อยู่ในระหว่างปรับสำนวน
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ตำราพุทธมีลำดับการศึกษาให้เข้าใจทะลุทะลวงดังนี้: ขอเป็นศิษย์ผู้มีฌานวสีทรงจำพระไตรปิฎกบาลี > ท่องจำบาลีตามลำดับซ้ำๆ ไม่ลืมทบทวนแม้จำได้แล้ว > สอบถามบาลี > ฟังคำอธิบายบาลี > ทรงจำทั้งหมด > ในระหว่างท่องจำก็พยายามปฏิบัติตามไปด้วยจนแตกฉาน. ผู้ที่ข้ามขั้นตอนเหล่านี้ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นไปได้ยากที่จะบรรลุอัปปนาทั้งโลกิยะและโลกุตตระในศาสนาพุทธได้ พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า "โมฆบุรุษ" เพราะว่างเปล่าจากอัปปนา (เรียบเรียงจากกีฏาคิริสูตร; ธัมมัญญูสูตร; สัจจบรรพะ อรรถกถามัคคนิทเทส; วิสุทธิมรรค กัมมัฏฐานคหณนิทเทส)
หารสัมปาตวาระ 16
[52] ท่านพระมหากัจจยนะกล่าวคาถาว่า"หาระ 16 ควรกระทำก่อน แล้วใคร่ครวญธรรมที่เป็นทิศด้วย ทิสโล-จนนัย และย่อไว้ด้วยอังกุสนัย พึงแสดงสุตตะด้วยนัยทั้ง 3 อย่างนี้" ดังนี้ถามว่า นิทเทสแห่งคาถานั้น พึงเห็น ณ ที่ไหนตอบว่า พึงเห็นในการประชุมแห่งหาระ ฯ
ในหารสัมปาตะ 16 นั้น เทสนาหารสัมปาตะ เป็นไฉน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า"ภิกษุมีจิตไม่รักษาแล้ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ และถูกถีนมิทธะครอบงำแล้วย่อมไปสู่อำนาจแห่งมาร" ดังนี้ ฯ
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอะไร ด้วยคำว่า "มีจิตไม่รักษา
แล้ว" นี้
ตอบว่า ความประมาท ความประมาทนั้นเป็นทางแห่งความตาย ฯคำว่า "มิจฺฉาทิฏฺฐิหเตน จ" (เป็นมิจฉาทิฏฐิ) อธิบายว่า เมื่อใด บุคคลเห็นขันธปัญจกะ ที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง เมื่อนั้น บุคคลนั้นก็วิปลาส พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสถึงบุคคลวิปลาสนั้นว่า ชื่อว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯ ก็วิปลาสนั้นมีลักษณะอย่างไร วิปลาสมีความถือเอาสิ่งตรงกันข้ามเป็นลักษณะ ฯ บุคคลผู้ถือเอาสิ่งตรงกันข้ามนั้น ย่อมให้คลาดเคลื่อนอย่างไร ย่อมให้คลาดเคลื่อนในธรรม 3 อย่าง คือ ยังสัญญาให้คลาดเคลื่อน ยังจิตให้คลาดเคลื่อน และยังทิฏฐิให้คลาดเคลื่อน ฯ บุคคลนั้น ย่อมให้คลาดเคลื่อนในที่ไหน ย่อมให้คลาดเคลื่อนในวัตถุแห่งอัตภาพ 4 (คือ ในรูปกาย เวทนา จิต ธรรม) บุคคลนั้น ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง ย่อมตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง ย่อมตามเห็นรูปในตนบ้าง ย่อมตามเห็นตนในรูปบ้าง ฯ ย่อมตามเห็นเวทนา ฯลฯ ย่อมตามเห็นสัญญา ฯลฯ ย่อมตามเห็นสังขารทั้งหลาย ฯลฯ ย่อมตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนบ้าง ย่อมตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ย่อมตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ย่อมตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง อย่างนี้ ฯ
วัตถุแห่งอัตภาพ 4ในวัตถุแห่งอัตภาพ 4 มีรูปเป็นต้นนั้น รูป เป็นวัตถุวิปัลลาสที่ 1 ย่อมเป็นไปโดยนัยว่า "อสุเภ สุภํ" ดังนี้ ฯ เวทนา เป็นวัตถุวิปัลลาสที่ 2 ย่อมเป็นไปโดยนัยว่า "ทุกฺเข สุขํ" ดังนี้ ฯ สัญญาและสังขารทั้งหลาย เป็นวัตถุแห่งวิปัลลาสที่ 3 ย่อมเป็นไปโดยนัยว่า "อนตฺตนิ อตฺตา" ดังนี้ ฯ วิญญาณ เป็นวัตถุแห่งวิปัลลาสที่ 4 ย่อมเป็นไปโดยนัยว่า "อนิจฺเจ นิจฺจํ" ดังนี้ ฯ
ธรรมทั้ง 2 เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต คือ ตัณหาและอวิชชา จิตอันตัณหาหุ้มห่อแล้ว ย่อมให้วิปัลลาสด้วยวิปัลลาส 2 คือ ในสิ่งที่ไม่งามว่างามในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ฯ จิตอันทิฏฺฐิ (ทิฏฺฐิสหิตอวิชฺชา) หุ้มห่อแล้ว ย่อมให้วิปัลลาสด้วยวิปัลลาส 2 คือ ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าตนในตัณหาและอวิชชาประกอบด้วยทิฏฐินั้น บุคคลใด มีอวิชชา ประกอบด้วยทิฏฐิวิปัลลาส บุคคลนั้น ย่อมตามเห็นรูปที่เป็นอดีตโดยความเป็นตน ย่อมตามเห็นเวทนาอันเป็นอดีต ฯลฯ ย่อมตามเห็นสัญญาอันเป็นอดีต ฯลฯ สังขารทั้งหลายอันเป็นอดีต ฯลฯ ย่อมตามเห็นวิญญาณอันเป็นอดีตโดยความเป็นตนฯ
ในธรรมทั้ง 2 นั้น บุคคลใดมีตัณหาวิปัลลาส บุคคลนั้นย่อมยินดียิ่งซึ่งรูปอันยังไม่มาถึง (อนาคต) ฯลฯ เวทนาอันยังไม่มาถึง ฯลฯ สัญญาอันยังไม่มาถึง ฯลฯ
สังขารทั้งหลายอันยังไม่มาถึง ย่อมยินดียิ่งซึ่งวิญญาณอันยังไม่มาถึง ฯ ธรรมทั้ง 2 คือ ตัณหาและอวิชชา เป็นอุปกิเลสของจิต เพราะเป็นมูลเหตุแห่งวิปัลลาสที่มีโทษอย่างยิ่ง ฯ จิตเมื่อหมดจด (บริสุทธิ์) ย่อมหมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้ง 2 นั้น ฯ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏแก่สัตว์เหล่านั้น ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น แก่ผู้มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน คือว่า ย่อมไม่ปรากฏแก่สัตว์ผู้แล่นไปอยู่ ผู้ท่องเที่ยว ไปอยู่สู่นรกคราวเดียว สู่กำเนิดสัตว์เดรัจฉานคราวเดียว สู่เปตวิสัยคราวเดียว สู่อสุรกายคราวเดียว สู่เทพทั้งหลายคราวเดียว และสู่มนุษย์ทั้งหลายคราวเดียวฯ
คำว่า "ถูกถีนมิทธะครอบงำ" ได้แก่ ความป่วยไข้ คือ ความไม่ควรแก่การงานของจิต ชื่อว่า ถีนะ ความหดหู่ของกาย (นามขันธ์ 3 ที่เหลือ) ชื่อว่ามิทธะ ฯ
คำว่า "ไปสู่อำนาจของมาร" ได้แก่ ไปสู่อำนาจของกิเลสมารและสัตตมาร (คือเทวปุตตมาร) จริงอยู่ บุคคลนั้นผู้อันมารกำบังแล้ว ย่อมเป็นผู้มุ่งหน้าไปสู่สังสาร ฯ
ประชุมเทสนาลงในสัจจะ 4สัจจะเหล่านี้ 2 สัจจะแรก พระองค์ทรงแสดง ทุกข์และสมุทัย พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อความรอบรู้และเพื่อการละ คือ เพื่อการกำหนดรู้ทุกข์ เพื่อการละสมุทัยแห่งสัจจะทั้ง 2 นั้น ฯ สัจจะใด ย่อมรู้ทั่วด้วยอริยมรรคใด และย่อมละด้วยอริยมรรคใด นี้ชื่อว่า มรรค ฯ การละตัณหาและอวิชชา นี้ ชื่อว่า นิโรธ ฯ เทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าประชุมลงในสัจจะ 4นี้ ฉะนีิ้ ฯ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า "อรกฺขิเตน จิตฺเตน" เป็นต้น เพราะเหตุนั้นท่านพระมหากัจจายนะจึงประชุมเทสนาหาระนี้ว่า"อัสสาทะ (ความยินดี) อาทีนวะ (โทษ) นิสสรณะ (การสลัดออก)ผล (อานิสงส์) อุบาย (ข้อแนะนำ) อาณัตติ (บัญญัติเทสนา) ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า เทสนาหาระ" ดังนี้
จบ เทสนาหารสัมปาตะ
[53] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น วิจยหารสัมปาตะ เป็นไฉน
ในวิจยหารสัมปาตะนั้น ความปรารถนามี 2 อย่าง คือ มีกุศล (เป็นปัจจัย)บ้าง มีอกุศล (เป็นปัจจัย) บ้าง ฯ ความปรารถนาที่มีอกุศล (เป็นปัจจัย) ย่อมยังสัตว์ให้ถึงสังสาร แต่ความปรารถนาที่มีกุศล (เป็นปัจจัย) ย่อมให้ถึงพระนิพพาน คือความปรารถนาที่เป็นเหตุละ ฯ
แม้มานะก็มี 2 อย่าง คือ มีกุศล (เป็นปัจจัย) บ้าง มีอกุศล (เป็นปัจจัย)บ้าง ฯ บุคคลอาศัยมานะใด ย่อมละมานะ มานะนี้ชื่อว่า กุศล (คือ อาศัยกุศล)แต่มานะใด ย่อมให้ทุกข์เกิดขึ้น มานะนี้เป็นอกุศล ฯ ในความปรารถนาที่ยังสัตว์ให้ถึงสังสารและนิพพานนั้น ความปรารถนาที่มีกุศล (เป็นปัจจัย) ได้แก่ความปรารถนา ย่อมเกิดแก่กุลบุตรผู้ปรารถนาอริยผลว่า "พระอริยะทั้งหลายย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งอายตนะอันสงบแล้ว (อริยผล) อันใด เราก็จักกระทำให้แจ้งอายตนะ (อริยผล) อันนั้น" ดังนี้ โทมนัสนี้ เรียกว่า เนกขัมมสิตะ เพราะความปรารถนาเป็นปัจจัย โทมนัสจึงเกิดขึ้น ฯ ความปรารถนามีกุศล (เป็นปัจจัย) นี้ชื่อว่า เจโตวิมุตติเพราะสำรอกราคะ ความปรารถนามีกุศล (เป็นปัจจัย) นั้นชื่อว่า ปัญญาวิมุตติเพราะสำรอกอวิชชา (ความปรารถนามีกุศลเป็นปัจจัยย่อมไม่มีโทษ เพราะมุ่งอริยผลอันไม่มีโทษ) ฯ
ถามว่า อะไร เป็นเครื่องตรวจสอบปัญญาวิมุตตินั้น ฯ
ตอบว่า องค์แห่งมรรคมีองค์ 8 คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีิวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ย่อมตรวจสอบปัญญาวิมุตติ เพราะอริยมรรคนั้นเป็นมูล ฯ
