ขุททกปาฐะ_ฉบับปรับสำนวน

ความแตกต่าง

นี่เป็นการแสดงความแตกต่างระหว่างเพจสองรุ่น

Link to this comparison view

ขุททกปาฐะ_ฉบับปรับสำนวน [2020/06/27 22:23]
127.0.0.1 แก้ไขภายนอก
ขุททกปาฐะ_ฉบับปรับสำนวน [2021/01/02 20:14]
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
-{{wst>​วสธมฉปส head| }} 
-{{wst>​วสธมฉปส sidebar}} 
- 
-'''​พระสุตตันตปิฎก 
- 
-ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ 
- 
-_____________ 
- 
-ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น'''​ 
- 
-=สรณคมน์= 
-''​การถือเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งพิง(1)''​ 
- 
-*ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ,​ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ,​ ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ 
-*แม้ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ,​ แม้ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ,​ แม้ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ 
-*แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ,​ แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ,​ แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ ​ 
- 
-''​สรณคมน์ จบ''​ 
- 
-เชิงอรรถ : 
-1 สรณะ หมายถึงสิ่งที่ทำลาย ขจัดปัดเป่า บรรเทาทุกข์ ภัย และกิเลส การยึดถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ 
-ก็เพื่อเป็นเครื่องช่วย ทำลาย ขจัดปัดเป่าทุกข์ ภัยและกิเลสต่าง ๆ ในจิตใจให้หมดสิ้น (ขุ.ขุ.อ. 1/6-7) 
- 
-อนึ่ง การเปล่งวาจาถึงพระรัตนตรัย ถือเป็นการบรรพชาและอุปสมบทในสมัยต้นพุทธกาล เรียกว่า 
-ติสรณคมนูปสัมปทา (การอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์) (วิ.อ. 3/34/23) 
- 
-=ทสสิกขาบท= 
-''​พื้นฐานฝึกตนหลังถึงสรณคมน์''​ 
- 
-# ข้าพเจ้า,​ตั้งเจตนายึดถือ "​การงดเว้น,​จากเจตนาฆ่าสัตว์"​ เอาไว้ เป็นพื้นฐาน,​ฝึกตน. [ข้าพเจ้า,​ตั้งเจตนายึดถือ (สมาทิยามิ) "​การงดเว้น(เวรมณิ),​จากเจตนาฆ่าสัตว์ (ปาณาติปาตา)"​ เอาไว้ เป็นพื้นฐาน (ปทํ),​ฝึกตน(สิกฺขา)] 
-# ข้าพเจ้าตั้งเจตนายึดถือ "​การงดเว้นจากเจตนาลักทรัพย์"​ เอาไว้เป็นพื้นฐานฝึกตน. 
-# ข้าพเจ้าตั้งเจตนายึดถือ "​การงดเว้นจากเจตนาล่วงพรหมจรรย์"​ เอาไว้เป็นพื้นฐานฝึกตน. 
-# ข้าพเจ้าตั้งเจตนายึดถือ "​การงดเว้นจากเจตนาพูดปด"​ เอาไว้เป็นพื้นฐานฝึกตน. 
-# ข้าพเจ้าตั้งเจตนายึดถือ "​การงดเว้นจากเจตนาดื่มสุราเมรัย"​ เอาไว้เป็นพื้นฐานฝึกตน. 
-# ข้าพเจ้าตั้งเจตนายึดถือ "​การงดเว้นจากเจตนากินอาหารหลังเที่ยงวัน"​ เอาไว้เป็นพื้นฐานฝึกตน. 
-# ข้าพเจ้าตั้งเจตนายึดถือ "​การงดเว้นจากเจตนาดูฟังการเต้น การขับร้อง การเล่นดนตรี อันเป็นศัตรูของพรหมจรรย์"​ เอาไว้เป็นพื้นฐานฝึกตน (พรหมจรรย์ คือ การปฏิบัติแบบพรหม). 
-# ข้าพเจ้าตั้งเจตนายึดถือ "​การงดเว้นจากเจตนาสวมเครื่องประดับ,​ พรมน้ำหอม,​ ทาบำรุงผิว"​ เอาไว้เป็นพื้นฐานฝึกตน. 
-# ข้าพเจ้าตั้งเจตนายึดถือ "​การงดเว้นจากเจตนานั่งนอนเตียงตั่งสูงใหญ่"​ เอาไว้เป็นพื้นฐานฝึกตน. 
-# ข้าพเจ้าตั้งเจตนายึดถือ "​การงดเว้นจากเจตนาเปิดรับเงินทอง"​ เอาไว้เป็นพื้นฐานฝึกตน. 
- 
-''​ทสสิกขาบท จบ''​ 
- 
-เชิงอรรถ : 
- 
-1 สิกขาบท แยกศัพท์อธิบายดังนี้ สิกขา + บท คำว่า สิกขา หมายถึงสิ่งที่จะต้องศึกษา ได้แก่ ศีล สมาธิ 
-และปัญญา คำว่า บท หมายถึงอุบายเครื่องบรรลุ (ปชฺชเต อเนนาติ ปทํ) หมายถึงพื้นฐาน(มูละ) หมายถึง 
-ที่อาศัย(นิสสยะ) และหมายถึงที่ตั้ง(ปติฏฐะ) ดุจในคำว่า “สีลํ นิสฺสาย สีเล ปติฏฺฐาย สตฺต โพชฺฌงฺเค 
-ภาเวนฺโต พหุลีกโรนฺโต” เป็นต้น (สํ.ม. 19/182/58) ดังนั้น สิกขาบท จึงหมายถึงอุบายเครื่องบรรลุสิ่งที่ 
-จะต้องศึกษา และหมายถึงพื้นฐาน ที่อาศัย หรือที่ตั้งแห่งสิ่งที่จะต้องศึกษา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา 
-คำว่า “สิกขาบท” มีความหมายเท่ากับคำว่า “เวรมณี” ดังบทวิเคราะห์ว่า “เวรมณี เอว สิกฺขาปทํ” 
-จึงมีพระบาลีว่า “เวรมณีสิกฺขาปทํ” แปลว่า สิกขาบทคือเจตนางดเว้น คำว่า “เจตนางดเว้น” หมายถึงการงด 
-(วิรัติ) การไม่ทำ(อกิริยา) การไม่ต้องอาบัติ(อนัชฌาบัติ) การไม่ล่วงละเมิดขอบเขต(เวลาอนติกกมะ) 
-รวมถึงการกำจัดกิเลสด้วยอริยมรรคที่เรียกว่า เสตุ (เสตุฆาตะ) (ดู อภิ.วิ. (แปล) 35/704/447) 
-ในที่นี้หมายถึงศีล 10 สำหรับสามเณร เป็นต้น (ขุ.ขุ.อ. 2/15-17) และดูเทียบ วิ.ม. (แปล) 4/105-106/ 
-168-169 
- 
-2 พฤติกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์ หมายถึงเจตนาที่จะเสพเมถุนธรรม(พฤติกรรมของคนคู่กัน) หรือเจตนาที่ 
-แสดงออกทางกายโดยมุ่งหมายจะเสพเมถุนธรรม (ขุ.ขุ.อ. 2/17) 
- 
-3 อรรถกถาอธิบายว่า สุราและเมรัยเป็นของมึนเมา และมีสิ่งอื่นอีกที่เป็นของมึนเมา (ตทุภยเมว (สุราเมรยํ) 
-มทนียฏฺเฐน มชฺชํ,​ ยํ วา ปนฺมฺปิ กิฺจิ มทนียํ) จึงอาจแปลตามนัยนี้ว่า ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท 
-คือ เจตนางดเว้นจากการดื่มสุราเมรัย และของมึนเมาอันเป็นเหตุแห่งความประมาท (ขุ.ขุ.อ. 2/18) 
