วิสุทธิมรรค_11_สมาธินิทเทส

ความแตกต่าง

นี่เป็นการแสดงความแตกต่างระหว่างเพจสองรุ่น

Link to this comparison view

วิสุทธิมรรค_11_สมาธินิทเทส [2020/06/27 16:27]
127.0.0.1 แก้ไขภายนอก
วิสุทธิมรรค_11_สมาธินิทเทส [2021/01/02 20:14]
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
-{{wst>​วสธมฉปส head| }} 
-{{wst>​วสธมฉปส sidebar}} 
- 
-=1.  อาหาเรปฏิกูลสัญญากถา= 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 198)''</​fs></​sub>​ 
- 
-บัดนี้ ​   ถึงลำดับการแสดงวิธีเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา ​ ซึ่งได้ยกขึ้นแสดงไว้อย่างนี้ว่า ​ สัญญาอย่างหนึ่งซึ่งรองลำดับอรูปสมาบัติ ​ ดังนี้ 
- 
-==อาหาร 4  อย่าง== 
- 
-ในคำเหล่านั้น ​ คำว่าอาหาร ​ ได้แก่สภาพซึ่งนำกำลังมาให้ ​ อาหารนั้นมี 4  อย่างคือ  ​ 
- 
-1.  กวฬิงการาหาร ​ อาหารที่ทำเป็นคำ ๆ 
- 
-2.  ผัสสาหาร ​ อาหารคือผัสสะ 
- 
-3.  มโนสัญเจตนาหาร ​ อาหารคือมโนสัญเจตนา 
- 
-4.  วิญญาณาหาร ​ อาหารคือวิญญาณ 
- 
-'''​ผลที่อาหารนำมา'''​ 
- 
-ถามว่า ​ ก็ในอาหารทั้ง 4  นี้ ​ อาหารอะไรนำผลอะไรมาให้ ?  แก้ว่า ​ กวฬิงการาหารนำรูปมีโอชาเป็นที่ 8  มาให้ ​ ผัสสาหารนำเวทนาทั้ง 3  มาให้ ​ มโนสัญเจตนาหารนำปฏิสนธิในภพทั้ง 3  มาให้ ​ วิญญาณาหารนำนามรูปในขณะถือปฏิสนธิมาให้  ​ 
- 
-'''​ภัยของอาหาร'''​ 
- 
-ในอาหารเหล่านั้น ​ ความใคร่เป็นภัยสำหรับกวฬิงการาหาร ​ การเข้าไปใกล้เป็นภัยในผัสสาหาร ​ การก่อให้เกิดเป็นภัยในมโนสัญเจตนาหาร ปฏิสนธิเป็นภัยในวิญญาณาหาร 
- 
-'''​อุปมาของอาหาร'''​ 
- 
-ก็บรรดาอาหารซึ่งมีภัยอยู่ประจำอย่างนี้นั้น ​ กวฬิงการาหารพึงแสดงโดยพระโอวาทอันเปรียบเหมือนเนื้อบุตร ​ ผัสสาหารพึงแสดงโดยพระโอวาทอันเปรียบเหมือนโคไม่มีหนัง ​ มโนสัญเจตนาหารพึงแสดงโดยพระโอวาทอันเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ​ วิญญาณาหารพึงแสดงโดยพระโอวาทอันเปรียบเหมือนหอกหลาว 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 199)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​กวฬิงการาหารประสงค์ในที่นี้'''​ 
- 
-ก็ในบรรดาอาหารทั้ง 4  เหล่านี้ ​ กวฬิงการาหารอย่างเดียวซึ่งแยกเป็นชนิดได้แก่อาหารที่ใช้บริโภค ​ ใช้ดื่ม ​ ใช้เคี้ยว ​ และใช้ลิ้ม ​ ท่านประสงค์เอาว่าอาหารในที่นี้ 
- 
-อาหาเรปฏิกูลสัญญา 
- 
-ความสำคัญหมาย ​ ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจการถือเอาอาการน่าเกลียดในอาหารนั้น ​ ชื่อว่าอาหาเรปฏิกูลสัญญา 
- 
-==พิจารณาความปฏิกูลโดยอาการ ​ 10== 
- 
-พระโยคีผู้ต้องการเจริญปฏิกูลสัญญาในอาหารนั้น ​ ทั้งนี้จำต้องเรียนกรรมฐานแม้บทเดียวไม่ให้คลาดเคลื่อนจากที่เรียนมา ​ ไปในที่ลับเร้นอยู่ ​ พึงพิจารณาความเป็นของปฏิกูลในกวฬิงการาหาร ​ ซึ่งมีประเภทได้แก่อาหารที่ใช้บริโภค ​ ใช้ดื่ม ​ ใช้เคี้ยว ​ และใช้ลิ้ม ​ โดยอาการ 10  อย่าง ​ คืออย่างไร ?  คือ 
- 
-1.  โดยการไป 
- 
-2.  โดยการแสวงหา 
- 
-3.  โดยการบริโภค 
- 
-4.  โดยที่อยู่ 
- 
-5.  โดยหมักหมม 
- 
-6.  โดยยังไม่ย่อย 
- 
-7.  โดยย่อยแล้ว 
- 
-8.  โดยผล 
- 
-9.  โดยหลั่งไหลออก 
- 
-10  โดยเปื้อน 
- 
-===1.  โดยการไป=== 
- 
-ในอาการทั้ง 10  นั้น ​ ข้อว่า ​ โดยการไป ​ อธิบายว่า ​ พระโยคีพิจารณาว่า ​ ผู้บวชในพระศาสนาซึ่งชื่อว่ามีอานุภาพมากอย่างนี้ ​ ทำการสาธยายพุทธพจน์หรือทำสมณธรรม 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 200)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ตลอดคืนยันรุ่ง ​ ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ​ ทำวัตรสำหรับลานพระเจดีย์และลานพระศรีมหาโพธิ ​ แล้วเข้าไปตั้งน้ำฉันน้ำใช้ ​ กวาดบริเวณ ​ ปฏิบัติสรีรกิจแล้วขึ้นสู่อาสนะใฝ่ใจกรรมฐานตลอด 20  หรือ 30  ครั้ง ​ ลุกขึ้นจับบาตรและจีวร ​ ละป่าสำหรับบำเพ็ญเพียรซึ่งปราศจากคนยัดเยียดกัน ​ มีสุขเกิดแต่วิเวก ​ บริบูรณ์ด้วยร่มเงา ​ และน้ำสะอาดเยือกเย็น ​ มีภูมิภาคน่าพึงใจ ​ ไม่เห็นแก่ความยินดีในวิเวกอย่างประเสริฐ ​ บ่ายหน้าตรงต่อบ้านเพื่อต้องการอาหาร ​ ดุจดังสุนัขจิ้งจอกบ่ายหน้าต่อป่าช้า พึงไป 
- 
-ก็เมื่อไปอย่างนี้ ​ จึงจำต้องเหยียบย่ำผ้าลาดซึ่งเกลือกกลั้วไปด้วยขี้ตีนขี้แมลงสาบเป็นต้นในเรือน ​ ตั้งต้นแต่ลงจากเตียงหรือตั่ง ​ แต่นั้นก็จะต้องเห็นหน้ามุขซึ่งน่าเกลียดยิ่งกว่าภายในห้อง ​ เพราะถูกขี้หนูและขี้ค้างคาวเปรอะเปื้อนในกาลบางครั้ง ​ แต่นั้นพึงเห็นพื้นล่าง ​ ว่าน่าเกลียดไปกว่าพื้นบน ​ เพราะเปรอะเปื้อนไปด้วยขี้นกแสกและนกพิราบเป็นต้น ​ แต่นั้นพึงเห็นบริเวณว่าน่าเกลียดยิ่งกว่าพื้นเบื้องต่ำ ​ เพราะหมองไปด้วยหญ้าและใบไม้แก่ ​ ซึ่งลมพัดมาในกาลบางคราว ​ และด้วยมูตรกรีสน้ำลายน้ำมูกของพวกสามเณรผู้ป่วย ​ และในฤดูฝนยังเปรอะไปด้วยน้ำและโคลนตมเป็นต้น ​ พึงเห็นตรอกแห่งวิหารเป็นของน่าเกลียดยิ่งกว่าบริเวณนั้น  ​ 
- 
-อนึ่ง ​ พระโยคีไหว้พระมหาโพธิและเจดีย์โดยลำดับยืนอยู่ในโรงสำหรับตรึก ​ ไม่เหลียวแลดูเจดีย์งามเช่นกับกองแก้วมุกดา ​ และต้นมหาโพธิที่ระรื่นใจเช่นเดียวกับกำหางนกยุงและเสนาสนะอันสง่าดุจสมบัติในเทววิมาน ​ หันหลังให้ประเทศที่น่ารื่นรมย์เห็นปานนั้น ​ หลีกไปโดยหมายใจว่าจักต้องไปเพราะเหตุอาการเดินไปตามทางบ้าน ​ พึงเห็นแม้ทางมีตอและหนามบ้าง ​ ทางที่ขาดเพราะกำลังน้ำเซาะและขรุขระบ้าง ​ แต่นั้นเธอนุ่งผ้าก็เหมือนผู้ปิดฝีรัดประคดก็เหมือผู้พันผ้าพันแผล ​ ห่มจีวรก็เหมือนผู้คลุมร่างกระดูก ​ นำบาตรออกก็เหมือนผู้นำโกร่งยาออก ​ เมื่อถึงที่ใกล้ประตูบ้าน ​ ก็พึงเห็นแม้ ​ ซากช้าง ​ ซากม้า ​ ซากโค ​ ซากควาย ​ ซากมนุษย์ ​ ซากงู ​ และซากสุนัข เป็นต้น  ​ 
- 
-ก็ไม่ใช่พึงเป็นแต่เห็นเท่านั้น ​ แม้กลิ่นของซากเหล่านั้นกระทบจมูกอยู่อันเธอต้องจำอดกลั้น ​ แต่นั้นเธอครั้นยืนที่หน้าประตูบ้านต้องแลดูตรอกตามบ้าน ​ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายมีช้างม้าที่ดุเป็นต้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 201)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ของปฏิกูลซึ่งมีเครื่องลาดเป็นต้น ​ มีซากศพเป็นอเนกเป็นที่สุดดังว่ามานี้ ​ เป็นสิ่งที่พระโยคีจำต้องเหยียบจำต้องดมเพราะอาหารเป็นเหตุ ​ เราพึงพิจารณาความเป็นของปฏิกูลโดยการไปอย่างนี้ว่า ​ แน่ะท่านผู้เจริญ ​ อาหารน่าเกลียดแท้หนอ  ​ 
- 
-===2.  โดยการแสวงหา=== 
- 
-จะพิจารณาความเป็นของน่ารังเกียจโดยการแสวงหาอย่างไร ?  ก็เราแม้อดกลั้นสิ่งที่น่าเกลียดโดยการไปอย่างนี้แล้ว ​ เข้าไปสู่บ้านแล้วห่มผ้าสังฆาฏิ ​ มือถือกระเบื้องเที่ยวไป ​ ในถนนในบ้านโดยลำดับเรือนดุจคนกำพร้า ​ ที่ในฐานที่เหยียบลงแล้ว ๆ ในฤดูฝน ​ เท้าทั้งหลายต้องจมลงไปในโคลนเลนจนถึงเนื้อปลีแข้ง ​ ต้องเอามือหนึ่งถือบาตรเอามือหนึ่งยกจีวร ​ ในฤดูร้อนก็จำต้องเที่ยวไปด้วยทั้งสรีระอันเกลื่อนกล่นไปด้วยฝุ่นและละอองหญ้า ​ อันตั้งขึ้นแล้วเพราะกำลังลมพัด ​ ครั้นถึงประตูบ้านนั้น ๆ จำต้องเห็นและบางทีก็เหยียบหลุมโสโครกและบ่อน้ำครำ ​ อันเจือปนด้วยน้ำล้างปลา, ​ น้ำล้างเนื้อ, ​ น้ำซาวข้าว, ​ น้ำลาย, ​ น้ำมูก,​ มูลสนุขและสุกรเป็นต้น ​ เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่หนอนและแมลงวันหัวเขียว ​ เป็นแดนซึ่งแมลงวันบ้านตั้งขึ้นเที่ยวจับเกาะที่ผ้าสังฆาฏิบ้าง ​   ที่บาตรบ้าง ​ ที่ศีรษะบ้าง ​ แม้เมื่อพระโยคีเข้าไปสู่เรือนแล้ว ​ บางพวกก็ถวายบางพวกก็ไม่ถวาย ​ แม้เมื่อถวาย ​ บางพวกก็ถวายภัตที่สุก ​ แต่วานนี้บ้าง ​ ของเคี้ยวที่เก่าบ้าง ​ ขนมถั่วและแกงเป็นต้นที่บูดแล้วบ้าง ​ ฝ่ายพวกที่ไม่ให้บางพวกก็พูดว่านิมนต์โปรดสัตว์ข้างหน้าเถิดเจ้าข้า ​ บางพวกก็นิ่งเสียเป็นดุจไม่เห็น ​   บางพวกก็ทำทีพูดกับคนอื่นเสีย ​ บางพวกซ้ำด่าด้วยคำหยาบ ​ เป็นต้นว่า ​ เฮ้ย ! ไอ้หัวโล้นจงไปเสีย ​ ถึงเป็นอย่างนี้พระโยคีจำต้องเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้าน ​ แล้วจึงออกมา ​ พระโยคีจำต้องเหยียบ ​ จำต้องเห็น ​ จำต้องอดกลั้น ​ ซึ่งของปฏิกูลมีน้ำและโคลนตมเป็นต้นนี้ ​ จำเดิมแต่เข้าไปสู่บ้านจนกระทั่งออก ​ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้ ​ เธอพึงพิจารณาความเป็นของปฏิกูลโดยการแสวงหาอย่างนี้ว่า ​ แน่ะท่านผู้เจริญ ​ อาหารน่าเกลียดแท้หนอ ​ ดังนี้  ​ 
- 
-===3.  โดยการบริโภค=== 
-จะพิจารณาความเป็นของน่าเกลียดโดยการบริโภคอย่างไร ?  คือพิจารณาว่า ​ ก็พระโยคีผู้แสวงหาอาหารอย่างนี้แล้ว ​ นั่งอย่างสบายในที่สะดวกภายนอกบ้าน ​ ตราบใดที่ยัง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 202)''</​fs></​sub>​ 
- 
-มิได้หย่อนมือลงไปในอาหารนั้น ​ แลเห็นภิกษุผู้อยู่ในฐานะเป็นครูหรือมนุษย์ผู้ละอายบาปเห็นบาปนั้น ​ ก็ยังพออาจเพื่อนิมนต์ให้ฉันอาหารเช่นนั้นได้อยู่ตราบนั้น ​   เพราะยังไม่เป็นของปฏิกูล ​ แต่เมื่อหย่อนมือลงไปในอาหารนี้ด้วยความเป็นผู้ต้องการฉันแล้ว ​ เธอจะกล่าวว่าท่านจงรับเอาดังนี้ ​ ต้องละอาย ​ เพราะเป็นของปฏิกูลแล้ว ​ อนึ่ง เหงื่อหลั่งออกตามง่ามนิ้วมือทั้ง 5  ของพระโยคีผู้หย่อนมือลงไปขยำอยู่ ​ แม้ภัตที่แห้งแข็งก็ให้ชุ่มทำให้อ่อนได้ ​ ภายหลัง ​ เมื่ออาหารนั้นมีความงามอันสลายแล้ว ​ แม้เพราะเหตุสักว่าขยำทำเป็นคำ ๆ ใส่วางไว้ในปาก ​ ฟันล่างก็ทำกิจต่างครก ​ ฟันบนทำกิจต่างสาก ​ ลิ้นทำกิจต่างมือ ​ อาหารนั้นอันสากคือฟันตำแล้วอันลิ้นคลุกเคล้าแล้วในปากนั้น เป็นดุจก้อนรากสุนัขในรางสุนัข ​ น้ำลายจางใส ​ ที่ปลายลิ้นเปื้อน ​ แต่กลางลิ้นเข้าไปน้ำลายข้นเปื้อน ​ มูลฟันในที่ซึ่งไม้ชำระไม่ถึงเปื้อน ​ อาหารนั้นทั้งถูกบดถูกเปื้อนอย่างนี้ ​ หมดสีกลิ่นและเครื่องปรุงอันวิเศษในทันทีนั้น ​ เข้าถึงความเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่ง ​ ดุจรากสุนัขอันอยู่ในรางสุนัข ​ แม้เป็นเช่นนั้นยังกลืนกินได้ ​ เพราะล่วงคลองจักษุไปแล้ว ​ พระโยคีพึงพิจารณาความเป็นของปฏิกูลโดยการบริโภคอย่างที่ว่ามานั่นแหละ  ​ 
- 
-===4. โดยที่อยู่=== 
- 