ถามว่า การตรวจสอบปัญญาวิมุตตินั้น พึงเห็นในที่ไหนตอบว่า พึงเห็นในฌานที่ 4 เพราะเป็นฌานสูงสุด จริงอยู่ บุคคลใดได้ฌานที่ 4 ย่อมยังจิตประกอบด้วยองค์ 8 เหล่านี้ คือ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อน จิตควรแก่การงาน จิตตั้งมั่น จิตไม่หวั่นไหว ให้เจริญอยู่ ฌานลาภีบุคคลนั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ 8 อย่างในฌานที่ 4 นั้น คือ ย่อมบรรลุอภิญญา 6 และคุณธรรมพิเศษอีก 2 คือ มโนมยิทธิและวิปัสสนาญาน ฯ ก็จิตในฌาณที่ 4 นั้น ย่อมมีเมื่อไร ความผ่องแผ้วก็ย่อมมีเมื่อนั้นความผ่องแผ้วย่อมมีเมื่อไร กิเลสเพียงดังเนินก็ย่อมไม่มีเมื่อนั้น กิเลสเพียงดังเนินย่อมไม่มีเมื่อไร จิตควรแก่การงานก็ย่อมมีเมื่อนั้น จิตควรแก่การงานย่อมมีเมื่อไร จิตตั้งมั่นก็ย่อมมีเมื่อนั้น จิตตั้งมั่นย่อมมีเมื่อไร จิตไม่หวั่นไหวก็ย่อมมีเมื่อนั้น เพราะฉะนั้น การตรวจสอบปัญญาวิมุตตินั้น จึงทราบได้ในฌานที่ 4 ฯ
ในฝ่ายทั้ง 2 คือตัณหาและอวิชชานั้น คำทั้ง 2 คือ กิเลสเพียงดังเนินและอุปกิเลส เป็นฝ่ายแห่งตัณหา ความหวั่นไหวอันใด และความไม่ตั้งมั่นแห่งจิตอันใด นี้เป็นฝ่ายแห่งทิฏฐิ (อวิชชา) ฯ
อินทรีย์ 4 คือ ทุกขินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ สุขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ย่อมดับไปในฌานที่ 4 อุเบกขินทรีย์ที่เหลือ ย่อมมีแก่พระโยคีนั้น ฯ พระโยคีนั้นย่อมใส่ใจซึ่งสมาบัติเบื้องบน เพราะความยินดีในสมาบัติอันสงบ เมื่อพระโยคีนั้นใส่ใจสมาบัติเบื้องบนอยู่ สัญญาในฌานที่ 4 ย่อมเป็นราวกะว่าสัญญาหยาบตั้งอยู่ และไม่ยินดีปฏิฆสัญญา (ปัญจวิญญาณ) อยู่ พระโยคีนั้นจึงกระทำในใจถึง"อนนฺตํ อากาสํ" เป็นไปเพราะการก้าวล่วงรูปสัญญาโดยไม่เหลือ เพราะการตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญาทั้งหลาย และเพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา (อกุศลสัญญาต่างๆ ) กระทำให้แจ้งซึ่งอากาสานัญจายตนะสมาบัติ เข้าถึงอยู่ ฯ รูปาวจรสัญญา ชื่อว่า มีการนำออกด้วยอภิญญา โวการ (ความลามก) ในอารมณ์ต่าง ๆชื่อว่า นานัตตสัญญา พระโยคีย่อมก้าวล่วงรูปาวจรสัญญาและนานัตตสัญญานั้นและปฏิฆสัญญาของพระโยคาวจรนั้น ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ รูปาวจรสมาธิ คือโอภาสของพระโยคีผู้มีจิตตั้งมั่นอย่างนี้ย่อมอันตรธานไป และการเห็นกสิณรูปทั้งหลายก็ย่อมอันตรธานไป ด้วยอำนาจแห่งอรูปาวจรสมาธิ รูปาวจรสมาธิทั้ง 2 นั้น ประกอบด้วยองค์ 6 นั้น ควรพิจารณาว่า ใจของเราไม่ประกอบด้วยอภิชฌาในโลกทั้งปวง จิตของเราไม่มุ่งร้ายในสัตว์ทั้งปวง ความเพียรอันเราเริ่มประคองไว้แล้ว กายของเราสงบแล้ว ไม่ปั่นป่วนแล้ว จิตของเราตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่านแล้ว สติของเราปรากฏ ไม่หลงลืมแล้ว ฯ
ในองค์ 6 เหล่านั้น ใจไม่ประกอบด้วยอภิชฌาในโลกทั้งปวงอันใด จิตไม่มุ่งร้ายในสัตว์ทั้งปวงอันใด ความเพียรเริ่มแล้วประคองไว้อันใด จิตที่ตั้งมั่นไม่ซัดส่ายอันใด ทั้งหมดนี้ ชื่อว่า สมถะ ฯ กายอันสงบแล้วไม่ปั่นป่วนอันใด นี้ ชื่อว่าสมาธิบริกขาร ฯ สติปรากฏแล้ว ไม่หลงลืมอันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนา ฯ
ญาณทัสสนะ 5
สมาธิอรหัตผลใด ได้ด้วยสมถะวิปัสสนาปฏิปทาสมาธินั้น พึงทราบว่ามีญาณทัสสนะ 5 อย่างคือ ญาณทัสสนะ ย่อมปรากฏเฉพาะแก่พระอรหันต์เท่านั้นว่า "สมาธินี้ เป็นสมาธิมีสุขในปัจจุบัน" ดังนี้ญาณทัสสนะ ย่อมปรากฏเฉพาะแก่พระอรหันต์เท่านั้นว่า "สมาธินี้เป็นสมาธิ มีสุขวิบากต่อไป" ดังนี้ ญาณทัสสนะ ย่อมปรากฏเฉพาะแก่พระอรหันต์เท่านั้นว่า"สมาธินี้ เป็นอริยะไม่มีอามิส" ดังนี้ ญาณทัสสนะ ย่อมปรากฏเฉพาะแก่พระอรหันต์เท่านั้นว่า "สมาธินี้ เป็นสมาธิอันบุรุษผู้ไม่ต่ำทรามเสพแล้ว" ดังนี้ญาณทัสสนะ ย่อมปรากฏเฉพาะแก่พระอรหันต์เท่านั้นว่า "สมาธินี้ เป็นสมาธิสงบแล้ว ประณีต ได้ความสงบระงับ มีการบรรลุภาวะแน่วแน่ และมีการข่มการห้ามปัจจนิกธรรมที่มีการปรุงแต่งเป็นไป" ดังนี้ ฯ ก็ญาณทัสสนะ ย่อมปรากฏเฉพาะแก่พระอรหันต์เท่านั้นว่า "เรามีสติเข้าถึง เรามีสติออก ซึ่งสมาธินี้นั้น" ดังนี้แล ฯ
[54] ในสมาธิเหล่านั้น สมาธิใดมีสุขในปัจจุบัน สมาธิใดมีสุขวิบากต่อไป สมาธินี้เป็นสมถะ ฯ สมาธิใดเป็นอริยะไม่มีอามิส สมาธิใดอันบุรุษผู้ไม่ต่ำทรามเสพแล้ว สมาธิใด สงบแล้ว ประณีต ได้ความสงบระงับ บรรลุภาวะแน่วแน่ มีการข่มการห้ามปัจจนิกธรรมซึ่งมีการปรุงแต่งเป็นไป และสมาธิที่ท่านกล่าวว่า เรามีสติเข้าถึง เรามีสติออก ดังนี้ สมาธิเหล่านี้ เป็นวิปัสสนา ฯ
สมาธิใด อันเป็นปฏิปทาเบื้องต้นแห่งอรหัตผลสมาธิสมาธินั้น บัณฑิตพึงทราบว่า โดยอาการ 5 อย่าง คือ ความแผ่ซ่านไปแห่งปีติ ความแผ่ซ่านไปแห่งสุข ความแผ่ซ่านไปแห่งใจ (เจโตปริยะ) ความแผ่ซ่านไปแห่งอาโลกะและปัจจเวกขณานิมิต ฯ ในอาการ 5 เหล่านั้น การแผ่ไปแห่งปีติอันใด การแผ่ไปแห่งสุขอันใด การแผ่ไปแห่งใจอันใด การแผ่ไปอันนี้เป็นสมถะ ฯ การแผ่ไปแห่งอาโลกะอันใดและปัจจเวกขณานิมิตอันใด นี้ชื่อว่าเป็นวิปัสสนาฯ
[55] กสิณายตนะมี 10 คือ ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณนีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ อากาสกสิณ (คือ ปฐมอรูปฌานที่เป็นไปในกสิณุคฆาฏิมากาส) วิญญาณกสิณ (คือ อรูปฌานที่ 2 ซึ่งมีอรูปวิญญาณที่ 1 เป็นอารมณ์) ฯ ในกสิณายตนะ 10 นั้น ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณวาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ อันใด กสิณทั้ง 8 นี้เป็นสมถะ ฯ อากาสกสิณและวิญญาณกสิณอันใด ทั้ง 2 นี้ ท่านกล่าวว่า เป็นวิปัสสนา (เพราะภาวะแห่งวิปัสสนาธิฏฐาน) ฯ โดยอาการอย่างนี้ อริยมรรคทั้งปวงอันเรากล่าวแล้วโดยอาการใด ๆ ก็พึงประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนาโดยอาการนั้นๆ ฯ สมถะ (สมถาธิฏฐาน) และวิปัสสนาธรรมเหล่านี้ ท่านสงเคราะห์ไว้ด้วยธรรม 3 คือ ด้วยอนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา ฯ พระโยคีนั้น เมื่อยังสมถะวิปัสสนาให้เจริญ ย่อมยังวิโมกขมุขทั้ง 3ให้เจริญ ฯ เมื่อยังวิโมกขมุขทั้ง 3 ให้เจริญ ย่อมยังขันธ์ 3 (มีศีลขันธ์เป็นต้น)ให้เจริญ ฯ เมื่อยังขันธ์ 3 ให้เจริญ ย่อมยังอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8ให้เจริญ ฯ
วิโมกขมุข 3
บุคคลผู้ราคจริต เมื่อศึกษาด้วยอธิจิตตสิกขา เมื่อละอกุศลมูลคือโลภะเมื่อเข้าถึงซึ่งผัสสะอันเป็นเหตุแห่งสุขเวทนา เมื่อกำหนดรู้ซึ่งสุขเวทนา เมื่อนำออกซึ่งมลทินคือราคะ เมื่อสลัดออกซึ่งธุลีคือราคะ เมื่อคายออกซึ่งพิษร้ายคือราคะ เมื่อให้ดับซึ่งไฟคือราคะ เมื่อถอนลูกศรคือราคะ เมื่อสางซึ่งชัฏคือราคะย่อมนำออกไป ด้วยอนิมิตตวิโมกขมุข คือ อนิจจานุปัสสนา ฯ
บุคคลผู้โทสจริต เมื่อศึกษาด้วยอธิศีลสิกขา เมื่อละอกุศลมูลคือโทสะเมื่อเข้าถึงผัสสะอันเป็นเหตุแห่งทุกขเวทนา เมื่อกำหนดรู้ทุกขเวทนา เมื่อนำออกซึ่งมลทินคือโทสะ เมื่อสลัดออกซึ่งธุลีคือ โทสะ เมื่อคายพิษร้ายคือโทสะเมื่อให้ดับซึ่งไฟคือโทสะ เมื่อถอนลูกศรคือโทสะ เมื่อสางซึ่งชัฏคือโทสะ ย่อมออกไปด้วย อัปปณิหิตวิโมกขมุข คือ ทุกขานุปัสสนา ฯ
บุคคลผู้โมหจริต เมื่อศึกษาด้วยอธิปัญญาสิกขา เมื่อละอกุศลมูลคือโมหะเมื่อเข้าถึงผัสสะอันเป็นเหตุแห่งอทุกขมสุขเวทนา เมื่อกำหนดรู้ซึ่งอทุกขมสุขเวทนา เมื่อนำออกซึ่งมลทินคือโมหะ เมื่อสลัดออกซึ่งธุลีคือโมหะ เมื่อคายพิษร้ายคือโมหะ เมื่อให้ดับซึ่งไฟคือโมหะ เมื่อถอนลูกศรคือโมหะ เมื่อสางซึ่งชัฏคือโมหะ ย่อมออกไปด้วยสุญญตวิโมกขมุข คือ อนัตตานุปัสสนา ฯ
