ผมพัฒนาจากสายปริยัติมาสู่สายปฏิบัติได้อย่างไร

**นี่คือเอกสารรุ่น/ฉบับเก่า**


ปรมัตถ์

บทความนี้ต้องทรงจำคล่องปากขึ้นใจในบาลีมาติกา(th.r.45.1.0.1)และนิทเทส(th.i.45) พร้อมทั้งอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคบาลี(th.i.104)ก่อน พร้อมทั้งชำนาญสนธิอนุสนธิของพยัญชนบท 6 อรรถบท 6 ของทั้งหมดนั่น, และต้องเข้าใจสัมมสนญาณกถาในวิสุทธิมรรค, รวมถึงต้องเข้าใจอุทยัพพยญาณกถา ภังคญาณกถา ในวิสุทธิมรรคด้วย โดยเฉพาะนามรูปปัสสนาการสัตตกะและนามรูปนิพพัตติปัสสนาการ พร้อมทั้งชำนาญสนธิอนุสนธิของพยัญชนบท 6 อรรถบท 6 ของแต่ละเรื่อง.

ต่อไปจะเป็นคำอธิบายสนธิอนุสนธิของขุ.ปฏิ.ญาณกถา ในธัมมัฏฐิติญาณอุทเทสแสดงการแยกปัจจัยเพื่อเอาสภาวธรรมเป็นอารมณ์(ที่นี้ ปริคฺคห>กายารมฺมณํ ปริจฺฉิชฺช คเหตฺวา อารมฺมณํ กโรติ) แล้วในนิทเทสอธิบายว่าเป็นการแยกปัจจัยออกเป็นอัทธากาล 3 ซึ่งรวมถึงคำว่า "ปุริมกมฺมภวสฺมิํ อิธ ปฏิสนฺธิยา ปจฺจยา" และ "อิธ ปฏิสนฺธิ วิญฺญาณํ" ซึ่งในอรรถกถาอธิบายสรุปว่า เห็นกรรมและกิเลสของตนที่ีกระทำอยู่ในอดีตชาติ ซึ่งตรงกับการปฏิบัติบุพเพนิวาสานุสสติญาณในปฐมยามของพระโพธิสัตว์ และตรงกับการเรียงไว้ในลำดับแรกของวิปัสสนาญาณวิชชาของวิชชา 8 ใน ที.สี.สุภสูตร.

เพราะในธัมมัฏฐิติญาณมาติกาสอนแยกนามรูปแบบอัทธากาล 3 ดังอธิบายข้างต้นแล้ว มาติกาข้อถัดไปจึงสอนวิธีเอาปัจจุบันอัทธากาล 3 มาแยกจนเป็นสันตติกาล 3 สมยกาล 3 และขณะกาล 3 อรรถกถาสัมมสนญาณมาติกาจึงแสดงว่า "อทฺธาสนฺตติขณปจฺจุปฺปนฺเนสุ สนฺตติปจฺจุปฺปนฺนํ(th.r.104.12.0.43) อิธาธิปฺเปตํฯ" ในคำว่า สนฺตติขณปจฺจุปฺปนฺเนสุ คือ แยกอัทธาเป็นสันตติ แล้วแยกสันตติเป็นขณะ, ส่วนคำว่า สนฺตติปจฺจุปฺปนฺนํ อิธาธิปฺเปตํ คือ ในธัมมัฏฐิติญาณมาติกาแยกอัทธากาล 3 แล้ว ในสัมมสนญาณมาติกาจึงมาเอาปัจจุบันอัทธากาลนั้นมาแยกจนเป็นสันตติกาล เพื่อที่จะตามเห็นนามรูปขณะเกิดดับแบบปรมัตถ์ว่า "เอตฺถ จ ขณาทิกถาว(th.r.104.227.0.7) นิปฺปริยายา เสสา สปริยายาฯ".

