วิสุทธิมรรค_21_ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส

ความแตกต่าง

นี่เป็นการแสดงความแตกต่างระหว่างเพจสองรุ่น

Link to this comparison view

วิสุทธิมรรค_21_ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส [2020/06/27 16:27]
127.0.0.1 แก้ไขภายนอก
วิสุทธิมรรค_21_ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส [2021/01/02 20:14]
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
-{{wst>​วสธมฉปส head| }} 
-{{wst>​วสธมฉปส sidebar}} 
- 
-'''​ปริจเฉทที่ ​ 21 ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส'''​ 
- 
-'''​แสดงบรรยายความบริสุทธิ์ของความรู้และความเห็นในทางปฏิบัติถูก'''​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 332)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แต่ทว่า ​ วิปัสสนาที่บรรลุถึงยอดด้วยญาณ ​ 8  และสัจจานุโลมิกญาณ ​ อันดับที่ ​ (9)  นี้ ​ เรียกชื่อว่า ​ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ​ คือ ​ ความบริสุทธิ์ของความรู้และความเห็นในทางปฏิบัติถูก ​ และในคำว่า ​ "​ญาณ ​ 8" ​ นี้ ​ พึงทราบไว้ว่า ​ หมายถึงญาณ ​ 8  เหล่านี้คือ 
- 
-4.    อุทยพยานุปัสสนาญาณ ​ (อย่างแก่) ​ ซึ่งเรียกว่า ​ วิปัสสนาที่พ้นจาก อุปกิ 
- 
-เลสดำเนินไปตามวิถี ​ (ของวิปัสสนา) ​ (1) 
- 
-5.    ภังคานุปัสสนาญาณ ​ ญาณกำหนดรู้ด้วยการเห็นเนือง ​ ๆ  ซึ่งความดับ(2) 
- 
-6.    ภยตุปัฏฐานญาณ ​ ญาณกำหนดรู้โดยปรากฏเป็นของน่ากลัว ​ (3) 
- 
-7.    อาทีนวานุปัสสนาญาณ ​ ญาณกำหนดรู้ด้วยการเห็นเนือง ​ ๆ  ซึ่งโทษชั่ว 
- 
-ร้าย ​ (4) 
- 
-8.    นิพพิทานุปัสสนาญาณ ​ ญาณกำหนดรู้ด้วยการเห็นเนือง ​ ๆ  ด้วยความ 
- 
-เบื่อหน่าย ​ (5) 
- 
-9.    มุญจิตุกัมยตาญาณ ​ ญาณกำหนดรู้ด้วยความปรารถนาจะพ้นไป ​ (6) 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 333)''</​fs></​sub>​ 
- 
-10.    ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ​ ญาณกำหนดรู้ด้วยการเห็นเนือง ​ ๆ  โดยพิจาร 
- 
-ณาทบทวน ​ (7) 
- 
-11.    สังขารุเปกขาญาณ ​ ญาณกำหนดรู้ด้วยการวางเฉยในสังขาร ​ (8) 
- 
-'''​คำว่า ​ "​สัจจานุโมลิกญาณ ​ อันดับที่ ​ (9)" ​ นั้นเป็นคำเรียก ​ อนุโลมญาณ ​ เพราะฉะนั้นโยคาวจรผู้ปรารถนาบรรลุอนุโลมญาณนั้น ​ จะต้องกระทำโยคะในญาณทั้งหลายดังกล่าวนี้ตั้งแต่ ​ อุทยพยญาณ ​ (อย่างแก่) ​ ซึ่งพ้นแล้วจากอุปกิเลส ​ เป็นต้นไป'''​ 
- 
-[4.  (ข)  พลวอุทยพยญาณ ​ หรือ ​ อุทยพยญาณอย่างแก่] 
- 
-หากมีคำถามว่า ​ กระทำโยคะในอุทยพยญาณต่อไปอีก ​ มีประโยชน์อะไร ​ ? 
- 
-(ตอบ) ​ มีประโยชน์ในการกำหนดรู้ ​ (พระไตร) ​ ลักษณ์ ​ เพราะว่า ​ อุทยพยญาณในตอนต้น ​ ๆ  (อย่างอ่อน) ​ เป็นญาณที่ถูกอุปกิเลส ​ 10  ทำให้มัวหมอง ​ ไม่สามารถกำหนดรู้พระไตรลักษณ์โดยหน้าที่ของตนตามเป็นจริงได้ ​ แต่อุทยพยญาณ ​ (อย่างแก่) ​ ที่พ้นจากอุปกิเลสแล้ว ​ สามารถกำหนดรู้ ​ (พระไตรลักษณ์) ​ ได้เพราะฉะนั้น ​ โยคาวจรจึงต้องทำโยคะในอุทยพยญาณนี้ต่อไปอีก ​ เพื่อกำหนดรู้ ​ (พระไตร) ​ ลักษณ์ 
- 
-(ถามว่า) ​ แต่ทว่า ​ พระไตรลักษณ์ทั้งหลาย ​ ก็ยังมิปรากฏ ​ เพราะอะไรปิดบังไว้ ​ ?  เพราะไม่มนสิการอะไร ​ ? 
- 
-(ตอบว่า) ​ ก่อนอื่น ​ อนิจจลักษณะไม่ปรากฏเพราะสันตติปิดบังไว้ ​ เพราะไม่มนสิการความเกิดและความดับ ​ ทุกขลักษณะไม่ปรากฏเพราะอิริยาบถทั้งหลายปิดบังไว้ ​ เพราะไม่มนสิการความเบียดเบียนเฉพาะหน้าเนือง ​ ๆ  อนัตตลักษณะไม่ปรากฏเพราะแท่ง ​ (หรือก้อน) ​ ปิดบังไว้ ​ เพราะไม่มนสิการถึงความสลายตัวของธาตุต่าง ​ ๆ 
- 
-แต่ว่า ​ เมื่อโยคาวจร ​ กำหนดรู้ความเกิดและความดับแล้วเพิกถอนสันตติออกไป ​ อนิจจลักษณะก็ปรากฏ ​ โดยหน้าที่ของตนตามเป็นจริง ​ เมื่อมนสิการความเบียดเบียนเฉพาะ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 334)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​หน้าเนือง ​ ๆ  แล้วเพิกถอนอิริยาบถ ​ ทุกขลักษณะก็ปรากฏ ​ โดยหน้าที่ของตนตามเป็นจริง ​ เมื่อกระจายธาตุต่าง ​ ๆ  ออกไป ​ แล้วทำการกระจายความเป็นก้อน ​ (เป็นแท่ง ​ เป็นกลุ่ม) ​ ออกไป ​ อนัตตลักษณะก็ปรากฏ'''​ 
- 
-'''​[วิภาค ​ 6]'''​ 
- 
-'''​อนึ่ง ​ โยคี ​ ควรทราบวิภาค ​ (คือ ​ การจำแนก) ​ ในลักษณะทั้ง ​ 3  นี้ไว้ ​ ดังนี้คือ'''​ 
- 
-1.    อนิจจะ ​               ความไม่เที่ยง 
- 
-2.    อนิจจลักษณะ ​           ลักษณะของความไม่เที่ยง 
- 
-3.    ทุกขะ ​               ความเป็นทุกข์ 
- 
-4.    ทุกขลักษณะ ​           ลักษณะของความเป็นทุกข์ 
- 
-5.    อนัตตา ​               ความไม่มีอัตตา 
- 
-6.    อนัตตลักษณะ ​           ลักษณะของความไม่มีอัตตา 
- 
-'''​ในวิภาคนั้น'''​ 
- 
-1.    ขันธ์ ​ 5  ชื่อว่า ​ อนิจจะ ​ (ถาม) ​ เพราะเหตุไร ​ ?  (ตอบ) ​ เพราะเกิดขึ้น  ​ 
- 
-ดับไปและมีความเป็นอย่างอื่น ​ หรือว่า ​ เพราะมีแล้วหามีไม่ ​ (ได้แก่  ​ 
- 
-เพราะเกิดแล้วดับไป) 
- 
-2.    ความเกิดขึ้น ​ ดับไป ​ และความเป็นอย่างอื่น ​ เป็น ​ อนิจจลักษณะ ​ หรือว่า 
- 
-อาการและพิการ ​ กล่าวคือ ​ ความมีแล้วหามีไม่ ​ (เกิดแล้วดับไป) ​ เป็น 
- 
-อนิจจลักษณะ 
- 
-3.    แต่ขันธ์ ​ 5  นั้นนั่นแลเป็น ​ ทุกขะ ​ เพราะมีพระพุทธดำรัสอยู่ว่า ​ "​ยทนิจฺ 
- 
-จํ ​ ตํทุกฺขํ ​ -  สิ่งใดไม่เที่ยง ​ สิ่งนั้นเป็นทุกข์" ​ เพราะเหตุไร ​ ?  เพราะเบียด 
- 
-เบียนเฉพาะหน้าเนือง ​ ๆ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 335)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​20. ​   ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส'''​ 
- 
-4.    อาการเบียดเบียนเฉพาะหน้าเนือง ​ ๆ  เป็น ​ ทุกขลักษณะ 
- 
-5.    และขันธ์ ​ 5  นั้นนั่นเอง ​ ชื่อว่าเป็น ​ อนัตตา ​ เพราะมีพระพุทธดำรัสอยู่ 
- 
-ว่า ​ "​ยํ ​ ทุกฺขํ ​ ตทนตฺตา ​ -  สิ่งใดเป็นทุกข์ ​ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา" ​ เพราะ 
- 
-เหตุไร ​ ?  เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ 
- 
-6.    อาการไม่เป็นไปในอำนาจ ​ เป็น ​ อนัตตลักษณะ 
- 
-โยคาวจรนี้กำหนดรู้วิภาคนี้นั้นอยู่แม้ทั้งหมด ​ ด้วย ​ อุทยพยญาณ ​ (อย่างแก่) ​ ที่ท่านเรียกว่า ​ วิปัสสนาซึ่งพ้นไปแล้วจากอุปกิเลส ​ ดำเนินไปตามวิถี ​ โดยหน้าที่ของตนตามเป็นจริง 
- 
-'''​จบ ​ อุทยพยานุปัสสนาญาณ'''​ 
- 
-'''​[5. ​ ภังคานุปัสสนาญาณ]'''​ 
- 
-เมื่อโยคาวจรนั้นกำหนดรู้อย่างนี้แล้วชั่งใจ ​ ไตร่ตรองรูปธรรมและอรูปธรรม ​ (รูปและนาม) ​ ทั้งหลายว่า ​ ไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอนัตตา ​ อยู่แล้ว ​ ๆ  เล่า ​ ๆ  ญาณนั้นกำดำเนินไปแก่กล้า ​ สังขารทั้งหลายก็ปรากฏรวดเร็ว ​ เมื่อญาณดำเนินไปแก่กล้า ​ เมื่อสังขารทั้งหลายปรากฏรวดเร็ว ​ ญาณก็ตามไม่ทันความเกิดขึ้น ​ หรือความตั้งอยู่ ​ หรือความเป็นไป ​ หรือนิมิต ​ (ของสังขารทั้งหลาย) ​ สติ ​ (คือญาณ) ​  ​ก็ตั้งมั่นอยู่ในนิโรธคือความสิ้นไป ​ ความเสื่อมไปและความแตกทำลายไปแต่อย่างเดียว 
- 
-'''​[บาลีอธิบายความภังคานุปัสสนาญาณ]'''​ 
- 
-เมื่อโยคาวจรนั้นเห็นอยู่ว่า ​ "​สังขารเกิดขึ้นอย่างนี้ ​ แล้วดับไปอย่างนี้ ​ เป็นธรรมดา" ​ ดังนี้ ​ วิปัสสนาญาณชื่อ ​ ภังคานุปัสสนา ​ ก็เกิดขึ้น ​ ณ  ที่ตรงนี้ ​ ซึ่งท่านกล่าวระบุถึงไว้ ​ (ในบาลีปฏิสัมภิทามรรค) ​ แปลความว่า ​ "​ปัญญาในการกำหนดรู้อารมณ์แล้วเห็นเนือง ​ ๆ  ซึ่งความดับ ​ คือ ​ วิปัสสนาญาณ"​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 336)''</​fs></​sub>​ 
- 
-"​จิตมีรูปเป็นอารมณ์ ​ เกิดขึ้นแล้วดับไป ​ โยคีกำหนดรู้อารมณ์นั้นแล้วเห็นอยู่เนือง ​ ๆ  ซึ่งความดับของจิตนั้น ​ ที่ว่า ​ "​เห็นเนือง ​ ๆ" ​ คือ ​ เห็นเนือง ​ ๆ  อย่างไร ​ คือ ​ เห็นเนือง ​ ๆ  โดยความไม่เที่ยง ​ มิใช่เห็นเนือง ​ ๆ  โดยความเป็นของเที่ยง ​ เห็นเนือง ​ ๆ  โดยความเป็นทุกข์ ​ มิใช่เห็นเนือง ​ ๆ  โดยความเป็นสุข ​ เห็นเนือง ​ ๆ  โดยความเป็นอนัตตา ​ มิใช่เห็นเนือง ​ ๆ  โดยความเป็นอัตตา ​ เบื่อหน่ายอยู่ ​ มิใช่เพลิงเพลินยินดี ​ ปราศจากความกำหนด ​ มิใช่กำหนดอยู่ ​ ดับไปมิใช่ให้เกิดขึ้น ​ สลัดทิ้งไป ​ มิใช่ยึดถือไว้ ​ เมื่อเห็นเนือง ​ ๆ  โดยความไม่เที่ยง ​ ก็ละนิจจสัญญา ​ (คือความสำคัญว่าเที่ยง) ​ เสียได้ ​ เมื่อเห็นเนือง ​ ๆ  โดยความเป็นทุกข์ ​ ก็ละสุขสัญญา ​ (คือความสำคัญว่าเป็นสุข) ​ เสียได้ ​ เมื่อเห็นเนือง ​ ๆ  โดยเป็นอนัตตา ​ ก็ละอัตตสัญญา ​ (คือความสำคัญว่ามีอัตตา) ​ เสียได้ ​ เมื่อเบื่อหน่าย ​ ก็ละความเพลิงเพลินยินดี ​ เมื่อปราศจากความกำหนัดก็ละความกำหนัด ​ เมื่อดับ ​ ก็ละสิ่งเป็นแดนเกิด ​ เมื่อสลัดทิ้งไป ​ ก็ละความยึดถือไว้ 
- 
-"​จิตมีเวทนาเป็นอารมณ์......... 
- 
-"​จิตมีสัญญาเป็นอารมณ์........ 
- 
-"​จิตมีสังขารเป็นอารมณ์........ 
- 
-"​จิตมีวิญญาณเป็นอารมณ์....... 
- 
-"​จิตมีจักษุเป็นอารมณ์......... 
- 
-ฯลฯ 
- 
-"​จิตมีชราและมรณะเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้วดับไป......ฯลฯ.......เมื่อโยคีสลัดทิ้งไปก็ละความยึดถือไว้"​ 
- 
-การย้ายไปสู่วัตถุที่ตั้ง ​ การคงที่อยู่ในสัญญาและมีกำลังเข็มแข็งในการนึกคิด ​ ชื่อว่า ​ ปฏิสังขาวิปัสสนา ​ ความเห็นแจ้งด้วยการกำหนดรู้) ​ การกำหนดรู้อารมณ์ทั้ง ​ 2  โดยสภาวะอันเดียวกันโดยดำเนินไปตามอารมณ์นั่นแล ​ คือความน้อมจิตไปมรนิโรธ ​ ชื่อว่า ​ วยลักขณวิปัสสนา ​ (คือความเห็นแจ้งลักษณะของความดับ) 
- 
-ภิกษุกำหนดรู้อารมณ์ ​ 1  และเห็นเนือง ​ ๆ  ซึ่งความดับ ​ 1  ความปรากฏโดยความว่างเปล่า ​ 1  ชื่อว่าอธิปัญญาวิปัสสนา ​ (คือความเห็นแจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่ง) 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 337)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ภิกษุผู้ฉลาดในอนุปัสสนา ​ 3  และในวิปัสสนา ​ 4  ไม่หวั่นไหวในทิฏฐิ 
- 
-ต่าง ​ ๆ  เพราะความเป็นผู้ฉลาดในอุปัฏฐาน ​ 3 
- 
-"​การกำหนดรู้ ​ ชื่อว่า ​ ญาณ ​ โดยความหมายว่า ​ รู้แล้ว ​ ชื่อว่า ​ ปัญญา ​ โดยความหมายว่า ​ รู้ทั่ว ​ เพราะฉะนั้น ​ ท่านจึงกล่าวว่า ​ ปัญญาในการกำหนดรู้อารมณ์แล้วเห็นอยู่เนือง ​ ๆ  ซึ่งความดับ ​ ชื่อว่า ​ วิปัสสนาญาณ"​ 
- 
-'''​[อธิบายความในบาลีปฏิสัมภิทามรรค]'''​ 
- 
-ในบาลีนั้น ​ คำว่า ​ "​กำหนดรู้อารมณ์" ​ ความว่า ​ กำหนดแล้วรู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหมายความว่า ​ เห็นอารมณ์ไร ​ ๆ  โดยความสิ้นไป ​ โดยความเสื่อมไป ​ คำว่า ​ "​ปัญญาในการ.......เห็นเนือง ​ ๆ  ซึ่งความดับ" ​ ความว่า ​ ปัญญาใดในการเห็นอยู่เนือง ​ ๆ  ซึ่งความดับของญาณที่เกิดขึ้น ​ กำหนดรู้อารมณ์โดยความสิ้นไป ​ โดยความเสื่อมไปนั้น ​ นี้ท่านกล่าวว่า ​ ญาณในวิปัสสนา ​ คำถามด้วยมุ่งหมายเพื่อจะกล่าวตอบ ​ (กเถตุกัมยตาปุจฉา) ​ ว่า ​ วิปัสสนาญาณนั้นเป็นอย่างไร ​ มีเนื้อความดัง ​ (กล่าวมา) ​ นี้ก่อน 
- 
-จากนั้น ​ เพื่อแสดงอาการที่ญาณนั้นเป็นไป ​ ท่านจึงกล่าวคำบาลีว่า ​ "​รูปารมฺมณตา ​ มีรูปเป็นอารมณ์" ​ ดังนี้เป็นต้น ​ ในบาลีนั้น ​ คำว่า ​ "​จิตมีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้วดับไป ​ หมายความว่า ​ จิตมีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้ว ​ ก็แตกสลายไป ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ อธิบายว่าจิตเกิดขึ้นในความมีรูปเป็นอารมณ์แล้วแตกดับไป ​ คำว่า ​ "​กำหนดรู้อารมณ์นั้น" ​ หมายความว่า ​ กำหนดรู้อารมณ์คือรูปนั้น ​ อธิบายว่า ​ เห็นอารมณ์คือรูปนั้นโดยความสิ้นไป ​ โดยความเสื่อมไป ​ คำว่า ​ "​เห็นอยู่เนือง ​ ๆ  ซึ่งความดับของจิตนั้น" ​ อธิบายว่า ​ เห็นอารมณ์คือรูปนั้น ​ โดยความสิ้นไป ​ โดยความเสื่อมไป ​ ด้วยจิตดวงใดแล้ว ​ โยคาวจรเห็นเนือง ​ ๆ  ซึ่งความดับของจิตดวงนั้นด้วยจิตดวงอื่น ​ เพราะฉะนั้น ​ ท่านพระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า ​ "​โยคาวจรเห็นแจ้งอยู่ซึ่งอารมณ์ที่รู้แล้วด้วย ​ ซึ่งญาณด้วย ​ แม้ทั้ง ​ 2  อย่าง"​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 338)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​[ความหมายของคำว่า ​ "​เห็นเนือง ​ ๆ"​]'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ คำว่า ​ "​อนุปสฺสติ ​ -  เห็นเนือง ​ ๆ" ​ ในบาลีนี้ ​ หมายความว่า ​ ตามเห็นเนือง ​ ๆ  อธิบายว่าเห็นแล้วเห็นอีก ​ โดยอาการหลายอย่าง ​ เพราะฉะนั้น ​ ท่านจึงกล่าวว่า ​ "​ที่ว่าเห็นเนือง ​ ๆ  คือ ​ เห็นเนือง ​ ๆ  อย่างไร ​ ?  คือเห็นเนือง ​ ๆ  โดยความไม่เที่ยง" ​ ดังนี้เป็นต้น ​ ในอาการหลายอย่างนั้น ​ เพราะเหตุที่ที่สุดของความไม่เที่ยง ​ ชื่อว่าภังคะ ​ (คือความดับ) ​ ฉะนั้นโยคาวจรผู้เห็นเนือง ​ ๆ  ซึ่งความดับ ​ ผู้นั้นจึงเห็นอยู่เนือง ​ ๆ  ซึ่งสังขารทั้งปวงโดยความไม่เที่ยง ​ มิใช่เห็นเนือง ​ ๆ  โดยความเที่ยง ​ แต่นั้น ​ ก็เห็นอยู่เนือง ​ ๆ  ซึ่งสังขารทั้งปวงนั้นนั่นแล ​ โดยความเป็นทุกข์มิใช่เห็นเนือง ​ ๆ  โดยความเป็นสุข ​ เห็นเนือง ​ ๆ  โดยความเป็นอนัตตา ​ มิใช่เห็นเนือง ​ ๆ  โดยความเป็นอนัตตา ​ เพราะความไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ และเพราะความเป็นทุกข์ ​ เป็นอัตตา ​ อนึ่ง ​ เพราะเหตุที่สิ่งใดไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอัตตา ​ ไม่พึงยินดีพอใจสิ่งนั้น ​ และสิ่งใดที่ไม่พึงยินดีพอใจ ​ ไม่พึงกำหนดในสิ่งนั้น ​ เพราะฉะนั้น ​ โยคาวจรจึงเบื่อหน่าย ​ ไม่เพลิดเพลินยินดีปราศจากกำหนัด ​ ไม่กำหนัดในสังขารที่ตนเองเห็นแล้วว่า ​ ไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอนัตตานี้ ​ โดยการรำลึกตามการเห็นเนือง ​ ๆ  ซึ่งความดับ ​ เมื่อโยคาวจรนั้นไม่กำหนัดอยู่อย่างนี้ ​ ก็ทำความกำหนัด ​ (ราคะ) ​ ให้ดับไป ​ มิให้เกิดขึ้น ​ อธิบายว่า ​ กระทำมิให้เกิดขึ้น ​ ด้วยญาณชั้นโลกีย์เท่านั้นเอง ​ อีกประการหนึ่ง ​ โยคาวจรนั้นเป็นผู้ปราศจากกำหนัดอย่างนี้แล้ว ​ ทำสังขารที่ตนเห็นแล้ว ​ ให้ดับไป ​ มิให้เกิดขึ้น ​ ฉันใด ​ ก็ทำสังขารแม้ที่มิได้เห็นให้ดับไป ​ มิให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจญาณโดยลำดับ ​ เหมือนกันฉันนั้น ​ อธิบายว่า ​ มนสิการโดยความดับอย่างเดียว ​ คือว่าเห็นแต่ความดับอย่างเดียวของสังขารนั้น ​ ไม่เห็นความเกิด ​ เมื่อโยคาวจรผู้นั้น ​ ปฏิบัติถึงอย่างนี้แล้ว ​ ก็สลัดทิ้งไป ​ ไม่ยึดถือไว้ 
- 
-(ถามว่า) ​ คำที่กล่าวมานั้น ​ หมายความอย่างไร ​ ? 
