ปฏิสัมภิทามรรค_02_มหาวรรค

อยู่ในระหว่างปรับสำนวน

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

ตำราพุทธมีลำดับการศึกษาให้เข้าใจทะลุทะลวงดังนี้: ขอเป็นศิษย์ผู้มีฌานวสีทรงจำพระไตรปิฎกบาลี > ท่องจำบาลีตามลำดับซ้ำๆ ไม่ลืมทบทวนแม้จำได้แล้ว > สอบถามบาลี > ฟังคำอธิบายบาลี > ทรงจำทั้งหมด > ในระหว่างท่องจำก็พยายามปฏิบัติตามไปด้วยจนแตกฉาน. ผู้ที่ข้ามขั้นตอนเหล่านี้ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นไปได้ยากที่จะบรรลุอัปปนาทั้งโลกิยะและโลกุตตระในศาสนาพุทธได้ พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า "โมฆบุรุษ" เพราะว่างเปล่าจากอัปปนา (เรียบเรียงจากกีฏาคิริสูตร; ธัมมัญญูสูตร; สัจจบรรพะ อรรถกถามัคคนิทเทส; วิสุทธิมรรค กัมมัฏฐานคหณนิทเทส)

มหาวรรค ทิฐิกถา

[294] ที่ตั้งแห่งทิฐิเท่าไร ความกลุ้มรุมแห่งทิฐิเท่าไร ทิฐิเท่าไร ความถือผิดแห่งทิฐิเท่าไร ความถอนที่ตั้งแห่งทิฐิเป็นไฉน ทิฐิคือความลูบคลำด้วยความถือผิดเท่าไร ฯ

ถามว่า ที่ตั้งแห่งทิฐิเท่าไร ตอบว่า ที่ตั้งแห่งทิฐิ 8 ถามว่า ความกลุ้มรุมแห่งทิฐิเท่าไร ตอบว่า ความกลุ้มรุมแห่งทิฐิ 18 ถามว่า ทิฐิเท่าไร ตอบว่าทิฐิ 16 ถามว่าความถือผิดแห่งทิฐิเท่าไร ตอบว่า ความถือผิดแห่งทิฐิ 130ถามว่า ความถอนที่ตั้งแห่งทิฐิเป็นไฉน ตอบว่า โสดาปัตติมรรคเป็นเครื่องถอนที่ตั้งแห่งทิฐิ ฯ

[295] คำว่า ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดเท่าไร ตอบว่า ทิฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งเวทนา สัญญา สังขารวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

[296] ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ซึ่ง จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ว่า นั่นของเรานั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งจักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัสชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส ว่านั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งจักษุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนาชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา ว่านั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

[297] ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญารสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฐิคือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนาธรรมสัญเจตนา ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหาโผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเราทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเราทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจารรสวิจารโผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจาร ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

[298] ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุวาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณโลหิตกสิณ โอทาตกสิณอากาสกสิณ วิญญาณกสิณ ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

[299] ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อเอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ฯลฯน้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตรสมองศีรษะ ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

[300] ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งจักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะสัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะกายายตนะ โผฏฐัพพายตนะมนายตนะ ธรรมายตนะ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุกายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

[301] ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ว่านั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

[302] ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งกามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพเอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌานจตุตถฌาน เมตตาเจโตวิมุติ กรุณาเจโตวิมุติ มุทิตาเจโตวิมุติ อุเปกขาเจโตวิมุติอากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

[303] ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งอวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูปสฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชราและมรณะ ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดอย่างนี้ ฯ

[304] ที่ตั้งแห่งทิฐิ 8 เป็นไฉน แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฐิ แม้อวิชชา ผัสสะ สัญญา วิตก อโยนิโสมนสิการ มิตรชั่ว เสียงแต่ที่อื่นทุกอย่างเป็นที่ตั้งแห่งทิฐิ ฯ

ขันธ์ทั้งหลายเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นที่ตั้งแห่งทิฐิ เพราะอรรถว่า เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฐิอย่างนี้ … อวิชชา …ผัสสะ … สัญญา … วิตก …อโยนิโสมนสิการ … มิตรชั่ว เสียงแต่ที่อื่น ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นที่ตั้งแห่งทิฐิ เพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้เสียงแต่ที่อื่นก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฐิอย่างนี้ ที่ตั้งแห่งทิฐิ 8 เหล่านี้ ฯ

[305] ความกลุ้มรุมแห่งทิฐิ 18 เป็นไฉน ทิฐิ คือ ทิฐิไป ทิฐิรกชัฏ ทิฐิกันดาร ทิฐิเป็นเสี้ยนหนาม ทิฐิวิบัติ ทิฐิเป็นสังโยชน์ ทิฐิเป็นลูกศร ทิฐิเป็นสมภพทิฐิเป็นเครื่องกังวล ทิฐิเป็นเครื่องผูกพัน ทิฐิเป็นเหว ทิฐิเป็นอนุสัย ทิฐิเป็นเหตุให้เดือดร้อน ทิฐิเป็นเหตุให้เร่าร้อน ทิฐิเป็นเครื่องร้อยกรองทิฐิเป็นเครื่องยึดมั่น ทิฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ ความกลุ้มรุมแห่งทิฐิ 18 เหล่านี้ ฯ

