อยู่ในระหว่างปรับสำนวน
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ตำราพุทธมีลำดับการศึกษาให้เข้าใจทะลุทะลวงดังนี้: ขอเป็นศิษย์ผู้มีฌานวสีทรงจำพระไตรปิฎกบาลี > ท่องจำบาลีตามลำดับซ้ำๆ ไม่ลืมทบทวนแม้จำได้แล้ว > สอบถามบาลี > ฟังคำอธิบายบาลี > ทรงจำทั้งหมด > ในระหว่างท่องจำก็พยายามปฏิบัติตามไปด้วยจนแตกฉาน. ผู้ที่ข้ามขั้นตอนเหล่านี้ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นไปได้ยากที่จะบรรลุอัปปนาทั้งโลกิยะและโลกุตตระในศาสนาพุทธได้ พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า "โมฆบุรุษ" เพราะว่างเปล่าจากอัปปนา (เรียบเรียงจากกีฏาคิริสูตร; ธัมมัญญูสูตร; สัจจบรรพะ อรรถกถามัคคนิทเทส; วิสุทธิมรรค กัมมัฏฐานคหณนิทเทส)
(หน้าที่ 9)
พรรณนาศีลโดยพิสดาร
ก็แหละ วิสุทธิมัคค คือทางแห่งวิสุทธินี้ แม้ว่าพระผู้มีพระภาคจะได้ทรงแสดงโดยมุขคือศีลสมาธิปัญญาอันสงเคราะห์ด้วยคุณธรรมเป็นอเนกประการ ดังที่พรรณนามาแล้วก็ตาม นับว่าทรงแสดงไว้อย่างย่อมาก เหตุนั้น จึงยังไม่เพียงพอเพื่อความเป็นอุปการะแก่เวไนยสัตว์ทั่ว ๆ ไป ดังนั้น เพื่อจะพรรณนาความแห่งวิสุทธิมัคคนั้นอย่างพิสดาร ขอตั้งปัญหากรรมปรารภถึงศีล เป็นประการแรก ดังนี้ –
1. อะไร ชื่อว่าศีล
2. อะไรเป็นสภาวะของคำว่าศีล
3. อะไร เป็นลักษณะ , เป็นรส , เป็นอาการปรากฎ และเป็นปทัฎฐานของศีล
4. ศีลมีอานิสงส์อย่างไร
5. ศีลนี้มีกี่อย่าง
6. อะไร เป็นความเศร้าหมองของศีล และ อะไร เป็นความผ่องแผ้วของศีล
ในปัญหากรรมเหล่านั้น มีคำวิสัชนาดังต่อไปนี้ -
ปัญหาข้อว่า อะไร ชื่อว่าศีล วิสัชนาว่าธรรมทั้งหลายมีเจตนาเป็นต้นของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้นอยู่ก็ดี ของบุคคลผู้บำเพ็ญวัตรปฏิบัติอยู่ก็ดี ชื่อว่าศีล คำนี้สมดังที่พระธรรมเสนาบดีสารีปุตตะกล่าวไว้ในคำภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ว่า " อะไรชื่อว่าศีล เจตนาชื่อว่าศีล เจตสิกชื่อว่าศีล สังวรชื่อว่าศีล การไม่ล่วงละเมิดชื่อว่าศีล"
(หน้าที่ 10)
เจตนาศีล
ในศีลเหล่านั้น คำว่า เจตนาชื่อว่าศีล ได้แก่เจตนาของบุคคลผู้งดเว้นจากบาปธรรมมีปาณาติบาตเป็นต้นอยู่ หรือเจตนาของบุคคลผู้กำลังบำเพ็ญวัตตปฏิบัติอยู่
เจตสิกศีล
เจตสิกศีล ชื่อว่าศีล ได้แก่ วิรติเจตสิก ของบุคคลผู้งดเว้นจากบาปธรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น
อีกประการหนึ่ง เจตนาชื่อว่าศีล ได้แก่เจตนาในกรรมบถ 7 ดวง ของบุคคลผู้ละอยู่ซึ่งบาปธรรมทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น เจตสิกชื่อว่าศีล ได้แก่กุศลธรรมทั้งหลายคือความไม่โลภ ความไม่พยาบาท ความเห็นชอบ ที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุละอภิชฌาแล้วเป็นผู้มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่
สังวรศีล
สังวร ในคำว่าสังวรชื่อว่าศีลนี้ นักศึกษาพึงทราบโดยประการ 5 อย่าง คือปาติโมกขสังวร 1 สติสังวร 1 ญาณสังวร 1 ขันติสังวร 1 วีริยสังวร 1
ในสังวร 5 อย่างนั้น สังวรนี้คือ " ภิกษุเป็นผู้เข้าถึงแล้วเข้าถึงพร้อมแล้วด้วยความสังวรคือปาติโมกข์นี้" ชื่อว่า ปาติโมกขสังวร สังวรนี้คือ "ภิกษุย่อมรักษาซึ่งอินทรีย์คือจักษุ ย่อมถึงซึ่งความสังวรในอินทรีย์คือจักษุ" ชื่อว่า สติสังวร สังวรนี้คือ "พระผู้มีพระภาคตรัสตอบปัญหาอชิตมานพว่า อชิตะ กระแสกิเลสใดในโลก สติเป็นเครื่องกั้นซึ่งกระแสเหล่านั้น กระแสเหล่านั้นจะพึงตัดให้เด็ดขาดได้ด้วยปัญญา" ชื่อว่า ญาณสังวร แม้การเสพปัจจัยก็ถึงซึ่งอันรวมลงในญาณสังวรนี้ด้วย ส่วนสังวรนี้ได้ซึ่งมาโดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อความหนาว เป็นผู้อดทนต่อความร้อน" สังวรนี้ชื่อว่า ขันติสังวร อนึ่ง สังวรใดที่มาโดยนัยมีอาทิ "ภิกษุย่อมไม่ให้กามวิตกซึ่งเกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ภายใน" สังวรนี้ชื่อว่า วีริยสังวร แม้อาชีวปาริสุทธิคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีพ ก็ถึงซึ่งอันรวมลงในวีริยสังวรนี้ด้วย
(หน้าที่ 11)
สังวรทั้ง 5 อย่างนี้ก็ดี การงดเว้นจากวัตถุที่ประจวบเข้าของเหล่ากุลบุตรผู้กลัวบาปก็ดี แม้ทั้งหมดนี้ พึงทราบเถิดว่าเป็น สังวรศีล ด้วยประการฉะนี้
อวีติกกมศีล
คำว่า การไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่าศีล ได้แก่การไม่ล่วงละเมิดที่เป็นไปทางกายและเป็นไปทางวาจา ของบุคคลผู้สมาทานศีลแล้ว
การวิสัชนาปัญหาข้อว่า อะไรชื่อว่าศีล ประการแรก ยุติด้วยประการฉะนี้
จะวิสัชนาปัญหาข้อที่เหลือต่อไปดังนี้ - ปัญหาข้อว่า ที่ชื่อว่าศีลเพราะอรรถว่ากระไร วิสัชนาว่า ที่ชื่อว่าศีลเพราะอรรถว่า ความปกติ ถาม – ที่ว่าความปกตินี้คืออย่างไร ? ตอบ – อย่างหนึ่ง คือ ความทรงอยู่ที่เรียบร้อย หมายความว่า ความเป็นผู้มีกริยาทางกายเป็นต้นไม่เกะกะด้วยอำนาจความสุภาพเรียบร้อย อีกอย่างหนึ่ง คือ ความรองรับ หมายความว่า ภาวะที่รองรับด้วยสามารถเป็นฐานรองรับกุศลธรรมทั้งหลายก็แหละความหมาย 2 อย่างนี้เท่านั้นใน สีล ศัพท์นี้ บรรดาอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในลักษณะของศัพท์รับรองต้องกัน ส่วนอาจารย์ฝ่ายอื่นพรรณนาความหมายใน สีล ศัพท์นี้ไว้แม้โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ความหมายแห่งสีล ศัพท์ หมายความว่า ยอด ความหมายแห่งสีลศัพท์ หมายความว่า เย็น ฉะนี้ ( ฉบับพม่า บาลีเป็น – สิรฏฺโฐ สีลตฺโถ, สีตลฏฺโฐ สีลตฺโถ –แปลตามนี้ )
ลำดับนี้ จะวิสัชนาปัญหาข้อที่ว่า อะไรเป็นลักษณะ, เป็นรส, เป็นอาการปรากฎและเป็นปทัฎฐานของศีล ต่อไปดังนี้ -
แม้ศีลนั้นแม้จะต่างกันโดยประเภทเป็นอันมาก ก็มีความปกติ เป็นลักษณะ เหมือนรูปซึ่งต่างกันโดยประเภทเป็นอันมาก ก็มีภาวะจะพึงเห็นใด้เป็นลักษณะฉะนั้น เหมือนอย่างว่า แม้รูปายตนะถึงจะต่างกันโดยประเภทเป็นอันมากโดยที่ต่างกันด้วยสีเขียวสีเหลืองเป็นต้น ก็มีภาวะที่จะพึงเห็นได้เป็นลักษณะ เพราะถึงแม้รูปายตนะจะต่างกันโดยประเภทแห่งสีเขียวเป็นต้น ก็ไม่พ้นไปจากภาวะที่พึงจะเห็นได้ ฉันใด แม้ศีลถึงจะต่างกันโดยประเภท
(หน้าที่ 12)
เป็นอันมากโดยต่างกันด้วยเจตนาเป็นต้น ก็มีความปกติซึ่งได้กล่าวมาแล้วด้วยสามารถแห่งความทรงอยู่อย่างเรียบร้อยของกิริยาทางกายเป็นต้น และด้วยสามารถแห่งความเป็นฐานรองรับกุศลธรรมทั้งหลายนั้นนั่นแลเป็นลักษณะ เพราะถึงแม้ศีลจะต่างกันโดยประเภทแห่งเจตนาเป็นต้น ก็ไม่พ้นไปจาก ความทรงอยู่เรียบร้อย และ ความรองรับ ฉันนั้น
อนึ่ง การขจัดเสียซึ่งความเป็นผู้ทุศีล หรือคุณคือความหาโทษมิได้ ท่านกล่าวว่า เป็นรส ของศีลอันมีอันมีลักษณะดังกล่าวมาแล้ว โดยอรรถว่า เป็นกิจ และ เป็นสมบัติ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าศีลนี้นักศึกษาพึงทราบว่า ที่ว่ามีการขจัดเสียซึ่งความเป็นผู้ทุศีลเป็นรสนั้นด้วยรสเพราะอรรถว่า กิจ ที่ว่ามีความหาโทษมิได้เป็นรสนั้น ด้วยรสเพราะอรรถว่า สมบัติ เป็นความจริง ในปัญหากรรมมีลักษณะเป็นต้น กิจ หรือ สมบัติ นั่นเองท่านเรียกว่า รส
ศีลนี้นั้นมีความสะอาด เป็นอาการปรากฎ วิญญูชนทั้งหลายรับรองกันว่า โอตตัปปะและหิริ เป็นปทัฏฐาน ของศีลนั้น จริงอยู่ ศีลนี้นั้นมีความสะอาดที่ตรัสไว้อย่างนี้คือ "ความสะอาดกายความสะอาดวาจาความสะอาดใจ" เป็นอาการปรากฏ ย่อมปรากฏโดยสภาวะอันสะอาด ย่อมถึงภาวะอันจะพึงถือเอาไว้ได้ ส่วนหิริโอตตัปปะวิญญูชนทั้งหลายรับรองกันว่าเป็นปทัฏฐานของศีลนั้น อธิบายว่า หิริและโอตตัปปะเป็นเหตุใกล้ของศีล เป็นความจริง เมื่อหิริโอตตัปปะมีอยู่ ศีลจึงเกิดขึ้นและดำรงอยู่ เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี ศีลย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ตั้งอยู่ไม่ได้เลย
นักศึกษาพึงทราบ ลักษณะ, รส, อาการปรากฏและปทัฏฐานของศีลตามที่พรรณนามา ด้วยประการฉะนี้
ปัญหาข้อว่า ศีลมีอานิสงส์อย่างไร วิสัชนาว่า ศีลนั้นมีอันได้ซึ่งคุณเป็นอันมากมีความไม่เดือดร้อนเป็นต้นเป็นอานิสงส์ สมดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า "ดูก่อนอานันทะ กุศลศีลมีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์แล"
(หน้าที่ 13)</sub⇒ ยังมีพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้อย่างอื่นอีกว่า – ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อานิสงส์ของศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล มี 5 ประการเหล่านี้ อานิสงส์ 5 ประการนั้น คืออะไรบ้าง ? 1. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลในโลกนี้ ย่อมประสบกองแห่งโภคทรัพย์อันยิ่งใหญ่ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 1 ของศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล 2. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เกียรติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมฟุ้งขจรไป นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 2ของศีลสมบัติของบุคคลที่มีศีล 3. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล เข้าไปสู่สังคมใดๆ จะเป็นสังคมกษัตริย์ก็ดี จะเป็นสังคมพราหมณ์ก็ดี จะเป็นสังคมคหบดีก็ดี จะเป็นสังคมสมณะก็ดี ย่อมเข้าไปอย่างองอาจไม่เก้อเขิน นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 3 ของศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล 4. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไม่หลงทำการกิริยา นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 4 ของศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล 5. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมี บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ, โลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 5 ของศีลสมบัติ ของบุคคลผู้มีศีล แม้อานิสงส์ของศีลอย่างอื่นๆ เป็นอเนกประการซึ่งมีความเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจ เป็นต้น มีความสิ้นไปแห่งอาสวะเป็นที่สุด พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงมุ่งหวังอยู่ว่า ขอให้เราพึงเป็นที่รักเป็นที่เจริญใจเป็นที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญ ของบรรดาภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายนั่นเถิด" ศีลมีคุณเป็นอันมากมีความไม่เดือดร้อนเป็นต้นเป็นอานิสงส์ ดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้ <sub>(หน้าที่ 14)
อานิสงส์แห่งศีลอีกนัยหนึ่ง
ที่พึ่งของกุลบุตรทั้งหลายในพระศาสนา เว้นเสียซึ่งศีลอันใดแล้วย่อมไม่มี ใครเล่าจะพึงพรรณนากำหนดอานิสงส์ของศีลอันนั้นได้
น้ำคือศีลย่อมล้างมลทินอันใดของสัตว์ทั้งหลายได้ แม่น้ำใหญ่ ๆ คือ คงคา, ยมุนา, สรภู, สรัสวดี, นินนคา, อจิรวดีหรือมหี หาสามารถล้างมลทินนั้นของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ได้ไม่
ศีลที่รักษาดีแล้วเป็นศีลห่างไกลจากกิเลสมีความเย็นอย่างที่สุดนี้ ย่อมบันดาลความร้อนกลุ้มของสัตว์ทั้งหลายให้สงบลงได้ ลมปนฝนก็ดี จันท์เหลืองก็ดี แก้วมุขดาหารก็ดี แก้วมณีก็ดี แสงจันทร์อ่อนก็ดี หาบันดาลความร้อนกลุ้มของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ให้สงบลงได้ไม่
กลิ่นอันใดที่ฟุ้งไปได้ทั้งทวนลมและตามลมเสมอกัน กลิ่นอันนั้นที่จะทัดเทียมด้วยกลิ่นคือศีล จักมีแต่ที่ไหน
บันใดสำหรับขึ้นสู่สวรรค์ หรือประตูในอันเข้าสู่นครนฤพานอย่างอื่นๆ ที่จะเสมอด้วยศีล จักมีแต่ทีไหน
พระราชาทั้งหลายผู้ทรงประดับแล้วด้วยแก้วมุกดาและแก้วมณีก็ไม่งามเหมือนนักพรตทั้งหลายผู้ประดับด้วยเครื่องประดับคือศีล
ศีลของบุคคลผู้มีศีล ย่อมกำจัดภัยมีการตำหนิตนเป็นต้นเสียได้โดยประการทั้งปวง และย่อมบันดาลให้เกิดเกียรติและความหรรษาในกาลทุกเมื่อ
นักศึกษาพึงทราบกถามุขอันแสดงถึงอานิสงส์ของศีล อันเป็นมูลรากแห่งคุณทั้งหลาย และเป็นเครื่องทำลายกำลังแห่งโทษทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้แล
(หน้าที่ 15)
ลำดับนี้ จะวิสัชนาในปัญหากรรมข้อที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า ศีลนี้มีกี่อย่าง ต่อไปนี้
(หน้าที่ 16)
ในบรรดาศีลเหล่านี้ อรรถาธิบายในส่วนแห่งศีลมีอย่างเดียว นักศึกษาพึงทราบ โดยนัยที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นเทียว
ในส่วนแห่งศีลมี 2 อย่าง มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ – การบำเพ็ญสิกขาตามที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า สิ่งนี้ควรทำ ดังนี้ อันใด การบำเพ็ญสิกขาบทนั้นชื่อว่า จาริตตศีล การไม่ฝ่าฝืนสิกขาบทที่ทรงห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควรทำ ดังนี้ อันใด การไม่ฝ่าฝืนนั้นชื่อว่า วาริตตศีล ในศีล 2 อย่างนั้น มีอรรถวิเคราะห์ถ้อยคำดังนี้ บุคคลทั้งหลาย ย่อมประพฤติในศีลนั้น คือเป็นไปด้วยความเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ฉะนั้นศีลนั้นชื่อว่า จาริตตศีล แปลว่า ศีลเป็นที่ประพฤติตามของบุคคลทั้งหลาย, ย่อมป้องกันรักษาซึ่งสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรงห้ามด้วยศีลนั้น ฉะนั้นศีลนั้น ชื่อว่า วาริตตศีล แปลว่า ศีลเป็นเครื่องป้องกันสิกขาบทที่ทรงห้าม, ในศีล 2 อย่างนั้น จาริตตศีลสำเร็จด้วยศรัทธาและวีริยะ วาริตตศีลสำเร็จด้วยศรัทธา
ศีล 2 อย่างโดยแยกเป็นจารีตตศีล และ วาริตตศีล ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล 2 หมวดที่ 2
ในศีล 2 อย่างหมวดที่ 2 มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ – คำว่า อาภิสมาจาร ได้แก่ ความประพฤติอย่างสูง อภิสมาจารศัพท์นั่นแหละสำเร็จรูปเป็น อาภิสมาจาริก อีกอย่าง สิกขาบทที่ทรงบัญญัติปรารภอภิสมาจาร ชื่อว่า อาภิสมาจาริก คำว่า อภิสมาจาริก นี้เป็นชื่อของศีลที่นอกเหนือไปจากอาชีวัฏฐมกศีล
ศีลชื่อว่า อาทิพรหมจริยก เพราะเหตุว่า เป็นเบื้องต้นแห่งมรรคพรหมจรรย์ คำว่า อาทิพรหมจริยก นี้เป็นชื่อของ อาชีวัฏฐมกศีล เป็นความจริง ศีลนั้นมีภาวะเป็นเบื้องต้นของมรรค เพราะเป็นสิ่งที่จะต้องชำระให้บริสุทธิ์ในกาลอันเป็นส่วนเบื้องต้นนั่นเทียว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้ว่า "ก็แหละ กายกรรม วจีกรรม อาชีพ ของภิกษุนั้น ย่อมเป็นสภาพบริสุทธิ์ในเบื้องต้น โดยแท้แล"
(หน้าที่ 17)
อีกประการหนึ่ง สิกขาบทเหล่าใดที่ตรัสไว้ว่าเป็นสิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ สิกขาบทนี้จัดเป็น อาภิสมาจาริกศีล สิกขาบทที่เหลือจัดเป็น อาทิพรหมจริยกศีล
อีกประการหนึ่ง สิกขาบทที่นับเนื่องในอุภโตวิภังค์ (คำว่าอุภโตวิภังค์ ได้แก่วิภังค์ 2 คือ ภิกขุวิภังค์และภิกขุนีวิภังค์) ชื่อว่า อาทิพรหมจริยกศีล สิกขาบทที่นั้นเนื่องในขันธกะและวัตรชื่อว่า อาภิสมาจาริกศีล อาทิพรหมจริยกศีลจะสำเร็จได้ก็ด้วย ความสมบูรณ์แห่งอาภิสมาจาริกศีลนี้เท่านั้น เพราะเหตุฉะนั้นแหละ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนา ไม่ทำอาภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักทำอาทิพรหมจริยกธรรมให้บริบูรณ์ดังนี้ ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้"
ศีล 2 อย่างโดยแยกเป็นอาภิสมาจาริกศีลและอาทิพรหมจริยกศีล ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล 2 หมวดที่ 3
ในศีล 2 หมวดที่ 3 มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ - ภาวะสักว่าความงดเว้นจากบาปธรรมทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้นชื่อว่า วิรติศีล คุณธรรมที่เหลือมีเจตนาเป็นต้น ชื่อว่า อวิรติศีล
ศีล 2 อย่างโดยแยกเป็นวิรติศีลและอวิรติศีล ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล 2 หมวดที่ 4
ในศีล 2 หมวดที่ 4 มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ - คำว่า นิสสัย ได้แก่นิสสัย 2 อย่าง คือ ตัณหานิสสัย 1 ทิฏฐินิสสัย 1 ในศีล 2 อย่างนั้น ศีลใดที่บุคคลปราถนาภวสมบัติให้เป็นไปอย่างนี้ว่า "เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทวดาตนใดตนหนึ่งด้วยศีลนี้" ศีลนี้ชื่อว่า ตัณหานิสสิตศีล ศีลใดที่บุคคลให้เป็นไปด้วยทิฏฐิล้วน ๆ อย่างนี้ว่า "เราจักเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยศีลนี้" ศีลนี้ชื่อว่า ทิฏฐินิสสิตศีล ส่วนศีลใด ที่เป็นโลกุตตรศีล และเป็นโลกิยศีลแต่เป็นเหตุแห่งโลกุตตรศีล นั้นเฉพาะ ศีลนี้ชื่อว่า อนิสสิตศีล
ศีล 2 อย่างโดยแยกเป็นนิสสิตศีลและอนิสสิตศีล ยุติด้วยประการฉะนี้
(หน้าที่ 18)
อธิบายศีล 2 หมวดที่ 5
ในศีล 2 หมวดที่ 5 มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ - ศีลที่บุคคลสมาทานทำกำหนดเวลาชื่อว่า กาลปริยันตศีล ศีลที่บุคคลสมาทานตลอดชีวิตแล้วคงให้ดำเนินไปได้เหมือนอย่างนั้น ชื่อว่า อาปาณโกฏิกศีล
ศีล 2 อย่างโดยแยกเป็นการปริยันตศีลและอาปาณโกฏิกศีล ยุติด้วยปประการฉะนี้
อธิบายศีล 2 หมวดที่ 6
ในศีล 2 หมวดที่ 6 มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ - ศีลที่มีความเห็นด้วยสามารถแห่งลาภ, ยศ, ญาติ, อวัยวะและชีวิตเป็นที่สุด ชื่อว่า สปริยันตศีล ศีลที่ตรงกันข้าม ชื่อว่า อปริยันตศีล สมจริง ดังที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีปุตตะกล่าวไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ว่า "ศีลมีที่สุดนั้นเป็นอย่างไร ? ศีลมีลาภเป็นที่สุดมีอยู่ ศีลมียศเป็นที่สุดมีอยู่ ศีลมีญาติเป็นที่สุดมีอยู่ ศีลมีชีวิตเป็นที่สุดมีอยู่ ศีลมีลาภ เป็นที่สุดนั้น เป็นอย่าง ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ตนสมาทานแล้ว เพราะลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นตัวการ นี้ชื่อว่าศีลมีลาภเป็นที่สุดนั้น" แม้ศีลทั้งหลายนอกนี้นักศึกษาก็พึงอธิบายให้พิสดารโดยทำนองนี้นั่นเทียว แม้ในอธิการวิสัชนาอปริยันตศีล ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีปุตตะก็ได้กล่าวไว้ว่า "ศีลที่มิใช่มีลาภเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้แต่จิตก็ไม่ให้เกิดขึ้นเพื่อล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ตนสมาทานแล้ว เพราะลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นตัวการ ไฉนเขาจักล่วงละเมิด นี้ชื่อว่า ศีลมิใช่มีลาภเป็นที่สุดนั้น" แม้ศีลทั้งหลายนอกนี้นักศึกษาก็พึงอธิบายให้พิสดารโดยทำนองนี้นั่นเทียว
ศีล 2 อย่างโดยแยกเป็นสปริยันตศีลและอปริยันตศีล ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล 2 หมวดที่ 7
ในศีล 2 หมวดที่ 7 มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้- ศีลที่ประกอบด้วยอาสวะแม้ทุกประเภท ชื่อว่า โลกิยศีล ศีลที่ไม่ประกอบด้วยอาสวะ ชื่อว่า โลกุตตรศีล ใน
(หน้าที่ 19)
ศีล 2 อย่างนั้น โลกิยศีลย่อมนำมาซึ่งภพชั้นวิเศษ และเป็นเหตุแห่งอันออกจากภพด้วย สมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า "วินัยเพื่อประโยชน์แก่ความสังวร ความสังวรเพื่อประโยชน์แก่ความไม่เดือดร้อนใจ ความไม่เดือดร้อนใจเพือประโยชน์แก่ความปราโมช ความปราโมชเพื่อประโยชน์แก่ปีติเพื่อประโยชน์แก่ความสงบใจ ความสงบใจเพื่อประโยชน์แก่ความสุข ความสุขเพื่อประโยชน์แก่สมาธิ สมาธิเพื่อประโยชน์แก่ยถาภูตญาณทัสสนะ ยถาภูตญาณทัสสนะเพื่อประโยชน์แก่นิพพิทา นิพพิทาเพื่อประโยชน์แก่วิราคะ วิราคะเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติญาณทัสสนะ วิมุตติญาณทัสสนะเพื่อประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน, การหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนี้ใด การพูดวินัยก็มีการหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์ การปรึกษาวินัยก็มีการหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์ การเข้าไปอิงวินัยก็มีการหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์ การเงี่ยโสตลงฟังวินัยก็มีการหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์" โลกุตตรศีลย่อมนำมาซึ่งการออกจากภพและเป็นภูมิแห่งปัจจเวกขณญาณด้วย
