วิสุทธิมรรค_08_อนุสสติกัมมัฏฐานนิทเทส

ความแตกต่าง

นี่เป็นการแสดงความแตกต่างระหว่างเพจสองรุ่น

Link to this comparison view

วิสุทธิมรรค_08_อนุสสติกัมมัฏฐานนิทเทส [2020/10/12 07:20]
dhamma [อธิบายจตุกกะที่ 2]
วิสุทธิมรรค_08_อนุสสติกัมมัฏฐานนิทเทส [2021/01/02 20:14]
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
-{{wst>​วสธมฉปส head| }} 
-{{wst>​วสธมฉปส sidebar}} 
-=มรณานุสสติกถา= 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 1)''</​fs></​sub>​ 
- 
-บัดนี้ ​ ถึงวาระแสดงการเจริญมรณสติต่อจากเทวตานุสสตินี้ไป  ​ 
- 
-ในมรณสตินั้น ​ คำว่า ​ มรณะ ​ ได้แก่ ​ ความขาดแห่ง[[ชีวิตินทรีย์]]ที่เนื่องอยู่ในภพเดียวกัน  ​ 
- 
-# สมุจเฉทมรณะ ​ กล่าวคือ ความขาดสูญแห่งวัฏฏทุกข์ของพระอรหันต์ทั้งหลาย ​ 
-# ขณิกมรณะ กล่าวคือความแตกดับชั่วขณะแห่งสังขารทั้งหลาย และ 
-# สมมติมรณะ ได้ในคำว่า ต้นไม้ตาย ​ โลหะตาย ​ ดังนี้เป็นต้น  ​ 
- 
-มรณะทั้ง 3 อย่างนั้น ​ ไม่ประสงค์เอาในมรณสตินี้  ​ 
- 
-ก็แหละมรณะที่ประสงค์เอานั้นมี 2  อย่างคือ  ​ 
-# กาลมรณะ 1  ​ 
-# อกาลมรณะ 1  ​ 
- 
-ในมรณะ 2  อย่างนั้น ​ กาลมรณะ ​ มีด้วยการสิ้นบุญ ​ หรือการสิ้นอายุ ​ หรือด้วยการสิ้นทั้ง 2  อย่าง ​ อกาลมรณะ ​ มีด้วยอำนาจกรรม ​ ที่เข้าตัดรอนกรรม 
- 
-ในมรณะเหล่านั้น ​ ก็มรณะใดเมื่อความพร้อมมูลแห่งปัจจัยที่เป็นเหตุสืบต่ออายุยังมีอยู่ ​ ก็ย่อมมีได้ ​ เพราะความที่กรรมอันเป็นเหตุต่อปฏิสนธิมีวิบากสุกงอมสิ้นเชิงแล้วนี้ชื่อว่ามรณะด้วยการสิ้นบุญ ​ มรณะใดย่อมมีด้วยการสิ้นอายุซึ่งมี 100 ปีเป็นกำหนดเหมือนอายุของคนทุกวันนี้ ​ เพราะไม่มีสมบัติคือคติ, ​ กาล ​ และอาหารเป็นต้น ​ นี้ชื่อว่ามรณะด้วยการสิ้นอายุ ​ ส่วนมรณะใดย่อมมีแก่เหล่าสัตว์ผู้มีสันดานอันกรรมที่สามารถจะให้เคลื่อนจากฐานในทันทีเข้ามาตัดรอน ​ เหมือนอย่างทุสิมารและกลาพุราชเป็นต้น ​ หรือย่อมมีแก่เหล่าสัตว์ผู้มีสันดานขาดไปด้วยความพยายามมีการนำศัสตรามา ​ (ประหาร) ​ เป็นต้น ​ ด้วยอำนาจกรรมปางก่อน ​ นี้ชื่อว่าอกาลมรณะ ​ มรณะทั้งหมดนั้น ​ สงเคราะห์ด้วยความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ ​ การระลึกถึงมรณะ ​ กล่าวคือ ​ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ ​ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ​ ชื่อว่ามรณสติ 
- 
-อันพระโยคาวจรผู้ประสงค์จะเจริญมรณสตินั้น ​ ไปในที่ลับหลีกเร้นอยู่ ​ พึงให้มนสิการเป็นไปโดยแยบคายว่า ​ มรณะจักมี ​ ชีวิตินทรีย์จักขาด ​ หรือว่า ​ ตาย ​ ตาย ​ ดังนี้ ​ เพราะว่าเมื่อ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 2)''</​fs></​sub>​ 
- 
-พระโยคาวจรยังมนสิการให้เป็นไปโดยไม่แยบคาย ​ เวลาระลึกถึงความตายของคนที่ชอบกันจะเกิดความโศกเศร้า ​ ดุจเวลามารดาผู้บังเกิดเกล้าระลึกถึงความตายของบุตรที่รักฉะนั้น ​ เวลาที่ระลึกถึงความตายของคนที่ไม่ชอบกันจะเกิดความปราโมทย์ ​ ดุจคนมีเวรกันระลึกถึงความตายของคนที่มีเวรกันฉะนั้น ​ เวลาระลึกถึงความตายของคนที่เป็นกลาง ๆ  จะไม่เกิดความสลดใจ ​ ดุจสัปเหร่อเห็นซากคนตายฉะนั้น ​ เวลาระลึกถึงคามตายของตนจะเกิดความสะดุ้งหวาดกลัว ​ ดุจคนที่มีชาติขลาดเพราะเห็นเพชฌฆาตผู้เงื้อดาบฉะนั้น ความเกิดขึ้นแห่งความโศกเป็นต้นแม้ทั้งหมดนั้น ​ ย่อมมีแก่ผู้ปราศจากสติ, ​ ความสังเวช ​ และญาณ เพราะเหตุนั้น ​ พระโยคาวจรเห็นสัตว์ที่ถูกฆ่าตายและตายเองในที่นั้น ๆ แล้ว ​ พึงพิจารณาถึงความตายของหมู่สัตว์ที่ตายไปซึ่งที่เป็นสมบัติที่ตนเคยเห็นมา ​ ประกอบสติ, ​ ความสังเวช ​ และญาณ ​ แล้วยังมนสิการให้เป็นไปโดยนัยมี ​ อาทิว่า ​ มรณํ ​ ภวิสฺสติ ​ ความตายจักมี ​ ดังนี้ ​ ด้วยว่าพระโยคาวจรเมื่อให้มนสิการเป็นไปอย่างนั้น ​ ชื่อว่าให้เป็นไปโดยแยบคาย ​ อธิบายว่าให้เป็นไปโดยอุบาย ​ จริงอยู่สำหรับพระโยคาวจรบางพวกที่ยังมนสิการให้เป็นไปอยู่อย่างนั้นนั่นแล ​ นิวรณกิเลสทั้งหลายย่อมระงับลง ​ สติมีมรณะเป็นอารมณ์ย่อมตั้งมั่น ​ กัมมัฏฐานขึ้นถึงอุปจารฌานทีเดียวก็เป็นได้ 
- 
-ส่วนพระโยคาวจรผู้ไม่มีกัมมัฏฐานถึงอุปจารฌานด้วยอาการเพียงเท่านี้ ​  ​พึงระลึกถึงความตาย ด้วย 8  อาการเหล่านี้ ((ผู้ปรับสำนวน:​ ตรงนี้ต้องย้อนกลับไปพิจารณานิทเทสที่ 1-4 ตั้งแต่สีลนิทเทสจนถึงปถวีกสิณนิทเทสใหม่ด้วยว่า "​บกพร่องข้อใด"​ เว้นแต่มีอาจารย์กรรมฐานที่มีคุณสมบัติ ก็ให้อาจารย์ดูแลให้แทน)) 
- 
-1.    อาการที่ความตายนั้น "​ต้องฆ่าแน่นอนเหมือนเพชฌฆาต"​ 
- 
-2.    อาการที่ความตายนั้น "​ตายแล้ววิบัติจากสมบัติแน่นอน"​ 
- 
-3.    อาการที่ความตายนั้น "​ตายเท่าเทียมกันแน่นอน"​ 
- 
-4.    อาการที่ความตายนั้น "​เป็นเพราะร่างกายสาธารณะแก่สัตว์มากมากยอยู่แล้ว"​ 
- 
-5.    อาการที่ความตายนั้น "​เป็นเพราะอายุอ่อนแออยู่แล้ว"​ 
- 
-6.    อาการที่ความตายนั้น "​กำหนดแน่นอนไม่ได้"​ 
- 
-7.    อาการที่ความตายนั้น "​ตายทุกชาติแน่นอน"​((ผู้ปรับสำนวน:​ พระพุทธเจ้ากำหนดเวลาตายแน่นอนได้ก็จริง แต่ตัวความตายของพระพุทธเจ้าก็ไม่แน่นอน คือ จริงๆ จะตายตอนอายุครบอายุกัปป์ (100 ปีก็ได้) แต่ก็ตายตอน 80 ปี, และถ้าไม่ได้รับทีปังกรพุทธพยากรณ์ ชาตินี้ก็อาจไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ ก็ยิ่งกำหนดเวลาตายได้ยากยิ่งขึ้นไปอีก. โดยนัยนี้ แม้พระพุทธเจ้าทรงกำหนดเวลาตายได้ก็จริง แต่ตัวความตายนั้นก็ยังคงกำหนดแน่นอนไม่ได้จริงๆ เช่นกัน)) 
- 
-8.    อาการที่ความตายนั้น "​ตายทุกขณะจิตแน่นอน"​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 3)''</​fs></​sub>​ 
- 
-==ต้องฆ่าแน่นอนเหมือนเพชฌฆาต== 
- 
-บรรดาบทเหล่านั้น ​ บทว่า ​ วธกปจฺจุปฏฐานโต ​ แปลว่า ​ โดยปรากเหมือนเพชฌฆาต ​ พระโยคาวจรพึงระลึกว่า ​ เปรียบเหมือนเพชฌฆาตคิดจะตัดศีรษะผู้นี้ ​ ฉวยดาบจ่ออยู่ที่คอยืนประชิดตัวอยู่ฉันใด ​ แม้ความตายก็ปรากฏเช่นนั้นเหมือนกัน ​ เพราะเหตุไร ?  เพราะมาพร้อมกับความเกิดและเพราะเป็นเครื่องบั่นทอนชีวิต ​ อุปมาเหมือนดอกเห็ดหัวงูตูมๆ ​ ย่อมดันเอาฝุ่นติดหัวขึ้นมาพร้อมฉันใด ​ สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น ​ ย่อมพาเอาความแก่และความตายมาเกิดด้วย ​ จริงอย่างนั้น ​ ปฏิสนธิจิตของสัตว์เหล่านั้นก็ถึงความแก่ถัดแต่เกิดขึ้นมาทีเดียว ​ แล้วก็แตกดับไปพร้อมกับด้วยขันธ์อันเป็นตัวประกอบ ​ ดังศิลาตกจากยอดเขาแตกกระจายไปฉะนั้น ​ ความตายที่มีประจำทุกขณะดังกล่าวมาฉะนี้ ​ อันดับแรกมาพร้อมกับความเกิด ​ แต่เพราะสัตว์เกิดมาแล้วต้องตายเป็นเที่ยงแท้ ​ แม้ความตายที่ประสงค์เอาในมรณสตินี้ก็จัดว่ามาพร้อมกับความเกิด เพราะเหตุนั้น ​ สัตว์นี้ตั้งแต่เวลาที่เกิดมาเดินบ่ายหน้าต่อความตายมิได้หวนกลับมาเลยแม้สักน้อยเดียว เปรียบดังพระอาทิตย์โผล่ขึ้นมาแล้วก็โคจรบ่ายหน้าต่อที่ตกไปท่าเดียว ​ มิได้กลับมาหาที่ ๆ โคจรไปแล้วนั้น ๆ แม้สักน้อยหนึ่ง ​ หรือมิฉะนั้น ​ เปรียบเหมือนสายน้ำเล็กๆ ​ ที่ไหลลงจากภูเขามีกระแสเชี่ยว มีปกติพัดเอาสิ่งพอที่จะพัดไปได้ ​ ย่อมไหลรุดไปท่าเดียว ​ มิได้หวนกลับแม้สักน้อยหนึ่ง ​ ฉะนั้น ​ เพราะฉะนั้น ​ ท่านจึงกล่าวไว้ว่า 
- 
-สัตว์อยู่ในครรภ์เพียงคืนเดียวซึ่งเป็นคืนแรก ​ ย่อมบ่ายหน้าไป ​ (สู่ความตาย) ​ เหมือนเมฆฝนตั้งขึ้นแล้ว ​ ก็ย่อมเคลื่อนไปเรื่อย ​ ไม่หวนกลับมา ​ ดังนี้ 
- 
-ก็เมื่อสัตว์นั้นบ่ายหน้าไปอยู่อย่างนี้ ​ ความตายเท่านั้นย่อมใกล้เข้ามา ​ เหมือนอย่างความเหือดแห้งไปแห่งแม่น้ำน้อยอันถูกแดดแผดเผาในฤดูร้อน ​ และเหมือนอย่างความหล่นผลอยแห่งผลไม้ทั้งหลายที่มีขั้วอันรสแห่งโปรธาตุซาบซึมแล้วในเวลาเช้า ​ ดุจความแตกแห่งภาชนะดินทั้งหลายที่ถูกทุบด้วยไม้ค้อน ​ และความเหือดแห้งไปแห่งหยาดน้ำค้างทั้งหลายที่ต้องแสงอาทิตย์แผดเผาฉะนั้น ​ เพราะเหตุนั้น ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 4)''</​fs></​sub>​ 
- 
-วันและคืนล่วงไป ​ ชีวิตพลอยดับไปด้วย ​ อายุของสัตว์ค่อยสิ้นไปดังน้ำแห่งแม่น้ำน้อยค่อยแห้งไป ​ ฉะนั้น ​ สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดมาแล้ว ​ ย่อมมีภัยแต่ความตายเป็นเที่ยงแท้แน่นอน ​ ดุจผลไม้ทั้งหลายที่สุกแล้ว ​ ย่อมมีภัยแต่ความหล่นในเวลาเช้า ​ ฉะนั้น 
- 
-อนึ่ง ​ เหมือนภาชนะดินที่ช่างหม้อทำขึ้น ​ ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ​ ทั้งสุกทั้งดิบ ทุกอย่างล้วนมีความแตกเป็นที่สุด ​ ฉันใด ​ ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็เป็นฉันนั้น 
- 
-หยาดน้ำค้างที่ยอดหญ้า ​ พอพระอาทิตย์ขึ้นไปก็ตกไป ​ ฉันใด ​ อายุของสัตว์ทั้งหลายก็เป็นฉันนั้น ​ คุณแม่จ๋า ​ คุณแม่อย่าห้ามผมเลย 
- 
-ความตายมาพร้อมกับความเกิดประดุจเพชฌฆาตที่เงื้อดาบ ​ ด้วยประการฉะนี้  ​ 
- 
-อนึ่ง ​ ความตายนี้นั้นย่อมคร่าเอาชีวิตถ่ายเดียว ​ ครั้นคร่าเอาไปแล้วก็มิได้ปล่อยให้กลับคืนมา ​ ดังเพชฌฆาตกวัดแกว่งดาบอยู่ที่คอฉะนั้น ​ เพราะเหตุนั้น ​ แม้ความตายจึงชื่อว่าปรากฏดังเพชฌฆาตเงื้อดาบ ​ เพราะมาพร้อมกับความเกิดและเพราะคร่าชีวิตไปดังนี้แล ​ พระโยคาวจรพึงระลึกถึงความตายโดยปรากฏดังเพชฌฆาต ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-==ตายแล้ววิบัติจากสมบัติแน่นอน== 
- 
-คำว่า ​ โดยวิบัติจากสมบัติ ​ มีอธิบายว่า ​ ขึ้นชื่อว่าสมบัติในโลกนี้ย่อมงดงามอยู่ได้ชั่วเวลาที่วิบัติยังไม่ครอบงำ ​ แต่ขึ้นชื่อว่าสมบัติจะพึงพ้นความวิบัติดำรงอยู่ได้ ​ หามีไม่ ​ จริงอย่างนั้น 
- 
-แม้พระเจ้าอโศกมหาราช ​ ทรงปกครองแผ่นดินทั้งสิ้น ​ ทรงสละพระราชทรัพย์ตั้งร้อยโกฏิ ​ ทรงเป็นผู้มีความสุข ​ ในบั้นปลายถึงความเป็นใหญ่แห่งวัตถุเพียงผลมะขามป้อมครึ่งผลด้วยทั้งเรือนร่างนั่นแล ​ แม้เมื่อท้าวเธอทรงสิ้นบุญแล้ว ​ พระองค์ก็ทรงบ่ายพระพักตร์ต่อมรณะ ​ ก็ต้องมาถึงซึ่งความโศกเศร้า 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 5)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อีกอย่างหนึ่ง ​ ความไม่มีโรคแม้ทั้งหมดมีความเจ็บไข้เป็นที่สุด ความเป็นหนุ่มทั้งหมดมีความแก่เป็นที่สุด ชีวิตทั้งหมดมีความตายเป็นที่สุด ​ โลกสันนิวาสทั้งหมดนั่นแลถูกชาติติดตาม ​ ถูกชราไล่ตาม ​ ถูกพยาธิครองำ ​ ถูกมรณะดักสังหาร ​ เพราะเหตุนั้น ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า – 
- 
-<​blockquote>​ภูเขาใหญ่อันล้วนแล้วด้วยหินสูงจรดฟ้ากลิ้งบดมาทั้ง 4 ทิศโดยรอบแม้ฉันใด ​ ความแก่และความตายก็ฉันนั้น ​ ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย ​ คือพวกกษัตริย์ ​ พวกพรหมณ์ ​ พวกแพศย์ ​ พวกศูทร ​ พวกคนจัณฑาล ​ และพวกปุกกุสะ ​ ไม่เว้นใคร ๆ  ย่อมย่ำยีทั่วไปทั้งหมดเลย ณ  ที่นั้น ​ พื้นที่สำหรับพลช้างก็ไม่มี ​ สำหรับพลม้าก็ไม่มี ​ สำหรับพลรถก็ไม่มี ​ สำหรับพลเดินเท้าก็ไม่มี ​ และใครๆ ​ ไม่อาจชนะได้ด้วยมนต์หรือด้วยทรัพย์ ​ วิบัติคือความตายเป็นที่สุดแห่งสมบัติคือชีวิต </​blockquote>​ 
- 
-พระโยคาวจรเมื่อจะกำหนดถึงภาวะที่ชีวิตมีความตายเป็นที่สุดนั้น ​ พึงระลึกถึงความตายโดยอาการวิบัติแห่งสมบัติ ​ ด้วยประการฉะนี้ ​ 
- 
-==ตายเท่าเทียมกันแน่นอน== 
- 
-คำว่า ​ โดยนำมาเปรียบเทียบ ​ ความว่า ​ โดยนำเข้ามาเปรียบเทียบกับตนพร้อมทั้งคนอื่นๆ ​ ในข้อนั้นมีอธิบายดังนี้ 
- 
-พระโยคาวจรพึงระลึกถึงความตายโดยเปรียบเทียบกับ ​ อาการ 7  อย่างคือ- 
- 
-2.    โดยความเป็นผู้มีบุญมาก 
- 
-3.    โดยความเป็นผู้มีกำลังมาก 
- 
-4.    โดยความเป็นผู้มีฤทธิ์มาก 
- 
-5.    โดยความเป็นผู้มีปัญญามาก 
- 
-6.    โดยความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า 
- 
-7.    โดยความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 6)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​1. ​   อธิบายโดยความเป็นผู้มียศใหญ่'''​ 
- 
-ถามว่า ​ พึงเปรียบเทียบอย่างไร ?  แก้ว่า ​ พึงเปรียบเทียบอย่างนี้ว่า ​ ขึ้นชื่อว่าความตายนี้ตกต้องอย่างไม่ขวยเขินเบื้องบนแม้แห่งท่านผู้มียศใหญ่คือมีบริวารมาก มีทรัพย์และพาหนะพรั่งพร้อม ​ แม้กระทั่งท้าวมหาสมมต, ​ พระเจ้ามันธาตุ, ​ พระเจ้ามหาสุทัสสนะและ พระเจ้าทัฬหเนมิ ​ ก็เหตุไฉนเล่า ​ ความตายจึงจักไม่ตกต้อง ​ ณ  เบื้องบนแห่งเรา 
- 
-ท่านผู้มียศใหญ่ทั้งหลาย ​ เป็นท้าวพญาผู้ประเสริฐ ​ เช่นท้าวมหาสมมตเป็นต้น ​ แม้ท่านเหล่านั้นยังถึงซึ่งอำนาจแห่งความตาย ​ จะป่วยกล่าวไปไยในคนทั้งหลายเช่นเราเล่า. 
- 
-พึงระลึกถึงความตายโดยความเป็นผู้มียศใหญ่ดังว่ามานี้เป็นอันดับแรก 
- 
-'''​2. ​   อธิบายความเป็นผู้มีบุญมาก'''​ 
- 
-พึงระลึกถึงความตายโดยความเป็นผู้มีบุญมากอย่างไร? ​ พึงระลึกถึงความตายโดย ​ ความเป็นผู้มีบุญมากอย่างนี้ว่า 
- 
-เศรษฐีเหล่านี้คือ ​ โชติยเศรษฐี ​ ชฏิลเศรษฐี ​ อุคคเศรษฐี ​ เมณฑกเศรษฐี ปุณณกเศรษฐี ​ และเศรษฐีอื่นๆ ​ ที่ลือกระฉ่อนว่า ​ เป็นผู้มีบุญมากในโลก ​ ท่านเหล่านั้นทั้งหมดยังถึงซึ่งความตาย ​ จะป่วยกล่าวไปไยถึงคนทั้งหลายเช่นเราเล่า 
- 
-'''​3. ​   อธิบายโดยความเป็นผู้มีกำลังมาก'''​ 
- 
-พึงระลึกถึงความตายโดยความเป็นผู้มีกำลังมากอย่างไร ?  พึงระลึกถึงความตาย ​ โดยความเป็นผู้มีกำลังมากอย่างนี้ว่า 
- 
-พระวาสุเทพ ​ พระพลเทพ ​ พระภีมเสน ​ พระยุธิฏฐิละ ​ แม้นักมวยปล้ำใหญ่ชื่อว่าหนุระ ​ ก็ไปแล้วสู่อำนาจแห่งความตาย ​ แต่ท่านเหล่านั้นผู้ลือกระฉ่อนโลกว่าเป็นผู้มีกำลังมากถึงอย่างนี้ ​ ทุกท่านก็ถึงซึ่งความตาย ​ จะป่วยกล่าวไปไยในคนทั้งหลายเช่นเราเล่า. 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 7)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​4. ​   อธิบายโดยความเป็นผู้มีฤทธิ์มาก'''​ 
- 
-พึงระลึกถึงความตายโดยความเป็นผู้มีกำลังมากอย่างไร? ​ พึงระลึกถึงความตายโดยความเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ว่า 
- 
-พระอัครสาวกที่สองเป็นผู้ประเสริฐกว่าบรรดาท่านผู้มีฤทธิ์ทั้งหลาย ​ ได้ยังเวชยันต์ปราสาทให้หวั่นไหว ​ ด้วยอวัยวะเพียงนิ้วหัวแม่เท้า ​ แม้ท่านก็ยังเข้าปากของความตายอันน่าสะพรึงกลัวไปพร้อมด้วยฤทธิ์ทั้งหลาย ​ เสมือนมฤคเข้าสู่ปากแห่งราชสีห์ ​ จะป่วยกล่าวไปไยในคนทั้งหลายเช่นเราเล่า. 
- 
-'''​5. ​   อธิบายโดยความเป็นผู้มีปัญญามาก'''​ 
- 
-พึงระลึกถึงความตายโดยความเป็นผู้มีปัญญามากอย่างไร? ​ พึงระลึกถึงความตายโดยความเป็นผู้มีปัญญามากอย่างนี้ว่า 
- 
-ยกเว้นพระโลกนาถเจ้าเสีย ​ สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีอยู่ ​ สัตว์นั้นว่าโดยปัญญาย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ 16  แห่งพระสารีบุตร ​ พระอัครสาวกที่หนึ่งได้มีปัญญามากถึงอย่างนี้ ​ ยังถึงซึ่งอำนาจแห่งความตายจะป่วยกล่าวไปไยในคนทั้งหลายเช่นเราเล่า. 
- 
-'''​6. ​   อธิบายโดยความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า'''​ 
- 
-พึงระลึกถึงความตายโดยความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าอย่างไร? ​ พึงระลึกถึง ​ ความตายโดยความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าอย่างนี้ว่า ​ แม้พุทธบุคคลเหล่านั้นทำการย่ำยีศัตรู ​ คือกิเลสทั้งปวงด้วยพลังคือปัญญาและวิริยะของตนๆ ​ ได้บรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณ ​ เป็นผู้ตรัสรู้เอง ​ มีอาการดังนอแรด ​ แม้ท่านเหล่านั้นยังไม่พ้นจากความตาย ​ ก็ไฉนเราจักพ้นเล่า 
- 
-ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่อาศัยนิมิตนั้น ๆ  พิจารณาอยู่ ​ เป็นพระสยัมภูด้วยเดชแห่งญาณ ​ บรรลุพระนิพพานเป็นที่สิ้นอาสวะมีอุปมาเสมือนนอแรด ​ เพราะท่านอยู่ในความประพฤติโดดเดี่ยว ​ แม้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 8)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ท่านเหล่านั้นก็หาล่วงพ้นความตายไปได้ไม่ ​ จะป่วยกล่าวไปไยในคนทั้งหลายเช่นเราเล่า 
- 
-พึงระลึกถึงความตายโดยความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยอาการอย่างนี้. 
- 
-'''​7. ​   อธิบายโดยความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า'''​ 
- 
-พึงระลึกถึงความตายโดยความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างไร ?  พึงระลึกถึงความตายโดยความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างนี้ว่า 
- 
-พระผู้มีพระภาคเจ้า ​ แม้นั้นใด ​ มีพระรูปกายอันวิจิตรไปด้วยมหาปุริสลักษณะ 32  ประการ ​ ซึ่งประดับด้วยอนุพยัญชนะ 80  ประการ ​ มีพระธรรมกายอันสำเร็จด้วยพระคุณรัตนะมีศีลขันธ์เป็นต้นอันบริสุทธิ์ด้วยอาการทั้งปวง ​ ทรงถึงฝั่งแห่งความเป็นผู้มียศใหญ่ความเป็นผู้มีบุญมาก ​ ความเป็นผู้มีกำลังมาก ​ ความเป็นผู้มีฤทธิ์มาก ​ และความเป็นผู้มีปัญญามากหาผู้เสมอมิได้ ​ ไม่มีผู้เทียบเท่า ​ ไม่มีผู้เปรียบปาน ​ ไม่มีบุคคลจะเทียมทัน ​ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ​ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นก็ยังทรงระงับดับขันธ์โดยพลัน ​ เพราะการตกลงแห่งหยาดฝนคือมรณะ ​ เปรียบดังกองแห่งเพลิงใหญ่ดับไปเพราะฝนตกรดฉะนั้น 
- 
-อันความตายนั่นใดมาสู่อำนาจของพระผู้มีพระภาคเจ้า ​ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ​ ผู้มีอานุภาพมากอย่างนี้ ​ โดยไม่ต้องกลัว ​ โดยไม่ต้องละอาย ​ ไฉนเล่า ?  เจ้าความตายนี้นั้นอันไร้ความอายปราศจากความกลัว มุ่งแต่จะย่ำยีสัตว์ทุกถ้วนหน้า จักไม่มาครอบงำสัตว์เช่นเราเล่า 
- 
-เมื่อพระโยคาวจรนั้น น้อมตนเข้าไปเปรียบเทียบกับคนอื่น ซึ่งเพียบพร้อมด้วยความเป็นใหญ่ มีความเป็นผู้มียศใหญ่เป็นต้น โดยภาวะคือความเป็นผู้มีความตายเสมอกันอย่างนี้แล้ว ระลึกไปว่า ความตายจักมีแม้แก่เรา ดุจมีแก่สัตว์วิเศษเหล่านั้น ดังนี้ กรรมฐานย่อมถึงอุปจารแล พระโยคาวจรระลึกถึงความตายโดยนำมาเปรียบเทียบ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 9)''</​fs></​sub>​ 
- 
-==ตายเพราะร่างกายสาธารณะแก่สัตว์มากมากยอยู่แล้ว== 
- 
-คำว่า โดยเป็นกายสาธารณะแก่หมูหนอนจำนวนมาก มีอธิบายว่า กายนี้สาธารณะทั่วไปแก่สัตว์ทุกจำพวก คืออันดับแรกก็เป็นกายทั่วไปแก่หมูหนอน 80 ครอก ในหมู่หนอนเหล่านั้น พวกสัตว์ที่อาศัยผิวหนังก็กัดกินผิวหนัง จำพวกที่อาศัยหนังกัดกินหนัง ​ จำพวกที่อาศัยเนื้อก็กัดกินเนื้อ จำพวกที่อาศัยเอ็นก็กัดกินเอ็น ​ จำพวกที่อาศัยกระดูกก็กัดกินกระดูก ​ จำพวกที่อาศัยเยื่อในกระดูกก็กัดกินเยื่อในกระดูก มันเกิด,​ แก่, ตาย, ถ่ายอุจจาระ,​ ปัสสาวะอยู่ในกายนั้นเอง และร่างกายก็นับว่าเป็นเรือนคลอด เป็นโรงพยาบาล เป็นสุสาน เป็นส้วม เป็นรางปัสสาวะ ของพวกมัน อันว่าร่างกายนี้นั้น ​ เพราะความกำเริบแห่งหมู่หนอนแม้เหล่านั้น ก็ถึงซึ่งความตายได้ประการหนึ่งเป็นแท้ 
- 
-อนึ่ง ​ กายนี้ย่อมทั่วไปแก่ปัจจัยแห่งความตาย ​ เฉพาะที่เป็นภายในได้แก่โรคหลายชนิด ​ และที่เป็นภายนอกได้แก่งูและแมลงป่องเป็นต้น ​ เหมือนอย่างที่สาธารณะทั่วไป ​ แก่หมู่หนอน 80  ครอกฉะนั้น 
- 
-อนึ่ง ​ เปรียบดังอาวุธต่างๆ ​ เช่นลูกศร ​ หอกแทง ​ หอกชัด ​ และก้อนหินเป็นต้น ​ อันมาแต่ทิศทั้งปวงตกประดังลงที่เป้าที่เขาตั้งไว้ในหนทางใหญ่ 4  แพร่ง ​ ฉันใด ​ อันตรายทุกอย่างย่อมตกประดังลง ​ แม้ในกาย ​ ก็ฉันนั้น ​ กายนี้นั้นย่อมถึงความตายเป็นเที่ยงแท้เพราะ ​ อันตรายเหล่านั้นตกประดังลง 
- 
-เพราะเหตุนั้น ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ​ "​ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ​ เมื่อกลางวันผ่านไปแล้วกลางคืนย่างเข้ามา ​ ย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ​ เหตุแห่งความตายของเรามีมากแล ​ คืองูจะพึงกัดเรา ​ แมลงป่องจะพึงต่อยเรา ​ หรือตะขาบจะพึงกัดเรา ​ เราจะพึงตายเพราะเหตุนั้น ​ นั้นจะพึงเป็นอันตรายแก่เรา ​ มิฉะนั้นเราจะพึงพลาดล้มลง ​ หรือภัตที่เราบริโภคแล้วพึงเสียไป ​ น้ำดีของเราพึงกำเริบก็ได้ ​ เสมหะของเราพึงกำเริบก็ได้ ​ มิใช่แต่เท่านั้น ​ ลมมีพิษดังศัตราจะพึงกำเริบแก่เราก็ได้ ​ เราจะต้องตายเพราะเหตุนั้น ​ นั้นจะพึงเป็นอันตรายแก่เรา" ​ พระโยคาวจรพึงระลึกถึงความตายโดยเป็นกายสาธารณะแก่หมู่หนอนจำนวนมาก ​ ด้วยประการฉะนี้. 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 10)''</​fs></​sub>​ 
- 
-==เป็นเพราะอายุอ่อนแออยู่แล้ว== 
- 
-คำว่า ​ อายุทุพลภาพ ​ อธิบายว่า ​ ธรรมดาว่าอายุนั้นไม่แข็งแรง ​ อ่อนแอ ​ จริงอย่างนั้น ​ ชีวิตของเหล่าสัตว์เนื่องด้วยลมหายใจออกและลมหายใจเข้า ​ เนื่องด้วยอิริยาบถ ​ เนื่องด้วยความเย็นและความร้อน ​ เนื่องด้วยมหาภูต ​ และเนื่องด้วยอาหาร ​ ชีวิตนี้นั้นเมื่อได้ภาวะความเป็นไปสม่ำเสมอลมหายใจออกและลมหายใจเข้านั่นแหละ ​ จึงเป็นไปได้ ​ แต่เมื่อลมทางจมูกที่ออกไปทางข้างนอกไม่กลับเข้าไปข้างในก็ดี ​ ที่เข้าไปแล้วไม่ออกมาก็ดี ​ บุคคลย่อมได้ชื่อว่าตาย ​ ชีวิตเมื่อได้ภาวะความเป็นไปสม่ำเสมอแม้แห่งอิริยาบถทั้ง 4  นั่นแหละจึงเป็นไปได้ ​ แต่เพราะความที่อิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งเกินประมาณ ​ อายุสังขารย่อมขาด ​ ชีวิตที่ได้ภาวะความเป็นไปสม่ำเสมอแม้แห่งความเย็นและความร้อนนั่นแหละ ​ จึงเป็นไปได้ ​ แต่เมื่อบุคคลถูกความเย็นจัดก็ดี ​ ถูกความร้อนจัดก็ดีครอบงำ ​ ย่อมวิบัติ ​ ชีวิตเมื่อได้ภาวะความเป็นไปสม่ำเสมอแม้แห่งมหาภูตรูปนั่นแหละจึงเป็นไปได้ แต่เพราะปฐวีธาตุหรืออาโปธาตุ ​ เป็นต้นธาตุใดธาตุหนึ่งกำเริบ ​ บุคคลแม้สมบูรณ์ด้วยกำลังก็ยังเป็นคนมีกายแข็งกระด้างได้หรือมีกายเน่าเปรอะเปื้อนด้วยอำนาจโรคลงแดง ​ เป็นต้น ​ หรือมีความร้อนมากเป็นเบื้องหน้าได้ ​ หรือมีไขข้อและเส้นเอ็นขาดไปได้ ​ ย่อมถึงความสิ้นชีวิต ​ บุคคลเมื่อได้อาหารคือคำข้าวในเวลาที่ควรนั่นแหละ ​ ชีวิตจึงเป็นไปได้ ​ แต่เมื่อไม่ได้อาหารย่อมถึงความสิ้นสูญ ​ พระโยคาวจรพึงตามระลึกถึงความตายโดยอายุเป็นของทุพลภาพ ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-==กำหนดแน่นอนไม่ได้== 
- 
-คำว่า ​ กำหนดแน่นอนไม่ได้ ​ อธิบายว่า ​ กำหนดขอบเขตไม่ได้,​ แบ่งให้ชัดเจนไม่ได้. ​ จริงอยู่ – 
- 
-สภาวธรรม 5  ประการนี้ ​ คือ ชีวิต 1  พยาธิ 1  กาลเวลา 1  สถานที่ทอดทิ้งกาย 1  คติ 1  ของเหล่าสัตว์ในชีวโลก ​ ไม่มีเครื่องหมาย ​ ใคร ๆ รู้ไม่ได้. 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 11)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ในสภาวธรรม 5  ประการนั้น ​ ธรรมดาว่าชีวิต ​ ชื่อว่าไม่มีเครื่องหมาย ​ เพราะไม่มีกำหนดว่า ​ จะพึงเป็นอยู่เท่านี้ปี ​ ไม่เกินจากนี้ไปได้ ​ จริงอยู่ ​ สัตว์ทั้งหลายย่อมตายเสียแต่ในเวลาแรกเกิด ​ เป็นกลละน้ำขุ่นก็มี ​ ในเวลาเป็นอัมพุทะน้ำที่ใส ​ เป็นชิ้นเนื้อเป็นแท่งอยู่ในครรภ์ได้ 1  เดือน ​ 2 เดือน ​ 3 เดือน ​ 4 เดือน ​ 5เดือน ​ 10 เดือนก็มี ​ ในสมัยที่คลอดจากท้องก็มี ​ เลยนั้นไปย่อมตายภายในร้อยปีบ้าง เกินร้อยปีไปบ้าง ​ อย่างแน่แท้ ​ แม้พยาธิก็ชื่อว่า ​ ไม่มีเครื่องหมาย เพราะความไม่มีกำหนดว่า ​ สัตว์ทั้งหลายจะต้องตายด้วยความเจ็บป่วยชนิดนี้เท่านั้น ​ จะไม่ตายด้วยความเจ็บป่วยชนิดอื่น ​ ด้วยว่า ​ สัตว์ทั้งหลายตายด้วยโรคตาก็มี ​ ตายด้วยโรคหูเป็นต้นชนิดใดชนิดหนึ่งก็มี ​ แม้กาลเวลาก็ชื่อว่าไม่มีเครื่องหมาย ​ เพราะไม่มีกำหนดอย่างนี้ว่า ​ จะต้องตายในเวลานี้เท่านั้น ​ ไม่ตายในเวลาอื่น ​ ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายตายในเวลาเช้าก็มี ​ ตายในเวลาเที่ยงเป็นต้นเวลาใดเวลาหนึ่งก็มี ​ แม้สถานที่ทอดทิ้งกายก็ชื่อว่าไม่มีเครื่องหมาย ​ เพราะไม่มีกำหนดอย่างนี้ว่า ​ สัตว์ทั้งหลายเมื่อจะตายจะต้องทอดทิ้งร่างกายไว้ในที่นี้เท่านั้น ​ ไม่ทอดทิ้งไปในที่อื่น ​ ด้วยว่าอัตภาพของบุคคลซึ่งเกิดภายในบ้านตกอยู่นอกบ้านก็มี ​ ของผู้ที่เกิดนอกบ้านตกอยู่ภายในบ้านก็มี ​ โดยประการนั้น ​ บัณฑิตพึงให้พิสดารโดยประการเป็นอันมาก ​ อัตภาพของเหล่าสัตว์ที่เกิดบนบกตกไปในน้ำ ​ หรืออัตภาพของสัตว์ที่เกิดในน้ำตกไปบนบกดังนี้เป็นต้น ​ แม้คติก็ชื่อว่าไม่มีเครื่องหมาย ​ เพราะไม่มีกำหนดอย่างนี้ว่า ​ อันสัตว์ที่จุติจากคตินี้แล้ว ​ จะต้องไปบังเกิดในคตินี้ ​ ด้วยว่า ​ สัตว์ทั้งหลายจุติจากเทวโลก ​ แล้วไปบังเกิดเป็นพวกมนุษย์ก็มี ​ จุติจากมนุษย์โลกแล้วไปบังเกิดในเทวโลกเป็นต้นโลกใดโลกหนึ่งก็มี ​ ชาวโลกย่อมหมุนเวียนไปในคติทั้ง 5  เหมือนโคที่เราเทียมไว้ในยนต์ ​ ฉะนั้น ​ ด้วยประการฉะนี้แล ​ พึงระลึกถึงความตายโดยไม่มีนิมิตเครื่องหมาย ​ ดังที่ว่ามานี้แล. 
