{{template:วสธมฉปส head| }} {{template:ฉบับปรับสำนวน head|}} =อุปักกิเลสวิมุตตอุทยัพพยญาณกถา= '''ปริจเฉทที่ 21 ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส''' '''แสดงบรรยายความบริสุทธิ์ของความรู้และความเห็นในทางปฏิบัติถูก''' '''[4. (ข) พลวอุทยพยญาณ หรือ อุทยพยญาณอย่างแก่]''' ''(หน้าที่ 332)'' แต่ทว่า วิปัสสนาที่บรรลุถึงยอดด้วยญาณ 8 และสัจจานุโลมิกญาณ อันดับที่ (9) นี้ เรียกชื่อว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์ของความรู้และความเห็นในทางปฏิบัติถูก และในคำว่า "ญาณ 8" นี้ พึงทราบไว้ว่า หมายถึงญาณ 8 เหล่านี้คือ 4. อุทยพยานุปัสสนาญาณ (อย่างแก่) ซึ่งเรียกว่า วิปัสสนาที่พ้นจาก อุปกิเลสดำเนินไปตามวิถี (ของวิปัสสนา) (1) 5. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการเห็นเนือง ๆ ซึ่งความดับ(2) 6. ภยตุปัฏฐานญาณ ญาณกำหนดรู้โดยปรากฏเป็นของน่ากลัว (3) 7. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการเห็นเนือง ๆ ซึ่งโทษชั่วร้าย (4) 8. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการเห็นเนือง ๆ ด้วยความเบื่อหน่าย (5) 9. มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยความปรารถนาจะพ้นไป (6) ''(หน้าที่ 333)'' 10. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการเห็นเนือง ๆ โดยพิจารณาทบทวน (7) 11. สังขารุเปกขาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการวางเฉยในสังขาร (8) '''คำว่า "สัจจานุโมลิกญาณ อันดับที่ (9)" นั้นเป็นคำเรียก อนุโลมญาณ เพราะฉะนั้นโยคาวจรผู้ปรารถนาบรรลุอนุโลมญาณนั้น จะต้องกระทำโยคะในญาณทั้งหลายดังกล่าวนี้ตั้งแต่ อุทยพยญาณ (อย่างแก่) ซึ่งพ้นแล้วจากอุปกิเลส เป็นต้นไป''' หากมีคำถามว่า กระทำโยคะในอุทยพยญาณต่อไปอีก มีประโยชน์อะไร ? (ตอบ) มีประโยชน์ในการกำหนดรู้ (พระไตร) ลักษณ์ เพราะว่า อุทยพยญาณในตอนต้น ๆ (อย่างอ่อน) เป็นญาณที่ถูกอุปกิเลส 10 ทำให้มัวหมอง ไม่สามารถกำหนดรู้พระไตรลักษณ์โดยหน้าที่ของตนตามเป็นจริงได้ แต่อุทยพยญาณ (อย่างแก่) ที่พ้นจากอุปกิเลสแล้ว สามารถกำหนดรู้ (พระไตรลักษณ์) ได้เพราะฉะนั้น โยคาวจรจึงต้องทำโยคะในอุทยพยญาณนี้ต่อไปอีก เพื่อกำหนดรู้ (พระไตร) ลักษณ์ (ถามว่า) แต่ทว่า พระไตรลักษณ์ทั้งหลาย ก็ยังมิปรากฏ เพราะอะไรปิดบังไว้ ? เพราะไม่มนสิการอะไร ? (ตอบว่า) ก่อนอื่น อนิจจลักษณะไม่ปรากฏเพราะสันตติปิดบังไว้ เพราะไม่มนสิการความเกิดและความดับ ทุกขลักษณะไม่ปรากฏเพราะอิริยาบถทั้งหลายปิดบังไว้ เพราะไม่มนสิการความเบียดเบียนเฉพาะหน้าเนือง ๆ อนัตตลักษณะไม่ปรากฏเพราะแท่ง (หรือก้อน) ปิดบังไว้ เพราะไม่มนสิการถึงความสลายตัวของธาตุต่าง ๆ แต่ว่า เมื่อโยคาวจร กำหนดรู้ความเกิดและความดับแล้วเพิกถอนสันตติออกไป อนิจจลักษณะก็ปรากฏ โดยหน้าที่ของตนตามเป็นจริง เมื่อมนสิการความเบียดเบียนเฉพาะ ''(หน้าที่ 334)'' '''หน้าเนือง ๆ แล้วเพิกถอนอิริยาบถ ทุกขลักษณะก็ปรากฏ โดยหน้าที่ของตนตามเป็นจริง เมื่อกระจายธาตุต่าง ๆ ออกไป แล้วทำการกระจายความเป็นก้อน (เป็นแท่ง เป็นกลุ่ม) ออกไป อนัตตลักษณะก็ปรากฏ''' '''[วิภาค 6]''' '''อนึ่ง โยคี ควรทราบวิภาค (คือ การจำแนก) ในลักษณะทั้ง 3 นี้ไว้ ดังนี้คือ''' 1. อนิจจะ ความไม่เที่ยง 2. อนิจจลักษณะ ลักษณะของความไม่เที่ยง 3. ทุกขะ ความเป็นทุกข์ 4. ทุกขลักษณะ ลักษณะของความเป็นทุกข์ 5. อนัตตา ความไม่มีอัตตา 6. อนัตตลักษณะ ลักษณะของความไม่มีอัตตา '''ในวิภาคนั้น''' 1. ขันธ์ 5 ชื่อว่า อนิจจะ (ถาม) เพราะเหตุไร ? (ตอบ) เพราะเกิดขึ้น ดับไป และมีความเป็นอย่างอื่น หรือว่า เพราะมีแล้วหามีไม่ (ได้แก่ เพราะเกิดแล้วดับไป) 2. ความเกิดขึ้น ดับไป และความเป็นอย่างอื่น เป็น อนิจจลักษณะ หรือว่าอาการและพิการ กล่าวคือ ความมีแล้วหามีไม่ (เกิดแล้วดับไป) เป็นอนิจจลักษณะ 3. แต่ขันธ์ 5 นั้นนั่นแลเป็น ทุกขะ เพราะมีพระพุทธดำรัสอยู่ว่า "ยทนิจฺจํ ตํทุกฺขํ - สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์" เพราะเหตุไร ? เพราะเบียดเบียนเฉพาะหน้าเนือง ๆ ''(หน้าที่ 335)'' 4. อาการเบียดเบียนเฉพาะหน้าเนือง ๆ เป็น ทุกขลักษณะ 5. และขันธ์ 5 นั้นนั่นเอง ชื่อว่าเป็น อนัตตา เพราะมีพระพุทธดำรัสอยู่ว่า "ยํ ทุกฺขํ ตทนตฺตา - สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา" เพราะเหตุไร ? เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ 6. อาการไม่เป็นไปในอำนาจ เป็น อนัตตลักษณะ โยคาวจรนี้กำหนดรู้วิภาคนี้นั้นอยู่แม้ทั้งหมด ด้วย อุทยพยญาณ (อย่างแก่) ที่ท่านเรียกว่า วิปัสสนาซึ่งพ้นไปแล้วจากอุปกิเลส ดำเนินไปตามวิถี โดยหน้าที่ของตนตามเป็นจริง '''จบ อุปักกิเลสวิมุตตอุทยัพพยญาณกถา''' =ภังคานุปัสสนาญาณกถา= เมื่อโยคาวจรนั้นกำหนดรู้อย่างนี้แล้วชั่งใจ ไตร่ตรองรูปธรรมและอรูปธรรม (รูปและนาม) ทั้งหลายว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อยู่แล้ว ๆ เล่า ๆ ญาณนั้นกำดำเนินไปแก่กล้า สังขารทั้งหลายก็ปรากฏรวดเร็ว เมื่อญาณดำเนินไปแก่กล้า เมื่อสังขารทั้งหลายปรากฏรวดเร็ว ญาณก็ตามไม่ทันความเกิดขึ้น หรือความตั้งอยู่ หรือความเป็นไป หรือนิมิต (ของสังขารทั้งหลาย) สติ (คือญาณ) ก็ตั้งมั่นอยู่ในนิโรธคือความสิ้นไป ความเสื่อมไปและความแตกทำลายไปแต่อย่างเดียว '''[บาลีอธิบายความภังคานุปัสสนาญาณ]''' เมื่อโยคาวจรนั้นเห็นอยู่ว่า "สังขารเกิดขึ้นอย่างนี้ แล้วดับไปอย่างนี้ เป็นธรรมดา" ดังนี้ วิปัสสนาญาณชื่อ ภังคานุปัสสนา ก็เกิดขึ้น ณ ที่ตรงนี้ ซึ่งท่านกล่าวระบุถึงไว้ (ในบาลีปฏิสัมภิทามรรค) แปลความว่า "ปัญญาในการกำหนดรู้อารมณ์แล้วเห็นเนือง ๆ ซึ่งความดับ คือ วิปัสสนาญาณ" ''(หน้าที่ 336)'' "จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วดับไป โยคีกำหนดรู้อารมณ์นั้นแล้วเห็นอยู่เนือง ๆ ซึ่งความดับของจิตนั้น ที่ว่า "เห็นเนือง ๆ" คือ เห็นเนือง ๆ อย่างไร คือ เห็นเนือง ๆ โดยความไม่เที่ยง มิใช่เห็นเนือง ๆ โดยความเป็นของเที่ยง เห็นเนือง ๆ โดยความเป็นทุกข์ มิใช่เห็นเนือง ๆ โดยความเป็นสุข เห็นเนือง ๆ โดยความเป็นอนัตตา มิใช่เห็นเนือง ๆ โดยความเป็นอัตตา เบื่อหน่ายอยู่ มิใช่เพลิงเพลินยินดี ปราศจากความกำหนด มิใช่กำหนดอยู่ ดับไปมิใช่ให้เกิดขึ้น สลัดทิ้งไป มิใช่ยึดถือไว้ เมื่อเห็นเนือง ๆ โดยความไม่เที่ยง ก็ละนิจจสัญญา (คือความสำคัญว่าเที่ยง) เสียได้ เมื่อเห็นเนือง ๆ โดยความเป็นทุกข์ ก็ละสุขสัญญา (คือความสำคัญว่าเป็นสุข) เสียได้ เมื่อเห็นเนือง ๆ โดยเป็นอนัตตา ก็ละอัตตสัญญา (คือความสำคัญว่ามีอัตตา) เสียได้ เมื่อเบื่อหน่าย ก็ละความเพลิงเพลินยินดี เมื่อปราศจากความกำหนัดก็ละความกำหนัด เมื่อดับ ก็ละสิ่งเป็นแดนเกิด เมื่อสลัดทิ้งไป ก็ละความยึดถือไว้ "จิตมีเวทนาเป็นอารมณ์......... "จิตมีสัญญาเป็นอารมณ์........ "จิตมีสังขารเป็นอารมณ์........ "จิตมีวิญญาณเป็นอารมณ์....... "จิตมีจักษุเป็นอารมณ์......... ฯลฯ "จิตมีชราและมรณะเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้วดับไป......ฯลฯ.......เมื่อโยคีสลัดทิ้งไปก็ละความยึดถือไว้" การย้ายไปสู่วัตถุที่ตั้ง การคงที่อยู่ในสัญญาและมีกำลังเข็มแข็งในการนึกคิด ชื่อว่า ปฏิสังขาวิปัสสนา ความเห็นแจ้งด้วยการกำหนดรู้) การกำหนดรู้อารมณ์ทั้ง 2 โดยสภาวะอันเดียวกันโดยดำเนินไปตามอารมณ์นั่นแล คือความน้อมจิตไปมรนิโรธ ชื่อว่า วยลักขณวิปัสสนา (คือความเห็นแจ้งลักษณะของความดับ) ภิกษุกำหนดรู้อารมณ์ 1 และเห็นเนือง ๆ ซึ่งความดับ 1 ความปรากฏโดยความว่างเปล่า 1 ชื่อว่าอธิปัญญาวิปัสสนา (คือความเห็นแจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่ง) ''(หน้าที่ 337)'' ภิกษุผู้ฉลาดในอนุปัสสนา 3 และในวิปัสสนา 4 ไม่หวั่นไหวในทิฏฐิ ต่าง ๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในอุปัฏฐาน 3 "การกำหนดรู้ ชื่อว่า ญาณ โดยความหมายว่า รู้แล้ว ชื่อว่า ปัญญา โดยความหมายว่า รู้ทั่ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดรู้อารมณ์แล้วเห็นอยู่เนือง ๆ ซึ่งความดับ ชื่อว่า วิปัสสนาญาณ" '''[อธิบายความในบาลีปฏิสัมภิทามรรค]''' ในบาลีนั้น คำว่า "กำหนดรู้อารมณ์" ความว่า กำหนดแล้วรู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหมายความว่า เห็นอารมณ์ไร ๆ โดยความสิ้นไป โดยความเสื่อมไป คำว่า "ปัญญาในการ.......เห็นเนือง ๆ ซึ่งความดับ" ความว่า ปัญญาใดในการเห็นอยู่เนือง ๆ ซึ่งความดับของญาณที่เกิดขึ้น กำหนดรู้อารมณ์โดยความสิ้นไป โดยความเสื่อมไปนั้น นี้ท่านกล่าวว่า ญาณในวิปัสสนา คำถามด้วยมุ่งหมายเพื่อจะกล่าวตอบ (กเถตุกัมยตาปุจฉา) ว่า วิปัสสนาญาณนั้นเป็นอย่างไร มีเนื้อความดัง (กล่าวมา) นี้ก่อน จากนั้น เพื่อแสดงอาการที่ญาณนั้นเป็นไป ท่านจึงกล่าวคำบาลีว่า "รูปารมฺมณตา มีรูปเป็นอารมณ์" ดังนี้เป็นต้น ในบาลีนั้น คำว่า "จิตมีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้วดับไป หมายความว่า จิตมีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้ว ก็แตกสลายไป อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่าจิตเกิดขึ้นในความมีรูปเป็นอารมณ์แล้วแตกดับไป คำว่า "กำหนดรู้อารมณ์นั้น" หมายความว่า กำหนดรู้อารมณ์คือรูปนั้น อธิบายว่า เห็นอารมณ์คือรูปนั้นโดยความสิ้นไป โดยความเสื่อมไป คำว่า "เห็นอยู่เนือง ๆ ซึ่งความดับของจิตนั้น" อธิบายว่า เห็นอารมณ์คือรูปนั้น โดยความสิ้นไป โดยความเสื่อมไป ด้วยจิตดวงใดแล้ว โยคาวจรเห็นเนือง ๆ ซึ่งความดับของจิตดวงนั้นด้วยจิตดวงอื่น เพราะฉะนั้น ท่านพระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า "โยคาวจรเห็นแจ้งอยู่ซึ่งอารมณ์ที่รู้แล้วด้วย ซึ่งญาณด้วย แม้ทั้ง 2 อย่าง" ''(หน้าที่ 338)'' '''[ความหมายของคำว่า "เห็นเนือง ๆ"]''' อนึ่ง คำว่า "อนุปสฺสติ - เห็นเนือง ๆ" ในบาลีนี้ หมายความว่า ตามเห็นเนือง ๆ อธิบายว่าเห็นแล้วเห็นอีก โดยอาการหลายอย่าง เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า "ที่ว่าเห็นเนือง ๆ คือ เห็นเนือง ๆ อย่างไร ? คือเห็นเนือง ๆ โดยความไม่เที่ยง" ดังนี้เป็นต้น ในอาการหลายอย่างนั้น เพราะเหตุที่ที่สุดของความไม่เที่ยง ชื่อว่าภังคะ (คือความดับ) ฉะนั้นโยคาวจรผู้เห็นเนือง ๆ ซึ่งความดับ ผู้นั้นจึงเห็นอยู่เนือง ๆ ซึ่งสังขารทั้งปวงโดยความไม่เที่ยง มิใช่เห็นเนือง ๆ โดยความเที่ยง แต่นั้น ก็เห็นอยู่เนือง ๆ ซึ่งสังขารทั้งปวงนั้นนั่นแล โดยความเป็นทุกข์มิใช่เห็นเนือง ๆ โดยความเป็นสุข เห็นเนือง ๆ โดยความเป็นอนัตตา มิใช่เห็นเนือง ๆ โดยความเป็นอนัตตา เพราะความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเพราะความเป็นทุกข์ เป็นอัตตา อนึ่ง เพราะเหตุที่สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอัตตา ไม่พึงยินดีพอใจสิ่งนั้น และสิ่งใดที่ไม่พึงยินดีพอใจ ไม่พึงกำหนดในสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น โยคาวจรจึงเบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลินยินดีปราศจากกำหนัด ไม่กำหนัดในสังขารที่ตนเองเห็นแล้วว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานี้ โดยการรำลึกตามการเห็นเนือง ๆ ซึ่งความดับ เมื่อโยคาวจรนั้นไม่กำหนัดอยู่อย่างนี้ ก็ทำความกำหนัด (ราคะ) ให้ดับไป มิให้เกิดขึ้น อธิบายว่า กระทำมิให้เกิดขึ้น ด้วยญาณชั้นโลกีย์เท่านั้นเอง อีกประการหนึ่ง โยคาวจรนั้นเป็นผู้ปราศจากกำหนัดอย่างนี้แล้ว ทำสังขารที่ตนเห็นแล้ว ให้ดับไป มิให้เกิดขึ้น ฉันใด ก็ทำสังขารแม้ที่มิได้เห็นให้ดับไป มิให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจญาณโดยลำดับ เหมือนกันฉันนั้น อธิบายว่า มนสิการโดยความดับอย่างเดียว คือว่าเห็นแต่ความดับอย่างเดียวของสังขารนั้น ไม่เห็นความเกิด เมื่อโยคาวจรผู้นั้น ปฏิบัติถึงอย่างนี้แล้ว ก็สลัดทิ้งไป ไม่ยึดถือไว้ (ถามว่า) คำที่กล่าวมานั้น หมายความอย่างไร ? (ตอบว่า) อนุปัสสนา (คือความเห็นเนือง ๆ) มี อนิจจานุปัสสนา (คือความเห็นเนือง ๆ โดยความไม่เที่ยง) เป็นต้น แม้นี้ ท่านเรียกไว้ (2 อย่างคือ) ว่า "ปริจฺจาคปฏินิสฺสคฺโค - การสลัดทิ้งไปด้วยการสละ" เพราะสละกิเลสทั้งหลายพร้อมทั้งขันธ์และอภิสังขารทั้งหลายด้วยตทังคปหาน (ละชั่วคราว) อย่าง 1 เรียกว่า "ปกฺขนฺทนปฏินิสฺสคฺโค - การสลัดทิ้งไปด้วยการแล่นเข้าไป" เพราะแล่นเข้าไปในพระนิพพานอันตรงข้ามกับสังขตธรรมนั้น โดยความน้อมไปในพระนิพพานนั้น ด้วยการเห็นโทษของสังขตธรรมอย่าง 1 เพราะฉะนั้น ''(หน้าที่ 339)'' '''พระภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนามีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้นนั้น จึงสละกิเลสทั้งหลายได้ด้วยและแล่นเข้าไปในพระนิพพานด้วย โดยนัยดังกล่าวแล้ว อีกทั้งไม่ยึดถือกิเลสทั้งหลายไว้ด้วยการทำให้เกิด ไม่ยึดถืออารมณ์แห่งสังขตธรรม ด้วยความเป็นผู้ไม่เห็นโทษ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า "สลัดทิ้งไป ไม่ยึดถือไว้"''' ณ บัดนี้ เพื่อจะแสดงการละธรรมทั้งหลายที่เหลือ ซึ่งละได้ด้วยญาณทั้งหลายของพระภิกษุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า "เมื่อเห็นเนือง ๆ โดยความไม่เที่ยง ก็ละนิจจสัญญาเสียได้" ดังนี้เป็นต้น คำว่า "นันทิ – ความเพลิดเพลินยินดี" ในบาลีนั้น ได้แก่ ตัณหาประกอบด้วยปีติคำนอกนั้นมีนัยดังกล่าวมาแล้วนั่นแล ส่วนในคาถา (บาลี) ทั้งหลาย คำว่า "การย้ายไปสู่วัตถุที่ตั้ง" หมายความว่า เห็นความดับของรูปแล้ว ความดับ (นั้น) เห็นด้วยจิตดวงใด ย้ายไปสู่วัตถุที่ตั้งอื่น จากวัตถุที่ตั้งเดิม ด้วยการเห็นความดับของจิตแม้ดวงนั้นต่อไปอีก คำว่า "คงที่อยู่ในสัญญา" หมายความว่า ละความเกิดเสีย และตั้งแน่วแน่อยู่แต่ในความดับ คำว่า "มีกำลังเข็มแข็งในการนึกคิด" หมายความว่า มีความสามารถในความนึกคิดติดต่อกันไปไม่มีหยุดคั่นเลย เพื่อเห็นความดับของรูปแล้ว จะได้เห็นความดับของจิต ซึ่งมีความดับ (ของรูปนั้น) เป็นอารมณ์ต่อไปอีก คำว่า "ปฏิสังขารวิปัสสนา" หมายความว่า การกำหนดรู้อารมณ์ (ดังกล่าว) นี้ ชื่อว่า ภังคานุปัสสนา คำว่า "การกำหนดรู้อารมณ์ทั้งสองโดยสภาวะอันเดียวกันโดยดำเนินไปตามอารมณ์นั่นแล" อธิบายว่า