- 
-1 เวลาวิกาล ในที่นี้หมายถึงเวลาที่เลยเที่ยงวันไป (ขุ.ขุ.อ. 2/27) 
- 
-2 คำว่า “นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนา” ในสิกขาบทนี้ แปลได้ 2 นัย คือ นัยที่ 1 แปลว่า “การดูการละเล่นอัน 
-เป็นข้าศึกต่อกุศลคือการฟ้อนรำ ขับร้อง และบรรเลงดนตรี” (ดู ที.สี. (แปล) 9/13/6 ประกอบ) นัยที่ 2 
-แปลว่า “การฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี และการดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล” ในที่นี้แปล 
-ตามนัยที่ 2 คำว่า “ทัสสนา” มิได้จำกัดความหมายเพียงการดู การเห็นเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึง 
-การฟัง การได้ยินด้วย คำว่า “ข้าศึกต่อกุศล” แปลจากคำว่า “วิสูกะ” หมายถึงเป็นเหตุทำลายกุศลธรรม 
-ให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น และหมายถึงเป็นข้อประพฤติที่ไม่เหมาะสมต่อพระพุทธศาสนา 
-ในสิกขาบทนี้พึงทราบนัยเพิ่มเติมอีก 2 นัย คือ (1) จะจัดเป็นการล่วงละเมิดสิกขาบทได้ต่อเมื่อ 
-เข้าไปดูเพราะประสงค์จะเห็นเท่านั้น แต่ถ้าบังเอิญการละเล่นนั้นผ่านมาให้เห็นเองทางที่ตนยืน นั่ง หรือ 
-นอนอยู่ ไม่จัดเป็นการล่วงละเมิด จัดเป็นเพียงความเศร้าหมอง (2) เพลงขับร้อง(คีตะ)ที่ประกอบด้วย 
-ธรรม ถือเป็นความเหมาะสม ไม่ห้าม แต่ธรรมที่ประกอบเป็นเพลงขับร้อง ถือเป็นความไม่เหมาะสม 
-(ขุ.ขุ.อ. 2/27-28) 
- 
-3 ดู สารตฺถ.ฏีกา 3/106/308 
- 
-=ทวัตติงสาการ= 
-''​ว่าด้วยอาการ 32''​ 
- 
-ในร่างกายนี้มี 
-*ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ​ 
-*เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต1 ​ 
-*หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม2 ปอด ​ 
-*ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า 
-*ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น ​ 
-*น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร3 และมันสมอง 
- 
-''​ทวัตติงสาการ จบ''​ 
- 
-เชิงอรรถ : 
- 
-1 ไต แปลจากคำว่า “วกฺก” (โบราณแปลว่า ม้าม) ได้แก่ ก้อนเนื้อ 2 ก้อนมีขั้วเดียวกัน รูปร่างคล้ายลูก 
-สะบ้าของเด็กๆ หรือคล้ายผลมะม่วง 2 ผลที่ติดอยู่ในขั้วเดียวกัน มีเอ็นใหญ่รึงรัดจากลำคอลงไปถึงหัวใจ 
-แล้วแยกออกห้อยอยู่ทั้ง 2 ข้าง (ขุ.ขุ.อ. 3/43), พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 
-ให้บท นิยามคำว่า “ไต” ว่า “อวัยวะคู่หนึ่งของคนและสัตว์ อยู่ในช่องท้องใกล้กระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ 
-ขับของเสียออกมากับน้ำปัสสาวะ”,​ buddhadatta mahathera, a. concise pali-english dictionary, 
-1985, (224), และ rhys davids, t.w. pali-english dictionary, 1921-1925, (591) ให้ความหมาย 
-ของคำว่า “วกฺก” ตรงกันกับคำว่า “ไต” (kidney) 
- 
-2 ม้าม แปลจากคำว่า “ปิหก” ตาม (ขุ.ขุ.อ. 3/45) (โบราณแปลว่า ไต), พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 
-พ.ศ. 2525 ให้บทนิยามไว้ว่า “อวัยวะภายในร่างกาย ริมกระเพาะอาหารข้างซ้ายมีหน้าที่ทำลายเม็ด 
-เลือดแดง สร้างเม็ดน้ำเหลืองและสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย” 
- 
-3 มูตร หมายถึงน้ำปัสสาวะที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะ (ขุ.ขุ.อ. 3/57, วิสุทฺธิ. 1/213/288) และดู องฺ.ฉกฺก. 
-(แปล) 22/29/469 
- 
-=สามเณรปัญหา= 
-''​ว่าด้วยการถามปัญหากับโสปากสามเณร''​ 
- 
-1. อะไรชื่อว่า หนึ่ง ​ 
-ที่ชื่อว่า หนึ่ง ได้แก่ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร1 
- 
-2. อะไรชื่อว่า สอง ​ 
-ที่ชื่อว่า สอง ได้แก่ นามและรูป 
- 
-3. อะไรชื่อว่า สาม ​ 
-ที่ชื่อว่า สาม ได้แก่ เวทนา 32 
- 
-4. อะไรชื่อว่า สี่ ​ 
-ที่ชื่อว่า สี่ ได้แก่ อริยสัจ 4 
- 
-5. อะไรชื่อว่า ห้า ​ 
-ที่ชื่อว่า ห้า ได้แก่ อุปาทานขันธ์ 5(3) 
- 
-6. อะไรชื่อว่า หก ​ 
-ที่ชื่อว่า หก ได้แก่ อายตนะภายใน 6(4) 
- 
-7. อะไรชื่อว่า เจ็ด ​ 
-ที่ชื่อว่า เจ็ด ได้แก่ โพชฌงค์ 7 
- 
-8. อะไรชื่อว่า แปด 
-ที่ชื่อว่า แปด ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 
- 
-9. อะไรชื่อว่า เก้า 
-ที่ชื่อว่า เก้า ได้แก่ สัตตาวาส 9(1) 
- 
-10. อะไรชื่อว่า สิบ 
-ที่ชื่อว่า สิบ ได้แก่ บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์คุณ 10(2) เรียกว่า พระอรหันต์ 
- 
-''​สามเณรปัญหา จบ''​ 
- 
-เชิงอรรถ : 
- 
-1 อาหาร หมายถึงปัจจัยที่เป็นเหตุให้สัตว์ดำรงชีพอยู่ได้ ได้แก่ อาหาร 4 คือ (1) กวฬิงการาหาร 
-(อาหารคือคำข้าว) (2) ผัสสาหาร(อาหารคือผัสสะ) (3) มโนสัญเจตนาหาร(อาหารคือมโนสัญเจตนา) 
-(4) วิญญาณาหาร(อาหารคือวิญญาณ) ยกเว้นอสัญญีสัตตพรหม ซึ่งมีฌานเป็นอาหาร (ขุ.ขุ.อ. 4/65, 
-องฺ.ทสก.อ. 3/27/336) และดู ที.ปา. 11/​303/​191,​311/​203,​ องฺ.ทสก. (แปล) 24/27/62, ขุ.ป. (แปล) 
-31/208/345, ม.มู. (แปล) 12/90/84 
- 
-2 ดู ที.ปา. 11/305/194, สํ.สฬา. (แปล) 18/270/303 
- 
-3 ดู สํ.ข. (แปล) 17/​48/​66-67,​ อภิ.วิ (แปล) 35/1/1-2 
- 
-4 ดู ที.ปา. 11/323/215, อภิ.วิ. (แปล) 35/​154-167/​112-118 
- 
