า ปรากฏ สติเป็นอนุปัสนาญาณ ธรรมทั้งหลายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่าสติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย ฯ
คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างไร ย่อมพิจารณาโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาโดยความเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืนย่อมละความถือมั่นได้ ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี 4 คือ ภาวนา ด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลายอันเกิดในภาวนานั้น ไม่ล่วงเกินกัน ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพสีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้พิจารณา ความสละคืนระวังลมหายใจออกลมหายใจเข้า จิตวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิด้วยอรรถว่าเห็นความสำรวมในสีลวิสุทธินั้น เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตวิสุทธินั้นเป็นอธิจิตตสิกขา ความเห็นในทิฐิวิสุทธินั้น เป็นอธิปัญญาสิกขา บุคคลเมื่อคำนึงถึงสิกขา 3 ประการนี้ศึกษาอยู่ เมื่อรู้ ศึกษาอยู่ ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความสละคืนหายใจออกหายใจเข้า เวทนาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความสละคืนหายใจออกหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลงย่อมรู้จักโคจร และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ย่อมยังพละทั้งหลายให้ประชุมลงย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลง ย่อมยังมรรคให้ประชุมลง ย่อมยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลงย่อมรู้จักโคจร และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
คำว่า ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ความว่า ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลงอย่างไร ฯ
ย่อมยังสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อให้ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ อนุปัสนาญาณ 8 อุปัฏฐานานุสสติ 8สุตตันติกวัตถุ ในการพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย 4 ญาณในความเป็นผู้ทำสติ 32 นี้ ฯ
ญาณราสิฉกฺกนิทฺเทโส
ญาณด้วยสามารถสมาธิ 24
[422] ญาณด้วยสามารถแห่งสมาธิ 24 เป็นไฉน ฯ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาวเป็นสมาธิ ความที่จริงมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาวเป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจออกหายใจเข้า เป็นสมาธิ ญาณด้วยสามารถของสมาธิ 24เหล่านี้ ฯ
ญาณด้วยสามารถวิปัสสนา 72
ญาณด้วยสามารถแห่งวิปัสนา 72 เป็นไฉน ฯ
วิปัสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจออกยาว โดยความเป็นของไม่เที่ยง วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจเข้ายาว โดยความเป็นทุกข์ วิปัสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจออกยาว โดยความเป็นอนัตตา วิปัสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจเข้ายาว โดยความเป็นของไม่เที่ยง วิปัสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจเข้ายาว โดยความเป็นทุกข์ วิปัสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจเข้ายาว โดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ วิปัสนาด้วยอรรถว่าความเป็นผู้เปลื้องจิตพิจารณาลมหายใจออก โดยความเป็นของไม่เที่ยง วิปัสนาด้วยอรรถว่าความเป็นผู้เปลื้องจิตพิจารณาลมหายใจเข้า โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ญาณด้วยสามารถแห่งวิปัสนา 72 เหล่านี้ ฯ
นิพพิทาญาณ 8
นิพพิทาญาณ 8 เป็นไฉน?
ญาณชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องให้บุคคลผู้พิจารณาหายใจออก โดยความเป็นของไม่เที่ยง รู้เห็นตามความเป็นจริงเพราะอรรถว่าเป็นเครื่องให้บุคคลผู้พิจารณาลมหายใจเข้า โดยความเป็นของไม่เที่ยงรู้เห็นตามความเป็นจริง ฯลฯ ญาณชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องให้บุคคลพิจารณาความสละคืนลมหายใจออก รู้เห็นตามความเป็นจริง เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องให้บุคคลผู้พิจารณาความสละคืนลมหายใจเข้า รู้เห็นตามความเป็นจริงนิพพิทาญาณ 8 เหล่านี้ ฯ
นิพพิทานุโลมญาณ 8
นิพพิทานุโลมญาณ 7 เป็นไฉน ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาลมหายใจ ออกโดยความเป็นไม่เที่ยง ปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว เป็นนิพพิทานุโลมญาณ ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาลมหายใจเข้าโดยความเป็นของไม่เที่ยง ปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว เป็นนิพพิทานุโลมญาณ ฯลฯ ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาความสละคืนลมหายใจออกปรากฏ โดยความเป็นของน่ากลัว เป็นนิพพิทานุโลมญาณ ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาความสละคืนลมหายใจเข้าปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว เป็นนิพพิทานุโลมญาณ นิพพิทานุโลมญาณ 8 เหล่านี้ ฯ
นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ 8
นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ 8 เป็นไฉน ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาลมหายใจออกโดยความเป็นของไม่เที่ยง พิจารณาหาทางวางเฉยอยู่ เป็นนิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาลมหายใจเข้าโดยความเป็นของไม่เที่ยง พิจารณาหาทางวางเฉยอยู่ เป็นนิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ฯลฯ นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ 8 เหล่านี้ ฯ
ญาณในวิมุติสุข 21
ญาณในวิมุติสุข 21 เป็นไฉน ญาณในวิมุติสุขย่อมเกิดขึ้นเพราะละ เพราะตัดขาดซึ่งสักกายทิฐิด้วยโสดาปัตติมรรค … เพราะละ เพราะตัดขาดซึ่งวิจิกิจฉาด้วยโสดาปัตติมรรค …เพราะละเพราะตัดขาดซึ่งสีลัพพตปรามาส ทิฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ด้วยโสดาปัตติมรรค … เพราะละ เพราะตัดขาดซึ่งกามราคสังโยชน์ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ ด้วยสกทาคามิมรรค …เพราะละ เพราะตัดขาดซึ่งกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ ด้วยอนาคามิมรรค ญาณในวิมุติสุขย่อมเกิดขึ้นเพราะละ เพราะตัดขาดซึ่งรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุจธัจจะ อวิชชา มานานุสัยภวราคานุสัย และอวิชชานุสัยด้วยอรหันตมรรค ญาณในวิมุติสุข 21 เหล่านี้เมื่อบุคคลเจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติอันมีวัตถุ 16 ญาณ 200 เหล่านี้อันสัมปยุตด้วยสมาธิ ย่อมเกิดขึ้น ฯ
จบอานาปานกถา ฯ
________
เพิ่มเติม
- ปฏิสัมภิทามรรค ฉบับปรับสำนวน กลับหน้าสารบัญ