วิสุทธิมรรค_15_อายตนธาตุนิทเทส

ความแตกต่าง

นี่เป็นการแสดงความแตกต่างระหว่างเพจสองรุ่น

Link to this comparison view

วิสุทธิมรรค_15_อายตนธาตุนิทเทส [2020/06/27 16:27]
127.0.0.1 แก้ไขภายนอก
วิสุทธิมรรค_15_อายตนธาตุนิทเทส [2021/01/02 20:14]
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
-{{wst>​วสธมฉปส head| }} 
-{{wst>​วสธมฉปส sidebar}} 
-'''​ปริเฉทที่ 15 อายตนธาตุนิทเทส'''​ 
- 
-'''​อายตนะ 12'''​ 
- 
-'''​วินิจฉัยอายตนะ 6 วิธี'''​ 
- 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้า 72)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อายตนะ 12  คือ ​ จักขายตนะ ​ รูปายตนะ ​ โสตายตนะ ​ สัททายตนะ ​ ฆานายตนะ ​ คันธายตนะ ​ ชิวหายตนะ ​ รสายตนะ ​ กายายตนะ ​ โผฏฐัพพายตนะ ​ มนายตนะ ​ ธัมมายตนะ ​ ชื่อว่า ​ อายตนะทั้งหลาย 
- 
-'''​วินิจฉัยในอายตนะเหล่านั้น ​ บัณฑิตพึงทราบโดย'''​ 
- 
-'''​อรรถ ​ โดยลักษณะ ​ โดยความมีเพียงนั้น ​ โดยลำดับ'''  ​ 
- 
-'''​โดยสังเขป ​ และโดยพิสดาร ​ อนึ่ง ​ โดยเป็นสิ่งพึงเห็น'''​ 
- 
-'''​ด้วยแล'''​ 
- 
-'''​โดยอรรถ'''​ 
- 
-'''​แก้จักษุศัพท์เป็นต้น'''​ 
- 
-==อัตถะแห่งศัพท์== 
-===ปัจจัตตะปัจจัตตะ=== 
-ในบทเหล่านั้น ​ ว่าโดยอรรถ ​ (แห่งศัพท์) ​ ที่แปลกกันก่อน 
- 
-ธรรมชาติใดย่อมเห็น ​ เหตุนั้น ​ ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่าจักษุ ความ (แห่งศัพท์ว่า'''​จกฺขติ'''​ ย่อมเห็น) ว่าย่อมยินดี (ลิ้มรส) รูป และย่อมบอก (ให้รู้) รูป สิ่งใดย่อมแสดงสี เหตุนั้น สิ่งนั้นจึงชื่อว่า รูป ความ (แห่งศัพท์รูปยติ แสดงสี) ว่า ​ รูปเมื่อถึงความเปลี่ยนสีย่อมประกาศความในใจ 
- 
-ธรรมชาติใดย่อมได้ยิน เหตุนั้น ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่าโสตะ สิ่งใดถูก (ปัจจัยของตน) เลือก (ส่ง) ออกไป เหตุนั้น สิ่งนั้นจึงชื่อว่าสัททะ ​ ความ (แห่งศัพท์ว่า '''​สปฺปติ'''​ ถูกส่งออกไป) ว่าถูกเปล่งขึ้น (ให้เป็นสิ่งพึงรู้ได้ทางโสตะ) 
- 
-ธรรมชาติใดย่อมสูด (เอากลิ่น) ได้ ​ เหตุนั้น ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่าฆานะ สิ่งใดย่อมฟุ้งไปได้ เหตุนั้น สิ่งนั้นจึงชื่อว่าคันธะ (กลิ่น) ความ (แห่งศัพท์ว่า '''​คนฺธยติ'''​ ย่อมฟุ้งไป) ว่า สิ่งที่อยู่ของตน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้า 73)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ธรรมชาติใดย่อมเรียกชีวิต ​ เหตุนั้น ​ ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่าชิวหา ​ สัตว์ทั้งหลายย่อมชอบใจซึ่งวิสัยนั้น ​ เหตุนั้นวิสัยนั้นจึงชื่อว่ารส ​ (วิสัยเป็นที่ชอบใจแห่งสัตว์ทั้งหลาย) ​ ความ ​ (แห่งศัพท์ว่า ​ '''​รสนฺติ''' ​ ชอบใจ) ​ ว่ายินดี ​ (รู้สึกอร่อย) 
- 
-ธรรมที่ชื่อว่ากาย ​ เพราะเป็นอายะ ​ (ที่มา) ​ แห่งกุจฉิตธรรม ​ (ธรรมเลว) ​ คือสาสวธรรม ​ (ธรรมที่เป็นไปกับอาสวะ) ​ ทั้งหลาย ​ คำว่า ​ '''​อายะ''' ​ (ที่มา) ​ ได้แก่ที่เกิด 
- 
-สิ่งใดถูกต้องได้ ​ (ด้วยกาย) ​ เหตุนั้น ​ สิ่งนั้น ​ จึงชื่อว่าโผฏฐัพพะ 
- 
-สภาพใดย่อมรู้ ​ เหตุนั้น ​ สภาพนั้นจึงชื่อว่ามนะ ​ สภาพทั้งหลายใดย่อมทรงไว้ ​ ซึ่งลักษณะของตน ​ เหตุนั้น ​ สภาพทั้งหลายนั้นจึงชื่อว่าธรรม 
- 
-===ราสิปัจจัตตะ=== 
- 
-แต่ ​ (เมื่อว่า) ​ โดยไม่แปลกกัน ​ พึงทราบว่าทวารและอารมณ์มีจักษุและรูปเป็นต้น ​ นั้นได้ชื่อว่าอายตนะ ​ เพราะเป็นที่สืบต่อ 1  เพราะแผ่อายตนะทั้งหลาย 1  และนำอายตนะไป 1 
- 
-(อรรถนัยที่ 1  คือ ​ '''​อายตนโต''' ​ เพราะเป็นที่สืบต่อ) ​ มีอธิบายว่า ​ ก็จิตและเจตสิกธรรมทั้งหลาย ​ ย่อมสืบต่อ ​ คือหมั่นเพียรพยายามไปตามกิจ ​ (คือหน้าที่) ​ ของตน ๆ  มีการเสวย ​ (รสอารมณ์) ​ เป็นอาทิในทวารและอารมณ์นั้น ๆ  มีจักขุและรูปเป็นต้น ​ (เพราะเหตุนั้น ​ ทวารและอารมณ์นั้น ๆ จึงชื่อว่า '''​อายตนะ''' ​ แปลว่า ​ เป็นที่สืบต่อแห่งจิตและเจตสิกธรรมทั้งหลาย) 
- 
-(อรรถนัยที่ 2  คือ ​ '''​อายานํ ​ ตนนโต''' ​ เพราะแผ่อายะทั้งหลาย) ​ มีอธิบายว่า ​ ก็แลทวารและอารมณ์ทั้งหลายนั้น ​ ย่อมแผ่ ​ คือขยาย ​ (จิตเจตสิก) ​ ธรรมเหล่านั้นอันเป็นอายตนะ ​ (ผู้มา) ​ เพราะเหตุนั้น ​ ทวารและอารมณ์เหล่านั้นจึงชื่อว่า อายตนะ ​ แปลว่า ​ แผ่ขยายอายตนะ ​ คือ ​ จิต ​ และเจตสิกธรรม 
- 