-จะพิจารณาความเป็นของน่ารังเกียจโดยที่อยู่อย่างไร ?  คือพิจารณาว่า ​ ก็แหละอาหารนี้เข้าถึงการบริโภคอย่างนี้แล้ว ​ เมื่อเข้าไปข้างใน ​ เพราะเหตุที่จะเป็นพระพุทธเจ้าหรือพระปัจเจกพุทธเจ้า ​ หรือพระเจ้าจักรพรรดิก็ตามที ​ ย่อมมีที่อาศัยอย่างใดอย่างหนึ่ง ​ ในบรรดาที่อาศัย 4  อย่าง ​ คือ ปิตตาสัย ​ ที่อาศัยคือดี ​ เสมหาสัย ​ ที่อาศัยคือเสลด ​ ปุพพาสัย ​ ที่อาศัยคือหนอง ​ โลหิตาสัย ​ ที่อาศัยคือเลือด ​ แต่สำหรับคนมีปัญญาน้อยมีที่อาศัยครบทั้ง 4  เพราะเหตุนั้น ​ อาหารใดที่อาศัยคือดีมาก ​ อาหารนั้นน่าเกลียดยิ่งนักดุจเปื้อนด้วยนำมันมะพร้าวข้น ​ อาหารใดที่อาศัยคือเสลดมาก ​ อาหารนั้นดุจระคนด้วยน้ำใบกากะทิง ​ อาหารใดที่อาศัยคือหนองมาก ​ อาหารนั้นดุจระคนด้วยเปรียงเน่า ​ อาหารใดที่อาศัยคือโลหิตมาก ​ อาหารนั้นน่าสะอิดสะเอียนยิ่งนักดุจระคนด้วยน้ำย้อม ​ พระโยคีพึงพิจารณาความเป็นของปฏิกูลโดยที่อาศัยอย่างพรรณนามาฉะนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 203)''</​fs></​sub>​ 
- 
-===5. โดยหมักหมม=== 
- 
-จะพิจารณาความเป็นของปฏิกูลโดยหมักหมมอย่างไร ?  คือพิจารณาว่า ​ อาหารนั้นระคนด้วยที่อาศัย ​ ในบรรดาที่อาศัยทั้ง 4  เหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเข้าไปสู่ภายในท้องไม่ใช่ไปหมักหมมอยู่ในภาชนะทองหรือภาชนะแก้วมณีหรือภาชนะเงินเป็นต้น ​ ก็หากคนมีอายุ 10  ปีกลืนกิน ​ ก็ย่อมตั้งอยู่ในโอกาสอันเช่นเดียวกับหลุมคูถที่ไม่ได้ชำระตลอด 10  ปี ถ้าหากคนมีอายุ 20  ปี ​ 30 ปี ​ 40 ปี ​ 50 ปี ​ 60 ปี ​ 70 ปี ​ 80 ปี ​ 90 ปีกลืนกิน ​ ก็ย่อมตั้งอยู่ในโอกาสอันเป็นหลุมคูถที่ไม้ได้ชำระตั้ง ​ 20-30-40-50-60-70-80-90 ปี ​ ถ้าหากคนมีอายุตั้ง 100 ปีกลืนกิน ​ ก็ย่อมตั้งอยู่ในโอกาสเช่นเดียวกับหลุมคูถซึ่งมิได้ชำระตั้ง 100 ปี ​ พระโยคีพึงพิจารณาความเป็นของปฏิกูลความเป็นของปฏิกูลโดยความหมักหมม ​ อย่างพรรณนามาฉะนี้ 
- 
-===6. โดยยังไม่ย่อย=== 
- 
-จะพิจารณาความเป็นของน่ารังเกียจโดยยังไม่ย่อยอย่างไร ?  คือพิจารณาว่า ​ ก็อาหารนี้นั้นเข้าถึงความหมักหมมในโอกาสเช่นนี้ยังไม่ย่อยตราบใด ​ ที่กลืนกินในวันนั้นก็ดี ในวันวานก็ดี ในวันก่อนแต่นั้นก็ดี ​ ทั้งหมดถูกแผ่นเสมหะห่อหุ้มเป็นอันเดียวกันปุดเป็นฟองฟอด ​ ซึ่งเกิดแต่ความย่อยยับ ​ อันความร้อนแห่งไฟในกายให้ย่อยแล้วเข้าถึงความเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่งแล้วตั้งอยู่ในประเทศที่มืดมิดอย่างยิ่ง ​ ที่ถูกอบด้วยกลิ่นแห่งซากศพต่าง ๆ ดุจเที่ยวไปในป่าทึบที่น่าเกลียดมีกลิ่นเหม็นยิ่งนัก ​ ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วนั้นนั่นเทียวอยู่ตราบนั้น ​ เปรียบดุหญ้า ใบไม้ ​ ท่อนเสื่อลำแพน ​ ซากงู ​ สุนัข ​ และมนุษย์เป็นต้น ​ ซึ่งตกลงในหลุมใกล้ประตูบ้านคนจัณฑาลอันฝนไม่ใช่การตกรดแล้วในฤดูแล้ง ​ ฤดูความร้อนของดวงอาทิตย์แผดเผา ​ เดือดเป็นฟองฟอดแล้วตั้งอยู่ฉะนั้น ​ พระโยคีพึงพิจารณาความเป็นของปฏิกูลโดยยังไม่ย่อยอย่างนี้ 
- 
-===7. โดยย่อยแล้ว=== 
- 
-จะพิจารณาความเป็นของปฏิกูลโดยย่อยแล้วอย่างไร ?  คือพิจารณาว่า ​ อาหารนั้นเป็นสภาพอันไฟในกายให้ย่อยแล้วในโอกาสนั้น ​ และมิใช่จะให้เข้าถึงความเป็นทองเป็นเงิน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 204)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เป็นต้น ​ ดุจดังธาตุทองและธาตุเงินเป็นต้นได้ ​ แต่ก็เมื่อผุดเป็นฟองฟอดอยู่ ​ เข้าถึงความเป็นอุจจาระ ​ ยังกระเพาะอาหารเก่าให้เต็ม ​ เปรียบดุจดินเหลืองซึ่งบุคคลบดดินที่ควรทำให้ละเอียดแล้วใส่เข้าในกระบอกไม้ไผ่ ​ เข้าถึงความเป็นมูตรยังกระเพาะปัสสาวะให้เต็มอยู่ ​ พระโยคีพึงพิจารณาความเป็นของปฏิกูลโดยย่อยแล้วอย่างที่พรรณนามานี้ 
- 
-===8.  โดยผล=== 
- 
-จะพิจารณาความเป็นของปฏิกูลโดยผลอย่างไร ?  คือพิจารณาว่า ​ ก็อาหารนี้อันไฟธาตุย่อยอยู่โดยชอบเทียว ​ ย่อมสำเร็จเป็นซากต่าง ๆ  มี ​ ผม ​ ขน ​ เล็บ ​ ฟัน ​ เป็นต้น ที่ไม่ย่อยอยู่โดยชอบ ​ ย่อมให้สำเร็จเป็นโรคตั้ง 100 ชนิด ​ มีหิดเปื่อย ​ หิดด้าน ​ คุดทะลาด ​ โรคเรื้อน ​ ขี้กลาก ​ หืด ​ ไอลงแดง ​ เป็นต้น ​ นี้เป็นผลของอาหารนั้น ​ พระโยคีพึงพิจารณาความเป็นของปฏิกูลโดยผลอย่างนี้ 
- 
-===9.  โดยหลั่งไหลออก=== 
- 
-จะพิจารณาความเป็นของปฏิกูลโดยหลั่งไหลออกอย่างไร? ​ คือพิจารณาว่า ​ ก็อาหารนี้อันบุคคลกลืนกินอยู่ ​ เข้าไปโดยทวารช่องเดียว ​ เมื่อจะหลั่งออกย่อมออกโดยทวารเป็นอเนก ​ โดยประการเป็นต้นว่า ​ ขี้ตาไหลจากตา ​ ขี้หูไหลจากหู ​ อนึ่ง ​ อาหารนี้ในเวลาที่กลืนกิน ​ บุคคลย่อมกลืนกินแม้ด้วยทั้งบริวารมาก แต่ในเวลาที่ถ่ายออก ​ เข้าถึงความเป็นอุจจาระและปัสสาวะ ​ เป็นต้น ​ เฉพาะคน ๆ เดียวย่อมถ่ายออก ​ ก็เมื่อบริโภคอาหารนั้นในวันแรกทั้งยินดีทั้งร่าเริง ​ ปลื้มจิตโปร่งใจเกิดปีติโสมนัส ​ พอวันที่ 2  เมื่อจะถ่ายออกย่อมปิดจมูกสยิ้วหน้าสะอิดสะเอียนเก้อเขิน ​ อนึ่ง ​ ในวันแรกเขากำหนัดแล้วชอบใจจดจ่อ ​ แม้สยบหมกมุ่นกลืนกินอาหารนั้น ​ ครั้นวันที่ 2  ค้างอยู่เพียงคืนเดียวก็เบื่อหน่ายอึดอัดระอารังเกียจจึงต้องถ่ายออก ​ เพราะเหตุนั้นท่านอาจารย์ดึกดำบรรพ์จึงกล่าวว่า 
- 
-อาหารเครื่องดื่มของเคี้ยวและโภชนะซึ่งมีค่ามาก ​ เข้าโดยทวารช่องเดียว ​ แต่หลั่งออกโดยทวารตั้ง 9  ช่อง ​ อาหารเครื่องดื่มของเคี้ยวและโภชนะซึ่งมีค่ามาก ​ บุคคลมีบริวารแวดล้อมบริโภคอยู่ ​ แต่เวลาเขาจะถ่ายออกย่อมแอบแฝง อาหารเครื่องดื่มของเคี้ยวและโภชนะซึ่งมีค่ามาก ​ บุคคลชื่นชมบริโภคอยู่แต่เมื่อ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 205)''</​fs></​sub>​ 
- 
-จะให้ถ่ายออก ​ กลับเกลียดอาหารเครื่องดื่มของเคี้ยวซึ่งมีค่ามาก ​ โดยขังอยู่เพียงคืนเดียวเท่านั้น ​ กลายเป็นของเน่าไปหมด ​ ฉะนี้ 
- 
-พระโยคีพึงพิจารณาความเป็นของปฏิกูลโดยหลั่งไหลออกอย่างนี้ 
- 
-===10. โดยเปื้อน=== 
- 
-จะพิจารณาความเป็นของปฏิกูลโดยการเปื้อนอย่างไร ?  คือพิจารณาว่า ​ ก็อาหารนี้ แม้ในเวลาบริโภค ​ ย่อมยังมือปากลิ้นและเพดานให้เปื้อน ​ เพราะถูกอาหารนั้นเปื้อน ​ อวัยะเหล่านั้นจึงเป็นของปฏิกูล ​ ซึ่งแม้จะล้างแล้วก็จำต้องล้างบ่อย ๆ เพื่อขจัดกลิ่น ​ อาหารเมื่อบริโภคเข้าไปแล้ว ​ เช่นเดียวกับเมื่อหุงข้าวสุกแกลบรำปลายข้าวเป็นต้นเดือดปุดขึ้นแล้ว ​ ย่อมเปื้อนขอบปากหม้อและฝาหม้อ ​ ฉันใด ​ อาหารอันไฟประจำกายซึ่งไปตามสรีระทั้งร่าง ​ เผาให้เดือดปุดเป็นฟองฟูดขึ้นมาอยู่ ​ ย่อมยังฟันให้เปื้อนโดยความเป็นมลทินฟัน ​ ย่อมยังอวัยวะมีลิ้นและเพดานเป็นต้นให้เปื้อนโดยความเป็นน้ำลายและเสมหะเป็นต้น ​ ยัง ​ ตา ​ หู ​ จมูก ​ ทวารหนักเป็นต้นให้เปื้อนโดยความเป็นขี้ตา ​ ขี้หู ​ น้ำมูก ​ ปัสสาวะ ​ และอุจจาระเป็นต้น ​ อันเป็นเหตุให้บรรดาทวารที่ถูกเปื้อนแล้ว ​ แม้บุคคลล้างอยู่ทุก ๆ วันก็ไม่เป็นของสะอาด ​ ไม่เป็นของน่าฟูใจ ​ ซึ่งเป็นที่ ๆ บุคคลล้างทวารบางทวารแล้วจำต้องล้างมือด้วยน้ำอีก ​ บุคคลล้างทวารบางทวารแล้ว ล้างมือด้วยโคมัยก็ดี ​ ดินเหนียวก็ดี ​ จุณหอมก็ดี ​ ตั้ง 2  ครั้ง ​ ความเป็นของปฏิกูลก็ยังไม่ไปปราศ ​ พระโยคีพึงพิจารณาความเป็นของปฏิกูลโดยการเปื้อนอย่างนี้ 
- 
-==การบรรลุอุปจารฌาน== 
- 
-เมื่อพระโยคีนั้น ​ พิจารณาความเป็นของปฏิกูลโดยอาการ 10  อย่าง ​ ดังบรรยายมานี้อยู่ ​ ทำให้เป็นคุณชาติอันความตรึกและวิตกคร่ามาแล้ว ​ กวฬิงการาหารย่อมปรากฏด้วยสามารถอาการเป็นของปฏิกูล ​ เธอย่อมหมั่นเสพเจริญเพิ่มพูนนิมิตนั้นบ่อย ๆ เมื่อเธอทำอย่างนั้น ​ นิวรณ์ย่อมสงบ ​ แต่เพราะเหตุที่กวฬิงการาหารเป็นของลึกโดยความเป็นสภาวธรรม ​ จิตจึงขึ้นถึงเพียงอุปจารสมาธิ ​ ซึ่งไม่ถึงขั้นอัปปนาสมาธิ ​ อนึ่ง ​ สัญญาในอธิการนี้ย่อมเป็นคุณชาติปรากฏด้วยอำนาจการถือเอาโดยอาการเป็นของปฏิกูล เหตุนั้น ​ กรรมฐานนี้จึงถึงการนับว่าอาหาเรปฏิกูลสัญญา ​ ความสำคัญหมายว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 206)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ก็แหละ ​ จิตของภิกษุผู้หมั่นประกอบปฏิกูลสัญญาในอาหารนี้ ​ ย่อมหดกลับถอยหลังจากความอยากในรส ​ เธอเป็นผู้หมดความเมา ​ กลืนกินอาหารเพียงเพื่อต้องการบำบัดทุกข์ ​ ดุจคนต้องการข้ามทางกันดารหมดความอยากในเนื้อบุตร ​ จำต้องกลืนกินเนื้อบุตร ​   ฉะนั้น ​ ครั้นคราวนี้ราคะซึ่งเนื่องด้วยกามคุณ 5  ย่อมถึงความกำหนดจับได้แก่เธอ ​ ด้วยมุขคือปรีชา ​ คอยจับกวฬิงการาหารโดยไม่ลำเค็ญเลย  ​ 
- 
-เธอกำหนดรู้รูปขันธ์ด้วยมุขคือปรีชากำหนดรู้กามคุณ 5  อย่าง ​ และแม้กายคตาสติภาวนา ​ ย่อมถึงความเต็มเปี่ยมแก่เธอ ​ ด้วยอำนาจความเป็นของปฏิกูลแห่งอาหารที่ยังไม่ย่อย ​ เป็นต้น ​ เธอชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินตามปฏิปทาอันอนุโลมแก่อสุภสัญญา ​ ก็เธออาศัยข้อปฏิบัตินี้ ​ แม้ยังไม่ประสบความเป็นผู้มีพระอมตะเป็นที่สุดในภพปัจจุบัน ​ ก็จะเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า 
- 
-นี้เป็นถ้อยแถลงอย่างพิสดารในการเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา 
- 
-=2.  จตุธาตุววัฏฐานกถา= 
- 
-คำที่ข้าพเจ้า[[วิสุทธิมรรค_ฉบับปรับสำนวน_ปริจเฉท_3_กัมมัฏฐานคหณนิทเทส#​โดยอธิบายวิธีนับจำนวน|กล่าวไว้]]เคยกล่าวไว้ต่อจากอาหารเรปฏิกูลสัญญากัมมัฏฐานว่า ​ 
- 
- 7. ววัตถานกัมมัฏฐาน 1 อย่าง  ​ 
- 
-บัดนี้ ถึงลำดับการอธิบายวิธีเจริญจตุธาตุววัฏฐานนั้นแล้ว. 
- 
-ในคำว่าจตุธาตุววัตถานนั้น บทว่า ​ '''​ววัตถาน'''​ (การจัดหมู่) ​ คือ การตัดสินธรรมะด้วยการสังเกตสภาวะ, ​ การตัดสินธาตุ 4  ชื่อว่า ​ จตุธาตุววัฏฐาน.  ​ 
- 
-คำเหล่านี้มีความหมายเหมือนกัน ทั้งคำว่า ธาตุมนสิการ (กรรมฐานคือการเฝ้านึกถึงแต่ธาตุ) ​ ทั้งคำว่า ธาตุกัมมัฏฐาน (กรรมฐานเกี่ยวกับธาตุ) ,  ทั้งคำว่า จตุธาตุววัฏฐาน ​ (การตัดสินธาตุ 4).  ​ 
- 
-==ธาตุ 4 สำหรับท่องจำ== 
-===อย่างย่อสำหรับปัญญาแก่กล้า=== 
-พระพุทธเจ้าสอนธาตุววัฏฐานกรรมฐานไว้ 2  แบบ คือ ​ แบบย่อ 1  แบบละเอียด 1. แบบย่อสอนในมหาสติปัฏฐานสูตร ​ แบบละเอียดสอนในมหาหัตถิปโทปมสูตร ​ ในราหูโลวาทสูตร ​ และในธาตุวิภังคสูตร. 