- 
-(ตอบว่า) ​ อนุปัสสนา ​ (คือความเห็นเนือง ​ ๆ)  มี ​ อนิจจานุปัสสนา ​ (คือความเห็นเนือง ​ ๆ  โดยความไม่เที่ยง) ​ เป็นต้น ​ แม้นี้ ​ ท่านเรียกไว้ ​ (2  อย่างคือ) ​ ว่า ​ "​ปริจฺจาคปฏินิสฺสคฺโค -  การสลัดทิ้งไปด้วยการสละ" ​ เพราะสละกิเลสทั้งหลายพร้อมทั้งขันธ์และอภิสังขารทั้งหลายด้วยตทังคปหาน ​ (ละชั่วคราว) ​ อย่าง ​ 1  เรียกว่า ​ "​ปกฺขนฺทนปฏินิสฺสคฺโค ​ -  การสลัดทิ้งไปด้วยการแล่นเข้าไป" ​ เพราะแล่นเข้าไปในพระนิพพานอันตรงข้ามกับสังขตธรรมนั้น ​ โดยความน้อมไปในพระนิพพานนั้น ​ ด้วยการเห็นโทษของสังขตธรรมอย่าง ​ 1  เพราะฉะนั้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 339)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​พระภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนามีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้นนั้น ​ จึงสละกิเลสทั้งหลายได้ด้วยและแล่นเข้าไปในพระนิพพานด้วย ​ โดยนัยดังกล่าวแล้ว ​ อีกทั้งไม่ยึดถือกิเลสทั้งหลายไว้ด้วยการทำให้เกิด ​ ไม่ยึดถืออารมณ์แห่งสังขตธรรม ​ ด้วยความเป็นผู้ไม่เห็นโทษ ​ เพราะฉะนั้น ​ ท่านจึงกล่าวว่า ​ "​สลัดทิ้งไป ​ ไม่ยึดถือไว้"'''​ 
- 
-ณ  บัดนี้ ​ เพื่อจะแสดงการละธรรมทั้งหลายที่เหลือ ​ ซึ่งละได้ด้วยญาณทั้งหลายของพระภิกษุนั้น ​ ท่านจึงกล่าวไว้ว่า ​ "​เมื่อเห็นเนือง ​ ๆ  โดยความไม่เที่ยง ​ ก็ละนิจจสัญญาเสียได้" ​ ดังนี้เป็นต้น ​ คำว่า ​ "​นันทิ – ความเพลิดเพลินยินดี" ​ ในบาลีนั้น ​ ได้แก่ ​ ตัณหาประกอบด้วยปีติคำนอกนั้นมีนัยดังกล่าวมาแล้วนั่นแล 
- 
-ส่วนในคาถา ​ (บาลี) ​ ทั้งหลาย ​ คำว่า ​ "​การย้ายไปสู่วัตถุที่ตั้ง" ​ หมายความว่า ​ เห็นความดับของรูปแล้ว ​ ความดับ ​ (นั้น) ​ เห็นด้วยจิตดวงใด ​ ย้ายไปสู่วัตถุที่ตั้งอื่น ​ จากวัตถุที่ตั้งเดิม ​ ด้วยการเห็นความดับของจิตแม้ดวงนั้นต่อไปอีก ​ คำว่า ​ "​คงที่อยู่ในสัญญา" ​ หมายความว่า ​ ละความเกิดเสีย ​ และตั้งแน่วแน่อยู่แต่ในความดับ ​ คำว่า ​ "​มีกำลังเข็มแข็งในการนึกคิด" ​ หมายความว่า ​ มีความสามารถในความนึกคิดติดต่อกันไปไม่มีหยุดคั่นเลย ​ เพื่อเห็นความดับของรูปแล้ว ​ จะได้เห็นความดับของจิต ​ ซึ่งมีความดับ ​ (ของรูปนั้น) ​ เป็นอารมณ์ต่อไปอีก ​ คำว่า ​ "​ปฏิสังขารวิปัสสนา" ​ หมายความว่า ​ การกำหนดรู้อารมณ์ ​ (ดังกล่าว) ​ นี้ ​ ชื่อว่า ​ ภังคานุปัสสนา ​ คำว่า ​ "​การกำหนดรู้อารมณ์ทั้งสองโดยสภาวะอันเดียวกันโดยดำเนินไปตามอารมณ์นั่นแล" ​ อธิบายว่า ​ กำหนดรู้อารมณ์ทั้งสองโดยสภาวะอย่างเดียวกันนั่นแล ​ อย่างนี้ว่า ​ "​สังขาร ​ (ในปัจจุบัน) ​ นี้ ​ แตกดับอยู่ ​ ฉันใด ​ สังขารแม้ในอดีต ​ ก็แตกกับไปแล้ว ​ สังขารแม้ในอนาคต ​ ก็จักแตกดับไปฉันนั้น" ​ ดังนี้ ​ โดยการดำเนินไป ​ คือ ​ โดยลำดับของอารมณ์ที่ตนเห็นโดยประจักษ์ ​ เรื่องนี้ ​ แม้ท่านพระโบราณาจารย์ทั้งหลายก็กล่าวไว้แล้วว่า 
- 
-'''​สํวิชฺชมานมฺหิ ​ วิสุทฺธทสฺสโน'''​ 
- 
-ตทนฺวยํ ​ เนติ ​ อตีตนาคเต 
- 
-สพฺเพปิ ​ สงฺขารคตา ​ ปโลกิใน 
- 
-อุสฺสาวพินฺทู ​ สุริเยว ​ อุคฺคเต. 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 340)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​แปลความว่า'''​ 
- 
-พระภิกษุผู้มีทัสสนะบริสุทธิ์ในสังขารซึ่งมีอยู่ในปัจจุบัน 
- 
-ผู้นี้ ​ นำเอาทัสสนะอันบริสุทธิ์นั้นแลไปในสังขาร ​ ซึ่งเป็นอดีต 
- 
-และอนาคตด้วยสังขารทั้งหลายแม้ทั่วทั้งปวงมีปรกติแตกสลายไป 
- 
-เหมือนหยดน้ำค้าง ​ เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นมาก็สลายไป ​ ฉะนั้น 
- 
-คำว่า ​ "​ความน้อมจิตไปในนิโรธ" ​ หมายความว่า ​ ทำการกำหนดรู้อารมณ์ทั้งสองโดยสภาวะอย่างเดียวกัน ​ ด้วยความดับอย่างนั้นแล้ว ​ น้อมจิตไปในนิโรธกล่าวคือความดับนั้นแต่อย่างเดียว ​ อธิบายว่า ​ ความเป็นผู้หนักไปในความดับนั้น ​ น้อมไปในความดับนั้น ​ โอนไปในความดับนั้น ​ โน้มเอียงไปในความดับนั้น ​ คำว่า ​ "​วยลักขณวิปัสสนา" ​ ท่านกล่าวว่า ​ การกำหนดรู้ ​ (ดังกล่าว) ​ นี้ ​ ชื่อว่า ​ ยลักขณวิปัสสนา ​ (คือความเห็นแจ้งลักษณะของความดับ) ​ คำว่า ​ "​กำหนดรู้อารมณ์ ​ 1" ​ หมายความว่า ​ รู้อารมณ์มีรูปเป็นต้นที่มีอยู่ก่อน ​ 1  คำว่า ​ "​เห็นเนือง ​ ๆ  ซึ่งความดับ ​ 1" ​ หมายความว่า ​ เห็นความดับของอารมณ์นั้นแล้ว ​ ยังเห็นเนือง ​ 0  ซึ่งความดับของจิตซึ่งมีความดับนั้นเป็นอารมณ์ด้วย ​ คำว่า ​ "​ความปรากฏโดยความว่างเปล่า ​ 1" ​ หมายความว่า ​ เมื่อโยคาวจรนั้นเห็นอยู่เนือง ​ 0  ซึ่งความดับอย่างนั้น ​ ความปรากฏโดยความว่างเปล่า ​ ก็ปรากฏชัดแจ้งว่า ​ "​สังขารทั้งหลายนั่นเอง ​ แตกดับไป ​ การแตกดับของสังขารทั้งหลายนั้นเป็นความตาย ​ ไม่มีใคร ​ ๆ  อื่น" ​ ดังนี้ ​ เพราะฉะนี้ ​ ท่านพระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า 
- 
-ขนฺธา ​ นิรุชฺฌนฺติ ​ น  จตฺถิ ​ อญฺโญ 
- 
-ขนฺธาน ​ เภโท ​ มรณนฺติ ​ วุจฺจติ 
- 
-เตสํ ​ ขยํ ​ ปสฺสติ ​ อปฺปมตฺโต 
- 
-อณึว ​ วิชฺฌํ ​ วชิเรน ​ โยนิโส. 
- 
-'''​แปลความว่า'''​ 
- 
-ขันธ์ทั้งหลายดับไป ​ ไม่มีใครอื่น ​ ความแตกดับของขันธ์ 
- 
-ทั้งหลาย ​ เขาเรียกว่าความตาย ​ โยคีผู้ไม่ประมาท ​ เห็นอยู่ซึ่ง 
- 
-ความแตกดับของขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น ​ ด้วยอุบายที่แยบคาย 
- 
-เหมือนช่างเจียระไน ​ เห็นแก้วมณีที่ตนเจาะอยู่ด้วยเพชร ​ ฉะนั้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 341)''</​fs></​sub>​ 
- 
-คำว่า ​ "​อธิปัญญาวิปัสสนา" ​ ท่านกล่าวว่า ​ ความกำหนดรู้อารมณ์ ​ 1  การเห็นเนือง ​ ๆ  ซึ่งความดับ ​ 1  การปรากฏโดยความว่างเปล่า ​ 1  (3  อย่าง) ​ นี้ ​ ชื่อว่า ​ อธิปัญญาวิปัสสนา ​ (ความเห็นแจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่ง) ​ คำว่า ​ "​ผู้ฉลาดในอนุปัสสนา ​ 3" ​ คือว่า ​ พระภิกษุผู้ฉลาดในอนุปัสสนา ​ 3  มีอนิจจานุปัสสนา ​ เป็นต้น ​ คำว่า ​ "​และในวิปัสสนา ​ 4" ​ ได้แก่ ​ ในวิปัสสนา ​ 4  มีนิพพิทานุปัสสนาเป็นต้น ​ คำว่า ​ "​เพราะความเป็นผู้ฉลาดในอุปัฏฐาน ​ 3" ​ ความว่าเพราะความเป็นผู้ฉลาดในอุปัฏฐาน ​ คือ ​ ความปรากฏ ​ 3  อย่างนี้ด้วย ​ คือ ​ (ความปรากฏ) ​ โดยความสิ้นไป ​ 1  โดยความเสื่อมไป ​ 1  โดยความว่างเปล่า ​ 1  คำว่า ​ "​ไม่หวั่นไหวในทิฏฐิต่าง ​ ๆ" ​ ความว่า ​ ไม่ส่ายไปในทิฏฐิทั้งหลายมีประการต่าง ​ ๆ  มีสัสวตทิฏฐิ ​ (ความเห็นว่าเที่ยง) ​ เป็นต้น 
- 
-เมื่อโยคาวจรนั้นไม่ส่ายมาอย่างนี้ ​ เป็นผู้มีมนสิการดำเนินไปว่า ​ "​สิ่งที่ยังไม่ดับนั่นแลดับอยู่ ​ สิ่งที่ยังไม่แตกนั่นแลแตกอยู่" ​ ละความเกิดขึ้น ​ ความตั้งอยู่ ​ ความเป็นไปและนิมิตของสังขารทั้งหลายทั้งปวงเสีย ​ เห็นแต่ความแตกดับอย่างเดียว ​ ประดุจบุคคลเห็นการแตกของภาชนะบอบบางกำลังแตกอยู่ ​ เห็นการแตกกระจายของฝุ่นละอองที่กำลังปลิวว่อนอยู่ ​ เห็นการแตกของเมล็ดงาที่กำลังถูกคั่วอยู่ ​ โยคาวจรนั้นเห็นอยู่ว่า ​ "​สังขารทั้งหลายทั้งปวง ​ กำลังแตกดับอยู่ ​ เหมือนบุรุษผู้มีดวงตา ​ ยืนอยู่ ​ ณ  ริมฝั่งสระโบกขรณี ​ หรือ ​ ณ  ริมฝั่งแม่น้ำ ​ เมื่อฝนเมล็ดหนากำลังตกอยู่ ​ เขาพึงเห็นต่อมน้ำใหญ่ ​ ๆ  เกิดขึ้น ​ ๆ  บนผิวน้ำ ​ แล้วแตกไปทันทีทันใด ​ ฉะนั้น ​ แน่ละ ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงโยคาวจรเช่นกล่าวนี้ ​ จึงตรัสว่า 
- 
-ยถา ​ ปุพฺพุฬกํ ​ ปสฺเส ​     ยถา ​ ปสฺเส ​ มรีจิกํ 
- 
-เอวํ ​ โลกํ ​ อเวกฺขนฺตํ ​       มจฺจุราชา ​ น  ปสฺสติ. 
- 
-'''​แปลความว่า'''​ 
- 
-มัจจุราช ​ มองไม่เห็นบุคคลผู้กำหนดเห็นโลก ​ (คือ 
- 
-ขันธ์ ​ 5)  เหมือนเห็นต่อมน้ำ ​ (และ) ​ เหมือนเห็นพยับแดด 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 342)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​[อานิสงส์ภังคานุปัสสนาญาณ]'''​ 
- 
-เมื่อโยคาวจรผู้นั้น ​ เห็นอยู่เนือง ​ ๆ  ว่า ​ "​สังขารทั้งหลายทั้งปวงแตกดับไป ​ แตกดับไปอยู่อย่างนั้น" ​ ภังคานุปัสสนาญาณ ​ ซึ่งมีอานิสงส์ ​ 8  ประการเป็นบริวาร ​ ก็ถึงความมีกำลังแก่กล้า ​ อานิสงส์ ​ 8  ประการในภังคานุปัสสนาญาณนั้น ​ คืออานิสงส์เหล่านี้ 
- 
-1.    ละภวทิฏฐิ ​ (คือความเห็นในความมีและไม่มีแห่งภพ) 
- 
-2.    สละความอาลัยรักรักใคร่ในชีวิต 
- 
-3.    ประกอบความเพียรมั่นคงในความเพียรที่ควรประกอบอยู่ทุกเมื่อ 
- 
-4.    มีอาชีพบริสุทธ์ 
- 
-5.    ละความทะเยอทะยาน 
- 
-6.    ปราศจากความกลัว 
- 
-7.    ประกอบด้วยขันติและโสรัจจะ 
- 
-8.    อดกลั้นต่อสิ่งไม่พอใจและในความกำหนัดยินดี 
- 
-เพราะฉะนั้น ​ ท่านพระโบราณาจารย์ทั้งหลาย ​ จึงกล่าวไว้ว่า 
- 
-อิมานิ ​ อฏฐงฺคุณมุตฺตมานิ 
- 
-ทิสฺวา ​ ตหึ ​ สมฺมสตี ​ ปุนปฺปุนํ 
- 
-อาทิตฺตเจลสฺสิรสูปโม ​ มุนิ 
- 
-ภงฺคานุปสฺสี ​ อมตสฺส ​ ปตฺติยา. 
- 
-'''​แปลความว่า'''​ 
- 
-มุนี ​ ผู้มีปรกติเห็นเนือง ​ ๆ  ซึ่งความแตกดับ ​ ครั้น 
- 
-เห็นคุณอันยอดเยี่ยม ​ 8  ประการ ​ เหล่านี้แล้ว ​ เป็นเสมือน 
- 
-บุคคลผู้มีผ้าโพกบนศีรษะถูกไฟไหม้ ​ กำหนดพิจารณาเห็น 
- 
-แล้วเห็นเล่า ​ อยู่ในภังคานุปัสสนาญาณนั้น ​ เพื่อบรรลุ 
- 
-อมตนิพพาน. 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 343)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​[6. ​ ภยตุปัฏฐานญาณ]'''​ 
- 
-เมื่อโยคีนั้น ​ เสพอยู่เนือง ​ ๆ  ทำให้เกิดขึ้น ​ ทำให้มาก ​ ๆ  ซึ่งภังคานุปัสสนา ​ มีนิโรธ ​ คือความสิ้นไป ​ ความเสื่อมไป ​ และความแตกดับของสังขารทั้งปวงเป็นอารมณ์อยู่อย่างนี้ ​ สังขารทั้งหลายซึ่งมีความแตกดับ ​ (บรรดามีอยู่) ​ ในภพ ​ (3)  กำเนิด ​ (4)  คติ ​ (5)  วิญญาณฐิติ ​ (7)  สัตตาวาส ​ (9)  ทุกหนทุกแห่ง ​ ก็ปรากฏเป็นที่น่ากลัวมาก ​ เช่นเดียวกับสีหะ ​ พยัคฆะ ​ เสือเหลือง ​ หมี ​ เสือดาว ​ ยักษ์ ​ รากษส ​ โคดุ ​ สุนัขดุ ​ ช้างดุตกมัน ​ อสรพิษร้าย ​ สายฟ้า ​ ป่าช้า ​ สนามรบ ​ และหลุมถ่านเพลิงที่ลุกโชติช่วงเป็นต้น ​ ปรากฏเป็นที่น่ากลัวมากแก่บุรุษขลาด ​ ผู้ปรากรถนาดำรงชีวิตอยู่โดยสุขสบาย ​ เมื่อโยคีนั้นเห็นอยู่ว่า ​ "​สังขารทั้งหลายที่เป็นอดีตก็ดับไปแล้ว ​ ที่เป็นปัจจุบันก็กำลังดับอยู่ ​ ถึงแม้สังขารทั้งหลายที่จะบังเกิดขึ้นในอนาคต ​ ก็จะดับไป" ​ ดังนี้ ​ ณ  ที่ตรงนี้ ​ ญาณชื่อว่า ​ ภยตุปัฏฐานญาณ ​ บังเกิดขึ้น 
- 
-[อุปมาภยตุปัฏฐานญาณ ​ ด้วยสตรีมีลูก ​ 3  และสตรีมีลูก ​ 11) 
- 
-ในการที่ภยตุปัฏฐานญาณ ​ บังเกิดขึ้นนั้น ​ มีอุปมาดังต่อไปนี้ 
- 
-สมมุติว่า ​ สตรีผู้หนึ่ง ​ มีบุตรชาย ​ 3  คน ​ เป็นผู้มีความผิดในพระราชา ​ พระราชาตรัสสั่งให้ ​ (ลงโทษ) ​ ตัดศีรษะของบุตรชายทั้งสามนั้น ​ สตรีผู้นั้นได้ไปยังตะแลงแกงพร้อมกับบุตรชายทั้ง ​ 3  ด้วย ​ ทันใดนั้น ​ เขาก็ตัดศีรษะของบุตรชายคนโตของเธอ ​ แล้วเตรียมการ ​ เพื่อตัดศีรษะของบุตรชายคนกลาง ​ สตรีนั้นเห็นศีรษะของบุตรชายคนโตถูกตัดไปแล้ว ​ และเห็นศีรษะบุตรชายคนกลางกำลังถูกตัดอยู่ ​ ก็ทอดอาลัยในบุตรชายคนเล็กเสียได้ว่า ​ "​แม้พ่อคนเล็กนี้ก็จักเป็นเช่นเดียวกับบุตรชายทั้ง ​ 2  นั้นนั่นแล"​ 
- 
-ในอุปมานั้น ​ การที่โยคีเห็นความดับของสังขารที่เป็นอดีต ​ ก็เปรียบเหมือนการที่สตรีผู้นั้นเห็นศีรษะของบุตรชายคนโตถูกตัดไปแล้ว ​ การที่โยคีเห็นความดับของสังขารทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน ​ ก็เปรียบเหมือนการที่สตรีนั้นเห็นศีรษะของบุตรชายคนกลางกำลังถูกเขาตัดอยู่ ​ การที่โยคีเห็นความดับของสังขารทั้งหลายที่จะบังเกิดขึ้นแม้ในอนาคต ​ ก็เปรียบเหมือนการที่สตรีผู้นั้นทอดอาลัยในบุตรชายคนเล็กว่า" ​ ถึงแม้พ่อคนเล็กนี้ก็จักเป็นเช่นเดียวกับบุตรชายทั้ง ​ 2  คนนั้นนั่นแล" ​ เมื่อโยคีนั้นเห็นอยู่อย่างนี้ ​ ณ  ที่ตรงนี้ ​ เกิด ​ ภยตุปัฏฐานญาณ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 344)''</​fs></​sub>​ 
- 
-มีอีกอุปมาหนึ่ง ​ ซึ่งเล่าว่า ​ สตรีผู้มีปรกติเป็นคนมีลูกบูดเน่า ​ คลอดลูกมาแล้ว ​ 10  คน ​ ใน ​ 10  คนนั้น ​ ตายไปแล้ว ​ 9  คน ​ คนหนึ่งกำลังจะตายอยู่ในอ้อมแขน ​ อีกคนหนึ่ง ​ (คนที่ ​ 11)  ยังอยู่ในท้อง ​ สตรีนั้นเห็นลูก ​ 9  คนตายไปแล้ว ​ และคนที่ ​ 10  ก็กำลังจะตาย ​ จึงทอดอาลัยในลูกคนที่อยู่ในท้องได้ว่า ​ "​ถึงแม้เจ้าคนที่อยู่ในท้องนี้ ​ ก็จะเป็นเหมือนลูกทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแหละ"​ 
- 
-ในอุปมานั้น ​ การที่โยคีเห็นความดับของสังขารทั้งหลายที่เป็นอดีต ​ ก็เปรียบเหมือนการที่สตรีนั้นรำลึกถึงความตายของลูกทั้ง ​ 9  คน ​ การที่โยคีเห็นความดับของสังขารทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน ​ เปรียบเหมือนการที่สตรีนั้นเห็นความที่ลูกตนอยู่ในอ้อมแขนกำลังจะตายอยู่ ​ การที่โยคีเห็นความดับของสังขารทั้งหลายที่เป็นอนาคต ​ เปรียบเหมือนการทอดอาลัยในลูกคนที่อยู่ในท้อง ​ (ของสตรีผู้นั้น) ​ เมื่อโยคีนั้นเห็นอยู่อย่างนี้ ​ ในขณะนี้ ​ กำลังเกิด ​ ภยตุปัฏฐานญาณ 
- 
-(ถามว่า) ​ แต่ ​ -  ภยตุปัฏฐานญาณ ​ กลัว ​ หรือ ​ ไม่กลัว ​ ? 
- 
-(ตอบว่า) ​ ไม่กลัว ​ เพราะว่า ​ ภยตุปัฏฐานญาณนั้นเป็นแต่เพียงไตร่ตรองอยู่ว่า ​ "​สังขารทั้งหลายที่เป็นอดีต ​ ก็ดับไปแล้ว ​ สังขารทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน ​ ก็กำลังดับไป ​ สังขารทั้งหลายที่เป็นอนาคต ​ ก็จะดับไป" ​ ดังนี้เท่านั้น ​ เพราะฉะนั้น ​ จึงเปรียบเสมือนบุรุษผู้มีดวงตา ​ แลดูหลุมถ่านเพลิง ​ 3  หลุม ​ ที่ใกล้ประตูเมือง ​ ตัวเขาเองไม่กลัว ​ เขาเป็นแต่เพียงเกิดความไตร่ตรอง ​ (รู้สึกเสียว) ​ อยู่ว่า ​ คนทั้งหลายใด ​ ๆ  จักตกลงไปในหลุมทั้ง ​ 3  นี้ ​ ทุกคนจักได้รับทุกข์ไม่น้อยเป็นแน่" ​ ดังนี้เท่านั้น ​ ฉันใด ​ ก็หรือว่าเปรียบเหมือนบุรุษผู้มีดวงตา ​ แลดูหลาว ​ 3  เล่ม ​ คือ ​ หลาวไม้ตะเคียน ​ 1  หลาวเหล็ก ​ 1  หลาวทอง ​ 1  เขาปักไว้เรียงกันอยู่ตัวเองมิได้กลัว ​ เป็นแต่เพียงบุรุษนั้นไตร่ตรอง ​ (รู้สึกเสียว) ​ อยู่ว่า ​ "​คนทั้งหลายใด ​ ๆ  จักตกลงไปบนหลาวทั้งหลายนี้ ​ ทุกคนจักเสวยทุกข์หาน้อยไม่" ​ ดังนี้อย่างเดียวเท่านั้น ​ ฉันใดภยตุปัฏฐานญาณ ​ ก็ฉันนั้นเช่นกัน ​ ญาณเองมิได้กล่าว ​ เพราะว่าญาณนั้นเป็นแต่เพียงไตร่ตรองอยู่ว่า ​ "​สังขารทั้งหลายในภพนั้น ​ 3  ซึ่งเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ​ 3  หลุม ​ และเปรียบด้วยหลาว ​ 3  เล่ม ​ ที่เป็นอดีต ​ ก็ดับไปแล้ว ​ ที่เป็นปัจจุบัน ​ ก็กำลังดับไป ​ ที่เป็นอนาคตก็จักดับเป็นแน่" ​ ดังนี้แต่อย่างเดียวเท่านั้น ​ แต่เพราะสังขารทั้งหลายที่ดำเนินไปอยู่ในภพ ​ (3)  กำเนิด ​ (4) คติ ​ (5)  วิญญาณฐิติ ​ (7)  และสัตตาวาส ​ (9)  ทุกหนทุกแห่ง ​ เป็นสังขารถึง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 345)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​แล้วซึ่งความพินาศไป ​ เป็นของที่มีภัยอยู่เฉพาะหน้า ​ ปรากฏแก่ญาณนั้น ​ โดยความน่ากลัวแต่อย่างเดียว ​ เพราะฉะนั้น ​ จึงเรียกญาณนั้นว่า ​ ภยตุปัฏฐานญาณ'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ ในความปรากฏโดยความน่ากลัวของญาณนั้น ​ ดังกล่าวมานี้ ​ มีบาลี ​ (แปลความได้) ​ ดังต่อไปนี้ ​ "​(ถามว่า) ​ เมื่อโยคีมนสิการอยู่โดยความมาเที่ยง ​ อะไรปรากฏโดยความน่ากลัว ​ ?  เมื่อมนสิการอยู่โดยความเป็นทุกข์.....โดยความเป็นอนัตตา ​ อะไรปรากฏโดยความน่ากลัว ​ ?  (ตอบว่า) ​ เมื่อโยคีมนสิการอยู่โดยความไม่เที่ยง ​ นิมิตปรากฏโดยความน่ากลัว ​ เมื่อมนสิการอยู่โดยความเป็นทุกข์ ​ ความเป็นไป ​ (ของสังขาร) ​ ปรากฏโดยความน่ากลัว ​ เมื่อมนสิการอยู่โดยความเป็นอนัตตา ​ ทั้งนิมิตและความเป็นไป ​ ปรากฏโดยความน่ากลัว" ​ ดังนี้ 
- 
-คำว่า ​ "​นิมิต" ​ ในบาลีนั้น ​ หมายถึง ​ นิมิตคือสังขาร ​ คำว่า ​ "​นิมิต" ​ นี้ ​ เป็นชื่อเรียกสังขารทั้งหลายโดยเฉพาะ ​ ทั้งที่เป็นอดีต ​ อนาคต ​ และ ​ ปัจจุบัน ​ เพราะว่า ​ เมื่อโยคีมนสิการอยู่โดยความไม่เที่ยง ​ ก็เห็นแต่มรณะ ​ (คือ ​ ความร้อน) ​ อย่างเดียวของสังขารทั้งหลาย ​ เพราะการเห็นแต่ความดับนั้น ​ นิมิตจึงปรากฏแก่โยคีนั้นโดยความน่ากลัว ​ คำว่า ​ "​ความเป็นไป" ​ หมายความว่า ​ ความเป็นไปในรูปภพและอรูปภพ ​ เพราะว่า ​ เมื่อโยคีมนสิการอยู่โดยความเป็นทุกข์ ​ ก็เห็นแต่ความบีบคั้นเฉพาะหน้าเนือง ​ ๆ  อย่างเดียวของความเป็นไป ​ แม้ที่ยกย่องกันว่าเป็นความสุข ​ เพราะเหตุนั้น ​ ความเป็นไป ​ (ของสังขารทั้งหลาย) ​ จึงปรากฏแก่โยคีนั้นโดยความน่ากลัว ​ แต่เมื่อโยคีมนสิการอยู่โดยความเป็นอนัตตา ​ ก็เห็นแม้ทั้ง ​ 2  อย่างนั้น ​ (คือทั้งนิมิตและความเป็นไปของสังขาร) ​ เป็นของว่าง ​ เป็นของเปล่า ​ เป็นของสูญ ​ ไม่มีเจ้าของ ​ ไม่มีผู้นำ ​ เป็นประดุจบ้านร้าง ​ และเป็นประดุจพยับแดด ​ และคนธรรพนคร ​ (วิมานในอากาศ) ​ เป็นต้น ​ เพราะเหตุนั้น ​ นิมิตและความเป็นไปทั้ง ​ 2  จึงปรากฏแก่โยคีนั้นโดยความน่ากลัวด้วยประการฉะนี้  ​ 
- 
-'''​จบ ​ ภยตุปัฏฐานญาณ'''​ 
- 
-'''​[7. ​ อาทีนวานุปัสสนาญาณ]'''​ 
- 
-เมื่อโยคีนั้น ​ เสพอยู่เนือง ​ ๆ  ทำให้เกิดอยู่ ​ ทำให้มาก ​ ๆ  อยู่ ​ ซึ่งภยตุปัฏฐานญาณนั้นก็ปรากฏว่า ​ ในภพ ​ (3)  กำเนิด ​ (4)  คติ ​ (5)  ฐิติ ​ (7)  สัตตาวาส ​ (9)  ทั่วทุกหนทุกแห่ง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 346)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ไม่มีที่ต้านทาน ​ ไม่มีที่หลบลี้ ​ ไม่มีภูมิที่จะไป ​ ไม่มีที่พึงอาศัย ​ ไม่มีความปรารถนา ​ หรือ ​ ความยึดเหนี่ยว ​ ในสังขารทั้งหลาย ​ ที่ดำเนินไปในภพ ​ (3)  กำเนิด ​ (4)  คติ ​ (5)  ฐิติ ​ (7)  นิวาส ​ (9)  ทั่วทุกหนทุกแห่ง ​ แม้แต่เพียงสังขารเดียว ​ ภพ ​ 3  ก็ปรากฏประดุจหลุมถ่านเพลิงซึ่งเต็มด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว ​ มหาภูต ​ 4  ก็ปรากฏประดุจอสรพิษร้าย ​ ขันธ์ ​ 5  ก็ปรากฏประดุจเพชฌฆาตที่ยกดาบเงื้อง่าอยู่แล้ว ​ อายตนะภายใน ​ 6  ก็ปรากฏประดุจหมู่บ้านร้าง ​ อายตนะภายนอก ​ 6  ก็ปรากฏประดุจพวกโจรปล้นฆ่าชาวบ้าน ​ วิญญาณฐิติ ​ 7  และสัตตาวาส ​ 9  ก็ปรากฏประดุจถูกเผาด้วยไฟ ​ 11  กอง ​ ลุกโพลงและโชติช่วงอยู่สังขารทั้งหลายทั้งปวงก็ปรากฏเป็นประดุจหัวฝี ​ เป็นโรค ​ ถูกลูกศรเสียบ ​ เป็นสิ่งชั่วร้ายและเป็นอาพาธ ​ เป็นกองแห่งโทษร้ายใหญ่หลวง ​ หาความอบอุ่นมิได้ ​ ไม่มีรส'''​ 
- 
-(ถามว่า) ​ ปรากฏอย่างไร ​ ? 