[306] ทิฐิ 16 เป็นไฉน คือ อัสสาททิฐิ 1 อัตตานุทิฐิ 1 มิจฉาทิฐิ 1สักกายทิฐิ 1 สัสสตทิฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ 1 อุจเฉททิฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ 1 อันตคาหิกทิฐิ 1 ปุพพันตานุทิฐิ 1 อปรันตานุทิฐิ 1 สังโยชนิกาทิฐิ 1 ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเรา 1 ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเรา 1 ทิฐิอันสัมปยุตด้วยอัตตวาทะ 1 ทิฐิอันสัมปยุตด้วยโลกวาทะ 1 ภวทิฐิ 1 วิภวทิฐิ 1 ทิฐิ 16เหล่านี้ ฯ

[307] อัสสาททิฐิ มีความถือผิดด้วยอาการเท่าไร อัตตานุทิฐิ …มิจฉาทิฐิ …สักกายทิฐิ … สัสสตทิฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ … อุจเฉททิฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ … อันตคาหิกทิฐิ … ปุพพันตานุทิฐิ … อปรันตานุทิฐิ … สังโยชนิกาทิฐิ … ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเรา …ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเรา… ทิฐิอันสัมปยุตด้วยอัตตวาทะ … ทิฐิอันสัมปยุตด้วยโลกวาทะ … ภวทิฐิ …วิภวทิฐิ มีความถือผิดด้วยอาการเท่าไร ฯ

[308] อัสสาททิฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ 35 อัตตานุทิฐิ … 20 มิจฉาทิฐิ … 10สักกายทิฐิ … 20 สัสสตทิฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ … 15อุจเฉททิฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ … 5อันตคาหิกทิฐิ … 50 ปุพพันตานุทิฐิ… 18 อปรันตานุทิฐิ … 44 สังโยชนิกาทิฐิ … 18ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเรา … 18 ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเรา … 18 ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะ … 20 ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยโลกวาทะ … 8 ภวทิฐิ … 19 วิภวทิฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ 19 ฯ

[309] อัสสาททิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ 35 เป็นไฉน ทิฐิ คือความลูบคลำด้วยถือความผิดว่า สุขโสมนัสอาศัยรูปใดเกิดขึ้น นี้เป็นอัสสาทะ(ความยินดี) แห่งรูป ทิฐิไม่ใช่อัสสาทะ อัสสาทะมิใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่งอัสสาทะเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและอัสสาทะ นี้ท่านกล่าวว่า อัสสาททิฐิ อัสสาททิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ เป็นทิฐิวิบัติ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฐิวิบัตินั้น เป็นผู้มีทิฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฐิวิบัติ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฐิลามก ทิฐิใด ราคะใด ราคะไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิไม่ใช่ราคะทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและราคะ นี้ท่านกล่าวว่า ทิฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฐิราคะ ทานที่ให้ในบุคคลผู้ยินดีในทิฐิราคะ เป็นทานไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฐิลามก อัสสาททิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฐิ มีคติเป็น 2 คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานอนึ่งบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฐิ สมาทาน กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ธรรมทั้งปวง คือ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจและสังขาร เหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฐิลามก เปรียบเหมือนพืชสะเดา พืชบวบขม หรือพืชน้ำเต้าขม ที่เขาฝังลงในแผ่นดินเปียก อาศัยรสแผ่นดินและรสน้ำ พืชทั้งปวงนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นของมีรสขม รสปร่า ไม่เป็นสาระ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสะเดาเป็น ต้นนั้นมีพืชเลวฉันใด บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฐิ ก็ฉันนั้นเหมือนกันสมาทานกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ธรรมทั้งปวงคือ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฐิลามก อัสสาททิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ทิฐิคือ ทิฐิที่ไป ทิฐิรกชัฏ ฯลฯ ทิฐิเป็นเหตุให้ถือผิดและลูบคลำ ฯ

[310] ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า สุขโสมนัส อาศัยเวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ จักษุ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียงกลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ จักษุสัมผัสโสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส จักษุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนาใด เกิดขึ้น นี้เป็นอัสสาทะแห่งมโนสัมผัสสชาเวทนาทิฐิไม่ใช่อัสสาทะ อัสสาทะไม่ใช่ทิฐิ …ทิฐิเป็นเหตุให้ถือผิดและลูบคลำ ความเกี่ยวข้องแห่งจิตอันทิฐิกลุ้มรุม เป็นมิจฉาทิฐิซึ่งจัดเป็นอัสสาททิฐิ ด้วยอาการ 18 นี้ ฯ