- 
-ก็การกำหนดธาตุ 4  นั้น ​ มาแล้วโดยย่อใน[[w:​มหาสติปัฏฐานสูตร]] ​ ด้วยสามารถภิกษุผู้เจริญธาตุกรรมฐานผู้มีปัญญาแก่กล้าอย่างนี้ว่า  ​ 
- 
- ​ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ เหมือนอย่างนายโคฆาตก์หรือลูกมือของนายโคฆาตก์ผู้ขยัน ​ ฆ่าโคแล้วพึงนับแบ่งเนื้อออกเป็นชิ้น ๆ นั่งในทางใหญ่ 4  แพร่ง ​ ฉันใด ​ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แหละ ​ ตามที่ตั้งอยู่แล้ว ​ ตามที่ดำรงอยู่แล้วโดยธาตุว่า ​ ในกายนี้มี ​ ปฐวีธาตุ ​ อาโปธาตุ ​ เตโชธาตุ ​ วายธาตุ ​ ฉันนั้น ​   ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 207)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อรรถกถาธาตุ 4 อย่างย่อ'''​ 
- 
-ความแห่งพระสูตรนั้นว่า ​ เปรียบดุจนายโคฆาตก์หรือลูกมือของนายโคฆาตก์ผู้ฉลาดนั่นแหละ ​ ผู้อื่นเขาจ้างแล้วด้วยภัตและบำเหน็จ ​ ฆ่าแม่โคแล้ว ​ ชำแหละแล้ว นั่งปันเป็นส่วน ๆ ในทางใหญ่ 4  แพร่ง ​ กล่าวคือฐานกลางของทางใหญ่ซึ่งแยกไปสู่ 4 ทิศ ​ ฉันใด ​ ภิกษุย่อมพิจารณากาย ​ ซึ่งชื่อว่าตามที่ตั้งอยู่ ​ เพราะตั้งอยู่โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งแห่งอิริยาบถทั้ง 4  หรือชื่อว่าตามที่ดำรงแล้ว เพราะตามที่ตั้งอยู่แล้วนั่นเอง ​ โดยความเป็นธาตุอย่างนี้ว่า ​ ในกายนี้มี ​ ปฐวีธาตุ ​ อาโปธาตุ ​ เตโชธาตุ ​ วาโยธาตุ ​ ฉันนั้น ​ มีอธิบายอย่างไร ? อธิบายว่าเมื่อนายโคฆาตก์เลี้ยงโคอยู่ก็ดี ​ นำมาสู่ที่ฆ่าก็ดี ​ จูงมาผูกมัดไว้ในที่ฆ่านั้นก็ดี ​ ฆ่าอยู่ก็ดี ​ เห็นโคที่ฆ่าแล้วตายแล้วก็ดี ​ ความสำคัญหมายว่าแม่โคยังไม่สูญหาย ​ ตราบเท่าที่ยังไม่ชำแหละโคนั้นแบ่งออกเป็นชิ้น ๆ แต่เมื่อเธอแบ่งออกแล้วนั่งอยู่ ​ ความหมายว่าแม่โคย่อมหายไป ​ กลายเป็นหมายว่าเนื้อ ​ เธอหาคิดอย่างนี้ไม่ว่า ​ เราขายแม่โค ​ คนเหล่านี้ซื้อแม่โคไป อันที่แท้เธอย่อมคิดอย่างนี้ว่า ​ เราขายเนื้อ ​ แม้ชนเหล่านี้ซื้อเนื้อไป ​ ฉันใด ​ แม้เมื่อภิกษุนี้ครั้งก่อนคือ ​ ในเวลาเป็นปุถุชน ​ คนโง่ ​ จะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม ​ บรรพชิตก็ตาม ​ ความสำคัญหมายว่าสัตว์ว่าสัตว์เลี้ยงหรือว่าบุคคลยังไม่สูญในทันทีตราบเท่าที่ยังมิได้ทำการแยกก่อน ​ พิจารณากายนี้ตามที่ตั้งอยู่แล้วตามที่ดำรงอยู่แล้วโดยความเป็นธาตุ ​ แต่เมื่อพระโยคีพิจารณาโดยความเป็นธาตุ ​ ความสำคัญหมายว่าเป็นสัตว์ย่อมสูญหาย ​ จิตย่อมตั้งจดจ่ออยู่ด้วย สามารถเป็นธาตุฝ่ายเดียวเพราะเหตุนั้น ​ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ​ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ นายโคฆาตย์ผู้ขยัน ​ ฯลฯ ​ พึงเป็นผู้นั่งแล้ว ​ ฉันใด ​ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุก็เช่นเดียวกัน ฯลฯ ​ วาโยธาตุ ​ ฉะนี้ 
- 
-===อย่างยาวสำหรับปัญญาอ่อนหัด=== 
- 
-แต่ในมหาหัตถิปโทปมสูตร ​ ทรงแสดงโดยพิสดารด้วยสามารถภิกษุผู้บำเพ็ญธาตุกรรมฐานซึ่งมีปัญญาไม่เฉียบแหลมนักอย่างนี้ว่า 
- 
-ดูกรอาวุโส ​ ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน ?  สิ่งใดที่หยาบแข็ง ​ อันปุถุชนยึดมั่นแล้วเป็นภายในจำเพาะตัว ​ คือ ​ ผม ​ ขน ​ เล็บ ​ ฟัน ​ ฯลฯ ​ อาหารใหม่ ​ อาหารเก่า ​ ก็หรืออันใด ​ อันหนึ่งแม้อื่น ​ ที่หยาบแข็งอันปุถุชนยึดมั่นแล้ว ​ ซึ่งเป็นไปในภายในเฉพาะตน ​ ดูกรอาวุโสนี้แหละคือปฐวีธาตุอันเป็นไปในภายใน ​ ดังนี้ด้วย 
- 
-ดุกรอาวุโส ​ ก็อาโปธาตุภายในเป็นไฉน ?  สิ่งใดเป็นของเอิบอาบ ​ ถึงความซึมซาบ ​ อันปุถุชนยึดมั่นแล้ว เป็นภายในเฉพาะตัว ​ คือ ​ ดี ​ ฯลฯ ​ มูตร ​ ก็หรืออันใดอันหนึ่ง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 208)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แม้อื่นที่เป็นของเอิบอาบถึงความซึมซาบ ​ อันปุถุชนยึดมั่นแล้ว ​ เป็นภายในเฉพาะตัว ​ ดูกรอาวุโส ​ นี้เรียกว่าอาโปธาตุอันเป็นไปภายใน ​ ดังนี้ด้วย 
- 
-ดูกรอาวุโส ​ ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน ?  สิ่งใดเป็นของร้อนถึงความเป็นของร้อน ​ อันปุถุชนยึดมั่นแล้ว ​ เป็นภายในเฉพาะตัว ​ คือสิ่งที่เป็นเหตุให้เร่าร้อน ​ ให้โทรม ​ ให้ถูกเผาผลาญ ​ ให้ของที่บริโภคของที่ดื่มของที่กัดกินและของที่ลิ้มถึงความย่อยด้วยดี ​ ก็หรืออันใดอันหนึ่งแม้อื่นที่เป็นของร้อนถึงความเป็นของร้อน ​ อันปุถุชนยึดมั่นแล้ว ​ ซึ่งเป็นภายในเฉพาะตัว ​ ดุกรอาวุโส ​ นี้เรียกว่าเตโชธาตุภายใน ​ ดังนี้ด้วย  ​ 
- 
-ดูกรอาวุโส ​ ก็วาโยธาตุอันเป็นไปภายในเป็นไฉน? ​ สิ่งใดเป็นลมถึงความพัดโบกอันปุถุชนยึดมั่นแล้ว ​ เป็นภายในเฉพาะตัว ​ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ​ ลมพัดลงเบื้องต่ำ ​ ลมพัดอยู่ในท้อง ​ ลมพัดอยู่ในไส้ ​ ลมที่แล่นไปในอวัยวะน้อยใหญ่ ​ ลมหายใจออกเข้า ​ ก็หรือว่าอันใดอันหนึ่งที่มีลักษณะดังนี้ ​ หรือแม้อันอื่นคือเป็นลมถึงความพัดโบก ​ อันปุถุชนยึดมั่นแล้ว ​ เป็นไปภายในเฉพาะตัว ​ ดูกรอาวุโส ​ นี้เรียกว่าวาโยธาตุอันเป็นไปภายใน ​ ดังนี้ด้วย 
- 
-ก็ในมหาหัตถิปโทปมสูตรนี้ฉันใด ​ แม้ในราหุโลวาทสูตรและธาตุวิภังคสูตร ​ ก็เหมือนกัน ​ ฉันนั้น 
- 
-'''​อรรถกถาธาตุ 4 อย่างยาว'''​ 
- 
-ในพระสูตรนั้น ​ มีขยายความบทที่ยังไม่กระจ่างดังต่อไปนี้ ​ คำว่า ​ อันเป็นไปภายในเฉพาะตัว ​ ทั้ง 2  นี้เป็นชื่อของสิ่งที่เป็นนิยกะ สิ่งที่เกิดในตน อธิบายว่า ​ เนื่องกับสันดานของตนชื่อว่านิยกะ ​ นิยกะนี้นั้นฉันเดียวกับคำพูดในหมู่หญิงในโลก ​ เขาย่อมเรียกว่าอธิตถี ​ คำเฉพาะผู้หญิง ​ ฉันใด ​ เรียกว่าเป็นภายในเพราะเป็นไปในตน ​ เรียกว่าเฉพาะตน ​ เพราะอาศัยตนเป็นไป ​ ฉันนั้น ​ คำว่า ​ หยาบคือแข้น ​ คำว่า ​ แข็งคือกระด้าง ​ ในคำเหล่านั้น ​ คำที่ 1  บอกลักษณะ ​ คำที่ 2  บอกอาการ ​ เพราะว่าปฐวีธาตุมีลักษณะแข้นแข็ง ​ ปฐวีธาตุนั้นมีอาการหยาบ ​ เพราะเหตุนั้น ​ จึงเรียกว่าแข็ง ​ คำว่า ​ อันปุถุชนยึดมั่น ​ คือยึดถืออย่างมั่นได้แก่ถืออย่างแน่นอย่างนี้ ​ ว่าเรา ​ ว่าของเรา ​ ดังนี้ ​ ความว่า ​ จับแล้วคลำแล้ว ​ คำว่า ​ เสยฺยถีทํ ​ นี้เป็นนิบาต ​ ความของนิบาตนั้นว่า ​ หากจะถามว่า ​ ข้อนั้นได้แก่อะไร ​ แต่นั้นเมื่อจะแสดงสิ่งที่ถามถึงนั้น ​ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ​ ผม ​ ขน ​ อนึ่ง ​ ในที่นี้บัณฑิตพึงทราบว่าท่านแสดงปฐวีธาตุโดยอาการ 20  โดยรวมมันสมองเข้าในเยื่อกระดูกด้วย ​ ด้วยบทว่า ​ ก็หรือสิ่งอะไร ๆ แม้อื่นสงเคราะห์ปฐวีเข้าในส่วนทั้ง 3  ที่เหลือ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 209)''</​fs></​sub>​ 
- 
-สภาพที่เอิบ ​ คืออาบไปสู่ที่นั้น ๆ โดยความเป็นของซึมแทรกไป ​ เหตุนั้นชื่อว่าอาโป ​ สภาพที่ไปแล้วในสภาพที่ซึมซาบทั้งหลายมีอย่างต่าง ๆ  ด้วยสามารถแห่งสภาพที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานเป็นต้น ​ เหตุนั้นชื่อว่าถึงความซึมซาบ ​ สิ่งนั้นได้แก่อะไร ?  ได้แก่สิ่งที่มีลักษณะเอิบอาบแห่งอาโปธาตุ 
- 
-ชื่อว่าไฟ ​ ด้วยอำนาจความร้อน ​ ชื่อว่าถึงความเร่าร้อน ​ เพราะเหตุที่ไปแล้วในภาวะที่ร้อนทั้งหลายตามนัยที่กล่าวแล้ว ​ สิ่งนั้นได้แก่อะไร ?  ได้แก่สิ่งที่มีลักษณะที่อบอ้าว ​ คำว่า ​ ก็ด้วยสิ่งใด ​ ความว่า ​ ด้วยสิ่งที่นับว่าไฟใดกำเริบแล้วกายนี้ย่อมเร่าร้อน ​ คือเกิดร้อนรุ่มด้วยภาวะมีต้องแก่ประจำทุกวัน ​ เป็นต้น ​ คำว่า ​ และเป็นเหตุให้โทรม ​ คือเป็นเหตุให้กายนี้คร่ำคร่า ​ คือให้ถึงความเป็นผู้มีอินทรีย์พิกลสิ้นกำลังและหนังเหี่ยวผมหงอกเป็นต้น ​ คำว่าและเป็นเหตุให้ถูกเผาผลาญ ​ คือสิ่งใดกำเริบแล้วกายนี้ย่อมถูกเผา ​ และบุคคลนั้นคร่ำครวญอยู่ว่า ​ เราย่อมถูกเผา ๆ  ดังนี้ ​ ย่อมหวังการทาน้ำมันเนยที่เคี่ยวแล้วร้อยครั้งปล่อยให้เย็นและอินทรีย์ที่เย็นเหมือนน้ำเป็นต้น ​ และลมอันเกิดแก่พัดใบตาล ​ คำว่า ​ ให้ของบริโภคของดื่มของเคี้ยวของลิ้มถึงความย่อยไปด้วยดี ​ คือเป็นเครื่องถึงความหายไปโดยเป็นรสเป็นต้นด้วยดี ​ แห่งของบริโภคมีข้าวสุกเป็นต้นนี้ ​ หรือเครื่องดื่มมีน้ำเป็นต้น ​ หรือของเคี้ยวมีแป้งและอาหารว่างเป็นต้น ​ หรือของลิ้มมีมะม่วงสุกน้ำผึ้งน้ำอ้อยเป็นต้นนี้ ​ ก็ในบรรดาลักษณะเหล่านี้ ​ ลักษณะ 3  ข้างต้นมีเตโชธาตุเป็นสมุฏฐาน ​ ลักษณะหลังมีกรรมเป็นสมุฏฐานอย่างเดียว 
- 
-ชื่อว่า ​ ลม ​ ด้วยอำนาจกระพือพัด ​ ที่ชื่อว่า ​ ถึงความโบกพัด ​ คือนับเข้าในจำพวกลมทั้งหลายตามนัยที่กล่าวแล้ว ​ สิ่งนั้นได้แก่อะไร ?  ได้แก่สิ่งที่มีลักษณะไหว ​ ชื่อว่าลมขึ้นเบื้องบน ​ ได้แก่ลมที่ตีขึ้นข้างบนอันเป็นไปแล้วด้วยอำนาจการอ้วกเป็นต้น ​ ชื่อว่า ​ ลมพัดลงเบื้องต่ำ ​ ได้แก่ลมที่กดลงเบื้องต่ำที่นำอุจจาระและปัสสาวะเป็นต้นออกมา ชื่อว่า ​ ลมอยู่ในท้อง ​ คือลมภายนอกไส้ใหญ่ทั้งหลาย ​ ชื่อว่า ​ ลมในไส้ ​ คือลมภายในไส้ใหญ่ ​ ชื่อว่า ​ ลมแล่นไปตามร่างกาย ​ คือลมที่เกิดเพราะการงอเข้าและเหยียดออกเป็นต้น ​ ซึ่งซ่านไปสู่อวัยวะน้อยใหญ่ในสรีระทั้งสิ้นตามแนวแห่งข่ายคือเส้นเอ็น ​ ชื่อว่า ​ ลมอัสสาสะ ​ คือลมในจมูกที่เข้า 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 210)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ข้างใน ​ ชื่อว่า ​ ลมปัสสาสะ ​ ได้แก่ลมในจมูกที่ออกข้างนอก ​ และในลมเหล่านี้ ​ ลม 5  ชนิดตอนต้นมี 4  สมุฏฐาน ​ ลมอัสสาสะปัสสาสะ ​ มีจิตเป็นสมุฏฐานอย่างเดียว ​ ก็ด้วยบทว่า ​ ก็หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งแม้อื่น ​ ดังนี้ ​ ในทุก ๆ แห่ง ​ ท่านสงเคราะห์อาโปธาตุเป็นต้นเข้าในส่วนที่เหลือทั้งหลาย ​ ธาตุ 4  เป็นอันท่านให้พิสดารด้วยอาการ 42  คือ ​ ปฐวีธาตุโดยอาการ 20  อาโปธาตุโดยอาการ 12  เตโชธาตุโดยอาการ 4  วาโยธาตุโดยอาการ 6  ดังพรรณนามาฉะนี้ 
- 
-การขยายความบาลีในอธิการนี้ ​ เพียงเท่านี้ก่อน 
- 
-==วิธีภาวนาธาตุ 4 ให้ต่อเนื่อง== 
- 
-===วิธีภาวนาธาตุ 4 อย่างย่อ=== 
- 
-ก็พึงทราบวินิจฉัยในนัยแห่งการเจริญในธาตุกรรมฐานนี้ ​ การกำหนดธาตุอย่างพิสดารอย่างนี้ว่า ​ ผมเป็นปฐวีธาตุ ​ ขนเป็นปฐวีธาตุ ​ ดังนี้ ​ ย่อมปรากฏโดยความเป็นของเนิ่นช้าแก่ภิกษุผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ​ แต่เมื่อผู้มีปัญญาเฉียบแหลมนั้นใฝ่ใจอยู่อย่างนี้ว่า ​ สิ่งใดมีลักษณะแข้นแข็ง สิ่งนั้นคือปฐวีธาตุ สิ่งใดมีลักษณะเอิบอาบ ​ สิ่งนั้นคืออาโปธาตุ ​ สิ่งใดมีลักษณะให้อบอุ่น ​ สิ่งนั้นคือเตโชธาตุ ​ ดังนี้ ​ กรรมฐานย่อมปรากฏแต่ผู้มีปัญญาไม่เฉียบแหลมนัก ​ ใฝ่ใจอยู่อย่างนี้ ​ กรรมฐานนี้ย่อมมืดมัวไม่แจ่มแจ้ง ​ เมื่อเธอใฝ่ใจโดยพิสดารตามนัยก่อนกรรมฐานจึงจะปรากฏได้ชัด ​ ถามว่าใฝ่ใจอย่างไร ?   ​เปรียบเหมือนภิกษุ 2 รูป สาธยายบาลีที่มีเปยยาลมาก ​ ภิกษุผู้มีปัญญาเฉียบแหลมยังบาลีหน้าเปยยาลให้พิสดารครั้งเดียวหรือสองครั้ง ​ เบื้องหน้าแต่นั้นก็ทำการสาธยายด้วยสามารถที่สุด 2  ข้างจึงเลยไปในภิกษุ 2  รูปนั้น ​ ฝ่ายรูปที่มีปัญญาไม่เฉียบแหลม ​ จะกล่าวอย่างนี้ว่า ​ นี้ชื่อว่าสาธยายอะไรกัน ​ ไม่ให้ทำเพียงกระทบริมฝีปาก ​ เมื่อทำการสาธยายอยู่อย่างนี้เมื่อไรบาลีจึงจักคล่อง ​ เธอจึงทำการสาธยายยังบาลีเปยยาลที่มาถึงแล้ว ๆ  ให้พิสดาร ​   ฝ่ายภิกษุผู้มีปัญญาเฉียบแหลมจะกล่าวกะเธออย่างนี้ว่า ​ นี่ชื่อสาธยายอะไรกัน ​ ไม่ให้ถึงที่สุดสักที ​ เมื่อทำการสาธยายอย่างนี้เมื่อไรบาลีจึงจักถึงที่สุดได้ ​ ดังนี้ ​ ฉันใด ​ การกำหนดธาตุอย่างพิสดารด้วยอำนาจผมเป็นต้นย่อมปรากฏโดยเป็นของช้า ๆ  แก่ภิกษุผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ​ ฉันนั้น ​ แต่เมื่อท่านใฝ่ใจย่อโดยนัยเป็นต้นว่าสิ่งใดมีลักษณะเข้นแข็งสิ่งนี้คือ ​ ปฐวีธาตุ ​ ดังนี้ ​ กรรมฐานย่อมปรากฏ ​ ฝ่ายภิกษุทรามปัญญาใฝ่ใจเหมือนอย่างนั้น ​ กรรมฐานกลับมืดไม่แจ่ม ​ เมื่อใฝ่ใจโดยพิสดารด้วยสามารถผมเป็นต้น ​ กรรมฐานย่อมแจ่มชัด 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 211)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เหตุนั้นภิกษุผู้มีปัญญาเฉียบแหลมต้องการเจริญกรรมฐาน ​ พึงไปในที่ลับหลีกเร้นอยู่ ​ นึกถึงรูปกายของตนแม้ทั้งสิ้นก่อน ​ จึงกำหนดธาตุโดยย่ออย่างนี้ว่า ​ ภาวะแข็งหรือกระด้างในกายนี้อันใดนี้คือปฐวีธาตุ ​ ภาวะที่เอิบอาบซึมซาบอันใดนี้คืออาโปธาตุ ​ ภาวะที่ให้ย่อยหรืออบอุ่นอันใดนี้คือเตโชธาตุ ​ ภาวะที่ให้เคลื่อนไหวหรือที่เบ่งนี้ ​ คือวาโยธาตุ ​ ดังนี้ ​ แล้วจึงนึกใฝ่ใจสอดส่อง ​ โดยความเป็นสักแต่ว่าธาตุ ​ โดยมิใช่สัตว์ ​ โดยมิใช่ชีวะ ​ ว่าปฐวีธาตุ ​ อาโปธาตุ ​ ดังนี้บ่อยๆ ​ เมื่อเธอพยายามใช้ปัญญากำหนดสอดส่องชนิดแห่งธาตุอย่างนี้ต่อกาลไม่นานนักสมาธิขั้นอุปจาระได้ปัญญาเครื่องสอดส่องประเภทแห่งธาตุช่วยพยุงแล้วก็เกิดขึ้น ​ ไม่ถึงขั้นอัปปนาเพราะมีสภาวธรรมเป็นอารมณ์ 