- 
-(ตอบว่า) ​ ปรากฏดุจดังว่า ​ ป่าชัฏ ​ แม้ตั้งสงบอยู่โดยอาการเป็นที่น่ารื่นรมย์ ​ แต่มีมฤคร้าย ​ ปรากฏแก่บุรุษขลาด ​ ผู้ปรารถนาดำรงชีวิตอยู่ด้วยความสุข ​ ปรากฏประดุจถ้ำมีเสือโคร่งประดุจน้ำมีรากษสสิงอยู่ ​ ประดุจข้าศึกเงือดเงื้อพระขรรค์อยู่แล้ว ​ ประดุจโภชนะมียาพิษ ​ ประดุจมรรคาที่มีโจร ​ ประดุจเรือนที่ไฟไหม้ ​ ประดุจสนามรบที่มีทหารเตรียมพร้อมอยู่แล้ว ​ ความจริง ​ บุรุษผู้นั้น ​ ครั้นมาถึงสถานที่เช่นป่าชัฏมีสัตว์ร้ายเป็นต้นเหล่านี้แล้ว ​ ก็กลัว ​ หวาดหวั่นขนลุกขนพอง ​ เห็นแต่โทษร้ายอย่างเดียวทุกทิศทาง ​ ฉันใด ​ โยคาวจรท่านนี้ก็ฉันนั้นเช่นกัน ​ เมื่อสังขารทั้งหลายทั้งปวงปรากฏโดยความน่ากลัว ​ ด้วยอำนาจภังคานุปัสสนา ​ ก็เห็นอยู่โดยทั่วไป ​ แต่โทษร้าย ​ ไม่มีรส ​ ไม่มีความอบอุ่นใจแต่อย่างเดียว 
- 
-เมื่อโยคีคาวจรท่านนั้นเห็นอยู่อย่างนี้ ​ ญาณที่ชื่อว่า ​ อาทีนวญาณ ​ ก็เป็นอันบังเกิดขึ้นแล้ว ​ ซึ่งเป็นญาณที่ท่านระบุถึง ​ กล่าวคำบาลีนี้ไว้ ​ (แปลความ) ​ ว่า 
- 
-"​ถามว่า) ​ ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัว ​ เป็นอาทีนวญาณ ​ อย่างไร"​ 
- 
-(ตอบว่า) ​ ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัวว่า ​ ความเกิดขึ้น ​ เป็นที่น่ากลัว ​ ดังนี้ ​ เป็นอาทีนวญาณ ​ ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัวว่า ​ ความเป็นไปเป็นที่น่ากลัว.....ว่า ​ นิมิตเป็นที่น่ากลัว.....ว่า ​ ความขวนขวายเป็นที่น่ากลัว.....ว่า ​ ปฏิสนธิเป็นที่น่ากลัว.....ว่า ​ คติ ​ (ภูมิที่ไป) ​ เป็นที่น่ากลัว.....ว่า ​ นิพพัตติ ​ (ความบังเกิด) ​ เป็นที่น่ากลัว 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 347)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​.....ว่า ​ อุปปัตติ ​ (ความเข้าถึง) ​ เป็นที่น่ากลัว.....ว่า ​ ชาติ ​ (ความเกิด) ​ เป็นที่น่ากลัว.....ว่า ​ ชราเป็นที่น่ากลัว.....ว่า ​ พยาธิ ​ (ความป่วยไข้) ​ เป็นที่น่ากลัว......ว่า ​ มรณะเป็นที่น่ากลัว.....ว่า ​ ความโศกเป็นที่น่ากลัว.....ว่า ​ ความคร่ำครวญเป็นที่น่ากลัว.....ว่า ​ ความคับแค้นใจเป็นที่น่ากลัว" ​ ดังนี้ ​ เป็น ​ อาทีนวญาณ ​ (แต่ละอย่าง ​ ๆ  พวกหนึ่ง)'''​ 
- 
-"​ปัญญา ​ (ความรู้) ​ ว่า ​ ความไม่เกิดขึ้นเป็นแดนเกษม ​ (ปลอดภัย) ​ ดังนี้เป็น ​ สันติปทญาณ ​ (ความรู้ในทางบรรลุสันติ ​ คือพระนิพพาน) ​ ความรู้ว่า ​ ความไม่เป็นไปเป็นแดนเกษม.....ฯลฯ.....ความรู้ว่า ​ ความไม่คับแค้นใจเป็นแดนเกษม" ​ ดังนี้ ​ เป็นสันติปทญาณ ​ (แต่ละอย่าง ​ ๆ  พวกหนึ่ง) 
- 
-"​ปัญญา ​ (ความรู้) ​ ว่า ​ ความเกิดขึ้นเป็นที่น่ากลัว ​ ความไม่เกิดขึ้นเป็นแดนเกษม ​ ดังนี้ ​ เป็นสันติปทญาณ ​ (ความรู้ในทางบรรลุสันติ ​ คือพระนิพพาน) ​ ความว่า ​ ความเป็นไป.....ฯลฯ.....ความคับแค้นใจเป็นที่น่ากลัว ​ ความไม่คับแค้นใจเป็นแดนเกษม" ​ ดังนี้ ​ เป็นสันติปทญาณ ​ (แต่ละอย่าง ​ ๆ  พวกหนึ่ง) 
- 
-"​ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัวว่า ​ ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ​ เป็นอาทีนวญาณ, ​ ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัวว่า ​ ความเป็นไป.....ฯลฯ.....ว่า ​ ความคับแค้นใจเป็นทุกข์" ​ ดังนี้ ​ เป็นอาทีนวญาณ ​ (แต่ละอย่าง ​ ๆ  พวกหนึ่ง) 
- 
-"​ความรู้ว่า ​ ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข ​ ดังนี้ ​ เป็นสันติปทญาณ ​ ความรู้ว่า ​ ความไม่เป็นไป.....ฯลฯ ​ ความไม่คับแค้นใจ ​ เป็นสุข" ​ ดังนี้ ​ เป็นสันติปทญาณ ​ (แต่ละอย่าง ​ ๆ  พวกหนึ่ง) 
- 
-"​ความรู้ว่า ​ ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ​ ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข ​ ดังนี้ ​ เป็นสันติปทญาณ ​ ความรู้ว่า ​ ความเป็นไปเป็นทุกข์ ​ ความไม่เป็นไปเป็นสุข.....ฯลฯ.....ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ ​ ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข" ​ ดังนี้ ​ เป็นสันติปทญาณ ​ (แต่ละอย่าง ​ ๆ  พวกหนึ่ง) 
- 
-"​ความรู้ในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัวว่า ​ ความเกิดขึ้นเป็นการเจือด้วยอามิส ​ ดังนี้ ​ เป็นสันติปทญาณ, ​ ความรู้ในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัวว่า ​ ความเป็นไป.....ฯลฯ.....ความคับแค้น ​ เป็นการเจือด้วยอามิส" ​ ดังนี้ ​ เป็นอาทีนวญาณ ​ (แต่ละอย่าง ​ ๆ  พวกหนึ่ง) 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 348)''</​fs></​sub>​ 
- 
-"​ความรู้ว่า ​ ความไม่เกิดขึ้นเป็นการไม่มีอามิส ​ ดังนี้ ​ เป็นสันติปทญาณ ​ ความรู้ว่า ​ ความไม่เป็นไป.....ฯลฯ.....ความไม่คับแค้นใจ ​ เป็นการไม่มีอามิส" ​ ดังนี้ ​ เป็นสันติปทญาณ ​ (แต่ละอย่าง ​ ๆ  พวกหนึ่ง) 
- 
-"​ความรู้ว่า ​ ความเกิดขึ้นเป็นการเจือด้วยอามิส ​ ความไมเกิดขึ้น ​ เป็นการไม่มีอามิส ​ ดังนี้ ​ เป็นสันติปทญาณ ​ ความรู้ว่า ​ ความเป็นไป ​ เป็นการเจือด้วยอามิส ​ ความไม่เป็นไป ​ เป็นการไม่มีอามิส.....ฯลฯ.....ความคับแค้นใจ ​ เป็นการเจือด้วยอามิส ​ ความไม่คับแค้นใจ ​ เป็นการไม่มีอามิส ​ ดังนี้ ​ เป็นสันติปทญาณ ​ (แต่ละอย่าง ​ ๆ  พวกหนึ่ง) 
- 
-"​ความรู้ในความปรากฏโดยเป็นที่น่ากลัวว่า ​ ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ​ ดังนี้ ​ เป็นอาทีนวญาณ ​ ความรู้ในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัว ​ ความเป็นไป ​ เป็นสังขาร.....ฯลฯ ​ ความคับแค้นใจ ​ เป็นสังขาร" ​ ดังนี้ ​ เป็นอาทีนวญาณ ​ (แต่ละอย่าง ​ ๆ  พวกหนึ่ง) 
- 
-"​ความรู้ว่า ​ ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน ​ ดังนี้ ​ เป็นสันติปทญาณ ​ ความรู้ว่า ​ ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน.....ฯลฯ.....ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน" ​ ดังนี้ ​ เป็นสันติปทญาณ ​ (แต่ละอย่าง ​ ๆ  พวกหนึ่ง) 
- 
-"​ความรู้ว่า ​ ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ​ ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน ​ ดังนี้ ​ เป็นสันติปทญาณ ​ ความรู้ว่า ​ ความเป็นไปเป็นสังขาร ​ ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน.....ฯลฯ ​ ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ​ ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน" ​ ดังนี้ ​ เป็นสันติปทญาณ ​ (แต่ละอย่าง ​ ๆ  พวกหนึ่ง) 
- 
-"​อุปฺปาทญฺจ ​ ปวตฺตญฺจ ​ นิมิตฺติ ​ ปสฺสติ 
- 
-อายูหนญฺจ ​ ปฏิสนธึ ​       ญาณํ ​ อาทีนเว ​ อิทํ. 
- 
-อนุปฺปาทํ ​ อปฺปวตฺตํ ​       อนิมิตฺตํ ​ สุขนฺติ ​ จ 
- 
-อนายูหนํ ​ อปฺปฏิสนฺธึ ​       ญาณํ ​ สนฺติปเท ​ อิทํ. 
- 
-อิทํ ​ อาทีนเว ​ ญาณํ ​       ปญฺจฏฐาเนสุ ​ ชายติ 
- 
-ปญฺจฏฐาเน ​ สนฺติปเท ​       ทส ​ ญาเณ ​ ปซานาติ 
- 
-ทฺวินฺนํ ​ ญาณานํ ​ กุสลตา ​       นานาทิฏฐีสุ ​ น  กมฺปตี"​ติ. 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 349)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​แปลความว่า'''​ 
- 
-"​โยคาวจรเห็นความเกิดขึ้น ​ และความเป็นไป ​ และนิมิต 
- 
-ความขวนขวายและปฏิสนธิ ​ ว่าเป็นทุกข์ ​ นี้เป็น ​ อาทีนวญาณ 
- 
-และเห็นความไม่เกิดขึ้น ​ ความไม่เป็นไป ​ ความไม่มีนิมิต 
- 
-ความไม่มีขวนขวาย ​ ไม่มีปฏิสนธิ ​ ว่าเป็นสุข ​ นี้เป็น ​ สันติ 
- 
-ปทญาณ ​ อาทีนวญาณนี้เกิดใน ​ 5  ฐาน ​ สันติปทญาณก็ 
- 
-เกิดใน ​ 5ฐาน ​ โยคาวจรกำหนดรู้ญาณ ​ 10  ด้วย ​ ความ 
- 
-เป็นผู้ฉลาดในญาณ ​ 2  (คือ ​ อาทีนวญาณ ​ และ ​ สันติปท 
- 
-ญาณ) ​ จึงไม่หวั่นไหวในทิฏฐิต่าง ​ ๆ" ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-"​ความเห็นนั้น ​ ชื่อว่า ​ ญาณ ​ โดยความหมายว่า ​ รู้แล้ว ​ ชื่อว่า ​ ปัญญา ​ โดยความหมายว่า ​ รู้ทั่ว ​ เพราะฉะนั้น ​ ท่านจึงกล่าวว่า ​ ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัว ​ เป็นอาทีนวญาณ" ​ ดังนี้ 
- 
-คำว่า ​ "​ความเกิดขึ้น" ​ ในคำบาลี ​ (ที่แปลไว้ข้างต้น) ​ นั้น ​ หมายถึง ​ การบังเกิดขึ้นในภพ ​ เพราะกรรมในภพก่อนเป็นปัจจัย ​ คำว่า ​ "​ความเป็นไป" ​ หมายถึง ​ ความเป็นเป็นไปของสังขาร ​ ซึ่งบังเกิดขึ้นอย่างนั้นแล้ว ​ คำว่า ​ "​นิมิต" ​ หมายถึง ​ นิมิต ​ คือ ​ สังขารแม้ทุกประการ ​ คำว่า ​ "​ความขวนขวาย" ​ หมายถึง ​ กรรมอันเป็นเหตุให้ปฏิสนธิในภพต่อไป ​ คำว่า ​ "​ปฏิสนธิ" ​ หมายถึงการบังเกิดในภพต่อไป ​ คำว่า ​ "​คติ ​ (ภูมิที่ไป)" ​ หมายถึง ​ ภูมิที่ไปซึ่งมีปฏิสนธิ ​ คำว่า ​ "​นิพพัตติ ​ (ความบังเกิด)" ​ หมายถึง ​ ความบังเกิดของขันธ์ทั้งหลาย ​ คำว่า ​ "​อุปปัตติ ​ (ความเข้าถึง)" ​ หมายถึง ​ ความเป็นไปแห่งวิบาก ​ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ​ "​ความเป็นไปแห่งวิบาก ​ ของผู้ถึงพร้อมแล้ว ​ หรือว่า ​ ของผู้เข้าถึงแล้ว" ​ คำว่า ​ "​ชาติ ​ (ความเกิด)" ​ หมายถึง ​ ชาติ ​ ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งชราเป็นต้น ​ เกิดขึ้นเพราะภพเป็นปัจจัย ​ อาการทั้งหลายมีชราและมรณะเป็นต้น ​ เป็นอาการที่ปรากฏแล้วโดยเฉพาะ ​ อนึ่ง ​ ในบาลีนั้น ​ อาการมีความเกิดขึ้นเป็นต้น ​ 5  อย่างเท่านั้น ​ ท่านกล่าวไว้โดยความเป็นวัตถุ ​ (ที่ตั้ง) ​ ของอาทีนวญาณ ​ นอกนั้น ​ ท่านกล่าวไว้โดยเป็นไวพจน์ของอาการ ​ 5  อย่างเหล่านั้น ​ เพราะว่า ​ คำ ​ "​นิพพัตติ" ​ (และ) ​ "​ชาติ" ​ 2  คำนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 350)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​เป็นไวพจน์ของอุปปาทะ ​ (ความเกิดขึ้น) ​ และของปฏิสนธิ ​ คำว่า ​ "​คติ" ​ (และ) ​ "​อุปปัตติ" ​ 2  คำนี้ ​ เป็นไวพจน์ของปวัตตะ ​ (ความเป็นไป) ​ คำว่า ​ "​ชรา" ​ เป็นต้นเป็นไวพจน์ของนิมิต ​ ดังนี้ ​ เพราะฉะนั้น ​ ท่านจึงกล่าวไว้ข้างต้น ​ (ด้วยคาถาซึ่งแปลความว่า)'''​ 
- 
-"​โยคาวจรเห็นความเกิดขึ้นและความเป็นไปและนิมิต 
- 
-ความขวนขวายและปฏิสนธิ ​ ว่าเป็นทุกข์ ​ นี้เป็นอาทีนว 
- 
-ญาณ" ​ ดังนี้ ​ 1  และว่า ​ "​อาทีนวญาณนี้เกิดใน ​ 5  ฐาน"​ 
- 
-ดังนี้ ​ 1 
- 
-ส่วนคำเป็นต้นว่า ​ "​ปัญญา ​ (ความรู้) ​ ว่า ​ ความไม่เกิดขึ้นเป็นแดนเกษม ​ เป็นสันติปทญาณ" ​ ท่านกล่าวไว้เพื่อชี้ให้เห็นญาณที่เป็นฝ่ายตรงข้ามของอาทีนวญาณ ​ อีกประการหนึ่งท่านกล่าวคำนี้ไว้ ​ เพื่อให้เกิดความอบอุ่นใจแก่โยคาวจรผู้เห็นโทษร้ายด้วยภยตุปัฏฐานญาณ ​ แล้วมีหทัยไหวหวั่นว่า ​ "​แม้สิ่งที่ไม่น่ากลัว ​ ที่เป็นแดนเกษม ​ ที่ไม่มีโทษร้าย ​ ก็มีอยู่" ​ ก็มีอยู่" ​ ดังนี้บ้างก็หรือว่า ​ เพราะอาการทั้งหลายมีความเกิดขึ้นเป็นต้น ​ เป็นอาการตั้งอยู่ชัดเจนโดยความน่ากลัว ​ แก่โยคาวจรผู้นั้นเล่า ​ จิตของโยคาวจรนั้น ​ ก็น้อมไปในความเป็นฝ่ายตรงข้ามกับอาการเหล่านั้นอยู่แล้ว ​ และเพราะเหตุนั้น ​ พึงทราบว่า ​ ท่านกล่าวคำนี้ไว้ ​ เพื่อชี้ให้เห็นอานิสงส์ของอาทีนวญาณ ​ อันสำเร็จได้ด้วยความปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว 
- 
-อนึ่ง ​ ในอาทีนวญาณนี้ ​ เพราะสิ่งใดเป็นของน่ากลัว ​ สิ่งนั้นเป็นทุกข์โดยแน่นอน ​ และสิ่งใดเป็นทุกข์ ​ สิ่งนั้นเป็นของเจือด้วยอามิสโดยแท้ ​ เพราะเป็นของไม่พ้นไปจาก ​ (อามิส ​ 3  คือ) ​ อามิสคือวัฏฏะ ​ 1  อามิสในโลก ​ 1  และอามิสคือกิเลส ​ 1  และสิ่งใดเจือด้วยอามิส ​ สิ่งนั้นก็เป็นเพียงสังขารเท่านั้น ​ เพราะฉะนั้น ​ ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ​ "​ความรู้ในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัวว่า ​ ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ​ ดังนี้ ​ เป็นอาทีนวญาณ" ​ ดังนี้ไว้ ​ แม้เป็นอย่างนั้น ​ ก็ควรทราบความแตกต่างกันในอาการทั้งหลายนี้ ​ ด้วยความเป็นไปโดยอาการต่าง ​ ๆ  กันอย่างนี้ ​ คือ ​ โดยอาการเป็นที่น่ากลัว ​ 1  โดยอาการเป็นทุกข์ ​ 1  โดยอาการมีอามิส ​ 1 
- 
-คำว่า ​ "​กำหนดรู้ญาณ ​ 10" ​ หมายความว่า ​ เมื่อโยคาวจรกำหนดรู้อาทีนวญาณอยู่ ​ ชื่อว่า ​ กำหนดรู้ ​ คือแทงตลอด ​ คือทำให้แจ้งซึ่งญาณ ​ 10  ได้แก่ ​ ญาณ ​ 5  มีอาการเช่นความเกิดขึ้นเป็นต้นเป็นวัตถุ ​ (ที่ตั้ง) ​ (และ ​ ญาณ ​ 5  มีอาการเช่นความไม่เกิดขึ้นเป็นต้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 351)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​เป็นวัตถุ ​ คำว่า ​ "​ด้วยความเป็นผู้ฉลาดในญาณ ​ 2" ​ ความว่า ​ ด้วยความเป็นผู้ฉลาดในญาณ ​ 2  เหล่านี้ ​ คือ ​ อาทีนวญาณ ​ 1  และ ​ สันติปทญาณ ​ 1  คำว่า ​ "​ไม่หวั่นไหวในทิฏฐิต่าง ​ ๆ" ​ ความว่า ​ ไม่ส่ายไปส่ายมาในทิฏฐิทั้งหลาย ​ ซึ่งเป็นไปด้วยความเห็นผิดว่า ​ พระนิพพานเป็นบรมทิฏฐธรรม ​ เป็นต้น ​ คำที่ยังเหลืออยู่ในพระบาลีนี้ ​ เป็นคำมีความหมายง่าย ​ ๆ  ทั้งนั้นแหละ'''​ 
- 
-'''​จบ ​ อาทีนวานุปัสสนาญาณ'''​ 
- 
-'''​[8. ​ นิพพิทานุปัสสนาญาณ]'''​ 
- 
-เมื่อโยคีนั้นเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นโทษอยู่อย่างนี้ ​ ก็เบื่อหน่าย ​ เอือมระอา ​ ไม่อภิรมย์ในสังขารอันมีการแตกดับ ​ ซึ่งดำเนินอยู่ในภพ ​ (3)  กำเนิด ​ (4)  คติ ​ (5)  วิญญาณฐิติ ​ (7)  สัตตาวาส ​ (9)  ทั่วทุกหนทุกแห่ง ​ เปรียบเหมือนพญาหงส์ทอง ​ ผู้อภิรมย์ยินดีอยู่ ​ ณ  เชิงภูเขาจิตรกูฏ ​ ไม่อภิรมย์ยินดีในบ่อน้ำสกปรกใกล้ประตูบ้านคนจัณฑาล ​ อภิรมย์ยินดีอยู่แต่ในสระใหญ่ทั้ง ​ 7  (ในป่าหิมพานต์) ​ เท่านั้น ​ ชื่อแม้ฉันใด ​ พญาหงส์ ​ คือโยคีแม้นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ​ ไม่อภิรมย์ยินดีในสังขารซึ่งมีแต่การแตกดับ ​ มีโทษร้าย ​ ซึ่งตนได้กำหนดเห็นมาอย่างดีแล้ว ​ แต่ทว่า ​ ยินดีอยู่ในอนุปัสสนาทั้งหลาย ​ 7  เท่านั้น ​ เพราะเป็นผู้ประกอบแล้วด้วยความเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่ยินดี ​ (และ) ​ ด้วยความยินดีในภาวนา ​ อนึ่ง ​ เปรียบเหมือนสีหะมฤคราชที่ถูกเขาขังไว้แม้ในกรงทอง ​ ก็ไม่อภิรมย์ยินดี ​ แต่ทว่า ​ ยินดีพอใจอยู่แต่ในป่าหิมพานต์กว้าง ​ 3,000  โยชน์เท่านั้น ​ ฉันใด ​ สีหะมฤคราช ​ คือโยคีนี้ ​ ก็ฉันนั้น ​ ไม่อภิรมย์ยินดีแม้ในสุคติภพทั้ง ​ 3  อย่าง ​ แต่ทว่ายินดีอยู่แต่ในอนุปัสสนา ​ 3  เท่านั้น ​ อนึ่ง ​ เปรียบเหมือนพญาช้างฉัททันต์ ​ เผือกทั่วสรรพางค์ ​ มีอวัยวะ ​ 7  จรดถึงพื้น ​ มีฤทธิ์ ​ เหาะไปได้ในเวหาสก็ไม่อภิรมย์ยินดีอยู่ในท่ามกลางพระนคร ​ อภิรมย์ยินดีอยู่แต่ในป่าชัฏริมสระฉัททันต์ ​ ในป่าหิมพานต์เท่านั้น ​ ฉันใด ​ พญาช้างตัวประเสริฐคือโยคีผู้นี้ ​ ก็ฉันนั้น ​ ไม่อภิรมย์ยินดีในสังขารแม้ทั้งปวง ​ อภิรมย์ยินดีอยู่แต่ในพระนิพพาน ​ อันเป็นสันติบทที่ตนเห็นแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า ​ "​ความไม่เกิดขึ้นเป็นแดนเกษม" ​ เป็นผู้มีใจน้อมไปในพระนิพพานนั้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 352)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​โน้มไปในพระนิพพานนั้น ​ โอนเอียงไปในพระนิพพานอันเป็นสันติบทนั้น ​ ด้วยประการฉะนี้ ​ '''​ 
- 
-อนึ่ง ​ นิพพิทาญาณนี้นั้น ​ โดยความหมายก็เป็นญาณเดียวกันกับ 2  ญาณข้างต้น ​ (คือ ​ ภยตุปัฎฐานญาณและอาทีนวญาณ) ​ เพราะเหตุนั้น ​ ท่านพระโบราณจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า ​ "​ภยตุปัฎฐานญาณเดียวนั่นแล ​ ได้ชื่อ 3  ชื่อ ​ คือ ​ ชื่อว่าภยตุปัฎฐาน ​ เพราะเห็นสังขารทั้งปวงโดยความน่ากลัว 1  ชื่อว่าอาทีนวานุปัสสนา เพราะให้เกิด ​ (ความเห็น) โทษร้ายขึ้นในสังขารทั้งหลายเหล่านั้นนั่นเอง 1 ชื่อว่านิพพิทานุปัสสนา ​ เพราะบังเกิดเบื่อหน่าย ​ ขึ้นแล้วในสังขารทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแล 1" ​ แม้ในพระบาลี ​ ท่านก็กล่าวไว้ว่า ​ "​ปัญญาใด ​ ในภยตุปัฎฐาน ​ 1 ญาณใดในอาทีนวะ 1  นิพพิทาใด 1  ธรรมทั้งหลายเหล่านี้มีความหมายอย่างเดียวกัน ​ พยัญชนะเท่านั้นที่ต่างกัน"​ 
- 
-'''​จบ ​ นิพพิทานุปัสสนาญาณ'''​ 
- 
-'''​(9. ​ มุญจิตุกัมยตาญาณ)'''​ 
- 
-แต่เมื่อกุลบุตรผู้นี้ ​ เบื่อหน่ายอยู่ ​ เอือมระอาอยู่ ​ ไม่ภิรมย์ยินดีอยู่ด้วยนิพพิทาญาณนี้ ​ จิตก็ไม่ข้อง ​ ไม่เกาะ ​ ไม่ติดอยู่ ​ ในสังขารทั้งหลาย ​ ซึ่งมีความแตกดับ ​ ที่ดำเนินไปอยู่ในภพ (3)  กำเนิด (4) วิญญาณฐิติ (7) และ ​ สัตตาวาส (9)    ทุกหนทุกแห่ง ​ แม้แต่สังขารเดียวเป็นจิตที่ใคร่จะพ้นไป ​ ปรารถนาจะออกไปเสียจากสังขารทั้งปวง 
- 
-(ถามว่า) ​ เปรียบเหมือนอะไร ? 