บรรดาวิโมกขมุข 3 นั้น สุญญตวิโมกขมุข (ทางหรือทวารแห่งสุญญตวิโมกข์) มีปัญญาเป็นประธาน อนิมิตตวิโมกขมุขมีสมาธิเป็นประธาน อัปปณิหิตวิโมกขมุขมีศีลเป็นประธาน บุคคลนั้น เมื่อยังวิโมกขมุข 3 ให้เจริญ ชื่อว่าย่อมยังขันธ์ 3 ให้เจริญ เมื่อยังขันธ์ 3 ให้เจริญ ชื่อว่า ย่อมเจริญซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ในอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 นั้น สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะ อันใด นี้ชื่อว่า ศีลขันธ์ สัมมาวายามะ สัมมาสติสัมมาสมาธิ อันใด นี้ชื่อว่า สมาธิขันธ์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญาขันธ์ ฯ
ในขันธ์ 3 นั้น ศีลขันธ์และสมาธิขันธ์ เป็นสมถะ ปัญญาขันธ์ เป็นวิปัสสนา บุคคลใดย่อมยังสมถวิปัสสนาให้เจริญ องค์แห่งภพ (อุปปัตติภพ) 2 คือกายและจิตของบุคคลนั้น ย่อมถึงซึ่งความเจริญ บาททั้ง 2 คือ ศีลและสมาธิเป็นปฏิปทาให้ถึงความดับภพ ฯ ภิกษุนั้น ชื่อว่า เป็นผู้มีกายอบรมแล้ว มีศีลอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้ว มีปัญญาอบรมแล้ว เมื่อกายอันบุคคลนั้นอบรมอยู่ธรรมทั้ง 2 คือ สัมมากัมมันตะและสัมมาวายามะ ย่อมถึงซึ่งความเจริญ เมื่อศีล อันบุคคลนั้นอบรมอยู่ ธรรมทั้ง 2 คือ สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ ย่อมถึงซึ่งความเจริญ เมื่อจิตอันบุคคลนั้นอบรมอยู่ ธรรมทั้ง 2 คือ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ย่อมถึงซึ่งความเจริญ เมื่อปัญญา อันบุคคลนั้นอบรมอยู่ ธรรมทั้ง 2 คือสัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ ย่อมถึงซึ่งความเจริญ ฯ
ในธรรมทั้ง 2 นั้น สัมมากัมมันตะอันเป็นกายสุจริต เจตนาอันใด สัมมาวายามะที่เป็นไปกับกายสุจริตนั้น อันใด พึงเป็นไปทางกาย พึงเป็นไปทางใจ ในมรรคทั้ง 2 นั้น มรรคใดสงเคราะห์ทางกาย มรรคนั้นเมื่อกายอันบุคคลอบรมแล้วย่อมถึงความเจริญ มรรคใด สงเคราะห์เข้าในจิต มรรคนั้นเมื่อจิตอันบุคคลอบรมแล้ว ย่อมถึงความเจริญ ฯ
พระโยคีนั้นเมื่อยังสมถะและวิปัสสนาให้เจริญ ย่อมถึงอธิคม 5 อย่าง คือเป็นผู้บรรลุเร็วพลัน (ขิปปาธิคม) เป็นผู้บรรลุวิมุตติ (วิมุตตาธิคม) เป็นผู้บรรลุใหญ่ (มหาธิคม) เป็นผู้บรรลุไพบูลย์ (วิปุลาธิคม) เป็นผู้บรรลุไม่เหลือ (อนวเสสาธิคม) ในอธิคมเหล่านั้น ขิปปาธิคม มหาธิคมและวิปุลาธิคม ย่อมมีด้วยสมถะวิมุตตาธิคมและอนวเสสาธิคม ย่อมมีด้วยวิปัสสนา ฯ
[56] ในการอบรมสมถะวิปัสสนานั้น พระศาสดาใดย่อมแสดง พระศาสดานั้นประกอบด้วยกำลัง 10 ย่อมยังสาวกทั้งหลาย ไม่ให้ขัดแย้งกันด้วยโอวาทพระศาสดานั้นย่อมทรงแสดงพระโอวาทนั้น โดยอาการ 3 อย่างว่า พวกเธอจงทำสิ่งนี้ (คือ จงเข้าถึงสรณคมน์มีศีลเป็นต้นนี้อยู่เถิด) พวกเธอจงทำโดยอุบายนี้(คือ จงชำระสรณคมน์มีศีลเป็นต้นให้บริสุทธิ์โดยวิธีนี้) ธรรมนี้ อันพวกเธอกระทำอยู่ จักมีประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่พวกเธอ พระสาวกนั้น อันพระศาสดากล่าวสอนแล้ว พร่ำสอนแล้วโดยประการนั้น ก็กระทำอยู่โดยประการนั้น ปฏิบัติอยู่โดยประการนั้น ย่อมไม่บรรลุภูมิ (คือ ทัสสนภูมิและภาวนาภูมิ)นั้น นี้มิใช่ฐานะที่มีได้ (คือ เหตุนี้ไม่มีอยู่ประการที่หนึ่ง) พระสาวกนั้น อันพระศาสดากล่าวสอนแล้วโดยประการนั้น พร่ำสอนแล้วโดยประการนั้น จักไม่ยังศีลขันธ์ให้บริบูรณ์ จักไม่บรรลุซึ่งภูมินั้น นี้มิใช่ฐานะที่มีได้ (ประการที่ 2)พระสาวกนั้น อันพระศาสดาโอวาทแล้วอย่างนั้น พร่ำสอนแล้วอย่างนั้นจักยังศีลขันธ์ให้บริบูรณ์ จักบรรลุซึ่งภูมิ (ทัสสนภูมิหรือภาวนาภูมิ) นั้น ดังนี้นี้เป็นฐานะที่มีอยู่ (ประการที่ 3) ฯ
ฐานะนี้ว่า "เมื่อท่านปฏิญาณตนว่า เป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านก็มิได้ตรัสรู้แล้ว" ดังนี้ ย่อมไม่มี ฐานะนี้ว่า "ท่านปฏิญาณตนว่า มีอาสวะทั้งปวงสิ้นแล้ว ก็อาสวะทั้งหลายเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้นไป" ดังนี้ ย่อมไม่มี ฯ
ฐานะนี้ว่า "ท่านแสดงธรรม เพื่อประโยชน์แก่ธรรมใด ธรรมนั้นย่อมไม่นำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ปฏิบัตินั้น" ดังนี้ ย่อมไม่มี ฯ ฐานะนี้ว่า"สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรม สาวกนั้น จักไม่กระทำให้แจ้งซึ่งวิเสสาธิคมอันโอฬารอื่นอีกโดยลำดับ" ดังนี้ ย่อมไม่มี ฯ
ฐานะนี้ว่า "ก็ธรรมเหล่าใดแล เป็นธรรมกระทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สมควรเพื่อทำอันตรายแก่ผู้เสพอยู่" ดังนี้ มิใช่ฐานะที่มีได้ ฯ ฐานะนี้ว่า "ก็ธรรมเหล่าใด ไม่เป็นธรรมนำออก ธรรมเหล่านั้น ย่อมนำออก เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ปฏิบัตินั้น" ดังนี้ มิใช่ฐานะที่มีได้ ฯ ฐานะนี้ว่า "ก็ธรรมเหล่าใด เป็นธรรมนำออก ธรรมเหล่านั้น ย่อมนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้ปฏิบัตินั้น" ดังนี้ เป็นฐานะที่มีได้ ฯ ฐานะนี้ว่า "ก็แล สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ถึงสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ (นิพพานที่มีขันธ์เหลือ) จักไม่ถึงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุนิพพานที่ไม่มีขันธ์เหลือ" ดังนี้ มิใช่ฐานะที่มีได้ ฯ
ฐานะนี้ว่า "พระอริยบุคคล ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยมัคคทิฏฐิ พึงปลงซึ่งมารดาจากชีิวิต หรือพึงทำการฆ่าด้วยมือ หรือด้วยเท้า" ดังนี้ มิใช่ฐานะที่มีได้ ฯ
ฐานะนี้ว่า "ปุถุชนพึงปลงซึ่งมารดาจากชีวิต หรือ พึงทำการฆ่าด้วยมือหรือเท้า"ดังนี้ เป็นฐานะที่มีได้ ฯ พระอริยบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยมัคคทิฏฐิ พึงปลงซึ่งบิดาจากชีวิต ฯลฯ พึงปลงซึ่งพระอรหันต์จากชีวิต ก็มีโดยนัยที่กล่าวแล้ว ฯ
"พระอริยบุคคล ผู้ถึงพร้อมด้วยมัคคทิฏฐิ พึงทำลายสงฆ์ ผู้มีสังวาสเสมอกัน ผู้อยู่ในสีมาเดียวกัน (ด้วยเหตุ 5 คือ ด้วยกรรม อุทเทส โวหาร อนุสาวนาการจับสลาก) หรือว่า พึงยังสงฆ์ให้ร้าวรานกัน" ดังนี้ มิใช่ฐานะที่มีได้ ฯ
ฐานะนี้ว่า "บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยมัคคทิฏฐิ มีจิตประทุษร้ายพระตถาคต พึงยังโลหิตให้ห้อขึ้น หรือมีจิตประทุษร้าย พึงทำลายสถูปของพระตถาคตผู้ปรินิพพานแล้ว" ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่มีได้ ฯ ฐานะนี้ว่า "ปุถุชนผู้มีจิตประทุษร้ายพระตถาคตพึงยังโลหิตให้ห้อขึ้น หรือมีจิตประทุษร้ายถึงทำลายสถูปของพระตถาคตผู้ปรินิพพานแล้ว" ดังนี้ เป็นฐานะที่มีได้ ฯ
ฐานะนี้ว่า "บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยมัคคทิฏฐิ พึงอ้างศาสดาอื่น แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต" ดังนี้ มิใช่ฐานะที่มีได้ ฯ ฐานะนี้ว่า "ปุถุชน พึงอ้างศาสดาอื่น" ดังนี้เป็นฐานะที่มีได้ ฯ ฐานะนี้ว่า "บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยมัคคทิฏฐิ พึงแสวงหาบุคคลผู้ควรซึ่งทักษิณาอื่นจากพระศาสนานี้" ดังนี้ มิใช่ฐานะที่มีได้ ฯ ฐานะนี้ว่า"ปุถุชน พึงแสวงหาบุคคลอื่นจากพระศาสนานี้" ดังนี้ เป็นฐานะที่มีได้ ฯ ฐานะนี้ว่า "บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยมัคคทิฏฐิ พึงเชื่อถือซึ่งความบริสุทธิ์ของตน ด้วยทิฏฐสุตมุตมงคลกล่าวคือการตื่นข่าว" ดังนี้ มิใช่ฐานะที่มีได้ ฯ ฐานะนี้ว่า "ปุถุชนพึงเชื่อถือซึ่งความบริสุทธิ์ของตน ด้วยทิฏฐสุตมุตมงคลกล่าวคือการตื่นข่าว" ดังนี้เป็นฐานะที่มีได้ ฯ
[57] ตำแหน่งอันสูุงสุดข้อว่า "หญิงจะพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ได้ไซร้" นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ฯ ข้อที่ว่า "บุรุษจะพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์" ดังนี้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ ข้อที่ว่า "หญิงจะพึงเป็นท้าวสักกะจอมเทพ" ดังนี้ นั่นมิใช่ฐานะที่มีได้ ฯ
ข้อว่า "บุรุษจะพึงเป็นท้าวสักกะจอมเทพ" ดังนี้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ ข้อว่า"หญิงจะพึงเป็นมารผู้ลามก (มาราธิราช)" ดังนี้ นั่นมิใช่ฐานะที่มีได้ ฯ ข้อว่า"บุรุษพึงเป็นมารผู้ลามก" ดังนี้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ ข้อว่า "หญิงจะพึงเป็นมหาพรหม" ดังนี้ นั่นมิใช่ฐานะที่มีได้ ฯ ข้อว่า "บุรุษจะพึงเป็นมหาพรหม" ดังนี้นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ ข้อว่า "หญิงจะพึงเป็นพระตถาคต เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ" ดังนี้ นั่นมิใช่ฐานะที่มีได้ ฯ