- 
-อีกสมัยหนึ่งส่วน 4  ประเภทเหล่านี้ใด ​ ซึ่งพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้เพื่อแสดงความที่มหาภูตทั้ง 4  ไม่ใช่สัตว์ว่า ​ อาศัยกระดูก, ​ อาศัยเอ็น, ​ อาศัยเนื้อ, ​ อาศัยหนัง, ​ อากาศที่ล้อมรอบ ​ ถึงความนับว่ารูปฉะนี้ ​ พระโยคีพึงเอามือคือฌานที่สอดส่องไปตามระหว่างแห่งกระดูกเป็นต้นนั้น ๆ  แหวกส่วนเหล่านั้นแล้วกำหนดธาตุทั้งหลายตามนัยก่อนนั้นแหละว่า ​ ในธาตุ 4  เหล่านั้นภาวะแข็งหรือกระด้างอันใดนี้คือปฐวีธาตุแล้วจึงนึกในใจพิจารณาบ่อย ๆ โดยเป็นสักแต่ว่าธาตุ ​ ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่ชีพ ว่า ​ ปฐวีธาตุ, ​ อาโปธาตุ, ​ ดังนี้บ่อยๆ  ​ 
- 
-เมื่อเธอพยายามอยู่อย่างนี้ ​ ต่อกาลไม่นานนักสมาธิขั้นอุปจาระได้ปัญญาเครื่องส่องประเภทแห่งธาตุพยุงแล้วก็เกิดขึ้น ​ ไม่ถึงขั้นอัปปนา เพราะมีสภาวะธรรมเป็นอารมณ์ 
- 
-นี้เป็นภาวนามัย ​ ในการกำหนดธาตุ 4  ซึ่งพรรณนาโดยย่อ 
- 
-===วิธีภาวนาธาตุ 4 อย่างละเอียด=== 
- 
-ส่วนที่พรรณนาโดยพิสดาร ​ บัณฑิตพึงทราบอย่างนี้ ​ คือ ​ พระโยคีผู้มีปัญญาไม่เฉียบแหลม ​ ต้องการเจริญกรรมฐานนี้ ​ เรียนธาตุอย่างพิสดารด้วยอาการ 42  ในสำนักของอาจารย์ไปอยู่ในเสนาสนะมีประการดังกล่าวแล้ว ​ ทำกิจทุกอย่างเสร็จแล้ว ​ ไปในที่ลับหลีกเร้นอยู่ ​ พึงเจริญกรรมฐานโดยอาการทั้ง 4  อย่างนี้ ​ คือ- 
- 
-1.    โดยย่อพร้อมทั้งเครื่องปรุง 
- 
-2.    โดยแยกพร้อมทั้งเครื่องปรุง 
- 
-3.    โดยย่อพร้อมทั้งลักษณะ 
- 
-4.    โดยแยกพร้อมทั้งลักษณะ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 212)''</​fs></​sub>​ 
- 
-====โดยย่อพร้อมทั้งเครื่องปรุง==== 
- 
-ใน 4  อย่างนั้น ​ อย่างไรภิกษุชื่อว่าเจริญ ​ โดยย่อพร้อมทั้งเครื่องปรุง ?  คือภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ​ กำหนดอาการที่กระด้างในส่วน 20  ว่า ​ ปฐวีธาตุ ​ กำหนดอาการที่เอิบอาบได้แก่น้ำ ​ ซึ่งถึงความซึมแทรกในส่วน 12  ว่า ​ อาโปธาตุ ​ กำหนดไฟที่ให้ย่อยในส่วน 4  ว่า ​ เตโชธาตุ ​ กำหนดการกระพึดพัดในส่วนทั้ง 6  ว่า ​ วาโยธาตุ ​ เมื่อเธอกำหนดอยู่อย่างนี้ ​ ธาตุย่อมปรากฏ ​ เมื่อรำพึงในใจถึงธาตุเหล่านั้นอยู่บ่อย ๆ  อุปจารสมาธิย่อมเกิดตามนัยที่กล่าวแล้วแล 
- 
-====โดยจำแนกออกไปพร้อมทั้งเครื่องปรุง==== 
-ก็เมื่อพระโยคีใดเจริญอยู่อย่างนี้กรรมฐานไม่สำเร็จ ​ พระโยคีนั้นพึงเจริญโดยจำแนกออกไปพร้อมทั้งเครื่องปรุง ​ คืออย่างไร ?  คือภิกษุนั้นไม่พึงยังอุคคหโกศลโดยส่วน 7  และมนสิการโกศลโดยส่วน 10  ซึ่งกล่าวไว้แล้วในกายคตาสติกัมมัฏฐานนิทเทสนั้น ​ ทั้งหมดไม่ให้บกพร่อง ​ ทำการสาธยายด้วยวาจาโดยอนุโลมและปฏิโลม ​ ทำตจปัญจกะเป็นต้นให้เป็นเบื้องต้น ​ แล้วพึงทำวิธีดังที่กล่าวแล้วในกรรมฐานนั้นทั้งหมด 
- 
-แต่ที่แปลกกันมีอย่างนี้ ​ คือในกายคตาสตินั้น ​ แม้ใฝ่ใจผมเป็นต้นด้วยอำนาจสี, ​ สัณฐาน, ​ ทิศ, ​ โอกาส, ​ ปริจเฉทแล้ว ​ พึงตั้งใจกำหนดด้วยสามารถความเป็นของปฏิกูลอีก ​ แต่ในที่นี้พึงตั้งใจด้วยสามารถความเป็นธาตุ 
- 
-เพราะเหตุนั้น ​ พึงใฝ่ใจผมเป็นต้นอย่างละ 5  ๆ ด้วยสามารถสีเป็นต้น ​ แล้วจึงยังมนสิการให้เป็นไปอย่างนี้ในอวสาน ใจความว่า 
- 
-=====1. ​ ปฐวีธาตุ===== 
- 
-1.  ชื่อว่าผมเหล่านี้ ​ เกิดที่หนังหุ้มกะโหลกศีรษะ ​ พึงกำหนดในผมเหล่านั้นว่า ​ เมื่อหญ้ากุณฐะ ​ หญ้าที่แข็งเกิดบนยอดจอมปลวก ​ จอมปลวกหารู้ไม่ว่า ​ หญ้ากุณฐะเกิดบนเรา ​ แม้หญ้ากุณฐะก็หารู้ไม่ว่า ​ เราเกิดบนจอมปลวก ​ ฉันใด ​ หนังหุ้มกะโหลกศีรษะก็เช่นกัน ​ หารู้ไม่ว่าผมเกิดในเรา ​ แม้ผมก็หารู้ไม่ว่าเราเกิดบนหนังหุ้มกะโหลกศีรษะ ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่า ​ ผมทั้งหลาย ​ ชื่อว่า ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพที่ไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์แข็งกระด้าง ​ จัดเป็นปฐวีธาตุ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 213)''</​fs></​sub>​ 
- 
-2.  ขนเกิดในหนังหุ้มสรีระ ​ พึงกำหนดในขนเหล่านั้นว่า ​ เมื่อหญ้าแพรกเกิด ​ ในสถานที่บ้านร้าง ​ สถานที่บ้านร้างหารู้ไม่ว่าหญ้าแพรกเกิดที่เรา ​ แม้หญ้าแพรกก็หารู้ไม่ว่า ​ เราเกิดในสถานที่บ้านร้าง ​ ฉันใด ​ หนังหุ้มสรีระก็เช่นกัน ​ หารู้สึกไม่ว่าขนเกิดในเรา ​ แม้ขนก็หารู้ไม่ว่าเราเกิดในหนังหุ้มสรีระ ​ ธรรมเหล่านี้เว้นเล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าขนทั้งหลาย ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพไม่มีเจตนา เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ แข็งกระด้าง ​ จัดเป็นปฐวีธาตุ 
- 
-3.  เล็บเกิดที่ปลายนิ้วมือ ​ พึงกำหนดในเล็บนั้นว่า ​ เมื่อเด็กเอาไม้เรียวแทงเมล็ดมะทรางเข้าไปแล้วเล่นอยู่ ​ ไม้เรียวหารู้ไม่ว่าเมล็ดมะทรางตั้งอยู่ในเรา ​ แม้เมล็ดมะทรางก็หารู้ไม่ว่าเราตั้งอยู่ที่ปลายไม้เรียว ​ ฉันใด ​ นิ้วมือทั้งหลายก็เช่นกัน ​ ย่อมไม่รู้ว่าเล็บเกิดที่ปลายนิ้วทั้งหลาย ​   ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าเล็บทั้งหลาย ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ แข็งกระด้าง ​ จัดเป็นปฐวีธาตุ 
- 
-4.  ฟันเกิดที่กระดูกคาง ​ พึงกำหนดในฟันนั้นว่า ​ เมื่อซี่ไม้ที่พวกนายช่างเอายางเหนียวชนิดใดชนิดหนึ่งติดตั้งไว้บนครกหิน ​ ครกหารู้ไม่ว่าซี่ไม้ตั้งอยู่บนเรา ​ แม้ซี่ไม้ก็หารู้ไม่ว่าเราตั้งอยู่บนครกดังนี้ ​ ฉันใด ​ กระดูกคางก็ฉันนั้น ​ หารู้ไม่ว่าฟันเกิดในเรา ​ แม้ฟันก็หารู้ไม่ว่าเราเกิดที่กระดูกคาง ​ ฉันนั้น ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าฟันทั้งหลาย ​ ดังบรรยายมานี้ ​ คือส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนั้น ​ เป็นสภาพไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ แข็งกระด้าง ​ จัดเป็นปฐวีธาตุ 
- 
-5.  หนังตั้งหุ้มอยู่ทั่วสรีระ ​ พึงกำหนดในหนังนั้นว่า ​ เมื่อพิณใหญ่หุ้มด้วยหนังโคอ่อน ​ พิณใหญ่หารู้ไม่ว่าหนังโคอ่อนหุ้มเราไว้ ​ แม้หนังโคอ่อนก็หารู้ไม่ว่า ​ เราหุ้มพิณใหญ่ไว้ ​ ฉันใด ​ สรีระก็หารู้ไม่ว่าหนังหุ้มเราไว้ ​ แม้หนังก็หารู้ไม่ว่าเราหุ้มสรีระไว้ ​ ฉันนั้น ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าหนัง ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ แข็งกระด้าง ​ จัดเป็นปฐวีธาตุ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 214)''</​fs></​sub>​ 
- 
-6.  เนื้อตั้งฉาบร่างกระดูก ​ พึงกำหนดในเนื้อนั้นว่า ​ เหมือนเมื่อฝาถูกฉาบด้วยดินเหนียวหนา ​ ฝาหารู้ไม่ว่าเราอันดินเหนียวฉาบทาแล้ว ​ แม้ดินเหนียวหนาก็หารู้ไม่ว่าเราฉาบทาแล้ว ​ ฉันใด ​ ร่างกระดูกก็ฉันนั้น ​ หารู้ไม่ว่าเราอันเนื้อมีประเภท 900  ชิ้นฉาบแล้ว แม้เนื้อก็หารู้ไม่ว่าเราฉาบร่างกระดูกไว้ ​ ฉันนั้น ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าเนื้อ ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ แข็งกระด้าง ​ จัดเป็นปฐวีธาตุ  ​ 
- 
-7.  เอ็นตั้งรึงรัดกระดูกในภายในอยู่ ​ พึงกำหนดในเอ็นนั้นว่า ​ เหมือนเมื่อไม้ฝาอันบุคคลมัดแล้วด้วยเถาวัลย์ ​ ไม้ฝาหารู้ไม่ว่าเราอันเถาวัลย์รัดแล้ว ​ แม้เถาวัลย์ก็หารู้ไม่ว่า ​ เรารัดไม้ฝาแล้ว ​ ฉันใด ​ กระดูกทั้งหลายก็ฉันนั้น ​ หารู้ไม่ว่าเอ็นรัดรึงเราไว้ ​ แม้เอ็นทั้งหลายก็หารู้ไม่ว่าเรารัดกระดูกไว้ ​ ฉันนั้น ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าเอ็น ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะสรีระนี้ ​ เป็นสภาพไม่มี ​ เจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ แข็งกระด้าง ​ จัดเป็นปฐวีธาตุ 
- 
-8.  ในจำพวกกระดูกทั้งหลาย ​ กระดูกส้นเท้ายกกระดูกข้อเท้าทูนไว้ ​ กระดูกข้อเท้ายกกระดูกแข้งทูนไว้ ​ กระดูกแข้งยกกระดูกขาทูนไว้ ​ กระดูกขายกกระดูกสะเอวทูนไว้ ​ กระดูกสะเอวยกกระดูกสันหลังทูนไว้ ​   กระดูกสันหลังยกกระดูกคอทูนไว้ ​ กระดูกคอยกกระดูกศีรษะทูนไว้ ​ กระดูกศีรษะตั้งอยู่บนกระดูกคอ ​   กระดูกคอตั้งอยู่บนกระดูกสันหลัง ​ กระดูกสันหลังตั้งอยู่บนกระดูกสะเอว ​ กระดูกสะเอวตั้งอยู่บนกระดูกขา ​ กระดูกขาตั้งอยู่บนกระดูกแข้ง ​ กระดูกแข้งตั้งอยู่บนกระดูกข้อเท้า ​ กระดูกข้อเท้าตั้งอยู่บนกระดูกส้นเท้า ​ พึงกำหนดในกระดูกเหล่านั้นว่า ​ ในบรรดาเครื่องก่อที่สำเร็จด้วยอิฐไม้หรือโคมัยเป็นต้น ​ สัมภาระตอนล่าง ๆ หารู้ไม่ว่า ​ เรายกสัมภาระข้างบน ๆ ทูนไว้ ​ แม้สัมภาระข้างบน ๆ  ก็หารู้ไม่ว่า เราตั้งอยู่เหนือสัมภาระตอนล่างๆ ​ ฉันใด ​ กระดูกทั้งหลายก็ฉันนั้น ​ คือ ​ กระดูกส้นเท้าก็หารู้ไม่ว่าเรายกกระดูกข้อเท้าทูนไว้ ​ กระดูกข้อเท้าก็หารู้ไม่ว่าเรายกกระดูกแข้งทูนไว้ ​ กระดูกแข้งก็หารู้ไม่ว่าเรายกกระดูกขาทูนไว้ ​   กระดูกขาก็หารู้ไม่ว่าเรายกกระดูกสะเอวทูนไว้ ​ กระดูกสะเอวก็หารู้ไม่เรายกกระดูกสันหลังทูนไว้ ​ กระดูกสันหลังก็หารู้ไม่ว่าเรายกกระดูกคอทูนไว้ ​ กระดูกคอก็หารู้ไม่ว่าเรายกกระดูกศีรษะทูนไว้ ​   กระดูกศีรษะก็หารู้ไม่ว่าเราตั้งอยู่บน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 215)''</​fs></​sub>​ 
- 
-กระดูกคอ ​ กระดูกคอก็หารู้ไม่ว่าเราตั้งอยู่บนกระดูกสันหลัง ​ กระดูกสันหลังก็หารู้ไม่ว่าเราตั้งอยู่บนกระดูกสะเอว ​ กระดูกสะเอวก็หารู้ไม่ว่าเราตั้งอยู่บนกระดูกขา ​ กระดูกขาก็หารู้ไม่ว่าเราตั้งอยู่นบกระดูกแข้ง ​ กระดูกแข้งก็หารู้ไม่ว่าเราตั้งอยู่บนกระดูกข้อเท้า ​ กระดูกข้อเท้าก็หารู้ไม่ว่าเราตั้งอยู่บนกระดูกส้นเท้า ​ ฉันนั้น ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่ากระดูก ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ แข็งกระด้าง ​ จัดเป็นปฐวีธาตุ 
- 
-9.  เยื่อในกระดูก ​   ตั้งอยู่ภายในแห่งกระดูกนั้น ๆ  พึงกำหนดในเยื่อนั้นว่าในวัตถุเป็นต้นว่า ​ ยอดหวายที่บุคคลผู้หนึ่งใส่เข้าไปภายในปล้องไม้ไผ่เป็นต้น ​ ปล้องไม้ไผ่ก็หารู้ไม่ว่ายอดหวายเป็นต้นเขาใส่เข้าแล้วในเรา ​ แม้ยอดหวายเป็นต้นก็หารู้ไม่ว่าเราอยู่ในปล้องไม้ไผ่เป็นต้น ​ ฉันใด ​ กระดูกทั้งหลายก็ฉันนั้น ​ ก็หารู้ไม่ว่าเยื่ออยู่ในภายในเราทั้งหลาย ​ แม้เยื่อก็หารู้ไม่ว่าเราอยู่ภายในกระดูก ฉันนั้น ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าเยื่อในกระดูก ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งในเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพที่ไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ แข็งกระด้าง ​ จัดเป็นปฐวีธาตุ  ​ 
- 
-10.  ไตคลุมเนื้อหัวใจ ​ เส้นเอ็นใหญ่ที่ออกจากลำคออันมีโคน ๆ เดียว ​ ไปได้หน่อยหนึ่งแล้วแยกออกเป็น 2  รัดรึงไว้ ​ ตั้งคลุมเนื้อหัวใจไว้ ​ พึงกำหนดในไตนั้นว่า ​ ในผลมะม่วง 2  ผลที่ขั้วติดกัน ​ ขั้วหารู้ไม่ว่าเรายึดมะม่วง 2  ผลไว้ ​ แม้มะม่วง 2  ผลก็หารู้ไม่ว่าขั้วยึดเราไว้ ​ ฉันใด ​ เส้นเอ็นใหญ่ก็ฉันนั้น ​ ก็หารู้ไม่ว่าเรายึดไตไว้ ​ แม้ไตก็หารู้ไม่ว่า ​ เส้นเอ็นใหญ่ยึดเราไว้ ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าไตดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า มิใช่สัตว์ ​ แข็งกระด้าง ​ จัดเป็นปฐวีธาตุ 
- 
-11.  หัวใจอยู่อาศัยท่ามกลางหลืบแห่งกระดูกอกในภายในสรีระ ​ พึงกำหนดในหัวใจนั้นว่า ​ ในชิ้นเนื้อตั้งอาศัยอยู่ที่ภายในหลืบท้องกะทะเก่า ​ หลืบท้องกะทะเก่าหารู้ไม่ว่าชิ้นเนื้อต้องอาศัยเราอยู่ ​ แม้ชิ้นเนื้อก็หารู้ไม่ว่าเราตั้งอาศัยอยู่ในหลืบท้องกระทะเก่าอยู่ ​ ฉันใด ​ ภายในหลืบกระดูกอกก็หารู้ไม่ว่า ​ หัวใจตั้งอาศัยเราอยู่ ​ แม้หัวใจก็หารู้ไม่ว่า ​ เราตั้งอาศัย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 216)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ภายในกระดูกอกอยู่ฉันนั้น ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าหัวใจ ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ แข็งกระด้าง ​ จัดเป็นปฐวีธาตุ 
- 
-12. ตับตั้งอาศัยข้างขวาในระหว่างนมทั้ง 2  ในภายในสรีระ ​ พึงกำหนดในตับนั้นว่า ​ ในก้อนเนื้อทั้งคู่ที่ติดอยู่ที่ข้างกระเบื้องหม้อ ​ ข้างกระเบื้องหม้อหารู้ไม่ว่า ​ ก้อนเนื้อทั้งคู่ติดแล้วในเรา ​ แม้ก้อนเนื้อทั้งคู่ก็หารู้ไม่ว่า ​ เราติดอยู่ที่ข้างกระเบื้องหม้อฉันใด ​ ข้างขวาระหว่างนมก็ฉันนั้น ​ หารู้ไม่ว่า ​ ตับตั้งอาศัยเราอยู่ ​ แม้ตับก็หารู้ไม่ว่า ​ เราตั้งอาศัยข้างขวาในระหว่างนมอยู่ ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าตับ ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ แข็งกระด้าง ​ จัดเป็นปฐวีธาตุ 