กำหนดรู้อารมณ์ทั้งสองโดยสภาวะอย่างเดียวกันนั่นแล อย่างนี้ว่า "สังขาร (ในปัจจุบัน) นี้ แตกดับอยู่ ฉันใด สังขารแม้ในอดีต ก็แตกกับไปแล้ว สังขารแม้ในอนาคต ก็จักแตกดับไปฉันนั้น" ดังนี้ โดยการดำเนินไป คือ โดยลำดับของอารมณ์ที่ตนเห็นโดยประจักษ์ เรื่องนี้ แม้ท่านพระโบราณาจารย์ทั้งหลายก็กล่าวไว้แล้วว่า '''สํวิชฺชมานมฺหิ วิสุทฺธทสฺสโน''' ตทนฺวยํ เนติ อตีตนาคเต สพฺเพปิ สงฺขารคตา ปโลกิใน อุสฺสาวพินฺทู สุริเยว อุคฺคเต. ''(หน้าที่ 340)'' '''แปลความว่า''' พระภิกษุผู้มีทัสสนะบริสุทธิ์ในสังขารซึ่งมีอยู่ในปัจจุบัน ผู้นี้ นำเอาทัสสนะอันบริสุทธิ์นั้นแลไปในสังขาร ซึ่งเป็นอดีต และอนาคตด้วยสังขารทั้งหลายแม้ทั่วทั้งปวงมีปรกติแตกสลายไป เหมือนหยดน้ำค้าง เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นมาก็สลายไป ฉะนั้น คำว่า "ความน้อมจิตไปในนิโรธ" หมายความว่า ทำการกำหนดรู้อารมณ์ทั้งสองโดยสภาวะอย่างเดียวกัน ด้วยความดับอย่างนั้นแล้ว น้อมจิตไปในนิโรธกล่าวคือความดับนั้นแต่อย่างเดียว อธิบายว่า ความเป็นผู้หนักไปในความดับนั้น น้อมไปในความดับนั้น โอนไปในความดับนั้น โน้มเอียงไปในความดับนั้น คำว่า "วยลักขณวิปัสสนา" ท่านกล่าวว่า การกำหนดรู้ (ดังกล่าว) นี้ ชื่อว่า ยลักขณวิปัสสนา (คือความเห็นแจ้งลักษณะของความดับ) คำว่า "กำหนดรู้อารมณ์ 1" หมายความว่า รู้อารมณ์มีรูปเป็นต้นที่มีอยู่ก่อน 1 คำว่า "เห็นเนือง ๆ ซึ่งความดับ 1" หมายความว่า เห็นความดับของอารมณ์นั้นแล้ว ยังเห็นเนือง 0 ซึ่งความดับของจิตซึ่งมีความดับนั้นเป็นอารมณ์ด้วย คำว่า "ความปรากฏโดยความว่างเปล่า 1" หมายความว่า เมื่อโยคาวจรนั้นเห็นอยู่เนือง 0 ซึ่งความดับอย่างนั้น ความปรากฏโดยความว่างเปล่า ก็ปรากฏชัดแจ้งว่า "สังขารทั้งหลายนั่นเอง แตกดับไป การแตกดับของสังขารทั้งหลายนั้นเป็นความตาย ไม่มีใคร ๆ อื่น" ดังนี้ เพราะฉะนี้ ท่านพระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า ขนฺธา นิรุชฺฌนฺติ น จตฺถิ อญฺโญ ขนฺธาน เภโท มรณนฺติ วุจฺจติ เตสํ ขยํ ปสฺสติ อปฺปมตฺโต อณึว วิชฺฌํ วชิเรน โยนิโส. '''แปลความว่า''' ขันธ์ทั้งหลายดับไป ไม่มีใครอื่น ความแตกดับของขันธ์ ทั้งหลาย เขาเรียกว่าความตาย โยคีผู้ไม่ประมาท เห็นอยู่ซึ่ง ความแตกดับของขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยอุบายที่แยบคาย เหมือนช่างเจียระไน เห็นแก้วมณีที่ตนเจาะอยู่ด้วยเพชร ฉะนั้น ''(หน้าที่ 341)'' คำว่า "อธิปัญญาวิปัสสนา" ท่านกล่าวว่า ความกำหนดรู้อารมณ์ 1 การเห็นเนือง ๆ ซึ่งความดับ 1 การปรากฏโดยความว่างเปล่า 1 (3 อย่าง) นี้ ชื่อว่า อธิปัญญาวิปัสสนา (ความเห็นแจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่ง) คำว่า "ผู้ฉลาดในอนุปัสสนา 3" คือว่า พระภิกษุผู้ฉลาดในอนุปัสสนา 3 มีอนิจจานุปัสสนา เป็นต้น คำว่า "และในวิปัสสนา 4" ได้แก่ ในวิปัสสนา 4 มีนิพพิทานุปัสสนาเป็นต้น คำว่า "เพราะความเป็นผู้ฉลาดในอุปัฏฐาน 3" ความว่าเพราะความเป็นผู้ฉลาดในอุปัฏฐาน คือ ความปรากฏ 3 อย่างนี้ด้วย คือ (ความปรากฏ) โดยความสิ้นไป 1 โดยความเสื่อมไป 1 โดยความว่างเปล่า 1 คำว่า "ไม่หวั่นไหวในทิฏฐิต่าง ๆ" ความว่า ไม่ส่ายไปในทิฏฐิทั้งหลายมีประการต่าง ๆ มีสัสวตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) เป็นต้น เมื่อโยคาวจรนั้นไม่ส่ายมาอย่างนี้ เป็นผู้มีมนสิการดำเนินไปว่า "สิ่งที่ยังไม่ดับนั่นแลดับอยู่ สิ่งที่ยังไม่แตกนั่นแลแตกอยู่" ละความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความเป็นไปและนิมิตของสังขารทั้งหลายทั้งปวงเสีย เห็นแต่ความแตกดับอย่างเดียว ประดุจบุคคลเห็นการแตกของภาชนะบอบบางกำลังแตกอยู่ เห็นการแตกกระจายของฝุ่นละอองที่กำลังปลิวว่อนอยู่ เห็นการแตกของเมล็ดงาที่กำลังถูกคั่วอยู่ โยคาวจรนั้นเห็นอยู่ว่า "สังขารทั้งหลายทั้งปวง กำลังแตกดับอยู่ เหมือนบุรุษผู้มีดวงตา ยืนอยู่ ณ ริมฝั่งสระโบกขรณี หรือ ณ ริมฝั่งแม่น้ำ เมื่อฝนเมล็ดหนากำลังตกอยู่ เขาพึงเห็นต่อมน้ำใหญ่ ๆ เกิดขึ้น ๆ บนผิวน้ำ แล้วแตกไปทันทีทันใด ฉะนั้น แน่ละ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงโยคาวจรเช่นกล่าวนี้ จึงตรัสว่า ยถา ปุพฺพุฬกํ ปสฺเส ยถา ปสฺเส มรีจิกํ เอวํ โลกํ อเวกฺขนฺตํ มจฺจุราชา น ปสฺสติ. '''แปลความว่า''' มัจจุราช มองไม่เห็นบุคคลผู้กำหนดเห็นโลก (คือ ขันธ์ 5) เหมือนเห็นต่อมน้ำ (และ) เหมือนเห็นพยับแดด ''(หน้าที่ 342)'' '''[อานิสงส์ภังคานุปัสสนาญาณ]''' เมื่อโยคาวจรผู้นั้น เห็นอยู่เนือง ๆ ว่า "สังขารทั้งหลายทั้งปวงแตกดับไป แตกดับไปอยู่อย่างนั้น" ภังคานุปัสสนาญาณ ซึ่งมีอานิสงส์ 8 ประการเป็นบริวาร ก็ถึงความมีกำลังแก่กล้า อานิสงส์ 8 ประการในภังคานุปัสสนาญาณนั้น คืออานิสงส์เหล่านี้ 1. ละภวทิฏฐิ (คือความเห็นในความมีและไม่มีแห่งภพ) 2. สละความอาลัยรักรักใคร่ในชีวิต 3. ประกอบความเพียรมั่นคงในความเพียรที่ควรประกอบอยู่ทุกเมื่อ 4. มีอาชีพบริสุทธ์ 5. ละความทะเยอทะยาน 6. ปราศจากความกลัว 7. ประกอบด้วยขันติและโสรัจจะ 8. อดกลั้นต่อสิ่งไม่พอใจและในความกำหนัดยินดี เพราะฉะนั้น ท่านพระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวไว้ว่า อิมานิ อฏฐงฺคุณมุตฺตมานิ ทิสฺวา ตหึ สมฺมสตี ปุนปฺปุนํ อาทิตฺตเจลสฺสิรสูปโม มุนิ ภงฺคานุปสฺสี อมตสฺส ปตฺติยา. '''แปลความว่า''' มุนี ผู้มีปรกติเห็นเนือง ๆ ซึ่งความแตกดับ ครั้น เห็นคุณอันยอดเยี่ยม 8 ประการ เหล่านี้แล้ว เป็นเสมือน บุคคลผู้มีผ้าโพกบนศีรษะถูกไฟไหม้ กำหนดพิจารณาเห็น แล้วเห็นเล่า อยู่ในภังคานุปัสสนาญาณนั้น เพื่อบรรลุ อมตนิพพาน. ''(หน้าที่ 343)'' =ภยตุปัฏฐานญาณกถา= เมื่อโยคีนั้น เสพอยู่เนือง ๆ ทำให้เกิดขึ้น ทำให้มาก ๆ ซึ่งภังคานุปัสสนา มีนิโรธ คือความสิ้นไป ความเสื่อมไป และความแตกดับของสังขารทั้งปวงเป็นอารมณ์อยู่อย่างนี้ สังขารทั้งหลายซึ่งมีความแตกดับ (บรรดามีอยู่) ในภพ (3) กำเนิด (4) คติ (5) วิญญาณฐิติ (7) สัตตาวาส (9) ทุกหนทุกแห่ง ก็ปรากฏเป็นที่น่ากลัวมาก เช่นเดียวกับสีหะ พยัคฆะ เสือเหลือง หมี เสือดาว ยักษ์ รากษส โคดุ สุนัขดุ ช้างดุตกมัน อสรพิษร้าย สายฟ้า ป่าช้า สนามรบ และหลุมถ่านเพลิงที่ลุกโชติช่วงเป็นต้น ปรากฏเป็นที่น่ากลัวมากแก่บุรุษขลาด ผู้ปรากรถนาดำรงชีวิตอยู่โดยสุขสบาย เมื่อโยคีนั้นเห็นอยู่ว่า "สังขารทั้งหลายที่เป็นอดีตก็ดับไปแล้ว ที่เป็นปัจจุบันก็กำลังดับอยู่ ถึงแม้สังขารทั้งหลายที่จะบังเกิดขึ้นในอนาคต ก็จะดับไป" ดังนี้ ณ ที่ตรงนี้ ญาณชื่อว่า ภยตุปัฏฐานญาณ บังเกิดขึ้น [อุปมาภยตุปัฏฐานญาณ ด้วยสตรีมีลูก 3 และสตรีมีลูก 11) ในการที่ภยตุปัฏฐานญาณ บังเกิดขึ้นนั้น มีอุปมาดังต่อไปนี้ สมมุติว่า สตรีผู้หนึ่ง มีบุตรชาย 3 คน เป็นผู้มีความผิดในพระราชา พระราชาตรัสสั่งให้ (ลงโทษ) ตัดศีรษะของบุตรชายทั้งสามนั้น สตรีผู้นั้นได้ไปยังตะแลงแกงพร้อมกับบุตรชายทั้ง 3 ด้วย ทันใดนั้น เขาก็ตัดศีรษะของบุตรชายคนโตของเธอ แล้วเตรียมการ เพื่อตัดศีรษะของบุตรชายคนกลาง สตรีนั้นเห็นศีรษะของบุตรชายคนโตถูกตัดไปแล้ว และเห็นศีรษะบุตรชายคนกลางกำลังถูกตัดอยู่ ก็ทอดอาลัยในบุตรชายคนเล็กเสียได้ว่า "แม้พ่อคนเล็กนี้ก็จักเป็นเช่นเดียวกับบุตรชายทั้ง 2 นั้นนั่นแล" ในอุปมานั้น การที่โยคีเห็นความดับของสังขารที่เป็นอดีต ก็เปรียบเหมือนการที่สตรีผู้นั้นเห็นศีรษะของบุตรชายคนโตถูกตัดไปแล้ว การที่โยคีเห็นความดับของสังขารทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน ก็เปรียบเหมือนการที่สตรีนั้นเห็นศีรษะของบุตรชายคนกลางกำลังถูกเขาตัดอยู่ การที่โยคีเห็นความดับของสังขารทั้งหลายที่จะบังเกิดขึ้นแม้ในอนาคต ก็เปรียบเหมือนการที่สตรีผู้นั้นทอดอาลัยในบุตรชายคนเล็กว่า" ถึงแม้พ่อคนเล็กนี้ก็จักเป็นเช่นเดียวกับบุตรชายทั้ง 2 คนนั้นนั่นแล" เมื่อโยคีนั้นเห็นอยู่อย่างนี้ ณ ที่ตรงนี้ เกิด ภยตุปัฏฐานญาณ ''(หน้าที่ 344)'' มีอีกอุปมาหนึ่ง ซึ่งเล่าว่า สตรีผู้มีปรกติเป็นคนมีลูกบูดเน่า คลอดลูกมาแล้ว 10 คน ใน 10 คนนั้น ตายไปแล้ว 9 คน คนหนึ่งกำลังจะตายอยู่ในอ้อมแขน อีกคนหนึ่ง (คนที่ 11) ยังอยู่ในท้อง สตรีนั้นเห็นลูก 9 คนตายไปแล้ว และคนที่ 10 ก็กำลังจะตาย จึงทอดอาลัยในลูกคนที่อยู่ในท้องได้ว่า "ถึงแม้เจ้าคนที่อยู่ในท้องนี้ ก็จะเป็นเหมือนลูกทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแหละ" ในอุปมานั้น การที่โยคีเห็นความดับของสังขารทั้งหลายที่เป็นอดีต ก็เปรียบเหมือนการที่สตรีนั้นรำลึกถึงความตายของลูกทั้ง 9 คน การที่โยคีเห็นความดับของสังขารทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน เปรียบเหมือนการที่สตรีนั้นเห็นความที่ลูกตนอยู่ในอ้อมแขนกำลังจะตายอยู่ การที่โยคีเห็นความดับของสังขารทั้งหลายที่เป็นอนาคต เปรียบเหมือนการทอดอาลัยในลูกคนที่อยู่ในท้อง (ของสตรีผู้นั้น) เมื่อโยคีนั้นเห็นอยู่อย่างนี้ ในขณะนี้ กำลังเกิด ภยตุปัฏฐานญาณ (ถามว่า) แต่ - ภยตุปัฏฐานญาณ กลัว หรือ ไม่กลัว ? (ตอบว่า) ไม่กลัว เพราะว่า ภยตุปัฏฐานญาณนั้นเป็นแต่เพียงไตร่ตรองอยู่ว่า "สังขารทั้งหลายที่เป็นอดีต ก็ดับไปแล้ว สังขารทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน ก็กำลังดับไป สังขารทั้งหลายที่เป็นอนาคต ก็จะดับไป" ดังนี้เท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงเปรียบเสมือนบุรุษผู้มีดวงตา แลดูหลุมถ่านเพลิง 3 หลุม ที่ใกล้ประตูเมือง ตัวเขาเองไม่กลัว เขาเป็นแต่เพียงเกิดความไตร่ตรอง (รู้สึกเสียว) อยู่ว่า คนทั้งหลายใด ๆ จักตกลงไปในหลุมทั้ง 3 นี้ ทุกคนจักได้รับทุกข์ไม่น้อยเป็นแน่" ดังนี้เท่านั้น ฉันใด ก็หรือว่าเปรียบเหมือนบุรุษผู้มีดวงตา แลดูหลาว 3 เล่ม คือ หลาวไม้ตะเคียน 1 หลาวเหล็ก 1 หลาวทอง 1 เขาปักไว้เรียงกันอยู่ตัวเองมิได้กลัว เป็นแต่เพียงบุรุษนั้นไตร่ตรอง (รู้สึกเสียว) อยู่ว่า "คนทั้งหลายใด ๆ จักตกลงไปบนหลาวทั้งหลายนี้ ทุกคนจักเสวยทุกข์หาน้อยไม่" ดังนี้อย่างเดียวเท่านั้น ฉันใดภยตุปัฏฐานญาณ ก็ฉันนั้นเช่นกัน ญาณเองมิได้กล่าว เพราะว่าญาณนั้นเป็นแต่เพียงไตร่ตรองอยู่ว่า "สังขารทั้งหลายในภพนั้น 3 ซึ่งเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง 3 หลุม และเปรียบด้วยหลาว 3 เล่ม ที่เป็นอดีต ก็ดับไปแล้ว ที่เป็นปัจจุบัน ก็กำลังดับไป ที่เป็นอนาคตก็จักดับเป็นแน่" ดังนี้แต่อย่างเดียวเท่านั้น แต่เพราะสังขารทั้งหลายที่ดำเนินไปอยู่ในภพ (3) กำเนิด (4) คติ (5) วิญญาณฐิติ (7) และสัตตาวาส (9) ทุกหนทุกแห่ง เป็นสังขารถึง ''(หน้าที่ 345)'' '''แล้วซึ่งความพินาศไป เป็นของที่มีภัยอยู่เฉพาะหน้า ปรากฏแก่ญาณนั้น โดยความน่ากลัวแต่อย่างเดียว เพราะฉะนั้น จึงเรียกญาณนั้นว่า ภยตุปัฏฐานญาณ''' อนึ่ง ในความปรากฏโดยความน่ากลัวของญาณนั้น ดังกล่าวมานี้ มีบาลี (แปลความได้) ดังต่อไปนี้ "(ถามว่า) เมื่อโยคีมนสิการอยู่โดยความมาเที่ยง อะไรปรากฏโดยความน่ากลัว ? เมื่อมนสิการอยู่โดยความเป็นทุกข์.....โดยความเป็นอนัตตา อะไรปรากฏโดยความน่ากลัว ? (ตอบว่า) เมื่อโยคีมนสิการอยู่โดยความไม่เที่ยง นิมิตปรากฏโดยความน่ากลัว เมื่อมนสิการอยู่โดยความเป็นทุกข์ ความเป็นไป (ของสังขาร) ปรากฏโดยความน่ากลัว เมื่อมนสิการอยู่โดยความเป็นอนัตตา ทั้งนิมิตและความเป็นไป ปรากฏโดยความน่ากลัว" ดังนี้ คำว่า "นิมิต" ในบาลีนั้น หมายถึง นิมิตคือสังขาร คำว่า "นิมิต" นี้ เป็นชื่อเรียกสังขารทั้งหลายโดยเฉพาะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน เพราะว่า เมื่อโยคีมนสิการอยู่โดยความไม่เที่ยง ก็เห็นแต่มรณะ (คือ ความร้อน) อย่างเดียวของสังขารทั้งหลาย เพราะการเห็นแต่ความดับนั้น นิมิตจึงปรากฏแก่โยคีนั้นโดยความน่ากลัว คำว่า "ความเป็นไป" หมายความว่า ความเป็นไปในรูปภพและอรูปภพ เพราะว่า เมื่อโยคีมนสิการอยู่โดยความเป็นทุกข์ ก็เห็นแต่ความบีบคั้นเฉพาะหน้าเนือง ๆ อย่างเดียวของความเป็นไป แม้ที่ยกย่องกันว่าเป็นความสุข เพราะเหตุนั้น ความเป็นไป (ของสังขารทั้งหลาย) จึงปรากฏแก่โยคีนั้นโดยความน่ากลัว แต่เมื่อโยคีมนสิการอยู่โดยความเป็นอนัตตา ก็เห็นแม้ทั้ง 2 อย่างนั้น (คือทั้งนิมิตและความเป็นไปของสังขาร) เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญ ไม่มีเจ้าของ ไม่มีผู้นำ เป็นประดุจบ้านร้าง และเป็นประดุจพยับแดด และคนธรรพนคร (วิมานในอากาศ) เป็นต้น เพราะเหตุนั้น นิมิตและความเป็นไปทั้ง 2 จึงปรากฏแก่โยคีนั้นโดยความน่ากลัวด้วยประการฉะนี้ '''จบ ภยตุปัฏฐานญาณ''' =อาทีนวานุปัสสนาญาณกถา= เมื่อโยคีนั้น เสพอยู่เนือง ๆ ทำให้เกิดอยู่ ทำให้มาก ๆ อยู่ ซึ่งภยตุปัฏฐานญาณนั้นก็ปรากฏว่า ในภพ (3) กำเนิด (4) คติ (5) ฐิติ (7) สัตตาวาส (9) ทั่วทุกหนทุกแห่ง ''(หน้าที่ 346)'' '''ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่หลบลี้ ไม่มีภูมิที่จะไป ไม่มีที่พึงอาศัย ไม่มีความปรารถนา หรือ ความยึดเหนี่ยว ในสังขารทั้งหลาย ที่ดำเนินไปในภพ (3) กำเนิด (4) คติ (5) ฐิติ (7) นิวาส (9) ทั่วทุกหนทุกแห่ง แม้แต่เพียงสังขารเดียว ภพ 3 ก็ปรากฏประดุจหลุมถ่านเพลิงซึ่งเต็มด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว มหาภูต 4 ก็ปรากฏประดุจอสรพิษร้าย ขันธ์ 5 ก็ปรากฏประดุจเพชฌฆาตที่ยกดาบเงื้อง่าอยู่แล้ว อายตนะภายใน 6 ก็ปรากฏประดุจหมู่บ้านร้าง อายตนะภายนอก 6 ก็ปรากฏประดุจพวกโจรปล้นฆ่าชาวบ้าน วิญญาณฐิติ 7 และสัตตาวาส 9 ก็ปรากฏประดุจถูกเผาด้วยไฟ 11 กอง ลุกโพลงและโชติช่วงอยู่สังขารทั้งหลายทั้งปวงก็ปรากฏเป็นประดุจหัวฝี เป็นโรค ถูกลูกศรเสียบ เป็นสิ่งชั่วร้ายและเป็นอาพาธ เป็นกองแห่งโทษร้ายใหญ่หลวง หาความอบอุ่นมิได้ ไม่มีรส''' (ถามว่า) ปรากฏอย่างไร ? (ตอบว่า) ปรากฏดุจดังว่า ป่าชัฏ แม้ตั้งสงบอยู่โดยอาการเป็นที่น่ารื่นรมย์ แต่มีมฤคร้าย ปรากฏแก่บุรุษขลาด ผู้ปรารถนาดำรงชีวิตอยู่ด้วยความสุข ปรากฏประดุจถ้ำมีเสือโคร่งประดุจน้ำมีรากษสสิงอยู่ ประดุจข้าศึกเงือดเงื้อพระขรรค์อยู่แล้ว ประดุจโภชนะมียาพิษ ประดุจมรรคาที่มีโจร ประดุจเรือนที่ไฟไหม้ ประดุจสนามรบที่มีทหารเตรียมพร้อมอยู่แล้ว ความจริง บุรุษผู้นั้น ครั้นมาถึงสถานที่เช่นป่าชัฏมีสัตว์ร้ายเป็นต้นเหล่านี้แล้ว ก็กลัว หวาดหวั่นขนลุกขนพอง เห็นแต่โทษร้ายอย่างเดียวทุกทิศทาง ฉันใด โยคาวจรท่านนี้ก็ฉันนั้นเช่นกัน เมื่อสังขารทั้งหลายทั้งปวงปรากฏโดยความน่ากลัว ด้วยอำนาจภังคานุปัสสนา ก็เห็นอยู่โดยทั่วไป แต่โทษร้าย ไม่มีรส ไม่มีความอบอุ่นใจแต่อย่างเดียว เมื่อโยคีคาวจรท่านนั้นเห็นอยู่อย่างนี้ ญาณที่ชื่อว่า อาทีนวญาณ ก็เป็นอันบังเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นญาณที่ท่านระบุถึง กล่าวคำบาลีนี้ไว้ (แปลความ) ว่า "ถามว่า) ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัว เป็นอาทีนวญาณ อย่างไร" (ตอบว่า) ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัวว่า ความเกิดขึ้น เป็นที่น่ากลัว ดังนี้ เป็นอาทีนวญาณ ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัวว่า ความเป็นไปเป็นที่น่ากลัว.....