-1 ดู ที.ปา. 11/341/232, 359/272 
- 
-2 องค์คุณ 10 ได้แก่ (1) สัมมาทิฏฐิ (2) สัมมาสังกัปปะ (3) สัมมาวาจา (4) สัมมากัมมันตะ (5) สัมมาอาชีวะ 
-(6) สัมมาวายามะ (7) สัมมาสติ (8) สัมมาสมาธิ (9) สัมมาญาณะ (10) สัมมาวิมุตติ (ขุ.ขุ.อ. 4/77) 
- 
-=มงคลสูตร= 
-''​ว่าด้วยมงคล''​ 
- 
-[1] ข้าพเจ้า3ได้สดับมาอย่างนี้ 
-สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ 
-บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป4 เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะ 
-งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ 
-ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร5 ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า 
- 
-[2] เทวดาและมนุษย์จำนวนมาก 
-ต่างมุ่งหวังความสวัสดี ร่วมกันคิดถึงเรื่องมงคล 
-ขอพระองค์ตรัสบอกมงคลอันสูงสุดด้วยเถิด 
-(พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบดังนี้) 
- 
-[3] (1) การไม่คบคนพาล (2) การคบแต่บัณฑิต 
-(3) การบูชาคนที่ควรบูชา 
-นี้เป็นมงคลอันสูงสุด 
- 
-[4] (4) การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม 
-(5) การได้สร้างบุญไว้ในปางก่อน (6) การตั้งตนไว้ชอบ 
-นี้เป็นมงคลอันสูงสุด 
- 
-[5] (7) ความเป็นพหูสูต (8) ความเป็นผู้มีศิลปะ 
-(9) วินัยที่ศึกษามาดี (10) วาจาสุภาษิต 
-นี้เป็นมงคลอันสูงสุด 
- 
-[6] (11) การบำรุงมารดาบิดา (12) การสงเคราะห์บุตร 
-(13) การสงเคราะห์ภรรยา (14) การงานที่ไม่อากูล1 
-นี้เป็นมงคลอันสูงสุด 
- 
-[7] (15) การให้ทาน (16) การประพฤติธรรม 
-(17) การสงเคราะห์ญาติ (18) การงานที่ไม่มีโทษ 
-นี้เป็นมงคลอันสูงสุด 
- 
-[8] (19) การงดเว้นจากบาป (20) การเว้นจากการดื่มน้ำเมา 
-(21) ความไม่ประมาทในธรรม 
-นี้เป็นมงคลอันสูงสุด 
- 
-[9] (22) ความเคารพ (23) ความถ่อมตน (24) ความสันโดษ 
-(25) ความกตัญญู (26) การฟังธรรมตามกาล 
-นี้เป็นมงคลอันสูงสุด 
- 
-[10] (27) ความอดทน1 (28) ความเป็นคนว่าง่าย 
-(29) การพบเห็นสมณะ (30) การสนทนาธรรมตามกาล 
-นี้เป็นมงคลอันสูงสุด 
- 
-[11] (31) การเผาผลาญบาป (32) การประพฤติพรหมจรรย์2 
-(33) การเห็นอริยสัจ (34) การทำนิพพานให้แจ้ง 
-นี้เป็นมงคลอันสูงสุด 
- 
-[12] (35) จิตของผู้ที่ถูกโลกธรรมกระทบแล้วไม่หวั่นไหว 
-(36) จิตไม่เศร้าโศก (37) จิตปราศจากธุลี (38) จิตเกษม 
-นี้เป็นมงคลอันสูงสุด 
- 
-[13] เทวดาและมนุษย์ทำมงคลดังกล่าวมานี้แล้ว 
-ไม่พ่ายแพ้ข้าศึกทั้งปวง ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน 
-ทั้ง 38 ประการนั้น เป็นมงคลอันสูงสุด 
-ของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น 
- 
-''​มงคลสูตร จบ''​ 
- 
-เชิงอรรถ : 
- 
-1 ความอดทน ในที่นี้หมายถึงอธิวาสนขันติ (ขันติคือความอดกลั้น) ได้แก่ ความอดกลั้นต่อคำด่าต่าง ๆ 
-อดกลั้นต่อการถูกเบียดเบียน ตลอดถึงอดกลั้นต่อทุกขเวทนา เช่น ความหนาว ความร้อน เป็นต้น ยกตน 
-อยู่เหนือทุกข์ต่าง ๆ ดำรงตนอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว (ขุ.ขุ.อ. 5/129) 
- 
-2 พรหมจรรย์ เป็นชื่อของ (1) เมถุนวิรัติ (ดู ที.สี. (แปล) 9/8/3, ม.มู. (แปล) 12/292/323) 
-(2)สมณธรรม (ดู ม.มู. (แปล) 12/257/217) (3)ศาสนา (ดู ที.ม. (แปล) 10/168/113) (4)มรรค 
-(ดู สํ.ม. (แปล) 19/6/9) (ขุ.ขุ.อ. 5/133) 
- 
-=รตนสูตร= 
-''​ว่าด้วยรตนะอันประณีต(1)''​ 
- 
-(พระผู้มีพระภาคตรัสรตนสูตรดังนี้) 
- 
-[1] ภูตทั้งหลายผู้สิงสถิตอยู่บนภาคพื้น2 
-หรือผู้สิงสถิตอยู่ในอากาศ3 ที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ 
-ขอให้ภูตทั้งปวงจงเป็นผู้มีใจดี และจงฟังภาษิตโดยเคารพเถิด 
- 
-[2] เพราะฉะนั้นแล ภูตทั้งปวง ท่านจงใคร่ครวญ 
-จงแผ่เมตตาต่อหมู่มนุษย์ด้วยเถิด 
-มนุษย์เหล่าใดนำเครื่องเซ่นสรวงมาให้ 
-ทั้งกลางวันและกลางคืน 
-เพราะเหตุนั้น ขอท่านทั้งหลายอย่าประมาท 
-จงรักษามนุษย์เหล่านั้น 
- 
-[3] ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ หรือรัตนชาติที่ประณีต4ใด ๆ 
-ที่มีในโลกนี้ ในโลกอื่น หรือในสวรรค์ 
-ทรัพย์หรือรัตนชาตินั้น ๆ ที่เสมอด้วยตถาคต ไม่มี 
-นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า 
-ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี 
- 
-[4] พระศากยมุนีผู้มีพระทัยตั้งมั่น 
-ทรงบรรลุธรรมใดอันเป็นที่สิ้นกิเลส 
-ปราศจากราคะ เป็นอมตธรรมอันประณีต 
-ไม่มีธรรมใด ๆ ที่เสมอด้วยธรรมนั้น 
-นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม 
-ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี 
- 
-[5] พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ 
-ตรัสสรรเสริญสมาธิ1ใดว่าเป็นธรรมสะอาด 
-ตรัสถึงสมาธิใดว่าให้ผลโดยลำดับ 
-สมาธิอื่น2ที่เสมอด้วยสมาธินั้น ไม่มี 
-นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม 
-ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี 
- 
-[6] บุคคล 108 จำพวก3ที่สัตบุรุษสรรเสริญ 
-ซึ่งจัดเป็นบุคคล 4 คู่ เป็นสาวกของพระสุคต 
-เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา 
