ชนเหล่าใด ขณะสนทนากันอยู่ ก็พูดจนผิดใจกัน, พูดกันจนฟุ้งซ่าน, พูดกันจนโอ้อวด, พูดกันจนเพ้อเจ้อ, พูดกันจนกระทบกระทั่งคุณธรรม ซึ่งเป็นการพูดที่พระอริยะไม่ทำกัน, พูดหาช่องเพ่งเรื่องผิดพลาดของกันและกัน. และชนเหล่าใด ชอบใจคำพูดทุพภาษิตใด, ชอบใจคำพูดพลั้งพลาดใด, ชอบใจคำพูดหลงลืมใด, ชอบใจความพ่ายแพ้ของกันและกันใด, พระอริยะไม่พูดคำพูดเหล่านั้นในแบบของชนเหล่านั้นเลย. ((ตัวคำพูด[เสียง]เป็นรูปธรรม อัพยากตธรรม เกิดจากจิตได้ทั้ง 3 ชาติ ฉะนั้น จึงไม่ใช่เครื่องชี้วัดว่าเป็นกถาวัตถุของพระอริยะหรือไม่ใช่. แต่การจะวัดค่าของคำพูดว่า เป็นกถาวัตถุของพระอริยะหรือไม่นั้น ให้ดูที่คุณสมบัติที่จะกล่าวในคาถาถัดไป ซึ่งออกมาจากจิต เป็นจิตตชรูป.)) แต่เมื่อ[[บัณฑิต]]ประสงค์จะพูด ก็[[รู้จักกาล]]อันเหมาะสมแล้ว((กาลเทศะเป็นต้นในสัปปุริสธรรม 7.)) พูดแต่คำที่ประกอบด้วยธรรม พูดแต่คำที่พระอริยะพูดกัน มีความรู้ ไม่โกรธ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่โอ้อวด ไม่ใจเบาหุนหันพลันแล่น ไม่คอยจับผิด ไม่พูดริษยา เพราะรู้ทั่วถึงโดยชอบ บุคคลควรชื่นชมถ้อยคำที่เป็น[[สุภาษิต]] ไม่ควรเลื่อมใสถ้อยคำที่เป็น[[ทุพภาษิต]] ไม่ควรใส่ใจถึงความแข่งดี และไม่ควรคอยจับผิด ไม่ควรพูดทับถม ไม่ควรพูดย่ำยี ไม่ควรพูดเหลาะแหละ เพื่อความรู้ เพื่อความเลื่อมใส สัตบุรุษทั้งหลายจึงมีการปรึกษากัน พระอริยะทั้งหลายย่อมปรึกษากันเช่นนั้นแล นี้เป็นการปรึกษากันของพระอริยะทั้งหลาย บุคคลผู้มีปัญญารู้เรื่องนี้แล้ว ไม่ควรถือตัว ควรปรึกษากัน