ศีล 2 อย่างโดยแยกเป็นโลกิยศีลและโลกุตตรศีล ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล 3 หมวดที่ 1
ในบรรดาศีล 3 อย่าง มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้- ในศีล 3 อย่างหมวดที่ 1 ความว่า ศีลที่บุคคลประพฤติเป็นไปด้วยฉันทะวิริยะจิตตะหรือวิมังสาชั้นต่ำ ชื่อว่า หีนศีล ศีลที่บุคคประพฤติเป็นไป ด้วยอิทธิบาทธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นต้น ชั้นปานกลาง ชื่อว่า มัชฌิมศีล ศีลที่บุคคลประพฤติเป็นไปด้วยอิทธิบาทธรรมทั้งหลายชั้นประณีต ชื่อว่า ปณีตศีล
อีกอย่างหนึ่ง ศีลที่บุคคลสมาทานด้วยความเป็นผู้ใคร่ยศ ชื่อว่า หีนศีล ศีลที่บุคคลสาทานด้วยความเป็นผู้ใคร่ผลบุญ ชื่อว่า มัชฌิมศีล ศีลที่บุคคลสมาทานเพราะอาศัยอริยภาพว่า ศีลนี้เป็นสิ่งที่ควรทำ ชื่อว่า ปณีตศีล
อีกอย่างหนึ่ง ศีลที่หม่นหมองไปด้วยบาปธรรมทั้งหลาย มีการยกตนและข่มผู้อื่นเป็นต้นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ส่วนภิกษุอื่น ๆ นี้นั้นเป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรมชื่อว่า หีนศีล ศีลที่ไม่หม่นหมองอย่างนั้นแต่เป็นชั้นโลกิยะ ชื่อว่า มัชฌิมศีล ศีลชั้นโลกุตตระ ชื่อว่า ปรีตศีล
(หน้าที่ 20)
อีกอย่างหนึ่ง ศีลที่บุคคลประพฤติเป็นไปเพื่อต้องการภวสมบัติและโภคสมบัติด้วยอำนาจแห่งตัณหา ชื่อว่า หีนศีล ศีลที่บุคคลประพฤติเป็นไปเพื่อต้องการความหลุดพ้นสำหรับตน ชื่อว่า มัชฌิมศีล ปารมิตาศีลที่พระโพธิสัตว์ประพฤติเป็นไป เพื่อต้องการความหลุดพ้นสำหรับสรรพสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า ปณีตศีล
ศีล 3 อย่างโดยแยกเป็นหีนศีล, มัชฌิมศีลและประณีตศีล ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล 3 หมวดที่ 2
ในศีล 3 อย่างหมวดที่ 2 มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ - ศีลที่บุคคลเพื่อใคร่เพื่อจะสละทิ้งสิ่งซึ่งไม่สมควรแก่ตน ผู้มีตนเป็นที่เคารพ ประพฤติเป็นไปแล้วด้วยความคารวะในตน ชื่อว่า อัตาธิปไตยศีล ศีลที่บุคคลผู้ใคร่เพื่อจะหลีกเลี่ยงการตำหนิของชาวโลก ผู้มีโลกเป็นที่เคารพ ประพฤติเป็นไปแล้วด้วยความคารวะในโลก ชื่อว่า โลกาธิปไตยศีล ศีลที่บุคคลผู้ใคร่เพื่อจะบูชาความยิ่งใหญ่ของธรรม ผู้มีธรรมเป็นที่เคารพ ประพฤติเป็นไปแล้วด้วยความคารวะในธรรม ชื่อว่า ธัมมาธิปไตยศีล
ศีล 3 อย่าง โดยแยกเป็นอัตตาธิปไตยศีลเป็นต้น ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล 3 หมวดที่ 3
ในศีล 3 อย่างหมวดที่ 3 มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ - ศีลใดที่ข้าพเจ้าเรียกว่า นิสสิตศีลในหมวด 2 ศีลนั้น ชื่อว่า ปรามัฏฐศีล เพราะอันตัณหาและทิฏฐิถูกต้องแล้ว ศีลอันเป็นเหตุแห่งมัคญาณของกัลยาณปุถุชน และประกอบด้วยมัคญาณของพระเสกขบุคคลทั้งหลาย ชื่อว่า อปรามัฏฐศีล ศีลอันประกอบด้วยผลญาณของพระเสกขะและพระเสกขบุคคลทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิศีล
ศีล 3 อย่างโดยแยกเป็นปรามัฏฐศีลเป็นต้น ยุติด้วยประการฉะนี้
(หน้าที่ 21)
อธิบายศีล 3 หมวด 4
ในศีล 3 อย่างหมวดที่ 4 มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ –ศีลใดที่ภิกษุไม่ต้องอาบัติบำเพ็ญแล้ว หรือที่ต้องแล้วได้ทำกลับคืนอีก ศีลนั้นชื่อว่า วิสุทธิศีล ศีลที่ภิกษุต้องอาบัติ แล้วไม่ได้ทำกลับคืน ชื่อว่า อวิสุทธิศีล ศีลของภิกษุผู้สงสัยในวัตถุก็ดี ในอาบัติก็ดี ในอัชฌาจารก็ดี ชื่อว่า เวมติกศีล ในศีล 3 อย่างนั้น อวิสุทธิศีลอันโยคีบุคคลพึงทำให้บริสุทธิ์ เมื่อความสงสัยเกิดขึ้นอย่าได้ทำการล่วงละเมิดวัตถุ พึงกำจัดความสงสัยเสียความผาสุขใจจักมีแก่โยคีบุคคลนั้นด้วยอาการอย่างนี้
ศีล 3 อย่างโดยแยกเป็นวิสุทธิศีลเป็นต้น ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล 3 หมวดที่ 5
ในศีล 3 อย่างหมวดที่ 5 มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ – ศีลที่ประกอบด้วยอริยมัคคญาณ 4 และประกอบด้วยสามัญผล 3 ชื่อว่า เสกขศีล ศีลที่ประกอบด้วยอรหัตผลชื่อว่า อเสกขศีล ศีลที่เหลือชื่อว่า เนวเสกขนาเสกขศีล
ศีล 3 อย่างโดยแยกเป็นเสกขศีลเป็นต้น ยุติด้วยประการฉะนี้
ส่วนในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีปุตตะกล่าวไว้ว่า "โดยที่แม้ความปกติของสัตว์นั้น ๆ ในโลก ที่คนทั้งหลายอาศัยใช้พูดกันอยู่ว่า "คนนี้มีสุขเป็นปกติ คนนี้มีทุกข์เป็นปกติ คนนี้มีการทะเลาะเป็นปกติ คนนี้ประดับตนเป็นปกติ" ดังนี้ก็เรียกว่าศีล" ฉะนั้น โดยปริยายนั้น ศีลก็มีอยู่ 3 อย่างคือ กุศลศีล 1 อกุศลศีล 1 อัพยากตศีล 1 ศีล 3 อย่างโดยแยกเป็นกุศลศีลเป็นต้น ยุติด้วยประการฉะนี้ ในศีล 3 อย่างนั้น อกุศลศีล ย่อมเข้ากันไม่ได้กับอาการของศีลที่ประสงค์เอาในอรรถนี้มีลักษณะเป็นต้นแม้สักอาการเดียวดังนั้น ข้าพเจ้าจึงมิได้ยกมาไว้ในอธิการนี้ เพราะฉะนั้น นักศึกษาพึงทราบภาวะที่ศีลนั้นมี 3 อย่าง โดยนัยเท่าที่บรรยายมาแล้วเท่านั้น
อธิบายศีล 4 หมวดที่ 1
ในบรรดาศีล 4 ทั้งหลาย ศีล 4 อย่างหมวดที่ 1 มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ – ภิกษุใดในศาสนานี้ ชอบคบแต่พวกภิกษุทุศีล ไม่ชอบคบภิกษุมีศีล มองไม่เห็นโทษ
(หน้าที่ 22)
ในการล่วงละเมิดวัตถุ เป็นผู้โง่เซอะ มากไปด้วยความดำริผิด ไม่รักษาอินทรีย์ทั้งหลายศีลของภิกษุเช่นนี้นั่นแล จัดเป็น หานภาคิยศีล อนึ่ง ภิกษุใดในศาสนานี้เป็นผู้พอใจอยู่ด้วยศีลสมบัติ ไม่ทำความพอใจให้เกิดขึ้นในการบำเพ็ญกรรมฐานเนือง ๆ ศีลของภิกษุนั้นผู้ยินดีเฉพาะเพียงแค่ศีล ไม่พยายามเพื่อคุณเบื้องสูงขึ้นไป จัดเป็น ฐิติภาคิยศีล อนึ่งภิกษุใดในศาสนานี้ผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว ยังพยายามเพื่อต้องการสมาธิต่อไปอีก ศีลของภิกษุนี้จัดเป็น วิเสสภาคิยศีล อนึ่ง ภิกษุใดในศาสนานี้ ไม่ยินดีอยู่แต่เฉพาะแค่ศีลสมบัติ ย่อมประกอบเนือง ๆ ซึ่งนิพพิทา คือวิปัสสนาต่อไป ศีลของภิกษุนี้ จัดเป็น นิพเพธภาคิยศีล
ศีล 4 อย่างโดยจำแนกเป็นหานภาคิยศีลเป็นต้น ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล 4 หมวดที่ 2
ในศีล 4 อย่างหมวดที่ 2 มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้- สิกขาบททั้งหลายที่ทรงบัญญัติปรารภเฉพาะพวกภิกษุ และสิกขาบทเหล่าใดที่พวกภิกษุเหล่านั้นจะต้องรักษานอกเหนือจากบทบัญญัติของภิกษุณีทั้งหลาย นี้ชื่อว่า ภิกขุศีล สิกขาบททั้งหลายที่ทรงบัญญัติปรารภเฉพาะพวกภิกษุณี และสิกขาบทเหล่าใดที่พวกภิกษุณีจะต้องรักษา นอกเหนือจากบทบัญญัติของภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่า ภิกขุนีศีล ศีล 10 ประการของสามเณรและสามเณรี ชื่อว่า อนุปสัมปันนศีล สิกขาบท 5 ประการด้วยอำนาจแห่งนิจศีล หรือในเมื่อมีความอุตสาหะก็สิกขาบท 10 ประการ และสิกขาบท 8 ประการด้วยสามารถองค์แห่งอุโบสถ สำหรับอุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย นี้ชื่อว่า คหัฏฐศีล
ศีล 4 อย่างโดยแยกเป็นภิกขุศีลเป็นต้น ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล 4 หมวดที่ 3
ในศีล 4 อย่างหมวดที่ 3 มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ –การไม่ล่วงละเมิด (เบญจศีล) ของพวกมนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปทั้งหลาย จัดเป็น ปกติศีล จารีตประเพณีในขอบเขตของตน ๆ ของตระกูลของตำบลและของลัทธิเดียรถีย์ทั้งหลาย จัดเป็น อาจารศีล ศีลพระมารดาของพระโพธิสัตว์ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า "ดูก่อนอานันทะ ในการใดพระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดา ความพอพระทัยในบุรุษอันประกอบด้วยกามคุณ ย่อมไม่
(หน้าที่ 23)
เกิดขึ้นแก่พระมารดาพระโพธิสัตว์" ดังนี้ จัดเป็น ธัมมตาศีล อนึ่ง ศีลในชาตินั้น ๆ ของจำพวกสัตว์ผู้บริสุทธิ์ เช่นพระมหากัสสปเป็นต้นและของพระโพธิสัตว์ จัดเป็น ปุพพเหตุกศีล
ศีล 4 อย่างโดยแยกเป็นปกติศีลเป็นต้น ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล 4 หมวดที่ 4
ในศีล 4 อย่างหมวดที่ 4 มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้- ศีลใดที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างนี้ว่า "ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้สำรวมด้วยความสังวรคือปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจารและโคจร มีปกติมองเห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย" ศีลนี้ชื่อว่า ปาติโมกขสังวรศีล
อนึ่ง ศีลใดที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า "ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ยึดถือซึ่งนิมิต ไม่ยึดถือซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศลบาปธรรมทั้งหลายคืออภิชฌาและโทมนัสย่อมไหลไปสู่ภิกษุนั้นผู้ไม่สำรวมซึ่งจักขุนทรีย์เพราะมีจักขุนทรีย์ใดเป็นเหตุ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสังวรซึ่งจักรขุนทรีย์นั้น ย่อมรักษาซึ่งจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสังวรในจักขุนทรีย์, ได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว………ได้ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว……..ได้ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว……..ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว………ได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว……..ย่อมไม่ยึดถือซึ่งนิมิต………ย่อมถึงซึ่งความสังวรในมนินทรีย์" ฉะนี้ ศีลนี้จัดเป็น อินทรียสังวรศีล
อนึ่ง การวิรัติจากมิจฉาอาชีพอันใด ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจแห่งการล่วงละเมิดซึ่งสิกขาบท 6 ประการ ที่ทรงบัญญัติไว้เพราะมีอาชีวะเป็นเหตุ และด้วยอำนาจแห่งบาปธรรมทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ "การหลอกลวง การพูดเลาะเล็ม การกระทำนิมิต การด่าแช่ง การแสวงหาลาภด้วยลาภ" นี้จัดเป็น อาชีวปาริสุทธิศีล
การบริโภคปัจจัย 4 อันบริสุทธิ์ด้วยการพิจารณา ที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า "ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยจีวร เพียงเพื่อกำจัดเสียซึ่งความเย็น…………" ฉะนี้ จัดเป็น ปัจจยสันนิสสิตศีล
(หน้าที่ 24)
อธิบายปาติโมกขสังวรศีล
ในปาติโมกขสังวรศีลเป็นต้นนั้น มีกถาวินิจฉัยพร้อมทั้งการพรรณนาตามลำดับบทจำเดิมตั้งแต่ต้น ดังต่อไปนี้-
บทว่า อิธ หมายความว่าในศาสนานี้ บทว่า ภิกขุ ได้แก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา ที่ได้โวหารว่าอย่างนั้น เพราะเป็นผู้เห็นภัยในสงสารอย่างหนึ่ง เพราะเป็นผู้ใช้ผ้าที่ถูกทำลายแล้วเป็นต้นอย่างหนึ่ง บทว่า ปาติโมกข ในคำว่า สำรวมแล้วด้วยสังวรคือ ปาติโมกข์นี้ ได้แก่ศีลอันเป็นสิกขาบท จริงอยู่ ศีลอันเป็นสิกขาบทนั้น เรียกว่า ปาติโมกข เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ปลดเปลื้องภิกษุผู้รักษาศีลนั้น ให้หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งหลาย มีทุกข์ในอบายเป็นต้น ความระวัง ชื่อว่า ความสังวร ความสังวรนี้ เป็นชื่อของการไม่ล่วงละเมิดที่เกิดทางกายและเกิดทางวาจา ความสังวรคือปาติโมกข์ ชื่อว่า ปาติโมกขสังวร เป็นผู้สำรวมด้วยสังวรคือปาติโมกข์นั้น ชื่อว่า ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต อธิบายว่า ผู้สำรวมคือผู้เข้าถึงคือผู้ประกอบด้วยสังวรคือปาติโมกข์ วิหรติ หมายความว่า ยังอัตภาพให้เป็นไปอยู่ ( คืออยู่ด้วยอิริยาบถ 4 )
อรรถาธิบายของบทว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยอาจารและโคจร เป็นต้น พึงทราบโดยนัยอันมาแล้วในพระบาลีนั่นเทียว จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ดังต่อไปนี้-
บาลีแสดงอาจารและโคจร
บทว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยอาจารและโคจร ไขความว่า อาจารมีอยู่ อนาจารมีอยู่
อนาจาร
ในอาจารและอนาจารนั้น อนาจาร เป็นอย่างไร ?
ความล่วงละเมิดที่เกิดทางกาย ความล่วงละเมิดที่เกิดทางวาจา ความล่วงละเมิดที่เกิดทั้งทางกายและวาจา นี้เรียกว่า อนาจาร แม้ความทุศีลทุก ๆ อย่างก็ชื่อว่า อนาจาร ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ย่อมสำเร็จการเลียงชีพด้วยมิจฉาอาชีพ คือด้วยการให้
(หน้าที่ 25)
ไม้ไผ่บ้าง ด้วยการให้ใบไม้บ้าง ด้วยการให้ดอกไม้, ผลไม้, แป้งเครื่องสนานและไม้สีฟันบ้างด้วยความเป็นผู้ประจบสอพลอบ้าง ด้วยความเป็นผู้เหมือนแกงถั่วบ้าง (คือพูดจริงบ้างไม่จริงบ้าง สุก ๆ ดิบ ๆ เหมือนแกงถั่ว) ด้วยความเป็นผู้รับเลี้ยงเด็กบ้าง ด้วยรับส่งหนังสือด้วยกำลังแข้งบ้าง หรือด้วยมิจฉาอาชีพที่พระพุทธเจ้าทรงครหา อย่างใดอย่างหนึ่ง การสำเร็จความเลี้ยงชีพนี้ เรียกว่า อนาจาร
อาจาร
ในอาจารและอนาจารนั้น อาจาร เป็นอย่างไร ?
ความไม่ล่วงละเมิดที่เกิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดที่เกิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิดที่เกิดทั้งทางกายและทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิดนี้ เรียกว่า อาจาร แม้สังวรคือศีลทั้งหมดก็เรียกว่า อาจาร ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ย่อมไม่สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยมิจฉาอาชีพ คือด้วยการให้ไม้ไผ่บ้าง ด้วยการให้ใบไม้บ้าง ด้วยการให้ดอกไม้,ผลไม้,แป้งเครื่องสนานและไม้สีฟันบ้าง ด้วยความเป็นผู้ประจบสอพลอบ้าง ด้วยความเป็นผู้เหมือนแกงถั่วบ้าง ด้วยความเป็นผู้รับเลี้ยงเด็กบ้าง ด้วยรับส่งหนังสือด้วยกำลังแข้งบ้าง หรือด้วยมิจฉาอาชีพที่พระพุทธเจ้าทรงครหาอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง การไม่สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยมิจฉาอาชีพนี้ เรียกว่า อาจาร
บทว่า อโคจร ไขความว่า โคจรมีอยู่ อโคจรมีอยู่
อโคจร
ในโคจรและอโคจรนั้น อโคจร เป็นอย่างไร ?
ภิกษุในบางรูปในศาสนานี้ เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นที่โคจรบ้าง มีหญิงหม้าย , สาวเทื้อ, บัณเฑาะก์, ภิกษุณีและร้านสุราเป็นที่โคจรบ้าง เป็นผู้อยู่คลุกคลีกับพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา กับพวกเดียรถีย์ และสาวกของพวกเดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ อันไม่สมควร แหละหรือ ย่อมส้องเสพคบหาเข้าไปนั่งใกล้ ซึ่งตระกูลทั้งหลายเห็นปานฉะนี้ คือ ตระกูลที่ไม่มีศรัทธา ตระกูลที่ไม่เลื่อมใส ตระกูลที่มิได้เตรียมตั้งเครื่องดื่ม
(หน้าที่ 26)
ไว้ ตระกูลที่ด่าที่บริภาษ ตระกูลที่ไม่ใคร่ประโยชน์ ตระกูลที่ไม่ใคร่ความเกื้อกูล ตระกูลที่ไม่ใคร่ความผาสุก ตระกูลที่ไม่ใคร่ความเกษมจากโยคธรรม แก่ภิกษุภิกษุณีอุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย พฤติการณ์ของภิกษุนั้นเช่นนี้ เรียกว่า อโคจร
โคจร
ในโคจรและอโคจรนั้น โคจร เป็นอย่างไร ?
ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ เป็นผู้ไม่มีหญิงแพศยาเป็นที่โคจร เป็นผู้ไม่มีหญิงหม้าย, สาวเทื้อ, บัณเฑาะก์, ภิกษุณีและร้านสุราเป็นที่โคจร เป็นผู้ไม่คลุกคลีกับพระราชามหาอำมาตย์ของพระราชา กับพวกเดียรถีย์ ด้วยความคลุกคลีกับคฤหัสถ์ อันไม่สมควร แหละหรือ ย่อมส้องเสพคบหา ย่อมเข้าไปนั่งใกล้ ซึ่งตระกูลทั้งหลายเห็นปานฉะนี้ คือตระกูลมีศรัทธา ตระกูลเลื่อมใส ตระกูลเตรียมตั้งเครื่องดื่มไว้ ตระกูลรุ่งเรืองไป ด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ ตระกูลฟุ้งตลบไปด้วยกลิ่นฤาษี ตระกูลใคร่ประโยชน์ตระกูลใคร่ความเกื้อกูล ตระกูลใคร่ความผาสุก ตระกูลใคร่ความเกษมจากโยคธรรม แก่ภิกษุภิกษุณีอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย พฤติการณ์ของภิกษุนั้นเช่นนี้ เรียกว่า โคจร
ภิกษุเป็นผู้ประกอบแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว เข้าไปแล้ว เข้าไปพร้อมแล้ว เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว มาตามพร้อมแล้ว ด้วยอาจารนี้และด้วยโคจรนี้ ด้วยประการดังอรรถาธิบายมา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน แปลว่า ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจารและโคจร ฉะนี้
อีกประการหนึ่ง ในอธิการแห่ง ปาติโมกขสังวรศีล นี้ นักศึกษาพึงทราบ อาจารและโคจร แม้โดยนัยดังพรรณนาโดยต่อไปนี้ –
อนาจารทางกาย
ก็แหละ อนาจาร มี 2 ประการ คือ อนาจารทางกาย 1 อนาจารทางวาจา 1
ใน 2 ประการนั้น อนาจารทางกาย เป็นอย่างไร ?
(หน้าที่ 27)
คือ ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ แม้เข้าสู่ที่ประชุมสงฆ์ก็ไม่ทำความเคารพ ยืนเบียดบ้าง นั่งเบียดบ้าง ซึ่งภิกษุทั้งหลายชั้นเถระ ยืนข้างหน้าบ้าง นั่งข้างหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะสูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะบ้าง ยืนพูดบ้าง กวักมือพูดบ้าง เมื่อภิกษุทั้งหลายชั้นเถระเดินไม่สวมรองเท้า ก็เดินสวมรองเท้า เมื่อภิกษุชั้นเถระเดินจงกรมอยู่ ณ ที่จงกรมต่ำ ไพล่ไปเดินที่จงกรมสูง เมื่อภิกษุทั้งหลายชั้นเถระเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไพล่ไปเดินจงกรมเสียบนที่จงกรม ยืนแทรกบ้างนั่งแทรกบ้าง ซึ่งภิกษุทั้งหลายชั้นเถระ ย่อมกีดกันแม้พวกภิกษุใหม่ด้วยอาสนะ แม้อยู่ในเรือนไฟ ไปอาปุจฉาภิกษุทั้งหลายชั้นเถระ ก็ใส่ฟืน ปิดประตูแม้ ณ ที่ท่าน้ำ ก็ลงเบียดภิกษุทั้งหลายชั้นเถระ ลงไปข้างหน้าเสียบ้าง สรงเบียดบ้าง สรงอยู่ข้างหน้าบ้าง ขึ้นเบียดบ้าง ขึ้นไปข้างหน้าบ้าง แม้เมื่อเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินเบียดภิกษุทั้งหลายชั้นเถระบ้าง เดินไปข้างหน้าบ้าง และเดินแซงไปข้างหน้า ๆ ของภิกษุทั้งหลายชั้นเถระ แม้ ณ ห้องลับและห้องปิดบังสำหรับตระกูลทั้งหลายที่กุลสตรีและกุลกุมารีทั้งหลายพากันนั่งเล่นเช่นนั้น เธอก็จู่โจมเข้าไปลูบศรีษะเด็กบ้าง อันว่าพฤติการเช่นนี้ เรียกว่า อนาจารทางกาย
อนาจารทางวาจา
ในอนาจาร 2 ประการนั้น อนาจารทางวาจา เป็นอย่างไร ?
คือ ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ แม้ไปสู่ที่ประชุมสงฆ์แล้วก็ไม่ทำความเคารพ ไม่อาปุจฉาภิกษุทั้งหลายชั้นเถระ พูดธรรม วิสัชนาปัญหา แสดงพระปาติโมกข์ ยืนพูดบ้าง กวักมือพูดบ้าง แม้เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้ว ย่อมพล่ามพูดกับสตรีบ้าง กับกุมารีบ้าง อย่างนี้ว่า "คุณโยมผู้นี้มีชื่ออย่างนี้ มีนามสกุลอย่างนี้ มีอะไรไหม? มีข้าวยาคูไหม? มีข้าวสวยไหม? มีของเคี้ยวไหม? อาตมาจักดื่มอะไร? จักเคี้ยวอะไร? จักฉันอะไร? คุณโยมจักถวายอะไรแก่อาตมาหรือ ?" พฤติการณ์ของภิกษุนั้นเช่นนี้ เรียกว่า อนาจารทางวาจา
ส่วน อาจาร นักศึกษาพึงทราบด้วยสามารถข้อความอันตรงกันข้ามกับ อนาจาร นั้นเถิด
(หน้าที่ 28)
อาจารตามนัยแห่งอรรถกถา
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีความคารวะ มีความเคารพ สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ นุ่งสบงห่มจีวรเรียบร้อย มีการเดินหน้าถอยหลัง มีการเหลียวไปแลมา มีการคู้เหยียด อันน่าเลื่อมใส มีจักษุทอดลงประมาณชั่วแอก มีอิริยาบทเรียบร้อย รักษาทวารในอินทรีย์ 6 รู้จักประมาณในโภชนะ หมั่นประกอบความเพียร ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะ มักน้อย สันโดษ ปรารถความเพียร มีปกติทำความเคารพในอาภิสมาจาริกศีลทั้งหลาย เป็นผู้มากด้วยการทำความเคารพในฐานแห่งความเคารพ
นักศึกษาพึงทราบ อาจาร อันเป็นประการแรก ด้วยประกาศดังพรรณนามานี้
โคจร 3 อย่าง
ส่วน โคจร มี 3 อย่าง คือ อุปนิสสยโคจร 1 อารักขโคจร 1 อุปนิพันธโคจร 1
อุปนิสสยโคจร
ในโคจร 3อย่างนั้น อุปนิสสยโคจร เป็นอย่างไร ?
กัลยาณมิตร ซึ่งประกอบด้วยคุณคือกถาวัตถุ 10 ที่ภิกษุพึ่งพิงแล้ว ย่อมได้ฟังพุทธวจนะที่ฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง ย่อมสิ้นความสงสัย ย่อมทำทฤษฎีให้ถูกต้อง ย่อมทำจิตใจให้ผ่องใส แหละหรือ กัลยาณมิตรผู้ที่ภิกษุศึกษาสำเหนียกตามอยู่ ย่อมเจริญด้วยศรัทธา, ศีล, สุตะ, จาคะ, และปัญญา กัลยาณมิตรนี้ เรียกว่า อุปนิสัสยโคจร
อารักขโคจร
อารักขโคจร เป็นอย่างไร ?