-ทานที่เขาถวายในบุคคลเหล่านั้น มีผลมาก 
-นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ 
-ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี 
- 
-[7] บุคคลเหล่าใดในศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า 
-เป็นผู้ประกอบตนไว้ดี มีใจมั่นคง หมดความห่วงใย 
-บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าบรรลุอรหัตตผล 
-หยั่งถึงอมตนิพพาน รับรสความดับสนิทแบบได้เปล่า1 
-นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ 
-ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี 
- 
-[8] สัตบุรุษใดพิจารณาเห็นแจ้งอริยสัจ 
-เราเรียกสัตบุรุษนั้นว่า มีอุปมาเหมือนเสาเขื่อนที่ฝังลงดิน 
-อันไม่หวั่นไหวเพราะลมที่พัดมาจากทิศทั้งสี่ 
-นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ 
-ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี 
- 
-[9] พระโสดาบันเหล่าใดรู้แจ้งอริยสัจ 
-ที่พระศาสดาผู้มีปัญญาลึกซึ้งแสดงแล้ว 
-ถึงแม้ว่าพระโสดาบันเหล่านั้นจะประมาทไปบ้าง 
-ท่านเหล่านั้นก็จะไม่ถือกำเนิดในภพที่ 81 
-นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ 
-ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี 
- 
-[10] พระโสดาบันนั้นละธรรม 3 ประการ คือ 
-สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส 
-พร้อมกับการบรรลุโสดาปัตติมรรคได้แล้ว 
-แม้จะมีกิเลสบางอย่างเหลืออยู่2 
- 
-[11] พระโสดาบันนั้นพ้นแล้วจากอบายทั้งสี่3 
-และจะไม่ทำอภิฐาน 64 
-นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ 
-ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี 
- 
-[12] ถึงแม้ว่า พระโสดาบันนั้นจะทำบาปกรรม5 
-ทางกาย ทางวาจา หรือทางใจไปบ้าง 
-ท่านก็ไม่ปกปิดบาปกรรมนั้นไว้ 
-เรากล่าวว่าผู้เห็นบท6แล้ว ไม่อาจทำอย่างนั้นได้ 
-นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ 
-ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี 
- 
-[13] พุ่มไม้งามในป่า ซึ่งมียอดออกดอกบานสะพรั่ง 
-ในต้นเดือนห้าแห่งคิมหันตฤดู งามอย่างยิ่ง ฉันใด 
-พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ 
-ที่ให้ถึงนิพพาน เพื่อประโยชน์อย่างยิ่ง ฉันนั้น 
-นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า 
-ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี 
- 
-[14] พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงรู้ธรรมอันประเสริฐ 
-ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ ทรงนำทางอันประเสริฐมาให้ 
-ทรงเป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่าใคร ๆ ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐไว้ 
-นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า 
-ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี 
- 
-[15] พระขีณาสพเหล่าใดสิ้นภพเก่าแล้ว ไม่มีการเกิดใหม่ 
-ทั้งมีจิตเบื่อหน่ายในภพที่จะเกิดต่อไป 
-ท่านเหล่านั้นชื่อว่า มีพืช1สิ้นแล้ว ไม่มีฉันทะงอกขึ้น เป็นปราชญ์ 
-ย่อมดับสนิทเหมือนประทีปดวงนี้ดับไป 
-นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ 
-ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี 
- 
-(ท้าวสักกะจอมเทพกราบทูลเป็นคาถา ดังนี้ ) 
- 
-[16] ภูตทั้งหลายผู้สิงสถิตอยู่บนภาคพื้น 
-หรือผู้สิงสถิตอยู่ในอากาศ ที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ 
-ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอนอบน้อมพระตถาคต1พุทธเจ้า 
-ที่เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอให้มีความสวัสดี 
- 
-[17] ภูตทั้งหลายผู้สิงสถิตอยู่บนภาคพื้น 
-หรือผู้สิงสถิตอยู่ในอากาศ ที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ 
-ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอนอบน้อมพระธรรมของพระตถาคต 
-ที่เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอให้มีความสวัสดี 
- 
-[18] ภูตทั้งหลายผู้สิงสถิตอยู่บนภาคพื้น 
-หรือผู้สิงสถิตอยู่ในอากาศ ที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ 
-ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอนอบน้อมพระสงฆ์ของพระตถาคต 
-ที่เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอให้มีความสวัสดี 
-(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) 
-ถ้าเห็นว่าจะได้สุขอันยิ่งใหญ่ 
-ด้วยการเสียสละสุขอันเล็กน้อย 
-นักปราชญ์พึงเสียสละสุขอันเล็กน้อย 
-เพื่อเห็นแก่สุขอันยิ่งใหญ่2 
- 
-''​รตนสูตร จบ''​ 
- 
-เชิงอรรถ : 
- 
-1 ดู สุตตนิบาตข้อ 224-241 หน้า 529 ในเล่มนี้ 
- 
-2 คำว่า ภูต มีความหมายหลายนัย คือ นัยที่ 1 มีความหมายเชิงกริยาว่า “มีแล้ว” (หรือ “เกิดแล้ว” ดู วิ.มหา. 
-(แปล) 2/153/327) นัยที่ 2 หมายถึงขันธ์ 5 (ดู ม.มู. (แปล) 12/401/432) นัยที่ 3 หมายถึงธาตุ 4 
-มีปฐวีธาตุ เป็นต้น (ดู ม.อุ. 14/86/68) นัยที่ 4 หมายถึงพระขีณาสพ (ดู ขุ.ชา. (แปล) 27/190/116) 
-นัยที่ 5 หมายถึง สรรพสัตว์ (ดู ที.ม. (แปล) 10/220/167) นัยที่ 6 หมายถึงรุกขชาติต่าง ๆ (ดู วิ.มหา. 