- 
-==ตายทุกชาติแน่นอน== 
- 
-คำว่า ​ มีกำหนดเวลาแน่นอน ​ อธิบายว่า ​ ระยะกาลแห่งชีวิตมนุษย์ทั้งหลายในบัดนี้น้อยนัก ​ ผู้ใดเป็นอยู่ได้นาน ​ ผู้นั้นก็เป็นอยู่ได้เพียง 100  ปี ​ หรือเลย ​ (100ปี) ​ ไปบ้าง ​ แต่เป็นส่วนน้อย ​ เพราะเหตุนั้น ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ อายุของมนุษย์ทั้งหลายนี้น้อยนัก ​ พวกเขาจำต้องไปยังสัมปรายภพ ​ พวกเขาควรทำกุศล ​ ควร 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 12)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ประพฤติพรหมจรรย์ ​ ผู้ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายย่อมไม่มี ​ ผู้ใดเป็นอยู่ได้นาน ​ ผู้นั้นก็เป็นอยู่ได้เพียง 100ปี ​ หรือเกิน (100ปี) ​ ก็มีบ้างแต่เป็นส่วนน้อย 
- 
-อายุของมนุษย์นี้น้อยนัก ​ สัตบุรุษพึงดูหมิ่นอายุนั้นเสีย ​ พึงรีบประพฤติความดี ​ ดังคนมีศรีษะถูกไฟไหม้ 
- 
-เพราะความตายจะไม่มาถึงย่อมไม่มี ​ ทรงตรัสไว้อีกว่า ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เรื่องเคยมีมาแล้ว ​ ได้มีศาสดาชื่อว่าอรกะดังนี้เป็นต้น ​ บัณฑิตพึงยังพระสูตรทั้งหมดอันประกอบด้วยอุปมา 7  ข้อให้พิสดาร ​ ตรัสไว้อีกสูตรหนึ่งว่า ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุที่เจริญมรณะสติอย่างนี้ว่า ​ น่าปลื้มใจหนอที่เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วคืน 1  และวัน 1  เราพึงกระทำไว้ในใจซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ​ เราพึงทำกิจของบรรพชิตอันเป็นประโยชน์ตนมากหนอ ​ ดังนี้ก็ดี 
- 
-ดูกรภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุผู้ที่เจริญมรณะสติอย่างนี้ว่า ​ น่าปลื้มใจหนอที่เราพึงเป็นอยู่ชั่วระยะเวลากลางวัน ​ เราพึงทำไว้ในใจถึงคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ​ เราพึงทำกิจแห่งบรรพชิตอันเป็นประโยชน์ของตนมากหนอ ​ ดังนี้ก็ดี 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุผู้เจริญมรณะสติอย่างนี้ว่า ​ น่าปลื้มใจหนอที่เราพึงเป็นอยู่ชั่วระยะเวลาที่เราบิณฑบาตครั้งหนึ่ง ​ เราพึงทำไว้ในใจซึ่งคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ​ เราพึงทำกิจของบรรพชิตอันเป็นประโยชน์ตนมากหนอ ​ ดังนี้ก็ดี 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุผู้ที่เจริญมรณะสติอย่างนี้ว่า ​ น่าปลื้มใจหนอที่เราเป็นอยู่ชั่วระยะเวลาที่เราเคี้ยวคำข้าว ​ 4 – 5 คำแล้วกลืนกิน ​ เราพึงทำไว้ในใจซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ​ เราพึงกิจทำกิจของบรรพชิตอันเป็นประโยชน์ตนมากหนอ ​  ​ดังนี้ก็ดี 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุเหล่านี้เรายังเรียกว่าเป็นผู้ยังประมาทอยู่ ​ เจริญมรณะสติยังชักช้าเพื่อธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ ​ ดังนี้ก็ดี 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ส่วนภิกษุผู้ที่เจริญมรณะสติอย่างนี้ว่า ​ น่าปลื้มใจหนอ ​ ที่เราพึงเป็นอยู่ชั่วระยะเคี้ยวอาหารกลืนลงไปได้คำเดียว ​ เราพึงทำไว้ในใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด ​ เราพึงทำกิจของบรรพชิตอันเป็นประโยชน์ตนมากหนอ ​ ดังนี้ก็ดี 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 13)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุผู้เจริญมรณะสติอย่างนี้ว่า ​ น่าปลื้มใจหนอ ​ ที่เราพึงเป็นอยู่ ​ ชั่วระยะเวลาหายใจเข้าแล้วหายใจออก ​ หรือหายใจออกแล้วหายใจเข้า ​ เราพึงทำไว้ในใจซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ​ เราพึงทำกิจของบรรพชิตอันเป็นประโยชน์ของตนมากหนอ ​ ดังนี้ก็ดี 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุเหล่านี้เราเรียกว่าเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ ​ พวกเธอย่อมเจริญมรณสติเข้มแข็งเพื่อธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ ​ ดังนี้ 
- 
-ระยะกาลแห่งชีวิตน้อยนัก ​ ไม่น่าไว้วางใจเพียงชั่วเคี้ยวคำข้าว 4-5  คำอย่างนี้แล 
- 
-พระโยคาวจรพึงระลึกถึงความตายโดยมีกำหนดระยะกาล ​ ด้วยประการฉะนี้. 
- 
-==ตายทุกขณะจิตแน่นอน== 
-ในคำว่า ​ โดยมีขณะเล็กน้อย ​ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ​ จริงอยู่ ​ เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ​ ขณะแห่งชีวิตของสัตว์ทั้งหลายน้อยนักชั่วความเป็นไปแห่งจิตขณะเดียวเท่านั้น ​ เปรียบเหมือนล้อรถแม้เมื่อหมุนไปก็หมุนด้วยส่วนแห่งกงส่วนหนึ่งเท่านั้น ​ แม้เมื่อหยุดก็หยุดด้วยส่วนแห่งกงส่วนหนึ่งเท่านั้น ​ ฉันใด ​ ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็เป็นไปชั่วขณะแห่งจิตขณะเดียว ​ ฉันนั้นเหมือนกัน ​ ในเมื่อจิตนั้นดับแล้ว สัตว์ก็ถูกเรียกว่าดับแล้ว ​ ดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ​ ในขณะแห่งจิตเป็นอดีตสัตว์เป็นแล้วไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ​ ไม่ใช่จักเป็น ​ ในขณะแห่งจิตเป็นอนาคต ​ ไม่ใช่เป็นแล้ว ​ ไม่ใช่กำลังเป็น ​ แต่จักเป็น ​ ในขณะแห่งจิตเป็นปัจจุบัน ​ สัตว์ไม่ใช่เป็นแล้ว ​ แต่กำลังเป็น ​ ไม่ใช่จักเป็น 
- 
-ชีวิต, ​ อัตภาพ ​ และสุขทุกข์ทั้งมวลล้วนประกอบกับจิตดวงเดียว ​ ขณะย่อมเป็นไปโดยรวดเร็ว ​ ขันธ์ของสัตว์ทั้งที่ตายทั้งที่ยังดำรงอยู่ในภพนี้ ​ ครั้นดับแล้วก็เหมือนกันหมด ​ ไปโดยไม่มีความสืบต่อ ​ สัตว์ไม่เกิดเพราะจิตที่เป็นอนาคต ​ เป็นอยู่เพราะจิตเป็นปัจจุบัน ​ สัตว์โลกชื่อว่าตายเพราะความดับแห่งจิต ​ แต่ว่าเมื่อว่าโดยปรมัตถ์เป็นบัญญัติ 
- 
-พึงระลึกถึงมรณะโดยมีขณะเล็กน้อย ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 14)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แม้เมื่อพระโยคาวจรระลึกถึงความตายอยู่ในอาการ 8  อย่าง ดังกล่าวมานี้ ​ แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ​ จิตย่อมได้อาเสวนะความส้องเสพด้วยอำนาจทำในใจบ่อย ๆ  สติมีมรณะเป็นอารมณ์ย่อมตั้งมั่น ​ นิวรณ์ทั้งหลายย่อมสงบ ​ องค์ฌานย่อมปรากฏ ​ แต่เพราะฌานมีสภาวธรรมเป็นอารมณ์ ​ และอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความสลด ​ ฌานจึงไม่ถึงขั้นอัปปนา ​ ถึงเพียงขั้นอุปจาระเท่านั้น ​ แต่โลกุตตรฌานและอรูปฌานที่ 2  ที่ 4  ย่อมถึงอัปนาด้วยภาวนาพิเศษแม้ในเพราะสภาวธรรม ​ ด้วยว่า ​ โลกุตตรฌานย่อมถึงอัปปนาด้วยอำนาจแห่งลำดับของการทำความบริสุทธิ์ให้เกิด อรูปฌานย่อมถึงอัปปนาด้วยอำนาจแห่งภาวนาอันเป็นเครื่องก้าวล่วงอารมณ์ เพราะว่าในอรูปฌานนั้นย่อมมีกิจพอที่จะก้าวล่วงด้วยดีซึ่งอารมณ์แห่งฌานที่ถึงอัปปนาแล้วนั้นแล แต่ในมรณานุสสติกัมมัฏฐานนี้ไม่มีทั้ง 2 คือทั้งโลกุตตรฌานและอรูปฌาน ฉะนั้นจึงเป็นเพียงอุปจารฌานเท่านั้น ฌานนี้นั้นถึงซึ่งอันนับว่ามรณสติ เพราะเกิดขึ้นด้วยกำลังแห่งมรณสติ ก็แหละภิกษุผู้ประกอบมรณสตินี้อยู่เนือง ๆ ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาท ย่อมได้สัญญาในอันไม่ยินดีในภพทั้งปวง ย่อมละความใคร่ในชีวิต เป็นผู้ติเตียนบาป เป็นผู้ไม่มากไปด้วยความสั่งสมในบริขารทั้งหลาย เป็นผู้ปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน แม้อนิจจสัญญาก็ถึงความคุ้นแก่ภิกษุนั้น ทุกขสัญญาและอนัตตสัญญาก็ปรากฏตามกระแสแห่งอนิจจสัญญานั้นนั่นแล เหล่าสัตว์ผู้ไม่เจริญมรณสติ เมื่อถึงคราวจะมรณะย่อมถึงความกลัว,​ ความสะดุ้ง,​ ความหลงโดยสาหัส ดังถูกเนื้อร้าย,​ ยักษ์,​ งู, โจร และเพชฌฆาตครอบงำ ฉะนั้น พระโยคาวจรผู้เจริญมรณสติย่อมไม่เป็นเช่นนั้น เป็นผู้หาความกลัวมิได้ เป็นผู้ไม่มีความหลงทำกาละ ผู้เจริญมรณสติถ้าหากจะยังไม่ได้ดื่มรสอมตธรรมในปัจจุบันชาตินี้ เบื้องหน้าแต่กายแตกทำลายไปก็จะเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปเบื้องหน้า 
- 
-เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระโยคาวจรผู้มีปัญญาดีพึงบำเพ็ญความไม่ประมาทในมรณสติภาวนา ซึ่งมีอนุภาพอันยิ่งใหญ่ดังพรรณนามานี้ ในกาลทุกเมื่อเทอญ 
- 
-'''​กถามุขอย่างพิสดารในมรณสติ ยุติเพียงเท่านี้'''​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 15)''</​fs></​sub>​ 
- 
-=กายคตาสติกัมมัฏฐาน= 
-==มูลเหตุอธิบายกายคตาสติ== 
-กายคตาสติใดไม่เคยเป็นไปในการอื่นจากพุทธุปปาทกาล เพราะไม่ใช่วิสัยของเดียรถีย์ทุกจำพวก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสรรเสริญกายคตาสติไว้ในพระสูตรนั้นๆ ด้วยเหตุผลมิใช่น้อย เช่นใน องฺ.เอกก.[http://​84000.org/​tipitaka/​read/​m_siri.php?​B=20&​siri=28฿&​h=กายคตาสติ กายคตาสติวรรค] ว่า ​ 
- 
-"​ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่ง อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสังเวชใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสนะ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในภพปัจจุบัน ย่อมเป็นไปเพื่อทำวิชชาวิมุติและผลให้แจ้ง. ธรรมอันหนึ่งนั้นคืออะไร ? คือกายคตาสติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดบริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นย่อมได้บริโภคอมตะ ชนเหล่าใดไม่ได้บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นย่อมไม่ได้บริโภคอมตะ,​ กายคตาสติอันชนเหล่าใดบริโภคแล้ว อมตธรรมเป็นอันชนเหล่านั้นได้บริโภคแล้ว กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่บริโภคแล้ว อมตธรรมเป็นอันชนเหล่านั้นไม่ได้บริโภคแล้ว,​ กายคตาสติของชนเหล่าใดเสื่อมแล้ว อมตธรรมเป็นอันเสื่อมจากชนเหล่านั้นแล้ว กายคตาสติของชนเหล่านั้นไม่เสื่อมแล้ว อมตธรรมเป็นอันไม่เสื่อมแล้วจากชนเหล่านั้น,​ กายคตาสติอันชนเหล่าใดเบื่อแล้ว อมตธรรมเป็นอันชนเหล่านั้นเบื่อแล้ว กายคตาสติอันชนเหล่าใดชอบใจแล้ว อมตธรรมเป็นอันชนเหล่านั้นชอบใจแล้ว"​ ดังนี้ ​ 
- 
-เมื่อตรัสสรรเสริญไว้อย่างนี้แล้ว ก็ทรงแสดงกายคตาสติกัมมัฏฐานไว้ใน ม.อุ. [[กายคตาสติสูตร_ฉบับปรับสำนวน|กายคตาสติสูตร]] 14 บรรพะ คือ 1.อานาปานบรรพะ 2.อิริยาปถบรรพะ 3.จตุสัมปชัญญบรรพะ 4.ปฏิกูลมนสิการบรรพะ 5.ธาตุมนสิการบรรพะ และข้อ 6-14. สิวัฏฐิกบรรพะ 9 โดยนัยมีคำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็กายคตาสติ ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมากมีอานิสงส์มาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อยู่ป่าก็ดี ดังนี้เป็นต้น ​ 
- 
-บัดนี้ ​ ลำดับการอธิบายกายคตาสติกัมมัฏฐานนั้นมาถึงแล้ว ดังต่อไปนี้. 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 16)''</​fs></​sub>​ 
- 
- 
-==คำบริกรรมกรรมฐาน== 
-ใน กายคตาสติกัมมัฏฐาน 14 บรรพะนั้น,​ เพราะเหตุที่ 3 บรรพะนี้ ทรงตรัสไว้ด้วยอำนาจวิปัสสนา คือ 1.อิริยาปถบรรพะ 2.จตุสัมปชัญญบรรพะ 3.ธาตุมนสิการบรรพะ. สิวัฏฐิกบรรพะ 9 ก็ตรัสไว้โดยเป็นอาทีนวานุปัสสนา ในวิปัสสนาญาณทั้งหลายเช่นกัน. และแม้สมาธิภาวนาที่พึงสำเร็จในอสุภมีอุทธุมาตกอสุภเป็นต้นในสิวัฏฐิกบรรพะเหล่านี้ ข้าพเจ้าก็อธิบายไปแล้วใน[[วิสุทธิมรรค_ฉบับปรับสำนวน_ปริจเฉท_6_อสุภกัมมัฏฐานนิทเทส|อสุภกัมมัฏฐานนิทเทส]]นั่นแล. ฉะนั้น ในกายคตาสติกัมมัฏฐาน 14 บรรพะนี้ บรรพะที่ทรงตรัสไว้ด้วยอำนาจสมาธิ (ที่ข้าพเจ้ายังไม่ได้อธิบายในสมาธินิทเทสนี้เลย) จึงเหลือเพียง 2  บรรพะนี้เท่านั้น ​ คือ อานาปานบรรพะและปฏิกูลมนสิการบรรพะ. ​  ​ใน 2 บรรพะนี้ ​ ข้าพเจ้าจะแยกอธิบาย[[วิสุทธิมรรค_ฉบับปรับสำนวน_ปริจเฉท_8_อนุสสติกัมมัฏฐานนิทเทส#​อานาปานสติกถา|อานาปานบรรพะ]]ออกไปเป็นอีกกัมมัฏฐานต่างหาก ด้วยอำนาจอานาปานสติ. ​ ส่วนกัมมัฏฐานมีอาการ 32  ที่พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์มันสมองเข้ากับเยื่อในกระดูกแล้ว ​  ​ตรัสกัมมัฏฐานไว้ใน ม.อุ.กายคตาสติสูตร ด้วยอำนาจมนสิการโดยความเป็นของปฏิกูล ​ อย่างนี้ว่า ​ "​ดูกรภิกษุทั้งหลาย และกายคตาสติอีกข้อหนึ่ง หลังจากทำกายคตาสติข้อก่อนนั้นแล้ว ​ กาย(ที่ประกอบมาจากธาตุ 4)นี้ใด ​ ที่ข้างบนนับแต่พื้นเท้าขึ้นไป ​ ข้างล่างนับแต่ปลายผมลงมา ​ ข้างๆล้อมด้วยผิวหนัง,​ ภิกษุเห็นกายนั้นแหละบรรจุเต็มไปด้วยส่วนต่างๆ ที่ไม่สะอาด อย่างนี้ว่า "​ผม(ที่ไม่สะอาด)มีอยู่ในกายนี้ ​ ขน... เล็บ... ​ ฟัน... ​ หนัง... ​ เนื้อ... ​ เอ็น... ​ กระดูก... ​ เยื่อในกระดูก... ​ ไต... ​ หัวใจ... ​ ตับ... ​ พังผืด... ​ ม้าม... ​ ปอด... ​ ไส้ใหญ่... ​ ไส้น้อย... ​ อาหารใหม่... ​ อาหารเก่า... ​ ดี... ​ เสลด... ​ หนอง... ​ เลือด... ​ เหงื่อ... ​ มันข้น... ​ น้ำตา... ​ เปลวมัน... ​ น้ำลาย... ​ น้ำมูก... ​ ไขข้อ... ​ มูตร..."​ ดังนี้. ​ เฉพาะกัมมัฏฐานนี้แหละ ที่ข้าพเจ้ามุ่งหมายในที่นี้ว่าเป็นกายคตาสติ. 
- 
- 
-===คำอธิบายผู้ปรับสำนวน=== 
- 
-*พระพุทธโฆสาจารย์จะบอกว่า คำว่ากายคตาสติในพระสูตรทั่วไป คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน 14 บรรพะ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในกายคตาสติสูตร. แต่คำว่ากายคตาสติในที่นี้ มุ่งหมายเอาเฉพาะปฏิกูลมนสิการบรรพะ 1 บรรพะเท่านั้น ส่วนอีก 13 บรรพะนั้น บางบรรพะท่านได้อธิบายไปในลำดับก่อนๆ แล้ว และบางบรรพะก็ยังไม่ถึงลำดับที่จะอธิบาย. 
- 
-*ท่านกล่าวว่า "​อิริยาบถบรรพะและสัมปชัญญะบรรพะตรัสไว้เป็นวิปัสสนา"​ ท่านกล่าวตามมหาอรรถกถาของ[[มหาสติปัฏฐานสูตร_ฉบับปรับสำนวน|มหาสติปัฏฐานสูตร]] ซึ่งตามนิทานของสูตรนี้ '''​ตรัสกับผู้ที่ทำกรรมฐานมาก่อนแล้ว'''​ จึงสามารถทำวิปัสสนาทั้งในกรรมฐานที่ชำนาญแล้ว ทั้งในอิริยาบถ 4 และทั้งในฐานะ 7 ได้โดยไม่ยาก. แต่เมื่อว่าตามคำอธิบายบทว่า "​วิหรติ"​ ในปฏิสัมภิทามรรค สติปัฏฐานกถา,​ และเมื่อว่าตามสีหวิกกีฬิตนัยของ[[กายคตาสติสูตร_ฉบับปรับสำนวน|กายคตาสติสูตร]] ซึ่งตามนิทานขอสูตรนี้'''​ตรัสกับผู้เพิ่งเริ่มทำกรรมฐาน'''​ไว้นั้น ​ อิริยาบถบรรพะและสัมปชัญญะบรรพะ ก็คือบทว่า"​วิหรติ"​นั่นเอง ซึ่งบทว่า"​วิหรติ"​นี้ต้องโยคตามไปในทุกกรรมฐานด้วย. กล่าวคือ ทำกรรมฐานแต่ละกองๆ ในทุกอิริยาบถ 4 และทุกฐานะ 7 ก่อน พอได้ฌานเป็นวสีตามที่ตรัสไว้ในกายคตาสติสูตรแล้ว ก็ทำวิปัสสนาในทุกๆ กรรมฐาน ในทุกอิริยาบถ 4 และทุกฐานะ 7 อีกทีหนึ่งตามมหาสติปัฏฐานสูตรต่อไป. รายละเอียดให้ท่องจำบาลีของพระสูตรนั้นๆ ให้ชำนาญ วิเคราะห์ตามหลักเนตติปกรณ์แล้ว จึงอ่านคำอธิบายในลิงก์ที่ข้าพเจ้าทำไว้นั้นเถิด. 
- 
-==อธิบายคำบริกรรมกรรมฐาน== 
-พึงทราบการแสดงวิธีเจริญในกายคตาสตินั้น ​ มีการพรรณนาตามบาลีเป็นหลักดังต่อไปนี้ – 
- 
-บรรดาบทเหล่านั้น ​ บทว่า ​ อิมเมว ​ กายํ ​ ได้แก่ ​ กายที่ประกอบมาจากมหาภูตรูป(ธาตุ) 4 ที่เหม็นเน่าอยู่นี้. ​ บทว่า ​ อุทฺธํ ​ ปาทตลา ​ ได้แก่ ข้างบนนับตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นมา. บทว่า ​ อโธ ​ เกสมตฺถกา ​ ได้แก่ ข้างล่างนับตั้งแต่ปลายผมลงไป. ​ บทว่า ​ ตจปริยนฺตํ ​ ได้แก่ ​ ข้างๆ นับเข้าไปตั้งแต่ผิวหนังที่หุ้มไว้. ​ บทว่า ​ ปูรนฺนานปฺปการสฺส ​ อสุจิโน ​ ปจฺจเวกฺขติ ​ ความว่า ผู้ปฏิบัติเห็นอยู่ว่า กายนี้เต็มไปด้วยส่วนต่างๆ ที่ไม่สะอาด เช่น ผม เป็นต้น. ​ ถามว่า "​กายนี้เต็มไปด้วยส่วนต่างๆ ที่ไม่สะอาดอย่างไร?" ​ ตอบว่า "​ส่วนต่างๆ ที่ไม่สะอาดมีอยู่ในกายนี้ ได้แก่ ​ ผม(ที่ไม่สะอาด) ​ ขน ​ เล็บ ​ ฯลฯ ​ มูตร " ดังนี้. ​ บรรดาบทเหล่านั้น ​ "​ส่วนต่างๆ ที่ไม่สะอาดมีอยู่"​ มาจากบทบาลีว่า ​ "​อตฺถิ"​. ​ บทว่า ​ อิมสฺมึ (ในกายนี้) ​ ได้แก่ ​ ในกายที่ตรัสไว้ว่า "​กายนี้ใด ​ ที่ข้างบนนับแต่พื้นเท้าขึ้นไป ​ ข้างล่างนับแต่ปลายผมลงมา ​ ข้างๆล้อมด้วยผิวหนัง,​ ภิกษุเห็นกายนั้นแหละบรรจุเต็มไปด้วยส่วนต่างๆ ที่ไม่สะอาด"​. ​ บทว่า ​ กาเย ​ คือในร่างกาย,​ อธิบายว่า ​ สรีระ ตรัสเรียกว่า กาย (กุ[น่าเกลียด]+อาย[บ่อเกิด]) เพราะเป็นที่หมักหมมอาการ 32 ที่ไม่สะอาดมีผมเป็นต้นไว้ ​ และเพราะเป็นบ่อเกิดแห่งโรคนับร้อยมีโรคตาเป็นต้น. ​ บทว่า ​ เกสา ​ โลมา ​ ได้แก่ อาการ 32  เหล่านั้นมีผมเป็นต้น. บทว่า ​ บัณฑิตพึงทราบสัมพันธ์ในบทบาลีนั้นอย่างนี้ว่า ​ "​ผม(ที่ไม่สะอาด)มีอยู่ในกายนี้,​ ขน(ที่ไม่สะอาด)มีอยู่ในกายนี้"​ ดังนี้เป็นต้น . จริงอยู่ ​ ใคร ๆ  ค้นหาแม้ในอาการทั้งปวงในร่างกายยาวประมาณ 1  วานี้ ​ คือ ข้างบนนับแต่พื้นเท้าขึ้นไป ​ ข้างล่างนับแต่ปลายผมลงมา ​ ข้างๆล้อมด้วยผิวหนัง ​ ย่อมไม่พบของสะอาดอะไรๆ ​ แม้เพียงอณูหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นไข่มุกก็ดี ​ แก้วมณีก็ดี ​ แก้วไพฑูรย์ก็ดี ​ กฤษณาก็ดี ​ การบูรก็ดี ​ หรือของอื่น ๆ มีจุณเครื่องอบก็ดี, ​ โดยที่แท้พบแต่ของไม่สะอาดนานาประการ ​ มีผมและขนเป็นต้น ​ ซึ่งมีกลิ่นเหม็นน่าเกลียดยิ่งนัก ​ ไม่เป็นสิริมงคลที่ได้มองเห็นเลย ​ เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า ​ อตฺถิ ​ อิมสฺมึ ​ กาเย ​ เกสา ​ โลมา ​ ฯลฯ ​ มุตฺตํ ​ ดังนี้. ​ นี้เป็นการพรรณนาโดยบทสัมพันธ์ในบาลีนั้น. 
- 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 17)''</​fs></​sub>​ 
- 
-==วิธีภาวนากายคตาสติกัมมัฏฐาน== 
- 
-ก็กุลบุตรผู้ริเริ่มบำเพ็ญเพียรใคร่จะเจริญกัมมัฏฐานนี้ ​ พึงเข้าไปหากัลยาณมิตรด้วยวิธีการที่ข้าพเจ้าบอกไว้แล้วในกัมมัฏฐานคหณนิทเทส แล้วท่องจำเอากัมมัฏฐานนี้เถิด ​ ฝ่ายอาจารย์นั้น ​ เมื่อจะบอกกัมมัฏฐานพึงบอกอุคคหโกสัลละโดยอาการ 7  และมนสิการโกสัลละโดยส่วน 10 
- 
-===อุคคหโกสัลละ 7=== 
- 
-ในโกสัลละ 2 อย่างนั้น ​ อาจารย์พึงบอกอุคคหโกสัลละโดย 7  วิธีคือ ​ โดยวาจา 1  โดยใจ 1  โดยสัณฐาน 1  โดยทิศ 1  โดยโอกาส 1 โดยปริจเฉท 1  ​ 
- 
-'''​โดยวาจา'''​ 
- 
-ก็ในกัมมัฏฐานที่ต้องมนสิการโดยเป็นสิ่งปฏิกูลนี้ ​ พระโยคาวจรถึงแม้จะทรงพระไตรปิฏก ​ ในการมนสิการก็ควรทำการสาธยายด้วยวาจาก่อน ​ เพราะพระโยคาวจรบางท่าน ​ เพียงทำการสาธยายเท่านั้น ​ กัมมัฏฐานก็ย่อมปรากฏ ​ เหมือนพระเถระ 2 รูปผู้เรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระมหาเทวเถระผู้อยู่ในมลยวิหาร ​ เล่ากันมาว่า ​ พระเถระอันท่านทั้ง 2  นั้นขอกัมมัฏฐานแล้ว ​ ได้ให้คำบาลีในอาการ 32  โดยสั่งว่า ​ ท่านจงทำการสาธยายข้อนี้แหละตลอด 4  เดือน ​ ก็ท่านทั้ง 2  นั้นแม้ถึงท่านจะชำนาญตั้ง 2 – 3  นิกายนี้ก็จริงแล ​ แต่เพราะเหตุที่ท่านเป็นผู้มีปกติรับโอวาทโดยเบื้องขวา ​ จึงหมั่นสาธยายในอาการ 32  ตลอด 4 เดือน ​ ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันแล้ว ​ เพราะฉะนั้น ​ อาจารย์เมื่อจะบอกกัมมัฏฐาน ​ จึงควรบอกอันเตวาสิกว่า ​ ชั้นต้นจงสาธยายด้วยวาจาเป็นอันดับแรก 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 18)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​วิธีสาธยาย'''​ 
- 
-ก็เมื่อจะทำการสาธยาย ​ พึงกำหนดปัญจกะทั้งหลายมีตจปัญจกะเป็นต้น ​ แล้วทำการสาธยายด้วยการอนุโลมและปฏิโลม ​ คือพึงสาธยายโดยอนุโลมว่า ​ เกสา ​ โลมา ​ นขา ​ ทนฺตา ​ ตโจ ​ (ผม ​ ขน ​ เล็บ ​ ฟัน หนัง) ​ แล้วพึงสาธยายโดยปฏิโลมอีกว่า ​  ​ตโจ ​ ทนฺตา ​ นขา ​ โลมา ​ เกสา ​ (หนัง ​ ฟัน ​ เล็บ ​ ขน ​ ผม) 
- 
-ลำดับนั้นพึงสาธยายในวักกะปัญจกะต่อไปว่า ​ มํสํ ​ นหารู ​ อฏฺฐี ​ อฏฐิมิญฺชํ วกฺกํ ​ (เนื้อ ​ เอ็น ​ กระดูก ​ เยื่อในกระดูก ​ ไต) ​ แล้วสวดโดยปฏิโลมว่า ​ วกฺกํ ​ อฏฐิมิญฺชํ ​ อฏฐี ​ นหารู ​ มํสํ, ​ ตโจ ​ ทนฺตา ​ นขา ​ โลมา ​ เกสา ​ (ไต ​ เยื่อในกระดูก ​ กระดูก ​ เอ็น ​ เนื้อ ​ หนัง ​ ฟัน ​ เล็บ ​ ขน ​ ผม) ​ ลำดับนั้นพึงสวดในปัปผาสะปัญจกะว่า ​ หทยํ ​ ยกนํ ​ กิโลมกํ ​ ปิหกํ ​ ปปฺผาสํ ​ (หัวใจ ​ ตับ ​ พังผืด ​ ม้าม ​ ปอด) ​ แล้วสวดโดยปฏิโลมอีกว่า ​ ปปฺผาสํ ​ ปิหกํ ​ กิโลมกํ ​ ยกนํ ​   หทยํ, ​ วกฺกํ ​ อฏฐิมิญฺชํ ​ อฏฐี ​ นหารู ​ มํสํ, ​ ตโจ ทนฺตา ​ นขา ​ โลมา ​ เกสา ​ (ปอด ​ ม้าม ​ พังผืด ​ ตับ ​ หัวใจ ​ ไต ​ เยื่อในกระดูก ​ กระดูก ​ เอ็น ​ เนื้อ, ​ หนัง ​ ฟัน ​ เล็บ ​ ขน ​ ผม)  ​ 
- 
-ลำดับนั้นพึงสวดในมัตถลุงคะปัญจกะว่า ​ อนฺตํ ​ อนฺตคุณํ ​ อุทริยํ ​ กรีสํ ​ มตฺถลุงฺคํ ​ (ไส้ใหญ่ ​ ไส้น้อย ​  ​อาหารใหม่ ​ อาหารเก่า ​ มันสมอง) ​ แล้วสวดโดยปฏิโลมว่า ​ มตฺถลุงฺคํ ​ กรีสํ ​ อุทริยํ ​ อนฺตคุณํ ​ อนฺตํ, ​ ปปฺผาสํ ​ ปีหกํ ​ กิโลมกํ ​ ยกนํ ​ หทยํ, ​ วกฺกํ ​ อฏฐิมิญฺชํ อฏฺฐี ​ นหารู ​ มํสํ, ​ ตโจ ​ ทนฺตา ​ นขา ​ โลมา ​ เกสา ​ (มันสมอง ​ อาหารเก่า ​ อาหารใหม่ ​ ไส้น้อย ​ ไส้ใหญ่, ​ ปอด ​ ม้าม ​ พังผืด ​ ตับ ​ หัวใจ, ​ ไต ​ เยื่อในกระดูก ​ กระดูก ​ เอ็น ​ เนื้อ, ​ หนัง ​ ฟัน ​ เล็บ ขน ​ ผม) 
- 
-ลำดับนั้นพึงสวดในเมทะฉักกะว่า ​ ปิตฺตํ ​ เสมฺหํ ​ ปุพฺโพ ​ โลหิตํ ​ เสโท ​ เมโท ​ (ดี ​ เสมหะ ​ น้ำเหลือง ​ เลือด ​ เหงื่อ ​ มันข้น) ​ แล้วสวดโดยปฏิโลมอีกว่า ​ เมโท ​ เสโท ​ โลหิตํ ​ ปุพฺโพ ​ เสมฺหํ ​ ปิตฺตํ, ​ มตฺถลุงฺคํ ​ กรีสํ ​ อุทริยํ ​ อนฺตคุณํ ​ อนฺตํ, ​ ปปฺผาสํ ​ ปิหกํ ​ กิโลมกํ ​ ยกนํ ​ หทยํ, ​ วกฺกํ ​ อฏฐิมิญฺชํ ​ อฏฺฐี ​ นหารู ​ มํสํ, ​ ตโจ ​ ทนฺตา ​ นขา ​ โลมา ​ เกสา ​ (มันข้น ​ เหงื่อ ​ เลือด ​ น้ำเหลือง ​ เสมหะ ​ ดี, ​ มันสมอง ​ อาหารเก่า ​ อาหารใหม่ ​ ไส้น้อย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 19)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ไส้ใหญ่ ​ ปอด ​ ม้าม ​ พังผืด ​ ตับ ​ หัวใจ, ​ ไต ​ เยื่อในกระดุก ​ เอ็น ​ เนื้อ, ​ หนัง ​ ฟัน ​ เล็บ ​ ขน ​ ผม) 
- 
-ลำดับนั้นพึงสวดในมุตตะฉักกะว่า ​ อสฺสุ ​ วสา ​ เขโฬ ​ สิงฺฆาณิกา ​ ลสิกา ​ มุตฺตํ ​ (น้ำตา ​ มันเหลว ​ น้ำลาย ​ น้ำมูก ​ ไขข้อ ​ มูตร) ​ แล้วสวดโดยปฏิโลมอีกว่า ​ มุตฺตํ ​ ลสิกา ​ สิงฺฆาณิกา ​ เขโฬ ​ วสา ​ อสฺสุ, ​ เมโท ​ เสโท โลหิตํ ​ ปุพฺโพ ​ เสมฺหํ ​ ปิตฺตํ, ​ มตฺถลุงฺคํ ​ กรีสํ ​ อุทริยํ ​ อนฺตคุณํ ​ อนฺตํ, ​ ปปฺผาสํ ​ ปิหกํ ​ กิโลมกํ ​ ยกนํ ​ หทยํ, ​ วกฺกํ ​ อฏฐิมิญฺชํ ​ อฏฐี ​ นหารู ​ มํสํ, ​ ตโจ ​ ทนฺตา ​ นขา ​ โลมา ​ เกสา ​ (มูตร ​ ไขข้อ ​ น้ำมูก ​ น้ำลาย มันเหลว ​ น้ำตา, ​ มันข้น ​ เหงื่อ ​ เลือด ​ น้ำเหลือง ​ เสมหะ ​ ดี, ​ มันสมอง ​ อาหารเก่า ​ อาหารใหม่ ​ ไส้น้อย ​ ไส้ใหญ่, ​ ปอด ​ ม้าม ​ พังผืด ​ ตับ ​ หัวใจ, ​ ไต ​ เยื่อในกระดูก ​ กระดูก ​ เอ็น ​ เนื้อ, ​ หนัง ​ ฟัน ​ เล็บ ​ ขน ​ ผม) 
- 
-พึงทำการสาธยายด้วยวาจาอย่างนี้ตั้ง 100  ครั้ง ​ 1,000  ครั้ง ​ 10,000 ครั้ง ​ เพราะว่าระเบียบแห่งกัมมัฏฐานย่อมจะคล่องตัว ​ จิตจะไม่วิ่งพล่านไปทางโน้นทางนี้ ​ ส่วนทั้งหลายย่อมปรากฏคือย่อมแจ่มชัดดุจแถวนิ้วมือและกระทู้รั้ว ​ ฉะนั้น 
- 
-'''​โดยใจ, ​ สี, ​ สัณฐาน, ​ โอกาส, ​ ปริจเฉท'''​ 
- 
-พึงทำการสาธยายโดยวาจาฉันใด ​ แม้โดยใจก็พึงทำการสาธยายฉันนั้นเหมือนกัน ​ เพราะการสาธยายโดยวาจาย่อมเป็นปัจจัยแห่งการสาธยายโดยใจ ​ การสาธยายโดยใจย่อมเป็นปัจจัยแห่งการแทงตลอดลักษณะ ​ คำว่า ​ โดยสี ​ ได้แก่พึงกำหนดดูสีแห่งผมเป็นต้น ​ คำว่า ​ โดยสัณฐาน ​ ได้แก่พึงกำหนดดูสัณฐานของผมเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแล ​ คำว่า ​ โดยทิศ ​ ความว่า ​ ก็ในสรีระนี้เหนือนาภีขึ้นไปจัดเป็นทิศเบื้องบน ​ ใต้นาภีลงมาจัดเป็นทิศเบื้องล่าง เพราะเหตุนั้นพึงกำหนดทิศว่าส่วนนี้อยู่ในทิศชื่อนี้ 
- 
-คำว่า ​ โดยโอกาส ​ ความว่า ​ พึงกำหนดโอกาสของส่วนนั้น ๆ  อย่างนี้ว่า ​ ส่วนนี้ตั้งอยู่ในโอกาสตรงนี้ 
- 
-คำว่า ​ โดยปริจเฉท ​ ความว่า ​ ปริจเฉทมี 2  อย่างคือ ​ สภาคปริจเฉท ​ กำหนดส่วนโดยที่เข้ากันได้ 1  วิสภาคปริจเฉท ​ กำหนดส่วนโดยที่ต่างกัน 1  ใน 2  อย่างนั้นพึง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 20)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ทราบสภาคปริเฉทอย่างนี้ว่า ​ ส่วนนี้กำหนดด้วยส่วนชื่อนี้ ​ ทั้งเบื้องล่างเบื้องบนและเบื้องขวาง ​ กำหนดด้วยส่วนที่ต่างกัน ​ พึงทราบความโดยไม่ปะปนกันและกันอย่างนี้ว่า ​ ผมคือสิ่งที่มิใช่ขน ​ ขนเล่าก็คือสิ่งที่มิใช่ผม ​ ดังนี้ 
- 
-'''​วิธีบอกอุคคหโกสัลละ'''​ 
- 
-ก็แหละ ​ อาจารย์เมื่อจะบอกอุคคหโกสัลละโดย 7  วิธีดังกล่าวมานี้ ​ พึงทราบว่า ​ กัมมัฏฐานนี้ที่ตรัสไว้ในสูตรโน้นโดยเป็นสิ่งปฏิกูล ​ ในสูตรโน้นโดยเป็นธาตุดังนี้แล้วจึงบอก จริงอยู่ ​ กายคตาสติกัมมัฏฐานนี้ ​ ในมหาสติปัฏฐานสูตรตรัสไว้โดยเป็นสิ่งปฏิกูล ​ ในมหาหัตถิปโทปมสูตร ​ มหาราหุโลวาทสูตร ​ และธาตุวิภังคสูตรตรัสไว้โดยเป็นธาตุ ​ ส่วนในกายคตาสติสูตรทรงจำแนกฌาน 4  หมายเอาพระโยคาวจรผู้มีผมปรากฏโดยสี ​ ในกัมมัฏฐาน 2  อย่างนั้น ​ ที่ตรัสไว้โดยเป็นธาตุจัดเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน ​ ที่ตรัสไว้โดยเป็นสิ่งปฏิกูลจัดเป็นสมถกัมมัฏฐาน ​ กายคตาสติกัมมัฏฐานในที่นี้นั้น ​ จัดเป็นสมถกัมมัฏฐานนั่นเอง ​ อาจารย์พึงบอกอุคคหโกสัลละโดย 7  วิธี ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-===มนสิการโกสัลละ 10=== 
- 
-อาจารย์พึงบอก ​ มนสิการโกสัลละ ​ โดย 10  วิธีอย่างนี้ ​ คือ ​ โดยลำดับ 1  โดยไม่เร็วนัก 1  โดยไม่เฉื่อยช้านัก 1  โดยป้องกันความฟุ้งซ่าน 1  โดยล่วงบัญญัติ 1  โดยละลำดับ 1  โดยอัปปนา 1 และโดยสุตตันตะ 3 