ข้อที่ว่า "พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า 2 พระองค์ จะพึงเสด็จอุบัติขึ้น หรือจะพึงแสดงธรรมพร้อมกัน ในโลกธาตุเดียวกัน" ดังนี้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ ข้อว่า "พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เดียวเท่านั้น จักเสด็จอุบัติขึ้น หรือจักแสดงธรรมในโลกธาตุหนึ่ง" ดังนี้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ
วิบากของทุจริตและสุจริตข้อที่ว่า "วิบากอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ของทุจริต 3 จักมี"ดังนี้ นั่นมิใช่ฐานะที่มีได้ ฯ ข้อว่า "วิบากอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจแห่งทุจริต 3 จักมี" ดังนี้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ ข้อว่า "วิบากอันไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของสุจริต 3 จักมี" ดังนี้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ ข้อว่า"วิบากอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ของสุจริต 3 จักมี" ดังนี้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ
ข้อที่ว่า "สมณะ (สักว่าบวช) หรือพราหมณ์ (สักว่าชาติ) คนใดคนหนึ่ง ผู้หลอกลวง ผู้ประจบ (ประจบด้วยสามารถประกอบคำพูด) ผู้ทำนิมิต (คือ ลวงเพื่อให้เกิดลาภ) ผู้กระทำนิมิตหลอกลวงหรือประจบไว้เบื้องหน้า ไม่ละนิวรณ์ 5อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งใจ อันทำปัญญาให้ทุรพล ไม่มีสติเข้าไปตั้งไว้ในสติปัฏฐาน 4 ไม่เจริญโพชฌงค์ 7 อยู่ จักตรัสรู้ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิ"ดังนี้ นั่นมิใช่ฐานะที่มีได้ ฯ
ข้อว่า "สมณะ หรือพราหมณ์ (สัพพัญญูโพธิสัตว์) คนใดคนหนึ่งผู้ปราศจากโทษ อันเป็นข้าศึกต่อบารมีทั้งปวง ผู้ละนิวรณ์ 5 อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ อันทำปัญญาให้ทุรพล เป็นผู้มีสติเข้าไปตั้งมั่นแล้วในสติปัฏฐาน 4 เจริญโพชฌงค์ 7 อยู่ จักตรัสรู้ยิ่งซึ่งสัมมาสัมโพธิอันยอดเยี่ยม" ดังนี้ เป็นฐานะที่มีได้ฯ ในฐานะและอฐานะนี้ ญาณใด เป็นไปโดยเหตุ โดยฐานะไม่มีอะไรคั่น (คือ ในขณะพิจารณา) ญาณนี้ ท่านเรียกว่า ฐานาฐานญาณ เป็นกำลังของพระตถาคต ข้อที่หนึ่ง ฯ
ธรรมทั้งปวง มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา ถึงซึ่งฐานะและอฐานะด้วยประการฉะนี้ สัตว์บางพวกเข้าถึงสวรรค์ บางพวกเข้าถึงอบาย บางพวกเข้าถึงพระนิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า
[58] "สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจักตาย เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด สัตว์ทั้งหลายจักไปตามกรรม ผู้เข้าถึงผลแห่งบุญและบาป คือ ผู้มีบาปกรรมจักไปสู่นรก ผู้มีบุญกรรมจักไปสู่สุคติ อนึ่ง สัตว์เหล่าอื่นยังมรรคให้เจริญแล้ว ไม่มีอาสวะ ย่อมปรินิพพาน" ดังนี้ ฯ
คำว่า "สพฺเพ สตฺตา" ได้แก่ สัตว์ที่เป็นพระอริยะ และไม่ใช่พระอริยะสัตว์ผู้ที่มีกายเป็นของตน (สกฺกายปริยาปนฺนา) และสัตว์ผู้ปราศจากกาย(อรูปพรหม) ฯ
คำว่า "จักตาย" ได้แก่ ด้วยการตาย 2 อย่าง คือ ด้วยการตายช้า และด้วยการตายไม่ช้า การตายไม่ช้า (เร็ว) ย่อมมีแก่ผู้มีกายเป็นของตน การตายช้าย่อมมีแก่สัตว์ผู้ปราศจากกาย (อายุยืน) ฯ
คำว่า "เพราะชีวิต มีความตายเป็นที่สุด" ได้แก่ สัตว์ผู้สิ้นอายุ ชื่อว่า มีความตายเป็นที่สุด เพราะความสิ้นไปแห่งอายุของอินทรีย์ทั้งหลาย ฯ
คำว่า "จักไปตามกรรม" ได้แก่ สัตว์ผู้มีกรรมเป็นของตน ฯ คำว่า "สัตว์ผู้เข้าถึงผลแห่งบุญและบาป" ได้แก่ ความที่กรรมทั้งหลายแสดงผล และการไม่อยู่ปราศจากกรรม ฯ คำว่า "ผู้มีบาปกรรมจักไปสู่นรก" คือ ผู้มีอปุญญสังขารทั้งหลาย ฯ คำว่า "ผู้มีบุญกรรมจักไปสู่สุคติ" ได้แก่ มีปุญญสังขารทั้งหลายจักนำไปสู่สุคติ ฯ คำว่า "สัตว์เหล่าอื่นยังมรรคให้เจริญแล้ว ไม่มีอาสวะย่อมปรินิพพาน" ได้แก่ การก้าวล่วงสังขารทั้งหลายทั้งปวง ฯ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "สพฺเพ สตฺตา ฯ เป ฯ อนาสวา" ดังนี้ ฯ
ข้อว่า "สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจักตาย เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด สัตว์ทั้งหลายจักไปตามกรรม ผู้มีบาปกรรมจักไปสู่นรก" นี้เป็นปฏิปทาหยาบช้าและถูกเผาผลาญ ฯ
ข้อว่า "สัตว์เหล่าอื่น ยังมรรคให้เจริญแล้ว ไม่มีอาสวะ" นี้เป็นมัชฌิมาปฏิปทา ฯข้อว่า "สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจักตาย เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุดสัตว์ทั้งหลายจักไปตามกรรม จักไปสู่นรก" นี้เป็นสังกิเลส ฯ สังกิเลส ย่อมยังสังสารให้เกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้ ฯ (ผู้เข้าถึงผลแห่งบุญและบาป)ข้อว่า "สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ฯลฯ ผู้มีบาปกรรม จักไปสู่นรก" ดังนี้ เป็นวัฏฏะ 3 เหล่านี้ คือ ทุกขวัฏฏะ กรรมวัฏฏะ และกิเลสวัฏฏะ ฯ
ข้อว่า "สัตว์เหล่าอื่นเจริญมรรคแล้ว ไม่มีอาสวะย่อมปรินิพพาน" ดังนี้เป็นการหมุนกลับแห่งวัฏฏะ 3 ฯ
ข้อว่า "สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจักตาย ฯลฯ ผู้มีบาปกรรม จักไปสู่นรก" นี้เป็นอาทีนวะ (โทษ) ข้อว่า "ผู้มีบุญกรรม จักไปสู่สุคติ" นี้เป็นอัสสาทะ (ความยินดี) ข้อว่า "สัตว์เหล่าอื่นเจริญมรรคแล้ว ไม่มีอาสวะย่อมปรินิพพาน" นี้ เป็นนิสสรณะ (การสลัดออก) ฯ
ข้อว่า "สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจักตาย ฯลฯ ผู้มีบาปกรรมจักไปสู่นรก" ดังนี้เป็นทั้งเหตุ ทั้งผล คือ ปัญจขันธ์เป็นผล ตัณหาเป็นเหตุ ข้อว่า "สัตว์เหล่าอื่นเจริญมรรคแล้ว ไม่มีอาสวะย่อมปรินิพพาน" ดังนี้ เป็นทั้งมรรคทั้งผล ฯ
ข้อว่า "สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจักตาย เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุดสัตว์ทั้งหลายจักไปตามกรรม ผู้เข้าถึงผลแห่งบุญและบาป ผู้มีบาปกรรมจักไปสู่นรก" นี้เป็นสังกิเลส สังกิเลสนั้น มี 3 อย่าง คือ ตัณหาสังกิเลส ทิฏฐิสังกิเลสและทุจริตสังกิเลส ฯ
[59] ในสังกิเลส 3 อย่างนั้น ตัณหาสังกิเลส สามารถแสดงเป็น 3 คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาฯ ก็หรือว่า วัตถุใดๆ ถูกตัณหาสังกิเลสยึดแล้ว ก็สามารถแสดงวัตถุนั้นๆ ได้เช่นกัน(ไม่จำเป็นต้องแสดงแค่ 3)ฯ ความพิสดารแห่งวัตถุนั้น เช่น การท่องเที่ยวไปแห่งข่ายคือตัณหา มี 36 ประการ (ตัณหาชาลวิจริต) ฯ
ในสังกิเลส 3 นั้น สังกิเลส คือ ทิฏฐิ พึงแสดงด้วยอุจเฉทะและสัสสตะ ก็หรือว่า ทิฏฐินี้ ย่อมยึดมั่นด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิด้วยวัตถุใด ๆ พึงแสดงการยึดมั่นด้วยทิฏฐินั้น ๆ นั่นแหละ ความพิสดารแห่งทิฏฐินั้น ได้แก่ ทิฏฐิ 62 ประการ ฯ
ในสังกิเลสนั้น สังกิเลส คือ ทุจริต ได้แก่ เจตนา อันบุคคลพึงแสดงด้วยกรรมแห่งเจตสิก คือ พึงแสดงด้วยทุจริต 3 ได้แก่ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ความพิสดารแห่งทุจริต 3 นั้น ได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 อย่าง ฯ
ข้อว่า "สัตว์เหล่าอื่น เจริญมรรคแล้ว ไม่มีอาสวะ ย่อมปรินิพพาน" ดังนี้คำนี้ เป็นโวทาน (ความผ่องแผ้ว) ฯ
โวทานนี้นั้น เป็นธรรมบริสุทธิ์ 3 อย่าง คือ ตัณหาสังกิเลส ย่อมบริสุทธิ์ด้วยสมถะ สมถะนั้นเป็นสมาธิขันธ์ ทิฏฐิสังกิเลสย่อมบริสุทธิ์ด้วยวิปัสสนาวิปัสสนานั้นเป็นปัญญาขันธ์ ทุจริตสังกิเลสย่อมบริสุทธิ์ด้วยสุจริต สุจริตนั้นเป็นศีลขันธ์ ฯ