ว่า นิมิตเป็นที่น่ากลัว.....ว่า ความขวนขวายเป็นที่น่ากลัว.....ว่า ปฏิสนธิเป็นที่น่ากลัว.....ว่า คติ (ภูมิที่ไป) เป็นที่น่ากลัว.....ว่า นิพพัตติ (ความบังเกิด) เป็นที่น่ากลัว ''(หน้าที่ 347)'' '''.....ว่า อุปปัตติ (ความเข้าถึง) เป็นที่น่ากลัว.....ว่า ชาติ (ความเกิด) เป็นที่น่ากลัว.....ว่า ชราเป็นที่น่ากลัว.....ว่า พยาธิ (ความป่วยไข้) เป็นที่น่ากลัว......ว่า มรณะเป็นที่น่ากลัว.....ว่า ความโศกเป็นที่น่ากลัว.....ว่า ความคร่ำครวญเป็นที่น่ากลัว.....ว่า ความคับแค้นใจเป็นที่น่ากลัว" ดังนี้ เป็น อาทีนวญาณ (แต่ละอย่าง ๆ พวกหนึ่ง)''' "ปัญญา (ความรู้) ว่า ความไม่เกิดขึ้นเป็นแดนเกษม (ปลอดภัย) ดังนี้เป็น สันติปทญาณ (ความรู้ในทางบรรลุสันติ คือพระนิพพาน) ความรู้ว่า ความไม่เป็นไปเป็นแดนเกษม.....ฯลฯ.....ความรู้ว่า ความไม่คับแค้นใจเป็นแดนเกษม" ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ (แต่ละอย่าง ๆ พวกหนึ่ง) "ปัญญา (ความรู้) ว่า ความเกิดขึ้นเป็นที่น่ากลัว ความไม่เกิดขึ้นเป็นแดนเกษม ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ (ความรู้ในทางบรรลุสันติ คือพระนิพพาน) ความว่า ความเป็นไป.....ฯลฯ.....ความคับแค้นใจเป็นที่น่ากลัว ความไม่คับแค้นใจเป็นแดนเกษม" ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ (แต่ละอย่าง ๆ พวกหนึ่ง) "ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัวว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ เป็นอาทีนวญาณ, ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัวว่า ความเป็นไป.....ฯลฯ.....ว่า ความคับแค้นใจเป็นทุกข์" ดังนี้ เป็นอาทีนวญาณ (แต่ละอย่าง ๆ พวกหนึ่ง) "ความรู้ว่า ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ ความรู้ว่า ความไม่เป็นไป.....ฯลฯ ความไม่คับแค้นใจ เป็นสุข" ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ (แต่ละอย่าง ๆ พวกหนึ่ง) "ความรู้ว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ ความรู้ว่า ความเป็นไปเป็นทุกข์ ความไม่เป็นไปเป็นสุข.....ฯลฯ.....ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข" ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ (แต่ละอย่าง ๆ พวกหนึ่ง) "ความรู้ในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัวว่า ความเกิดขึ้นเป็นการเจือด้วยอามิส ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ, ความรู้ในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัวว่า ความเป็นไป.....ฯลฯ.....ความคับแค้น เป็นการเจือด้วยอามิส" ดังนี้ เป็นอาทีนวญาณ (แต่ละอย่าง ๆ พวกหนึ่ง) ''(หน้าที่ 348)'' "ความรู้ว่า ความไม่เกิดขึ้นเป็นการไม่มีอามิส ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ ความรู้ว่า ความไม่เป็นไป.....ฯลฯ.....ความไม่คับแค้นใจ เป็นการไม่มีอามิส" ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ (แต่ละอย่าง ๆ พวกหนึ่ง) "ความรู้ว่า ความเกิดขึ้นเป็นการเจือด้วยอามิส ความไมเกิดขึ้น เป็นการไม่มีอามิส ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ ความรู้ว่า ความเป็นไป เป็นการเจือด้วยอามิส ความไม่เป็นไป เป็นการไม่มีอามิส.....ฯลฯ.....ความคับแค้นใจ เป็นการเจือด้วยอามิส ความไม่คับแค้นใจ เป็นการไม่มีอามิส ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ (แต่ละอย่าง ๆ พวกหนึ่ง) "ความรู้ในความปรากฏโดยเป็นที่น่ากลัวว่า ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ดังนี้ เป็นอาทีนวญาณ ความรู้ในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัว ความเป็นไป เป็นสังขาร.....ฯลฯ ความคับแค้นใจ เป็นสังขาร" ดังนี้ เป็นอาทีนวญาณ (แต่ละอย่าง ๆ พวกหนึ่ง) "ความรู้ว่า ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ ความรู้ว่า ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน.....ฯลฯ.....ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน" ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ (แต่ละอย่าง ๆ พวกหนึ่ง) "ความรู้ว่า ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ ความรู้ว่า ความเป็นไปเป็นสังขาร ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน.....ฯลฯ ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน" ดังนี้ เป็นสันติปทญาณ (แต่ละอย่าง ๆ พวกหนึ่ง) "อุปฺปาทญฺจ ปวตฺตญฺจ นิมิตฺติ ปสฺสติ อายูหนญฺจ ปฏิสนธึ ญาณํ อาทีนเว อิทํ. อนุปฺปาทํ อปฺปวตฺตํ อนิมิตฺตํ สุขนฺติ จ อนายูหนํ อปฺปฏิสนฺธึ ญาณํ สนฺติปเท อิทํ. อิทํ อาทีนเว ญาณํ ปญฺจฏฐาเนสุ ชายติ ปญฺจฏฐาเน สนฺติปเท ทส ญาเณ ปซานาติ ทฺวินฺนํ ญาณานํ กุสลตา นานาทิฏฐีสุ น กมฺปตี"ติ. ''(หน้าที่ 349)'' '''แปลความว่า''' "โยคาวจรเห็นความเกิดขึ้น และความเป็นไป และนิมิต ความขวนขวายและปฏิสนธิ ว่าเป็นทุกข์ นี้เป็น อาทีนวญาณ และเห็นความไม่เกิดขึ้น ความไม่เป็นไป ความไม่มีนิมิต ความไม่มีขวนขวาย ไม่มีปฏิสนธิ ว่าเป็นสุข นี้เป็น สันติ ปทญาณ อาทีนวญาณนี้เกิดใน 5 ฐาน สันติปทญาณก็ เกิดใน 5ฐาน โยคาวจรกำหนดรู้ญาณ 10 ด้วย ความ เป็นผู้ฉลาดในญาณ 2 (คือ อาทีนวญาณ และ สันติปท ญาณ) จึงไม่หวั่นไหวในทิฏฐิต่าง ๆ" ด้วยประการฉะนี้ "ความเห็นนั้น ชื่อว่า ญาณ โดยความหมายว่า รู้แล้ว ชื่อว่า ปัญญา โดยความหมายว่า รู้ทั่ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัว เป็นอาทีนวญาณ" ดังนี้ คำว่า "ความเกิดขึ้น" ในคำบาลี (ที่แปลไว้ข้างต้น) นั้น หมายถึง การบังเกิดขึ้นในภพ เพราะกรรมในภพก่อนเป็นปัจจัย คำว่า "ความเป็นไป" หมายถึง ความเป็นเป็นไปของสังขาร ซึ่งบังเกิดขึ้นอย่างนั้นแล้ว คำว่า "นิมิต" หมายถึง นิมิต คือ สังขารแม้ทุกประการ คำว่า "ความขวนขวาย" หมายถึง กรรมอันเป็นเหตุให้ปฏิสนธิในภพต่อไป คำว่า "ปฏิสนธิ" หมายถึงการบังเกิดในภพต่อไป คำว่า "คติ (ภูมิที่ไป)" หมายถึง ภูมิที่ไปซึ่งมีปฏิสนธิ คำว่า "นิพพัตติ (ความบังเกิด)" หมายถึง ความบังเกิดของขันธ์ทั้งหลาย คำว่า "อุปปัตติ (ความเข้าถึง)" หมายถึง ความเป็นไปแห่งวิบาก ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "ความเป็นไปแห่งวิบาก ของผู้ถึงพร้อมแล้ว หรือว่า ของผู้เข้าถึงแล้ว" คำว่า "ชาติ (ความเกิด)" หมายถึง ชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งชราเป็นต้น เกิดขึ้นเพราะภพเป็นปัจจัย อาการทั้งหลายมีชราและมรณะเป็นต้น เป็นอาการที่ปรากฏแล้วโดยเฉพาะ อนึ่ง ในบาลีนั้น อาการมีความเกิดขึ้นเป็นต้น 5 อย่างเท่านั้น ท่านกล่าวไว้โดยความเป็นวัตถุ (ที่ตั้ง) ของอาทีนวญาณ นอกนั้น ท่านกล่าวไว้โดยเป็นไวพจน์ของอาการ 5 อย่างเหล่านั้น เพราะว่า คำ "นิพพัตติ" (และ) "ชาติ" 2 คำนี้ ''(หน้าที่ 350)'' '''เป็นไวพจน์ของอุปปาทะ (ความเกิดขึ้น) และของปฏิสนธิ คำว่า "คติ" (และ) "อุปปัตติ" 2 คำนี้ เป็นไวพจน์ของปวัตตะ (ความเป็นไป) คำว่า "ชรา" เป็นต้นเป็นไวพจน์ของนิมิต ดังนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ข้างต้น (ด้วยคาถาซึ่งแปลความว่า)''' "โยคาวจรเห็นความเกิดขึ้นและความเป็นไปและนิมิต ความขวนขวายและปฏิสนธิ ว่าเป็นทุกข์ นี้เป็นอาทีนว ญาณ" ดังนี้ 1 และว่า "อาทีนวญาณนี้เกิดใน 5 ฐาน" ดังนี้ 1 ส่วนคำเป็นต้นว่า "ปัญญา (ความรู้) ว่า ความไม่เกิดขึ้นเป็นแดนเกษม เป็นสันติปทญาณ" ท่านกล่าวไว้เพื่อชี้ให้เห็นญาณที่เป็นฝ่ายตรงข้ามของอาทีนวญาณ อีกประการหนึ่งท่านกล่าวคำนี้ไว้ เพื่อให้เกิดความอบอุ่นใจแก่โยคาวจรผู้เห็นโทษร้ายด้วยภยตุปัฏฐานญาณ แล้วมีหทัยไหวหวั่นว่า "แม้สิ่งที่ไม่น่ากลัว ที่เป็นแดนเกษม ที่ไม่มีโทษร้าย ก็มีอยู่" ก็มีอยู่" ดังนี้บ้างก็หรือว่า เพราะอาการทั้งหลายมีความเกิดขึ้นเป็นต้น เป็นอาการตั้งอยู่ชัดเจนโดยความน่ากลัว แก่โยคาวจรผู้นั้นเล่า จิตของโยคาวจรนั้น ก็น้อมไปในความเป็นฝ่ายตรงข้ามกับอาการเหล่านั้นอยู่แล้ว และเพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวคำนี้ไว้ เพื่อชี้ให้เห็นอานิสงส์ของอาทีนวญาณ อันสำเร็จได้ด้วยความปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว อนึ่ง ในอาทีนวญาณนี้ เพราะสิ่งใดเป็นของน่ากลัว สิ่งนั้นเป็นทุกข์โดยแน่นอน และสิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นของเจือด้วยอามิสโดยแท้ เพราะเป็นของไม่พ้นไปจาก (อามิส 3 คือ) อามิสคือวัฏฏะ 1 อามิสในโลก 1 และอามิสคือกิเลส 1 และสิ่งใดเจือด้วยอามิส สิ่งนั้นก็เป็นเพียงสังขารเท่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า "ความรู้ในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัวว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ดังนี้ เป็นอาทีนวญาณ" ดังนี้ไว้ แม้เป็นอย่างนั้น ก็ควรทราบความแตกต่างกันในอาการทั้งหลายนี้ ด้วยความเป็นไปโดยอาการต่าง ๆ กันอย่างนี้ คือ โดยอาการเป็นที่น่ากลัว 1 โดยอาการเป็นทุกข์ 1 โดยอาการมีอามิส 1 คำว่า "กำหนดรู้ญาณ 10" หมายความว่า เมื่อโยคาวจรกำหนดรู้อาทีนวญาณอยู่ ชื่อว่า กำหนดรู้ คือแทงตลอด คือทำให้แจ้งซึ่งญาณ 10 ได้แก่ ญาณ 5 มีอาการเช่นความเกิดขึ้นเป็นต้นเป็นวัตถุ (ที่ตั้ง) (และ ญาณ 5 มีอาการเช่นความไม่เกิดขึ้นเป็นต้น ''(หน้าที่ 351)'' '''เป็นวัตถุ คำว่า "ด้วยความเป็นผู้ฉลาดในญาณ 2" ความว่า ด้วยความเป็นผู้ฉลาดในญาณ 2 เหล่านี้ คือ อาทีนวญาณ 1 และ สันติปทญาณ 1 คำว่า "ไม่หวั่นไหวในทิฏฐิต่าง ๆ" ความว่า ไม่ส่ายไปส่ายมาในทิฏฐิทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปด้วยความเห็นผิดว่า พระนิพพานเป็นบรมทิฏฐธรรม เป็นต้น คำที่ยังเหลืออยู่ในพระบาลีนี้ เป็นคำมีความหมายง่าย ๆ ทั้งนั้นแหละ''' '''จบ อาทีนวานุปัสสนาญาณกถา''' =นิพพิทานุปัสสนาญาณกถา= เมื่อโยคีนั้นเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นโทษอยู่อย่างนี้ ก็เบื่อหน่าย เอือมระอา ไม่อภิรมย์ในสังขารอันมีการแตกดับ ซึ่งดำเนินอยู่ในภพ (3) กำเนิด (4) คติ (5) วิญญาณฐิติ (7) สัตตาวาส (9) ทั่วทุกหนทุกแห่ง เปรียบเหมือนพญาหงส์ทอง ผู้อภิรมย์ยินดีอยู่ ณ เชิงภูเขาจิตรกูฏ ไม่อภิรมย์ยินดีในบ่อน้ำสกปรกใกล้ประตูบ้านคนจัณฑาล อภิรมย์ยินดีอยู่แต่ในสระใหญ่ทั้ง 7 (ในป่าหิมพานต์) เท่านั้น ชื่อแม้ฉันใด พญาหงส์ คือโยคีแม้นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่อภิรมย์ยินดีในสังขารซึ่งมีแต่การแตกดับ มีโทษร้าย ซึ่งตนได้กำหนดเห็นมาอย่างดีแล้ว แต่ทว่า ยินดีอยู่ในอนุปัสสนาทั้งหลาย 7 เท่านั้น เพราะเป็นผู้ประกอบแล้วด้วยความเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่ยินดี (และ) ด้วยความยินดีในภาวนา อนึ่ง เปรียบเหมือนสีหะมฤคราชที่ถูกเขาขังไว้แม้ในกรงทอง ก็ไม่อภิรมย์ยินดี แต่ทว่า ยินดีพอใจอยู่แต่ในป่าหิมพานต์กว้าง 3,000 โยชน์เท่านั้น ฉันใด สีหะมฤคราช คือโยคีนี้ ก็ฉันนั้น ไม่อภิรมย์ยินดีแม้ในสุคติภพทั้ง 3 อย่าง แต่ทว่ายินดีอยู่แต่ในอนุปัสสนา 3 เท่านั้น อนึ่ง เปรียบเหมือนพญาช้างฉัททันต์ เผือกทั่วสรรพางค์ มีอวัยวะ 7 จรดถึงพื้น มีฤทธิ์ เหาะไปได้ในเวหาสก็ไม่อภิรมย์ยินดีอยู่ในท่ามกลางพระนคร อภิรมย์ยินดีอยู่แต่ในป่าชัฏริมสระฉัททันต์ ในป่าหิมพานต์เท่านั้น ฉันใด พญาช้างตัวประเสริฐคือโยคีผู้นี้ ก็ฉันนั้น ไม่อภิรมย์ยินดีในสังขารแม้ทั้งปวง อภิรมย์ยินดีอยู่แต่ในพระนิพพาน อันเป็นสันติบทที่ตนเห็นแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า "ความไม่เกิดขึ้นเป็นแดนเกษม" เป็นผู้มีใจน้อมไปในพระนิพพานนั้น ''(หน้าที่ 352)'' '''โน้มไปในพระนิพพานนั้น โอนเอียงไปในพระนิพพานอันเป็นสันติบทนั้น ด้วยประการฉะนี้ ''' อนึ่ง นิพพิทาญาณนี้นั้น โดยความหมายก็เป็นญาณเดียวกันกับ 2 ญาณข้างต้น (คือ ภยตุปัฎฐานญาณและอาทีนวญาณ) เพราะเหตุนั้น ท่านพระโบราณจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า "ภยตุปัฎฐานญาณเดียวนั่นแล ได้ชื่อ 3 ชื่อ คือ ชื่อว่าภยตุปัฎฐาน เพราะเห็นสังขารทั้งปวงโดยความน่ากลัว 1 ชื่อว่าอาทีนวานุปัสสนา เพราะให้เกิด (ความเห็น) โทษร้ายขึ้นในสังขารทั้งหลายเหล่านั้นนั่นเอง 1 ชื่อว่านิพพิทานุปัสสนา เพราะบังเกิดเบื่อหน่าย ขึ้นแล้วในสังขารทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแล 1" แม้ในพระบาลี ท่านก็กล่าวไว้ว่า "ปัญญาใด ในภยตุปัฎฐาน 1 ญาณใดในอาทีนวะ 1 นิพพิทาใด 1 ธรรมทั้งหลายเหล่านี้มีความหมายอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นที่ต่างกัน" '''จบ นิพพิทานุปัสสนาญาณกถา''' =มุญจิตุกัมยตาญาณกถา= แต่เมื่อกุลบุตรผู้นี้ เบื่อหน่ายอยู่ เอือมระอาอยู่ ไม่ภิรมย์ยินดีอยู่ด้วยนิพพิทาญาณนี้ จิตก็ไม่ข้อง ไม่เกาะ ไม่ติดอยู่ ในสังขารทั้งหลาย ซึ่งมีความแตกดับ ที่ดำเนินไปอยู่ในภพ (3) กำเนิด (4) วิญญาณฐิติ (7) และ สัตตาวาส (9) ทุกหนทุกแห่ง แม้แต่สังขารเดียวเป็นจิตที่ใคร่จะพ้นไป ปรารถนาจะออกไปเสียจากสังขารทั้งปวง (ถามว่า) เปรียบเหมือนอะไร ? (ตอบว่า) เปรียบเหมือนสัตว์และบุคคลเป็นต้นว่าแบบนี้ คือ '''1. ปลาติดอยู่ในอวน (หรือแห)''' '''2. กบอยู่ในปากงู''' '''3. ไก่ป่าถูกขังไว้ในกรง''' '''4. เนื้ออยู่ในบ่วงบาสอันเหนียวแน่น''' '''5. งูอยู่ในเอื้อมมือของหมองู''' '''6. ช้างกุญชรตกอยู่ในหลุมลึก''' '''7. พญานาคอยู่ในปากครุฑ''' '''8. พระจันทร์เข้าไปอยู่ในปากราหู''' ''(หน้าที่ 353)'' 9. บุรุษถูกศัตรูล้อมไว้ '''เป็นผู้มีความปรารถนาจะพ้นไป มีความมุ่งมั่นจะออกไปเสียจากที่นั้น