ในอรรถกถา ญาณปัญจกะ บทว่า วตฺถุนานตฺเต(th.r.104.12.0.43) อธิบายสนธิอนุสนธิไว้ว่า การววัตถานนามรูป (ตั้งแต่ "อตีตานาคต… ววตฺถาเน"เป็นต้น ของสัมมสนญาณขึ้นไป) ไม่ได้กล่าวอธิบายไว้ในมาติกาญาณ 12 ท่านพระสารีบุตรจึงแสดงญาณญาณปัญจกมาติกาต่อจากมาติกาของญาณ 12 แรก เพื่ออธิบายคำว่าววัตถานนั้น. ซึ่งในจริยานานตฺตญาณนิทฺเทโสของญาณปัญจกนิทเทสนี้เอง แสดงการกำหนดวิถีจิตทีละดวงไว้ตั้งแต่ "อาวชฺชนกิริยาพฺยากตา" เป็นต้นไป. ฉะนั้น เมื่อในสัมมสนญาณอุทเทสจึงดึงเอาคำว่าอัทธาในธัมมัฏฐิติญาณนิทเทสนั้นมาเป็นอุทเทสของตนว่า "อตีตานาคตปจฺจุปนฺนานํธมฺมานํ" เป็นต้น แล้วอรรถกถาสัมมสนญาณนิทเทสจึงแสดงกาล 3 แบ่งจากหยาบไปละเอียดได้ 4 ว่า "อดีตแบบอัทธา-สมยะ-สันตติิ-ขณะ, อนาคตแบบอัทธา-สมยะ-สันตติิ-ขณะ, และปัจจุบันแบบอัทธา-สมยะ-สันตติิ-ขณะ" ในที่นี้เองท่านจึงอธิบายคล้อยตามจริยานานัตตญาณว่า "ในคำว่า รูปอดีตไม่เที่ยงเป็นต้นนี้ มุ่งหมายเอาอดีตขณะเป็นต้นเป็นหลัก ส่วนอดีตอัทธาสมยะสันตตินั้นมุ่งหมายเอาโดยอ้อม (เอตฺถ จ ขณาทิกถาว นิปฺปริยายา เสสา สปริยายาฯ)" หมายความว่า ค่อยๆ แบ่งซอยความไม่เที่ยงจากหยาบระดับปัจจุบันอัทธาไปจนกว่าจะละเอียดเป็นปัจจุบันขณะ แบบที่แสดงไว้ในวิสุทธิมรรค รูปอรูปสัตตกะและนามรูปนิพพัตติปัสสนาการะ และอรรถกถาสัมปชัญญบรรพะ.

การที่อรรถกถาทุกแห่ง แสดงการรู้วิถีจิตที่ละปรมัตถ์ขณะไว้ ก็สอดคล้องกับ ขุ.ปฏิ.ญาณปัญจกนิทเทสนี้ และสอดคล้องกับอภิธัมมปิฎกที่แสดงปรมัตถขณะของนามรูปไว้.