[311] สังโยชน์และทิฐิมีอยู่ สังโยชน์แต่มิใช่ทิฐิมีอยู่ สังโยชน์และทิฐิเป็นไฉน ความลูบคลำด้วยสักกายทิฐิ สักกายทิฐิและสีลัพพตปรามาส เหล่านี้เป็นสังโยชน์และทิฐิ สังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฐิเป็นไฉน กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ มานสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์ อิสสาสังโยชน์มัจฉริยสังโยชน์ อนุสัยสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่มิใช่ทิฐิอัสสาททิฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ 35 เหล่านี้ ฯ

[312] อัตตานุทิฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ 20 เป็นไฉน ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้าไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง ย่อมเห็นเวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตนเอง เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง ฯ

[313] ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นปฐวีกสิณและตนไม่เป็นสองว่า ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใดปฐวีกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีป น้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมเห็นปฐวีกสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นปฐวีกสิณและตนไม่เป็นสองว่า ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด ปฐวีกสิณก็อันนั้น ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ 1 อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ เป็นทิฐิวิบัติ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยอัตตานุทิฐิ ย่อมมีคติเป็นสอง ฯลฯเหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฐิ ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นอาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณโลหิตกสิณ โอทาตกสิณ โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่าโอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใดโอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้นแสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันฯลฯ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสอง ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่งทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ 1 อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ เป็นทิฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ บุคคลย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯ

[314] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างไร ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นมีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนว่ามีรูป เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี่ต้นไม้ นี่เงาต้นไม้เป็นอย่างหนึ่งเงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้นั้นแลมีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็น เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นมีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีรูป ทิฐิคือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่งวัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุ นี้เป็นอัตตานุทิฐิ มีรูปเป็นวัตถุที่ 2 อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างนี้ ฯ

[315] ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างไร ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นตนเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีรูปเช่นนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นรูปในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอมบุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้อย่างหนึ่งกลิ่นหอมอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้นั้นแลมีอยู่ในดอกไม้นี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นเวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขาย่อมมีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีรูปเช่นนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นรูปในตน ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิฯลฯ นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ 3 อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างนี้ ฯ

[316] ปุถุชนย่อมเห็นตนในรูปอย่างไร ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นมีอยู่ในรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในรูป เปรียบเหมือนแก้วมณีที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็นอย่างหนึ่ง ขวดเป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้นั้นแลมีอยู่ในขวดนี้ ดังนี้ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นเวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่านี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในรูป ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิ มีรูปเป็นวัตถุที่ 4 อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างนี้ ฯ

[317] ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาเวทนา … มโนสัมผัสสชาเวทนา โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาและตนไม่เป็นสองว่ามโนสัมผัสสชาเวทนาอันใดเราก็อันนั้นเราอันใด มโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้นเปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใดแสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้นฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาโดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาและตนไม่เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชาเวทนาอันใดเราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้น ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่งวัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุ นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ 1 อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯ

[318] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีเวทนาอย่างไร ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความ เป็นตนเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแลมีเวทนาด้วยเวทนานี้ดังนี้ชื่อว่าเห็นตนว่ามีเวทนา เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงาบุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ว่าต้นไม้นี้นั้นแลมีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้มีเงาฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณรูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแลมีเวทนาด้วยเวทนานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีเวทนา ทิฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่งวัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ 2 อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีเวทนาอย่างนี้ ฯ

[319] ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาในตนอย่างไร ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตนเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็และในตัวตนนี้มีเวทนานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นเวทนาในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอมบุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่งกลิ่นหอมเป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมมีอยู่ในดอกไม้นี้ ดังนี้ชื่อว่าย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่านี้แลเป็นตัวตนของเราก็แลในตัวตนนี้มีเวทนา ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นเวทนาในตนทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ฯลฯนี้เป็นอัตตานุทิฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ 3 อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาในตนอย่างนี้ ฯ

[320] ปุถุชนย่อมเห็นตนในเวทนาอย่างไร ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูปโดยความเป็นตนเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในเวทนานี้ ดังนี้ชื่อว่าย่อมเห็นตนในเวทนา เปรียบเหมือนฯลฯ ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน … ชื่อว่า ย่อมเห็นตนในเวทนา ทิฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ 4 อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในเวทนาอย่างนี้ ฯ

[321] ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาสัญญา … มโนสัมผัสสชาสัญญา โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาและตนไม่เป็นสองว่ามโนสัมผัสสชาสัญญาอันใดเราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญาก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง … ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาและตนไม่เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชาสัญญาอันใด เราก็อันนั้นเราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญาก็อันนั้น ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุวัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่งนี้เป็นอัตตานุทิฐิ มีสัญญาเป็นวัตถุที่ 1อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯ

[322] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสัญญาอย่างไร ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแลมีสัญญาด้วยสัญญานี้ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีสัญญา เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา … ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใดบุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน … นี้เป็นอัตตานุฐิทิมีสัญญาเป็นวัตถุ 2 อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสัญญาอย่างนี้ ฯ