- 
-(ตอบว่า) ​ เปรียบเหมือนสัตว์และบุคคลเป็นต้นว่าแบบนี้ ​ คือ 
- 
-'''​1. ​   ปลาติดอยู่ในอวน ​ (หรือแห)'''​ 
- 
-'''​2. ​   กบอยู่ในปากงู'''​ 
- 
-'''​3. ​   ไก่ป่าถูกขังไว้ในกรง'''​ 
- 
-'''​4. ​   เนื้ออยู่ในบ่วงบาสอันเหนียวแน่น'''​ 
- 
-'''​5. ​   งูอยู่ในเอื้อมมือของหมองู'''​ 
- 
-'''​6. ​   ช้างกุญชรตกอยู่ในหลุมลึก'''​ 
- 
-'''​7. ​   พญานาคอยู่ในปากครุฑ'''​ 
- 
-'''​8. ​   พระจันทร์เข้าไปอยู่ในปากราหู'''​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 353)''</​fs></​sub>​ 
- 
-9.    บุรุษถูกศัตรูล้อมไว้ 
- 
-'''​เป็นผู้มีความปรารถนาจะพ้นไป ​ มีความมุ่งมั่นจะออกไปเสียจากที่นั้น ๆ  ชื่อฉันใด ​ จิตของโยคีผู้นั้น ​ ก็ฉันนั้น ​ เป็นจิตปรารถนาจะพ้นไป ​ ประสงค์จะออกไปเสียจากสังขารทั้งปวง ​ ทันใดนั้น ​ ครั้นโยคีท่านนั้น ​ ผู้ปราศจากความอาลัยในสังขารทั้งปวงแล้ว ​ ผู้ปรารถนาจะพ้นไปจากสังขารทั้งปวงอยู่อย่างนี้ ​ มุญจิตุกัมยตาญาณก็บังเกิดขึ้น ​ ด้วยประการฉะนี้'''​ 
- 
-'''​จบ ​ มุญจิตุกัมยตาญาณ'''​ 
- 
-'''​(10. ​ ปฎิสังขานุปัสสนาญาณ)'''​ 
- 
-โยคีผู้นั้น ​ เป็นผู้มีความปรารถนาเพื่อจะพ้นไปเสียจากสังขารทั้งหลาย ​ ซึ่งมีแต่ความแตกดับ ​ อันดำเนินไปอยู่ในภพ ​ ในกำเนิด ​ ในคติ ​ ในฐิติ ​ และในนิวาส ​ ทุกหนทุกแห่งดังกล่าวนั้น ​ จึงยกเอาสังขารทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแหละขึ้นสู่พระไตรลักณ์แล้วกำหนดรู้ด้วยปฎิสังขานุปัสสนาญาณต่อไปอีก ​ เพื่อพ้นไปเสียจากสังขารทั้งปวง 
- 
-โยคีนั้นก็เห็นอยู่ซึ่งสังขารทั้งปวงว่า ​ "​ไม่เที่ยง ​ ด้วยเหตุทั้งหลาย ​ เช่นเป็นต้นว่า 
- 
-อนัจจันติกโต ​   โดยไม่เป็นไปเลยที่สุด 
- 
-ตาวกาลิกโต ​   โดยเป็นไปชั่วคราว 
- 
-อุปปาทวยปริจฉินนโต ​   โดยกำเนิดได้ด้วยความเกิดและความดับ 
- 
-ปโลกโต ​   โดยแตกทำลาย 
- 
-ขณิกโต ​   โดยเป็นไปชั่วขณะ 
- 
-จลโต ​   โดยความหวั่นไหว 
- 
-ปภังคุโต ​   โดยผุพัง 
- 
-อัทธุวโต ​   โดยไม่ยั่งยืน 
- 
-วิปริณามธัมมโต ​   โดยมีความแปรผันอยู่เป็นธรรมดา 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 354)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อสารกโต ​   โดยไม่มีสาระ 
- 
-วิภวโต ​   โดยปราศจากความเจริญ 
- 
-สังขตโต ​   โดยเป็นเป็นของถูกปรุงแต่งขึ้นไว้ 
- 
-มรณธัมมโต ​   โดยมีความตายเป็นธรรมดา 
- 
-'''​เห็นอยู่ ​ (ซึ่งสังขารทั้งปวง) ​ ว่า ​ "​เป็นทุกข์ ​ ด้วยเหตุทั้งหลาย ​ เช่นเป็นต้นว่า ​ '''​ 
- 
-อภิณหปฎิปีฬนโต ​   โดยเบียดเบียนเฉพาะหน้าอยู่เนืองๆ 
- 
-ทุกขมโต ​   โดยทนได้ยาก 
- 
-ทุกขวัตถุโต ​   โดยเป็นที่ตั้งของทุกข์ 
- 
-โรคโต ​   โดยเป็นโรค 
- 
-คัณฑโต ​   โดยเป็นแผลฝี 
- 
-สัลลโต ​   โดยเป็นลูกศรเสียบ 
- 
-อฆโต ​   โดยความชั่วร้าย 
- 
-อาพาธโต ​   โดยความป่วยไข้ 
- 
-อีติโต ​   โดยความหายนะ 
- 
-อุปัททวโต ​   โดยเป็นอุปัทวะ 
- 
-ภยโต ​   โดยเป็นภัย 
- 
-อุปสัคคโต ​   โดยเป็นอุปสรรค 
- 
-อตาณโต ​   โดยไม่เป็นที่ต้านทาน 
- 
-อเลณโต ​   โดยไม่เป็นที่หลบลี้ 
- 
-อสรณโต ​   โดยไม่เป็นที่พึ่ง 
- 
-อาทีนวโต ​   โดยเป็นโทษร้าย 
- 
-อฆมูลโต ​   โดยเป็นต้นเหตุแห่งความชั่วร้าย 
- 
-วธกโต ​   โดยเป็นฆาตกร 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 355)''</​fs></​sub>​ 
- 
-สาสวโต ​   โดยมีอาสวะ 
- 
-มารามิสโต ​   โดยเป็นเหยื่อล่อของมาร 
- 
-ชาติธัมมโต ​   โดยมีความเกิดเป็นธรรมดา 
- 
-ชราธัมมโต ​   โดยมีความแก่เป็นธรรมดา 
- 
-พยาธิธัมมโต ​   โดยมีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา 
- 
-มรณธัมมโต ​   โดยมีความตายเป็นธรรมดา 
- 
-โสกธัมมโต ​   โดยมีความโศกเป็นธรรมดา 
- 
-ปริเทวธัมมโต ​   โดยมีความคร่ำครวญเป็นธรรมดา 
- 
-อุปายาสธัมมโต ​   โดยมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา 
- 
-สังกิเลสิกธัมมโต ​   โดยมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา 
- 
-'''​เห็นอยู่ ​ (ซึ่งสังขารทั้งปวง) ​ โดยอสุภะ ​ (ความไม่งาม) ​ โดยเป็นบริวารของทุกขลักขณะ ​ ด้วยเหตุทั้งหลาย ​ เช่นเป็นต้นว่า'''​ 
- 
-อธัญญโต ​   โดยเป็นของไม่งาม 
- 
-ทุคคันธโต ​   โดยมีกลิ่นชั่ว 
- 
-เชคุจฉโต ​   โดยเป็นของน่าเกลียด 
- 
-ปฏิกูลโต ​   โดยเป็นของปฏิกูล 
- 
-อมัณฑนโต ​   โดย ​ (ปรากฏชัดด้วย) ​ การไม่ตบแต่ง 
- 
-วิรูปโต ​   โดยเป็นรูปพิการ 
- 
-วิภัจฉโต ​   โดยเป็นของควรสลัดทิ้งไป 
- 
-'''​เห็นอยู่ ​ (ซึ่งสังขารทั้งปวง) ​ โดยความเป็นอนัตตา ​ ด้วยเหตุทั้งหลาย ​ เช่นเป็นต้นว่า'''​ 
- 
-ปรโต ​   โดยเป็นปรปักษ์ 
- 
-ริตตโต ​   โดยเป็นของเปล่า 
- 
-ตุจฉโต ​   โดยเป็นของว่าง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 356)''</​fs></​sub>​ 
- 
-สุญญโต ​   โดยเป็นของสูญ 
- 
-อัสสามิกโต ​   โดยไม่มีเจ้าของ 
- 
-อนิสสรโต ​   โดยไม่มีผู้เป็นใหญ่ 
- 
-อวสวัตติโต ​   โดยไม่เป็นไปในอำนาจของใครๆ 
- 
-'''​โยคีท่านนี้ ​ ผู้เห็นอยู่ด้วยประการดังกล่าวมานี้แหละ ​ เป็นอันเรียกได้ว่า ​ ยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ ​ กำหนดรู้สังขารทั้งหลายอยู่'''​ 
- 
-'''​[อุปมาด้วยบุรุษจับปลา]'''​ 
- 
-(ถามว่า) ​ แต่โยคาวจรผู้นี้กำหนดรู้สังขารทั้งหลายเหล่านี้อยู่อย่างนั้น ​ เพื่ออะไร ? 
- 
-(ตอบว่า) ​ เพื่อให้บรรลุถึงอุบายแห่งการพ้นไป ​ (จากสังขารทั้งหลาย) ​ ในการบรรลุอุบาย ​ แห่งการพ้นไปนั้น ​ มีอุปมาดังต่อไปนี้ 
- 
-สมมุติว่า ​ บุรุษผู้หนึ่ง ​ คิดจักจับปลา ​ คว้าเอาสุ่มจับปลาไปสุ่มลงในน้ำ ​ บุรุษผู้นั้นหย่อนมือลงไปทางปากสุ่ม ​ จับเอางูไว้ที่คอใน ​ (ใต้) ​ น้ำ ก็ดีใจว่า ​ ข้าจับปลาได้แล้ว ​ เขานึกอยู่ว่า ​ "​ข้าได้ปลาตัวใหญ่จริงๆ" ​ จึงยกขึ้นมาดู ​ พอเห็นสวัสติกะ ​ (ดอกจันทน์) ​ 3  อัน ​ ก็รู้ได้ว่าเป็นงู ​ จึงกลัวเห็นโทษร้าย ​ ท้อใจในการจับ ​ (งู) ​ ไว้ ​ ปรารถนาเพื่อที่จะพ้นไป จึงทำอุบายเพื่อพ้นไป ​ (จากงู) ​ แกะปลดมือออก ​ (จากงู) ​   ตั้งแต่ปลายหาง ​ แล้วยกแขนขึ้นแกว่ง ​ (งู) เหนือศีรษะ ​ 2 -3  รอบทำให้งูเปลี้ย ​ แล้วเหวี่ยง ​ (งู) ​ ไปด้วยคำว่า ​ "​ไป !  เจ้างูร้าย" ​ แล้วรีบขึ้นขอบหนอง ​ ยืนมองดูทางที่ตนมา ​ โดยรำพึงอยู่ว่า ​ "​เอาละ ​ เป็นอันว่าเรารอดพ้นจากปากของเจ้างูใหญ่มาได้แล้ว"​ 
- 
-ในอุปมานั้น ​ กาลเวลาที่โยคีแม้นี้ได้อัตตภาพ ​ (เกิดเป็นมนุษย์) ​ แล้ว ยินดีพอใจมาตั้งแต่แรก ​ (รู้ความ) ​ นั่นเลย ​   เปรียบเหมือนเวลาที่บุรุษผู้นั้นจับงูที่คอมันไว้แล้วดีใจว่าเป็นปลา ​ การที่โยคีผู้นี้ทำการย่อยความเป็นก้อน ​ (ของสังขาร) ​ ออกไป ​ แล้วเห็นพระไตรลักษณ์ในสังขารทั้งหลาย ​ เปรียบความเหมือนการที่บุรุษผู้นั้นนำเอาหัว ​ (งู) ​ ออกมาจากปากสุ่ม ​ แล้วเห็นสวัสติกะ ​ 3  อัน ​ ภยตุปัฏฐานญาณ ​ (ญาณกำหนดรู้ในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัว) ​ ของโยคีท่านนี้ ​ เปรียบเหมือนการที่บุรุษผู้นั้นกลัว (งู) ​ อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ญาณกำหนดรู้โดยการเห็นเนืองๆ ซึ่งโทษร้าย) ​ เปรียบเหมือนการเห็นโทษร้ายจากการจับงูนั้น,​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 357)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​นิพพิทานุปัสสนาญาณ ​ (ญาณกำหนดรู้โดยการเห็นเนืองๆด้วยความเบื่อหน่าย) ​ เปรียบความท้อใจในการจับ ​ (งู) ​ ไว้ ​ มุญจิตุกัมยตาญาณ ​ (ญาณกำหนดรู้ด้วยความปรารถนาที่จะพ้นไป) ​ เปรียบเหมือนความมุ่งหมายที่จะพ้นงู ​ การยกพระไตรลักษณ์เข้าในสังขารทั้งหลาย ​ ด้วยปฏิสังขานุปัสสนาญาณ เปรียบเหมือนการทำอุบายแห่งการพ้นไป ​ (จากงู)'''​ 
- 
-ความจริง ​ บุรุษผู้นั้นผู้แกว่งงูทำให้มันเปลี้ย ​ ทำให้มันไม่สามารถวกมากัดได้ ​ แล้วปล่อยมันไปเป็นการปล่อยอย่างดี ​ ฉันใด ​ โยคาวจรท่านนี้ก็ฉันนั้น ​ เวียนกำหนดสังขารทั้งหลายด้วยการยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ ​ ทำให้ทุพลภาพ ​ ทำให้ถึงความไม่สามารถปรากฏโดยอาการเที่ยงเป็นสุข ​  ​เป็นของงดงาม และเป็นอัตตาได้อีกต่อไป ​ ชื่อว่าพ้นไป ​ เป็นการพ้นไปอย่างดี ​ เพราะฉะนั้นจึงกล่าวไว้ว่า ​ (ข้างต้น) ​ ว่า ​ "​กำหนดรู้อยู่อย่างนั้น ​ เพื่อให้บรรลุถึงอุบายแห่งการพ้นไป" ​ เป็นอันว่าปฏิสังขาญาณ ​ บังเกิดขึ้นแล้วแก่โยคาวจรท่านนั้น ​ ด้วยการกำหนดเพียงเท่านี้ ​ ซึ่งเป็นญาณที่ท่านกล่าวระบุถึงไว้ ​ (ในปฏิสัมภิทามรรค) ​ ว่า 
- 
-(ถามว่า) ​ เมื่อพระภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยง ​ ญาณกำหนดรู้ทบทวน ​ (ปฏิสังขาญาณ) ​ อะไรบังเกิดขึ้น ?  เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์......เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ​ ญาณกำหนดรู้ทบทวนอะไรบังเกิดขึ้น"​ 
- 
-(ตอบว่า) ​ เมื่อพระภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยง ​ ญาณกำหนดทบทวนซึ่งนิมิตบังเกิดขึ้น ​ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ​ ญาณกำหนดรู้ทบทวนความเป็นไป ​ (ของสังขารทั้งหลาย) บังเกิดขึ้น ​ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ญาณกำหนดรู้ทบทวนทั้งนิมิตและความเป็นไปบังเกิดขึ้น" ​ ดังนี้  ​ 
- 
-และคำว่า ​ "​กำหนดรู้ทบทวนซึ่งนิมิต" ​ ในบาลีนั้น ​ หมายความว่า ​ รู้นิมิตคือสังขารโดยอนิจจลักษณะว่า ​ "​ไม่ยั่งยืนเป็นไปชั่วคราว"​ ก็และเป็นความจริงว่า ​ รู้ก่อนแล้ว ​ ญาณบังเกิดขึ้นภายหลัง ​ ถึงกระนั้น ​ ท่านก็กล่าวอย่างนั้น ​ ถึงกระนั้น ​ ท่านก็กล่าวอย่างนั้น ​ ด้วยโวหาร ​ ดุจดังคำว่า ​ "​อาศัยใจและธรรมารมณ์ ​ มโนวิญญาณบังเกิดขึ้น" ​ ดังนี้เป็นต้น ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ พึงทราบว่า ​ ท่านกล่าวไว้แล้วอย่างนั้น ​ เพราะทำคำหน้า ​   (ปฏิสังขา ​ =  รู้ทบทวน) ​ และคำหลัง ​ (อุปฺปชฺชติ ​ =  บังเกิดขึ้น) ​ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดย ​ เอกัตตนัย ​ ถึงแม้ในอีก 2  บท ​ ก็พึงทราบความหมายโดยนัยนี้ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​จบ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ'''​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 358)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​[ 11.  สังขารุเปกขาญาณ]'''​ 
- 
-'''​[ ​ สุญญตานุปัสสนา ​ การเห็นเนืองๆ ​ โดยความว่างเปล่ามีเงื่อน 2]'''​ 
- 
-โยคาวจรนั้นครั้นกำหนดรู้ว่า ​ "​สังขารทั้งหลายทั้งปวง ​ เป็นของว่างเปล่า" ​ ด้วยปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ดังกล่าวมาแล้วนั้น ​ จึงกำหนดสุญญตา (ความว่างเปล่า) ​ มีเงื่อน 2  ต่อไปอีกว่า ​ "​สังขารนี้ ​ ว่างเปล่าจากอัตตา 1  หรือ ​ ว่างเปล่าที่เนื่องด้วยอัตตา 1" 
- 
-'''​[สุญญตา ​ มีเงื่อน 4]'''​ 
- 
-โยคาวจรนั้นไม่เห็นอัตตา ​ ไม่เห็นอะไร ๆ  อื่นที่ตั้งอยู่ในภาวะเป็นบริขารของอัตตา ​ ก็กำหนดรู้ ​ สุญญตา ​ มีเงื่อน 4  ซึ่งท่านกล่าวไว้ในอธิการแห่ง ​ สุญญตานุปัสสนา นี้ต่อไปอีกว่า 
- 
-1.    นาหํ ​ กฺวจนิ ​   -  ไม่มีฉันอยู่ ​ ณ  ที่ไหน ๆ 
- 
-2.    กสฺสจิ ​ กิญฺจนตสฺมี ​   -  ในความเป็นอะไรๆของใครๆ 
- 
-3.    น  จ  มม ​ กฺวจนิ ​   -  และไม่มีอยู่ ​ ณ  ที่ไหนๆ ​ ของฉัน 
- 
-4.    กิสฺมิญฺจิ ​ กิญฺจนตตฺถิ ​   -  ไม่มีความเป็นอะไรๆ ​ ณ  ที่ไหนๆ 
- 
-'''​[อธิบายความสุญญตา ​ มีเงื่อน 4]'''​ 
- 
-(ถามว่า) ​ กำหนดรู้อย่างไร ?  (ตอบว่า) 
- 
-1.    ที่จริง ​ คำว่า ​ "​นาหํ ​ กฺวจนิ -  ไม่มีฉันอยู่ ​ ณ  ที่ไหน ๆ" ​ หมายความว่า ​ โยคาวจรผู้นี้ ​ ไม่เห็นอัตตา ณ  ที่ไหน ๆ 
- 
-2.    คำว่า ​ "​กสฺสจิ ​ กิญฺจนตสฺมี – ในความเป็นอะไร ๆ  ของใคร ๆ" ​ หมายความว่า ​ "​ไม่เห็นอัตตาของตนเอง ที่พึงนำเข้าไปในความเป็นอะไรๆ ​ ของใครๆ ​ อื่น" ​ อธิบายว่า ​ ไม่เห็นอัตตาที่เป็นพี่ชายน้องชาย ​ ที่พึงมั่นหมายนำเข้ามาในฐานะเป็นพี่ชายน้องชาย ​ หรือว่า ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 359)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ไม่เป็นอัตตาที่เป็นสหาย ​ ที่พึงมั่นหมายนำเข้ามาในฐานะเป็นสหาย ​ หรือว่า ​ ไม่เป็นอัตตาที่เป็นบริขาร ​ ที่พึงมั่นหมายนำเข้ามาในฐานะเป็นบริขาร'''​ 
- 
-3.    ในคำว่า ​ "​น ​ จ  มม ​ กฺวจนิ -  และไม่มีอยู่ ​ ณ  ที่ไหนๆ ​ ของฉัน" ​ นั้น ​ ยกเอาศัพท์ว่า ​ "​มม – ของฉัน" ​ ออกเสียก่อน ​ (เหลือเพียง) ​ ว่า "​น ​ จ  กฺวจนิ-และไม่มี ​ ณ  ที่ไหนๆ"​ มีอธิบายอย่างนี้ว่า ​ "​และไม่เห็นอัตตาของบุคคลอื่น ณ  ที่ไหนๆ"​ 
- 
-4.    คราวนี้นำเอาศัพท์ว่า ​ "​มม – ของฉัน" ​ มา ​ (ไว้ในประโยคหลัง) ​ ว่า ​ "​มม ​ กิสฺมิญฺจิ ​ กิญฺจนตตฺถิ ​ ไม่มีความเป็นอะไรๆ ณ  ที่ไหนๆของฉัน" ​ หมายความว่า ​ "​ม่เห็นว่า ​ อัตตาของบุคคลอื่นนั้นมีอยู่ในความเป็นอะไรๆ ​ ณ  ที่ไหนๆ ​ ของฉัน" ​ อธิบายว่า ​ ไม่เห็นอัตตาของบุคคลอื่นที่พึงนำเข้ามาโดยความเป็นอะไรๆ ​ นี้ ​ ในฐานะอะไรๆ ​ คือว่าเป็นพี่ชายน้องชายในฐานะที่เป็นพี่ชายน้องชายของตน ​ หรือว่าเป็นสหายในฐานะเป็นสหาย ​ (ของตน) ​ หรือว่า ​ เป็นบริขารในฐานะเป็นบริขาร ​ (ของตน) 
- 
-(รวมความ) ​ โยคาวจรท่านนี้ ​ เพราะเหตุที่ 
- 
-1.    ไม่เห็นเลยซึ่งอัตตา ​ ณ  ที่ไหนๆ 
- 
-2.    ไม่เห็นอัตตานั้นที่พึงนำเข้ามาในความเป็นอะไรๆ ​ ของบุคคลอื่น 
- 
-3.    ไม่เห็นอัตตาของบุคคลอื่น 
- 
-4.    ไม่เห็นอัตตาของบุคคลอื่นที่พึงนำเข้ามาในความเป็นอะไรๆ ​ ของตน 
- 
-เพราะฉะนั้น ​ เป็นอันว่า ​ โยคาวจรท่านนี้กำหนดรู้ ​ สุญญตา ​ มีเงื่อน 4  แล้ว ​ ด้วยประการฉะนี้แล 
- 
-'''​[สุญญตา ​ โดยอาการ ​ 6]'''​ 
- 
-ครั้นกำหนดรู้สุญญตามีเงื่อน 4  อย่างนี้แล้ว ​ โยคาวจรจึงกำหนดรู้สุญญตา ​ โดยอาการ 6  ต่อไปอีก 
- 
-(ถามว่า) ​ กำหนดรู้สุญญตา ​ โดยอาการ 6  อย่างไร ? 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 360)''</​fs></​sub>​ 
- 
-(ตอบว่า) ​ กำหนดรู้ว่า ​ จักขุเป็นของว่างจากอัตตา 1  หรือจาสิ่งเนื่องด้วยอัตตา 1  หรือจาความเป็นของเที่ยง 1  หรือจากความเป็นของยั่งยืน 1  หรือจากความเป็นของคงทน 1  หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา 1 
- 
-โสตะ....ฆานะ.....ชิวหา.....กาย....ใจ.....รูปเป็นของว่างเปล่า.....เสียง.....กลิ่น.....รส....โผฏฐัพพะ....ธรรมารมณ์เป็นของว่างเปล่า....จักขุวิญญาณ....ฯลฯ....มโนวิญญาณ....จักขุสัมผัส..... 
- 
-พึงนำนัยโดยประการดังกล่าวนี้ไปจนถึงชรามรณะ ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​[สุญญตา ​ โดยอาการ 8]'''​ 
- 
-ครั้นกำหนดรู้สุญญตาโดยอาการ 6  อย่างนี้แล้ว ​ จึงกำหนดรู้โดยอาการ 8  ต่อไปอีก ​ คือ ​ กำหนดรู้ดังนี้อย่างไรล่ะ ​ รูปไม่มีแก่นสาร ​ หาแก่นสารมิได้ ​ ปราศจากแก่นสาร ​ โดยแก่นสารมีสาระว่ายั่งยืน 1หรือโดยแก่นสารมีสาระว่าเป็นสุข 1  หรือโดยแก่นสารมีสาระว่าเป็นอัตตา 1  หรือโดยเป็นของเที่ยง 1  หรือโดยเป็นของยั่งยืน 1  หรือโดยเป็นของคงทน 1  หรือโดยความเป็นของไม่แปรผัน ​ เป็นธรรมดา 1 
- 
-เวทนา....สัญญา....สังขาร.....วิญญาณ....จักขุ....โสตะ....ฯลฯ ชรามรณะไม่มีแก่นสาร ​ หาแก่นสารมิได้ ​ ปราศจากแก่นสาร ​ โดยแก่นสารมีสาระว่าเที่ยง 1 หรือโดยแก่นสารมีสาระยั่งยืน 1 หรือโดยแก่นสารมีสาระว่าเป็นสุข 1  หรือโดยแก่นสารมีสาระว่าเป็นอัตตา 1 หรือโดยเป็นของเที่ยง ​ 1 หรือโดยเป็นของยั่งยืน 1  หรือโดยเป็นของคงทน 1  หรือโดยความเป็นของไม่แปรผันเป็นธรรมดา 1  เปรียบเหมือนต้นอ้อไม่มีแก่น ​ หาแก่นมิได้ปราศจากแก่น ​ ฉันใด ​ เปรียบเหมือนต้นละหุ่งไม่มีแก่น ​ หาแก่นมิได้ ​ ปราศจากแก่น ​ เปรียบเหมือต้นมะเดื่อ....ฉันใด ​ เปรียบเหมือนต้นกุ่ม....ฉันใด ​ เปรียบเหมือนต้นทองกวาว....ฉันใด ​ เปรียบเหมือนฟองน้ำ....ฉันใด ​ เปรียบเหมือนต่อมน้ำ.... ​ ฉันใด ​ เปรียบเหมือนพยับแดด....ฉันใด เปรียบเหมือนต้นกล้วย....ฉันใด เปรียบเหมือนยามา ไม่มีแก่น หาแก่นมิได้ ​ ปราศจากแก่น ​ ฉันใด ​ รูป....ฯลฯ....ชรามรณะ ​ ก็ฉันนั้นนั่นแล ​ ไม่มีแก่นสาร ​ หาแก่นสารมิได้ ​ ปราศจากแก่นสาร ​ โดยแก่นสารมีสาระว่าเที่ยง 1  หรือว่า....ฯลฯ....โดยความเป็นของไม่แปรผันธรรมดา 1 ดังนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 361)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​[สุญญตา ​ โดยอาการ 10]'''​ 
- 
-โยคาวจรนั้น ​ ครั้นกำหนดรู้สุญญตาโดยอาการ 8  อย่างนี้แล้ว ​ จึงกำหนดรู้โดยอาการ 10  ต่อไปอีก 
- 
-(ถาม) ​ กำหนดรู้อย่างไร ? 