- 
-'''​1. ​   มนสิการโดยลำดับ'''​ 
- 
-ในมนสิการโกสัลละ 10  อย่างนั้น ​ ข้อว่า ​ โดยลำดับ ​ ความว่า ​ กัมมัฏฐานเริ่มตั้งแต่สาธยายต้องมนสิการไปตามลำดับ ​ ไม่พึ่งมนสิการโดยเว้นไว้ระหว่างเสียบทหนึ่ง ​ เพราะเมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยเว้นไว้ระหว่างเสียบทหนึ่ง ​ ย่อมจะเป็นผู้เหนื่อย ​ จิตตกไปจากการได้รับความแช่มชื้นอันจะพึงบรรลุด้วยอำนาจภาวนาสมบัติ ​ ย่อมไม่ยังภาวนาให้สำเร็จ ​ เปรียบเสมือนคนไม่ฉลาดขึ้นบันได 32  ขั้น ​ โดยไม่เว้นไว้เสียระหว่างขั้นหนึ่ง ​ ก็จะเหนื่อยกาย ​ ตกลง ​ ไม่ยังการขึ้นให้สำเร็จได้ ​ ฉะนั้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 21)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​2. ​   มนสิการโดยไม่เร็วนัก'''​ 
- 
-แม้เมื่อมนสิการโดยลำดับ ​ ก็พึงมนสิการโดยไม่เร็วนัก ​ เพราะเมื่อมนสิการเร็วนัก ​ กัมมัฏฐานย่อมถึงที่สุดเป็นแท้ก็จริง ​ ถึงอย่างนั้นกัมมัฏฐานนั้นก็ไม่ปรากฏชัด ​ ย่อมไม่นำมาซึ่งคุณวิเศษ ​ เปรียบเหมือบุรุษผู้เดินทางประมาณ 3  โยชน์ ​ ไม่ค่อยกำหนดทางที่ควรเว้นและควรแวะ ​ เดินกลับไปกลับมาอยู่ตั้ง 7  ครั้งโดยฝีเท้าอันเร็ว ​ ระยะทางย่อมถึงความสิ้นสุดไปก็จริง ​ ถึงกระนั้นก็ควรถามเขาก่อนแล้วจึงเดินทาง ​ เพราะเหตุนั้น ​ พึงมนสิการ ​ โดยไม่เร็วนัก 
- 
-'''​3. ​   มนสิการโดยไม่เฉื่อยช้านัก'''​ 
- 
-อนึ่ง ​ มนสิการโดยไม่เฉื่อยช้านัก ​ ก็ฉันเดียวกับมนสิการโดยไม่เร็วนัก ​ เพราะว่าเมื่อมนสิการโดยเฉื่อยช้านั้น ​ กัมมัฏฐานจะไม่ถึงที่สุด ​ ไม่เป็นปัจจัยแห่งการได้คุณวิเศษ ​ เปรียบเหมือนเมื่อบุรุษผู้ประสงค์จะเดินทาง 3  โยชน์ในวันเดียวนั่นเอง ​ มัวพักอยู่ ณ  ที่ต่าง ๆ มีต้นไม้ภูเขาและบึงเป็นต้นในระหว่างทางเสีย ​ ทางก็ไม่ถึงความสิ้นสุด ​ โดย 2-3  วันจึงจะถึงที่สุด ​ ฉะนั้น  ​ 
- 
-'''​4. ​   มนสิการโดยป้องกันความฟุ้งซ่าน'''​ 
- 
-คำว่า ​ โดยป้องกันความฟุ้งซ่าน ​ ความว่า ​ พึงป้องกันภาวะที่จิตทอดทิ้งกัมมัฏฐานแล้วฟุ้งซ่านไปในอารมณ์หลากหลายในภายนอก ​ เพราะเมื่อไม่ป้องกัน ​ เมื่อจิตพล่านไปภายนอก ​ กัมมัฏฐานย่อมเสื่อมคลาย ​ เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางเลียบเหวซึ่งเป็นทางเดินได้เพียงคนเดียว ​ ไม่กำหนดเท้าที่เหยียบลงไป ​ มัวเหลียวไปข้างโน้นข้างนี้ ​ การวางเท้าก็ย่อมจะผิดพลาดลงไปในเหวอันลึกชั่วร้อยบุรุษ ​ เพราะเหตุนั้น ​ พระโยคาวจรพึงมนสิการโดยป้องกันความฟุ้งซ่าน 
- 
-'''​5. ​   มนสิการโดยล่วงบัญญัติ'''​ 
- 
-คำว่า ​ โดยล่วงบัญญัติ ​ ความว่า ​ พึงล่วงบัญญัติมีอาทิว่า ​ เกสา ​ โลมา ​ ดังนี้แล้วตั้งจิตว่าเป็นของปฏิกูล ​ เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยบัญญัติว่า ​ เกสา ​ โลมา ​ ดังนี้ในเบื้องต้น ​ ความเป็นของปฏิกูลย่อมปรากฏ ​ ภายหลังจึงเลิกบัญญัติว่า ​ เกสา, ​ โลมา ​ เป็นต้น ​ พึงตั้งจิตไว้ใน ​ ภาวะที่เป็นของปฏิกูลเท่านั้น ​ เปรียบเหมือนดังคราวหาน้ำยาก ​ คนทั้งหลายพบบ่อน้ำในป่า 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 22)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แล้วผูกสิ่งอะไรๆ ​ มีใบตาลเป็นต้นเป็นเครื่องหมายไว้ในที่นั้นแล้ว มาตามเครื่องหมายนั้น ​ แล้วก็อาบและดื่ม ​ แต่เมื่อใดด้วยการสัญจรไปเนืองๆ ​ แห่งคนเหล่านั้น ​ รอยของคนที่มา ๆ ย่อมจะปรากฏ ​ เมื่อนั้นกิจด้วยเครื่องหมายหามีไม่ ​ คนทั้งหลายย่อมไปอาบและดื่มได้ทุกขณะที่ต้องการ ​ ฉะนั้น  ​ 
- 
-'''​6. ​   มนสิการโดยละลำดับ'''​ 
- 
-คำว่า ​ โดยละลำดับ ​ ความว่า ​ พระโยคาวจรเมื่อละส่วนที่ไม่ปรากฏชื่อว่าพึงมนสิการไปโดยลำดับ ​ เพราะเมื่อพระโยคาวจรผู้เริ่มบำเพ็ญเพียรมนสิการว่าเกสา ​ มนสิการก็จะดำเนินไปจรดส่วนสุดคือมูตรนี้ทีเดียว ​ และเมื่อมนสิการว่ามูตร ​ มนสิการก็จะดำเนินไปจรดส่วนเบื้องต้นคือเกสานี้เหมือนกัน ​ ครั้นมนสิการไป ๆ  บางส่วนปรากฏ ​ บางส่วนไม่ปรากฏ ​ เธอพึงบริกรรมในส่วนที่ปรากฏ ​ จนกระทั่งเมื่อปรากฏทั้ง 2  ส่วน ​ ส่วนหนึ่งในบรรดาทั้ง 2  ส่วนนั้นปรากฏชัดกว่า ​ ก็เมื่อมนสิการแต่ส่วนเฉพาะที่ปรากฏชัดกว่านั้นอย่างนี้บ่อย ๆ เข้า พึงทำอัปปนาให้เกิดขึ้น ​ ข้อนั้นมีอุปมาดังต่อไปนี้ 
- 
-เปรียบเหมือนนายพรานคนหนึ่งใคร่จะจับลิงซึ่งอยู่ในดงตาลอันมีต้นตาล 32  ต้น ​ พึงใช้ลูกศรยิงใบตาลที่ยืนอยู่ในอันดับแรกแล้วพึงทำการตะเพิด ​ ครั้นลิงนั้นกระโดดไปในต้นตาลนั้นๆ ​ โดยลำดับถึงต้นสุดท้ายทีเดียว ​ เมื่อนายพรานไปทำเหมือนอย่างนั้นแม้ในต้นตาลต้นสุดท้ายนั้น ​ ลิงพึงมายังต้นตาลต้นแรกตามนัยนั้นนั่นแลอีก ​ มันกลับไปกลับมาอย่างนี้บ่อย ๆ เข้า ​ ก็จะพึงโผล่ในที่ ๆ  นายพรานทำเสียงตะเพิดไล่เท่านั้น ​ แล้วไป ๆ  ก็จะหมอบอยู่ที่ต้นตาลต้นหนึ่ง ​ ยึดยอดตาลตูมอันสะอาดตรงกลางต้นนั้นไว้มั่น ​ แม้ถูกยิงก็ไม่โผล่ ​ ฉันใด ​ คำอุปมัยอันยังอุปมาให้ถึงพร้อมนี้ก็พึงเห็นฉันนั้น ​ นี้เป็นคำเทียบอุปไมยอุปมาในข้อนั้น 
- 
-ส่วน 32  ในกายนี้เปรียบเหมือนต้นตาล 32  ต้น ​ จิตเหมือนลิง ​ พระโยคาวจรเหมือนนายพราน ​ การที่จิตของพระโยคีท่องเที่ยวไปในกายอันมีส่วน 32  ส่วนโดยเป็นอารมณ์เหมือนการที่ลิงอาศัยอยู่ในดงตาลอันมีต้นตาล 32  ต้น ​ การที่พระโยคีเริ่มมนสิการว่า ​ เกสา ​ แล้วจิตดำเนินไปหยุดลงที่ส่วนสุดทีเดียว ​ เหมือนการที่เมื่อนายพรานใช้ศรยิงใบตาลต้นที่ยืนอยู่ต้นแรกแล้วทำเสียงตะเพิด ​ ลิงก็โผนไปที่ต้นนั้น ๆ จนถึงต้นสุดท้าย ​ แม้ในเที่ยวกลับ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 23)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อีกก็นัยนี้เหมือนกัน ​ การที่เมื่อพระโยคาวจรมนสิการบ่อย ๆ เข้า ​ ครั้นส่วนบางเหล่าไม่ปรากฏบางเหล่าปรากฏ ​ ก็ปล่อยส่วนทั้งหลายที่ไม่ปรากฏ ​ ทำบริกรรมในส่วนทั้งหลายที่ปรากฏ ​ เหมือนการที่ลิงโผนไปตามลำดับบ่อย ๆ  เข้าก็โผล่ขึ้นแต่ในที่ ๆ นายพรานทำเสียงตะเพิด ​ ในบรรดา 2  ส่วนที่ปรากฏนั้น ​ ส่วนใดปรากฏชัดกว่า ​ พระโยคาวจรพึงมนสิการส่วนนั้นนั่นแหละแล้ว ๆ เล่า ๆ  ยังอัปปนาให้เกิดได้ ​ เหมือนการที่ลิงไป ๆ ก็หมอบอยู่ที่ต้นตาลต้นหนึ่งยึดยอดตาลตูมอันสะอาดตรงกลางต้นนั้นไว้มั่น แม้ถูกยิงก็ไม่โผล่ ​ ฉะนั้น 
- 
-อีกอุปมาหนึ่ง ​ เหมือนภิกษุผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ​ อาศัยอยู่ในบ้านอันมีตระกูล 32  ตระกูลอยู่ ​ ได้ภิกษา 2  ส่วนในเรือนหลังแรกทีเดียวแล้ว ​ ก็สละเรือนหลังหนึ่งข้างหน้าเสีย ​ วันรุ่งขึ้นได้ 3 ส่วนแล้ว ​ ก็สละเรือน 2 หลังข้างหน้าเสีย ​ ในวันที่ 3 ได้ภิกษาเต็มบาตรในเรือนหลังต้นทีเดียวแล้วก็ไปโรงฉัน ​ ฉันเสียเลย ​ ฉันใด ​ คำอุปไมยอันยังอุปมาให้ถึงพร้อมนี้ก็ฉันนั้น ​ อาการ ​ 32  เปรียบเหมือนหมู่บ้าน 32  ตระกูล ​ พระโยคาวจรเหมือนปิณฑปาติกภิกษุ ​ การที่พระโยคีทำบริกรรมในอาการ 32  เหมือนการที่ปิณฑปาติกภิกษุนั้นอาศัยหมู่บ้านนั้นอยู่ ​ การที่เมื่อพระโยคีมนสิการไป ๆ  สละส่วนทั้งหลายที่ไม่ปรากฏเสีย ทำบริกรรมในส่วนทั้งหลายที่ปรากฏ ๆ จนถึง 2 ส่วน ​ ก็เหมือนการที่พระปิณฑปาติกภิกษุได้ภิกษา 2  ส่วนในเรือนหลังแรกแล้วสละเรือนหลังหนึ่งข้างหน้าเสีย ​ และเหมือนในวันที่ 2  ได้ ​ 3 ส่วน ​ สละเรือน 2  หลังข้างหน้าเสีย ​ การที่พระโยคีมนสิการบ่อย ๆ เฉพาะส่วนที่ปรากฏชัดกว่าในบรรดา 2  ส่วน ​ แล้วยังอัปปนาให้เกิดเหมือนในวันที่ 3  ได้เต็มบาตรในเรือนหลังต้นทีเดียวแล้วนั่งฉันเสียที่โรงฉัน ​ ฉะนั้น. 
- 
-'''​7. ​   มนสิการโดยอัปปนา'''​ 
- 
-คำว่า ​ โดยอัปปนา ​ ความว่า ​ โดยส่วนที่จะเกิดอัปปนา ​ นี้เป็นอธิบายในอธิการนี้ ​ คือ ​ บัณฑิตพึงทราบว่าอัปปนาย่อมมีในส่วนหนึ่ง ๆ  ในบรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นต้น 
- 
-'''​8. ​   มนสิการโดยสุตตันตะ 3'''​ 
- 
-นี้เป็นอธิบายในข้อว่า ​ คำว่า ​ สุตตันตะ 3  ความว่า ​ สุตตันตะ 3  เหล่านี้คือ ​ อธิจิตตสูตร ​ สีตภาวสูตร ​ โพชฌังคโกสัลสูตร ​ พระโยคาวจรพึงทราบเพื่อปรุงแต่งวิริยะและสมาธิ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 24)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อธิจิตตสูตร'''​ 
- 
-ใน 3 สูตรนั้น ​ สูตรที่มีความดังนี้ว่า ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุผู้ประกอบอธิจิตต้องมนสิการถึงนิมิต 3  ตามกาลอันควร ​ คือต้องมนสิการถึงสมาธินิมิตตามกาลอันควร ต้องมนสิการถึงอุคคหนิมิตตามกาลอันควร ต้องมนสิการถึงอุเบกขานิมิตตามกาลอันควร ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายถ้าว่าภิกษุผู้ประกอบอธิจิตพึงมนสิการถึงเฉพาะสมาธินิมิตโดยส่วนเดียว ​ ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ ​ ที่จิตจะพึงเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ​ ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิตพึงมนสิการถึงเฉพาะปัคคหนิมิตโดยส่วนเดียว ​ ย่อมเป็นไปได้ที่จิตจะพึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่านเสีย ​ ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิตพึงมนสิการถึงอุเบกขานิมิตโดยส่วนเดียวเท่านั้น ​ ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ ​ ที่จิตจะไม่พึงตั้งมั่นโดยชอบเพื่อสิ้นอาสวะทั้งหลาย ​ แต่เมื่อภิกษุผู้ประกอบอธิจิตมนสิการถึง ​ สมาธินิมิต, ​ ปัคคหนิมิต, ​ อุเบกขานิมิต ​ ตามกาลอันควร ​ จิตนั้นจึงจะเป็นจิตอ่อน, ​ ควรแก่การงาน, ​ เป็นจิตผ่องใสและไม่แตกซ่าน ​ ตั้งมั่นโดยชอบเพื่อสิ้นอาสวะทั้งหลาย ​ เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือช่างทองก่อเบ้า ​ ครั้นก่อเบ้าแล้วก็สุมเบ้า ​ ครั้นสุมเบ้าแล้วใช้คีมจับทองวางลงไปในเบ้า ​ แล้วเป่าไปตามกาลอันควร ​ ประพรมน้ำตามกาลอันควร ​ เพ่งดูอยู่เฉย ๆ  ตามกาลอันควร ​ ภิกษุทั้งหลาย ​ ถ้าว่าช่างทองก็ตาม ​ ลูกมือช่างทองก็ตามจะพึงเป่าทองนั้นไปอย่างเดียว ​ ย่อมเป็นฐานะที่จะพึงมีได้ ​ ที่ทองนั้นจะพึงไหม้ไป ​ หากช่างทองก็ตามลูกมือของช่างทองก็ตามประพรมน้ำทองนั้นไปท่าเดียว ​ ย่อมเป็นไปได้ที่ทองนั้นจะพึงเย็นเสีย ​ หากช่างก็ตามเพ่งดูทองนั้นอยู่เฉย ๆ  ไปอย่างเดียว ​ ย่อมเป็นได้ที่ทองนั้นจะไม่พึงถึงซึ่งความสุกปลั่ง ​ ต่อเมื่อช่างทองก็ดี ​ ลูกมือช่างทองก็ดี ​ เป่าทองนั้นตามกาลอันควร ​ ประพรมน้ำทองนั้นไปตามกาลอันควร ​ เพ่งดูทองนั้นอยู่เฉย ๆ ตามกาลอันควร ​ ทองนั้นจะพึงอ่อน, ​ ควรแก่การงาน, ​ เป็นทองสุกปลั่งและไม่เปราะ ​ ใช้การได้ดี ​ แม้ช่างทองประสงค์ ​ เครื่องประดับใด ๆ  จะเป็นเข็มขัดก็ดี ​ จะเป็นตุ้มหูก็ดี ​ จะเป็นเครื่องประดับคอก็ดี ​ จะเป็นสายสังวาลก็ดี ​ สิ่งที่ประสงค์นั้นก็ย่อมจะสำเร็จแก่เขาแล ​ ฉันใด ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต ​ ฯลฯ ​ ตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ​ เธอย่อมน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมอันควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใด ๆ  เมื่อมีเหตุอันควร 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 25)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​เธอย่อมจะถึงความเป็นผู้อาจเพื่อทำให้แจ้งในธรรมอันควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งนั้นนั่นแล ​ ดังนี้ ​ พึงทราบว่า ​ อธิจิตตสูตร'''​ 
- 
-'''​สีตภาวสูตร'''​ 
- 
-พระสูตรนี้ว่า ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการ ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเยือกเย็นอันยอดเยี่ยม ​ ด้วยธรรม 6  เหล่าไหน ?  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ​ ย่อมข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม 1  ย่อมประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง 1  ย่อมให้จิตร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง 1  ย่อมเพ่งดูจิตอยู่เฉย ๆ  ในสมัยที่ควรเพ่งอยู่เฉย ๆ 1  เป็นผู้มีความหลุดพ้นอันประณีต 1  เป็นผู้ยินดียิ่งในพระนิพพาน 1  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 6  ประการนี้แล ​ เป็นผู้อาจทำให้แจ้งซึ่งความเยือกเย็นอันยอดเยี่ยมดังนี้ ​ พึงทราบว่า ​ สีตภาวสูตร  ​ 
- 
-'''​โพชฌังคโกสัลลสูตร'''​ 
- 
-ส่วนความเป็นผู้ฉลาดในโพชฌงค์ 7 ประการ ​ ข้าพเจ้าแสดงไว้ใน ​ อปฺปนาโกสลฺลกถา ​ นั่นแล้ว ​ โดยพระบาลีมีอาทิว่า ​ ฉันนั้นนั่นแล ​ ภิกษุทั้งหลาย ​ สมัยใดจิตหดหู่ ​ สมัยนั้นมิใช่เวลาเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ​ ดังนี้ 
- 
-'''​สรุปโกศล 2'''​ 
- 
-พระโยคีนั้นพึงกระทำอุคคหโกศล 7  อย่างนี้ให้เป็นสิ่งที่ตนเองเรียนเอาดีแล้ว ​ และพึงกำหนดมนสิการโกศล 10  อย่างนี้ไว้ด้วยดี ​ ด้วยประการดังนี้ ​ แล้วจึงเรียนกัมมัฏฐาน ​ ด้วยอำนาจโกศลทั้ง 2  อย่างให้ดี 
- 
-'''​วิธีเริ่มเจริญกัมมัฏฐาน'''​ 
- 
-ก็ถ้าพระโยคีนั้นอยู่ผาสุกสบายในวัดเดียวกันกับพระอาจารย์ ​ ก็ไม่พึงให้พระอาจารย์บอกโดยพิสดารอย่างนั้น ​ เจริญพระกัมมัฏฐานบ่อย ๆ  จนได้ธรรมวิเศษแล้ว จึงให้ท่านบอกกัมมัฏฐานสูง ๆ ขึ้นไป ​ ส่วนพระโยคีที่ประสงค์จะไปอยู่ในวัดอื่น ​ พึงให้พระอาจารย์บอกกัมมัฏฐานโดยพิสดาร ​ โดยวิธีดังกล่าวแล้ว ​ ทบทวนบ่อย ๆ  ตัดปมที่ฝั้นเฝือทั้งหมดแล้วสละเสนาสนะอันไม่เหมาะสมไปอยู่ที่เสนาสนะอันเหมาะสม ​ ทำการตัดความกังวลเล็กๆ ​ น้อยๆ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 26)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เสียตามนัยที่กล่าวแล้วในปฐวีกสิณนิทเทสนั่นแล ​ แล้วกระทำบริกรรมด้วยทำในใจว่าปฏิกูล ​ ก็แหละ ​ เมื่อจะเจริญอันดับแรกพึงถือเอานิมิตในผมทั้งหลาย ​ ถืออย่างไร ?  พึงถอนผมเส้น 1 หรือ 2 เส้น ​ วางไว้ที่ฝ่ามือแล้วกำหนดสีก่อน ​ ในการตรวจดูจำนวนผมแม้ในสถานที่ถูกตัดผมก็ควร ​ แม้การตรวจดูจำนวนผมที่ตกในน้ำหรือในข้าวยาคูก็ควรเหมือนกัน ​ เห็นในเวลาสีดำพึงมนสิการว่า ​ มีสีดำ ​ เห็นในเวลามีสีขาวพึงมนสิการว่ามีสีขาว ​ แต่ในเวลามีสีเจือปนพึงมนสิการด้วยสีข้างมาก ​ ก็ในผมฉันใด ​ แม้ในตจปัญจกะทั้ง 4  อย่างก็เหมือนกัน ​ พอได้เห็นแล้วพึงถือเอานิมิต  ​ 
- 
-==วิธีแยกส่วนร่างกาย 32== 
- 
-ครั้นถือเอานิมิตตามที่กล่าวมานั้นแล้ว ​ พึงแยกร่างกายทั้งหมดออกเป็นส่วนๆ โดยใช้ 1. สี 2. สัณฐาน ​ 3. ทิศ ​ 4. โอกาส ​ และ 5. ปริจเฉท, ​ แล้วแยกออกโดยความปฏิกูล 5  อย่าง ​ คือ 1. สี 2. สัณฐาน ​ 3. กลิ่น ​ 4. ที่อาศัย ​ และ 5. โอกาส ​ ในส่วนทั้งหมดนั้นมีพรรณนาตามลำดับต่อไปนี้ – 
- 
-'''​1. ​   อธิบาย ​ เกสา – ผม'''​ 
- 
-พึงทราบผมก่อน ​ ผม ​ โดยสี ​ ปกติเป็นสีดำดุจสีลูกประคำดีควายใหม่ ๆ  โดยสัณฐาน ​ ยาว ​ กลม ​ มีสัณฐานเหมือนคันชั่ง โดย ทิศ เกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาส ​ ในข้างทั้ง 2 กำหนดด้วยหมวกหู ​ ข้างหน้ากำหนดด้วยกรอบหน้าผาก ​ ข้างหลังกำหนดด้วยหลุมคอ ​ หนังอันชุ่มที่หุ้มกะโหลกศีรษะเป็น ​ โอกาส ​  ​แห่งผมทั้งหลาย ​ โดยปริจเฉท ​ ผมทั้งหลายเบื้องต่ำกำหนดด้วยพื้นรากของตนที่ทะแยงเข้าไปในหนังหุ้มศีรษะประมาณเท่าปลายเมล็ดข้าวเปลือกตั้งอยู่ ​ เบื้องบนกำหนดอากาศ ​ เบื้องขวางกำหนดด้วยส่วนแห่งกันและกัน ​ การกำหนดเช่นนี้ว่าผม 2  เส้น ​ ไม่มีโดยเป็นเส้นเดียวกัน ​ ดังนี้ ​ เป็นการกำหนดโดยส่วนที่เสมอกัน ​ ธรรมดาผมทั้งหลายธรรมชาติสร้างมามิให้ปนกับส่วนที่เหลือ 31  ส่วนอย่างนี้ว่า ​ ผมมิใช่ขน ​ ขนมิใช่ผม ​ กำหนดเช่นนี้ว่าส่วนนั่นเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก ​ ดังนี้ ​ เป็นการกำหนดส่วนที่ไม่เสมอกัน ​ อันนี้เป็นการกำหนดผมโดยลักษณะมีสีเป็นต้น  ​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 27)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ส่วนการกำหนดผมเหล่านั้นโดยเป็นสิ่งปฏิกูล 5  ประการ ​ ด้วยสามารถแห่งสีเป็นต้น ​ พึงทราบดังต่อนี้ ​ ธรรมดาผมเหล่านั้น ​ แม้จะว่าโดยสีก็ดี ​ โดยสัณฐานก็ดี ​ โดยกลิ่นก็ดี ​ โดยทิ่อาศัยก็ดี ​ โดยโอกาสก็ดี ​ ก็เป็นสิ่งปฏิกูล ​ จริงอยู่พวกมนุษย์เห็นสิ่งอะไร ๆ  ที่มีสีคล้ายผมในภาชนะยาคูหรือในภาชนะภัตแม้ที่น่าพึงพอใจ ​ ก็ยังน่าเกลียดว่าสิ่งนี้ปนกับผมจงนำมันออกไปเสีย ​ ผมทั้งหลายแม้โดยสีก็ปฏิกูลด้วยประการอย่างนี้ 
- 
-อนึ่ง ​ คนทั้งหลายเมื่อรับประทานอาหารกลางคืน ​ แม้ถูกต้องเปลือกรักหรือเปลือกปออันมีสัณฐานดังผมเข้า ​ ก็จะเกลียดขึ้นมาอย่างนั้นเหมือนกัน ​ ผมทั้งหลายเป็นสิ่งปฏิกูลโดยสัณฐานดังกล่าวมานี้ 
- 
-อนึ่ง ​ ผมที่เว้นจากการตกแต่งมีทาน้ำมันและอบดอกไม้เป็นต้น ​ ย่อมมีกลิ่นน่าเกลียดอย่างยิ่ง ​ เมื่อใส่เข้าในไฟย่อมมีกลิ่นน่าเกลียดกว่านั้น ​ ก็ผมทั้งหลายโดยสีและสัณฐานแม้จะพึงเป็นของไม่น่าเกลียด ​ แต่โดยกลิ่นเป็นสิ่งที่น่าเกลียดแท้ ​ เปรียบเหมือนอุจจาระของเด็กเล็ก ๆ  โดยสีมีสีเหมือนขมิ้น ​ แม้โดยสัณฐานมีสัณฐานเหมือนก้อนขมิ้น ​ และซากสุนัขดำที่ขึ้นพองที่เขาทิ้งไว้ ​ ณ  ที่ทิ้งขยะ ​ โดยสีมีสีเหมือนผลตาลสุก ​ โดยสัณฐานมีสัณฐานเหมือนตะโพนที่เขากลิ้งทิ้งไว้ ​ แม้เขี้ยวของมันเล่าก็มีสัณฐานเหมือนดอกมะลิตูม ​ เพราะฉะนั้น ​ อุจจาระเด็กและซากสุนัขทั้ง 2  อย่าง ​ โดยสีและสัณฐานจะไม่เป็นของปฏิกูลก็เป็นได้ ​ แต่โดยกลิ่นเป็นสิ่งปฏิกูลแท้ ​ ฉันใด ​ แม้ผมก็พึงเป็นฉันนั้น ​ โดยสีและสัณฐานจะไม่ปฏิกูลก็ได้ ​ แต่ว่าโดยกลิ่นเป็นสิ่งปฏิกูลแท้แล 
- 
-อนึ่ง ​ เปรียบเหมือนผักสำหรับแกงที่เกิดในน้ำครำที่ไหลออกจากบ้านขังอยู่ในที่ไม่สะอาด ​ ย่อมเป็นสิ่งน่าเกลียดไม่น่าบริโภคของมนุษย์ชาวเมืองฉันใด ​ แม้ผมทั้งหลายก็ฉันนั้น ​ จัดเป็นสิ่งที่น่าเกลียด ​ เพราะเกิดด้วยน้ำที่ซึมออกมาแต่ส่วนต่าง ๆ มีน้ำเหลือง ​ เลือด ​ มูตร ​ กรีส ​ น้ำดี ​ และเสมหะ ​ เป็นต้น ​ นี้เป็นความน่าเกลียดโดยที่อาศัยของผมเหล่านั้น  ​ 
- 
-อนึ่ง ​ ธรรมดาผมเหล่านี้เกิดในกองแห่งกาย 31  ส่วน ​ เปรียบดังผักเกิดที่กองคูถ ​ ผมเหล่านั้นจัดว่าเป็นสิ่งที่น่าเกลียดอย่างยิ่ง ​ เพราะเกิดในที่ไม่สะอาดดุจผักเกิดในป่าช้าและที่ทิ้งขยะมูลฝอยเป็นต้น ​ และเปรียบดังดอกบัวหลวงและดอกบัวสายเป็นต้น ​ ที่เกิดในที่ไม่สะอาดมีคูเมืองเป็นต้น ​ นี้แลเป็นความปฏิกูลโดยโอกาสแห่งผมเหล่านั้น ​ พระโยคาวจรพึงกำหนดความเป็นของปฏิกูลโดยส่วน 5  คือโดยสี, ​ สัณฐาน, ​ กลิ่น, ​ ที่อาศัยและโอกาสแห่งส่วนทั้งปวง ​ ดุจกำหนดความเป็นของปฏิกูลแห่งผมทั้งหลายฉะนั้นเถิด ​ แต่ว่าโดย ​ สี ​ สัณฐาน ​ ทิศ ​ โอกาส ​ และปริจเฉท ​ ต้องกำหนดเป็นแผนก ๆ  ทุก ๆ  ส่วน 
- 
-'''​2. ​   อธิบาย ​ โลมา – ขน'''​ 
- 
-ในบรรดาส่วนเหล่านั้น ​ พึงทราบ ​ ขน ​ ก่อน ​ ขนตามปกติมีประมาณ 90,​000 ​ ขุม ​ ว่าโดยสี ​ ปกติก็ไม่เหมือนผม ​ คือไม่ดำล้วนแต่มีสีทั้งดำทั้งเหลือง ​ โดยสัณฐาน ​ มี 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 28)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ปลายน้อมลง ​ มีสัณฐานดังรากตาล ​ โดยทิศ ​ เกิดในทิศทั้ง 2  โดยโอกาส ​ เว้นโอกาสที่ผมตั้งอยู่ ​ และฝ่ามือ ​ ฝ่าเท้า ​ เกิดอยู่ตามหนังหุ้มสรีระนอกนั้นโดยมาก ​ โดยปริจเฉท ​ เบื้องต่ำกำหนดด้วยรากพื้นเบื้องต่ำของตนอันแยงเข้าไปในหนังหุ้มสรีระประมาณเท่าปลายเหล็กจานเบื้องบนกำหนดด้วยโอกาส ​ เบื้องขวางกำหนดด้วยส่วนของกันและกัน ​ ขน 2  เส้นไม่มีโดยที่แห่งเดียวกัน ​ กำหนดดังนี้ ​ เป็นการกำหนดด้วยส่วนที่เป็นสภาคกันของขนเหล่านั้น ​ ส่วนการกำหนดส่วนที่ต่างกัน ​ ก็เช่นเดียวกับผมแล 
- 
-'''​3. ​   อธิบาย ​ นขา – เล็บ'''​ 
- 
-คำว่า ​ นขา ​ นี้เป็นชื่อของใบเล็บ 20  ใบ ​ เล็บทั้งหมดนั้นโดยสีมีสีขาว ​ โดยสัณฐานมีสัณฐานดังเกล็ดปลา ​ โดยทิศเกิดในทิศทั้ง 2  คือ ​ เล็บเท้าเกิดในทิศเบื้องล่าง ​ เล็บมือเกิดในทิศเบื้องบน ​ โดยโอกาส ​ ตั้งอยู่หลังปลายนิ้วทั้งหลาย ​ โดยปริจเฉทในทิศทั้ง 2  กำหนดด้วยเนื้อปลายนิ้ว ​ ข้างในกำหนดด้วยเนื้อหลังนิ้ว ​ ข้างนอกและปลายกำหนดด้วยอากาศ ​ ด้วยขวางกำหนดด้วยส่วนของกันและกัน ​ การกำหนดโดยนัยว่า ​ เล็บ 2  ใบไม่มีอยู่ร่วมกัน ​ นี้เป็นการกำหนดด้วยส่วนที่เป็นสภาคกัน ​ ส่วนการกำหนดด้วยส่วนที่ต่างกันก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล 
- 
-'''​4. ​   อธิบาย ​ ทนฺตา – ฟัน'''​ 
- 
-คำว่า ​ ทนฺตา ​ ได้แก่กระดูกฟัน 32  ซี่ ​ ของผู้มีฟันเต็ม ​ ฟันแม้เหล่านั้น ​ โดยสี ​ มีสีขาว ​ โดยสัณฐาน ​ มีสัณฐานหลายอย่าง ​ จริงอยู่ ​ บรรดาฟันเหล่านั้น ​ ว่าด้วยฟัน 4  ซี่ ​ ตรงกลางแถวฟันข้างล่างก่อน ​ มีสัณฐานเหมือนเมล็ดน้ำเต้าที่เขาตั้งเรียงไว้โดยลำดับที่ก้อนดินเหนียว ​ ฟันแต่ละซี่ในข้างทั้ง 2  ของฟัน 4  ซี่นั้นมีรากเดียว ​ มีสัณฐานเหมือนดอกมะลิ ​ ซ้อนตูม ​ ถัดฟันนั้นไปเป็นฟันข้างละซี่มี 2  ราก ​ 2 ง่าม ​ มีสัณฐานเหมือนไม้ค้ำยัน ​ ถัดไปฟันข้างละ 2  ซี่มี 3  ราก ​ ปลายก็ 3  แง่ ​ ถัดไปฟันข้างละ 2  ซี่ ​ 4  รากปลายก็ 4  แง่แล ​ แม้ในแถวฟันข้างบนก็นัยนี้เหมือนกัน ​ โดยทิศเกิดในทิศเบื้องบน ​ โดยโอกาสตั้งอยู่ในกระดูกกรามทั้ง 2  โดยปริจเฉท ​ เบื้องล่างกำหนดด้วยพื้นรากของตนอันตั้งอยู่ในกระดูกกราม ​ เบื้องบนกำหนดด้วยอากาศ ​ เบื้องขวางกำหนดด้วยส่วนแห่งกันและกันการกำหนดโดยนัยว่าฟัน 2   ​ซี่ไม่มีรวมอยู่ด้วยกัน ​ นี้เป็นส่วนกำหนดที่เป็นสภาคกัน ​ ส่วนการกำหนดส่วนที่ต่างกันก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 29)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​5. ​   อธิบาย ​ ตโจ -  หนัง'''​ 
- 
-คำว่า ​ ตโจ ​ ได้แก่หนังที่หุ้มร่างกายทั้งสิ้น ​ เบื้องบนแห่งหนังมีผิวสีดำคล้ำและเหลือง ​ เป็นต้น ​ ซึ่งเมื่อลอกออกจากร่างกายทั้งสิ้น ​ ก็จะได้ประมาณเท่าเมล็ดในพุทรา ​ แต่หนัง ​ โดยสี ​ ก็มีสีขาวเท่านั้น ​ ก็แลภาวะที่หนังขาวนั้นย่อมปรากฏเมื่อผิวถูกลอกออก ​ เพราะเหตุมีเปลวไฟลวกเอา และถูกฟันเป็นต้น ​ โดยสัณฐาน ​ มีสัณฐานเหมือนร่างกายนั่นเอง นี้เป็นความสังเขปในข้อว่าโดยสัณฐานนี้ ​ แต่ว่าโดยพิสดาร ​ หนังนิ้วเท้ามีสัณฐานดังรังไหม ​ หนังหลังเท้ามีสัณฐานเหมือนรองเท้าหุ้มส้น ​ หนังแข้งมีสัณฐานเหมือใบตาลห่อข้าว ​ หนังขามีสัณฐานเหมือนอันเต็มไปด้วยข้าวสาร ​ หนังตะโพกมีสัณฐานดังผืนผ้ากรองน้ำอันเต็มไปด้วยน้ำ ​ หนังหลังมีสัณฐานดังหนังหุ้มโล่ ​ หนังท้องมีสัณฐานเหมือนหนังหุ้มรางพิณ ​ หนังอกโดยมากมีสัณฐาน 4  เหลี่ยม ​ หนังแขนทั้ง 2  มีสัณฐานดังหนังหุ้มแล่งธนู ​ หนังหลังมือมีสัณฐานดังฝักมีด ​ หรือมีสัณฐานดังถุงใส่โล่ ​ หนังนิ้วมือมีสัณฐานดังฝักกุญแจ ​ หนังคอมีสัณฐานดังเสื้อปิดคอ ​ หนังหน้ามีช่องใหญ่น้อยมีสัณฐานดังรังตั๊กแตน ​ หนังศีรษะมีสัณฐานดังบาตร 
- 
-ก็แล ​ พระโยคาวจรผู้จะกำหนดหนัง ​ พึงส่งญาณมุ่งตรงขึ้นเบื้องบนตั้งแต่ริมฝีปากบน ​ แล้งพึงกำหนดหนังที่หุ้มรอบปากก่อนเป็นอันดับแรก ​ แต่นั้นจึงกำหนดหนังหุ้มกระดูก ​ หน้าผาก ​ ต่อนั้นจึงส่งญาณเข้าไปโดยระหว่างกระดูกศีรษะและหนังหุ้มศีรษะ ​ ดุจสอดมือเข้าไปโดยระหว่างแห่งบาตรที่สวมถลกฉะนั้น ​ แล้วแยกความที่หนังเนื่องเป็นอันเดียวกันกับกระดูกออกจากกัน ​ แล้วกำหนดหนังศีรษะ ​ ต่อนั้นพึงกำหนดหนังคอ ​ ต่อนั้นพึงกำหนดหนังมือขวาทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม ​ ครั้นแล้วพึงกำหนดหนังมือซ้ายโดยนัยนั้นเหมือนกัน ​ ต่อนั้นพึงกำหนดหนังหลัง ​ ครั้นกำหนดหนังหลังนั้นแล้วจึงกำหนดหนังเท้าขวาทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม ​ ครั้นแล้วพึงกำหนดหนังเท้าซ้ายโดยนัยเดียวกันนั้น ​ แต่นั้นพึงกำหนดหนังท้องน้อย ​ หนังหน้าท้องหนังทรวงอกแลหนังคอโดยลำดับ ​ ครั้นแล้งพึงกำหนดหนังใต้คางถัดหนังคอขึ้นมาจนถึงริมฝีปากล่างเป็นที่สุดจึงเสร็จ ​ เมื่อพระโยคาวจรกำหนดหนังหยาบ ๆ  ได้อย่างนี้แม้หนังที่ละเอียดก็ย่อมปรากฏ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 30)''</​fs></​sub>​ 
- 
-โดยทิศ ​ หนังเกิดในทิศทั้ง 2  โดยโอกาส ​ มันหุ้มร่างกายทั้งสิ้นอยู่ ​ โดยปริจเฉท ​ เบื้องล่างกำหนดด้วยพื้นที่มันตั้งอยู่ ​ เบื้องบนกำหนดด้วยอากาศ ​ นี้เป็นการกำหนดด้วยส่วนที่เป็นสภาคกันแห่งหนังนั้น ​ ส่วนการกำหนดด้วยส่วนที่ต่างกันก็เช่นเดียวกับผมนั้นแล 
- 
-'''​6. ​   อธิบาย ​ มํสํ – เนื้อ'''​ 
- 
-คำว่า ​ มํสํ ​ ได้แก่เนื้อ 900  ชิ้น ​ เนื้อทั้งหมดนั้น ​ โดยสี ​ มีสีแดงเช่นเดียวกับดอกทองกวาว ​ โดยสัณฐาน ​ เนื้อปลีแข้งมีสัณฐานเหมือนข้าวสุกในห่อใบตาล ​ เนื้อขามีสัณฐานดังลูกหินบด ​ เนื้อตะโพกมีสัณฐานดังก้อนเส้า ​ เนื้อหลังมีสัณฐานดังเยื่อลูกตาลสุก ​ เนื้อสีข้างทั้ง 2  มีสัณฐานเหมือนดินฉาบไว้บาง ๆ ที่ท้องฉาง ​ เนื้อนมมีสัณฐานดังก้อนดินที่เขาผูกแขวนไว้ ​ เนื้อแขนทั้ง 2  ข้างมีสัณฐานดังหนูตัวใหญ่ที่ถลกหนังวางซ้อนกันไว้ ​ เมื่อพระโยคาวจรกำหนดเนื้อหยาบ ๆอย่างนี้ ​ แม้ส่วนที่ละเอียดก็ย่อมปรากฏ ​ โดยทิศ เกิดในทิศทั้ง 2  โดยโอกาส ​ มันตั้งหุ้มกระดูกไม่เกิน 300  ท่อนไว้ ​ โดยปริจเฉท ​ เบื้องต่ำกำหนดด้วยพื้นที่ตั้งอยู่ที่โครงกระดูก ​ เบื้องบนกำหนดด้วยหนัง ​ ส่วนกว้างกำหนดด้วยส่วนของกันและกัน ​ นี้เป็นการกำหนดส่วนที่เป็นสภาคกันของเนื้อนั้น ​ ฝ่ายการกำหนดส่วนที่ต่างกันเช่นกับผมนั่นแล 