ภิกษุในศาสนานี้ เข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนน ทอดสายตาลงมองดูประมาณชั่วแอก เดินไปอย่างสำรวม ไม่เหลียวดูพลช้าง ไม่เหลียวดูพลม้า ไม่เหลียวดูพลรถ ไม่เหลียวดูพลเดินเท้า ไม่เหลียวดูสตรี ไม่เหลียวดูบุรุษ ไม่แหงนขึ้นข้างบน ไม่เหลียวลงข้างล่าง ไม่เดินมองทิศใหญ่ทิศน้อย พฤติการณ์ของภิกษุนั้นเช่นนี้ เรียกว่า อารักขโคจร
(หน้าที่ 29)
อุปนิพันธโคจร
อุปนิพันธโคจร เป็นอย่างไร
คือ สติปัฏฐาน 4 อันเป็นที่ผูกจิตไว้ สมดังพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า –
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โคจรของภิกษุได้แก่อะไร ? ได้แก่วิสัยอันเป็นสมบัติของพุทธบิดาของตน คือ สติปัฏฐาน 4 นี้เรียกว่า อุปนิพันธโคจร
ภิกษุ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว เข้าไปแล้ว เข้าไปพร้อมแล้ว เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว มาตามพร้อมแล้ว ด้วยอาจารนี้และด้วยโคจรนี้ ด้วยประการดังอรรถาธิบายมา แม้ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน แปลว่า ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจารและโคจร ฉะนี้
คำว่า มีปกติมองเห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย คือมีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณเล็กน้อย อันต่างด้วยโทษ เช่น การต้องอาบัติเสขิยวัตรโดยไม่ได้แกล้งและเกิดอกุศลจิตเป็นต้น
คำว่า สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ความว่า ศีลอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะพึงศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ศีลนั้นทั้งหมดเธอถือเอามาศึกษาสำเหนียกอยู่ในความเคารพ
นักศึกษาพึงทราบว่า ปาติโมกขสังวรศีล พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้วในบทว่า ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต ที่แปลว่า ผู้สำรวมด้วยสังวรคือปาติโมกข์นี้ และด้วยเทศนาปุคลาธิษฐานมีประมาณเท่านี้ ส่วนบทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน ที่แปลว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยอาจารและโคจร เป็นต้น พระผู้มีพระภาคตรัสไว้เพื่อทรงแสดงถึงข้อปฏิบัติโดยประการที่ศีลนั้นทั้งหมดจะสำเร็จแก่ผู้ปฏิบัติ
อธิบายอินทรียสังวรศีล
ก็แหละ ในอินทรียสังวรศีล ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ในลำดับแห่งปาติโมกขสังวรศีลโดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุ ดังนี้นั้น มีอรรถาธิบายดังต่อ
(หน้าที่ 30)
ไปนี้ – คำว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ภิกษุผู้ดำรงอยู่ในปาติโมกขสังวรศีล คำว่า เห็นรูปด้วยจักษุ อธิบายว่า เห็นรูปด้วยจักขุวิญญานอันสามารถเห็นรูปได้ ซึ่งได้โวหารว่า จักษุ ด้วยอำนาจแห่งเหตุ ส่วนท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า จักษุเห็นรูปไม่ได้เพราะไม่มีจิต จิตเห็นรูปไม่ได้เพราะไม่มีจักษุแต่เพราะทวารกับอารมณ์กระทบกัน บุคคลจึงเห็นรูปได้ด้วยจิตซึ่งมีจักษุปสาทเป็นวัตถุ ก็แหละ การพูดที่ประกอบด้วยเหตุเช่นนี้ ย่อมมีได้เหมือนอย่างในคำมีอาทิว่า คนยิงด้วยธนู เพราะฉะนั้น อรรถาธิบายในคำว่า เห็นรูปด้วยจักษุนี้ ได้แก่ เห็นรูปด้วยจักขุวิญญานนั่นเทียว
คำว่า ไม่ยืดถือซึ่งนิมิต อธิบายว่า ไม่ยืดถือด้วยนิมิตที่เป็นหญิงและนิมิตเป็นชาย หรือนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสมีนิมิตสวยงามเป็นต้น หยุดอยู่เพียงแค่เห็นเท่านั้น
คำว่า ไม่ยืดถือซึ่งอนุพยัญชนะ อธิบายว่า ไม่ยืดถือซึ่งอาการอันต่างด้วย มือ, เท้า, การยิ้ม, การหัวเราะ, การพูดและการเหลียวแลเป็นต้น ซึ่งได้โวหารว่า อนุพยัญชนะ เพราะกระทำความปรากฎ โดยเป็นที่ปรากฏเนือง ๆ ของกิเลสทั้งหลาย อาการใดปรากฏในสรีระนั้น ก็ถือเอาเพียงอาการนั้น เหมือนพระติสสเถระผู้อยู่ที่เจติยบรรพต
เรื่องพระติสสเถระ
ได้ยินว่า ขณะที่พระเถระจากเจติยบรรพตมายังเมืองอนุราธบุรี เพื่อเที่ยวบิณฑบาตนั้น ยังมีหญิงสะใภ้แห่งตระกูลคนใดคนหนึ่ง เกิดทะเลาะกับสามีแล้วประดับตกแต่งตนอย่างสวยงามเป็นเสมือนเทพกัญญา แล้วหนีออกจากเมืองอนุราธบุรีไปแต่เช้ามืดทีเดียวเมื่อเดินไปเรือนญาติ ได้พบพระเถระเข้าระหว่างทางพอดี เกิดมีจิตวิปลาสขึ้น จึงหัวเราะอย่างเสียงดัง พระเถระมองดูด้วยคิดว่า นี่อะไรกัน แล้วได้อสุภสัญญากัมมัฏฐานที่กระดูกฟันของหญิงนั้น เลยได้บรรลุพระอรหัต ด้วยเหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า พระเถระนั้นเห็นกระดูกฟันของหญิงสะใภ้นั้นแล้วก็ระลึกขึ้นได้ซึ่งอสุภกัมมัฏฐานที่ตนเคยได้มาแล้วในกาลก่อน ได้บรรลุแล้วซึ่งพระอรหัตทั้งยืน ณ ที่ตรงนั้นนั่นเทียว ฝ่ายสามีของนางตามหาไปโดยทางนั้น เห็นพระเถระเข้า จึงเรียนถามว่า "ท่านขอรับ ท่านเห็นสตรีอะไร ๆ บ้างไหม? " พระเถระได้ตอบกับชายสามีนั้นว่า "จะเป็นหญิงหรือเป็นชายอาตมาไม่ทราบ แต่ว่าโครงกระดูกนี้เดินไปในทางใหญ่" ฉะนี้
(หน้าที่ 31)
ในคำว่า ยตฺวาธิกรณเมนํ เป็นต้น มีอรรถาธิบายว่า ธรรมทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้นเหล่านี้ พึงไหลไปคือติดตามไป ซึ่งบุคคลนี้ผู้ไม่ปิดซึ่งจักขุนทรีย์ด้วยบานประตูคือสติ คือไม่ได้ปิดคือจักขุทวาร เพราะการไม่สังวรจักขุนทรีย์ใดเป็นเหตุ คือเพราะเหตุแห่งไม่สังวรจักขุนทรีย์ใด
คำว่า ย่อมปฏิบัติเพื่อสังวรจักขุนทรีย์นั้น ความว่า ย่อมปฎิบัติเพื่อปิดซึ่งจักขุนทรีย์นั้นด้วยบานประตูคือสติ แหละเมื่อภิกษุปฏิบัติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้นั่นแล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า รักษาจักขุนทรีย์บ้าง ถึงซึ่งความสังวรในอินทรีย์บ้าง
สังวรอสังวรไม่มีที่จักขุนทรีย์
ในคำว่า ย่อมถึงซึ่งความสังวรในจักขุนทรีย์นั้น อันที่จริง ความสังวรหรือความไม่สังวร ย่อมไม่มีที่จักขุนทรีย์ดอก ความมีสติหรือความเผลอสติก็หาได้บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุปสาทไม่ ก็แต่ว่า การใดอารมณ์คือรูปมาสู่คลองจักษุ (รูปกระทบตา) กาลนั้นเมื่อ ภวังคจิต เกิดขึ้น 2 ขณะแล้วดับไป กิริยามโนธาตุ (หมายเอาปัญจทวาราวัชชนจิต) เกิดขึ้น ทำอาวัชชนกิจ (กิจคือการนึกเอารูปารมณ์) ให้สำเร็จแล้วก็ดับไป แต่นั้น จักขุวิญญาณจิต เกิดขึ้น ทำทัสสนกิจ (กิจคือการเห็นรูป) ให้สำเร็จแล้วก็ดับไป แต่นั้น วิปากมโนธาตุ (หมายเอาสัมปฏิจฉันนจิต) เกิดขึ้น ทำปฏิจฉันนกิจ (กิจคือการรับเอารูปารมณ์) ให้สำเร็จแล้วก็ดับไป แต่นั้น วิปากอเหตุกมโนวิญญาณธาตุ (หมายเอาสันตีรณจิต) เกิดขึ้น ทำสันตีรณกิจ (กิจคือการพิจราณารูปารมณ์) ให้สำเร็จแล้วก็ดับไป แต่นั้น กิริยาอเหตุกมโนวิญญาณธาตุ (หมายเอามโนทวาราวัชชนจิต) เกิดขึ้น ทำโวฏฐัพพนกิจ (กิจคือการตัดสินรูปารมณ์) ให้สำเร็จแล้วก็ดับไป ลำดับต่อจากกิริยาอเหตุกมโนวิญญาณธาตุนั้น ชวนจิต ก็เล่นไป 7 ขณะ
(หน้าที่ 32)
สังวรและอสังวรมีขณะแห่งชวนจิต
แม้ในสมัยเหล่านั้น สังวรก็ดี อสังวรก็ดี ย่อมไม่มีในภวังคสมัยนั่นเทียว ย่อมไม่มีในอาวัชชนสมัยเป็นต้นสมัยใดสมัยหนึ่งเช่นกัน แต่ถ้าว่า ความทุศีล ความเผลอสติ ความไม่รู้ ความไม่อดทน หรือความเกียจคร้าน เกิดขึ้นในขณะแห่งชวนจิต อสังวรก็ย่อมมี แหละอสังวรนั้นเมื่อมีอยู่โดยทำนองนี้ ท่านเรียกว่า ความไม่สังวรในจักขุนทรีย์
เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า เมื่อสังวรนั้นมี แม้ทวารก็ชื่อว่าเป็นอันไม่รักษาแล้ว ภวังจิตก็ดี วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนะเป็นต้นก็ดี ย่อมเป็นอันไม่รักษาแล้วตลอดแถว
ข้อความที่กล่าวนี้เปรียบเหมือนอะไร ? เปรียบเหมือนประตูเมือง 4 ประตูไม่ได้ปิด ถึงจะปิดประตูเรือน, ยุ้งฉางและห้องหับอันเป็นภายในอย่างเรียบร้อยแล้วก็ตาม แม้ถึงกระนั้นก็ชื่อว่ารักษาไม่คุ้มครองสิ่งของทั้งมวลอันอยู่ภายในเมืองนั่นเทียว เพราะเหตุว่าโจรทั้งหลายเข้าไปทางประตูเมืองแล้วจะทำสิ่งที่ตนปารถนาได้อยู่ ฉันใด เมื่อโทษทั้งหลายมีความทุศีลเป็นต้นเกิดขึ้นแล้วที่ชวนะ ครั้นความไม่สังวรมีอยู่ที่ชวนะนั้น แม้ทวารก็เป็นอันไม่ได้รักษาแล้ว แม้ภวังคจิต แม้วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนะเป็นต้นก็เป็นอันไม่ได้รักษาแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน
แต่เมื่อคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้นเกิดขึ้นแล้วที่ ชวนะ นั้น แม้ทวารก็ชื่อว่าเป็นอันรักษาแล้ว แม้ภวังคจิต แม้วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนะเป็นต้นก็เป็นอันรักษาแล้วเช่นกัน
ที่กล่าวนี้เปรียบเหมือนอะไร ? เปรียบเหมือนเมื่อประตูเมืองปิดแล้ว ถึงเรือนทั้งหลายที่อยู่ภายในเมืองเป็นต้นมิได้ปิดประตู แม้ถึงกระนั้น ก็ได้ชื่อว่ารักษาดีแล้ว คุ้มครองดีแล้ว ซึ่งสิ่งของทั้งมวล ที่มีอยู่ภายในเมืองนั่นแล เพราะเหตุว่า เมื่อปิดประตูเมืองทั้ง 4ประตูแล้ว โจรทั้งหลายย่อมเล็ดลอดเข้าไปไม่ได้ ฉันใด เมื่อคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้นเกิดขึ้นแล้วที่ ชวนะ แม้ทวารก็ชื่อว่ารักษาแล้ว แม้ภวังคจิต แม้วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็เป็นอันรักษาแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังบรรยายมา แม้ถึงความสังวรจะเกิดขึ้นอยู่ที่ขณะแห่ง ชวนะ ท่านก็กล่าวว่า ความสังวรในจกขุนทรีย์ ฉะนี้
แม้ในคำทั้งหลาย มีคำว่า ฟังเสียงด้วยโสต เป็นต้น ก็มีอรรถาธิบายโดยทำนองเดียวกันนี้นั่นเทียว
(หน้าที่ 33)
นักศึกษาพึงทราบว่า เมื่อว่าโดยย่อแล้ว อินทรียสังวรศีล นี้ มีอันเว้นจากการยึดถือซึ่งนิมิต อันเป็นที่ตามผูกพันแห่งกิเลสในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นเป็นลักษณะด้วยประการฉะนี้
อธิบายอาชีวปาริสุทธิศีล
บัดนี้ จะอรรถาธิบายในอาชีวปาริสุทธิศีล ซึ่งตรัสไว้ในลำดับแห่งอินทรียสังวรศีล ต่อไปดังนี้ –
คำว่า ด้วยอำนาจแห่งการล่วงละเมิดซึ่งสิกขาบท 6 ประการ ซึ่งทรงบัญญัติไว้เพราะมีอาชีพเป็นต้น อธิบายว่า ด้วยอำนาจการล่วงละเมิดสิกขาบท 6 ประการเหล่านี้ ซึ่งทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ –
1. ภิกษุมีความปารถนาลามก อันความอยากครอบงำแล้ว ย่อมพูดอวดอุตริมนุษยธรรม คือธรรมอันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ อันไม่มีจริงอันไม่เป็นจริง เพราะมีอาชีพเป็นเหตุ เพราะมีอาชีพเป็นตัวการ ต้องอาบัติปาราชิก
2. ภิกษุทำการชักสื่อ (ให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน) เพราะมีอาชีพเป็นเหตุ เพราะมีอาชีพเป็นตัวการ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
3. ภิกษุพูดไก๋ว่า ภิกษุใดอยู่ในวัดของท่าน ภิกษุนั้นเป็นพระอรหันต์ ดังนี้เพราะมีอาชีพเป็นเหตุ เพราะมีอาชีพเป็นตัวการ เมื่อยังยืนยันอยู่ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
4. ภิกษุไม่ต้องอาพาธ ขอโภชนะอันประณีตเพื่อตนมาฉัน เพราะมีอาชีพเป็นเหตุ เพราะมีอาชีพเป็นตัวการ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
5. ภิกษุณีไม่ได้ต้องอาพาธ ขอโภชนะอันประณีตเพื่อตนมาฉัน เพราะมีอาชีพเป็นเหตุ เพราะมีอาชีพเป็นตัวการ ต้องปาฏิเทสนียะ
6. ภิกษุไม่ได้ต้องอาพาธ ขอแกงหรือข้าวสุกเพื่อตนมาฉัน ต้องอาบัติทุกกฎ
บาปธรรม 5 อย่างในพระบาลี
1. ในบาปธรรมเหล่านั้น การหลอกลวง เป็นอย่างไร ?
การสยิ้วหน้า กิริยาสยิ้วหน้า การหลอกลวง กิริยาหลอกลวง ภาวะที่หลอกลวง ด้วยกุหนวัตถุคือการเสพปัจจัย 4 หรือด้วยการพูดกระซิบ หรือการสยิ้วหน้า กิริยาสยิ้วหน้า
(หน้าที่ 34)
การหลอกลวง กิริยาหลอกลวง ภาวะที่หลอกลวง คือการวางท่า การตั้งท่า การแต่งท่า แห่งอิริยาบถทั้ง 4 อันใด ของภิกษุผู้อิงอาศัยลาภสักการะและความสรรเสริญ ผู้มีความปารถนาลามก ผู้อันความปารถนาครอบงำแล้ว นี้เรียกว่า การหลอกลวง
2. ในบาปธรรมเหล่านั้น การพูดเลาะเล็ม เป็นอย่างไร ?
การพูดทัก การพูดอวด การพูดเอาใจ การพูดยกยอ การพูดยกยอให้หนักขึ้น การพูดผูกมัด การพูดผูกมัดให้หนักขึ้น การพูดยกตน การพูดยกตนให้หนักขึ้น การพูดให้รักอย่างพร่ำเพรื่อ การพูดลดตนเอง การพูดเหมือนแกงถั่ว การพูดรับเป็นพี่เลี้ยงเด็ก แก่คนอื่น ๆอันใด ของภิกษุผู้อิงอาศัยลาภสักการะและความสรรเสริญ ผู้มีความปารถนาลามก ผู้อันความปารถนาคอบงำแล้ว นี้เรียกว่า การพูดเลาะเล็ม
3. ในบาปธรรมเหล่านั้น การกระทำนิมิต เป็นอย่างไร ?
การกระทำกายและวาจาเป็นนิมิต ความฉลาดในการกระทำนิมิตคำพูดเป็นปัจจัย ทำคำพูดเป็นนัย การพูดกระซิบ การพูดเลียบเคียง แก่คนอื่น ๆ อันใด ของภิกษุผู้อิงอาศัยลาภสักการะและความสรรเสริญ ผู้มีความปารถนาลามก ผู้อันความปารถนาครอบงำแล้ว นี้เรียกว่า การกระทำนิมิต
4. ในบาปธรรมเหล่านั้น การด่าแช่ง เป็นอย่างไร ?
การพูดด่า การพูดข่ม การพูดครหา การพูดสาด การพูดสาดหนักขึ้น การพูดติเตียน การพูดติเตียนหนักขึ้น การพูดให้ร้าย การพูดให้ร้ายหนักขึ้น การนำโทษไปโพนทนา การพูดให้โทษลับหลัง แก่คนอื่น ๆ อันใด ของภิกษุผู้อิงอาศัยลาภสักการะและความสรรเสริญ ผู้มีความปารถนาลามก ผู้อันความปารถนาครอบงำแล้ว นี้เรียกว่า การด่าแช่ง
5. ในบาปธรรมเหล่านั้น การแสวงหาลาภด้วยลาภ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุผู้อิงอาศัยลาภสักการะและความสรรเสริญ ผู้มีความปารถนาลามก ผู้อันความปารถนาครอบงำแล้ว นำเอาอามิสที่ได้แล้วจากตระกูลนี้ไปตระกูลโน้น หรือนำเอาอามิสที่ได้แล้ที่ตระกูลโน้นมาที่ตระกูลนี้ การเสาะหา การซอกหา การแสวงหา กิริยาเสาะหา กิริยาซอกหา กิริยาแสวงหา ซึ่งอามิสเห็นปานฉะนี้ อันใด นี้เรียกว่า การแสวงหาลาภด้วยลาภ
(หน้าที่ 35)
อธิบายความพระบาลี
ก็แหละ อรรถาธิบายความแห่งพระบาลีนี้ นักศึกษาพึงทราบดังจะบรรยายต่อไปนี้
1 - ในกุหนนิทเทส
พึงทราบอรรถาธิบายในกุหนนิทเทสเป็นประการแรกดังนี้ - คำว่า ผู้อิงอาศัยลาภสักการะและความสรรเสริญ ความว่า ผู้อิงอาศัยคือปารถนาลาภสักการะและชื่อเสียง คำว่า ผู้มีความปารถนาลามก คือมีความใคร่ที่จะแสดงถึงคุณอันไม่มีอยู่ คำว่า ผู้อันความปารถนาครอบงำแล้ว คือผู้อันความปารถนาครอบงำแล้ว คือเข้าประทุษร้ายแล้ว
ต่อแต่นี้ไป โดยเหตุที่กุหนวัตถุ 3 อย่างมาในคัมภีร์มหานิทเทส โดยแยกเป็น กุหนวัตถุคือการเสพปัจจัย, กุหนวัตถุคือการกระซิบและกุหนวัตถุคือการอาศัยอิริยาบถ ฉะนั้น เพื่อที่จะแสดงกุหนวัตถุแม้ 3 อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงปรารภคำมีอาทิอย่างนี้ว่า ปจฺจยปฏิเสวนสงฺขาเตน วา ที่แปลว่า ด้วยกุหนวัตถุคือการเสพปัจจัย 4 หรือ
การทำให้พิศวง ด้วยการปฏิเสธ เพราะเป็นผู้อาศัยความเป็นผู้มีความปารถนาลามก เมื่อถูกคหบดีทั้งหลายนิมนต์ด้วยปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น ทั้ง ๆ ที่ตนมีความต้องการปัจจัยนั้นอยู่ และด้วยหยั่งรู้ถึงคหบดีเหล่านั้นเป็นผู้มีศรัทธาตั้งมั่นในตนแล้ว เมื่อเขาพูดว่า "โอ พระผู้เป็นเจ้ามักน้อย ไม่ต้องการที่จะรับปัจจัยอะไร ๆ ถ้าหากว่าพระผู้เป็นเจ้าจะพึงรับปัจจัยอะไรๆ แม้สักเล็กน้อย ก็จะพึงเป็นอันเราทั้งหลายได้ดีแล้วหนอ" ดังนี้แล้ว จึงพากันน้อมปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้นที่ประณีต ๆ มาด้วยอุบายวิธีมีประการต่างๆ เธอจึงรับโดย ทำให้รู้ความประสงค์ที่จะอนุเคราะห์เขาเหล่านั้นเท่ากัน ตั้งแต่นั้น ก็เป็นเหตุให้เขาน้อมนำมาด้วยปัจจัยทั้งหลายแม้เป็นเล่มเกวียน ๆ การทำให้พิศวงทำนองนี้ นักศึกษาพึงทราบว่าเป็นกุหนวัตถุคือการเสพปัจจัยประการหนึ่ง ในบรรดากุหนวัตถุ 3 ประการนั้น สมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในคัมภีร์มหานิทเทส
(1) กุหนวัตถุคือการเสพปัจจัย
กุหนวัตถุคือการเสพปัจจัย เป็นอย่างไร ?