ข้อว่า "สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจักตาย เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด สัตว์ทั้งหลายจักไปตามกรรม ผู้เข้าถึงผลแห่งบุญและบาป ผู้มีบาปกรรมจักไปสู่นรก"ดังนี้ เป็นอปุญญปฏิปทา ฯ ข้อว่า "ผู้มีบุญกรรมย่อมไปสู่สุคติ" ดังนี้เป็นปุญญปฏิปทา ฯ ข้อว่า "สัตว์เหล่าอื่นเจริญมรรคแล้ว ไม่มีอาสวะ ย่อมปรินิพพาน" ดังนี้ เป็นปฏิปทาที่ก้าวล่วงบุญและบาป ฯ ในปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ) 3 นั้น บุญญปฏิปทาอันใด และอปุญญปฏิปทาอันใด นี้เป็นปฏิปทาอย่างหนึ่งอันยังสัตว์ให้ถึงในที่ทั้งปวง ปฏิปทาอย่างหนึ่งมีปกตินำสัตว์ไปในอบายทั้งหลายปฏิปทาอย่างหนึ่งมีปกตินำสัตว์ไปในเทพทั้งหลาย ปฏิปทาอันก้าวล่วงซึ่งบุญและบาปอันใด ปฏิปทานี้ (เมื่อมรรคยังไม่เกิด) เป็นปฏิปทายังสัตว์ให้ไปในที่่นั้นๆ ฯ
ปฏิปทาเนื่องด้วยราสี 3ราสีมี 3 คือ มัจฉัตตราสี (ราสีที่แน่นอนต่อภาวะที่ผิด) สัมมัตตราสี(ราสีที่แน่นอนต่อภาวะที่ชอบ) และอนิยตราสี (ราสีที่ไม่แน่นอน) ในราสี 3 นั้นมิจฉัตตราสีอันใด และสัมมัตตราสีอันใด นี้เป็นปฏิปทาอย่างหนึ่่ง ที่ยังสัตว์ให้ถึงในที่นั้น ๆ ในราสี 3 นั้น อนิยตราสีอันใด นี้เป็นปฏิปทาอันยังสัตว์ให้ถึงในที่ทั้งปวง คือ เมื่อได้ปัจจัยด้วยเหตุอะไร พึงให้เกิดในนรก ก็พึงเกิดในนรก เมื่อได้ปัจจัยพึงให้เกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย เมื่อได้ปัจจัยพึงให้เกิดในเปตวิสัยทั้งหลาย เมื่อได้ปัจจัยพึงให้เกิดในอสุรกายทั้งหลาย เมื่อได้ปัจจัยพึงให้เกิดในเทพทั้งหลาย เมื่อได้ปัจจัยพึงให้เกิดในมนุษย์ทั้งหลาย เมื่่อได้ปัจจัยด้วยเหตุอะไรพึงให้นิพพาน ก็นิพพาน เพราะฉะนั้น ปฏิปทานี้ เป็นปฏิปทาอันยังสัตว์ให้ถึงในที่ทั้งปวง ญาณใดในปฏิปทานี้ เป็นไปโดยเหตุ โดยฐานะไม่มีอะไรกั้นญาณนี้ ท่านเรียกว่า สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ เป็นกำลังของพระตถาคตข้อที่ 2 ฯ
[60] โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้น ปฏิปทาอันยังสัตว์ให้ถึงในที่ทั้งปวง เป็นอเนกธาตุโลก (โลกธาตุมิใช่น้อย) ปฏิปทาอันยังสัตว์ให้ถึงในที่นั้น ๆ เป็นนานาธาตุโลก
(โลกธาตุที่่ต่างกัน)ฯ ในโลกทั้ง 2 นั้น อเนกธาตุโลก เป็นไฉน
จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุกายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ กามธาตุพยาปาทธาตุ วิหิงสาธาตุ เนกขัมมธาตุ อัพยาปาทธาตุ อวิหิงสาธาตุ ทุกขธาตุ โทมนัสสธาตุ อวิชชาธาตุ สุขธาตุ โสมนัสสธาตุ อุเปกขาธาตุ รูปธาตุอรูปธาตุ นิโรธธาตุ สังขารธาตุ นิพพานธาตุ นี้เป็น อเนกโลกธาตุ ฯ
ในโลกทั้ง 2 นั้น นานาธาตุโลก เป็นไฉน
จักขุธาตุเป็นอย่างหนึ่ง รูปธาตุเป็นอย่างหนึ่ง จักขุวิญญาณธาตุเป็นอย่างหนึ่ง นานาธาตุโลกทั้งปวง เป็นไปโดยทำนองนี้ และนิพพานธาตุก็เป็นอย่างหนึ่่งญาณใด ในอเนกธาตุโลกและนานาธาตุโลกนี้ เป็นไปโดยเหตุ โดยฐานะ ไม่มีอะไรกั้น คือ เป็นไปในขณะพิจารณา ญาณนี้ ท่านเรียกว่า อเนกธาตุนานาธาตุญาณเป็นกำลังของพระตถาคต ข้อที่ 3 ฯ
ธาตุมิใช่น้อย (อเนกธาตุ) ของโลกที่มีธาตุต่างกัน เป็นไปโดยนัยที่กล่าวแล้วนั้น สัตว์ทั้งหลาย ย่อมน้อมไปสู่ธาตุใด ๆ นั่นแหละ สัตว์เหล่านั้น ย่อมตั้งมั่นย่อมยึดถือธาตุนั้น ๆ นั่นแหละ ฯ สัตว์บางพวกน้อมไปในรูป สัตว์บางพวกน้อมไปในเสียง สัตว์บางพวกน้อมไปในกลิ่น สัตว์บางพวกน้อมไปในรส สัตว์บางพวกน้อมไปในโผฏฐัพพะ สัตว์บางพวกน้อมไปในธรรม สัตว์บางพวกน้อมไปในหญิงสัตว์บางพวกน้อมไปในบุรุษ สัตว์บางพวกน้อมไปในจาคะ (บริจาค) สัตว์บางพวกน้อมไปในธรรมอันเลว สัตว์บางพวกน้อมไปในธรรมอันประณีต สัตว์บางพวกน้อมไปในเทวดา สัตว์บางพวกน้อมไปในมนุษย์ สัตว์บางพวกน้อมไปในพระนิพพาน ฯ ญาณใดในการน้อมไปนี้ เป็นไปโดยเหตุ โดยฐานะ ไม่มีอะไรขัดข้องว่า "สัตว์นี้เป็นเวไนยสัตว์ สัตว์นี้มิใช่เวไนยสัตว์ สัตว์นี้มีปกติไปสู่สวรรค์สัตว์นี้มีปกติไปสู่ทุคติ" ดังนี้ ญาณนี้ เรียกว่า ญาณรู้ความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ เป็นกำลังของพระตถาคต ข้อที่ 4 ฯ
ด้วยคำที่กล่าวแล้วนี้ สัตว์เหล่านั้นผู้มีอัธยาศัยเลวหรือประณีต ย่อมน้อมไปโดยประการใด ๆ ก็ยึดถือซึ่งกรรมสมาทาน (การทำกรรม) นั้น ๆ สัตว์เหล่านั้นย่อมสมาทานซึ่งกรรม 6 อย่าง สัตว์บางพวกย่อมกระทำกรรมด้วยอำนาจแห่งโลภะ สัตว์บางพวกย่อมทำกรรมด้วยอำนาจแห่งโทสะ สัตว์บางพวกย่อมทำกรรมด้วยอำนาจแห่งโมหะ สัตว์บางพวกย่อมทำกรรมด้วยอำนาจแห่งศรัทธา สัตว์บางพวกย่อมทำกรรมด้วยอำนาจแห่งวิริยะ สัตว์บางพวกย่อมทำกรรมด้วยอำนาจแห่งปัญญา ฯ กรรมสมาทานนั้น เมื่อจำแนกก็มี 2 อย่างคือ สังสารคามีและนิพพานคามี ฯ
ในกรรมสมาทาน 6 นั้น บุคคลย่อมทำกรรมใด ด้วยอำนาจแห่งโลภะหรือโทสะหรือโมหะ กรรมนี้เป็นกรรมดำ มีวิบากดำ (เพราะให้เกิดในอบาย) ฯ
ในกรรมสมาทานนั้น บุคคลย่อมทำกรรมใด ด้วยอำนาจแห่งศรัทธา (กุศลกรรมบถ 10) กรรมนี้เป็นกรรมขาว มีวิบากขาว ฯ ในกรรมสมาทานนั้น บุคคลย่อมทำกรรมใด ด้วยอำนาจแห่งโลภะ โทสะ โมหะ และด้วยอำนาจแห่งศรัทธากรรมนี้มีทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ในกรรมสมาทานนั้น บุคคลย่อมทำกรรมใด ด้วยอำนาจแห่งวิริยะ และด้วยอำนาจแห่งปัญญา กรรมนี้ไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นกรรมสูงสุด ประเสริฐสุด เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ฯ
กรรมสมาทาน 4 อย่างกรรมสมาทาน 4 คือ กรรมสมาทานบางอย่าง มีสุขในปัจจุบัน มีทุกข์เป็นวิบากต่อไปมีอยู่ กรรมสมาทานบางอย่าง มีทุกข์ในปัจจุบัน มีสุขเป็นวิบากต่อไปมีอยู่ กรรมสมาทานบางอย่าง มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์ต่อไปมีอยู่ กรรมสมาทานบางอย่าง มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขต่อไปมีอยู่ ฯ กรรมสมาทานใด ในชาติมีประการตามที่กล่าวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ตรัสสอนบุคคลผู้มีวิบากเป็นเครื่องกั้นนั้นว่า "กรรมสมาทานฝ่ายอกุศล อันบุคคลนี้สั่งสมไว้ไม่สำเร็จผลเป็นกรรมปรากฏเฉพาะวิบาก และผู้นั้นก็ไม่สามารถเพื่อบรรลุมรรคอันเบื่อหน่ายอย่างยิ่ง" ดังนี้ ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสสอนบุคคลเหล่านั้นผู้มีกรรมอันไม่บริบูรณ์คือ พระเทวทัตต์ พระโกกาลิกะ พระสุนักขัตตะบุตรของเจ้าลิจฉวี ก็หรือว่าสัตว์แม้เหล่าอื่นผู้เป็นมิจฉัตตนิยตะ อนึ่ง อกุศลของบุคคลเหล่านี้เริ่มเพื่อกระทำยังไม่ถึงความบริบูรณ์ก่อน อกุศลบริบูรณ์ย่อมยังผลให้เกิดขึ้น ผลของกรรมในกาลก่อนนั้น ย่อมห้ามซึ่งมรรค เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ผลกรรมในกาลก่อน ย่อมก้าวล่วงความเป็นเวไนยสัตว์ เหมือนตรัสกับนายปุณณะผู้ประพฤติอย่างโค และชีเปลือยประพฤติอย่างสุนัข ฉะนั้น ฯ
[61] พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสสอนผู้มีกรรมอันไม่สมบูรณ์ (คือผู้มีกรรมเป็นอันตราย) ว่า "กรรมสมาทานฝ่่ายอกุศล เมื่อบริบูรณ์ จักห้ามมรรค อกุศลที่บริบูรณ์ย่อมให้เกิดผล ย่อมห้ามมรรค ย่อมยังความเป็นเวไนยสัตว์ให้ก้าวล่วง" ดังนี้ เหมือนที่ตรัสกับท่านพระองคุลิมาล ฉะนั้น ฯ
ความที่สัตว์มีใจอ่อน (มุทุ) มีใจปานกลาง (มชฺฌํ) มีใจยิ่ง (อธิมตฺตํ) แห่งกรรมทั้งปวง ตามที่กล่าวไว้ในที่นี้ ในภาวะ 3 เหล่านั้น อาเนญชาภิสังขาร ชื่อว่ามุทุ กุศลสังขารที่เหลือ ชื่อว่า มัชฌะ สังขารที่เป็นอกุศล ชื่อว่า อธิมัตตะ ญาณใดในภาวะทั้ง 3 มีความเป็นผู้มีใจอ่อนเป็นต้นนี้ เป็นไปโดยเหตุ โดยปัจจัย ไม่มีอะไรขัดข้อง ญาณนี้เป็นทิฏฐธัมมเวทนียะ ญาณนี้เป็นอุปปัชชเวทนียะ ญาณนี้เป็นอปราปริยเวทนียะ ญาณนี้เป็นนิรยเวทนียะ ญาณนี้เป็นติรัจฉานเวทนียะญาณนี้เป็นเปตวิสยเวทนียะ ญาณนี้เป็นอสุรเวทนียะ ญาณนี้เป็นเทวเวทนียะญาณนี้เป็นมนุสสเวทนียะ ญาณรู้ความต่างกันแห่งวิบากของกรรมสมาทาน อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน โดยเหตุ โดยฐานะ ไม่มีอะไรขัดข้อง ชื่อว่า ญาณ เป็นกำลังของพระตถาคต ข้อที่ 5 ฯ