- 
-(ตอบ) ​ โยคาวจรผู้นั้นเห็นอยู่ซึ่งรูปโดยความเป็นของว่าง 1  เห็นอยู่โดยความเป็นของว่างเปล่า ​ 1.....โดยความเป็นของสุญ 1....โดยความเป็นอนัตตา ​ 1....โดยความไมมีผู้เป็นใหญ่ ​ 1.....โดยความไม่เป็นของพึงกระทำได้ตามความปรารถนา ​ 1....โดยความเป็นของอันบุคคลไม่พึงบรรลุถึง ​ 1.....โดยเป็นของไม่เป็นไปในอำนาจ ​ 1....โดยความเป็นปรปักษ์ 1....โดยความเป็นของว่าง 1 
- 
-เห็นอยู่ซึ่งเวทนา....วิญญาณโดยความเป็นของว่าง....ฯลฯ....เห็นอยู่....โดยความเป็นของว่าง ​ ดังนี้ 
- 
-'''​[สุญญตา โดยอาการ 12]'''​ 
- 
-ครั้นกำหนดรู้สุญญตาโดยอาการ ​ 10  อย่างนี้แล้ว ​ จึงกำหนดรู้โดยอาการ 12  ต่อไปอีก ​ คือ ​ กำหนดรู้ดังนี้อย่างไรล่ะ 
- 
-รูปมิใช่สัตว์ 1  มิใช่ชีวะ ​ 1  มิใช่คน 1  มิใช่มาณพ 1  มิใช่สตรี 1  มิใช่บุรุษ 1  มิใช่อัตตา 1  มิใช่ของเนื่องด้วยอัตตา 1 มิใช่ฉัน 1  มิใช่ของฉัน 1  มิใช่ของบุคคลอื่น 1  มิใช่ของใครๆ 1 
- 
-เวทนา....สัญญา....สังขาร....วิญญาณ....มิใช่ของใครๆ....ดังนี้ 
- 
-'''​[สุญญตา ​ โดยอาการ 42]'''​ 
- 
-ครั้นกำหนดรู้สุญญตาโดยอาการ 12  อย่างนี้แล้ว ​ จึงกำหนดรู้สุญญตาโดยอาการ 42  ด้วยตีรณปริญญา ​ (กำหนดรู้ด้วยความไตรตรอง) ​ ต่อไปอีก ​ กล่าวคือ ​ เห็นอยู่ซึ่งรูป) 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 362)''</​fs></​sub>​ 
- 
-1.    อนิจจโต ​   โดยความไม่เที่ยง 
- 
-2.    ทุกขโต ​   โดยความเป็นทุกข์ 
- 
-3.    โรคโต ​   โดยความเป็นโรค 
- 
-4.    คัณฑโต ​   โดยความเป็นหัวฝี 
- 
-5.    สัลลโต ​   โดยความเป็นลูกศรเสียบ 
- 
-6.    อฆโต ​   โดยความชั่วร้าย 
- 
-7.    อาพาธโต ​   โดยความป่วยไข้ 
- 
-8.    ปรโต ​   โดยเป็นปรปักษ์ 
- 
-9.    ปโลกโต ​   โดยความแตกทำลาย 
- 
-10.    อีติโต ​   โดยความหายนะ ​ (จัญไร) 
- 
-11.    อุปัททวโต ​   โดยเป็นอุปัทวะ 
- 
-12.    ภยโต ​   โดยเป็นภัย 
- 
-13.    อุปสัคคโต ​   โดยเป็นอุปสรรค 
- 
-14.    จลโต ​   โดยความหวั่นไหว 
- 
-15.    ปภังคุโต ​   โดยความผุพัง 
- 
-16.    อัทธุวโต ​   โดยความไม่ยั่งยืน 
- 
-17.    อตาณโต ​   โดยไม่เป็นที่ต้านทาน 
- 
-18.    อเลณโต ​   โดยไม่เป็นที่หลบลี้ 
- 
-19.    อสรณโต ​   โดยไม่เป็นที่พึ่ง 
- 
-20.    อสรณีภูตโต ​   โดยเป็นสิ่งที่ถือเป็นที่พึ่งมิได้ 
- 
-21.    ริตตโต ​   โดยเป็นของเปล่า 
- 
-22.    ตุจฉโต ​   โดยเป็นของว่าง 
- 
-23.    สุญญโต ​   โดยเป็นของสูญ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 363)''</​fs></​sub>​ 
- 
-24.    อนัตตโต ​   โดยไม่มีอัตตา 
- 
-25.    อนัสสาทโต ​   โดยหาความอบอุ่นใจมิได้ 
- 
-26.    อาทีนวโต ​   โดยเป็นโทษร้าย 
- 
-27.    วิปริณามธัมมโต ​   โดยมีความแปรผันไปเป็นธรรมดา 
- 
-28.    อสารกโต ​   โดยหาแก่นสรมิได้ 
- 
-29.    อฆมูลโต ​   โดยเป็นมูลแห่งความชั่วร้าย 
- 
-30.    วธกโต ​   โดยเป็นฆาตกร 
- 
-31.    วิภวโต ​   โดยปราศจากความเจริญ 
- 
-32.    สาสวโต ​   โดยมีอาสวะ 
- 
-33.    สังขตโต ​   โดยเป็นของถูปรุงแต่งไว้ 
- 
-34.    มารามิสโต ​   โดยเป็นเหยื่อล่อของมาร 
- 
-35.    ชาติธัมมโต ​   โดยมีความเกิดเป็นธรรมดา 
- 
-36.    ชราธัมมโต ​   โดยมีความแก่เป็นธรรมดา 
- 
-37.    พยาธิธัมมโต ​   โดยมีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา 
- 
-38.    มรณธัมมโต ​   โดยมีความตายเป็นธรรมดา 
- 
-39.    โสกปริเทวทุกข- ​   โดยมีความโศก ​ มีความคร่ำครวญ ​ มีทุกข์ 
- 
-โทมนัสสุปายาสธมฺมโต ​   มีความโทมนัส ​ มีความคับแค้นใจ ​ เป็น 
- 
-ธรรมดา 
- 
-40.    สมุทยโต ​   โดยเป็นแดนเกิด 
- 
-41.    อัตถังคมโต ​   โดยการถึงความดับสูญ 
- 
-42.    นิสสรณโต ​   โดยเป็นของควรหลีกหนีไป 
- 
-'''​เห็นอยู่ซึ่งเวทนา....ซึ่งสัญญา....ซึ่งสังขาร.....ซึ่งวิญญาณ ​ โดยความไม่เที่ยง ​ ฯลฯ ​ โดยเป็นของควรหลีกหนีไป'''​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 364)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อนึ่ง ​ ท่านกล่าวคำต่อไปนี้ว่า ​ "​เมื่อเห็นรูปโดยความไม่เที่ยง ​ ฯลฯ ​ โดยเป็นของควรหลีกหนีไป ​ ชื่อว่าเห็นโลกโดยความเป็นของวางเปล่า ​ เมื่อเห็นเวทนา....ฯลฯ....วิญญาณ โดยความไม่เที่ยง ​ ฯลฯ ​ โดยเป็นของควรหลีกหนีไป ​ ชื่อว่าเห็นโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า ​ (สมด้วยพระพุทธดำรัสที่ทรงตรัสแก่ท่านโมฆราชว่า) 
- 
-สุญฺญโต ​ โลกํ ​ อเวกฺขสฺสุ ​ โมฆราช ​ สทา ​ สโต 
- 
-อตฺตานุทิฏฐึ ​ โอหจฺจ ​       เอวํ ​ มจฺจุตฺตโร ​ สิยา 
- 
-เอวํ ​ โลกํ ​ อเวกฺขนฺตํ ​       มจฺจุราชา น  ปสฺสติ. 
- 
-'''​แปลความว่า'''​ 
- 
-ดูก่อนโมฆราช ​ ท่านจงเป็นผู้มีสติตลอดเวลา ​ มองเห็น 
- 
-โลกโดยความเป็นของว่างเปล่า ​ พึงถอนอัตตานุทิฏฐิ ​ (คือ 
- 
-ความเห็นเนืองๆว่ามีอัตตา) ​ เสีย ​ จึงจะเป็นผู้ข้ามพ้นมฤตยู 
- 
-ด้วยอาการอย่างนั้น ​ มัจจุราช ​ (มองหา) ​ ไม่เห็นบุคคลผู้มอง 
- 
-เห็นโลกอย่างนี้ 
- 
-'''​[วิโมกขกถา]'''​ 
- 
-ครั้นโยคาวจรเห็น ​ (โลก) ​ โดยความเป็นของว่างเปล่าอย่างนั้นแล้ว ​ ยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ ​ กำหนดรู้สังขารทั้งหลายอยู่ ​ ก็ละความกลัวและความพึงพอใจเสียได้ ​ เป็นผู้มีตนเป็นกลาง ​ วางเฉยในสังขารทั้งหลายไม่ถือว่า ​ "​เป็นฉัน" ​ หรือว่า ​ "​เป็นของฉัน" ​ เป็นเหมือนบุรุษผู้หย่าขาดภรรยาแล้ว 
- 
-'''​[สังขารุเปกขาญาณเปรียบด้วยบรุษผู้หย่าขาดภรรยา]'''​ 
- 
-เล่ากันว่า ​ บุรุษผู้มีภรรยาเป็นที่น่าปรารถนา ​ น่ารักใคร่ ​ น่าพึงพอใจ ​ ปราศจากภรรยานั้นเสียแล้ว ​ เขามิสามารถทนอยู่ได้แม้แต่ครู่เดียว ​ เขารักภรรยานั้นเสียเหลือเกิน ​ บุรุษผู้นั้นเห็นสตรีผู้เป็นภรรยานั้น ​ ยืนอยู่ก็ดี ​ นั่งอยู่ก็ดี ​ (หรือนอนอยู่ก็ดี) ​ พูดอยู่ก็ดี ​ หัวเราะอยู่ก็ดี 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 365)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​กับบุรุษอื่น ​ (เขาก็โกรธ ​ ขัดเคืองใจ ​ ประสบโทมนัสเป็นอย่างยิ่ง ​ ครั้นกาลต่อมา ​ บุรุษผู้นั้นได้เห็นโทษชั่วร้ายของสตรีผู้นั้น ​ ก็มีความปรารถนาที่จะพ้น ​ (จากเธอ) ​ จึงอย่าขาดเธอ ​ ไม่ถือหญิงนั้นว่า ​ "​เป็นของฉัน" ​ จำเดิมแต่นั้นมา ​ แม้เขาจะเห็นเธอ ​ ทำอะไรๆ ​ อยู่กับใครๆก็ไม่โกรธเคือง ​ ไม่ถึงความโทมนัส ​ มีตนเป็นกลางวางเฉยได้โดยแท้ ​ ชื่อฉันใด ​ โยคาวจรผู้นี้ก็เหมือนกันฉันนั้น ​ เป็นผู้มีความปรารถนาเพื่อพ้นไปเสียจากสังขารทั้งปวง ​ กำหนดรู้สังขารทั้งหลายอยู่ด้วย ​ ปฏิสังขานุปัสสนา ​ ไม่เห็นความที่สังขารทั้งหลายเป็นของที่พึงถือเอาได้ว่า ​ "​เป็นฉัน ​ เป็นของฉัน" ​ จึงละความกลัวและความพึงพอใจเสียได้ ​ เป็นผู้มีตนเป็นกลางวางเฉยในสังขารทั้งปวง ​ เมื่อโยคาวจรผู้นั้นรู้อยู่อย่างนี้ ​ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็ถอยกลับ ​ หวนกลับวกกลับ ​ ไม่แพร่กระจายไปในภพ 3  ในกำเนิด 4  ในคติ 5  ในวิญญาณฐิติ ​ 7  ในสัตตาวาส 9  วางเฉยอยู่ ​ หรือถอยกลับมา ​ ตั้งมั่นอยู่ ​ เปรียบเหมือนหยดน้ำในใบบัวซึ่งขอบใบงอนิดๆ กลิ้งกลับอยู่ ​ วกกลับอยู่ ​ กลอกกลับอยู่ ​ ไม่แผ่กระจายไป ​ ชื่อแม้ฉันใด ​ (จิตของโยคาวจร) ​ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ​ เปรียบเหมือนขนไก่และสายเอ็น ​ ที่เขาใส่เผาในไฟ ​ ก็งอกลับ ​ งอนกลับ ​ วกกลับ ​ ไม่เหยียดยึดออก ​ ชื่อแม้ฉันใด ​ จิต ​ (ของโยคาวจร) ​ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ​ ถอยกลับ ​ หวนกลับ ​ วกกลับ ​ ไม่แพร่กระจายไปในภพ 3  ในกำเนิด ​ 4  ในคติ 5  ในวิญญาณฐิติ ​ 7  ในสัตตาวาส 9  วางเฉยอยู่ ​ หรือ ​ ถอยกลับ ​ ตั้งมั่นอยู่'''​ 
- 
-เป็นอันว่า ​ ญาณชื่อ ​ สังขารุเปกขาญาณ ​ บังเกิดขึ้นแล้วแก่โยคีท่านนั้นด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​[อุปมาด้วยนกการู้ทิศ]'''​ 
- 
-แต่ว่า ​ สังขารุเปกขาญาณที่บังเกิดขึ้นแล้วนี้นั้น ​ ถ้าเห็นพระนิพพาน ​ อันเป็นทางสันติ ​ โดยความสงบ ​ ก็จะสลัดทิ้งความเป็นไปของสังขารทั้งปวงแล้วแล่นเข้าสู่พระนิพพานเลยทีเดียว ​ หากว่า ​ ยังไม่เห็นพระนิพพาน ​ โดยความสงบ ​ (สังขารุเปกขาญาณ) ​ ก็มีสังขารเป็นอารมณ์อย่างเดียว ​ แล้วดำเนินไปอยู่ ​ แล้วๆ ​ เล่าๆ ​ เปรียบเหมือนนกกาของพวกพ่อค้าเดินเรือทะเล 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 366)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เล่ากันว่า ​ พวกพ่อค้าเดินเรือทะเล ​ (สมัยโบราณ) ​ เมื่อจะขึ้นเรือ ​ (เดินทางไปในมหาสมุทร) ​ ได้จับเอานกกาที่เรียกว่า ​ ทิสากากะ ​ (คือนกกาผู้รู้ทิศ) ไปด้วย ​ คราวใด ​ เรือถูกลมพายุซัดไปยังประเทศต่างต่างถิ่นฝั่งก็ไม่ปรากฏ ​ คราวนั้น ​ พวกพ่อค้าเหล่านั้นก็ปล่อยการู้ทิศไปกานั้นก็โดจากไม้สลักเสากระโดงเรือขึ้นสู่อากาศ ​ แล้วบินไปตามทิศใหญ่ ​ ทิศน้อยทั่วทุกทิศถ้ามันเห็นฝั่ง ​ มันก็บินมุ่งหน้าไปหาฝั่งนั้นเลย ​ หากว่า ​ มันไม่เห็นฝั่ง ​ มันก็จะบินกลับมาเกาะอยู่ที่ไม้สลักเสากระโดงเรือนั้นเอง ​ ครั้งแล้วครั้งเล่า ​ สังขารุเปกขาญาณ ​ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ​ ถ้าเห็นพระนิพพานอันเป็นทางสันติ ​ โดยความสงบ ​ ก็สลัดทิ้งความเป็นไปของสังขารทั้งปวง ​ แล้วแล่นเข้าสู่พระนิพพานเลยทีเดียว ​ หากว่ายังไม่เห็น ​ (พระนิพพาน) ​ ก็มีสังขารเป็นอารมณ์อยู่นั่นแหละ ​ ดำเนินไปแล้วๆเล่าๆ ​ 
- 
-สังขารุเปกขาญาณนี้นั้น ​ เปรียบเหมือนเมล็ดแป้งที่กลิ้งกระทบอยู่ ​ ณ  ของกระด้งฝัด ​ (หรือ) ​  ​เปรียบเหมือนเมล็ดฝ้ายที่เขาหีบออกจากฝ้ายกลิ้งกระทบอยู่ ​  ​ครั้นกำหนดรู้สังขารทั้งหลายโดยประการต่างๆแล้ว ​ ก็สลัดทิ้งความกลัวและความพึงพอใจเสีย ​ มีตนเป็นกลาง ​ (วางเฉย) ​ ในการพิจารณาเลือกเฟ้นสังขาร ​ ตั้งอยู่โดย อนุปัสสนา ​ 3 ประการ ​ สังขารุเปกขาญาณที่ตั้งอยู่อย่างนี้ ​ ก็มาถึงความเป็น ​ วิโมกขมุข ​ (ประตูแห่งวิโมกข์ ​ คือ ​ พระนิพพาน) ​ 3  ประการ ​ เป็นปัจจัยแห่งการจำแนกพระอริยบุคคล 7  จำพวก  ​ 
- 
-'''​[ว่าด้วยวิโมกข์ ​ 3]'''​ 
- 
-ในการถึงความเป็น ​ วิโมกขมุข ​ และความเป็นปัจจัยแห่งการจำแนกพระอริยบุคคล 7  นั้น ​ นับว่า ​ วิปัสสนาญาณนี้มาถึงความเป็น ​ วิโมกมุข ​ 3  อย่าง ​ โดยความเป็นอธิบดี ​ (ความยิ่งใหญ่) ​ ของอินทรีย์ 3  (สัทธินทรีย์ ​ 1  สมาธินทรีย์ 1  ปัญญินทรีย์ 1)  เพราะดำเนินไปด้วยอนุปัสสนา ภ  ประการ ​ เพราะท่านกล่าวว่า ​ อนุปัสสนา ​ 3  ก็คือ ​ วิโมกมุข 3  ดังบาลี ​ (แปลความได้) ​ ว่า ​ "​อันว่า ​ วิโมกขมุข 3  นี้แล ​ ดำเนินไปเพื่อออกไปจากโลกกล่าวคือ ​ เพื่อเห็นอยู่เสมอเนืองๆ ​ ซึ่งสังขารทั้งปวง ​ โดยขอบเขตและโดยวนรอบ 1  เพื่อให้จิตแล่นเข้าสู่ธาตุหานิมิตมิได้ ​ (พระนิพพาน) ​ 1  เพื่อเร่งเร้าใจให้จดจ่ออยู่เสมอในสังขารทั้งปวง 1  เพื่อให้จิตแล่นเข้าสู่ธาตุหาที่ตั้งกิเลสมิได้ 1  เพื่อเห็นอยู่เสมอเนืองๆ ​ ซึ่งธรรมทั้งปวงโดย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 367)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ความเป็นปรปักษ์ 1  และเพื่อให้จิตแล่นเข้าสู่ธาตุอันว่างเปล่า 1  วิโมกขมุข 3  นี้ ​ ดำเนินไปเพื่อออกไปจากโลก" ​ ดังนี้ ​ '''​ 
- 
-คำว่า ​ "​โดยขอบเขตและวนรอบ" ​ ใน ​ (คำแปล) ​ บาลีนั้น ​ หมายความว่า ​ โดยกำหนดขอบเขตอยู่ด้วยความเกิดและความดับและโดยวนรอบ ​ (ด้วยความเกิดและความดับ) ​ เพราะว่า ​ อนิจจานุปัสสนากำหนดขอบเขตว่า ​ "​ก่อนแต่เกิดขึ้น ​ สังขารทั้งหลายหามีไม่"​ แล้วติดตามดูภูมิที่ไปของสังขารทั้งหลายเหล่านั้นอยู่เสมอ ​ ก็เห็นอยู่เสมอเนืองๆ ​ โดยวนรอบ ​ (เป็นวงกลม) ​ ว่า ​ "​หลังจากดับ ​ สังขารทั้งหลายเหล่านั้น ​ หาดำเนินไปที่อื่นไม่ ​ (แต่) ​ อันตรธานไป ​ ณ  ที่นั้นนั่นเอง" ​ คำว่า ​ "​เพื่อเร่งเร้าใจให้จดจ่ออยู่เสมอ" ​ หมายความว่า ​ เพื่อให้จิตเกิดสังเวช ​ เพราะว่า ​ ด้วยทุกขานุปัสสนา ​ (การเห็นเนืองๆ ​ โดยความเป็นทุกข์) ​   จิตก็สังเวชในสังขารทั้งหลาย ​ คำว่า ​ "​เพื่อเห็นอยู่เสมอเนือง....โดยความเป็นปรปักษ์" ​ หมายความว่า ​ เพื่อเห็นอยู่เสมอเนืองๆ ​ โดยไม่มีอัตตาอย่างนี้ว่า ​ "​ไม่มีฉัน" ​ บททั้ง 3  นี้ ​ พึงทราบว่า ​ ท่านกล่าวด้วยอนุปัสสนา ​ 3  มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น ​ ด้วยประการฉะนี้ ​ เพราะเหตุนั้นแล ​ ในการวิสัชนาปัญหาในลำดับต่อจากนี้ไป ​ ท่านจึงกล่าวไว้ว่า ​ "​เมื่อมนสิการอยู่โดยความเป็นของไม่เที่ยง ​ สังขารทั้งหลายปรากฏโดยความสิ้นไป ​ เมื่อมนสิการอยู่โดยความเป็นทุกข์ ​ สังขารทั้งหลายปรากฏโดยความน่ากลัว ​ เมื่อมนสิการโดยความไม่มีอัตตา ​ สังขารทั้งหลาย ​ ปรากฏโดยความว่างเปล่า" ​ ดังนี้ 
- 
-(ถามว่า) ​ แต่ทว่า ​ วิโมกข์ทั้งหลายซึ่งมีอนุปัสสนาเหล่านี้เป็นมุขนั้น ​  ​คือ ​ อะไรบ้าง? ​ 
- 
-(ตอบว่า) ​ ได้แก่ ​ วิโมกข์ ​ 3  เหล่านี้ ​ คือ ​ อนิมิตตวิโมกข์ ​ 1  อัปปณิหิตวิโมกข์ ​ 1  สุญญตวิโมก 1  ความจริง ​ ท่านก็กล่าวคำนี้ไว้แล้วว่า ​ "​โยคาวจรผู้มนสิการอยู่โดยความเป็นของไม่เที่ยง ​ เป็นผู้มากด้วยอธิโมกข์ ​ (ความเชื่อ) ​ ก็ได้เฉพาะซึ่งอนิมิตตวิโมกข์ ​ โยคาวจรผู้มนสิการอยู่โดยความเป็นทุกข์ ​ เป็นผู้มากด้วยปัสสัทธิ ​ (ความสงบ) ​ ก็ได้เฉพาะ ​ ซึ่งอัปปณิหิตตวิโมกข์โยคาวจรผู้มนสิการอยู่โดยความไม่มีอัตตาเป็นผู้มากด้วยความรู้ก็ได้เฉพาะซึ่งสุญญตวิโมกข์" ​ ดังนี้  ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 368)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อนึ่ง ​ ในวิโมกข์ 3  นี้ ​ พึงทราบว่า ​ อริยมรรคที่ทำพระนิพพานเป็นอารมณ์แล้วดำเนินไป ​ โดยอาการหานิมิตมิได้ ​ คือ ​ อนิมิตตวิโมกข์ ​ เพราะว่า ​ อริยมรรคนั้น ​ ชื่อว่าอนิมิตตะ ​ เพราะบังเกิดขึ้นจากธาตุที่หานิมิตมิได้ ​ และชื่อว่า ​ วิโมกข์ ​ เพราะพ้นแล้วจากกิเลสทั้งหลาย ​ (และ) ​ พึงทราบโดยนัยนี้เช่นกันว่า ​ อริยมรรคที่ทำพระนิพพานเป็อารมณ์ ​ แล้วดำเนินไปโดยอาการหากิเลสเป็นที่ตั้งมิได้ ​ คือ ​ อัปปณิหิตวิโมกข์ ​ อริยมรรคที่ทำพระนิพพานเป็นอารมณ์ ​ แล้วดำเนินไปโดยอาการว่างเปล่า ​ คือ ​ สุญญตวิโมกข์ ​ แต่วิโมกข์ที่กล่าวไว้ในพระอภิธรรมมีเพียง 2  อย่างเท่านั้น ​ ซึ่งท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ​ "​ในสมัยใด ​ พระภิกษุทำโลกุตตาฌาน ​ เป็นเครื่องออกไป ​ (จากโลก) ​ ถึงความไม่สะสมไว้ ​ ให้เกิดขึ้น ​ เพื่อละเสียซึ่งความเห็นผิดทั้งหลาย ​ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ ​ (โสดาปัตติผล) ​ ว่างเว้นแล้วโดยแท้จากกามทั้งหลาย.....เข้าถึงฌานที่ 1  อันเป็นอัปปณิหิตะอยู่....เข้าถึงฌานที่ 1  อันเป็นสุญญตะอยู่'''​ 
- 
-ที่กล่าววิโมกข์ในพระอภิธรรมมีเพียง 2  นั้น ​ ท่านกล่าวหมายถึงการมา ​ (ของมรรค) ​ โดยทางวิปัสสนาโดยตรง ​ เพราะถึงแม้ว่า ​ ท่านได้กล่าวถึงวิปัสสนาญาณไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคแล้วว่า "​เป็นสุญญตวิโมกข์ ​ ด้วยการปลดเปลื้องเสียซึ่งความยึดมั่น โดยอธิบายอย่างนี้ว่า ​ "​อนิจจานุปัสสนาญาณ ​ ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ ​ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งความยึดมั่นว่าเป็นของเที่ยง ​ ทุกขานุปัสสนาญาณ ​ ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ ​ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งความยึดมั่นว่าเป็นสุข ​ อนัตตานุปัสสนาญาณ ​ ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ ​ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่ง ​ ความยึดมั่นว่ามีอัตตา" ​ ดังนี้ ​ อย่าง 1  ว่า ​ "​เป็นอนิมิตตวิโมกข์ ด้วยการปลดเปลื้องเสียซึ่งนิมิต ​ โดยอธิบายอย่างนี้ว่า ​ "​อนิจจานุปัสสนาญาณ ​ ชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ​ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งนิมิตว่าเป็นของเที่ยง ​ ทุกขานุปัสสนาญาณ ​ ชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ​ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งนิมิตว่าเป็นสุข ​ อนัตตานุปัสสนาญาณ ​ ชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ​   เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งนิมิตว่ามีอัตตา" ​ ดังนี้ ​ อย่าง 1  และว่า ​ "​เป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ ​ ด้วยการปลดเปลื้องเสียซึ่งตัณหาเป็นที่ตั้งมั่น ​ (ปณิธิ) ​ โดยอธิบายอย่างนี้ว่า ​ "​อนิจจานุปัสสนาญาณ ​ ชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ​ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งปณิธิว่าเที่ยง ​ ทุกขานุปัสสนาญาณ ​ ชื่อว่า ​ อัปปณิหิตวิโมกข์ ​ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งปณิธิว่าเป็นสุข ​ อนัตตานุปัสสนาญาณ ​ ชื่อว่า ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 369)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อัปปณิหิตวิโมกข์ ​ เพราะปลดเปลื้องเสียซึ่งปณิธิว่ามีอัตตา" ​ ดังนี้ ​ อย่าง 1  แม้อย่างนั้นก็ตาม ​ วิปัสสนาญาณนั้น ​ ก็หาเป็นอนิมิตตะโดยตรงไม่ ​ เพราะยังละนิมิตคือสังขารมิได้ ​ แต่ทว่า ​ เป็นทั้งสุญญตะและอัปปณิหิตะโดยตรง ​ และด้วยการมา ​ (ของมรรค) ​ โดยวิปัสสนาญาณนั้น ​ ท่านจึงยกวิโมกข์ขึ้นไว้ในขณะแห่งอริยมรรค ​ เพราะฉะนั้น ​ พึงทราบเถิดว่า ​ ท่านกล่าวถึงวิโมกข์ไว้ ​ (ในพระอภิธรรม) ​ เพียง 2  เท่านั้น ​ คือ ​ อัปปณิหิตตวิโมกข์และสุญญตวิโมกข์ ​ '''​ 