ๆ ชื่อฉันใด จิตของโยคีผู้นั้น ก็ฉันนั้น เป็นจิตปรารถนาจะพ้นไป ประสงค์จะออกไปเสียจากสังขารทั้งปวง ทันใดนั้น ครั้นโยคีท่านนั้น ผู้ปราศจากความอาลัยในสังขารทั้งปวงแล้ว ผู้ปรารถนาจะพ้นไปจากสังขารทั้งปวงอยู่อย่างนี้ มุญจิตุกัมยตาญาณก็บังเกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้''' '''จบ มุญจิตุกัมยตาญาณกถา''' =ปฎิสังขานุปัสสนาญาณกถา= โยคีผู้นั้น เป็นผู้มีความปรารถนาเพื่อจะพ้นไปเสียจากสังขารทั้งหลาย ซึ่งมีแต่ความแตกดับ อันดำเนินไปอยู่ในภพ ในกำเนิด ในคติ ในฐิติ และในนิวาส ทุกหนทุกแห่งดังกล่าวนั้น จึงยกเอาสังขารทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแหละขึ้นสู่พระไตรลักณ์แล้วกำหนดรู้ด้วยปฎิสังขานุปัสสนาญาณต่อไปอีก เพื่อพ้นไปเสียจากสังขารทั้งปวง โยคีนั้นก็เห็นอยู่ซึ่งสังขารทั้งปวงว่า "ไม่เที่ยง ด้วยเหตุทั้งหลาย เช่นเป็นต้นว่า อนัจจันติกโต โดยไม่เป็นไปเลยที่สุด ตาวกาลิกโต โดยเป็นไปชั่วคราว อุปปาทวยปริจฉินนโต โดยกำเนิดได้ด้วยความเกิดและความดับ ปโลกโต โดยแตกทำลาย ขณิกโต โดยเป็นไปชั่วขณะ จลโต โดยความหวั่นไหว ปภังคุโต โดยผุพัง อัทธุวโต โดยไม่ยั่งยืน วิปริณามธัมมโต โดยมีความแปรผันอยู่เป็นธรรมดา ''(หน้าที่ 354)'' อสารกโต โดยไม่มีสาระ วิภวโต โดยปราศจากความเจริญ สังขตโต โดยเป็นเป็นของถูกปรุงแต่งขึ้นไว้ มรณธัมมโต โดยมีความตายเป็นธรรมดา '''เห็นอยู่ (ซึ่งสังขารทั้งปวง) ว่า "เป็นทุกข์ ด้วยเหตุทั้งหลาย เช่นเป็นต้นว่า ''' อภิณหปฎิปีฬนโต โดยเบียดเบียนเฉพาะหน้าอยู่เนืองๆ ทุกขมโต โดยทนได้ยาก ทุกขวัตถุโต โดยเป็นที่ตั้งของทุกข์ โรคโต โดยเป็นโรค คัณฑโต โดยเป็นแผลฝี สัลลโต โดยเป็นลูกศรเสียบ อฆโต โดยความชั่วร้าย อาพาธโต โดยความป่วยไข้ อีติโต โดยความหายนะ อุปัททวโต โดยเป็นอุปัทวะ ภยโต โดยเป็นภัย อุปสัคคโต โดยเป็นอุปสรรค อตาณโต โดยไม่เป็นที่ต้านทาน อเลณโต โดยไม่เป็นที่หลบลี้ อสรณโต โดยไม่เป็นที่พึ่ง อาทีนวโต โดยเป็นโทษร้าย อฆมูลโต โดยเป็นต้นเหตุแห่งความชั่วร้าย วธกโต โดยเป็นฆาตกร ''(หน้าที่ 355)'' สาสวโต โดยมีอาสวะ มารามิสโต โดยเป็นเหยื่อล่อของมาร ชาติธัมมโต โดยมีความเกิดเป็นธรรมดา ชราธัมมโต โดยมีความแก่เป็นธรรมดา พยาธิธัมมโต โดยมีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา มรณธัมมโต โดยมีความตายเป็นธรรมดา โสกธัมมโต โดยมีความโศกเป็นธรรมดา ปริเทวธัมมโต โดยมีความคร่ำครวญเป็นธรรมดา อุปายาสธัมมโต โดยมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา สังกิเลสิกธัมมโต โดยมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา '''เห็นอยู่ (ซึ่งสังขารทั้งปวง) โดยอสุภะ (ความไม่งาม) โดยเป็นบริวารของทุกขลักขณะ ด้วยเหตุทั้งหลาย เช่นเป็นต้นว่า''' อธัญญโต โดยเป็นของไม่งาม ทุคคันธโต โดยมีกลิ่นชั่ว เชคุจฉโต โดยเป็นของน่าเกลียด ปฏิกูลโต โดยเป็นของปฏิกูล อมัณฑนโต โดย (ปรากฏชัดด้วย) การไม่ตบแต่ง วิรูปโต โดยเป็นรูปพิการ วิภัจฉโต โดยเป็นของควรสลัดทิ้งไป '''เห็นอยู่ (ซึ่งสังขารทั้งปวง) โดยความเป็นอนัตตา ด้วยเหตุทั้งหลาย เช่นเป็นต้นว่า''' ปรโต โดยเป็นปรปักษ์ ริตตโต โดยเป็นของเปล่า ตุจฉโต โดยเป็นของว่าง ''(หน้าที่ 356)'' สุญญโต โดยเป็นของสูญ อัสสามิกโต โดยไม่มีเจ้าของ อนิสสรโต โดยไม่มีผู้เป็นใหญ่ อวสวัตติโต โดยไม่เป็นไปในอำนาจของใครๆ '''โยคีท่านนี้ ผู้เห็นอยู่ด้วยประการดังกล่าวมานี้แหละ เป็นอันเรียกได้ว่า ยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ กำหนดรู้สังขารทั้งหลายอยู่''' '''[อุปมาด้วยบุรุษจับปลา]''' (ถามว่า) แต่โยคาวจรผู้นี้กำหนดรู้สังขารทั้งหลายเหล่านี้อยู่อย่างนั้น เพื่ออะไร ? (ตอบว่า) เพื่อให้บรรลุถึงอุบายแห่งการพ้นไป (จากสังขารทั้งหลาย) ในการบรรลุอุบาย แห่งการพ้นไปนั้น มีอุปมาดังต่อไปนี้ สมมุติว่า บุรุษผู้หนึ่ง คิดจักจับปลา คว้าเอาสุ่มจับปลาไปสุ่มลงในน้ำ บุรุษผู้นั้นหย่อนมือลงไปทางปากสุ่ม จับเอางูไว้ที่คอใน (ใต้) น้ำ ก็ดีใจว่า ข้าจับปลาได้แล้ว เขานึกอยู่ว่า "ข้าได้ปลาตัวใหญ่จริงๆ" จึงยกขึ้นมาดู พอเห็นสวัสติกะ (ดอกจันทน์) 3 อัน ก็รู้ได้ว่าเป็นงู จึงกลัวเห็นโทษร้าย ท้อใจในการจับ (งู) ไว้ ปรารถนาเพื่อที่จะพ้นไป จึงทำอุบายเพื่อพ้นไป (จากงู) แกะปลดมือออก (จากงู) ตั้งแต่ปลายหาง แล้วยกแขนขึ้นแกว่ง (งู) เหนือศีรษะ 2 -3 รอบทำให้งูเปลี้ย แล้วเหวี่ยง (งู) ไปด้วยคำว่า "ไป ! เจ้างูร้าย" แล้วรีบขึ้นขอบหนอง ยืนมองดูทางที่ตนมา โดยรำพึงอยู่ว่า "เอาละ เป็นอันว่าเรารอดพ้นจากปากของเจ้างูใหญ่มาได้แล้ว" ในอุปมานั้น กาลเวลาที่โยคีแม้นี้ได้อัตตภาพ (เกิดเป็นมนุษย์) แล้ว ยินดีพอใจมาตั้งแต่แรก (รู้ความ) นั่นเลย เปรียบเหมือนเวลาที่บุรุษผู้นั้นจับงูที่คอมันไว้แล้วดีใจว่าเป็นปลา การที่โยคีผู้นี้ทำการย่อยความเป็นก้อน (ของสังขาร) ออกไป แล้วเห็นพระไตรลักษณ์ในสังขารทั้งหลาย เปรียบความเหมือนการที่บุรุษผู้นั้นนำเอาหัว (งู) ออกมาจากปากสุ่ม แล้วเห็นสวัสติกะ 3 อัน ภยตุปัฏฐานญาณ (ญาณกำหนดรู้ในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัว) ของโยคีท่านนี้ เปรียบเหมือนการที่บุรุษผู้นั้นกลัว (งู) อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ญาณกำหนดรู้โดยการเห็นเนืองๆ ซึ่งโทษร้าย) เปรียบเหมือนการเห็นโทษร้ายจากการจับงูนั้น, ''(หน้าที่ 357)'' '''นิพพิทานุปัสสนาญาณ (ญาณกำหนดรู้โดยการเห็นเนืองๆด้วยความเบื่อหน่าย) เปรียบความท้อใจในการจับ (งู) ไว้ มุญจิตุกัมยตาญาณ (ญาณกำหนดรู้ด้วยความปรารถนาที่จะพ้นไป) เปรียบเหมือนความมุ่งหมายที่จะพ้นงู การยกพระไตรลักษณ์เข้าในสังขารทั้งหลาย ด้วยปฏิสังขานุปัสสนาญาณ เปรียบเหมือนการทำอุบายแห่งการพ้นไป (จากงู)''' ความจริง บุรุษผู้นั้นผู้แกว่งงูทำให้มันเปลี้ย ทำให้มันไม่สามารถวกมากัดได้ แล้วปล่อยมันไปเป็นการปล่อยอย่างดี ฉันใด โยคาวจรท่านนี้ก็ฉันนั้น เวียนกำหนดสังขารทั้งหลายด้วยการยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ ทำให้ทุพลภาพ ทำให้ถึงความไม่สามารถปรากฏโดยอาการเที่ยงเป็นสุข เป็นของงดงาม และเป็นอัตตาได้อีกต่อไป ชื่อว่าพ้นไป เป็นการพ้นไปอย่างดี เพราะฉะนั้นจึงกล่าวไว้ว่า (ข้างต้น) ว่า "กำหนดรู้อยู่อย่างนั้น เพื่อให้บรรลุถึงอุบายแห่งการพ้นไป" เป็นอันว่าปฏิสังขาญาณ บังเกิดขึ้นแล้วแก่โยคาวจรท่านนั้น ด้วยการกำหนดเพียงเท่านี้ ซึ่งเป็นญาณที่ท่านกล่าวระบุถึงไว้ (ในปฏิสัมภิทามรรค) ว่า (ถามว่า) เมื่อพระภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยง ญาณกำหนดรู้ทบทวน (ปฏิสังขาญาณ) อะไรบังเกิดขึ้น ? เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์......เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ญาณกำหนดรู้ทบทวนอะไรบังเกิดขึ้น" (ตอบว่า) เมื่อพระภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยง ญาณกำหนดทบทวนซึ่งนิมิตบังเกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ญาณกำหนดรู้ทบทวนความเป็นไป (ของสังขารทั้งหลาย) บังเกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ญาณกำหนดรู้ทบทวนทั้งนิมิตและความเป็นไปบังเกิดขึ้น" ดังนี้ และคำว่า "กำหนดรู้ทบทวนซึ่งนิมิต" ในบาลีนั้น หมายความว่า รู้นิมิตคือสังขารโดยอนิจจลักษณะว่า "ไม่ยั่งยืนเป็นไปชั่วคราว" ก็และเป็นความจริงว่า รู้ก่อนแล้ว ญาณบังเกิดขึ้นภายหลัง ถึงกระนั้น ท่านก็กล่าวอย่างนั้น ถึงกระนั้น ท่านก็กล่าวอย่างนั้น ด้วยโวหาร ดุจดังคำว่า "อาศัยใจและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณบังเกิดขึ้น" ดังนี้เป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้แล้วอย่างนั้น เพราะทำคำหน้า (ปฏิสังขา = รู้ทบทวน) และคำหลัง (อุปฺปชฺชติ = บังเกิดขึ้น) เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดย เอกัตตนัย ถึงแม้ในอีก 2 บท ก็พึงทราบความหมายโดยนัยนี้ด้วยประการฉะนี้ '''จบ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณกถา''' ''(หน้าที่ 358)'' =สังขารุเปกขาญาณกถา= '''[ สุญญตานุปัสสนา การเห็นเนืองๆ โดยความว่างเปล่ามีเงื่อน 2]''' โยคาวจรนั้นครั้นกำหนดรู้ว่า "สังขารทั้งหลายทั้งปวง เป็นของว่างเปล่า" ด้วยปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ดังกล่าวมาแล้วนั้น จึงกำหนดสุญญตา (ความว่างเปล่า) มีเงื่อน 2 ต่อไปอีกว่า "สังขารนี้ ว่างเปล่าจากอัตตา 1 หรือ ว่างเปล่าที่เนื่องด้วยอัตตา 1" '''[สุญญตา มีเงื่อน 4]''' โยคาวจรนั้นไม่เห็นอัตตา ไม่เห็นอะไร ๆ อื่นที่ตั้งอยู่ในภาวะเป็นบริขารของอัตตา ก็กำหนดรู้ สุญญตา มีเงื่อน 4 ซึ่งท่านกล่าวไว้ในอธิการแห่ง สุญญตานุปัสสนา นี้ต่อไปอีกว่า 1. นาหํ กฺวจนิ - ไม่มีฉันอยู่ ณ ที่ไหน ๆ 2. กสฺสจิ กิญฺจนตสฺมี - ในความเป็นอะไรๆของใครๆ 3. น จ มม กฺวจนิ - และไม่มีอยู่ ณ ที่ไหนๆ ของฉัน 4. กิสฺมิญฺจิ กิญฺจนตตฺถิ - ไม่มีความเป็นอะไรๆ ณ ที่ไหนๆ '''[อธิบายความสุญญตา มีเงื่อน 4]''' (ถามว่า) กำหนดรู้อย่างไร ? (ตอบว่า) 1. ที่จริง คำว่า "นาหํ กฺวจนิ - ไม่มีฉันอยู่ ณ ที่ไหน ๆ" หมายความว่า โยคาวจรผู้นี้ ไม่เห็นอัตตา ณ ที่ไหน ๆ 2. คำว่า "กสฺสจิ กิญฺจนตสฺมี – ในความเป็นอะไร ๆ ของใคร ๆ" หมายความว่า "ไม่เห็นอัตตาของตนเอง ที่พึงนำเข้าไปในความเป็นอะไรๆ ของใครๆ อื่น" อธิบายว่า ไม่เห็นอัตตาที่เป็นพี่ชายน้องชาย ที่พึงมั่นหมายนำเข้ามาในฐานะเป็นพี่ชายน้องชาย หรือว่า ''(หน้าที่ 359)'' '''ไม่เป็นอัตตาที่เป็นสหาย ที่พึงมั่นหมายนำเข้ามาในฐานะเป็นสหาย หรือว่า ไม่เป็นอัตตาที่เป็นบริขาร ที่พึงมั่นหมายนำเข้ามาในฐานะเป็นบริขาร''' 3. ในคำว่า "น จ มม กฺวจนิ - และไม่มีอยู่ ณ ที่ไหนๆ ของฉัน" นั้น ยกเอาศัพท์ว่า "มม – ของฉัน" ออกเสียก่อน (เหลือเพียง) ว่า "น จ กฺวจนิ-และไม่มี ณ ที่ไหนๆ" มีอธิบายอย่างนี้ว่า "และไม่เห็นอัตตาของบุคคลอื่น ณ ที่ไหนๆ" 4. คราวนี้นำเอาศัพท์ว่า "มม – ของฉัน" มา (ไว้ในประโยคหลัง) ว่า "มม กิสฺมิญฺจิ กิญฺจนตตฺถิ ไม่มีความเป็นอะไรๆ ณ ที่ไหนๆของฉัน" หมายความว่า "ม่เห็นว่า อัตตาของบุคคลอื่นนั้นมีอยู่ในความเป็นอะไรๆ ณ ที่ไหนๆ ของฉัน" อธิบายว่า ไม่เห็นอัตตาของบุคคลอื่นที่พึงนำเข้ามาโดยความเป็นอะไรๆ นี้ ในฐานะอะไรๆ คือว่าเป็นพี่ชายน้องชายในฐานะที่เป็นพี่ชายน้องชายของตน หรือว่าเป็นสหายในฐานะเป็นสหาย (ของตน) หรือว่า เป็นบริขารในฐานะเป็นบริขาร (ของตน) (รวมความ) โยคาวจรท่านนี้ เพราะเหตุที่ 1. ไม่เห็นเลยซึ่งอัตตา ณ ที่ไหนๆ 2. ไม่เห็นอัตตานั้นที่พึงนำเข้ามาในความเป็นอะไรๆ ของบุคคลอื่น 3. ไม่เห็นอัตตาของบุคคลอื่น 4. ไม่เห็นอัตตาของบุคคลอื่นที่พึงนำเข้ามาในความเป็นอะไรๆ ของตน เพราะฉะนั้น เป็นอันว่า โยคาวจรท่านนี้กำหนดรู้ สุญญตา มีเงื่อน 4 แล้ว ด้วยประการฉะนี้แล '''[สุญญตา โดยอาการ 6]''' ครั้นกำหนดรู้สุญญตามีเงื่อน 4 อย่างนี้แล้ว โยคาวจรจึงกำหนดรู้สุญญตา โดยอาการ 6 ต่อไปอีก (ถามว่า) กำหนดรู้สุญญตา โดยอาการ 6 อย่างไร ? ''(หน้าที่ 360)'' (ตอบว่า) กำหนดรู้ว่า จักขุเป็นของว่างจากอัตตา 1 หรือจาสิ่งเนื่องด้วยอัตตา 1 หรือจาความเป็นของเที่ยง 1 หรือจากความเป็นของยั่งยืน 1 หรือจากความเป็นของคงทน 1 หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา 1 โสตะ....ฆานะ.....ชิวหา.....กาย....ใจ.....รูปเป็นของว่างเปล่า.....เสียง.....กลิ่น.....รส....โผฏฐัพพะ....ธรรมารมณ์เป็นของว่างเปล่า....จักขุวิญญาณ....ฯลฯ....มโนวิญญาณ....จักขุสัมผัส..... พึงนำนัยโดยประการดังกล่าวนี้ไปจนถึงชรามรณะ ด้วยประการฉะนี้ '''[สุญญตา โดยอาการ 8]''' ครั้นกำหนดรู้สุญญตาโดยอาการ 6 อย่างนี้แล้ว จึงกำหนดรู้โดยอาการ 8 ต่อไปอีก คือ กำหนดรู้ดังนี้อย่างไรล่ะ รูปไม่มีแก่นสาร หาแก่นสารมิได้ ปราศจากแก่นสาร โดยแก่นสารมีสาระว่ายั่งยืน 1หรือโดยแก่นสารมีสาระว่าเป็นสุข 1 หรือโดยแก่นสารมีสาระว่าเป็นอัตตา 1 หรือโดยเป็นของเที่ยง 1 หรือโดยเป็นของยั่งยืน 1 หรือโดยเป็นของคงทน 1 หรือโดยความเป็นของไม่แปรผัน เป็นธรรมดา 1 เวทนา....สัญญา....สังขาร.....วิญญาณ....จักขุ....โสตะ....ฯลฯ ชรามรณะไม่มีแก่นสาร หาแก่นสารมิได้ ปราศจากแก่นสาร โดยแก่นสารมีสาระว่าเที่ยง 1 หรือโดยแก่นสารมีสาระยั่งยืน 1 หรือโดยแก่นสารมีสาระว่าเป็นสุข 1 หรือโดยแก่นสารมีสาระว่าเป็นอัตตา 1 หรือโดยเป็นของเที่ยง 1 หรือโดยเป็นของยั่งยืน 1 หรือโดยเป็นของคงทน 1 หรือโดยความเป็นของไม่แปรผันเป็นธรรมดา 1 เปรียบเหมือนต้นอ้อไม่มีแก่น หาแก่นมิได้ปราศจากแก่น ฉันใด เปรียบเหมือนต้นละหุ่งไม่มีแก่น หาแก่นมิได้ ปราศจากแก่น เปรียบเหมือต้นมะเดื่อ....ฉันใด เปรียบเหมือนต้นกุ่ม....ฉันใด เปรียบเหมือนต้นทองกวาว....ฉันใด เปรียบเหมือนฟองน้ำ....ฉันใด เปรียบเหมือนต่อมน้ำ.... ฉันใด เปรียบเหมือนพยับแดด....ฉันใด เปรียบเหมือนต้นกล้วย....ฉันใด เปรียบเหมือนยามา ไม่มีแก่น หาแก่นมิได้ ปราศจากแก่น ฉันใด รูป....ฯลฯ....ชรามรณะ ก็ฉันนั้นนั่นแล ไม่มีแก่นสาร หาแก่นสารมิได้ ปราศจากแก่นสาร โดยแก่นสารมีสาระว่าเที่ยง 1 หรือว่า....ฯลฯ....โดยความเป็นของไม่แปรผันธรรมดา 1 ดังนี้ ''(หน้าที่ 361)'' '''[สุญญตา โดยอาการ 10]''' โยคาวจรนั้น ครั้นกำหนดรู้สุญญตาโดยอาการ 8 อย่างนี้แล้ว จึงกำหนดรู้โดยอาการ 10 ต่อไปอีก (ถาม) กำหนดรู้อย่างไร ? (ตอบ) โยคาวจรผู้นั้นเห็นอยู่ซึ่งรูปโดยความเป็นของว่าง 1 เห็นอยู่โดยความเป็นของว่างเปล่า 1.....โดยความเป็นของสุญ 1....โดยความเป็นอนัตตา 1....โดยความไมมีผู้เป็นใหญ่ 1.....โดยความไม่เป็นของพึงกระทำได้ตามความปรารถนา 1....โดยความเป็นของอันบุคคลไม่พึงบรรลุถึง 1.....โดยเป็นของไม่เป็นไปในอำนาจ 1....โดยความเป็นปรปักษ์ 1....โดยความเป็นของว่าง 1 เห็นอยู่ซึ่งเวทนา....วิญญาณโดยความเป็นของว่าง....ฯลฯ....เห็นอยู่....โดยความเป็นของว่าง ดังนี้ '''[สุญญตา โดยอาการ 12]''' ครั้นกำหนดรู้สุญญตาโดยอาการ 10 อย่างนี้แล้ว จึงกำหนดรู้โดยอาการ 12 ต่อไปอีก คือ กำหนดรู้ดังนี้อย่างไรล่ะ รูปมิใช่สัตว์ 1 มิใช่ชีวะ 1 มิใช่คน 1 มิใช่มาณพ 1 มิใช่สตรี 1 มิใช่บุรุษ 1 มิใช่อัตตา 1 มิใช่ของเนื่องด้วยอัตตา 1 มิใช่ฉัน 1 มิใช่ของฉัน 1 มิใช่ของบุคคลอื่น 1 มิใช่ของใครๆ 1 เวทนา....สัญญา....สังขาร....วิญญาณ....