เมื่อท่านพระสารีบุตรสอนววัตถานเป็นการแยกนามรูปจนกว่าไตรลักษณ์จะชัดระดับขณะปรมัตถ์ไปแล้ว ผู้ปฏิบัติก็สามารถจะเห็นอุปาทอนุขณะและภังคอนุขณะของนามรูปได้ เพราะสังขตลักขณสูตรและอภิ.ธ.อ.ติกมาติกา.แสดงไว้สรุปว่า สังขตธรรมเท่านั้นมีอุปาทะและภังคะอนุขณะ, ผู้ฝึกแยกนามรูปจนเห็นปรมัตถ์ขณะอย่างนี้ จึงจะเริ่มฝึกอุทยัพพยญาณได้ เพราะการฝึกอุทยัพพยญาณทุกตำราล้วนแสดงไว้สรุปว่า เป็นการเห็นอุปาทะอนุขณะและภังคอนุขณะของขันธ์ ตั้งแต่ขุ.ปฏิสัมภิทามรรค, ที.ม.มหาสติปัฏฐานสูตร ไปจนถึงอรรถกถาของพระพุทธโฆสเถระ, พระมหานามเถระ, พระอุปเสนเถระ, พระพุทธทัตตะเถระ, พระธัมมปาลเถระ, พระสารีบุตรมหาสามี, พระสุมังคลมหาสามี, พระอุปติสสเถระ เป็นต้น (เว้นฏีกาที่รจนาในเมียนม่าอยู่เล่มหนึ่งที่รจนาไม่เหมือนกับตำราบาลีโบราณและไม่เหมือนกับสำนักอื่นๆในเมียนม่า โดยคัดค้านการเห็นนามรูปปรมัตถขณะในอุทยัพพยญาณว่าไม่ใช่วิสัยของสาวก, และตำราเล่มนี้ภายหลังเป็นที่นิยมนำมาใช้ประกอบการเรียนอภิธรรมในประเทศไทย, ข้าพเจ้าเองก็ไม่เห็นด้วยกับมติเรื่องอุทยัพพยญาณของตำราเล่มนี้ เพราะหลักฐานที่อ้างถึงคือวิสุทธิ. วสี 5 ก็ไม่ได้มีความหมายว่าสาวกไม่สามารถเห็นปรมัตถขณะได้อย่างที่ตำรานั้นอ้างถึง. อีกประการหนึ่ง ถ้าไม่สามารถเห็นปรมัตถขณะได้ ก็เท่ากับทำอริยุปวาทอริยเจ้าว่า "อภิธรรมที่เรียนทั้งหมดเป็นแค่จินตนาการเท่านั้น ไม่ได้เห็นจริง". อีกประการหนึ่ง ส่วนตัวแล้ว ข้าพเจ้ายังไม่เคยพบผู้ที่มีความเห็นอย่างนั้นที่สามารถอธิบายพระไตรปิฎกอรรถกถาและฏีกาบาลีให้สอดคล้องเป็นสภาคฆฏนามีสัมพันธ์บาลีสมบูรณ์จนสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะได้เลย ทั้งที่ความจริงแล้วตำราบาลีที่ผ่านการตรวจสอบด้วยมุขปาฐะของพระอริยเจ้ามา 2600 ปีนี้ หากผู้เรียนถูกวิธีด้วยระบบภาวนาแบบมุขปาฐะจากปุพพาจารย์ปราจารย์ที่มีคุณสมบัติของกัลยาณมิตรระดับนิสสยาจารย์ ก็ไม่น่าเป็นไปได้เลยที่จะกล่าวว่ามีส่วนที่ต้องตัดออกหรือส่วนที่ต้องเพิ่มเติม หรือมีตรงไหนน่าสงสัย อันเป็นเหตุให้มีการปฏิบัติที่แตกต่างกันจนติเตียนรังเกียจอยู่ร่วมกันไม่ได้. อนึ่ง ข้าพเจ้าเองก็เคยคิดว่าขณะปรมัตถ์สาวกรู้ไม่ได้เช่นกัน ซึ่งการคิดเช่นนั้นทำให้ข้าพเจ้าเองไม่สามารถเข้าใจสนธิอนุสนธิของพระบาลีหลายตำราได้เลยในช่วงนั้น งุนงงเป็นอย่างมาก, จนเมื่อเจอพะอ็อคตอยะสยาดอ จึงเปลี่ยนมุมมอง และทำให้เข้าใจสนธิอนุสนธิของตำราบาลีง่ายขึ้นมากๆ. นี้คือ เหตุผลที่ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับมติที่ว่า ขณะปรมัตถ์สาวกรู้ไม่ได้.)

บาลี

อาจารย์

องค์ของผู้โจทก์ องค์ของกัลยาณมิตร องค์ของอุปัชฌาย์ อุคคหปริปุจฺฉาสวนธารณสัมมสนปฏิเวธปัจจเวกขณะ

ลูกศิษย์

ถ้าไม่ทรงจำกาลามสูตรทั้งสูตรด้วยสนธิบาลี

ภาวนา