[62] ด้วยประการฉะนี้ ญาณรู้ว่า สภาพธรรมนี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งกรรมอันตนสมาทานแล้ว แห่งฌาน แห่งวิโมกข์ แห่งสมาธิ แห่งสมาบัติทั้งหลาย อันตนสมาทานแล้ว รู้ว่าเป็นโวทาน (ความผ่องแผ้ว) นี้เป็นวุฏฐานะ (การออก)สภาพนี้จักเศร้าหมองอย่างนี้ สภาพนี้ย่อมผ่องแผ้วอย่างนี้ สภาพนี้ย่อมออกอย่างนี้ ชื่่อว่า อนาวรณญาณ (ญาณไม่มีอะไรขัดขวาง) ฯ
ในกรรมสมาทานนั้น ฌานมีเท่าไร ฌาณ มี 4 ฯ วิโมกข์ มีเท่าไร วิโมกข์มี 11 อย่าง มี 8 อย่าง มี 3 อย่าง และมี 2 อย่าง ฯ สมาธิมีเท่าไร สมาธิมี 3 คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ อวิตักกาวิจารมัตตสมาธิ อวิตักกอวิจารสมาธิสมาบัติมีเท่าไร สมาบัติมี 5 คือ สัญญาสมาบัติ อสัญญาสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญาสมาบัติ วิภูตสัญญาสมาบัติ และนิโรธสมาบัติ ฯ
ในกรรมสมาทานนั้น สังกิเลส (ความเศร้าหมอง) เป็นไฉน กามราคะและพยาบาท เป็นความเศร้าหมองของปฐมฌาน ได้แก่ ธรรมเบื้องต้น 2 อย่าง คือผู้มีปกติเพ่งดุจไก่ (ไม่พยายามในธรรมส่วนบน) ก็หรือว่า สมาธิอันเป็นส่วนแห่งความเสื่อม อันใด นี้เป็นสังกิเลส ฯ ในกรรมสมาทานนั้น โวทานเป็นไฉน ความบริสุทธิ์จากนิวรณ์ ได้แก่ ธรรมภายหลัง 2 อย่างแห่งปฐมฌาน คือ ผู้มีปกติเพ่งดุจไก่ ก็หรือว่า สมาธิอันเป็นส่วนวิเศษอันใด นี้เป็น โวทาน ฯ ในกรรมสมาทานนั้น วุฏฐานะเป็นไฉน ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ อันใด นี้เป็นวุฏฐานะ ฯ ญาณใด ในความเศร้าหมองและผ่องแผ้วเป็นต้นนี้ เป็นไปโดยเหตุ โดยฐานะ ไม่มีอะไรขัดข้อง ญาณนี้ ท่านเรียกว่า ญาณรู้ในความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว และการออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งปวง เป็นกำลังของพระตถาคต ข้อที่ 6 ฯ
[63] ด้วยประการตามที่กล่าวนี้ ธรรมทั้ง 3 คือ อินทรีย์ทั้งหลาย พละทั้งหลายและวิริยะเป็นบริกขาร (คือ ธรรมให้เกิดขึ้น) แห่งสมาธินั้นนั่นแล อินทรีย์ทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแหละ เป็นพละทั้งหลายด้วยสามารถแห่งความเพียร ชื่่อว่าอินทรีย์ เพราะอรรถะว่า ความเป็นใหญ่ ชื่่อว่า พละ เพราะอรรถะว่า เป็นธรรมไม่หวั่นไหว โดยนัยที่กล่าวนี้ ความที่อินทรีย์เหล่านั้นอ่อน ปานกลาง แก่กล้าคือ บุคคลนี้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลนี้มีอินทรีย์ปานกลาง บุคคลนี้มีอินทรีย์แก่กล้า ฯ
ในบุคคล 3 นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสสอนบุคคลผู้มีอินทรีย์แก่กล้าด้วยโอวาทย่อ ย่อมตรัสสอนบุคคลผู้มีอินทรีย์ปานกลางด้วยโอวาทที่พิสดารอย่างย่อ ย่อมตรัสสอนบุคคลผู้มีอินทรีย์อ่อนด้วยโอวาทพิสดาร ฯ ในบุคคลเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาเล็กน้อย (คือ เพียงยกอุทเทสขึ้น)แก่บุคคลผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ย่อมแสดงธรรมเทศนาอันควรแก่บุคคลผู้มีปัญญาไม่คมกล้านัก (โดยอุทเทสและนิทเทส) แก่ผู้มีอินทรีย์ปานกลาง ย่อมแสดงธรรมเทศนาพิสดาร (โดยอุทเทส นิทเทส และปฏินิทเทส) แก่ผู้มีอินทรีย์อ่อน ฯ
ในบุคคลเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำสมถะ แก่บุคคลผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ทรงแนะนำสมถะวิปัสสนาแก่ผู้มีอินทรีย์ปานกลาง ทรงแนะนำวิปัสสนาแก่ผู้มีอินทรีย์อ่อน ฯ ย่อมแสดงนิสสรณะ (การออกไป) แก่ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ย่อมแสดงอาทีนวะ (โทษ) และนิสสรณะ แก่ผู้มีอินทรีย์ปานกลางย่อมแสดงอัสสาทะ (ความยินดี) อาทีนวะ และนิสสรณะ แก่ผู้มีอินทรีย์อ่อน ฯ
ในบุคคลเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมยังบุคคลผู้มีอินทรีย์แก่กล้าให้รู้ด้วยอธิปัญญาสิกขา ย่อมยังบุคคลผู้มีอินทรีย์ปานกลางให้รู้ด้วยอธิจิตตสิกขา ย่อมยังบุคคลผู้มีอินทรีย์อ่อนให้รู้ด้วยอธิสีลสิกขา ฯ
ญาณใด เป็นไปโดยเหตุ โดยฐานะ ไม่ขัดข้องในการรู้อินทรีย์มีความอ่อนปานกลาง และแก่กล้านี้ ญาณนี้ เรียกว่า ญาณรู้ความแตกต่างกันแห่งอินทรีย์ที่ยิ่งและหย่อนแห่งสัตว์เหล่าอื่น แห่งบุคคลเหล่าอื่น เพื่อแสดงความเป็นไปแห่งเทศนานั้นว่า "บุคคลนี้ถึงแล้ว (กำลังถึง หรือจักถึง) ซึ่งภูมินี้ ซึ่งภาวนานี้ ในเวลานี้ ด้วยอนุสาสนีนี้ บุคคลนี้มีธาตุอย่างนี้ บุคคลนี้มีอาสยะ (ทิฏฐิ) นี้และบุคคลนี้มีอนุสัยนี้" ดังนี้ เป็นกำลังของพระตถาคต ข้อที่ 7 ฯ
ญาณใดของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยในกาลก่อน มีประการมิใช่น้อย ในความเป็นแห่งอินทริยปโรปริยัตตญาณนั้น ญาณนี้เป็นกำลังของพระตถาคต ข้อที่ 8 ฯ คือ พระองค์ย่อมทรงระลึกถึงชาติหนึ่งบ้าง 2 ชาติบ้าง 3 ชาติบ้าง 4 ชาติบ้าง 5 ชาติบ้าง 10 ชาติบ้าง 20 ชาติบ้าง 30 ชาติบ้าง 40 ชาติบ้าง 50 ชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ร้อยชาติเป็นอเนกบ้าง พันชาติเป็นอเนกบ้าง แสนชาติเป็นอเนกบ้างหลายสังวัฏฏกัปบ้าง (กัปที่เสื่อม) หลายวิวัฏฏกัปบ้าง (กัปที่เจริญ) หลายสังวัฏฏกัปวิวัฏฏกัปบ้าง ว่า "เราอยู่ในสังวัฏฏกัปโน้น หรือในภพโน้น ในกำเนิดโน้นในคติโน้น ในวิญญาณฐิติโน้น ในสัตตาวาสโน้น หรือในสัตตนิกายโน้น มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ มีการเสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีการกำหนดอายุอย่างนี้ เรานั้น เคลื่อนจากชาตินั้นแล้วเกิดขึ้นในที่โน้น เราอยู่ในที่นั้น ได้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้มีอาหารอย่างนี้ มีการเสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีการกำหนดอายุอย่างนี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้วเกิดขึ้นในภพนี้" ดังนี้ พระตถาคตย่อมทรงระลึกถึงขันธสันดานที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทส มีอเนกประการ ด้วยประการฉะนี้ ฯ
[64] พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงระลึกถึงภพนั้น ๆ ย่อมทรงทราบได้โดยไม่เหลือว่า บรรดาสัตว์ผู้เข้าถึงสวรรค์ ผู้เข้าถึงมนุษย์ ผู้เข้าถึงอบายเหล่านั้นอกุศลมีโลภะเป็นต้นของบุคคลนี้หนา กุศลมีอโลภะเป็นต้นของบุคคลนี้น้อยก็หรือว่า อินทรีย์เหล่านี้ของบุคคลนี้ สั่งสมไว้หนาหรือน้อย หรือไม่ได้สั่งสมในโกฏิแห่งกัป หรือในแสนแห่งกัป หรือในพันแห่งกัป หรือในร้อยแห่งกัป หรือในระหว่างแห่งกัป หรือในครึ่่งกัป หรือในปีหนึ่่ง หรือในครึ่่งปี หรือในเดือนหนึ่่งหรือในปักษ์หนึ่ง หรือในวันหนึ่่ง หรือในครู่หนึ่่ง ด้วยความประมาทนี้ หรือด้วยความเลื่่อมใส ดังนี้ ฯ
ในพระญาณนั้น ญาณใด ย่อมเห็นสัตว์ทั้งหลาย กำลังจุติ กำลังเกิด เลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ผู้ไปดี ไปไม่ดี ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์อันก้าวล่วงของมนุษย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบสัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยญาณนั้นว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายเหล่านี้หนอ ประกอบด้วยกายทุจริต ด้วยวจีทุจริต ด้วยมโนทุจริต ติเตียนพระอริยะทั้งหลาย มีความเห็นผิด ยึดมั่นในกรรมอันมีความเห็นวิปริตเป็นเหตุ สัตว์เหล่านั้น เมื่่อตายเพราะกายแตกก็เข้าถึงซึ่งอบาย ทุคติ วินิบาตและนรก ก็หรือว่า สัตว์ผู้เจริญทั้งหลายเหล่านี้หนอ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะทั้งหลายเป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นผู้สมาทานกรรมอันเป็นสัมมาทิฏฐิ สัตว์เหล่านั้น เมื่อตายเพราะกายแตกเป็นผู้เข้าถึงซึ่งสุคติ และซึ่งโลกมีอารมณ์อันเลิศด้วยรูปารมณ์เป็นต้น ฯ กิจแห่งพระญาณทั้ง 2 คือ ที่ 8 และ 9 (ที่กระทำเป็นอันเดียวกันแสดง)ว่า "ในสัตว์ทั้งหลายที่เข้าถึงสวรรค์ เข้าถึงมนุษย์ เข้าถึงอบายเหล่านั้นกรรมอย่างนี้ อันบุคคลนี้สั่งสมแล้ว ในโกฏิแห่งกัป หรือในแสนแห่งกัป หรือในพันแห่งกัป หรือในร้อยแห่งกัป หรือในกัปหนึ่ง หรือในระหว่างแห่งกัป หรือในครึ่่งกัป หรือในหนึ่งปี หรือในครึ่งปี หรือในเดือนหนึ่ง หรือในปักษ์หนึ่งหรือในวันหนึ่ง หรือในเวลาครู่หนึ่ง ด้วยความไม่ประมาทหรือด้วยความผ่องใส"ดังนี้ ญาณทั้ง 2 ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ และทิพยจักขุญาณ ของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ชื่่อว่า เป็นกำลังของพระตถาคตข้อที่ 8 และ 9 แล ฯ