มิใช่ของใครๆ....ดังนี้ '''[สุญญตา โดยอาการ 42]''' ครั้นกำหนดรู้สุญญตาโดยอาการ 12 อย่างนี้แล้ว จึงกำหนดรู้สุญญตาโดยอาการ 42 ด้วยตีรณปริญญา (กำหนดรู้ด้วยความไตรตรอง) ต่อไปอีก กล่าวคือ เห็นอยู่ซึ่งรูป) ''(หน้าที่ 362)'' 1. อนิจจโต โดยความไม่เที่ยง 2. ทุกขโต โดยความเป็นทุกข์ 3. โรคโต โดยความเป็นโรค 4. คัณฑโต โดยความเป็นหัวฝี 5. สัลลโต โดยความเป็นลูกศรเสียบ 6. อฆโต โดยความชั่วร้าย 7. อาพาธโต โดยความป่วยไข้ 8. ปรโต โดยเป็นปรปักษ์ 9. ปโลกโต โดยความแตกทำลาย 10. อีติโต โดยความหายนะ (จัญไร) 11. อุปัททวโต โดยเป็นอุปัทวะ 12. ภยโต โดยเป็นภัย 13. อุปสัคคโต โดยเป็นอุปสรรค 14. จลโต โดยความหวั่นไหว 15. ปภังคุโต โดยความผุพัง 16. อัทธุวโต โดยความไม่ยั่งยืน 17. อตาณโต โดยไม่เป็นที่ต้านทาน 18. อเลณโต โดยไม่เป็นที่หลบลี้ 19. อสรณโต โดยไม่เป็นที่พึ่ง 20. อสรณีภูตโต โดยเป็นสิ่งที่ถือเป็นที่พึ่งมิได้ 21. ริตตโต โดยเป็นของเปล่า 22. ตุจฉโต โดยเป็นของว่าง 23. สุญญโต โดยเป็นของสูญ ''(หน้าที่ 363)'' 24. อนัตตโต โดยไม่มีอัตตา 25. อนัสสาทโต โดยหาความอบอุ่นใจมิได้ 26. อาทีนวโต โดยเป็นโทษร้าย 27. วิปริณามธัมมโต โดยมีความแปรผันไปเป็นธรรมดา 28. อสารกโต โดยหาแก่นสรมิได้ 29. อฆมูลโต โดยเป็นมูลแห่งความชั่วร้าย 30. วธกโต โดยเป็นฆาตกร 31. วิภวโต โดยปราศจากความเจริญ 32. สาสวโต โดยมีอาสวะ 33. สังขตโต โดยเป็นของถูปรุงแต่งไว้ 34. มารามิสโต โดยเป็นเหยื่อล่อของมาร 35. ชาติธัมมโต โดยมีความเกิดเป็นธรรมดา 36. ชราธัมมโต โดยมีความแก่เป็นธรรมดา 37. พยาธิธัมมโต โดยมีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา 38. มรณธัมมโต โดยมีความตายเป็นธรรมดา 39. โสกปริเทวทุกข- โดยมีความโศก มีความคร่ำครวญ มีทุกข์ โทมนัสสุปายาสธมฺมโต มีความโทมนัส มีความคับแค้นใจ เป็น ธรรมดา 40. สมุทยโต โดยเป็นแดนเกิด 41. อัตถังคมโต โดยการถึงความดับสูญ 42. นิสสรณโต โดยเป็นของควรหลีกหนีไป '''เห็นอยู่ซึ่งเวทนา....ซึ่งสัญญา....ซึ่งสังขาร.....ซึ่งวิญญาณ โดยความไม่เที่ยง ฯลฯ โดยเป็นของควรหลีกหนีไป''' ''(หน้าที่ 364)'' อนึ่ง ท่านกล่าวคำต่อไปนี้ว่า "เมื่อเห็นรูปโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ โดยเป็นของควรหลีกหนีไป ชื่อว่าเห็นโลกโดยความเป็นของวางเปล่า เมื่อเห็นเวทนา....ฯลฯ....วิญญาณ โดยความไม่เที่ยง ฯลฯ โดยเป็นของควรหลีกหนีไป ชื่อว่าเห็นโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า (สมด้วยพระพุทธดำรัสที่ทรงตรัสแก่ท่านโมฆราชว่า) สุญฺญโต โลกํ อเวกฺขสฺสุ โมฆราช สทา สโต อตฺตานุทิฏฐึ โอหจฺจ เอวํ มจฺจุตฺตโร สิยา เอวํ โลกํ อเวกฺขนฺตํ มจฺจุราชา น ปสฺสติ. '''แปลความว่า''' ดูก่อนโมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติตลอดเวลา มองเห็น โลกโดยความเป็นของว่างเปล่า พึงถอนอัตตานุทิฏฐิ (คือ ความเห็นเนืองๆว่ามีอัตตา) เสีย จึงจะเป็นผู้ข้ามพ้นมฤตยู ด้วยอาการอย่างนั้น มัจจุราช (มองหา) ไม่เห็นบุคคลผู้มอง เห็นโลกอย่างนี้ '''[วิโมกขกถา]''' ครั้นโยคาวจรเห็น (โลก) โดยความเป็นของว่างเปล่าอย่างนั้นแล้ว ยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ กำหนดรู้สังขารทั้งหลายอยู่ ก็ละความกลัวและความพึงพอใจเสียได้ เป็นผู้มีตนเป็นกลาง วางเฉยในสังขารทั้งหลายไม่ถือว่า "เป็นฉัน" หรือว่า "เป็นของฉัน" เป็นเหมือนบุรุษผู้หย่าขาดภรรยาแล้ว '''[สังขารุเปกขาญาณเปรียบด้วยบรุษผู้หย่าขาดภรรยา]''' เล่ากันว่า บุรุษผู้มีภรรยาเป็นที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพึงพอใจ ปราศจากภรรยานั้นเสียแล้ว เขามิสามารถทนอยู่ได้แม้แต่ครู่เดียว เขารักภรรยานั้นเสียเหลือเกิน บุรุษผู้นั้นเห็นสตรีผู้เป็นภรรยานั้น ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี (หรือนอนอยู่ก็ดี) พูดอยู่ก็ดี หัวเราะอยู่ก็ดี ''(หน้าที่ 365)'' '''กับบุรุษอื่น (เขาก็โกรธ ขัดเคืองใจ ประสบโทมนัสเป็นอย่างยิ่ง ครั้นกาลต่อมา บุรุษผู้นั้นได้เห็นโทษชั่วร้ายของสตรีผู้นั้น ก็มีความปรารถนาที่จะพ้น (จากเธอ) จึงอย่าขาดเธอ ไม่ถือหญิงนั้นว่า "เป็นของฉัน" จำเดิมแต่นั้นมา แม้เขาจะเห็นเธอ ทำอะไรๆ อยู่กับใครๆก็ไม่โกรธเคือง ไม่ถึงความโทมนัส มีตนเป็นกลางวางเฉยได้โดยแท้ ชื่อฉันใด โยคาวจรผู้นี้ก็เหมือนกันฉันนั้น เป็นผู้มีความปรารถนาเพื่อพ้นไปเสียจากสังขารทั้งปวง กำหนดรู้สังขารทั้งหลายอยู่ด้วย ปฏิสังขานุปัสสนา ไม่เห็นความที่สังขารทั้งหลายเป็นของที่พึงถือเอาได้ว่า "เป็นฉัน เป็นของฉัน" จึงละความกลัวและความพึงพอใจเสียได้ เป็นผู้มีตนเป็นกลางวางเฉยในสังขารทั้งปวง เมื่อโยคาวจรผู้นั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็ถอยกลับ หวนกลับวกกลับ ไม่แพร่กระจายไปในภพ 3 ในกำเนิด 4 ในคติ 5 ในวิญญาณฐิติ 7 ในสัตตาวาส 9 วางเฉยอยู่ หรือถอยกลับมา ตั้งมั่นอยู่ เปรียบเหมือนหยดน้ำในใบบัวซึ่งขอบใบงอนิดๆ กลิ้งกลับอยู่ วกกลับอยู่ กลอกกลับอยู่ ไม่แผ่กระจายไป ชื่อแม้ฉันใด (จิตของโยคาวจร) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เปรียบเหมือนขนไก่และสายเอ็น ที่เขาใส่เผาในไฟ ก็งอกลับ งอนกลับ วกกลับ ไม่เหยียดยึดออก ชื่อแม้ฉันใด จิต (ของโยคาวจร) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถอยกลับ หวนกลับ วกกลับ ไม่แพร่กระจายไปในภพ 3 ในกำเนิด 4 ในคติ 5 ในวิญญาณฐิติ 7 ในสัตตาวาส 9 วางเฉยอยู่ หรือ ถอยกลับ ตั้งมั่นอยู่''' เป็นอันว่า ญาณชื่อ สังขารุเปกขาญาณ บังเกิดขึ้นแล้วแก่โยคีท่านนั้นด้วยประการฉะนี้ '''[อุปมาด้วยนกการู้ทิศ]''' แต่ว่า สังขารุเปกขาญาณที่บังเกิดขึ้นแล้วนี้นั้น ถ้าเห็นพระนิพพาน อันเป็นทางสันติ โดยความสงบ ก็จะสลัดทิ้งความเป็นไปของสังขารทั้งปวงแล้วแล่นเข้าสู่พระนิพพานเลยทีเดียว หากว่า ยังไม่เห็นพระนิพพาน โดยความสงบ (สังขารุเปกขาญาณ) ก็มีสังขารเป็นอารมณ์อย่างเดียว แล้วดำเนินไปอยู่ แล้วๆ เล่าๆ เปรียบเหมือนนกกาของพวกพ่อค้าเดินเรือทะเล ''(หน้าที่ 366)'' เล่ากันว่า พวกพ่อค้าเดินเรือทะเล (สมัยโบราณ) เมื่อจะขึ้นเรือ (เดินทางไปในมหาสมุทร) ได้จับเอานกกาที่เรียกว่า ทิสากากะ (คือนกกาผู้รู้ทิศ) ไปด้วย คราวใด เรือถูกลมพายุซัดไปยังประเทศต่างต่างถิ่นฝั่งก็ไม่ปรากฏ คราวนั้น พวกพ่อค้าเหล่านั้นก็ปล่อยการู้ทิศไปกานั้นก็โดจากไม้สลักเสากระโดงเรือขึ้นสู่อากาศ แล้วบินไปตามทิศใหญ่ ทิศน้อยทั่วทุกทิศถ้ามันเห็นฝั่ง มันก็บินมุ่งหน้าไปหาฝั่งนั้นเลย หากว่า มันไม่เห็นฝั่ง มันก็จะบินกลับมาเกาะอยู่ที่ไม้สลักเสากระโดงเรือนั้นเอง ครั้งแล้วครั้งเล่า สังขารุเปกขาญาณ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าเห็นพระนิพพานอันเป็นทางสันติ โดยความสงบ ก็สลัดทิ้งความเป็นไปของสังขารทั้งปวง แล้วแล่นเข้าสู่พระนิพพานเลยทีเดียว หากว่ายังไม่เห็น (พระนิพพาน) ก็มีสังขารเป็นอารมณ์อยู่นั่นแหละ ดำเนินไปแล้วๆเล่าๆ สังขารุเปกขาญาณนี้นั้น เปรียบเหมือนเมล็ดแป้งที่กลิ้งกระทบอยู่ ณ ของกระด้งฝัด (หรือ) เปรียบเหมือนเมล็ดฝ้ายที่เขาหีบออกจากฝ้ายกลิ้งกระทบอยู่ ครั้นกำหนดรู้สังขารทั้งหลายโดยประการต่างๆแล้ว ก็สลัดทิ้งความกลัวและความพึงพอใจเสีย มีตนเป็นกลาง (วางเฉย) ในการพิจารณาเลือกเฟ้นสังขาร ตั้งอยู่โดย อนุปัสสนา 3 ประการ สังขารุเปกขาญาณที่ตั้งอยู่อย่างนี้ ก็มาถึงความเป็น วิโมกขมุข (ประตูแห่งวิโมกข์ คือ พระนิพพาน) 3 ประการ เป็นปัจจัยแห่งการจำแนกพระอริยบุคคล 7 จำพวก '''[ว่าด้วยวิโมกข์ 3]''' ในการถึงความเป็น วิโมกขมุข และความเป็นปัจจัยแห่งการจำแนกพระอริยบุคคล 7 นั้น นับว่า วิปัสสนาญาณนี้มาถึงความเป็น วิโมกมุข 3 อย่าง โดยความเป็นอธิบดี (ความยิ่งใหญ่) ของอินทรีย์ 3 (สัทธินทรีย์ 1 สมาธินทรีย์ 1 ปัญญินทรีย์ 1) เพราะดำเนินไปด้วยอนุปัสสนา ภ ประการ เพราะท่านกล่าวว่า อนุปัสสนา 3 ก็คือ วิโมกมุข 3 ดังบาลี (แปลความได้) ว่า "อันว่า วิโมกขมุข 3 นี้แล ดำเนินไปเพื่อออกไปจากโลกกล่าวคือ เพื่อเห็นอยู่เสมอเนืองๆ ซึ่งสังขารทั้งปวง โดยขอบเขตและโดยวนรอบ 1 เพื่อให้จิตแล่นเข้าสู่ธาตุหานิมิตมิได้ (พระนิพพาน) 1 เพื่อเร่งเร้าใจให้จดจ่ออยู่เสมอในสังขารทั้งปวง 1 เพื่อให้จิตแล่นเข้าสู่ธาตุหาที่ตั้งกิเลสมิได้ 1 เพื่อเห็นอยู่เสมอเนืองๆ ซึ่งธรรมทั้งปวงโดย ''(หน้าที่ 367)'' '''ความเป็นปรปักษ์ 1 และเพื่อให้จิตแล่นเข้าสู่ธาตุอันว่างเปล่า 1 วิโมกขมุข 3 นี้ ดำเนินไปเพื่อออกไปจากโลก" ดังนี้ ''' คำว่า "โดยขอบเขตและวนรอบ" ใน (คำแปล) บาลีนั้น หมายความว่า โดยกำหนดขอบเขตอยู่ด้วยความเกิดและความดับและโดยวนรอบ (ด้วยความเกิดและความดับ) เพราะว่า อนิจจานุปัสสนากำหนดขอบเขตว่า "ก่อนแต่เกิดขึ้น สังขารทั้งหลายหามีไม่" แล้วติดตามดูภูมิที่ไปของสังขารทั้งหลายเหล่านั้นอยู่เสมอ ก็เห็นอยู่เสมอเนืองๆ โดยวนรอบ (เป็นวงกลม) ว่า "หลังจากดับ สังขารทั้งหลายเหล่านั้น หาดำเนินไปที่อื่นไม่ (แต่) อันตรธานไป ณ ที่นั้นนั่นเอง" คำว่า "เพื่อเร่งเร้าใจให้จดจ่ออยู่เสมอ" หมายความว่า เพื่อให้จิตเกิดสังเวช เพราะว่า ด้วยทุกขานุปัสสนา (การเห็นเนืองๆ โดยความเป็นทุกข์) จิตก็สังเวชในสังขารทั้งหลาย คำว่า "เพื่อเห็นอยู่เสมอเนือง....โดยความเป็นปรปักษ์" หมายความว่า เพื่อเห็นอยู่เสมอเนืองๆ โดยไม่มีอัตตาอย่างนี้ว่า "ไม่มีฉัน" บททั้ง 3 นี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวด้วยอนุปัสสนา 3 มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้นแล ในการวิสัชนาปัญหาในลำดับต่อจากนี้ไป ท่านจึงกล่าวไว้ว่า "เมื่อมนสิการอยู่โดยความเป็นของไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายปรากฏโดยความสิ้นไป เมื่อมนสิการอยู่โดยความเป็นทุกข์ สังขารทั้งหลายปรากฏโดยความน่ากลัว เมื่อมนสิการโดยความไม่มีอัตตา สังขารทั้งหลาย ปรากฏโดยความว่างเปล่า" ดังนี้ (ถามว่า) แต่ทว่า วิโมกข์ทั้งหลายซึ่งมีอนุปัสสนาเหล่านี้เป็นมุขนั้น คือ อะไรบ้าง? (ตอบว่า) ได้แก่ วิโมกข์ 3 เหล่านี้ คือ อนิมิตตวิโมกข์ 1 อัปปณิหิตวิโมกข์ 1 สุญญตวิโมก 1 ความจริง ท่านก็กล่าวคำนี้ไว้แล้วว่า "โยคาวจรผู้มนสิการอยู่โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยอธิโมกข์ (ความเชื่อ) ก็ได้เฉพาะซึ่งอนิมิตตวิโมกข์ โยคาวจรผู้มนสิการอยู่โดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยปัสสัทธิ (ความสงบ) ก็ได้เฉพาะ ซึ่งอัปปณิหิตตวิโมกข์โยคาวจรผู้มนสิการอยู่โดยความไม่มีอัตตาเป็นผู้มากด้วยความรู้ก็ได้เฉพาะซึ่งสุญญตวิโมกข์" ดังนี้ ''(หน้าที่ 368)'' '''อนึ่ง ในวิโมกข์ 3 นี้ พึงทราบว่า อริยมรรคที่ทำพระนิพพานเป็นอารมณ์แล้วดำเนินไป โดยอาการหานิมิตมิได้ คือ อนิมิตตวิโมกข์ เพราะว่า อริยมรรคนั้น ชื่อว่าอนิมิตตะ เพราะบังเกิดขึ้นจากธาตุที่หานิมิตมิได้ และชื่อว่า วิโมกข์ เพราะพ้นแล้วจากกิเลสทั้งหลาย (และ) พึงทราบโดยนัยนี้เช่นกันว่า อริยมรรคที่ทำพระนิพพานเป็อารมณ์ แล้วดำเนินไปโดยอาการหากิเลสเป็นที่ตั้งมิได้ คือ อัปปณิหิตวิโมกข์ อริยมรรคที่ทำพระนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วดำเนินไปโดยอาการว่างเปล่า คือ สุญญตวิโมกข์ แต่วิโมกข์ที่กล่าวไว้ในพระอภิธรรมมีเพียง 2 อย่างเท่านั้น ซึ่งท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "ในสมัยใด พระภิกษุทำโลกุตตาฌาน เป็นเครื่องออกไป (จากโลก) ถึงความไม่สะสมไว้ ให้เกิดขึ้น เพื่อละเสียซึ่งความเห็นผิดทั้งหลาย เพื่อบรรลุปฐมภูมิ (โสดาปัตติผล) ว่างเว้นแล้วโดยแท้จากกามทั้งหลาย.....เข้าถึงฌานที่ 1 อันเป็นอัปปณิหิตะอยู่....เข้าถึงฌานที่ 1 อันเป็นสุญญตะอยู่''' ที่กล่าววิโมกข์ในพระอภิธรรมมีเพียง 2 นั้น ท่านกล่าวหมายถึงการมา (ของมรรค) โดยทางวิปัสสนาโดยตรง เพราะถึงแม้ว่า ท่านได้กล่าวถึงวิปัสสนาญาณไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคแล้วว่า "เป็นสุญญตวิโมกข์ ด้วยการปลดเปลื้องเสียซึ่งความยึดมั่น โดยอธิบายอย่างนี้ว่า "อนิจจานุปัสสนาญาณ ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งความยึดมั่นว่าเป็นของเที่ยง ทุกขานุปัสสนาญาณ ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งความยึดมั่นว่าเป็นสุข อนัตตานุปัสสนาญาณ ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่ง ความยึดมั่นว่ามีอัตตา" ดังนี้ อย่าง 1 ว่า "เป็นอนิมิตตวิโมกข์ ด้วยการปลดเปลื้องเสียซึ่งนิมิต โดยอธิบายอย่างนี้ว่า "อนิจจานุปัสสนาญาณ ชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งนิมิตว่าเป็นของเที่ยง ทุกขานุปัสสนาญาณ ชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งนิมิตว่าเป็นสุข อนัตตานุปัสสนาญาณ ชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งนิมิตว่ามีอัตตา" ดังนี้ อย่าง 1 และว่า "เป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ ด้วยการปลดเปลื้องเสียซึ่งตัณหาเป็นที่ตั้งมั่น (ปณิธิ) โดยอธิบายอย่างนี้ว่า "อนิจจานุปัสสนาญาณ ชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งปณิธิว่าเที่ยง ทุกขานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งปณิธิว่าเป็นสุข อนัตตานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า ''(หน้าที่ 369)'' '''อัปปณิหิตวิโมกข์ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งปณิธิว่ามีอัตตา" ดังนี้ อย่าง 1 แม้อย่างนั้นก็ตาม วิปัสสนาญาณนั้น ก็หาเป็นอนิมิตตะโดยตรงไม่ เพราะยังละนิมิตคือสังขารมิได้ แต่ทว่า เป็นทั้งสุญญตะและอัปปณิหิตะโดยตรง และด้วยการมา (ของมรรค) โดยวิปัสสนาญาณนั้น ท่านจึงยกวิโมกข์ขึ้นไว้ในขณะแห่งอริยมรรค เพราะฉะนั้น พึงทราบเถิดว่า ท่านกล่าวถึงวิโมกข์ไว้ (ในพระอภิธรรม) เพียง 2 เท่านั้น คือ อัปปณิหิตตวิโมกข์และสุญญตวิโมกข์ ''' กล่าวด้วยวิโมกข์ ในอธิการแห่งวิปัสสนานี้ เพียงนี้ก่อน '''[พระอริยบุคคล 7 จำพวก]''' คำใดที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้อีกว่า "(สังขารุเปกขาญาณ....