ในศาสนานี้ คหบดีทั้งหลายนิมนต์ภิกษุด้วยจีวร, บิณฑบาต, เสนาสนะและคิลานปัจจยเภสัชบริขาร ภิกษุนั้นเป็นผู้มีความปารถนาลามก อันความปารถนาครอบงำแล้ว
(หน้าที่ 36)
มีความต้องการจีวร, บิณฑบาต, เสนาสนะและคิลานปัจจยเภสัชบริขารอยู่ เพราะอาศัยความอยากได้ให้ยิ่งขึ้น จึงบอกปัดจีวร บอกปัดบิณฑบาต บอกปัดเสนาสนะ บอกปัดคิลานปัจจยเภสัชบริขาร เธอพรรณนาอย่างนี้ว่า "ประโยชน์อะไรของสมณะด้วยจีวรที่มีค่ามาก การที่สมณะพึงเก็บเอาผ้าที่เขาทิ้งแล้ว จากป่าช้าบ้าง จากกองหยากเยื่อบ้าง จากร้านตลาดบ้าง มาทำผ้าสังฆาฏิครอง นี้เป็นการสมควร, ประโยชน์อะไรของสมณะกับบิณฑบาตที่มีค่ามาก การที่สมณะพึงสำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยคำข้าวที่ทำให้เป็นก้อน ซึ่งได้มาด้วยภิกขาจารวัตร นี้เป็นการสมควร, ประโยชน์อะไรของสมณะกับเสนาสนะที่มีค่ามาก การที่สมณะพึงอยู่โคนต้นไม้หรือพึงอยู่กลางแจ้ง นี้เป็นการสมควร, ประโยชน์อะไรของสมณะกับคิลานปัจจยเภสัชบริขารอันมีค่ามาก การที่สมณะพึงทำยาด้วยมูตรเน่าหรือด้วยชิ้นส่วนแห่งผลสมอ นี้เป็นการสมควร" อาศัยเหตุนั้นเธอจึงครองจีวรปอน ๆ ฉันบิณฑบาตเลว ๆ เสพเสนาสนะอย่างมัวหมอง เสพคิลานปัจจยเภสัชบริขารอย่างถูก ๆ คหบดีทั้งหลาย จึงรู้จักเธอนั้นทำนองนี้ว่า "สมนะนี้ เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลี มีความเพียรปารถนาแล้ว มีวาทะกำจัดกิเลส" จึงนิมนต์เธอด้วยจีวร, บิณฑบาต, เสนาสนะและคิลานปัจจยเภสัชบริขาร เธอจึงสาธยาย ดังนี้ว่า "กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมจะประสบบุญเป็นอันมาก เพราะความพร้อมหน้าแห่งวัตถุ 3 ประการ คือ กุลบุตรผู้มีศรัทธาประสบบุญเป็นอันมาก เพราะความพร้อมหน้าแห่งศรัทธา 1 กุลบุตรผู้มีศรัทธาประสพบุญเป็นอันมาก เพราะความพร้อมหน้าแห่งเครื่องไทยธรรม 1 กุลบุตรผู้มีศรัทธาประสพบุญเป็นอันมาก เพราะความพร้อมหน้าแห่งทักขิเนยยบุคคลทั้งหลาย 1 ท่านทั้งหลายมีศรัทธานี้อยู่แล้ว เครื่องไทยธรรมก็มีอยู่ และอาตมาก็เป็นปฏิคาหกด้วย ถ้าอาตมาจักไม่รับ ท่านทั้งหลายจักเป็นผู้เสื่อมจากบุญไปเสียด้วยอาการอย่างนี้ อาตมาไม่ต้องการด้วยปัจจัยนี้ แต่ที่รับไว้ก็เพื่อจะอนุเคราะห์ท่านทั้งหลายเท่านั้น" อาศัยเหตุนั้นเธอจึงรับจีวรบ้าง บิณฑบาตบ้าง เสนาสนะบ้าง คิลานปัจจยเภสัชบริขารบ้าง ไว้อย่างละมาก ๆ การสยิ้วหน้า กิริยาสยิ้วหน้า การหลอกลวง กิริยาหลอกลวง ภาวะที่หลอกลวง เห็นปานฉะนี้อันใด นี้ชื่อว่า กุหนวัตถุคือการเสพปัจจัย
(หน้าที่ 37)
(2) กุหนวัตถุคือการพูดกระซิบ
อนึ่ง การทำให้เกิดพิศวงด้วยประการนั้น ๆ ด้วยวาจาที่แสดงถึงการได้บรรลุอุตริมนุษยธรรม ของภิกษุผู้มีความปารถนาลามกนั่นแล นักศึกษาพึงทราบ กุหนวัตถุคือ การพูดกระซิบ เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า –
กุหนวัตถุคือการพูดกระซิบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ เป็นผู้มีความปารถนาลามก อันความปารถนาครอบงำแล้ว มีความต้องการความสรรเสริญ สำคัญว่า คนจักสรรเสริญเราด้วยอาการอย่างนี้ แล้วจึงพูดถ้อยคำอาศัยอิงอริยธรรม คือพูดว่า "ภิกษุใดครองจีวรเห็นปานฉะนี้ ภิกษุนั้นเป็นสมณะผู้มีศักดิ์ใหญ่" พูดว่า "ภิกษุใดใช้บาตร ใช้ถาดโลหะ ใช้กระบอกกรองน้ำ ใช้ผ้ากรองน้ำ ใช้กุญแจ ใช้ผ้าประคต สวมรองเท้า ชนิดนี้ ๆ ภิกษุนั้นเป็นสมณะผู้มีศักดิ์ใหญ่" พูดว่า "พระอุปัชฌายะ พระอาจารย์ ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ ภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ ภิกษุผู้เป็นมิตร เป็นเพื่อนเห็น เป็นเพื่อนคบ เป็นสหาย เห็นปานฉะนี้ ๆ ของภิกษุใด, ภิกษุใดอยู่ในวิหาร ในโรงยาว ในปราสาท ในเรือนล้น ในคูหา ในที่เร้น ในกระท่อม ในเรือนยอด ในป้อม ในโรงกลม ในศาลายาว ในโรงประชุม ในมณฑป และในรุกขมูล ชนิดนี้ ๆ ภิกษุนั้นเป็นสมณะผู้มีศักดิ์ใหญ่"
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้มีความปารถนาลามกนั้น ตีหน้ายู่ยี่อย่างยิ่ง สยิ้วหน้าอย่างหนัก หลอกลวงอย่างเจนจัด พูดเลาะเล็มอย่างคล่องแคล่ว ชอบสรรเสริญด้วยปาก ย่อมพูดถ้อยคำอันลึกซึ้ง เร้นลับ ละเอียด ปิดบัง ชั้นโลกุตตระ ประกอบด้วยความว่าเช่นนั้นว่า สมณะนี้ได้วิหารสมาบัติอันสงบเห็นปานฉะนี้ การสยิ้วหน้า กิริยาสยิ้วหน้า การหลอกลวง กิริยาหลอกลวง เห็นปานฉะนี้ อันใด นี้ชื่อว่า กุหนวัตถุคือการพูดกระซิบ
(หน้าที่ 38)
(3) กุหนวัตถุคืออิริยาบถ
อนึ่ง การทำให้พิศวงด้วยอิริยาบถที่กระทำเพื่อประสงค์สรรเสริญ ของภิกษุผู้มีปารถนาลามกนั่นแล นักศึกษาพึงทราบว่า กุหนวัตถุที่อาศัยอิริยาบถ เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า –
กุหนวัตถุคืออิริยาบถ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ เป็นผู้มีความปารถนาลามก อันความปารถนาครอบงำแล้ว มีความประสงค์ความสรรเสริญ สำคัญว่า คนจักสรรเสริญเราด้วยอาการอย่างนี้ แล้วประจงเดิน ประจงยืน ประจงนั่ง ประจงนอน ตั้งใจแล้วจึงเดิน ตั้งใจแล้วจึงยืน ตั้งใจแล้วจึงนั่ง ตั้งใจแล้วจึงนอน เดินทำเป็นเหมือนคนมีจิตตั้งมั่น นั่งทำเป็นเหมือนคนมีจิตตั้งมั่น นอนทำเป็นเหมอนคนมีจิตตั้งมั่น ทำเป็นเหมือนเข้าฌานต่อหน้าคน
การสยิ้วหน้า กิริยาสยิ้วหน้า การหลอกลวง กิริยาหลอกลวง ภาวะที่หลอกลวง คือการวางท่า การตั้งท่า การแต่งท่า แห่งอิริยาบถ เห็นปานฉะนี้ นี้เรียกว่า กุหนวัตถุ คืออิริยาบถ
อธิบายศัพท์บาลี
ในบทเหล่านี้ บทว่า ปจฺจยปฏิเสวนสงฺขาเตน แปลว่า ด้วยกุหนวัตถุที่ บัณฑิตกล่าวอย่างนี้ว่า การเสพปัจจัย อีกนัยหนึ่ง แปลว่า ด้วยกุหนวัตถุ คือการเสพปัจจัย บทว่า สามนฺตชปฺปิเตน แปลว่า ด้วยการพูดกระซิบ (พูดใกล้หู) บทว่า อิริยาปถสฺส วา แปลว่า หรือ….แห่งอิริยาบถ 4 บทว่า อฏฺฐปนา ความว่า การวางท่าไว้แต่ต้น หรือ วางท่าไว้ด้วยความเอื้อเฟื้อ บทว่า ฐปนา ได้แก่ อาการตั้งท่า บทว่า สณฺฐปนา ได้แก่ การแต่งท่า อธิบายว่า การทำภาพให้เกิดการเลื่อมใส บทว่า ภากุฏิกา คือการกระทำ ความสยิ้วหน้าโดยแสดงถึงภาวะแห่งผู้เคร่งเครียดด้วยความเพียร อธิบายว่า เป็นผู้มีหน้ายู่ยี่ การกระทำความสยิ้วหน้าเป็นปกติของภิกษุนั้น เหตุนั้นภิกษุนั้น ชื่อว่า ภากุฏิโก แปลว่า ผู้มีความสยิ้วหน้าเป็นปกติ ภาวะแห่งภิกษุผู้มีการกระทำความสยิ้วหน้าเป็นปกติ ชื่อว่า ภากุฏิยํ
(หน้าที่ 39)
แปลว่า ภาวะแห่งภิกษุผู้มีการกระทำความสยิ้วหน้าเป็นปกติ บทว่า กุหนา แปลว่า การหลอกลวง คือการทำให้พิศวง กิริยาเป็นไปแห่งการหลอกลวง ชื่อว่า กุหายนา แปลว่า กิริยาที่หลอกลวง ภาวะแห่งบุคคลผู้หลอกลวง ชื่อว่า กุหิตตฺตํ แปลว่า ภาวะของบุคคลผู้หลอกลวง
2- ในลปนานิทเทส
ใน ลปนานิทเทส มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ –
การที่ภิกษุเห็นคนทั้งหลายมาวัด แล้วรีบทักก่อนอย่างนี้ว่า "ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พากันมาเพื่อต้องการอะไรหรือ ? เพื่อจะนิมนต์ภิกษุทั้งหลายหรือ ? ถ้าเช่นนั้นเชิญกลับไปได้ อาตมาจะพาภิกษุไปภายหลัง" ดังนี้ ชื่อว่า อาลปนา ที่แปลว่า พูดทัก อีกประการหนึ่ง การที่ภิกษุพูดเสนอตนเข้าไป ชักเข้าหาตนอย่างนี้ว่า "อาตมาชื่อ ติสสะ พระราชาทรงเลื่อมใสในอาตมา มหาอำมาตย์ของพระราชาโน้นและมหาอำมาตย์ของพระราชาโน้น ก็เลื่อมใสในอาตมา" ดังนี้ก็ชื่อว่า อาลปนา เมื่อภิกษุถูกถามแล้วพุด มีประการดังกล่าวมาแล้วนั่นแล ชื่อว่า ลปนา แปลว่า พูดอวด การที่ภิกษุกลัวในอันที่คหบดีทั้งหลายจะหน่ายแหนง จึงพูดเอาใจให้โอกาสเสียเรื่อย ๆ ชื่อว่า สลฺลปนา แปลว่า พูดเอาใจ การที่ภิกษุพูดยกให้สูงขึ้นอย่างนี้ว่า "ท่านกุฏุมพีก์ใหญ่ ท่านนายเรือใหญ่ ท่านทานบดีใหญ่" ดังนี้ ชื่อว่า อุลฺลปนา แปลว่า การพุดยกยอ การพูดยกให้สูงขึ้นโดยส่วนอย่างสิ้นเชิง ชื่อว่า สมุลฺลปนา แปลว่า การยกยอให้หนักขึ้น การพูดผูกมัด คือพูดผูกพันให้หนัก ๆ ขึ้นอย่างนี้ว่า "ดูก่อนอุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย เมื่อก่อน ในการเช่นนี้พวกท่านย่อมถวายนวทาน (ให้สิ่งของแรกเกิดขึ้นใหม่ ๆ) แต่บัดนี้ ทำไมจึงไม่ถวายเล่า" ทั้งนี้จนกว่าอุบาสกอุบาสอกาทั้งหลายจะกล่าวรับรองซึ่งคำมีอาทิว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญพวกกระผมจักถวายอยู่ แต่ยังไม่ได้โอกาส" ดังนี้ ชื่อว่า อุนฺนหนา การพูดผูกมัด อีกประการหนึ่ง ภิกษุเห็นอ้อยในมือแล้วถามว่า "เอามาจากไหน อุบาสก ?" เมื่อเขาตอบว่า "เอามาจากไร่อ้อยขอรับ" จึงถามต่อไปว่า "อ้อยที่ไร่นั้นหวานไหม ?" เมื่อเขาตอบว่า "ต้องเคี้ยวดูจึงจะทราบขอรับ" ภิกษุพูดต่อไปว่า "ดูก่อนอุบาสก การที่ภิกษุจะพูดว่า ท่านทั้งหลายจงถวายอ้อยแก่
(หน้าที่ 40)
ภิกษุ ดังนี้ หาสมควรไม่" การพูดผูกพันแม้ของภิกษุผู้ปฏิเสธอยู่เห็นปานฉะนี้นั้น ชื่อว่า อุนฺนหนา การพูดผูกมัดบ่อย ๆ โดยส่วนอย่างสิ้นเชิง ชื่อว่า สมุนฺนหนา แปลว่า พูดผูกมัดหนักขึ้น
บทว่า อุกฺกาจนา ความว่า การพูดยกตนอย่างนี้ว่า "ตระกูลนี้รู้จักแต่อาตมาเท่านั้น ถ้าไทยธรรมเกิดขึ้นในตระกูลนี้ เขาก็ถวายแต่อาตมาเท่านั้น" ดังนี้ ชื่อว่า อุกฺกาจนา พูดยกตน อธิบายว่า พูดเชิดตน ก็แหละ ในบทนี้ นักศึกษาพึงนำเอาเรื่องของนางเตลกันทริกามาเล่าประกอบด้วย อนึ่ง การพูดยกตนบ่อย ๆ โดยส่วนอย่างสิ้นเชิง ชื่อว่า สมุกฺกาจนา แปลว่า การพูดยกตนให้หนักขึ้น
การพูดให้เป็นที่รักอย่างพร่ำเพรื่อไปอย่างเดียว โดยไม่แลเหลียวถึงความสมควร แก่สัจจะสมควรแก่ธัมมะหรือไม่ ชื่อว่า อนุปิยภาณิตา การพูดให้รักอย่างพร่ำเพรื่อ ความประพฤติตนต่ำ คือประพฤติตั้งตนไว้ต่ำ ชื่อว่า จาฏุกมฺยตา การพูดลดตนเอง บทว่า มุคฺคสูปตา แปลว่า ความเป็นผู้เช่นกับแกงถั่ว อธิบายว่า เมื่อเขาแกงถั่วอยู่ ถั่วบางเมล็ดเท่านั้นที่จะไม่สุก ส่วนที่เหลือสุกหมด ฉันใด ในถ้อยคำของบุคคลใด มีความจริงเป็นบางคำเท่านั้น ส่วนคำที่เหลือคือคำพล่อย ๆ บุคคลนี้เรียกว่า มุคฺคสูโป แปลว่า คนเหมือนแกงถั่วฉันนั้น ภาวะแห่งบุคคลผู้เหมือนแกงถั่วนั้น ชื่อว่า มุคฺคสูปตา ความเป็นคนพูดเหมือนแกงถั่ว บทว่า ปาริภฏฺยตา แปลว่า ความเป็นผู้รับเป็นพี่เลี้ยง อธิบายว่า ภิกษุใดเลี้ยงคืออุ้มเด็กในตระกูลทั้งหลายด้วยสะเอวบ้าง ด้วยคอบ้าง เหมือนอย่างหญิงพี่เลี้ยง การงานของ ภิกษุผู้เลี้ยงเด็กนั้น ชื่อว่า ปาริภฏฺยํ ภาวะของการงานของภิกษุผู้เลี้ยงเด็กนั้น ชื่อว่า ปาริภฏฺยตา แปลว่า ภาวะแห่งการงานของภิกษุผู้เลี้ยงเด็ก
3- ในเนมิตติกตานิทเทส
ใน เนมิตติกตานิทเทส มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ –
การกระทำทางกายและทางวาจาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้คนอื่น ๆ หยั่งรู้ในอันจะถวายปัจจัย ชื่อว่า นิมิตฺต การเห็นคนทั้งหลายถือของเคี้ยวเดินผ่านไป แล้วกระทำนิมิตโดยนัยมีอาทิว่า "พวกท่านได้ของเคี้ยวอะไร" ดังนี้ ชื่อว่า นิมิตฺตกมฺม การกระทำ
(หน้าที่ 41)
นิมิต การพูดประกอบด้วยปัจจัยสี่ ชื่อว่า โอภาส (การประกาศความปารถนาของตน) การที่ภิกษุเห็นเด็กเลี้ยงโคแล้วถามว่า ลูกโคเหล่านี้เป็นลูกโคนมหรือลูกโคเปรียง เมื่อเขาตอบว่า ลูกโคนม ขอรับ ดังนี้แล้ว จึงสั่งให้เด็กเหล่านั้นบอกแก่บิดามารดาให้ถวายน้ำนมโดยนัย มีอาทิอย่างนี้ว่า ลูกโคเหล่านี้จะไม่ไช่ลูกโคนม ถ้าเป็นลูกโคนมพวกภิกษุก็จะได้น้ำนมกันบ้าง ดังนี้ชื่อว่า โอภาสกมฺม - การกระทำโอภาส การพูดกระซิบใกล้ ๆ ชื่อว่า สามนฺตชปฺปา ก็แหละในบทนี้ นักศึกษษควรนำเรื่อง กุลูปกภิกษุ มาเล่าประกอบด้วย
เรื่องกุลูปกภิกษุ
ได้ยินว่า ภิกษุกุลูปกะใคร่จะฉันอาหาร จึงเข้าไปในบ้านแล้วนั่งอยู่ หญิงแม่บ้านเห็นเธอแล้วไม่ประสงค์จะถวายจึงพูดว่า "ข้าวสารไม่มี" ดังนี้แล้วพลางเดินไปเรือนคนคุ้นเคยกัน ทำเป็นเสมือนจะไปเอาข้าวสารมา ฝ่ายภิกษุเข้าไปในห้องเห็นอ้อยลำหนึ่งพิงอยู่ที่ซอกประตู เห็นน้ำอ้อยงบอยู่ที่ภาชนะ เห็นปลาเกลือผ่าแบะอยู่ในกระเช้า เห็นข้าวสารอยู่ในโอ่ง เห็นเปรียงอยู่ในหม้อ แล้วจึงออกมานั่งรออยู่ หญิงแม่บ้านกลับมาถึงพูดว่า "ข้าวสารหาไม่ได้" ภิกษุพูดเปรยขึ้นว่า "อุบาสิกา อาตมาได้เห็นลางมาก่อนแล้วว่า วันนี้ภิกษาหารจักไม่สำเร็จ" หญิงแม่บ้านพูดว่า "เห็นลางอะไร เจ้าคะ" ภิกษุพูดต่อไปว่า "อาตมาได้เห็นงูเหมือนอ้อยที่พิงไว้ที่ซอกประตู คิดว่าจะตีมัน มองไปได้เห็นเหมือนก้อนน้ำอ้อยงบที่เก็บไว้ในภาชนะ เห็นพังพานที่งูถูกตีด้วยก้อนดินแล้วแผ่ออกเหมืนปลาเกลือที่แผ่แบะเก็บไว้ในกระเช้า ได้เห็นเขี้ยวของมันเมื่องูทำท่าจะขบกัดก้อนดินนั้น เหมือนข้าวสารที่อยู่ในโอ่ง แต่นั้นได้เห็นน้ำลายเจือพิษกำลังไหลออกมาจากปากของมัน ซึ่งมีความโกรธจัดเหมือนเปรียงที่ใส่ไว้ในหม้อ" หญิงแม่บ้านคิดว่า "เราไม่อาจลวงภิกษุหัวโล้นได้แล้ว" จึงจำถวายอ้อยลำแล้วหุงข้าว เสร็จแล้วได้ถวายสิ่งทั้งปวงพร้อมด้วยเปรียงน้ำอ้อยงบและปลาทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้
การพูดกระซิบใกล้ๆ ด้วยประการดังกล่าวมา นักศึกษาพึงทราบว่า การพูดกระซิบ การพูดอ้อมไปอ้อมมาโดยประการที่จะได้มาซึ่งปัจจัยนั้น ชื่อว่า ปริกถา แปลว่าพูดเลียบเคียง ด้วยประการฉะนี้
(หน้าที่ 42)
4- ในนิปเปสิกตานิทเทส
ใน นิปเปสิกตานิทเทส มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้
การด่าด้วยอักโกสวัตถุ 10 ประการ ชื่อ อกฺโกสนา การพูดข่ม ชื่อว่า วมฺภนา การพูดยกโทษโดยนัยมีอาทิว่า เป็นผู้ไม่ศรัทธา เป็นผู้ไม่เลื่อมใส ชื่อว่า ครหณา การพูดสาดด้วยวาจา ท่านทั้งหลายอย่ามาพูดอย่างนี้ ณ ที่นี้ ชื่อว่า อุเปกฺขนา การพูดสาดอันประกอบด้วยเหตุโดยส่วนอย่างสิ้นเชิง ชื่อว่า สมุเปกฺขนา อีกนัยหนึ่ง เห็นคนไม่ให้ทานแล้วพูดยกขึ้นอย่างนี้ว่า โอ ! ท่านทานบดี ดังนี้ ชื่อว่า อุกฺเขปนา การพูดยกให้ดีขึ้นไปอีกอย่างนี้ว่า ท่านมหาทานบดี ชื่อว่า สมุกฺเขปนา การพูดติเตียน หนักยิ่งขึ้นว่า ผู้ใดให้คำพูดว่าไม่มีแม้แก่คนทั้งปวงตลอดการเป็นนิตย์ ท่านทั้งหลายจะพูดปฏิเสธบุคคลผู้นี้ว่า ไม่ใช่ทายกได้อย่างไร ดังนี้ชื่อว่า สํขิปนา การพูดให้เขาถึงแก่ความไม่เป็นทายก หรือให้ถึงแก่ความเป็นโทษ ชื่อว่า ปาปนา การพูดให้เขาถึงแก่ความไม่เป็นทายกหรือให้ถึงแก่ความเป็นโทษโดยส่วนอย่างสิ้นเชิง ชื่อว่า สมฺปาปนา การนำความเสียหายจากเรือนโน้นมาสู่เรือนนี้ จากบ้านโน้นสู่บ้านนี้ จากตำบลโน้นสู่ตำบลนี้ โดยหมายความว่าเขาจักให้แก่เราแม้เพราะกล่าวความเสียหายด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า อวณฺณหาริกา ต่อหน้าพูดดีลับหลังพูดเสีย ชื่อว่า ปรปิฎฐิมํสิกตา จริงอยู่ การพูดเช่นนี้จะมีใด้ก็แต่แก่คนที่ไม่อาจอยู่สู้หน้า สำหรับคนอยู่ลับหลังแล้วทำเป็นเหมือนจะกินเนื้อเอาทีเดียว เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ปรปิฏฺฐิมํสิกตา คำว่า นี้เรียกว่าการด่าแช่ง ความว่าโดยที่ภิกษุนี้ย่อมกวาดล้างคุณความดีของผู้อื่นให้พังพินาศไป ดุจกวาดล้างด้วยซี่ไม้ไผ่ อีกอย่างหนึ่ง โดยที่วาจานี้เป็นสิ่งที่บดป่นคุณความดีของผู้อื่นแสวงหาลาภ เหมือนคนบดไม้หอมแสวงหาของหอม ฉะนั้น จึงเรียกว่า นิปฺเปสิกตา
5- ในนิทเทสแสวงหาลาภด้วยลาภ
ในนิทเทสแสวงหาลาภด้วยลาภ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้-
บทว่า นิคึสนตา แปลว่า แสวงหา บทว่า อิโต ลทฺธํ แปลว่า ได้จากเรือนนี้ บทว่า อมุตฺร แปลว่า ณ เรือนโน้น บทว่า เอฎฺฐิ แปลว่า เสาะหา บทว่า
(หน้าที่ 43)
คเวฎฺฐิ แปลว่า แสวงหาบ่อยๆ อนึ่ง ในอธิการนี้นักศึกษาพึงเล่าเรื่องภิกษุผู้ให้ภิกษาที่ได้มาแล้วๆ ตั้งแต่แรกๆ แก่พวกเด็กๆ ในตระกูล ณ ที่นั้นแล้ว ในที่สุดก็ได้ข้าวยาคูเจือน้ำนมไป มาประกอบด้วย
บทว่า เอสนา ที่แปลว่า กิริยาที่แสวงหา เป็นต้น เป็นไวพจน์ของบทว่า เอฎฺฐิ ที่แปลว่า เสาะหา นั่นเอง เพราะฉะนั้นคำว่า เสาะหา ได้แก่กิริยาที่เสาะหา คำว่า แสวงหา ได้แก่กิริยาที่แสวงหา คำว่า แสวงหาบ่อยๆ ได้แก่กิริยาที่แสวงหาบ่อยๆ นักศึกษาพึงทราบการเข้าประโยค ณ ที่นี้ ด้วยประการฉะนี้นั่นเทียว
อรรถาธิบายแห่งกุหนนิทเทสเป็นต้น ยุติด้วยประการฉะนี้
บัดนี้ นักศึกษาพึงทราบว่า ด้วย อาทิ ศัพท์ ในคำว่า แห่งบาปธรรมทั้งหลายมี อาทิ อย่างนี้นั้น ได้แก่การถือเอาบาปธรรมทั้งหลายเป็นอเนกประการ ที่พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร โดยในมีอาทิว่า "ก็แหละ อีกอย่างหนึ่ง เหมือนอย่างสมณพราหมณ์ผู้เจริญพวกหนึ่ง ฉันโภชนะทั้งหลายที่เขาถวายด้วยศรัทธาแล้ว ย่อมสำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยมิจฉาอาชีพ ด้วยดิรัจฉานวิชา เห็นปานฉะนี้ คือทำนายองค์อวัยวะ ทำนายลาง ทำนายอุบาทว์ ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้า บูชาไฟ บังหวนควัน"
มิจฉาชีพที่เป็นไปโดยอำนาจการล่วงละเมิดสิกขาบท 6 ประการ ที่ทรงบัญญัติไว้เพราะอาชีวะเป็นเหตุเหล่านี้ และมิจฉาชีพที่เป็นไปด้วยอำนาจบาปธรรมทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า การหลอกลวง การพูดเลาะเล็ม การกระทำนิมิต การด่าแช่ง การแสวงหาลาภด้วยลาภ นี้อันใด การงดเว้นจากมิจฉาชีพแม้ทุกๆประการนั้น อันใด อันนี้ชื่อว่า อาชีวปาริสุทธิศีล ด้วยประการฉะนี้
อรรถวิเคราะห์แห่งถ้อยคำในบทอาชีวปาริสุทธินั้น ดังนี้ –
ภิกษุทั้งหลายอาศัยการงานนั้นเป็นอยู่ เหตุนั้นการงานนั้น ชื่อว่า อาชีวะ อาชีวะนั้นคืออะไร ? คือการพยายามแสวงหาปัจจัย 4, ความบริสุทธิ์ชื่อว่า ปาริสุทฺธิ, ความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ ชื่อว่า อาชีวปาริสุทฺธิ ฉะนี้
(หน้าที่ 44)
อธิบายปัจจยสันนิสสิตศีล
อนึ่ง ใน ปัจจยสันนิตสิตศีล ซึ่งตรัสไว้ในลำดับแห่งอาชีวปาริสุทธิศีลนี้นั้น มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ –
อธิบายบทจีวร
คำว่า พิจารณาแล้วโดยแยบคาย ความว่า พิจารณาแล้ว รู้แล้ว คือเห็นประจักษ์แล้ว โดยอุบายคือโดยถูกทาง จริงอยู่ การพิจารณาที่กล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า เพื่อบำบัดความเย็น ดังนี้นั่นเอง นักศึกษาพึงทราบว่า พิจารณาแล้วโดยแยบคาย ณ ที่นี้ ในคำเหล่านี้ คำว่า จีวร ได้แก่ผ้าผืนใดผืนหนึ่งในบรรดาผ้า 3 ผืน มีผ้าอันตรวาสกเป็นต้น คำว่า ย่อมเสพ คือย่อมใช้สอยได้แก่นุ่งห่ม คำว่า ยาวเทว เป็นคำกำหนดเขตแห่งประโยชน์อย่างแน่นอน จริงอยู่ ประโยชน์ในการเสพจีวรของโยคีบุคคลมีกำหนดเพียงเท่านี้ คือประโยชน์มีว่า เพื่อบำบัดความเย็น เป็นต้นนี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้ บทว่า ซึ่งความเย็น ความว่า ซึ่งความเย็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุที่ธาตุภายในกำเริบบ้าง เพราะเหตุที่อุตุภายนอกเปลี่ยนแปลงไปบ้าง บทว่า เพื่อบำบัด ความว่า เพื่อบรรเทาคือเพื่อบรรเทาเสียซึ่งความเย็นนั้น โดยประการที่จะไม่ให้มันทำความอาพาธให้เกิดขึ้นในร่างกาย จริงอยู่ โยคีบุคคลผู้มีจิตฟุ้งไปในเพราะเหตุร่างกายกระทบความเย็น ย่อมไม่อาจที่จะตั้งความเพียรโดยแยบคายได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาติว่า ภิกษุพึงเสพจีวรเพื่อบำบัดความเย็น ดังนี้ นักศึกษาพึงทราบนัยในประโยชน์ที่เหลือทั้งหมดเช่นเดียวกันนี้ เพราะในบทนี้มีอรรถาธิบายอย่างครบถ้วน บทว่า ซึ่งความร้อน ความว่า ซึ่งความร้อนอันเกิดแต่ไฟ นักศึกษาพึงทราบแดนที่เกิดของความร้อนนั้นในเพราะไฟป่าเป็นต้นก็มี