-(อรรถนัยที่ 3  '''​อายตนสฺส ​ นยนโต''' ​ เพราะนำอายตนะไป) ​ มีอธิบายว่า ​ ก็ทวารและอารมณ์ทั้งหลายนั้นยังไม่กลับ ​ (คือยังไม่ดับ) ​ เพียงใด ​ ก็ย่อมนำไปคือยังสังสารทุกข์ ​ อันนำไปในสงสาร ​ ซึ่งมีเบื้องต้น ​ เบื้องปลายรู้ไม่ได้ ​ เป็นอายตนะ ​ (คือยึดเยื้อ) ​ ยิ่งนักอยู่แล้ว ​ ให้เป็นไปอยู่นั่นเพียงนั้น ​ (เพราะเหตุนั้น ​ ทวารและอารมณ์ทั้งหลายนั้น ​ จึงชื่อว่าอายตนะ ​ แปลว่า ​ นำอายตนะคือสังสารทุกข์อันยืดเยื้ออยู่แล้วไป) 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้า 74)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ธรรมทั้งปวงนี้ ​ ได้ชื่อว่าอายตนะ ​ เพราะเป็นที่สืบต่อ ​ (แห่งจิตและเจตสิก) 1  เพราะแผ่อายตนะ ​ (คือจิตและเจตสิกที่มาในทวารและอารมณ์นั้นๆ) 1  เพราะนำอายตนะ ​ (คือสังสารทุกข์อันยืดเยื้ออยู่แล้ว) ไป 1  โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้ 
- 
-===ประมวลอัตถะของอายตนศัพท์=== 
- 
-อีกนัยหนึ่ง ​ อายตนะ ​ (ศัพท์) ​ พึงทราบโดยอรรถว่าเป็นสถานที่อยู่ 1  โดยอรรถว่าเป็นบ่อเกิด 1  โดยอรรถว่าเป็นที่ชุมนุม 1  โดยอรรถว่าเป็นถิ่น ​ (หรือแหล่ง) ​ กำเนิด 1 โดยอรรถว่าเป็นเหตุ 1 
- 
-จริงอย่างนั้น ​ สถานที่อยู่ ​ เรียกว่า ​ อายตนะ ​ (ได้) ​ ในคำว่า ​ '''​อิสฺสรายตน''' ​ ศาลพระอิศวร ​ '''​วาสุเทวายตนํ''' ​ ศาลพระวาสุเทพ ​ เป็นต้น ​ ส่วนในพระศาสนานี้ ​ สถานเป็นที่ชุมนุม ​ ก็เรียกอายตนะ ​ (ได้) ​ ในคำว่า ​ '''​สุวณฺณายตนํ''' ​ บ่อทอง ​ '''​รตนายตนํ''' ​ บ่อแก้ว ​ (เพชรพลอย) ​ เป็นต้น ​ ส่วนในพระศาสนานี้ ​ สถานเป็นที่ชุมนุม ​ ก็เรียกอายตนะ ​ (ได้) ​ ในคำว่า ​ '''​มโนรเม ​ อายตเน ​ เสวนฺติ ​ นํ ​ วิหฺงคมา''' ​ ฝูงลิงในอรัญอันเป็นที่ชุมนุมที่น่ารื่นรมณ์ใจย่อมเสพต้นไม้ใหญ่นั้น ​ เป็นต้น ​ ถิ่น ​ (หรือแหล่ง) ​ ดำเนิน ​ ก็เรียกว่าอายตนะ ​ (ได้) ​ ในคำว่า ​ '''​ทกฺขิณาปโถ ​ คุนฺนํอายตนํ''' ​ ประเทศทักขิณาบถ ​ (แถบใต้) ​ เป็นถิ่นกำเนิดแห่งโคทั้งหลายเป็นต้น ​ ก็เรียกว่าอายตนะ ​ (ได้) ​ ในคำว่า ​ '''​ตตฺร ​ ตเตฺรว ​ สกฺขิภพฺพตํ ​ ปาปุณาติ ​ สติ ​ สติ ​ อายตเน''' ​ เมื่อเหตุอยู่ ​ เป็นอยู่ ​ ภิกษุนั้นย่อมถึงความเป็นผู้อาจทำให้ประจักษ์ในธรรมนั้น ๆ  ทีเดียว ​ เป็นต้น 
- 
-อีกปริยายหนึ่ง ​ จิตและเจตสิกธรรมนั้น ๆ ก็ ​ (เป็นเหมือน) ​ อาศัยอยู่ในทวารและอารมณ์ทั้งหลายมีจักขุเป็นต้น ​ เพราะมีความเป็นไปเนื่องกับจักขุเป็นต้นนั้น ​ เหตุนั้น ​ ทวารและอารมณ์มีจักขุเป็นต้น ​ จึงได้ชื่อว่า ​ เป็นที่อยู่แห่งจิตเจตสิกเหล่านั้นประการ 1 
- 
-อนึ่ง ​ จิตเจตสิกเหล่านั้น ​ (เป็นเหมือน) ​ เกลื่อนกล่นอยู่ในจักขุเป็นต้น ​ เพราะอาศัยจักขุเป็นต้นนั้น ​ (เป็นทวาร) ​ และเพราะมีรูปเป็นต้นนั้นเป็นอารมณ์ ​ เหตุนั้น ​ ทวารและอารมณ์มีจักขุเป็นต้น ​ จึงได้ชื่อว่าเป็นบ่อเกิดแห่งจิตและเจตสิกเหล่านั้นประการ 1 
- 
-ทวารและอารมณ์มีจักขุเป็นต้น ​ ได้ชื่อว่าเป็นที่ชุมนุมแห่งจิตและเจตสิกเหล่านั้น ​ เพราะ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้า ​ 75)''</​fs></​sub>​ 
- 
-(จิตและเจตสิกเหล่านั้นเป็นเหมือน) ​ ประชุมกันอยู่ในทวารและอารมณ์นั้น ๆ โดย ​ (มีจักขุเป็นต้นนั้น) ​ เป็นวัตถุ ​ (ที่ตั้งอยู่) ​ เป็นทวารและเป็นอารมณ์ประการ 1 
- 
-ทวารและอารมณ์มีจักขุเป็นต้น ​ ได้ชื่อว่า ​ เป็นแหล่งกำเนิดแห่งจิตและเจตสิกเหล่านั้น ​ เพราะ ​ (จิตและเจตสิกเหล่านั้น) ​ เกิดขึ้นแต่ในจักขุเป็นต้นนั้นเท่านั้น ​ โดยมีจักขุเป็นต้น ​ เป็นที่อาศัยและมีรูปเป็นต้นเป็นอารมณ์ประการ 1 
- 
-ทวารและอารมณ์มีจักขุเป็นต้น ​ ได้ชื่อว่าเป็นเหตุแห่งจิตและเจตสิกทั้งหลายนั้น ​ เพราะเมื่อทวารและอารมณ์เหล่านั้นไม่มี ​ (จิตและเจตสิก) ​ ก็ไม่มีประการ 1  ​ 
- 
-ธรรมทั้งหลาย ​ (มีจักขุและรูปเป็นต้น) ​ นั้นได้ชื่อว่าอายตนะ ​ โดยเหตุเหล่านี้คือ ​ โดยอรรถว่า ​ เป็นสถานที่อยู่ 1  โดยอรรถว่าเป็นบ่อเกิด 1  โดยอรรถว่าเป็นที่ชุมนุม 1  โดยอรรถว่าเป็นถิ่น ​ (หรือแหล่ง) ​ กำเนิด 1  โดยอรรถว่าเป็นเหตุ 1  โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้แล 
- 
-เพราะเหตุนั้น ​ วินิจฉัยในอายตนะเหล่านี้ ​ พึงทราบโดยอรรถอย่างนี้ก่อนว่า ​ จักขุนั้นเป็นอายตนะโดยอรรถตามที่กล่าวมาแล้วด้วย ​ เหตุนั้น ​ จึงชื่อว่าจักขายตนะ ​ ฯลฯ ​ ธรรมทั้งหลายด้วย ​ ธรรมเหล่านั้นเป็นอายตนะโดยอรรถตามที่กล่าวแล้วด้วย ​ เหตุนั้น ​ จึงชื่อว่าธัมมายตนะ 
- 
-==โดยลักษณะ== 
- 