- 
-'''​7. ​   อธิบาย ​ นหารู – เอ็น'''​ 
- 
-คำว่า ​ นหารู ได้แก่เอ็น 90  เส้น ​ โดยสี ​  ​เอ็นทั้งหมดมีสีขาว ​ โดยสัณฐาน ​ มีสัณฐานต่าง ๆ  จริงอยู่ ​ ในเอ็นเหล่านั้น ​ เอ็นใหญ่ที่รึงรัดร่างกายจับตั้งแต่ส่วนบนแห่งคอหยั่งลงไปทางข้างหน้า 5  เส้น ​ ทางข้างหลังก็ 5  เส้น ​ ทางข้างขวาก็ 5  เส้น ​ ทางข้างซ้ายก็ 5  เส้น ​ แม้ทีรึงรัดมือขวาทางข้างหน้าก็ 5  เส้น ​ ทางข้างหลังก็ 5  เส้น ​ ที่รึงรัดมือซ้ายก็อย่างนั้น ​ แม้ที่รึงรัดเท้าขวาทางข้างหน้าเท้าก็ 5  เส้น ทางข้างหลังเท้าก็ 5 เส้น ​ ที่รึงรัดเท้าซ้ายก็อย่างนั้น ​ ดังนี้แล ​ เอ็นใหญ่ 60  เส้นอันได้นามว่า ​ สรีรธารกา ​ (เอ็นรึงรัดร่าง) ​ รึงรัดร่างกายการหยั่งลงไป ​ ซึ่งเรียกกันว่ากัณฑรา ​ (เอ็นรากเหง้า) ​ ก็มี ​ เอ็นเหล่านั้นทั้งหมด ​ มีสัณฐานดังต้นคล้าอ่อน ​ ส่วนเอ็นอื่นๆ ​ ตั้งคลุมตำแหน่งนั้น ๆ อยู่ ​ ที่เล็กกว่าเอ็นสรีรธารกานั้นมีสัณฐานดังเส้นด้าย ​ เอ็นอื่นที่เล็กกว่านั้นมีสัณฐานดังเถากระพังโหมนั่นแล อื่นที่เล็กกว่านั้นมีสัณฐานดังสายพิณใหญ่ อื่นมีสัณฐานดังเส้นด้ายอ้วน ๆ เอ็นที่หลังมือและเท้ามีสัณฐาน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 31)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ดังตีนนก เอ็นที่ศีรษะมีสัณฐานดังข่ายคลุมศีรษะทารก เอ็นที่หลังมีสัณฐานดังอวนเปียกที่เขาผึ่งไว้ที่แดด เอ็นอันแล่นไปตามองค์อวัยวะน้อยใหญ่นั้น ๆ ที่เหลือมีสัณฐานดังเสื้อร่างแหที่สวมร่างกายไว้ โดยทิศเกิดในทิศทั้ง 2 โดยโอกาสมันตั้งยึดกระดูกในร่างกายทั้งสิ้นอยู่โดยปริจเฉท เบื้องต่ำกำหนดด้วยพื้นที่มันตั้งอยู่บนกระดูก 300 ท่อน เบื้องบนกำหนดด้วยตำแหน่งที่มันตั้งจรดเนื้อและหนังอยู่ เบื้องขวางกำหนดด้วยส่วนของกันและกัน นี้เป็นกำหนดส่วนที่เป็นสภาคกัน ส่วนการกำหนดที่ที่ต่างกันก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล 
- 
-'''​8. ​   อธิบาย อฏฺฐี – กระดูก'''​ 
- 
-คำว่า อฏฺฐี ความว่า ยกเว้นกระดูกฟัน 32 ซี่เสีย ที่เหลือเป็นกระดูกประมาณ 300 ท่อน อย่างนี้คือ กระดูกมือ 64 ท่อน กระดูกเท้า 64 ท่อน กระดูกอ่อนที่ติดเนื้ออยู่ 64 ท่อน กระดูกส้นเท้า 2 ท่อน กระดูกข้อเท้าข้างละ 2 ท่อน กระดูกแข้งข้างละ 2 ท่อน กระดูกเข่าข้างละ 1 ท่อน กระดูกขาข้างละ 1 ท่อน กระดูกสะเอว 2 ท่อน กระดูกสันหลัง 18 ท่อน กระดูกซี่โครง 24 ท่อน กระดูกหน้าอก 14 ท่อน กระดูกหัวใจ 1 ท่อน กระดูกรากขวัญ 2 ท่อน ​ กระดูกสะบัก 2 ท่อน กระดูกต้นแขน 2 ท่อน กระดูกปลายแขนข้างละ 2 ท่อน กระดูกคอ 7 ท่อน กระดูกคาง 2 ท่อน กระดูกจมูก 1 ท่อน กระดูกเบ้าตา 2 ท่อน กระดูกหู 2 ท่อน กระดูกหน้าผาก 1 ท่อน กระดูกกระหม่อม 1 ท่อน กระดูกกะโหลกศีรษะ 9 ท่อน 
- 
-กระดูกทั้งหมดนั้น โดยสี มีสีขาว โดยสัณฐาน มีสัณฐานต่าง ๆ กัน จริงอยู่ ในกระดูกเหล่านั้น กระดูกปลายนิ้วเท้ามีสัณฐานดังเมล็ดบัว กระดูกข้อกลางถัดกระดูกปลายนิ้วนั้นเข้ามามีสัณฐานดังเมล็ดขนุน กระดูกข้อโคนมีสัณฐานดังบัณเฑาะว์ กระดูกหลังเท้ามีสัณฐานดังกองเหง้าคล้าที่ถูกบุบ กระดูกส้นเท้ามีสัณฐานดังจาวตาลในลอนเดียว กระดูกข้อเท้ามีสัณฐานดังลูกสะบ้าสำหรับเล่นที่ผูกไว้ กระดูกแข้งตรงที่ที่ตั้งลงในกระดูกข้อเท้า มีสัณฐานดังหน่อเป้งที่ถูกปอกเปลือก กระดูกแขนท่อนเล็กมีสัณฐานดังคันธนู ท่อนใหญ่มีสัณฐานดังหัวงูผอม กระดูกเข่ามีสัณฐานดังต่อมน้ำที่แหว่งไปข้างหนึ่ง กระดูกแข้งตรงที่ตั้งจรดในกระดูกเข่านั้นมีสัณฐานดังเขาโคปลายทู่ กระดูกขามีสัณฐานดังด้ามพร้าและด้ามขวานที่ถากไม่เรียบ กระดูกขาตรงที่ตั้งจรดในกระดูกสะเอวมีสัณฐานดังลูกสะบ้า กระดูกสะเอว 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 32)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ตรงที่ตั้งจรดกับกระดูกขานั้นมีสัณฐานดังผลมะงั่วใหญ่ปลายปาด กระดูกสะเอวแม้เป็น 2 ชั้น แต่ติดเป็นอันเดียวกัน มีสัณฐานดังเตาของช่างหม้อ แต่ละชิ้นมีสัณฐานดังคีมช่างทอง กระดูกตะโพกที่ตั้งอยู่ทางด้านปลายมีสัณฐานดังพังพานงูที่เขาวางคว่ำหน้าไว้ มีช่องเล็กช่องใหญ่ 7 – 8 แห่ง กระดูกสันหลังข้างในมีสัณฐานดังห่วงดีบุกที่วางซ้อนกันไว้ ข้างนอกมีสัณฐานดังลูกประคำ ในระหว่างกระดูกสันหลังเหล่านั้น มีเดือยอยู่ 2 ซี่คล้ายฟันเลื่อย ในกระดูกซี่โครง 24 ซี่ ซี่ที่ไม่เต็มมีสัณฐานดังเคียวแหว่ง ซี่ที่เต็มมีสัณฐานดังเคียวเต็มเล่ม ทั้งหมดมีสัณฐานดังปีกกางของไก่ขาว กระดูก 14 ท่อนมีสัณฐานดังเรือนคานหามที่คร่ำคร่ากระดูกหัวใจมีสัณฐานดังจวัก กระดูกรากขวัญมีสัณฐานดังมีดโลหะเล่มเล็ก ๆ กระดูกสะบักมีสัณฐานดังจอบชาวสีหลที่เหี้ยนไปข้างหนึ่ง กระดูกแขนมีสัณฐานดังด้ามแว่น กระดูกปลายแขนมีสัณฐานดังรากตาลคู่ กระดูกข้อมือมีสัณฐานดังห่วงแผ่นตะกั่วที่เขาเชื่อมให้ติดกันตั้งไว้ กระดูกหลังมือมีสัณฐานดังกองหง้าคล้าที่ถูกบุบ กระดูกข้อโคนนิ้วมือมีสัณฐานดังบัณเฑาะว์ กระดูกข้อกลางนิ้วมือมีสัณฐานดังเมล็ดขนุนไม่เต็มเม็ด กระดูกข้อปลายนิ้วมีสัณฐานดังเมล็ดบัว กระดูกคอ 7 ท่อนมีสัณฐานดังแว่นหน่อไม้ที่คนใช้ไม้เสียบตั้งไว้โดยลำดับกัน กระดูกคางอันล่างมีสัณฐานดังคีมเหล็กของพวกช่างโลหะ อันบนมีสัณฐานดังเหล็กสำหรับขูด กระดูกกระบอกตาและกระบอกจมูกมีสัณฐานดังเต้าตาลอ่อนที่ควักจาวออกแล้ว ​ กระดูกหน้าผากมีสัณฐานดังเปลือกสังข์ที่วางคว่ำหน้าไว้ กระดูกหูมีสัณฐานดังฝักมีดโกนของช่างกัลบก กระดูกในที่ที่หน้าผากกับกกหูติดกันเป็นแผ่นอยู่ตอนบนมีสัณฐานดังท่อนผ้าที่ยู่ยี่และเต็มไปด้วยเนยใส กระดูกกระหม่อมมีสัณฐานดังกะโหลกมะพร้าวเบี้ยวที่ปาดหน้าแล้วกระดูกศีรษะมีสัณฐานดังกะโหลกน้ำเต้าเก่าที่เขาเย็บตรึงไว้ 
- 
-โดยทิศ กระดูกเกิดในทิศทั้ง 2 โดยโอกาส ว่าโดยไม่แปลกกันตั้งอยู่ทั่วร่างกาย แต่เมื่อว่าโดยแปลกกัน ในกระดูกเหล่านั้น กระดูกศีรษะตั้งอยู่บนกระดูกคอกระดูกคอตั้งอยู่บนกระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังตั้งอยู่บนกระดูกสะเอว กระดูกสะเอวตั้งอยู่บนกระดูกขา กระดูกขาตั้งอยู่บนกระดูกเข่า กระดูกเข่าตั้งอยู่บนกระดูกแข้ง กระดูกแข้งตั้งอยู่บนกระดูกข้อเท้า กระดูกข้อเท้าตั้งอยู่บนกระดูกหลังเท้า โดยปริจเฉท ภายในกำหนดด้วยเยื่อในกระดูก เบื้องบนกำหนดด้วยเนื้อ ที่ปลายและรากกำหนดด้วยส่วนแห่งกันและกัน 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 33)''</​fs></​sub>​ 
- 
-นี้เป็นการกำหนดด้วยส่วนอันเป็นสภาคกันแห่งกระดูกเหล่านั้น ส่วนการกำหนดด้วยส่วนที่ต่างกันก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล 
- 
-'''​9. ​   อธิบาย อฏฺฐิมิญฺชํ – เยื่อในกระดูก'''​ 
- 
-ว่า อฏฺฐิมิญฺชํ ได้แก่เยื่อในกระดูกอันอยู่เฉพาะภายในแห่งกระดูกนั้น ๆ เยื่อในกระดูกนั้น โดยสี มีสีขาว โดยสัณฐาน เยื่อในที่อยู่ภายในกระดูกท่อนใหญ่ ๆ มีสัณฐานดังยอดหวายใหญ่ที่เขาลนไฟแล้วสอดเข้าไว้ในกระบอกไม้ไผ่ เยื่อที่อยู่ภายในกระดูกท่อนเล็ก ๆ มีสัณฐานดังยอดหวายเล็กที่เขาล่นไฟแล้วสอดเข้าไว้ในปล้องไม้อ้อ โดยทิศ เกิดในทิศทั้ง 2 โดยโอกาส ตั้งอยู่ภายในกระดูก โดยปริจเฉท กำหนดด้วยพื้นข้างในของกระดูกทั้งหลาย นี้เป็นการกำหนดด้วยส่วนที่เป็นสภาคกันแห่งเยื่อในกระดูกนั้น ส่วนการกำหนดด้วยส่วนที่ต่างกันก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล 
- 
-'''​10. ​   อธิบาย วกฺกํ – ไต'''​ 
- 
-คำว่า ไต ได้แก่ก้อนเนื้อ 2 ก้อนที่มีขั้วเดียวกัน ไตนั้น โดยสี มีสีแดงอ่อนดังสีเมล็ดทองหลาง โดยสัณฐาน มีสัณฐานดังลูกสะบ้าคู่ของเด็ก ๆ หรือมีสัณฐานดังผลมะม่วงแฝดติดอยู่ในขั้วเดียวกัน โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาส ไตนี้เป็นธรรมชาติที่ติดอยู่กับเอ็นเส้นใหญ่ที่แล่นออกลำคอมีโคนรวมเป็นเส้นเดียวกัน ไปได้หน่อยหนึ่ง แล้วแยกออกเป็น 2 เส้นห่อหุ้มเนื้อหัวใจไว้ โดยปริจเฉท ไตกำหนดด้วยส่วนแห่งไต นี้เป็นการกำหนดด้วยส่วนที่เป็นสภาคกันของไตนั้น ส่วนการกำหนดด้วยส่วนที่ต่างกันก็เช่นกับผมนั่นแล 
- 
-=====หทยมังสะ===== 
-'''​11. ​   อธิบาย หทยํ – หัวใจ'''​ 
- 
-คำว่า หทยํ ได้แก่เนื้อหัวใจ หัวใจนั้น โดยสี มีสีแดงดังสีหลังกลีบดอกปทุม โดยสัณฐาน มีสัณฐานดังดอกปทุมตูมที่เขาปลิดกลีบชั้นนอกออกแล้วตั้งคว่ำลง ภายนอกเกลี้ยง ภายในเหมือนกับภายในแห่งรังบวบขม สำหรับคนมีปัญหาแย้มหน่อยหนึ่ง ของพวกคนมีปัญญาอ่อนคงตูมมิดทีเดียว อนึ่ง ข้างในหัวใจนั้นมีแอ่งขนาดที่เมล็ดบุนนาคตั้งอยู่ได้ เป็นที่ขังอยู่แห่งโลหิตประมาณกึ่งซองมือ ที่มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป ก็โลหิตนี้นั้นของคนราคจริตมีสีแดง ของคนโทสจริตมีสีดำ ของคนโมหจริตมีสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 34)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ของคนวิตกจริตเป็นสีดังเยื่อถั่วพู ของคนสัทธาจริตมีสีดังดอกกรรณิการ์ ของคนปัญญาจริตใสผ่องไม่ขุ่นมัว ขาวบริสุทธิ์ปรากฏดังสีแก้วมณีแท้ที่เจียระไนแล้ว โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาส ตั้งอยู่ระหว่างกลางนมทั้ง 2 ภายในร่างกาย โดยปริจเฉท หัวใจกำหนดด้วยส่วนของหัวใจ นี้เป็นการกำหนดด้วยส่วนที่เป็นสภาคกันแห่งหัวใจ ส่วนการกำหนดด้วยส่วนที่ต่างกันเช่นเดียวกับผมนั่นแล 
- 
-'''​12. ​   อธิบาย ยกนํ – ตับ'''​ 
- 
-คำว่า ตับ ได้แก่แผ่นเนื้อคู่ ตับนั้น โดยสี มีสีแดง พื้นเหลืองไม่แดงจัด มีสีดังดอกบัวแดง โดยสัณฐาน ที่โคนเป็นแผ่นเดียวที่ปลายเป็น 2 ง่ามมีสัณฐานดังใบทองหลาง ​ อนึ่ง ​ ตับนั้น ​ ของพวกคนโง่เป็นแผ่นโตแผ่นเดียวเท่านั้น ของพวกคนมีปัญญาเป็นแผ่นเล็ก ๆ 2  หรือ 3  ชิ้น ​ โดยทิศ ​ เกิดในทิศเบื้องบน ​ โดยโอกาส ​ ตั้งแนบข้างขวาในระหว่างนมทั้ง 2  โดยปริเฉท ตับกำหนดด้วยส่วนแห่งตับ ​ นี้เป็นการกำหนดด้วยส่วนที่เป็นสภาคกันแห่งตับนั้น ​ ส่วนการกำหนดด้วยส่วนที่ต่างกันก็เช่นเดียวกันกับผมนั่นแล 
- 
-'''​13. ​     อธิบาย ​ กิโลมกํ – พังผืด'''​ 
- 
-คำว่า ​ พังผืด ​ ได้แก่เนื้อสำหรับหุ้มมี 2  อย่างโดยแยกเป็นพังผืดปกปิดและพังผืดเปิดเผย ​ พังผืดทั้ง 2  อย่างนั้น ​ โดยสี ​ มีสีขาวดังผ้าสีเปลือกไม้แก่ ​ โดยสัณฐาน ​ มีสัณฐานตามโอกาสของตน ​ โดยทิศ ​ พังผืดปกปิดเกิดในทิศเบื้องบน ​ พังผืดไม่ปกปิดเกิดในทิศทั้ง 2  โดยโอกาส ​ พังผืดที่ปกปิดตั้งคลุมหัวใจและตับ ​ พังผืดที่ไม่ปกปิดตั้งรัดรึงเนื้อภายใต้หนังทั่วร่างกาย ​ โดยปริจเฉท ​ เบื้องล่างกำหนดด้วยเนื้อ ​ เบื้องบนกำหนดด้วยหนัง ​ เบื้องขวางกำหนดด้วยส่วนแห่งพังผืดเอง ​ นี้เป็นการกำหนดด้วยส่วนที่เป็นสภาคกันของพังผืดนั้น ​ ส่วนการกำหนดด้วยส่วนที่ต่างกันเช่นเดียวกับผมนั่นแล 
- 
-'''​14. ​   อธิบาย ​ ปิหกํ – ม้าม'''​ 
- 
-คำว่า ​ ม้าม ​ ได้แก่เนื้อเป็นลิ้นอยู่ในท้อง ​ โดยสี ​ ม้ามนั้นมีสีเขียวดังดอกคนทิสอ ​ โดนสัณฐาน ​ มีสัณฐานดังลิ้นลูกโคดำ ​ มีขั้วยาวประมาณ 7  นิ้ว ​ โดยทิศ ​ เกิดในทิศเบื้องบน ​ โดยโอกาส ​ ตั้งแนบอยู่ข้างที่สุดแห่งพื้นท้องที่ข้างซ้ายแห่งหัวใจ ​ ซึ่งเมื่อมันออกมาภายนอก ​ เพราะถูกประหารด้วยเครื่องประหาร ​ สัตว์ทั้งหลายย่อมสิ้นชีวิต ​ โดยปริจเฉท ​ กำหนดด้วย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 35)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ส่วนของม้าม ​ นี้เป็นการกำหนดด้วยส่วนที่เป็นสภาคกันแห่งม้ามนั้น ​ ส่วนการกำหนดด้วยส่วนที่ต่างกัน ​ ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล  ​ 
- 
-'''​15. ​   อธิบาย ​ ปปฺผาสํ – ปอด'''​ 
- 
-คำว่า ​ ปอด ​ ได้แก่เนื้อปอด ​ ต่างโดยเป็นชิ้นเนื้อ 32  ชิ้น ​ โดยสี ​ ปอดนั้นมีสีแดง ​ ดังผลมะเดื่อยังไม่สุกจัด ​ โดยสัณฐาน ​ มีสัณฐานดังชิ้นขนมหนา ๆ  ที่เขาตัดไม่เรียบ ​ เป็นของไม่มีรส ​ ไม่มีโอชา ​ เหมือนก้อนใบไม้ที่คนเคี้ยวแล้ว ​ เพราะมันถูกไอแห่งเตโชธาตุอันเกิดแต่กรรมที่พลุ่งขึ้นมา ​ เพราะในภายในไม่มีอาหารที่ตนกินและน้ำที่ตนดื่ม ​ เผาผลาญแล้ว ​ โดยทิศ ​ เกิดในทิศเบื้องบน ​ โดยโอกาส ตั้งห้อยปิดอยู่ข้างบนหัวใจและตับในระหว่านมทั้ง 2  ภายในร่างกาย ​ โดยปริจเฉท ​ กำหนดด้วยส่วนของปอดเอง ​ นี้เป็นการกำหนดด้วยส่วนที่เป็นสภาคกันแห่งปอดนั้น ​ ส่วนการกำหนดด้วยส่วนที่ต่างกันเช่นเดียวกับผมนั่นแล 
- 
-'''​16. ​   อธิบาย ​ อนฺตํ – ไส้ใหญ่'''​ 
- 
-คำว่า ​ ไส้ใหญ่ ​ ได้แก่ขนดไส้อันขดอยู่ในที่ 21  รอบ ​ ของชายยาว 32  ศอก ​ ของหญิงยาว 28  ศอก ​ ไส้ใหญ่นี้นั้น ​ โดยสี ​ มีสีขาวดังก้อนกรวดหรือปูนขาว ​ โดยสัณฐาน ​ มีสัณฐานดังงูหัวขาดที่เขาขดวางไว้ในรางเลือด ​ โดยทิศ ​ เกิดในทิศทั้ง 2  โดยโอกาส ​ ตั้งอยู่ภายในร่างกาย ​ มีปลายอยู่ที่คอหอยและที่ทวารหนัก ​ เพราะเบื้องบนเลื้อยขึ้นไปถึงหลุมคอและเบื้องล่างเลื้อยลงมาจรดทวารหนัก ​ โดยปริจเฉท ​ กำหนดโดยส่วนของลำไส้ใหญ่เอง ​ นี้เป็นการกำหนดด้วยส่วนทีเป็นสภาคกันแห่งไส้ใหญ่นั้น ​ ส่วนการกำหนดด้วยส่วนที่ต่างกันก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล 
- 
-'''​17. ​   อธิบาย ​ อนฺตคุณํ – ไส้น้อย'''​ 
- 
-คำว่า ​ ไส้น้อย ​ ได้แก่ไส้อันเป็นสายพันอยู่ในฐานขนดไส้ใหญ่ ​ ไส้น้อยนั้น ​ โดยสี ​ มีสีขาวดังรากจงกลนี ​ โดยสัณฐาน ​ มีสัณฐานดังรากจงกลนีนั่นแหละ ​ โดยทิศ ​ เกิดในทิศ ​ ทั้ง 2  โดยโอกาส ​ ไส้น้อยนั้นตั้งยึดขนดไส้ใหญ่ให้เป็นมัดอยู่ด้วยกัน ​ ดุจเชือกยนต์ยึดแป้นยนต์ไว้ในเวลาที่พวกช่างผู้ทำงานต่าง ๆ  มีการงานที่ต้องทำด้วยจอบและขวานเป็นต้น ​ ชักยนต์อยู่ระหว่างแห่งขนดไส้ใหญ่ 21  ทบ ​ เหมือนเชือกเล็กที่เย็บร้อยไปตามในระหว่างแห่งขนดเชือกสำหรับเช็ดเท้าฉะนั้น ​ โดยปริจเฉท ​ กำหนดด้วยส่วนแห่งไส้น้อยเอง ​ นี้เป็น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 36)''</​fs></​sub>​ 
- 
-การกำหนดด้วยส่วนที่เป็นสภาคกันแห่งไส้น้อยนั้น ​ ส่วนการกำหนดด้วยส่วนที่ต่างกันเช่นเดียวกับผมนั้นแล 
- 
-'''​18. ​   อธิบาย ​ อุทริยํ – อาหารใหม่ '''​ 
- 
-คำว่า ​ อาหารใหม่ ​ ได้แก่ของที่บริโภคที่ดื่มที่เคี้ยวและที่ลิ้มซึ่งมีอยู่ในท้อง ​ อาหารใหม่นั้น ​ โดยสี ​ มีสีดังอาหารที่กลืนกินเข้าไป ​ โดยสัณฐาน ​ มีสัณฐานดังข้าวสารที่เขาห่อหลวม ๆ  ในผ้ากรองน้ำ ​ โดยทิศ ​ เกิดในทิศเบื้องบน ​ โดยโอกาส ตั้งอยู่ในท้อง 
- 
-ชื่อว่าท้อง ได้แก่อวัยวะที่หุ้มเสมือนโป่งผ้าที่เกิดขึ้นตรงกลางผ้าเปียกน้ำที่รวบชายทั้ง 2 ข้างเข้า ภายนอกเกลี้ยง ภายในเป็นดังผ้าซับระดูที่เปื้อนแล้วห่อกากเนื้อไว้ แม้จะกล่าวว่าภายในท้องนั้นเป็นดังข้างในของผลขนุนเปื่อยก็ควร มันเป็นที่อยู่ของหมู่หนอน แยกประเภทเป็นถึง 32 ตระกูล เป็นต้นว่า ตระกูล ตักโกฏกะ พยาธิปากขอ คัณฑุปาทกะ พยาธิไส้เดือน ตาลหีรกะ พยาธิเสี้ยนตาล สูจิมุขกะ พยาธิปากเข็ม ปฏตันตุ พยาธิตัวแบน สุตตกะ พยาธิเส้นด้าย พากันอาศัยคลาคล่ำเป็นกลุ่ม ๆ ไป ซึ่งเมื่อของกินมีน้ำและข้าวเป็นต้นไม่มีในท้อง มันก็เที่ยวพลุกพล่านกันให้ระงมไป พากันตรงเข้าบ่อนเนื้อหัวใจ และเวลาคนกลืนอาหารมีน้ำและข้าวลงไป มันก็พากันชูปากตะลีตะลานเข้าแย่งอาหารที่คนกลืนกินลงไปครั้งแรก 2-3 คำ ท้องนั้นซึ่งเป็นเรือนคลอด เป็นวัจกุฎี เป็นโรงพยาบาล และเป็นสุสาน ของหมู่หนอนเหล่านั้น ซึ่งเป็นที่ของกินมีน้ำและข้าวเป็นต้นมีประดารต่าง ๆ ที่แหลกด้วยสากคือฟัน อันมือคือลิ้นพลิกไปพลิกมา เกลือกกลั้วด้วยน้ำลายและน้ำย่อย กลับกลายเป็นของปราศจากความสมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น รสเป็นต้น เป็นเสมือนกับน้ำข้าวในที่ทอหูกและรากสุนักตกลงไปแล้ว ก็เกลือกกลั้วด้วยน้ำดี เสลด และลม ละเอียดแล้วด้วยกำลังความร้อนแห่งไฟในท้อง อากูลไปด้วยหมู่หนอน ปล่อยเป็นฟองฟอดและต่อมขึ้นบนเรื่อยไป ถึงความเป็นกลากเป็นของเหม็นและน่าเกลียดอย่างยิ่งตั้งอยู่ เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหนาตกลงมาในฤดูแล้ง ซากชนิดต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่ปัสสาวะอุจจาระท่อนหนังท่อนกระดูกท่อนเอ็นน้ำลายน้ำมูกและเลือดตกลงไปที่น้ำฝนพัดพามา ตกลงไปในแอ่งโสโครกข้างประตูบ้านพวกคนจัณฑาลแล้วประสมเข้ากับน้ำโคลน 2-3 ส่วนก็เกิดเป็นหมู่หนอนเป็นไอขึ้นด้วยกำลังความร้อนแห่งแสงแดด ปล่อยฟองและต่อมขึ้นข้างบน มีสีเขียวคล้ำ เหม็นและหน้าเกียดอย่างยิ่ง ซึ่งเป็น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 37)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ภาพที่ไม่น่าเข้าใกล้ไม่น่าดูเลยตั้งอยู่ จะป่วยกล่าวไปใยถึงการดมและการลิ้มเล่า ฉะนั้น เพียงแต่ได้ฟังก็เกิดความไม่พอใจในน้ำและข้าวเป็นต้น จะกล่าวไปใยถึงการดูด้วยปัญญาจักษุเล่า และในที่ที่ของกินมีน้ำและข้าวเป็นต้นซึ่งตกลงไป ถึงความจำแนกเป็น 5 ส่วน คือ ส่วนหนึ่งถูกสัตว์กิน ส่วนหนึ่งถูกไฟธาตุในท้องแผดเผา ส่วนหนึ่งเป็นปัสสาวะ ส่วนหนึ่งเป็นอุจจาระ ส่วนหนึ่งถึงความเป็นรสแล้วเพิ่มพูนส่วนแห่งร่างกายมีเลือดและเนื้อเป็นต้น 
- 
-โดยปริจเฉท อาหารใหม่นั้นกำหนดด้วยกระพุ้งท้องและส่วนแห่งอาหารใหม่ นี้เป็นการกำหนดด้วยส่วนที่เป็นสภาคกันแห่งอาหารใหม่นั้น ส่วนการกำหนดด้วยส่วนที่ต่างกันก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล ​ 
- 
-'''​19. ​   อธิบาย กรีสํ – อาหารเก่า'''​ 
- 
-คำว่า อาหารเก่า ได้แก่อุจจาระ อุจจาระนั้น โดยสี มีสีดังอาหารที่กลืนเข้าไปนั่นแหละโดยมาก โดยสัณฐาน มีสัณฐานตามโอกาส โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องล่าง โดยโอกาส ตั้งอยู่ในกระเพาะอาหารเก่า ที่ชื่อว่าอาหารเก่า เป็นเสมือนกระบอกไม้ไผ่นั่นแล สูงประมาณ 8 องคุลีอยู่ที่ปลายใส้ใหญ่ ในระหว่างใต้สะดือและโคนข้อสันหลัง ซึ่งเป็นที่ที่ของกินมีน้ำและข้าวเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งตกลงไปในกระเพาะอาหารใหม่ อันไฟธาตุในท้องเผาผลาญปุดเป็นฟองฟอดถึงภาวะเป็นของละเอียด ดังถูกด้วยหินบดและไหลลงไปตามลำไส้ใหญ่เป็นของหมักตั้งอยู่ ดังดินเหลืองที่เขาขยำใส่ในปล้องไม้ไผ่ เปรียบเสมือนน้ำฝนตกลงที่ภูมิภาคเบื้องสูงแล้วไหลบ่าลงไปขังเต็มภูมิภาคเบื้องต่ำฉะนั้น โดยปริจเฉท กำหนดกะพุ้งกระเพาะอาหารเก่าและด้วยส่วนแห่งอุจจาระ นี้เป็นการกำหนดส่วนที่เป็นสภาคกันแห่งอาหารเก่านั้น ส่วนการกำหนดส่วนที่ต่างกันก็เช่นผมนั่นแล 
- 
-'''​20.อธิบาย มตฺถลุงคํ – มันสมอง'''​ 
- 
-คำว่า มันสมอง ได้แก่กองเยื่ออันตั้งอยู่ภายในกะโหลกศีรษะ มันในสมองนั้น โดยสี มีสีขาวดังก้อนเห็ดหูงู แม้จะกล่าวว่ามีสีดังน้ำนมที่เสียแต่ยังไม่ทันกลายเป็นน้ำนมส้ม ก็ควร โดยสัณฐาน มีสัณฐานตามโอกาส โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาส อาศัยแนวประสาน 4 แนวภายในกะโหลกศีรษะ ตั้งรวมกันอยู่ดังก้อนแป้ง 4 ก้อน ที่เขาตั้งรวมกันไว้ โดยปริจเฉท กำหนดด้วยพื้นในภายในกะโหลกศีรษะและส่วนแห่งมันสมอง นี้เป็น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 38)''</​fs></​sub>​ 
- 
-การกำหนดส่วนที่เป็นสภาคกันแห่งมันสมองนั้น ส่วนการกำหนดส่วนที่ต่างกันก็เช่นเดียวกับผมนั้นแล 
- 
-'''​20. ​   อธิบาย ปิตฺตํ – ดี'''​ 
- 
-คำว่า ดี ได้แก่ดี 2 อย่างคือ ดีที่มีฝัก 1 ดีที่ไม่มีฝัก 1 ในดี 2 อย่างนั้น ดีที่มีฝัก โดยสี มีสีดังน้ำมันมะซางข้น ๆ ดีที่ไม่มีฝักมีสีดังดอกพิกุลเหี่ยว โดยสัณฐาน ดีทั้ง 2 อย่างมีสัณฐานตามโอกาส โดยทิศ ดีมีฝักเกิดในทิศเบื้องบน ดีไม่มีฝักเกิดในทิศทั้ง 2 โดยโอกาส ดีที่ไม่มีฝัก ยกเว้นที่ที่เว้นจากเนื้อคือ ผม ขน เล็บ ฟัน และหนัง ที่กระด้างแห้งผากซึมซาบไปทั่วร่างที่เหลือตั้งอยู่ ดังหยาดน้ำมันซึมซาบไปทั่วน้ำฉะนั้น ซึ่งเมื่อมันกำเริบ สัตว์ทั้งหลายชักให้ตาเหลืองวิ่งเวียนไป ตัวก็สะทกสะท้านเป็นผื่นคัน ดีที่มีฝักฝังอยู่ในฝักดีซึ่งเป็นดังรังบวบขมใหญ่ตั้งแนบเนื้อตับในระหว่างหัวใจกับปอด ซึ่งเมื่อมันกำเริบสัตว์ทั้งหลายมักเป็นบ้า จิตใจแปรปรวนละทิ้งอิริโอตัปปะ สิ่งที่ไม่น่าทำก็ทำได้ คำที่ไม่น่าพูดก็พูดได้ สิ่งที่ไม่น่าคิดก็คิดได้ โดยปริจเฉท กำหนดด้วยส่วนของตน นี้เป็นการกำหนดส่วนที่เป็นสภาคกันแห่งดีนั้น ส่วนการกำหนดส่วนที่ต่างกันก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล 
- 
-'''​22. อธิบาย เสมฺหํ - เสลด'''​ 
- 
-คำว่า เสลด ได้แก่เสลดซึ่งมีประมาณเต็มบาตรใบหนึ่งอยู่ภายในร่างกาย เสลดนั้น โดยสี มีสีดังน้ำใบแตงหนู โดยสัณฐาน มีสัณฐานตามโอกาส โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาส ตั้งอยู่ในกระพุ้งท้อง ซึ่งในเวลาที่กลืนอาหารมีน้ำและข้าวเป็นต้น เมื่อน้ำและข้าวตกลงไปมันก็แยกออกจากกันเป็น 2 ส่วน แล้วหุ้มห่อเข้าตามเดิม เหมือนอย่างสาหร่ายในน้ำเมื่อไม้หรือกระเบื้องตกลงไปมันก็แยกออกเป็นส่วนแล้วหุ้มเข้าตามเดิมฉะนั้น อนึ่ง เมื่อมันน้อยไปท้องจะส่งกลิ่นดังซากศพน่าเกลียดยิ่งนัก ดุจฝีแตกและดุจไข่ไก่เน่า และท้องนั้นส่งกลิ่นฟุ้ง การเรอก็ดี พูดก็ดี ก็พลอยเหม็นเช่นกลิ่นศพเน่าไปด้วย และคนผู้นั้นจะต้องถูกต่อว่าว่าออกไปส่งกลิ่นเหม็นฟุ้งนัก และมันมีเพิ่มมากขึ้นแล้วก็ปิดกั้นกลิ่นซากศพในภายในกระพุ้งท้องอยู่ได้ ดังแผ่นกระดานปิดวัจกุฎี ฉะนั้น โดยปริเฉท กำหนดด้วยส่วนของเสลดเอง นี้เป็นการกำหนดด้วยส่วนที่เป็นสภาคกันแห่งเสลดนั้น ส่วนการกำหนดด้วยส่วนที่ต่างกันก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 39)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​23. อธิบาย ปุพฺโพ – น้ำหนอง'''​ 
- 
-คำว่า น้ำหนอง ความว่าหนองนั้นมีสีดังใบไม้เหลือง แต่ในร่างกายคนตายย่อมมีสีดังน้ำข้าวบูดข้น ๆ โดยสัณฐาน มีสัณฐานตามโอกาส โดยทิศ เกิดในทิศทั้ง 2 โดยโอกาส ชื่อว่าโอกาสของหนองซึ่งมันเป็นที่มันขังตั้งอยู่ประจำหามีไม่ แต่ในตำแหน่งแห่งร่างกายใด ๆ ที่ถูกตอหนามตำ ถูกเครื่องประหารกระทบ หรือถูกไฟลวกเอา โลหิตย่อมห้อสุกหรือว่าฝีและต่อมเป็นต้นเกิดขึ้น มันจึงขังอยู่ในที่นั้น ๆ โดยปริจเฉท กำหนดด้วยส่วนของตน นี้เป็นการกำหนดส่วนที่เป็นสภาคกันแห่งหนอนนั้น ส่วนการกำหนดด้วยส่วนที่ต่างกันก็เช่นกับผมนั่นแล 
- 
-'''​24. อธิบาย โลหิตํ – โลหิต'''​ 
- 
-โลหิต ในบทว่า โลหิตํ นี้ มี 2 อย่าง คือ โลหิตข้น 1 โลหิตจาง 1 ในโลหิต 2 อย่างนั้น โลหิตข้นโดยสีมีสีดังน้ำครั่งข้นแก่ไฟ โลหิตจางมีสีน้ำครั่งใส โดยสัณฐาน โลหิตทั้ง 2 อย่าง มีโลหิตตามโอกาส โดยทิศ โลหิตข้นเกิดในทิศเบื้องบน โลหิตจางเกิดในทิศทั้ง 2 โดยโอกาส โลหิตจางซึมซาบทั่วร่างกายที่มีชีวิตทุกแห่ง ตั้งอยู่ตามสายช่องแห่ง เส้นเอ็น เว้นที่ผม ขน ฟัน และเล็บ ที่ตั้งพ้นจากเนื้อและหนังอันกระด้างและแห้งผากเลือดข้นท่วมอยู่ภายใต้แห่งตับมีประมาณเต็มบาตรหนึ่งค่อย ๆ ซึมไปบนไต หัวใจ ตับ และปอด ทำไต หัวใจ ตับ และปอดให้ชุ่มอยู่เสมอ เพราะเมื่อมันไม่ทำไตและหัวใจเป็นต้นให้ชุ่มอยู่ สัตว์ทั้งหลายจะเกิดกระหายขึ้น โดยปริจเฉทกำหนดด้วยส่วนของโลหิตเอง นี้เป็นการกำหนดด้วยส่วนที่เหมือนกันแห่งโลหิตนั้น ส่วนการกำหนดด้วยส่วนที่ต่างกันก็เช่นเดียวกับผมนั้นแล 
- 
-'''​25. อธิบาย เสโท –เหงื่อ'''​ 
- 
-คำว่า เหงื่อ ได้แก่อาโปธาตุที่ไหลออกตามช่องขุมผมเป็นต้น เหงื่อนั้นโดยสีมีสีดังสีน้ำมันงาใส โดยสัณฐาน มีสัณฐานตามโอกาส โดยทิศเกิดในทิศทั้ง 2 โดยโอกาสชื่อว่าโอกาสแห่งเหงื่อซึ่งเป็นที่ที่มันจะพึงขังตั้งอยู่ทุกเมื่อดังโลหิตหามีไม่ ​ แต่เมื่อใดร่างกายอบอ้าวอยู่ เพราะเหตุต่าง ๆ เช่นร้อนไฟร้อนแดดและความเปลี่ยนแปลงแห่งฤดูเป็นต้น เมื่อนั้นมันจึงไหลออกตามช่องขุมผมและขนทั้งปวงดุจดังสายบัวที่มีรากและเหง้าที่ตัดไว้ไม่เรียบ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 40)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ซึ่งคนถอนขึ้นจากน้ำฉะนั้น เพราะฉะนั้น ​ แม้พื้นฐานของเหงื่อนั้นก็พึงทราบโดยช่องขุมผมและขนนั้นแล ก็พระโยคีผู้กำหนดเหงื่อ พึงมนสิการเหงื่อตามที่มันขังตั้งเต็มขุมผมและขนนั่นเอง โดยปริจเฉท กำหนดด้วยส่วนของเหงื่อเอง ​ นี้เป็นการกำหนดด้วยส่วนที่เหมือนกันแห่งเหงื่อนั้น ส่วนการกำหนดด้วยส่วนที่ต่างกันก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล 
- 
-'''​26. อธิบาย เมโท – มันข้น'''​ 
- 
-คำว่า เมโท แปลว่า มันข้น มันข้นนั้นมีสีมีสีดังขมิ้นที่ถูกผ่า โดยสัณฐานสำหรับคนอ้วนมีสัณฐานเหมือนผ้าเก่าเนื้อหยาบมีสีดังขมิ้นที่วางไว้ในระหว่างหนังกับเนื้อ ​ สำหรับคนผอมที่มีสัณฐานดังผ้าเก่าเนื้อหยาบมีสีดังสีขมิ้นที่วางซ้อนกันไว้มี 2-3 ชั้น แนบติดเนื้อเหล่านี้ คือเนื้อแข้ง,​ เนื้อขาอ่อน,​ เนื้อหลังที่ติดกระดูกสันหลัง,​ เนื้อช่องท้อง โดยทิศเกิดในทิศทั้ง 2 โดยโอกาสตั้งแผ่ไปทั่วร่างของคนอ้วนและตั้งติดเนื้อต่าง ๆ เช่นเนื้อแข้งเป็นต้นของคนผอมอยู่ ซึ่งแม้นับว่าเป็นมัน แต่เพราะมันเป็นของน่าเกลีัยดยิ่งนัก คนทั้งหลายจึงไม่ถือเอามาใช้เป็นน้ำมันทาที่ศีรษะ ไม่ถือเอามาใช้เป็นน้ำมันอย่างอื่น ๆ มีน้ำมันสำหรับนัดจมูกเป็นต้น โดยปริจเฉท เบื้องต่ำกำหนดด้วยเนื้อ เบื้องบนกำหนดด้วยหนัง เบื้องขวางกำหนดด้วยส่วนของมันเอง นี้เป็นการกำหนดด้วยส่วนที่เหมือนกันแห่งมันข้นนั้น ส่วนการกำหนดด้วยส่วนที่ต่างกันเช่นเดียวกับผมนั้นแล 
- 
-'''​27. อธิบาย อสฺสุ – น้ำตา'''​ 
- 
