ฟุตโน้ต:19:101

**นี่คือเอกสารรุ่น/ฉบับเก่า**


ชนเหล่าใด ขณะสนทนากันอยู่ ก็พูดจนผิดใจกัน, พูดกันจนฟุ้งซ่าน, พูดกันจนโอ้อวด, พูดกันจนเพ้อเจ้อ, พูดกันจนกระทบกระทั่งคุณธรรม ซึ่งเป็นการพูดที่พระอริยะไม่ทำกัน, พูดหาช่องเพ่งเรื่องผิดพลาดของกันและกัน.

และชนเหล่าใด ชอบใจคำพูดทุพภาษิตใด, ชอบใจคำพูดพลั้งพลาดใด, ชอบใจคำพูดหลงลืมใด, ชอบใจความพ่ายแพ้ของกันและกันใด, พระอริยะไม่พูดคำพูดเหล่านั้นในแบบของชนเหล่านั้นเลย. 1)

แต่ถ้าบัณฑิตรู้จักกาล(กาลเทศะเป็นต้น)อันเหมาะสมแล้ว ประสงค์จะพูด ควรมีความรู้ ไม่โกรธ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่โอ้อวด ไม่ใจเบาหุนหันพลันแล่น ไม่คอยจับผิด พูดแต่เรื่องที่เกี่ยวกับบุคคลผู้ดำรงอยู่ในธรรม เป็นเรื่องที่พระอริยะประพฤติกันมา เพราะรู้ทั่วถึงโดยชอบ เขาไม่พูดริษยา บุคคลควรชื่นชมถ้อยคำที่เป็นสุภาษิต ไม่ควรเลื่อมใสถ้อยคำที่เป็นทุพภาษิต ไม่ควรใส่ใจถึงความแข่งดี และไม่ควรคอยจับผิด ไม่ควรพูดทับถม ไม่ควรพูดย่ำยี ไม่ควรพูดเหลาะแหละ เพื่อความรู้ เพื่อความเลื่อมใส สัตบุรุษทั้งหลายจึงมีการปรึกษากัน พระอริยะทั้งหลายย่อมปรึกษากันเช่นนั้นแล นี้เป็นการปรึกษากันของพระอริยะทั้งหลาย บุคคลผู้มีปัญญารู้เรื่องนี้แล้ว ไม่ควรถือตัว ควรปรึกษากัน


1)
ตัวคำพูดเป็นรูปธรรม อัพยากตธรรม เกิดจากจิตได้ทั้ง 3 ชาติ ฉะนั้น จึงไม่ใช่เครื่องชี้วัดว่าเป็นกถาวัตถุของพระอริยะหรือไม่ใช่. แต่การจะวัดค่าของคำพูดว่า เป็นกถาวัตถุของพระอริยะหรือไม่นั้น ให้ดูที่คุณสมบัติที่จะกล่าวในคาถาถัดไป ซึ่งออกมาจากจิต เป็นจิตตชรูป.