-คำว่า ​ ลักษณะ ​ คือวินิจฉัยในอายตนะเหล่านี้ ​ พึงทราบโดยลักษณะแห่งจักขุเป็นต้นด้วย ​ ก็แลลักษณะทั้งหลายแห่งจักขุเป็นต้นเหล่านั้น ๆ  บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในขันธนิทเทสเถิด 
- 
-==โดยมีเพียงนั้น== 
- 
-คำว่า ​ '''​ตาวตวโต''' ​ คือ ​ '''​ตาวภาวโต''' ​ โดยความมีเพียงนั้น ​ พระพุทธาธิบายนี้มีอยู่ว่า ​ หากมีคำท้วงว่า ​ ก็ธรรมทั้งหลายมีจักขุเป็นอาทิก็คือธรรมนั่นแหละ ​ เมื่อเช่นนั้น เหตุไฉนจึงไม่ตรัสว่า ​ ธัมมายตนะ ​ แต่เท่านั้น ​ (แต่) ​ ตรัสอายตนะถึง 12  เล่า ​ คำเฉลยพึงมีว่า ​ เพราะในที่นี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้า ​ 76)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แยกเป็นทวารฝ่าย 1  เป็นอารมณ์ 1  แห่งกองวิญญาณ 6  โดยที่ทรงกำหนด ​ (จักขุและรูปเป็นต้นนั้นไว้) ​ เป็นอุปัตตติทวารและเป็นอารมณ์แห่งกองวิญญาณ 6  นี่เอง ​ เป็นความต่างแห่งธรรมเหล่านั้น ​ เพราะเหตุนี้จึงตรัสอายตนะถึง ​ 12  แท้จริง ​ จักขายตนะเท่านั้นเป็นอุปปัตติทวาร ​ และรูปายตนะเท่านั้นเป็นอารมณ์แห่งกองวิญญาณที่เนื่องในวิถีของจักขุวิญญาณฉันเดียวกันนั้น ​ อายตนะนอกนั้นก็เป็นอุปปัตติทวารและเป็นอารมณ์แห่งกองวิญญาณที่เนื่องในวิถีของจักขุวิญญาณนอกนี้ ​ แต่ว่าการกำหนด(อุปปัตติทวารและอารมณ์)แห่งกองวิญญาณที่ 6 (มโนวิญญาณ) มีเพียงส่วนหนึ่งแห่งมนายตนะ ที่เป็นอุปปัตติทวาร ได้แก่ ภวังคมนายตนะ, ​ และมีธัมมายตนะเป็นอารมณ์ไม่ทั่วไป ​ (แก่วิญาณอื่นมีจักขุวิญาณเป็นต้น) 
- 
-อายตนะ ​ 12  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยที่ทรงกำหนดไว้เป็นอุปปัตติทวารและเป็นอารมณ์แห่งกองวิญาณ 6  ดังนี้แล 
- 
-วินิจฉัยโดยความมีเพียงอย่างนั้น ​ ในอายตนะเหล่านี้ ​ บัณฑิตพึงทราบดังกล่าวมาฉะนี้ 
- 
-==โดยลำดับ== 
- 
-ข้อว่าโดยลำดับ ​ ความว่า ​ บรรดาลำดับทั้งหลาย ​ มีลำดับความเกิดเป็นต้นที่กล่าวในนิทเทสก่อน ​ แม้ในที่นี้ก็ลำดับการแสดงเท่านั้นแหละใช้ได้ ​ แท้จริงในเหล่าอายตนะภายในจักขายตนะเป็นอายตนะที่ปรากฏ ​ เพราะเป็นวิสัยที่เห็นได้และกระทบได้ ​ เหตุนี้จึงทรงแสดงเป็นข้อแรก ​ ต่อนั้นจึงทรงแสดงอายตนะที่เหลือมีโสตายตนะเป็นต้นซึ่งเป็นวิสัยที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ​ อีกนัยหนึ่ง ​ ในเหล่าอายตนะภายใน ​ จักขายตนะและโสตายตนะ ​ ทรงแสดงก่อนเพราะเป็นสิ่งมีอุปการะมาก ​ โดยความเป็นเหตุแห่งทัสสนานุตตริยะและสวนานุตตริยะ ​ ต่อนั้นจึงทรงแสดงอายตนะ 3  มีฆานายตนะเป็นอาทิ ​ มนายตนะทรงแสดงไว้ในที่สุดเพราะเป็นโคจรวิสัยแห่งอายตนะ 5  มีจักขายตนะเป็นต้น ​ ส่วนในเหล่าอายตนะภายนอก ​ อายตนะ ​ 6  มีรูปายตนะเป็นต้น ​ ทรงแสดงไว้เป็นลำดับแห่งอายตนะภายในนั้น ๆ  เพราะเป็นโคจรแห่งอายตนะภายในมีจักขายตนะเป็นต้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้า 77)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อีกอย่างหนึ่ง ​ ลำดับของอายตนะทั้งหลายนี้ ​ บัณฑิตพึงทราบโดยกำหนด ​ (แจกไปตามลำดับ) ​ เหตุเกิดแห่งวิญญาณก็ได้ ​ จริงอยู่คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสได้ไว้ว่า ​ "​อาศัยจักขุและรูปเกิดจักขุวิญญาณ ​ ฯลฯ ​ อาศัยมนะและธรรมทั้งหลาย ​ เกิดมโนวิญญาณ"​ ดังนี้ 
- 
-ก็แล ​ วินิจฉัยโดยลำดับในอายตนะเหล่านี้ ​ บัณฑิตพึงทราบดังกล่าวมาฉะนี้ 
- 
-==โดยสังเขปและโดยพิสดาร== 
- 
-ข้อว่า ​ '''​โดยสังเขปและโดยพิสดาร''' ​ ความว่า ​ "​เมื่อว่าโดยสังเขปอายตนะทั้ง ​ 12  ก็เป็นแต่นามรูปเท่านั้น ​ เพราะมนายตนะและธัมมายตนะเป็นส่วนหนึ่ง ​ สงเคราะห์เข้ากับนาม ​ และอายตนะที่เหลือนั้นสงเคราะห์เข้ากับรูป ​ แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร ​ (ว่า) ​ ในอายตนะภายในก่อน ​ จักขายตนะ ​ โดยชาติก็เป็นแต่จักขุปสาทเท่านั้น ​ แต่แตกออกไปเป็นปัจจัย ​ คติ ​ นิกาย ​ และบุคคล ​ ก็มีประเภทเป็นอนันต์ ​ อายตนะ ​ 4  มีโสตายตนะเป็นต้น ​ ก็อย่างนั้น ​ มนายตนะ ​ มี ​ 89 ประเภท ​ โดยแยกเป็นกุศลวิญญาณ ​ อกุศลวิญญาณ ​ วิปากวิญญาณ ​ และกิริยาวิญญาณ และ ​ (อีกอย่างหนึ่ง) ​ ถึง ​ 121  ประเภท ​ แต่เมื่อแยกเป็นวัตถุและปฏิปทาเป็นต้น ​ ก็มีประเภทเป็นอนันต์ 
- 
-รูปายตนะ ​ สัททายตนะ ​ คันธายตนะ และรสายตนะ ​ ก็มีประเภทเป็นอนันต์ ​ โดยแยกเป็น ​ (สภาค) ​ วิสภาคและปัจจัยเป็นต้น ​ โผฏฐัพพายตนะมี 3  ประเภท ​ ด้วยอำนาจแห่งปฐวีธาตุ ​ เตโชธาตุและวาโยธาตุ ​ (แต่) ​ โดยความแตกต่างแห่งปัจจัยเป็นต้น ​ ก็มีประเภทเป็นอเนก ​ ธรรมายตนะก็มีประเภทเป็นอเนก ​ โดยความแตกต่างแห่งสภาวะและความต่างกันแห่งเวทนาขันธ์ ​ สัญญาขันธ์ ​ สังขารขันธ์ ​ สุขุมขันธ์ สุขุมรูป ​ และนิพพาน"​ 