-คำว่า อสฺสุ ได้แก่อาโปธาตุซึ่งหลั่งออกจากดวงตาทั้งหลาย น้ำตานั้นโดยสีมีสีดังสีน้ำมันข้น โดยสัณฐาน มีสัณฐานตามโอกาส ​ โดยทิศเกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาสเกิดอยู่ในกระบอกตา ดังน้ำดีอยู่ในฝักดี แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายเกิดความดีใจหัวเราะใหญ่หรือเกิดเสียใจร้องไห้คร่ำครวญอยู่หรือกลืนกินอาหารแสลงเห็นปานนั้นเข้าไป และเมื่อใด ดวงตาของสัตว์เหล่านั้นถูกสิ่งที่ทำให้น้ำตาไหลมีควันละอองและฝุ่นเป็นต้นกระทบ เมื่อนั้น น้ำตาก็ตั้งขึ้น เพราะความดีใจ ความเสียใจ หรืออาหารฤดูที่แสลงเหล่านั้น แล้วเอ่ออยู่เต็มเบ้าตาบ้าง ไหลออกมาบ้าง ก็พระโยคีผู้จะกำหนดน้ำตาก็พึงกำหนดเอาตามที่มันเอ่ออยู่เต็มเบ้าตานั่นแหละ โดยปริเฉท กำหนดด้วยส่วนของน้ำตาเอง นี้เป็นการกำหนดด้วยส่วนที่เหมือนกันแห่งน้ำตาเหล่านั้น ส่วนการกำหนดด้วยส่วนที่ต่างกันก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 41)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​28. อธิบาย วสา – มันเหลว'''​ 
- 
-คำว่า วสา ได้แก่มันที่เป็นส่วนเหลว มันเหลวนั้นโดยสีมีสีดังน้ำมันมะพร้าว แม้จะเรียกว่ามีสีดังสีน้ำมันที่ราดลงไปในน้ำข้าวก็ควร โดยสัณฐานมีสัณฐานดังหยาดน้ำมันที่ซ่านไปลอยคว้างอยู่เหนือน้ำอันใสในเวลาอาบ โดยทิศเกิดในทิศทั้ง 2 โดยโอกาสโดยมากมันตั้งอยู่ในฝ่ามือ หลังมือ ฝ่าเท้า หลังเท้า ปลายจมูก หน้าผาก และจะงอยบ่า แต่ว่ามันหาได้ละลายอยู่ในโอกาสเหล่านี้ทุกเมื่อไม่ แต่เมื่อใด ตำแหน่งเหล่านั้นเกิดอบอ้าวขึ้นเพราะร้อนไฟ ร้อนแดด ผิดอากาศ และธาตุพิการ เมื่อนั้น มันจึงกระจัดกระจายไปทางโน้นทางนี้ในที่เหล่านั้น ดังหยาดน้ำมันที่ซ่านไปบนน้ำใสในเวลาอาบ ​ ฉะนั้น โดยปริจเฉทกำหนดด้วยส่วนของมันเหลวเองนี้เป็นการกำหนดด้วยส่วนที่เหมือนกันแห่งมันเหลวเหล่านั้น ส่วนการกำหนดด้วยส่วนที่ต่างกันก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล 
- 
-'''​29. อธิบาย เขโฬ – น้ำลาย'''​ 
- 
-คำว่า เขโฬ น้ำลาย ได้แก่อาโปธาตุที่ผสมน้ำลายเป็นฟองขึ้นภายในปาก น้ำลายนั้นโดยสีมีสีดังฟองน้ำ โดยสัณฐานมีสัณฐานตามโอกาส แม้จะกล่าวว่ามีสัณฐานดังฟองน้ำก็ได้ โดยทิศเกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาสมันไหลลงมาจากกระพุ้งแก้มทั้ง 2 แล้วขังตั้งอยู่ที่ลิ้นก็น้ำลายนี้ขังอยู่ในกระพุ้งแก้มทั้ง 2 นี้เป็นนิตย์หามิได้ แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายเห็นหรือนึกถึงอาหารเห็นปานนี้หรือวางของมีรสร้อน ขม เผ็ด เค็ม เปรี้ยวอะไร ๆ ลงไปที่ปากก็ดี หรือว่าเมื่อใดหัวใจของสัตว์เหล่านั้นละเหี่ยอยู่หรือเกิดความสะอิดสะเอียนในสิ่งทุกอย่าง เมื่อนั้นน้ำลายย่อมเกิดขึ้นแล้วไหลลงออกจากกระพุ้งแก้มทั้ง 2 ขังตั้งอยู่ที่ลิ้น อนึ่ง น้ำลายนั้น ที่ปลายลิ้นใส ที่กกลิ้นข้น ก็ข้าวเม่าหรือข้าวสารหรือของเคี้ยวอะไร ๆ อย่างอื่นที่ใส่เข้าไปในปากน้ำลายจะสามารถให้ชุ่มอยู่ได้มิได้สิ้นไปเลย ดุจน้ำในบ่อที่ขุดในหาดทรายไม่รู้จักสิ้นฉะนั้น โดยปริเฉท กำหนดด้วยส่วนของน้ำลายเอง นี้เป็นการกำหนดด้วยส่วนที่เหมือนกันแห่งน้ำลายนั้น ส่วนการกำหนดด้วยส่วนที่ต่างกันเช่นเดียวกับผมนั่นแล 
- 
-'''​30. อธิบาย สิงฺฆานิกา – น้ำมูก'''​ 
- 
-คำว่า สิงฺฆาณิกา น้ำมูก ได้แก่น้ำอันไม่สะอาดที่ไหลออกจากมันสมอง น้ำมูกนั้น โดยสีมีสีดังเยื่อในเม็ดตาลอ่อน โดยสัณฐาน มีสัณฐานตามโอกาส โดยทิศเกิดในทิศเบื้อง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 42)''</​fs></​sub>​ 
- 
-บน โดยโอกาสมันตั้งเต็มกระพุ้งจมูก แต่น้ำมูกนั้นมิได้ขังตั้งอยู่ในที่ในนั้นทุกเมื่อดอก โดยที่แท้ เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายร้องไห้ก็ดี เป็นผู้มีความกำเริบแห่งธาตุอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจอาหารแสลงและฤดูเปลี่ยนแปลงก็ดี เมื่อนั้น มันในสมองก็กลายเป็นเสมหะแล้วไหลเคลื่อนจากภายในศีรษะส่งมาตามช่องเพดานจนเต็มกระพุ้งจมูกอยู่บ้าง หรือออกมาบ้าง เปรียบเหมือนคนห่อนมส้มไว้ในใบบัว แล้วใช้หนามแทงด้านล่าง เมื่อนั้น หยาดนมส้มใสก็จะพึงหยดออกจากช่องนั้นฉะนั้น ก็แล พระโยคีผู้กำหนดน้ำมูก พึงกำหนดตามที่มันขังตั้งเต็มกระพุ้งจมูกอยู่นั่นแล โดยปริจเฉท กำหนดด้วยส่วนของน้ำมูก นี้เป็นการกำหนดด้วยส่วนที่เหมือนกันแห่งน้ำมูกนั้น ส่วนการกำหนดด้วยส่วนที่ต่างกันก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล 
- 
-'''​31. อธิบาย ลสิกา – ไขข้อ'''​ 
- 
-คำว่า ลสิกา ได้แก่ซากมีกลิ่นเป็นมันภายในแห่งข้อต่อในร่างกาย ​ ไขข้อนั้นโดยสี มีสีดังยางดอกกรรณิการ์ โดยสัณฐานมีสัณฐานตามโอกาส โดยทิศเกิดในทิศทั้ง 2 โดยโอกาสตั้งอยู่ในภายในข้อต่อ 180 แห่ง คอยทำหน้าที่หล่อลื่นข้อต่อกระดูกทั้งหลาย ก็แลไขข้อนั้นสำหรับผู้ที่มีไขข้อน้อย เมื่อผู้นั้นลุกขึ้นนั่งลงก้าวไปข้างหน้าถอยหลังกลับคู้เหยียด กระดูกย่อมลั่นดังเผาะแผะทำเสียงดุจเสียงนิ้วมือ แม้ผู้นั้นเดินไปสู่ทางไกลแต่เพียง 1-2 โยชน์ วาโยธาตุย่อมกำเริบ เนื้อตัวย่อมเมื่อยขบ แต่สำหรับผู้ใดมีไขข้อมาก กระดูกทั้งหลายของผู้นั้นจะไม่ลั่นดังกฏะกฏะ ในเพราะความเคลื่อนไหวมีลุกนั่งเป็นต้น แม้เมื่อเขาเดินทางไกลแสนไกลวาโยธาตุก็ไม่กำเริบ เนื้อตัวก็ไม่เมื่อยขบ โดยปริจเฉทกำหนดด้วยส่วนของไขข้อนี้เป็นการกำหนดด้วยส่วนที่เหมือนกันแห่งไขข้อนั้น ส่วนการกำหนดด้วยส่วนที่ต่างกันก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล 
- 
-'''​32. อธิบาย มุตฺตํ – มูตร'''​ 
- 
-พึงทราบวิจฉันในคำว่า มุตฺตํ มูตร ดังต่อไปนี้ มูตรนั้น โดยสีมีสีดังสีเหมือนน้ำด่างถั่วราชมาส โดยสัณฐานมีสัณฐานเหมือนน้ำที่มีอยู่ในหม้อน้ำซึ่งเขาวางคว่ำไว้ โดยทิศเกิดในทิศเบื้องต่ำ โดยโอกาสอยู่ในภายในหัวไส้ ชื่อว่าหัวใส้ ท่านหมายเอากระพุ้งหัวใส้ที่มูตรเข้าไปได้ทางสรีระ แต่ทางเข้าไปแห่งมูตรนั้นไม่ปรากฏ อย่างเดียวกันกับน้ำในบ่อน้ำคร่ำ ซึ่งเข้าไปได้ในหม้อซึมที่ไม่มีปากอันเขาทิ้งไว้ในบ่อน้ำคร่ำ แต่ทางเข้าไปแห่งน้ำนั้นไม่ปรากฏฉะนั้น ส่วนทางออกของมูตรนั้นย่อมปรากฏ และเมื่อมูตรเต็มแล้ว สัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดความขวนขวายว่าจักถ่ายปัสสาวะ โดยปริจเฉทกำหนดด้วยภายในแห่งหัวไส้และส่วนแห่งมูตร นี้เป็นการกำหนดโดยส่วนที่เหมือนกันแห่งมูตรนั้น ส่วนการกำหนดที่ต่างกันก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล 
- 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 43)''</​fs></​sub>​ 
- 
- 
-ก็เมื่อพระโยคาวจรกำหนดส่วนทั้งหลายมีผมเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งสี สัณฐาน ทิศ โอกาส และเขตกำหนดด้วยประการฉะนี้แล้ว มนสิการว่า ปฏิกูล ปฏิกูล โดยอาการ 5 คือ สี สัณฐาน กลิ่น ที่อาศัย และโอกาส โดยนัยมีอาทิว่า โดยลำดับ โดยไม่เร็วนัก ในที่สุดแห่งการล่วงบัญญัติธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมปรากฏประดุจไม่ก่อนไม่หลังแก่พระโยคาวจรผู้แลดูอยู่ซึ่งกายนี้ว่าผมมีอยู่ในกายนี้เป็นต้น อย่างเดียวกันกับดอกไม้ทั้งหมด ย่อมปรากฏประดุจไม่ก่อนไม่หลังแก่บุรุษผู้มีจักษุ ผู้แลดูอยู่ซึ่งระเบียบดอกไม้ 32 ชนิด ซึ่งร้อยไว้ในเส้นด้ายอันเดียวกันฉะนั้น เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวไว้ในมนสิการโกสัลลกถาว่า ก็เมื่อพระโยคาวจรผู้ริเริ่มบำเพ็ญเพียรมนสิการอยู่ว่า ผมทั้งหลาย ดังนี้ มนสิการย่อมไปจรดส่วนที่สุดว่า มูตร นี้ตั้งอยู่ ก็ถ้าพระโยคาวจรชักมนสิการเข้าไปแม้ในภายนอก ครั้นเมื่อส่วนทั้งหมดเป็นสภาพปรากฏอย่างนั้นแก่พระโยคาวจรนั้น สัตว์ทั้งหลายมีมนุษย์และสัตว์ดิรัจฉานเป็นต้นที่กำลังเที่ยวไปอยู่ ก็จะละอาการแห่งสัตว์ปรากฏ ด้วยสามารถเป็นกองแห่งส่วนเท่านั้น ​ ทั้งวัตถุมีปานะและโภชนะเป็นต้นที่สัตว์เหล่านั้นกำลังกลืนกินก็จะปรากฏดุจใส่เข้าในกองแห่งส่วน ครั้นเมื่อมนสิการเนือง ๆ ด้วยสามารถแห่งวิธีมีการละลำดับเป็นต้น อัปปนาย่อมเกิดขึ้นโดยลำดับ ในภาวนาในวิธีนั้น การปรากฏด้วยสามารถแห่งสี สัณฐาน ทิศ โอกาส และเขตกำหนดแห่งส่วนทั้งหลายมีผมเป็นต้น จัดเป็นอุคคหนิมิต การปรากฏด้วยสามารถแห่งความเป็นของปฏิกูลโดยอาการทั้งปวง เป็นปฏิภาคนิมิต เมื่อพระโยคาวจรเสพอยู่โดยมากซึ่งปฏิภาคนิมิตนั้น ยังปฏิภาคนิมิตให้เป็นไปอยู่ อัปปนาย่อมเกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งความเป็นปฐมฌาน ดุจในอสุภกัมมัฏฐานทั้งหลายตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล อัปปนานั้น สำหรับท่านผู้มีส่วนหนึ่งปรากฏเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น หรือว่าท่านถึงอัปปนาในส่วนหนึ่งแล้วไม่ทำความเพียรในส่วนอื่นอีก ย่อมเกิดขึ้นอย่างเดียวเท่านั้น แต่สำหรับท่านที่มีส่วนอื่นปรากฏไม่ใช่ส่วนเดียว หรือท่านที่ได้บรรลุฌานในส่วนหนึ่งแล้วย่อมทำความเพียรแม้ในส่วนอื่นอีก ​ ปฐมฌานทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นโดยจำนวนแห่งส่วน ดุจปฐมฌานที่เกิดแก่พระมาลาเถระ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 44)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​เรื่องพระมาลาเถระ'''​ 
- 
-ได้ยินว่าท่านพระมาลาเถระนั้นจับมือพระทีฆภาณกอภยเถระแล้วกล่าวว่า ท่านอภัย จงเรียนปัญหานี้แต่ทีนี้ก่อน ดังนี้แล้วกล่าวต่อไปว่า พระเถระแก่ได้ปฐมฌาน 32 ในโกฏฐาสะ 32 ถ้ากลางคืนเข้าปฐมฌานอย่างหนึ่ง กลางวันเข้าปฐมฌานอย่างหนึ่ง ท่านย่อมเวียนมาถึงปฐมฌานนั้นอีกโดยกาลกึ่งเดือน แต่ถ้าวันหนึ่งเข้าปฐมฌานอย่างหนึ่ง ท่านย่อมเวียนมาถึงปฐมฌานนั้นอีกโดยกาลเกินเดือนหนึ่ง แม้กรรมฐานนี้จะสำร็จด้วยสามารถแห่งความเป็นปฐมฌานอย่างนี้ ท่านก็กล่าวว่า กายคตาสติ เพราะสำเร็จด้วยกำลังแห่งสติในปกิณณกะมีสีและสัณฐานเป็นต้น 
- 
-==อานิสงส์เจริญกายคตาสติ== 
- 
-ก็แลโยคีบุคคลผู้หมั่นประกอบกายคตาสตินี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ครอบงำทั้งความยินร้ายและความยินดี อันความยินร้ายก็ครอบงำท่านไม่ได้ และความยินดีหาได้ครอบงำท่านไม่ ท่านข่มเสียได้ ครอบงำเสียได้ ซึ่งความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นอยู่ เป็นผู้ข่มความกลัวภัยได้ อันความกลัวภัยหาข่มท่านได้ไม่ แต่ท่านข่มเสียได้ ครอบงำเสียได้ ​ ซึ่งความกลัวภัยที่เกิดขึ้นอยู่เป็นผู้ทนต่อความหนาว ร้อน ฯลฯ เป็นคนชาติอดกลั้นต่อทุกขเวทนาแรงกล้าอันจะคร่าชีวิตเสียได้ ย่อมอาศัยสีต่าง ๆ แห่งส่วนทั้งหลายมีผมเป็นต้น จะเป็นผู้ได้ฌาน 4 แทงตลอดอภิญญา 6 
- 
-'''​เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุผู้มีปัญญาพึงเป็นผู้ไม่ประมาท บำเพ็ญ'''​ 
- 
-'''​กายคตาสตินี้ อันมีอานิสงส์เป็นอเนกดังกล่าวมา ฉะนี้'''​ 
- 
-'''​นี่เป็นกถามุขอย่างพิสดารในกายคตาสติ'''​ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 45)''</​fs></​sub>​ 
- 
-=อานาปานสติกถา= 
- 
-บัดนี้ถึงลำดับการแสดงการเจริญ อานาปานสติกัมมัฏฐาน มีวัตถุ 16 ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญไว้อย่างนี้ว่า ​ 
- 
-==คำบริกรรมกรรมฐาน== 
-'''​อานาปานสติสูตร'''​ 
- 
-ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ อานาปานสติสมาธิแม้นี้แล อันพระโยคีเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมสงบประณีตเยือกเย็นและเป็นเครื่องอยู่เป็นสุข และยังอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบระงับไปโดยพลัน ดังนี้ แล้วทรงแสดงไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิอันพระโยคีอบรมแล้วอย่างไร ? ทำให้มากแล้วอย่างไร ? จึงเป็นธรรมสงบประณีตเยือกเย็นและเป็นเครื่องอยู่เป็นสุข และยังอกุศลธรรมอันลามก ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบระงับโดยพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ผู้อยู่ป่าหรืออยู่ตามโคนไม้หรืออยู่ในเรือว่างเปล่านั่งคู่บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ​ 
- 
-จตุกกะ 4 วัตถุ 16 
- 
-'''​จตุกกะ ที่ 1'''​ 
- 
-1. เธอหายใจออกยาวก็รู้ว่าเราหายใจออกยาว หรือหายใจเข้ายาวก็รู้ว่าเราหายใจเข้ายาว 
- 
-2. เธอหายใจออกสั้นก็รู้ว่าเราหายใจออกสั้น หรือหายใจเข้าสั้นก็รู้ว่าเราหายใจเข้าสั้น 
- 
-3. เธอสำเหนียกว่าเราเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งปวงหายใจออก สำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งปวงหายใจเข้า 
- 
-4. สำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารทั้งปวงหายใจออก เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารทั้งปวงหายใจเข้า 
- 
-'''​จตุกกะ ที่ 2'''​ 
- 
-5. สำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้รู้ซึ่งปีติหายใจออก สำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้รู้ซึ่งปีติหายใจเข้า 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 46)''</​fs></​sub>​ 
- 
-6. สำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้รู้ซึ่งสุขกายหายใจออก สำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้รู้ซึ่งสุขกายหายใจเข้า 
- 
-7. สำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้รู้ซึ่งจิตสังขารหายใจออก สำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้รู้ซึ่งจิตสังขารหายใจเข้า 
- 
-8. สำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจออก สำเหนียกว่าเราเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจเข้า 
- 
-'''​จตุกกะ ที่ 3'''​ 
- 
-9. สำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจออก สำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจเข้า 
- 
-10. สำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้ยังจิตให้บันเทิงหายใจออก สำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้ยังจิตให้บันเทิงหายใจเข้า 
- 
-11. สำเหนียกว่าเราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก ​ สำเหนียกว่าเราจักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า 
- 
-12. สำเหนียกว่าเราจักเปลื้องจิตหายใจออก ​ สำเหนียกว่าเราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า 
- 
-'''​จตุกกะ ​ ที่ ​ 4'''​ 
- 
-13.    สำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจออก ​ สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้า 
- 
-14.    สำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นความคลายไปหายใจออก ​ สำเหนียกว่า ​ เราจักพิจารณาเห็นความคลายไปหายใจเข้า 
- 
-15.    สำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นความดับไปหายใจออก ​ สำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นความดับไปหายใจเข้า 
- 
-16.    สำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นความสลัดทิ้งหายใจออก ​ สำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้พิจาณาเห็นความสลัดทิ้งหายใจเข้า 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 47)''</​fs></​sub>​ 
-==อธิบายคำบริกรรมกรรมฐาน== 
-ก็เพราะอานาปานสติสมาธินั้น ​ เมื่อกล่าวตามแนวของการพรรณนาพระบาลีนั้นแล ​ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ​ ฉะนั้น ​ ในอธิการอันว่า ​ อานาปานสติสมาธินั้น ​ จึงมีการแสดงอันมีการพรรณนาพระบาลีเป็นตัวนำดังต่อไปนี้  ​ 
- 
-===อธิบาย ​ จตุกกะที่ 1=== 
- 
-อันดับแรกพึงวินิจฉัยในบาลีคำถามว่า ​ กถํ ​ ภาวิโต ​ จ  ภิกฺขเว ​ อานาปานสติสมาธิ ​ ดังต่อไปนี้ 
- 
-คำว่า ​ กถํ ​ นี้เป็นคำถามด้วยความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะขยายอานาปานสติสมาธิภาวนา ​ ให้พิสดารโดยประการต่าง ๆ คำว่า ​ ภาวิโต ​ จ  ภิกฺขเว ​ อานาปานสติสมาธิ ​ นี้เป็นคำทรงแสดงไขธรรมที่ทรงตรัสถามไว้ด้วยความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะตรัสให้พิสดารโดยประการต่าง ๆ แม้ในคำว่า ​ กถํ ​ พหุลีกโต ​ ฯลฯ ​ วูปสเมติ ​ นี้ ​ ก็นัยนี้เหมือนกัน ​ บรรดาบทเหล่านั้น ​ บทว่า ​ ภาวิโต นี้ ได้แก่ ​ ให้เกิดขึ้นแล้วหรือเจริญแล้ว ​ บทว่า ​ อานาปานสติสมาธิ ​ ได้แก่ สมาธิที่สัมปยุตด้วยสติอันกำหนดเอาลมหายใจออกและลมหายใจเข้า ​ หรือสมาธิในอานาปานสติ ​ ชื่อว่าอานาปานสติสมาธิ ​ บทว่า ​ พหุลีกโต ​ ได้แก่ ​ ทำบ่อย ๆ  
- 
-คำว่า ​ สนฺโต ​ เจว ​ ปณีโต ​ จ  นี้ได้แก่สงบด้วยประณีตด้วย ​ พึงทราบการกำหนดความด้วย ​ เอว ​ ศัพท์ใน 2  บท ​ พระองค์ทรงอธิบายไว้อย่างไร ?  ทรงอธิบายไว้ว่า ​ อันอานาปานสติสมาธินี้จะได้เป็นธรรมสงบและประณีต ​ โดยปริยายไร ๆ เหมือนอย่างอสุภกัมมัฏฐาน ​ ซึ่งสงบและประณีตโดยปฏิเวธอย่างเดียว ​ แต่ไม่สงบและประณีตโดยอารมณ์เลย ​ เพราะมีอารมณ์หยาบและมีสิ่งปฏิกูลเป็นอารมณ์หามิได้ ​ โดยที่แท้ ​ เป็นธรรมชื่อว่าสงบคือเข้าไปสงบดับสนิท ​ เพราะทั้งสงบโดยอารมณ์ ​ เพราะทั้งสงบโดยองค์กล่าวคือปฏิเวธ ​ ชื่อว่า ​ ประณีต ​ คือไม่ทำให้เบื่อหน่ายเพราะทั้งประณีตโดยอารมณ์เพราะทั้งประณีตโดยองค์ ​ ดังนี้ ​ เพราะเหตุนั้น ​ จึงตรัสว่า ​ อานาปานสติสมาธินี้เป็นธรรมสงบทั้งประณีต  ​ 
- 
-'''​อธิบาย ​ อเสจนโก'''​ 
- 
-ก็ในบทว่า ​ อเสจนโก ​ นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ​ เครื่องรดของสมาธินั้นไม่มี ​ เพราะเหตุนั้น ​ สมาธินั้นชื่อว่าไม่มีเครื่องรด ​ คือไม่ถูกตามรด ​ ไม่ปะปน ​ เป็นแผนกหนึ่งโดยเฉพาะ ​ อธิบายว่า ​ ในสมาธินี้ไม่มีอาการสงบด้วยบริกรรมหรืออุปจาร ​ ความว่า ​ จำเดิมแต่การกำหนดในเบื้องต้น ​ ย่อมสงบและประณีตตามสภาวะของตนนั่นเอง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 48)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ฝ่ายอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ​ บทว่า ​ อเสจนโก ​ ความว่า ​ ไม่ต้องรด ​ มีโอชาอร่อยตามสภาวะนั่นเอง ​ พึงทราบว่า ​ อานาปานสติสมาธินี้ ​ ชื่อว่าไม่มีเครื่องรดดังกล่าวมา ​ ฉะนี้ ​ ชื่อว่าเป็นเครื่องอยู่เป็นสุข ​ เพราะเป็นไปเพื่อสุขทางกายและสุขทางใจ ​ ในขณะที่ถึงอัปปนา ​ บทว่า ​ อุปฺปนฺนุปฺปนฺเน ​ ได้แก่ที่ยังข่มไม่ได้แล้ว ๆ  บทว่า ​ ปาปเก ​ แปลว่า ลามก ​ บทว่า ​ อกุสเล ​ ธมฺเม ​ ได้แก่ ​ ธรรมอันเกิดแต่ความไม่ฉลาด ​ บทว่า ฐานโส อนฺตรธาเปติ ความว่า ย่อมอันตรธานไป คือข่มลงได้โดยขณะนั่นเอง ​ บทว่า ​ อุปสเมติ ​ ความว่า ​ ย่อมให้สงบไปด้วยดี ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ เธอถึงความเจริญแห่งอริยมรรคโดยลำดับย่อมตัดขาด ​ อธิบายว่า ​ ให้สงบระงับไป ​ เพราะอานาปานสติสมาธิเป็นธรรมมีส่วนตรัสรู้ได้ 
- 
-ก็ในพระบาลีนี้ ​ มีความสังเขปดังต่อไปนี้ ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ อานาปานสติสมาธิ ​ อันบุคคลเจริญแล้วด้วยประการไร ​ ด้วยอาการไร ​ ด้วยวิธีไร ​ ทำให้มากด้วยประการไร ​ จึงเป็นธรรมสงบโดยแท้ ฯลฯ ​ ให้เข้าไปสงบโดยพลันด้วย 
- 
-บัดนี้ ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงอรรถาธิบายความนั้นให้พิสดาร ​ จึงตรัสว่า ​ อิธ ​ ภิกฺขเว ​ เป็นต้น ​ บรรดาบทเหล่านั้น ​ คำว่า ​ อิธ ​ ภิกฺขเว ​ ภิกฺขุ ​ แปลว่า ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ​ ด้วยว่า ​ อิธ ​ ศัพท์ ​ ในพระบาลีนั้นเป็นศัพท์แสดงถึงพระศาสนาอันเป็นที่ก่อเกิดแห่งบุคคลผู้ยังอานาปานสติสมาธิมีประการทั้งปวงให้เกิด ​ และ ​ เป็นการปฏิเสธความเป็นอย่างนั้นแห่งศาสนาอื่น ​ สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีอยู่ในพระศาสนานี้เท่านั้น ฯลฯ ลัทธิอื่น ๆ ว่างเปล่าจากสมณะทุกจำพวก เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า อิมสฺมึ สาสเน ภิกฺขุ ดังนี้เป็นต้น 
- 
-'''​อธิบายเสนาสนะอันสมควร'''​ 
- 
-คำว่า อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคโต วา สุญฺญาคารคโต วา นี้เป็นคำแสดงการกำหนดเสนาสนะอันสมควรแก่การเจริญอานาปานสติสมาธิของพระโยคาวจรนั้น เพราะจิตของท่านซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ มีรูปารมณ์เป็นต้นตลอดกาลนาน ไม่ปรารถนาจะขึ้นสู่อารมณ์แห่งอานาปานสติสมาธิ มัวแต่จะแล่นออกไปนอกทาง ดังรถที่เขาเทียมด้วยโคโกงแล่นออกไปนอกทางฉะนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลผู้เลี้ยงโคปรารถนาจะฝึกลูกโคโกงที่เติบโต 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 49)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ขึ้นเพราะได้ดื่มน้ำนมแม่โคโกง เขาจึงพรากจากแม่โคโกงฝังหลักใหญ่ไว้ข้างหนึ่ง ล่ามด้วยเชือกไว้ที่หลักนั้น ครั้นแล้ว ลูกโคตัวนั้นของเขาดิ้นไปข้างโน้นข้างนี้ เมื่อไม่อาจจะหนีไปได้ก็จะพิงหมอนอิงหรือนอนอิงหลักนั้นนั่นเอง แม้ฉันใด แม้ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อประสงค์จะฝึกจิตที่ชั่วร้ายอันเติบโตขึ้นเพราะดื่มรสอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้นตลอดกาลนาน ก็พึงพรากจากอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น เข้าไปสู่ป่าหรือโคนไม้หรือเรือว่างเปล่า แล้วผูกไว้ที่หลักคือลมหายใจออกแล้วหายใจเข้านั้นด้วยเชือกคือสติ เมื่อเป็นเช่นนั้นจิตของเธอนั้นแม้จะดิ้นรนไปข้างโน้นข้างนี้ เมื่อไม่ได้อารมณ์ที่เคยชินก็ไม่อาจจะตัดเชือกคือสติหนีไปได้ก็ย่อมจะหมอบและแอบอิงอารมณ์นั้นนั่นเอง ด้วยอำนาจอุปจาระและอัปปนา เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า- 
- 
-'''​นรชนในโลกนี้จะฝึกลูกโคพึงผูกไว้ที่หลัก ฉันใด''' ​ 
- 
-'''​พระโยคาวจรในศาสนานี้ทรงผูกจิตของตนไว้ที่อารมณ์ให้มั่นด้วยสติ ฉันนั้นเถิด'''​ 
- 
-เสนาสนะนั้นย่อมเป็นสถานควรแก่การเจริญอานาปานสติสมาธินั้น ด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า คำว่า อรญฺญคโต วา ไปสู่ป่าก็ตามเป็นต้น นี้เป็นคำแสดงการกำหนดเสนาสนะอันเหมาะสมแก่การเจริญอานาปานสติสมาธิของพระโยคาวจรนั้นอีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่อานาปานสติกัมมัฏฐานนี้ เป็นยอดในประเภทกรรมฐาน เป็นเหตุใกล้แห่งการบรรลุคุณพิเศษ และการอยู่เป็นสุขในภพปัจจุบัน ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งปวง พระโยคาวจรจะไม่ละจากละแวกบ้านอันอื้ออึงไปด้วยเสียงหญิงชายช้างม้าเป็นต้น แล้วเจริญอานาปานสติ ไม่กระทำได้ง่ายเลยเพราะฌานมีเสียงเป็นข้าศึก แต่การที่พระโยคาวจรกำหนดเอากรรมฐานนี้แล้ว ยังจตุตถฌานอันมีลมหายใจเข้าออกอันเป็นอารมณ์ให้เกิด แล้วทำฌานนั้นนั่นแหละให้เป็นบาทพิจารณาสังขารแล้วบรรลุพระอรหันต์เป็นผลเลิศในป่าซึ่งหาบ้านมิได้ จึงกระทำได้ง่าย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเมื่อจะแสดงเสนาสนะอันเหมาะสมแก่พระโยคาวจรผู้เจริญอานาปานสติสมาธินั้น จึงตรัสว่า อรญฺญคโต วา อยู่ป่าก็ตาม ดังนี้เป็นต้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 50)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​พระศาสดาทรงชี้แนะพื้นที่'''​ 
- 
-จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นดังอาจารย์ผู้ชำนาญดูพื้นที่ อาจารย์ผู้ชำนาญดูพื้นที่ที่จะสร้างเมืองพิจารณาดูตลอดแล้วบอกว่า พวกท่านจงสร้างเมืองในพื้นที่นี้เถิด และเมื่อเมืองสำเร็จโดยสวัสดีย่อมได้รับสักการะใหญ่จากราชตระกูล ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน ทรงพิจารณาใคร่ครวญดูเสนาสนะอันเหมาะสมแก่พระโยคาวจรแล้วชี้ว่า พึงหมั่นประกอบพระกรรมฐานในที่นี้ แต่นั้นเมื่อพระโยคีหมั่นประกอบกรรมฐานในที่นั้น โดยลำดับ ย่อมได้รับสักการะใหญ่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหนอ ดังนี้ ส่วนว่าพระภิกษุนี้ ท่านกล่าวเป็นเสมือนเสือเหลือง พึงทราบอธิบายว่า เหมือนกับพญาเสือเหลืองใหญ่อาศัยพงหญ้าป่ารกหรือดงภูเขาในป่า แอบจับหมู่เนื้อมีกระบือป่า กวาง และสุกรเป็นต้น ฉันใด ภิกษุผู้ประกอบกรรมฐานอยู่ในเสนาสนะอันเหมาะสมมีป่าเป็นต้นนี้ ก็ย่อมยึดเอาโสดาปัตติมรรค ​ สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตมรรค ตามลำดับ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า 
- 
-'''​ธรรมดาว่าเสือเหลืองย่อมคอยแอบจับหมู่เนื้อ แม้ฉันใด''' ​ 
- 
-'''​พระพุทธบุตรประกอบความเพียรเจริญวิปัสสนานี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน'''​ 
- 
-'''​เข้าสู่ป่าจึงยึดเอาผลอันสูงสุด''' ​ 
- 
-เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะป่า อันเป็นภูมิที่เหมาะสมแห่งกำลังแห่งความบากบั่นของพระโยคาวจรภิกษุนั้น จรึงตรัสว่า อรญฺญคโต วา อยู่ป่าก็ตาม ดังนี้เป็นต้น ​ 
- 
-'''​อธิบาย ลักษณะป่า'''​ 
- 
-บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺญคโต ได้แก่ไปสู่ป่าอันมีความสุขอันเกิดแต่ความสงัดเงียบอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาป่าซึ่งมีลักษณะดังกล่าวอย่างนี้ว่า ที่ชื่อว่าป่าคือสถานที่เป็นภายนอกจากเสาเขื่อนออกไป ทั้งหมดนั้นจัดเป็นป่า แล้วว่าเสนาสนะที่ชื่อว่าอยู่ในป่าคือ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 51)''</​fs></​sub>​ 
- 