เป็นปัจจัยแก่การจำแนกพระอริยบุคคล 7 จำพวก" พระอริยบุคคล 7 จำพวก ในคำกล่าว (ข้างต้น) นั้น ก่อนอื่นได้แก่ พระอริยบุคคล 7 จำพวกเหล่านี้ คือ 1. สัทธานุสารี ผู้ดำเนินไปด้วยศรัทธา 2. สัทธาวิมุต ผู้พ้นพิเศษด้วยศรัทธา 3. กายสักขี ผู้มีนามกายเป็นสักขีพยาน 4. อุภโตภาควิมุต ผู้พ้นพิเศษโดยส่วนทั้งสอง 5. ธัมมานุสารี ผู้ดำเนินไปด้วยธรรม คือ ปัญญา 6. ทิฏฐิปัตตะ ผู้บรรลุด้วยการเห็น (อริยมรรค) 7. ปัญญาวิมุต ผู้พ้นพิเศษด้วยปัญญา '''สังขารุเปกญาณนี้ เป็นปัจจัยแก่การจำแนกพระอริยบุคคล 7 จำพวกเหล่านั้นด้วย''' (1) และ (2) เพราะว่า ท่านผู้ใด มนสิการโดยความไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยอธิโมกข์ (ความเชื่อ) ได้เฉพาะซึ่งสัทธินทรีย์ ท่านผู้นั้นเป็น สัทธานุสารี ในขณะ (บรรลุ) โสดาปัตติมรรค เป็นสัทธาวิมุตใน 7 ฐานะ (อริยมรรค – อริยผล) นอกนี้ ''(หน้าที่ 370)'' (3) ส่วนท่านผู้ใด มนสิการอยู่โดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มีปัสสัทธิ (ความสงบ) มากได้เฉพาะซึ่งสมาธินทรีย์ ท่านผู้นั้น ชื่อว่าเป็น กายสักขี ในทุกฐานะ (คือ ในอริยมรรค อริยผลทั้ง 8) (4) แต่ท่านผู้ได้อรูปฌานแล้ว บรรลุ (อริย) ผลสุดยอดแล้วเป็นผู้มีนามว่า อุภโตภาควิมุต (5) ส่วนท่านใด มนสิการอยู่โดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มีความรู้มาก ได้เฉพาะซึ่งปัญญินทรีย์ ท่านผู้นั้น เป็น ธัมมานสารี ในขณะโสดาปัตติมรรค แต่ (6) และ (7) เป็น ทิฏฐิปัตตะ ใน 6 ฐานะ และ เป็นปัญญวิมุต ในผลสุดยอด (อรหัตตผล) เป็นความจริง ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า "สำหรับท่านผู้มนสิการอยู่โดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณมาก ท่านผู้มนสิการได้บรรลุโสดาปัตติมรรค เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณมาก เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า สัทธานุสารี" อนึ่ง ท่านยังกล่าวไว้ด้วยว่า "สำหรับ ผู้มนสิการอยู่โดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์ย่อมมีประมาณมาก เพราะเหตุที่สัทธินทรีย์มีประมาณมาก จึงเป็นอันทำให้เห็นแจ้งแล้วซึ่งโสดาปัตตผล เพราะฉะนั้น จึงเรียกท่านว่า สัทธาวิมุต" ดังนี้เป็นต้น ทั้งยังได้กล่าวไว้อีกว่า "เรียกว่า สัทธาวิมุต เพราะผู้เชื่ออยู่เป็นผู้พ้นพิเศษแล้ว เรียกว่า กายสักขี เพราะทำให้เห็นแจ้งแล้วในลำดับแห่งอรูปฌานที่ตนสัมผัสแล้ว เรียกว่า ทิฏฐิปัตตะ เพราะบรรลุแล้วในลำดับแห่งการเห็น (อนึ่ง) เรียกว่าสัทธาวิมุต เพราะเชื่ออยู่จึงพ้นพิเศษ เรียกว่า กายสักขี เพราะถูกต้องซึ่งการสัมผัสด้วยฌานก่อน จึงทำให้เห็นแจ้งซึ่งนิโรธ คือพระนิพพานในภายหลัง เรียกว่า ทิฏฐิปัตตะ เพราะรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว เห็นแจ้งแล้ว สัมผัสแล้ว ด้วยปัญญา คือญาณกำหนดรู้ว่า "สังขารทั้งหลายเป็นเป็นทุกข์ นิโรธ (คือความดับ) เป็นสุข" ดังนี้ ส่วนในอีก 4 บทนั้น พึงทราบความหมายของคำอย่างนี้ คือ ท่านผู้ใดดำเนินตามศรัทธา หรือว่าดำเนินไป คือไปด้วยศรัทธา เพราะเหตุนี้ ท่านผู้นั้นชื่อว่า สัทธานุสารี อนึ่ง ท่านผู้ใดดำเนินตามธรรมกล่าว ''(หน้าที่ 371)'' คือปัญญา หรือดำเนินตามไปด้วยธรรม (คือปัญญา) เพราะเหตุนี้ ท่านผู้นั้นชื่อว่า ธัมมานุสารี เช่นกัน ท่านผู้ใดพ้นพิเศษแล้วโดยส่วนทั้งสอง คือ ด้วยอรูปฌานและด้วยอริยมรรค เพราะเหตุนี้ ท่านผู้นั้นชื่อว่า อุภโตภาควิมุต ท่านผู้ใดกำหนดรู้อยู่ เป็นผู้พ้นพิเศษแล้ว เพราะเหตุนี้ท่านผู้นั้นชื่อว่า ปัญญาวิมุต ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้ '''ว่าด้วยสังขารุเปกขาญาณ''' '''[สังขารุเปกขาญาณ มี 3 ชื่อ]''' แต่ว่า สังขารุเปกขาญาณนี้นั้น โดยความหมาย ก็เป็นญาณเดียวกันกับ 2 ญาณข้างต้น (คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ และปฏิสังขานุปัสสนาญาร) เพราะเหตุนั้น ท่านพระโบราณจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า "สังขารุเปกขาญาณนี้ ญาณเดียวนั่นแลได้ชื่อ 3 ชื่อ คือ เกิดขึ้นในตอนต้น มีชื่อว่า มุญจิตุกัมยตาญาณ เกิดขึ้นในตอนกลาง มีชื่อว่า ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และในตอนท้ายที่บรรลุถึงยอด มีชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ" ถึงแม้ในพระบาลี (ปฏิสัมภิทามรรค) ท่านก็กล่าวไว้ (ดังคำแปลต่อไปนี้) ว่า "(ถาม) ปัญญา ในความปรารถนาเพื่อพ้นไป ในการพิจารณาทบทวนและในการตั้งเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณ คืออย่างไร ? (ตอบ) คือ ปัญญาในความปรารถนาเพื่อพ้นไป ในการพิจารณาทบทวนซึ่งความเกิดขึ้น (ของสังขาร) และในการตั้งเฉยอยู่ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณปัญญา ในความปรารถนาเพื่อพ้นไป ในการพิจารณาทบทวนและการตั้งเฉยอยู่ ซึ่งความเป็นไป.....ซึ่งนิมิต....ฯลฯ....ซึ่งอุปายาส ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ปัญญาในความปรารถนาเพื่อพ้นไป ในการพิจารณาทบทวนและในการตั้งเฉยอยู่ว่า "ความเกิดขึ้น เป็นทุกข์" ฯลฯ ว่า....เป็นสิ่งน่ากลัว....ว่า.....มีอามิส ฯลฯ ว่า ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ฯลฯ ว่า อุปายาสเป็นสังขาร ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ" ดังนี้ ความปรารถนาเพื่อพ้นไป 1 การพิจารณาทบทวนนั้น 1 และการตั้งเฉยอยู่ 1 ชื่อว่า มุญจิตุกัมยตาปฏิสังขาสันติฏฐนา ในพระบาลี (ดังคำแปลข้างต้น) นั้น เมื่อโยคีเบื่อหน่าย ''(หน้าที่ 372)'' ด้วยนิพพิทาญาณในตอนต้น ด้วยประการฉะนี้แล้ว ก็มีความปรารถนาที่จะสลัดทิ้งซึ่งความเกิดขึ้น (ของสังขารทั้งหลาย) เป็นต้น ชื่อว่า มุญจิตุกัมยตา การพิจารณาทบทวนในตอนกลาง เพื่อทำอุบายแห่งการพ้นไป (จากสังขารทั้งหลาย) ชื่อว่า ปฏิสังขา การพ้นไป แล้ววางเฉยอยู่ ในตอนสุดท้าย ชื่อว่า สันติฏฐนา ซึ่งท่านระบุถึงแล้วกล่าวไว้ว่า "ความเกิดขึ้น เป็นสังขาร พระภิกษุวางเฉยซึ่งสังขารทั้งหลายเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า สังขารุเปกขา" ดังนี้ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ญาณนี้จึงเป็นญาณเดียวเท่านั้น อีกประการหนึ่ง พึงทราบแม้โดยพระบาลีนี้ไว้ด้วยว่า ญาณนี้ เป็นญาณเดียวเท่านั้น ที่จริงท่านก็กล่าวไว้แล้วดังนี้ว่า "ความปรารถนาเพื่อพ้นไป 1 การเห็นเนืองๆ ด้วยการพิจารณาทบทวน 1 และการวางเฉยในสังขาร 1 ธรรม (คือญาณ) ทั้งหลายเหล่านี้มีความหมายอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นที่ต่างกัน" '''[วุฏฐานคามินีวิปัสสนา]''' แต่เมื่อกุลบุตรนี้บรรลุสังขารุเปกขาญาณด้วยประการฉะนี้แล้ว วิปัสสนาก็ถึงยอด เป็น วุฏฐานคามินี คำว่า "สิขาปปัตตาวิปัสสนา (วิปัสสนาถึงยอด)" ก็ดี "วุฏฐานคามินี" ก็ดี นี้เป็นชื่อของญาณ 3 ญาณ มีสังขารุเปกขาญาณเป็นต้นนั่นเอง เพราะว่า สังขารุเปกขา นั้นชื่อว่าถึงยอด (สิขาปปัตตา) เพราะลุถึงยอด คือถึงความสูงสุด (และ) ชื่อว่า วุฏฐานคามินี เพราะไปสู่วุฏฐานะ ท่านเรียก (อริย) มรรคว่า วุฏฐานะ เพราะออกไปจากวัตถุ (สังขาร) ที่กำหนดโดยความเป็นนิมิตภายนอก และเพราะออกจากความเป็นไป (ของสังขาร) ที่กำหนด โดยความเป็นนิมิตภายนอก และเพราะออกจากความเป็นไป (ของสังขาร) ภายใน ชื่อว่า วัฏฐานคามินี เพราะไปสู่วุฏฐานะนั้น อธิบายว่า เพราะสืบต่ออยู่กับมรรค '''[มาติกาแห่งอภินิเวสและวุฏฐานะ]''' เพื่อต้องการเข้าใจแจ่มแจ้งซึ่งอภินิเวส (การกำหนด) และวุฏฐานะ (การออกไป) ในคำที่กล่าวไว้โดยสังเขป (ข้างต้น) นั้น มีมาติกา ดัง (คำแปล) ต่อไปนี้ ''(หน้าที่ 373)'' '''[โยคี ที่ 1]''' 1. โยคีกำหนดภายในแล้วออกจากภายใน 1 กำหนดภายในแล้วออกจากภายนอก 1 กำหนดจากภายนอกแล้วออกจากภายนอก1 กำหนดจากภายนอกแล้วออกจากภายใน 1 '''[โยคี ที่ 2]''' 2. โยคีกำหนดในรูป แล้ออกจากรูป 1 กำหนดในรูป แล้วออกจากอรูป 1 กำหนดในอรูปแล้วออกจากอรูป 1 กำหนดในอรูปแล้วออกจากรูป 1 ออกจากขันธ์ทั้ง 5 พร้อมกัน 1 '''[โยคี ที่ 3]''' 3. โยคีกำหนดโดยความไม่เที่ยง ออกจากความไม่เที่ยง 1 กำหนดโดยความไม่เที่ยง ออกจากความเป็นทุกข์ จากความไม่มีอัตตา 1 กำหนดโดยความเป็นทุกข์ จากความไม่เที่ยง จากความไม่มีอัตตา 1 กำหนดโดยความไม่มีอัตตา ออกจากความไม่มีอัตตา จากความไม่เที่ยง จากความเป็นทุกข์ 1 '''[อธิบายความ]''' (ถาม) กำหนดอย่างไร ? ออกอย่างไร ? (ตอบ) 1. โยคีบางท่าน (ท่านที่ 1) ในพระศาสนานี้ กำหนดอยู่ในสังขารภายในทั้งหลาย แต่เริ่มแรกมาเลย ครั้นกำหนดแล้ว ก็เห็นสังขารภายในเหล่านั้น แต่เพราะเหตุที่ วุฏฐานะ (การออกไป) คือมรรค หามีโดยเพียงแต่การเห็นสังขารภายในล้วนๆ เท่านั้นไม่ ต้องเห็นแม้สังขารภายนอกด้วยเหมือนกัน เพราะฉะนั้น เขาจึงเห็นขันธ์ทั้งหลายของผู้อื่นบ้าง เห็นสังขารทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนกะบ้าง ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีอัตตา โยคีท่านนั้นกำหนดรู้ภายในตามกาลเวลา กำหนดรู้ภายนอกตามกาลเวลา ในเวลากำหนดรู้ภายในวิปัสสนาของโยคีท่านนั้น ผู้กำหนดรู้อยู่อย่างนี้ ก็สืบต่ออยู่กับมรรค โยคีท่านนี้ชื่อว่า กำหนดภายในแล้วออกไปจากภายใน ''(หน้าที่ 374)'' แต่ถ้าวิปัสสนาของโยคีท่านนั้นสืบต่ออยู่กับมรรคในเวลากำหนดรู้ภายนอก โยคีท่านนี้ ชื่อว่า กำหนดภายในแล้วออกไปจากภายนอก แม้ในการกำหนดรู้จากภายนอกแล้วออกไปจากภายนอก และในการกำหนดรู้จากภายนอกแล้วออกมาจากภายใน ก็มีนัยดังนี้ 2. โยคีอีกท่านหนึ่ง (ท่านที่ 2) กำหนดอยู่ในรูป แต่แรกเริ่มมาเลย ครั้นกำหนดแล้วก็เห็นภูตรูปและอุปาทายรวมกองเดียวกัน แต่เพระเหตุที่วุฏฐานะ (การออกไป) หามีโดยเพียงแต่การเห็นรูปล้วนๆเท่านั้นไม่ แม้อรูปก็ต้องเห็นด้วยเหมือนกัน เพราะฉะนั้นโยคีจึงทำรูปให้เป็นอารมณ์ แล้วเห็นอรูป คือ เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ ที่เกิดขึ้นว่า "นี้ เป็นอรูป" โยคีท่านนั้น กำหนดรู้รูปตามกาลเวลา กำหนดรู้อรูปตามกาลเวลา เมื่อโยคีนั้นกำหนดรู้อย่างนี้ วิปัสสนาในการกำหนดรู้รูป ก็สืบต่อกับมรรค โยคีผู้นี้ชื่อว่า กำหนดอยู่ ในรูปแล้วออกไปจากรูป แต่ถ้าวิปัสสนาของโยคีนั้น สืบต่ออยู่กับมรรคในเวลากำหนดรู้อรูป โยคีผู้นี้ชื่อว่า กำหนดอยู่ในรูปแล้วออกไปจากอรูป แม้ในการกำหนดอยู่ในอรูปแล้วออกไปจากอรูปก็ดี และในการกำหนดอยู่ในอรูปแล้ว ออกไปจากรูปก็ดี ก็มีนัยดังนี้ แต่ในการกำหนดอย่างนี้ว่า "ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ- สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ แล้วออกไปโดยอาการอย่างนั้นเช่นกัน โยคี(ท่านนี้) ชื่อว่า ออกไปจากขันธ์ทั้ง 5 พร้อมกัน 3. โยคีท่านหนึ่ง (ท่านที่ 3) กำหนดรู้สังขารทั้งหลายโดยความไม่เที่ยง มาแต่แรกเริ่มเลย แต่เพราะเหตุที่วุฏฐานะ หามีโดยเพียงแต่กำหนดรู้โดยความไม่เที่ยงเท่านั้นไม่ต้องกำหนดรู้โดยความเป็นทุกข์บ้าง โดยความเป็นอนัตตาบ้าง ด้วยเหมือนกัน เพราะฉะนั้น โยคีจึงกำหนดรู้โดยความเป็นทุกข์บ้าง โดยความเป็นอนัตตาบ้าง เมื่อโยคีนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ วุฏฐานะก็มีขึ้นในเวลากำหนดรู้โดยความไม่เที่ยง โยคีท่านนี้ชื่อว่ากำหนดโดยความไม่เที่ยงแล้วออกไปจากความไม่เที่ยง ''(หน้าที่ 375)'' แต่ถ้าวุฏฐานะมีแก่โยคีนั้นในเวลากำหนดรู้โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา โยคีท่านนี้ชื่อว่ากำหนดโดยความไม่เที่ยงแล้วออกไปจากทุกข์ จากอนัตตา แม้ในการกำหนดโดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา แล้วออกไปจากลักษณะที่เหลือนอกนี้ ก็มีนัยดังนี้ '''[กล่าวถึงพระอริยบุคคล 7 จำพวก อีกครั้ง]''' อนึ่ง ในการกำหนดและการออกไปนี้ โยคีผู้ใดกำหนดในความไม่เที่ยงก้ดี โยคีผู้ใดกำหนดโดยความเป็นทุกข์ก็ดี โยคีผู้ใดกำหนดโดยความเป็นอนัตตาก็ดี และในเวลาออกไป มีการออกไปจากความไม่เที่ยง ชน (โยคี) แม้ทั้ง 3 ท่านเป็นผู้มีอธิ โมกข์ (ความเชื่อ) มาก จึงได้เฉพาะซึ่งสัทธินทรีย์ พ้นพิเศษไปด้วยอนิมิตตวิโมกข์ เป็น สัทธานุสารี ในขณะ (บรรลุ) ปฐมมรรค (โสดาปัตติมรรค) เป็น สัทธาวิมุต ใน 7 ฐานะ แต่ถ้ามีการออกไปจากทุกข์ชนแม้ทั้ง 3 ท่าน เป็นผู้มีปัสสัทธิ (ความสงบ) มาก จึงได้เฉพาะซึ่งสมาธินทรีย์ พ้นพิเศษไปด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ เป็น กายสักขี ในทุกฐานะ แต่ทว่า ในชน 3 ท่านนี้ ท่านผู้ใดมีอรูปฌานเป็นบาท ท่านผู้นั้นเป็น อุภโตภาควิมุต ในผลสุดยอดขณะนั้น (ถา) ชนทั้ง 3 ท่านเหล่านั้น มีการออกไปจากอนัตตา ชนแม้ทั้ง 3 ท่านเป็นผู้มีความรู้มาก จึงได้เฉพาะซึ่งปัญญินทรีย์ พ้นพิเศษไปด้วยสุญญตวิโมกข์ เป็น ธัมมานุสารี ในขณะปฐมมรรคเป็น ทิฏฐิปัตตะ ใน 6 ฐานะ เป็น ปัญญาวิมุต ในผลสุดยอด ด้วยประการฉะนี้ '''[อุปมา 12 ข้อ]''' บัดนี้ เพื่อความแจ่มแจ้งของ วุฏฐานคามินีวิปัสสนา นี้ พร้อมทั้งญาณก่อนๆ (มีภยตุปัฏฐานญาณเป็นต้น) และญาณหลังๆ (มีโคตรภูญาณเป็นต้น) ควรทราบอุปมา 12 ข้อไว้ อุปมา 1- ข้อเหล่านั้นมีหัวข้อเรื่อง ดังนี้ วคฺคคุลี กณฺหสปฺโป จ ฆรํ โค ยกฺขิ ทารโก ขุทฺทํ ปิปาสํ สีตุณฺหํ อนฺธการํ วิเสน จ. ''(หน้าที่ 376)'' แปลความว่า ค้างคาว งูเห่า เรือน วัว นางยักษ์ ทารก ความหิว ระหาย ความหนาว ร้อน ความมืด และยาพิษ. และควรนำอุปมาเหล่านี้มาตั้งไว้ในญาณใดญาณหนึ่ง ตั้งต้นแต่ภยตุปัฏฐานญาณขึ้นมา แต่เมื่อนำเอาอุปมาทั้งหลายนั้นมาในฐานะ (แห่งวุฏฐานคามินีวิปัสสนา) นี้ ญาณทั้งปวง (รวมทั้งกิจทั้งปวงของญาณ) ตั้งแต่ภยตุปัฏฐานญาณจนถึงผลญาณ ก็จะปรากฏชัด เพราะ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ควรนำ (อุปมาทั้งหลายนั้น) มากล่าว ณ ที่นี้ด้วยเหมือนกัน '''[1. อุปมาด้วยค้างคาว]''' เล่ากันว่า นกค้างคาวตัวหนึ่ง คิดว่า จักได้ดอกไม้หรือผลไม้บนต้นไม้นี้ จึงแอบซ่อนตัวอยู่บนต้นมะซางซึ่งมีกิ่ง 5 กิ่ง แล้วเกาะกิ่งหนึ่งอยู่ไม่พบดอกไม้ หรือผลไม้ ไรๆ ที่ควรถือเอาได้บนกิ่งนั้น และไปเกาะกิ่งที่ 2 กิ่งที่ 3 กิ่งที่ 4 แม้กิ่งที่ 5 ก็ไม่พบ (ดอกหรือผลไรๆ) เหมือนอย่างกิ่งที่ (ที่) 1 นกค้างคาวตัวนั้น จึงคิดว่า ต้นไม้ต้นนี้ไม่มีผลแน่ๆ อะไรๆ ที่ควรถือเอาได้ก็ไม่มีบนต้นไม่นี้ จึงทอดอาลัยบนต้นไม้นั้น แล้วไต่ขึ้นไปบนกิ่งตรง ชูหัวออกไปทางระหว่างค่าคบ แหงนดูขึ้นไปข้างบน แล้วโผขึ้นไปในอากาศ ไปแอบอยู่บนต้นไม้มีผลต้นอื่น ในอุปมานั้น พึงเห็นโยคาวจร เป็นเหมือนค้างคาว อุปาทานขันธ์ 5 เป็นเหมือนต้นมะซางซึ่งมีกิ่ง 5 กิ่ง การที่โยคี กำหนดอยู่ในขันธ์ 5 ก็เหมือนการที่ค้างคาวแอบอยู่บนต้นมะซางนั้น