- 
-13. บรรดาพังผืดทั้งหลาย ​  ​พังผืดที่ปกปิดตั้งหุ้มหัวใจและไตอยู่ ​ พังผืดที่ไม่ปกปิดรวบรัดเนื้อภายใต้หนัง ​ ในสรีระทั้งสิ้น ​ พึงกำหนดในพังผืดนั้นว่า ​ ในเนื้อที่บุคคลเอาผ้าเก่าห่อไว้ ​ เนื้อหารู้ไม่ว่า ​      ​เราถูกผ้าเก่าพันไว้ ​ แม้ผ้าเก่าก็หารู้ไม่ว่า ​ เราพันเนื้อไว้ฉันใด ​ ไตและหัวใจและเนื้อในสรีระทั้งสิ้น ​ ก็ฉันนั้น ​ หารู้ไม่ว่า ​ พังผืดปกปิดเราไว้ ​ แม้พังผืดก็หารู้ไม่ว่า ​ เราปกปิดไตหัวใจและเนื้อในสรีระทั้งสิ้นไว้ ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าพังผืด ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ แข็งกระด้าง ​ จัดเป็นปฐวีธาตุ  ​ 
- 
-14. ม้ามตั้งอาศัยข้างที่สุดแห่งกระพุ้งท้องในข้างซ้ายแห่งหัวใจ ​ พึงกำหนดในม้ามนั้นว่า ​ ในก้อนโคมัยตั้งอาศัยที่สุดฉาง ​ ข้างที่สุดฉางก็หารู้ไม่ว่า ​ ก้อนโคมัยตั้งอาศัยเราอยู่ ​ ก้อนโคมัยก็หารู้ไม่ว่า ​ เราแนบติดข้างที่สุดฉางอยู่ฉันใด ​ ข้างที่สุดกระพุ้งท้องก็หารู้ไม่ว่า ​ ม้ามแนบเราอยู่ ​ แม้ม้ามก็หารู้ไม่ว่าเราตั้งแนบข้างที่สุดแห่งกระพุ้งท้องอยู่ฉันนั้น ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าม้าม ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ ​ ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ จัดเป็นปฐวีธาตุ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 217)''</​fs></​sub>​ 
- 
-15. ปอดตั้งห้อยปกอยู่เบื้องบนหัวใจและตับ ​ ในระหว่างนมทั้ง 2  ในภายในสรีระ ​ พึงกำหนดในปอดนั้นว่า ​ ในรังนกที่ห้อยอยู่ในฉางเก่า ​ ภายในฉางเก่าหารู้ไม่ว่า ​ รังนกห้อยอยู่ในเรา ​ แม้รังนกก็หารู้ไม่ว่า ​ เราห้อยอยู่ภายในฉางเก่า ​ ฉันใด ​ ภายในสรีระก็ฉันนั้น ​ หารู้ไม่ว่าปอดห้อยอยู่ในเรา ​ แม้ปอดก็หารู้ไม่ว่า ​ เราห้อยอยู่ภายในสรีระเห็นปานนี้ ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจ ​ และพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าปอด ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ ​ ส่วนเฉพาะตัวในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ แข็งกระด้าง ​ จัดเป็นปฐวีธาตุ  ​ 
- 
-16. ไส้ใหญ่ตั้งอยู่ภายในสรีระ ​ มีหลุมคอและเวจมรรคเป็นที่สุด ​ พึงกำหนด ​ ในไส้ใหญ่นั้นว่า ​ ฉันเดียวกับซากงูที่เขาตัดศีรษะวางขดไว้ในรางเลือด ​ รางเลือดหารู้ไม่ว่า ​ ซากงูตั้งอยู่ในเรา ​ แม้ซากงูก็หารู้ไม่ว่าเราตั้งอยู่ในรางเลือดฉันใด ​ ภายในสรีระก็หารู้ไม่ว่า ​ ไส้ใหญ่ตั้งอยู่ในเรา ​ แม้ไส้ใหญ่ก็หารู้ไม่ว่าเราตั้งอยู่ภายในสรีระฉันนั้น ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าไส้ใหญ่ ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ แข็งกระด้าง ​ จัดเป็นปฐวีธาตุ 
- 
-17. ไส้น้อยพันขนดไส้ใหญ่ ​ 21  ขนด ​ ตั้งอยู่ในระหว่าง ๆ ไส้ใหญ่นั้น ๆ  พึงกำหนดในไส้น้อยนั้นว่า ​ ในเชือกเล็กที่ร้อยขนดสำหรับเช็ดเท้า ​ ขนดเชือกสำหรับเช็ดเท้าหารู้ไม่ว่า ​ เชือกน้อยตั้งร้อยรัดเราไว้ ​ แม้เชือกน้อยก็หารู้ไม่ว่า ​ เราตั้งร้อยยึดขนดเชือกสำหรับเช็ดเท้าไว้ฉันใด ​ ไส้ใหญ่ก็ฉันนั้น ​ หารู้ไม่ว่าไส้น้อยร้อยรัดเราไว้ ​ แม้ไส้น้อยก็หารู้ไม่ว่า ​ เราร้อยรัดไส้ใหญ่ไว้ ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าไส้น้อย ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ แข็งกระ้ด้าง จัดเป็นปฐวีธาตุ 
- 
-18. อาหารใหม่ ​ ได้แก่ของรับประทานของเคี้ยวของลิ้ม ​ ซึ่งอยู่ในท้อง ​ พึงกำหนดในอาหารใหม่นั้นว่า ​ ในรากสุนัข ​ อันตั้งอยู่ในรางสุนัข ​ รางสุนัขหารู้ไม่ว่า ​ รากสุนัขอยู่ในเรา ​ แม้รากสุนัขก็หารู้ไม่ว่า ​ เราตั้งอยู่ในรางสุนัขฉันใด ​ ท้องก็ฉันนั้น ​ หารู้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 218)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ไม่ว่า ​ อาหารใหม่อยู่ในเรา ​ แม้อาหารใหม่ก็หารู้ไม่ว่า ​ เราอยู่ในท้อง ​ ธรรมเหล่านี้ ​ เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าอาหารใหม่ ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ แข็งกระด้าง ​ จัดเป็นปฐวีธาตุ 
- 
-19. อาหารเก่าตั้งอยู่ในที่สุดไส้ใหญ่ ​ อันเป็นเช่นเดียวกับปล้องไม่ไผ่ยาวประมาณ 8  นิ้ว ​ กล่าวคือกระเพาะอาหารเก่า พึงกำหนดในอาหารเก่านั้นว่า ​ ในดินเหลืองละเอียด ​ ซึ่งบุคคลขยำใส่ในปล้องไม้ไผ่ ​ ปล้องไม่ไผ่ก็หารู้ไม่ว่า ​ ดินเหลืองอยู่ในเรา ​ แม้ดินเหลืองก็หารู้ไม่ว่า ​ เราอยู่ในปล้องไม้ไผ่ฉันใด ​ กระเพาะอาหารเก่าก็ฉันนั้น ​ หารู้ไม่ว่าอุจจาระอยู่ในเรา ​ แม้อุจจาระก็หารู้ไม่ว่า ​ เราอยู่ในกระเพาะ ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าอุจจาระ ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ แข็งกระด้าง ​ จัดเป็นปฐวีธาตุ 
- 
-20. มันสมองอยู่ในภายในกระโหลกศีรษะ ​ พึงกำหนดในมันสมองนั้นว่าในก้อนแป้งที่เขาใส่ในกะโหลกน้ำเต้าเก่า ​ กะโหลกน้ำเต้าเก่าหารู้ไม่ว่าก้อนแป้งอยู่ในเรา ​ แม้ก้อนแป้งก็หารู้ไม่ว่า ​ เราอยู่ในกะโหลกน้ำเต้าฉันใด ​ ภายในกะโหลกศีรษะก็ฉันนั้น ​ หารู้ไม่ว่ามันสมองอยู่ในเรา ​ แม้มันสมอง ​ ก็หารู้ไม่ว่าอยู่ภายในกะโหลกศีรษะ ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่ามันสมอง ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะสรีระนี้ ​ เป็นสภาพที่ไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า มิใช่สัตว์ ​ แข็งกระด้าง ​ จัดเป็นปฐวีธาตุ 
- 
-=====2. ​ อาโปธาตุ===== 
- 
-21. บรรดาดีทั้งหลาย ​ ดีไม่เป็นฝักซาบซ่านตั้งอยู่ทั่วสรีระ ​ ซึ่งเนื่องด้วยชีวิตินทรีย์ ​ ดีที่เป็นฝักอยู่ในฝักดี ​ พึงกำหนดในดีนั้นว่า ​ น้ำมันที่ซึมซาบขนม ​ ขนมหารู้ไม่ว่า ​ น้ำมันซึมซาบเราอยู่แล้ว ​ แม้น้ำมันก็หารู้ไม่ว่า เราซึมซาบขนมอยู่แล้ว ฉันใด ​ สรีระก็ฉันนั้น ​ หารู้ไม่ว่าดีไม่เป็นฝักซึมซาบเราอยู่ แม้ดีที่ไม่เป็นฝักก็หารู้ไม่ว่าเราซึมซาบสรีระอยู่ ​ ในรังบวบขมซึ่งเต็มด้วยน้ำฝน ​ รังบวบขมหารู้ไม่ว่า ​ น้ำฝนอยู่ในเรา ​ แม้น้ำฝนก็หารู้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 219)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ไม่ว่า ​ เราอยู่ในรังบวบขม ​ ฉันใด ​ ฝักดีก็ฉันนั้น ​ หารู้ไม่ว่าดีที่เป็นฝักอยู่ในเรา ​ แม้ดีที่เป็นฝักก็หารู้ไม่ว่า ​ เราอยู่ในฝักดี ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าดี ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพไม่มีเจตนา เป็นอัพยากฤต ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ เป็นน้ำหยั่น ​ มีอาการซึมซาบ ​ จัดเป็นอาโปธาตุ 
- 
-22. เสลดประมาณเต็มบาตรหนึ่ง ​ ตั้งอยู่ในกระพุ้งท้อง ​ พึงกำหนดในเสลดนั้นว่า ​ ในบ่อน้ำครำซึ่งเกิดเป็นฟองเป็นฝาฟอดในเบื้องบน ​ บ่อน้ำครำหารู้ไม่ว่าฟองฝาตั้งอยู่ในเรา ​ แม้ฟองฝาก็หารู้ไม่ว่า ​ เราตั้งอยู่ในบ่อน้ำครำ ​ ฉันใด ​ กระพุ้งท้องก็หารู้ไม่ว่าเสลดอยู่ในเรา ​ แม้เสลดหารู้ไม่ว่า ​ เราอยู่ในพื้นท้อง ​ ฉันนั้น ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าเสลด ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้เป็นสภาพไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ เป็นน้ำหยั่น มีอาการซึมซาบ ​ จัดเป็นอาโปธาตุ 
- 
-23. หนองไม่มีโอกาสที่อยู่เป็นนิจ ​ โลหิตตั้งห้อขึ้นในส่วนแห่งสรีระใด ๆ อันตอหรือหนามตำ ​ หรือเปลวไฟเป็นต้นลวกแล้ว ​ หรือฝีและต่อมเป็นต้น ​ ย่อมเกิดในส่วนแห่งสรีระใด ​ หนองก็ตั้งขึ้นในส่วนแห่งสรีระนั้น ๆ  พึงกำหนดในหนองนั้นว่า ​ ในต้นไม้มียางไหลออกแล้ว ​ ด้วยสามารถถูกฟันด้วยขวานเป็นต้น ​   ส่วนที่ถูกฟันเป็นต้นแห่งต้นไม้ ​ หารู้ไม่ว่ายางตั้งอยู่ในเรา ​ แม้ยางก็หารู้ไม่ว่า ​ เราตั้งอยู่ใส่วนที่ถูกฟันเป็นต้นแห่งต้นไม้ฉันใด ​ ส่วนแห่งร่างกายที่ถูกตอและหนามเป็นต้นทิ่มตำก็หารู้ไม่ว่าหนองตั้งอยู่ในเรา ​ แม้หนองก็หารู้ไม่ว่าเราอยู่ในส่วนเหล่านั้นฉันนั้น ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าหนองดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระ เป็นสภาพที่ไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ เป็นน้ำหยั่น ​ มีอาการซึมซาบ ​ จัดเป็นอาโปธาตุ  ​ 
- 
-24. บรรดาเลือดทั้งหลาย ​ เลือดที่ฉีดซ่านไปตั้งอยู่ทั่วสรีระทั้งสิ้นดุจดี ​ เลือดที่ขังเต็มพื้นล่างแห่งฐานเป็นต้น มีประมาณเต็มบาตรหนึ่ง ยังม้าม ​ หัวใจ ​ ตับ ​ ปอด ​ ให้ชุ่มอยู่ ในเลือด 2  ชนิดนั้น ​ เลือดที่ฉีด ​ มีวินิจฉัยเช่นเดียวกับดีไม่มีฝักนั่นเอง ​ ฝ่ายเลือดอีกชนิดหนึ่งพึงกำหนดว่า ​ ในน้ำอันบุคคลรดแล้วที่กระเบื้องผุเก่ายังก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้นในภายใต้ให้ชุ่มอยู่ ​ ก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้นหารู้ไม่ว่า ​ เราอันน้ำให้เปียกชุ่มอยู่ ​ แม้น้ำ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 220)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ก็หารู้ไม่ว่า ​ เรายังก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้นให้ชุ่มอยู่ ฉันใด ที่เป็นส่วนภายใต้แห่งตับหรือม้ามเป็นต้นหารู้ไม่ว่าเลือดอยู่ในเราหรือยังเราให้ชุ่มอยู่ แม้เลือดก็หารู้ไม่ว่า เรายังส่วนใต้แห่งตับให้เต็มแล้ว ​ ยังม้ามเป็นต้นให้ชุ่มอยู่ฉันนั้น ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าเลือด ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้เป็นสภาพที่ไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ เป็นน้ำหยั่น ​ มีอาการซึมซาบ ​ จัดเป็นอาโปธาตุ 
- 
-25. เหงื่อตั้งอยู่เต็มช่องขุมผมและขน ​ และหลั่งออกในเวลาร้อนอบอ้าวเพราะไฟเป็นต้น ​ พึงกำหนดในเหงื่อนั้นว่า ​ ในกำแห่งก้านบัว ​ ภิส ​ มุฬาล ​ กุมุท ​ ซึ่งพอยกขึ้นแล้วจากน้ำ ​ ช่องในกำบัวมีนามว่า ​ ภิส ​ เป็นต้นหารู้ไม่ว่าน้ำหลั่งออกจากเรา ​ แม้เหงื่อก็หารู้ไม่ว่า ​ เราหลั่งออกจากช่องแห่งขุมผมและขนฉันนั้น ​ ธรรมเหล่านี้ ​ เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าเหงื่อ ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ ​ ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ เป็นน้ำหยั่น ​ มีอาการซึมซาบ ​ จัดเป็นอาโปธาตุ 
- 
-26. มันข้นได้แก่มันที่แข้น ​ สำหรับคนอ้วนแผ่ไปตั้งอยู่ทั่วสรีระ ​ สำหรับคนผอมตั้งอาศัยเนื้อแข้งเป็นต้น ​   พึงกำหนดในมันข้นนั้นว่า ​ ในกองเนื้อบุคคลปิดไว้ด้วยผ้าเก่าที่ย้อมขมิ้น ​ กองเนื้อหารู้ไม่ว่า ผ้าเก่าที่ย้อมขมิ้นอาศัยปิดเราไว้ แม้ผ้าเก่าที่ย้อมขมิ้นก็หารู้ไม่ว่า ​ เราตั้งอาศัยกองเนื้ออยู่ฉันใด ​ เนื้อในสรีระทั้งสิ้นหรือที่แข้งเป็นต้นก็หารู้ไม่ว่ามันข้นอาศัยเราตั้งอยู่ ​ ทั้งมันข้นก็ไม่รู้ว่า ​ เราอาศัยเนื้อในสรีระทั้งสิ้น ​ หรือที่แข้งเป็นต้นตั้งอยู่ฉันนั้น ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่ามันข้นดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพที่ไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ เป็นยางแข้น ​ มีอาการเอิบอาบ ​ จัดเป็นอาโปธาตุ 
- 
-27. น้ำตาในเวลาที่เกิด ​ ย่อมขังเต็มกระบอกตาหรือหลั่งไหลออกมา ​ พึงกำหนดในน้ำตานั้นว่า ​ ฉันเดียวกับเต้าเมล็ดตาลอ่อนซึ่งเต็มด้วยน้ำ ​ เต้าเมล็ดตาลอ่อนหารู้ไม่ว่า ​ น้ำอยู่ในเรา ​ แม้น้ำในเต้าเมล็ดตาลอ่อนก็หารู้ไม่ว่า ​ เราอยู่ในเต้าเมล็ดตาลอ่อนฉันใด ​ กระบอกตาก็หารู้ไม่ว่า ​ น้ำตาอยู่ในเรา ​ แม้น้ำตาก็หารู้ไม่ว่า ​ เราอยู่ในกระบอกตาฉันนั้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 221)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าน้ำตา ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพที่ไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ เป็นน้ำหยั่น ​ มีอาการเอิบอาบ ​ จัดเป็นอาโปธาตุ 
- 