[323] ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาในตนอย่างไร ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตนเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีสัญญานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นสัญญาในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม …ชื่อว่าย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน …นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสัญญาเป็นวัตถุที่ 3 อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาในตนอย่างนี้ ฯ

[324] บุคคลย่อมเห็นตนในสัญญาอย่างไร ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตนเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้เป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในสัญญานี้ ดังนี้ชื่อว่าย่อมเห็นตนในสัญญา เปรียบเหมือนแก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด … ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนาโดยความเป็นตน … นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสัญญาเป็นวัตถุที่ 4 อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯเหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในสัญญาอย่างนี้ ฯ

[325] ปุถุชนย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาเจตนา … มโนสัมผัสสชาเจตนา โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาและตนไม่เป็นสองว่ามโนสัมผัสสชาเจตนาอันใดเราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเจตนาก็อันนั้นเปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง … ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาโดยความเป็นตน … นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสังขารเป็นวัตถุที่ 1 อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯ

[326] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสังขารอย่างไร ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแลมีสังขารด้วยสังขารนี้ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนมีสังขาร เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ … ดังนี้ชื่อว่าย่อมเห็นว่าต้นไม้มีเงาฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ รูปเวทนาสัญญา โดยความเป็นตน … นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสังขารเป็นวัตถุที่ 2 อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสังขารอย่างนี้ ฯ

[327] ปุถุชนย่อมเห็นสังขารในตนอย่างไร ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตนเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีสังขารเหล่านี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นสังขารในตนเปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม … ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ รูปเวทนา สัญญา โดยความเป็นตน … นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสังขารเป็นวัตถุที่ 3 อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสังขารในตนอย่างนี้ ฯ

[328] ปุถุชนย่อมเห็นตนในสังขารอย่างไร ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตนเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในสังขารนี้ ดังนี้ชื่อว่าย่อมเห็นตนในสังขาร เปรียบเหมือนแก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด … ชื่อว่าเห็นแก้วมณีในขวดฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน …นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสังขารเป็นวัตถุที่ 4 อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในสังขารอย่างนี้ ฯ

[329] ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุวิญญาณ … มโนวิญญาณ โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนวิญญาณและตนไม่เป็นสองว่า มโนวิญญาณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนวิญญาณก็อันนั้น เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันอันลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง … ฉันใดบุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นตน… นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ 1 อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯ

[330] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณอย่างไร ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเราแต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแลมีวิญญาณด้วยวิญญาณนี้ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณ เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา … ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใดบุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตนนี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ 2 อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณอย่างนี้ ฯ

[331] ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณในตนอย่างไร ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นวิญญาณในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม… ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมเห็นรูป เวทนาสัญญา สังขาร โดยความเป็นตน … นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ 3อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิปุถุชน ย่อมเห็นวิญญาณในตนอย่างนี้ ฯ

[332] ปุถุชนย่อมเห็นตนในวิญญาณอย่างไร ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในวิญญาณนี้ ดังนี้ชื่อว่าย่อมเห็นตนในวิญญาณ เปรียบเหมือนแก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด … ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ 4 ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฐิปุถุชนย่อมเห็นตนในวิญญาณอย่างนี้ อัตตานุทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ 20 เหล่านี้ ฯ

[333] มิจฉาทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ 12 เป็นไฉน ฯ

ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดแห่งมิจฉาทิฐิอันกล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่งวัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุ นี้เป็นมิจฉาทิฐิมีวัตถุผิดที่ 1 มิจฉาทิฐิเป็นทิฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดแห่งมิจฉาทิฐิอันกล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯลฯ การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นก็ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสั่งสอนประชุมชนให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ทิฐิไม่ใช่วัตถุวัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุ นี้เป็นมิจฉาทิฐิมีวัตถุ 10มิจฉาทิฐิเป็นทิฐิวิบัติ ฯลฯ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฐิ ย่อมมีคติเป็น 2 ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ มิจฉาทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ 10 เหล่านี้ ฯ

[334] สักกายทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ 20 เป็นไฉน ฯ

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ มิได้เห็นพระอริยะเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะเจ้า ไม่ได้เห็นสัปบุรุษไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้างย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตนบ้างเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง ฯ

ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณโดยความเป็นตน คือย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่ ฯลฯ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นโอทาตกสิณโดยความเป็นตน ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ฯลฯ นี้เป็นสักกายทิฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ 1 สักกายทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่มิใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯลฯ สักกายทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ 20เหล่านี้ ฯ

[335] สัสสตทิฐิมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ 15เป็นไฉน ฯ

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะเจ้า … ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้างเห็นตนว่ามีเวทนาบ้างเห็นตนว่ามีสัญญาบ้าง เห็นตนว่ามีสังขารบ้าง เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้างเห็นตนในวิญญาณบ้าง ฯ

ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างไร ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตนเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแล มีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีรูป เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ว่าต้นไม้นี้นั้นแล มีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นเวทนา… โดยความเป็นตน นี้เป็นสัสสตทิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุที่ 1 สัสสตทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างนี้ ฯลฯ สัสสตทิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ 15เหล่านี้ ฯ

