ผมพัฒนาจากสายปริยัติมาสู่สายปฏิบัติได้อย่างไร

**นี่คือเอกสารรุ่น/ฉบับเก่า**


ปรมัตถ์

บทความนี้ต้องทรงจำคล่องปากขึ้นใจในบาลีมาติกา(th.r.45.1.0.1)และนิทเทส(th.i.45) พร้อมทั้งอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคบาลี(th.i.104)ก่อน พร้อมทั้งชำนาญสนธิอนุสนธิของพยัญชนบท 6 อรรถบท 6 ของทั้งหมดนั่น, และต้องเข้าใจสัมมสนญาณกถาในวิสุทธิมรรค, รวมถึงต้องเข้าใจอุทยัพพยญาณกถา ภังคญาณกถา ในวิสุทธิมรรคด้วย โดยเฉพาะนามรูปปัสสนาการสัตตกะและนามรูปนิพพัตติปัสสนาการ พร้อมทั้งชำนาญสนธิอนุสนธิของพยัญชนบท 6 อรรถบท 6 ของแต่ละเรื่อง.

ต่อไปจะเป็นคำอธิบายสนธิอนุสนธิของขุ.ปฏิ.ญาณกถา ในธัมมัฏฐิติญาณอุทเทสแสดงการแยกปัจจัยเพื่อเอาสภาวธรรมเป็นอารมณ์(ที่นี้ ปริคฺคห>กายารมฺมณํ ปริจฺฉิชฺช คเหตฺวา อารมฺมณํ กโรติ) แล้วในนิทเทสอธิบายว่าเป็นการแยกปัจจัยออกเป็นอัทธากาล 3 ซึ่งรวมถึงคำว่า "ปุริมกมฺมภวสฺมิํ อิธ ปฏิสนฺธิยา ปจฺจยา" และ "อิธ ปฏิสนฺธิ วิญฺญาณํ" ซึ่งในอรรถกถาอธิบายสรุปว่า เห็นกรรมและกิเลสของตนที่ีกระทำอยู่ในอดีตชาติ ซึ่งตรงกับการปฏิบัติบุพเพนิวาสานุสสติญาณในปฐมยามของพระโพธิสัตว์ และตรงกับลำดับแรกของวิปัสสนาญาณวิชชาของวิชชา 8 ใน ที.สี.สุภสูตร.

เพราะในธัมมัฏฐิติญาณมาติกาสอนแยกนามรูปแบบอัทธากาล 3 ดังอธิบายข้างต้นแล้ว มาติกาข้อถัดไปจึงสอนวิธีเอาปัจจุบันอัทธากาล 3 มาแยกจนเป็นสันตติกาล 3 สมยกาล 3 และขณะกาล 3 อรรถกถาสัมมสนญาณมาติกาจึงแสดงว่า "อทฺธาสนฺตติขณปจฺจุปฺปนฺเนสุ สนฺตติปจฺจุปฺปนฺนํ(th.r.104.12.0.43) อิธาธิปฺเปตํฯ" ในคำว่า สนฺตติขณปจฺจุปฺปนฺเนสุ คือ แยกอัทธาเป็นสันตติ แล้วแยกสันตติเป็นขณะ, ส่วนคำว่า สนฺตติปจฺจุปฺปนฺนํ อิธาธิปฺเปตํ คือ ในธัมมัฏฐิติญาณมาติกาแยกอัทธากาล 3 แล้ว ในสัมมสนญาณมาติกาจึงมาเอาปัจจุบันอัทธากาลนั้นมาแยกจนเป็นสันตติกาล เพื่อที่จะตามเห็นนามรูปขณะเกิดดับแบบปรมัตถ์ว่า "เอตฺถ จ ขณาทิกถาว(th.r.104.227.0.7) นิปฺปริยายา เสสา สปริยายาฯ".

ในอรรถกถา ญาณปัญจกะ บทว่า วตฺถุนานตฺเต(th.r.104.12.0.43) อธิบายสนธิอนุสนธิไว้ว่า การววัตถานนามรูป (ตั้งแต่ "อตีตานาคต… ววตฺถาเน"เป็นต้น ของสัมมสนญาณขึ้นไป) ไม่ได้กล่าวอธิบายไว้ในมาติกาญาณ 12 ท่านพระสารีบุตรจึงแสดงญาณญาณปัญจกมาติกาต่อจากมาติกาของญาณ 12 แรก เพื่ออธิบายคำว่าววัตถานนั้น. ซึ่งในจริยานานตฺตญาณนิทฺเทโสของญาณปัญจกะนี้เอง แสดงการกำหนดวิถีจิตทีละดวงไว้ตั้งแต่ "อาวชฺชนกิริยาพฺยากตา" เป็นต้นไป. ฉะนั้น เมื่อในสัมมสนญาณอุทเทสจึงดึงเอาคำว่าอัทธาในธัมมัฏฐิติญาณนิทเทสนั้นมาเป็นอุทเทสของตนว่า "อตีตานาคตปจฺจุปนฺนานํธมฺมานํ" เป็นต้น แล้วอรรถกถาสัมมสนญาณนิทเทสจึงแสดงกาล 3 แบ่งจากหยาบไปละเอียดได้ 4 ว่า "อดีตแบบอัทธา-สมยะ-สันตติิ-ขณะ, อนาคตแบบอัทธา-สมยะ-สันตติิ-ขณะ, และปัจจุบันแบบอัทธา-สมยะ-สันตติิ-ขณะ" ในที่นี้เองท่านจึงอธิบายคล้อยตามจริยานานัตตญาณว่า "ในคำว่า รูปอดีตไม่เที่ยงเป็นต้นนี้ มุ่งหมายเอาอดีตขณะเป็นต้นเป็นหลัก ส่วนอดีตอัทธาสมยะสันตตินั้นมุ่งหมายเอาโดยอ้อม (เอตฺถ จ ขณาทิกถาว นิปฺปริยายา เสสา สปริยายาฯ)" หมายความว่า ค่อยๆ แบ่งซอยความไม่เที่ยงจากหยาบระดับปัจจุบันอัทธาไปจนกว่าจะละเอียดเป็นปัจจุบันขณะ แบบที่แสดงไว้ในวิสุทธิมรรค รูปอรูปสัตตกะและนามรูปนิพพัตติปัสสนาการะ และอรรถกถาสัมปชัญญบรรพะ.

บาลี

อาจารย์

องค์ของผู้โจทก์ องค์ของกัลยาณมิตร องค์ของอุปัชฌาย์ อุคคหปริปุจฺฉาสวนธารณสัมมสนปฏิเวธปัจจเวกขณะ

ลูกศิษย์

ถ้าไม่ทรงจำกาลามสูตรทั้งสูตรด้วยสนธิบาลี

ภาวนา