-สถานที่อันมีในที่สุดชั่ว 500 คันธนูเป็นอย่างต่ำ บทว่า รุกฺขมูลคโต แปลว่าไปสู่ที่โคนไม้ บทว่า สุญฺญาคารคโต แปลว่าไปสู่โอกาสอันว่างคือสงัด ก็ในพระบาลีบทนี้เว้นที่ที่เป็นป่าและโคนไม้เสีย แม้จะไปสู่เสนาสนะที่เหลืออีก 7 อย่าง จะเรียกว่าผู้อยู่ในเรือนอันว่างเปล่าก็ควร ​ 
- 
-'''​อิริยาบถที่สมควร'''​ 
- 
-พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงชี้เสนาสนะอันเหมาะสมแก่การเจริญอานาปานสติอันสมควรแก่ฤดูทั้ง 3 และสมควรแก่ธาตุและจริยาแก่พระโยคาวจรอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงชี้อิริยาบถอันสงบ อันไม่เป็นไปในฝ่ายหดหู่และไม่เป็นไปในฝ่ายฟุ้งซ่านแก่พระโยคาวจรนั้น จึงตรัสว่า นั่ง ดังนี้ ลำดับนั้นเมื่อจะทรงแสดงการนั่งที่มั่นคง ภาวะที่เป็นไปสะดวกหายใจออกเข้า และอุบายในการกำหนดอารมณ์ จึงตรัสว่า คู้บัลลังก์ ดังนี้เป็นต้น 
- 
-บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปลฺลงฺกํ ได้แก่การนั่งพับขาโดยรอบ บทว่า อาภุชิตวา แปลว่า คู้เข้า บทว่า อุชํ กายํ ปณิธาย แปลว่าตั้งร่างกายส่วนบนให้ตรง คือยังกระดูกสันหลัง 18 ท่อนให้ที่สุดจรดกัน เพราะเมื่อพระโยคาวจรนั่งอย่างนั้น หนังเนื้อและเอ็นย่อมไม่ตึง เมื่อเป็นอย่างนั้น เวทนาซึ่งมีการตึงหนังเนื้อและเอ็นเหล่านั้นเป็นปัจจัยที่จะพึงเกิดขึ้นทุก ๆ ขณะแก่พระโยคาวจรนั้น ก็ไม่เกิดขึ้น เมื่อเวทนาเหล่านั้นไม่เกิดขึ้น จิตก็ย่อมมีอารมณ์เป็นหนึ่งกรรมฐานย่อมไม่ตกถอย ย่อมเข้าถึงความเจริญงอกงามขึ้น บทว่า ปริมุขํ สตึ อุปฎฺฐเปตวา แปลว่า พึงตั้งสติให้บ่ายหน้าต่อพระกรรมฐาน อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นความในคำนี้โดยนัยที่กล่าวในปฏิสัมภิทาอย่างนี้ว่า ศัพท์ว่า ปริ มี ปริคฺคห ความกำหนดเป็นอรรถ ศัพท์ว่า มุขํ มี นิยฺยาน ความออกไปเป็นอรรถ ศัพท์ว่า สติ มี อุปฎฺฐาน การตั้งมั่นเป็นอรรถ เหตุนั้นจึงตรัสว่า ปริมุขํ สตึ ดังนี้ก็ได้ ในปฏิสัมภิทานั้นมีความสังเขปดังนี้ว่า ทำสติมีการออกจากปฏิปักขธรรมอันกำหนดแล้วดังนี้ 
- 
-'''​หายใจออกเข้าต้องมีสติกำหนด'''​ 
- 
-บทว่า โส สโตว อสฺสสติ คววามว่า ภิกษุนั้นนั่งอย่างนี้และตั้งสติไว้มั่นอย่างนี้แล้ว เมื่อไม่ละสตินั้น ชื่อว่า มีสติหายใจออกมีสติหายใจเข้า ท่านอธิบายไว้ว่าเป็น สโตการี ผู้ทำสติ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 52)''</​fs></​sub>​ 
- 
-บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงอาการอันเป็นเหตุให้ภิกษุนั้นได้ชื่อว่า สโตการี จึงตรัส คำว่า ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต หรือหายใจออกยาว ดังนี้เป็นต้น สมจริงดังคำที่พระธรรมเสนาบดีเสรีบุตรกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาในวิภังค์แห่งปาฐะว่า โส สโตว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ นั้นนั่นแลว่า พระโยคาวจรย่อมเป็นผู้ชื่อว่า สโตการี ด้วยอาการ 32 อย่าง เมื่อเธอรู้ชัดว่าจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจหายใจออกยาวอยู่ สติย่อมตั้งมั่น เธอเป็นผู้ชื่อว่า สโตการี ด้วยสตินั้นด้วยปัญญานั้น เมื่อเธอรู้ชัดว่าภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งการหายใจเข้ายาวอยู่ สติย่อมตั้งมั่น เธอย่อมเป็นผู้ชื่อว่า สโตการี ด้วยสตินั้น ด้วยปัญญานั้น ฯลฯ เมื่อเธอรู้ชัดว่าจิตอารมณ์เป็นหนึ่งไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นพิจารณาเห็นความสลัดทิ้งหายใจออกอยู่ ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสลัดทิ้งหายใจเข้าอยู่ สติย่อมตั้งมั่น เธอเป็นผู้ชื่อว่า สโตการี ด้วยสตินั้น ด้วยปัญญานั้น ดังนี้ 
- 
-'''​อธิบาย อัสสาสะปัสสาสะ'''​ 
- 
-บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทีฑํ วา อสฺสสนฺโต ได้แก่ หรือเมื่อหายใจออกยาว ในอรรถกถาพระวินัยกล่าวไว้ว่า บทว่า อสฺสาโส ได้แก่ลมหายใจออก บทว่า ปสฺสาโส ได้แก่ลมหายใจเข้า แต่ในอรรถกถาพระสูตรทั้งหลายตรงกันข้าม ในลม 2 อย่างนั้น ในเวลาที่สัตว์ทั้งปวงอยู่ในครรภ์ออกจากท้องมารดา อันดับแรก ลมภายในออกมาภายนอก ทีหลังลมภายนอกพาเอาธุลีละเอียดเข้าไปภายในจรดเพดานแล้วก็ดับ อันดับแรก บัณฑิตพึงทราบลมอัสสาสะปัสสาสะ อย่างนี้ 
- 
-อนึ่ง พึงทราบภาวะที่ลมอัสสาสะหรือปัสสาสะเหล่านั้นยาวและสั้น โดยระยะกาลเหมือนอย่างว่า น้ำหรือทรายที่ตั้งแผ่ไปตลอดเนื้อที่ที่ว่าง เขาก็เรียกว่าน้ำมากทรายกว้าง น้ำหรือทรายที่ตั้งแผ่ออกไปตลอดระยะว่างน้อยหรือเวลาน้อย เขาก็เรียกว่า น้ำน้อย ทรายแคบฉันใด ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า แม้จะละเอียดและแสนจะละเอียดก็เช่นกัน ลมในร่างช้างและร่างงูค่อย ๆ ยังส่วนที่ยาวกล่าวคืออัตภาพของสัตว์เหล่านั้นให้เต็มแล้วค่อย ๆ ออกมา เพราะเหตุนั้นท่านจึงเรียกว่า ยาว ลมหายใจออกและลมหายใจเข้ายังส่วนที่สั้นกล่าวคืออัตภาพของสุนัขและกระต่ายเป็นต้นให้เต็มเร็ว แล้วออกก็เร็วเช่นกัน เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า สั้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 53)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ลมหายใจของมนุษย์'''​ 
- 
-แต่ในพวกมนุษย์ บางพวกหายใจออกและหายใจเข้ายาว โดยกินระยะเวลานานดังช้างและงูเป็นต้น บางพวกก็หายใจออกและหายใจเข้าสั้น ดังสุนัขและกระต่ายเป็นต้น เพราะเหตุนั้น ลมหายใจเหล่านั้นของสัตว์เหล่านั้น เมื่อออกและเข้ายาวด้วยอำนาจกาล พึงทราบว่ายาว เมื่อออกและเข้าสั้นชั่วเวลานิดหน่อยด้วยอำนาจกาลก็พึงทราบว่าสั้น 
- 
-'''​รู้สึกโดยอาการ 9'''​ 
- 
-ในลมหายใจออกและหายใจเข้าเหล่านั้น ภิกษุนี้เมื่อหายใจออกและหายใจเข้ายาวย่อมรู้ว่าเราหายใจออกหายใจเข้ายาวด้วยอาการ 9 ก็เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนั้นพึงทราบว่า สติปัฏฐานภาวนาส่วนกายานุปัสสนาย่อมสำเร็จโดยอาการหนึ่ง ดังท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า อย่างไร?​ ภิกษุเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ว่าเราหายใจเข้ายาว ระบายลมหายใจออกยาวในกาลที่นับว่ายาว สูดลมหายใจเข้ายาวในกาลที่นับว่ายาว เธอสูดเข้าก็ดีระบายออกก็ดีซึ่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้ายาวในกาลที่นับว่ายาว เมื่อเธอสูดเข้าก็ดีระบายออกก็ดีซึ่งลมหายใจเข้าและลมหายใจออกยาวในกาลที่นับว่ายาว ความพอใจย่อมเกิด ด้วยอำนาจความพอใจจึงระบายลมหายใจออกยาวซึ่งละเอียดยิ่งไปกว่านั้นในกาลที่นับว่ายาว ด้วยอำนาจความพอใจจึงสูดลมหายใจเข้ายาวซึ่ง ละเอียดขึ้นไปยิ่งกว่านั้นในกาลที่นับว่ายาว ด้วยอำนาจความพอใจจึงระบายลมหายใจออกยาวบ้าง สูดลมหายใจเข้ายาวบ้าง ซึ่ง ละเอียดขึ้นไปยิ่งขึ้นไปกว่านั้นในกาลที่นับว่ายาว เมื่อระบายลมหายใจออกยาวบ้าง สูดลมหายใจเข้ายาวบ้าง ซึ่งละเอียดขึ้นไปกว่านั้นในกาลที่นับว่ายาว ด้วยอำนาจความพอใจความปลื้มย่อมเกิดด้วยอำนาจความปลื้ม ​ จึงระบายลมหายใจออกยาวซึ่งละเอียดขึ้นไปกว่านั้น ในกาลที่นับว่ายาว ด้วยอำนาจความปลื้มจึงสูดลมหายใจเข้ายาวซึ่งละเอียดขึ้นไปกว่านั้นในกาลที่นับว่ายาว ด้วยอำนาจความปลื้มจึงระบายลมหายใจออกยาวบ้าง สูดลมหายใจเข้ายาวบ้าง ซึ่งละเอียดขึ้นไปกว่านั้นในกาลที่นับว่ายาว เมื่อระบายลมหายใจออกยาวบ้าง สูดลมหายใจเข้ายาวบ้าง ซึ่งละเอียดยิ่งไปกว่านั้นในกาลที่นับว่ายาว ด้วยอำนาจความปลื้ม จิตย่อมหมุนกลับจากลมหายใจออกเข้ายาว ความวางเฉยย่อมตั้งมั่นด้วย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 54)''</​fs></​sub>​ 
- 
-การหายใจออกเข้ายาว ด้วยอาการ 9 อย่างเหล่านี้จัดเป็นกาย ความปรากฏจัดเป็นสติ ​ ปฏิปทาเครื่องตามเห็นจัดเป็นญาณ กายเป็นเพียงการปรากฏไม่ใช่ตัวสติ สติเป็นเครื่องปรากฏและตัวสติเครื่องระลึก ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้นด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าสติปัฎฐานภาวนา คือการตามเห็นกายในกาย แม้ในบทที่กำหนดลมหายใจออกสั้นก็นัยนี้เหมือนกัน ส่วนความแปลกดังต่อไปนี้คือ เหมือนอย่างในบทที่กำหนดด้วยลมหายใจออกเข้ายาวในกาลที่นับว่ายาวนั้น ท่านกล่าวว่าหายใจออกยาวในกาลที่นับว่ายาวฉันใด แม้ในบทที่กำหนดด้วยลมหายใจออกสั้นนี้ก็เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วว่าหายใจออกสั้นในกาลที่นับว่านิดหน่อย เพราะเหตุนั้น พึงประกอบด้วยสามารถแห่งลมหายใจออกเข้าสั้นจนถึงคำว่าด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่าสติปัฏฐานภาวนา คือการตามเห็นกายในกาย ​ 
- 
-พระโยคาวจรนี้เมื่อรู้ชัดลมหายใจออกเข้าโดยอาการเหล่านี้ด้วยสามารถระยะกาลนาน และด้วยสามารถระยะกาลนิดหน่อยอย่างนี้ พึงทราบว่าเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ว่าเราหายใจออกยาว ​ ฯลฯ ​ หรือเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ว่าเราหายใจเข้าสั้น 
- 
-ก็แลเมื่อภิกษุนั้นรู้อย่างนี้ – 
- 
-ลมทั้ง 4  ชนิด ​ คือลมหายใจออกยาวและสั้น ​ (รวมเป็น 2)  แม้ลมหายใจเข้าก็เช่นนั้น ​ (รวมเป็น 2)  ย่อมเกิดเฉพาะปลายจมูกของภิกษุเท่านั้น 
- 
-'''​อธิบาย ​ สพฺพกายปฏิสํเวที'''​ 
- 
-คำว่า ​ เธอย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมดหายใจออกหายใจเข้านี้ มีอธิบายว่า ​ พระโยคาวจรภิกษุย่อมสำเหนียกว่า ​ เราจักทำเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดแห่งกองลมอัสสาสะทั้งสิ้นให้แจ่มแจ้ง ​ คือ ​ ทำให้ปรากฏจักหายใจออก ​ ย่อมสำเหนียกว่า ​ เราจักทำเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดแห่งกองลมปัสสาสะทั้งสิ้นให้แจ่มแจ้ง ​ คือให้ปรากฏ ​ จักหายใจเข้า ​ พระโยคาวจรเมื่อกระทำให้แจ่มแจ้งคือทำให้ปรากฏอย่างนี้ ​ ย่อมหายใจออกและหายใจเข้าด้วยจิตที่เป็นญาณสัมปยุต ​ เพราะเหตุนั้น ​ ท่านจึงกล่าวว่าเราจักหายใจออกเราจักหายใจเข้า 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 55)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​เบื้องต้นท่ามกลางที่สุดปรากฏบางรูป'''​ 
- 
-จริงอยู่ ​ สำหรับภิกษุบางรูป ​ ในกองลมหายใจออกหรือกองลมหายใจเข้าที่ซ่านไปอย่างละเอียด ​ ย่อมปรากฏแต่เบื้องต้น ​ ส่วนท่ามกลางและที่สุดไม่ปรากฏ ​ เธอก็อาจกำหนดเฉพาะเบื้องต้นเท่านั้น ​ ย่อมลำบากในท่ามกลางและที่สุด ​ บางรูปปรากฏแต่ท่ามกลาง ​ ส่วนเบื้องต้นและที่สุดไม่ปรากฏ ​ บางรูปปรากฏแต่ที่สุด ​ ส่วนเบื้องต้นและท่ามกลางไม่ปรากฏ ​ เธอก็อาจเพื่อกำหนดเฉพาะแต่ที่สุดเท่านั้น ​ ย่อมลำบากในเบื้องต้นและท่ามกลาง ​ บางรูปปรากฏทั้งหมด ​ เธอย่อมกำหนดได้ทั้งหมดไม่ลำบากในส่วนไหนๆ ​ เพื่อแสดงว่าพึงเป็นเช่นนั้นจึงกล่าวว่า ​ "​สพฺพกายปฏิสํเวที ​ อสฺสสิสฺสามีติ ​ ฯลฯ ​ ปสฺสิสฺสามีติ ​ สิกฺขติ"​ 
- 
-บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า ​ สกฺขติ ​ ความว่าย่อมเพียรคือพยายามอย่างนี้ ​ อีกอย่างหนึ่ง ​ บัณฑิตพึงทราบอธิบายในบทนี้อย่างนี้ว่า ​ การสำรวมของภิกษุผู้เป็นอย่างนั้น ​ อันใด การสำรวมนี้จัดเป็น ​ อธิสีลสิกขา ​ ในบรรดาสิกขา 3  นี้ ​ สมาธิของภิกษุผู้เป็นอย่างนั้นอันใดสมาธินี้จัดเป็น ​ อธิจิตตสิกขา ​ ปัญญาของภิกษุผู้เป็นอย่างนั้นอันใด ​ ปัญญานี้จัดเป็น ​ อธิปัญญาสิกขา ​ รวมความว่าสิกขา 3  เหล่านี้ ​ พระโยคีย่อมศึกษา ​ ย่อมเสพ ​ ย่อมเจริญ ​ ย่อมทำให้มากด้วยสตินั้นด้วยมนสิการนั้นในอารมณ์นั้น 
- 
-'''​ต้องพยายามเพื่อให้ญาณเกิด'''​ 
- 
-ในบรรดานัยทั้ง 2  นั้น ​ เพราะเหตุที่นัยแรกพระโยคาวจรพึงหายใจออกหายใจเข้าอย่างเดียวเท่านั้น ​ และไม่พึงทำกิจอะไร ๆ อื่น ​ แต่ว่าตั้งแต่นี้ไปเธอควรกระทำความเพียรในการยังญาณให้เกิดขึ้นเป็นต้น ​ ฉะนั้น ​ พึงทราบว่า ​ พระองค์ตรัสบาลีโดยเป็นปัจจุบันกาลว่า.....อสฺสสามีติ ​ ปชานาติ ​ ปสฺสสามีติ ​ ปชานาติ ​ รู้ชัดว่าเราหายใจออก.....รู้ชัดว่าเราหายใจเข้า ​ ดังนี้ ​ เพื่อจะทรงแสดงอาการมีการยังญาณให้เกิดขึ้นเป็นต้น ​ ซึ่งจำต้องทำตั้งแต่นี้ไปจึงยกบาลีด้วยอำนาจอนาคตกาลโดยนัยมีอาทิว่า ​ สพฺพกายปฏิสํเวที ​ อสฺสสิสฺสามิ ......เราจักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมดหายใจออก ​ ดังนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 56)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อธิบาย ​ ปสฺสมฺภยํ ​ กายสงฺขารํ'''​ 
- 
-คำว่า ​ เธอสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก.....หายใจเข้า ​ ความว่า ​ เธอย่อมสำเหนียกว่าเมื่อเราทำกายสังขารที่หยาบ ​ ให้สงบ ​ ให้ระงับ ​ ให้ดับ ​ ให้เข้าไปสงบ ​ จักหายใจออกจักหายใจเข้า ​ ดังนี้ 
- 
-'''​อาการหยาบและละเอียดสงบ'''​ 
- 
-ในข้อนั้น ​ พึงทราบภาวะ ​ อัสสาสะ ​ และ ​ ปัสสาสะ ​ หยาบละเอียดและสงบดังต่อไปนี้ ​ จริงอยู่ ​ ในกาลก่อนคือในกาลที่ยังมิได้กำหนด ​ ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุนี้ยังเป็นกายจิตที่ยังมีความกระวนกระวาย ​ ยังหยาบ ​ เมื่อภาวะที่กายและจิตหยาบไม่สงบระงับ ​ แม้ลมหายใจออกและหายใจเข้า ​ ก็ยังจัดว่าเป็นของหยาบ ​ คือเป็นไปอย่างแรงกล้า ​ จมูกไม่พอหายใจ ต้องยืนหายใจทั้งออกทั้งเข้าทางปาก ​ แต่เมื่อใดทั้งกายทั้งจิตของเธอถูกกำหนดแล้ว ​ เมื่อนั้น ​ ลมหายใจออกเข้าเหล่านั้นย่อมสงบ ​ เมื่อกายและจิตสงบแล้ว ​ ลมหายใจออกและเข้าก็ย่อมเป็นไปละเอียด ​ ย่อมถึงอาการคือภาวะที่จำต้องวิจัยว่ามีอยู่หรือไม่มีหนอ ​ เปรียบเหมือนเมื่อคนแล่นลงจากภูเขา ​ หรือปลงภาระหนักลงจากศีรษะยืนอยู่ ​ ลมหายใจออกเข้าย่อมหยาบ ​ จมูกไม่พอหายใจ ​ ต้องยืนหายใจออกและเข้าทางปาก ​ แต่เมื่อใดเขาบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยนั้นแล้ว ​ อาบและดื่มแล้ว ​ เอาผ้าเปียกวางไว้ตรงหัวใจ ​ นอนพักที่ร่มไม้อันเยือกเย็น ​ เมื่อนั้นลมหายใจออกเข้าเหล่านั้นของเธอย่อมค่อยละเอียดลง ​ ถึงซึ่งอาการคือภาวะที่จะต้องวิจัยว่า ​ มีหรือไม่มีหนอ ​ แม้ฉันใด ​ ในกาลก่อน ​ คือในกาลที่ยังไม่กำหนด ​ ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุนี้ ​ ฯลฯ ​ ย่อมถึงอาการคือภาวะที่จะต้องวิจัยว่ามีหรือไม่มีหนอ ​ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ​ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร ?  เพราะเป็นความจริง ​ ในกาลก่อนคือในกาลที่ยังไม่ได้กำหนด ​ เธอไม่ต้องมีความคำนึงความรวบรวมใจความใส่ใจและความพิจารณาว่า ​ เราจักระงับกายสังขารที่หยาบ ๆ แต่ในกาลที่กำหนดย่อมมี ​ เพราะเหตุนั้นกายสังขารของเธอในกาลที่ได้กำหนด ​ จึงละเอียดกว่าเวลาที่ยังมิได้กำหนด ​ เพราะเหตุนั้น ​ พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า ​ 
- 
-เมื่อกายและจิตกระสับกระส่าย ​ กายสังขารย่อมเป็นไปเกินประมาณ ​ (หยาบ) ​ เมื่อกายและจิตไม่กระสับกระส่าย ​ กายสังขารย่อมเป็นไปละเอียด 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 57)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​ลมหยาบและละเอียดเป็นขั้น ๆ'''​ 
- 
-แม้ในกาลกำหนดกายสังขารยังจัดว่าหยาบในอุปจารแห่งปฐมฌาน ​ แม้ในอุปจารแห่งปฐมฌานนั้นก็ยังจัดว่าหยาบ ​ ในปฐมฌานจัดว่าละเอียด ​ ในปฐมฌานและในอุปจารแห่งทุติยฌานก็ยังจัดว่าหยาบ ​ ในทุติยฌานจัดว่าละเอียด ​ ในทุติยฌานและในอุปจารแห่งตติยฌานจัดว่าละเอียดในตติยฌานและในอุปจารแห่งจตุตถฌานจัดว่าหยาบ ​ ในจตุตถฌานเองจัดว่าละเอียดอย่างยิ่ง ​ ถึงความไม่เป็นไปทีเดียว ​ รวมความว่า ​ นี้เป็นมติของอาจารย์ผู้กล่าวทีฆนิกายและสังยุตนิกายก่อน 
- 
-'''​มติในมัชฌิมนิกาย'''​ 
- 
-ฝ่ายอาจารย์นักมัชฌิมนิกาย ​ ปรารถนาละเอียดยิ่งกว่านั้น ​ แม้ในอุปจารแห่งฌานสูง ๆ กว่าฌานชั้นต่ำอย่างนี้ว่า ​ ในปฐมฌานหยาบ ​ ในอุปจารแห่งทุติยฌานละเอียด ​ แต่โดยมติของอาจารย์ทั้งหมดด้วยกัน ​ คงได้ความว่า ​ กายสังขารที่เป็นไปในกาลที่ยังไม่ได้กำหนด ย่อมสงบระงับในกาลที่ได้กำหนด ​ กายสังขารที่เป็นไปในกาลที่กำหนด ​ ย่อมสงบระงับในอุปจารแห่งปฐมฌาน ​ ฯลฯ ​ กายสังขารที่เป็นไปในอุปจารแห่งจตุตถฌาน ​ ย่อมระงับในจตุตถฌานดังนี้แล ​ นี้เป็นนัยในสมถะเป็นอันดับแรก 
- 
-'''​นัยทางวิปัสสนา'''​ 
- 
-ส่วนในวิปัสสนา ​ กายสังขารที่เป็นไปในกาลมิได้กำหนดหยาบ ​ ในกาลกำหนดมหาภูตรูปละเอียดแม้นั้น ​ ก็ยังจัดว่าหยาบ ​ ในกาลกำหนดอุปาทายรูปละเอียดแม้นั้น ​ ก็ยังจัดว่าหยาบ ​ ในกาลกำหนดรูปทั้งสิ้นละเอียดแม้นั้นก็ยังจัดว่าหยาบ ​ ในกาลกำหนดอรูปละเอียดแม้นั้นก็ยังจัดว่าหยาบ ​  ​ในเวลากำหนดรูปและนามที่ละเอียดแม้นั้นก็ยังจัดว่าหยาบ ​ ในเวลากำหนดปัจจัยละเอียดแม้นั้นก็ยังจัดว่าหยาบ ​ ในเวลาเห็นนามรูปพร้อมด้วยปัจจัยละเอียดแม้นั้นก็ยังจัดว่าหยาบ ​ ในวิปัสสนาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์ละเอียด ​ ในวิปัสสนาที่มีกำลังอ่อนจัดว่าหยาบ ​ ในวิปัสสนาอันมีกำลังจัดว่าละเอียด ​ ในวิปัสสนานั้น ​ พึงทราบความสงบระงับกายสังขารอันเป็นไปในกาลก่อน ๆ  ด้วยกาลตอนหลัง ๆ  โดยนัยที่กล่าวแล้วในกาลก่อนนั้นนั่นแลพึงทราบภาวะที่กายสังขารหยาบละเอียด ​ และสงบระงับในคำว่า ​ "​ปสฺสมฺภยํ ​ กายสงฺขารํ ​ อสฺสสิสฺสามิ.....ปสฺสสิสฺสามิ" ​ นี้ ​ โดยประการดังกล่าวแล้วนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 58)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​มติในปฏิสัมภิทามรรค'''​ 
- 
-ส่วนในปฏิสัมภิทาท่านกล่าวความข้อนั้นพร้อมด้วยคำประท้วงและคำเฉลยอย่างนี้ว่า ​ ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า ​ เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออกหายใจเข้า ​ อย่างไร ?  กายสังขารเป็นไฉน ?  คือธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นไปในกองลมหายใจออกและหายใจเข้ายาว ​ อันนี้เป็นธรรมเกี่ยวเนื่องด้วยกาย ​ ภิกษุทำกายสังขารเหล่านั้นให้ระงับ ​ คือให้ดับใจให้เข้าไปสงบ ​ ชื่อว่าย่อมสำเหนียก ฯลฯ ​ สำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขาร ​ นี่เป็นเหตุให้กายโยกโคลงโอนเอนส่ายสั่นหวั่นไหวไปมาเสีย ​ หายใจออก ​ สำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า สำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขารอันสงบอันละเอียด ที่เป็นเหตุให้กายไม่โยกโคลงไม่โอนไม่เอนไม่ส่ายไม่หวั่นไม่ไหว ​ หายใจออก.....หายใจเข้า 
- 
-นัยว่า ​ ภิกษุเมื่อสำเหนียกดังกล่าวมาฉะนี้ ​ ชื่อว่าย่อมสำเหนียกว่าเราจักยังกายสังขารให้สงบหายใจออก ​ ย่อมสำเหนียกว่าเราจักยังกายสังขารให้สงบหายใจเข้า ​ เมื่อเป็นดังนั้น ​ การอบรมจิตเพื่อวาตุปลัทธิ ​ (การกำหนดลม) ​ ก็ดี ​ เพื่อลมหายใจออกและเข้าก็ดี ​ เพื่ออานาปานสติก็ดี ​ เพื่ออานาปานสติสมาธิก็ดี ​ ย่อมไม่สำเร็จได้ ​ และบัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ได้เข้าสมาบัติทั้งไม่ได้ออกจากสมาบัตินั้นเหมือนอย่างไร ?  เหมือนอย่างเมื่อกังสดาลถูกเคาะแล้ว เสียงหยาบย่อมเป็นไปครั้งแรก ​ จิตก็เป็นไปได้ ​ เพราะกำหนดนิมิตแห่งเสียงได้ง่าย ​ เพราะทำนิมิตแห่งเสียงหยาบไว้ในใจได้ง่าย ​ เพราะทรงจำนิมิตแห่งเสียงหยาบได้ง่าย ​ แม้เมื่อเสียงหยาบดับแล้ว ​ หลังนั้นถัดไปเสียงละเอียดก็ยังเป็นไปจิตก็เป็นไปได้ ​ เพราะกำหนดนิมิตแห่งเสียงละเอียดได้ดี ​ เพราะยังทำนิมิตแห่งเสียงละเอียดไว้ในใจได้ดี ​ เพราะทรงจำนิมิตแห่งเสียงละเอียดได้ดี ​ แม้เมื่อเสียงละเอียดดับแล้ว ​ หลังจากนั้นไปจิตก็ยังเป็นไปได้ ​ แม้เพราะนิมิตแห่งเสียงละเอียดเป็นอารมณ์ ​ แม้ฉันใด ​ ลมหายใจออกหายใจเข้าที่หยาบก็ฉันนั้นเหมือนกัน ​ เพราะกำหนดนิมิตแห่งลมหายใจออกหายใจเข้าที่หยาบได้ง่าย ​ เพราะทำนิมิตแห่งลมหายใจเข้าที่หยาบไว้ในใจได้ง่าย ​ เพราะสังเกตนิมิตแห่งลมหายใจออกหายใจเข้าที่หยาบได้ง่าย ​ แม้เมื่อลมหายใจออกหายใจเข้าที่หยาบดับแล้ว ​ หลังจากนั้น ​ ลมหายใจออกหายใจเข้าที่ละเอียดก็ยังเป็นไปอยู่ ​ จิตก็ไม่ฟุ้งซ่านเพราะกำหนดจับนิมิตได้ด้วยดี ​ เพราะใส่ใจนิมิตได้ด้วยดี ​ เพราะทรงจำนิมิตได้ด้วยดี ​ แม้เมื่อลมหายใจออกหายใจเข้าที่ละเอียดดับไปแล้ว ​ หลังจากนั้นจิตก็ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 59)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ​ แม้เพราะยังมีนิมิตแห่งลมหายใจออกหายใจเข้าที่ละเอียดเป็นอารมณ์ ​ เมื่อเป็นดังนี้ ​ การอบรมจิตเพื่อวาตุปลัทธิเพื่อลมหายใจออกเข้าก็ดี ​ เพื่ออานาปานสติก็ดี ​ เพื่ออานาปานสติสมาธิก็ดี ​ ย่อมสำเร็จได้ ​ และสมาบัตินี้นั้นผู้เป็นบัณฑิตย่อมเข้าบ้าง ​ ย่อมออกบ้าง ​ ลมหายใจออกลมหายใจเข้าจัดเป็นกาย ​ ความปรากฏจัดเป็นสติ ​ ปัญญาเครื่องตามเห็นจัดเป็นญาณ ​ กายจัดเป็นเครื่องปรากฏไม่ใช่ตัวสติ ​ สติเป็นตัวปรากฏ ​ ทั้งเป็นตัวสติด้วย ​ พระโยคาวจรย่อมตามเห็นกายนั้นด้วยสตินั้นด้วยญาณนั้น ​ เพราะเหตุนั้น ​ ท่านจึงกล่าวว่า ​ การเจริญสติปัฏฐาน ​ คือปัญญาเครื่องตามเห็นกายในกาย ​ นี้เป็นการพรรณนาเฉพาะบทตามลำดับแห่งจตุกกะที่ 1  ซึ่งท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจกายานุปัสสนา ​ ในอานาปานสติกถานี้เป็นอันดับแรก 
- 
-===จตุกกวิมุต=== 
- 
-ก็เพราะเหตุในจตุกกะทั้ง 4  เหล่านี้ ​ จตุกกะนี้เท่านั้นท่านกล่าวด้วยสามารถกรรมฐานของพระโยคาวจรผู้ริเริ่มบำเพ็ญเพียร ​ ส่วน 3  จตุกกะนอกนี้ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถเวทนานุปัสสนานี้, ​ จิตตานุปัสสนา ​ และธัมมานุปัสสนาของพระโยคาวจรผู้บรรลุฌานแล้วในจตุกกะที่ 1  นี้ ​ ฉะนั้น ​ กุลบุตรผู้ริเริ่มบำเพ็ญเพียรประสงค์จะบำเพ็ญกรรมฐานนี้แล้วบรรลุพระอรหัตพร้อมทั้งปฏิสัมภิทา ​ ด้วยวิปัสสนาอันมีฌานที่ 4  ซึ่งมีลมหายใจออกเข้าเป็น อารมณ์เป็นเหตุใกล้ ​ พึงทำกิจทุกอย่างมีการชำระศีลให้บริสุทธิ์เป็นต้น ​ โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล ​ แล้วพึงกำหนดกรรมฐานอันประกอบด้วยสนธิ 5  ประการ ​ ในสำนักของพระอาจารย์มีประการดังกล่าวแล้ว 
- 
-ในอธิการอันว่าด้วยกรรมฐานอันประกอบด้วยสนธิ 5  ประการนั้น ​ สนธิ 5 เหล่านี้ ​ คือ 
- 
-'''​สนธิ 5'''​ 
- 
-1.    อุคคหะ ​   การเรียน ​ (การกำหนด) 
- 
-2.    ปริปุจฉา ​   การสอบถาม 
- 
-3.    อุปัฏฐาน ​   ความปรากฏ 
- 
-4.    อัปปนา ​   ความแนบแน่น 
- 
-5.    ลักขณะ ​   เครื่องหมาย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 60)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ในสนธิ 5  นั้น ​ การเรียนพระกรรมฐานชื่อว่า ​ อุคคหะ ​ การสอบถามพระกรรมฐานชื่อว่า ​ ปุริปุจฉา ​ ความปรากฏแห่งพระกรรมฐานชื่อว่า ​ อุปัฏฐาน ​ ความแน่วแน่แห่งกรรมฐานชื่อว่า ​ อัปปนา ​ ความกำหนดหมาย ​ มีอธิบายว่า ​ การทรงจำสภาวะแห่งกรรมฐานว่า ​ กรรมฐานนี้มีลักษณะอย่างนี้ ​ ชื่อว่า ​ ลักขณะ 
- 
-'''​ผลของการเรียนสนธิ 5'''​ 
- 
-เมื่อพระโยคาวจรกำหนดกรรมฐานอันประกอบด้วยสนธิ 5  ประการ ​ ดังพรรณนามาฉะนี้ ​ แม้ตนเองก็ไม่ต้องลำบาก ​ แม้อาจารย์ก็ไม่ต้องรบกวนท่าน ​ เพราะเหตุนั้น ​ พวกโยคาวจรพึงให้อาจารย์บอกแต่น้อย ​ สาธยายสิ้นเวลานาน ​ แล้วกำหนดกรรมฐานอันประกอบด้วยสนธิ 5  ประการอย่างนี้ ​ อยู่ในสำนักอาจารย์หรือในเสนาสนะซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วในก่อน ​ ตัดปลิโพธเล็ก ๆ  น้อย ๆ เสีย ​ ทำภัตกิจเสร็จแล้วบรรเทาความเมาในภัตแล้วนั่งอย่างสบาย ​ ทำจิตให้ร่าเริงด้วยการระลึกเนือง ๆ  ถึงคุณพระรัตนตรัย ​ จำได้แม่นยำแม้บทเดียวก็ไม่เคลื่อนคลาดจากข้อที่เรียนมาจากอาจารย์ ​ พึงมนสิการอานาปานสติกัมมัฏฐานนี้เถิด 
- 
-'''​วิธีมนสิการ 8  อย่าง'''​ 
- 
-นี้เป็นวิธีมนสิการในอานาปานสติกัมมัฏฐานนั้น ​ คือ 
- 
-1.    คณนา ​   การนับ 
- 
-2.    อนุพนฺธนา ​   การติดตาม 
- 
-3.    ผุสนา ​   การถูกต้อง 
- 
-4.    ฐปนา ​   การตั้งจิตมั่น 
- 
-5.    สลฺลกฺขณา ​   การกำหนดหมายได้ชัด 
- 
-6.    วิวฏฺฏนา ​   การเปลี่ยนแปลง 
- 
-7.    ปาริสุทฺธิ ​   การหมดจด 
- 
-8.    เตสํ ​ ปฏิปสฺสนา ​   การย้อนดูวิวัฏฏนา ​ (มรรค) ​ และปาริสุทธิ ​ (ผล) ​ เหล่านั้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 61)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อธิบาย ​ วิธีมนสิการ'''​ 
- 
-บรรดาบทเหล่านั้น ​ บทว่า ​ คณนา ​ ได้แก่การนับนั้นเอง ​ บทว่า ​ อนุพนฺธนา ​ ได้แก่การติดตามไป ​ บทว่า ​ ผุสนา ​ ได้แก่ที่ที่ลมกระทบ ​ บทว่า ​ ฐปนา ​ ได้แก่อัปนา ​ บทว่า ​ วิวฏฺฏนา ​ ได้แก่มรรค ​ บทว่า ​ ปาริสุทฺธิ ​  ​ได้แก่ผล ​ และบทว่า ​ เตสํ ​ ปฏิปสฺสนา ​ ได้แก่ปัจจเวกขณญาณ 
- 
-'''​อธิบาย ​ คณนาวิธีนับ'''​ 
- 
-ในวิธีมนสิการเหล่านั้น ​ กุลบุตรผู้ริเริ่มบำเพ็ญเพียรนี้ ​ ควรมนสิการกรรมฐานนี้ด้วยวิธีนับก่อน ​ ก็แลเมื่อจะนับไม่พึงนับหยุดต่ำกว่า 5  ไม่พึงนับเลย 10  ขึ้นไป ​ ไม่พึงแสดงการนับให้ขาดในระหว่าง ​ เพราะเมื่อนับหยุดต่ำกว่า 5  จิตตุปบาทจะดิ้นรนอยู่ในโอกาสอันคับแคบ ​  ​ดังหมู่โคถูกขังไว้ในคอกแคบดิ้นรนอยู่ฉะนั้น ​ แม้เมื่อนับเกิน 10  ขึ้นไปจิตตุปบาทก็จะพะวงอยู่ในการนับนั้นเสีย ​ เมื่อแสดงการนับให้ขาดในระหว่าง ​ จิตก็จะหวั่นไปว่ากรรมฐานของเราจะถึงที่สุดหรือไม่หนอ ?  เพราะฉะนั้น ​ พึงนับเว้นโทษเหล่านั้นเสีย 
- 
-'''​อธิบาย ​ วิธีนับช้า'''​ 