[336] อุจเฉททิฐิอันมีสักกายเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ 15เป็นไฉน ฯ

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะเจ้า … ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน เห็นเวทนาโดยความเป็นตนเห็นสัญญาโดยความเป็นตนเห็นสังขารโดยความเป็นตน เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ฯ

ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณโดยความเป็นตน คือย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่ ฯลฯ นี้เป็นอุจเฉทิฐิอันมีสักกกายทิฐิเป็นวัตถุที่ 1 อุจเฉททิฐิเป็นมิจฉาทิฐิฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯลฯ อุจเฉททิฐิอันมีสักกายเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ 15 เหล่านี้ ฯ

[337] อันตคาหิกทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ 50 เป็นไฉน ฯ

ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้นสรีระก็อันนั้น ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก ย่อมไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการเท่าไร ฯ

ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ 5 ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ 5 ฯ

[338] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ 5เป็นไฉน ฯ

ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุวัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิและวัตถุ นี้เป็นทิฐิที่ถือเอาที่สุดว่าโลกเที่ยงที่ 1 อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯสัญญาเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ สังขารเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ วิญญาณเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ ทิฐินั้นถือเอาที่สุด เช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิทิฐิไม่ใช่วัตถุ … นี้เป็นทิฐิที่ถือเอาที่สุดว่าโลกเที่ยงที่ 5 อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯเหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยงย่อมถือผิดด้วยอาการ 5 เหล่านี้ ฯ

[339] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ 5เป็นไฉน ฯ

ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ นี้เป็นทิฐิที่ถือเอาที่สุดว่าโลกไม่เที่ยงที่ 1 อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯลฯ ทิฐิคือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง วิญญาณเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อนตคาหิกทิฐิ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ 5 เหล่านี้ ฯ

[340] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ 5เป็นไฉน ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเขียวแผ่ไปสู่โอกาสนิดหน่อย เขามีความเห็นอย่างนี้ว่าโลกนี้มีที่สุดกลม ดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่าโลกมีที่สุด ทิฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าอันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่งวัตถุเป็นอย่างหนึ่งทิฐิและวัตถุ นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่าโลกมีที่สุดที่ 1 อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเหลืองแผ่ไปทำสีแดงแผ่ไป ทำสีขาวแผ่ไป ทำแสงสว่างแผ่ไป สู่โอกาสนิดหน่อย เขามีความคิดอย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุดกลม ดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่าโลกมีที่สุดทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าอันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ 5เหล่านี้ ฯ

[341] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ 5เป็นไฉน ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเขียวแผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความเห็นอย่างนี้ว่าโลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้ ดังนี้ จึงมีความสำคัญว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลกเครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ … นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่าโลกไม่มีที่สุดที่ 1 อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเหลือง ทำสีแดง ทำสีขาว ทำแสงสว่างแผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้ดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่า โลกไม่มีที่สุด ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลกทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ฯลฯทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ 5 เหล่านี้ ฯ

[342] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ย่อมถือผิดด้วยอาการ 5เป็นไฉน ฯ

ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นชีพและสรีระ ชีพอันใด สรีระก็อันนั้น ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ … นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นที่ 1 อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้สังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิคือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นชีพและเป็นสรีระ สัญญาเป็นชีพและเป็นสรีระ สังขารเป็นชีพและเป็นสรีระ วิญญาณเป็นชีพและเป็นสรีระชีพอันใด สรีระก็อันนั้น ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าอันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ย่อมถือผิดด้วยอาการ 5 เหล่านี้ ฯ

[343] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ย่อมถือผิดด้วยอาการ 5เป็นไฉน ฯ

ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ รูปนั้นเป็นสรีระชีพเป็นอย่างหนึ่ง สรีระเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ …นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นที่ 1 อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ

ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ สัญญาเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ สังขารเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ วิญญาณเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ วิญญาณนั้นเป็นสรีระ ชีพเป็นอย่างหนึ่ง สรีระก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่าชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ย่อมถือผิดด้วยอาการ 5 เหล่านี้ ฯ

[344] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก ย่อมถือผิดด้วยอาการ 5 เป็นไฉน ฯ

ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่การแตกแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง คงอยู่บ้าง อุบัติขึ้นบ้าง เกิดบ้างทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้นเพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุวัตถุไม่ใช่ทิฐิ … นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกที่ 1 อันตคาหิกทิฐิ เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ

ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขารต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง คงอยู่บ้าง อุบัติขึ้นบ้างเกิดบ้าง ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก ย่อมถือผิดด้วยอาการ 5 เหล่านี้ ฯ

[345] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ย่อมถือผิดด้วยอาการ 5 เป็นไฉน ฯ

ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศไป สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ … นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีกที่ 1 อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ

ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละสังขารต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมไม่เป็นอีก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ย่อมถือผิดด้วยอาการ 5 เหล่านี้ ฯ

