{{template:วสธมฉปส head| }}
{{template:ฉบับปรับสำนวน head|}}
=มรณานุสสติกถา=
ภูเขาใหญ่อันล้วนแล้วด้วยหินสูงจรดฟ้ากลิ้งบดมาทั้ง 4 ทิศโดยรอบแม้ฉันใด ความแก่และความตายก็ฉันนั้น ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย คือพวกกษัตริย์ พวกพรหมณ์ พวกแพศย์ พวกศูทร พวกคนจัณฑาล และพวกปุกกุสะ ไม่เว้นใคร ๆ ย่อมย่ำยีทั่วไปทั้งหมดเลย ณ ที่นั้น พื้นที่สำหรับพลช้างก็ไม่มี สำหรับพลม้าก็ไม่มี สำหรับพลรถก็ไม่มี สำหรับพลเดินเท้าก็ไม่มี และใครๆ ไม่อาจชนะได้ด้วยมนต์หรือด้วยทรัพย์ วิบัติคือความตายเป็นที่สุดแห่งสมบัติคือชีวิตพระโยคาวจรเมื่อจะกำหนดถึงภาวะที่ชีวิตมีความตายเป็นที่สุดนั้น พึงระลึกถึงความตายโดยอาการวิบัติแห่งสมบัติ ด้วยประการฉะนี้ ==ตายเท่าเทียมกันแน่นอน== คำว่า โดยนำมาเปรียบเทียบ ความว่า โดยนำเข้ามาเปรียบเทียบกับตนพร้อมทั้งคนอื่นๆ ในข้อนั้นมีอธิบายดังนี้ พระโยคาวจรพึงระลึกถึงความตายโดยเปรียบเทียบกับ อาการ 7 อย่างคือ- 2. โดยความเป็นผู้มีบุญมาก 3. โดยความเป็นผู้มีกำลังมาก 4. โดยความเป็นผู้มีฤทธิ์มาก 5. โดยความเป็นผู้มีปัญญามาก 6. โดยความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า 7. โดยความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
"พระโยคาวจรย่อมเป็นผู้ชื่อว่า สโตการี ด้วย [[ปฏิสัมภิทามรรค_03_มหาวรรค#สโตการิญาณนิทฺเทโส|32 อาการ]] (อานาปานัสสติ 16 x 2 = 32 ในปฏิสัมภิทามรรค) เมื่อเธอรู้ชัดว่าจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจหายใจออกยาวอยู่ สติย่อมตั้งมั่น เธอเป็นผู้ชื่อว่า สโตการี ด้วยสตินั้นด้วยปัญญานั้น เมื่อเธอรู้ชัดว่าภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งการหายใจเข้ายาวอยู่ สติย่อมตั้งมั่น เธอย่อมเป็นผู้ชื่อว่า สโตการี ด้วยสตินั้น ด้วยปัญญานั้น ฯลฯ เมื่อเธอรู้ชัดว่าจิตอารมณ์เป็นหนึ่งไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นพิจารณาเห็นความสลัดทิ้งหายใจออกอยู่ ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสลัดทิ้งหายใจเข้าอยู่ สติย่อมตั้งมั่น เธอเป็นผู้ชื่อว่า สโตการี ด้วยสตินั้น ด้วยปัญญานั้น" ดังนี้'''อธิบาย อัสสาสะปัสสาสะ''' บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทีฑํ วา อสฺสสนฺโต ได้แก่ หรือเมื่อหายใจออกยาว ในอรรถกถาพระวินัยกล่าวไว้ว่า บทว่า อสฺสาโส ได้แก่ลมหายใจออก บทว่า ปสฺสาโส ได้แก่ลมหายใจเข้า แต่ในอรรถกถาพระสูตรทั้งหลายตรงกันข้าม ในลม 2 อย่างนั้น ในเวลาที่สัตว์ทั้งปวงอยู่ในครรภ์ออกจากท้องมารดา อันดับแรก ลมภายในออกมาภายนอก ทีหลังลมภายนอกพาเอาธุลีละเอียดเข้าไปภายในจรดเพดานแล้วก็ดับ อันดับแรก บัณฑิตพึงทราบลมอัสสาสะปัสสาสะ อย่างนี้ อนึ่ง พึงทราบภาวะที่ลมอัสสาสะหรือปัสสาสะเหล่านั้นยาวและสั้น โดยระยะกาลเหมือนอย่างว่า น้ำหรือทรายที่ตั้งแผ่ไปตลอดเนื้อที่ที่ว่าง เขาก็เรียกว่าน้ำมากทรายกว้าง น้ำหรือทรายที่ตั้งแผ่ออกไปตลอดระยะว่างน้อยหรือเวลาน้อย เขาก็เรียกว่า น้ำน้อย ทรายแคบฉันใด ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า แม้จะละเอียดและแสนจะละเอียดก็เช่นกัน ลมในร่างช้างและร่างงูค่อย ๆ ยังส่วนที่ยาวกล่าวคืออัตภาพของสัตว์เหล่านั้นให้เต็มแล้วค่อย ๆ ออกมา เพราะเหตุนั้นท่านจึงเรียกว่า ยาว ลมหายใจออกและลมหายใจเข้ายังส่วนที่สั้นกล่าวคืออัตภาพของสุนัขและกระต่ายเป็นต้นให้เต็มเร็ว แล้วออกก็เร็วเช่นกัน เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า สั้น