การที่โยคีกำหนดรู้รูปขันธ์แล้วไม่เห็นอะไรๆ ที่ควรถือเอาได้ในรูปขันธ์นั้น จึงกำหนดรู้ขันธ์อื่นที่เหลือ ก็เหมือนการที่ค้างคาวเกาะกิ่งไม้กิ่งหนึ่งๆ ไม่พบอะไรๆ ที่ควรถือเอาได้ จึงไปเกาะกิ่งไม้อื่นที่เหลือนอกนั้น ญาณ 3 มีมุญจิตุกัมยตาญาณเป็นต้น ของโยคีผู้เบื่อหน่ายแล้ว ด้วยการเห็นลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้นในขันธ์แม้ทั้ง 5 ก็เหมือนการที่ค้างคาวนั้นคิดว่าต้นไม้ต้นนี้ไม่มีผลแน่ๆ แล้วทอดอาลัยในต้นไม้ อนุโลมญาณของโยคี ก็เหมือนการที่ค้างคาวนั้นไต่ขึ้นไปเบื้องบนของกิ่งไม้กิ่งตรง โคตรภูญาณ ก็เหมือนการชูหัวออกไปแหงนดูข้างบน (ของค้างคาว) มรรคญาณ เปรียบเหมือนการโผขึ้นไปในอากาศ (ของค้างคาว) ผลญาณ เปรียบเหมือนการแอบอยู่บนต้นไม้มีผลต้นอื่น ''(หน้าที่ 377)'' '''[2. อุปมาด้วยงูเห่า]''' อุปมาด้วยงูเห่า ได้กล่าวมาแล้วใน (ตอนว่าด้วย) ปฏิสังขาญาณ แต่ในการเปรียบเทียบด้วยอุปมาในที่นี้ มีความแปลกออกไปดังนี้ คือ โคตรภูญาณเปรียบเหมือนการปล่อยงูไป มรรคญาณเปรียบเหมือนการยืนอยู่ของบุรุษผู้ปล่อยงูแล้วมองดูทางที่ตนมาอยู่ ผลญาณเปรียบเหมือนการไปยืนอยู่ในที่ปลอดภัย '''[3. อุปมาด้วยเรือน]''' เรื่องมีว่า เมื่อเจ้าของเรือนบริโภคอาหารในตอนเย็นแล้ว ก็ขึ้นนอนหลับไป เรือนถูกไฟไหม้ เขาตื่นขึ้นเห็นไฟ ก็กลัว คิดว่า พึงเป็นการดีแน่ ถ้าเราไม่ถูกไฟไหม้ รีบออกไปเสียก่อน" มองหา ครั้นเห็นทางก็ออกไป รีบไปยืนอยู่ ณ ที่ปลอดภัย ในอุปมานั้น การที่พาลปุถุชนยึดถือขันธ์ 5 ว่า เป็นฉัน เป็นของฉัน เปรียบเหมือนการที่เจ้าของเรือน บริโภคอาหาร (ในตอนเย็น) แล้วขึ้นที่นอน นอนหลับไป การ (ที่โยคี) ปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติแล้วเห็นพระไตรลักษณ์ (เกิด) ภยตุปัฏฐานญาณเปรียบเหมือนกาล (แห่งเจ้าของเรือน) ตื่นขึ้นเห็นไฟแล้วกลัว มุญจิตุกัมยตาญาณเปรียบเหมือนการมองหาทางออก อนุโลมญาณเปรียบเหมือนการเห็นทาง โคตรภูญาณเปรียบเหมือนการออกไป มรรคญาณเปรียบเหมือนการรีบไป ผลญาณเปรียบเหมือนการยืนอยู่ ณ ที่ปลอดภัย [4. อุปมาด้วยวัว] เล่ากันว่า ขณะที่ชาวนาผู้หนึ่งนอนหลับอยู่ในเวลากลางคืน วัวทั้งหลายก็แหกคอกหนีไป ครั้นเวลาเช้ามืด ชาวนาผู้นั้นไปตรวจดูในคอกนั้น รู้ว่าวัวเหล่านั้นหนีไปแล้ว จึงตามรอยไปก็พบวัวทั้งหลายของพระราชา มั่นหมายว่าวัวเหล่านั้นเป็นของตน จึงต้อนกลับมา ครั้นเวลารุ่งแจ้งก็จำได้ว่า วัวเหล่านี้มิใช่ของตน เป็นวัวของพระราชา จึงกล่าวว่า ตราบใดที่พวกราชบุรุษจะยังไม่จับเราไว้ ว่าผู้นี้เป็นโจร แล้วทำให้ถึงความพินาศ ตราบนั้นเราจักหนีไปเสียก่อน จึงทิ้งฝูงวัวไว้แล้วจึงรีบหนีไปอยู่ในที่ปลอดภัย ในอุปมานั้น การที่พาลปุถุชนยึดถือขันธ์ทั้งหลาย ว่าเป็นฉัน เปรียบเหมือนการ (ที่ชาวนา) จับต้อนวัวทั้งหลายของพระราชามาด้วยสำคัญว่าเป็นวัวของตน การหมายรู้ ''(หน้าที่ 378)'' '''ขันธ์ทั้งหลายว่า "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" โดยพระไตรลักษณ์ ของโยคี เปรียบเหมือนการ (ที่ชาวนา) จำได้ว่าเป็นวัวของพระราชาเวลารุ่งแจ้ง ภยตุปัฏฐานญาณเปรียบเหมือนเวลา (ที่ชาวนานั้น) กลัว มุญจิตุกัมยตาญาณเปรียบเหมือนความปรารถนาที่จะทิ้ง (วัวทั้งหลายของพระราชา) ไป โคตรภูญาณเปรียบเหมือนการทิ้ง (วัวทั้งหลาย) มรรคญาณเปรียบเหมือนการหนีไป ผลญาณเปรียบเหมือนการหนีไปอยู่ ณ ที่ปลอดภัย''' '''[5. อุปมาด้วยยักษิณี]''' เขาว่า บุรุษผู้หนึ่งอยู่ร่วมสังวาสกับนางยักษิณี ครั้นในราตรีกาล นางยักษ์นั้นรู้ว่าบุรุษนี้หลับแล้ว จึงไปยังป่าช้าผีดิบแล้วเคี้ยวกินเนื้อมนุษย์ บุรุษผู้นั้นสงสัยว่า นางนี่ไปไหนจึงติดตามไป ครั้นเห็นนางยักษ์กำลังเคี้ยวเนื้อมนุษย์อยู่ ก็รู้ว่า นางมิใช่มนุษย์ จึงคิดว่าจักหนีไปเสียก่อนที่มันจะกินเรา หวาดกลัวรีบหนีไปอยู่ในที่ปลอดภัย ในอุปมานั้น การ (ที่โยคี) ยึดถือขันธ์ทั้งหลายว่า เป็นฉัน เป็นของฉัน เปรียบเหมือนการ (ที่บุรุษนั้น) อยู่ร่วมกับนางยักษิณี การเห็นพระไตรลักษณ์แล้วรู้ถึงความที่ขันธ์ทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น เปรียบเหมือนการ (ที่บุรุษนั้น) เห็น (นางยักษ์) เคี้ยวกินเนื้อมนุษย์อยู่ในป่าช้า แล้วรู้ว่า นางนี้เป็นยักษิณี ภยตุปัฏฐานญาณเปรียบเหมือนเวลา (ที่บุรุษนั้น) หวาดกลัว มุญจิตุกัมยตาญาณเปรียบเหมือนความปรารถนาที่จะหนีไป โคตรภูญาณเปรียบเหมือนการละทิ้งป่าช้าไป มรรคญาณเปรียบเหมือนการรีบหนีไป ผลญาณเปรียบเหมือนการอยู่ในประเทศไม่มีภัย '''[6. อุปมาด้วยทารก]''' เล่ากันว่า สตรีผู้หนึ่งเป็นคนหลงรักบุตร เธอนั่งอยู่บนปราสาทชั้นบน ได้ยินเสียงร้องของทารก ณ ระหว่างถนน คิดว่ามีผู้ใดผู้หนึ่งรังแกบุตรของเราเป็นแน่ จึงรีบลงมาอุ้มเอาบุตรของคนอื่นไป ด้วยสำคัญว่าบุตรของตน ครั้นเธอจำได้ว่า ทารกนี้เป็นบุตรของคนอื่นก็ตกใจกลัว มองดูข้างโน้นข้างนี้ แล้วคิดว่าใครๆ อย่ามากล่าวหาเรา ว่านางนี้เป็นคนขโมยเด็กเลย จึงวางทารกลงไว้ในระหว่างถนนนั้นแล แล้วรีบขึ้นไปนั่งอยู่บนปราสาทตามเดิม ''(หน้าที่ 379)'' ในอุปมานั้น การยึดถือขันธ์ 5 ว่าเป็นฉัน เป็นของฉัน เป็นเหมือนการ (ที่สตรีนั้น) อุ้มเอาบุตรของคนอื่นไว้ ด้วยสำคัญว่าเป็นบุตรของตน การหมายรู้ด้วยอำนาจพระไตรลักษณ์ว่า มิใช่ฉัน มิใช่ของฉัน เปรียบเหมือนการ (ที่สตรีนั้น) จำได้ว่า ทารกนี้เป็นบุตรของคนอื่น ภยตุปัฏฐานญาณเปรียบเหมือนการตกใจกลัว มุญจิตุกัมยตาญาณเปรียบเหมือนการมองดูข้างโน้นข้างนี้ อนุโลมญาณเปรียบเหมือนการวางทารกลงไว้ในระหว่างถนนนั้นแล โคตรภูญาณเปรียบเหมือนเวลาที่ (สตรีนั้น) วาง (ทารกนั้น) แล้วยังยืนอยู่ระหว่างถนน มรรคญาณเปรียบเหมือนการ (กลับ) ขึ้นไปบนปราสาท ผลญาณเปรียบเหมือนการขึ้นไปนั่งอยู่ [อุปมาด้วยความหิว, ระหาย, หนาว, ร้อน, ความมืดและยาพิษ] ส่วนอุปมา 6 ข้อเหล่านี้ คือ ความหิว ระหาย หนาว ร้อน ความมืด และยาพิษ ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงว่า ผู้ตั้งอยู่ใน วุฏฐานคามินีวิปัสสนา แล้ว เป็นผู้น้อมไป โน้มไปและโอนเอียงไป โดยผันหน้ามุ่งเข้าสู่โลกุตตรธรรมแล้ว '''[7. อุปมาด้วยความหิว]''' ความจริง บุรุษผู้ถูกความหิวครอบงำ หิวโหยมาก ปรารถนา โภชนะมีรสดี ฉันใด โยคาวจรท่านนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกความหิวคือสังสารวัฏกระทบแล้ว จึงปรารถนาโภชนะ คือกายคตาสติซึ่งมีรสเป็นอมตะ '''[8. อุปมาด้วยความระหาย]''' และบุรุษผู้มีความระหาย คอและปากแห้งผาก ปรารถนาน้ำปานะที่มีเครื่องปรุงหลายอย่าง ฉันใด โยคาวจรเท่านั้น ก็ฉันนั้นเช่นกัน ถูความระหายคือสังสารวัฏกระทบแล้ว จึงปรารถนาน้ำปานะ คือพระอริยมรรคมีองค์ 8 '''[9. อุปมาด้วยความหนาว]''' อนึ่ง บุรุษผู้สัมผัสกับความหนาว ย่อมปรารภความอบอุ่น ฉันใด โยคาวจรท่านนี้ ก็ฉันนั้นเช่นกัน ถูกกระทบด้วยความหนาวคือยางตัณหาในสังสารวัฏ จึงปรารถนาไฟ คือ (พระอริย) มรรค เป็นเครื่องเผากิเลส ''(หน้าที่ 380)'' '''[10. อุปมาด้วยความร้อน]''' และบุรุษผู้ถูกความร้อนกระทบ ย่อมปรารถนาความเย็น ฉันใด โยคาวจรท่านนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกความร้อนคือไฟ 11 กอง ในสังสารวัฏแผดเผาแล้ว จึงปรารถนา พระนิพพานเป็นที่เข้าไปสงบไฟ 11 กอง '''[11. อุปมาด้วยความมืด]''' อนึ่ง บุรุษผู้อยู่ท่ามกลางความมืด ย่อมปรารถนาความสว่าง ฉันใด โยคาวจรท่านนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกปกคลุมหุ้มห่ออยู่แล้วด้วยความมืดคืออวิชชา จึงปรารถนาอยู่ซึ่งการทำมรรคให้เกิดอันมีแสงสว่างเกิดด้วยญาณ '''[12. อุปมาด้วยยาพิษ]''' และบุรุษผู้ถูกยาพิษย่อมปรารถนาเภสัชถอนพิษ ฉันใด โยคาวจรท่านนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกยาพิษคือกิเลสแล้ว จึงปรารถนาพระนิพพาน อันเป็นโอสถอมตะ เป็นเครื่องกำจัดพิษคือกิเลส เพราะเหตุนั้น จึงได้กล่าวไว้ (ข้างต้นว่า) "เมื่อโยคาวจรผู้นั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้จิตก็ถอยกลับ หวนกลับ วกกลับ ไม่แพร่กระจายไป ในภพ 3 ในกำเนิด 4 ในคติ 5 ในวิญญาณฐิติ 7 ในสัตตาวาส 9 วางเฉยอยู่ หรือถอยกลับมาตั้งมั่นอยู่ เปรียบเหมือนหยดน้ำในใบบัว ซึ่งขอบใบงอนิดๆ" คำทั้งปวงพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วข้างต้นนั่นแล ก็แล ด้วยประการดังกล่าวนี้ โยคาวจรท่านนี้ เป็นผู้มีชื่อเรียกว่า ผู้ประพฤติโดยความเป็นผู้หลีกลี้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสระบุถึงไว้ว่า ปฏิลีนจรสฺส ภิกฺขุโน ภชมานสฺส วิวิตฺตมาสนํ สามคฺคิยมาหุ ตสฺส ตํ โย อตฺตานํ ภวเน น ทสฺสเย. ''(หน้าที่ 381)'' '''แปลความว่า ''' พระภิกษุใด ไม่แสดงตนในภพน์ พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวว่า การไม่แสดงตนนั้นของพระภิกษุนั้น ผู้ประพฤติหลีก ลี้อยู่โดยเฉพาะ ผู้คบแต่อาสนะที่เงียบสงัด ว่าเป็นการสมควร สังขารุเปกขาญาณนี้กำหนดความเป็นผู้ประพฤติหลีกลี้อยู่โดยเฉพาะของโยคี ด้วยประการฉะนี้ แล้วกำหนดความแตกต่างของไพชฌงค์ ความแตกต่างขององค์มรรค ความแตกต่างขององค์ฌาน ความแตกต่างของปฏิปทา ความแตกต่างของวิโมกข์ แม้ของพระอริยมรรคต่อไปอีก '''[ความแตกต่างของโพชฌงค์ องค์มรรค และองค์ฌาน]''' ความจริง พระเถระบางพวกก็กล่าวว่า "ฌานที่เป็นบาท กำหนดความแตกต่างของโพชฌงค์ ขององค์มรรค และขององค์ฌาน พระเถระบางพวกก็กล่าวว่า "ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา กำหนด (ความแตกต่าง) พระเถระบางพวกก็กล่าวว่า "อัชฌาสัยของบุคคล (ผู้ปฏิบัติวิปัสสนา) กำหนด" ในวาทะ (ทั้ง 3) ของพระเถระเหล่านั้น ควรทราบไว้ว่า วุฏฐานคามินีวิปัสสนาตอนต้นนี้นี่แล กำหนด (ความแตกต่าง) โดยแท้ ในการกำหนดความแตกต่างของโพชฌงค์เป็นต้นนั้น มีการกล่าวถึงโดยลำดับดังต่อไปนี้ '''[อริยมรรคตามระดับฌาน]''' ความจริง มรรคที่บังเกิดแก่ท่านสุกขวิปัสสกโดยวิปัสสนานิยมก็ดี มรรคที่บังเกดขึ้น แก่ท่านผู้ได้สมาบัติมิได้ทำฌานให้เป็นบาทก็ดี มรรคที่ทำปฐมฌานเป็นบาทแล้วกำหนดรู้สังขารทั้งหลายที่เป็นปกิณณกะ (คือสังขารอื่นนอกจากฌานที่เป็นบาท) แล้วทำให้เกิดขึ้นก็ดี ''(หน้าที่ 382)'' '''เป็นมรรคเกิดขึ้นในระดับปฐมฌานนั่นเอง ในทุกมรรค (ที่กล่าวนั้น) มีโพชฌงค์ 7 มีองค์มรรค 8 มีองค์ฌาน 9 เพราะว่าวิปัสสนาภาคต้นของ (อริย) มรรคแม้เหล่านั้น เป็นวิปัสสนา ประกอบด้วยโสมนัสบ้าง ประกอบด้วยอุเบกขาบ้าง ครั้นถึงความเป็นสังขารุเปกขาในเวลาแห่งวุฏฐานะ (การออกไป คือมรรค) แล้ว ก็เป็นวิปัสสนาประกอบด้วยโสมนัส (แต่) ในบรรดามรรคที่ทำทุติยฌาน ทำตติยฌาน ทำจตุตถฌาน (ตาม) ในปัญจกนัย (คือฌานระบบแบ่ง 5) ให้เป็นบาท แล้วทำให้เกิดขึ้น ฌานก็มีองค์ 4 (ไม่มีวิตกสำหรับทุติยฌาน) มีองค์ 3 (ไม่มีทั้งวิตกและวิจารสำหรับตติฌาน) และมีองค์ 2 (ไม่มีวิตก วิจาร และปีติสำหรับ จตุตถฌาน) โดยลำดับ แต่ในทุกมรรค มีองค์มรรคอยู่ 7 (ไม่มีวิตก คือ สัมมาสังกัปปะ) และในมรรคที่ 4 (ซึ่งมีฌานที่ 4 เป็นบาท) มีโพชฌงค์ 6 (ไม่มีปีติสัมโพชฌงค์) ความแตกต่างกัน มีอยู่ โดยการกำหนดด้วยฌานเป็นบาท และโดยวิปัสสนานิยม (การกำหนดด้วยวิปัสสนา) เพราะว่า วิปัสสนาที่เป็นภาคต้นของมรรคแม้เหล่านั้น ก็ประกอบด้วยโสมนัสบ้าง ประกอบด้วยอุเบกขาบ้าง วุฏฐานคามินีวิปัสสนา ประกอบด้วยโสมนัสอย่างเดียว แต่ในมรรค ที่ทำปัญจมฌานเป็นบาทแล้วบังเกิดขึ้น มีองค์ฌาน 2 (คือ) ด้วยอุเบกขาและจิตเตกัคคตามีโพชฌงค์ 6 และมีองค์มรรค 7 แม้อย่างนี้ก็เป็นความแตกต่างโดยกำหนดด้วยฌานเป็นบาท และโดยวิปัสสนานิยมทั้งสองอย่าง เพราะนัยนี้ วิปัสสนาภาคต้น เป็นวิปัสสนาประกอบด้วยโสมนัส หรือประกอบด้วยอุเบกขาก็มี ส่วนวุฏฐานคามินีประกอบด้วยอุเบกขาอย่างเดียว''' นัยแม้ในมรรคที่ทำอรูปฌานเป็นบาทให้เกิดขึ้น ก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน ด้วยอาการดังกล่าวนี้ สมาบัติที่ออก ณ ที่ใกล้ชิดมรรคซึ่งเกิดขึ้น เพราะโยคีออกจากฌานที่เป็นบาทแล้วกำหนดรู้สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้มรรคเหมือนตนเองเกิดขึ้น ก็เหมือนสีของแผ่นดินที่ทำสีของเหี้ยให้เหมือนสีดิน แต่ในวาทะของพระเถระท่านที่ 2 ความว่า มรรคที่ทำให้บังเกิดขึ้น เพราะออกจากสมาบัติใดๆ แล้วกำหนดรู้องค์ธรรมทั้งหลายใดๆ ของสมาบัติ ก็เป็นมรรคเหมือนสมาบัตินั้นๆนั่นแล อธิบายว่า เป็นเช่นเดียวกับสมาบัติที่กำหนดรู้มาแล้ว แต่ถ้าโยคีกำหนดรู้กามาวจรธรรมทั้งหลาย มรรค (ที่บรรลุ) ก็เป็นอยู่ในระดับปฐมฌานเท่านั้น กับอนึ่ง พึงทราบ วิปัสสนานิยมนี้ในวาทะของพระเถระท่านที่ 2 นั้น โดยนัยดังกล่าวแล้วเช่นกัน ''(หน้าที่ 383)'' ส่วนในวาทะพระเถระท่านที่ 3 ความว่า มรรคที่บังเกิดขึ้นเพราะทำฌานใดๆ เป็นบาท แล้งกำหนดรู้องค์ธรรมของฌานทั้งหลายใดๆ ตามสมควรแก่อัชฌาสัยของตนๆ มรรคก็เป็นเหมือนฌานนั้นๆ นั่นแล แต่ความเป็นเหมือนฌานนั้นๆ นั้น เมื่อปราศจากฌานที่เป็นบาท หรือปราศจากฌานที่กำหนดรู้เสียแล้ว ก็หาสำเร็จโดยเพียงแต่อัชฌาสัย (ของตนเอง) อย่างเดียว หามิได้ ความดังกล่าวนี้นั้น พึงแสดงด้วยนันทโกวาทกะสูตร เป็นความจริง แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงมีพระดำรัสไว้ดังนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในวันอุโบสถนั้น ขึ้น 15 ค่ำ ความสงสัยหรือความเคลือบแคลงใจว่า "ดวงจันทร์แหว่ง หรือเต็มดวงหนอ" มิได้มีแก่คนจำนวนมาก มีแต่ว่า "พระจันทร์เต็มดวง" ดังนั้นโดยแท้แลแม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีใจยินดีและเป็นผู้มีความดำริเต็มบริบูรณ์ ด้วยธรรมเทศนาของท่านนันทกะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุณี 500 เหล่านั้น ภิกษุณีใด ผู้มีธรรมตำสุด ภิกษุณีนั้นเป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้แน่นอน จะตรัสรู้ในภายหน้า" เพราะว่าในภิกษุทั้งหลาย 500 นั้น ภิกษุณีใดมีอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผล ภิกษุณีนั้นก็เป็นผู้มีความดำริบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลโดยแท้ ภิกษุณีใดมีอุปนิสัยแห่งสกทามี....มีอุปนิสัยแห่งอนาคามี....มีอุปนิสัยแห่งพระอรหัตต์ ก็เป็นผู้มีความดำริบริบูรณ์ด้วยสกทาคามีผล....ด้วยอนาคามีผล....ด้วยอรหัตตผลโดยแท้ มรรคที่โยคีทำให้เกิดขึ้น เพราะทำฌานใดๆ เป็นบาทแล้วกำหนด รู้องค์ธรรมของฌานทั้งหลายใดๆ ตามสมควรแก่อัชฌาสัยของตน....