-28. มันเหลวได้แก่มันใส ​ ซึ่งตั้งอยู่ที่ฝ่ามือ หลังมือ ​ หลังเท้า ​ ปลายจมูก ​ หน้าผาก ​ และจงอยบ่า ​ ในเวลาที่ร้อนอบอ้าวเพราะไฟเป็นต้น ​ พึงกำหนดในมันเหลวนั้นว่า ​ ในน้ำข้าวซึ่งใส่น้ำมันลงไป ​ น้ำข้าวหารู้สึกไม่ว่า ​ น้ำมันท่วมเราตั้งอยู่ ​ แม้น้ำมันก็หารู้สึกไม่ว่า เราท่วมน้ำข้าวตั้งอยู่ฉันใด ประเทศมีฝ่ามือเป็นต้น ​ หารู้ไม่ว่า ​ มันเหลวท่วมทับเราตั้งอยู่ ​ แม้มันเหลวก็หารู้ไม่ว่า ​ เราท่วมทับประเทศมีฝ่ามือเป็นต้นตั้งอยู่ฉันนั้น ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่ามันเหลว ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่ง ​ โดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพที่ไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ เป็นน้ำหยั่น ​ มีอาการเอิบอาบ ​ จัดเป็นอาโปธาตุ 
- 
-29. น้ำลาย ​ เมื่อปัจจัยซึ่งก่อให้เกิดน้ำลายเห็นปานนั้นมีอยู่ ​ หลั่งลงมาจากกระพุ้งแก้มทั้งสอง ​ แล้วตั้งอยู่ที่พื้นลิ้น ​ พึงกำหนดในน้ำลายนั้นว่า ​ ในหลุมใกล้ฝั่งแม่น้ำ ​ ซึ่งมีน้ำไหลมามิได้ขาด ​ พื้นหลุมหารู้ไม่ว่าน้ำตั้งอยู่ในเรา ​ แม้น้ำก็หารู้ไม่ว่า ​ เราตั้งอยู่บนพื้นหลุม ​ ฉันใด พื้นลิ้นก็หารู้ไม่ว่า ​ น้ำลายลงจากกระพุ้งแก้มทั้งสองตั้งอยู่ในเรา ​ แม้น้ำลายก็หารู้ไม่ว่า ​ เราหลั่งลงมาจากกระพุ้งแก้มทั้งสองตั้งอยู่ในที่พื้นลิ้นฉันนั้น ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าน้ำลาย ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพที่ไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ เป็นน้ำหยั่น ​ มีอาการซึมซาบ ​ จัดเป็นอาโปธาตุ 
- 
-30. น้ำมูกในเวลาที่เกิด ​ ย่อมยังจมูกให้เต็มอยู่หรือหลั่งออก ​ พึงกำหนดในน้ำมูกนั้นว่า ​ ช้อนเต็มด้วยนมส้มเน่า ​ ช้อนหารู้ไม่ว่านมส้มเน่าตั้งอยู่ในเรา ​ แม้นมส้มเน่าก็หารู้ไม่ว่า เราอยู่ในช้อนฉันใด ช่องจมูกก็หารู้ไม่ว่า น้ำมูกตั้งอยู่ในเรา แม้น้ำมูกก็หารู้ไม่ว่า เราอยู่ในช่องจมูกนั้น ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าน้ำมูก ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพที่ไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ เป็นน้ำหยั่น ​ จัดเป็นอาโปธาตุ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 222)''</​fs></​sub>​ 
- 
-31. ไขข้อ ​ ยังกิจคือการหยอดที่ต่อแห่งกระดูกทั้งหลายให้สำเร็จ ​ ตั้งอยู่ในที่ต่อ 180  แห่ง ​ พึงกำหนดในไขข้อนั้นว่า ​ ในเพลาอันนายช่างหยอดแล้วด้วยน้ำมัน ​ เพลาหารู้ไม่ว่า ​ น้ำมันหยอดทาเราตั้งอยู่ ​ แม้น้ำมันก็หารู้ไม่ว่า ​ เราหยอดทาเพลาตั้งอยู่ ​ ฉันใด ​ ที่ต่อ 180  แห่ง ก็หารู้ไม่ว่าไขข้อหยอดทาเราตั้งอยู่ ​ แม้ไขข้อก็หารู้ไม่ว่า ​ เราหยอดทาที่ต่อ 180  แห่ง ​ ตั้งอยู่ฉันนั้น ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใสใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่าไขข้อ ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะสรีระนี้ ​ เป็นสภาพที่ไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ เป็นน้ำหยั่น ​ มีอาการซึมซาบ ​ จัดเป็นอาโปธาตุ 
- 
-32. มูตรตั้งอยู่ในภายในกระเพาะเบา พึงกำหนดในมูตรนั้นว่า ​ ในหม้อเนื้อห่างที่บุคคลคว่ำปากไว้ในน้ำครำ ​ หม้อเนื้อก็หารู้ไม่ว่ารสแห่งนำครำตั้งอยู่ในเรา ​ แม้รสแห่งน้ำครำก็หารู้ไม่ว่าเราตั้งอยู่ในหม้อเนื้อห่าง ​ ฉันใด ​ กระเพาะเบาหารู้ไม่ว่า ​ มูตรตั้งอยู่ในเรา ​ แม้มูตรก็หารู้ไม่ว่า ​ เราตั้งอยู่ในกระเพาะเบาฉันนั้น ​ ธรรมเหล่านี้เว้นแล้วจากการใส่ใจและพิจารณากันและกัน ​ ชื่อว่ามูตร ​ ดังบรรยายมานี้ ​ ได้แก่ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพที่ไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ เป็นน้ำหยั่น ​ มีอาการซึมซาบ ​ จัดเป็นอาโปธาตุ 
- 
-=====3. ​ เตโชธาตุ===== 
- 
-พระโยคีครั้นยังมนสิการให้เป็นไปในผมเป็นต้น ​ อย่างนี้แล้วพึงยังมนสิการให้เป็นไปในส่วนแห่งเตโชธาตุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ​ สิ่งใดเป็นเหตุให้กายอบอุ่น ​ สิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพที่ไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ มีอาการร้อนผะผ่าว ​ จัดเป็นเตโชธาตุ ​ สิ่งใดเป็นเหตุให้คร่ำคร่า ​ ฯลฯ ​ เป็นเหตุให้ไหม้ ฯลฯ เป็นเหตุให้ของกิน – ของดื่ม – ของเคี้ยว – ของลิ้มย่อยโดยชอบ ​ สิ่งนี้จัดเป็นส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพที่ไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ มีอาการร้อน ​ จัดเป็นเตโชธาตุ 
- 
-=====4. ​ วาโยธาตุ===== 
- 
-แต่นั้นพึงกำหนดลมที่พัดขึ้นเบื้องบนด้วยสามารถลมพัดขึ้นเบื้องบน ​ ลมพัดลงเบื้องต่ำด้วยสามารถลมพัดลงเบื้องต่ำ ​ ลมพัดอยู่ในท้องด้วยสามารถลมพัดอยู่ในท้อง ​ ลมพัดอยู่ในไส้ ​ ด้วยสามารถลมพัดอยู่ในไส้ ​ ลมพัดตามร่างกายด้วยสามารถลมพัดตามร่างกาย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 223)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ลมหายใจออกเข้าด้วยสามารถลมหายใจออกเข้า ​ แล้วจึงยังมนสิการให้เป็นไปในส่วนแห่งวาโยธาตุ ​ อย่างนี้ว่า ​ ชื่อว่าลมพัดขึ้นเบื้องบน ​ คือส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพที่ไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ มีอาการให้เคลื่อนไหว ​ จัดเป็นวาโยธาตุ ​ ชื่อว่าลมพัดลงเบื้องต่ำ ​ ฯลฯ ​ ชื่อว่าลมพัดอยู่ในท้อง ​ ฯลฯ ​ ชื่อว่าลมพัดอยู่ตามลำไส้ ฯลฯ ​ ชื่อว่าลมพัดอยู่ตามร่างกาย ​ ฯลฯ ​ ชื่อว่าลมหายใจเข้าออก ​ คือส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ​ เป็นสภาพที่ไม่มีเจตนา ​ เป็นอัพยากฤต ​ ว่างเปล่า ​ มิใช่สัตว์ ​ มีอาการเคลื่อนไหว ​ จัดเป็นวาโยธาตุ 
- 
-เมื่อพระโยคีนั้นมีมนสิการเป็นไปอย่างนี้ ​ ธาตุทั้งหลายย่อมปรากฏ ​ เมื่อเธอนึกถึงใฝ่ใจธาตุเหล่านั้นบ่อย ๆ  อุปจารสมาธิย่อมเกิด ​ ตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล ​ 
- 
-====โดยย่อพร้อมทั้งลักษณะ==== 
-ก็เมื่อพระโยคีได้เจริญอย่างนี้ ​ กรรมฐานไม่สำเร็จ ​ พระโยคีนั้นพึงเจริญโดยย่อพร้อมทั้งลักษณะ ​ เจริญอย่างไร ?  คือต้องกำหนดว่า ​ สิ่งที่มีลักษณะกระด้างในส่วน 20 จัดเป็นปฐวีธาตุ สิ่งที่มีลักษณะเอิบอาบในส่วน 20 เหล่านั้น ​ จัดเป็นอาโปธาตุ ​ สิ่งที่มีลักษณะให้อบอุ่น ​ จัดเป็นเตโชธาตุ ​ สิ่งที่มีลักษณะพัดไปมา ​ จัดเป็นวาโยธาตุ 
- 
-พึงกำหนดสิ่งที่มีลักษณะเอิบอาบ ​ ในส่วน 12  ว่าเป็นอาโปธาตุ ​ พึงกำหนดสิ่งที่มีลักษณะอบอุ่นในส่วน 12  นั้นว่าเป็นเตโชธาตุ ​ พึงกำหนดสิ่งที่มีลักษณะพัดไปมาในส่วน 12  เหล่านั้น ​ ว่าเป็นวาโยธาตุ ​ พึงกำหนดสิ่งที่มีลักษณะกระด้างในส่วน 12  เหล่านั้น ​ ว่าเป็นปฐวีธาตุ  ​ 
- 
-พึงกำหนดสิ่งที่มีลักษณะอบอุ่นในส่วนทั้ง 4  ว่าเป็นเตโชธาตุ ​ พึงกำหนดสิ่งที่มีลักษณะพัดไปมาอันเตโชนั้นไม่แยกแล้ว ​ ว่าเป็นวาโยธาตุ ​ พึงกำหนดสิ่งที่มีลักษณะกระด้างว่าเป็นปฐวีธาตุ ​ พึงกำหนดสิ่งที่มีลักษณะเอิบอาบ ​ ว่าเป็นอาโปธาตุ 
- 
-พึงกำหนดสิ่งซึ่งมีลักษณะพัดไปมา ​ ในส่วนทั้ง 6  ว่าเป็นวาโยธาตุ ​ พึงกำหนดสิ่งซึ่งมีลักษณะกระด้างในส่วนเหล่านั้นว่าเป็นปฐวีธาตุ ​ พึงกำหนดสิ่งที่มีลักษณะซึมซาบว่าเป็นอาโปธาตุ ​ พึงกำหนดสิ่งซึ่งมีลักษณะอบอุ่น ​ ว่าเป็นเตโชธาตุ 
- 
-เมื่อพระโยคีนั้นพึงกำหนดอยู่อย่างนี้ ​ ธาตุทั้งหลายย่อมจะปรากฏ ​ เมื่อเธอนึกใฝ่ใจธาตุเหล่านั้นอยู่บ่อยๆ ​ อุปจารสมาธิย่อมเกิดตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 224)''</​fs></​sub>​ 
-====โดยแยกพร้อมทั้งลักษณะ==== 
-ก็เมื่อพระโยคีใดเจริญอยู่แม้อย่างนี้ ​ กรรมฐานไม่สำเร็จ ​ พระโยคีนั้นต้องเจริญ ​ โดยแยกพร้อมทั้งลักษณะ ​ จะเจริญอย่างไร ?  คือพึงกำหนดผมเป็นต้นตามนัยที่กล่าวแล้วในนัยก่อน ​ แล้วจึงกำหนดว่า ​ สิ่งซึ่งมีลักษณะกระด้างในผม ​ จัดเป็นปฐวีธาตุ ​ พึงกำหนดว่า ​ สิ่งซึ่งมีลักษณะเอิบอาบในปฐวีธาตุนั้นเอง ​ จัดเป็นอาโปธาตุ 
- 
-พึงกำหนดว่าสิ่งที่มีลักษณะอบอุ่นจัดเป็นเตโชธาตุ ​ พึงกำหนดว่าสิ่งซึ่งมีลักษณะพัดไปมาจัดเป็นวาโยธาตุ ​  ​พึงกำหนดธาตุ 4  ในส่วนหนึ่งๆ ​ ในบรรดาส่วนทั้งปวงด้วย ​ ประการฉะนี้ ​ เมื่อพระโยคีนั้นกำหนดอยู่อย่างนี้ ธาตุทั้งหลายย่อมจะปรากฏ ​ เมื่อเธอนึกใฝ่ใจถึงธาตุเหล่านั้นบ่อยๆ ​ อุปจารสมาธิย่อมเกิดตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล 
- 
-====การกำหนดธาตุโดยอาการต่างๆ==== 
- 
-ก็อีกนัยหนึ่ง ​ พึงกำหนดธาตุโดยอาการแม้เหล่านี้ ​ คือ :- 
- 
-1.    โดยอรรถแห่งคำ 
- 
-2.    โดยเป็นกอง 
- 
-3.    โดยแยกละเอียด 
- 
-4.    โดยลักษณะเป็นต้น 
- 
-5.    โดยสมุฏฐาน 
- 
-6.    โดยเป็นสภาพต่างกันและเหมือนกัน 
- 
-7.    โดยอาการที่แยกและไม่แยก 
- 
-8.    โดยเข้ากันได้และเข้ากันไม่ได้ 
- 
-9.    โดยภายในภายนอกแปลกกัน 
- 
-10.    โดยประมวล 
- 
-11.    โดยปัจจัย 
- 
-12.    โดยไม่ใส่ใจกัน 
- 
-13.    โดยแยกกันโดยปัจจัย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 225)''</​fs></​sub>​ 
- 
-=====โดยอรรถแห่งคำ===== 
-ในอาการเหล่านั้น ​ พระโยคีเมื่อใฝ่ใจโดยอรรถแห่งคำ ​ พึงใฝ่ใจโดยอรรถแห่งคำด้วยสามารถที่ต่างกันและเสมอกันอย่างนี้ว่า ​ ชื่อว่าดิน ​ เพราะแผ่ไป ​ ชื่อว่าน้ำ ​ เพราะเอิบอาบให้ชุ่มอยู่ ​ หรือให้เต็มอยู่ ​ ชื่อว่าไฟ ​ เพราะอบให้ร้อน ​ ชื่อว่าลม ​ เพราะพัดให้ไหว ​ แต่ว่าโดยไม่ต่างกันชื่อว่าธาตุ ​ เพราะทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน ​ และเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์และเป็นที่อัดทุกข์ไว้ 
- 
-=====โดยเป็นกอง===== 
-พึงทราบวินิจฉัยโดยเป็นกองดังต่อไปนี้ ​ ปฐวีธาตุนี้ใด ​ ท่านแสดงโดยอาการ 20  โดยนัยเป็นต้นว่า ​ ผม ​ ขน ​ และอาโปธาตุนี้ใด ​ ท่านแสดงโดยอาการ 12  โดยนัยเป็นต้นว่า ​ ดี ​ เสลด ​ ในธาตุเหล่านั้น ​ เพราะ – 
- 
-ที่มีสมมุตุว่าผมได้ ​ เพราะประชุมธรรม 8  ประการ ​ คือ ​ สี ​ กลิ่น รส ​ 
- 
-โอชา ​ และธาตุทั้ง 4  เพราะแยกสิ่งเหล่านั้นจากกันเสีย ​ ย่อมไม่มี 
- 
-สมมุติว่า ​ ผม 
- 
-เหตุนั้น ​ คำว่าผม ​ เป็นเพียงสักแต่ว่ากองแห่งธรรมทั้ง 8  คำว่าขนเป็นต้น ​ ก็เช่นกัน 
- 
-อนึ่ง ​ ในส่วนเหล่านี้ส่วนใดมีกรรมเป็นสมุฏฐาน ​ ส่วนนั้นจัดว่า ​ เป็นกองแห่งธรรม 10  รวมทั้งชีวิตินทรีย์และภาวะเข้าด้วย ​ ทั้งยังนับว่าปฐวีธาตุ ​ อาโปธาตุ ​ ด้วยอำนาจที่มา ​ พึงใฝ่ใจโดยเป็นกองอย่างนี้ 
-=====โดยแยกละเอียด===== 
-พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ​ โดยแยกละเอียด ​ ดังต่อไปนี้ ​ ก็ปฐวีธาตุที่ป่นเป็นชนิดเล็กอย่างยิ่ง ​ เป็นดุจธุลีละเอียด ​ อันพระโยคีกำหนดอยู่โดยอย่างกลางในสรีระนี้พึงมีประมาณได้ทะนานหนึ่ง ปฐวีธาตุนั้นอันอาโปธาตุประมาณกึ่งแต่ทะนานนั้นยึดไว้แล้วอันเตโชธาตุนี้เลี้ยงรักษาแล้ว ​ อันวาโยธาตุพัดให้หวั่นไหวแล้ว ​ จึงไม่เรี่ยรายไม่กระจัดกระจาย ​ ปฐวีธาตุนี้ ​ เมื่อไม่เรี่ยรายไม่กระจัดกระจาย ​ ย่อมเข้าถึงการกำหนด ​ เป็นเพศหญิงเพศชายเป็นต้นเป็นอเนก ​ และประกาศความผอมอ้วนสูงต่ำแข็งแรงและอ่อนแอเป็นต้น 
- 
-ฝ่ายอาโปธาตุในร่างกายนี้ ​ ถึงความเป็นน้ำหยั่น ​ มีอาการซึมซาบตั้งอยู่ในดินอันไฟตามรักษา ​ อันลมพัดให้เคลื่อนไหว ​ จึงไม่เรี่ยรายกระจัดกระจาย ​ เมื่อไม่เรี่ยรายไม่กระจัดกระจาย ​ จึงแสดงอาการที่เป็นต่างกันโดยความเป็นเพศหญิงเพศชายเป็นต้น ​ และประกาศความเป็นผู้ผอมอ้วนสูงต่ำแข็งแรงและอ่อนแอเป็นต้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 226)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ส่วนเตโชธาตุในร่างกายนี้ ​  ​มีอาการร้อนอ้าว ​ มีลักษณะร้อนอ้าวสำหรับย่อยสิ่งที่รับประทานและสิ่งที่ดื่มเป็นต้น ​ ตั้งอยู่ในดินอันน้ำยึดไว้ ​ อันลมพัดให้เคลื่อนไหวย่อมยังกายนี้ให้อบอุ่น ​ และนำมาซึ่งวรรณสมบัติแก่กายนั้น ​ อนึ่ง ​ กายนี้อันเตโชธาตุนั้นให้อบอุ่นแล้วย่อมไม่แสดงอาการเน่า ​ 
- 
-ก็วาโยธาตุในสรีระนี้ซ่านไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ​ มีลักษณะเบ่งขึ้นและให้ไหวได้ ตั้งอยู่ในดินอันน้ำยึดไว้ อันไฟตามรักษา ย่อมยังกายนี้ให้เคลื่อนไหวได้ 
- 
-อนึ่ง ​ กายนี้อันธาตุลมนั้นอุ้มแล้วจึงไม่ซวนเซไป ตั้งอยู่ตรง ๆ  ได้อาศัยวาโยธาตุอื่นอีกพัดสม่ำเสมอแล้ว ​ ย่อมแสดงวิญญัติในอิริยาบถคือ ​ เดิน ​ ยืน ​ นั่ง ​ นอน ​ ย่อมคู้เข้าเหยียดออก ​ ยังมือและเท้าให้เคลื่อนไหวได้ ​ ยนต์คือธาตุนี้เช่นเดียวกับรูปกล ​ มีมายา สำหรับล่อลวงชนพาลโดยความเป็นหญิงและชายเป็นต้น ​ เป็นไปอยู่ดังแถลงมานี้ ​ พระโยคีพึงใฝ่ใจโดยละเอียด ​ ดังบรรยายมานี้แล 
- 
-=====โดยลักษณะเป็นต้น===== 