- 
-กล่าวด้วยวิโมกข์ ​ ในอธิการแห่งวิปัสสนานี้ ​ เพียงนี้ก่อน 
- 
-'''​[พระอริยบุคคล ​ 7  จำพวก]'''​ 
- 
-คำใดที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้อีกว่า ​ "​(สังขารุเปกขาญาณ....เป็นปัจจัยแก่การจำแนกพระอริยบุคคล 7  จำพวก" ​ พระอริยบุคคล 7  จำพวก ​ ในคำกล่าว ​ (ข้างต้น) ​ นั้น ​ ก่อนอื่นได้แก่ ​ พระอริยบุคคล ​ 7  จำพวกเหล่านี้ ​ คือ 
- 
-1.    สัทธานุสารี ​   ผู้ดำเนินไปด้วยศรัทธา 
- 
-2.    สัทธาวิมุต ​   ผู้พ้นพิเศษด้วยศรัทธา 
- 
-3.    กายสักขี ​   ผู้มีนามกายเป็นสักขีพยาน 
- 
-4.    อุภโตภาควิมุต ​   ผู้พ้นพิเศษโดยส่วนทั้งสอง 
- 
-5.    ธัมมานุสารี ​   ผู้ดำเนินไปด้วยธรรม ​ คือ ​ ปัญญา 
- 
-6.    ทิฏฐิปัตตะ ​   ผู้บรรลุด้วยการเห็น ​ (อริยมรรค) 
- 
-7.    ปัญญาวิมุต ​   ผู้พ้นพิเศษด้วยปัญญา 
- 
-'''​สังขารุเปกญาณนี้ ​ เป็นปัจจัยแก่การจำแนกพระอริยบุคคล 7  จำพวกเหล่านั้นด้วย'''​ 
- 
-(1)  และ ​ (2)  เพราะว่า ​ ท่านผู้ใด ​ มนสิการโดยความไม่เที่ยง ​ เป็นผู้มากด้วยอธิโมกข์ ​ (ความเชื่อ) ​ ได้เฉพาะซึ่งสัทธินทรีย์ ​ ท่านผู้นั้นเป็น ​ สัทธานุสารี ​ ในขณะ ​ (บรรลุ) ​ โสดาปัตติมรรค ​ เป็นสัทธาวิมุตใน 7  ฐานะ (อริยมรรค – อริยผล) ​ นอกนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 370)''</​fs></​sub>​ 
- 
-(3)  ส่วนท่านผู้ใด ​ มนสิการอยู่โดยความเป็นทุกข์ ​ เป็นผู้มีปัสสัทธิ ​ (ความสงบ) ​ มากได้เฉพาะซึ่งสมาธินทรีย์ ​ ท่านผู้นั้น ​ ชื่อว่าเป็น ​ กายสักขี ​ ในทุกฐานะ ​ (คือ ​ ในอริยมรรค ​ อริยผลทั้ง 8) 
- 
-(4)  แต่ท่านผู้ได้อรูปฌานแล้ว ​ บรรลุ (อริย) ​ ผลสุดยอดแล้วเป็นผู้มีนามว่า ​ อุภโตภาควิมุต 
- 
-(5)  ส่วนท่านใด ​ มนสิการอยู่โดยความเป็นอนัตตา ​ เป็นผู้มีความรู้มาก ​ ได้เฉพาะซึ่งปัญญินทรีย์ ​ ท่านผู้นั้น ​ เป็น ​ ธัมมานสารี ​ ในขณะโสดาปัตติมรรค 
- 
-แต่ ​ (6)  และ ​ (7)  เป็น ​ ทิฏฐิปัตตะ ​ ใน ​ 6  ฐานะ ​ และ ​ เป็นปัญญวิมุต ​ ในผลสุดยอด ​ (อรหัตตผล) 
- 
-เป็นความจริง ​ ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า ​ "​สำหรับท่านผู้มนสิการอยู่โดยความไม่เที่ยง ​ สัทธินทรีย์มีประมาณมาก ​ ท่านผู้มนสิการได้บรรลุโสดาปัตติมรรค ​ เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณมาก ​ เพราะฉะนั้น ​ จึงเรียกว่า ​ สัทธานุสารี" ​ อนึ่ง ​ ท่านยังกล่าวไว้ด้วยว่า ​ "​สำหรับ ​ ผู้มนสิการอยู่โดยความไม่เที่ยง ​ สัทธินทรีย์ย่อมมีประมาณมาก ​ เพราะเหตุที่สัทธินทรีย์มีประมาณมาก ​ จึงเป็นอันทำให้เห็นแจ้งแล้วซึ่งโสดาปัตตผล ​ เพราะฉะนั้น ​ จึงเรียกท่านว่า ​ สัทธาวิมุต" ​ ดังนี้เป็นต้น ​ ทั้งยังได้กล่าวไว้อีกว่า ​ "​เรียกว่า ​ สัทธาวิมุต ​ เพราะผู้เชื่ออยู่เป็นผู้พ้นพิเศษแล้ว ​ เรียกว่า ​ กายสักขี ​ เพราะทำให้เห็นแจ้งแล้วในลำดับแห่งอรูปฌานที่ตนสัมผัสแล้ว ​ เรียกว่า ​ ทิฏฐิปัตตะ ​ เพราะบรรลุแล้วในลำดับแห่งการเห็น ​ (อนึ่ง) ​ เรียกว่าสัทธาวิมุต ​ เพราะเชื่ออยู่จึงพ้นพิเศษ ​ เรียกว่า ​ กายสักขี ​ เพราะถูกต้องซึ่งการสัมผัสด้วยฌานก่อน ​ จึงทำให้เห็นแจ้งซึ่งนิโรธ ​ คือพระนิพพานในภายหลัง ​ เรียกว่า ​ ทิฏฐิปัตตะ ​ เพราะรู้แล้ว ​ เห็นแล้ว ​ ทราบแล้ว ​ เห็นแจ้งแล้ว ​ สัมผัสแล้ว ​ ด้วยปัญญา ​ คือญาณกำหนดรู้ว่า ​ "​สังขารทั้งหลายเป็นเป็นทุกข์ ​ นิโรธ ​ (คือความดับ) ​ เป็นสุข" ​ ดังนี้ ส่วนในอีก 4  บทนั้น ​ พึงทราบความหมายของคำอย่างนี้ ​ คือ ​ ท่านผู้ใดดำเนินตามศรัทธา ​ หรือว่าดำเนินไป ​ คือไปด้วยศรัทธา ​ เพราะเหตุนี้ ​ ท่านผู้นั้นชื่อว่า ​ สัทธานุสารี ​ อนึ่ง ​ ท่านผู้ใดดำเนินตามธรรมกล่าว 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 371)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​คือปัญญา ​ หรือดำเนินตามไปด้วยธรรม ​ (คือปัญญา) ​ เพราะเหตุนี้ ​ ท่านผู้นั้นชื่อว่า ​ ธัมมานุสารี ​ เช่นกัน ​ ท่านผู้ใดพ้นพิเศษแล้วโดยส่วนทั้งสอง ​ คือ ​ ด้วยอรูปฌานและด้วยอริยมรรค ​ เพราะเหตุนี้ ​ ท่านผู้นั้นชื่อว่า ​   อุภโตภาควิมุต ​ ท่านผู้ใดกำหนดรู้อยู่ ​ เป็นผู้พ้นพิเศษแล้ว ​ เพราะเหตุนี้ท่านผู้นั้นชื่อว่า ​ ปัญญาวิมุต ​ ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้'''​ 
- 
-'''​ว่าด้วยสังขารุเปกขาญาณ'''​ 
- 
-'''​[สังขารุเปกขาญาณ ​ มี ​ 3  ชื่อ]'''​ 
- 
-แต่ว่า ​ สังขารุเปกขาญาณนี้นั้น ​ โดยความหมาย ​ ก็เป็นญาณเดียวกันกับ 2  ญาณข้างต้น ​ (คือ ​ มุญจิตุกัมยตาญาณ ​ และปฏิสังขานุปัสสนาญาร) ​ เพราะเหตุนั้น ​ ท่านพระโบราณจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า ​ "​สังขารุเปกขาญาณนี้ ​ ญาณเดียวนั่นแลได้ชื่อ ​ 3   ​ชื่อ ​ คือ ​ เกิดขึ้นในตอนต้น ​ มีชื่อว่า ​ มุญจิตุกัมยตาญาณ เกิดขึ้นในตอนกลาง ​ มีชื่อว่า ​ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ​ และในตอนท้ายที่บรรลุถึงยอด ​ มีชื่อว่า ​ สังขารุเปกขาญาณ"​ 
- 
-ถึงแม้ในพระบาลี ​ (ปฏิสัมภิทามรรค) ​ ท่านก็กล่าวไว้ ​ (ดังคำแปลต่อไปนี้) ​ ว่า ​ "​(ถาม) ​ ปัญญา ​ ในความปรารถนาเพื่อพ้นไป ​ ในการพิจารณาทบทวนและในการตั้งเฉยอยู่ ​ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ​ คืออย่างไร ?  (ตอบ) ​ คือ ​ ปัญญาในความปรารถนาเพื่อพ้นไป ​ ในการพิจารณาทบทวนซึ่งความเกิดขึ้น ​ (ของสังขาร) ​ และในการตั้งเฉยอยู่ ​ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณปัญญา ​ ในความปรารถนาเพื่อพ้นไป ​ ในการพิจารณาทบทวนและการตั้งเฉยอยู่ ซึ่งความเป็นไป.....ซึ่งนิมิต....ฯลฯ....ซึ่งอุปายาส ​ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ​ ปัญญาในความปรารถนาเพื่อพ้นไป ​ ในการพิจารณาทบทวนและในการตั้งเฉยอยู่ว่า ​ "​ความเกิดขึ้น ​ เป็นทุกข์" ​ ฯลฯ ​ ว่า....เป็นสิ่งน่ากลัว....ว่า.....มีอามิส ​ ฯลฯ ​ ว่า ​ ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ​ ฯลฯ ​ ว่า ​ อุปายาสเป็นสังขาร ​ ชื่อว่า ​ สังขารุเปกขาญาณ" ​ ดังนี้ 
- 
-ความปรารถนาเพื่อพ้นไป ​ 1  การพิจารณาทบทวนนั้น 1 และการตั้งเฉยอยู่ ​ 1  ชื่อว่า ​ มุญจิตุกัมยตาปฏิสังขาสันติฏฐนา ​ ในพระบาลี ​ (ดังคำแปลข้างต้น) ​ นั้น ​ เมื่อโยคีเบื่อหน่าย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 372)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ด้วยนิพพิทาญาณในตอนต้น ​ ด้วยประการฉะนี้แล้ว ​ ก็มีความปรารถนาที่จะสลัดทิ้งซึ่งความเกิดขึ้น ​ (ของสังขารทั้งหลาย) ​ เป็นต้น ​ ชื่อว่า ​ มุญจิตุกัมยตา ​ การพิจารณาทบทวนในตอนกลาง ​ เพื่อทำอุบายแห่งการพ้นไป ​ (จากสังขารทั้งหลาย) ​ ชื่อว่า ​ ปฏิสังขา ​ การพ้นไป ​ แล้ววางเฉยอยู่ ​ ในตอนสุดท้าย ​ ชื่อว่า ​ สันติฏฐนา ​ ซึ่งท่านระบุถึงแล้วกล่าวไว้ว่า ​ "​ความเกิดขึ้น ​ เป็นสังขาร ​ พระภิกษุวางเฉยซึ่งสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ​ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ​ สังขารุเปกขา" ​ ดังนี้ ​ เป็นต้น ​ ด้วยเหตุนี้ ​ ญาณนี้จึงเป็นญาณเดียวเท่านั้น ​ อีกประการหนึ่ง ​ พึงทราบแม้โดยพระบาลีนี้ไว้ด้วยว่า ​ ญาณนี้ ​ เป็นญาณเดียวเท่านั้น ​ ที่จริงท่านก็กล่าวไว้แล้วดังนี้ว่า ​ "​ความปรารถนาเพื่อพ้นไป ​ 1  การเห็นเนืองๆ ​ ด้วยการพิจารณาทบทวน 1  และการวางเฉยในสังขาร 1  ธรรม ​ (คือญาณ) ​ ทั้งหลายเหล่านี้มีความหมายอย่างเดียวกัน ​ พยัญชนะเท่านั้นที่ต่างกัน"'''​ 
- 
-'''​[วุฏฐานคามินีวิปัสสนา]'''​ 
- 
-แต่เมื่อกุลบุตรนี้บรรลุสังขารุเปกขาญาณด้วยประการฉะนี้แล้ว ​ วิปัสสนาก็ถึงยอด ​ เป็น ​ วุฏฐานคามินี ​ คำว่า ​ "​สิขาปปัตตาวิปัสสนา ​ (วิปัสสนาถึงยอด)" ​ ก็ดี ​ "​วุฏฐานคามินี" ​ ก็ดี ​ นี้เป็นชื่อของญาณ 3  ญาณ ​ มีสังขารุเปกขาญาณเป็นต้นนั่นเอง ​ เพราะว่า ​ สังขารุเปกขา ​ นั้นชื่อว่าถึงยอด ​ (สิขาปปัตตา) ​ เพราะลุถึงยอด ​ คือถึงความสูงสุด ​ (และ) ​ ชื่อว่า ​ วุฏฐานคามินี ​ เพราะไปสู่วุฏฐานะ ​ ท่านเรียก ​ (อริย) ​ มรรคว่า ​ วุฏฐานะ ​ เพราะออกไปจากวัตถุ ​ (สังขาร) ​ ที่กำหนดโดยความเป็นนิมิตภายนอก ​ และเพราะออกจากความเป็นไป ​ (ของสังขาร) ​ ที่กำหนด ​ โดยความเป็นนิมิตภายนอก ​ และเพราะออกจากความเป็นไป ​ (ของสังขาร) ​ ภายใน ​ ชื่อว่า ​ วัฏฐานคามินี ​ เพราะไปสู่วุฏฐานะนั้น ​ อธิบายว่า ​ เพราะสืบต่ออยู่กับมรรค 
- 
-'''​[มาติกาแห่งอภินิเวสและวุฏฐานะ]'''​ 
- 
-เพื่อต้องการเข้าใจแจ่มแจ้งซึ่งอภินิเวส ​ (การกำหนด) ​ และวุฏฐานะ ​ (การออกไป) ​ ในคำที่กล่าวไว้โดยสังเขป (ข้างต้น) ​ นั้น ​ มีมาติกา ​ ดัง ​ (คำแปล) ต่อไปนี้ ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 373)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​[โยคี ​ ที่ ​ 1]'''​ 
- 
-1.    โยคีกำหนดภายในแล้วออกจากภายใน 1  กำหนดภายในแล้วออกจากภายนอก ​ 1  กำหนดจากภายนอกแล้วออกจากภายนอก1 ​ กำหนดจากภายนอกแล้วออกจากภายใน 1  ​ 
- 
-'''​[โยคี ​ ที่ ​ 2]'''​ 
- 
-2.    โยคีกำหนดในรูป ​ แล้ออกจากรูป 1  กำหนดในรูป ​ แล้วออกจากอรูป ​ 1  กำหนดในอรูปแล้วออกจากอรูป 1  กำหนดในอรูปแล้วออกจากรูป 1  ออกจากขันธ์ทั้ง 5  พร้อมกัน 1 
- 
-'''​[โยคี ​ ที่ ​ 3]'''​ 
- 
-3.    โยคีกำหนดโดยความไม่เที่ยง ​ ออกจากความไม่เที่ยง 1  กำหนดโดยความไม่เที่ยง ​ ออกจากความเป็นทุกข์ ​ จากความไม่มีอัตตา 1  กำหนดโดยความเป็นทุกข์ ​ จากความไม่เที่ยง ​ จากความไม่มีอัตตา 1  กำหนดโดยความไม่มีอัตตา ​ ออกจากความไม่มีอัตตา ​ จากความไม่เที่ยง ​ จากความเป็นทุกข์ 1 
- 
-'''​[อธิบายความ]'''​ 
- 
-(ถาม) ​ กำหนดอย่างไร ?  ออกอย่างไร ? 
- 
-(ตอบ) ​ 1.  โยคีบางท่าน ​ (ท่านที่ 1)  ในพระศาสนานี้ ​ กำหนดอยู่ในสังขารภายในทั้งหลาย ​ แต่เริ่มแรกมาเลย ​ ครั้นกำหนดแล้ว ​ ก็เห็นสังขารภายในเหล่านั้น ​ แต่เพราะเหตุที่ ​ วุฏฐานะ ​ (การออกไป) ​ คือมรรค ​ หามีโดยเพียงแต่การเห็นสังขารภายในล้วนๆ ​ เท่านั้นไม่ ​ ต้องเห็นแม้สังขารภายนอกด้วยเหมือนกัน ​ เพราะฉะนั้น ​ เขาจึงเห็นขันธ์ทั้งหลายของผู้อื่นบ้าง ​ เห็นสังขารทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนกะบ้าง ​ ว่าเป็นของไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ ไม่มีอัตตา ​ โยคีท่านนั้นกำหนดรู้ภายในตามกาลเวลา ​ กำหนดรู้ภายนอกตามกาลเวลา ​ ในเวลากำหนดรู้ภายในวิปัสสนาของโยคีท่านนั้น ​ ผู้กำหนดรู้อยู่อย่างนี้ ​ ก็สืบต่ออยู่กับมรรค ​ โยคีท่านนี้ชื่อว่า ​ กำหนดภายในแล้วออกไปจากภายใน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 374)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แต่ถ้าวิปัสสนาของโยคีท่านนั้นสืบต่ออยู่กับมรรคในเวลากำหนดรู้ภายนอก ​ โยคีท่านนี้ ​ ชื่อว่า ​ กำหนดภายในแล้วออกไปจากภายนอก 
- 
-แม้ในการกำหนดรู้จากภายนอกแล้วออกไปจากภายนอก ​ และในการกำหนดรู้จากภายนอกแล้วออกมาจากภายใน ​ ก็มีนัยดังนี้ 
- 
-2.    โยคีอีกท่านหนึ่ง ​ (ท่านที่ 2)  กำหนดอยู่ในรูป ​ แต่แรกเริ่มมาเลย ​ ครั้นกำหนดแล้วก็เห็นภูตรูปและอุปาทายรวมกองเดียวกัน ​ แต่เพระเหตุที่วุฏฐานะ ​ (การออกไป) ​   หามีโดยเพียงแต่การเห็นรูปล้วนๆเท่านั้นไม่ ​ แม้อรูปก็ต้องเห็นด้วยเหมือนกัน ​ เพราะฉะนั้นโยคีจึงทำรูปให้เป็นอารมณ์ ​ แล้วเห็นอรูป ​ คือ ​ เวทนา ​ สัญญา ​ สังขารและวิญญาณ ​ ที่เกิดขึ้นว่า ​ "​นี้ ​ เป็นอรูป" ​ โยคีท่านนั้น ​ กำหนดรู้รูปตามกาลเวลา ​ กำหนดรู้อรูปตามกาลเวลา ​ เมื่อโยคีนั้นกำหนดรู้อย่างนี้ ​ วิปัสสนาในการกำหนดรู้รูป ​ ก็สืบต่อกับมรรค ​ โยคีผู้นี้ชื่อว่า ​ กำหนดอยู่ ​ ในรูปแล้วออกไปจากรูป  ​ 
- 
-แต่ถ้าวิปัสสนาของโยคีนั้น ​ สืบต่ออยู่กับมรรคในเวลากำหนดรู้อรูป ​ โยคีผู้นี้ชื่อว่า ​ กำหนดอยู่ในรูปแล้วออกไปจากอรูป  ​ 
- 
-แม้ในการกำหนดอยู่ในอรูปแล้วออกไปจากอรูปก็ดี ​ และในการกำหนดอยู่ในอรูปแล้ว ​ ออกไปจากรูปก็ดี ​ ก็มีนัยดังนี้ ​ แต่ในการกำหนดอย่างนี้ว่า ​ "​ยงฺกิญฺจิ ​ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ ​ นิโรธธมฺมํ- ​ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ​ มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ​ สิ่งนั้นทั้งหมด ​ มีความดับไปเป็นธรรมดา ​ ดังนี้ ​ แล้วออกไปโดยอาการอย่างนั้นเช่นกัน ​ โยคี(ท่านนี้) ​ ชื่อว่า ​ ออกไปจากขันธ์ทั้ง 5  พร้อมกัน 
- 
-3.    โยคีท่านหนึ่ง ​ (ท่านที่ 3)  กำหนดรู้สังขารทั้งหลายโดยความไม่เที่ยง ​ มาแต่แรกเริ่มเลย ​ แต่เพราะเหตุที่วุฏฐานะ ​ หามีโดยเพียงแต่กำหนดรู้โดยความไม่เที่ยงเท่านั้นไม่ต้องกำหนดรู้โดยความเป็นทุกข์บ้าง ​ โดยความเป็นอนัตตาบ้าง ​ ด้วยเหมือนกัน ​ เพราะฉะนั้น ​ โยคีจึงกำหนดรู้โดยความเป็นทุกข์บ้าง ​ โดยความเป็นอนัตตาบ้าง ​ เมื่อโยคีนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ​ วุฏฐานะก็มีขึ้นในเวลากำหนดรู้โดยความไม่เที่ยง ​ โยคีท่านนี้ชื่อว่ากำหนดโดยความไม่เที่ยงแล้วออกไปจากความไม่เที่ยง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 375)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แต่ถ้าวุฏฐานะมีแก่โยคีนั้นในเวลากำหนดรู้โดยความเป็นทุกข์ ​ โดยความเป็นอนัตตา ​ โยคีท่านนี้ชื่อว่ากำหนดโดยความไม่เที่ยงแล้วออกไปจากทุกข์ ​ จากอนัตตา 
- 
-แม้ในการกำหนดโดยความเป็นทุกข์ ​ โดยความเป็นอนัตตา ​ แล้วออกไปจากลักษณะที่เหลือนอกนี้ ​ ก็มีนัยดังนี้  ​ 
- 
-'''​[กล่าวถึงพระอริยบุคคล 7  จำพวก ​ อีกครั้ง]'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ ในการกำหนดและการออกไปนี้ ​ โยคีผู้ใดกำหนดในความไม่เที่ยงก้ดี ​ โยคีผู้ใดกำหนดโดยความเป็นทุกข์ก็ดี ​ โยคีผู้ใดกำหนดโดยความเป็นอนัตตาก็ดี ​ และในเวลาออกไป ​ มีการออกไปจากความไม่เที่ยง ​ ชน ​ (โยคี) ​ แม้ทั้ง 3  ท่านเป็นผู้มีอธิ โมกข์ ​ (ความเชื่อ) ​ มาก ​ จึงได้เฉพาะซึ่งสัทธินทรีย์ ​ พ้นพิเศษไปด้วยอนิมิตตวิโมกข์ ​ เป็น ​ สัทธานุสารี ​    ​ในขณะ ​ (บรรลุ) ​ ปฐมมรรค ​ (โสดาปัตติมรรค) ​ เป็น ​ สัทธาวิมุต ​ ใน ​ 7  ฐานะ ​ แต่ถ้ามีการออกไปจากทุกข์ชนแม้ทั้ง 3  ท่าน เป็นผู้มีปัสสัทธิ ​ (ความสงบ) ​ มาก ​ จึงได้เฉพาะซึ่งสมาธินทรีย์ ​ พ้นพิเศษไปด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ ​ เป็น กายสักขี ​ ในทุกฐานะ ​ แต่ทว่า ​ ในชน 3  ท่านนี้ ​ ท่านผู้ใดมีอรูปฌานเป็นบาท ​ ท่านผู้นั้นเป็น ​ อุภโตภาควิมุต ในผลสุดยอดขณะนั้น ​ (ถา) ​ ชนทั้ง 3  ท่านเหล่านั้น ​ มีการออกไปจากอนัตตา ชนแม้ทั้ง 3  ท่านเป็นผู้มีความรู้มาก ​ จึงได้เฉพาะซึ่งปัญญินทรีย์ ​ พ้นพิเศษไปด้วยสุญญตวิโมกข์ ​ เป็น ธัมมานุสารี ​ ในขณะปฐมมรรคเป็น ​ ทิฏฐิปัตตะ ​ ใน ​  ​6 ​ ฐานะ ​ เป็น ​ ปัญญาวิมุต ​ ในผลสุดยอด ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​[อุปมา 12  ข้อ]'''​ 
- 
-บัดนี้ ​ เพื่อความแจ่มแจ้งของ ​ วุฏฐานคามินีวิปัสสนา นี้ ​ พร้อมทั้งญาณก่อนๆ ​ (มีภยตุปัฏฐานญาณเป็นต้น) ​ และญาณหลังๆ ​ (มีโคตรภูญาณเป็นต้น) ​ ควรทราบอุปมา ​ 12  ข้อไว้ ​ อุปมา ​ 1-  ข้อเหล่านั้นมีหัวข้อเรื่อง ​ ดังนี้  ​ 
- 
-วคฺคคุลี ​ กณฺหสปฺโป ​ จ    ฆรํ ​ โค ​ ยกฺขิ ​ ทารโก 
- 
-ขุทฺทํ ​ ปิปาสํ ​ สีตุณฺหํ ​       อนฺธการํ ​ วิเสน ​ จ. 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 376)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แปลความว่า 
- 
-ค้างคาว ​ งูเห่า ​ เรือน ​ วัว ​ นางยักษ์ ​ ทารก ​ ความหิว 
- 
-ระหาย ​ ความหนาว ​ ร้อน ​ ความมืด ​ และยาพิษ. 