อนึ่ง ในบทว่า ฑํสมกสวาตาตปสิรึสปสมฺผสฺสานํ นี้ มีอรรถาธิบายดังนี้ - บทว่า ฑํสา แปลว่า เหลือบ ลางอาจารย์กล่าวว่า ได้แก่แมลงวันหัวเขียวก็มี บทว่า มกสา ได้แก่ยุงโดยเฉพาะ บทว่า วาตา ได้แก่ลมทั้งหลายอันต่างด้วยลมปนฝุ่นและไม่ไช่ลมปนฝุ่นเป็นต้น บทว่า อาตาป ได้แก่แสงอาทิตย์ สัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งเสือกคลานไปมีตัวยาวเช่นงูเป็นต้น ชื่อว่า สิรึสป สัมผัสของสัตว์เหล่านั้นมี 2 อย่าง คือ สัมผัสด้วยการ
(หน้าที่ 45)
กัด 1 สัมผัสด้วยการถูกต้อง 1 แม้สัมผัสนั้นย่อมเบียดเบียนภิกษุผู้นุ่งห่มจีวรแล้วไม่ได้ เพราะฉะนั้นภิกษุจึงเสพจีวรเพื่อประโยชน์จะป้องกันสัมผัสทั้งหลาย ในสถานที่ทั้งหลายเช่นนั้น ตรัสคำว่า ยาวเทว ซ้ำอีก ก็เพื่อแสดงถึงกำหนดเขตประโยชน์ที่แน่นอนของจีวรนั้น จริงอยู่ การปกปิดอวัยวะส่วนที่ทำให้ความละอายสูญหาย นับเป็นประโยชน์ที่แน่นอน ส่วนประโยชน์นอกนั้น เช่น การบำบัดความเย็นเป็นต้น ย่อมมีได้เป็นบางครั้งบางคราวอวัยวะที่แคบ ๆ นั้น ชื่อว่า หิริโกปิน ในบทว่า หิริโกปินปฏิจฺฉาทนํ นั้น จริงอยู่เมื่อองค์อวัยวะส่วนใด ๆ ถูกเปิดอยู่ ความละอายย่อมสูญย่อมหายไป องค์อวัยวะส่วนนั้น ๆ ท่านเรียกว่า หิริโกปิน เพราะเป็นเหตุทำให้ความละอายสูญหายไป แหละที่เรียกว่า หิริโกปินปฏิจฺฉาทนตฺถํ เพราะอรรถว่า เพื่อปกปิดอวัยวะส่วนที่ทำให้ความละอายสูญหายไปนั้น บาลีว่า หิีริโกปินํ ปฏิจฺฉาทนตฺถํ ดังนี้ก็มี
อธิบายบทบิณฑบาต
คำว่า ซึ่งบิณฑบาต คือซึ่งอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง จริงอยู่ อาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง ท่านเรียกว่า บิณฑบาต เพราะอาหารนั้นตกลงในบาตรด้วยภิกขาจารวัตรของภิกษุ อีกอย่างหนึ่ง ความตกลงแห่งก้อนข้าวทั้งหลายชื่อว่า บิณฑบาต อธิบายว่า ได้แก่ ความรวมกันความเป็นกลุ่มกันแห่งภิกษาหารทั้งหลายที่ภิกษุได้แล้ว ณ ที่นั้น ๆ คำว่า ไม่ใช่เพื่อเล่น อธิบายว่า เพื่อเล่นคือทำเป็นเครื่องหมายกีฬา เหมือนอย่างพวกเด็กชาวบ้าน เป็นต้น หามิได้ คำว่า ไม่ใช่เพื่อความเมา อธิบายว่า เพื่อความเมาคือเป็นเครื่องหมายของความเมากำลังและเป็นเครื่องหมายความเมาของความเป็นบุรุษ เหมือนพวกนักมวยเป็นต้น หามิได้ คำว่า ไม่ใช่เพื่อประดับ อธิบายว่า เพื่อประดับคือเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นผู้มีองค์อวัยวะน้อยใหญ่อิ่มเต็ม เหมือนกับพวกผู้หญิงชาววังและหญิงแพศยาเป็นต้น หามิได้ คำว่า ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง อธิบายว่า เพื่อตกแต่งคือเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นผู้มีผิวพรรณผ่องใสเหมือนพวกหญิงละครและหญิงช่างฟ้อนเป็นต้น หามิได้
ก็แหละ ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ไม่ใช่เพื่อเล่น นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้เพื่อประหานอุปนิสัยแห่งโมหะ คำว่า ไม่ใช่เพื่อความเมา นี้ ตรัสไว้เพื่อประหาน อุปนิสัยแห่งโทสะ 2 คำว่า ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง นี้ ตรัสไว้เพื่อ
(หน้าที่ 46)
ประหานอุปนิสัยแห่งราคะ อนึ่ง 2 คำว่า ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อเมา นี้ ตรัสไว้เพื่อป้องกันการบังเกิดขึ้นแห่งสังโยชน์ของตน 2 คำว่า ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง นี้ ตรัสไว้เพื่อป้องกันการบังเกิดขึ้นแห่งสังโยชน์แม้ของผู้อื่น อนึ่ง นักศึกษาพึงทราบว่า การประหานซึ่งข้อปฏิบัติโดยไม่แยบคายและกามสุขัลลิกานุโยค พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วแม้ด้วยบททั้ง 4 บทนี้
บทว่า ยาวเทว มีอรรถาธิบายดังกล่าวมาแล้วนั่นแล คำว่า แห่งกายนี้ คือแห่งรูปกายอันประกอบด้วยมหาภูตทั้ง 4 นี้ คำว่า เพื่อดำรงอยู่ คือ เพื่อความดำรงอยู่สืบเนื่องกันไป คำว่า เพื่อความเป็นไป คือเพื่อต้องการแก่ความเป็นไปอย่างไม่ขาดสายหรือเพื่อดำรงอยู่ตลอดกาล จริงอยู่ ภิกษุนี้ย่อมเสพบิณฑบาตเพื่อความดำรงอยู่และเพื่อความเป็นไปของกาย เหมือนเจ้าของเรือนที่ทรุดโทรมทำการค้ำจุนเรือน และเหมือนพ่อค้าเกวียนทำการหยอดเพลาเกวียน ฉะนั้น ไม่ใช่เสพบิณฑบาตเพื่อเล่นเพื่อความเมาเพื่อประดับและเพื่อตกแต่ง อีกประการหนึ่ง คำว่า ฐิติ ที่แปลว่า ความดำรงอยู่นี้ เป็นชื่อของอินทรีย์คือชีวิต เพราะเหตุนั้น นักศึกษาพึงทราบว่า ด้วยคำว่า เพื่อความดำรงอยู่ เพื่อความเป็นไปแห่งกายนี้ เพียงเท่านี้ จะอธิบายว่า เพื่อยังอินทรีย์คือชีวิตแห่งกายนี้ให้เป็นไปดังนี้ก็ได้
คำว่า เพื่อระงับความเบียดเบียน มีอรรถาธิบายว่า ความหิวชื่อว่า วิหึส โดยอรรถว่า เบียดเบียน ภิกษุนี้ย่อมเสพบิณฑบาตแม้เพื่อระงับความเบียดเบียนนั้น เหมือนคนเป็นแผลทาแผล และเหมือนเมื่อคนไข้ในฤดูร้อนและฤดูหนาวเป็นต้น รับประทานยาเพื่อป้องกันความร้อนความหนาวนั้น ฉะนั้น คำว่า เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ มีอรรถาธิบายว่า เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์คือศาสนาทั้งมวลอย่างหนึ่ง เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์คือมรรคอย่างหนึ่ง จริงอยู่ ภิกษุนี้ได้อาศัยกำลังกาย เพราะมีอันเสพบิณฑบาตเป็นปัจจัย ปฏิบัติอยู่เพื่อสลัดออกจากความกันดารคือภพ ด้วยอำนาจการประกอบเนือง ๆ ในสิกขา 3 ชื่อว่าย่อมเสพบิณฑบาตเพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ เหมือนมารดาบิดาผู้มีความต้องการข้ามทางกันดารจำกินเนื้อของบุตร เหมือนพวกคนที่ต้องการข้ามแม่น้ำย่อมอาศัยแพ และเหมือนพวกคนที่ต้องการข้ามมหาสมุทรย่อมอาศัยเรือ ฉะนั้น
(หน้าที่ 47)
คำว่า จักกำจัดเวทนาเก่าและไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น นี้ มีอรรถาธิบายดังนี้ ภิกษุเสพบิณฑบาตโดยประสงค์ว่า ด้วยเหตุที่เสพบิณฑบาตนี้ เราจักกำจัดเวทนาคือ ความหิวเก่า และจักไม่ให้เวทนาใหม่ซึ่งมีการฉันเกินประมาณเป็นปัจจัยเกิดขึ้น เหมือนพราหมณ์ชื่ออาหรหัตถกะ, ชื่ออลังสาฏกะ, ชื่อตัตรวัฏฏกะ, ชื่อกากมาสกะและชื่อภุตตวมิตกะ คนใดคนหนึ่ง ทำนองเดียวกันกับคนไข้รับประทานยา อีกประการหนึ่ง พึงทราบอรรถาธิบาย ในคำนี้ แม้อย่างนี้ว่า เวทนาใดที่เรียกว่า เวทนาเก่า เพราะเกิดขึ้นด้วยอำนาจปัจจัยคือกรรมเก่า โดยอาศัยการฉันบิณฑบาตที่ไม่เป็นสัปปายะและฉันเกินประมาณในปัจจุบัน เราทำปัจจัยแห่งเวทนาเก่านั้นให้หายไป ด้วยการฉันบิณฑบาตอันเป็นสัปปายะและแนแต่พอประมาณ ชื่อว่า จักกำจัดเวทนาเก่านั้น อนึ่ง เวทนาใดที่เรียกว่า เวทนาใหม่ เพราะเกิดขึ้นต่อไปโดยอาศัยความสั่งสมกรรม คือการฉันอันไม่สมควรที่ภิกษุทำแล้วในปัจจุบัน เราไม่ให้มูลเหตุแห่งเวทนาใหม่นั้น บังเกิดได้ด้วยอำนาจการฉันอันสมควร ชื่อว่า จักไม่ยังเวทนาใหม่นั้นให้เกิดขึ้น นักศึกษาพึงทราบว่า ด้วยบททั้ง 2 นี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงถึงการสงเคราะห์เอาการฉันอันสมควรด้วย การประหานกามสุขัลลิกานุโยคด้วย และการไม่ยอมเสียสละความสุขอันเกิดโดยธรรมด้วย
คำว่า แหละความเป็นไปจักมีแก่เรา มีอรรถาธิบายว่า ภิกษุเสพบิณฑบาตโดยประสงค์ว่า ก็แหละ ความเป็นไป คือความดำเนินไปตลอดกาลนาน จักมีแก่เรา คือแก่กายนี้ อันมีความเป็นไปเนื่องด้วยปัจจัย โดยไม่มีอันตรายอันเข้าไปตัดชีวิตินทรีย์ หรือตัดทอนอิริยาบถ เพราะการฉันโดยประมาณ ดังนี้บ้าง เหมือนคนมีโรคติดต่อ รับประทานยาอันเป็นปัจจัยแก่โรคนั้น ฉะนั้น คำว่า ความเป็นผู้ไม่มีโทษและความอยู่ผาสุก มีอรรถาธิบายว่า ภิกษุเสพบิณฑบาตโดยประสงค์ว่า ความไม่มีโทษ จักมีแก่เรา โดยงดเว้นการแสวงหาการรับและการฉันอันไม่สมควร ความอยู่ผาสุก จักมีแก่เรา โดยการฉันพอประมาณ อีกอย่างหนึ่ง ความไม่มีโทษ จักมีแก่เรา เพราะไม่มีโทษเช่น ความกระสัน, ความหลับ, ความบิดกาย ซึ่งมีการฉันบิณฑบาตอันไม่เป็นสัปปายะและการฉันเกินประมาณเป็นปัจจัย และอันวิญญูชนครหาเป็นต้น ความอยู่ผาสุก จักมีแก่เรา ด้วยความบังเกิดแห่งกำลังกาย เพราะมีการฉันบิณฑบาตอันเป็นสัปปายะและการฉันพอประมาณเป็นปัจจัย อีก
(หน้าที่ 48)
อย่างหนึ่ง ความไม่มีโทษ เพราะละเสียซึ่งความสุขในการเอนหลัง, ความสุขในการเอกเขนก และความสุขในการหลับ จักมีแก่เรา ด้วยการหลีกเว้นการฉันจนแน่นท้องตามที่ต้องการ และ ความอยู่ผาสุก เพราะยังคงประกอบด้วยอิริยาบถทั้ง 4 ให้ถึงพร้อม จักมีแก่เรา โดยการฉันให้หย่อนไว้สัก 4 -5 คำ…. ดังนี้บ้าง สมด้วยพุทธนิพนธคาถาที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า –
พึงหยุดฉันเสียเมื่อ 4 -5 คำจะอิ่ม แล้วพึงดื่มน้ำแทนเป็นการเพียงพอเพื่อความอยู่ผาสุกแห่งภิกษุผู้มีตนส่งไปแล้ว
นักศึกษาพึงทราบว่า ด้วยคำทั้ง 3 ตามที่อรรถาธิบายมานี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงถึงการกำหนดเอาประโยชน์และมัชฌิมาปฏิปทา ด้วยประการฉะนี้
อธิบายบทเสนาสนะ
คำว่า เสนาสนะ แยกเป็น เสนะ คำหนึ่ง อาสนะ คำหนึ่ง อธิบายว่า ภิกษุนอน ณ ที่ใด ๆ จะเป็นวิหารหรือเรือนโรงมีเพิงเป็นต้นก็ตาม ที่นั้นชื่อว่า เสนะ แปลว่า ที่นอน ภิกษุนั่ง ณ ที่ใดๆ ที่นั้นชื่อว่า อาสนะ แปลว่าที่นั่ง 2 คำนั้นท่านบวกเข้าเป็นคำเดียวกัน แล้วจึงกล่าวว่า เสนาสนะ แปลว่า ที่นอนและที่นั่ง คำว่า เพื่อบรรเทาอันตรายคือฤดู และความยินดีในการหลีกเร้นอยู่ มีอรรถาธิบายว่า อุตุนั่นเอง ชื่อว่าอันตรายคือฤดู เพราะอรรถว่าเบียดเบียน เพื่อบรรเทาซึ่งอันตรายคือฤดู และเพื่อความ ความยินดีในการหลีกเร้นอยู่ อธิบายว่า ฤดูการอันใดที่เบียดเบียนร่างกายและทำให้จิตฟุ้งซ่านไม่เป็นสัปปายะ เป็นสิ่งอันภิกษุพึงบรรเทาเสียด้วยการเสพเสนาสนะ เพื่อบรรเทาซึ่งฤดูกาลนั้น และเพื่อความสุขในความเป็นบุคคลผู้เดียว การบรรเทาอันตรายคือฤดู พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วด้วยพระพุทธพจน์มีอาทิว่า สีตสฺส ปฏิฆาตาย ดังนี้โดยแท้ แต่ถึงอย่างนั้น นักศึกษาพึงทราบว่า ที่นี้พระผู้มีพระภาคตรัสคำนี้ซ้ำอีก โดยทรงหมายเอาการบรรเทาอันตรายคือฤดูที่แน่นอน เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ในบทเสพจีวรว่า การปกปิดอวัยวะที่ทำให้ความละอายสูญหายไป เป็นประโยชน์ที่แน่นอน ส่วนประโยชน์นอกนั้นมีได้
(หน้าที่ 49)
เป็นบางครั้งบางคราว ดังนี้ อีกประการหนึ่ง ฤดูที่มีประการดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ชื่อว่า ฤดูคงที่ ส่วนอันตรายมี 2 อย่างคือ อันตรายที่ปรากฏหนึ่ง อันตรายที่ปกปิดหนึ่ง ใน 2 อย่างนั้น สัตว์ร้ายทั้งหลายมีราชสีห์และเสือเป็นต้น ชื่อว่าอันตรายปรากฏ กิเลสทั้งหลายมีราคะและโทสะเป็นต้นชื่อว่าอันตรายปกปิด อันตรายเหล่านั้นย่อมไม่ทำความเบียดเบียน โดยที่ไม่ได้รักษาทวารและโดยที่เห็นรูปอันที่ไม่เป็นสัปปายะ ณ เสนาสนะใด ภิกษุรู้ คือพิจารณาเสนาสนะนั้นอย่างนี้แล้วเสพอยู่ พึงทราบว่า ชื่อว่าพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงเสพเสนาสนะเพื่อบรรเทาอันตรายคือฤดู ฉะนี้
อธิบายบทคิลานปัจจยเภสัชบริขาร
ในคำว่า ซึ่งคิลานปัจจยบริขาร นี้ มีอรรถาทิบายดังต่อไปนี้
เภสัช ชื่อว่า ปจฺจย เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องต่อต้านโรค คำว่า ปจฺจย นี้ เป็นชื่อของความสัปปายะอย่างใดอย่างหนึ่ง, กิจกรรมของหมอเพราะหมอนั้นอนุญาติแล้ว ฉะนั้นจึงชื่อว่า เภสชฺช, เภสัช คือปัจจัยแห่งคนไข้ ชื่อว่า คิลานปจฺจยเภสชฺช อธิบายว่า ได้แก่กิจกรรมของหมออันเป็นสัปปายะแก่คนไข้ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีน้ำมันน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น ส่วนคำว่า บริขาร พระผู้มีพระภาคตรัสเอาเครื่องล้อมก็มี ในพระบาลีมีอาทิว่า "พระนครเป็นอันล้อมดีแล้วด้วยเครื่องล้อมพระนครถึงเจ็ดชั้น" ตรัสหมายเอาเครื่องอลังการก็มี ในพระบาลีมีอาทิว่า "รถมีศีลเป็นเครื่องอลังการ มีฌานเป็นเพลา มีวิริยะเป็นล้อ" ตรัสหมายเอาสำภาระก็มีในพระบาลีมีอาทิว่า "เครื่องสำภาระแห่งชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง อันบรรพชิตพึงนำมาโดยชอบ" แต่ในที่นี้ ศัพท์ว่า บริขาร แม้หมายเอาสัมภาระก็ควร แม้หมายเอาเครื่องล้อมก็ควร เพราะว่าคิลานปัจจยเภสัชนั้น ย่อมเป็นเครื่องล้อมชีวิตก็ได้ เพราะเป็นเครื่องรักษาไม่ให้ช่องแก่ความบังเกิดขึ้นแห่งอาพาธอันจะทำชีวิตให้พินาศไป เป็นสำภาระของชีวิตก็ได้เพราะเป็นเหตุแห่งชีวิตนั้นโดยประการที่ชีวิตจะดำเนินไปได้ตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้นคิลานปัจจยเภสัช พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นบริขาร คิลานปัจจยเภสัช ดังกล่าวมาแล้วนั้นด้วย เป็น บริขาร ด้วย ฉะนั้นจึงชื่อว่า คิลานปัจจยเภสัชบริขาร ซึ่งคิลาน
(หน้าที่ 50)
ปัจจัยเภสัชบริขารนั้น อธิบายว่า ซึ่งเภสัชอันเป็นสัปปายะแห่งคนไข้ชนิดใดชนิดหนึ่งอันหมออนุญาตแล้ว มีน้ำมันน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น อันเป็นบริขารแห่งชีวิต, คำว่า เกิดขึ้นแล้ว คือ เกิดแล้ว เป็นแล้ว บังเกิดแล้ว ความกำเริบแห่งธาตุและอาพาธต่าง ๆ มีโรคเรื้อนโรคฝีและพุพองเป็นต้นวึ่งมีความกำเริบแห่งธาตุนั้นเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่า พยาพาธ ในบทว่า เวยฺยาพาธิกานํ นี้ เวทนาทั้งหลาย ชื่อว่า เวยฺยาพาธิก เพราะเกิดแต่อาพาธต่างๆ คำว่า ซึ่งเวทนาทั้งหลาย ได้แก่ ทุกขเวทนาคือเวทนาอันเป็นอกุศลวิบาก, ซึ่งเวทนาทั้งหลายนั้นอันเกิดแต่อาพาธต่าง ๆ เหล่านั้น บทว่า อพยาปชฺฌปรมตาย แปลว่า เพื่อความเป็นผู้ไม่มีทุกข์เป็นอย่างยิ่ง อธิบายว่า ทุกข์ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นอันภิกษุละได้แล้วเพียงใดเพื่อความเป็นผู้ไม่มีทุกข์เป็นอย่างยิ่งเพียงนั้น
ปัจจยสันนิตสิตศีล นี้ ซึ่งมีอันพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงบริโภคปัจจัยเป็นลักษณะ นักศึกษาพึงทราบโดยสังเขปดังพรรณนามานี้ ส่วนอรรถวิเคราะห์แห่งถ้อยคำในบทว่า ปจฺจยสนฺนิสฺสิต ศีล นี้ดังนี้ ก็แหละ ภัณฑะทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น เรียกว่า ปจฺจย เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นที่เป็นไป เป็นที่ดำเนินไป ของสัตว์ผู้มีชีวิตทั้งหลาย ซึ่งอิงอาศัยบริโภคปัจจัยเหล่านั้น, ศีลอาศัยแล้วซึ่งปัจจัยเหล่านั้น ฉะนั้น จึงชื่อว่า ปัจจยสันนิสสิตศีล ฉะนี้แล
ธรรมเป็นเหตุให้ปาริสุทธิศีล 4 สำเร็จ
1. ศรัทธาเป็นเหตุให้ปาติโมกขสังวรศีลสำเร็จ
ในศีล 4 อย่างดังที่พรรณนามาแล้วนี้ ปาติโมกขสังวรศีล อันโยคีบุคคลพึงให้สำเร็จด้วย ศรัทธา จริงอยู่ ปาติโมกขสังวรศีลนั้น ชื่อว่า มีศรัทธาเป็นเหตุให้สำเร็จ เพราะการบัญญัติสิกขาบทเป็นสิ่งที่เกินวิสัยของพระสาวก ก็ในข้อนี้ มีการทรงห้ามการขอบัญญัติสิกขาบทเป็นตัวอย่าง เพราะเหตุนั้น อันโยคีบุคคลพึงสมาทานเอาสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้แล้วอย่างไม่ให้มีเศษเหลือ ไม่กระทำความอาลัยแม้ในชีวิต พึงทำปาติโมกขสังวรศีลนี้ให้สำเร็จเป็นอย่างดีด้วยศรัทธา เถิด สมด้วยพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า –
(หน้าที่ 51)
พวกเธอจงเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก มีความเคารพศีล ตามรักษาศีล ในกาลทุกเมื่อ เหมือนนกต้อยตีวิดรักษาฟองไข่ เหมือนจามรีรักษาขนหางเหมือนมารดารักษาบุตรที่รัก เหมือนคนตาเอกรักหน่วยตาข้างเดียวฉะนั้นเถิด
แม้ตรัสไว้อย่างอื่นอีกว่า "มหาสมุทรมีความดำรงอยู่เป็นธรรมดา ไม่ไหลล้นฝั่งไป แม้ฉันใด ดูก่อนปหาราทะ สาวกทั้งหลายของเราก็เหมือนอย่างนั้น ไม่ล่วงข้ามสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แล้วสำหรับสาวกทั้งหลาย แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต" ก็แหละ ในอรรถาธิบายนี้ นักศึกษาพึงเล่าเรื่องทั้งหลายของพวกพระเถระที่ถูกพวกโจรมัดไว้ในดงประกอบด้วย ดังนี้
เรื่องพระเถระถูกโจรมัด
ได้ยินว่า โจรทั้งหลายมัดพระเถระด้วยเครือหญ้านาง ให้นอนอยู่ในดงชื่อมหาวัตตนี พระเถระได้เจริญวิปัสสนาตลอด 7 วัน ทั้ง ๆ ที่นอนอยู่นั่นเทียว ได้บรรลุพระอนาคามิผลแล้ว ถึงซึ่งมรณภาพไปในดงนั่นเอง แล้วไปบังเกิดในพรหมโลก
ยังมีพระเถระรูปอื่น ๆ อีก ในตัมพปัณณิทวีป (ประเทศลังกา) ถูกพวกโจรเอาเถาหัวด้วนมัดให้นอนอยู่ เมื่อไฟป่าลามมา ท่านก็หาได้ตัดเถาวัลย์ไม่ เริ่มเจริญวิปัสสนา ได้สำเร็จเป็น พระอรหันต์สมสีสี ปรินิพพานแล้ว พระอภยเถระผู้เชี่ยวชาญคัมภีร์ทีฆนิกายพร้อมด้วยภิกษุห้าร้อยรูปมาเห็นเข้า ได้ทำฌาปนกิจศพของพระเถระนั้น แล้วให้สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้
เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้มีศรัทธาแม้อื่น เมื่อจะชำระปาติโมกขสังวรศีลให้บริสุทธิ์ พึงยอมสละแม้กระทั่งชีวิตโดยแท้ ไม่พึงทำลายปาติโมกขสังวรศีล อันพระโลกนาถเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว
2. สติเป็นเหตุให้อินทรียสังวรศีลสำเร็จ
อนึ่ง ปาติโมกขสังวรศีล อันโยคีบุคคลพึงให้สำเร็จด้วย ศรัทธา ฉันใด อินทรียสังวรศีล อันโยคีบุคคลก็พึงให้สำเร็จด้วย สติ ฉันนั้น จริงอยู่ อินทรียสังวรศีลนั้นชื่อว่า มีสติเป็นเหตุให้สำเร็จ เพราะอินทรีย์ทั้งหลายที่ตั้งมั่นอยู่ด้วยสติแล้ว เป็นสภาพอัน
(หน้าที่ 52)
บาปธรรมทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้นจะพึงรั่วไหลเข้าไปมิได้ เพราะเหตุนั้น อันโยคีบุคคลพึงระลึกถึงพระอาทิตตปริยายสูตรโดยนัยมีอาทิว่า "จักขุนทรีย์ อินทรีย์คือจักษุ ถูกทิ่มแทงแล้วดว้ยซี่เหล็กที่เผาอย่างร้อนลุกโชนมีแสงโชติช่วงอยู่ ยังนับว่าประเสริฐ ส่วนการยึดถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในรูปทั้งหลายอันจะพึงรู้ด้วยจักษุ ไม่ประเสริฐเลย" ดังนี้แล้ว เมื่อวิญญาณเกิดทางจักษุทวารเป็นต้น ในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น พึงกั้นความยึดถือซึ่งนิมิตเป็นต้น ที่บาปธรรมทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้นจะพึงรั่วไหลเข้าไป พึงทำอินทรียสังรศีลนี้ให้สำเร็จเป็นอย่างดี ด้วย สติ อันไม่หลงลืมเถิด
ก็แหละ เมื่ออินทรียสังวรศีลนี้อันภิกษุไม่ทำให้สำเร็จด้วยประการดังกล่าวมา แม้ปาติโมกขสังวรศีลก็พลอยเป็นอันตั้งอยู่ไม่นานดำรงอยู่ไม่นานไปด้วย เหมือนข้าวกล้าที่เขาไม่ได้จัดการล้อมรั้ว ฉะนั้น อนึ่ง ภิกษุผู้ไม่ทำให้อินทรีสังวรศีลสำเร็จนี้ ย่อมจะถูกพวกโจรคือกิเลสปล้นเอาได้ เหมือนบ้านที่เปิดประตูทิ้งไว้ย่อมจะถูกพวกโจรขโมยเอาได้ฉะนั้น อนึ่ง ราคะย่อมจะรั่วไหลไปสู่จิตของภิกษุนั้นได้ เหมือนฝนรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดี ฉะนั้น สมด้วยพระพุทธวจนะ ที่ตรัสไว้ว่า –