-(แปล) 2/90/116) นัยที่ 7 หมายถึงหมู่สัตว์นับแต่ท้าวมหาราชทั้ง 4 ลงมา (ดู ม.มู. (แปล) 12/3/5) 
-ในที่นี้หมายถึงอมนุษย์ที่มีศักดิ์น้อย หรืออมนุษย์ที่มีศักดิ์มาก และคำว่า ผู้สิงสถิตอยู่บนภาคพื้น หมายถึง 
-ภุมมเทวดาคือเทวดาที่บังเกิดบนพื้นดิน ต้นไม้ และภูเขา เป็นต้น (ขุ.ขุ.อ. 6/145) 
- 
-3 ผู้สิงสถิตอยู่ในอากาศ หมายถึงเทวดาที่บังเกิดในวิมานในอากาศตั้งแต่สวรรค์ชั้นยามาจนถึงพรหมโลก 
-ชั้นอกนิษฐา (ขุ.ขุ.อ. 6/145) 
- 
-4 ประณีต ในที่นี้หมายถึงสูงสุด ประเสริฐสุด (ขุ.ขุ.อ. 6/149) 
- 
-1 สมาธิ ในที่นี้หมายถึงอริยสัมมาสมาธิ (ม.อุ. 14/136/121) ที่เรียกว่า อานันตริกสมาธิ (สมาธิที่ให้ผล 
-โดยลำดับ) เพราะเป็นสมาธิที่ให้ผลแน่นนอนตามลำดับ สามารถถอนกิเลสได้สิ้นเชิง (ขุ.ขุ.อ. 6/158) 
- 
-2 สมาธิอื่น หมายถึงรูปาวจรสมาธิและอรูปาวจรสมาธิ (ขุ.ขุ.อ. 6/159) 
- 
-3 บุคคล 108 จำพวก ได้แก่ พระโสดาบัน 3 จำพวก คือ (1) เอกพีชี (2) โกลังโกละ (3) สัตตักขัตตุปรมะ 
-พระสกทาคามี 3 จำพวก คือ (1) ผู้บรรลุผลในกามภพ (2) ผู้บรรลุผลในรูปภพ (3) ผู้บรรลุผลในอรูปภพ 
-รวมพระโสดาบัน 3 จำพวก และพระสกทาคามี 3 จำพวก นับโดยปฏิปทา 4 ประการ จึงได้บุคคล 24 
-จำพวก (6 x 4 = 24) รวมกับพระอนาคามี 4 ชั้น คือ ชั้นอวิหา ชั้นอตัปปา ชั้นสุทัสสา ชั้นสุทัสสี 
-อีกชั้นละ 5 จำพวก (4 x 5 = 20) และพระอนาคามีชั้นอกนิษฐคามีอีก 4 จำพวก (20 + 4 = 24) เป็น 
-บุคคล 48 จำพวก (24 + 24 = 48) รวมกับพระอรหันต์ 2 จำพวก คือ (1) สุขวิปัสสก (2) สมถยานิก 
-เป็นบุคคล 50 จำพวก (48 + 2 = 50) รวมกับพระอริยบุคคลผู้ดำรงอยู่ในมรรคอีก 4 จำพวก เป็น 
-บุคคล 54 จำพวก (50 + 4 = 54) 
-บุคคลเหล่านี้มี 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสัทธาธุระ 54 จำพวก และฝ่ายปัญญาธุระ 54 จำพวก จึงเป็น 
-พระอริยบุคคล 108 จำพวก (54 + 54 = 108) (ขุ.ขุ.อ. 6/159-160) นี้คือนัยโดยพิสดาร 
-ส่วนนัยโดยย่อ ได้แก่ บุคคล 8 จำพวก คือ (1) พระโสดาบัน (2) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง 
-โสดาปัตติผล (3) พระสกทาคามี (4) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล (5) พระอนาคามี 
-(6) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล (7) พระอรหันต์ (8) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล 
-(ขุ.ขุ.อ. 6/160) 
- 
-1 แบบได้เปล่า หมายถึงได้โดยไม่ต้องจ่ายแม้แต่กากณึกเดียว (ขุ.ขุ.อ. 6/161) กากณึก เป็นมาตราเงิน 
-อย่างต่ำที่สุด (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525) 
- 
-1 ไม่ถือกำเนิดในภพที่ 8 หมายถึงไม่เกิดในภพที่ 8 เพราะท่านเหล่านั้นละสังโยชน์ 3 ประการ (สักกายทิฏฐิ 
-วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส) ได้แล้ว และจะเวียนเกิดเวียนตายในเทวโลกและมนุษยโลกอย่างมากไม่เกิน 
-7 ครั้ง แล้วบรรลุอรหัตตผล เพราะนามรูปดับไปในภพที่ 7 นั่นเอง (ขุ.ขุ.อ. 6/163-164) 
- 
-2 อภิ.ก. 37/278/103 
- 
-3 อบายทั้งสี่ หมายถึงภูมิที่ปราศจากความเจริญ มี 4 คือ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เปรต และอสุรกาย 
-(ขุ.ขุ.อ. 6/165) 
- 
-4 อภิฐาน 6 หมายถึงฐานะอันหนัก 6 ประการ ได้แก่ (1) ฆ่ามารดา (2) ฆ่าบิดา (3) ฆ่าพระอรหันต์ 
-(4) ทำโลหิตของพระพุทธเจ้าให้ห้อ (5) ทำให้สงฆ์แตกกัน (6) เข้ารีตศาสดาอื่น (ขุ.ขุ.อ. 6/166) 
- 
-5 บาปกรรม ในที่นี้หมายถึงการต้องอาบัติเบา เช่น ต้องอาบัติเพราะนอนร่วมกับสามเณรเป็นต้น มิได้ 
-หมายถึงอาบัติหนัก (ขุ.ขุ.อ. 6/167) และดู วิ.มหา. (แปล) 2/50/238 ประกอบ 
- 
-6 บท ในที่นี้หมายถึงทางแห่งนิพพาน (ขุ.ขุ.อ. 6/167) 
- 
-1 พืช ในที่นี้หมายถึงปฏิสนธิวิญญาณ (ขุ.ขุ.อ. 6/171) และดู องฺ.ติก. (แปล) 20/77/300 ประกอบ 
- 
-1 ตถาคต แปลว่า ไปอย่างนั้นหรือมาอย่างนั้น มีความหมายหลายนัย เช่น ไปหรือมาอย่างบุคคลผู้ 
-ขวนขวายเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลก ไปหรือมาด้วยการเพิกถอนกิเสสได้ด้วยกำลังแห่งสมถะและวิปัสสนา 
-ไปหรือมาด้วยการกำจัดทุกข์ทั้งปวงได้ ไปหรือมาด้วยการปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ในที่นี้ใช้เป็น 
-คำแสดงคุณลักษณะของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าไปอย่างนั้นหรือมาอย่างนั้น (ขุ.ขุ.อ. 6/172) 
- 
-2 สุขอันยิ่งใหญ่ ในที่นี้หมายถึงความสุขอันโอฬารคือพระนิพพาน (ขุ.ธ.อ. 7/87) ดู ขุ.ธ. แปลในเล่มนี้ 