- 
-และควรนำอุปมาเหล่านี้มาตั้งไว้ในญาณใดญาณหนึ่ง ​ ตั้งต้นแต่ภยตุปัฏฐานญาณขึ้นมา ​ แต่เมื่อนำเอาอุปมาทั้งหลายนั้นมาในฐานะ ​ (แห่งวุฏฐานคามินีวิปัสสนา) ​ นี้ ​ ญาณทั้งปวง ​ (รวมทั้งกิจทั้งปวงของญาณ) ​ ตั้งแต่ภยตุปัฏฐานญาณจนถึงผลญาณ ​ ก็จะปรากฏชัด ​ เพราะ ​ ฉะนั้น ​ ท่านจึงกล่าวว่า ​ ควรนำ ​ (อุปมาทั้งหลายนั้น) ​ มากล่าว ​ ณ  ที่นี้ด้วยเหมือนกัน 
- 
-'''​[1. ​ อุปมาด้วยค้างคาว]'''​ 
- 
-เล่ากันว่า ​ นกค้างคาวตัวหนึ่ง ​ คิดว่า ​ จักได้ดอกไม้หรือผลไม้บนต้นไม้นี้ ​ จึงแอบซ่อนตัวอยู่บนต้นมะซางซึ่งมีกิ่ง 5  กิ่ง ​ แล้วเกาะกิ่งหนึ่งอยู่ไม่พบดอกไม้ ​ หรือผลไม้ ​ ไรๆ ​ ที่ควรถือเอาได้บนกิ่งนั้น ​ และไปเกาะกิ่งที่ 2  กิ่งที่ 3  กิ่งที่ 4  แม้กิ่งที่ 5  ก็ไม่พบ ​ (ดอกหรือผลไรๆ) ​ เหมือนอย่างกิ่งที่ ​ (ที่) ​ 1 นกค้างคาวตัวนั้น ​ จึงคิดว่า ​ ต้นไม้ต้นนี้ไม่มีผลแน่ๆ ​ อะไรๆ ​ ที่ควรถือเอาได้ก็ไม่มีบนต้นไม่นี้ ​ จึงทอดอาลัยบนต้นไม้นั้น ​ แล้วไต่ขึ้นไปบนกิ่งตรง ​ ชูหัวออกไปทางระหว่างค่าคบ ​ แหงนดูขึ้นไปข้างบน ​ แล้วโผขึ้นไปในอากาศ ​ ไปแอบอยู่บนต้นไม้มีผลต้นอื่น 
- 
-ในอุปมานั้น ​ พึงเห็นโยคาวจร ​ เป็นเหมือนค้างคาว ​ อุปาทานขันธ์ 5  เป็นเหมือนต้นมะซางซึ่งมีกิ่ง 5  กิ่ง ​ การที่โยคี ​ กำหนดอยู่ในขันธ์ ​ 5  ก็เหมือนการที่ค้างคาวแอบอยู่บนต้นมะซางนั้น การที่โยคีกำหนดรู้รูปขันธ์แล้วไม่เห็นอะไรๆ ​ ที่ควรถือเอาได้ในรูปขันธ์นั้น ​ จึงกำหนดรู้ขันธ์อื่นที่เหลือ ​ ก็เหมือนการที่ค้างคาวเกาะกิ่งไม้กิ่งหนึ่งๆ ​ ไม่พบอะไรๆ ​ ที่ควรถือเอาได้ ​ จึงไปเกาะกิ่งไม้อื่นที่เหลือนอกนั้น ​ ญาณ 3  มีมุญจิตุกัมยตาญาณเป็นต้น ​ ของโยคีผู้เบื่อหน่ายแล้ว ​ ด้วยการเห็นลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้นในขันธ์แม้ทั้ง 5  ก็เหมือนการที่ค้างคาวนั้นคิดว่าต้นไม้ต้นนี้ไม่มีผลแน่ๆ ​ แล้วทอดอาลัยในต้นไม้ ​ อนุโลมญาณของโยคี ​ ก็เหมือนการที่ค้างคาวนั้นไต่ขึ้นไปเบื้องบนของกิ่งไม้กิ่งตรง ​ โคตรภูญาณ ​ ก็เหมือนการชูหัวออกไปแหงนดูข้างบน ​ (ของค้างคาว) ​ มรรคญาณ ​ เปรียบเหมือนการโผขึ้นไปในอากาศ ​ (ของค้างคาว) ​ ผลญาณ ​ เปรียบเหมือนการแอบอยู่บนต้นไม้มีผลต้นอื่น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 377)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​[2. ​ อุปมาด้วยงูเห่า]'''​ 
- 
-อุปมาด้วยงูเห่า ​ ได้กล่าวมาแล้วใน ​ (ตอนว่าด้วย) ​ ปฏิสังขาญาณ ​ แต่ในการเปรียบเทียบด้วยอุปมาในที่นี้ ​ มีความแปลกออกไปดังนี้ ​ คือ ​ โคตรภูญาณเปรียบเหมือนการปล่อยงูไป ​ มรรคญาณเปรียบเหมือนการยืนอยู่ของบุรุษผู้ปล่อยงูแล้วมองดูทางที่ตนมาอยู่ ​ ผลญาณเปรียบเหมือนการไปยืนอยู่ในที่ปลอดภัย 
- 
-'''​[3. ​ อุปมาด้วยเรือน]'''​ 
- 
-เรื่องมีว่า ​ เมื่อเจ้าของเรือนบริโภคอาหารในตอนเย็นแล้ว ​ ก็ขึ้นนอนหลับไป ​ เรือนถูกไฟไหม้ ​ เขาตื่นขึ้นเห็นไฟ ​ ก็กลัว ​ คิดว่า ​ พึงเป็นการดีแน่ ​ ถ้าเราไม่ถูกไฟไหม้ ​ รีบออกไปเสียก่อน" ​ มองหา ​ ครั้นเห็นทางก็ออกไป ​ รีบไปยืนอยู่ ​ ณ  ที่ปลอดภัย 
- 
-ในอุปมานั้น ​ การที่พาลปุถุชนยึดถือขันธ์ 5  ว่า เป็นฉัน ​ เป็นของฉัน ​ เปรียบเหมือนการที่เจ้าของเรือน ​ บริโภคอาหาร ​ (ในตอนเย็น) ​ แล้วขึ้นที่นอน ​ นอนหลับไป การ (ที่โยคี) ​  ​ปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติแล้วเห็นพระไตรลักษณ์ ​ (เกิด) ​ ภยตุปัฏฐานญาณเปรียบเหมือนกาล ​ (แห่งเจ้าของเรือน) ​ ตื่นขึ้นเห็นไฟแล้วกลัว มุญจิตุกัมยตาญาณเปรียบเหมือนการมองหาทางออก ​ อนุโลมญาณเปรียบเหมือนการเห็นทาง ​ โคตรภูญาณเปรียบเหมือนการออกไป ​ มรรคญาณเปรียบเหมือนการรีบไป ​ ผลญาณเปรียบเหมือนการยืนอยู่ ​ ณ  ที่ปลอดภัย 
- 
-[4.  อุปมาด้วยวัว] 
- 
-เล่ากันว่า ​ ขณะที่ชาวนาผู้หนึ่งนอนหลับอยู่ในเวลากลางคืน ​ วัวทั้งหลายก็แหกคอกหนีไป ​ ครั้นเวลาเช้ามืด ​ ชาวนาผู้นั้นไปตรวจดูในคอกนั้น ​ รู้ว่าวัวเหล่านั้นหนีไปแล้ว ​ จึงตามรอยไปก็พบวัวทั้งหลายของพระราชา ​ มั่นหมายว่าวัวเหล่านั้นเป็นของตน ​ จึงต้อนกลับมา ครั้นเวลารุ่งแจ้งก็จำได้ว่า ​ วัวเหล่านี้มิใช่ของตน เป็นวัวของพระราชา ​ จึงกล่าวว่า ​ ตราบใดที่พวกราชบุรุษจะยังไม่จับเราไว้ ​ ว่าผู้นี้เป็นโจร ​ แล้วทำให้ถึงความพินาศ ​ ตราบนั้นเราจักหนีไปเสียก่อน ​ จึงทิ้งฝูงวัวไว้แล้วจึงรีบหนีไปอยู่ในที่ปลอดภัย 
- 
-ในอุปมานั้น ​ การที่พาลปุถุชนยึดถือขันธ์ทั้งหลาย ​ ว่าเป็นฉัน ​ เปรียบเหมือนการ ​ (ที่ชาวนา) ​ จับต้อนวัวทั้งหลายของพระราชามาด้วยสำคัญว่าเป็นวัวของตน ​ การหมายรู้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 378)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ขันธ์ทั้งหลายว่า ​ "​ไม่เที่ยง ​ เป็นทุกข์ ​ เป็นอนัตตา"​ โดยพระไตรลักษณ์ ​ ของโยคี ​ เปรียบเหมือนการ ​ (ที่ชาวนา) ​ จำได้ว่าเป็นวัวของพระราชาเวลารุ่งแจ้ง ​ ภยตุปัฏฐานญาณเปรียบเหมือนเวลา ​ (ที่ชาวนานั้น) ​ กลัว ​ มุญจิตุกัมยตาญาณเปรียบเหมือนความปรารถนาที่จะทิ้ง ​ (วัวทั้งหลายของพระราชา) ​ ไป ​ โคตรภูญาณเปรียบเหมือนการทิ้ง ​ (วัวทั้งหลาย) ​ มรรคญาณเปรียบเหมือนการหนีไป ผลญาณเปรียบเหมือนการหนีไปอยู่ ​ ณ  ที่ปลอดภัย'''​ 
- 
-'''​[5. ​ อุปมาด้วยยักษิณี]'''​ 
- 
-เขาว่า ​ บุรุษผู้หนึ่งอยู่ร่วมสังวาสกับนางยักษิณี ​ ครั้นในราตรีกาล ​ นางยักษ์นั้นรู้ว่าบุรุษนี้หลับแล้ว ​ จึงไปยังป่าช้าผีดิบแล้วเคี้ยวกินเนื้อมนุษย์ ​ บุรุษผู้นั้นสงสัยว่า ​ นางนี่ไปไหนจึงติดตามไป ​ ครั้นเห็นนางยักษ์กำลังเคี้ยวเนื้อมนุษย์อยู่ ​ ก็รู้ว่า ​ นางมิใช่มนุษย์ ​ จึงคิดว่าจักหนีไปเสียก่อนที่มันจะกินเรา ​ หวาดกลัวรีบหนีไปอยู่ในที่ปลอดภัย 
- 
-ในอุปมานั้น ​ การ ​ (ที่โยคี) ยึดถือขันธ์ทั้งหลายว่า ​ เป็นฉัน ​ เป็นของฉัน ​ เปรียบเหมือนการ ​ (ที่บุรุษนั้น) ​ อยู่ร่วมกับนางยักษิณี ​ การเห็นพระไตรลักษณ์แล้วรู้ถึงความที่ขันธ์ทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ​ เปรียบเหมือนการ ​ (ที่บุรุษนั้น) ​ เห็น ​ (นางยักษ์) เคี้ยวกินเนื้อมนุษย์อยู่ในป่าช้า ​ แล้วรู้ว่า ​ นางนี้เป็นยักษิณี ​ ภยตุปัฏฐานญาณเปรียบเหมือนเวลา ​ (ที่บุรุษนั้น) ​ หวาดกลัว ​ มุญจิตุกัมยตาญาณเปรียบเหมือนความปรารถนาที่จะหนีไป ​ โคตรภูญาณเปรียบเหมือนการละทิ้งป่าช้าไป ​  ​มรรคญาณเปรียบเหมือนการรีบหนีไป ​ ผลญาณเปรียบเหมือนการอยู่ในประเทศไม่มีภัย 
- 
-'''​[6. ​ อุปมาด้วยทารก]'''​ 
- 
-เล่ากันว่า ​ สตรีผู้หนึ่งเป็นคนหลงรักบุตร ​ เธอนั่งอยู่บนปราสาทชั้นบน ​ ได้ยินเสียงร้องของทารก ​ ณ  ระหว่างถนน ​ คิดว่ามีผู้ใดผู้หนึ่งรังแกบุตรของเราเป็นแน่ ​ จึงรีบลงมาอุ้มเอาบุตรของคนอื่นไป ​ ด้วยสำคัญว่าบุตรของตน ​ ครั้นเธอจำได้ว่า ​ ทารกนี้เป็นบุตรของคนอื่นก็ตกใจกลัว ​ มองดูข้างโน้นข้างนี้ ​ แล้วคิดว่าใครๆ ​ อย่ามากล่าวหาเรา ​ ว่านางนี้เป็นคนขโมยเด็กเลย ​ จึงวางทารกลงไว้ในระหว่างถนนนั้นแล ​ แล้วรีบขึ้นไปนั่งอยู่บนปราสาทตามเดิม 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 379)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ในอุปมานั้น ​ การยึดถือขันธ์ 5  ว่าเป็นฉัน เป็นของฉัน ​ เป็นเหมือนการ ​ (ที่สตรีนั้น) ​ อุ้มเอาบุตรของคนอื่นไว้ ​ ด้วยสำคัญว่าเป็นบุตรของตน ​ การหมายรู้ด้วยอำนาจพระไตรลักษณ์ว่า ​ มิใช่ฉัน มิใช่ของฉัน ​ เปรียบเหมือนการ ​ (ที่สตรีนั้น) ​ จำได้ว่า ​ ทารกนี้เป็นบุตรของคนอื่น ​ ภยตุปัฏฐานญาณเปรียบเหมือนการตกใจกลัว ​ มุญจิตุกัมยตาญาณเปรียบเหมือนการมองดูข้างโน้นข้างนี้ ​ อนุโลมญาณเปรียบเหมือนการวางทารกลงไว้ในระหว่างถนนนั้นแล ​ โคตรภูญาณเปรียบเหมือนเวลาที่ ​ (สตรีนั้น) ​ วาง ​ (ทารกนั้น) ​ แล้วยังยืนอยู่ระหว่างถนน ​ มรรคญาณเปรียบเหมือนการ ​ (กลับ) ​ ขึ้นไปบนปราสาท ​ ผลญาณเปรียบเหมือนการขึ้นไปนั่งอยู่ 
- 
-[อุปมาด้วยความหิว, ​ ระหาย, ​ หนาว, ​ ร้อน, ​ ความมืดและยาพิษ] 
- 
-ส่วนอุปมา 6  ข้อเหล่านี้ ​ คือ ​ ความหิว ​ ระหาย ​ หนาว ​ ร้อน ​ ความมืด ​ และยาพิษ ​ ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงว่า ​ ผู้ตั้งอยู่ใน ​ วุฏฐานคามินีวิปัสสนา ​ แล้ว ​ เป็นผู้น้อมไป ​ โน้มไปและโอนเอียงไป ​ โดยผันหน้ามุ่งเข้าสู่โลกุตตรธรรมแล้ว 
- 
-'''​[7. ​ อุปมาด้วยความหิว]'''​ 
- 
-ความจริง ​ บุรุษผู้ถูกความหิวครอบงำ ​ หิวโหยมาก ​ ปรารถนา ​ โภชนะมีรสดี ​ ฉันใด ​  ​โยคาวจรท่านนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ​ ถูกความหิวคือสังสารวัฏกระทบแล้ว ​ จึงปรารถนาโภชนะ ​ คือกายคตาสติซึ่งมีรสเป็นอมตะ 
- 
-'''​[8. ​ อุปมาด้วยความระหาย]'''​ 
- 
-และบุรุษผู้มีความระหาย ​ คอและปากแห้งผาก ​ ปรารถนาน้ำปานะที่มีเครื่องปรุงหลายอย่าง ​ ฉันใด ​ โยคาวจรเท่านั้น ​ ก็ฉันนั้นเช่นกัน ​ ถูความระหายคือสังสารวัฏกระทบแล้ว ​ จึงปรารถนาน้ำปานะ ​ คือพระอริยมรรคมีองค์ 8 
- 
-'''​[9. ​ อุปมาด้วยความหนาว]'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ บุรุษผู้สัมผัสกับความหนาว ​ ย่อมปรารภความอบอุ่น ​ ฉันใด ​ โยคาวจรท่านนี้ ​ ก็ฉันนั้นเช่นกัน ​ ถูกกระทบด้วยความหนาวคือยางตัณหาในสังสารวัฏ ​ จึงปรารถนาไฟ ​ คือ ​ (พระอริย) ​ มรรค ​ เป็นเครื่องเผากิเลส 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​  ​380)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​[10. ​ อุปมาด้วยความร้อน]'''​ 
- 
-และบุรุษผู้ถูกความร้อนกระทบ ​ ย่อมปรารถนาความเย็น ​ ฉันใด ​ โยคาวจรท่านนี้ ​ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ​ ถูกความร้อนคือไฟ ​ 11  กอง ​ ในสังสารวัฏแผดเผาแล้ว ​ จึงปรารถนา ​ พระนิพพานเป็นที่เข้าไปสงบไฟ 11  กอง 
- 
-'''​[11. ​ อุปมาด้วยความมืด]'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ บุรุษผู้อยู่ท่ามกลางความมืด ​ ย่อมปรารถนาความสว่าง ​ ฉันใด ​ โยคาวจรท่านนี้ ​ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ​ ถูกปกคลุมหุ้มห่ออยู่แล้วด้วยความมืดคืออวิชชา ​ จึงปรารถนาอยู่ซึ่งการทำมรรคให้เกิดอันมีแสงสว่างเกิดด้วยญาณ 
- 
-'''​[12. ​ อุปมาด้วยยาพิษ]'''​ 
- 
-และบุรุษผู้ถูกยาพิษย่อมปรารถนาเภสัชถอนพิษ ฉันใด ​ โยคาวจรท่านนี้ ​ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ​ ถูกยาพิษคือกิเลสแล้ว ​ จึงปรารถนาพระนิพพาน ​ อันเป็นโอสถอมตะ ​ เป็นเครื่องกำจัดพิษคือกิเลส 
- 
-เพราะเหตุนั้น ​ จึงได้กล่าวไว้ ​ (ข้างต้นว่า) ​ "​เมื่อโยคาวจรผู้นั้นรู้อยู่อย่างนี้ ​ เห็นอยู่อย่างนี้จิตก็ถอยกลับ ​ หวนกลับ ​ วกกลับ ​ ไม่แพร่กระจายไป ​ ในภพ 3  ในกำเนิด 4  ในคติ 5  ในวิญญาณฐิติ ​ 7  ในสัตตาวาส ​ 9  วางเฉยอยู่ ​ หรือถอยกลับมาตั้งมั่นอยู่ ​ เปรียบเหมือนหยดน้ำในใบบัว ​ ซึ่งขอบใบงอนิดๆ" ​ คำทั้งปวงพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วข้างต้นนั่นแล 
- 
-ก็แล ​ ด้วยประการดังกล่าวนี้ ​ โยคาวจรท่านนี้ ​ เป็นผู้มีชื่อเรียกว่า ​ ผู้ประพฤติโดยความเป็นผู้หลีกลี้ ​ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสระบุถึงไว้ว่า 
- 
-ปฏิลีนจรสฺส ​ ภิกฺขุโน 
- 
-ภชมานสฺส ​ วิวิตฺตมาสนํ 
- 
-สามคฺคิยมาหุ ​ ตสฺส ​ ตํ ​   ​ 
- 
-โย ​ อตฺตานํ ​ ภวเน ​ น  ทสฺสเย. 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 381)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​แปลความว่า ​ '''​ 
- 
-พระภิกษุใด ​ ไม่แสดงตนในภพน์ ​ พระอริยเจ้าทั้งหลาย 
- 
-กล่าวว่า ​ การไม่แสดงตนนั้นของพระภิกษุนั้น ​ ผู้ประพฤติหลีก 
- 
-ลี้อยู่โดยเฉพาะ ​ ผู้คบแต่อาสนะที่เงียบสงัด ​ ว่าเป็นการสมควร 
- 
-สังขารุเปกขาญาณนี้กำหนดความเป็นผู้ประพฤติหลีกลี้อยู่โดยเฉพาะของโยคี ​ ด้วยประการฉะนี้ ​ แล้วกำหนดความแตกต่างของไพชฌงค์ ​ ความแตกต่างขององค์มรรค ​ ความแตกต่างขององค์ฌาน ​ ความแตกต่างของปฏิปทา ​ ความแตกต่างของวิโมกข์ ​ แม้ของพระอริยมรรคต่อไปอีก 
- 
-'''​[ความแตกต่างของโพชฌงค์ ​ องค์มรรค ​ และองค์ฌาน]'''​ 
- 
-ความจริง ​ พระเถระบางพวกก็กล่าวว่า ​ "​ฌานที่เป็นบาท ​ กำหนดความแตกต่างของโพชฌงค์ ​ ขององค์มรรค ​ และขององค์ฌาน ​ พระเถระบางพวกก็กล่าวว่า ​ "​ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ​ กำหนด ​ (ความแตกต่าง) ​ พระเถระบางพวกก็กล่าวว่า ​ "​อัชฌาสัยของบุคคล ​ (ผู้ปฏิบัติวิปัสสนา) ​ กำหนด" ​ ในวาทะ ​ (ทั้ง 3)  ของพระเถระเหล่านั้น ​ ควรทราบไว้ว่า ​ วุฏฐานคามินีวิปัสสนาตอนต้นนี้นี่แล ​ กำหนด ​ (ความแตกต่าง) ​ โดยแท้ 
- 
-ในการกำหนดความแตกต่างของโพชฌงค์เป็นต้นนั้น ​ มีการกล่าวถึงโดยลำดับดังต่อไปนี้  ​ 
- 
-'''​[อริยมรรคตามระดับฌาน]'''​ 
- 
-ความจริง ​ มรรคที่บังเกิดแก่ท่านสุกขวิปัสสกโดยวิปัสสนานิยมก็ดี ​ มรรคที่บังเกดขึ้น ​ แก่ท่านผู้ได้สมาบัติมิได้ทำฌานให้เป็นบาทก็ดี ​ มรรคที่ทำปฐมฌานเป็นบาทแล้วกำหนดรู้สังขารทั้งหลายที่เป็นปกิณณกะ ​ (คือสังขารอื่นนอกจากฌานที่เป็นบาท) แล้วทำให้เกิดขึ้นก็ดี 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 382)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​เป็นมรรคเกิดขึ้นในระดับปฐมฌานนั่นเอง ​ ในทุกมรรค ​ (ที่กล่าวนั้น) ​ มีโพชฌงค์ ​ 7  มีองค์มรรค 8  มีองค์ฌาน 9  เพราะว่าวิปัสสนาภาคต้นของ ​ (อริย) ​ มรรคแม้เหล่านั้น ​ เป็นวิปัสสนา ​ ประกอบด้วยโสมนัสบ้าง ​ ประกอบด้วยอุเบกขาบ้าง ​ ครั้นถึงความเป็นสังขารุเปกขาในเวลาแห่งวุฏฐานะ ​ (การออกไป ​ คือมรรค) ​ แล้ว ​ ก็เป็นวิปัสสนาประกอบด้วยโสมนัส ​ (แต่) ​ ในบรรดามรรคที่ทำทุติยฌาน ​ ทำตติยฌาน ​ ทำจตุตถฌาน ​ (ตาม) ​ ในปัญจกนัย ​ (คือฌานระบบแบ่ง 5)  ให้เป็นบาท ​ แล้วทำให้เกิดขึ้น ​ ฌานก็มีองค์ 4  (ไม่มีวิตกสำหรับทุติยฌาน) ​ มีองค์ 3  (ไม่มีทั้งวิตกและวิจารสำหรับตติฌาน) ​ และมีองค์ 2  (ไม่มีวิตก ​ วิจาร ​ และปีติสำหรับ ​ จตุตถฌาน) ​ โดยลำดับ ​ แต่ในทุกมรรค ​ มีองค์มรรคอยู่ 7  (ไม่มีวิตก ​ คือ ​ สัมมาสังกัปปะ) ​ และในมรรคที่ 4 (ซึ่งมีฌานที่ 4  เป็นบาท) ​ มีโพชฌงค์ 6  (ไม่มีปีติสัมโพชฌงค์) ​ ความแตกต่างกัน ​ มีอยู่ ​ โดยการกำหนดด้วยฌานเป็นบาท ​ และโดยวิปัสสนานิยม ​ (การกำหนดด้วยวิปัสสนา) ​ เพราะว่า ​ วิปัสสนาที่เป็นภาคต้นของมรรคแม้เหล่านั้น ​ ก็ประกอบด้วยโสมนัสบ้าง ​ ประกอบด้วยอุเบกขาบ้าง ​ วุฏฐานคามินีวิปัสสนา ​ ประกอบด้วยโสมนัสอย่างเดียว ​ แต่ในมรรค ​ ที่ทำปัญจมฌานเป็นบาทแล้วบังเกิดขึ้น ​ มีองค์ฌาน ​ 2  (คือ) ด้วยอุเบกขาและจิตเตกัคคตามีโพชฌงค์ 6  และมีองค์มรรค 7  แม้อย่างนี้ก็เป็นความแตกต่างโดยกำหนดด้วยฌานเป็นบาท ​ และโดยวิปัสสนานิยมทั้งสองอย่าง ​ เพราะนัยนี้ ​ วิปัสสนาภาคต้น ​ เป็นวิปัสสนาประกอบด้วยโสมนัส ​ หรือประกอบด้วยอุเบกขาก็มี ​ ส่วนวุฏฐานคามินีประกอบด้วยอุเบกขาอย่างเดียว'''​ 
- 
-นัยแม้ในมรรคที่ทำอรูปฌานเป็นบาทให้เกิดขึ้น ​ ก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน 
- 
-ด้วยอาการดังกล่าวนี้ ​ สมาบัติที่ออก ​ ณ  ที่ใกล้ชิดมรรคซึ่งเกิดขึ้น ​ เพราะโยคีออกจากฌานที่เป็นบาทแล้วกำหนดรู้สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ​ ทำให้มรรคเหมือนตนเองเกิดขึ้น ​ ก็เหมือนสีของแผ่นดินที่ทำสีของเหี้ยให้เหมือนสีดิน 
- 
-แต่ในวาทะของพระเถระท่านที่ 2  ความว่า ​ มรรคที่ทำให้บังเกิดขึ้น ​ เพราะออกจากสมาบัติใดๆ ​ แล้วกำหนดรู้องค์ธรรมทั้งหลายใดๆ ​ ของสมาบัติ ​ ก็เป็นมรรคเหมือนสมาบัตินั้นๆนั่นแล ​ อธิบายว่า ​ เป็นเช่นเดียวกับสมาบัติที่กำหนดรู้มาแล้ว ​ แต่ถ้าโยคีกำหนดรู้กามาวจรธรรมทั้งหลาย ​ มรรค ​ (ที่บรรลุ) ​ ก็เป็นอยู่ในระดับปฐมฌานเท่านั้น กับอนึ่ง ​ พึงทราบ ​ วิปัสสนานิยมนี้ในวาทะของพระเถระท่านที่ 2  นั้น ​ โดยนัยดังกล่าวแล้วเช่นกัน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 383)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ส่วนในวาทะพระเถระท่านที่ 3  ความว่า ​ มรรคที่บังเกิดขึ้นเพราะทำฌานใดๆ ​ เป็นบาท ​ แล้งกำหนดรู้องค์ธรรมของฌานทั้งหลายใดๆ ​ ตามสมควรแก่อัชฌาสัยของตนๆ ​ มรรคก็เป็นเหมือนฌานนั้นๆ ​ นั่นแล แต่ความเป็นเหมือนฌานนั้นๆ ​ นั้น ​ เมื่อปราศจากฌานที่เป็นบาท ​ หรือปราศจากฌานที่กำหนดรู้เสียแล้ว ​ ก็หาสำเร็จโดยเพียงแต่อัชฌาสัย ​ (ของตนเอง) ​ อย่างเดียว ​ หามิได้ ​ ความดังกล่าวนี้นั้น ​ พึงแสดงด้วยนันทโกวาทกะสูตร 
- 