จงรักษาอินทรีย์ ที่รูป, เสียง, กลิ่น, รส, และผัสสะทั้งหลาย เพราะว่า ทวารเหล่านี้ถูกเปิดทิ้งไว้ไม่รักษา ย่อมจะถูกโจรคือกิเลสปล้นเอา เหมือนพวกโจรปล้นบ้าน ฉะนั้น
ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดี ฉันใด ราคะย่อมจะรั่วไหลไปสู่จิตที่ไม่ได้อบรมแล้ว ฉันนั้น
แต่เมื่ออินทรียสังวรศีลนั้นอันภิกษุทำให้สำเร็จแล้ว แม้ปาติโมกขสังวรศีลก็พลอยเป็นอันตั้งอยู่ได้นานดำรงอยู่ได้นานไปด้วย เปรียบเหมือนข้าวกล้าที่เขาจัดล้อมรั้วดีแล้ว ฉะนั้น อนึ่ง ภิกษุผู้ทำให้อินทรียสังวรศีลสำเร็จแล้วนี้ ย่อมจะไม่ถูกพวกโจรคือกิเลสปล้นเอาได้ เปรียบเหมือนบ้านที่ปิดประตูดีแล้ว พวกโจรทั้งหลายก็ขโมยไม่ได้ ฉะนั้น อนึ่ง ราคะย่อมจะรั่วไหลไปสู่จิตของภิกษุนั้นไม่ได้ เหมือนฝนรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วไม่ได้ ฉะนั้น สมด้วยพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า –
(หน้าที่ 53)
จงรักษาอินทรีย์ ที่รูป,เสียง, กลิ่น, รสและผัสสะทั้งหลาย เพราะว่า ทวารเหล่านี้ที่ปิดแล้วระวังดีแล้ว อันพวกโจรคือกิเลส ปล้นไม่ได้ เหมือนพวกโจรปล้นบ้านที่ปิดประตูดีแล้วไม่ได้ ฉะนั้น
ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงหลังคาดีแล้วไม่ได้ ฉันใด ราคะย่อมรั่วไหลเข้าไปสู่จิตที่อบรมดีแล้วไม่ได้ ฉันนั้น
ก็แหละ พระธรรมเทศนานี้ นับเป็นพระธรรมเทศนาชั้นอุกฤษฏ์อย่างยิ่ง
ขึ้นชื่อว่าจิตนี้นั้นเป็นธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้น อันโยคีบุคคลพึงบรรเทาราคะที่เกิดขึ้นแล้วด้วยมนสิการถึงอสุภกัมมัฏฐาน แล้วพึงทำให้อินทรียสังวรศีลสำเร็จ เหมือนอย่างพระวังคีสเถระผู้บวชไม่นานเถิด
เรื่องพระวังคีสเถระ
ได้ยินว่า เมื่อพระวังคีสเถระผู้บวชแล้วไม่นาน กำลังเดินบิณฑบาตไปนั้น ความกำหนัดเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะได้เห็นสตรีคนหนึ่ง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียนพระอานันทเถระว่า –
กระผมถูกไฟคือกามราคะเผาเข้าแล้ว จิตของกระผมถูกเผาจนเกรียม สาธุ ท่านผู้โคตมโคตร ขอท่านได้กรุณาโปรดบอกอุบายเครื่องดับไฟให้ด้วย
พระอานันทเถระได้กล่าวแนะนำว่า -
จิตของเธอถูกเผาเกรียมเพราะสัญญาวิปลาส เธอจงเว้นสุภนิมิตอันประกอบด้วยความกำหนัดเสีย จงอบรมจิตด้วยอสุภกัมมัฏฐาน ทำให้ตั้งมั่นด้วยดี มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
เธอจงพิจารณาเห็นสังขารทั้งหลาย โดยเป็นอื่น โดยเป็นทุกข์ และโดยมิใช่ตน จงทำความกำหนัดอันยิ่งใหญ่ให้ดับไปเสีย จงอย่าได้มีความเร่าร้อนต่อไปเลย
(หน้าที่ 54)
พระวังคีสเถระบรรเทาความกำหนัดได้แล้ว ก็เที่ยวบิณฑบาตต่อไป
อีกประการหนึ่ง อันภิกษุผู้บำเพ็ญอินทรียสังวรศีล พึงเป็นเหมือนพระจิตตคุตตเถระ ผู้อยู่ในถ้ำใหญ่ชื่อกุรัณฑกะ และพระมหามิตตเถระ ผู้อยู่ในมหาวิหารชื่อโจรกะ
เรื่องพระจิตตคุตตเถระ
ได้ยินว่า ในถ้ำใหญ่กุรัณฑกะ ได้มีจิตกรรมเกี่ยวกับเรื่องเสด็จออกทรงผนวช ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายถึง 7 พระองค์ เป็นสิ่งที่หน้าจับใจ ภิกษุเป็นจำนวนมาก พากันเที่ยวจาริกชมเสนาสนะ มองเห็นจิตกรรมแล้ว เรียนพระเถระว่า "จิตรกรรมเป็นสิ่งที่หน้าจับใจมาก ขอรับ" พระเถระพูดว่า "ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ฉันอยู่ในถ้ำเกินหกสิบปีมาแล้ว ไม่ทราบดอกว่ามีจิตรกรรมหรือไม่มี อาศัยพวกเธอซึ่งมีตาจึงทราบในวันนี้เดี๋ยวนี้เอง" ได้ยินว่า พระเถระถึงจะอยู่ตลอดกาลเท่านั้น ก็ไม่เคยลืมตาขึ้นมองดูถ้ำเลย อนึ่ง ตรงที่ปากถ้ำของพระเถระนั้น ได้มีต้นกากะทิงใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง แม้ต้นไม้นั้นพระเถระก็ไม่เคยมองขึ้นดูเลย ครั้นเห็นเกสรร่วงลงมาที่พื้นดินตามลำดับปี จึงทราบว่าต้นไม้นั้นบาน
พระราชาทรงสดับคุณสมบัติของพระเถระแล้ว มีพระราชประสงค์เพื่อจะทรงนมัสการ จึงได้ทรงส่งราชบุรุษไปนิมนต์ถึง 3 ครั้ง ครั้นพระเถระไม่มา จึงทรงรับสั่งให้ผูกถันของสตรีผู้มีลูกอ่อนทั้งหลายในบ้านนั้น แล้วประทับตราพระราชลัญจกรไว้ ได้มีพระราชโองการว่า "ทารกทั้งหลายอย่าได้ดื่มน้ำนม ตลอดเวลาที่พระเถระยังไม่มา" พระเถระจึงได้มาสู่หมู่บ้านใหญ่ เพราะความเอ็นดูแก่ทารกทั้งหลาย พระราชาทรงทราบแล้ว ทรงรับสั่งให้พาไปในพระราชวังว่า "พนาย พวกเธอจงพาพระเถระเข้าไป ฉันจักรับศีล" ครั้นทรงนมัสการทรงให้ฉันเสร็จแล้ว ทรงมีพระราชดำรัสว่า "พระคุณเจ้า วันนี้ยังไม่มีโอกาส พรุ่งนี้หม่อมฉันจึงจักรับศีล" ครั้นแล้วทรงรับบาตรพระเถระ เสด็จตามส่งไปหน่อยหนึ่งแล้ว พร้อมด้วยพระราชเทวีทรงนมัสการแล้วเสด็จกลับ พระราชาจะทรงไหว้ก็ช่าง พระราชเทวีจะทรงไหว้ก็ช่าง พระเถระคงถวายพระพรว่า "ขอพระมหาราชาจงทรงเกษมสำราญเถิด" เป็นทำนองนี้ล่วงไปถึง 7 วัน พวกภิกษุจึงเรียนถามว่า "ท่านขอรับ เมื่อพระราชาทรงไหว้อยู่ก็ดี ทำไมท่านจึงถวายพระพรเพียงอย่างเดียวว่า ขอพระมหาราชาทรงพระเกษมสำราญเถิด" พระเถระตอบว่า "ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ฉัน
(หน้าที่ 55)
ไม่ได้ทำความกำหนดแยกว่า พระราชาหรือพระราชเทวี" โดยล่วงไปได้หนึ่งสัปดาห์ พระราชาทรงดำริว่า "การที่พระเถระอยู่ ณ ที่นี้ เป็นความลำบาก" จึงทรงพระกรุณาโปลดปล่อยไป พระเถระไปถึงถ้ำใหญ่กุรัณฑกะ ได้ขึ้นสู่ที่จงกรมในส่วนแห่งราตรี เทวดาที่สิงอยู่ ต้นกากะทิงได้ยืนถือประทีปด้ามให้อยู่ ครั้งนั้น กัมมัฏฐานของท่านได้ปรากฏบริสุทธิ์ยิ่งนัก พระเถระดีใจว่า "วันนี้ทำไมหนอ กัมมัฏฐานของเราจึงปรากฏชัดเสียเหลือเกิน" แล้วทำภูเขาให้สะเทือนสะท้านไปทั้งลูก ได้บรรลุพระอรหัตแล้วในลำดับแห่งมัชฌิมยาม
เพราะฉะนั้น แม้กุลบุตรอื่น ๆ ผู้ใคร่ต่อประโยชน์ของตน ไม่พึงเป็นผู้มีหน่วยตาลอกแลก เหมือนลิงในป่า เหมือนมฤคาตกใจตื่นในวนา และเหมือนทารกาอ่อนสะด้งกลัว
พึงทอดจักษุ พึงแลดูชั่วแอก อย่าพึงไปสู่อำนาจของจิตอันมีปกติหลุกหลิกเหมือนลิงในป่า
เรื่องพระมหามิตตเถระ
ฝ่ายมารดาของพระมิตตเถระ ได้เกิดเป็นโรคฝีมีพิษขึ้น แม้ธิดาของท่านก็บวชในสำนักของภิกษุณีทั้งหลาย ท่านจึงพูดกับธิดาว่า "แม่ ! ไปเถอะ จงไปสำนักของพี่ชาย เรียนถึงภาวะที่แม่ไม่สบายแล้วนำเอายามา" นางได้ไปกราบเรียนพี่ชายแล้ว พระเถระพูดว่า "ฉันไม่รู้ที่จะเก็บยาทั้งหลายมียารากไม้เป็นต้นมาปรุงให้เป็นเภสัชได้ ก็แต่ว่า ฉันจักบอกยาให้แก่เธอว่า "นับจำเดิมตั้งแต่บวชมา ฉันไม่เคยทำลายอินทรีย์ทั้งหลายแลดูรูปอันเป็นวิสภาค ด้วยจิตอันประกอบด้วยโลภะเลย ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสบายจงมีแก่โยมมารดาของฉัน" เธอจงไปแล้วกล่าวคำนี้ พลางลูบร่างกายให้แก่โยมมารดาไปด้วย" ภิกษุณีนั้นไปเรียนข้อความนี้แก่มารดาแล้ว ได้กระทำตามพระเถระแนะนำทุกประการ ฝีของอุบาสิกาได้ฝ่อ อันตรธานหายไปเหมือนก้อนฟองน้ำในทันทีทันใดนั้นนั่นแล มารดาของพระเถระนั้นลุกขึ้นมา เปล่งวาจาแสดงถึงความดีใจว่า "ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ทำไมจะไม่พึง ทรงลูบศรีษะของภิกษุผู้เช่นบุตรของเราด้วยพระหัตถ์อันวิจิตรไปด้วยลายตาข่ายเล่า"
(หน้าที่ 56)
เพราะฉะนั้น แม้บุคคลอื่นซึ่งถือตนว่าเป็นกุลบุตร บวชในศาสนาแล้ว พึงดำรงอยู่ในอินทรียสังวรศีลอันประเสริฐเหมือนอย่างพระมหามิตตเถระนั่นเถิด
3. วีริยะเป็นเหตุให้อาชีวปาริสุทธิศีลสำเร็จ
อนึ่ง อินทรียสังวรศีล อันโยคีบุคคลพึงให้สำเร็จด้วย สติ ฉันใด อาชีวปาริสุทธิศีล อันโยคีบุคคลพึงให้สำเร็จด้วย วีริยะ ฉันนั้น จริงอยู่ อาชีวปาริสุทธิศีลนั้นชื่อว่ามีวิริยะเป็นเหตุให้สำเร็จ เพราะวีริยะที่ปรารภโดยชอบแล้วเป็นการประหานมิจฉาอาชีวะ เพราะฉะนั้น อันภิกษุพึงละอเนสนาคือการแสวงหาอันไม่สมควรอันไม่เหมาะสมแล้ว เสพอยู่ซึ่งปัจจัยทั้งหลายอันเกิดขึ้นโดยความบริสุทธิ์เท่านั้น หลีกเว้นอยู่ซึ่งปัจจัยทั้งหลายอันเกิดขึ้นโดยไม่บริสุทธิ์ เหมือนหลีกเว้นอสรพิษทั้งหลาย พึงทำอาชีวปาริสุทธิศีลนี้ให้สำเร็จด้วย วีริยะ ด้วยการแสวงหาโดยชอบมีการเที่ยวบิณฑบาตเป็นต้นเถิด
ในปัจจัย 2 อย่างนั้น สำหรับภิกษุผู้ไม่ได้ถือธุดงค์ ปัจจัยทั้งหลายที่เกิดจากสงฆ์จากคณะและจากสำนักของคฤหัสถ์ทั้งหลายผู้เลื่อมใสโดยคุณทั้งหลายของภิกษุนั้นมีการแสดงธรรมเป็นต้น ชื่อว่า ปัจจัยอันเกิดขึ้นโดยความบริสุทธิ์ ส่วนปัจจัยที่เกิดจากการบิณฑบาตเป็นต้น ชื่อว่า เกิดขึ้นโดยความบริสุทธิ์อย่างยิ่งนั่นเทียว สำหรับภิกษุผู้ถือธุดงค์ ปัจจัยทั้งหลายที่เกิดจากการเที่ยวบิณฑบาตเป็นต้น และที่เกิดจากสำนักของผู้เลื่อมใสในธุดงคคุณของภิกษุนั้นโดยอนุโลมแก่ธุดงคนิยม ชื่อว่า ปัจจัยอันเกิดขึ้นโดยความบริสุทธิ์ อนึ่ง เมื่อสมอดองด้วยมูตรเน่าและมธุรเภสัช 4 อย่าง เกิดขึ้นเพื่อบำบัดพยาธิชนิดหนึ่ง ภิกษุนั้นคิดว่า "แม้เพื่อนพรหมจรรย์อื่น ๆ จักฉันมธุรเภสัช 4" ดังนี้แล้ว จึงฉันแต่ชิ้นแห่งสมอเท่านั้น การสมาทานธุดงค์ของเธอ จัดว่าเป็นการสมควร จริงอยู่ ภิกษุนี้เรียกได้ว่าเป็นภิกษุผู้ประกอบอยู่ในชั้นอริยวงค์ชั้นอุดม
อนึ่ง ในบรรดาปัจจัย 4 มีจีวรเป็นต้นนี้นั้น สำหรับภิกษุผู้ชำระอาชีวให้บริสุทธิ์รูปใดรูปหนึ่ง นิมิต, โอภาส, ปริกถาและวิญญัติ ย่อมไม่ควรในจีวรและบิณฑบาต ส่วนภิกษุผู้ถือธุดงค์ นิมิต, โอภาสและปริกถาย่อมไม่ควรในเสนาสนะ ในนิมิต, โอภาสและ
(หน้าที่ 57)
ปริกถานั้น มีอรรถาธิบายดังนี้ เมื่อภิกษุทำการปราบพื้นเป็นต้น เพื่อสร้างเสนาสนะ มีพวกคฤหัสถ์ถามว่าจะสร้างอะไร ขอรับ ใครจะเป็นผู้สร้าง ? ให้คำตอบว่า ยังไม่มีใครดังนี้ก็ดี หรือแม้การกระทำนิมิตอย่างอื่นใดเห็นปานฉะนี้ ชื่อว่า นิมิต ภิกษุถามว่า "อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย พวกท่านอยู่ที่ไหน ?" เมื่อเขาบอกว่า "พวกกระผมอยู่ที่ปราสาท ขอรับ" ภิกษุพูดว่า "อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ก็ปราสาทย่อมไม่สมควรแก่ภิกษุทั้งหลาย" ดังนี้ก็ดี ก็หรือแม้การกระทำโอภาสอย่างอื่นใดเห็นปานฉะนี้ ชื่อว่า โอภาส การพูดว่า "เสนาสนะของภิกษุสงฆ์คับแคบ" ดังนี้ก็ดี แหละหรือแม้การกล่าวโดยปริยายอย่างอื่นใดเห็นปานฉะนี้ ชื่อว่า ปริกถา ในปัจจยเภสัชสมควรแม้ทุก ๆ ประการ แต่ครั้นโรคหายแล้วจะฉันเภสัชที่เกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนั้น ย่อมไม่ควร
ในอธิการแห่งเภสัชนี้นั้น อาจารย์ผู้ทรงพระวินัยทั้งหลายกล่าวไว้ว่า "พระผู้มีพระภาคทรงประทานประตูไว้ให้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงสมควร" ส่วนพวกอาจารย์ผู้ชำนาญพระสูตรกล่าวไว้อย่างเด็ดขาดว่า "ถึงแม้จะไม่เป็นอาบัติก็จริง แต่ทำอาชีวให้เสียหาย เพราะฉะนั้นจึงไม่สมควร"
ก็แหละ ภิกษุใด ไม่ยอมกระทำนิมิต, โอภาส, ปริกถาและวิญญัติ ทั้ง ๆที่พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตแล้ว อาศัยคุณมีความมักน้อยเป็นต้นเท่านั้น แม้ถึงความจะสิ้นชีวิตปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า ก็คงเสพปัจจัยที่เกิดขึ้นโดยไม่สมควรมีโอภาส เป็นต้นนั่นเทียว ภิกษุนี้ เรียกได้ว่า ผู้มีความประพฤติขัดเกลาชั้นยอด แม้ทำนองเดียวกับพระสารีปุตตเถระ
เรื่องพระสารีปุตตเถระต้องอาพาธ
ได้ยินว่า สมัยหนึ่งท่านพระสารีปุตตเถระนั้นจะเพิ่มพูนความสงัด จึงพร้อมกับท่านพระมหาโมคคัลลานเถระไปพักอยู่ในป่าแห่งใดแห่งหนึ่ง อยู่มาวันหนึ่ง ท่านพระสารีปุตตะเถระนั้นได้เกิดอาพาธลมเสียดท้องขึ้น มันได้ทำความทุกข์อย่างหนักให้เกิดแก่ท่าน พระมหาโมคคัลลานเถระไปยังที่อุปัฏฐากของท่านในเวลาเย็น เห็นพระเถระนอนอยู่ สอบถามซึ่งพฤติการณ์นั้นแล้วเรียนถามว่า "ท่านขอรับ ครั้งก่อนท่านหายด้วยเภสัชอะไร" พระเถระสารีปุตตะเรียนบอกว่า "ท่าน เมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์มารดาของผมได้ให้ข้าวปายาสหุง
(หน้าที่ 58)
ด้วยน้ำนมล้วน ๆ ประสมกับเนยใสน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวด ผมได้หายโรคเพราะข้าวปายาสนั้น" ฝ่ายพระมหาโมคคัลลานเถระนั้นเรียนว่า "เอาเถอะท่าน ถ้าบุญของกระผมหรือบุญของท่านมีอยู่ พรุ่งนี้เราจักต้องได้อย่างแน่นอน"
ก็แหละ ยังมีเทวดาที่สิงอยู่บนต้นไม้ท้ายที่จงกรม ได้ยินพระเถระทั้งสองสนทนากันเช่นนั้น จึงคิดว่า "พรุ่งนี้เราจะบันดาลให้ข้าวปายาสเกิดขึ้นแก่พระผู้เป็นเจ้า" ทันใดนั้นได้ไปยังตระกูลอุปัฏฐากของพระเถระ เข้าสิงร่างกายบุตรคนโต บันดาลให้เกิดความดิ้นรนอยู่ ลำดับนั้นเทวดาจึงได้กล่าวกับพวกญาติ ๆ ของบุตรคนโตนั้น ซึ่งมาประชุมกันหมายจะเยียวยารักษาว่า "ถ้าพวกท่านรับจะจัดข้าวปายาสเห็นปานฉะนี้ ถวายแด่พระเถระในวันพรุ่งนี้ ฉันจึงจักปล่อยมัน" พวกญาติเหล่านั้นรับว่า "แม้ถึงท่านไม่บอก พวกเราก็ถวายภิกษาหารแก่พระเถระทั้งหลายเป็นประจำอยู่แล้ว" ครั้นถึงวันที่สองได้พากันจัดข้าวปายาสเห็นปานดังนั้นไปถวายแล้ว พระมหาโมคคัลลานมาถึงแต่เช้าตรู่ เรียนว่า "ท่านขอรับ นิมนต์คอยอยู่ ณ ที่นี้แหละจนกว่ากระผมไปบิณฑบาตกลับมา" แล้วก็เข้าไปบ้าน พวกมนุษย์เหล่านั้น รับบาตรของพระเถระใส่ให้เต็มด้วยข้าวปายาสมีประการดังกล่าวแล้วจึงถวายไป พระเถระแสดงอาการที่จะไป พวกมนุษย์เหล่านั้นเรียนว่า "นิมนต์ท่านฉันเถิด ขอรับ พวกกระผมจักถวายข้าวปายาสแม้อื่นอีก" ครั้นให้พระเถระฉันเสร็จแล้ว ได้ถวายไปอีกจนเต็มบาตร พระเถระไปแล้วน้อมข้าวปายาสเข้าไปพร้อมกับพูดว่า "ดูก่อนท่านสารีปุตตะ นิมนต์ฉันเสียเถอะ" ฝ่ายพระเสรีปุตตเถระเห็นข้าวปายาสนั้นแล้วพิเคราะห์ดูว่า "ข้าวปายาสเป็นที่หน้าพึงใจยิ่งนัก เกิดขึ้นมาได้อย่างใรหนอ" ครั้นเห็นมูลเหตุเกิดของข้าวปายาสนั้นแล้วจึงพูดว่า"ท่านโมคคัลลานะ เอาไปเสียเถิด บิณฑบาตไม่ควรแก่อันจะบริโภค" ฝ่ายมหาโมคคัลลานเถระ แม้แต่จะคิดว่าพระสารีปุตตะไม่ยอมฉันบิณฑบาตที่คนอย่างเรานำมาถวาย ก็ไม่มีด้วยคำพูดเพียงคำเดียวเท่านั้น ก็รีบคว้าจับบาตรที่ขอบปากไปเทคว่ำลง ณ ส่วนข้างหนึ่ง อาพาธของพระเถระได้หายไปพร้อมกับข้าวปายาสจรดพื้นดิน จำเดิมแต่นั้นมาตลอดเวลา 45 พรรษา อาพาธก็มิได้เกิดขึ้นอีกเลย ด้วยเหตุนั้น พระสารีปุตตเถระ จึงกล่าวกับพระมหาโมคคัลลานเถระว่า "ดูก่อน ท่านโมคคัลลานะ ข้าวปายาสที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยวจีวิญญัติ เป็น
(หน้าที่ 59)
สิ่งไม่สมควรเพื่อจะฉัน ถึงแม้ไส้จะไหลออกมาเที่ยเพ่นพ่านอยู่ที่พื้นดินก็ตาม" แหละได้เปล่งคำอุทานดังนี้ว่า –
ถ้าเราจะพึงฉันข้าวมธุปายาส อันเกิดขึ้นเพราะเปล่งวจีวิญญัติไซร้ อาชีวของเราก็จะพึงถูกบัณฑิตครหา
แม้ว่าไส้ของเราจะไหลออกมาเที่ยวเพ่นพ่านอยู่ข้างนอกก็ตาม เรายอมเอาชีวิตเข้าแลก จะไม่พึงทำลายอาชีวเป็นอันขาด
เราทำจิตของเราให้รื่นรมย์ เราหลีกเว้นอเนสนาคือการแสวงหาอันไม่สมควร และเราจักไม่กระทำอเนสนาที่พระพุทธองค์ทรงรังเกียจแล้ว
อนึ่ง ในอธิการแห่งอาชีวปาริสุทธิศีลนี้ นักศึกษาพึงเล่าเรื่องของพระอัมพขาทกมหาติสสเถระซึ่งอยู่ประจำจีวรคุมพวิหารประกอบด้วย นักศึกษาพึงทราบอรรถาธิบายแม้ในทุก ๆ บท ดังที่ได้อรรถาธิบายมานี้
นักพรตผู้มีวิจารณญาณ บวชแล้วด้วยศรัทธา แม้แต่คิดก็อย่าให้เกิดขึ้นในอเนสนา พึงชำระอาชีวะให้บริสุทธิ์เถิด
4. ปัญญาเป็นเหตุให้ปัจจยสันนิสสิตศีลสำเร็จ
อนึ่ง อาชีวปาริสุทธิศีล อันโยคีบุคคลพึงให้สำเร็จด้วย วีริยะ ฉันใด ปัจจยสันนิสสิตศีล อันโยคีบุคคลพึงให้สำเร็จด้วย ปัญญา ฉันนั้น จริงอยู่ ปัจจยสันนิสสิตศีลนั้น ชื่อว่ามีปัญญาเป็นเหตุให้สำเร็จ เพราะผู้มีปัญญาจึงสามารถมองเห็นโทษและอานิสงส์ของปัจจัยทั้งหลายได้ เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงละความกำหนัดยินดีในปัจจัยแล้วพึงพิจารณาปัจจัยทั้งหลายอันเกิดขึ้นโดยธรรมสม่ำเสมอ ด้วยวิธีดังได้พรรณนามาแล้วจึงบริโภค พึงทำปัจจยสันนิสสิตศีลนี้ให้สำเร็จด้วย ปัญญา เถิด
การพิจารณาปัจจัยทั้งหลายในปัจจยสันนิสสิตศีลนั้นมี 2 อย่าง คือ พิจารณาในเวลารับ 1 พิจารณาในเวลาบริโภค 1 อธิบายว่า ปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้นที่ซึ่งได้พิจารณาด้วยสามารถแห่งความเป็นทาสหรือความเป็นของปฏิกูลแม้ในเวลารับแล้วเก็บไว้ เมื่อภิกษุบริโภคเลยจากเวลารับนั้นไป การบริโภคก็หาโทษมิได้เลย การบริโภคแม้เวลาบริโภคก็หาโทษมิได้เหมือนกัน
(หน้าที่ 60)
การบริโภค 4 อย่าง
ในการพิจารณาในการบริโภคนั้น มีวินิจฉัยที่ทำความตกลงไว้ดังนี้ –
ก็แหละ การบริโภคมี 4 อย่าง คือ เถยฺยปริโภค บริโภคเป็นขโมย 1 อิณปริโภค บริโภคเป็นหนี้ 1 ทายชฺชปริโภค บริโภคเป็นทายาท 1 สามิปริโภค บริโภคเป็นนาย 1 ใน 4 อย่างนั้น การบริโภคของภิกษุผู้ทุศีลแม้นั่งบริโภคอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ชื่อว่า เถยฺยปริโภค การบริโภคไม่ได้พิจารณาของผู้มีศีล ชื่อว่า อิณปริโภค เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงพิจารณาในทุก ๆ ขณะที่บริโภค บิณฑบาตพึงพิจารณาในทุก ๆ คำข้าว เมื่อภิกษุใม่สามารถปฏิบัติเหมือนอย่างนั้น ในเวลาก่อนอาหาร, หลังอาหาร, ในปุริมยาม, มัชฌิมยามและปัจฉิมยาม ถ้าไม่ได้พิจารณาเลย ปล่อยให้อรุณขึ้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมตั้งอยู่ในฐานะเป็นอิณบริโภค แม้เสนาสนะก็พึงพิจารณาในทุก ๆ ขณะที่บริโภค สำหรับเภสัชเมื่อมีสติเป็นปัจจัย(คือเมื่อใช้สติพิจารณาเสียก่อน-มหาฏีกา)ทั้งในขณะรับทั้งในขณะบริโภคจึงจะควร แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ เมื่อภิกษุทำสติในขณะรับแล้วขณะบริโภคไม่ได้ทำอีก เป็นอาบัติ ไม่ทำในขณะรับแต่ทำในขณะบริโภค ไม่เป็นอาบัติ
สุทธิ 4 อย่าง
ก็แหละ สุทธิมี 4 อย่าง คือ เทสนาสุทธิ 1 สังวรสุทธิ 1 ปริเยฏฐิสุทธิ 1 ปัจจเวกขณสุทธิ 1 ใน 4 อย่างนั้น ปาติโมกขสังวรศีล ชื่อว่า เทสนาสุทธิ จริงอยู่ ปาติโมกขสังวรศีลนั้นเรียกว่า เทสนาสุทธิ เพราะบริสุทธิ์ด้วยการแสดงอาบัติ อินทรียสังวรศีล ชื่อว่า สังวรสุทธิ จริงอยู่ อินทรียสังวรศีลนั้นเรียกว่า สังวรสุทธิ เพราะบริสุทธิ์ด้วยความสังวร คือตั้งใจว่า จักไม่กระทำอย่างนี้ต่อไป อาชีวปาริสุทธิศีลชื่อว่า ปริเยฏฐิสุทธิ จริงอยู่ อาชีวปาริสุทธิศีลนั้นเรียกว่า ปฏิเยฏฐิสุทธิ เพราะบริสุทธิ์ด้วยการแสวงหา ของภิกษุผู้ละอเนสนาแล้วจึงยังปัจจัยทั้งหลายให้เกิดขึ้นอยู่โดยธรรมโดยสม่ำเสมอ ปัจจยสันนิสสิตศีล ชื่อว่า ปัจจเวกขณสุทธิ จริงอยู่ ปัจจยสันนิสสิตศีลนั้นเรียกว่า ปัจจเวกขณสุทธิ เพราะบริสุทธิ์ด้วยการพิจารณามีประการดังพรรณนามาแล้ว ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า เมื่อไม่ทำสติในขณะรับแต่ทำในขณะบริโภค ไม่เป็นอาบัติ ดังนี้
(หน้าที่ 61)
การบริโภคปัจจัยของพระเสกขบุคคลทั้งหลาย 7 จำพวก ชื่อว่า ทายัชชบริโภค จริงอยู่ พระเสกขบุคคลเหล่านั้นเป็นพระบุตรของพระผู้มีพระภาค เพราะเหตุนั้น พระเสกขบุคคลเหล่านั้นย่อมบริโภคปัจจัยทั้งหลาย โดยฐานเป็นทายาทแห่งปัจจัยทั้งหลาย อันเป็นสมบัติของพระบิดา
ถาม - ก็พระเสกขบุคคลเหล่านั้น บริโภคปัจจัยทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคหรือ ? ไม่ใช่บริโภคปัจจัยทั้งหลายของคฤหัสถ์ดอกหรือ ?