- 
-อันผู้ริเริ่มบำเพ็ญเพียร ​ เมื่อจะนับ ​ ชั้นแรกควรนับด้วยวิธีนับช้า ​ คือนับอย่างคนตวงข้าวเปลือก ​ จริงอยู่ ​ คนตวงข้าวเปลือกตักเต็มทะนานแล้วขานว่า 1  แล้วจึงเทลงไป ​ เมื่อตักอีก ​ เห็นหยากเยื่ออะไรๆ ​ แล้วหยิบทิ้งเสีย ​ จึงนับขานว่า ​ หนึ่ง ​ หนึ่ง ​ ในคำว่า ​ สอง ๆ  เป็นต้นก็นัยนี้ ​ แม้กุลบุตรผู้ริเริ่มบำเพ็ญเพียรนี้ ​ ก็พึงกำหนดเอาลมอัสสาสะปัสสาสะที่ปรากฏแล้วกำหนดนับลม ​ ซึ่งเป็นไปอยู่เรื่อย ๆ  นั่นแหละ ​ นับเริ่มต้นแต่คำว่า ​ 1,1  จนถึงคำว่า ​ 10,10  ฉันนั้นเหมือนกัน ​ เมื่อเธอนับอยู่อย่างนั้น ​ ลมอัสสาสะปัสสาสะที่ออกและเข้าอยู่ย่อมปรากฏ 
- 
-ครั้นกุลบุตรผุ้ริเริ่มบำเพ็ญเพียร ​ พึงละวิธีนับของคนตวงข้าวเปลือกนั้นเสีย ​ แล้วนับด้วยวิธีนับเร็ว ​ คือวิธีนับของนายโคบาล ​ จริงอยู่ ​ นายโคบาลผู้ฉลาด ​ เอาก้อนกรวดใส่พกแล้ว ​ มือถือเชือกและท่อนไม้ไปยังคอกแต่เช้าตรู่ ​ ตีพวกโคทีหลัง ​ นั่งบนปลายเสาลิ่ม ​ โยนก้อนกรวดไป ๆ แล้วนับเฉพาะแม่โคตัวที่ถึงประตูแล้ว ๆ ว่า ​ 1,2  ฝูงใดที่อยู่ลำบากในโอกาสที่คับแคบตลอดราตรี 3  ยาม ​ เมื่อจะออกไปก็เบียดเสียดกันและกันออกไป 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 62)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เป็นกลุ่ม ๆ โดยเร็ว ​ นายโคบาลนั้นก็นับเร็ว ๆ เหมือนกันว่า ​ 3,4,5 -10  ฉันนั้นเหมือนกัน ​ แม้เมื่อกุลบุตรผู้ริเริ่มบำเพ็ญเพียรนี้นับอยู่โดยนัยก่อน ​ ลมอัสสาสะปัสสาสะปรากฏแล้ว ​ ย่อมสัญจรเร็ว ๆ ถี่ขึ้น ​ แต่นั้นเธอทราบว่าลมเดินถี่ขึ้นแล้ว ​ ไม่พึงกำหนดเอาทั้งข้างในทั้งข้างนอก ​ กำหนดเอาเฉพาะที่ถึงทวารเท่านั้น ​ แล้วนับเร็ว ๆ ว่า ​ 1,​2,​3,​4,​5 ​ 1,​2,​3,​4,​5,​6 ​ 1,​2,​3,​4,​5,​6,​7 ​ 1,​2,​3,​4,​5,​6,​7,​8 ​ 1,​2,​3,​4,​5,​6,​7,​8,​9 ​ 1,​2,​3,​4,​5,​6,​7,​8,​9,​10 ​ เพราะว่าในกัมมัฏฐานที่เนื่องด้วยการนับ ​ จิตจะมีแต่อารมณ์เดียวได้ก็ด้วยพลังแห่งการนับเท่านั้น ​ ดุจความหยุดของเรือในกระแสน้ำที่เชี่ยว ​ จะมีได้ก็ด้วยอำนาจการค้ำไว้ด้วยถ่อฉะนั้น ​ เมื่อเธอนับเร็ว ๆ อยู่อย่างนั้น ​ กรรมฐานย่อมปรากฏเป็นประหนึ่งว่าเป็นไปหาระหว่างคั่นมิได้ ​ ครั้นเธอทราบว่าย่อมเป็นไปหาระหว่างคั่นมิได้ดังนี้แล้วไม่พึงกำหนดลมภายในและภายนอก ​ แล้วนับเร็ว ๆ โดยนัยก่อนนั่นแล ​ ด้วยว่าเมื่อเธอให้จิตเข้าไปพร้อมกับลมที่เข้าไปภายในอยู่ ​ จิตที่เป็นเหมือนถูกลมกระทบและเหมือนเต็มไปด้วยมันข้นในภายใน ​ เมื่อเธอนำจิตออกไปพร้อมกับลมที่ออกไปภายนอก ​ จิตย่อมจะส่ายไปในอารมณ์มากหลายในภายนอก ​ แต่เมื่อเธอตั้งสติไว้ที่อากาศอันถูกลมกระทบ ​ เจริญภาวนาอยู่นั่นแหละ ​ ภาวนาย่อมสำเร็จได้ เพราะเหตุนั้น ​ ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ​ อันกุลบุตรผู้ริเริ่มบำเพ็ญเพียร ​ ไม่พึงกำหนดลมภายในและภายนอกแล้วนับเร็ว ๆ โดยนัยก่อนนั่นแล ​ ถามว่า ​ ก็ลมนั่นจะพึงนับไปนานเท่าไร ?  แก้ว่าพึงนับไปจนกว่าเมื่อหยุดนับสติจะตั้งมั่นอยู่ได้ในอารมณ์คือลมอัสสาสะปัสสาสะ ​ ด้วยว่าการนับก็เพื่อกระทำการตัดความตรึกที่ส่ายไปภายนอกเสียแล้วตั้งสติมั่นไว้ในอารมณ์คือ ลมอัสสาสะปัสสาสะอย่างเดียว ​ อันกุลบุตรผู้ริเริ่มบำเพ็ญเพียรกระทำไว้ในใจด้วยวิธีนับอย่างนี้แล้วพึงกระทำไว้ในใจด้วยวิธีติดตาม 
- 
-'''​อธิบาย ​ วิธีติดตาม'''​ 
- 
-การเลิกนับแล้วส่งสติไปตามลมหายใจออกเข้าไม่มีระหว่างคั่น ​ ชื่อว่าการติดตามนั้น ​ ไม่พึงกระทำด้วยอำนาจการติดตามเบื้องต้น ​ ท่ามกลาง ​ และที่สุด ​ เพราะว่า ​ สำหรับลมที่ออกไปภายนอกมีนาภีเป็นเบื้องต้น ​ หทัยเป็นท่ามกลาง ​ นาสิกเป็นที่สุด ​ สำหรับลมที่เข้าไปภายในมีปลายนาสิกเป็นเบื้องต้น ​ หทัยเป็นท่ามกลาง ​ นาภีเป็นปลาย ​ ก็เมื่อกุลบุตรริเริ่มบำเพ็ญเพียรติดตามลมนั้น ​ จิตที่ถึงความฟุ้งซ่านย่อมจะมีเพื่อความกระสับกระส่าย 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 63)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ทีเดียว ​ และเพื่อความหวั่นไหว ​ ดังท่านกล่าวไว้ว่า ​ เมื่อภิกษุใช้สติติดตามเบื้องต้น ​ กลางและปลายลมอัสสาสะปัสสาสะ ​ กายก็ดีจิตก็ดีด้วย ​ ทั้งจิตที่ถึงความฟุ้งซ่านในภายใน ​ ย่อมกระสับกระส่ายหวั่นไหวด้วย ​ ดิ้นรนด้วย ​ เมื่อใช้สติไปติดตามต้น ​ กลาง ​ และปลายลมปัสสาสะ ​ กายก็ดี ​ จิตก็ดี ​ ด้วยทั้งจิตที่ถึงความฟุ้งซ่านไปในภายนอก ​ ย่อมกระสับกระส่ายด้วย ​ หวั่นไหวด้วย ​ ดิ้นรนด้วย ​ ดังนี้ ​ เพราะเหตุนั้น ​ อันกุลบุตรผู้ริเริ่มบำเพ็ญเพียร เมื่อจะมนสิการโดยวิธีติดตามจึงไม่ควรมนสิการด้วยวิธีต้นลม กลางลม และปลายลม ​ อีกประการหนึ่ง ​ พึงมนสิการโดยวิธีผุสนาและด้วยวิธีฐปนา 
- 
-แท้จริง ​ การมนสิการโดยวิธีผุสนาและวิธีฐปนา ​ หาได้มีส่วนหนึ่งต่างหากดุจมนสิการโดยวิธีคณนาและอนุพันธนาไม่ ​ แต่เมื่อพระโยควจรนับอยู่ ​ ในฐานะที่ลมกระทบแล้ว ๆ  นั่นแหละ ​ ชื่อว่ามนสิการโดยวิธีคณนาด้วย ​ โดยวิธีผุสนาด้วย ​ เมื่อเลิกนับแล้วติดตามลมอัสสาสะปัสสาสะนั้นไปด้วยสติ ​ และเมื่อตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจอัปปนา ​ ในฐานะที่ลมกระทบ ๆ นั้นนั่นแหละ ​ เรียกว่ามนสิการโดยวิธีอนุพันธนาด้วย ​ โดยวิธีผุสนาด้วย ​ โดยวิธีฐปนาด้วย ​ ความนี้นั้นบัณฑิตพึงทราบโดยอุปมาด้วยคนง่อยคนเฝ้าประตูที่กล่าวไว้ในอรรถทั้งหลาย ​ และโดยอุปมาด้วยเลื่อยที่กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทา 
- 
-ในสามอุปมานั้น ​ ข้อนี้เป็นอุปมาด้วยคนง่อย ​ คือคนง่อยโล้ชิงช้าให้แก่มารดาและบุตรผู้เล่นชิงช้าอยู่ ​ นั่งที่โคนเสาชิงช้านั้นแหละย่อมเห็นที่สุดทั้ง 2  ข้าง ​ และท่ามกลางแห่งแผ่นกระดานชิงช้า ​ ที่แกว่งไกวไปมาอยู่โดยลำดับ ​ แต่ก็มิได้ขวนขวายจะดูแลที่สุดทั้ง 2  และท่ามกลาง ​ แม้ฉันใด ​ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ​ ยืนที่โคนเสาอันเป็นที่ผูกด้วยอำนาจสติ ​ โล้ชิงช้าคือลมหายใจออกเข้า ​ นั่งอยู่ด้วยสติในนิมิตนั้นนั่นเอง ​ เมื่อส่งสติติดตาม ​ ตั้งจิตไว้ตรงที่ลมกระทบนั้นนั่นแหละ ​ ย่อมเห็นเบื้องต้น ​ ท่ามกลาง ​ ที่สุดของลมหายใจออกเข้า ​ ในฐานะที่มันแกว่งไปมากระทบอยู่โดยลำดับ ​ แต่จะเป็นผู้ขวนขวายเพื่อดูแลลมเหล่านั้นก็หามิได้ ​ ฉะนั้น ​ นี้เป็นอุปมาดังคนง่อย 
- 
-ส่วนที่อุปมาด้วยคนเฝ้าประตู ​ ดังนี้คือ ​ คนเฝ้าประตูไม่ตรวจตราดูแลพวกคนในเมืองและนอกเมือง ถามว่าท่านเป็นใคร หรือว่ามาแต่ไหน ​ หรือว่าท่านจะไปไหน ​ หรือว่าอะไร 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 64)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อยู่ในมือท่าน ​ เพราะว่าคนเหล่านั้นมิใช่เป็นภาระหน้าที่ของเขา ​ เขาจะตรวจตราดูแลเฉพาะคนที่มาถึงประตู ๆ  เท่านั้น ​ แม้ฉันใด ​ ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ​ ลมเข้าข้างในและลมออกข้างนอก ​ ไม่ใช่เป็นภาระหน้าที่ ​ (ของท่าน) ​ ท่านมีหน้าที่อยู่แต่เพียงกำหนดลมที่จะมาถึงช่องจมูกแล้ว ๆ เท่านั้น ​ นี้เป็นอุปมาดังนายประตู 
- 
-ส่วนที่อุปมาด้วยเลื่อยพึงทราบตั้งแต่ต้นดังนี้ 
- 
-สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า – 
- 
-นิมิต 1  ลมหายใจออก 1  ลมหายใจเข้า 1  มิใช่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว ​ เมื่อภิกษุไม่รู้ธรรมทั้ง 3  ภาวนาย่อมไม่เกิด ​ นิมิต 1  ลมหายใจออก 1  ลมหายใจเข้า 1  มิใช่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว ​ เมื่อภิกษุรู้ธรรมทั้ง 3  ภาวนาย่อมเกิด 
- 
-มีอธิบายอย่างไร ?  มีอธิบายว่า ​ ธรรม 3  อย่างนี้ ​ มิใช่เป็นอารมณ์ของจิตดวงเดียวกัน ​ แต่ธรรม 3  อย่างนี้ ​ จะเป็นสิ่งที่พระโยคาวจรจะไม่รู้ก็หามิได้ ​ และจิตก็ไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ​ ปธาน ​ (ความเพียร) ​ ย่อมปรากฏ ​ และพระโยคาวจรก็ย่อมยังประโยคให้สำเร็จ ​ ย่อมบรรลุคุณวิเศษได้ ​ เปรียบเหมือนไม้ที่เขาทิ้งไว้ที่พื้นดินราบ ๆ  บุรุษพึงเอาเลื่อยมาตัดมัน ​ สติของบุรุษนั้นย่อมปรากฏด้วยอำนาจฟันเลื่อยที่ถูกต้นไม้ ​ เธอก็มิได้ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่ชักมาและชักไป ​ แต่จะไม่รู้ฟันเลื่อยที่ชักมาและชักไปก็หามิได้ ​ ทั้งความเพียรย่อมปรากฏทั้งเธอก็ยังความพยายามให้สำเร็จ ​ และเธอก็บรรลุคุณวิเศษอีกด้วย ​ นิมิตที่เขาเข้าไปผูกไว้เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาทิ้งไว้ที่ภูมิภาคอันราบรื่น ​ ลมหายใจออกเข้าเหมือนฟันเลื่อย ​ ภิกษุนั่งตั้งสติไว้ที่ปลายจมูกหรือที่ริมฝีปาก ​ ไม่ใส่ใจลมหายใจออกเข้าที่ผ่านมาหรือผ่านไป ​ แต่จะไม่รู้ลมออกเข้าซึ่งผ่านมาหรือผ่านไปแล้วก็หามิได้ ​ ความเพียรก็ย่อมปรากฏ ​ ทั้งเธอก็ย่อมยังความพยายามให้สำเร็จ ​ และบรรลุคุณวิเศษอีกด้วย ​ เปรียบเหมือนบุรุษตั้งสติไว้ที่ฟันเลื่อย ​ ที่กระทบต้นไม้ ​ เธอไม่ใส่ใจถึงฟันเลื่อยซึ่งชักมาชักไป ​ แต่จะไม่รู้ฟันเลื่อยซึ่งชักมาชักไปก็หามิได้ ​ ความเพียรก็ปรากฏ ​ และเธอก็ยังความพยายามให้สำเร็จ ​ และบรรลุผลพิเศษอีกด้วยฉะนั้น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 65)''</​fs></​sub>​ 
- 
-บทว่า ​ ปธานํ ​ ถามว่าความเพียรเป็นไฉน ?  คือ ​ ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้ปรารภ ​ ความเพียรย่อมเป็นของควรแก่การงาน ​ นี้ชื่อว่าความเพียร ​ ประโยคเป็นไฉน ?  คืออุปกิเลสทั้งหลาย ​ ภิกษุผู้ปรารภความเพียรละได้ วิตกทั้งหลายย่อมสงบระงับ ​ นี้ชื่อว่าประโยค ​ คุณวิเศษเป็นไฉน ?  ภิกษุผู้ปรารภความเพียรย่อมละสังโยชน์ได้ ​ อนุสัยทั้งหลายสุดสิ้นไป ​ นี้เป็นคุณวิเศษ  ​ 
- 
-ธรรม 3  อย่างนี้ ​ มิได้เป็นอารมณ์ของจิดวงเดียว ​ แต่ธรรม 3  อย่างนี้จะเป็นสิ่งที่พระโยคาวจรจะไม่รู้หามิได้ ​ วิตกไม่ถึงซึ่งความฟุ้งซ่าน ​ ความเพียรย่อมปรากฏ ​ และพระโยคาวจรนั้นย่อมยังความพยายามให้สำเร็จ ​ บรรลุคุณวิเศษได้ ​ ด้วยประการฉะนี้  ​ 
- 
-อานาปานสติ ​ อันภิกษุใดบำเพ็ญด้วยดีเต็มที่แล้ว ​ สั่งสมแล้วโดยลำดับ ​ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ​ ภิกษุนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว ​ เหมือนพระจันทร์พ้นจากหมอกฉายแสงอยู่ฉะนั้นแล 
- 
-นี้เป็นอุปมาด้วยเลื่อย ​ ก็ในที่นี้พระโยคาวจรนั้นเพียงแต่ไม่มนสิการด้วยอำนาจลมที่ผ่านมาและผ่านไป ​ พึงทราบว่าประโยชน์ 
- 
-สำหรับบางท่านที่มนสิการกรรมฐานนี้ ​ นิมิตย่อมเกิด ​ และฐปนากล่าวคือ ​ อัปปนาอันประดับด้วยองค์ฌานที่เหลือจะสำเร็จโดยไม่ช้าเลย ​ แต่สำหรับบางท่านเมื่อความกระวนกระวายสงบระงับลงด้วยอำนาจความดับไปแห่งลมอัสสาสะปัสสาสะที่หยาบโดยลำดับจำเดิมแต่กาลที่มนสิการโดยวิธีนับ ​ ทั้งกายทั้งจิตย่อมเป็นสภาพเบา สรีระเป็นประหนึ่งถึงซึ่งอาการลอยอยู่บนอากาศ ​ เมื่อผู้มีกายกระสับกระส่ายนั่งบนเตียงหรือตั่งก็ตาม ​ เตียงตั่งย่อมโยกย่อมลั่น ​ เครื่องลาดย่อมยับ ​ แต่เมื่อคนมีกายไม่กระสับกระส่ายนั่งเตียงก็ไม่โยกไม่ลั่นเลย ​ เครื่องลาดก็ไม่ยับ ​ เตียงตั่งเป็นดังว่ายัดด้วยนุ่น ​ เพราะเหตุไร? ​  ​เพราะกายที่ไม่กระสับกระส่าย ​ ย่อมเบา ​ ฉันใด ​ เมื่อความกระสับกระส่ายทางกายสงบระงับลง ​ ด้วยอำนาจความดับไปแห่งลม ​ อัสสาสะปัสสาสะที่หยาบโดยลำดับ ​ จำเดิมแต่กาลที่มนสิการโดยวิธีนับ ​ ทั้งกายทั้งจิตย่อมเบา ​ สรีระเป็นประหนึ่งถึงซึ่งอาการลอยอยู่บนอากาศ ​ ฉันนั้นเหมือนกัน ​ เมื่อลมอัสสาสะปัสสาสะที่หยาบดับไปแล้ว ​ จิตของพระโยคาวจรนั้นก็ยังมีนิมิตแห่งลมอัสสาสะปัสสาสะที่ละเอียดเป็น 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 66)''</​fs></​sub>​ 
- 
-อารมณ์เป็นไปอยู่ ​ แม้เมื่อนิมิตนั้นดับแล้ว ​ จิตดวงต่อ ๆ ไปก็ยังมีนิมิตลมปัสสาสะอัสสาสะที่ละเอียดกว่านั้นเป็นอารมณ์เป็นไปอยู่ ​ เป็นอย่างไร ?  บัณฑิตพึงทราบโดยนัยว่า ​ เป็นเหมือนบุรุษเคาะกังสดาลด้วยซี่โลหะใหญ่ ​ เสียงดังพึงเกิดขึ้นโดยการตีครั้งเดียว ​ จิตของเขาพึงมีเสียงหยาบเป็นอารมณ์เป็นไปอยู่ ​ เมื่อเสียงหยาบดับแล้ว ​ หลังจากนั้นจิตของเธอก็มีนิมิตแห่งเสียงที่ละเอียดเป็นอารมณ์ ​ แม้เมื่อนิมิตนั้นดับแล้ว ​ จิตดวงต่อๆไปของเธอก็ยังมีนิมิตแห่งเสียงละเอียดยิ่งกว่านั้นเป็นอารมณ์เป็นไปอยู่ ​ ฉะนั้น ​ สมจริงดังคำพระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า ​ เมื่อกังสดาลถูกเคาะแล้ว ​ แม้ฉันใด ​ ดังนี้เป็นต้น ​ ความพิสดารบัณฑิตพึงกล่าวตามนัยปฏิสัมภิทามรรคเถิด. 
- 
-'''​อธิบายที่ต่างจากกรรมฐานอื่น'''​ 
- 
-จริงอยู่ ​ กรรมฐาน ​ นี้หาเป้นอย่างกรรมฐานอื่น ๆ  ซึ่งปรากฏชัดยิ่ง ๆ ขึ้นไป ​ ส่วนกรรมฐานนี้เมื่อเจริญยิ่งสูง ๆ ขึ้นไป ​ ก็ถึงเพียงความละเอียด ​ แต่ไม่ถึงความปรากฏ ​ แต่เมื่อกรรมฐานนั้นไม่ปรากฏอย่างนั้น ​ ภิกษุนั้นก็พึงอย่าลุกจากที่นั่งสลัดท่อนหนังไปเสีย ​ ถามว่า ​ พึงทำอย่างไร?​ แก้ว่า ​ อย่างลุกไปด้วยคิดว่าเราจักถามท่านอาจารย์หรือด้วยเข้าใจว่า ​ บัดนี้กรรมฐานของเราเสื่อมเสียแล้ว ​ เพราะเมื่อทำอิริยาบถให้กำเริบไป ​ กรรมฐานก็จะกลายเป็นของใหม่ๆไปเท่านั้น ​ เพราะเหตุนั้น ​ เธอนั่งอยู่ตามเดิมนั่นแหละพึงนำ ​ (ลม) ​ มาจากถิ่นที่เกิด 
- 
-'''​วิธีปฏิบัติเพื่อนำคืน'''​ 
- 
-ในข้อนั้นมีอุบายเครื่องนำ ​ (ลมคืน) ​ ดังต่อไปนี้ ​ ภิกษุนั้นรู้ภาวะคือความไม่ปรากฏ ​ แห่งพระกรรมฐานแล้ว ​ พึงพิจารณาดูดังนี้ว่า ​ ขึ้นชื่อว่าลมหายใจออกเข้านี้มีอยู่ที่ไหน ​ ไม่มีที่ไหน ​ มีแก่ใคร ​ หรือไม่มีแก่ใคร? ​ ครั้นเมื่อเธอพิจารณาอย่างนั้นก็จะทราบได้ว่า ​ ลมหายใจออกเข้านี้ไม่มีอยู่ภายในท้องของมารดา 1  ไม่มีแก่พวกคนที่ดำลงในน้ำ 1  ไม่มีแก่พวกคนที่สลบ 1  แก่คนตาย 1  ผู้เข้าจตุตถฌาน 1  ผู้ประกอบด้วยรูปภพและอรูปภพ 1  ผู้เข้านิโรธ 1  ฉะนี้แล้ว ​ พึงตักเตือนตนด้วยตนเองดังนี้ว่า ​ นี่แน่ะ ​ พ่อบัณฑิต ​ ตัวเจ้ามิใช่ผู้อยู่ในท้องมารดา ​ มิใช่ผู้ดำลงในน้ำ ​ มิใช่ผู้สลบ ​ มิใช่ผู้ที่ตายแล้ว ​ มิใช่ผู้เข้าจตุตถฌาน ​ มิใช่ผู้ประกอบด้วยรูปภพอรูปภพ ​ มิใช่ผู้เข้านิโรธ ​ มิใช่หรือ ​ ลมหายใจออกข้าวของเจ้ามีอยู่แท้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 67)''</​fs></​sub>​ 
- 
-แต่เจ้าไม่อาจกำหนดได้เพราะภาวะที่เจ้ามีปัญญาอ่อน ​ ลำดับนั้นเธอพึงวางจิตไว้ตามที่ลมกระทบโดยปกติ ​ ยังมนสิการให้เป็นไป ​ ก็ลมหายใจออกเข้าเหล่านี้ ​ สำหรับคนจมูกยาวกระทบกระพุ้งจมูกเป็นไป ​ สำหรับคนจมูกสั้นกระทบริมฝีปากบนเป็นไป ​ เพราะฉะนั้นเธอพึงตั้งนิมิตไว้ว่าลมกระทบที่ตรงนี้ ​ จริงอยู่ ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แลจึงตรัสไว้ว่า ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เราไม่กล่าวอานาปานสติภาวนาแก่คนที่หลงลืมสติไม่มีสัมปชัญญะ 
- 
-จริงอยู่ ​ กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมสำเร็จแก่คนผู้มีสติสัมปชัญญะเท่านั้นก็จริง ​ แต่ว่ากรรมฐานอื่นจากนี้ ​ เมื่อภิกษุมนสิการไป ๆ ย่อมปรากฏ ​ ส่วนอานาปานสติกัมมัฏฐานนี้หนัก ​ การภาวนาก็หนัก ​ เป็นภูมิแห่งมนสิการแห่งพระพุทธเจ้าพระปัจเจกพระพุทธเจ้าและพระพุทธบุตรทั้งหลายผู้เป็นมหาบุรุษเท่านั้น ​ ไม่ใช่การนิดหน่อยและไม่ใช่การที่สัตว์เล็กน้อยจะสร้องเสพได้ ​ มนสิการไปด้วยประการใด ๆ  ก็ย่อมสงบและสุขุมไปด้วยประการนั้น ๆ  เพราะเหตุนั้นในกรรมฐานข้อนี้จำต้องปรารถนาสติและปัญญาอันกล้าแข็ง ​ เหมือนในเวลา ​ ชุนผ้าเนื้อเกลี้ยง ​ แม้เข็มก็ต้องใช้เข็มเล็ก ​ ยิ่งด้ายร้อยห่วงเข็มยิ่งต้องใช้เล็กกว่านั้น ​ ฉันใดในเวลาเจริญกรรมฐานนี้อันเป็นเช่นผ้าเนื้อเกลี้ยง ​ ก็จำต้องปรารถนาทั้งสติที่เปรียบด้วยเข็ม ​ ทั้งปัญญาอันสัมปยุตด้วยสติเปรียบด้วยด้ายร้อยห่วงเข็มอันกล้าแข็ง ​ ฉันนั้นเหมือนกัน 
- 
-ก็แลภิกษุผู้ประกอบด้วยสติปัญญานั้น ​ ไม่พึงแสวงหาลมอัสสาสะปัสสาสะนั้นในที่อื่นจากที่ลมกระทบตามปกติ ​ เหมือนชาวนาไถนาแล้วปล่อยโคพลิพัททำให้บ่ายหน้าไปสู่ที่หากิน ​ แล้วพึงนั่งพักอยู่ในร่ม ​ ครั้นแล้วโคพลิพัทเหล่านั้นของเขาก็เข้าดงไปโดยเร็ว ​ ชาวนาผู้ฉลาดใคร่จะจับมันมาเทียมแอกจะไม่ติดตามรอยเท้าโคเหล่านั้นเที่ยวดั้นดง ​ โดยที่แท้เขาจะถือเชือกและปฏักตรงไปยังท่าที่โคเหล่านั้นลงไปทีเดียว ​ นั่งหรือนอนอยู่ ​ ต่อนั้นเขาเห็นฝูงโคเหล่านั้น ​ ที่มันเที่ยวตอนกลางวันแล้วลงสู่ท่าน้ำ ​ แช่และดื่มน้ำแล้วขึ้นมายืนอยู่ ​ จึงผูกด้วยเชือกแทงด้วยปฏัก ​ จูงมาเทียมแอกทำงานอีก ​ ฉันใด ​ ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ​  ​ไม่พึงแสวงหาลมอัสสาสะปัสสาสะนั้นในที่อื่นจากที่ที่ลมกระทบตามปกติ ​ แต่พึงถือเชือกคือสติและปฏักคือปัญญา ​ ตั้งจิตไว้ ณ ที่ที่ลมกระทบตามปกติ ​ ยังมนสิการให้เป็นไป ​ ด้วยว่าเมื่อเธอมนสิการไปอย่างนี้ ​ ลมเหล่านั้นปรากฏไม่นานเลย ​ ดุจโคทั้งหลายปรากฏที่ท่าลงน้ำ ​ ฉะนั้น ​ เธอพึงผูกไว้ด้วยเชือกคือสติ ​ เทียมไว้ที่ตรงนั้นแหละ ​ แทงด้วยปฏักคือปัญญา ​ ประกอบด้วยกรรมฐานไว้บ่อยๆ ​ เมื่อเธอหมั่นประกอบอยู่อย่างนั้น ​ ไม่ช้านิมิตย่อมปรากฏ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 68)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​นิมิตปรากฏต่าง ๆ กัน'''​ 
- 
-อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ​ ก็แลอาจารย์ทั้งปวงหามีนิมิตนี้นั้นเสมือนเป็นอันเดียวกันไม่ ​ สำหรับบางท่านปรากฏเหมือนปุยนุ่นก็มี ​ เหมือนปุยฝ้ายก็มี ​ เหมือนสายลมก็มี ​ ที่ยังสุขสัมผัสให้เกิด  ​ 
- 
-แต่วินิจฉัยในอรรถกถาทั้งหลายมีดังนี้ ​ ก็นิมิตนี้สำหรับบางท่านปรากฏเหมือนดวงดาว ​ เหมือนเม็ดมณี ​ และเหมือนเม็ดไข่มุกดาก็มี ​ บางท่านปรากฏเป็นสิ่งมีสัมผัสหยาบ ​ เหมือนเม็ดฝ้าย ​ และเหมือนเสี้ยนไม้แก่นก็มี ​ บางท่านเหมือนสายสังวาลยาว ​ เหมือนพวงดอกไม้ ​ และเหมือนเปลวควันก็มี ​ บางท่านเหมือนใยแมงมุมที่ขึงแล้ว ​ เหมือนกลีบเมฆ ​ เหมือนดอกประทุม ​ เหมือนล้อรถ ​ เหมือนวงพระจันทร์ ​ และเหมือนวงพระอาทิตย์ก็มี ​ ก็แล ​ กรรมฐานนี้นั้นก็อย่างเดียวกันนั่นแล ​ ย่อมปรากฏต่าง ๆ กัน ​ เพราะภาวะที่พระโยคาวจรมีสัญญาต่าง ๆ กัน ​ เปรียบเหมือนพระภิกษุมากรูปนั่งสาธยายพระสูตรกันอยู่ ​ เมื่อรูปหนึ่งถามขึ้นว่า  ​ 
-'''​สูตรนี้ปรากฏแก่ท่านทั้งหลายเป็นเช่นไร ภิกษุรูปหนึ่งก็บอกว่า ปรากฏแก่ข้าพเจ้า ​ เป็นเหมือนแม่น้ำใหญ่ที่ไหลออกจากภูเขา ​ อีกรูปหนึ่งบอกว่า ​ สำหรับข้าพเจ้าเหมือนแนวป่าอันหนึ่ง ​ รูปหนึ่งบอกว่าสำหรับข้าพเจ้าเหมือนต้นไม้ที่เต็มไปด้วยพวงผลสมบูรณ์ไปด้วยกิ่งก้านมีร่มเงาเยือกเย็น ​ จริงอยู่ ​ พระสูตรนั้นก็สูตรเดียวนั่นแหละ ​ ปรากฏแก่เธอทั้งหลายต่าง ๆ กัน ​ เพราะภาวะที่เธอทั้งหลายมีสัญญาต่างกัน ​ ฉะนั้น ​ เพราะกรรมฐานนี้เกิดจากสัญญา ​ มีสัญญาเป็นเหตุ ​ มีสัญญาเป็นแดนเกิด ​ เพราะฉะนั้น ​ พึงทราบว่า ​ ย่อมปรากฏได้ต่าง ๆ กัน ​ เพราะสัญญาต่างกัน ​ '''​ 
- 
-ก็ในกรรมฐานนี้ ​ จิตที่มีลมหายใจออกเป็นอารมณ์ก็เป็นดวงหนึ่ง ​ จิตที่มีลมหายใจเข้าเป็นอารมณ์ก็เป็นดวงหนึ่ง ​ จิตที่มีนิมิตเป็นอารมณ์ก็เป็นดวงหนึ่งแท้ ​ ก็ผู้ใดไม่มีธรรม 3  ประการนี้ ​ กรรมฐานของผู้นั้นย่อมไม่ถึงอัปปนาไม่ถึงอุปจาระเลยทีเดียว ​ แต่ผู้ใดมีธรรม 3ประการนี้ ​ กรรมฐานของผู้นั้นนั่นแหละย่อมถึงอุปจาระและอัปปนา ​ สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า – 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 69)''</​fs></​sub>​ 
- 
-นิมิต 1  ลมหายใจออก 1  ลมหายใจเข้า 1  มิใช่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว ​ เมื่อภิกษุไม่รู้ธรรม 3  ประการ ​ ภาวนาย่อมเกิดไม่ได้ ​ นิมิต 1  ลมหายใจออก 1  ลมหายใจเข้า 1  ไม่ใช่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว ​ เมื่อภิกษุรู้ธรรม 3  ประการนี้ ​ ภาวนาย่อมเกิดได้ 
- 
-อันดับแรก ​ พระทีฆภาณกาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ​ ก็เมื่อนิมิตปรากฏอย่างนี้แล้ว ​ ภิกษุนั้นพึงไปหาอาจารย์แล้วเรียนว่า ​ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ​ ชื่อว่าอารมณ์เห็นปานนี้ปรากฏแก่กระผม ​ แต่อาจารย์ไม่ควรบอกว่า ​ นั่นคือนิมิตหรือไม่ใช่นิมิต ​ พึงบอกว่า ​ เป็นอย่างนั้นแหละอาวุโส ​ แล้วกล่าวว่า ​ เธอจงมนสิการอย่างนั้นบ่อย ๆ เถิด ​ เพราะเมื่ออาจารย์บอกว่า ​ นั่นเป็นนิมิต ​ เธอจะหยุดพักเสีย ​ เมื่อบอกว่า ​ นั่นไม่ใช่นิมิต ​ เธอจะหมดหวังเศร้าใจ ​ เพราะฉะนั้นอาจารย์จึงไม่ควรบอกทั้ง 2  อย่าง ​ แต่คงแนะนำแต่การใส่ใจเท่านั้น  ​ 
- 
-ส่วนพระมัชฌิมภาณกาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ​ พระโยคาวจรนั้นเป็นผู้ที่อาจารย์ควรบอกว่า ​ นี่นิมิตละอาวุโส ​ เธอจงมนสิการกรรมฐานบ่อย ๆ เข้าเถิด ​ พ่อคนดี 
- 
-ลำดับนั้น ​ พระโยคาวจรนั้นพึงตั้งจิตไว้ที่นิมิตนั่นแหละ ​ โดยประการดังกล่าวแล้วจำเดิมแต่นี้ไป ​ ภาวนาของเธอนี้ย่อมปรากฏด้วยอำนาจฐปนา ​ สมดังคำที่พระโบราณาจารย์กล่าวว่า – 
- 
-พระโยคาวจรผู้ทรงปัญญา ​ ตั้งจิตไว้ในนิมิตยังอาการต่างๆ ​ ในลมหายใจออกลมหายใจเข้าให้แจ่มแจ้ง ​ จึงจะชื่อว่าผูกจิตของตนไว้ได้ 
- 
-จำเดิมแต่นิมิตปรากฏแล้วอย่างนี้ ​ เป็นอันชื่อว่าเธอข่มนิวรณ์ทั้งหลายได้แน่แท้ ​ กิเลสทั้งหลายย่อมสงบนิ่ง ​ สติก็ปรากฏเด่นชัด ​ จิตย่อมตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิเป็นแท้ 
- 
-ลำดับนั้น ​ เธอพึงใส่ใจนิมิตโดยสี ​ อย่าพิจารณาโดยลักษณะ ​ แต่จำต้องเว้น ​ อสัปปายะ 7  อย่างมีอาวาสเป็นต้น ​ แล้วเสพสัปปายะ 7  อย่าง ​ มีอาวาสเป็นต้นเหล่านั้นแหละ ​ รักษาไว้ให้ดี ​ ดังพระขัตติยมเหสีรักษาพระครรภ์ที่เกิดแต่พระเจ้าจักพรรดิ ​ และดังชาวนารักษาท้องข้าวสาลีและข้าวเหนียว ​ ฉะนั้น ​ ครั้นเธอรักษานิมิตนั้นไว้อย่างนี้แล้ว ​ พึงทำให้ถึงความเจริญงอกงามโดยวิธีมนสิการบ่อยๆ ​ แล้วบำเพ็ญอัปปนาโกศล 10  ประการให้พร้อมมูล ​ ประกอบความเพียรให้สม่ำเสมอ ​ เมื่อเธอพยายามอยู่อย่างนี้ ​ จตุตถฌานหรือปัญจกฌานจะเกิดขึ้นในนิมิตนั้นโดยลำดับดังกล่าวแล้วในปฐวีกสิณนั่นแล. 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 70)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​วิธีกำหนดนามรูป'''​ 
- 
-ก็ภิกษุทำฌาน 4  และฌาน 5  ให้บังเกิดแล้วอย่างนี้ ​ ประสงค์จะเจริญกรรมฐาน ​ ด้วยสามารถแห่งสัลลักขณา ​ (คือวิปัสสนา) ​ และวิวัฏฏนา ​ (คือมรรค) ​   และบรรลุความบริสุทธิ์ ​ (คือผล) ​ ในอานาปานสติภาวนานี้ ​ ย่อมทำฌานนั้นแล ​ ให้ถึงภาวะเป็นวสีด้วยอาการ 5  ให้คล่องแคล่วแล้ว ​ กำหนดนามรูปเริ่มตั้งแต่วิปัสสนา, ​ อย่างไร? ​ เพราะพระโยคาวจรนั้นออกจากสมาบัติแล้ว ​ ย่อมเห็นได้ว่า ​ กรัชกายและจิตเป็นแดนเกิดแห่งลมหายใจออกหายใจเข้า ​ เปรียบเหมือนอย่างว่าอาศัยหลอดแห่งสูบของนายช่างทองที่กำลังพ่นอยู่ ​ และความพยายามอันเหมาะสมแก่หลอดสูบนั้นของบุรุษ ​ ลมจึงสัญจรไปได้ ​ ฉันใด ​ ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า ​ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ​ ต้องอาศัยกายและจิตจึงสัญจรไปได้ ​ ลำดับนั้นพระโยคาวจร ​ ย่อมกำหนดลมหายใจออกเข้าและกายว่าเป็นรูป ​ และกำหนดจิตและธรรมอันสัมปยุตกับจิตนั้นว่าเป็นนาม ​ นี้เป็นความสังเขปในการกำหนดนามรูปซึ่งจักมีแจ้งข้างหน้า 
- 
-ครั้นกำหนดนามรูปอย่างนี้แล้ว ​ จึงแสวงหาปัจจัยของนามรูปนั้น ​ และเมื่อแสวงหาก็เห็นนามรูปนั้น ​ ปรารภความเป็นไปแห่งนามรูป ​ ข้ามความสงสัยในกาลทั้ง 3  เสียได้ ​ เป็นผู้ข้ามความสงสัยได้แล้วยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ ​ โดยพิจารณาเป็นกลาปะ ​ ละวิปัสสนูกิเลส 10  ประการมีโอภาสเป็นต้น ​ อันเกิดขึ้นในส่วนเบื้องต้นแห่งอุทยัพยานุปัสสนาญาณ ​ กำหนดปฏิปทาญาณอันพ้นจากอุปกิเลสแล้วว่าเป็นมรรค ​ ละนามรูปที่เกิดขึ้น ​ บรรลุการตามเห็น ​ ความดับแห่งนามรูป ​ แล้วเบื่อหน่ายคลายความกำหนัดหลุดพ้นในสังขารทั้งปวงที่ปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ​ เพราะเห็นแต่นามรูปที่ดับไปหาระหว่างคั่นมิได้ ​  ​บรรลุอริยมรรค 4  ตามลำดับ ​ ดำรงอยู่ในอรหัตผลถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณญาณ 19   ​ประการ ​ เป็นพระทักขิไณยผู้เลิศของโลกพร้อมทั้งเทวโลก 
- 
-ก็ด้วยอันดับคำเพียงเท่านี้ ​ เป็นอันจบการเจริญอานาปานสติสมาธิแห่งพระโยคาวจรนั้น ​ นับตั้งต้นแต่การนับจนมีปัจจเวกขณะเป็นที่สุด ​ ฉะนี้แล 
- 
-นี้เป็นการภาวนาจตุกกะที่ 1  โดยอาการทั้งปวง ​ ส่วนในฝ่ายจตุกกะทั้ง 3  เพราะเหตุที่ชื่อว่านัยแห่งการเจริญกรรมฐานอีกแผนกหนึ่งไม่มี ​ ฉะนั้นพึงทราบความแห่งจตุกกะทั้ง 3  เหล่านั้นนั่นแหละ ​ ตามนัยแห่งการพรรณนาตามลำดับบทนั่นแล 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 71)''</​fs></​sub>​ 
-=== อธิบายจตุกกะที่ 2 === 
- 
-บทว่า ปีติปฏิสํเวที แปลว่า ภิกษุสำเหนียกว่าเราจักทำปีติให้เป็นอันตนรู้แจ้งแล้ว คือทำให้ปรากฏแล้ว หายใจออกหายใจ 
-เข้า ในข้อนั้นมีอธิบายดังนี้ว่า ปีติย่อมเป็นธรรมชาติ อันพระโยคาวจรรู้แจ้งแล้ว โดยอาการ 2 อย่างคือ โดยอารมณ์ 1 โดยการไม่หลงลืม 1 (อสัมโมหะ) ​ 
- 
-ถามว่า ปีติเป็นธรรมชาติอัภิกษุรู้แจ้งแล้วโดยอารมณ์อย่างไร ?  