-พึงทราบวินิจฉัยในมาติกาว่า ​ โดยลักษณะเป็นต้นว่า ​ พระโยคีนึกถึงธาตุทั้ง 4  อย่างนี้ว่า ​ ปฐวีธาตุมีลักษณะอย่างไร ?  มีอะไรเป็นรส ?  มีอะไรเป็นเครื่องปรากฏ ?  ดังนี้แล้ว ​ พึงใส่ใจโดยลักษณะเป็นต้นอย่างนี้ว่า ​ ปฐวีธาตุมีลักษณะแข้นแข็งมีการตั้งอยู่เป็นรส ​ มีการรับไว้เป็นเครื่องปรากฏ ​ อาโปธาตุ ​ มีความหลั่งไหลเป็นลักษณะ ​ มีการพอกพูนเป็นรส ​ มีการยึดไว้เป็นเครื่องปรากฏ ​ เตโชธาตุ ​ มีความร้อนเป็นลักษณะ ​ มีการให้อบอุ่นเป็นรส ​ มีการเพิ่มให้ถึงซึ่งความอ่อนนุ่มเป็นเครื่องปรากฏ ​ วาโยธาตุมีการเคลื่อนไหวเป็นลักษณะมีการเบ่งขึ้นได้เป็นรส มีการยักย้ายเป็นเครื่องปรากฏ 
- 
-=====โดยสมุฏฐาน===== 
-ในมาติกาว่าโดยสมุฏฐาน ​ พึงทราบวินิจฉัยว่า ​ ส่วน 32  มีผมเป็นต้นเหล่านี้ใด ท่านแสดงแล้วด้วยสามารถแสดงปฐวีธาตุเป็นต้นโดยพิสดาร ​ ในส่วนเหล่านั้น ​ ส่วน 4  เหล่านี้ ​ อาหารใหม่ ​ อาหารเก่า หนอง ​ มูตร ​ มีฤดูเป็นสมุฏฐานแล ​ ส่วน 4  เหล่านี้ ​ คือ ​ น้ำตา ​ เหงื่อ ​ น้ำลาย ​ น้ำมูก ​ มีฤดูและจิตเป็นสมุฏฐาน ​ ไฟซึ่งเป็นตัวย่อยอาหารที่บริโภคเป็นต้น ​ มีกรรมเป็นสมุฏฐานแล ​ ลมหายใจออกเข้ามีจิตเป็นสมุฏฐาน ​ ที่เหลือนอกนั้นทั้งหมด มีสมุฏฐาน 4  พึงใฝ่ใจโดยสมุฏฐาน ​ ด้วยอาการอย่างนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 227)''</​fs></​sub>​ 
-=====โดยเป็นสภาพต่างกันและเหมือนกัน===== 
-ในมาติกาว่าโดยเป็นสภาพต่างกันและเหมือนกัน ​ พึงทราบวินิจฉัยว่า ​ ธาตุทั้งหมดต่างกันโดยลักษณะของตนเป็นต้น ​ คือปฐวีธาตุก็มีลักษณะ ​ รส ​ และการปรากฏอันหนึ่งต่างหาก อาโปธาตุเป็นต้นก็มีลักษณะ, ​ รส ​ และอาการปรากฏอีกส่วนหนึ่งต่างหาก 
- 
-ก็ธาตุเหล่านี้แม้จะเป็นสภาพต่างกัน ​ ด้วยสามารถลักษณะเป็นอย่างนี้ก็ดี ​ และด้วยสามารถแห่งสมุฏฐาน ​ มีกรรมเป็นสมุฏฐานเป็นต้นก็ดี ​ ย่อมชื่อว่าเป็นอย่างเดียวกัน ​ ด้วยสามารถเป็นรูป, ​ มหาภูต, ​ ธาตุ, ​ ธรรม ​ และเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น 
- 
-จริงอยู่ ​ ธาตุทุกอย่างชื่อว่าเป็นรูป ​ เพราะไม่ต้องลักษณะจำต้องอวด 
- 
-ชื่อว่ามหาภูตรูป ​ เพราะเหตุมีความปรากฏ ​ โดยความเป็นของใหญ่เป็นต้น 
- 
-'''​มีความปรากฏเป็นของใหญ่เป็นต้น'''​ 
-ก็ในคำว่า ​ มีความปรากฏเป็นของใหญ่เป็นต้น ​ อธิบายว่า ​ ก็ธาตุเหล่านี้ ​ ท่านเรียกว่ามหาภูต ​ เพราะเหตุเหล่านี้ ​ คือ – 
- 
-1.    เพราะความปรากฏเป็นของใหญ่ 
- 
-2.    เพราะความเป็นสภาพเหมือนกับมหาภูต 
- 
-3.    เพราะจำต้องบริหารมาก 
- 
-4.    เพราะมีวิการมาก 
- 
-5.    เพราะเป็นของมีจริงโดยความเป็นของใหญ่ 
- 
-'''​เพราะความปรากฏเป็นของใหญ่'''​ 
- 
-ในอาการเหล่านั้น ​ คำว่าเพราะความปรากฏเป็นของใหญ่ ​ คือธาตุนี้เป็นธรรมชาติปรากฏเป็นของใหญ่ ​ ทั้งในสันดานที่ไม่มีใจครอง ​ ทั้งในสันดานที่มีใจครอง 
- 
-บรรดาสันดานทั้ง 2  เหล่านั้น ​ ความเป็นของปรากฏความเป็นของใหญ่แห่งมหาภูตเหล่านั้น ​ ในสันดานที่ไม่มีใจครอง ​ ข้าพเจ้าอธิบายมาแล้วแล ​ ในพุทธานุสตินิทเทสโดยนัยเป็นต้นว่า 
- 
-แผ่นดินนี้ ​ ท่านคำนวณแล้ว ​ โดยกำหนดส่วนหนาได้เท่านี้ 
- 
-คือ 2  แสน ​ กับอีก 4  หมื่นโยชน์ ฯ 
- 
-ฝ่ายในสันดานที่มีใจครอง ​ เป็นสภาพปรากฏเป็นของใหญ่จริงด้วยสามารถสรีระแห่งปลา, ​ เต่า, ​ เทวดา, ​ มานพ, ​ อสูรเป็นต้น ​ สมดังที่พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า ​ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ ในมหาสมุทรมีอัตภาพยาวประมาณตั้ง 100  โยชน์ ​ ดังนี้เป็นต้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 228)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​เพราะเป็นสภาพเหมือนกับมหาภูต'''​ 
- 
-ในมาติกาว่า ​ เพราะเป็นสภาพเหมือนกับมหาภูต ​ มีวินิจฉัยว่า ​ ก็ธาตุเหล่านี้ตัวเองเป็นของไม่เขียวเลย ​ แต่แสดงอุปาทายรูปที่เขียวได้ ​ ตัวเองเป็นสภาพไม่เหลือง ​ แต่แสดงอุปาทายรูปที่เหลืองได้ ​ ตัวเองเป็นสภาพไม่แดงแต่แสดงอุปาทายรูปที่แดงได้ ​ ตัวเองเป็นภาพไม่ขาวเลย ​ แต่แสดงอุปาทายรูปที่ขาวได้ ​ เปรียบดุจนักเล่นกลแสดงน้ำซึ่งไม่ใช่แก้วมณีแท้ๆให้เป็นแก้วมณีได้ ​ แสดงก้อนดินซึ่งไม่ใช่ทองจริงๆให้เป็นทองได้ และเหมือนอย่างตัวเองไม่ใช่ยักษ์ไม่ใช่นกก็แสดงเป็นยักษ์เป็นนกบ้าง เพราะเหตุนั้นจึงได้ชื่อว่ามหาภูต ​ เพราะเป็นเหมือนมหาภูตนักเล่นกล 
- 
-อนึ่ง ​ เปรียบดุจมหาภูตมียักษ์เป็นต้น ​ เข้าสิงผู้ใดภายในภายนอกผู้นั้น อันมหาภูตเหล่านั้น ​ จะเข้าไปได้ก็หาไม่ ​ และมหาภูตเหล่านั้นจะไม่สิงผู้นั้นตั้งอยู่ก็หาไม่ ​ ฉันใดแม้มหาภูตเหล่านี้ก็ฉันนั้น ​ อันกันและกันย่อมเข้าได้ ​ เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ภายในภายนอกของกันและกันก็หาไม่ ​ และมหาภูตรูปเหล่านี้ ​ มิใช่จะไม่อาศัยกันและกันตั้งอยู่ก็หาไม่ฉันนั้น ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ ธาตุชื่อว่าเป็นมหาภูต ​ แม้เพราะเป็นธรรมชาติที่เสมอกับมหาภูตมียักษ์เป็นต้นโดยความเป็นฐานะที่ไม่ควรคิด 
- 
-อนึ่ง ​ เปรียบดุจมหาภูต ​ กล่าวคือยักษิณี ​ ปกปิดภาวะอันน่ากลัวของตนไว้ ​ โดยการปลอมแปลงสีและสัณฐานที่น่าพึงใจ ​ ลวงสัตว์ทั้งหลาย ​ ฉันใด ​ แม้มหาภูตรูปเหล่านี้ก็ฉันนั้น ​ ปิดลักษณะตามธรรมดาของตัว ​ อันต่างด้วยอาการมีอาการที่ตนเป็นของแข้นแข็งเป็นต้น ​ ด้วยผิวพรรณที่น่าพึงใจ ​ ด้วยสัณฐานแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ที่น่าพึงใจ ​ และด้วยการกระดุกกระดิกได้แห่งมือเท้าและนิ้วที่น่าพึงใจในสรีระหญิงและชายเป็นต้น ​ ลวงพาลชนอยู่มิให้เห็นความเป็นจริงของตน ​ เพราะเหตุนั้น ​ จึงเชื่อว่ามหาภูตแม้เพราะเป็นของเสมอกับมหาภูต ​ คือนางยักษิณีเพราะเป็นสภาพที่ลวง 
- 
-'''​เพราะจำต้องบริหารมาก'''​ 
-ในคำว่า ​ เพราะจำต้องบริหารมาก ​ มีอธิบายว่า ​ เพราะเป็นสิ่งที่จำต้องรักษาด้วยปัจจัยเป็นอันมาก ​ จริงอยู่ ​ มหาภูตเหล่านี้เป็นแล้ว ​ คือเป็นไปแล้วด้วยปัจจัยทั้งหลายมีเครื่องกิน ​ และเครื่องนุ่งห่มเป็นต้นเป็นอันมาก ​ เพราะจำต้องนำเข้าไปทุก ๆ วัน ​ เหตุนั้น ​ จึงชื่อว่า ​ มหาภูตอีกอย่างหนึ่ง ​ ชื่อว่าเป็นมหาภูต ​ แม้เพราะเป็นภูตที่จำต้องบริหารมาก 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 229)''</​fs></​sub>​ 
- 
-จริงอยู่ ​ มหาภูตเหล่านี้ ​ ที่เป็นอุปาทินนกะก็ดี ​ อนุปาทินนกะก็ดี ​ ย่อมเป็นภูตมีวิการมาก ​ ในภูต 2  ชนิดนั้น ​ อาการที่วิการมากของอนุปาทินนกะ ​ ย่อมปรากฏในเมื่อกลาปะย่อยยับ ​ ของอุปาทินนกะปรากฏในเวลาธาตุกำเริบ ​ ความจริงเป็นเช่นนั้น 
- 
-เมื่อโลกไหม้อยู่ด้วยความร้อนแห่งเปลวไฟ ​ เปลวไฟพุ่ง 
- 
-ขึ้นแต่ภาคพื้น ​ ลุกขึ้นจนกระทั่งพรหมโลก ฯ  เมื่อใด ​ โลก 
- 
-จักฉิบหายด้วยน้ำอันกำเริบแล้ว ​ เมื่อนั้นจักรวาลประมาณ  ​ 
- 
-แสนโกฏิหนึ่ง ​ จะละลายชั่วประเดี๋ยว ​ เมื่อใดโลกจักฉิบหาย 
- 
-ด้วยธาตุลมกำเริบ ​ เมื่อนั้นจักรวาลประมาณแสนโกฏิหนึ่ง 
- 
-จักวอดวายชั่วประเดี๋ยว ​ กายถูกงูปากไม้กัด ​ ย่อมแข็งกระด้าง 
- 
-ฉันใด ​ เพราะปฐวีธาตุกำเริบ ​ กายนั้นก็เป็นดังอยู่ในปากงู 
- 
-ปากไม้ฉันนั้น ​ กายถูกงูปากเน่ากัด ​ ย่อมเน่าเปื่อยฉันใด 
- 
-เพราะอาโปธาตุกำเริบ ​ กายนั้นก็เป็นดังอยู่ในปากงูปากเน่า 
- 
-ฉันนั้น ​ กายถูกงูปากไฟกัด ​ ย่อมร้อนกลุ้มฉันใด ​ เพราะ 
- 
-เตโชธาตุกำเริบ ​ กายนั้นเป็นดังอยู่ในปากงูปากไฟ ​ ฉันนั้น  ​ 
- 
-กายถูกงูปากศัสตรากัด ​ ย่อมขาดไปฉันใด ​ เพราะวาโยธาตุ 
- 
-กำเริบ ​ กายนั้นก็เป็นดังอยู่ในปากงูปากศัสตรา ​ ฉันนั้น 
- 
-ภูตมีวิการมาก ​ ดังนี้ ​ เหตุนั้นจึงชื่อว่ามหาภูต 
- 
- 
-'''​เพราะเป็นของมีอยู่โดยความเป็นของใหญ่'''​ 
-ในคำว่า ​ เพราะเป็นของมีอยู่โดยความเป็นของใหญ่ ​ ก็ภูตเหล่านี้ชื่อว่าเป็นของใหญ่ ​ เพราะจำต้องประคับประคองด้วยความพยายามอย่างใหญ่ ​ และชื่อว่ามีจริง ​ เพราะมีอยู่โต้ง ๆ  เพราะเหตุนั้น ​ จึงชื่อว่า ​ มหาภูต ​ เพราะเป็นของมีจริงโดยความเป็นของใหญ่ 
- 
-ธาตุเหล่านี้แม้ทั้งหมด ​ ชื่อว่าเป็นมหาภูต ​ เพราะเหตุมีความเป็นของปรากฏโดยความเป็นของใหญ่เป็นต้น ​ อย่างไรก็ตาม ​ ธาตุทุกอย่างไม่ล่วงลักษณะธาตุไปได้ ​ เพราะทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน ​ และเพราะเป็นฐานแห่งทุกข์ ​ และเพราะอัดทุกข์ไว้ 
- 
-และชื่อว่า ​ ธรรม ​ เพราะทรงไว้ซึ่งลักษณะของตนและเข้าไปทรงอยู่ได้ชั่วขณะอันสมควรแก่ตน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 230)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ชื่อว่า ​ ไม่เที่ยง ​ เพราะอรรถว่าสิ้นไป 
- 
-ชื่อว่า ​ เป็นทุกข์ ​ เพราะอรรถว่าน่าพรั่นพรึง 
- 
-ชื่อว่า ​ มิใช่ตน ​ เพราะอรรถว่าไม่มีสาระ 
- 
-ตามนัยนี้ ​ แม้ธาตุทุกอย่างชื่อว่าเป็นอย่างเดียวกัน ​ ด้วยสามารถที่เป็นรูป ​ เป็นมหาภูต ​ เป็นเหตุ ​ เป็นธรรม ​  ​และเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นต้น ​ พระโยคีพึงใฝ่ใจโดยต่างกันและเหมือนกัน ​ โดยอาการอย่างนี้ 
- 
- 
-=====โดยอาการที่แยกจากกันและไม่แยก===== 
-ในข้อมาติกาว่า ​ โดยอาการที่แยกจากกันและไม่แยก (วินิพโภคาวินิพโภคโต) ​ พึงทราบวินิจฉัยว่า ธาตุเหล่านี้ทั้งหมด ​ ต้องเกิดพร้อมกันเท่านั้น เพราะความที่กลาปทั้งหมด แม้ในสุทธัฏฐกกลาป (กลาปทีมี 8 รูป) ​ เป็นต้น ล้วนไม่แยกปเทสกัน(อวินิพโภคะ) ​  ​แต่ธาตุชื่อว่าแยกจากกัน (วินิพโภคะ) โดยลักษณะ ​ พระโยคีพึงใฝ่ใจโดยอาการที่แยกจากกัน ​ และไม่แยกจากันโดยอาการอย่างนี้ 
- 
-=====โดยเข้ากันได้และไม่ได้===== 
- 
-ในข้อมาติกาว่า ​ โดยเข้ากันได้และไม่ได้ มีวินิจฉัยว่า ​ ในบรรดาธาตุเหล่านี้ ​ แม้จะไม่แยกจากกันอย่างอธิบายมาแล้วก็ดี ​ ธาตุ 2  ตอนต้น ชื่อว่าสภาคคือเข้ากันได้ ​ เพราะเป็นของหนักเหมือนกัน ​ ธาตุตอนหลังก็จัดเป็นสภาคกันเหมือนกัน ​ เพราะเป็นของเบาแต่ธาตุตอนต้นกับธาตุตอนหลัง และธาตุตอนหลังกับธาตุตอนต้น ​ จัดเป็นวิสภาคกัน ​ คือเข้ากันไม่ได้ ​ เพราะข้างฝ่ายหนึ่งหนักฝ่ายหนึ่งเบา ​ พระโยคีพึงใฝ่ใจโดยเข้ากันได้และไม่ได้โดยอาการอย่างนี้  ​ 
- 
-=====โดยภายในและภายนอกแปลกกัน===== 
-ในข้อมาติกาว่า ​ โดยภายในและภายนอกแปลกกัน ​ พึงทราบวินิจฉัยว่าธาตุภายใน ​ ย่อมเป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณวัตถุและวิญญัติและอินทรีย์ ​ เป็นสภาพที่เกี่ยวเนื่องกับอิริยาบถ ​ มีสมุฏฐาน 4  ธาตุภายนอกมีประการผิดตรงกันข้ามจากที่กล่าวแล้ว ​ พระโยคีพึงใฝ่ใจโดยธาตุภายในและภายนอกแปลกกัน ​ ดังบรรยายมานี้ 
- 
- 
-=====โดยประมวล===== 
-ในข้อมาติกาว่า ​ โดยประมวล ​ พึงทราบวินิจฉัยว่า ​ ปฐวีธาตุมีธรรมเป็นสมุฏฐาน ​ รวมเป็นอันเดียวกันกับธาตุนอกจากนี้ ​ ซึ่งมีกรรมเป็นสมุฏฐาน ​ เพราะไม่มีความต่างกันโดยสมุฏฐาน ​ ที่มีจิตเป็นต้นเป็นสมุฏฐาน ​ ร่วมเป็นอันเดียวกับธาตุซึ่งมีจิตเป็นต้นเป็นสมุฏฐานดุจกัน ​ พระโยคีพึงใฝ่ใจโดยรวมกัน ​ ดังบรรยายมานี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 231)''</​fs></​sub>​ 
- 
- 
-=====โดยปัจจัย===== 
-ในข้อมาติกาว่า ​ โดยปัจจัย ​ พึงทราบวินิจฉัยว่า ​ ปฐวีธาตุอันน้ำยึดไว้ ​ อันไฟตามรักษาไว้ ​ อันลมให้เคลื่อนไหว ​ เป็นปัจจัยเป็นที่ตั้งอาศัยแห่งมหาภูตทั้ง 3  อาโปธาตุตั้งอาศัยดิน ​ อันไฟตามรักษา ​ อันลมให้เคลื่อนไหว ​ เป็นปัจจัยเป็นเครื่องยึดแห่งมหาภูตทั้ง 3  เตโชธาตุตั้งอาศัยดิน ​ อันน้ำยึดไว้ ​ อันลมให้เคลื่อนไหว ​ เป็นปัจจัยเป็นเครื่องอบอุ่นแห่งมหาภูตทั้ง 3  วาโยธาตุตั้งอาศัยดิน ​ อันน้ำยึดไว้ ​ อันไฟให้อบอุ่น ​ เป็นปัจจัยเป็นเหตุให้เคลื่อนไหวแห่งมหาภูตทั้ง 3  พระโยคีพึงใฝ่ใจโดยเป็นปัจจัย ​ ดังบรรยายมานี้  ​ 
- 
-=====โดยไม่รู้จักกัน===== 
-ในข้อมาติกาว่า ​ โดยไม่รู้จักกัน ​ พึงทราบวินิจฉัยว่า ​ ในบรรดาธาตุทั้ง 4  นี้ ปฐวีธาตุย่อมไม่รู้สึกว่า ​ เราคือปฐวีธาตุ ​ หรือว่าเราเป็นที่ตั้งเป็นปัจจัยแห่งมหาภูตทั้ง 3  แม้ธาตุ 3  นอกนี้ก็ไม่รู้สึกว่า ​ ปฐวีธาตุเป็นปัจจัยเป็นที่ตั้งของพวกเรา ​ ในธาตุทั้งปวงมีนัยเช่นเดียวกันนี้ ​ พระโยคีพึงใฝ่ใจโดยไม่รู้จักกัน ​ ดังบรรยายมานี้ 
- 
-=====โดยวิภาคของปัจจัย===== 
-ในข้อมาติกาว่า ​ โดยวิภาคของปัจจัย ​ พึงทราบวินิจฉัยว่า ​ ก็ปัจจัยของธาตุมี 4  คือ ​ กรรม ​ จิต ​ อาหาร ​ ฤดู ​ ในปัจจัยทั้ง 4  นั้น ​ กรรมนั่นแหละย่อมเป็นปัจจัยแห่งธาตุทั้งหลายที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน ​ มิใช่ปัจจัยอื่นมีจิตเป็นต้น ​ ส่วนจิตเป็นต้นย่อมเป็นปัจจัยแม้แห่งทั้งธาตุทั้งหลายที่มีจิตเป็นต้นเป็นสมุฏฐาน ​ มิใช่ปัจจัยนอกนี้ 