ในพระญาณเหล่านั้น มีนัยตามที่กล่าวแล้ว ญาณใดเป็นสัพพัญญุตญาณปราศจากธุลี มีมลทินไปปราศแล้ว มีมารอันขจัดแล้ว เพราะความที่พระองค์ถึงความเป็นผู้รู้ทั้งปวง เพราะธรรมทั้งปวงอันพระองค์ทรงทราบแล้ว ณ ควงแห่งไม้โพธิ์ ญาณดังกล่าวนี้เป็นกำลังที่ 10 ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมประกอบด้วยกำลัง 10 อย่างฉะนี้แล ฯ
จบ วิจยหารสัมปาตะ ฯ
[65] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น การประชุมยุตติหาระเป็นไฉน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า"เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต มีความดำริชอบเป็นโคจร มุ่งสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้า รู้ความเกิดและความเสื่อมแล้วครอบงำถีนมิทธะ พึงละทุคติทั้งปวง" ดังนี้ ฯ
คาถาว่า "เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต มีความดำริชอบเป็นโคจร" เป็นต้น พึงประกอบความว่า อารมณ์ของสัมมาสังกัปปะมีเนกขัมมะเป็นต้น จักมีแก่บุคคลผู้มีจิตอันรักษาแล้ว ดังนี้ ย่อมควร บุคคลผู้มีความดำริชอบเป็นอารมณ์ จักเป็นสัมมาทิฏฐิ เพราะวิตกไม่วิปริต ดังนี้ ย่อมควร บุคคลผู้มุ่งวิปัสสนาญาณ คือสัมมาทิฏฐิอยู่ จักแทงตลอดอุทยัพพยญาณแห่งขันธ์ 5ด้วยมรรค ดังนี้ ย่อมควร บุคคลเมื่่อแทงตลอดซึ่่งอุทยัพพยญาณ จักละทุคติทั้งปวง อันมีสภาพ เป็นทุกข์ ดังนี้ ย่อมควร บุคคลนั้น เมื่อละทุคติทั้งปวง จักก้าวล่วงภัยคือการให้ตกไปในทุคติทั้งปวง ดังนี้ ย่อมควร ฉะนี้แล ฯ
จบ ยุตติหารสัมปาตะ
[66] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น การประชุมปทัฏฐานหาระเป็นไฉน
คาถาว่า "ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส สมฺมาสงฺกปฺปโคจโร" เป็นต้น แปลว่าเพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต มีความดำริชอบเป็นโคจร (เหมือนยุตติหารสัมปาตะ) ฯ
คำว่า "ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส" นี้ เป็นปทัฏฐาน (คือเป็นเหตุใกล้) แห่งสุจริต 3 ฯ
คำว่า "สมฺมาสงฺกปฺปโคจโร" นี้ เป็นปทัฏฐานแห่งสมถะ ฯคำว่า "สมฺมาทิฏฺฐิปุเรกฺขาโร" นี้ เป็นปทัฏฐานแห่งวิปัสสนา ฯ
คำว่า "ญตฺวาน อุทยพฺพยํ" นี้ เป็นปทัฏฐานแห่งทัสสนภูมิ ฯ
คำว่า "ถีนมิทฺธาภิภู ภิกฺขุ" นี้ เป็นปทัฏฐานแห่งความเพียร ฯ
คำว่า "สพฺพา ทุคฺคติโย ชเห" นี้ เป็นปทัฏฐานแห่งภาวนา ฯ
จบ ปทัฏฐานหารสัมปาตะ
[67] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น การประชุมลักขณหาระเป็นไฉน
คาถาว่า "ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส สมฺมาสงฺกปฺปโคจโร" เป็นต้น ฯ คำว่า"เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต มีความดำริชอบเป็นโคจร" นี้ เป็นสตินทรีย์ ครั้นเมื่อสตินทรีย์อันบุคคลถือเอาแล้ว อินทรีย์ 5 มีสัทธินทรีย์เป็นต้นย่อมเป็นอันบุคคลนั้นถือเอาแล้ว เพราะความที่อินทรีย์มีลักษณะเสมอกันโดยอรรถะว่าเป็นใหญ่ ฯ
คำว่า "มุ่งสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้า" ความว่า เมื่อสัมมาทิฏฐิอันสัมมาสังกัปปะถือเอาแล้ว อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ย่อมเป็นอันบุคคลนั้นถือเอาแล้ว ฯ
ย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมาสังกัปปะ สัมมากัมมันตะย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมาวาจาสัมมาอาชีวะย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมากัมมันตะ สัมมาวายามะย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมาอาชีวะ สัมมาสติย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมาวายามะ สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมาสติ สัมมาวิมุตติย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมาสมาธิ สัมมาวิมุตติญาณทัสสนะย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมาวิมุตติ ฯ
จบ ลักขณหารสัมปาตะ
[68] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น การประชุมจตุพยูหหาระเป็นไฉน
คาถาว่า "ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส สมฺมาสงฺกปฺปโคจโร" เป็นต้น ฯ ในจตุพยูหคือ นิรุตติ อธิปปายะ นิทานและสนธินั้น พระสูตรว่า "ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส"เป็นต้นนี้ มีวิเคราะห์ว่า ชื่่อว่า รักขิตะ เพราะอรรถะว่า อันบุคคลรักษา ชื่อว่า จิตเพราะอรรถะว่า คิด ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถะว่า ตรึกโดยชอบเป็นต้นนี้ ชื่อว่า นิรุตติ หรือ เนรุตติ ฯ ในจตุพยูหะนี้ อะไร เป็นอธิปปายะ(ความประสงค์) ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ความประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ในพระสูตรนี้ว่า "สัตว์เหล่าใด ปรารถนาเพื่อจะพ้นจากทุคติ สัตว์เหล่านั้นจักประพฤติธรรม" ดังนี้ ฯ ก็พระโกกาลิกะไม่รักษาจิต ประทุษร้ายพระสารีบุตรเถระและพระโมคคัลลานเถระ เป็นผู้เข้าถึงมหาปทุมนรก นี้เป็นนิทาน ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าประกอบด้วยจิตมีสติเป็นเครื่องรักษา และในพระสูตรว่า บุคคลพึงรักษาจิตด้วยสติ นี้เป็นสนธิเบื้องต้น ส่วนพระสูตรว่า "เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต ฯลฯ พึงละทุคติทั้งปวง" เป็นอนุสนธิ ย่อมหลั่งไหลไป ย่อมประชุมกัน เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า สนธิ (ต่อ) เบื้องต้นและเบื้องปลาย แล ฯ
จบ จตุพยูหหารสัมปาตะ
[69] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น การประชุมอาวัฏฏหาระเป็นไฉน
คาถาว่า "ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส สมฺมาสงฺกปฺปโคจโร" เป็นต้น ฯ คำว่า"เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต มีความดำริชอบเป็นโคจร" นี้ เป็นสมถะ ฯ
คำว่า "มุ่งสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้า" นี้เป็นวิปัสสนา ฯ คำว่า "รู้ความเกิด และความเสื่อมแล้ว" นี้เป็นทุกขปริญญา คือ การกำหนดรู้ทุกข์ ฯ คำว่า "ภิกษุครอบงำถีนมิทธะ" นี้ เป็นการละสมุทัย ฯ คำว่า "พึงละทุคติทั้งปวง" นี้เป็นนิโรธ ฯ ธรรม 4 ตามที่กล่าวแล้วนี้ เป็นสัจจะ 4 ฉะนี้ ฯ
จบ อาวัฏฏหารสัมปาตะ
[70] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น การประชุมวิภัตติหาระเป็นไฉน
คาถาว่า "เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต มีความดำริชอบเป็นโคจร"เป็นต้นนี้ ธรรมฝ่ายกุศลพึงแสดงโดยฝ่ายกุศล ฝ่ายอกุศลพึงแสดงโดยฝ่ายอกุศล ฯ
คือ ฝ่ายกุศล ได้แก่ สติสังวร ฝ่ายโลกียะ 6 โลกุตตระ 2 ทัสสนภูมิ และภาวนาภูมิ ฯ สังกัปปะ 3 มีเนกขัมมะ เป็นต้น ฯ สัมมาทิฏฐิ 8 มีญาณในทุกข์เป็นต้น ฯ อุทยัพพยญาณ ฝ่ายเกิด 25 ดับ 25 มีรูปเกิดเพราะอวิชชาเป็นต้น ฯ การครอบงำถีนมิทธะ ด้วยอำนาจมรรค 4 ฯ
ฝ่ายอกุศล คือ อสังวร 8 ได้แก่ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายอสังวรโจปนกายอสังวร วาจาอสังวร และมโนอสังวร ฯ มิจฉาสังกัปปะ 3 ฯ อัญญาณ(ความไม่รู้) 8 ฯ ถีนมิทธะ 5 โดยภูมิที่เกิด โดยย่อฉะนี้ ฯ
จบ วิภัตติหารสัมปาตะ
[71] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น การประชุมปริวัตตนหาระเป็นไฉน
คาถาว่า "ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส สมฺมาสงฺกปฺปโคจโร" เป็นต้น ฯ พึงปริวรรต(เปลี่ยนไป) อย่างนี้ คือ เมื่อสมถะและวิปัสสนา อันบุคคลเจริญแล้ว การดับอกุศล (นิโรธะ) เป็นผลย่อมมี ทุกข์ที่กำหนดรู้แล้วย่อมมี สมุทัยที่เขาละแล้วย่อมมี มรรคที่เจริญแล้วย่อมมี โดยเป็นปฏิปักษ์ต่ออกุศล โดยนัยที่กล่าวในวิภัตติหารสัมปาตะนั้นแล ฯ
จบ ปริวัตตนหารสัมปาตะ
[72] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น การประชุมเววจนหาระเป็นไฉน