- 
-วินิจฉัยโดยสังเขปและโดยพิสดาร ​ บัณฑิตพึงทราบดังกล่าวมาฉะนี้ 
- 
-==โดยเป็นสิ่งพึงเห็น== 
- 
-ส่วนในข้อว่า ​ '''"​โดยเป็นสิ่งพึงเห็น"''' ​ นี้ ​ มีวินิจฉัยว่า ​ "​อายตนะทั้งหลาย ​ ที่เป็นสังขตะทั้งสิ้น ​ พึงเห็นด้วยความไม่มาและโดยความไม่จากไป ​ จริงอยู่ ​ อายตนะเหล่านั้น ​ ก่อนเกิดขึ้นก็มิได้มาแต่ที่ไหน ๆ  ทั้งเบื้องหน้าแต่เสื่อมไปก็มิได้ไปในที่ไหน ๆ  โดยที่แท้ ​ ก่อนเกิดขึ้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้า 78)''</​fs></​sub>​ 
- 
-มันก็ยังไม่ได้ ​ (มี) ​ สภาวะ ​ เบื้องหน้าแต่เสื่อมไป ​ มันก็เป็นสิ่งที่มีสภาวะอันแตกไปแล้ว ​ ในท่ามกลาง ​ (ระหว่าง) ​ ต้นกับปลายก็เป็นสิ่งไม่มีอำนาจเป็นไป ​ เพราะมีความเป็นไปเนื่องด้วยปัจจัย ​ เพราะเหตุนั้น ​ อายตนะเหล่านั้น ​ บัณฑิตพึงเห็นโดยความไม่มาและโดยความไม่จากไปเถิด 
- 
-นัยเดียวกันนั้น ​ พึงเห็นโดยไม่มีความดำริและโดยไม่มีความขวนขวาย ​ จริงอยู่ ​ ความดำริอย่างนี้ย่อมไม่มีแก่จักขุและรูปเป็นต้นว่า ​ "​โดยชื่อว่าวิญญาณพึงเกิดขึ้นในความพร้อมเพรียงของเราทั้งหลายเถิด" ​ ทั้งจักขุและรูปเป็นต้นเหล่านั้นไม่ดำริ ​ ไม่ถึงความขวนขวายโดยความเป็นทวารก็ดี ​ โดยความเป็นวัตถุก็ดี ​ โดยความเป็นอารมณ์ก็ดี ​ เพื่อให้วิญญาณเกิดขึ้น ​ ที่แท้มันเป็นธรรมดานี่เองที่วิญญาณทั้งหลายมีจักขุวิญญาณเป็นอาทิ ​ เกิดขึ้นได้เพราะความพร้อมเพรียงแห่งจักขุและรูปเป็นต้นแล ​ เพราะเหตุนั้น ​ อายตนะเหล่านั้น ​ บัณฑิตพึงเห็นโดยไม่มีความดำริและโดยไม่มีความขวนขวายเถิด 
- 
-อีกอย่างหนึ่ง ​ อายตนะภายในพึงเห็นเหมือนบ้านร้าง ​ เพราะปราศจากความยั่งยืน ​ ความงาม ​ ความสุข ​ และความเป็นตัวตน ​ อายตนะภายนอกพึงเห็นเหมือนโจรปล้นหมู่บ้าน ​ เพราะอายตนะภายนอกเหล่านั้นเป็นฝ่ายอภิฆาต ​ (กระทบ ​ เบียดเบียน) ​ ซึ่งอายตนะภายใน ​ สมพระบาลีว่า ​ "​ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ จักขุถูกรูปทั้งหลายทั้งที่น่าชอบใจ ​ และไม่น่าชอบใจ ​ เบียดเบียนเอา" ​ ดังนี้เป็นต้น ​ ความพิสดาร ​ บัณฑิตพึงทราบ ​ (ตามแนวพระบาลีนั้นเทอญ)  ​ 
- 
-อีกอย่างหนึ่ง ​ อายตนะภายใน ​ พึงเห็นเหมือนสัตว์ 6  จำพวก ​ อายตนะภายนอก ​ พึงเห็นเหมือนที่โคจรแห่งสัตว์ 6  จำพวกนั้น 
- 
-วินิจฉัยโดยเป็นสิ่งพึงเห็นในอายตนะเหล่านี้ ​ บัณฑิตพึงทราบดังกล่าวมาฉะนี้ 
- 
-นี่เป็นกถามุขอย่างพิสดารแห่งอายตนะทั้งหลาย ​ เป็นอันดับแรก 
- 
-=ธาตุนิทเทส 18= 
-==วินิจฉัยอายตนะ 7 วิธี== 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้า 79)''</​fs></​sub>​ 
- 
- 
-ส่วนธาตุอันกล่าวไว้ต่ออายตนะนั้นไป ​ มีวินิจฉัยว่า ​ ธาตุ ​ 18  คือ ​ จักขุธาตุ ​ รูปธาตุ ​ จักขุวิญญาณธาตุ ​ โสตธาตุ ​ สัททธาตุ ​ โสตวิญญาณธาตุ ​ ฆานธาตุ ​ คันธธาตุ ​ ฆานวิญญาณธาตุ 
- 
-ชิวหาธาตุ ​ รสธาตุ ​ ชิวหาวิญญาณธาตุ ​ กายธาตุ ​ โผฏฐัพพธาตุ ​ กายวิญญาณธาตุ ​ มโนธาตุ ​ ธัมมธาตุ ​ มโนวิญญาณธาตุ ​ ชื่อว่าธาตุทั้งหลาย 
- 
-'''​วินิจฉัยในธาตุเหล่านั้น ​ บัณฑิตพึงทราบโดยอรรถ'''​ 
- 
-'''​โดยลักษณะเป็นต้น ​ โดยลำดับ ​ โดยความมีเพียงนั้น'''  ​ 
- 
-'''​โดยความนับ ​ (จำนวน) ​ โดยปัจจัย ​ และโดยเป็นสิ่งพึงเห็น'''​ 
- 
-==โดยอัตถะแห่งศัพท์== 
- 
-ในข้อเหล่านั้น ​ ข้อว่า ​ '''​โดยอรรถ''' ​ ความว่า ​ วินิจฉัยโดยอรรถความแปลกกันแห่งจักขุศัพท์ เป็นต้น ​ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยเช่นว่า ​ "​ธรรมชาติใดย่อมบอก ​ เหตุนั้น ​ ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า ​ จักขุ ​ สิ่งใดย่อมแสดงสี ​ เหตุนั้นสิ่งนั้นจึงชื่อว่ารูป ​ ความรู้แจ้งแห่งจักขุชื่อว่าจักขุวิญญาณ" ​ ดังนี้เป็นต้นก่อน ​ ส่วนว่าวินิจฉัยโดยอรรถที่ไม่แปลกกัน ​ พึงทราบดังนี้ 
- 
-ธรรมใดย่อมจัด ​ (ทำทุกข์ให้เกิดขึ้น) ​ เหตุนั้น ​ ธรรมนั้นจึงชื่อว่าธาตุ ​ (แปลว่าธรรมผู้จัดขึ้น) ​ หรือว่า ​ ธรรมทั้งหลายใด ​ อันสัตว์ทั้งหลายทรงไว้ ​ (คือถือไว้) ​ เหตุนั้น ​ ธรรมทั้งหลายนั้น ​ จึงชื่อว่าธาตุ ​ (แปลว่า ​ ธรรมที่สัตว์ทรงไว้) 
- 
-หรือว่า ​ วิธาน ​ การตั้งไว้ ​ (คือกฏเกณฑ์) ​ ชื่อว่าธาตุ 
- 
-หรือว่า ​ ทุกข์ ​ อันสัตว์ทั้งหลายทรงไว้ ​ (คือถือไว้) ​ ด้วยธรรมชาตินั้น ​ (เป็นเหตุ) ​ เหตุนั้นธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่าธาตุ ​ แปลว่า ​ ธรรมชาติเป็นเหตุทรง ​ (ทุกข์) ​ ไว้ ​ แห่งสัตว์ทั้งหลาย 
