อยู่ในระหว่างปรับสำนวน
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ตำราพุทธมีลำดับการศึกษาให้เข้าใจทะลุทะลวงดังนี้: ขอเป็นศิษย์ผู้มีฌานวสีทรงจำพระไตรปิฎกบาลี > ท่องจำบาลีตามลำดับซ้ำๆ ไม่ลืมทบทวนแม้จำได้แล้ว > สอบถามบาลี > ฟังคำอธิบายบาลี > ทรงจำทั้งหมด > ในระหว่างท่องจำก็พยายามปฏิบัติตามไปด้วยจนแตกฉาน. ผู้ที่ข้ามขั้นตอนเหล่านี้ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นไปได้ยากที่จะบรรลุอัปปนาทั้งโลกิยะและโลกุตตระในศาสนาพุทธได้ พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า "โมฆบุรุษ" เพราะว่างเปล่าจากอัปปนา (เรียบเรียงจากกีฏาคิริสูตร; ธัมมัญญูสูตร; สัจจบรรพะ อรรถกถามัคคนิทเทส; วิสุทธิมรรค กัมมัฏฐานคหณนิทเทส)
จากเรื่องพระจักขุปาลเถรวัตถุ
พระจักขุบาลท่านไปอยู่กับอุปัชฌาย์จารย์ ซึ่งเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกบางส่วน เคร่งครัดวินัย จบหลักสูตรภิกขุปริสูปัฏฐาปกะสอนหลักสูตรนิสสยมุจจกะให้พระนวกะได้.
ในอรรถกถาขุททกปาฐะ กล่าวไว้มีใจความว่า การสังคายนาครั้งที่ 1 พระอรหันต์ 500 รูปได้รวบรวมพระสูตรบทเล็กๆ ที่นิยมใช้เริ่มเรียนเริ่มสอนกันในสมัยพุทธกาล ไว้ให้ผู้ใหม่ได้ท่องจำและทำความเข้าใจ เรียกว่า ขุททกปาฐะ มี 9 ข้อ คือ ไตรสรณคมน์, ศีล 10, อาการ 32, กุมารปัญหา, มงคล 38, รตนสูตร, นิธิกัณฑสูตร, ติโรกุฑฒสูตร, เมตตสูตร.
ในอรรถกถาโอวาทกสิกขาบท กล่าวไว้สรุปความว่า:
พระจักขุบาลอยู่ครบ 5 ปี ฝึกฝนทุกอย่างครบ จบหลักสูตรนิสสยมุจจกะ หลังจากนั้น ท่านพระจักขุบาลจึงถึงขั้นตอนที่จะพิจารณาว่า จะทำคันถะธุระ หรือวิปัสสนาธุระ?
คันถธุระ ในเรื่องนั้น คือ หลังจากจบหลักสูตรนิสสยมุจจกะแล้ว ถ้ายังไม่บรรลุ ยังหนุ่มอยู่ก็ไปท่องจำพระไตรปิฎก ทำความเข้าใจอรรถกถา บอกสอน 1 นิกายบ้าง 2 นิกายบ้าง หรือ พระไตรปิฎกทั้งหมดบ้าง.
วิปัสสนาธุระ ในบาลีนั้น คือ หลังจากจบหลักสูตรนิสสยมุจจกะแล้ว ถ้ายังไม่บรรลุ ก็ทิ้งทุกอย่าง (สลฺลหุกวุตฺติ) ไปอยู่ในเสนาสนะไกลจากกามคุณ 5 แล้วทำขยวยญาณ (อุทยัพพยญาณเป็นต้นไป) ด้วยใจเด็ดเดี่ยวสละชีวิตได้ เจริญวิปัสสนา ให้บรรลุอรหัตตมรรค.
ทั้งสองอย่างต้องท่องจำ คือ คันถธุระต้องท่องจำพระสูตรตามลำดับทั้งนิกายดังกล่าวแล้ว, ส่วนวิปัสสนาธุระต้องท่องจำกรรมฐานที่ใช้ปฏิบัติ.
สุดท้ายท่านจักขุบาลเลือกวิปัสสนาธุระ.
จะเห็นได้ว่า แม้จะเลือกเป็นวิปัสสนาธุระ ก็ต้องเรียนพระไตรปิฎกไม่น้อยเลย. และเป็นข้อบังคับมาจากพระไตรปิฎกอรรถกถาเองด้วย ท่านหรืออาจารย์ของท่าน ไม่ได้คิดขึ้นเอง, ทุกอย่างมีอธิบายในพระวินัยปิฎก และอรรถกถา.
ในอดีตสายพระป่าโบราณก็ศึกษาคล้ายๆ กันนี้, และปัจจุบัน การศึกษาแบบนี้ ยังมีอยู่ที่วัดสาย Pa-Auk ที่พม่าเป็นต้น.
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=1#เรื่องพระจักขุปาลเถระ
การเรียนในปัจจุบันแตกต่างจากสมัยโบราณมาก, เริ่มมาจาก
จากเรื่องของระบบการศึกษาแบบโบราณข้างต้น จะเห็นได้ว่า พระบารมีของพระโพธิสัตว์ได้เลือกเกิดในประเทศที่มีคุณสมบัติในการสืบทอดคำสอน ดังต่อไปนี้:
แต่ภาษาไทยและภาษาในคาบสมุทรอินโดจีนไม่ใช่ภาษาที่รองรับสภาวธรรม ทำให้มีปัญหาในการส่งผ่านความรู้จากรุ่นสู่รุ่น เช่น คนยุค 2561 แทบจะอ่านบุพพสิกขาวรรณนาไม่รู้เรื่องแล้ว.
ไปวัดฟังพระแบบอนาถปิณฑิกะ
รูปแแบใหม่ อ่านกันเอง ฟังไฟล์เสียง