เมื่อปราศจากฌานที่เป็นบาท หรือปราศจากฌานที่กำหนดรู้เสียแล้ว ก็หาสำเร็จโดยเพียงแต่อัชฌาสัยอย่างเดียวหามิได้ และแม้ในวาทะของพระเถระที่ 3 นี้ ก็พึงทราบวิปัสสนานิยมโดยนัยดังกล่าวแล้ว (ในวาทะของพระเถระที่ 2) เหมือนกัน พึงทราบว่า สังขารุเปกขาญาณ กำหนด (ความแตกต่าง) โพชฌงค์ องค์มรรค และองค์ฌานดังกล่าวมานี้ก่อน ''(หน้าที่ 384)'' '''[ปฏิปทา 4]''' แต่ ถ้าสังขารุเปกขาญาณนี้ เมื่อข่มกิเลสทั้งหลายมาแต่แรกเริ่ม สามารถข่มได้โดยยาก โดยความขมักเขม้นโดยต้องมีการชักจูง (สังขารุเปกขานั้น) ก็มีชื่อว่าทุกขาปฏิปทา (คือปฏิบัติลำบาก) โดยทางตรงข้าม ก็เรียกว่า สุขาปฏิปทา (ปฏิบัติสะดวก) แต่ภายหลังที่ข่มกิเลสได้แล้วค่อยๆ ทำการอบรมวิปัสสนา ทำมรรคให้เกิดขึ้น ชื่อว่าทันธาภิญญา (คือรู้ได้ช้า) โดยตรงข้าม ก็เป็นขิปปาภิญญา (คือ รู้ได้เร็ว) ด้วยเหตุนี้ สังขารุเปกขาญาณนี้จึงตั้งอยู่ในฐานะเป็นที่มา (อาคมนียฐาน) แล้วให้ชื่อเรียกแก่มรรคของตนๆ เพราะเหตุนั้น มรรค จึงได้ชื่อว่าเป็น 4 ชื่อ และปฏิปทานี้นั้น สำหรับพระภิกษุบางรูป ก็มีต่างๆกัน สำหรับบางรูป ก็เป็นอย่างเดียวกันทั้งใน 4 มรรค แต่ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มรรคทั้ง4 เป็นสุขาปฏิปทาขิปปภิญญาอย่างเดียว ของท่านพระธรรมเสนาบดี (สารีบุตร) ก็เหมือนกัน ส่วนของท่าน พระมหาโมคคัลลนเถระ ปฐมมรรค เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มรรค 3 ข้างบน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา อนึ่ง ปฏิปทา เป็นฉันใด อธิบดี (มีฉันทาธิบดีเป็นต้น) ก็เป็นฉันนั้น สำหรับพระภิกษุบางรูป ก็มีต่างๆกันใน 4 มรรค แต่สำหรับบางรูป แม้ในทั้ง 4 มรรค ก็มีอธิบดีเดียวเท่านั้น สังขารุเปกขาญาณ กำหนดความแตกต่างของปฏิปทาด้วยประการดังกล่าวมานี้ ส่วนที่กำหนดความแตกต่างของวิโมกข์ ด้วยประการใดนั้น ได้กล่าวไว้ข้างต้นเรียบร้อยแล้ว '''[เหตุ 5 ประการในการเรียกชื่อมรรค]''' อีกอย่างหนึ่ง ธรรมดามรรคได้ชื่อเรียกด้วยเหตุ 5 ประการ คือ โดยรสของตน (ด้วยสภาวะ) 2 หรือ โดยธรรมเป็นข้าศึก 1 หรือโดยคุณของตนเอง 1 หรือโดยอารมณ์ 1 หรือโดยอาคมนะ (คือ ฐานที่มา) 1 ''(หน้าที่ 385)'' เพราะว่า ถ้า สังขารุเปกขา ออกไปเพราะกำหนดรู้สังขารทั้งหลายโดยความไม่เที่ยง มรรค (หรือบุคคลผู้ประกอบด้วยมรรค) ก็พ้นพิเศษไปด้วยอนิมิตตวิโมกข์ ถ้าออกไปเพราะกำหนดรู้โดยความเป็นทุกข์ ก็พ้นพิเศษไปด้วยอัปปณิหิวิโมกข์ ถ้าออกไปเพราะกำหนดรู้ โดยความเป็นทุกข์ ก็พ้นพิเศษไปด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ ถ้าออกไปเพราะกำหนดรู้โดยความเป็นอนัตตา ก็พ้นพิเศษไปด้วยสุญญตวิโมกข์ นี้ได้ชื่อเรียกโดยรสของตน แต่เพระเหตุที่มรรคนี้ทำการสลายไปแห่งความเป็นก้อน เป็นกองของสังขารทั้งหลาย ด้วยอนิจจานุปัสสนา แล้วมาละได้ซึ่งนิมิตว่าเที่ยง นิมิตว่ายั่งยืน และนิมิตว่ามั่นคงถาวร เพราะฉะนั้นจึงเรียกชื่อว่า อนิมิตต (วิโมกข์) แต่ที่เรียกชื่อว่า อัปปณิหิต (วิโมกข์) เพราะละสัญญาว่าความเป็นสุข ด้วยทุกขานุปัสสนา แล้วมาทำให้ความตั้งมั่น (ของตัณหา) คือความปรารถนา แห้งเหือดไป เรียกชื่อว่า สุญญต (วิโมกข์) เพราะละสัญญา (คือความหมายรู้) ว่ามีอัตตา มีสัตว์ มีบุคคล ด้วยอนัตตานุปัสสนา แล้วเห็นสังขารทั้งหลายโดยเป็นของว่างเปล่านี้ ได้ชื่อเรียกโดยธรรมเป็นข้าศึก ฉะนี้แล อนึ่ง มรรคนี้ชื่อว่าสุญญตะ เพราะว่าจากกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ชื่อว่า อนิมิตตะ เพราะไม่มีนิมิตทั้งหลายมีนิมิตคือรูปเป็นต้น หรือว่าเพราะไม่มีนิมิตทั้งหลายมีนิมิต คือราคะเป็นต้นนั่นแล ชื่อว่าอัปปณิหิตะ เพราะไม่ปณิธิทั้งหลายมีปณิธิคือราคะเป็นต้น นี้ได้ชื่อเรียกโดยคุณของตนของมรรคนั้น ฉะนี้แล มรรคนี้นั้น ท่านเรียกว่า สุญญตะ อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ แม้เพราะเหตุที่ทำพระนิพพานซึ่งว่างเปล่า ไม่มีนิมิต และหาปณิหิตะมิได้เป็นอารมณ์ ดังนี้ก็มี นี้เป็นชื่อโดยอารมณ์ของมรรคนั้น ส่วนอาคมนะ (คือฐานะที่มา) มี 2 อย่าง คือวิปัสสนาคมนะ (ที่มาคือวิปัสสนา) 1 และมัคคาคมนะ (ที่มาคือมรรค) 1 ใน 2 อย่างนั้น วิปัสสนาคมนะได้ในมรรค มัคคาคมนะได้ผลใน เพราะว่า อนัตตานุปัสสนา ชื่อว่าสุญญตา มรรคของสุญญตวิปัสสนา ชื่อว่าสุญญตะ อนิจจานุปัสสนา ชื่อว่าอนิมิตตะ มรคคของอนิมิตตวิปัสสนา ชื่อว่าอนิมิตตะ แต่ชื่อ (หลัง) นี้ไม่พบโดยบรรยายทางพระอภิธรรม พบแต่โดยบรรยายทางพระสูตรเท่านั้น เพราะในบรรยายทางพระสูตรนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า "โคตรภูญาณ ทำพระ ''(หน้าที่ 386)'' '''นิพพานอันหานิมิตมิได้เป็นอารมณืจึงเป็นญาณมีชื่อว่าไม่มีนิมิต แล้วตนเองก็ตั้งอยู่ในฐานะเป็นปฏิปทาที่มา แล้วให้ชื่อเรียกแก่มรรค" ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกมรรคว่าไม่มีนิมิต''' แต่คำกล่าวที่ว่า "ผลก็มีชื่อว่าไม่มีนิมิตโดยที่มาคือมรรค" ดังนี้ ก็สมควรอยู่เหมือนกัน ทุกขานุปัสสนา มีชื่อว่าอัปปณิหิตะ เพราะมาทำให้ปณิธิในสังขารทั้งหลายเหือดแห้งไป มรรคของอัปปณิหิตวิปัสสนา ชื่อว่าอัปปณิหิตะ ผลของอัปปณิหิตมรรค ก็มีชื่อว่าอัปปณิหิตวิปัสสนาให้ชื่อของตนแก่มรรค (และ) มรรคให้ชื่อแก่ผลอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ ด้วยประการฉะนี้ นี้ได้ชื่อโดยอาคมนะ สังขารุเปกขาญาณนี้กำหนดความแตกต่างของวิโมกข์ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ ด้วยประการฉะนี้ '''จบ สังขารุเปกขาญาณกถา''' '''[12. อนุโลมญาณ]''' เมื่อโยคีนั้นเสพเนืองๆ ทำให้เกิดขึ้น ทำให้มากขึ้น ซึ่งสังขารุเปกขาญาณนั้นอยู่ศรัทธา คืออธิโมกข์ ก็เกิดมีกำลังเข้แข็งขึ้น ความเพียรก็ได้รับประคับประคองดี สติก็เข้าตั้งอยู่เป็นอย่างดี จิตก็เป็นสมาธิดีขึ้น สังขารุเปกขาก็บังเกิดแก่กล้ายิ่งขึ้น ครั้นโยคีนั้นเกิดความคิดว่า "มรรค (ญาณ) จักเกิด ณ บัดนี้ แน่" สังขารุเปกขาก็กำหนรู้สังขารทั้งหลายว่าไม่เที่ยง หรือว่าเป็นทุกข์ หรือว่าเป็นอนัตตา แล้วหยั่งลงสู่ภวังค์ ในลำดับแห่งภวังค์ มโนทวาราวัชชนจิตก็เกิดขึ้น ทำสังขารทั้งหลายเป็นอารมณ์ว่าไม่เที่ยง หรือว่าเป็นทุกข์ หรือว่าเป็นอนัตตา โดยนัยเดียวกับที่สังขารุเปกขาญาณทำมาแล้วนั่นแหละ ในลำดับแห่งกิริยาจิตที่เกิดขึ้น หันเหภวังคจิตไปจากมโนทวารวัชชนะนั้น ชวนจิตดวงที่ 1 (คืออนุโลมญาณ ที่ 1) ซึ่งท่านเรียกว่า "บริกรรม" ก็เกิดขึ้นสืบต่อตามติดไม่มีช่องว่าง ทำสังขารทั้งหลายเป็นอารมณ์อย่างนั้นเหมือนกัน ในลำดับนั้น ชวนจิตดวงที่ 2 (อนุโลมญาณ ที่ 2) ซึ่งท่านเรียกว่า "อุปจาร" ก็เกิดขึ้นทำสังขารทั้งหลายเป็นอารมณ์อย่างนั้นเหมือนกัน แม้ในลำดับต่อจากนั้น ชวนจิตดวงที่ 3 ซึ่งท่านเรียกว่า "อนุโลม" (คืออนุโลมญาณ ที่ 3) ก็เกิดขึ้นทำสังขารทั้งหลายเป็นอารมณ์อย่างนั้นเหมือนกัน ''(หน้าที่ 387)'' ชื่อ (ที่เรียก) นี้เป็นชื่อเฉพาะของชวนจิต 3 ดวงเหล่านั้น แต่จิตทั้ง 3 อย่างนี้ จะเรียกว่า "อาเสวนะ" บ้าง ว่า "บริกรรม" บ้าง ว่า "อุปจาร" บ้าง ว่า "อนุโลม" บ้าง โดยไม่แตกต่างกัน ก็สมควร (ถามว่า) เป็นอนุโลมของอะไร ? (ตอบ) เป็นอนุโลมของญาณทั้งหลายที่เป็นส่วนเบื้องหน้าและของธรรมทั้งหลายที่เป็นส่วนเบื้องหลัง เพราะว่าอนุโลมญาณนั้นคล้อยตามวิปัสสนาญาณ 8 เบื้องหน้า เพราะมีกิจเหมือนกัน และคล้อยตามโพธิปักขิยธรรม 37 ประการเบื้องบน (เบื้องหลัง) จริงอยู่ อนุโลมญาณนั้น เพราะเหตุปรารภสังขารทั้งหลายแล้วดำเนินไปโดยลักษณะมีอนิจจลักษณะ เป็นต้น จึงอนุโลมคล้อยตามญาณทั้ง 8 ประการเหล่านี้ เพราะกิจ (กำหนดพิจารณาพระไตรลักษณ์) เหมือนกัน ประหนึ่งจะพูดโดยความว่า 4. อุทยพยญาณ ได้เห็นแล้วซึ่งความเกิดและดับไปของธรรมทั้งหลาย ที่มีความเกิดและความดับอยู่เป็นปรกตินั่นแลหนอ" และว่า 5. ภังคานุปัสสนาญาณ ได้เห็นความดับของธรรมทั้งหลาย ที่มีแต่ความดับอยู่อย่างเดียว แล้วละหนอ" และว่า 6. สิ่งซึ่งมีแต่ความน่ากลัวแต่อย่างเดียวหนอ ปรากฏโดยเป็นที่น่ากลัวแก่ ภยตุปัฏฐานญาณแล้ว" และว่า 7. อาทีนวานุปัสสนญาณ ได้เห็นโทษเลวร้ายในธรรมที่มีแต่โทษเลวร้ายอย่างเดียวแล้วละหนอ" และว่า 8. นิพพิทาญาณ ก็เบื่อหน่ายแล้ว ในธรรมที่น่าเบื่อหน่ายเสียจริงๆ ละหนอ และว่า 9. มุญจิตุกัมยตาญาณ ก็เกิดปรารถนาเพื่อจะพ้นไปเสียจากธรรมที่ควรจะพ้นไปโดยแท้จริง แล้วละหนอ" และว่า 10. สิ่งที่ควรทบทวนกำหนดรู้นั่นแลหนอ ข้า ฯ ได้ทบทวนกำหนดรู้ด้วย ปฏิสังขาญาณ แล้ว" และว่า 11 สิ่งที่ควรวางเฉยนั่นแลหนอ ข้า ฯ ได้วางเฉยด้วย สังขารุเปกขาญาณ แล้ว" ดังนี้ ''(หน้าที่ 388)'' และอนุโลมแก่โพธิปักขิยธรรม 37 ประการในเบื้องบน เพราะต้องบรรลุด้วยการปฏิบัติ (วิปัสสนาญาณทั้งหลาย) นั้น '''[อุปมาอนุโลมญาณ ด้วยพระราชาผู้ทรงธรรม]''' อุปมาเหมือนพระราชาผู้ทรงธรรม ประทับนั่งในสถานวินิจฉัย ทรงสดับคำวินิจฉัยของท่านมหาอำมาตย์ผู้ว่าคดี 8 ท่านแล้ว ทรงละการถึงอคติเสีย ทรงตั้งพระองค์เป็นกลาง มีพระราชดำรัสอำนวยตามว่า "จงเป็นอย่างนั้นเถิด" ชื่อว่าทรงอนุโลมแก่คำวินิจฉัยของมหาอำมาตย์เหล่านั้นด้วย และทรงอนุโลมแก่โบราณราชธรรมด้วย ฉันใด ข้อเปรียบนี้ ก็พึงทราบฉันนั้น เพราะว่า อนุโลมญาณ เปรียบเหมือนพระราชา ญาณทั้งหลาย 8 เปรียบเหมือนมหาอำมาตย์ผู้ว่าคดี 8 ท่าน โพธิปักขิยธรรม 37 เปรียบเหมือนโบราณราชธรรมในอุปมานั้น พระราชา เมื่อทรงมีพระราชดำรัสว่า "จงเป็นอย่างนั้นเถิด" ชื่อว่าทรงอนุโลมแก่คำวินิจฉัยของมหาอำมาตย์ทั้งหลายผู้ว่าคดีด้วย ทรงอนุโลมแก่ราชธรรมด้วย ฉันใด อนุโลมญาณนี้ก็ฉันนั้น เมื่อเกิดขึ้นปรารภสังขารทั้งหลายโดยพระไตรลักษณ์มีความไม่เที่ยง เป็นต้น ชื่อว่าอนุโลมแก่ญาณทั้งหลาย 8 เพราะมีกิจเหมือนกันด้วย และอนุโลมแก่โพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย 37 ในเบื้องต้น (ในขณะมรรคญาณ) ด้วย เพราะเหตุนั้นแหละท่านจึงเรียกว่า สัจจานุโลมมิกญาณ ด้วยประการฉะนี้ ก็และ อนุโลมญาณ นี้ เป็นญาณสุดท้ายของวุฏฐานคามินีวิปัสสนา ซึ่งมีสังขารเป็นอารมณ์ แต่ทว่า โคตรภูญาณ เป็นปริโยสานของวุฏฐานคามินีวิปัสสนาทั้งหมด โดยประการทั้งปวง '''จบ อนุโลมญาณกถา''' =วุฏฐานคามินีวิปัสสนากถา= เพื่อไม่หลงสับสนใน วุฏฐานคามินีวิปัสสนา (ที่กล่าวมา) นั้นนั่นแล ณ บัดนี้ ควรทราบการเปรียบเทียบทางพระสูตรไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อนี้เป็นอย่างไร ? คือว่า วุฏฐานคามินีวิปัสสนา นี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ''(หน้าที่ 389)'' 1. ตรัสเรียกไว้ใน สฬายตนวิภังคสูตร ว่า "อตัมมยตา ความไม่มีตัณหา '''เกิดขึ้นจากโลกียสังขาร" ด้วยพรดำรัสอย่างนี้ว่า "อตมฺมยตํ ภิกฺขเว นิสฺสาย อตมฺมยตํ อาคมฺม. ยายํ อุเปกฺขา เอกตฺตา เอกตฺ ตสิตา, ตํ ปชหถ ตํ สมติกฺกมถ" แปลว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอาศัย อตัมมยตา (หมายถึง วุฏฐานคามินีวิปัสสนา) มาถึง อตัมมยตา แล้ว จงละอุเบกขาซึ่งมีความเป็นสภาวะเดียวอาศัยความมีอารมณ์เดียวนี้นั้นเสีย จงก้าวข้ามอุเบกขาซึ่งมีความเป็นสภาวะเดียว อาศัยความมีอารมณ์เดียวนี้นั้นไปเสีย" ดังนี้''' 2. ตรัสเรียกไว้ใน อลคัททูปมสูตร ว่า "นิพพิทา" ด้วยพระดำรัสอย่างนี้ว่า '''"นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ, วิราคา วิมุจฺจติ" แปลว่า "เมื่อเบื่อหน่าย ก็คลายกำหนัด เพราะปราศจากกำหนัด ก็หลุดพ้นไป" ดังนี้''' '''3. ตรัสเรียกไว้ใน สุสิมสูตร ว่า "ธัมมฐิติญาณ" ด้วยพระดำรัสอย่างนี้ว่า "ปุพฺเพ โข สุสิม ธมฺมฏฺฐิติญาณํ, ปจฺฉา นิพฺพาเน ญิณํ" แปลว่า "ดูก่อนสุสิมะ ธัมมฐิติญาณ เกิดก่อนแล ญาณในพระนิพพานเกิดในภายหลัง" ดังนี้ ''' '''4. ตรัสเรียกไว้ใน โปฏฐปาทสูตร ว่า "สัญญัคคะ" ด้วยพระดำรัสอย่างนี้ว่า "สญฺญา โข โปฏฺฐปาท ปฐมํ อุปฺปชฺชติ ปจฺฉา ญาณํ" แปลว่า "ดูก่อนโปฏฐปาทะ สัญญา (สัญญคคะ) แลเกิดก่อน ญาณภายเกิดหลัง" ดังนี้''' '''5. พระสารีบุตรเรียกไว้ใน ทสุตตสูตร ว่า "ปาริสุทธิปธานิยังคะ องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์" ด้วยคำอย่างนี้ว่า "ปฏิปทาญาณ ทสฺสนวิสุทฺธิ ปาริสุทฺธิปธานิยงฺคํ แปลว่า "ปาริสุทธิปธานิยังคะ คือปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ" ดังนี้''' ''(หน้าที่ 390)'' '''6. กล่าวไว้ใน ปฏิสัมภิทามรรค โดย 3 ชื่ออย่างนี้ "มุญจิตุกัมยตาใด 1 ปฏิสังขานุปัสสนาใด 1 และสังขารุเปกขาใด 1 ธรรม(3 อย่าง) นี้ มีความหมายอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นที่ต่างกัน" ดังนี้''' '''7. ตรัสไว้ในคัมภีร์ ปัฏฐาน โดยชื่อ 3 ชื่อ ด้วยพระดำรัสอย่างนี้ว่า "อนุโลมํ โคตฺรภุสฺส อนุโลมํ โวทานสฺส" แปลว่า "อนุโลม (ญาณ) เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่ โคตรภู (ญาณ) อนุโลม(ญาณ) เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่โวทาน" ดังนี้''' '''8. ท่านพระสารีบุตรเถระเรียกไว้ใน รถวินีตสูตร ว่า "ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ์" ด้วยคำอย่างนี้ว่า "กี ปนาวุโส ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธตฺถํ ภควติ พฺรหฺมจริยํ วุสฺสติ" แปลว่า อาวุโส แต่ว่าท่านอยู่พรหมจรรย์ในพระผู้มี พระภาคเจ้า เพื่อปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ" ดังนี้''' อิติเนเกหิ นาเมหิ กิตฺติตา ยา มเหสินา วุฏฐานคามินี สนฺตา ปริสุทฺธา วิปสฺสนา. วุฏฐาตุกาโม สํสาร- ทุกฺขปงฺกา มหพฺภยา กเรยฺย สสตํ ตติถ โยคํ ปณฺฑิตชาติโก. '''แปลว่า''' วุฏฐานคามินีวิปัสสนาใด ซึ่งสงบ บริสุทธิ์ พระมหาฤษี ทรงตรัสประกาศไว้โดยชื่อหลายดังกล่าวฉะนี้ท่านผู้มีชาติบัณฑิต ผู้ปรารถนาเพื่อออกไปจากทะเลตมคือสังสารทุกข์ซึ่งมีภัยใหญ่ หลวง พึงทำโยคะเนืองๆ ในวุฏฐานคามินีวิปัสสนานั้นแล '''ปริจเฉทที่ 21 ชื่อว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส''' ในอธิการแห่งปัญญาภาวนา ในปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรค อันข้าพเจ้าทำเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมทย์แห่งสาธุชน ดังนี้ ==ดูเพิ่ม== *'''[http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/sutta23.php ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค]''' *'''[[วิสุทธิมรรค ฉบับปรับสำนวน]] (สารบัญ)'''