ตอบ - แม้ปัจจัยทั้งหลายอันพวกคฤหัสถ์ถวายแล้ว ก็จัดเป็นของแห่งพระผู้มีพระภาค เพราะเป็นสิ่งอันพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไว้ เพราะเหตุนั้น นักศึกษาพึงทราบว่า พระเสกขบุคคลทั้งหลาย ย่อมบริโภคปัจจัยทั้งหลายของพระผู้มีพระภาค อนึ่ง ธัมมทายาทสูตร เป็นเครื่องสาธกในอธิการนี้
การบริโภคของพระขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่า สามิบริโภค จริงอยู่ พระขีณาสพ เหล่านั้นชื่อว่า บริโภคเป็นนาย เพราะล่วงพ้นความเป็นทาสของตัณหาไป
ในการบริโภคเหล่านี้ สามิบริโภค 1 ทายัชชบริโภค 1 ย่อมสมควรแก่พระอริยะ และปุถุชนทั้งหมด อิณบริโภคไม่สมควรทั้งหมด ในเถยยบริโภคไม่จำมีอันพูดถึงกันละ อนึ่งการบริโภคที่ได้พิจารณาแล้วของภิกษุผู้มีศีลนี้ใด การบริโภคนั้นจัดเป็นการบริโภคที่ไม่เป็นหนี้ เพราะเป็นข้าศึกแก่การบริโภคเป็นหนี้ หรือจะจัดสงเคราะห์เข้าในทายัชชบริโภคนั้นแหละก็ได้ จริงอยู่ แม้ภิกษุผู้มีศีลก็ย่อมถึงซึ่งอันนับเป็นเสกขะได้เหมือนกัน เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลสิกขานี้ อนึ่ง ในบรรดาผู้บริโภค 4 อย่างนี้ เพราะสามิบริโภคจัดเป็นการบริโภคชั้นยอด ฉะนั้น อันภิกษุเมื่อปารถนาซึ่งสามิบริโภคนั้น พึงพิจารณาด้วยด้วยวิธีพิจารณาอันมี ประการดังกล่าวมาแล้วจึงบริโภค พึงยังปัจจยสันนิสสิตศีลให้สำเร็จเถิด ก็แหละ เมื่อภิกษุกระทำได้ดังกล่าวมานี้ย่อมจัดว่าเป็น กิจจการี ผู้มีปกติกระทำกิจ สมด้วยนิพนธพจน์อันบัณฑิตประพันธ์ไว้ว่า
พระสาวกผู้มีปัญญาอันประเสริฐ ได้สดับธรรมอันพระสุคตเจ้าทรงแสดงแล้ว พึงพิจารณาก่อนจึงเสพ บิณฑบาต, วิหาร, ที่นอน, ที่นั่ง, และน้ำสำหรับซักล้างธุลีจับผ้าสังฆาฏิ
(หน้าที่ 62)
เพราะเหตุนั้นแหละ ภิกษุจึงเป็นผู้ไม่ติดในปัจจยธรรมเหล่านี้ คือ บิณฑบาต, ที่นอน, ที่นั่งและน้ำสำหรับซักล้างธุลีจับผ้าสังฆาฏิ เหมือนหยาดน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น
ภิกษุนั้น ครั้นได้อาหารโดยการอนุเคราะห์จากคนอื่นตามกาลแล้ว พึงเป็นผู้มีสติตั้งมั่นติดต่อกันไป รู้จักประมาณในของเคี้ยว, ของฉัน, และของลิ้มเลียทั้งหลาย เหมือนคนไข้รู้จักประมาณในการทาแผลและพอกยา ฉะนั้น
ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่หลงติด ฉันอาหารเพียงเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป เหมือนมารดาบิดากินเนื้อแห่งบุตรในทางกันดาร และเหมือนพ่อค้าเกวียนหยอดน้ำมันเพลาเกวียน ฉะนั้น
อนึ่ง ในความเป็นผู้กระทำปัจจยสันนิสสิตศีลนี้ให้บริสุทธิ์ นักศึกษาพึงเล่าเรื่อง สามเณรสังฆรักขิตผู้หลานประกอบด้วย จริงอยู่ สามเณรนั้นพิจารณาโดยชอบแล้วจึงบริโภค สมดังคำประพันธ์ที่สามเณรนั้นกล่าวไว้ว่า
พระอุปัชฌายะได้สอนข้าพเจ้ากำลังฉันข้าวสาลีอันเย็นสนิทว่า พ่อสามเณร เจ้าจงอย่าเป็นคนไม่สำรวม เผาลิ้นตัวเองเสียนะ
ข้าพเจ้าได้ฟังคำสอนของพระอุปัชฌายะแล้ว ก็ได้ความสังเวชในขณะนั้น นั่งอยู่ที่อาสนะเดียวได้บรรลุพระอรหัตแล้ว
ข้าพเจ้านั้นเป็นผู้มีความดำริเต็มบริบูรณ์ เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ เป็นผู้มีอาสวะทั้งปวงหมดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพไม่มีอีกแล้ว
เพราะเหตุนั้น กุลบุตรแม้อื่นปรารถนาความสิ้นไปแห่งทุกข์ พึงพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงเสพปัจจัยทั้งหลายเถิด
ศีล 4 อย่างโดยแยกเป็นปาติโมกขสังวรศีลเป็นต้น ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล 5 อย่าง หมวดที่ 1
ปัญจกะที่ 1 ของส่วนที่จัดเป็นศีล 5 อย่าง นักศึกษาพึงทราบอรรถาธิบาย โดยแยกเป็นอนุปสัมปันนศีลเป็นต้น ดังต่อไปนี้
(หน้าที่ 63)
ก็แหละ พระธรรมเสนาบดีสารีปุตตะกล่าวไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ ดังนี้-
- ปริยันตปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร ?
ศีลของอนุปสัมบันทั้งหลายผู้มีสิกขาบทเป็นที่สุด นี้จัดเป็น ปริยันตปาริสุทธิศีล
- อปริยันตปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร ?
ศีลของอุปสัมบันทั้งหลายผู้มีสิกขาไม่มีที่สุด นี้จัดเป็น อปริยันตปาริสุทธิศีล
- ปริปุณณปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร ?
ศีลของกัลยาณปุถุชนทั้งหลาย ผู้ประกอบในกุศลธรรม ผู้กระทำให้บริบูรณ์ในธรรมอันจรดแดนแห่งพระเสกข ผู้ไม่อาลัยในร่างกายและชีวิต ผู้มีชีวิตอันสละแล้ว นี้จัดเป็น ปริปุณณปาริสุทธิศีล
- อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร ?
ศีลของพระเสกขบุคคลทั้งหลาย 7 จำพวก นี้จัดเป็น อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล
- ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร ?
ศีลของพระขีณาสพทั้งหลายผู้เป็นสาวกของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย นี้จัดเป็น ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล
ในบรรดาศีลเหล่านั้น ศีลของอนุปสัมปันทั้งหลาย พึงทราบว่าเป็น ปริยันตปาริสุทธิศีล เพราะเป็นศีลมีที่สุดด้วยอำนาจแห่งการนับ ศ๊ลของอุปสัมปันทั้งหลายถึงแม้จะมีที่สุด ด้วยสามารถแห่งการนับอย่างนี้ว่า –
สังวรวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศไว้แล้วเหล่านี้ คือเก้าพันโกฏิสิกขาบท แปดสิบร้อยโกฏิสิกขาบท ห้าสิบแสนสิกขาบท และอื่น ๆ อีก 36 สิกขาบท (รวมเป็นหนึ่งหมื่นเจ็ดพันโกฏิห้าล้านสามสิบหกสิกขาบท) สิกขาทั้งหลายในวินัยปิฏกทรงแสดงไว้ด้วยมุข คือ เปยยาล
(หน้าที่ 64)
ดังนี้ก็ตาม พึงทราบว่า คงเป็นอปริยันตปาริสุทธิศีล เพราะหมายเอาภาวะสมาทานโดยไม่มีส่วนเหลือ และภาวะที่ไม่แสดงที่สุดได้ด้วยอำนาจลาภ, ยศ, ญาติ, องค์อวัยวะและชีวิต เหมือนศีลของพระอัมพขาทกมหาติสสเถระผู้อยู่ในจีวรคุมพวิหาร
เรื่องพระอัมพขาทกมหาติสสเถระ
จริงอย่างนั้น ท่านพระมหาเถระนั้น ไม่ละสัปปุริสานุสติข้อนี้คือ –
นรชน พึงยอมสละทรัพย์เพราะเหตุแห่งองค์อวัยวะอันประเสริฐ เมื่อจะรักษาไว้ซึ่งชีวิต ก็พึงยอมเสียสละองค์อวัยวะ เมื่อระลึกถึงธรรมะ ก็พึงยอมเสียสละทรัพย์ องค์อวัยวะและชีวิต แม้หมดทุกอย่าง
แม้เมื่อความสงสัยในชีวิตมีอยู่ ท่านก็ไม่ยอมล่วงละเมิดสิกขาบท อาศัยอปริยันตปาริสุทธิศีลนั่นแหละ ได้บรรลุพระอรหัตทั้งที่อยู่บนหลังอุบาสกนั่นเทียว สมดังที่ท่านพระมหาเถระนั้นกล่าวนิพนธคาถาไว้ว่า –
อุบาสกนี้ มิใช่บิดา มิใช่มารดา มิใช่ญาติ ทั้งมิใช่เผ่าพันธุ์ของเธอ เขากระทำกิจเช่นนั้นให้แก่เธอ ก็เพราะเหตุแห่งเธอเป็นผู้มีศีล
ท่านทำความสังเวชให้เกิดขึ้นแล้วพิจารณาสังขารทั้งหลายโดยแยบคายได้บรรลุพระอรหัตทั้ง ๆ ที่อยู่บนหลังของอุบาสกนั้น ฉะนี้
ศีลของกัลยาณปุถุชนทั้งหลายแม้ปราศจากมลทินเพียงชั่วจิตตุปบาทหนึ่ง ก็สำเร็จเป็นปทัฏฐานแก่พระอรหัตได้เหมือนกัน เพราะเป็นศีลที่บริสุทธิ์ยิ่งนับแต่อุปสมบทมา เหมือนชาติมณีนายช่างเจียระไนดีแล้ว และเหมือนทองคำที่นายช่างทำบริกรรมดีแล้ว เพราะเหตุนั้นจึงเรียกได้ว่าเป็น ปริปุณณปาริสุทธิศีล เหมือนศีลของพระมหาสังฆรักขิตเถระและพระสังฆรักขิตเถระผู้หลาน
เรื่องพระมหาสังขิตเถระ
ได้ยินว่า ภิกษุสงฆ์ได้เรียนถามถึงการบรรลุโลกุตตรธรรมกะพระมหาสังฆรักขิตเถระผู้มีพรรษาเกิน 60 ไปแล้ว ซึ่งนอนอยู่บนเตียงที่จะถึงแก่มรณภาพ พระเถระตอบว่า "โลกุตตธรรมของฉันไม่มี" ลำดับนั้น ภิกษุหนุ่มอุปัฏฐากของท่านกราบเรียนว่า "ท่านขอ
(หน้าที่ 65)
รับ พวกมนุษย์ตั้ง 12 โยชน์ โดยรอบประชุมกันด้วยสำคัญว่าท่านจะปรินิพพาน ความเดือดร้อนใจจักมีแก่มหาชน เพราะท่านถึงแก่มรณภาพเป็นปุถุชน" พระเถระพูดว่า "เธอ ฉันไม่เริ่มทำวิปัสนาด้วยคิดว่า จักรอพบพระผู้มีพระภาคเจ้าเมตไตย ถ้าเช่นนั้น เธอจงพยุงให้ฉันนั่ง กระทำโอกาสให้ฉัน" พระภิกษุหนุ่มนั้นพยุงให้พระเถระนั่งแล้วก็ออกไปข้างนอก พร้อมกับการออกไปข้างนอกของภิกษุหนุ่มนั้นแล พระเถระได้บรรลุพระอรหัต แล้วได้ให้สัญญาด้วยการดีดนิ้วมือ สงฆ์ประชุมกันแล้วเรียนว่า "ท่านขอรับ ท่านทำให้โลกุตตรธรรม บังเกิดในเวลาใกล้จะมรณภาพเห็นปานนี้ ชื่อว่าท่านได้กระทำสิ่งที่กระทำได้ด้วยยาก" พระเถระตอบว่า "นี้ไม่ใช่สิ่งกระทำได้ด้วยยากดอก อาวุโสทั้งหลาย ก็แต่ว่าสิ่งที่กระทำได้ด้วยยาก ฉันจักบอกแก่เธอทั้งหลาย คือ อาวุโสทั้งหลาย นับจำเดิมตั้งแต่เวลาที่ฉันบวชแล้วมา ฉันระลึกไม่ได้เลยว่ามีกรรมที่ฉันกระทำไปด้วยความไม่รู้โดยไม่มีสติ"
ฝ่ายพระสังฆรักขิตเถระผู้หลานของท่าน ก็ได้บรรลุพระอรหัตเหมือนอย่างเดียวกันในเวลามีพรรษา 50 ฉะนี้แล
ภิกษุใด ถ้าเป็นผู้มีสุตะน้อยทั้งเป็นผู้ไม่ตั้งมั่นอยู่ในศีล บัณฑิตทั้งหลายย่อมจะครหาภิกษุนั้นได้ โดยศีลและโดยสุตะทั้งสองสถาน
ภิกษุใด ถ้าเป็นผู้มีสุตะน้อยแต่เป็นผู้ตั้งมั่นดีแล้วในศีล บัณฑิตทั้งหลายย่อมจะสรรเสริญภิกษุนั้นโดยศีล แต่สุตะย่อมไม่สำเร็จแก่เธอ
ภิกษุใด ถ้าเป็นผู้มีสุตะมากทั้งเป็นผู้ตั้งมั่นดีแล้วในศีล บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญภิกษุนั้น โดยศีลและสุตะทั้งสองสถาน
ใครเล่า ควรที่จะนินทาพระสาวกนั้น ผู้พระหุสูตทรงธรรม มีปัญญาดี ดุจแท่งแห่งทองคำชมพูนท พระพุทธสาวกนั้น แม้ฝูงเทวดาก็เชยชม ทั้งพรหมก็สรรเสริญ
อนึ่ง ศีลของพระเสกขบุคคลทั้งหลาย พึงทราบว่าเป็น อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล เพระเป็นศีลที่ไม่ได้ลูบคลำด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิ อีกนัยหนึ่ง ศีลที่ไม่ลูบคลำด้วยอำนาจแห่งราคะของปุถุชนทั้งหลายพึงทราบว่า อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล เหมือนศีลของพระกุฏุมพิยปุตตติสสเถระ
(หน้าที่ 66)
เรื่องพระกุฎฎุมพิยปุตตติสสเถระ
ก็แหละ พระผู้เป็นเจ้ากุฎุมพิยปุตตติสสเถระนั้น อาศัยศีลเห็นปานนั้นแล้วเป็นผู้ปรารถนาที่จะตั้งตนไว้ในพระอรหัต จึงได้กล่าวรับรองกับหมู่โจรผู้ไพรีก์ว่า
อาตมาจักทำลายเท้าทั้งสอง แล้วทำสัญญาให้แก่ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรังเกียจย่อมละอายต่อความตายที่ยังมีราคะ
ข้าพเจ้าคิดอย่างนี้แล้วจึงพิจารณาสังขารทั้งหลายโดยแยบคาย ก็ได้บรรลุพระอรหัตเมื่อรุ่งอรุณพอดี
เรื่องพระมหาเถระรูปใดรูปหนึ่ง
แม้พระมหาเถระรูปใดรูปหนึ่งนั้น ต้องอาพาธอย่างหนัก ไม่อาจที่จะฉันแม้อาหารด้วยมือของตนได้ นอนกลิ้งเกลือกอยู่ในมูตรและกรีสของตน ภิกษุหนุ่มรูปใดรูปหนึ่งเห็นอาการของท่านนั้นแล้วพูดว่า "โอ ! สังขารคือชีวิตเป็นทุกข์" พระมหาเถระได้พูดกับภิกษุหนุ่มนั้นว่า "เธอ ฉันตายลงเดี๋ยวนี้ก็จักได้สวรรค์สมบัติ ฉันไม่มีความสงสัยในข้อนี้ ขึ้นชื่อว่าสมบัติที่ได้มาเพราะทำลายศีลนี้ ก็เป็นเช่นเดียวกับได้ความเป็นคฤหัสถ์เพราะบอกคืนสิกขา" ครั้นแล้วจึงได้ตั้งใจว่า "เราจักตายพร้อมกับศีลนี้นั่นเทียว" นอนอยู่ ณ ที่นั้นนั่นแหละพิจารณาโรคนั้น ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว จึงได้พยากรณ์แก่ภิกษุสงฆ์ด้วยนิพนธคาถาเหล่านี้ว่า -
เมื่อข้าพเจ้าต้องพยาธิอย่างใดอย่างหนึ่ง ถูกโรคเสียดแทงเป็นทุกข์ขนาดหนัก กเฬวรากอันนี้ก็เหี่ยวแห้งลงอย่างรวดเร็ว เหมือนดอกไม้ที่เขาหมกไว้ในฝุ่นกลางแดด
กเฬวรากนี้ เป็นสิ่งไม่น่าพึงใจ คนพาลกลับถือว่าเป็นสิ่งน่าพึงใจ กเฬวรากนี้เป็นของไม่สะอาด คนพาลกลับเห็นว่าเป็นของสะอาด กเฬวรากนี้เต็มเพียบด้วยซากศพนานาชนิด ก็ยังเป็นรูปอันน่าพึงใจสำหรับผู้มองไม่เห็นความจริง
(หน้าที่ 67)
ทุด ! ทุด ! ประชาชนทั้งหลายมัวเป็นผู้ประมาทเริงหลงอยู่ในกเฬวรากนี้ อันอาดูร เปื่อยเน่า มีกลิ่นเหม็น ไม่สะอาด มีพยาธิประจำ จนทำทางสำหรับสู่สุคติให้เสียไป
อนึ่ง ศีลของสัตบุรุษทั้งหลายมีพระอรหันต์เป็นต้น พึงทราบว่า ปฎิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล เพราะเป็นศีลที่บริสุทธิ์โดยทำความกระวนกระวายทั้งปวงให้สงบระงับ
ศีล 5 อย่าง โดยแยกเป็นปริยันตปาริสุทธิศีลเป็นต้น ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล 5 อย่าง หมวดที่ 2
นักศึกษาพึงทราบอรรถาธิบายในศีล 5 อย่าง หมวดที่ 2 ด้วยสามารถแห่งการ ประหานบาปธรรมทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น ดังต่อไปนี้ สมดังที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีปุตตะกล่าวไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ว่า –
ศีล 5 คือ 1. ปหาน การประหานซึ่งปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่าศีล 2. เวรมณี ความงดเว้น ชื่อว่าศีล 3. เจตนา ความจงใจ ชื่อว่า ศีล 4. สํวร ความระวัง ชื่อว่า ศีล 5. อวีติกฺกม ความไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่า ศีล
การประหาน ความงดเว้น ความจงใจ ความระวัง ความไม่ล่วงละเมิด ซึ่งอทินนาทาน…. กาเมสุมิจฉาจาร…. มุสาวาท…. ปิสุณาวาจา…. ผรุสวาจา…. สัมผัปปลาปะ… อภิชฌา…. พยาบาท…. มิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่าศีล
การประหานกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ, ประหานพยาบาทด้วยอัพยาบาท, ประหานถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา, ประหานอุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ, ประหานวิจิกิจฉาด้วยธัมมววัตถาน, ประหานอวิชชาด้วยญาณ, ประหานอรติด้วยปราโมช, ประหานนิวรณ์ทั้งหลายด้วยปฐมฌาน, ประหารวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน, ประหานปีติด้วยตติยฌาน, ประหานสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน, ประหานรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา อนัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ, ประหานอากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ, ประหานวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ, ประหานอากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
(หน้าที่ 68)
ประหานนิจจสัญญา ด้วยอนิจจานุปัสสนา, ประหานสุขสัญญา ด้วยทุกขานุปัสสนา, ประหานอัตตสัญญา ด้วยอนัตตานุปัสสนา, ประหานนันทิ ด้วยนิพพิทานุปัสสนา, ประหานราคะ ด้วยวิราคานุปัสสนา, ประหานสมุทัย ด้วยนิโรธานุปัสสนา, ประหานอมุญจิตุกามยะ ด้วยมุญจิตุกามยตานุปัสสนา, ประหานอาทานะ ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา, ประหานฆมสัญญา ด้วยขยานุปัสสนา, ประหานอายูหนะ ด้วยวยานุปัสสนา, ประหานธุวสัญญา ด้วยวิปริณามานุปัสสนา, ประหานนิมิต ด้วยอนิมิตตานุปัสสนา, ประหานปณิธิ ด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนา, ประหานอภินิเวสะ ด้วยสุญญตานุปัสสนา, ประหานสาราทานาภินิเวสะ ด้วยอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา, ประหานสัมโมหาภินิเวสะ ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ, ประหานอาลยาภินิเวสะ ด้วยอาทีนวานุปัสสนา, ประหานอัปปฏิสังขา ด้วยปฏิสังขานุปัสสนา, ประหานสังโยคาภินิเวสะ ด้วยวิวัฏฏานุปัสสนา
ประหารกิเลสทั้งหลายที่อยู่ในฐานเดียวกับทิฎฐิ ด้วยโสตาปัตติมรรค, ประหานกิเลสชั้นหยาบทั้งหลาย ด้วยสกทาคามิมรรค, ประหานกิเลสชั้นละเอียดทั้งหลาย ด้วยอนาคามิมรรค, ประหานกิเลสอย่างสิ้นเชิง ด้วยอรหัตมรรค ชื่อว่าศีล, ความงดเว้น….ความจงใจ….ความระวัง….ความไม่ล่วงละเมิด….ชื่อว่าศีล
ศีลเห็นปานดังนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เดือดร้อนแห่งจิต เป็นไปเพื่อปราโมช เป็นไปเพื่อปัสสัทธิ เป็นไปเพื่อโสมนัส เป็นไปเพื่ออาเสวนะ เป็นไปเพื่อภาวนา เป็นไปเพื่อทำให้มาก เป็นไปเพื่ออลังการ เป็นไปเพื่อบริขาร เป็นไปเพื่อบริวาร เป็นไปเพื่อความบริบูรณ์ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความสำรอก เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ก็แหละ ในธรรม 5 อย่างนั้น ธรรมอะไร ๆ ที่ชื่อว่าประหาน ย่อมไม่มี เป็นแต่เพียงเว้นความไม่บังเกิดขึ้นแห่งบาปธรรมทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้นมีประการดังกล่าวแล้ว
(หน้าที่ 69)
อนึ่ง โดยที่การประหานนั้น ๆ ย่อมเป็นการรองรับ และอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมนั้น ๆ และเป็นการดำรงอยู่โดยเรียบร้อย เพราะไม่กระทำความเกะกะ เพราะเหตุนั้น การประหานจึงเรียกว่า ศีล เพราะอรรถว่า ความปกติ กล่าวคือความรองรับและความดำรงอยู่โดยเรียบร้อย ซึ่งได้พรรณนามาแล้วในตอนต้นนั้นแล
ธรรม 4 อย่างนอกนี้ คือ เวรมณี, เจตนา, สังวร และอวีติกกมะ ท่านกล่าวไว้โดยหมายเอาสภาพที่เป็นไปของจิต ด้วยสามารถแห่งความงดเว้นจากบาปธรรมนั้น ๆ 1 ด้วยสามารถแห่งความไม่ล่วงละเมิดบาปธรรมนั้น ๆ 1 ด้วยสามารถแห่งความระวังซึ่งบาปธรรมนั้น ๆ 1 ด้วยสามารถแห่งความจงใจที่ประกอบด้วยความงดเว้นและความระวังทั้งสองนั้น 1 ด้วยสามารถแห่งความไม่ล่วงละเมิดบาปธรรมนั้น ๆ ของบุคคลผู้ไม่ล่วงละเมิดอยู่ 1 ส่วนอรรถาธิบายแห่งธรรม 4 อย่างนั้นที่ชื่อว่าศีล ข้าพเจ้าอธิบายไว้แล้วในตอนต้นนั่นเทียว
ศีล 5 อย่างโดยแยกเป็นปหานศีลเป็นต้น ยุติด้วยประการฉะนี้
ก็แหละ การวิสัชนาปัญหาเหล่านี้ คือ อะไรชื่อว่าศีล 1 ที่ชื่อว่าศีลเพราะอรรถว่ากระไร 1 อะไรเป็นลักษณะ, เป็นรส, เป็นอาการปรากฎ และเป็นปทัฎฐานของศีล 1 ศีลมีอานิสงส์อย่างไร 1 และศีลนี้มีกี่อย่าง 1 ดังนี้ เป็นอันจบลงด้วยอรรถาธิบายเพียงเท่านี้
ปัญหากรรมใดที่ข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วว่า อะไรเป็นความเศร้าหมองเป็นความผ่องแผ้วของศีล นั้น ข้าพเจ้าจะวิสัชนาในปัญหากรรมนั้นต่อไป ดังนี้ - ภาวะที่ศีลขาดเป็นต้น เป็นความเศร้าหมองของศีล ภาวะที่ศีลไม่ขาดเป็นต้นเป็นความผ่องแผ้วของศีล
ก็แหละ ภาวะที่ศีลขาดเป็นต้นนั้น ท่านสงเคราะห์ด้วยความแตกซึ่งมีลาภและยศเป็นต้นเป็นเหตุอย่างหนึ่ง ด้วยเมถุนสังโยค 7 ประการอย่างหนึ่ง
จริงอย่างนั้น ในบรรดาอาบัติ 7 กอง สิกขาบทของภิกษุใดขาดเบื้องต้นหรือที่สุด ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น ศีลขาด เหมือนผ้าที่ขาดชาย ส่วนสิกขาบทของภิกษุใดขาดตรงกลาง ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น ศีลทะลุ เหมือนผ้าที่ทะลุกลางผืน สิกขาบทของ
(หน้าที่ 70)
ภิกษุใดขาดสอง, สาม สิกขาบทไปตามลำดับ ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่า ศีลด่าง เหมือนแม่โคมีสีเป็นสีด่างดำหรือด่างแดงเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยสีที่ไม่เหมือนกันซึ่งปรากฏขึ้นที่หลังหรือที่ท้อง สิกขาบทของภิกษุใดขาดเป็นตอน ๆ ไป ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น ศีลพร้อย เหมือนแม่โคลายเป็นจุดด้วยสีที่ไม่เหมือนกันเป็นระยะ ๆ ไป
ภาวะที่ศีลขาดเป็นต้นย่อมมีด้วยความแตกซึ่งมีลาภเป็นต้นเป็นเหตุ ด้วยประการดังอธิบายมานี้
เมถุนสังโยค 7
ภาวะที่ศีลขาดด้วยอำนาจแห่งเมถุนสังโยค 7 ประการ มีอรรถาธิบายดังจะบรรยายต่อไปนี้ จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ดังนี้ –