-ข้อ 290 หน้า 123 
- 
- 
-=ติโรกุฑฑสูตร= 
-''​ว่าด้วยเรื่องเปรตที่อยู่ภายนอกฝาเรือน(1)(2)''​ 
- 
-(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้ เพื่ออนุโมทนาพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ 
-ดังนี้) 
- 
-[1] พวกเปรตพากันมาสู่เรือนของตน3 
-บ้างยืนอยู่ที่ฝาเรือนด้านนอก 
-บ้างยืนอยู่ที่ทางสี่แพร่ง สามแพร่ง 
-บ้างยืนพิงอยู่ที่บานประตู 
- 
-[2] เมื่อมีข้าวและน้ำดื่มมากมาย 
-เมื่อของเคี้ยวของกินถูกจัดเตรียมไว้แล้ว 
-ญาติสักคนก็ไม่นึกถึงเปรตเหล่านั้น 
-เพราะกรรมของสัตว์เหล่านั้นเป็นปัจจัย 
- 
-[3] เหล่าชนผู้อนุเคราะห์ ย่อมถวายอาหารและน้ำดื่ม 
-ที่สะอาดประณีต เหมาะแก่พระสงฆ์ตามกาล 
-อุทิศให้ญาติทั้งหลาย(ที่เกิดเป็นเปรต)อย่างนี้ว่า 
-ขอทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของเรา 
-ขอญาติทั้งหลาย จงเป็นสุขเถิด 
- 
-[4] ส่วนญาติที่เกิดเป็นเปรตเหล่านั้น 
-พากันมาประชุมพร้อมกัน ณ ที่ให้ทานนั้น 
-ย่อมอนุโมทนาในอาหารและน้ำดื่มเป็นอันมากโดยเคารพว่า 
- 
-[5] เพราะเหตุแห่งญาติเหล่าใด พวกเราจึงได้สุขสมบัติเช่นนี้ 
-ขอญาติเหล่านั้นของพวกเราจงมีอายุยืน 
-อนึ่ง การบูชา ญาติผู้เป็นทายกก็ได้ทำแก่พวกเราแล้ว 
-และทายกก็ไม่ไร้ผล 
- 
-[6] ในเปตวิสัย1นั้น ไม่มีกสิกรรม (การทำไร่ไถนา) 
-ไม่มีโครักขกรรม (การเลี้ยงวัวไว้ขาย) 
-ไม่มีพาณิชกรรม (การค้าขาย) เช่นนั้น 
-การแลกเปลี่ยนซื้อขายด้วยเงิน ก็ไม่มี 
-ผู้ที่ตายไปเกิดเป็นเปรตในเปตวิสัยนั้น 
-ดำรงชีพด้วยผลทานที่พวกญาติอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้ 
- 
-[7] น้ำฝนที่ตกลงมาในที่ดอนย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด 
-ทานที่ทายกอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้ 
-ย่อมสำเร็จผลแน่นอนแก่พวกเปรต ฉันนั้นเหมือนกัน 
- 
-[8] ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทรสาครให้เต็มเปี่ยม ฉันใด 
-ทานที่ทายกอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้ 
-ย่อมสำเร็จแก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน 
- 
-[9] กุลบุตรเมื่อระลึกถึงอุปการะ 
-ที่ญาติผู้ละไปแล้ว(เปรต)เคยทำไว้ในกาลก่อนว่า 
-‘ผู้นั้นได้ให้สิ่งนี้แก่เรา ได้ทำสิ่งนี้แก่เรา 
-ได้เป็นญาติ มิตร และสหายของเรา’ 
-ก็ควรถวายทักษิณาทานอุทิศให้แก่ญาติผู้ละไปแล้ว 
- 
-[10] การร้องไห้ ความเศร้าโศก 
-หรือความร่ำไห้คร่ำครวญอย่างอื่นใด 
-ใคร ๆ ไม่ควรทำเลย เพราะการร้องไห้ เป็นต้นนั้น 
-ไม่เป็นประโยชน์แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว 
-ญาติทั้งหลายก็ยังคงสภาพอยู่อย่างนั้น 
- 
-[11] ส่วนทักษิณาทานนี้แล ที่ตั้งไว้ดีแล้วในพระสงฆ์ 
-ย่อมสำเร็จประโยชน์เกื้อกูลสิ้นกาลนาน 
-แก่หมู่ญาติที่เกิดเป็นเปรตนั้น โดยพลันทีเดียว 
- 
-[12] ญาติธรรม1นี้นั้น ท่านแสดงออกแล้ว 
-การบูชาญาติที่ตายไปเป็นเปรต ท่านทำอย่างยิ่งใหญ่แล้ว 
-ทั้งกำลังกายของภิกษุ ท่านก็เพิ่มให้แล้ว 
-เป็นอันว่าท่านสั่งสมบุญไว้มิใช่น้อยเลย 
- 
-''​ติโรกุฑฑสูตร จบ''​ 
- 
-เชิงอรรถ : 
- 
-1 พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พระเจ้าพิมพิสาร ณ กรุงราชคฤห์ (ขุ.ขุ.อ. 7/177) 
- 
-2 ดูเทียบ ขุ.เปต. (แปล) 26/​14-25/​170-172,​ อภิ.ก. 37/490/295 
- 
-3 เรือนของตน หมายถึงเรือนญาติของตน หรือเรือนที่เคยอยู่ในปางก่อน (ขุ.ขุ.อ. 7/181) 
- 
-1 เปตวิสัย หมายถึงภูมิหรือกำเนิดแห่งเปรต (ขุ.ขุ.อ. 7/188) 
- 
-1 ญาติธรรม หมายถึงกิจคือการสงเคราะห์ต่อกันที่ญาติจะพึงกระทำต่อกัน (ขุ.ขุ.อ. 7/190) 
- 
-=นิธิกัณฑสูตร= 
-''​ว่าด้วยการฝังขุมทรัพย์''​ 
- 
-(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่กุฎุมพีคนหนึ่งในกรุงสาวัตถี ดังนี้) 
- 
-[1] คนเราฝังขุมทรัพย์2ไว้ในที่ลึกจดถึงน้ำก็ด้วยคิดว่า 
-เมื่อเกิดกิจที่จำเป็นขึ้น ขุมทรัพย์นี้จะเป็นประโยชน์แก่เรา 
- 
-[2] คนเราฝังขุมทรัพย์ไว้ในโลก ก็เพื่อจุดประสงค์นี้ คือ 
-เพื่อให้พ้นจากราชภัยที่คอยคุกคาม 
-เพื่อให้พ้นจากโจรภัยที่คอยเบียดเบียน 
-เพื่อเก็บไว้ใช้หนี้ก็มี เพื่อเก็บไว้ใช้ในยามเกิดทุพภิกขภัย3 
-หรือเพื่อใช้ในเวลามีภัยอันตรายต่าง ๆ 
- 
-[3] ขุมทรัพย์ที่เขาฝังไว้อย่างดีในที่ลึกจดน้ำถึงเพียงนั้น 
-จะสำเร็จประโยชน์แก่เขาไปทั้งหมด ตลอดเวลาก็หาไม่ 
- 
-[4] เพราะบางทีขุมทรัพย์ก็เคลื่อนที่ไปก็มี 
-บางทีเขาลืมที่ฝังไว้ก็มี 