- 
-หรือว่า ​ ทุกข์ ​ อันสัตว์ทั้งหลายทรงไว้ ​ (คือตั้งไว้) ​ ในธรรมชาตินั่น ​ เหตุนั้น ​ ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า ​ ธาตุ ​ (แปลว่า ​ ธรรมชาติเป็นที่อันสัตว์ทรง ​ (ทุกข์) ไว้) 
- 
-จริงอยู่ ​ ธาตุทั้งหลายที่เป็นโลกิยะ ​ เป็นสิ่งที่ธรรมดากำหนดไว้โดยความเป็นตัวมูลเหตุย่อมจัดแจงสังสารทุกข์ขึ้นเป็นอเนกประการดุจธาตุ ​ (แร่) ​ ทั้งหลาย ​ มีธาตุทอง ​ ธาตุเงิน ​ เป็นอาทิ ​ จัดสรรโลหะมีทองและเงินเป็นต้นขึ้น ​ ฉะนั้น 
- 
-อนึ่ง ​ โลกิยธาตุทั้งหลายนั้นอันสัตว์ทั้งหลายทรงไว้ ​ หมายความว่า ​ (ยึด) ​ ถือไว้ ​ ดุจภาระ ​ (ของหนัก) ​ อันคนทั้งหลายผู้นำภาระถือ ​ (แบกหาม) ​ ไป ​ ฉะนั้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้า 80)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อนึ่ง ​ โลกิยธาตุนั้น ​ เป็นแต่ทุกขวิธาน ​ (กฏเกณฑ์แห่งทุกข์) ​ เท่านั้น ​ เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ ​ (ของใคร) 
- 
-อนึ่ง ​ สังสารทุกข์ ​ อันสัตว์ทั้งหลายตาม ​ (ยึด) ​ ถือไว้ ​ ก็ด้วยธาตุทั้งหลายนั่นเป็นเหตุ 
- 
-อนึ่ง ​ สังสารทุกข์นั้นที่ถูกจัดไว้อย่างนั้น ​ สัตว์ทั้งหลายก็ทรงไว้ ​   หมายความว่าตั้งไว้ในธาตุทั้งหลายนั่นแล 
- 
-ในธรรมทั้งหลายมีจักขุเป็นต้น ​ ธรรมแต่ละข้อทรง ​ เรียกว่า ​ ธาตุ ​ ก็ด้วยอำนาจแห่งความหมาย มีความหมายว่า ​ '''​วิทหติ'''​ – จัดขึ้น ​ '''​วิธียเต'''​ – อันสัตว์ทรงไว้ ​ เป็นต้น ​ ตามความที่เป็นไปดังกล่าวมาฉะนี้ 
- 
-อีกนัยหนึ่ง ​ ธาตุที่หาเหมือนอัตตาของพวกเดียรถีย์ซึ่งมิได้มีอยู่โดยสภาวะไม่ ​ แต่ธาตุนี้ ​ ได้ชื่อว่าธาตุ ​ เพราะทรงไว้ซึ่งสภาวะของตน 
- 
-อนึ่ง ​ เสลาวยวะ ​ (ชิ้นหิน) ​ ทั้งหลายมีหรดาลและมโนศิลาเป็นต้น ​ อันวิจิตร ​ (แปลก ๆ)  ในโลกก็เรียกว่าธาตุ ​ ฉันใด ​ แม้ธาตุทั้งหลายนี้ ​ ก็เหมือนธาตุทั้งหลายนั่น ​ เพราะมันก็เป็นอวัยวะแห่งความรู้และสิ่งที่ควรรู้ ​ อันวิจิตร ​ ฉันนั้นแล ​ หรือเปรียบเหมือนสมญาว่าธาตุย่อมมีได้ในโกฏฐาสะทั้งหลาย ​ อันกำหนดลักษณะต่างกันและกัน ​  ​เช่น ​ รสและโลหิตเป็นต้น ​ ซึ่งเป็นอวัยวะแห่งกลุ่มกล่าวคือสรีระ ​ ฉันใด ​ สมญาว่าธาตุ ​ ก็พึงทราบ ​ (ว่ามิได้) ​ แม้ในอวัยวะทั้งหลายแห่งอัตภาพกล่าวคือขันธ์ 5  นี่ ​ ฉันนั้น ​ เพราะอวัยวะมีจักขุเป็นต้นนั่นก็กำหนดลักษณะต่างกันและกันได้ผล 
- 
-อีกอย่างหนึ่ง ​ คำว่า ​ ธาตุ ​ นั่นเป็นคำเรียกสภาวะที่เป็นนิรชีพ ​ (ไม่มีชีพ) ​ เท่านั้นเอง ​ จริงอย่างนั้น ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงทำธาตุเทศนาเพื่อถอนชีวสัญญา ​ (ความสำคัญว่าชีพ) ​ ไว้ในพระบาลีว่า ​ "​ดูกรภิกษุ ​ บุรุษนี้มีธาตุ 6" ​ ดังนี้เป็นอาทิแล 
- 
-เพราะเหตุนั้น ​ โดยอรรถตามที่กล่าวมา ​ (บัณฑิตพึงทราบวิเคราะห์ว่า) ​ จักขุนั้นด้วยเป็นธาตุด้วย ​ จึงชื่อว่าจักขุธาตุ ​ จึงชื่อว่าจักขุธาตุ ​ ฯลฯ ​ มโนวิญญาณด้วย ​ มโนวิญญาณนั้นเป็นธาตุด้วย ​ จึงชื่อว่า ​ มโนวิญญาณธาตุแล 
- 
-วินิจฉัยโดยอรรถในธาตุเหล่านั้น ​ บัณฑิตพึงทราบดังกล่าวมาฉะนี้ ​ เป็นอันดับแรก 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 81)''</​fs></​sub>​ 
- 
-==โดยลักษณะเป็นต้น== 
- 
-ข้อว่า ​ '''​โดยลักษณะเป็นต้น'''​ ความว่า ​ วินิจฉัยโดยลักษณะ ​ เป็นต้นแห่งธาตุมีจักขุเป็นอาทิในนิทเทสนี้ ​ บัณฑิตก็พึงทราบด้วย ​ ก็แต่ว่าลักษณะเป็นต้นแห่งธาตุทั้งหลายนั้น ​ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในขันธนิทเทสเถิด ​ 
- 
-==โดยลำดับ== 
- 
-ข้อว่า ​ '''​โดยลำดับ''' ​ ความว่า ​ แม้ในที่นี้ ​ บรรดาลำดับทั้งหลาย ​ มีลำดับแห่งความเกิดเป็นต้น ​ ที่กล่าวแล้วในนิทเทสก่อน ​ ก็ลำดับแห่งการแสดงเท่านั้นใช้ได้ ​ ก็แลลำดับแห่งการแสดงนี้นั้น ​ ท่านกล่าวโดยกำหนดลำดับแห่งเหตุและผล ​ จริงอยู่ ​ ธาตุทั้ง 2  นี้คือจักขุธาตุ ​ และรูปธาตุเป็นเหตุ ​ ธาตุ 1  คือจักขุวิญญาณเป็นผล ​ ลำดับอย่างนี้ ​ บัณฑิตพึงทราบในธาตุที่เหลือทั้งปวง 
- 
-==โดยความมีเพียงนั้น== 
- 