[346] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ย่อมถือผิดด้วยอาการ 5 เป็นไฉน ฯ

ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ… นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีที่ 1 อันตคาหิกทิฐิ เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯเหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ

ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขารต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ทิฐินี้ถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ย่อมถือผิดด้วยอาการ 5 เหล่านี้ ฯ

[347] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็ หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ 5 เป็นไฉน ฯ

ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ … นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ที่ 1 อันตคาหิกทิฐิ เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ

ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละสัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขารต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ … ทิฐิและวัตถุ นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ที่ 1 อันตคาหิกทิฐิ เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ 5 เหล่านี้อันตคาหิกทิฐิย่อมถือผิดด้วยอาการ 50 เหล่านี้

[348] ปุพพันตานุทิฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต) ย่อมถือผิดด้วยอาการ 18เป็นไฉน ฯ

สัสสตทิฐิ (ทิฐิว่าตนและโลกเที่ยง) 4 เอกัจจสัสสติกาทิฐิ (ทิฐิว่าตนและโลกเที่ยงเป็นบางอย่าง) 4 อันตานันติกาทิฐิ (ทิฐิว่าโลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้) 4 อมราวิกเขปิกาทิฐิ (ทิฐิซัดส่ายไม่ตายตัว) 4 อธิจจสมุปปันนิกาทิฐิ(ทิฐิว่าตนและโลกเกิดขึ้นลอยๆ) 2ปุพพันตานุทิฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ 18เหล่านี้ ฯ

[349] อปรันตานุทิฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอนาคต) ย่อมถือผิดด้วยอาการ 44เป็นไฉน ฯ

สัญญีวาททิฐิ (ทิฐิว่าตนเมื่อตายแล้วมีสัญญา) 17 อสัญญีวาททิฐิ (ทิฐิว่าตนเมื่อตายแล้วไม่มีสัญญา) 8 เนวสัญญีนาสัญญีวาททิฐิ (ทิฐิว่าตนเมื่อตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) 8 อุจเฉทวาททิฐิ (ทิฐิว่าสัตว์ตายแล้วขาดสูญ) 7 ทิฐิธรรมนิพพานวาททิฐิ(ทิฐิว่านิพพานเป็นปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์) 5 อปรันตานุทิฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ 44เหล่านี้ ฯ

[350] สังโยชนิกาทิฐิ (ทิฐิเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ย่อมถือ ผิดด้วยอาการ 18 เป็นไฉน ฯ

ทิฐิ คือ ทิฐิที่ไป ทิฐิที่รกชัฏ ฯลฯ ทิฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำสังโยชนิกาทิฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ 18 เหล่านี้ ฯ

[351] ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา ย่อมถือผิด ด้วยอาการ18 เป็นไฉน ฯ

ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ตาเป็นเรา ทิฐิมิใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ …นี้เป็นทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเราที่ 1 มานวินิพันธาทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯเหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฐิ ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า หูเป็นเรา ฯลฯจมูกเป็นเรา ฯลฯ ลิ้นเป็นเรา ฯลฯ กายเป็นเรา ฯลฯ ใจเป็นเรา ฯลฯธรรมารมณ์เป็นเรา ฯลฯ จักขุวิญญาณเป็นเรา ฯลฯ มโนวิญญาณเป็นเรา ฯลฯความลูบคลำความถือผิดว่าเป็นเรา ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ … นี้เป็นทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเราที่ 8 มานวินิพันธาทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ 18 เหล่านี้ ฯ

[352] ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ย่อมถือผิด ด้วยอาการ18 เป็นไฉน ฯ

ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ตาของเรา ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ …นี้เป็นทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเราที่ 1 มานวินิพันธาทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯเหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า หูของเรา ฯลฯจมูกของเรา ฯลฯ ลิ้นของเรา ฯลฯ กายของเรา ฯลฯ ใจของเรา ฯลฯธรรมารมณ์ของเรา ฯลฯ จักขุวิญญาณของเรา ฯลฯ มโนวิญญาณของเรา ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ของเรา ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ … นี้เป็นทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ที่ 8 มานวินิพันธาทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่มิใช่ทิฐิ ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ 18 เหล่านี้ ฯ

[353] ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน ย่อมถือผิดด้วยอาการ 20เป็นไฉน ฯ

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า … ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง ฯลฯ เห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง ฯลฯ

ปุถุชนมองเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณ โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสอง เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่บุคคลเห็นเปลวไฟ และแสงสว่างไม่เป็นสองฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นโอทาตกสิณโดยความเป็นตน ฯลฯ นี้เป็นทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะมีรูปเป็นวัตถุที่ 1 ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน ย่อมถือผิด ด้วยอาการ 20เหล่านี้ ฯ

[354] ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ย่อมถือผิด ด้วยอาการ 8เป็นไฉน ฯ

ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ตนและโลกเที่ยง เป็นทิฐิ อันปฏิสังยุต ด้วยวาทะปรารภโลก ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุมิใช่ทิฐิ … นี้เป็นทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกที่ 1ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯเหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ

ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ตนและโลกไม่เที่ยง ฯลฯ ตนและโลกเที่ยงก็มี ไม่เที่ยงก็มี ตนและโลกเที่ยงก็หามิได้ ไม่เที่ยงก็หามิได้ ตนและโลกมีที่สุด ตนและโลกไม่มีที่สุด ตนและโลกมีที่สุดก็มี ไม่มีที่สุดก็มี ตนและโลกมีที่สุดก็หามิได้ ไม่มีที่สุดก็หามิได้ เป็นทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ … นี้เป็นทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกที่ 8ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ย่อมถือผิดด้วยอาการ 8เหล่านี้ ฯ

[355] ความถือผิดด้วยความติดอยู่ เป็นภวทิฐิ ความถือผิดด้วยความแล่นเลยไปเป็นวิภวทิฐิ อัสสาททิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ 35 เป็นภวทิฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฐิเท่าไรอัตตานุทิฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ 20 เป็นภวทิฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฐิเท่าไร ฯลฯ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก มีความถือผิดด้วยอาการ 8 เป็นภวทิฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฐิเท่าไร ฯ

อัสสาททิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ 35 เป็นภวทิฐิก็มี เป็นวิภวทิฐิก็มี อัตตานุทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ 20 เป็นภวทิฐิ 15 เป็นวิภวทิฐิ 5 มิจฉาทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ 10 เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด สักกายทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ 20 เป็นภวทิฐิ 15 เป็นวิภวทิฐิ 5 สัสสตทิฐิอันมีสักกายเป็นวัตถุมีความถือผิดด้วยอาการ 15 เป็นภวทิฐิทั้งหมด อุจเฉททิฐิอันมีสักกายเป็นวัตถุมีความถือผิดด้วยอาการ 5 เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยงมีความถือผิดด้วยอาการ 5 เป็นภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยงมีความถือผิดด้วยอาการ 5 เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่าโลกมีที่สุด มีความถือผิดด้วยอาการ 5 เป็นภวทิฐิก็มี เป็นวิภวทิฐิก็มี ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด มีความถือผิดด้วยอาการ 5 เป็นภวทิฐิก็มี เป็นวิภวทิฐิก็มี ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น มีความถือผิดด้วยอาการ 5 เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่นสรีระก็เป็นอื่นมีความถือผิดด้วยอาการ 5 เป็นภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี มีความถือผิดด้วยอาการ 5 เป็นภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก มีความถือผิดด้วยอาการ 5 เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี มีความถือผิดด้วยอาการ 5 เป็นภวทิฐิก็มีเป็นวิภวทิฐิก็มี อปรันตานุทิฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ 44เป็นภวทิฐิก็มีเป็นวิภวทิฐิก็มี สังโยชนิกาทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ 18 เป็นภวทิฐิก็มีเป็นวิภวทิฐิก็มี ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา มีความถือผิดด้วยอาการ 18 เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา มีความถือผิดด้วยอาการ 18 เป็นภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน มีความถือผิดด้วยอาการ 20 เป็นภวทิฐิ 15 เป็นวิภวทิฐิ 5ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก มีความถือผิดด้วยอาการ 8 เป็นภวทิฐิก็มี เป็นวิภวทิฐิก็มีทิฐิทั้งหมดเป็นอัตตานุทิฐิ เป็นมิจฉาทิฐิ เป็นสักกายทิฐิ เป็นอันตคาหิกทิฐิ เป็นสังโยชนิกาทิฐิ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตนเป็นภวทิฐิ เป็นวิภวทิฐิชนเหล่าใดยึดถือทิฐิ 2อย่างนี้ ญาณในนิโรธย่อมไม่มีแก่ชนเหล่านั้น สัตว์โลกนี้ยึดถือในทิฐิใด ก็เป็นผู้มีสัญญาวิปริตเพราะทิฐินั้น ฯ

[356] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ถูกทิฐิ 2 อย่างกลุ้มรุมแล้ว พวกหนึ่งย่อมติดอยู่ พวกหนึ่งย่อมแล่นไป ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมติดอยู่อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลายเทวดาและมนุษย์ผู้ชอบภพ ยินดีในภพ บันเทิงอยู่ในภพ จิตของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในธรรมที่เราแสดงเพื่อความดับภพ ดูกรภิกษุทั้งหลายเทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมติดอยู่อย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมแล่นไปอย่างไร ก็เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมอึดอัด ระอา เกลียดชังภพ ย่อมยินดีความปราศจากภพว่า ชาวเราเอ๋ย ได้ยินว่าเมื่อใด ตนแต่กายแตกไปแล้วย่อมขาดสูญย่อมพินาศ เมื่อนั้น ตนเบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก เพราะฉะนั้นความไม่เกิดนี้ละเอียด ประณีต ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมแล่นไปอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเห็นความเป็นสัตว์ตามความเป็นจริง ครั้นแล้วย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัดเพื่อดับความเป็นสัตว์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่ อย่างนี้แล ฯ

