ถาม: ผู้ปฏิบัติธรรมตามปริยัติ ปฏิบัติกันอย่างไร?
ตอบ: ในกรณีที่มีอาจารย์กรรมฐานที่มีคุณสมบัติ คือ ทั้งบรรลุธรรม ได้ฌาน ได้อภิญญา ได้วิปัสสนาญาณ ได้มรรคผล และทั้งทรงจำพระไตรปิฎกอย่างคล่องปากขึ้นใจ มุขปาฐะสืบๆ กันมาจากรุ่นสู่รุ่น เช่น อาจารย์กรรมฐานของวัด @pa-auk เป็นต้น นั้น:
ท่องจำกรรมฐานอย่างย่อจากปากพระอาจารย์ผู้มีคุณสมบัติพร้อมนั้น ท่องจำวนไปวนมาซ้ำๆ พร้อมทั้งนำความหมายออกมาจากบทบริกรรมให้ได้
- ทุกๆ ตัวอักษร (อกฺขรํ ได้ สงฺกาสนา)
- ทุกๆ คำ (ปทํ ได้ ปกาสนา)
- ทุกๆ ประโยค (พฺยญฺชนํ ได้ วิวรณา)
- วิเคราะห์ทุกๆ สภาวะ (นิรุตฺติ ได้ วิภชฺชนา)
- อธิบายบทบริกรรมทุกๆ บทให้ได้ (นิทฺเทโส ได้ อุตฺตานีกมฺมํ)
- อธิบายคำอธิบายนั้นได้ด้วย (อากาโร ได้ ปญฺญตฺติ)
นำสิ่งที่ท่องจำนี้ไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
ถ้าติดขัดตรงไหน หรือ ยังไม่บรรลุ ให้ค่อยๆ ไปรับกรรมฐานเพิ่มให้ละเอียดขึ้นๆ
ถ้าจะศึกษาเอง ไม่กลัวว่าจะตายก่อนบรรลุ และไม่สามารถหาอาจารย์ที่มีคุณสมบัติข้างต้นได้เลย:
พระอรรถกถาจารย์ให้เริ่มที่ท่องจำขุททกปาฐะบาลีและแปล ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ในปฐมสังคายนาล้วนพากันไปฟังคำอธิบายธรรมะจากพระสารีบุตรกันทั้งสิ้น ฉะนั้นจึงต้องท่องจำมาติกาปฏิสัมภิทามรรคและมาติกาสุตมยญาณ มหาสติปัฏฐานสูตร อภิธัมมมาติกา เนตติปกรณ์สังคหะ-อุทเทส-นิทเทส ในกรณีพระภิกษุ เพิ่มปาติโมกขอุทเทส และการท่องจำตามหลักสูตรนิสสยมุจจกะเข้าไปด้วย.
ท่องจำทั้งหมดนั่นด้วยความเคารพดุจที่ทำกับพระอาจารย์ผู้มีคุณสมบัติพร้อมนั้น ท่องจำวนไปวนมาซ้ำๆ พร้อมทั้งนำความหมายออกมาจากบทบริกรรมให้ได้
- ทุกๆ ตัวอักษร (อกฺขรํ ได้ สงฺกาสนา)
- ทุกๆ คำ (ปทํ ได้ ปกาสนา)
- ทุกๆ ประโยค (พฺยญฺชนํ ได้ วิวรณา)
- วิเคราะห์ทุกๆ สภาวะ (นิรุตฺติ ได้ วิภชฺชนา)
- อธิบายบทบริกรรมทุกๆ บทให้ได้ (นิทฺเทโส ได้ อุตฺตานีกมฺมํ)
- อธิบายคำอธิบายนั้นได้ด้วย (อากาโร ได้ ปญฺญตฺติ)
นำสิ่งที่ท่องจำนี้ไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
ถ้าติดขัดตรงไหน หรือ ยังไม่บรรลุ ให้ค่อยๆ ไปดูส่วนของนิทเทสหรืออรรถกถาของเรื่องนั้นๆ เพิ่ม.
ในภิกษุนั้น จะมีอาจารย์กรรมฐานที่มีคุณสมบัติพร้อมหรือไม่มีก็ตาม จะต้องทำตามหลักสูตรภิกขุนิสสยมุจจกะให้แตกฉาน ไม่เช่นนั้นมีอาบัติทุกคืนเมื่ออยู่ปราศจากอุปัชฌาย์ผู้มีคุณสมบัติภิกขุปริสูปัฏฐาปกะ. นี้สำหรับวิปัสสนาธุระ ตามจักขุปาลัตเถรวัตถุกล่าวไว้ คือ มีพรรษา 5 พ้นนิสสัยจากอาจารย์แล้ว พระจักขุปาละก็เลือกไปทำวิปัสสนาต่อ โดยมีคุณสมบัติของนิสสยมุจจกะติดตัวไป.
ส่วนคันถธุระนั้น ตาม วินย.อ. นั้น เหมาะสำหรับพระอรหันต์ (ในฏีกาแปลอย่างนี้ แต่คำว่าขีณาสพ ที่ใช้ทั่วไปสามารถหย่อนลงมาได้ถึงพระโสดาบัน) หรืออย่างน้อยที่สุดแม้กัลยาณปุถุชนผู้ที่ทำองค์ของนิสสยมุจจกะครบแล้ว ก็มาทำคันถธุระในหลักสูตรภิกขุปริสูปัฏฐาปกะและภิกขุโนวาทกะต่อ.