-คำว่า ​ '''​ตาวตวโต''' ​ คือ ​ '''​ตาวภาวโต'''​ -  โดยความมีเพียงนั้น ​ พระพุทธาธิบายนี้ ​ มีอยู่ว่าหากมีคำท้วงว่า ​ "​ก็แม้ธาตุทั้งหลายอื่น ​ เช่น ​ อาภาธาตุ ​ สุภธาตุ ​ อากาสานัญจายตนธาตุ ​ วิญญานัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ ​ สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ ​ กามธาตุ ​ พยาปาทธาตุ ​ วิหิงสาธาตุ ​ เนกขัมมธาตุ ​ อัพยาปาทธาตุ ​ อวิหิงสาธาตุ ​ สุขธาตุ ​ ทุกขธาตุ ​ โสมนัสสธาตุ ​ โทมนัสสธาตุ ​ อุเปกขาธาตุ ​ อวิชชาธาตุ ​ อารัมภธาตุ ​ นิกกมธาตุ ​ ปรักกมธาตุ ​ หีนธาตุ ​ มัชฌิมธาตุ ​ ปณีตธาตุ ​ ปฐวีธาตุ ​ อาโปธาตุ ​ เตโชธาตุ ​ วาโยธาตุ ​ อากาสธาตุ ​ วิญญาณธาตุ ​ สังขตธาตุ ​ อสังขตธาตุ ​ โลกมีธาตุเป็นอเนก ​ มีธาตุต่าง ๆ ดังนี้เป็นต้น ​ ก็ปรากฏอยู่ในบางที่แห่งพระสูตรและพระอภิธรรมนั้น ๆ เมื่อเป็นอย่างนี้ ​ เหตุไฉน ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงทำปริจเฉท ​ (กำหนดจัดเข้าเป็นหมวด) ​   โดยอำนาจแห่งธาตุทั้งสิ้น ​ มาทรงทำปริจเฉทแต่ว่าธาตุ 18  เหล่านี้เล่า" ​ ดังนี้ไซร้ ​ คำเฉลยพึงมีว่า ​ "​เพราะธาตุทั้งปวงอันมีอยู่โดยสภาวะ ​ ก็ตกอยู่ภายในธาตุ 18  นั้นแล้ว"​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 82)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แท้จริง ​ อาภาธาตุ ​ ก็คือรูปธาตุ ​ ส่วนสุภธาตุก็เนื่องอยู่ในรูปธาตุเป็นต้น ​ เพราะอะไร ? เพราะสุภธาตุก็คือสุภนิมิต ​ จริงอยู่ ​ สุภธาตุคือสุภนิมิต ​ และสุภนิมิตนั้นพ้นไปจากรูปเป็นต้นหามีไม่ ​ นัยหนึ่ง สุภธาตุก็คือธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้นที่เป็นอารมณ์แห่งกุศลวิบาก ​ เพราะเหตุนั้น ​ สุภธาตุนั้น ​ ก็คือรูปธาตุเป็นต้นเท่านั้นเอง 
- 
-จิตในอรูปธาตุ 4  มีอากาสานัญจายตนธาตุเป็นต้น ​ ก็เป็นมโนวิญญาณธาตุ ​ ธรรมทั้งหลายที่เหลือเป็นธัมมธาตุ ​ ส่วนสัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ ​ ไม่มีโดยสภาวะ ​ เพราะสัญญาเวทยิตนิโรธธาตุนั้น ​ เป็นแต่ความดับแห่งธาตุ 2  (คือมโนวิญญาณธาตุและธัมมธาตุ) ​ เท่านั้น 
- 
-กามธาตุ ​ ก็เป็นแต่ธัมมธาตุ ​ ดังพระบาลีว่า ​ "​ในธาตุเหล่านั้นกามธาตุเป็นอย่างไร ? กามธาตุคือความคิด ความตรึก ​ ฯลฯ ​ ความดำริผิดอันเกี่ยวเนื่องด้วยกาม" ​ ดังนี้ ​ หรือมิฉะนั้น ​ ก็เป็นธาตุทั้ง 18  ดังพระบาลีว่า ​ "​เบื้องต่ำทำอเวจีนรกให้เป็นที่สุด ​ เบื้องสูงทำพวกเทพปรนิมมิตวสวัตดีไว้ภายในขันธ์ ​ ธาตุ ​ อายตนะ ​ รูป ​ เวทนา ​ สัญญา ​ สังขาร ​ วิญญาณ ​ ที่ท่องเที่ยวอยู่ในภพทั้งหลายนั่น ​ ที่เนื่องอยู่ในภพทั้งหลายนั่น ​ ในระหว่าง ​ (ที่กำหนด) นั้นอันใด ​ อันนี้เรียกว่า ​ กามธาตุ" ​ ดังนี้  ​ 
- 
-เนกขัมมธาตุ ​ เป็นธัมมธาตุแท้ ​ แม้จะเป็นมโนวิญญาณธาตุก็ได้เหมือนกัน ​ เพราะ ​ (มี) ​ บาลีว่า ​ "​ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลทั้งปวง ​ ชื่อว่าเนกขัมมธาตุ"​ 
- 
-พยาปาทธาตุ ​ วิหิงสาธาตุ ​ อัพยาปาทธาตุ ​ อวิหิงสาธาตุ ​ สุขธาตุ ​ ทุกขธาตุ ​ โสมนัสสธาตุ ​ โทมนัสสธาตุ ​ อุเปกขาธาตุ ​ อวิชชาธาตุ ​ อารัมภธาตุ ​ นิกกมธาตุ ​ และปรักกมธาตุ ​ ก็เป็น ​ ธัมมธาตุเหมือนกัน 
- 
-หีนธาตุ ​ มัชฌิมธาตุ ​ ปณีตธาตุ ​ ก็คือธาตุ ​ 18  นั่นเอง ​ จริงอยู่ ​ ธาตุมีจักขุธาตุ ​ เป็นต้น ​ ที่เลว ​ ก็เป็นหีนธาตุ ​ ที่ปานกลางและที่ประณีต ​ ก็เป็นมัชฌิมธาตุและปณีตธาตุ ​ แต่ ​ (เมื่อว่า) ​ โดยนิปริยาย ​ (สิ้นเชิง) ​ ธัมมธาตุและมโนวิญญาณธาตุทั้งหลายฝ่ายอกุศลจัดเป็นหีนธาตุ ​ ธาตุทั้งสอง ​ (นั้น) ​ ฝ่ายกุศลและอัพยากฤตที่เป็นโลกิยะ ​ มีจักขุธาตุเป็นต้น ​ จัดเป็นมัชฌิมธาตุ ​ ส่วนธัมมธาตุและมโนวิญญาณธาตุที่เป็นโลกุตตระ ​ จัดเป็นปณีตธาตุ 
- 
-ปฐวีธาตุ ​ เตโชธาตุ ​ และวาโยธาตุ ​ ก็ได้แก่โผฏฐัพพธาตุ ​ อาโปธาตุและอากาสธาตุจัดเป็นธัมมธาตุ ​ วิญญาณธาตุก็เป็นสังเขปแห่งวิญญาณธาตุ 7  มีจักขุวิญญาณเป็นต้นนั่นแหละ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 83)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ธาตุ ​ 17  และเอกเทสแห่งธัมธาตุ ​ เป็นสังขตธาตุ ​ ส่วนอสังขตธาตุ ​ ได้แก่ ​ เอกเทสแห่งธัมมธาตุอย่างเดียว 
- 
-ส่วนโลกที่เป็นอเนกธาตุและนานาธาตุ ​ ก็เป็นเพียงความแตกออกไป ​ (เป็นหลายอย่างต่างชนิด) ​ แห่งธาตุ 18  เท่านั้นเองแล 
- 
-พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธาตุแต่ 18  เพราะธาตุทั้งปวงอันมีอยู่โดยสภาวะ ​ ตกอยู่ภายในธาตุ 18  นั้นแล้ว ​ ดังกล่าวมาฉะนี้ 
- 