-บางทีพวกนาคเคลื่อนย้ายก็มี 
-บางทีพวกยักษ์นำขุมทรัพย์นั้นไปก็มี 
- 
-[5] หรือบางทีเมื่อเขาไม่เห็นทายาทผู้ไม่เป็นที่รักขโมยขุดเอาไปก็มี 
-เมื่อเขาสิ้นบุญ ขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ทั้งหมดนั้นก็พินาศหายไป 
- 
-[6] ขุมทรัพย์1ที่ผู้ใดจะเป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม 
-ฝังไว้ดีแล้ว ด้วยทาน ศีล สัญญมะ และทมะ2 
- 
-[7] ในพระเจดีย์ พระสงฆ์ บุคคล แขกที่มาหา 
-ในมารดา บิดา หรือพี่ชาย 
- 
-[8] ขุมทรัพย์นี้ชื่อว่าฝังไว้ดีแล้ว คนอื่นขนเอาไปไม่ได้ 
-จะติดตามคนฝังตลอดไป 
-บรรดาทรัพย์สมบัติที่เขาจำต้องละไป 
-เขาพาไปได้เฉพาะขุมทรัพย์นี้เท่านั้น 
- 
-[9] ขุมทรัพย์นี้ไม่ทั่วไปแก่คนเหล่าอื่น ทั้งโจรก็ลักเอาไปไม่ได้ 
-ผู้มีปัญญาควรทำแต่บุญที่จะเป็นขุมทรัพย์ติดตามตนตลอดไป 
- 
-[10] ขุมทรัพย์นี้ให้ผลอันน่าปรารถนาทุกประการ 
-แก่เทวดา และมนุษย์ คือเทวดาและมนุษย์ปรารถนาผลใด ๆ 
-ผลนั้น ๆ ทุกอย่าง จะได้ด้วยขุมทรัพย์นี้ 
- 
-[11] ความมีผิวพรรณงดงาม ความมีเสียงไพเราะ 
-ความมีทรวดทรงสมส่วน ความมีรูปสวย 
-ความเป็นใหญ่ ความมีบริวาร ทั้งหมดจะได้ด้วยขุมทรัพย์นี้ 
- 
-[12] ความเป็นพระราชาในประเทศ ความเป็นอิสระ1 
-ความสุขของความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิอันน่าพอใจ 
-และแม้ความเป็นเทวราชของเทวดาในหมู่เทพ 
-ทั้งหมดก็จะได้ด้วยขุมทรัพย์นี้ 
- 
-[13] สมบัติของมนุษย์ก็ดี ความยินดีในเทวโลกก็ดี 
-สมบัติคือนิพพานก็ดี ทั้งหมดจะได้ด้วยขุมทรัพย์นี้ 
- 
-[14] บุคคลอาศัยมิตตสัมปทา2 
-ประกอบความเพียรโดยแยบคาย 
-ก็จะเป็นผู้ชำนาญในวิชชาและวิมุตติ 
-ทั้งหมดจะได้ด้วยขุมทรัพย์นี้ 
- 
-[15] ปฏิสัมภิทา(3) วิโมกข์(4) สาวกบารมี(5) 
-ปัจเจกโพธิ(6) และพุทธภูมิ(7) 
-ทั้งหมดจะได้ด้วยขุมทรัพย์นี้ 
- 
-[16] บุญสัมปทา1นี้มีประโยชน์มากอย่างนี้ 
-เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้เป็นปราชญ์ 
-จึงสรรเสริญภาวะแห่งบุญที่ทำไว้แล้ว 
- 
-''​นิธิกัณฑสูตร จบ''​ 
- 
-เชิงอรรถ : 
- 
-2 ขุมทรัพย์ มี 4 ชนิด คือ (1) ถาวระ คือขุมทรัพย์ถาวร เช่น ที่ดิน ที่นา ที่สวน เงินและทอง (2) ชังคมะ 
-คือขุมทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ เช่น ทาสชาย ทาสหญิง ช้าง ม้า โค กระบือ แกะ ไก่ สุกร เป็นต้น (3) อังคสมะ 
-คือขุมทรัพย์ติดตัว เช่น วิชาความรู้ ศิลปวิทยา เป็นต้น (4) อนุคามิกะ คือขุมทรัพย์ตามตัวทางคุณธรรม 
-ได้แก่ บุญกุศล ทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา เป็นต้น ในที่นี้หมายถึงขุมทรัพย์ถาวร (ขุ.ขุ.อ. 8/193) 
- 
-3 ทุพภิกขภัย หมายถึงภัยที่เกิดจากข้าวยากหมากแพง หรือการขาดแคลนอาหารในบ้านเมือง (ขุ.ขุ.อ. 
-8/194) 
- 
-1 ขุมทรัพย์ ในที่นี้หมายถึงขุมทรัพย์ชนิดอนุคามิกะ (ดูเชิงอรรถหน้า 17 ประกอบ) (ขุ.ขุ.อ. 8/196) 
- 
-2 สัญญมะ หมายถึงการห้ามจิตมิให้ตกไปในอารมณ์ต่าง ๆ คำนี้เป็นชื่อของสมาธิและอินทรียสังวร ทมะ 
-หมายถึงการฝึกตน ได้แก่ การเข้าไประงับกิเลส คำนี้เป็นชื่อของปัญญา (ขุ.ขุ.อ. 8/197) 
- 
-1 ความเป็นอิสระ หมายถึงความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีมหาสมุทรทั้ง 4 เป็นขอบเขต (ขุ.ขุ.อ. 8/203) 
- 
-2 มิตตสัมปทา หมายถึงความเพรียบพร้อมด้วยมิตรที่มีคุณความดี เช่น พระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารี 
-ผู้ดำรงตนน่าเคารพ (ขุ.ขุ.อ. 8/205) 
- 
-3 ปฏิสัมภิทา หมายถึงปัญญาแตกฉานมี 4 ประการ คือ (1) อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ 
-(2) ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม (3) นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติคือภาษา 
-(4) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ (ขุ.ขุ.อ. 8/206) 
- 
-4 วิโมกข์ หมายถึงวิโมกข์ 8 คือ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 (ขุ.ขุ.อ. 8/206) 
- 
-5 สาวกบารมี หมายถึงบารมีที่ให้สำเร็จเป็นพระสาวก (ขุ.ขุ.อ. 8/206) 
- 
-6 ปัจเจกโพธิ หมายถึงบารมีที่ให้สำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ได้เอง (ขุ.ขุ.อ. 8/206) 
- 
-7 พุทธภูมิ หมายถึงบารมีที่ให้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง (ขุ.ขุ.อ. 8/206) 
- 
-1 บุญสัมปทา หมายถึงความถึงพร้อมแห่งบุญ (ขุ.ขุ.อ. 8/206) 
- 
-=เมตตสูตร= 
-''​ว่าด้วยการแผ่เมตตา''​ 
- 