1. ดูก่อนพราหมณ์ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญญาณตนว่าเป็น พรหมจารีโดยชอบ หาได้ถึงซึ่งความร่วมกันสองต่อสองกับมาตุคามไม่ ก็แต่ว่ายังยินดี การลูบคลำ, การขัดสี, การให้อาบและการนวดของมาตุคาม เขายินดีต่อการปรารถนาต่อการบำเรอนั้น และถึงซึ่งความปลื้มใจด้วยการบำเรอนั้น ดูก่อนพราหมณ์ ความยินดีต่อการบำเรอแห่งมาตุคามนี้ จัดเป็นความขาดบ้าง ความทะลุบ้าง ความพร้อยบ้าง ของพรหมจรรย์ ดูก่อนพราหมณ์ สมณะหรือพราหมณ์นี้เรากล่าวว่า เขาประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมถุนสังโยค ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ ฯลฯ เรากล่าวได้ว่าเขาย่อมไม่พ้นจากทุกข์
2. ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญญาณตนว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ หาได้ถึงซึ่งความร่วมกันสองต่อสองกับมาตุคามไม่เลย แม้การลูบคลำ…. ของมาตุคามก็มิได้ยินดี ก็แต่ว่ายังกระซิกกระซี้เล่นหัวและยังล้อเลียนกับมาตุคามอยู่ เขายินดีต่อการกระซิกกระซี้เป็นต้นนั้น… เรากล่าวได้ว่าเขาย่อมไม่พ้นจากทุกข์
3. ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญญาณตนว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ หาได้ถึงความร่วมกันสองต่อสองกับมาตุคามไม่เลย แม้การลูบคลำ…. ของมาตุคามก็มิได้ยินดี ทั้งไม่กระซิกกระซี้ ไม่เล่นหัว ไม่ล้อเลียนกับมาตุคาม ก็แต่ว่ายังชอบเพ่งดูตาต่อตาของมาตุคาม เขายินดีต่อการเพ่งดูนั้น…. เรากล่าวได้ว่าเขาย่อมไม่พ้นจากทุกข์
(หน้าที่ 71)
4. ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้…. หาได้ถึงซึ่งความร่วมกันสองต่อสองกับมาตุคามไม่เลย แม้การลูบคลำของมาตุคามก็มิได้ยินดี ทั้งมิได้กระซิกกระซี้เล่นหัว ทั้งมิได้ล้อเลียนกับมาตุคาม ทั้งไม่ชอบเพ่งดูตาต่อตาของมาตุคาม ก็แต่ว่ายังชอบฟังเสียงของมาตุคาม หัวเราะอยู่ก็ดี พูดอยู่ก็ดี ร้องเพลงอยู่ก็ดี ร้องให้อยู่ก็ดี ภายนอกฝาหรือภายนอกกำแพงก็ตาม เขายินดีต่อเสียงนั้น…. เรากล่าวได้ว่าเขาย่อมไม่พ้นจากทุกข์
5. ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้…. หาได้ถึงซึ่งความร่วมกันสองต่อสองกับมาตุคามไม่เลย แม้การลูบคลำของมาตุคามก็มิได้ยินดี ทั้งมิได้กระซิกกระซี้เล่นหัว ทั้งมิได้ล้อเลียนกับมาตุคาม ทั้งไม่ชอบเพ่งดูตาต่อตาของมาตุคาม ทั้งไม่ชอบฟังเสียงมาตุคาม หัวเราะอยู่ก็ดี พูดอยู่ก็ดี ร้องเพลงอยู่ก็ดี ร้องไห้อยู่ก็ดี ภายนอกฝาหรือภายนอกกำแพงก็ตาม ก็แต่ว่ายังระลึกถึงซึ่งการหัวเราะและการพูดจาและการเล่นหัวกับมาตุคามในกาลก่อน เขายินดีต่อความเก่านั้น… เรากล่าวได้ว่าเขาย่อมไม่พ้นจากทุกข์
6. ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้…. หาได้ถึงซึ่งความร่วมกันสองต่อสองกับมาตุคามไม่เลย แม้การลูบคลำของมาตุคามก็มิได้ยินดี…. แม้การหัวเราะการพูดเล่นหัวกับมาตุคามในกาลก่อน ก็มิได้ระลึกถึง ก็แต่ว่าเขาเห็นคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี บำเรออยู่ด้วยกามคุณ 5 อย่างอิ่มเอิบเพียบพร้อม เขายินดีต่อการบำเรอนั้น…. เรากล่าวได้ว่าเขาย่อมไม่พ้นจากทุกข์
7. ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้…. หาได้ถึงซึ่งความร่วมกันสองต่อสองกับมาตุคามไม่เลย … หาได้เห็นคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี ผู้บำเรออยู่ด้วยกามคุณ 5 อย่างอิ่มเอิบเพียบพร้อมแล้วยินดีไม่ ก็แต่ว่าเขาประพฤติพรหมจรรย์โดยปรารถนาเป็นเทพนิกายเหล่าใดเหล่าหนึ่งว่า "เราจักเป็นเทวดาหรือเทพเจ้าตนใดตนหนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยพรตอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้" เขายินดีปรารถนาต่อความเป็นเทพนั้น และย่อมถึงซึ่งความปลาบปลื้มด้วยความเป็นเทวดานั้น ดูก่อนพราหมณ์ ความยินดีด้วยความเป็นเทวดาแม้นี้ จัดเป็นความขาดบ้าง ความทะลุบ้าง ความด่างบ้าง ความพร้อยบ้าง ของพรหมจรรย์ ฉะนี้แล
(หน้าที่ 72)
นักศึกษาพึงทราบว่า ภาวะที่ศีลขาดเป็นต้น ท่านสงเคราะห์ด้วยความแตกซึ่ง มีลาภเป็นต้นเป็นเหตุอย่างหนึ่ง ด้วยเมถุนสังโยค 7 ประการอย่างหนึ่ง ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้
ก็แหละ ภาวะที่ศีลไม่ขาดเป็นต้น ท่านสงเคราะห์ด้วยความไม่แตกแห่งสิกขาบททั้งหลายโดยสิ้นเชิง 1 ด้วยการกระทำคืนสิกขาบทที่ทำคืนได้ซึ่งแตกแล้ว 1 ด้วยความไม่มีเมถุนสังโยค 7 ประการ 1 ด้วยข้อปฏิบัติอื่น ๆ คือความไม่เกิดขึ้นแห่งบาปธรรมทั้งหลายมี อาทิ เช่น ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความริษยา ความตระหนี่ ความมารยา ความโอ้อวด ความหัวดื้อ ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความมัวเมา ความเลินเล่อ 1 ด้วยความบังเกิดขึ้นแห่งคุณทั้งหลายมีอาทิเช่น ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา 1
จริงอยู่ ศีลเหล่าใดแม้ไม่ขาดเพื่อต้องการลาภเป็นต้นก็ดี แม้ศีลที่ขาดไปด้วยโทษ คือความประมาทแต่กระทำคืนแล้วก็ดี ศีลที่อันเมถุนสังโยคหรือบาปธรรมทั้งหลายมีความ โกรธและความผูกโกรธเป็นต้น ไม่ได้เข้าไปทำลายแล้วก็ดี ศีลเหล่านั้นเรียกว่า ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย โดยประการทั้งปวง และศีลเหล่านั้นแหละ ชื่อว่า ภุชิสสะ เพราะสร้างความเป็นไท ชื่อว่า วิญญุปสัตถะ เพราะผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญ ชื่อว่า อปรามัฏฐะ เพราะตัณหาและทิฏฐิทั้งหลายไม่ถูกต้องแล้ว ชื่อว่า สมาธิสังวัตตนิกะ เพราะยังอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิให้เป็นไป เพราะเหตุนั้น อันภาวะที่ศีลไม่ขาดเป็นต้นนี้ นักศึกษาพึงทราบว่าเป็นความผ่องแผ้วของศีลทั้งหลายเหล่านั้น
ก็แหละ ความผ่องแผ้วนี้นั้น ย่อมสำเร็จได้ด้วยเหตุ 2 ประการ คือ ด้วยการ มองเห็นโทษแห่งศีลวิบัติ 1 ด้วยการมองเห็นอานิสงส์ของศีลสมบัติ 1
โทษแห่งศีลวิบัติ
ในเหตุ 2 ประการนั้น นักศึกษาพึงทราบโทษแห่งศีลวิบัติโดยสุตตันตนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งศีลวิบัติของภิกษุผู้ทุศีลมี 5 อย่างเหล่านี้
(หน้าที่ 73)
อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ทุศีล เพราะเหตุแห่งความเป็นผู้ทุศีล ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้อันเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายไม่พึงพร่ำสอน เป็นผู้มีทุกข์ในเพราะการครหาความเป็นผู้ทุศีล เป็นผู้มีความร้อนใจในเพราะการสรรเสริญของผู้มีศีลทั้งหลาย แหละเพราะความเป็นผู้ทุศีลนั้นเป็นเหตุ ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณหม่นหมอง เหมือนผ้าเปลือกไม้ ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมผัสหยาบ เพราะนำอบายทุกข์มาให้แก่คนทั้งหลายผู้ถึงซึ่งการเอาเยี่ยงอย่างของเขาตลอดกาลนาน ชื่อว่าเป็นผู้มีคุณค่าน้อย เพราะทำไม่ให้มีผลมาก แก่ผู้ที่ตนรับปัจจัยธรรมของเขา เป็นผู้ล้างให้สะอาดได้ยาก เหมือนหลุมคูถที่หมักหมมไว้นานปี เป็นผู้เสื่อมจากประโยชน์ทั้ง 2 เหมือนดุ้นฟืนเผาศพ ถึงแม้จะปฏิญญาณตนว่าเป็นภิกษุ ก็ไม่เป็นภิกษุอยู่นั่นแหละ เหมือนฬาที่ติดตามฝูงโค เป็นผู้หวาดสะดุ้งเรื่อย ๆ ไป เหมือนคนมีเวรอยู่ทั่วไป เป็นผู้ไม่ควรแก่การอยู่ร่วม เหมือนกเฬวรากของคนตาย แม้ถึงจะเป็นผู้ประกอบด้วยคุณธรรม มีสุตะเป็นต้นก็ตาม ยังเป็นผู้ไม่ควรแก่การบูชา ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายอยู่นั่นเอง เหมือนไฟในป่าช้าไม่ควรแก่การบูชาของพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ไม่ควรในอันที่จะบรรลุธรรมวิเศษเหมือนคนตาบอดไม่ควรในการดูรูป เป็นผู้หมดหวังในพระสัทธรรม เหมือนเด็กจัณฑาลหมดหวังในราชสมบัติ แม้ถึงจะสำคัญอยู่ว่าเราเป็นสุข ก็ชื่อว่าเป็นทุกข์อยู่นั่นเทียว เพราะเป็นผู้มีส่วนแห่งทุกข์ดังที่ตรัสไว้ใน อัคคิกขันธปริยายสูตร
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงประจักษ์แจ้งกรรมและวิบากของกรรมโดยประการทั้งปวง เมื่อจะทรงแสดงทุกข์อันเผ็ดร้อนยิ่งซึ่งมีความเป็นผู้ทุศีลนั้นเป็นปัจจัย อันสามารถจะทำความรุ่มร้อนแห่งใจให้เกิด แล้วบันดาลความกระอักเลือดอย่างสด ๆ ให้เป็นไป แม้เพียงแต่ระลึกถึง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ทุศีล มีจิตกำหนัดด้วยความยินดีในสุขอันเกิดแก่การบริโภคเบญจกามคุณ และสุขเกิดแต่การกราบไหว้การนับถือเป็นต้น จึงได้ตรัสพระพุทธโอวาทไว้ ดังนี้ –
อัคคิกขันธสูตร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นหรือไม่ โน่น กองไฟใหญ่ซึ่งติดลุกเป็นเปลวมีแสงโชติช่วงอยู่ พวกภิกษุกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า ตรัสต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
(หน้าที่ 74)
หลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ? คือการที่ภิกษุเข้าไปนั่งหรือเข้าไปนอน กอดกองไฟใหญ่ซึ่งลุกติดเป็นเปลวมีแสงโชติช่วงอยู่โน่น เป็นสิ่งประเสริฐหรือ หรือว่าการที่ภิกษุพึงเข้าไปนั่งหรือเข้าไปนอนสวมกอดนางสาวกษัตริย์ นางสาวพราหมณ์ หรือนางสาวคหบดี ผู้มีมือและเท้าอ่อนนุ่มเหมือนปุยนุ่น เป็นสิ่งประเสริฐเล่า ?
พวกภิกษุกราบทูลว่า การที่ภิกษุเข้าไปนั่งหรือเข้าไปนอนสวมกอดนางสาวกษัตริย์, นางสาวพราหมณ์หรือนางสาวคหบดี ผู้มีมือและเท้าอันอ่อนนุ่มนิ่มเหมือนปุยนุ่น นี้แหละเป็นสิ่งประเสริฐพระพุทธเจ้าข้า เพราะว่าการที่ภิกษุเข้าไปนั่งหรือเข้าไปนอนกอดกองไฟใหญ่ซึ่งติดลุกเป็นเปลวมีแสงโชติช่วงอยู่โน่นนั้น เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า
ตรัสต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะบอกเธอทั้งหลาย จะแนะนำเธอทั้งหลาย ให้รู้แจ้ง การที่พึงเข้าไปนั่งหรือเข้าไปนอนกอดกองไฟใหญ่ซึ่งติดลุกเป็นเปลวมีแสงโชติช่วงอยู่โน่นนี้นั้นแลเป็นสิ่งประเสริฐ สำหรับภิกษุนั้นผู้มีศีลเลว มีธรรมลามก มีความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ มีการงานเร้นลับ ไม่ใช่สมณะปฏิญญาณว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารีปฏิญญาณว่าเป็นพรหมจารี เป็นผู้เน่าใน ชุ่มโชกไปด้วยกิเลส รกเป็นหยากเยื่อ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุผู้ทุศีลนั้นจะพึงเข้าถึงความตายหรือความทุกข์ขนาดปางตาย เพราะมีการกอดกองไฟใหญ่นั้นเป็นเหตุก็ตาม ก็แต่ว่าเขาจะไม่พึงเข้าถึงอบาย, ทุคติ, วินิบาต, นรก, เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เพราะมีการกอดกองไฟใหญ่นั้นเป็นปัจจัย
ครั้นทรงแสดงทุกข์ซึ่งมีการบริโภคเบญจกามคุณอันเนื่องด้วยสตรีเป็นปัจจัย โดยอุปมาด้วยกองไฟอย่างนี้แล้ว จึงได้ทรงแสดงทุกข์ซึ่งมีการกราบไหว้การประนมมือ และการบริโภคจีวร, บิณฑบาต, เตียง, ตั่ง, วิหารเป็นปัจจัย โดยอุปมาด้วยเชือกขนหางสัตว์, หอกคม, แผ่นเหล็ก, ก้อนเหล็ก, เตียงเหล็ก, ตั่งเหล็กและหม้อเหล็กทั้งหลายเหล่านี้ว่า –
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร ? คือการที่บุรุษผู้มีกำลังเอาเชือกขนหางสัตว์ ชนิดที่มั่นเหนียวพันแข้งทั้งสองแล้วสีไปมา เชือกนั้นจะพึงตัดผิว ครั้นตัดผิวแล้วจะพึงตัดหนัง ครั้นตัดหนังแล้วจะพึงตัดเนื้อ ครั้นตัดเนื้อแล้วจะพึงตัดเอ็น ครั้นตัดเอ็นแล้วจะพึงตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูกแล้วจะพึงตัดจรดเยื่อกระดูก นี้เป็นสิ่งประ-
(หน้าที่ 75)
เสริฐหรือ หรือว่าการที่ภิกษุผู้ทุศีลพึงยินดีกราบไห้วของเหล่ากษัตริย์มหาศาลเหล่าพราหมณ์ มหาศาลหรือเหล่าคหบดีมหาศาล เป็นสิ่งประเสริฐเล่าหนอ ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร ? คือการที่บุรุษผู้มีกำลังเอาหอกอันคมซึ่งชะโลมด้วยน้ำมันทิ่มเข้าตรงกลางอก นี้เป็นสิ่งประเสริฐหรือ หรือว่าการที่ภิกษุผู้ทุศีลยินดีการประนมมือของเหล่ากษัตริย์มหาศาลเหล่าพราหมณ์มหาศาลหรือเหล่าคหบดีมหาศาล เป็นสิ่งประเสริฐเล่าหนอ ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร ? คือการที่บุรุษผู้มีกำลังจะพึงเอาแผ่นเหล็กที่ร้อน ไฟติดลุกเป็นเปลว มีแสงโชติช่วง มาหุ้มเข้ากับกาย นี้เป็นสิ่งประเสริฐหรือ หรือว่าการที่ภิกษุผู้ทุศีลพึงนุ่งห่มจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธาของเหล่ากษัตริย์มหาศาลเหล่าพราหมณ์หรือเหล่าคหบดีมหาศาล เป็นสิ่งประเสริฐเล่าหนอ ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร ? คือการที่บุรุษผู้มีกำลังเอาคีมเหล็กที่ร้อน ไฟติดลุกเป็นเปลว มีแสงโชติช่วง มางัดปากแล้ว พึงใส่ก้อนเหล็กที่ไฟติดลุกเป็นเปลวมีแสงโชติช่วงเข้าในปาก ก้อนเหล็กที่ร้อนนั้นจะพึงไหม้ริมฝีปากบ้าง ปากบ้าง ลิ้นบ้าง ลำคอบ้าง ท้องบ้าง ของภิกษุผู้ทุศีลนั้น พาเอาทั้งไส้ใหญ่ไส้น้อยออกมายังส่วนเบื้องล่าง นี้เป็นสิ่งประเสริฐหรือ หรือว่าการที่ภิกษุผู้ทุศีลพึงฉันบิณฑบาตที่เขาให้ด้วยศรัทธา ของเหล่ากษัตริย์มหาศาลเหล่าพราหมณ์มหาศาลหรือเหล่าคหบดีมหาศาลเป็นสิ่งประเสริฐเล่าหนอ ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร ? คือ บุรุษผู้มีกำลังจับที่ศรีษะหรือที่คอ แล้วพึงให้นั่งหรือให้นอนบนเตียงเหล็กหรือตั่งเหล็กที่ร้อน อันไฟติดลุกเป็นเปลวโชติช่วงอยู่ นั้นเป็นสิ่งประเสริฐหรือ หรือว่าการที่ภิกษุใช้ตั่งเหล็กที่เขาถวายด้วยศรัทธาของเหล่ากษัตริย์มหาศาล เหล่าพราหมณ์มหาศาล หรือเหล่าคหบดีมหาศาล เป็นสี่งประเสริฐเล่าหนอ ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร ? คือบุรุษผู้มีกำลัง จะพึงจับทำให้มีเท้าขึ้นเบื้องบนมีศรีษะลงเบื้องล่าง แล้วใส่ลงในหม้อเหล็กที่ร้อน อันไฟติดลุกเป็นเปลว มีแสงโชติช่วง เขาถูกต้มเดือดพล่านเป็นฟอง บางทีก็ลอยขึ้นมา บางทีก็พึงจม
(หน้าที่ 76)
ลงไป บางทีก็ลอยขวางไป นี้เป็นสิ่งประเสริฐหรือ หรือว่าการที่ภิกษุผู้ทุศีลจะพึงใช้วิหารที่เขาให้ด้วยศรัทธา ของเหล่ากษัตริย์มหาศาล เหล่าพราหมณ์มหาศาล หรือเหล่าคหบดีมหาศาล เป็นสิ่งประเสริฐเล่าหนอ ฯลฯ
เพราะเหตุนั้น นักศึกษาพึงทราบการมองเห็นโทษในศีลวิบัติ ด้วยการพิจารณามี อาทิอย่างนี้ว่า
ความสุขของภิกษุผู้มีศีลขาด ไม่สละกามสุขอันมีผลเป็นทุกข์เผ็ดร้อนยิ่งกว่าทุกข์ในการกอดกองไฟ จักมีแต่ที่ไหน
ความสุขในอันยินดีการกราบไหว้ ของภิกษุผู้มีศีลวิบัติ ผู้มีส่วนแห่งทุกข์ ยิ่งกว่าทุกข์ในการเสียดสีแห่งเชือกขนหางสัตว์อันมั่นเหนียว จักมีได้อย่างไรเล่า
ความสุขในการยินดีต่อการประณมมือ ของผู้มีศรัทธาทั้งหลาย ของภิกษุผู้ไม่มีศีล ผู้มีทุกข์อันมีประมาณยิ่งกว่าทุกข์เกิดแต่การทิ่มแทงด้วยหอก เหตุไรจึงจักมีได้เล่า
ความสุขในการบริโภคจีวร ของภิกษุผู้ไม่สำรวมแล้ว ผู้จะต้องเสวยสัมผัสแผ่นเหล็กอันลุกโชนในนรกสิ้นกาลนาน จักมีได้อย่างไร
สำหรับภิกษุผู้ไม่มีศีล แม้บิณฑบาตจะมีรสอร่อยก็เปรียบเหมือนยาพิษอันร้ายแรง เพราะมันเป็นเหตุให้กลืนกินก้อนเหล็กแดงตลอดกาลนาน
การใช้เตียงและตั่ง ของภิกษุผู้ไม่มีศีล ซึ่งจะต้องถูกเตียงและตั่งเหล็กอันลุกโชนเบียดเบียนตลอดกาลนาน แม้เขาจะสำคัญว่าเป็นสุข ก็ชื่อว่าเป็นทุกข์
จะน่ายินดีอะไร ในการอยู่ในวิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา สำหรับภิกษุผู้ทุศีล เพราะมันเป็นเหตุให้ต้องตกไปอยู่ในกลางหม้อเหล็กอันลุกโชน
(หน้าที่ 77)
พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นครูของโลก ได้ตรัสครหาภิกษุผู้ทุศีลว่า เป็นผู้มีความประพฤติน่ารังเกียจ รกเป็นอยากเยื่อ ชุ่มโชกไปด้วยกิเลส ลามกและเน่าใน
ทุด ! ทุด ! ชีวิตของภิกษุผู้ไม่สำรวมนั้น ทรงเพศสมณชน แต่ไม่ใช่สมณะ พาตนซึ่งถูกโค่นถูกขุดไปอยู่
สัตบุรุษผู้มีศีลทั้งหลายในโลกนี้ หลีกเว้นภิกษุผู้ทุศีลใด เหมือนพวกคนรักในการประดับตน หลีกเลี่ยงคูถหลีกเลี่ยงซากศพ ชีวิตของภิกษุผู้ทุศีลนั้น จะมีประโยชน์อะไร
ภิกษุผู้ทุศีล เป็นผู้ไม่พ้นจากภัยทั้งปวง กลับเป็นผู้พ้นจาก อธิคมสุขคือสุขอันตนจะพึงบรรลุอย่างสิ้นเชิง เป็นผู้มีประตูสวรรค์ อันถูกปิดสนิทแล้ว เลยไปขึ้นสู่ทางแห่งอบาย
บุคคลอื่นใครเล่า ที่จะเป็นที่ตั้งแห่งความกรุณาของบุคคลผู้มีความกรุณาเสมอเหมือนภิกษุผู้ทุศีล โทษแห่งความเป็นผู้ทุศีลมีมากอย่างหลายประการดังพรรณนามา ฉะนี้
ส่วนการมองเห็นอานิสงส์ของศีลสมบัติ โดยประการตรงกันข้ามจากประการที่กล่าวมาแล้ว นักศึกษาพึงทราบดังต่อไปนี้ –
อีกประการหนึ่ง
ศีลของภิกษุใดปราศจากมลทินดีแล้ว การทรงบาตรและจีวรของภิกษุนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่น่าเลื่อมใส บรรพชาของท่านก็เป็นสิ่งที่มีผล
ดวงหทัยของภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์แล้ว ย่อมไม่หยั่งลงสู่ภัย มีการติเตียนตนเองเป็นต้น เป็นเหมือนพระอาทิตย์ที่ไม่หยั่งลงสู่ความมืดมน
(หน้าที่ 78)
ภิกษุงามอยู่ในป่าเป็นที่บำเพ็ญตบะด้วยศีลสมบัติ เหมือนพระจันทร์งามในท้องฟ้าด้วยสมบัติคือรัศมี
แม้เพียงกลิ่นกายของภิกษุผู้มีศีล ก็ยังทำความปราโมชให้ แม้แก่ฝูงทวยเทพ ไม่จำต้องกล่าวถึงกลิ่นคือศีล
กลิ่น คือ ศีล ย่อมครอบงำสมบัติแห่งคันธชาติ คือของหอมทั้งหลายอย่างสิ้นเชิง ย่อมฟุ้งตลบไปทั่วทุกทิศไม่มีการติดขัด
สักการะทั้งหลายที่บุคคลกระทำแล้วในภิกษุที่มีศีล แม้จะเป็นของเล็กน้อย ก็ย่อมมีผลมาก ภิกษุผู้มีศีลย่อมเป็นภาชนะรองรับเครื่องบูชาสักการะ
อาสวะทั้งหลายในปัจจุบัน ก็เบียดเบียนภิกษุผู้มีศีลไม่ได้ ภิกษุผู้มีศีลย่อมขุดเสียซึ่งรากแห่งทุกข์อันจะพึงมีในชาติเบื้องหน้าทั้งหลาย
สมบัติอันใดในโลกมนุษย์ และสมบัติอันใดในโลกเทวดา สมบัติอันนั้น อันผู้มีศีลถึงพร้อมแล้วปรารถนาอยากจะได้ ก็เป็นสิ่งจะพึงหาได้โดยไม่ยาก
อนึ่ง นิพพานสมบัติอันสงบอย่างหาที่สุดมิได้นี้ใด ใจของผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว ย่อมแล่นตรงแน่วไปสู่นิพพานสมบัตินั้นนั่นเทียว
บัณฑิต พึงแสดงอานิสงส์อันมากหลายเป็นอเนกประการ ในศีลอันเป็นมูลแห่งสมบัติทั้งปวง โดยประการดังพรรณนามาแล้ว นั่นเถิด เพราะว่า เมื่อบัณฑิตแสดงอยู่โดยประการอย่างนั้น จิตใจก็จะหวาดเสียวแต่ศีลวิบัติแล้วน้อมไปหาศีลสมบัติได้
เพราะเหตุนั้น โยคีบุคคลครั้นมองเห็นโทษของศีลวิบัตินี้และมองเห็นอานิสงส์ของศีลสมบัตินี้ ตามที่ได้บรรยายมาแล้ว พึงชำระศีลให้ผ่องแผ้วด้วยความเอื้อเฟื้อ โดยประการทั้งปวง เทอญ
ก็แหละ โดยอรรถาธิบายเพียงเท่านี้ เป็นอันข้าพเจ้าได้แสดงแล้วซึ่ง ศีล อันเป็นประการแรก ในปกรณ์วิสุทธิมัคค ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ด้วยมุขคือศีล, สมาธิและปัญญาด้วยพระพุทธนิพนธคาถานี้ว่า –
นรชน ผู้มีปัญญา เป็นภิกษุ มีความเพียร มีปัญญาเครื่องบริหาร ตั้งตนไว้ในศีลแล้วทำสมาธิจิตและปัญญาให้เจริญอยู่ เธอจะพึงถางรกชัฏอันนี้เสียได้
สีลนิทเทส ปริจเฉทที่ 1
ในปกรณ์วิเสส ชื่อว่าวิสุทธิมรรค
อันข้าพเจ้ารจนาขึ้นเพื่อความปารโมชแห่งสาธุชน
ยุติลงด้วยประการฉะนี้
———————————–