-อีกอย่างหนึ่ง ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธาตุแต่ 18  เพื่อถอนสัญญาของบุคคลจำพวกชีวสัญญี ​ (มีความสำคัญว่ามีชีวะ) ​ ในวิญญาณ ​ อันมีความรู้เป็นสภาพด้วย ​ จริงอยู่ ​ บุคคลจำพวกชีวสัญญีในวิญญาณ ​ อันมีความรู้เป็นสภาพ ​ มีอยู่ ​ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระพุทธประสงค์จะทรงประกาศความที่วิญญาณนั้นมีเป็นอเนก ​ โดยแตกออกเป็นจักขุวิญญาณธาตุ ​ โสตวิญญาณธาตุ ​ ฆานวิญญาณธาตุ ​ ชิวหาวิญญาณธาตุ ​ กายวิญญาณธาตุ ​ มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ ​ ดังกล่าวมานั้น ​ และความที่วิญญาณนั้นเป็นของไม่เที่ยง ​ เพราะมีความเป็นไปเนื่องอยู่ด้วยปัจจัยมีจักขุและรูปเป็นต้น ​ ทรงถอนชีวสัญญาอันนอนเนื่อง ​ (อยู่ในสันดาน) ​ มานานของบุคคลเหล่านั้นเสีย ​ จึงทรงประกาศธาตุ 18 
- 
-แถมอีกหน่อย ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธาตุแต่ 18  เท่านั้น ​ ก็ด้วยอำนาจแห่งอัชฌาสัยของสัตว์ที่จะพึงฝึกสอนได้ด้วยประการอย่างที่กล่าวมานั้นประการหนึ่ง ​ อนึ่งสัตว์เหล่าใดเป็นสัตว์จำพวกที่จะพึงฝึกสอนได้ด้วยเทศนาอันไม่ย่อและไม่พิสดารนัก ​ อันนี้ก็ด้วยอำนาจแห่งอัชฌาสัยของสัตว์จำพวกนั้นประการหนึ่ง 
- 
-'''​จริงอยู่ ​ ความมืด ​ ในหทัยของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย'''​ 
- 
-'''​อันเดชแห่งพระสัทธรรมของพระองค์กำจัดแล้ว ​ ย่อมถึง'''​ 
- 
-'''​ซึ่งความสลายไปโดยพลัน ​ ด้วยประการใด ๆ  พระองค์'''​ 
- 
-'''​ย่อมทรงประกาศธรรมโดยนัยสังเขปบ้าง ​ พิสดารบ้าง'''​ 
- 
-'''​ด้วยประการนั้น ๆ แล'''​ 
- 
-วินิจฉัยโดยความมีเพียงนั้นในธาตุทั้งหลายนั่น ​ บัณฑิตพึงทราบด้วยกล่าวมาฉะนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 84)''</​fs></​sub>​ 
- 
-==โดยการนับจำนวน== 
- 
-ข้อว่า ​ '''​โดยการนับ''' ​ (จำนวน) ​ ความว่า ​ อันดับแรก ​ จักขุธาตุ ​ ว่าโดยชาติก็ถึงซึ่งการนับว่าเป็นธรรมจำนวน 1  คือเป็นจักขุประสาท ​ โสตธาตุ ​ ฆานธาตุ ​ ชิวหาธาตุ ​ กายธาตุ ​ รูปธาตุ ​ สัททธาตุ ​ คันธธาตุ ​ และรสธาตุ ​ ก็อย่างนั้น ​ คือถึงซึ่งการนับว่าเป็นธรรมจำนวน 1  โดยเป็นโสตประสาทเป็นต้น ​ แต่โผฏฐัพพธาตุถึงซึ่งการนับว่าเป็นธรรมจำนวน 3  ด้วยอำนาจแห่ง ​ ปฐวีธาตุ ​ เตโชธาตุ ​ และวาโยธาตุ ​ จักขุวิญญาณธาตุ ​ ถึงซึ่งการนับว่าเป็นธรรมจำนวน 2  โดยเป็นกุศลวิปากวิญญาณและอกุศลวิปากวิญญาณ ​ โสตวิญญาณธาตุ ​ ฆานวิญญาณธาตุ ​ ชิวหาวิญญาณธาตุ ​ และกายวิญญาณธาตุ ​ ก็อย่างนั้น ​ ส่วนมโนธาตุถึงซึ่งการนับว่าเป็น ​ ธรรมจำนวน 3  โดยเป็นปัญจทวาราวัชชนะ ​ กุศลวิปากวิญญาณ ​ อกุศลวิบาก ​ และสัมปฏิจฉนะ ​ ธัมมธาตุถึงซึ่งการนับว่าเป็นธรรมจำนวน 20  ด้วยอำนาจแห่งอรูปขันธ์ 3  สุขุมรูป 16  และอสังขตธาตุ ​ มโนวิญญาณถึงซึ่งการนับว่าเป็นธรรมจำนวน 76  ด้วยอำนาจแห่งกุศลวิญญาณ ​ อกุศลวิญญาณและอัพยากฤตวิญญาณที่เหลือแล 
- 
-วินิจฉัยแม้โดยการนับ ​ (จำนวน) ​ ในธาตุทั้งหลายนั้น ​ บัณฑิตพึงทราบดังกล่าวมาฉะนี้ 
- 
-==โดยปัจจัย== 
- 
-ในข้อว่า ​ '''​ปัจจัย''' ​ นี้มีวินิจฉัยว่า ​ ก่อนอื่น ​ จักขุธาตุเป็นปัจจัยโดยปัจจัย 6  คือเป็น ​ วิปยุตปัจจัย 1  ปุเรชาตปัจจัย 1  อัตถิปัจจัย 1  อวิคตปัจจัย 1  นิสสยปัจจัย 1  อินทริยปัจจัย 1 รูปธาตุเป็นปัจจัยโดยปัจจัย 4 คือเป็นปุเรชาตปัจจัย 1 อัตถิปัจจัย 1 อวิคตปัจจัย 1  อารัมมณปัจจัย 1  แก่จักขุวิญญาณธาตุ ​ ธาตุที่เหลือ ​ (อีก 4 คู่) ​ มีโสตธาตุ ​ และสัททธาตุเป็นต้น ​ ก็เป็นปัจจัยแก่วิญญาณธาตุที่เหลือ ​ มีโสตวิญญาณธาตุเป็นอาทิอย่างนั้น ​ ส่วนอาวัชชนมโนธาตุเป็นปัจจัยโดยปัจจัย 5  คือเป็นสมนันตรปัจจัย 1  อนันตรปัจจัย 1  นัตถิปัจจัย 1  วิคตปัจจัย 1  อนันตรูปนิสสยปัจจัย 1  แก่วิญญาณธาตุทั้ง 5  นั้น ​ วิญญาณธาตุทั้ง 5  นั้นเล่าก็เป็นปัจจัยแก่สัมปฏิจฉนมโนธาตุ ​ ฉันเดียวกันนั้น ​ สัมปฏิจฉนมโนธาตุ ​ ก็เป็นปัจจัยแก่สันตีรณมโนวิญญาณธาตุ ​ สันตีรณมโนวิญญาณธาตุนั้นเล่า ​ ก็เป็นปัจจัย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 85)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แก่โวฏฐัพพนมโนวิญญาณธาตุ ​ โวฏฐัพพนมโนวิญญาณธาตุเล่า ​ ก็เป็นปัจจัยแก่ชวนมโนวิญญาณธาตุ ​ ส่วนชวนมโนวิญญาณธาตุก็เป็นปัจจัยโดยปัจจัย 6  คือโดยปัจจัย 5  นั้น ​ และเป็นอาเสวนปัจจัยแก่ชวนมโนวิญญาณธาตุเป็นลำดับ ๆ ไป ​ นี่เป็นนัยในปัญจทวารก่อน ​ ส่วนในมโนทวาร ​ ภวังคมโนวิญญาณธาตุ ​ เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนมโนวิญญาณธาตุ ​ และอาวัชชนมโนวิญญาณธาตุก็เป็นปัจจัยแก่ชวนมโนวิญญาณธาตุ ​ โดยปัจจัย 5  (มีสมนันตรปัจจัยเป็นต้น) ​ ที่กล่าวมาก่อนนั่นแล ​ ส่วนธัมมธาตุเป็นปัจจัยมากอย่างโดยปัจจัยเป็นต้นว่า ​ สหชาตปัจจัย ​ อัญญมัญญปัจจัย ​ นิสสยปัจจัย ​ สัมปยุตปัจจัย ​ อัตถิปัจจัย ​ อวิคตปัจจัย ​ แห่งวิญญาณธาตุทั้ง 7  ส่วนธาตุทั้งหลาย ​ (17)  มีจักขุธาตุเป็นต้น ​ และธัมมธาตุบางอย่าง ​ เป็นปัจจัยแม้โดยปัจจัยมีอารัมมณปัจจัยเป็นต้นแก่มโนวิญญาณธาตุบางอย่าง ​ อนึ่ง ​ ใช่แต่จักขุและรูปเป็นต้นเท่านั้น ​ เป็นปัจจัยแห่งจักขุวิญญาณธาตุเป็นอาทิก็หาไม่ ​ ที่แท้แม้สิ่งอื่นมีแสงสว่างเป็นต้น ​ ก็เป็นปัจจัยด้วย ​ เพราะเหตุนั้น ​ บุรพาจารย์ทั้งหลาย ​ จึงกล่าวไว้ว่า ​ "​อาศัย ​ จักษุ ​ รูป ​ แสงสว่าง ​ และมนสิการ ​ (คืออาวัชชนะ) ​ เกิดจักขุวิญญาณขึ้น ​  ​อาศัยโสตะ ​ เสียง ​ ช่อง (หู) ​ และมนสิการ ​ เกิดโสตวิญญาณขึ้น ​ อาศัยฆานะ ​ กลิ่น ​ ลม ​ และมนสิการ ​ เกิดฆานวิญญาณขึ้น ​ อาศัยชิวหา ​ รส ​ น้ำ ​ (ลาย) ​ และมนสิการ ​ เกิดชิวหาวิญญาณขึ้น ​ อาศัยกายโผฏฐัพพะ ​ ปฐวี ​ และมนสิการ ​ เกิดกายวิญญาณขึ้น ​ อาศัยภวังคมนะ ​ (คือภวังคจิต ​ ที่ไหวแล้ว 2  ครั้ง) ​ ธรรมและมนสิการเกิดมโนวิญญาณขึ้น" ​ ดังนี้ 
- 
-นี่เป็นความสังเขปในข้อว่า ​ ปัจจัยนี้ ​ ส่วนประเภทปัจจัยโดยพิสดาร ​ จักมีแจ้งในนิทเทส ​ แห่งปฏิจจสมุปบาท ​ วินิจฉัยแม้โดยปัจจัยธาตุทั้งหลายนั่น ​ บัณฑิตพึงทราบดังกล่าวมาฉะนี้ 
- 
-==โดยเป็นสิ่งพึงเห็น== 
- 
-ข้อว่า ​ '''​โดยเป็นสิ่งพึงเห็น''' ​ ความว่า ​ อนึ่ง ​ พึงทราบวินิจฉัยโดยเป็นสิ่งพึงเห็นในธาตุทั้งหลายนั่น ​ แท้จริง ​ สังขตธาตุทั้งหมดเทียว ​ บัณฑิตพึงเห็นโดยความเป็นของว่างจากส่วนเบื้องต้น ​ (คืออดีต) ​ และส่วนเบื้องปลาย ​ (คืออนาคต) ​ โดยความเป็นของเปล่าจากความยั่งยืน ความงาม ​ ความสุข ​ ความเป็นตนและโดยมีความเป็นไปเนื่องด้วยปัจจัย ​ แต่ ​ (เมื่อว่า) ​ โดยความแปลกกันในธาตุทั้งหลายนั้น ​ จักขุธาตุพึงเห็นเหมือนหน้ากลอง ​ รูปธาตุเหมือนไม้ ​ (ตีกลอง) ​ จักขุวิญญาณธาตุเหมือนเสียง ​ (กลอง) ​ โดยนัยอย่างนั้น ​ จักขุธาตุเหมือนหน้าแว่น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 86)''</​fs></​sub>​ 
- 
-(สองหน้า) ​ รูปธาตุเหมือนหน้าจักขุวิญญาณธาตุเหมือนเงาหน้า อีกนัยหนึ่ง ​ จักขุธาตุเหมือน ​ (ท่อน) ​ อ้อยและเมล็ดงา ​ รูปธาตุเหมือนเครื่องบีบอ้อยและไม้บีบงา ​ จักขุวิญญาณธาตุเหมือนน้ำอ้อยและน้ำมันงา ​ นัยเดียวกันนั้น ​ จักขุธาตุเหมือนไม้สีไฟอันล่าง ​ รูปธาตุเหมือนไม้สีไฟ ​ อันบน จักขุวิญญาณธาตุเหมือนไฟ ​ ในธาตุที่เหลือ 4  มีโสตธาตุเป็นต้น ​ ก็นัยนี้ ​ ส่วนมโนธาตุ ​ พึงเห็นเหมือนปุเรจร ​ (ผู้นำหน้า) ​ และอนุจร ​ (ผู้ตามหลัง) ​ แห่งวิญญาณธาตุทั้งหลายมีจักขุวิญญาณธาตุเป็นต้น ​ โดยความตามที่มันเป็นไป ​ ในธัมมธาตุ ​ เวทนาขันธ์พึงเห็นเหมือนลูกศรและเหมือนหลาว ​ สัญญาขันธ์และสังขารขันธ์เหมือนคนที่อาดูรเพราะต้องศรและหลาว ​ คือเวทนาเข้า ​ นัยหนึ่ง ​ สัญญาของปุถุชนทั้งหลายเหมือนกำมือเปล่า ​ เหตุทำทุกข์เพราะความหวังให้เกิด ​ เหมือนเนื้อป่า ​ เพราะทำให้ถือเอานิมิตโดยความไม่เป็นจริง ​ สังขาร ​ (ขันธ์) ​ เหมือนบุรุษผู้ซัด ​ (คนอื่น) ​ ลงหลุมถ่านเพลิงเพราะซัด ​ (สัตว์) ​ ไปในปฏิสนธิ ​ เหมือนโจรที่ราชบุรุษติดตาม ​ (จับ) ​ เพราะถูกชาติทุกข์ติดตาม ​ เหมือนพืชต้นไม้มีพิษเพราะเป็นเหตุแห่งขันธสันดานอันนำอนัตถะทั้งปวงมาให้ ​ รูปพึงเห็นเหมือนกงจักรอันคมเพราะเหตุแห่งอุปัทวะนานาชนิดส่วนอสังขตธาตุทั้งหลาย ​ บัณฑิตพึงเห็นโดยความเป็นอมตะ ​ เป็นสันตะ ​ (สงบระงับ) ​ เป็นเขมะ ​ (พ้นภัย) ​ เพราะอะไร ?  เพราะเป็นฝ่ายตรงข้ามต่ออนัตถะทั้งปวง ​ มโนวิญญาณธาตุ พึงเห็นเหมือนลิงในป่า ​ เพราะไม่มีความหยุดอยู่ในอารมณ์ทั้งหลาย ​ เหมือนม้าเลวเพราะฝึกได้ยาก ​ เหมือนท่อนไม้ที่ขว้างขึ้นฟ้า ​ เพราะมันตกไปตามที่มันปรารถนา ​ เหมือนนักฟ้อนรำในโรงฟ้อนรำ ​ (อันแต่งกายหลาก ๆ)  เพราะประกอบด้วยเพศ ​ (เครื่องแต่งกาย) ​ คือกิเลสมีประการต่าง ๆ  มีโลภะ ​ โทสะ ​ เป็นต้นแล 
- 
-'''​ปริเฉทที่ 15  ชื่ออายตนธาตุนิทเทส'''​ 
- 
-'''​ในอธิการแห่งปัญญาภาวนา ​ ในปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรค'''​ 
- 
-'''​อันข้าพเจ้าทำเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมทย์แห่งสาธุชน ​ ดังนี้'''​ 
- 
- 
-=ดูเพิ่ม= 
-*'''​[http://​www.84000.org/​tipitaka/​pitaka2/​sutta23.php ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค]'''​ 
-*'''​[[วิสุทธิมรรค ฉบับปรับสำนวน]] (สารบัญ)'''​