- 
-แก้ว่า ภิกษุเข้าฌาน 2 ที่มีปีติ ปีติย่อมเป็นธรรมชาติอันภิกษุนั้นรู้แจ้งแล้วโดยอารมณ์ ด้วยการได้เฉพาะซึ่งฌานในขณะแห่งสมาบัติเพราะอารมณ์ 
- 
-ท่านรู้แจ้งแล้ว โดยไม่หลงลืมเป็นอย่างไร ?  
- 
-คือ ครั้นเธอเข้าฌาน 2 ที่มีปีติ ออกแล้วพิจารณาเห็นปีติที่สัมปยุตด้วยฌานโดยความสิ้นไปเสื่อมไป ปีติก็เป็นอันชื่อว่าเธอรู้แจ้งแล้วโดยไม่หลงลืม เพราะรู้ลักษณะในขณะที่เห็นด้วยวิปัสสนาปัญญา สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า เมื่อภิกษุรู้ชัดซึ่งภาวะแห่งจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งความหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นเป็นอันเธอรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้นด้วยญาณนั้น เมื่อภิกษุรู้แจ้งอยู่ซึ่งภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความหายใจออกยาว ฯลฯ ด้วยอำนาจความหายใจเข้าสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจหายใจออกสั้น ด้วยสามารถรู้แจ้งกายทั้งสิ้นหายใจออกหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจทำกายสังขารให้สงบ หายใจออกเข้า สติย่อมตั้งมั่น ปีติเป็นธรรมชาติที่เธอรู้ได้ชัด ด้วยสตินั้นด้วยปัญญานั้น เมื่อภิกษุรำพึงถึงอยู่….เห็นอยู่…..ปัจจเวกขณ์อยู่…..อธิษฐานจิตอยู่…..น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาอยู่…..ประคองความเพียรอยู่ ยังสติให้ตั้งมั่นอยู่…..เริ่มตั้งจิตมั่น รู้ชัดอยู่ด้วยปัญญา รู้ยิ่งอยู่ซึ่งสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง….ละสิ่งที่ควรละ ทำให้เกิดสิ่งที่ควรทำให้เกิด ทำให้แจ้งสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง ปีตินั้นก็เป็นสิ่งที่เธอรู้แจ้ง ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-แม้บทที่เหลือบัณฑิตพึงทราบโดยความตามนัยนั้นนั่นแล แต่ในที่นี้มีความแปลกกันดังนี้ คือ พึงทราบภาวะที่ภิกษุรู้แจ้งซึ่งสุขด้วยอำนาจแห่งฌาน 3 พึงทราบภาวะที่ภิกษุรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารด้วยอำนาจแห่งฌานทั้ง 4 บทว่า "​จิตฺตสงฺขาโร"​ ได้แก่ขันธ์ 2 มีเวทนาขันธ์เป็นต้น ก็ในบรรดาบททั้ง 2 นี้ บทว่า "​สุขปฏิสํเวที"​ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาเพื่อแสดงภูมิแห่งวิปัสสนาว่า สุขในบทว่า สุขํ นี้มี 2 อย่าง คือสุขทางกาย 1 สุขทางจิต 1 บทว่า "​ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ"​ ความว่า ระงับคือดับจิตสังขารที่หยาบ ๆ แต่เมื่อว่าโดย 
- 
-(หน้าที่ 72) 
- 
-พิสดารความดับจิตสังขารนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในกายสังขารนั่นแล อนึ่ง ในบทเหล่านั้น บทว่า "​ปีติ"​ ท่านกล่าวถึงเวทนาโดยยกเวทนาขึ้นเป็นประธาน ในบทว่า "​สุข"​ ท่านกล่าวเวทนาโดยสรุปนั่นเอง ในบทว่า "​จิตฺตสงฺขาร"​ ทั้ง 2 บท พึงทราบว่าท่านกล่าวเวทนาที่สัมปยุตด้วยสัญญา เพราะพระบาลีว่า สัญญาและเวทนาเป็นเจตสิก ธรรมเหล่านั้นนับเนื่องกับจิต จัดเป็นจิตสังขาร ดังนี้แล 
- 
-บัณฑิตพึงทราบว่า จตุกกะนี้ทรงตรัสโดยนัยแห่งเวทนานุปัสสนา ด้วยประการฉะนี้ 
-=== อธิบายจตุกกะที่ 3 === 
- 
-แม้ในจตุกกะที่ 3  พึงทราบภาวะที่ภิกษุกำหนดรู้จิต ​ ด้วยอำนาจฌาน 4  บทว่า ​ "​อภิปฺปโมทยํ ​ จิตฺตํ" ​ ความว่า ​ ภิกษุสำเหนียกว่า ​ เราจักยังจิตให้บันเทิง ​ ให้ปลื้ม ให้ร่าเริงให้เบิกบาน ​ หายใจออก ​ หายใจเข้า 
- 
-ในบทเหล่านั้น ​ การบันเทิงยิ่ง ย่อมมีด้วยอาการ 2  อย่าง ​ คือด้วยอำนาจสมาธิ 1  ด้วยวิปัสสนา 1  ถามว่า ​ บันเทิงด้วยสมาธิอย่างไร? ​ แก้ว่า ​ ภิกษุเข้าฌาน 2  มีปีติ ​ เธอยังจิตให้บันเทิงให้ปลื้มด้วยปีติอันสัมปยุตด้วยธรรมในขณะเข้าฌาน ​ บันเทิงด้วยวิปัสสนาอย่างไร? ​ คือภิกษุครั้นเข้าฌาน 2  อันมีปีติ ​ ออกแล้วพิจารณาปีติ ​ อันสัมปยุตด้วยฌาน ​ โดยความสิ้นไปเสื่อมไป ​ เธอทำปีติอันสัมปยุตด้วยฌานให้อารมณ์ ​ ยังจิตให้บันเทิงให้ปลื้มอยู่ ​ ในขณะแห่งวิปัสสนาอย่างนี้ 
- 
-ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ท่านเรียกว่า ​ สำเหนียกว่าเราจักยังจิตให้บันเทิงยิ่ง ​ หายใจออก ​ หายใจเข้า  ​ 
- 
-บทว่า ​ "​สมาหิตํ ​ จิตฺตํ" ​ ความว่า ​ ดำรงจิตให้เสมอ ​ คือตั้งจิตให้เสมอในอารมณ์ ​ ด้วยอำนาจปฐมฌานเป็นต้น ​ ก็หรือว่า ​ เมื่อเข้าฌานเหล่านั้นออกแล้ว ​ พิจารณาจิตอันสัมปยุตด้วยฌาน ​ โดยความสิ้นไปและความเสื่อมไปอยู่ ​ "​ขณิกจิตเตกัคคตา" ​ ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ​ ตั้งอยู่ชั่วขณะ ​ ย่อมเกิดขึ้นเพราะรู้แจ้งลักษณะไตรลักษณ์ในขณะวิปัสสนา ​ ภิกษุดำรงจิตเสมอ ​ คือตั้งจิตให้เสมอในอารมณ์แม้ด้วยอำนาจขณิกจิตเตกัคคตาอันเกิดขึ้นอย่างนั้น ​ ท่านเรียกว่าสำเหนียกอยู่ว่าเราจักตั้งจิตมั่นหายใจออกหายใจเข้า 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 73)''</​fs></​sub>​ 
- 
-บทว่า ​ "​วิโมทยํ ​ จิตฺตํ" ​ ความว่าภิกษุปลดเปลื้องจิตจากนิวรณ์ทั้งหลายด้วยปฐมฌาน ​ ปลดเปลื้องจิตจากวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน ​ ปลดเปลื้องจิตจากปีติด้วยตติยฌาน ​ ปลดเปลื้องจิตจากสุขทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ​ ก็หรือว่า ​ ภิกษุเข้าฌานเหล่านั้นออกแล้วพิจารณาจิตที่สัมปยุตด้วยฌานโดยความสิ้นไปและเสื่อมไปในขณะแห่งวิปัสสนา ​ เธอปลดเปลื้องจิตจากนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา ​ ปลดเปลื้องจิตจากสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา ​ จากอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา ​ จากนันทิด้วยนิพพิทานุปัสสนา ​ จากราคะด้วยวิราคานุปัสสนา ​ จากสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ​ จากอาทานด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ​ หายใจออก ​ หายใจเข้า ​ เพราะเหตุนั้น ​ จึงเรียกว่า ​ สำเหนียกว่าเราจักเปลื้องจิตหายใจออกหายใจเข้า 
- 
-พึงทราบว่า ​ จตุกกะนี้ทรงตรัสโดยเป็นจิตตานุปัสสนา ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-=== อธิบายจตุกกะที่ 4 === 
- 
-'''​อธิบาย ​ อนิจฺจานุปสฺสี'''​ 
- 
-ส่วนในจตุกกะที่ 4  ในบทว่า ​ "​อนิจฺจานุปสฺสี" ​ นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ​ อันดับแรกพึงทราบอนิจจะ, ​ พึงทราบอนิจจตา, ​ พึงทราบอนิจจานุปัสสนา, ​ พึงทราบอนิจจานุปัสสี ​ ในบทเหล่านั้น ​ บทว่า ​ "​อนิจฺจํ" ​ ได้แก่ขันธ์ 5  เพราะเหตุไร? ​ เพราะขันธ์ 5  เหล่านั้น ​ มีความมีความเกิดขึ้น ​ ดับไป ​ และกลายเป็นอย่างอื่นเป็นสภาวะ ​ บทว่า "​อนิจฺจตา" ​ ได้แก่ภาวะที่ขันธ์ 5  เหล่านั้นนั่นแหละ ​ มีความเกิดขึ้นแล้วดับไปและกลายเป็นอย่างอื่น ​ หรือมีแล้วกลับไม่มี ​ อธิบายว่า ​ ขันธ์ 5  เหล่านั้นบังเกิดแล้วไม่ตั้งอยู่โดยอาการนั้นนั่นแหละ ​ แล้วแตกไปโดยความดับไปชั่วขณะ ​ บทว่า ​ "​อนิจฺจานุปสฺสนา" ​ ได้แก่ความเห็นว่าไม่เที่ยงในขันธ์ 5  มีรูปเป็นต้น ​ ด้วยสามารถแห่งสภาวะไม่เที่ยงนั้น ​ บทว่า ​ "​อนิจฺจานุปสฺสี" ​ ได้แก่ผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนานั้น ​ เพราะฉะนั้น ​ ภิกษุผู้เป็นอย่างนั้นหายใจออกหายใจเข้า ​ พึงทราบว่า ​ ชื่อว่าย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้ตามเห็นในรูปนามนี้ว่าไม่เที่ยงหายใจออกหายใจเข้า 
- 
-พึงทราบจตุกกะที่ 4  นี้ด้วยสามารถแห่งจิตตานุปัสสนา 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 74)''</​fs></​sub>​ 
- 
-'''​อธิบาย ​ วิราคานุปสฺสี ​ นิโรธานุปสฺสี'''​ 
- 
-ก็ ​ วิราคะ ​ ในบทว่า ​ วิราคานุปสฺสี ​ นี้มี 2  อย่างคือ ​ ขยวิราคะ 1  อัจจันตวิราคะ 1  ในวิราคะ 2  อย่างนั้น ​ คำว่า ​ ขยวิราคะ ​ ได้แก่ความดับไปทุกขณะแห่งสังขารทั้งหลาย ​ คำว่า ​ อัจจันตวิราคะ ​ ได้แก่พระนิพพาน ​ คำว่า ​ วิราคานุปสฺสนา ​ ได้แก่วิปัสสนาและมรรค ​ อันเป็นไปด้วยอำนาจวิปัสสนา 2  นั้น ​ ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนา 2  อย่างนั้น ​ หายใจออกหายใจเข้า ​ พึงทราบว่า ​ สำเหนียกว่าเราจักตามเห็นวิราคะหายใจออกหายใจเข้า ​ แม้ในบทว่า ​ นิโรธานุปสฺสี ​ ก็นัยนี้เหมือนกัน 
- 
-'''​อธิบาย ​ ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี'''​ 
- 
-คำว่า ​ ปฏินิสฺสคฺคา ​ แม้ในบทว่า ​ ปฏินิสฺสคฺคานุปสสี ​ นี้มี 2  อย่างคือ ปริจฺจาคปฏินิสฺสคฺค 1  ปกฺขนฺทนปฏินิสฺสคฺค 1  อนุปัสสนาคือปฏินิสสัคคะ ​ ชื่อว่า ​ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ​ คำนี้เป็นชื่อของวิปัสสนาและมรรค ​ จริงอยู่ ​ วิปัสสนาย่อมสลัดเสียซึ่งกิเลสทั้งหลายพร้อมด้วย ​ ขันธาภิสังขารด้วยอำนาจตทังคปหาน ​ และแล่นไปในพระนิพพานอันผิดตรงกันข้ามกับกิเลสนั้น ​ โดยภาวะเป็นที่น้อมไปในพระนิพพานนั้นโดยเห็นโทษในสังขตธรรม ​ เพราะเหตุนั้น ​ ท่านจึงเรียกว่า ​ ปริจฺจาคปฏินิสฺสคฺค 1  ปกฺขนฺทนปฏินิสฺสคฺค 1  ส่วนมรรคย่อมสละซึ่ง ​ กิเลสทั้งหลายพร้อมด้วยขันธาภิสังขารด้วยอำนาจสมุจเฉทปหาน ​ และแล่นไปในพระนิพพาน ​ โดยทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ ​ เพราะเหตุนั้น ​ ท่านจึงเรียกว่า ​ ปริจฺจาคปฏินิสฺสคฺค 1  ปกฺขนฺทนปฏินิสฺสคฺค 1  ดังนี้ ​ ก็วิปัสสนาญาณและมรรคญาณทั้ง 2  ท่านเรียกว่า ​ อนุปัสสนา ​ เพราะตามเห็นญาณก่อน ๆ  ภิกษุผู้ประกอบด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนาทั้ง 2  อย่างนั้น ​ หายใจออกและหายใจเข้าอยู่ ​ พึงทราบว่า ​ ชื่อว่าสำเหนียกเราจักเป็นผู้ตามเห็นการสละคือหายใจออกหายใจเข้า 
- 
-จตุกกะที่ 4 นี้ ทรงตรัสโดยวิปัสสนาล้วน ​ ส่วน 3  จตุกกะข้างต้น ​ ตรัสโดยเป็นสมถะและวิปัสสนา 
- 
-บัณฑิตพึงทราบการเจริญอานาปานสติมีวัตถุ 16  โดยจตุกกะ ​ อย่างละ 4  หมวด ​ ด้วยประการฉะนี้ ​ และอานาปานสตินี้ ​ โดยว่าตามวัตถุ 16  อย่าง ​ ย่อมมีผลมาก ​ มีอานิสงส์มาก ​ ด้วยประการฉะนี้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 75)''</​fs></​sub>​ 
- 
-== อานิสงส์อานาปานสติ == 
- 
-ในอานิสงส์แห่งอานาปานสตินั้น ​ พึงทราบอานาปานสตินั้นว่ามีอานิสงส์มากแม้ด้วยสามารถเป็นภาวะสงบเป็นต้น ​ โดยพระพุทธพจน์ว่า ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ แม้อานาปานสติสมาธินี้แล ​ อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ​ ย่อมเป็นธรรมสงบและประณีต ​ ดังนี้เป็นต้นบ้าง ​ โดยความเป็นธรรมสามารถในอันตัดขาดซึ่งวิตกบ้าง ​ จริงอยู่ ​ อานาปานสติสมาธินี้ ​ เพราะเป็นธรรมสงบประณีตเยือกเย็นและอยู่เป็นสุข ​ จึงตัดความวิ่งพล่านไปข้างโน้นข้างนี้แห่งจิตด้วยอำนาจวิตกทั้งหลายอันเป็นตัวทำอันตรายแก่สมาธิเสียได้ ​ แล้วทำจิตให้มุ่งหน้าต่ออารมณ์คือลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเท่านั้น ​ เพราะฉะนั้น ​ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าอานาปานสติภิกษุพึงบำเพ็ญเพื่อตัดเสียซึ่งวิตก ​ ดังนี้ 
- 
-อนึ่ง ​ ภาวะที่อานาปานสตินั้นมีอานิสงส์มาก ​ บัณฑิตพึงทราบแม้โดยความเป็นมูลแห่งการทำวิชาและวิมุติให้บริบูรณ์ ​ สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ว่า ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ อานาปานสติอันภิกษุอบรมแล้วทำให้มากแล้ว ​ ย่อมยังสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ ​ สติปัฏฐาน 4  อันภิกษุเจริญแล้วทำให้มากแล้วย่อมยังโพชฌงค์ 7  ให้บริบูรณ์ ​ โพชฌงค์ 7  อันภิกษุเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ​ ย่อมยังวิชชาวิมุตให้บริบูรณ์ ​ ดังนี้ 
- 
-อีกอย่างหนึ่ง ​ ภาวะที่อานาปานสตินั้นมีอานิสงส์มาก ​ พึงทราบแม้โดยการกระทำ ​ ความรู้ลมหายใจออกลมหายใจเข้าครั้งสุดท้ายให้ปรากฏชัด ​ สมจริงดังพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ว่า ​ ดูก่อนราหุล ​ เมื่ออานาปานสติอันภิกษุทำให้เจริญแล้วอย่างนี้ ​ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ​ แม้ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าอันเป็นครั้งสุดท้าย ​ อันภิกษุทราบก่อนแล้วจึงดับไป ​ ยังไม่ทราบชัดหาดับไปไม่ ​ ดังนี้ ​ ในลมเหล่านั้นเมื่อว่าโดยการดับ ​ ลมหายใจออกเข้าที่เป็นครั้งสุดท้าย ​ มีอยู่ 3  คือ ​ ที่มีในที่สุดด้วยอำนาจภพ 1  ที่มีในที่สุดด้วยอำนาจฌาน 1  ที่มีในที่สุดด้วยอำนาจจุติ 1  ก็ในบรรดาภพทั้งหลาย ​ ลมหายใจออกลมหายใจเข้า ​ ย่อมเป็นไปในกามภพ ​ หาเป็นไปในรูปภพและอรูปภพไม่ ​ เพราะฉะนั้น ​ ลมเหล่านั้นจึงชื่อว่ามีในครั้งสุดท้ายแห่งภพ ​ ในบรรดาฌาน ​ ลมหายใจออกลมหายใจเข้าย่อมเป็นไปในฌาน 3  ข้างต้น ​ หาเป็นไปในฌานที่ 4  ไม่ ​ เพราะฉะนั้น ​ ลมเหล่านั้นจึงชื่อว่ามีในครั้งสุดท้ายด้วยอำนาจฌาน ​ ส่วนลมหายใจออกลมหายใจเข้าเหล่าใดเกิดขึ้นพร้อมกับจิตขณะที่ 16  ข้างหน้าแต่จุติจิต ​ แล้วดับพร้อม 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 76)''</​fs></​sub>​ 
- 
-กับจุติจิต ​ ลมเหล่านี้ชื่อว่ามีในครั้งสุดท้ายโดยจุติจิต ​ ลมซึ่งมีในครั้งสุดท้ายโดยจุติจิตนี้ ​ พระผู้มีพระภาคทรงพระประสงค์เอาว่า ​ เป็นครั้งสุดท้ายในพระสูตรนี้ 
- 
-เล่ากันมาว่า ​ เพราะภาวะที่ภิกษุหมั่นประกอบกรรมฐานนี้ ​ กำหนดอารมณ์แห่งลมหายใจออกเข้าด้วยดี ​ แม้ความเกิดขึ้นแห่งลมเหล่านั้นก็ปรากฏแก่เธอผู้รำพึงถึงความเกิดขึ้น ​ ในอุปปาทขณะแห่งจิตดวงที่ 16  เบื้องหน้าแต่จุติจิต ​ เมื่อเธอรำพึงถึงฐิติขณะแห่งจิต ​ แม้ฐิติขณะแห่งลมเหล่านั้นก็ปรากฏ ​ เมื่อรำพึงถึงความดับ ​ แม้ภวังคขณะแห่งลมเหล่านั้นก็ย่อมปรากฏ 
- 
-จริงอยู่ ​ เมื่อภิกษุเจริญกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งจากกรรมฐานนี้แล้ว ​ ไม่บรรลุพระอรหัต ​ ย่อมกำหนดระยะกาลแห่งอายุได้บ้างไม่ได้บ้าง ​ แต่เมื่อเจริญอานาปานสติมีวัตถุ 16  นี้แล้วได้บรรลุพระอรหัต ​ ย่อมกำหนดระยะกาลได้แท้ 
- 
-ภิกษุผู้เจริญอานาปานสติได้บรรลุพระอรหัตนั้นรู้ว่าบัดนี้อายุสังขารของเราจักเป็นไปได้เพียงเท่านี้ ​ ไม่เลยกว่านี้ไป ​ ดังนี้แล้วทำกิจทั้งปวงมีการชำระร่างกายและการนุ่งห่มเป็นต้น ​ ตามธรรมดานั่นแหละแล้วหลับตา ​ ดังพระติสสเถระวัดโกติบรรพตวิหาร ​ ดังพระมหาติสสเถระวัดมหากรัญชนิยวิหาร ​ ดังพระบิณฑปาติกติสสเถระในเทวปุตรัฐ ​ และดังพระเถระสองพี่น้อง ​ วัดจิตดลบรรพตวิหาร ​ ฉะนั้น ​ คำแสดงเรื่อง ๆ  หนึ่งในบรรดาเรื่องแห่งพระเถระเหล่านั้น ​ ดังนี้ 
- 
-เล่ากันมาว่า ​ บรรดาพระเถระ 2 พี่น้อง ​ พระเถระรูปหนึ่งลงปาติโมกข์ในวันเพ็ญอุโบสถ ​ แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์ไปยังที่อยู่ของตน ​ ยืน ​ ณ  ที่จงกรม ​ แลดูแสงจันทร์ ​ ใครครวญดูอายุสังขารของตน ​ กล่าวกะหมู่ภิกษุสงฆ์ว่า ​ ท่านทั้งหลายเคยเห็นภิกษุผู้ปรินิพพานด้วยอาการอย่างไร? ​ ในภิกษุเหล่านั้น ​ บางพวกกล่าวว่า ​ พวกเราเคยเห็นนั่งที่อาสนะนั่นเองปรินิพพาน ​ บางพวกกล่าวว่า ​ พวกเราเคยเห็นนั่งคู้บัลลังก์ในอากาศ ​ พระเถระจึงกล่าวว่า ​ บัดนี้เราจักแสดงภิกษุผู้กำลังจงกรมนั่นแลปรินิพพานแก่ท่านทั้งหลาย ​ ลำดับนั้นก็ทำรอยขีดไว้ในที่จงกรมแล้วกล่าวว่า ​ เราเดินไปจากที่สุดที่จงกรมนี้สู่ที่จงกรมอีกข้างหนึ่งแล้วกลับมา ​ พอถึงรอยนี้จักปรินิพพาน ​ ดังนี้แล้วลงสู่ที่จงกรมไปถึงส่วนข้างหนึ่งแล้วกลับมา ​ ย่อมปรินิพพาน ​ ในขณะเท้าข้างหนึ่งเหยียบรอยนั่นเอง 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 77)''</​fs></​sub>​ 
- 
-เพราะเหตุนั้น ​ บัณฑิตพึงเป็นผู้ไม่ประมาท ​ ประกอบด้วยอานาปานสติ ​ อันมีอานิสงส์มากมายถึงอย่างนี้ ​ ในกาลทุกเมื่อ ​ เทอญ. 
- 
-'''​นี้เป็นกถามุขอย่างพิสดารในอานาปานสติ'''​ 
- 
-'''​.....................'''​ 
- 
-=อุปสมานุสสติกถา= 
-==คำบริกรรมกรรมฐาน== 
-ส่วนพระโยคาวจรภิกษุผู้ประสงค์จะเจริญอุปสมานุสสติ ​ ซึ่งท่านยกขึ้นแสดงไว้ ​ ในลำดับแห่งอานาปานสติ ​ พึงไปอยู่ในที่ลับหลีกเร้นอยู่ ​ พึงระลึกถึงคุณพระนิพพาน ​ กล่าวคือธรรมที่เข้าไปสงบทุกข์ทั้งปวง ​ โดยนัยพระบาลีอย่างนี้ว่า 
- 
- ​ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ ธรรมทั้งหลายเป็นสังขตะก็ดี ​ เป็นอสังขตะก็ดีมีประมาณเพียงใด ​ วิราคธรรมเรากล่าวว่าเป็นเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น ​ วิราคธรรมนี้คืออะไร ?  ธรรมนี้คือ ​ ธรรมเป็นที่สร่างเมา ​ เป็นที่กำจัดความกระหาย ​ เป็นที่ถอนอาลัย ​ เป็นที่ตัดวัฏฏะ ​ เป็นที่สิ้นตัณหา ​ เป็นที่สำรอกตัณหา ​ เป็นที่ดับตัณหา ​ คือพระนิพพาน 
- 
-==อธิบายคำบริกรรมกรรมฐาน== 
- 
-บรรดาบทเหล่านั้น ​ บทว่า ​ ยาวตา ​ แปลว่า ​ มีประมาณเท่าใด ​ บทว่า ​ ธมฺมา ​ ได้แก่ ​ สภาวธรรมทั้งหลาย ​ บทว่า ​ สงฺขตา ​ วา ​ อสงฺขตา ​ วา ​ ความว่า ​ ธรรมทั้งหลายอันปัจจัยทั้งหลายมารวมประชุมกันแต่งขึ้นก็ดี ​ ไม่ได้แต่งขึ้นก็ดี ​ บทว่า ​ วิราโค ​ เตสํ ​ ธมฺมานํ ​ อคฺคมกฺขายติ ​ ความว่า ​ วิราคธรรมเรากล่าวว่าเลิศ ​ คือ กล่าวว่า ​ ประเสริฐสูงสุดกว่าสังขตธรรมและอสังขตธรรมเหล่านั้น ​ บรรดาบทเหล่านั้น ​ บทว่า ​ วิราโค ​ ความว่าไม่ใช่ประสงค์เอาเพียงความไม่มีราคะเท่านั้น ​ โดยที่แท้ก็ประสงค์เอาธรรมเป็นที่สร่างเมา ฯลฯ ​ เป็นที่ออกจากเครื่องร้อยรัด ​ ฉะนั้น ​ อสังขตธรรมที่ได้นามว่าธรรมเป็นที่สร่างเมาเป็นต้น ​ จึงเรียกว่า ​ วิราคะ 
- 
-จริงอยู่ ​ วิราคธรรมนั้นท่านเรียกว่าธรรมเป็นที่สร่างเมา ​ เพราะความเมาทั้งปวงมีความเมาด้วยอำนาจมานะและความเมาในความเป็นบุรุษเป็นต้น ​ มาถึงวิราคธรรมนั้นแล้ว ​ ย่อมสร่างเมาคือหายเมา ​ และเรียกว่าธรรมเป็นที่กำจัดความกระหาย ​ เพราะความกระหายทั้งปวงมาถึงวิราคธรรมนั้นแล้วย่อมถึงความกำจัดออกคือตกไป ​ อนึ่ง ​ เรียกว่าธรรมเป็นที่ถอนความอาลัย ​ เพราะความอาลัยในกามคุณ 5  มาถึงวิราคธรรมนั้นแล้วย่อมถึงความถอนออกเด็ด 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 78)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ขาด ​ และเรียกว่าธรรมเป็นที่ขาดสูญวัฏฏะ ​ เพราะวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ 3  มาถึงวิราคธรรมนั้นแล้วย่อมขาดสูญ ​ อนึ่ง ​ เรียกว่าธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ​ เป็นที่คลายราคะ ​ เป็นที่ดับสนิท ​ เพราะตัณหามาถึงวิราคธรรมนั้นแล้วย่อมถึงความสิ้นไปคลายไปดับไปโดยประการทั้งปวง ​ อนึ่ง ​ เรียกว่า ​ นิพพาน ​ เพราะวิราคธรรมนั้นออกไปคือสลัดตัดขาดจากตัณหา ​ อันได้โวหารว่า ​ วานะเพราะร้อยรัด, ​ ผูกไว้ ​ เย็บ, ​ เชื่อมซึ่งกำเนิด 4  คติ ​ 5  วิญญาณฐิติ 7  และสัตตาวาส 9  เพื่อภาวะสืบ ๆ ไปแล ​ อุปสมะ ​ กล่าวคือพระนิพพาน ​ อันพระโยคาวจรพึงระลึกถึงโดยอำนาจคุณมีธรรมเป็นที่สร่างเมาเป็นต้นเหล่านั้นดังกล่าวมาฉะนี้ ​ ก็หรือว่าพระโยคาวจรพึงระลึกถึงโดยอำนาจคุณคืออุปสมะแม้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ในพระสูตรทั้งหลายมีอาทิว่า ​ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ​ เราจักแสดงอสังขตธรรมแก่เธอทั้งหลาย ​ เราจักแสดงสัจธรรม ​ ปารธรรม ​ สุทุททสธรรม ​ อัชชรธรรม ​ ยุวธรรม ​ นิปปัญจธรรม ​ อมตธรรม ​  ​สิวธรรม ​ เขทธรรม ​ อัพภูตธรรม ​ อนีติกธรรม ​ วิสุทธิธรรม ​ ทีปธรรม ​ ตาณธรรม ​ เลณธรรม ​ แก่เธอทั้งหลาย ​ ดังนี้เป็นต้นนั่นแล 
- 
-==อานิสงส์อุปสมานุสสติ== 
- 
-เมื่อพระโยคาวจรระลึกถึงความสงบ ​ โดยอำนาจคุณมีภาวะที่ธรรมเป็นที่สร่างเมาเป็นต้นอย่างนี้อยู่ ​ ในสมัยนั้นจิตของเธอไม่ถูกราคะกลุ้มรุม......ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม.....ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุมเลย ​ ในสมัยนั้นจิตของเธอเป็นธรรมชาติดำเนินไปตรง ​ ปรารภความสงบตรงดิ่ง ​ เมื่อเธอข่มนิวรณ์ได้แล้ว ​ โดยนัยที่กล่าวแล้วในอนุสสติมีพุทธานุสสติเป็นต้นนั้นแหละ ​ องค์ฌานทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน ​ แต่เพราะภาวะที่คุณแห่งความสงบทั้งหลายเป็นคุณลึกซึ้ง ​ หรือเพราะภาวะที่จิตน้อมไปในการระลึกถึงคุณมีประการต่าง ๆ  ฌานนี้จึงเป็นฌานไม่ถึงขั้นอัปปนา ​ ถึงเพียงอุปจาระเท่านั้น ​ ฌานนี้นั้นถึงการนับว่า ​ อุปสมานุสสติ เพราะเกิดขึ้นด้วยอำนาจความระลึกถึงคุณแห่งความสงบ และแม้อุปสมานุสสตินี้ย่อมสำเร็จแก่พระอริยสาวกเท่านั้น ​ เช่นดังอนุสสติ 6  เมื่อเป็นเช่นนั้น ​ แม้ในปุถุชนผู้หนักในความสงบก็พึงใส่ใจถึง เพราะแม้ด้วยอำนาจการฟัง ​ จิตก็เลื่อมใสในความสงบได้ 
- 
-<​sub><​fs smaller>''​(หน้าที่ 79)''</​fs></​sub>​ 
- 
-ก็แหละ ​ ภิกษุผู้หมั่นประกอบอุปสมานุสสตินี้ ​ ย่อมหลับเป็นสุข ​ ตื่นเป็นสุข ​ เป็นผู้มีอินทรีย์สงบ ​ มีใจสงบ ​ ประกอบด้วยหิริและโอปตัปปะน่าเลื่อมใส ​ มีอัชฌาสัยประณีต ​ เป็นผู้ควรเคารพและเป็นที่ยกย่องของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ​ อนึ่ง ​ เมื่อยังไม่บรรลุคุณสูงๆ ​ ขึ้นไป ​ ย่อมเป็นผู้มสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า 
- 
-เพราะเหตุฉะนั้นแล ​ บัณฑิตผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ ​ ไม่พึงประมาท พึงเจริญสติในความสงบอันประเสริฐ ​ อันมีอานิสงส์เป็นอเนกประการ ​ โดยนัย ​ ดังพรรณนามาฉะนี้ ​ เทอญ 
- 
-'''​กถามุขอย่างพิสดารในอุปสมานุสสติ ​ ยุติเท่านี้'''​ 
- 
-'''​อนุสสติกัมมัฏฐานนิทเทส ​ ปริจเฉทที่ 8'''​ 
- 
-'''​ในอธิการแห่งสมาธิภาวนา ​ ในปกรณวิเสสชื่อวิสุทธิมัคค'''​ 
- 
-'''​ซึ่งข้าพเจ้ารจนาไว้'''​ 
- 
-'''​เพื่อพยุงความปราโมทย์แก่สาธุชนทั้งหลาย'''​ 
- 
-'''​ยุติลงด้วยประการฉะนี้'''​ 
- 
-'''​...................'''​ 
- 
-==ดูเพิ่ม== 
-*'''​[http://​www.84000.org/​tipitaka/​pitaka2/​sutta23.php ขุททกนิกาย_ปฏิสัมภิทามรรค]'''​ 
-*'''​[[วิสุทธิมรรค ฉบับปรับสำนวน]] (สารบัญ)'''​