คาถาว่า "ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส สมฺมาสงฺกปฺปโคจร" เป็นต้น ฯ บทว่า "จิต"ในคำว่า "เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต" นี้แห่งคาถานั้น คำว่า "จิต มโนวิญญาณ มนินทรีย์ มนายตนะ วิชานนา (การรู้แจ้ง) วิชานิตัตตะ (ภาวะที่รู้แจ้ง)"นี้ เป็นเววจนะของจิต ฯ
บทว่า "สัมมาสังกัปปะ" ในคำว่า "สมฺมาสงฺกปฺปโคจโร" นี้ คำว่า "เนกขัมมสังกัปปะ อัพยาปาทสังกัปปะ อวิหิงสาสังกัปปะ" นี้ เป็นเววจนะแห่งบทสัมมาสังกัปปะ ฯ
บทว่า "สัมมาทิฏฐิ" ในคำว่า "สมฺมาทิฏฺฐิปุเรกฺขาโร" นี้ คำว่า "ปัญญาเพียงดังศาสตรา ปัญญาเพียงดังพระขรรค์ ปัญญาเพียงดังรัตนะ ปัญญาเพียงดังแสงสว่าง ปัญญาเพียงดังปฏัก ปัญญาเพียงดังปราสาท ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ" นี้เป็นเววจนะแห่งบทสัมมาทิฏฐิ ฯ
จบ เววจนหารสัมปาตะ
[73] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น การประชุมบัญญัติหาระนั้นเป็นไฉน
คาถาว่า "ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส สมฺมาสงฺกปฺปโคจโร" เป็นต้น ฯ คำว่า"เพราะเหตุนั้นภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต" ดังนี้ ชื่่อว่า บัญญัติแห่งปทัฏฐานของสติ ฯ
คำว่า "มีความดำริชอบเป็นโคจร" ชื่อว่า ภาวนาบัญญัติแห่งสมถะ ฯคำว่า "มุ่งสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้า รู้ความเกิดและความเสื่อมแล้ว" ชื่อว่านิกเขปบัญญัติแห่งทัสสนภูมิ ฯ คำว่า "ครอบงำถีนมิทธะ" ชื่อว่า ปหานบัญญัติโดยไม่เหลือแห่งสมุทัย ฯ คำว่า "พึงละทุคติทั้งปวง" ชื่อว่า ภาวนาบัญญัติแห่งมรรค ฯ
จบ บัญญัติหารสัมปาตะ
[74] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น การประชุมโอตรณหาระเป็นไฉน
คาถาว่า "ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส สมฺมาสงฺกปฺปโคจโร" เป็นต้น ฯ ข้อว่า"เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต มีความดำริชอบเป็นโคจร มุ่งสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้า" ความว่า เมื่อสัมมาทิฏฐิ อันบุคคลถือเอาแล้ว อินทรีย์ 5 ย่อมเป็นอันถือเอาแล้ว นี้ชื่อว่า โอตรณา (การหยั่งลง) ด้วยอินทรีย์ทั้งหลาย ฯ
อินทรีย์เหล่านั้นนั่นเอง เป็นวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา อวิชชาจึงดับ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ
ธรรมทั้งปวงเป็นไปอย่างนี้ นี้ชื่อว่า โอตรณาแห่งอินทรีย์ทั้งหลายด้วยปฏิจจสมุปบาท ฯ
อินทรีย์ 5 เหล่านั้นนั่นแหละ สงเคราะห์ด้วยขันธ์ 3 คือ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ และปัญญาขันธ์ นี้ชื่่อว่า โอตรณาแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยขันธ์ทั้งหลาย ฯอินทรีย์ 5 เหล่านั้นนั่นแหละ นับเนื่องในสังขาร สังขารเหล่าใด ไม่มีอาสวะ และไม่เป็นองค์แห่งภพ สังขารเหล่านั้น สงเคราะห์ด้วยธัมมธาตุ นี้ชื่อว่าโอตรณาแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยธาตุทั้งหลาย ฯ
ธัมมธาตุนั้น นับเนื่องในธัมมายตนะ อายตนะใดไม่มีอาสวะและไม่เป็นองค์แห่งภพ นี้ชื่อว่า โอตรณาแห่งธัมมธาตุด้วยอายตนะทั้งหลาย ฯ
จบ โอตรณหารสัมปาตะ
[75] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น การประชุมโสธนหาระเป็นไฉน
คาถาว่า "ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส สมฺมาสงฺกปฺปโคจโร" ดังนี้ ฯ ในปัญหาใด มีอรรถะที่พระองค์ทรงเริ่มวิสัชชนาบริบูรณ์แล้ว ปัญหานั้นบริสุทธิ์แล้วฯ แต่ในปัญหาใด ทรงเริ่มแล้วเนื้อความยังไม่บริบูรณ์ ปัญหานั้นชื่อว่า ยังมิได้วิสัชชนาก่อน ฯ
จบ โสธนหารสัมปาตะ
[76] คาถาว่า "ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส สมฺมาสงฺกปฺปโคจโร" ดังนี้ ฯ คำว่า "เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต" นี้มีภาวะเป็นอย่างเดียวกัน ฯ จิต มโน วิญญาณนี้มีอรรถะที่ต่างกัน ฯ คำว่า "มีความดำริชอบเป็นโคจร" นี้ มีภาวะอย่างเดียวกัน ฯ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน นี้เป็นอารมณ์ที่ต่างกัน ฯ
คำว่า "มุ่งสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้า" นี้ มีภาวะเป็นอย่างเดียวกัน ฯ
ญาณในทุกข์ ญาณในทุกขสมุทัย ญาณในทุกขนิโรธ ญาณในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ญาณในเหตุ ญาณในธรรมที่เกิดขึ้นสัมปยุตกับเหตุ ญาณในปัจจัยญาณในธรรมที่เกิดขึ้นสัมปยุตกับปัจจัยอันใด ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ ญาณทัสสนะตามความเป็นจริงในญาณนั้น ๆ อันใด การตรัสรู้ และการถึงสัจจะ อันเป็นอารมณ์นั้น ๆ อันใด นี้เป็นภาวะที่ต่างกัน ฯ
คำว่า "รู้ความเกิดและความเสื่อมแล้ว" นี้ มีภาวะเป็นอย่างเดียวกัน ฯ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยโดยการเกิดขึ้น สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ธรรมทั้งปวงเป็นไปอย่างนี้ ความเกิดขึ้นจึงมี ฯ ว่าโดยความเสื่อมไป เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ธรรมทั้งปวงเป็นอย่างนี้ความดับจึงมี นี้เป็นความต่างกัน ฯ
คำว่า "ภิกษุครอบงำถีนมิทธะ" นี้ มีภาวะอย่างเดียวกัน ฯ ความป่วยความไม่ควรแก่การงานของจิตอันใด นี้ชื่อว่า ถีนะ ความหดหู่แห่งกายอันใดชื่อว่า มิทธะ นี้เป็นความต่างกัน ฯ
คำว่า "พึงละทุคติทั้งปวง" นี้ เป็นภาวะอย่างเดียวกัน ฯ อบายทั้งหลายชื่อว่า ทุคติ เพราะเปรียบกับเทวดาและมนุษย์ อุปปัตติ (การเกิด) ทั้งปวงชื่อว่า ทุคติ เพราะเปรียบกับพระนิพพาน นี้เป็นความต่างกันแห่งทุคติ ฯ
จบ อธิฏฐานหารสัมปาตะ
[77] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น การประชุมปริกขารหาระเป็นไฉน
คาถาว่า "ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส สมฺมาสงฺกปฺปโคจโร" ดังนี้ ฯ ธรรมนี้เป็นปริกขารของสมถะและวิปัสสนา ฯ
จบ ปริกขารหารสัมปาตะ
[78] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น การประชุมสมาโรปนหาระเป็นไฉน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า"เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต มีความดำริชอบเป็นโคจร มุ่งสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้า รู้ความเกิดและความเสื่อมแล้ว ครอบงำถีนมิทธะ พึงละทุคติทั้งปวง" ดังนี้ ฯ
คำว่า "เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงรักษาจิต มีความดำริชอบเป็นโคจร" นี้เป็นปทัฏฐานแห่งสุจริต 3 คือ เมื่อจิตอันตนรักษาแล้ว กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม นั้นก็ย่อมเป็นอันตนรักษาแล้ว ฯ
คำว่า "มุ่งสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้า" ความว่า เมื่อสัมมาทิฏฐิอันตนอบรมแล้ว อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ย่อมเป็นอันตนอบรมแล้ว เพราะเหตุไรเพราะ สัมมาสังกัปปะย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมาทิฏฐิ สัมมาวาจาย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมาสังกัปปะ สัมมากัมมันตะย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมากัมมันตะ สัมมาวายามะย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมาอาชีวะสัมมาสติย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมาวายามะ สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมาสติสัมมาวิมุตติย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมาสมาธิ สัมมาวิมุตติญาณทัสสนะย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมาวิมุตติ นี้เป็นบุคคลผู้มีอุปาทิเหลืออยู่ และนิพพานธาตุไม่มีอุปาทิเหลืออยู่ ฯ
จบ สมาโรปนหารสัมปาตะ
เพราะเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายนะจึงกล่าวว่าหาระ 16 ควรกระทำก่อนแล้วใคร่ครวญธรรมที่เป็นทิศ (กุศล 9 อกุศล 9)ด้วยนัยที่ชื่อว่า ทิสโลจนะแล้วย่อไว้ด้วยอังกุสนัย พึงแสดงพระสูตรด้วยนัยทั้ง 3 อย่างนี้แล" ดังนี้ ฯ
จบ หารสัมปาตะ 16 ฉะนี้ ฯ