-(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ป่า ดังนี้) 
- 
-[1] กรณียกิจ ที่ผู้ปฏิบัติธรรมที่ฉลาดในประโยชน์ มุ่งหวังบรรลุความสงบ จะต้องทำก่อนภาวนา คือ 
-#​ผู้อาจหาญ ​ 
-#​ซื่อตรง 
-#​เคร่งครัด ​ 
-#​ว่าง่าย ​ 
-#​อ่อนโยน ​ 
-#​และไม่เย่อหยิ่ง 
-#​ควรเป็นผู้สันโดษ ​ 
-#​เลี้ยงง่าย ​ 
-#​มีกิจน้อย 
-#​มีความประพฤติเบา ​ 
-#​มีอินทรีย์สงบ ​ 
-#​มีปัญญารักษาตน 
-#​ไม่คะนอง6 ​ 
-#​ไม่ยึดติดในตระกูลทั้งหลาย 
-#​อนึ่ง ไม่ควรประพฤติความเสียหายใด ๆ 
-ที่จะเป็นเหตุให้วิญญูชนเหล่าอื่นตำหนิเอาได้ 
- 
-(ควรแผ่เมตตาไปในสรรพสัตว์อย่างนี้ว่า) ขอสัตว์ทั้งปวงจงมีความสุข มีความปลอดภัย มีตนเป็นสุขเถิด 
- 
-[4] คือ เหล่าสัตว์ที่ยังเป็นผู้หวาดสะดุ้งหรือเป็นผู้มั่นคง1 
-ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจงมีตนเป็นสุขเถิด 
-เหล่าสัตว์ที่มีขนาดกายยาว ขนาดกายใหญ่ ขนาดกายปานกลาง 
-ขนาดกายเตี้ย ขนาดกายผอม หรือขนาดกายอ้วน 
-ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจงมีตนเป็นสุขเถิด 
- 
-[5] เหล่าสัตว์ที่เคยเห็นก็ดี เหล่าสัตว์ที่ไม่เคยเห็นก็ดี 
-เหล่าสัตว์ที่อยู่ใกล้และอยู่ไกลก็ดี ภูตหรือสัมภเวสี2ก็ดี 
-ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจงมีตนเป็นสุขเถิด 
- 
-[6] ไม่ควรข่มเหง ไม่ควรดูหมิ่นกันและกันในทุกโอกาส 
-ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน 
-เพราะความโกรธและความแค้น 
- 
-[7] ควรแผ่เมตตาจิตอย่างไม่มีประมาณไปยังสรรพสัตว์ 
-ดุจมารดาเฝ้าถนอมบุตรคนเดียวด้วยชีวิต ฉะนั้น 
- 
-[8] อนึ่ง ควรแผ่เมตตาจิตอย่างไม่มีประมาณ 
-กว้างขวาง ไม่มีเวร ไม่มีศัตรูไปยังสัตว์โลกทั่วทั้งหมด 
-ทั้งชั้นบน1 ชั้นล่าง2 และชั้นกลาง3 
- 
-[9] ผู้แผ่เมตตาจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน 
-ควรตั้งสติ4นี้ไว้ตลอดเวลาที่ยังไม่ง่วง 
-นักปราชญ์เรียกการอยู่ด้วยเมตตานี้ว่า พรหมวิหาร 
- 
-[10] อนึ่ง ผู้แผ่เมตตาที่ไม่ยึดถือทิฏฐิ5 
-มีศีล ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ6 
-กำจัดความยินดีในกามคุณได้แล้ว 
-ก็จะไม่เกิดในครรภ์อีกต่อไป 
- 
-''​เมตตสูตร จบ''​ 
- 
-''​ขุททกปาฐะ จบ''​ 
- 
-เชิงอรรถ : 
- 
-2 สันตบท หมายถึงนิพพาน (ขุ.ขุ.อ. 9/212) 
- 
-3 กรณียกิจ หมายถึงการศึกษาในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ตรงกันข้ามกับ อกรณียกิจ คือ สีลวิบัติ 
-ทิฏฐิวิบัติ อาจารวิบัติ อาชีววิบัติ (ขุ.ขุ.อ. 9/212) 
- 
-4 มีกิจน้อย ในที่นี้หมายถึงไม่ขวนขวายการงานต่าง ๆ ที่จะทำให้จิตฟุ้งซ่าน ไม่พูดคุยเพ้อเจ้อ ไม่คลุกคลี 
-หมู่คณะ ปล่อยวางหน้าที่รับผิดชอบงานก่อสร้าง งานบริหารคณะสงฆ์ เป็นต้น มุ่งบำเพ็ญสมณธรรมเป็น 
-หลัก (ขุ.ขุ.อ. 9/216) 
- 
-5 มีความประพฤติเบา ในที่นี้หมายถึงมีเพียงบริขาร 8 เช่น บาตร จีวร เป็นต้น ไม่สะสมสิ่งของมากให้เป็น 
-ภาระ เหมือนนกมีเพียงปีกบินไปฉะนั้น (ขุ.ขุ.อ. 9/216) 
- 
-6 ไม่คะนอง หมายถึงไม่คะนองกาย วาจา และใจ (ขุ.ขุ.อ. 9/217) 
- 
-1 หวาดสะดุ้ง หมายถึงมีตัณหาและความกลัวภัย มั่นคง หมายถึงบรรลุอรหัตตผล เพราะละตัณหาและ 
-ความกลัวภัยได้ (ขุ.ขุ.อ. 9/220) 
- 
-2 ในที่นี้ ภูต หมายถึงพระอรหันตขีณาสพ สัมภเวสี หมายถึงพระเสขะและปุถุชนผู้ยังต้องแสวงหาที่เกิด 
-ต่อไป เพราะยังละภวสังโยชน์ไม่ได้ 
- 
-อีกนัยหนึ่ง ในกำเนิด 4 สัตว์ที่เกิดในไข่และเกิดในครรภ์ ถ้ายังไม่เจาะเปลือกไข่หรือคลอดจากครรภ์ 
-ออกมา ยังเรียกว่า สัมภเวสี ต่อเมื่อเจาะเปลือกไข่หรือคลอดออกมา เรียกว่า ภูต, พวกสังเสทชะ (เกิดที่ 
-ชื้นแฉะ) และพวกโอปปาติกะ (เกิดผุดขึ้น) ในขณะจิตแรก ก็เรียกว่า สัมภเวสี ตั้งแต่ขณะจิตที่ 2 เป็นต้นไป 
-เรียกว่า ภูต (ขุ.ขุ.อ. 9/221) 
- 
-1 ชั้นบน หมายถึงอรูปภพ (ขุ.ขุ.อ. 9/223) 
- 
-2 ชั้นล่าง หมายถึงกามภพ (ขุ.ขุ.อ. 9/223) 
- 
-3 ชั้นกลาง หมายถึงรูปภพ (ขุ.ขุ.อ. 9/223) 
- 
-4 สติ หมายถึงเมตตาฌานัสสติ คือสติที่ประกอบด้วยเมตตาฌาน (ขุ.ขุ.อ. 9/224) 
- 
-5 ทิฏฐิ หมายถึงทิฏฐิที่ว่า “กองแห่งสังขารล้วน ๆ จัดเป็นสัตว์ไม่ได้” (ขุ.ขุ.อ. 9/225) และดู สํ.ส. (แปล) 
-15/171/228 
- 
-6 ทัสสนะ หมายถึงโสดาปัตติมัคคสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งการบรรลุสกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค 
-อันเป็นเหตุให้ไปเกิดในชั้นสุทธาวาส แล้วบรรลุอรหัตตผลในที่นั้น ไม่กลับมาเกิดในครรภ์อีกต่อไป (ขุ.ขุ.อ. 
-9/225)