-เป็นความจริง ​ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงมีพระดำรัสไว้ดังนี้ว่า ​ "​ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในวันอุโบสถนั้น ​ ขึ้น 15  ค่ำ ​ ความสงสัยหรือความเคลือบแคลงใจว่า ​ "​ดวงจันทร์แหว่ง ​ หรือเต็มดวงหนอ" ​ มิได้มีแก่คนจำนวนมาก ​ มีแต่ว่า ​ "​พระจันทร์เต็มดวง" ​ ดังนั้นโดยแท้แลแม้ฉันใด ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ​  ​ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ​ เป็นผู้มีใจยินดีและเป็นผู้มีความดำริเต็มบริบูรณ์ ​ ด้วยธรรมเทศนาของท่านนันทกะ ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ บรรดาภิกษุณี ​ 500  เหล่านั้น ​ ภิกษุณีใด ​ ผู้มีธรรมตำสุด ​ ภิกษุณีนั้นเป็นพระโสดาบัน ​ ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา ​ เป็นผู้แน่นอน ​ จะตรัสรู้ในภายหน้า" ​ เพราะว่าในภิกษุทั้งหลาย 500   ​นั้น ​ ภิกษุณีใดมีอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผล ​ ภิกษุณีนั้นก็เป็นผู้มีความดำริบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลโดยแท้ ​ ภิกษุณีใดมีอุปนิสัยแห่งสกทามี....มีอุปนิสัยแห่งอนาคามี....มีอุปนิสัยแห่งพระอรหัตต์ ​ ก็เป็นผู้มีความดำริบริบูรณ์ด้วยสกทาคามีผล....ด้วยอนาคามีผล....ด้วยอรหัตตผลโดยแท้ ​ มรรคที่โยคีทำให้เกิดขึ้น ​ เพราะทำฌานใดๆ ​ เป็นบาทแล้วกำหนด ​ รู้องค์ธรรมของฌานทั้งหลายใดๆ ​ ตามสมควรแก่อัชฌาสัยของตน....เมื่อปราศจากฌานที่เป็นบาท ​ หรือปราศจากฌานที่กำหนดรู้เสียแล้ว ​ ก็หาสำเร็จโดยเพียงแต่อัชฌาสัยอย่างเดียวหามิได้ ​ และแม้ในวาทะของพระเถระที่ 3  นี้ ​ ก็พึงทราบวิปัสสนานิยมโดยนัยดังกล่าวแล้ว ​ (ในวาทะของพระเถระที่ 2)  เหมือนกัน 
- 
-พึงทราบว่า ​ สังขารุเปกขาญาณ ​ กำหนด ​ (ความแตกต่าง) ​ โพชฌงค์ ​ องค์มรรค ​ และองค์ฌานดังกล่าวมานี้ก่อน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 384)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​[ปฏิปทา 4]'''​ 
- 
-แต่ ​ ถ้าสังขารุเปกขาญาณนี้ ​ เมื่อข่มกิเลสทั้งหลายมาแต่แรกเริ่ม ​ สามารถข่มได้โดยยาก ​ โดยความขมักเขม้นโดยต้องมีการชักจูง ​ (สังขารุเปกขานั้น) ​ ก็มีชื่อว่าทุกขาปฏิปทา ​ (คือปฏิบัติลำบาก) ​ โดยทางตรงข้าม ​ ก็เรียกว่า ​ สุขาปฏิปทา ​ (ปฏิบัติสะดวก) ​ แต่ภายหลังที่ข่มกิเลสได้แล้วค่อยๆ ​ ทำการอบรมวิปัสสนา ​ ทำมรรคให้เกิดขึ้น ​ ชื่อว่าทันธาภิญญา ​ (คือรู้ได้ช้า) ​ โดยตรงข้าม ​ ก็เป็นขิปปาภิญญา ​ (คือ ​ รู้ได้เร็ว) ​ ด้วยเหตุนี้ ​ สังขารุเปกขาญาณนี้จึงตั้งอยู่ในฐานะเป็นที่มา ​ (อาคมนียฐาน) ​ แล้วให้ชื่อเรียกแก่มรรคของตนๆ ​ เพราะเหตุนั้น ​ มรรค ​ จึงได้ชื่อว่าเป็น 4  ชื่อ ​ และปฏิปทานี้นั้น ​ สำหรับพระภิกษุบางรูป ​ ก็มีต่างๆกัน ​ สำหรับบางรูป ​ ก็เป็นอย่างเดียวกันทั้งใน 4  มรรค ​ แต่ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ​ มรรคทั้ง4 ​ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปภิญญาอย่างเดียว ​ ของท่านพระธรรมเสนาบดี ​ (สารีบุตร) ​ ก็เหมือนกัน ​ ส่วนของท่าน ​ พระมหาโมคคัลลนเถระ ​ ปฐมมรรค ​ เป็นสุขาปฏิปทา ​ ขิปปาภิญญา ​ มรรค 3  ข้างบน ​ เป็นทุกขาปฏิปทา ​ ทันธาภิญญา 
- 
-อนึ่ง ​ ปฏิปทา ​ เป็นฉันใด ​ อธิบดี ​ (มีฉันทาธิบดีเป็นต้น) ​ ก็เป็นฉันนั้น ​ สำหรับพระภิกษุบางรูป ​ ก็มีต่างๆกันใน ​ 4  มรรค ​ แต่สำหรับบางรูป ​ แม้ในทั้ง 4  มรรค ​ ก็มีอธิบดีเดียวเท่านั้น 
- 
-สังขารุเปกขาญาณ ​ กำหนดความแตกต่างของปฏิปทาด้วยประการดังกล่าวมานี้ ​ ส่วนที่กำหนดความแตกต่างของวิโมกข์ ​ ด้วยประการใดนั้น ​ ได้กล่าวไว้ข้างต้นเรียบร้อยแล้ว 
- 
-'''​[เหตุ ​ 5  ประการในการเรียกชื่อมรรค]'''​ 
- 
-อีกอย่างหนึ่ง ​ ธรรมดามรรคได้ชื่อเรียกด้วยเหตุ 5  ประการ ​ คือ ​ โดยรสของตน ​ (ด้วยสภาวะ) ​ 2  หรือ ​ โดยธรรมเป็นข้าศึก 1  หรือโดยคุณของตนเอง ​ 1  หรือโดยอารมณ์ ​ 1  หรือโดยอาคมนะ ​ (คือ ​ ฐานที่มา) ​ 1 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 385)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เพราะว่า ​ ถ้า ​ สังขารุเปกขา ​ ออกไปเพราะกำหนดรู้สังขารทั้งหลายโดยความไม่เที่ยง ​ มรรค ​ (หรือบุคคลผู้ประกอบด้วยมรรค) ​ ก็พ้นพิเศษไปด้วยอนิมิตตวิโมกข์ ​ ถ้าออกไปเพราะกำหนดรู้โดยความเป็นทุกข์ ​ ก็พ้นพิเศษไปด้วยอัปปณิหิวิโมกข์ ​ ถ้าออกไปเพราะกำหนดรู้ ​ โดยความเป็นทุกข์ ​ ก็พ้นพิเศษไปด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ ​ ถ้าออกไปเพราะกำหนดรู้โดยความเป็นอนัตตา ​ ก็พ้นพิเศษไปด้วยสุญญตวิโมกข์ ​ นี้ได้ชื่อเรียกโดยรสของตน 
- 
-แต่เพระเหตุที่มรรคนี้ทำการสลายไปแห่งความเป็นก้อน ​ เป็นกองของสังขารทั้งหลาย ​ ด้วยอนิจจานุปัสสนา ​ แล้วมาละได้ซึ่งนิมิตว่าเที่ยง ​ นิมิตว่ายั่งยืน ​ และนิมิตว่ามั่นคงถาวร ​ เพราะฉะนั้นจึงเรียกชื่อว่า ​ อนิมิตต ​ (วิโมกข์) ​ แต่ที่เรียกชื่อว่า ​ อัปปณิหิต ​ (วิโมกข์) ​ เพราะละสัญญาว่าความเป็นสุข ​ ด้วยทุกขานุปัสสนา ​ แล้วมาทำให้ความตั้งมั่น ​ (ของตัณหา) ​ คือความปรารถนา ​ แห้งเหือดไป ​ เรียกชื่อว่า ​ สุญญต ​ (วิโมกข์) ​ เพราะละสัญญา ​ (คือความหมายรู้) ​ ว่ามีอัตตา ​ มีสัตว์ ​ มีบุคคล ​ ด้วยอนัตตานุปัสสนา ​ แล้วเห็นสังขารทั้งหลายโดยเป็นของว่างเปล่านี้ ​ ได้ชื่อเรียกโดยธรรมเป็นข้าศึก ​ ฉะนี้แล 
- 
-อนึ่ง ​ มรรคนี้ชื่อว่าสุญญตะ ​ เพราะว่าจากกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ชื่อว่า ​ อนิมิตตะ ​ เพราะไม่มีนิมิตทั้งหลายมีนิมิตคือรูปเป็นต้น ​ หรือว่าเพราะไม่มีนิมิตทั้งหลายมีนิมิต ​ คือราคะเป็นต้นนั่นแล ​ ชื่อว่าอัปปณิหิตะ ​ เพราะไม่ปณิธิทั้งหลายมีปณิธิคือราคะเป็นต้น ​ นี้ได้ชื่อเรียกโดยคุณของตนของมรรคนั้น ฉะนี้แล 
- 
-มรรคนี้นั้น ​ ท่านเรียกว่า ​ สุญญตะ ​ อนิมิตตะ ​ อัปปณิหิตะ ​ แม้เพราะเหตุที่ทำพระนิพพานซึ่งว่างเปล่า ​ ไม่มีนิมิต ​ และหาปณิหิตะมิได้เป็นอารมณ์ ​ ดังนี้ก็มี ​ นี้เป็นชื่อโดยอารมณ์ของมรรคนั้น 
- 
-ส่วนอาคมนะ ​ (คือฐานะที่มา) ​ มี 2  อย่าง คือวิปัสสนาคมนะ ​ (ที่มาคือวิปัสสนา) ​ 1  และมัคคาคมนะ ​ (ที่มาคือมรรค) ​ 1  ใน 2  อย่างนั้น ​ วิปัสสนาคมนะได้ในมรรค ​ มัคคาคมนะได้ผลใน ​ เพราะว่า ​ อนัตตานุปัสสนา ​ ชื่อว่าสุญญตา ​ มรรคของสุญญตวิปัสสนา ​ ชื่อว่าสุญญตะ ​ อนิจจานุปัสสนา ​ ชื่อว่าอนิมิตตะ ​ มรคคของอนิมิตตวิปัสสนา ​ ชื่อว่าอนิมิตตะ ​ แต่ชื่อ ​  ​(หลัง) ​ นี้ไม่พบโดยบรรยายทางพระอภิธรรม ​ พบแต่โดยบรรยายทางพระสูตรเท่านั้น ​ เพราะในบรรยายทางพระสูตรนั้น ​ พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ​ "​โคตรภูญาณ ​ ทำพระ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 386)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​นิพพานอันหานิมิตมิได้เป็นอารมณืจึงเป็นญาณมีชื่อว่าไม่มีนิมิต ​ แล้วตนเองก็ตั้งอยู่ในฐานะเป็นปฏิปทาที่มา ​ แล้วให้ชื่อเรียกแก่มรรค" ​ ด้วยเหตุนั้น ​ ท่านจึงเรียกมรรคว่าไม่มีนิมิต'''​ 
- 
-แต่คำกล่าวที่ว่า ​ "​ผลก็มีชื่อว่าไม่มีนิมิตโดยที่มาคือมรรค" ​ ดังนี้ ​ ก็สมควรอยู่เหมือนกัน ​ ทุกขานุปัสสนา ​ มีชื่อว่าอัปปณิหิตะ ​ เพราะมาทำให้ปณิธิในสังขารทั้งหลายเหือดแห้งไป ​ มรรคของอัปปณิหิตวิปัสสนา ​ ชื่อว่าอัปปณิหิตะ ​ ผลของอัปปณิหิตมรรค ​ ก็มีชื่อว่าอัปปณิหิตวิปัสสนาให้ชื่อของตนแก่มรรค ​  ​(และ) มรรคให้ชื่อแก่ผลอย่างนี้ ​ ด้วยประการฉะนี้ ​ ด้วยประการฉะนี้ ​ นี้ได้ชื่อโดยอาคมนะ 
- 
-สังขารุเปกขาญาณนี้กำหนดความแตกต่างของวิโมกข์ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-'''​จบ ​ สังขารุเปกขาญาณ'''​ 
- 
-'''​[12. ​ อนุโลมญาณ]'''​ 
- 
-เมื่อโยคีนั้นเสพเนืองๆ ​ ทำให้เกิดขึ้น ​ ทำให้มากขึ้น ซึ่งสังขารุเปกขาญาณนั้นอยู่ศรัทธา ​ คืออธิโมกข์ ​ ก็เกิดมีกำลังเข้แข็งขึ้น ​ ความเพียรก็ได้รับประคับประคองดี ​ สติก็เข้าตั้งอยู่เป็นอย่างดี ​ จิตก็เป็นสมาธิดีขึ้น ​ สังขารุเปกขาก็บังเกิดแก่กล้ายิ่งขึ้น ​ ครั้นโยคีนั้นเกิดความคิดว่า ​ "​มรรค ​ (ญาณ) ​ จักเกิด ​ ณ  บัดนี้ ​ แน่" ​ สังขารุเปกขาก็กำหนรู้สังขารทั้งหลายว่าไม่เที่ยง ​ หรือว่าเป็นทุกข์ ​ หรือว่าเป็นอนัตตา ​ แล้วหยั่งลงสู่ภวังค์ ​ ในลำดับแห่งภวังค์ ​ มโนทวาราวัชชนจิตก็เกิดขึ้น ​ ทำสังขารทั้งหลายเป็นอารมณ์ว่าไม่เที่ยง ​ หรือว่าเป็นทุกข์ ​ หรือว่าเป็นอนัตตา ​ โดยนัยเดียวกับที่สังขารุเปกขาญาณทำมาแล้วนั่นแหละ ​ ในลำดับแห่งกิริยาจิตที่เกิดขึ้น ​ หันเหภวังคจิตไปจากมโนทวารวัชชนะนั้น ​ ชวนจิตดวงที่ 1  (คืออนุโลมญาณ ​ ที่ 1)   ​ซึ่งท่านเรียกว่า ​ "​บริกรรม" ​ ก็เกิดขึ้นสืบต่อตามติดไม่มีช่องว่าง ​ ทำสังขารทั้งหลายเป็นอารมณ์อย่างนั้นเหมือนกัน ในลำดับนั้น ​ ชวนจิตดวงที่ 2  (อนุโลมญาณ ​ ที่ ​ 2)  ซึ่งท่านเรียกว่า ​ "​อุปจาร" ​ ก็เกิดขึ้นทำสังขารทั้งหลายเป็นอารมณ์อย่างนั้นเหมือนกัน ​ แม้ในลำดับต่อจากนั้น ​ ชวนจิตดวงที่ 3  ซึ่งท่านเรียกว่า ​ "​อนุโลม" ​ (คืออนุโลมญาณ ​ ที่ 3)  ก็เกิดขึ้นทำสังขารทั้งหลายเป็นอารมณ์อย่างนั้นเหมือนกัน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 387)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ชื่อ ​ (ที่เรียก) ​ นี้เป็นชื่อเฉพาะของชวนจิต 3  ดวงเหล่านั้น ​ แต่จิตทั้ง 3  อย่างนี้ ​ จะเรียกว่า ​ "​อาเสวนะ" ​ บ้าง ​ ว่า ​ "​บริกรรม"​ บ้าง ​ ว่า ​ "​อุปจาร" ​ บ้าง ​ ว่า ​ "​อนุโลม" ​ บ้าง ​ โดยไม่แตกต่างกัน ​ ก็สมควร 
- 
-(ถามว่า) ​ เป็นอนุโลมของอะไร ? 
- 
-(ตอบ) ​ เป็นอนุโลมของญาณทั้งหลายที่เป็นส่วนเบื้องหน้าและของธรรมทั้งหลายที่เป็นส่วนเบื้องหลัง ​ เพราะว่าอนุโลมญาณนั้นคล้อยตามวิปัสสนาญาณ 8  เบื้องหน้า ​ เพราะมีกิจเหมือนกัน ​ และคล้อยตามโพธิปักขิยธรรม 37  ประการเบื้องบน ​ (เบื้องหลัง) ​   จริงอยู่ ​ อนุโลมญาณนั้น ​ เพราะเหตุปรารภสังขารทั้งหลายแล้วดำเนินไปโดยลักษณะมีอนิจจลักษณะ ​ เป็นต้น ​ จึงอนุโลมคล้อยตามญาณทั้ง 8  ประการเหล่านี้ ​ เพราะกิจ ​ (กำหนดพิจารณาพระไตรลักษณ์) ​ เหมือนกัน ​ ประหนึ่งจะพูดโดยความว่า 
- 
-4.    อุทยพยญาณ ได้เห็นแล้วซึ่งความเกิดและดับไปของธรรมทั้งหลาย ​ ที่มีความเกิดและความดับอยู่เป็นปรกตินั่นแลหนอ" ​   และว่า 
- 
-5.    ภังคานุปัสสนาญาณ ​ ได้เห็นความดับของธรรมทั้งหลาย ​ ที่มีแต่ความดับอยู่อย่างเดียว ​ แล้วละหนอ" ​ และว่า 
- 
-6.    สิ่งซึ่งมีแต่ความน่ากลัวแต่อย่างเดียวหนอ ​ ปรากฏโดยเป็นที่น่ากลัวแก่ ​ ภยตุปัฏฐานญาณแล้ว" ​ และว่า 
- 
-7.    อาทีนวานุปัสสนญาณ ​ ได้เห็นโทษเลวร้ายในธรรมที่มีแต่โทษเลวร้ายอย่างเดียวแล้วละหนอ" ​ และว่า 
- 
-8.    นิพพิทาญาณ ​ ก็เบื่อหน่ายแล้ว ​ ในธรรมที่น่าเบื่อหน่ายเสียจริงๆ ​ ละหนอ ​ และว่า 
- 
-9.    มุญจิตุกัมยตาญาณ ​ ก็เกิดปรารถนาเพื่อจะพ้นไปเสียจากธรรมที่ควรจะพ้นไปโดยแท้จริง ​ แล้วละหนอ" ​ และว่า 
- 
-10.    สิ่งที่ควรทบทวนกำหนดรู้นั่นแลหนอ ​ ข้า ฯ  ได้ทบทวนกำหนดรู้ด้วย ​ ปฏิสังขาญาณ ​ แล้ว" ​ และว่า 
- 
-11  สิ่งที่ควรวางเฉยนั่นแลหนอ ​ ข้า ฯ  ได้วางเฉยด้วย ​ สังขารุเปกขาญาณ ​ แล้ว" ​ ดังนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 388)''</​fs></​sub>​ 
- 
-และอนุโลมแก่โพธิปักขิยธรรม 37  ประการในเบื้องบน ​ เพราะต้องบรรลุด้วยการปฏิบัติ ​ (วิปัสสนาญาณทั้งหลาย) นั้น 
- 
-'''​[อุปมาอนุโลมญาณ ​ ด้วยพระราชาผู้ทรงธรรม]'''​ 
- 
-อุปมาเหมือนพระราชาผู้ทรงธรรม ​ ประทับนั่งในสถานวินิจฉัย ​ ทรงสดับคำวินิจฉัยของท่านมหาอำมาตย์ผู้ว่าคดี 8  ท่านแล้ว ​ ทรงละการถึงอคติเสีย ​ ทรงตั้งพระองค์เป็นกลาง ​ มีพระราชดำรัสอำนวยตามว่า ​ "​จงเป็นอย่างนั้นเถิด" ​ ชื่อว่าทรงอนุโลมแก่คำวินิจฉัยของมหาอำมาตย์เหล่านั้นด้วย ​ และทรงอนุโลมแก่โบราณราชธรรมด้วย ​ ฉันใด ​ ข้อเปรียบนี้ ​ ก็พึงทราบฉันนั้น ​ เพราะว่า ​ อนุโลมญาณ ​ เปรียบเหมือนพระราชา ​ ญาณทั้งหลาย 8  เปรียบเหมือนมหาอำมาตย์ผู้ว่าคดี 8  ท่าน ​ โพธิปักขิยธรรม ​ 37  เปรียบเหมือนโบราณราชธรรมในอุปมานั้น ​ พระราชา ​ เมื่อทรงมีพระราชดำรัสว่า ​ "​จงเป็นอย่างนั้นเถิด" ​ ชื่อว่าทรงอนุโลมแก่คำวินิจฉัยของมหาอำมาตย์ทั้งหลายผู้ว่าคดีด้วย ​ ทรงอนุโลมแก่ราชธรรมด้วย ​ ฉันใด ​ อนุโลมญาณนี้ก็ฉันนั้น ​ เมื่อเกิดขึ้นปรารภสังขารทั้งหลายโดยพระไตรลักษณ์มีความไม่เที่ยง ​ เป็นต้น ​   ชื่อว่าอนุโลมแก่ญาณทั้งหลาย 8  เพราะมีกิจเหมือนกันด้วย ​ และอนุโลมแก่โพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ​ 37  ในเบื้องต้น ​ (ในขณะมรรคญาณ) ​ ด้วย ​ เพราะเหตุนั้นแหละท่านจึงเรียกว่า ​ สัจจานุโลมมิกญาณ ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-ก็และ ​ อนุโลมญาณ ​ นี้ ​ เป็นญาณสุดท้ายของวุฏฐานคามินีวิปัสสนา ​ ซึ่งมีสังขารเป็นอารมณ์ ​ แต่ทว่า ​ โคตรภูญาณ ​ เป็นปริโยสานของวุฏฐานคามินีวิปัสสนาทั้งหมด ​ โดยประการทั้งปวง  ​ 
- 
-'''​จบ ​ อนุโลมญาณ'''​ 
- 
-'''​[วุฏฐานคามินีวิปัสสนา ​ ในชื่ออื่น]'''​ 
- 
-เพื่อไม่หลงสับสนใน ​ วุฏฐานคามินีวิปัสสนา ​ (ที่กล่าวมา) ​ นั้นนั่นแล ​ ณ  บัดนี้ ​ ควรทราบการเปรียบเทียบทางพระสูตรไว้ ​ ดังต่อไปนี้ 
- 
-ข้อนี้เป็นอย่างไร ?  คือว่า ​ วุฏฐานคามินีวิปัสสนา ​ นี้ ​ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 389)''</​fs></​sub>​ 
- 
-1.    ตรัสเรียกไว้ใน ​ สฬายตนวิภังคสูตร ​ ว่า ​ "​อตัมมยตา ​ ความไม่มีตัณหา 
- 
-'''​เกิดขึ้นจากโลกียสังขาร" ​ ด้วยพรดำรัสอย่างนี้ว่า ​ "​อตมฺมยตํ ​ ภิกฺขเว ​ นิสฺสาย ​ อตมฺมยตํ ​ อาคมฺม. ​ ยายํ ​ อุเปกฺขา ​ เอกตฺตา ​ เอกตฺ ​ ตสิตา, ​ ตํ ​ ปชหถ ​ ตํ ​ สมติกฺกมถ" ​ แปลว่า ​ "​ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เธอทั้งหลายอาศัย ​ อตัมมยตา ​ (หมายถึง ​ วุฏฐานคามินีวิปัสสนา) ​ มาถึง ​ อตัมมยตา ​ แล้ว ​ จงละอุเบกขาซึ่งมีความเป็นสภาวะเดียวอาศัยความมีอารมณ์เดียวนี้นั้นเสีย ​ จงก้าวข้ามอุเบกขาซึ่งมีความเป็นสภาวะเดียว ​ อาศัยความมีอารมณ์เดียวนี้นั้นไปเสีย" ​ ดังนี้'''​ 
- 
-2.    ตรัสเรียกไว้ใน ​ อลคัททูปมสูตร ว่า ​ "​นิพพิทา" ​ ด้วยพระดำรัสอย่างนี้ว่า 
- 
-'''"​นิพฺพินฺทํ ​ วิรชฺชติ, ​ วิราคา ​ วิมุจฺจติ" ​ แปลว่า ​ "​เมื่อเบื่อหน่าย ​ ก็คลายกำหนัด ​ เพราะปราศจากกำหนัด ​ ก็หลุดพ้นไป" ​ ดังนี้'''​ 
- 
-'''​3. ​   ตรัสเรียกไว้ใน ​ สุสิมสูตร ​ ว่า ​ "​ธัมมฐิติญาณ" ​ ด้วยพระดำรัสอย่างนี้ว่า ​ "​ปุพฺเพ ​ โข ​ สุสิม ​ ธมฺมฏฺฐิติญาณํ, ​ ปจฺฉา ​ นิพฺพาเน ​ ญิณํ" ​ แปลว่า ​ "​ดูก่อนสุสิมะ ​ ธัมมฐิติญาณ ​ เกิดก่อนแล ​ ญาณในพระนิพพานเกิดในภายหลัง" ​ ดังนี้ '''​ 
- 
-'''​4. ​   ตรัสเรียกไว้ใน ​ โปฏฐปาทสูตร ​ ว่า ​ "​สัญญัคคะ" ​ ด้วยพระดำรัสอย่างนี้ว่า ​ "​สญฺญา ​ โข ​ โปฏฺฐปาท ​ ปฐมํ ​ อุปฺปชฺชติ ​ ปจฺฉา ​ ญาณํ" ​ แปลว่า ​ "​ดูก่อนโปฏฐปาทะ ​ สัญญา ​ (สัญญคคะ) ​ แลเกิดก่อน ​ ญาณภายเกิดหลัง" ​ ดังนี้'''​ 
- 
-'''​5. ​   พระสารีบุตรเรียกไว้ใน ทสุตตสูตร ​ ว่า ​ "​ปาริสุทธิปธานิยังคะ ​ องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์" ​ ด้วยคำอย่างนี้ว่า ​ "​ปฏิปทาญาณ ​ ทสฺสนวิสุทฺธิ ​ ปาริสุทฺธิปธานิยงฺคํ ​ แปลว่า ​ "​ปาริสุทธิปธานิยังคะ ​ คือปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ" ​ ดังนี้'''​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 390)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​6. ​   กล่าวไว้ใน ​ ปฏิสัมภิทามรรค ​ โดย 3  ชื่ออย่างนี้ ​ "​มุญจิตุกัมยตาใด 1  ปฏิสังขานุปัสสนาใด 1  และสังขารุเปกขาใด 1  ธรรม(3 ​ อย่าง) ​ นี้ ​ มีความหมายอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นที่ต่างกัน" ​ ดังนี้'''​ 
- 
-'''​7. ​   ตรัสไว้ในคัมภีร์ ​ ปัฏฐาน ​ โดยชื่อ ​ 3  ชื่อ ​ ด้วยพระดำรัสอย่างนี้ว่า ​ "​อนุโลมํ ​ โคตฺรภุสฺส ​ อนุโลมํ ​ โวทานสฺส" ​ แปลว่า ​ "​อนุโลม ​     (ญาณ) ​ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่ ​ โคตรภู ​ (ญาณ) ​ อนุโลม(ญาณ) ​ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่โวทาน" ​ ดังนี้'''​ 
- 
-'''​8. ​   ท่านพระสารีบุตรเถระเรียกไว้ใน ​ รถวินีตสูตร ​ ว่า ​ "​ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ์" ​ ด้วยคำอย่างนี้ว่า ​ "​กี ​ ปนาวุโส ​ ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธตฺถํ ​ ภควติ ​ พฺรหฺมจริยํ ​ วุสฺสติ" ​ แปลว่า ​ อาวุโส ​ แต่ว่าท่านอยู่พรหมจรรย์ในพระผู้มี ​ พระภาคเจ้า ​ เพื่อปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ" ​ ดังนี้'''​ 
- 
-อิติเนเกหิ ​ นาเมหิ ​     กิตฺติตา ​ ยา ​ มเหสินา 
- 
-วุฏฐานคามินี ​ สนฺตา ​        ​ปริสุทฺธา ​ วิปสฺสนา. 
- 
-วุฏฐาตุกาโม ​ สํสาร- ​       ทุกฺขปงฺกา ​ มหพฺภยา 
- 
-กเรยฺย ​ สสตํ ​ ตติถ ​       โยคํ ​   ปณฺฑิตชาติโก. ​   ​ 
- 
-'''​แปลว่า'''​ 
- 
-วุฏฐานคามินีวิปัสสนาใด ​ ซึ่งสงบ ​ บริสุทธิ์ ​ พระมหาฤษี 
- 
-ทรงตรัสประกาศไว้โดยชื่อหลายดังกล่าวฉะนี้ท่านผู้มีชาติบัณฑิต 
- 
-ผู้ปรารถนาเพื่อออกไปจากทะเลตมคือสังสารทุกข์ซึ่งมีภัยใหญ่ 
- 
-หลวง ​ พึงทำโยคะเนืองๆ ในวุฏฐานคามินีวิปัสสนานั้นแล 
- 
-'''​ปริจเฉทที่ 21  ชื่อว่า ​ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส'''​ 
- 
-ในอธิการแห่งปัญญาภาวนา ​ ในปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรค 
- 
-อันข้าพเจ้าทำเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมทย์แห่งสาธุชน ​ ดังนี้ 
- 
-==ดูเพิ่ม== 
-*'''​[http://​www.84000.org/​tipitaka/​pitaka2/​sutta23.php ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค]'''​ 
-*'''​[[วิสุทธิมรรค ฉบับปรับสำนวน]] (สารบัญ)'''​