- 
-อนึ่ง ​ กรรมย่อมเป็นตัวชนกปัจจัย ​ คือปัจจัยที่บันดาลให้เกิดแห่งธาตุทั้งหลายที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน ​ เป็นอุปนิสสยปัจจัยโดยอ้อมแห่งธาตุทั้งหลายที่เหลือ ​ จิตย่อมเป็นตัวชนกปัจจัยแห่งธาตุทั้งหลายที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ​ เป็นปัจฉาชาตปัจจัย ​ อัตถิปัจจัย ​ และอวิคตปัจจัย ​ แห่งธาตุทั้งหลายที่เหลือ ​ อาหารย่อมเป็นตัวชนกปัจจัยแห่งธาตุทั้งหลายที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ​ เป็นอาหารปัจจัย ​ อัตถิปัจจัย ​ และอวิคตปัจจัยแห่งธาตุทั้งหลายที่เหลือ ​ ฤดูย่อมเป็นตัวชนกปัจจัยแห่งธาตุทั้งหลาย ​ ที่มีฤดูเป็นสมุฏฐาน ​ เป็นอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัยแห่งธาตุทั้งหลายที่เหลือ 
- 
-มหาภูตมีกรรมเป็นสมุฏฐาน ​ ย่อมเป็นปัจจัยของมหาภูตทั้งหลายที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานบ้าง ​ ที่มีจิตเป็นต้นเป็นสมุฏฐานบ้าง ​ มหาภูตที่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็ดี ​ ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานก็ดี ​ ที่มีฤดูเป็นสมุฏฐานก็ดี ​ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งมหาภูตทั้งหลาย ​ ที่มีฤดูเป็นสมุฏฐาน ​ ที่มีกรรมเป็นต้นเป็นสมุฏฐานบ้างเช่นกัน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 232)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ในบรรดาปัจจัยทั้ง 4  เหล่านั้น ​ ปฐวีธาตุ ​ มีกรรมเป็นสมุฏฐาน ​ ย่อมเป็นปัจจัย ​ แห่งธาตุนอกนี้ที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน ​ ด้วยสามารถสหชาตปัจจัย ​ อัญญมัญญปัจจัย ​ นิสสยปัจจัย ​ อัตถิปัจจัย ​ และอวิคตปัจจัยแห่งธาตุนอกนี้ ​ และด้วยสามารถเป็นที่ตั้งอาศัยแห่งธาตุนอกนี้ ​ แต่มิใช่เป็นปัจจัย ​ ด้วยสามารถเป็นตัวบันดาลให้เกิด ​ คือ ​ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งมหาภูตที่มีสันตติ 3  นอกนี้ ​ ด้วยสามารถเป็นนิสสยปัจจัย ​ อัตถิปัจจัย ​ และอวิคตปัจจัย ​ มิใช่เป็นปัจจัยด้วยสามารถเป็นที่พำนัก ​ และมิใช่เป็นปัจจัยด้วยสามารถชนกปัจจัย 
- 
-ในจำพวกธาตุเหล่านี้ ​ ฝ่ายอาโปธาตุ ​ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธาตุ 3  นอกนี้ ​ ด้วยสหชาตปัจจัยเป็นต้น ​ และด้วยสามารถเป็นเครื่องยึดไว้ ​ มิใช่ด้วยสามารถเป็นชนกปัจจัย ​ คือเป็นปัจจัยแห่งธาตุ 3  นอกนี้ ​ ที่มีสันตติ 3  ด้วยสามารถเป็นนิสสยปัจจัย ​ อัตถิปัจจัย ​ และอวิคตปัจจัย ​ มิใช่เป็นปัจจัยด้วยสามารถเป็นเครื่องยึดไว้ ​ มิใช่เป็นปัจจัยด้วยสามารถเป็นตัวชนกปัจจัย 
- 
-ในจำพวกธาตุเหล่านี้ ​ ส่วนเตโชธาตุ ​ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธาตุ 3  นอกนี้ ​ ด้วยสามารถเป็นสหชาตปัจจัยเป็นต้น ​ และด้วยสามารถเป็นเครื่องให้อบอุ่น ​ มิใช่เป็นปัจจัยด้วยสามารถเป็นชนกปัจจัย ​ คือย่อมเป็นปัจจัยแห่งมหาภูตนอกนี้ ​ ซึ่งมีสันตติ 3  ด้วยสามารถเป็นนิสสยปัจจัย ​ อัตถิปัจจัย ​ และอวิคตปัจจัยเท่านั้น ​ มิใช่ด้วยสามารถเป็นเครื่องให้อบอุ่น ​ มิใช่ด้วยสามารถเป็นชนกปัจจัย  ​ 
- 
-ในจำพวกธาตุเหล่านี้ ​ ส่วนวาโยธาตุ ​ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธาตุ 3  นอกนี้ ​ ด้วยสามารถสหชาตปัจจัยเป็นต้น ​ และด้วยสามารถเป็นเหตุเคลื่อนไหว ​ มิใช่ด้วยสามารถชนกปัจจัย ​ คือเป็นปัจจัยแห่งมหาภูต ​ ซึ่งมีสันตติ 3  นอกนี้ ​ ด้วยสามารถเป็นนิสสยปัจจัย ​ อัตถิปัจจัย ​ และอวิคตปัจจัยเท่านั้น ​ มิใช่ด้วยสามารถเป็นเหตุเคลื่อนไหว ​ มิใช่ด้วยสามารถชนกปัจจัย ​ แม้ในปฐวีธาตุเป็นต้น ​ ซึ่งมีจิตและอาหารและฤดูเป็นต้นเป็นสมุฏฐาน ​ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน ​ ก็แหละ ​ บรรดาธาตุเหล่านี้ ​ ซึ่งเป็นไปตามอำนาจของปัจจัยมีสหชาตปัจจัยเป็นต้นดังพรรณนามานี้ ​ ธาตุ 3  อาศัยธาตุ 1  เป็นไปโดยอาการ 4  อย่าง ​ ธาตุ 1  อาศัยธาตุ 3  และธาตุ 2  อาศัยธาตุ 2  ย่อมเป็นไปโดยอาการ 6  อย่าง 
- 
-จริงอยู่ ​ ในปฐวีธาตุเป็นต้น ​ ธาตุ 3  อาศัยธาตุ 1  ย่อมเป็นไปโดยอาการ 4  อย่าง ​ อย่างนี้คือ ​ ธาตุ 3  อาศัยธาตุ 1 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 233)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อนึ่ง ​ ในปฐวีธาตุเป็นต้น ​ ธาตุ 1  อาศัยธาตุ 3  ธาตุนอกนี้ ​ ตามนัยนี้ ​ ธาตุอันเดียว ​ อาศัยธาตุอื่น 3  จึงเป็นไปโดยอาการ 4  อย่าง 
- 
-อนึ่ง ​ ธาตุ 2  ข้างปลายอาศัยธาตุ 2  ข้างต้น ​ และธาตุ 2  ข้างต้นอาศัยธาตุ 2 ข้างปลาย ​ ธาตุที่ 2  และธาตุที่ 4  อาศัยธาตุที่ 1  และที่ 3  ธาตุที่ 1  ที่ 3  อาศัยธาตุที่ 2  และที่ 4  ธาตุที่ 2  ที่ 3  อาศัยธาตุที่ 1  และที่ 4  และธาตุที่ 1  และธาตุที่ 4  อาศัยธาตุที่ 2  และที่ 3  ตายนัยนี้ ​ ธาตุ 2  อาศัยธาตุ 2  ย่อมเป็นไปโดยอาการ 6 อย่าง 
- 
-ในธาตุเหล่านั้น ​ ปฐวีธาตุเป็นปัจจัยแห่งการยันในเวลาก้าวไปและถอยกลับเป็นต้นปฐวีธาตุนั้นและประสมกับอาโปธาตุอันอาโปธาตุซึมซาบแล้ว ​ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งการให้ดำรงมั่น ​ ฝ่ายอาโปธาตุประสมกับปฐวีธาตุย่อมเป็นปัจจัยแห่งอันมิให้กระจัดกระจาย ​ และเตโชธาตุ ​ ประสมกับวาโยธาตุย่อมเป็นปัจจัยแห่งอันยกขึ้น ​ ฝ่ายวาโยธาตุประสมกับเตโชธาตุ ​ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งการเดินและวิ่งได้เร็ว ​ พระโยคีพึงใฝ่ใจโดยวิภาคของปัจจัยดังบรรยายมานี้ 
- 
-ก็แม้ ​ เมื่อพระโยคีใฝ่ใจด้วยสามารถอรรถวิเคราะห์เป็นต้นอย่างนี้ ​ ธาตุทั้งหลายย่อมปรากฏโดยเป็นส่วนหนึ่ง ๆ เมื่อท่านรำพึงและใฝ่ใจธาตุเหล่านั้นบ่อย ๆ  อุปจารสมาธิย่อมเกิดตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ​ อุปจารสมาธินี้นั้นถึงความนับว่าจตุธาตุววัฏฐาน ​ เพราะเกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งญาณที่กำหนดธาตุ 4 
- 
-==อานิสงส์การกำหนดธาตุ 4== 
- 
-ก็แหละ ​ พระโยคีผู้หมั่นประกอบจตุธาตุววัฏฐานนี้ใด ​ ย่อมหยั่งลงสู่ความเป็นของเปล่า ​ ย่อมเพิกถอนความสำคัญหมายว่าสัตว์ ​ พระโยคีนั้นไม่ถึงความกำหนดแยกว่าเนื้อร้ายและยักษ์และผีเสื้อน้ำเป็นต้น ​ เพราะเป็นผู้เพิกถอนสัตตสัญญาเสียได้ ​ จึงเป็นผู้ทนต่อภัยน่าพึงกลัว ​ ทนต่อความยินดียินร้าย ​ ไม่ถึงความสงบและความอึดอัดใจ ​ ในเพราะอารมณ์ที่ปรารถนาและไม่ปรารถนา ​ ก็แลท่านย่อมเป็นผู้ที่มีปัญญามาก ​ มีพระนิพพานเป็นที่สุด ​ มิฉะนั้นก็เป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 234)''</​fs></​sub>​ 
- 
-นักปราชญ์ ​ พึงส้องเสพธาตุววัฏฐาน ​ ที่พระโยคี 
- 
-ผู้ประเสริฐเพียงดังสีหะเคยเล่นมาแล้ว ​ อันมีอานุภาพมาก 
- 
-อย่างนี้ ​ เป็นนิตย์เทอญ 
- 
-'''​นิทเทสแห่งการเจริญจตุธาตุววัฏฐาน ​ ยุติเพียงเท่านี้'''​ 
- 
-=สรุปสมาธินิทเทส'''​ 
- 
-ก็ปัญหาอันข้าพเจ้าตั้งไว้แล้วโดยนัยเป็นต้นว่า ​ อะไรชื่อว่า ​ สมาธิ ?  ที่ชื่อว่าสมาธิ ​ เพราะอรรถว่ากระไร ?  ดังนี้ ​ เพื่อแสดงความพิสดารแห่งสมาธิและนัยแห่งการเจริญในปัญหาเหล่านั้น ​ บทว่า ​ พึงเจริญอย่างไรนี้ ​ มีการพรรณนาความจบแล้วโดยประการทั้งปวง ​ ด้วยอาการเพียงเท่านี้แล 
- 
-สมาธินี้นั้น ​ ที่ท่านประสงค์ในที่นี้มี 2  อย่างเท่านั้น ​ คือ ​ อุปจารสมาธิ ​ และ ​ อัปปนาสมาธิ ​ ในสมาธิทั้ง 2  นั้น ​ ความมีอารมณ์แน่วแน่ในกรรมฐานทั้ง 10  และในจิตเป็นบูรพภาคแห่งอัปปนา ​ ชื่อว่า อุปจารสมาธิ ​ ความมีจิตแน่วแน่ในกรรมฐานที่เหลือ ​ ชื่อว่า ​ อัปปนาสมาธิ ​ สมาธิทั้ง 2  อย่างนั้น ​ จัดว่าอันพระโยคีอบรมแล้ว ​ เพราะอบรมกรรมฐานเหล่านั้น ​ เพราะเหตุนั้น ​ ข้าพเจ้าจึงกล่าวบทนี้ว่า ​ พึงเจริญอย่างไรนี้ ​ มีการพรรณนาความจบแล้วโดยประการทั้งปวง 
- 
-=อานิสงส์สมาธิภาวนา 5  อย่าง= 
- 
-แต่คำใดที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า ​ อะไรเป็นอานิสงส์แห่งสมาธิภาวนา ​ จะแก้ในคำนั้น ​ อานิสงส์แห่งสมาธิภาวนา ​ มี 5  อย่าง ​ มีการอยู่เป็นสุขในภพทันตาเห็นเป็นต้น  ​ 
- 
-1.  จริงอย่างนั้น ​ ท่านเหล่าใดเป็นอรหันต์ขีณาสพ ​ เข้าสมาบัติแล้วมีจิตแน่วแน่ ​ ย่อมเจริญสมาธิโดยหมายจะอยู่สบายทั้งวัน ​ สมาธิภาวนาอันแน่นแฟ้นของท่านเหล่านั้น ​ มีการอยู่เป็นสุขในภพทันตาเห็นเป็นอานิสงส์ ​ เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ​ จึงตรัสว่าดูกรจุนทะ ​ ธรรมเหล่านี้ตถาคตไม่เรียกว่าเป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะธรรมเหล่านี้ตถาคตเรียกว่า ​ '​เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในภพทันตาเห็นในวินัยของพระอริยะ'​ 
- 
-2.  สมาธิภาวนาอันแน่นแฟ้นก็ดี ​ สมาธิภาวนาเป็นแต่เฉียด ๆ  โดยนัยแห่งความบรรลุปลอดโปร่งในที่คับแคบก็ดี ​ แห่งปุถุชนผู้เสขะผู้ออกจากสมาบัติแล้ว ​ เจริญโดยหมายใจ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 235)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ว่า ​ จักเห็นแจ้งด้วยจิตอันมั่นคง ​ ชื่อว่ามีวิปัสสนาเป็นอานิสงส์ เพราะเป็นปทัฏฐานแห่งวิปัสสนา ​ เพราะเหตุนั้น ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ​ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ พวกเธอจงเจริญสมาธิ ​ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ ด้วยว่าภิกษุผู้มีจิตมั่นคงแล้วย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง 
- 
-3  ฝ่ายท่านเหล่าใดยังสมาบัติ 8  ให้เกิดแล้ว ​ เข้าฌานมีอภิญญาเป็นบาท ​ ออกจากสมาบัติแล้ว ​ มุ่งหมายอภิญญาทั้งหลายมีนัยดังกล่าวแล้วว่า ​ '​แม้คนเดียวแปลงเป็นสหายหลายคนได้' ​ ดังนี้ ​ บำเพ็ญให้เกิดอยู่ ​ สมาธิภาวนาอันแน่นแฟ้นของท่านเหล่านั้น ​ ในเมื่อเหตุให้เกิดมีอยู่ ​ จัดว่ามีอภิญญาเป็นอานิสงส์ ​ เพราะเป็นปทัฏฐานแห่งอภิญญา ​ เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้ว่า ​ ภิกษุนั้นย่อมน้อมนำจิตเพื่อทำให้แจ้งด้วยอภิญญา ​ ซึ่งธรรมอันควรทำให้แจ้งด้วยอภิญญาใด ๆ  ย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้น ๆ  เที่ยวในเมื่อเหตุให้เกิดมีอยู่ 
- 
-4.  ปุถุชนเหล่าใดมีฌานไม่เสื่อม ​ ปรารถนาความเข้าถึงพรหมโลกโดยหมายใจว่าจักเกิดในพรหมโลก ​ หรือไม่ปรารถนาก็ตาม ​ ไม่เสื่อมจากสมาธิ ​ สมาธิภาวนาอันแน่นแฟ้นของปุถุชนเหล่านั้น ​ มีภพวิเศษเป็นอานิสงส์ ​ เพราะนำมาซึ่งภพวิเศษ ​ เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้ว่า ​ '​ถามว่า ​ ผู้ที่เจริญปฐมฌานยังเป็นกามาพจร ​ ย่อมเกิดในที่ไหน'​ แก้ว่า ​ '​ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาพวกพรหมปาริสัชชา' ​ ดังนี้เป็นต้น ​ อนึ่ง ​ แม้สมาธิภาวนาเฉียด ๆ  ยังนำมาซึ่งสุคติภพวิเศษคือกามาพจรสวรรค์ 6  ชั้นทีเดียว 
- 
-5.  ส่วนท่านเหล่าใดเป็นพระอริยเจ้า ​ เจริญสมาธิด้วยดำริว่าเราจักยังสมาบัติ 8  ให้บังเกิด ​ แล้วเข้านิโรธสมาบัติเป็นผู้ไม่มีความคิดนึกตลอด 7  วัน ​ บรรลุนิโรธนิพพานแล้วจักอยู่เป็นสุขในภพทันตาเห็น ​ สมาธิภาวนาอันแน่นแฟ้นของท่านเหล่านั้น ​ มีนิโรธเป็นอานิสงส์ ​ เพราะเหตุนั้น ​ ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวไว้ว่า ​ '​ปัญญาในการอบรมวสีด้วยญาณจริยา 16  และสมาธิ 6  เป็นญาณในนิโรธสมาบัติ'​ 
- 
-อานิสงส์แห่งสมาธิภาวนามี 5  อย่าง ​ มีการอยู่เป็นสุขในภพทันตาเห็นเป็นต้นดังบรรยายมานี้ 
- 
-เพราะเหตุนั้น ​ บัณฑิตไม่พึงประมาทในการประกอบสมาธิ 
- 
-ภาวนา ​ อันเป็นเครื่องชำระมลทินคือกิเลส ​ มีอานิสงส์เป็นอเนก 
- 
-ประการเทอญ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ ​ 236)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ก็ด้วยบรรหารเพียงเท่านี้ ​ เป็นอันแสดงหมดจดแล้วแม้ซึ่งสมาธิในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ​ อันข้าพเจ้าแสดงแล้วด้วยธรรมอันเป็นประมุขคือ ​ ศีล ​ สมาธิ ​ ปัญญา ​ แห่งพระคาถานี้ว่า ​ '​นรชนผู้มีปัญญาตั้งมั่นในศีล' ​ ดังนี้เป็นต้น 
- 
-'''​สมาธินิทเทส ​ ปริจเฉทที่ 11'''​ 
- 
-'''​ในปกรณ์วิเศษวิสุทธิมรรค ​ ที่ข้าพเจ้ารจนาไว้'''​ 
- 
-'''​เพื่อพยุงความปราโมทย์แก่สาธุชนทั้งหลาย'''​ 
- 
-'''​ยุติเพียงเท่านี้'''​ 
- 
- 
-==ดูเพิ่ม== 
-*'''​[http://​www.84000.org/​tipitaka/​pitaka2/​sutta23.php ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค]'''​ 
-*'''​[[วิสุทธิมรรค ฉบับปรับสำนวน]] (สารบัญ)'''​