ถ้าภิกษุใด เห็นความเป็นสัตว์ตามความเป็นจริง และก้าวล่วง
ความเป็นสัตว์แล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมตามที่เป็นจริง
เพื่อความหมดสิ้นแห่งภวตัณหา ภิกษุนั้น กำหนดรู้ ความ
เป็นสัตว์แล้ว ผู้ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ย่อม
ไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะความไม่มีแห่งความเป็นสัตว์ ดังนี้ ฯ

[357] บุคคล 3 จำพวกมีทิฐิวิบัติ บุคคล 3 จำพวกมีทิฐิสมบัติ ฯ

บุคคล 3 จำพวกเหล่าไหนมีทิฐิวิบัติ เดียรถีย์ 1 สาวกเดียรถีย์ 1 บุคคลผู้มีทิฐิผิด 1 บุคคล 3 จำพวกเหล่านี้มีทิฐิวิบัติ ฯ

บุคคล 3 จำพวกเหล่าไหนมีทิฐิสมบัติ พระตถาคต 1 สาวกพระตถาคต 1บุคคลผู้มีทิฐิชอบ 1 บุคคล 3 จำพวกเหล่านี้มีทิฐิสมบัติ ฯ

นรชนใด เป็นคนมักโกรธ มักผูกโกรธ มีความลบหลู่ลามก
มีทิฐิวิบัติ เจ้าเล่ห์ พึงรู้จักนรชนนั้นว่าเป็นคนเลว นรชนใด
เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่คุณท่าน มีทิฐิ
สมบัติ มีปัญญา พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นผู้ประเสริฐ ดังนี้ ฯ

[358] ทิฐิวิบัติ 3 ทิฐิสมบัติ 3 ฯ

ทิฐิวิบัติ 3 เป็นไฉน ความเห็นวิบัติว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของของเรา ทิฐิวิบัติ 3 เหล่านี้ ฯ

ทิฐิสมบัติ 3 เป็นไฉน ความเห็นอันถูกต้องว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรานั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ทิฐิสมบัติ 3 เหล่านี้ ฯ

[359] ทิฐิอะไรว่า นั่นของเรา เป็นทิฐิเท่าไร ทิฐิเหล่านั้น ตามถือส่วนสุดอะไรทิฐิอะไรว่า นั่นเป็นเรา เป็นทิฐิเท่าไร ทิฐิเหล่านั้น ตามถือส่วนสุดอะไร ทิฐิอะไรว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา เป็นทิฐิเท่าไร ทิฐิเหล่านั้นตามถือส่วนสุดอะไร ฯ

ความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีตว่า นั่นของเรา เป็นทิฐิ 18 ทิฐิเหล่านั้น ตามถือขันธ์ส่วนอดีต ความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคตว่า นั่นเป็นเรา เป็นทิฐิ 44ทิฐิเหล่านั้นตามถือขันธ์ส่วนอนาคต อัตตานุทิฐิมีวัตถุ 20 ว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา เป็นสักกายทิฐิ มีวัตถุ 20 ทิฐิ 62โดยมีสักกายทิฐิเป็นประธานทิฐิเหล่านั้น ตามถือขันธ์ทั้งส่วนอดีตและส่วนอนาคต ฯ

[360] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงความเชื่อแน่ในเรา ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ บุคคล 5 จำพวกเชื่อแน่ในธรรมนี้บุคคล 5 จำพวกเชื่อแน่ในภพสุทธาวาส ในธรรมนี้ ฯ

บุคคล 5 จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล 5 จำพวกนี้ คือ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน 1 โกลังโกละโสดาบัน 1 เอกพิชีโสดาบัน 1พระสกทาคามี 1 พระอรหันต์ในปัจจุบัน 1 เชื่อแน่ในธรรมนี้ ฯ

บุคคล 5 จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ บุคคล5 จำพวกนี้คือ อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล 1 อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามีบุคคล 1 อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล 1 สสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล 1 อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีอนาคามีบุคคล 1 เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงความเชื่อแน่ในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด ถึงพร้อมด้วยทิฐิ บุคคล 5 จำพวกนี้เชื่อแน่ในธรรมนี้บุคคล 5 จำพวกนี้เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ ฯ

[361] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสในเราอย่างแน่นแฟ้น บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้นรวม 5จำพวกนี้ เชื่อแน่ในธรรมนี้บุคคล 5 จำพวกเชื่อแน่ในภพชั้นสุทธาวาสในธรรมนี้ ฯ

บุคคล 5 จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล 5 จำพวกนี้ คือสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน 1 … พระอรหันต์ในปัจจุบัน 1 เชื่อแน่ในธรรมนี้ ฯ

บุคคล 5 จำพวกนี้ คือ อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล 1 … อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีบุคคล 1 เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสในเราอย่างแน่นแฟ้น บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้นรวมเป็น 5 จำพวกนี้ เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล 5จำพวกนี้ เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ฉะนี้แล ฯ

จบทิฐิกถา

____

เพิ่มเติม